dot
dot
เว็บภาพยนตร์ประวัติศาสตร์ ยินดีต้อนรับผู้สนใจทุกท่าน
dot
dot
สมาชิก Webboard/Blog
ชื่อผู้ใช้ :
รหัสผ่าน :
เข้าสู่ระบบอัตโนมัติ :
bullet ลืมรหัสผ่าน
dot
bulletข้อตกลงการเป็นสมาชิก
bulletเว็บบอร์ด-คุยกันหลังฉาก
bulletเว็บบอร์ด-Games ย้อนยุค
bulletเว็บบอร์ด-ชุดจำลองประวัติศาสตร์
bulletเว็บบอร์ด-หนังสือประวัติศาสตร์
bulletเว็บบอร์ด-เพลงประวัติศาสตร์
bulletคำถาม/คำตอบ ล่าสุด
bulletแนวทางการร่วมเขียนบทความ
dot
สงครามโลกครั้งที่ 2
dot
bulletสมรภูมิยุโรป (สัมพันธมิตรVSเยอรมัน-อิตาลี)
bulletสมรภูมิแปซิฟิก-เอเชีย (สัมพันธมิตรVSญี่ปุ่น)
dot
ภาพยนตร์ประวัติศาสตร์อื่นๆ
dot
bulletสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง
bulletประวัติศาสตร์ไทย
bulletประวัติศาสตร์อเมริกันยุคเริ่มแรก
bulletสงครามเวียดนามและอินโดจีน
bulletตะวันตกโบราณ (กรีก โรมัน ฯลฯ)
bulletประวัติศาสตร์ร่วมสมัย
bulletเอเชียโบราณ
bulletประวัติศาสตร์อื่นๆ (ยังไม่แยกหมวดหมู่)
bulletคลิปความรู้จาก YouTube
dot
บทความโดย วิวันดา
dot
bulletฮิตเล่อร์...และเหล่าขุนพลแห่งอาณาจักรไรค์ซที่สาม
bulletลอดลายรั้ว.....วินด์เซอร์
bulletเลิศเลอวงศา...โรมานอฟ
bulletเชลย
bulletซูคอฟ...ยอดขุนพลผู้ดับฝันของฮิตเล่อร์
dot
บทความโดย สัมพันธ์
dot
bulletคนไทยในกองทัพพระราชอาณาจักรลาว
bulletประวัติศาสตร์สงคราม กรีก
bulletกรณีพิพาทอินโดจีนและสงครามมหาเอเชียบูรพา
bulletอยุธยายศล่มแล้ว ลอยสวรรค์ ลงฤา
bulletฮานนิบาล
bulletพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบรมวงศานุวงศ์
bulletไทยกับมหาสงคราม
bulletสงครามเวียดนาม
bulletห้วยโก๋น ๒๕๑๘
bulletการทัพในมลายา
bulletประวัติศาสตร์อื่น ๆ
dot
เรื่องอื่นๆ
dot
bulletบทความเสริมความรู้ทั่วไป
bulletเกร็ดเล็กเกร็ดน้อย
bulletผู้จัดทำ
bulletผังเว็บไซต์ (Site Map)
bulletแนวทางการร่วมเขียนบทความ
bulletถาม-ตอบ (FAQs) (โปรดอ่านก่อนตั้งกระทู้หรือสมัครสมาชิก)
bulletร้านค้าออนไลน์
bulletแบ่งปัน Album
dot
ลิงค์ต่างๆ
dot
bulletHistory on Film
bulletกองบิน 21 กองพลบิน 2
bulletIELTS British Council
bulletIELTS IDP
bulletMUIC




โหราศาสตร์ยุคไอที



ชีวประวัติกับประวัติศาสตร์ article
วันที่ 05/05/2012   10:04:25

(จาก Paper สมัยเรียนปริญญาโท ราวๆ ปี 2527 ส่วนที่ขีดออกและข้อความสีน้ำเงินเป็นการปรับแก้สำหรับการนำมาลงใน Blog นี้ ณ ปี 2552 นี้ครับ)

ประวัติศาสตร์ในแนวหนึ่งซึ่งมีมานานแล้ว และเป็นแนวที่เข้าถึงคนธรรมดาสามัญได้มากที่สุด ก็คือประวัติศาสตร์ในแนวชีวประวัติ เพราะโดยปกติคนเราก็ย่อมจะนิยมยกย่องผู้ที่มีความสามารถหรือความดีเด่นในทางใดทางหนึ่ง ตั้งแต่ดารา นักประดิษฐ์ นายทหาร ฯลฯ ไปจนถึงผู้นำประเทศ  ความนิยมนี้มักก่อให้เกิดความอยากรู้อยากเห็นในเรื่องต่างๆ ที่เกี่ยวกับบุคคลเหล่านี้  ชีวประวัติเป็นสิ่งที่ตอบสนองความต้องการเช่นนี้ได้ดี  จนบางคนอาจถือเอาชีวประวัติของบุคคลที่ตนชื่นชอบเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตเลย  อย่างไรก็ตาม ชีวประวัติก็มีทั้งข้อดีที่เราจะเลือกใช้ได้มากกว่าการสนองความอยากรู้อยากเห็น  และมีข้อเสียข้อจำกัดที่จะต้องระมัดระวังในการศึกษาอยู่บ้าง

