dot
dot
เว็บภาพยนตร์ประวัติศาสตร์ ยินดีต้อนรับผู้สนใจทุกท่าน
dot
dot
สมาชิก Webboard/Blog
ชื่อผู้ใช้ :
รหัสผ่าน :
เข้าสู่ระบบอัตโนมัติ :
bullet ลืมรหัสผ่าน
dot
bulletข้อตกลงการเป็นสมาชิก
bulletเว็บบอร์ด-คุยกันหลังฉาก
bulletเว็บบอร์ด-Games ย้อนยุค
bulletเว็บบอร์ด-ชุดจำลองประวัติศาสตร์
bulletเว็บบอร์ด-หนังสือประวัติศาสตร์
bulletเว็บบอร์ด-เพลงประวัติศาสตร์
bulletคำถาม/คำตอบ ล่าสุด
bulletแนวทางการร่วมเขียนบทความ
dot
สงครามโลกครั้งที่ 2
dot
bulletสมรภูมิยุโรป (สัมพันธมิตรVSเยอรมัน-อิตาลี)
bulletสมรภูมิแปซิฟิก-เอเชีย (สัมพันธมิตรVSญี่ปุ่น)
dot
ภาพยนตร์ประวัติศาสตร์อื่นๆ
dot
bulletสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง
bulletประวัติศาสตร์ไทย
bulletประวัติศาสตร์อเมริกันยุคเริ่มแรก
bulletสงครามเวียดนามและอินโดจีน
bulletตะวันตกโบราณ (กรีก โรมัน ฯลฯ)
bulletประวัติศาสตร์ร่วมสมัย
bulletเอเชียโบราณ
bulletประวัติศาสตร์อื่นๆ (ยังไม่แยกหมวดหมู่)
bulletคลิปความรู้จาก YouTube
dot
บทความโดย วิวันดา
dot
bulletฮิตเล่อร์...และเหล่าขุนพลแห่งอาณาจักรไรค์ซที่สาม
bulletลอดลายรั้ว.....วินด์เซอร์
bulletเลิศเลอวงศา...โรมานอฟ
bulletเชลย
bulletซูคอฟ...ยอดขุนพลผู้ดับฝันของฮิตเล่อร์
dot
บทความโดย สัมพันธ์
dot
bulletคนไทยในกองทัพพระราชอาณาจักรลาว
bulletประวัติศาสตร์สงคราม กรีก
bulletกรณีพิพาทอินโดจีนและสงครามมหาเอเชียบูรพา
bulletอยุธยายศล่มแล้ว ลอยสวรรค์ ลงฤา
bulletฮานนิบาล
bulletพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบรมวงศานุวงศ์
bulletไทยกับมหาสงคราม
bulletสงครามเวียดนาม
bulletห้วยโก๋น ๒๕๑๘
bulletการทัพในมลายา
bulletประวัติศาสตร์อื่น ๆ
dot
เรื่องอื่นๆ
dot
bulletบทความเสริมความรู้ทั่วไป
bulletเกร็ดเล็กเกร็ดน้อย
bulletผู้จัดทำ
bulletผังเว็บไซต์ (Site Map)
bulletแนวทางการร่วมเขียนบทความ
bulletถาม-ตอบ (FAQs) (โปรดอ่านก่อนตั้งกระทู้หรือสมัครสมาชิก)
bulletร้านค้าออนไลน์
bulletแบ่งปัน Album
dot
ลิงค์ต่างๆ
dot
bulletHistory on Film
bulletกองบิน 21 กองพลบิน 2
bulletIELTS British Council
bulletIELTS IDP
bulletMUIC




โหราศาสตร์ยุคไอที



สงครามมหาเอเซียบูรพา - จากวันวีรไทย ถึง วันประกาศสงคราม

 

 จากวันวีรไทย ถึงวันประกาศสงคราม

สถานการณ์เดิม  .  .  .

          เมื่อ  ๘  ธันวาคม  ๒๔๘๔    ญี่ปุ่นเริ่มเปิดฉาก สงครามมหาเอเซียบูรพา  -  The Greater East Asia War   หรือที่อเมริกันเรียก  สงครามภาคพื้นแปซิฟิค  Pacific War  และไทยก็ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้    แม้จะประกาศความเป็นกลางแล้วก็ตาม   แต่ กองทัพญี่ปุ่นจำต้องขอเดินผ่านประเทศไทยเพื่อไปโจมตีประเทศทั้งสองซึ่งเป็นศัตรูของญี่ปุ่น   ซึ่งคณะผู้จัดการประเทศก็ตระหนักรู้แน่แก่ในเรื่องนี้อยู่แล้ว   ดังที่  จอมพล  ป.พิบูลสงคราม  นายกรัฐมนตรี  ซึ่งมีตำแหน่งเป็นผู้บัญชาการทหารสูงสุด ด้วย  ได้ถามรัฐมนตรีบางนายซึ่งรับผิดชอบในการทหารในการประชุมคณะรัฐมนตรีฉุกเฉิน ในเช้า  ๘  ธันวาคม  ๒๔๘๔  ว่า   สู้ไหวหรือไม่  ได้รับคำตอบว่า   สู้ไม่ไหว . .

          ในที่สุด  นายกรัฐมนตรีจึงประกาศว่า

ไม่มีประโยชน์อะไรที่จะต่อต้าน  เพราะเราไม่มีกำลัง . . . 

