dot
dot
เว็บภาพยนตร์ประวัติศาสตร์ ยินดีต้อนรับผู้สนใจทุกท่าน
dot
dot
สมาชิก Webboard/Blog
ชื่อผู้ใช้ :
รหัสผ่าน :
เข้าสู่ระบบอัตโนมัติ :
bullet ลืมรหัสผ่าน
dot
bulletข้อตกลงการเป็นสมาชิก
bulletเว็บบอร์ด-คุยกันหลังฉาก
bulletเว็บบอร์ด-Games ย้อนยุค
bulletเว็บบอร์ด-ชุดจำลองประวัติศาสตร์
bulletเว็บบอร์ด-หนังสือประวัติศาสตร์
bulletเว็บบอร์ด-เพลงประวัติศาสตร์
bulletคำถาม/คำตอบ ล่าสุด
bulletแนวทางการร่วมเขียนบทความ
dot
สงครามโลกครั้งที่ 2
dot
bulletสมรภูมิยุโรป (สัมพันธมิตรVSเยอรมัน-อิตาลี)
bulletสมรภูมิแปซิฟิก-เอเชีย (สัมพันธมิตรVSญี่ปุ่น)
dot
ภาพยนตร์ประวัติศาสตร์อื่นๆ
dot
bulletสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง
bulletประวัติศาสตร์ไทย
bulletประวัติศาสตร์อเมริกันยุคเริ่มแรก
bulletสงครามเวียดนามและอินโดจีน
bulletตะวันตกโบราณ (กรีก โรมัน ฯลฯ)
bulletประวัติศาสตร์ร่วมสมัย
bulletเอเชียโบราณ
bulletประวัติศาสตร์อื่นๆ (ยังไม่แยกหมวดหมู่)
bulletคลิปความรู้จาก YouTube
dot
บทความโดย วิวันดา
dot
bulletฮิตเล่อร์...และเหล่าขุนพลแห่งอาณาจักรไรค์ซที่สาม
bulletลอดลายรั้ว.....วินด์เซอร์
bulletเลิศเลอวงศา...โรมานอฟ
bulletเชลย
bulletซูคอฟ...ยอดขุนพลผู้ดับฝันของฮิตเล่อร์
dot
บทความโดย สัมพันธ์
dot
bulletคนไทยในกองทัพพระราชอาณาจักรลาว
bulletประวัติศาสตร์สงคราม กรีก
bulletกรณีพิพาทอินโดจีนและสงครามมหาเอเชียบูรพา
bulletอยุธยายศล่มแล้ว ลอยสวรรค์ ลงฤา
bulletฮานนิบาล
bulletพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบรมวงศานุวงศ์
bulletไทยกับมหาสงคราม
bulletสงครามเวียดนาม
bulletห้วยโก๋น ๒๕๑๘
bulletการทัพในมลายา
bulletประวัติศาสตร์อื่น ๆ
dot
เรื่องอื่นๆ
dot
bulletบทความเสริมความรู้ทั่วไป
bulletเกร็ดเล็กเกร็ดน้อย
bulletผู้จัดทำ
bulletผังเว็บไซต์ (Site Map)
bulletแนวทางการร่วมเขียนบทความ
bulletถาม-ตอบ (FAQs) (โปรดอ่านก่อนตั้งกระทู้หรือสมัครสมาชิก)
bulletร้านค้าออนไลน์
bulletแบ่งปัน Album
dot
ลิงค์ต่างๆ
dot
bulletHistory on Film
bulletกองบิน 21 กองพลบิน 2
bulletIELTS British Council
bulletIELTS IDP
bulletMUIC




โหราศาสตร์ยุคไอที



คนไทยในกองทัพพระราชอาณาจักรลาว - ราชาแห่งสนามรบ
วันที่ 16/02/2020   21:10:21

 

๖. ราชาแห่งสนามรบ

ฝ่ายข้าศึก

           ยังคงจำกันได้นะครับว่า  ขบวนการประเทศลาว ได้รับการสนันสนุนทางการทหารจากเวียดนามเหนือ กองกำลังของเวียดนามเหนือที่ส่งมาช่วยขบวนการประเทศลาวในครั้งกระนั้นมีถึงกำลังหลักถึง ๒ กองพลทหารราบ และส่วนสนับสนุน อีกส่วนหนึ่ง  ดังนี้

          กองพลทหารราบที่ ๓๑๒ (พล.ร.๓๑๒)  มี  ๓ กรมทหารราบ  คือ กรมทหารราบที่ ๑๔๑, ๑๖๕  และ ๒๐๙   (ร.๑๔๑, ร.๑๖๕ และ ร.๒๐๙)

          กองพลทหารราบที่ ๓๑๖ (พล.ร.๓๑๖)  มี  ๓ กรมทหารราบเหมือนกัน คือ  ร.๑๔๘, ๑๗๔ และ ร.๓๓๕    (จากรายงานข่าวกรองว่าเป็นหน่วยที่จัดตั้งใหม่)

          กองพลทหารปืนใหญ่   (พล.ป.)

          กรมทหารปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยานที่ ๒๒๖ และ ๒๗๖   (ปตอ.๒๒๖ และ ปตอ.๒๗๖)

          กรมรถถังที่ ๑๙๕  (ถ.๑๙๕)

          กรมอิสระนักรบบนภูเขาที่ ๘๖๖

          กองพันสรรพาวุธ

          กองพันเสนารักษ์  และ โรงพยาบาลสนาม

          กองพันทหารสื่อสาร

          กองพันกล้าตายลอบสังหารและก่อวินาศกรรม  (Sapper)

 

การวางกำลัง     (เรียงตามภูมิประเทศ จากเหนือ ลงใต้)

          พล.ร.๓๑๖  วางกำลังทางทิศเหนือของทุ่งไหหิน   บริเวณตะวันออกของภูเก็ง เผชิญหน้ากับ บีซี ๖๐๖  และ  ๖๐๘  และฐานยิงคิงคอง   ดังนี้

                    ร.๑๗๔ และ ร.๑๔๘  อยู่เหนือสุดบริเวณสนามบินเมืองพั้น

                   ร.๓๓๕  วางกำลังอยู่ใต้ลงมา  

                   กรม ป.พล.ร.๓๑๖    มีปืนใหญ่กระสุนวิถีราบ ขนาด ๑๓๐ มม.  ระยะยิงไกลสุด  ๒๗ กม.

                    นอกจากนี้  มีกองพันรถถังที่ ๑๙๕   และ ทหารปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยาน อีก  ๑ กรม  ซึ่งอยู่ในที่ซ่อนพรางเป็นอย่างดี  ไม่สามารถตรวจการณ์พบ  เคยยิงเครื่องบิน  T - 28  ของ ทชล.ตกเสียหลายลำ   (เท่าที่ได้ยินเสียงนักบิน ทชล.โต้ตอบกันทางวิทยุ และบินควันโขมง เพราะถูกยิงหลายครั้ง)

          พล.ร.๓๑๒   วางกำลังต่อจาก พล.ร.๓๑๖  ลงมาทางใต้ เผชิญหน้ากับหน่วยบริเวณ บ้านโตน  คือ บีซี  ๖๐๓, ๖๐๗ และ ฐาน มัสแตง  และ  บีซี ๖๐๕, ๖๐๙  และฐาน ไลอ้อน   ดังนี้

                   ร.๑๔๑  วางกำลังอยู่เหนือสุดของ พล.ร.๓๑๒  บริเวณบ้านโตน  เผชิญหน้ากับ บีซี ๖๐๓ ที่ฐานมัสแตง

                   ร.๑๖๕  วางกำลังบริเวณสนามบินลาดห่วง เผชิญหน้ากับ บีซี ๖๐๗  ที่ฐานมัสแตง

                   ร.๒๐๙  วางกำงทางตอนเหนือของภูเทิง  เผชิญหน้ากับ บีซี ๖๐๙ และ ฐานไลอ้อน

                   กรม ป.พล.ร.๓๑๒  เช่นเดียวกับ กรม ป.ของ พล.ร.๓๑๖                   

                   นอกจากนี้ยีงมี  พัน.ถ.๑๓๕  อยู่ในซ่อนพราง ไม่สามารถตรวจการณ์พบได้           

          ครับ . . .  จำง่ายๆ ว่าข้าศึกชุมนุมกันอย่างหนาแน่น ทางเหนือ และตะวันออกของทุ่งไหหิน และ ฝ่ายข้าศึกก็มีการปรับกำลังหรือเพิ่มเติมกำลังอยู่เสมอ    รอไว้เมื่อผมเล่าไปถึงห้วงเวลาใกล้ๆ การรบใหญ่ค่อยเอาภาพการวางกำลังแต่ละฝ่ายมาดูกัน      ตอนนี้ดูภาพรถถัง และปืนใหญ่ข้าศึกไปพลางๆ  ก่อน

 

 

รถถัง T -34

 

 

 

 

 

 

 

 

 ปืนใหญ่สนามขนาด ๑๒๒ มม.