การศึกษาชีวประวัติบุคคลสำคัญก็คือการศึกษาประวัติศาสตร์โดยอ้อมนั่นเอง  แม้ว่าจะเป็นการเน้นที่บุคคลผู้หนึ่ง  แต่เขา(หรือเธอ แต่ถัดจากนี้ขอใช้คำว่า "เขา" แทนเจ้าของชีวประวัติที่อาจเป็นได้ทั้งชายและหญิง) ก็ย่อมจะผูกพันอยู่กับสังคมในสมัยที่เขาอยู่ในแบบปฏิสัมพัทธ์  กล่าวคือ สภาพแวดล้อมย่อมจะมีส่วนกำหนดบุคลิกของเขา  และเขาก็จะมีบทบาทในการเปลี่ยนแปลงสังคมและสภาพแวดล้อมของเขาด้วย  ซึ่งเราอาจจะดูได้ตั้งแต่สภาพในครอบครัว สภาพแวดล้อมในท้องถิ่น ประวัติศาสตร์ประเทศของเขา และอาจโยงไปได้จนถึงประวัติศาสตร์โลกได้ด้วย  ดังเช่นในการศึกษาชีวประวัติของนายปรีดี พนมยงค์ นั้น  หากทำได้อย่างละเอียดจริงๆ แล้ว  เราจะเห็นประวัติศาสตร์ตั้งแต่ระดับท้องถิ่น คืออยุธยาสมัยก่อนการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ที่ชาวบ้านอย่างครอบครัวท่านยังมีปัญหาในเรื่องชลประทาน  ขณะที่บริษัททำนาใกล้บ้านท่านสามารถจัดการชลประทานได้  ในประวัติศาสตร์ระดับประเทศ  เราจะเห็นความเปลี่ยนแปลงทางการเมืองตั้งแต่ก่อนเปลี่ยนแปลงการปกครองเรื่อยไป แม้กระทั่งประวัติศาสตร์ระหว่างประเทศ หรือประวัติศาสตร์โลก ก็อาจดูได้ในการแก้ไขสนธิสัญญาที่เสียเปรียบต่างชาติ  เรื่องเสรีไทยกับสงครามโลกครั้งที่ ๒ เป็นต้น  ดังนั้น ชีวประวัติที่ดีจึงไม่ใช่เพียงเรื่องคนๆ เดียว  แต่อาจโยงไปถึงประวัติศาสตร์ในระดับที่กว้างขึ้นได้ด้วย

แต่ในความเป็นจริง ชีวประวัติก็ไม่ได้เพียบพร้อมสมบูรณ์อย่างที่เราต้องการเสมอไป  บางครั้งยังคงเป็นเรื่องแคบๆ และเจือด้วยอคติเสมออยู่บ้าง นับตั้งแต่การเลือกบุคคลที่จะเขียน  เราก็มักจะเลือกแต่คนที่สำคัญจริงๆ  คนที่ผู้เขียนยกย่องหรือเกลียดชัง  ยิ่งในสมัยนี้มักเลือกคนที่พึ่งตายเพื่อให้ทัน "แฟชั่น" มากกว่าที่จะเป็นการศึกษาอย่างจริงๆ จังๆ  เมื่อเขียนออกมาแล้วก็มักจะเน้นแต่ข้อดีหรือข้อเสียจนกลายเป็น "พระเอก" หรือ "ผู้ร้าย" แต่เพียงด้านเดียว (Flat Characters)  เช่น ในหนังสืองานศพนั้น เป็นธรรมเนียมว่าจะต้องเขียนแต่ด้านดีของผู้ตายเท่านั้น  และเมื่อเลือกเขียนแต่บุคคลที่ "สำคัญ" แล้ว  คนอื่นๆ ก็จะถูกลดความสำคัญลงโดยปริยาย  ทำให้ภาพประวัติศาสตร์ในชีวประวัติถูกจำกัดลงไปด้วย  ดังเช่นในการเขียนประวัตินายปรีดีนั้น  ก่อนหน้าที่ท่านจะถึงแก่กรรมนั้นแทบจะไม่มีเลย  แม้แต่นักศึกษาธรรมศาสตร์จำนวนไม่น้อยก็ถูก "ปล่อยให้งง" ว่า ผู้ประศาสตร์การของเขาเป็นคอมมิวนิสต์หรือเปล่า  เมื่อท่านถึงแก่กรรมแล้วก็มักมีแต่การยกท่านขึ้นมาเป็น "พระเอก" ที่ถูก "ผู้ร้าย" (เช่น จอมพล ป.) ขัดขวางการสร้างประชาธิปไตยด้วยประการต่างๆ  คนอื่นๆ ที่เป็น "ตัวประกอบ" เช่น ดิเรก ชัยนาม, ทองอินทร์ ภูริทัต, ทองเปลว ชลภูมิ, จำลอง ดาวเรือง ฯลฯ ก็กล่าวถึงแต่เพียงเล็กน้อยในชีวประวัติของนายปรีดี  และยังไม่มีใครเขียนชีวประวัติของท่านเหล่านี้บ้างเลย