 

 

. . . วันวีรไทย ก็ผ่านพ้นไปพร้อมกับชีวิต เลือด เนื้อ ของ ทหาร  ตำรวจ  ยุวชนทหาร ประชาชนคนไทย ผู้รักชาติยิ่งชีพ ทั้งหลาย 

 

เรามาดูกันต่อไป นะ ครับ  ว่า  สถานการณ์โลก  สถานการณ์บ้านเมืองจะดำเนินไปอย่างไร

 ๑๐   ธันวาคม  ๒๔๘๔

ในยุโรป

          เยอรมันนี และอิตาลีประกาศสงครามกับสหรัฐอเมริกา    และสหรัฐอเมริกาประกาศสงครามตอบ

นอกฝั่งมลายู

          กำลังทางเรือ  และกำลังทางอากาศของญี่ปุ่นก็สามารถจมเรือ พริ้นส์ ออฟ เวลส์  (Prince of Wales)และเรือ รีพัลส์  (Repulse)  ของอังกฤษลงได้นอกฝั่งมลายูในเวลาอันรวดเร็ว  และง่ายดาย  ทำให้โลกตกตะลึงและงงงัน มาก

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

HMS  Prince of Wales                                                                              HMS  Repulse

 

          เรือ พริ้นส์ ออฟ เวลส์  และเรือ รีพัลส์   นี้  ราชนาวีอังกฤษได้อวดนักหนาว่าเป็นเรือรบที่มีเกราะหนา    สามารถอยู่ยงคงกระพันต่อการโจมตีได้  ถึงกับตั้งฉายาว่า "เรือรบที่ไม่จม"   กองทัพเรือ และกองทัพอากาศเยอรมันพยายามจมเรือรบทั้งสองลำนี้จากการรบทางทะเลในภาคพื้นแอตแลนติคในยุโรปมานานช้าก็ไม่สำเร็จ      ครั้นเกิดสงครามในภาคพื้นแปซิฟิค  ราชนาวีอังกฤษจึงส่งเรือรบสองลำนี้มา เพื่อรักษาปกป้องมลายู และสิงคโปร์    แต่ถูกกำลังทางเรือ  และกำลังทางอากาศของญี่ปุ่นจมลงได้อย่างรวดเร็ว  และง่ายดาย

 

ประเทศไทย

๑๑  ธันวาคม  ๒๔๘๔

         มีการประชุมคณะรัฐมนตรี     ท่านที่เรียกตนเองว่า "ผู้นำ" นั้นแสดงความในใจออกมาว่าคิดที่จะ "ร่วมหัวจมท้าย" กับญี่ปุ่นมานานแล้ว ซึ่งได้ประกาศในที่ประชุม ฯ  ว่า " . . . แต่ในใจของผมเห็นว่าเมื่อเราจะเข้ากับเขาแล้ว  ก็เข้าเสียให้เต็ม  ๑๐๐ %  เขาก็คงเห็นอกเห็นใจเรา . . ."
 
         เมื่อได้ตกลงว่าจะรบเคียงบ่าเคียงไหล่กันแล้ว ก็ต้องตกลงกันว่าใครจะรบทางไหน  จะเคียงบ่าเคียงไหล่สลับกัน ไทยคน ญี่ปุ่นคน ไม่ได้     และแล้ว  . . .

 

๑๔  ธันวาคม  ๒๔๘๔    

          ได้กำหนด "หลักการร่วมยุทธ ระหว่าง ไทยกับญี่ปุ่น"  ซึ่งมีสาระสำคัญดังนี้

            ๑. กองทัพญี่ปุ่น ณ ประเทศไทย และกองทัพไทยจะทำการร่วมยุทธต่อกองทัพข้าศึกในพม่า 

            ๒. ก่อนอื่นกองทัพไทยจะยึดชายแดนไทยพม่าให้มั่นคง พร้อมกับทำการรักษาฝั่งทะเล ทิศตะวันตกของประเทศทางภาคใต้  เพื่อระวังป้องกันการชุมพลของกองทัพไทย - ญี่ปุ่น    

          ในระหว่างนี้ กองทัพไทยจะช่วยสร้างถนนสายระแหง -  แม่สอด  -  เมียาวดี    และสายกาญจนบุรี - บ้องตี้    ทั้งนี้กองทัพญี่ปุ่นจะเข้าร่วมด้วย 

 

            ๓. กองทัพญี่ปุ่นในประเทศไทย   จะทำการยุทธด้านใต้ แนวระแหง -  แม่สอด - เมียวดี   แนวนี้อยู่ในเขต   ตรงไปกรุงย่างกุ้ง    

               กองทัพไทย จะทำการยุทธด้านเหนือของแนวดังกล่าว   ตรงไปนครเชียงตุง  และ นครมัณฑเลย์ 

            ๔. กองทัพอากาศไทย และญี่ปุ่น  ต่างฝ่ายต่างทำการยุทธในด้านของตน  ถ้ามีความจำเป็น กองทัพอากาศญี่ปุ่น จะเข้าร่วมกำลังกับกองทัพอากาศของไทยด้วย 

            ๕. ราชนาวีไทย  มีหน้าที่ครองน่านน้ำไทย  ประมาณตั้งแต่เหนือแนวสัตหีบ - หัวหินขึ้นไป 

 

๒๑  ธันวาคม  ๒๔๘๔

          ได้มีการลงนามใน กติกาสัญญาไมตรีระหว่างประเทศไทยกับประเทศญี่ปุ่น  มีอยู่ ๕ ข้อด้วยกัน  ดังนี้

            ๑. ประเทศญี่ปุ่นกับประเทศไทย สถาปนาสัมพันธไมตรีต่อกันและกัน ตามมูลฐานที่ต่างฝ่ายต่างเคารพเอกราชและอธิปไตยแห่งกันและกัน 

            ๒. ในกรณีที่ประเทศญี่ปุ่นหรือประเทศไทย อยู่ในการขัดกันทางอาวุธกับประเทศภายนอก จะเป็นประเทศเดียวหรือหลายประเทศก็ตาม ประเทศไทยหรือประเทศญี่ปุ่น จะเข้าข้างภาคีอีกฝ่ายหนึ่ง ในฐานที่เป็นพันธมิตรทันที  และจะให้ความช่วยเหลือแก่ภาคีนั้นด้วยบรรดาปัจจัยของตน  การเศรษฐกิจ และ การทหาร 

            ๓. รายละเอียดเกี่ยวกับการปฏิบัติตามข้อ  ๒. จะได้กำหนดด้วยความตกลงร่วมกันระหว่างเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจแห่งประเทศญี่ปุ่น และประเทศไทย 

            ๔. ในกรณีสงครามซึ่งกระทำร่วมกัน   ประเทศญี่ปุ่นและประเทศไทยรับรองว่าจะไม่ทำสัญญาสงบศึก  หรือสันติภาพ  นอกจากจะได้ทำความตกลงร่วมกันโดยบริบูรณ์ 

