dot
dot
เว็บภาพยนตร์ประวัติศาสตร์ ยินดีต้อนรับผู้สนใจทุกท่าน
dot
dot
สมาชิก Webboard/Blog
ชื่อผู้ใช้ :
รหัสผ่าน :
เข้าสู่ระบบอัตโนมัติ :
bullet ลืมรหัสผ่าน
dot
bulletข้อตกลงการเป็นสมาชิก
bulletเว็บบอร์ด-คุยกันหลังฉาก
bulletเว็บบอร์ด-Games ย้อนยุค
bulletเว็บบอร์ด-ชุดจำลองประวัติศาสตร์
bulletเว็บบอร์ด-หนังสือประวัติศาสตร์
bulletเว็บบอร์ด-เพลงประวัติศาสตร์
bulletคำถาม/คำตอบ ล่าสุด
bulletแนวทางการร่วมเขียนบทความ
dot
สงครามโลกครั้งที่ 2
dot
bulletสมรภูมิยุโรป (สัมพันธมิตรVSเยอรมัน-อิตาลี)
bulletสมรภูมิแปซิฟิก-เอเชีย (สัมพันธมิตรVSญี่ปุ่น)
dot
ภาพยนตร์ประวัติศาสตร์อื่นๆ
dot
bulletสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง
bulletประวัติศาสตร์ไทย
bulletประวัติศาสตร์อเมริกันยุคเริ่มแรก
bulletสงครามเวียดนามและอินโดจีน
bulletตะวันตกโบราณ (กรีก โรมัน ฯลฯ)
bulletประวัติศาสตร์ร่วมสมัย
bulletเอเชียโบราณ
bulletประวัติศาสตร์อื่นๆ (ยังไม่แยกหมวดหมู่)
bulletคลิปความรู้จาก YouTube
dot
บทความโดย วิวันดา
dot
bulletฮิตเล่อร์...และเหล่าขุนพลแห่งอาณาจักรไรค์ซที่สาม
bulletลอดลายรั้ว.....วินด์เซอร์
bulletเลิศเลอวงศา...โรมานอฟ
bulletเชลย
bulletซูคอฟ...ยอดขุนพลผู้ดับฝันของฮิตเล่อร์
dot
บทความโดย สัมพันธ์
dot
bulletคนไทยในกองทัพพระราชอาณาจักรลาว
bulletประวัติศาสตร์สงคราม กรีก
bulletกรณีพิพาทอินโดจีนและสงครามมหาเอเชียบูรพา
bulletอยุธยายศล่มแล้ว ลอยสวรรค์ ลงฤา
bulletฮานนิบาล
bulletพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบรมวงศานุวงศ์
bulletไทยกับมหาสงคราม
bulletสงครามเวียดนาม
bulletห้วยโก๋น ๒๕๑๘
bulletการทัพในมลายา
bulletประวัติศาสตร์อื่น ๆ
dot
เรื่องอื่นๆ
dot
bulletบทความเสริมความรู้ทั่วไป
bulletเกร็ดเล็กเกร็ดน้อย
bulletผู้จัดทำ
bulletผังเว็บไซต์ (Site Map)
bulletแนวทางการร่วมเขียนบทความ
bulletถาม-ตอบ (FAQs) (โปรดอ่านก่อนตั้งกระทู้หรือสมัครสมาชิก)
bulletร้านค้าออนไลน์
bulletแบ่งปัน Album
dot
ลิงค์ต่างๆ
dot
bulletHistory on Film
bulletกองบิน 21 กองพลบิน 2
bulletIELTS British Council
bulletIELTS IDP
bulletMUIC




โหราศาสตร์ยุคไอที



พลเรือเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ (๒)

 *  *  *

 ไข้หวัดใหญ่ . . .  ที่หาดทรายรี

          เสด็จในกรมฯ เสด็จออกจากกรุงเทพฯ  เมื่อ  ๒๑  เมษายน  ๒๔๖๖   เสด็จไปประทับ ณ   หาดทรายรี  ด้านใต้ปากน้ำชุมพร    ระหว่างประทับพักรักษาพระองค์ที่เมืองชุมพรนี้  ได้ประชวรไข้หวัดใหญ่   

 

๑๙   พฤษภาคม   ๒๔๖๖,๑๑๔๐

  ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๔๐  วันที่  ๒๗  พฤษภาคม  พ.ศ.๒๔๖๖   หน้า ๕๖๑ - ๕๖๒

       ความว่าด้วย นายพลเรือเอก พระเจ้าพี่ยาเธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ องคมนตรี เสนาบดีกระทรวงทหารเรือ ประชวรกระเสาะกระแสะมานานได้กราบถวายบังคมลาเสด็จออกไปรักษาพระองค์ยังมณฑลสุราษฎร์ และได้มีพระโรคไข้พิษเกิดขึ้น แพทย์ได้ประกอบพระโอสถถวายโดยเต็มกำลัง พระอาการหาคลายไม่   

          ครั้นถึงวันที่ ๑๙ พฤษภาคม พระโรคกำเริบหนัก เวลา ๑๑ นาฬิกา ๔๐ นาที ก่อนเที่ยง  สิ้นพระชนม์ ณ ที่ประทับพัก  ตำบลหาดทรายรี  จังหวัดชุมพร พระชนมพรรษานับเรียงปีได้ ๔๔  

 