 

 

 

 

ปืนใหญ่กระสุนวิถีราบ ขนาด ๑๓๐ มม.    ในที่พราง          

   
 

 

 
ปตอ.ขนาด ๔๑ มม.   (ภาพจากสงครามโลกครั้งที่ ๒)

 

          ครับ . . .  เห็นอาวุธข้าศึกแล้ว อย่าเพิ่งเสียขวัญนะครับ   อาวุธฝ่ายเราก็ไม่น้อยหน้าเขาหรอก   เช่น ปืนใหญ่ขนาด ๑๕๕ มม. ใหญ่กว่าของเขามาก แต่ยิงได้เพียง ๑๕.๕ กม. ยิงไม่ถึงเขา  (ป.๑๓๐ มม. ยิงได้ไกล ๒๗ กม.)    แต่ฝ่ายเราก็ชดเชยด้วยการโจมตีทางอากาศ ซึ่งมีข้อจำกัดมาก  และฝ่ายข้าศึกก็เตรียมปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยานไว้ต้อนรับ อย่างเต็มที่    ถึงกระนี้กระนั้นกระไรก็ตาม    ฝ่ายเราก็เตรียมการต้อนรับฝ่ายข้าศึกอย่างเต็มที่เหมือนกัน  

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 155mm.how. M114                                                                                                       105mm. How.  M101

 

ระหว่างนี้ เชิญชมภาพคนไทยในกองทัพพระราชอาณาจักรลาวในยามเตรียมรบ  ก่อนครับ

 

  

 

ระหว่างการสร้างที่ตั้งยิงไลอ้อน    ที่เชิงภูเทิง  ในทุ่งไหหิน    

 

เวลากลางวันไม่หนาวจนต้องใช้ โอเวอร์โคท อย่าง อยู่ฐานซีบรา เพียงใช้  Field jacket ก็พอ  แต่เวลากลางคืนช่วงเดือนตุลาคมไปแล้ว  เริ่มเข้าฤดูหนาว ก็นำมาใช้เวลานอนเหมือนกัน    

ทรงกระบอกที่เห็นเรียงรายในภาพขวา คือ กล่องใส่ดินส่งกระสุนปืนใหญ่  เมื่อนำดินส่งกระสุนออกไปใช้แล้ว ก็เอาดินใส่ลงไปให้เต็มใช้ประโยชน์ในการปรับปรุงที่ตั้งยิง  ในภาพนำมากั้นดินทางเดินไปสู่ ศอย.  ที่เห็นกระสอบทรายอยู่ด้านหลัง

 

ที่ตั้งยิงไลอ้อน   เมื่อครั้งยังมีเวลา หวีผมเรียบแปร้ ได้

 

 

 

 

 

           ภาพซ้าย   เนินที่เห็นข้างหลัง (เนินไกล) คือ "มัสแตง"       ภาพนี้ออกมาไกล ศอย.จึงต้องนำวิทยุติดตัวมาด้วย เผื่อ ฮ. หรือ บ. ติดต่อมา    เพราะท่านกำหนดให้นายทหารอำนวยการยิงทำหน้าที่ผู้นำอากาศหน้า - ผนอ.  FAG - Forward Air Guide ด้วย

ภาพขวา   บนหลังคาศูนย์อำนวยการยิง "ไลอ้อน"

 

            

ภารกิจ กกล.ทสพ.ในทุ่งไหหินนี้ คือ การยึดและรักษาที่มั่นให้ถึงฤดูฝนปีหน้า (พ.ศ.๒๕๑๕)  ให้ได้    ดังนั้น งานส่วนใหญ่ของ บีเอ ๖๓๕ และ ๖๓๖ (หน่วยทหารปืนใหญ่)  ก็คือ การเสริมที่ตั้งยิงให้มั่นคงแข็งแรงทนต่อกระสุนปืนใหญ่ของข้าศึกให้ได้   เพราะศึกนี้  ข้าศึกมีปืนใหญ่และใช้ปืนใหญ่อย่างชำนิชำนาญ ไม่เหมือนสมรภูมิเวียดนามซึ่งข้าศึกคือเวียดกงที่มีเพียงเครื่องยิงลูกระเบิดไม่มีปืนใหญ่ใช้    ถึงแม้ว่าปืนใหญ่เป็นอาวุธที่ทำลายข้าศึกได้เป็นจากระยะไกล แต่ปืนใหญ่ก็เป็นเป้าหมายที่ถูกข้าศึกทำลายได้จากระยะไกลเหมือนกัน    

อาวุธที่ต่อสู้ปืนใหญ่ได้ดีที่สุดก็คือ ปืนใหญ่

 

           ที่ว่า อาวุธที่ต่อสู้ปืนใหญ่ได้ดีที่สุดก็คือ ปืนใหญ่  ก็เพราะ อาวุธทุกชนิด หรือ ทหารทุกเหล่า ย่อมมีทั้งขีดความสามารถ และขีดจำกัดในตัวเอง    ไหนๆ ก็คุยกันเรื่องในสนามรบแล้ว ก็ชอบที่จะเล่าเรื่องที่เกี่ยวข้องเสียหน่อยนะครับ   อ่านแล้วจะได้ สงสัยน้อยลง หรือหายสงสัยไปเลย  หรือหากสงสัยมากขึ้น ก็แสดงว่า   ผมมีประสิทธิภาพ ทำให้ท่านที่รู้เรื่อง กลายเป็นไม่รู้ได้ไปได้     ว่ากันตามความูรู้/ความไม่รู้ เท่าที่จำได้นะครับ ไม่ได้เปิดตำรามาว่ากัน     ทหารบกนั้น แบ่งงาน หรือ แบ่งหน้าที่กันมากมาย และเรียกว่าเหล่า  ซึ่งมีทหารเหล่าต่างๆ ดังนี้