            ๕. กติกาสัญญานี้จะได้เริ่มใช้ตั้งแต่วันลงนามเป็นต้นไป  กติกาสัญญาจะมีกำหนดอายุสิบปี  ภาคีทั้งสองฝ่ายจะได้ปรึกษาหารือกัน ในเรื่องการต่ออายุกติกาสัญญานี้ในเวลาอันควร  ก่อนสิ้นกำหนดอายุสัญญาดังกล่าวแล้ว   

          กติกานี้มีโปรโตคอลลับซึ่งไม่เปิดเผยว่า   ญี่ปุ่นจะช่วยให้ไทยได้ดินแดนคืนจากอังกฤษ   และไทยสัญญาว่าจะช่วยญี่ปุ่น  ในกรณีสงครามที่มีอยู่แล้วระหว่างญี่ปุ่นกับประเทศฝ่ายตะวันตก   

          สัญญาฉบับนี้  ยกเลิกฉบับเดิมที่เพียงอนุญาตให้ญี่ปุ่นเดินทหารผ่าน  ฉบับลงวันที่  ๘  ธันวาคม  ค.ศ.๑๙๔๑      

          และในวันเดียวกันนี้    ฝ่ายสัมพันธมิตรก็ได้ส่งเครื่องบินมาทิ้งระเบิดโจมตีประเทศไทย   คือ  ทิ้งระเบิดที่  จังหวัดสงขลา   และประจวบคีรีขันธ์

          วันรุ่งขึ้น (๒๒  ธันวาคม  ๒๔๘๔)  โจมตีจังหวัดชุมพร

 

          ครับ . . .  เมื่อเหตุการณ์ได้ดำเนินมาจนถึงขั้นนี้แล้ว    รัฐบาลไทยก็ต้องแสดง และทุ่มเท  อะไรต่ออะไรให้   เขา  เห็นอกเห็นใจ  ดังที่หัวหน้ารัฐบาลได้กล่าวไว้แล้วนะครับ  ว่า   " . . . แต่ในใจของผมเห็นว่าเมื่อเราจะเข้ากับเขาแล้ว  ก็เข้าเสียให้เต็ม  ๑๐๐ %  เขาก็คงเห็นอกเห็นใจเรา . . ."

          การที่จะ  เข้าเสียให้เต็ม  ๑๐๐ %   นั้น เข้าแน่  แต่คงรอจังหวะเวลา  หรือรอสถานการณ์ที่เอื้ออำนวย  หรือ  มีเหตุอันสมควร  เท่านั้นเอง    ระหว่างรอนี้ก็เตรียมการไว้ก่อน   ลองดูนะครับ  ว่าเราเตรียมการอะไรบ้าง . . .

 

การเตรียมการทำสงครามของไทย

การเตรียมพื้นที่การรบ

เส้นทาง  สู่ เมียวดี

๒๐ ธันวาคม ๒๔๘๔ 

            จอมพล ป.พิบูลสงคราม    สั่งการให้ฝ่ายพลเรือนสนับสนุนการสร้างทางให้แก่กองทัพพายัพ  โดยการสร้างทางลำลอง จากตาก ให้ถึงแม่สอดภายใน ๓๐ วัน    การก่อสร้างต้องเกณฑ์คนงานจาก  จังหวัดตาก  อำเภอเถิน  จังหวัดสุโขทัย  และ จังหวัดกำแพงเพ็ชร   ประมาณ  ๒ - ๓ พันคน     ฝ่ายทหารมี   พันโท  หม่อมหลวง โอสถ  ทินกร    (หลวงยุทธกิจบรรหาร), กองพันทหารช่างที่  ๓   และ  ทหารช่างญึ่ปุ่น  ๑   กองร้อย   ร่วมด้วย     สามารถสร้างทางให้รถยนต์ข้ามทิวขุนเขาจาก  ตาก - แม่สอด - น้ำเมย - เมียวดี - กรุกกริก  ได้สดวกทันกำหนด 

เส้นทาง  สู่ เชียงตุง

          กองพันทหารช่างของ กองพลที่  ๒ เคลื่อนที่เข้าไปในดินแดนสหรัฐไทยเดิมทางด้านจังหวัดเชียงใหม่ และถอนตัวมาขัดตาทัพอยู่  ณ จังหวัดเชียงใหม่

               ๑. สร้างทางเป็นถนนถมดินเพื่อเปิดให้เป็นเส้นทางสำหรับยวดยานต่าง ๆ ผ่าน เริ่มตั้งแต่ กิโลเมตร ที่ ๙๙ ถนนสายเชียงใหม่ - ฝาง ที่ตำบลถ้ำแกลบ - ผ่าน  อำเภอ นาหวาย เข้าไปในดินแดนพม่า - ไทย ที่ช่องหนองหมู่ฮ่อ ผ่านเมืองหาง (ห้างหลวง) - เมืองต่วน - เมืองสาต

               ๒. จัด  ๑  กองร้อยทหารช่าง ไปขึ้นกับกรมทหารราบที่ ๕  ทำหน้าที่เป็นกองร้อยทหารช่าง  ติดตาม กรมทหารราบ เพื่อเปิดทางให้หน่วยทหารราบเคลื่อนที่ โดยการทำทางเกวียนและทางต่าง ๆ ตั้งแต่บ้านแม่เกน ผ่านเมืองต่วน  เมืองสาต

 

๒๒  ธันวาคม  ๒๔๘๔   

          ญี่ปุ่นโจมตีเกาะฟิลิปปินส์

           กองบินน้อยผสมที่  ๘๐    เคลื่อนที่เข้าที่ตั้งสนามบินเกาะคา  จังหวัดลำปาง

 

 

การจัดหน่วย

กำลังทางบก

๒๔  ธันวาคม  ๒๔๘๔

          จัดตั้งกองทัพพายัพ     กองบัญชาการกองทัพ  ตั้งอยู่ที่  จังหวัดลำปาง    พลตรี  หลวงเสรีเริงฤทธิ์  (จรูญ  รัตนกุล  เสรีเริงฤทธิ์)  เป็นแม่ทัพ           ประกอบด้วย    