เมื่อชีวประวัติมีทั้งข้อดีและข้อเสียข้อจำกัดเช่นนี้แล้ว  การศึกษาชีวประวัติจึงต้องมีการเปลี่ยนแปลงบ้าง  กล่าวคือไม่มุ่งศึกษาแต่เฉพาะคนที่เราเห็นว่าสำคัญมากๆ เท่านั้น  ควรจะเขียนประวัติของผู้ที่มีความสำคัญรองๆ ลงมา และผู้ที่มีความสำคัญในด้านอื่นนอกเหนือจากการเมืองด้วย  เมื่อศึกษาเรื่องของใครแล้ว ก็ต้องดูทั้งข้อดีข้อเสียของเขา (หรือพิจารณาสาเหตุแรงจูงใจที่ทำให้เกิดพฤติกรรมที่อาจเป็นได้ทั้ง "ข้อดี" และ "ข้อเสีย" ตามแต่มุมมองของแต่ละคน) ดูความสัมพันธ์ระหว่างตัวเขากับบุคคลอื่นๆ และสังคม และการศึกษาชีวประวัติก็ควรกระทำควบคู่ไปกับการศึกษาประวัติศาสตร์ในแนวอื่นๆ ด้วย  จึงจะเห็นความจริงได้มากขึ้น

หมายเหตุ : เปิดให้แสดงความคิดเห็นเฉพาะสมาชิกเว็บไซต์ที่ด้านล่างสุด หรือสมาชิก Facebook แสดงความเห็นได้ในกรอบข้างล่างนี้ครับ

 