 

 *   *   *   *   *   *   *   *   *   *   *   *   *   *   *   *   *   *   *   *   *

                                    

ท ห า ร ร า บ   เป็นทหารเหล่าหัสเดิมเริ่มแรกตั้งแต่มนุษย์เริ่มมีทหาร  สมัยโบราณมีแบ่งเป็นทหารราบหนัก ทหารราบเบา  ท่านว่าแบ่งตามเกราะและอาวุธ  ครับ  คือพวกที่ใช้เกราะและอาวุธหนักๆ หรืออาวุธที่ไม่คล่องตัว เช่น หอกยาวๆ ก็เรียกว่าทหารราบหนัก   พวกที่ใช้เกราะเบาหน่อย เช่นทำด้วยหวาย หรือหนังสัตว์ ใช้อาวุธที่คล่องแคล่ว เช่น ดาบ โล่  ซึ่ง เคลื่อนที่ได้คล่องตัว คล่องแคล่ว  ก็เรียกว่า ทหารราบเบา      

         ครั้นเมื่อโลกเจริญขึ้น  คิดเครื่องมือทำให้ตนปลอดภัย และประหัตประหารคู่ต่อสู้ให้ได้มากขึ้น ก็มีคนคิดเอาดินระเบิดมาทำเป็นอาวุธ จนกลายเป็นปืนคาบศิลา บรรจุดินปืน และ กระสุน ทางปากลำกล้อง  ใช้เป็นอาวุธประจำกาย   ต่อมาก็สามารถนำใบหอก มาติดที่ปลายปืน เป็นการผสมผสาน การยิง และการแทง เข้าด้วยกัน  คือเมื่อยิงกันจนดินปิน  หรือกระสุนหมด ก็ใช้ปืนแทนหอก ใช้แทง/ฟัน กันได้อีก   กองทัพไทยสมัยเมื่อนำอาวุธชนิดนี้มาใช้ใหม่ๆ  ท่านเรียกทหารที่ถืออาวุธนี้ว่า  ทหารปืนปลายหอก

         ในปัจจุบัน อาวุธของทหารราบ พัฒนาไปมาก อาวุธประจำกาย คือ ปืนเล็กยาว (สามารถติดดาบปลายปืน เป็น ปืนปลายหอก ได้)  มีประสิทธิภาพมากขึ้น  บรรจุกระสุนได้มากขึ้น (หลายสิบ นัด)   ยิงได้ทั้ง กึ่งอัตโนมัติ (เหนี่ยวไกครั้งหนึ่งกระสุนลั่นไป ๑ นัด)    และยิงเป็นอัตโนมัติ (เหนี่ยวไกครั้งเดียว กระสุนจะลั่นไปตลอด จนกว่าจะปล่อยไก)   มีเครื่องช่วยเล็ง ทั้งในเวลากลางวัน และกลางคืน  ทำให้ยิงได้แม่นยำขึ้น

          ขีดความสามารถของทหารราบ ก็คือ   สามารถรบได้ทุกสภาพภูมิประเทศ และสภาพอากาศ  คือที่ลุ่ม  ที่ดอน  ที่ป่าภูเขา  ที่น้ำขัง  ทะเลทราย  ในบ้านเมือง  ฯลฯ   ฝนตก  ฝนไม่ตก  ฟ้าร้อง  แดดออก  แดดไม่ออก  หนาว  ร้อน ฯลฯ  เป็นอันว่าที่ใดมนุษย์อยู่ได้ ที่นั่นทหารราบรบได้     สามารถเคลื่อนที่ไปได้ทุกหนทุกแห่ง  ด้วยลำแข้งของตนเอง   โดยไม่ต้องใช้เครื่องมือ (เคลื่อนที่ด้วยเท้า ๑๐๐ เปอร์เซนต์)  เว้นเสียแต่ จะไม่ไป       สามารถทำการรบประชิดได้ดี (การรบที่ถึงตัวกัน ขั้นตะลุมบอน ก็ใช้ดาบปลายปืน  หรือ ปืนปลายหอก ทิ่มแทงกันให้ตายเสียคนหนึ่ง คนที่ไม่ตายก็ไปแทงคนอืนอีก   จนกว่าตัวจะถูกแทงตายเสียเอง  หรือตายเสียทั้งสองคน)    ใช้ยึดที่หมาย และป้องกันที่หมายได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่ง   ซ่อนพราง และกำบังตนได้ง่าย