               กองพลที่  ๒     ตั้งอยู่ที่  จังหวัดนครสวรรค์

               กองพลที่  ๓  และ  กองพลที่  ๔    ตั้งอยู่ที่  อำเภอพะเยา  จังหวัดเชียงราย

               กองพลทหารม้า    ตั้งอยู่ที่  จังหวัดเชียงใหม่ 

               กรมทหารม้าที่  ๑๒    ตั้งอยู่ที่  อำเภอแม่จัน  จังหวัดเชียงราย

 

๒๕  ธันวาคม  ๒๔๘๔       ฮ่องกงยอมจำนน

 

การจัดหน่วยในกองทัพพายัพและการเข้าที่ชุมพลขั้นต้น

          กองบัญชาการกองทัพพายัพ       จังหวัดลำปาง

การจัดหน่วยในกองทัพพายัพ                        

         กองพลที่ ๒   พลตรี  หลวงไพรีระย่อเดช (กี๋  ชมะบูรณ์) เป็น ผู้บัญชาการกองพล  จากปราจีนบุรี  เข้าที่ชุมพลที่ จังหวัดนครสวรรค์และ จังหวัดพิษณุโลก   ประกอบด้วยกำลังรบหลัก   ๓ กรมทหารราบ คือ

               กรมทหารราบที่ ๔     ประกอบด้วย    กองพันทหารราบที่  ๑๐, กองพันทหารราบที่  ๑๑, กองพันทหารราบที่  ๑๒

               กรมทหารราบที่ ๕     ประกอบด้วย   กองพันทหารราบที่  ๑๓, กองพันทหารราบที่  ๑๔, กองพันทหารราบที่  ๑๕

               กรมทหารราบที่ ๑๒    ประกอบด้วย  กองพันทหารราบที่  ๒๘, กองพันทหารราบที่  ๒๙, กองพันทหารราบที่  ๓๓

               หน่วยขึ้นสมทบคือ       กองพันทหารปืนใหญ่ที่ ๔ , ที่ ๕   และ ที่ ๖

          กองพลที่ ๓   พลตรี  หลวงชำนาญยุทธศาสตร์ (ผิน  ชุณหะวัณ)  เป็น ผู้บัญชาการกองพล  จากนครราชสีมา  เข้าที่ชุมพลที่  อำเภอพะเยา จังหวัดเชียงราย  และ  ต่อมาเคลื่อนย้ายไปเข้าที่ จังหวัดเชียงราย   ประกอบด้วยกำลังรบหลัก   ๓ กรมทหารราบ คือ

               กรมทหารราบที่ ๗    ประกอบด้วย       กองพันทหารราบที่  ๑๙, กองพันทหารราบที่  ๒๐, กองพันทหารราบที่  ๒๑

               กรมทหารราบที่ ๘    ประกอบด้วย       กองพันทหารราบที่  ๑๗, กองพันทหารราบที่  ๑๘, กองพันทหารราบ  ๕๒

               กรมทหารราบที่ ๙     ประกอบด้วย      กองพันทหารราบที่  ๒๕, กองพันทหารราบที่  ๒๖, กองพันทหารราบที่  ๒๗

               หน่วยขึ้นสมทบคือ          กองพันทหารปืนใหญ่ที่ ๗ , ที่ ๘   และ ที่  ๙

          กองพลที่ ๔   พันเอก  หลวงหาญสงคราม (พิชัย  หาญสงคราม) เป็น ผู้บัญชาการกองพล  เข้าที่ชุมพลที่  จังหวัดเชียงราย     ต่อมาเคลื่อนไปเข้าที่ อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย    ประกอบด้วยกำลังรบหลัก ๒ กรมทหารราบ คือ

               กรมทหารราบที่ ๓     ประกอบด้วย     กองพันทหารราบที่  ๔, กองพันทหารราบที่  ๖, กองพันทหารราบที่  ๘

               กรมทหารราบที่ ๑๓    ประกอบด้วย    กองพันทหารราบที่  ๓๐, กองพันทหารราบที่  ๓๑, กองพันทหารราบที่  ๓๔

               หน่วยขึ้นสมทบคือ       กองพันทหารปืนใหญ่ที่ ๓ และ ที่ ๑๐ จาก นครสวรรค์ 

          ได้รับมอบภารกิจให้ยึดเมืองพยาค ในการปฏิบัติการขั้นที่ ๑

          กองพลทหารม้า   มี พันโท ทวน  วิชัยขัทคะ เป็น  ผู้บัญชาการกองพล    เข้าที่ชุมพลที่   อำเภอ แม่แตง จังหวัดเชียงใหม่          ประกอบด้วย กำลังรบหลัก   ๒  กรมทหารม้า   คือ

                กรมทหารม้าที่  ๓๕    ประกอบด้วย    กองพันทหารม้าทึ่  ๓  และ กองพันทหารม้าทึ่   ๕

               กรมทหารม้าที่  ๔๖    ประกอบด้วย    กองพันทหารม้าทึ่  ๔  และ กองพันทหารม้าทึ่   ๖

          กรมทหารม้าที่ ๑๒ (อิสระ)   พันโท   หลวงจำรัสโรมรัน  (จำรัส  รมยะบุรุษ) เป็น ผู้บังคับการกรม เข้าที่ชุมพลที่  อำเภอ แม่จัน จังหวัดเชียงราย    ประกอบด้วย กำลังรบหลัก   ๒ กองพันทหารม้า   คือ

               กองพันทหารม้าทึ่   ๑  รักษาพระองค์

                กองพันทหารม้าที่  ๒ 

               นอกจากนี้  ยังมีหน่วยขึ้นสมทบอีกคือ   กองพันทหารราบ ที่  ๓๕  จังหวัดเชียงใหม่   กองพันทหารปืนใหญ่ ที่  ๑  และ กองพันทหารปืนใหญ่ ที่  ๑๑  จังหวัดลำปาง   กองพันทหารช่าง ที่ ๑ , ที่ ๒, ที่ ๓  และ กองพันทหารช่างที่ ๔

 

กำลังทางอากาศ        กองทัพอากาศ จัดตั้ง กองทัพอากาศสนามเพื่อสนับสนุนในการรบครั้งนี้   ให้