บทความเสริมความรู้ทั่วไป

ร้อยตำรวจเอกธรณิศ ศรีสุข ยอดวีรบุรุษ ตชด. วันที่ 02/07/2010   21:44:35
Robinson Crusoe 1997 - ความเป็นมนุษย์ วันที่ 26/05/2012   10:55:36
พงศาวดารมอญพม่า จาก ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ ๑ วันที่ 21/04/2012   10:42:18 article
พระนเรศวรฯ กับเมืองละแวก ใน พงศาวดารละแวก ฉะบับแปล จ.ศ. ๑๑๗๐ วันที่ 21/04/2012   10:43:01 article
Beau Brummell: The Charming Man 2006 หนุ่มเจ้าสำอาง วันที่ 24/09/2015   22:37:44
เรื่องของฮิตเลอร์ และ เอวา บราวน์ วันที่ 24/09/2015   22:37:10
Fanny Hill การผจญภัยในโลกีย์ วันที่ 24/09/2015   22:36:45
The Marriage of Figaro วิวาห์ฟิกาโร วันที่ 24/09/2015   22:36:10
แนะนำบทความประวัติศาสตร์ที่ simple.wikipedia.org วันที่ 21/04/2012   10:44:07 article
ยศและเครื่องหมายยศทหารเยอรมันสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 (Wehrmact Heer & Waffen SS) วันที่ 21/04/2012   10:47:26 article
ประวัติศาสตร์กับภาษาต่างประเทศ วันที่ 21/04/2012   10:50:53 article
บางประเด็นจากการไปฟังบรรยายเรื่องพิพิธภัณฑ์โรงเรียนเทพศิรินทร์ วันที่ 21/04/2012   10:52:53 article
หลักฐานประวัติศาสตร์และการวิเคราะห์หลักฐานประวัติศาสตร์ วันที่ 21/04/2012   10:51:49 article
MP40 กับ PPSh-41 และปืนกลมืออื่นๆ อีก 3 แบบ วันที่ 21/04/2012   10:54:27 article
คลีโอพัตรา ตอนที่ 4 : ฟาโรห์องค์สุดท้ายของอียิปต์ - ผู้หญิงที่โลกไม่มีวันลืม (สรุป) วันที่ 09/01/2011   19:31:10
มิติของเวลาในประวัติศาสตร์ วันที่ 27/02/2009   22:33:10
แล้วผมต้องทำอะไรกับประวัติโรงเรียนเทพศิรินทร์? วันที่ 21/04/2012   10:53:38 article
นางเอกอมตะตลอดกาล 25 คนแรก ของฮอลลีวู้ด (1) วันที่ 14/05/2012   21:45:30
เมื่อ Don Quixote de Lamancha ปะทะ เล่าปัง (2) วันที่ 14/05/2012   21:44:31
เมื่อ Don Quixote de Lamancha ปะทะ เล่าปัง วันที่ 14/05/2012   21:43:48
ภาพยนตร์รัสเซีย "Battle of Kursk" ศึกรถถังที่ใหญ่กว่า "Battle of the Bulge" วันที่ 21/04/2012   11:00:38 article
อธิบายเบื้องต้นเกี่ยวกับคำศัพท์หน่วยทหาร วันที่ 21/04/2012   11:01:41 article
"บางระจัน่" จากพระราชพงศาวดาร 2 ฉบับ วันที่ 05/05/2012   09:30:38 article
ราชทูตปรัสเซียเยือนสยามสมัยร.๔ ก้าวแรกสัมพันธ์ไทย-เยอรมัน วันที่ 21/04/2012   11:08:02 article
พระราชดำรัสเนื่องในเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ 20 พฤษภาคม 2535 วันที่ 05/05/2012   09:40:33 article
ทดสอบการแปลยศทหารบกจากภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทยด้วยโปรแกรมพจนานุกรมดิจิตอล วันที่ 05/05/2012   10:17:45 article
ตำราพิชัยสงครามของไทย วันที่ 10/05/2012   11:22:47
ภาพตัวอย่างเครื่องแบบทหารเยอรมันสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 วันที่ 05/05/2012   10:16:51 article
"ไทยรบเขมร" ใน "ไทยรบพม่า" วันที่ 05/05/2012   10:13:48 article
อวสาน บิสมาร์ค วันที่ 10/05/2012   11:26:55
สืบเนื่องจาก "ELSID" วันที่ 14/05/2012   21:41:48
เจงกิสข่าน ผู้ยิ่งใหญ่ (2) วันที่ 14/05/2012   21:40:37
เจงกิสข่าน ผู้ยิ่งใหญ่ วันที่ 14/05/2012   21:39:44
เจ้าพ่อเซี่ยงไฮ้ วันที่ 14/05/2012   21:38:54
การรบแห่งสตาลินกราด วันที่ 10/05/2012   11:28:24
Bangkok mean time เวลามาตรฐานชาติแรกของโลก ณ พระที่นั่งภูวดลทัศไนย วันที่ 10/05/2012   11:30:18
เครื่องบินรบไทยในสงครามอินโดจีน วันที่ 10/05/2012   11:37:11
Little Boyและfatman คู่หูมหาปลัย วันที่ 10/05/2012   11:34:40
BATTEL OF MIDWAY ยุทธนาวีทางอากาศที่เกาะมิดเวย์ จุดเปลี่ยนสงครามแปซิฟิค วันที่ 21/08/2010   22:07:52
พลูโตในยุคสมัยต่างๆ (www.horauranian.com) วันที่ 29/09/2008   21:37:10
กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ ผู้ตั้งชื่อ "เดือน" ของไทย วันที่ 00/00/0000   00:00:00
ความเป็นมา วันสตรีสากล ๘ มีนาคม และ ผู้ให้กำเนิดวันสตรีสากล วันที่ 08/03/2014   08:50:05
คลีโอพัตรา ตอนที่ 1: ราชินีสาว นางพญาแห่งลุ่มแม่น้ำไนล์ ฟาโรห์องค์สุดท้ายของอิยิปต์ และผู้หญิงที่สวยที่สุดในประวัติศาสตร์ วันที่ 09/01/2011   19:31:53
ร้อยเอกวัฒนชัย คุ้มครองเหรียญกล้าหาญสมรภูมิบ้านร่มเกล้า วันที่ 21/08/2010   22:08:31
พันโททวี ปูรณโชติ ขุนศึกแห่งลุ่มน้ำซุยคา วันที่ 21/08/2010   22:09:01
พันโทเจริญ ทองนิ่ม วีรบุรุษพลร่ม วันที่ 21/08/2010   22:09:29
เรือเอกประทีป อนุมณี "ประดู่เหล็กแห่งดูซงญอ" วันที่ 21/08/2010   22:09:57
วีรกรรมดอนแตง วันที่ 21/08/2010   22:10:41



Copyright © 2010 All Rights Reserved.
| WW II Europe | WW II Asia | WW I | Vietnam War | ประวัติศาสตร์ไทย | บทความจากสมาชิก | คุยกันหลังฉาก | บทความทั้งหมด |

สนใจร่วมเขียนบทความในเว็บไซต์ เชิญอ่าน แนวทางการร่วมเขียนบทความ ภาพยนตร์ประวัติศาสตร์

Custom Search



eXTReMe Tracker