         ส่วนขีดจำกัดของทหารราบ  ก็คือ   ขีดจำกัดของมนุษย์นั่นแหละครับ  คือ รบได้ทุกที่ก็จริง แต่ภูมิประเทศยากลำบาก ก็ทำให้ ความสามารถ / ประสิทธิภาพในการรบลดลง   ไปด้วยลำแข้ง ก็ไปได้ช้า   เอากระสุนติดตัวไปมาก ก็หนัก เดินช้า  เอาไปน้อยไม่พอใช้ก็เสียหาย   เอาเสบียงอาหารไปได้จำกัด  เอาไปมากก็หนัก  เอาไปน้อยก็หมดเร็ว  หมายว่าไปหาเอาข้างหน้า ถ้าไม่มี ก็ อด  

         ปัจจุบันมีการจัดหน่วย ทหารราบยานยนตร์ คือ ทหารราบเคลื่อนที่เข้าสู่ที่หมายด้วย รถสายพานลำเลียงพล ทำให้เพิ่มประสิทธิภาพในการรบยิ่งขึ้น

 

 

 

รถสายพานลำเลียงพล  แบบ   M - 113

ทหารราบถือเอาสีแดง เป็นสีประจำเหล่า นัยว่ามาจากสีเลือด แสดงความกล้าหาญ  และจะมั่นใจมากเมื่อ "เท้าทั้งสองอยู่บนพื้นดิน"    คำขวัญ หรือ คติประจำใจทหารราบทุกท่านคือ   "ตามข้าพเจ้า"  แต่ถึงกระนี้กระนั้นกระไรก็ตาม

ทหารราบ เป็นผู้เข้ายึดที่หมาย เป็นผู้ประกาศชัยชนะ   วงการทหารทั่วโลกจึงประกาศยกย่องให้

ทหารราบ     ราชินีแห่งสนามรบ   

 


 

 

X   X   X   X   X   X   X   X   X   X   X   X   X   X   X   X 

 

 

ท ห า ร ม้ า    เป็นทหารที่ถือกำเนิดมาไล่เลี่ยกับทหารราบ  คือ  เมื่อรัฐเรียกคนมาเป็นทหาร ใครมีม้า ก็ขี่ม้ามา เมื่อรวบรวมกันได้มากก็จัดเป็นกลุ่มก้อน ก็ค่อยๆพัฒาขึ้นเป็นหน่วยทหารม้า  ในสมัยโบราณ ก็มีทหารม้าหนัก   ทหารม้าเบา  โดยมีหลักเกณฑ์เช่นเดียวกับทหารราบหนัก - เบา เหมือนกัน     ยุคหนึ่งที่ชนชั้นหนึ่ง แสดงความกล้าหาญด้วยการขี่ม้าวิ่งสวนกันใครเอาหอกยาวๆ แทงคู่ต่อสู้ตกม้าได้ ก็เป็นผู้ชนะ  แต่ทั้งคนและม้าสวมเกราะเหล็กเสียหนาแน่นทีเดียว

          มาถึงยุคที่ ใช้อาวุธปืน   อาวุธประจำกายของทหารม้าใช้เป็นชนิดที่ สั้น และ เบา กว่าของทหารราบ   เรียกว่าปืนเล็กสั้น   แต่ไม่สามารถติดดาบปลายปืนได้  ทหารม้าจึงต้องมีดาบเป็นอาวุธประจำกายอีกชนิดหนึ่ง    เมื่อเวลาเข้าประจันบานกัน ก็ใช้ดาบเล่มนี้แหละ ป้องกันตน และสังหารข้าศึก   ผมเคยเห็นทหารม้าแต่งชุดขี่ม้า  นุ่งกางเกงรัดขาท่อนล่าง   สวมรองเท้าสูง (Top Boot)  ปืนเล็กสั้นสะพายเฉียง  คาดดาบทหารม้าที่เอวซ้าย  นั่งบนหลังม้า  โก้ชมัด

          ในปัจจุบันทหารม้าขี่ม้ามีไวใช้ในพิธีการต่างๆ  ในการรบ อาวุธทหารม้าเปลี่ยนเป็นยานเกราะชนิดต่างๆ   ยานเกราะของบางประเทศลอย และเคลื่อนที่ในน้ำได้ในระดับหนึ่งด้วย

          ขีดความสามารถของทหารม้า (ในปัจจุบัน)   คือ  การเคลื่อนที่เข้าหาข้าศึกในสนามรบ (ทางยุทธวิธี)กระทำได้รวดเร็ว (กว่าทหารราบ)     มีอาวุธยิงทำลายที่หมายได้ อย่างรุนแรง       รูป และ เสียง ของยานเกราะข่มขวัญฝ่ายตรงข้ามได้ดี

          ขีดจำกัดก็มาจากขีดความสามารถนั่นแหละครับ  เมื่อมีน้ำหนักมาก ก็เคลื่อนย้ายไประยะไกลๆ  (การเคลื่อนย้ายทางยุทธศาสตร์ หรือ การเคลื่อนย้ายเข้าสู่สนามรบ) ทำได้ยาก สิ้นเปลือง และใช้เวลามาก     สิ้นเปลืองกระสุน และ เชื้อเพลิง สูงมาก    การระวังป้องกันตนเองกระทำได้ยากลำบาก   ล่อแหลมจากการถูกโจมตีทางอากาศ 