          พลอากาศตรี  หลวงอธึกเทวเดช (เจียม  โกมลมิศร์) เป็นแม่ทัพอากาศสนาม

          พลอากาศตรี  หลวงเทวฤทธิ์พันลึก (กาพย์  ทัตตานนท์) เป็นรองแม่ทัพอากาศสนาม

          พลอากาศตรี ขุนรณนภากาศ (ฟื้น  ฤทธาคนี) เป็นเสนาธิการกองทัพอากาศสนาม และเป็นผู้บังคับกองบินใหญ่ผสมภาคพายัพ

 

กองบินใหญ่ผสมภาคพายัพ   เป็นหน่วยสนับสนุนกองทัพพายัพทางยุทธศาสตร์และยุทธวิธี    มีการจัดและการวางกำลัง ดังนี้ 

                กองบินน้อยผสมที่ ๘๕    จังหวัดลำปาง

                    ฝูงบินที่ ๖๑ (ฝูงทิ้งระเบิดหนัก) อยู่ที่สนามบินเกาะคา จ.ลำปาง

                    ฝูงบินขับไล่อิสระฮอว์ค ๓     สันกำแพง    จังหวัดเชียงใหม่

                    ฝูงบินที่ ๖๒     จังหวัดแพร่

               กองบินน้อยผสมที่ ๘๐  เป็นหน่วยบรรจุมอบกองทัพพายัพ มี นาวาอากาศโท  ปรุง  ปรีชากาศ  เป็น ผู้บังคับการกองบิน    ประกอบด้วย

                    ฝูงบินที่  ๒๒    จันทบุรี

                    ฝูงบินที่  ๓๒    โคราช

                    ฝูงบินที่  ๔๑    จันทบุรี

          และได้จัดตั้งกองตำรวจสนามขึ้น  เพื่อทำหน้าที่รักษาความสงบ และช่วยเหลือด้านการปกครองในพื้นที่
 

 

 แผนการยุทธของกองทัพพายัพ

          ขั้นที่ ๑  เคลื่อนทัพผ่านพรมแดนไทย -พม่า เข้ายึด เมืองสาด  เมืองพยาค  เมืองป่าเลียว  เมืองเชียงลับ

          ขั้นที่ ๒  ยึดเมืองเชียงตุง และ เมืองยอง

          ขั้นที่ ๓  รุกประชิดชายแดน พม่า – จีน

                    ตอนที่ ๑  การยึดรักษาท่าข้ามและเมืองสำคัญตามแนวแม่น้ำหลวย

                    ตอนที่ ๒  รุกประชิดชายแดน พม่า – จีน

 

การเคลื่อนย้ายเข้าพื้นที่การรบ

๒๗   ธันวาคม   ๒๔๘๔   

          กำลังทางบก   แม่ทัพพายัพสั่งการให้กองพลที่  ๓   ที่จังหวัดนครราชสีมา  ให้เคลื่อนย้ายทางรถไฟเข้าที่รวมพลขั้นต้น ที่  อำเภอพะเยา    จังหวัดเชียงราย   ให้เริ่มเคลื่อนย้ายใน  ๓๐  ธันวาคม  ๒๔๘๔
 
          ส่วนกำลังทางอากาศ   ให้แบ่งกำลังกองบินน้อยผสมที่ ๘๐  (๒ ใน ๓ ส่วน) จากสนามบินเกาะคา จังหวัดลำปาง  ไปไว้ที่สนามบินเชียงราย

 

ญี่ปุ่น . . . น้ำเชี่ยว     อังกฤษ . . . ไม่ขวางเรือ

      

      เมื่อเปิดฉากการสงครามมหาเอเซียบูรพาในระยะแรก  กองทัพญี่ปุ่นได้ชัยชนะอย่างรวดเร็ว   สามารถจมเรือ พริ้นส์ ออฟ เวลส์  (Prince of Wales)  และเรือ รีพัลส์  (Repulse) ของอังกฤษลงได้นอกฝั่งมลายูในเวลาอันรวดเร็ว  และง่ายดาย   เมื่อ  ๑๐  ธันวาคม  ๒๔๘๔       ส่วนการรบทางบก   กองทัพญี่ปุ่นก็รุกเข้าไปในมลายูได้อย่างรวดเร็ว

          อังกฤษจำเป็นต้องถอนกำลังออกจากพม่า  และได้มอบภารกิจ ให้กับกองทัพจีนซึ่งเป็นฝ่ายสัมพันธมิตร และเป็นประเทศคู่สงครามกับญี่ปุ่นมาก่อนในการต้านทานกองทัพญี่ปุ่นในสหรัฐไทยเดิม ต่อไป

 

 

 

 

 

 

 กำลังฝ่ายข้าศึก

 

          กำลังฝ่ายข้าศึกเป็นกองทัพจีนฝ่ายก๊กมินตั๋งภายใต้การบังคับบัญชาของ จอมพล เจียงไคเช็ค   หน่วยที่รับผิดชอบในสหรัฐไทยเดิม  คือกำลังของ กองทัพที่ ๖   ซึ่งตั้งกองบัญชาการอยู่ที่ เมืองตองยี  (Taunggyi)  เมืองหลวงของสหรัฐไทยเดิม  ประกอบด้วยกำลังรบ   ๓  กองพลใหญ่ คือ

               กองพลที่ ๔๙    ตั้งกองบัญชาการอยู่ที่เมืองพาน

               กองพลที่ ๕๕    ตั้งกองบัญชาการอยู่ที่เมืองลอยก่อ

               กองพลที่ ๙๓    ตั้งกองบัญชาการอยู่ที่เมืองเชียงตุง

          ต่อมา   กองพลที่  ๔๙  และกองพลที่  ๕๕  ได้ถอนตัวไปรักษาพื้นที่มณฑลยูนนานของจีน  จึงเหลือเพียงกองพลที่  ๙๓   อยู่รักษาพื้นที่ในสหรัฐไทยเดิม 

 

 

ดังนั้น  การรบในพื้นที่สหรัฐไทยเดิมในสงครามมหาเอเซียบูรพา    จึงเป็นการรบระหว่างกองทัพพายัพของไทย กับกองพลที่  ๙๓   ของจีนฝ่ายก๊กมินตั๋งโดยตรง

 

 

 

 

 

การวางกำลังของข้าศึก

          ๒๔ ธันวาคม  ๒๔๘๔     กองพลที่ ๙๓  ได้เคลื่อนที่จากเมืองเชียงรุ้ง    ตามเส้นทางเมืองเชียงรุ้ง -  เมืองลอง - เมืองยู้ - เมืองยอง - เชียงตุง

          ๒๙  ธันวาคม   ๒๔๘๔       ถึงเมืองยอง     วางกำลังรักษาเมืองต่างๆ  ดังนี้

 

เมืองยอง   ๑  กองพันทหารราบ                            

          เมืองพยาค   ๒  กองพันทหารราบ และ ๑ หน่วย ปตอ.

          เมืองเลน    ๒  กองร้อยทหารราบ                          

          บ้านฮ่องลึกและท่าขี้เหล็ก   ๑  กองพันเพิ่มเติมกำลัง

          ดอยเหมย   ๑  กองพันทหารราบ  ๑  กองร้อยปืนกลหนัก  ๑  กองรถยนต์ลำเลียง

          เมืองต่วน     ๑  กองพัน   ทหารกูรข่า                       

          เมืองหาง   ๑  กองพันทหารราบ   และตำรวจ  ๔๐๐ คน

 

 

 นครเชียงตุง 

 

 

อยู่บนยอดเขาสูง   ระหว่าง แม่น้ำสาละวิน กับ แม่น้ำโขง    ความสูงประมาณ  ๒,๗๐๐ ฟุตเหนือระดับน้ำทะเลปานกลาง มีรูปร่างเป็นแอ่งกระทะมีภูเขาล้อมรอบ มีที่ราบน้อยมาก จุดที่สำคัญที่สุดก็คือ เวียงเชียงตุง แม้จะเป็นที่ราบ  แต่ก็มีพื้นที่ตะปุ่มตะป่ำ

ภูมิประเทศล้อมรอบด้วย ป่าเขา  จำกัดเส้นทางเข้า - ออก  เป็นชัยภูมิเหมาะแก่การตั้งรับ  สามารถใช้คนน้อยต่อสู้คนมากได้  แต่หากถูกปิดล้อมอยู่นาน    ก็อาจขาดแคลนเสบียงอาหารได้  แต่ฝ่ายปิดล้อมก็อาจจะขาดแคลนได้เหมือนกันหากการส่งกำลังเพิ่มเติมไม่ดีพอ

เชียงตุงมีประชากรหลากหลายชาติพันธุ์อาศัยอยู่ร่วมกัน ส่วนใหญ่จะเป็นชาวไทขึนหรือไทเขิน มีไทใหญ่ และ พม่า ลองลงมา ยังมีชนกลุ่มน้อยอื่น ๆ อีกมากมาย เช่น อาข่า ปะด่อง ว้า ลาฮู ลีซอ ลัวะ ฯลฯ 

 

 

ระยะห่างจากชายแดนไทย ปัจจุบัน ผ่านด่านท่าขี้เหล็กที่อำเภอแม่สาย ประมาณ  ๑๖๕ กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทางโดยรถยนต์ ประมาณ ๔ ชั่วโมง

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

นครเชียงตุง  ภูมิประเทศล้อมรอบด้วย ป่าเขา  จำกัดเส้นทางเข้า - ออก  เป็นชัยภูมิเหมาะแก่การตั้งรับ  สามารถใช้คนน้อยต่อสู้คนมากได้

 

 

 การปฏิบัติของกองทัพอากาศอากาศ

          ก่อนที่กองทัพพายัพจะรุกเข้าไปในสหรัฐไทยเดิมในเดือน พฤษภาคม   ๒๔๘๕ นั้น กองบินน้อย ที่ ๘๐  ได้ทำการบินลาดตระเวนและโจมตีทิ้งระเบิดในดินแดนข้าศึกก่อนล่วงหน้าแล้ว  เพื่อเป็นการเตรียมให้กองทัพพายัพทำการรุกได้ตามแผน

          ในศึกเชียงตุงครั้งนี้   กองทัพอากาศมีเครื่องบินรบใช้ อยู่  ๔  แบบ    ว่ากัน  พอรู้ๆ  นะครับ

 

เครื่องบินตรวจการณ์โจมตีทิ้งระเบิด แบบ ๒๓ คอร์แซร์ ( บ.จ. ๑ )

 

 

 

 

เป็นเครื่องบินโจมตี และลาดตระเวณ   มีเขี้ยวเล็บ คือ   ปืนกลอากาศขนาด   ๘  มิลลิเมตร

ด้านหน้า    ๔  กระบอก  ติดทั้งปีกบน และ ปีกล่าง   ด้านหลัง   ๒  กระบอก 

รัฐบาลไทยซื้อจากสหรัฐอเมริกา  ตั้งแต่ พ.ศ.๒๔๗๖  พร้อมสิทธิการสร้าง

ใน พ.ศ.๒๔๘๐   ได้สร้างเอง  จำนวน  ๒๕  เครื่อง   และใน พ.ศ.๒๔๘๓   ได้สร้างอีก  ๕๐  เครื่อง 

*   *   *   *

 

ฮอว์ค  ๓

 

 

 

เป็นเตรื่องขิบขับไล่ ดัดแปลงจากเครื่องบินแบบ  BF 2 C - 1  ซึงเป็นเครื่องบินบนเรือบรรทุกเครื่องบิน

รัฐบาลไทยซื้อจากสหรัฐอเมริกา เมื่อ พ.ศ.๒๔๗๘

*   *   *   *

 

นาโกยา ๒๖

 

 

 

เป็นเครื่องบินโจมตี  ๒  ที่นั่ง

มีปืนกลอากาศ   ขนาด  ๗.๗  มิลลิเมตร   ด้านหน้าติดที่  ปีกซ้าย  ด้านหลังลำกล้องแฝด

สามารถบรรทุกระเบิด  ขนาด  ๑๐๐  กิโลกรัม   จำนวน  ๔  ลูก   ขนาด  ๕๐  กิโลกรัม  จำนวน  ๘  ลูก  หรือ  ขนาด  ๑๒  กิโลกรัม   จำนวน  ๓๒  ลูก

รัฐบาลไทยซื้อจากประเทศญี่ปุ่น ใน พ.ศ.๒๔๘๓

 *   *   *   * 

 