ทหารม้า ถือเอาสีฟ้าหม่น เป็นสีประจำเหล่า   และมีคำขวัญประจำเหล่าว่า   รวดเร็ว   รุนแรง   เด็ดขาด  

(ถูกต้องหรือไม่ ไม่สนใจ  ถูกใจข้าฯ  ก็แล้วกัน)

 

 


 

 

 

<  รถหุ้มเกราะ  V - 150    รถถัง  M - 41 >

 

 

 

 

 

 

 

 

<  scorpion      stringray  >

 

 

 

 

 

 

 

<  m60a3                 m48a5  >

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 ?   ?   ?   ?   ?   ?   ?   ?   ?   ?   ?   ?   ?   ?   ?   ?   ?   ?

 

 ท ห า ร ปื น ใ ห ญ่     เป็นเหล่าใหม่ทันสมัย  เกิดเมื่อมีดินระเบิด หรือดินปืนใช้กันแล้ว จึงนับว่าใช้เทคโนโลยีมาแต่แรก    ต้องเอาดินระเบิดใส่เข้าไปในลำกล้องปืน  อัดให้แน่น แล้วจึงใส่ลูกกระสุน  เมื่อจุดไฟ ดินระเบิด ระเบิดเกิดแรงผลักลูกกระสุนออกไป   ลูกกระสุนก็พลิกแพลงได้นานาชนิด  ตามปรกติเป็นลูกเหล็กกลมๆ ขนาดพอดีลำกล้อง   แต่ทหารปืนใหญ่ไทย  เคยใช้ โซ่ เป็นกระสุน   ยิงออกไปก็กวาดหรือถูกข้าศึกได้มากกว่าใช้กระสุนกลมลูกเดียว     ในยุครัตนโกสินทร์  เมื่อศึกสงคราม ๙ ทัพ  สมเด็จกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท  ทรงใช้ไม้มาทำเป็นลูกกระสุน   

 

 

 

         ทหารปืนใหญ่ในยุคต้นๆ ใช้ม้าลากปืนใหญ่  ทหารปืนใหญ่จึงต้องขี่ม้าเป็น และตกม้าไม่ได้  เพราะจะถูกรถปืนใหญ่ทับเอา    ปืนใหญ่ก็มีแบ่งเหมือนกัน แต่พิจารณาอาวุธเป็นหลัก    ประเภทใหญ่ๆ ก็คือ  ชนิดมีลำกล้อง และ ไม่มีลำกล้อง   ปืนใหญ่ไม่มีลำกล้องก็เช่น อาวุธปล่อย หรือ จรวด ต่างๆ      ชนิดมีลำกล้อง ก็  แบ่งตามวิถีกระสุน  เป็นปืนใหญ่กระสุนวิถีโค้ง กับ ปืนใหญ่กระสุนวิถีราบ    คือถ้าความยาวของลำกล้อง มากกว่า ๓๐ เท่า ของความกว้างปากลำกล้อง นับเป็น ปืนใหญ่วิถีราบ   หากไม่ถึง ๓๐ เท่า   ก็เป็น ปืนใหญ่วิถีโค้ง  และ แต่ละชนิดวิถีกระสุน ก็ แบ่งตามขนาดกว้างปากลำกล้อง  เป็น   ขนาดกว้างปากลำกล้องไม่เกิน ๑๒๐ มม.จัดเป็น ปืนใหญ่เบา     ปากลำกล้องมากกว่า  ๑๒๐ มม. ถึง  ๑๖๐ มม.  จัดเป็น ปืนใหญ่กลาง    และปืนใหญ่ที่กว้างปากลำกล้องเกิน ๑๖๐ มม. จัดเป็น ปืนใหญ่หนัก      วิธีกำหนดเรียกชื่อปืนใหญ่แต่ละชนิดก็บอกทั้งวิถีกระสุน และขนาด  เช่น  ปืนใหญ่เบากระสุนวิถีโค้ง ขนาด ๑๐๕ มม. - ปบค.๑๐๕ มม.    ปืนใหญ่กลางกระสุนวิถีโค้ง ขนาด ๑๕๕ มม. - ปกค.๑๕๕ มม.  หรือ  ปืนใหญ่กลางกระสุนวิถีราบ ขนาด ๑๓๐  มม. - ปกร. ๑๓๐ มม.  เป็นต้น