เครื่องบินขับไล่แบบ ๑๒   บ.ข.๑๒  นากาชิมา กิ - ๒๗    Nakajima Ki-27b Nate/Otsu

 

 

 

เป็นเครื่องบินขับไล่   มีปืนกลอากาศ ขนาด  ๗.๖๙  มิลลิเมตร จำนวน  ๒  กระบอก  เป็นอาวุธ

รัฐบาลไทยซื้อจาก ญี่ปุ่น ใน พ.ศ.๒๔๘๕   นับว่าเป็นเตรื่องบินที่เข้าประจำการล่าสุด

*   *   *   *

 

       เมื่อทราบว่า กองทัพอากาศ มีเตรื่องบินอะไร แล้ว  ก็เชิญติดตามว่า กองทัพอากาศ ทำอะไร ต่อไป  ครับ

๔  มกราคม  ๒๔๘๕     เวลา  ๑๑๓๕       ฝูงบิน ๒๒   จัดเครื่องบิน  ลาดตระเวนและทิ้งใบปลิวที่เมืองพยาค  เมืองเลน  เมืองโฮปัง  และเมืองฮ่องลึก

๑๐ - ๑๑  มกราคม  ๒๔๘๕         ญี่ปุ่นโจมตีเนเธอร์แลนด์อิสตอินดีส   (อินโดนีเซียในปัจจุบัน)

๑๑  มกราคม  ๒๔๘๕         ฝูงบิน ๓๒  จัด  คอร์แซร์  จำนวน  ๓ เครื่อง  ทิ้งระเบิดที่บ้านห้วยแม่สะอู   จังหวัด  แม่ฮ่องสอน

๑๒  มกราคม  ๒๔๘๕         ฝูงบิน ๓๒  จัด คอร์แซร์  จำนวน ๓ เครื่อง ทิ้งระเบิดซ้ำที่หมายเดิม

๑๔  มกราคม  ๒๔๘๕         ฝูงบิน ๓๒  จัด  คอร์แซร์  จำนวน ๒ เครื่อง  ตรวจการณ์ที่ เมืองตุน  เมืองสุยาง  เมืองตาปาเส็ง

๑๕  มกราคม  ๒๔๘๕

                    ฝูงบิน  ๓๒  จัดเครื่องบินไปลาดตระเวนที่ อำเภอแม่แจ่ม    แม่สะเรียง   ขุนยวม และ จังหวัดแม่ฮ่องสอน พบข้าศึกซึ่งถอยร่นไปจากการโจมตีไป รวมตัวกันที่บ้านห้วยโป่งลา

                    ฝูงบิน  ๒๒   จัด  คอร์แซร์  ลาดตระเวนที่เมืองเลน  เมืองโฮปัง  เมืองปาเฮน และเมืองท่าล่าง

๑๗  มกราคม   ๒๔๘๕

               ฝูงบิน  ๒๒  จัดเครื่องบินไปลาดตระเวนที่เมืองตุน  เมืองสาด  เมืองทุม

               ฝูงบิน  ๓๒   จัดเครื่องบินไปลาดตระเวนที่บ้านหนองหมูฮ่อ  เมืองฮัง  เมืองตุน

 

ประกาศ   อย่างนี้ต้อง    . . .  ประกาศ (สงคราม)

          ในระยะเริ่มแรกของสงครามนั้น    กองทัพญี่ปุ่นได้ทำการรบมีชัยใรทุกสมรภูมิ  ทั้งทางบก  ทางเรือ  และทางอากาศ      การที่ กำลังทางเรือ  และกำลังทางอากาศของญี่ปุ่นก็สามารถจมเรือ พริ้นส์ ออฟ เวลส์  (Prince of Wales)  และเรือ รีพัลส์  (Repulse) ของอังกฤษลงได้นอกฝั่งมลายูในเวลาอันรวดเร็ว  และง่ายดาย   เมื่อ  ๑๐  ธันวาคม  ๒๔๘๔  ทำให้โลกตกตะลึงและงงงันมาก    ส่วนการรบทางบก   กองทัพญี่ปุ่นก็รุกเข้าไปในมลายูได้อย่างรวดเร็ว    กองทัพอังกฤษไม่สามารถต้านทานได้    ฮ่องกง  ก็ยอมจำนนไปแล้ว    สิงคโปร์ก็ถูกโจมตีทางอากาศอย่างหนัก      ในพม่า อังกฤษก็ต้องถอย ให้กองทัพจีนออกรับกองทัพณี่ปุ่นแทน

          ส่วนในยุโรป   กองทัพเยอรมันก็มีชัยชนะต่อฝ่ายสัมพันธมิตรเกือบทุกแนวรบ

          จากสถานการณ์ที่ปรากฏ  ขณะที่การสงครามผ่านไปเพียงไม่ถึงห้าสิบวัน    ทำให้นักการเมือง และขุนทหารใหญ่ที่นิยมญี่ปุ่นอยู่แล้วประมาณสถานการณ์ ว่า  ฝ่ายอักษะน่าจะได้รับชัยชนะในเวลาอันไม่นานนัก    จึงมีความคิดเล็งผลเลิศว่าควรจะเข้ากับญี่ปุ่นเสียให้เต็มที่  จะได้ชื่อว่าเป็นฝ่ายชนะ

          นายกรัฐมนครีเห็นชอบ  ตกลงให้ถือเอาเวลาเที่ยงตรง  ของวันที่  ๒๕  มกราคม  ๒๔๘๕  เป็นเวลา ประกาศสงคราม    และเหตุการณ์ก็เอื้ออำนวย . . .

 

๒๔  มกราคม  ๒๔๘๕

          กองพลทหารม้า  (พล.ม.)  เริ่มเข้าที่ชุมพลที่  อำเภอแม่แตง   จังหวัดเชียงใหม่

        ในคืน  ๒๔  มกราคม  ๒๔๘๕  ฝ่ายสัมพันธมิตรได้ทิ้งระเบิดโจมตีกรุงเทพฯ    รัฐบาลไทยจึงถือเป็น "เหตุอันสมควร" ให้ต้อง

. . . ประกาศสงตรามต่ออังกฤษ และสหรัฐอเมริกา . . .  

 

          ตามระเบียบนั้น  จะเป็นพระราชบัญญัติก็ตาม  หรือพระบรมราชโองการใดๆ ก็ตาม    พระมหากษัตริย์ หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์จะต้องทรงลงพระปรมาภิไธย  หรือลงนามก่อน    แล้วนายกรัฐมนตรีจึงจะเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการในภายหลัง      แต่ในสมัยที่  จอมพล  ป.พิบูลสงคราม  เป็นนายกรัฐมนตรี  และมีคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์    จอมพล  ป.พิบูลสงคราม  มักจะลงนามรับสนองพระบรมราชโองการก่อนเสมอ   แล้วจึงเสนอให้คณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ลงนามในภายหลัง   การประกาศสงครามครั้งนี้ก็เป็นเช่นเดียวกัน . . .  

 

๒๕  มกราคม  ๒๔๘๕    ประกาศสงคราม  คณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ได้ลงนามในประกาศเพียง  ๒  คนเท่านั้น 

          มีการประชุมคณะรัฐมนตรีเป็นพิเศษ    กำหนดให้อ่านประกาศสงครามในเวลา  ๑๒๐๐  (เที่ยงตรง)    ครั้นเวลา  ๑๑๐๐  เศษ  เจ้าหน้าที่รายงานว่าคณะผู้สำเร็จราชการ  อยู่ในกรุงเทพ ฯ  เพียง  ๒  ท่าน  คือ  พระเจ้าวรวงศ์เธอ  พระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพอาภา  กับ  พลเอก  พระยาพิชเยนทร์โยธิน  ส่วนนายปรีดี  พนมยงค์  ไปต่างจังหวัด    จะรอให้ลงนามครบ ทั้ง  ๓  ท่าน  เกรงว่าจะประกาศไม่ทันเที่ยงวันนี้   แต่ประธานคณะผู้สำเร็จราชการ  คือ  พระเจ้าวรวงศ์เธอ  พระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพอาภา  รับสั่งว่า  ให้ประกาศชื่อนายปรีดี  พนมยงค์ ลงไปก็แล้วกัน  แม้จะไม่ได้ลงนามก็ตาม   ท่านจะทรงรับผิดชอบเอง

จึงเป็นอันว่า    การประกาศสงครามในวันที่  ๒๕  มกราคม  ๒๔๘๕ นั้น    ความจริงคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ได้ลงนามในประกาศเพียง  ๒  คนเท่านั้น    แต่ได้อ่านประกาศเป็น  ๓  คนให้ครบคณะอันไม่ตรงต่อข้อเท็จจริง 

 

 

 

สถานการณ์ต่อไป  .  .  .  เชียงตุง  ๒๔๘๕

สถานการณ์ต่อไป  .  .  .  เชียงตุง  ๒๔๘๕

สถานการณ์ต่อไป  .  .  .  เชียงตุง  ๒๔๘๕

 

บรรณานุกรม

 

          - ไทยกับสงครามโลกครั้งที่  ๒  โดย    ศาสตราจารย์   ดิเรก  ชัยนาม      แพร่พิทยา  กรุงเทพฯ  ๒๕๐๙

          - "ชีวิต กับ เหตุการณ์  ของ  จอมพล  ผิน  ชุณหะวัณ"   อัตตชีวประวัติ  อนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ  จอมพล  ผิน  ชุณหะวัณ  ป.จ.,ม.ป.ช.,ม.ว.ม.  วันจันทร์ที่  ๗  พฤษภาคม  ๒๕๑๖

          - ประวัติศาสตร์การสงครามของไทยในสงครามมหาเอเซียบูรพา  โดย  กองบัญชาการทหารสูงสุด

          - ประวัติกองทัพอากาศในสงครามมหาเอเซียบูรพา ฯ  โดย กองทัพอากาศ  

          - ประวัติกองทัพไทย  ในรอบ  ๒๐๐  ปี  พ.ศ.๒๓๒๕ - ๒๕๒๕      กรมแผนที่ทหาร  กรุงเทพฯ  ๒๕๒๕

            - เว็บไซต์ ของกองบัญชาการกองทัพไทย  กองทัพบก  กองทัพเรือ  กองทัพอากาศ  และเว็บไซต์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง  ซึ่งขอขอบคุณไว้  ณ  ที่นี้

 




ประวัติศาสตร์สงคราม กรีก โดย สัมพันธ์

อเล็กซานเดอร์มหาราช : สู่ตะวันออก
อเล็กซานเดอร์มหาราช : เริ่มลมเหนือ
สงคราม กรีก - กรีก
สงคราม กรีก - เปอร์เซีย



1

ความคิดเห็นที่ 1 (556)
avatar
คนไทยรักชาติไม่เลือกสี
ชอบมากครับ ไทยมีความยิ่งใหญ่ถึงเพียงนี้
ผู้แสดงความคิดเห็น คนไทยรักชาติไม่เลือกสี วันที่ตอบ 2010-05-27 19:25:44 IP : 119.42.80.95


ความคิดเห็นที่ 2 (557)
avatar
สัมพันธ์
          ขอบคุณครับ  .  .  .  การที่จะมีความยิ่งใหญ่ได้  ต้องเกิดจากหลายองค์ประกอบ  ที่สำคัญที่สุดคือความสามัคคี  เป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน  ฯลฯ   ครับ
ผู้แสดงความคิดเห็น สัมพันธ์ (samphan_chaeng-at-hotmail-dot-com)วันที่ตอบ 2010-05-28 06:30:42 IP : 124.121.44.114


ความคิดเห็นที่ 3 (629)
avatar
วาสนา ปิรัง
ขอบคุณค่ะ  ทุกท่าน
ผู้แสดงความคิดเห็น วาสนา ปิรัง (pukwatsana-at-hotmail-dot-com)วันที่ตอบ 2010-09-08 14:57:53 IP : 125.26.122.151



1


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.
| WW II Europe | WW II Asia | WW I | Vietnam War | ประวัติศาสตร์ไทย | บทความจากสมาชิก | คุยกันหลังฉาก | บทความทั้งหมด |

สนใจร่วมเขียนบทความในเว็บไซต์ เชิญอ่าน แนวทางการร่วมเขียนบทความ ภาพยนตร์ประวัติศาสตร์

Custom Search



eXTReMe Tracker