          นอกจากนี้ ยังแบ่งตามวิธีเคลื่อนที่ในสนามรบ  เช่น  ปืนใหญ่ถอดบรรทุก    คือ ถอดเป็นชิ้นๆ แล้วบรรทุกในรถยนตร์   เฮลิคอปเตอร์  จักรยานยนตร์  หรือบรรทุกสัตว์ต่าง    เมือไปถึงที่ตั้งยิง ก็นำมาประกอบกันใช้ยิงได้    ปืนถอดบรรทุก  ส่วนมากจะเป็นปืนใหญ่เบา      ปืนใหญ่ลากจูง   คือใช้รถยนตร์ลากไปเข้าที่ตั้งยิง  หรือ อาจจะบรรทุกไปบนสัตว์ต่าง ก็ได้ (แต่ต้องไม่หนักเกินความสามารถของสัตว์ต่างนั้น)  เมื่อเจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรีไปปราบฮ่อ  ท่านนำปืนใหญ่บรรทุกบนหลังช้าง    แต่ปืนใหญ่สมัยนั้น เล็ก และไม่หนักอย่างปืนใหญ่ในปัจจุบัน    ส่วนมากปืนใหญ่เบา และปืนใหญ่กลาง  มักจะเป็น  ปืนใหญ่ลากจูง     ปืนใหญ่อัตตาจร   คือปืนใหญ่ที่ติดตั้งบนยานยนตร์  เคลื่อนที่ไปได้ด้วยตนเอง     ส่วนมาก เป็นปืนใหญ่กลาง  และปืนใหญ่หนัก   มองภายนอกคล้ายๆ รถถังของทหารม้า   แต่แตกต่างกันที่ ยุทธวิธี และ หลักยิง

 

          ขีดความสามารถของทหารปืนใหญ่   ก็เช่น ทำลายข้าศึกได้ตั้งแต่ระยะไกล  ทำลายได้ครั้งละมากๆ    เคลื่อนที่หรือย้ายที่ตั้งยิงได้รวดเร็ว   รวม และ กระจายอำนาจการยิงจากที่ตั้งยิงต่างๆ  ที่อยู่ห่างกันได้รวดเร็ว     มีกระสุน และชนวน  หลากหลายชนิดให้เลือกใช้ให้เหมาะกับเป้าหมายเพื่อให้การทำลายได้ผลสูงสุด    ซ่อนพรางในที่กำบังนำออกมายิงแล้วนำไปซ่อนไว้ได้

          ส่วนขีดจำกัดก็มีมาก เช่น  ขณะเคลื่อนที่จะไม่สามารถป้องกันตนด้วยปืนใหญ่ได้     ไม่สามารถรบประชิดได้     ถูกตรวจการณ์พบได้ง่ายต้องมีการซ่อนพราง และกำบังเป็นอย่างดี   การเคลื่อนที่ทางบกจำกัดด้วยเส้นทางและภูมิประเทศ เคลื่อนย้ายทางอากาศก็จำกัดด้วยต้องมีอากาศยานที่เหมาะสม    มองไม่เห็นเป้าหมายต้องอาศัยระบบตรวจการณ์ที่มีประสิทธิภาพ เช่นผู้ตรวจการณ์หน้า  หรือผู้ตรวจการณ์ทางอากาศ

 

 

จุดอ่อนของปืนใหญ่  คือ ขณะเดินทาง

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ปืนใหญ่เบากระสุนวิถีโค้ง ขนาด ๑๐๕ มม. - ปบค. ๑๐๕ มม. (ซ้าย)  และ  ปืนใหญ่กลางกระสุนวิถีโค้ง ขนาด ๑ค๕ มม.  (ขวา)

ขณะปฏิบัติการในสนาม

 

 

 

130 mm. Gun pb3 Type 591

 

 

          ครับ  . . . ที่กล่าวมา คือ ปืนใหญ่ที่โจมตีเป้าหมายบนพื้นดิน เรียกว่า  ปืนใหญ่สนาม   Field Artillery - FA

          ยังมีปืนใหญ่อีกชนิดหนึ่ง โจมตีเป้าหมายในอากาศ เรียกว่า   ปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยาน  Anti Aircraft Artillery - AAA     ซึ่งมีอีกมากมายหลากหลายชนิด  ตั้งแต่ขนาดกว้างปากลำกล้อง สิบกว่ามิลลิเมตร จนถึงจรวดที่ยิงจากพื้นสู่อากาศ    Surface to Air Missille -  SAM   ชนิดต่างๆ จัดเป็น   ปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยานทั้งนั้น

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ปตอ.ขนาด ๔๐ มม. ลากจูง                                                                             ปตอ.ขนาด ๔๐ มม.ลำกล้องคู่ อัตตาจร  M 42   Duster

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 
ปืนใหญ่กลางกระสุนวิถีโค้ง ขนาด ๑๕๕ มม.อัตตาจร  M 109  ภาพขวา คือ รถลำเลียงกระสุน

 
 

 

 

ปกค.๑๕๕ มม.  M 109   ในอีกบรรยากาศหนึ่ง

 

 

 ทหารปืนใหญ่  ถือเอา   สีเหลือง  เป็นสีประจำเหล่า

หลักในการปฏิบัติเพื่อให้บรรลุภารกิจ ว่า  แม่นยำ (ถูกต้อง) - ทันเวลา      

การรบครั้งสำคัญๆ ในประวัติศาสตร์การสงคราม  การใช้ปืนใหญ่จะมีผลอย่างมากต่อการรบแต่ละครั้ง  ฝ่ายที่ใช้ปืนใหญ่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ จะเป็นฝ่ายได้ชัยชนะ   หรือ  อีกนัยหนึ่งว่า

ปืนใหญ่จะตัดสินสนามรบ    ทั่วโลกจึงยกย่อง  .  .  .  ทหารปืนใหญ่  .  .  .

 

 

ร า ช า แ ห่ ง ส น า ม ร บ 

 

 

 


 
ยิง !

 

๐   ๐   ๐   ๐   ๐   ๐   ๐   ๐   ๐   ๐   ๐   ๐   ๐    

 

          ครับ . . .   ทหารที่มีหน้าที่ทำการรบจริงๆ น่าจะมีเพียงเท่านี้   แต่ก็ต้องมีผู้ทำหน้าที่  สนับสนุนการรบ  Combat Support และ สนับสนุนทางการช่วยรบ Combat Survice Support  อีกด้วย     

          การสนับสนุนการรบ  ก็ได้แก่ การยิงสนับสนุน  การสนับสนุนทางอากาศยุทธวิธี  (การยิง หรือ ทิ้งระเบิดจากเครื่องบิน)    การสนับสนุนทางการช่าง   การติดต่อสื่อสารทางยุทธวิธี (ในสนามรบ)   การข่าวกรอง    สรุปว่าการสนับสนุนการรบ  คือ  กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการรบโดยตรง   นั่นแหละครับ   . . .  

          การสนับสนุนทางการช่วยรบ   ก็คือ  กิจกรรมที่ไม่เกื่ยวข้องโดยตรงกับการรบ    เช่น  การส่งกำลัง การซ่อมบำรุง การขนส่ง การรักษาพยาบาล และ การบริการ  รวมเรียกว่า การส่งกำลังบำรุง   ที่ปัจจุบันใช้ภาษาอื่นมาเรียกกันให้เข้าใจยาก ว่าโลจิสติกส์   นั่นแหละครับ

          ก็เมื่อมีกิจกรรม หรือ งาน ที่ต้องปฏิบัติ ก็ให้จำเป็นที่จะต้องมี คน หรือ หน่วย ที่จะปฏิบัติภารกิจนั้นๆ  ในทางทหาร(บก) ก็มีทหารเหล่าต่างๆ ที่ปฏิบัติภารกิจสนับสนุนการรบ และ สนับสนุนทางการช่วยรบที่ว่ามาแล้วนี้  อีกหลายเหล่า  ซึ่งจะเล่าสู่กันไป    คราวนี้ เล่าเพียง  ๓ เหล่า   ก่อน   ครับ     

 

 


เหตุการณ์ต่อไป   . . .  ยิงปืนใหญ่ให้ได้ก่อน

เหตุการณ์ต่อไป   . . .  ยิงปืนใหญ่ให้ได้ก่อน

เหตุการณ์ต่อไป   . . .  ยิงปืนใหญ่ให้ได้ก่อน




บทความจากสมาชิก




1

ความคิดเห็นที่ 1 (491)
avatar
555

ดีประเทศมี

ผู้แสดงความคิดเห็น 555 วันที่ตอบ 2010-02-19 22:23:53


ความคิดเห็นที่ 2 (691)
avatar
พลทหาร ศราวุธ จันไตรรัตน์ ร.๑ พัน.๓ ร.อ.

ดีมากครับเข้มแข็งกันทุกหน่วยครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น พลทหาร ศราวุธ จันไตรรัตน์ ร.๑ พัน.๓ ร.อ. (sarawood-dot-9999-at-hotmail-dot-com)วันที่ตอบ 2010-12-06 22:05:04


ความคิดเห็นที่ 3 (693)
avatar
สัมพันธ์
ร.๑ พัน.๓ รอ.    เป็นหน่วยเก่าแก่ที่มีเกียรติประวัติมากมาย    หากจะเผยแพร่บ้างก็จะดีมากนะครับ
ผู้แสดงความคิดเห็น สัมพันธ์ (samphan_chaeng-at-hotmail-dot-com)วันที่ตอบ 2010-12-06 22:38:06



1


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.
| WW II Europe | WW II Asia | WW I | Vietnam War | ประวัติศาสตร์ไทย | บทความจากสมาชิก | คุยกันหลังฉาก | บทความทั้งหมด |

สนใจร่วมเขียนบทความในเว็บไซต์ เชิญอ่าน แนวทางการร่วมเขียนบทความ ภาพยนตร์ประวัติศาสตร์

Custom Search



eXTReMe Tracker