          ครั้นถึงวันที่ ๑๙ พฤษภาคม พระโรคกำเริบหนัก เวลา ๑๑ นาฬิกา ๔๐ นาที ก่อนเที่ยง  สิ้นพระชนม์ ณ ที่ประทับพัก  ตำบลหาดทรายรี  จังหวัดชุมพร พระชนมพรรษานับเรียงปีได้ ๔๔    วันอาทิตย์ที่ ๒๐   พฤษภาคม เจ้าพนักงานได้เชิญพระศพเสด็จกลับโดยเรือเจนทะเลสู่กรุงเทพมหานคร แล้วเปลี่ยนเรือเชิญพระศพลงสู่เรือพระร่วงที่บางนาแล่นขึ้นมาตามลำแม่น้ำเจ้าพระยาทอดอยู่ท่าหน้าวัดราชาธิวาส   เวลา ๑ นาฬิกา ก่อนเที่ยง เชิญพระศพขึ้นรถพยาบาลของสภากาชาดสยามไปสู่วังของท่าน เจ้าพนักงานได้จัดเตรียมการสรงน้ำพระศพไว้พร้อมเสร็จ     เป็นเวลาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จประพาสหัวเมือง จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช เสด็จแทนพระองค์ พระราชทานน้ำสรงพระศพ เจ้าพนักงานประโคมกลองชนะ แตรสังข์ ตามพระเกียรติยศ   พระบรมวงศานุวงศ์ แลท่านเสนาบดี ข้าทูลลอองธุลีพระบาทผู้ใหญ่ สรงน้ำพระศพต่อไป แล้ว เจ้าพนักงานภูษามาลาทรงเครื่องบรรจุกรรมพระศพเสร็จ เชิญลงพระลองใน    สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้ากรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช ทรงสรวมพระชฎาแล้ว   เจ้าพนักงานเชิญขึ้นตั้งบน แท่นฟ้า ๒ ชั้น ประกอบพระโกษฐ์กุดั่นน้อย  ตั้งเครื่องสูงแวดล้อม  ๗ องค์  แลตั้งเครื่องประดับชั้นตั้งเครื่อง ราชอิสริยยศ พร้อมเสร็จ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช ทรงทอดผ้าไตรของหลวงพระราชทานสดับปกรณ์ ๔๐ ไตร   พระสงฆ์สดับปกรณ์  ถวายอนุโมทนา   พระราชาคณะถวายอดิเรก  

          ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ  ให้มีพระสงฆ์สวดพระอภิธรรมทั้งกลางคืนกลางวัน รับพระราชทานฉันของหลวงเช้า ๘ รูป  เพล ๘ รูป  กับมีเครื่องประโคมประจำพระศพ  กลองชนะ  ๒๐   จ่าปี่  ๑   จ่ากลอง  ๑   แตรงอน  ๒   แตรฝรั่ง  ๒   สังข์  ๑   มีกำหนดเดือนหนึ่ง  

          วันที่  ๒๔  ธันวาคม  ๒๔๖๖   จึงโปรดเกล้าฯ พระราชทานเพลิงพระศพ  ณ  พระเมรุสนามหลวง 

 

         

 

พระโกษฐ์กุดั่นน้อย  ณ  วังนางเลิ้ง

 

 

 

 

 

 

 

 

 

  ขบวนเชิญพระศพ  สู่ พระเมรุสนามหลวง

 

 

 

 

   

 

 

 

 

 

ที่ระฤกงานพระเมรุ ท้องสนามหลวง    วันที่  ๒๔  ธันวาคม  พ.ศ.๒๔๖๖

 

 

 

 

            เมื่อเสด็จในกรมฯ สิ้นพระชนม์ แล้ว  กิจการกองทัพเรือก็ได้พัฒนาต่อไปตามแนวทางที่ได้ทรงริเริ่มไว้แล้ว  .  .  .

 

กิจทรงก่อ  . . .   สานต่อไป     ให้โลกทั้งหลายเขาลือ     ว่าตัวเราคือทหารเรือไทย

 

อากาศนาวี

            พระดำริของเสด็จในกรมฯ เรื่อง  กองบินทะเล นั้น มีผลในทางปฏิบัติใน พ.ศ.๒๔๖๗    เมื่อ กระทรวงทหารเรือเริ่มส่งนายทหารเรือไปเรียนวิชาการบิน และผู้ตรวจการณ์ในอากาศ ที่กรมอากาศยาน  ดอนเมือง ๒  และได้ ดำเนินวิธีการ เช่นนี้ อีกหลายปี   ต่อมา เห็นว่าไม่มีประโยชน์ เนื่องจากกระทรวงทหารเรือ ยังไม่มีเครื่องบิน   จึงเลิกส่งนายทหารเรือไปเป็นศิษย์การบิน        

          พ.ศ.๒๔๗๖   นายพลเรือตรี พระยาราชวังสัน เสนาธิการทหารเรือ กับ พลตรี พระยาเฉลิมอากาศเจ้ากรมอากาศยาน ได้ร่วมกันออกสำรวจชายฝั่งทะเลด้านอ่าวไทยเพื่อหาข้อมูลต่างๆ ในการบินและสร้างฐานบิน ผลของการสำรวจได้พิจารณาสถานที่ บริเวณ จุกเสม็ด อ่าวสัตหีบ  อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี เหมาะสม ที่จะสร้างเป็นสนามบินและที่ทำการของหน่วยบินนาวี


           วันที่ ๑ มิถุนายน พ.ศ.๒๔๘๑   กองทัพเรือได้จัดตั้ง "หมวดบินทะเล" ขึ้นในสังกัดกองเรือรบ (ปัจจุบันคือกองเรือยุทธการ) มีฐานบินอยู่ที่ตำบลจุกเสม็ด อ่าวสัตหีบ  ซึ่งเป็นที่ตั้งหน่วยต่อสู้อากาศยาน/รักษาฝั่ง ในปัจจุบัน  และไดัทำสัญญาว่าจ้างบริษัทในประเทศญี่ปุ่นสร้างเครื่องบินทะเล   แบบ “วาตานาเบ” จำนวน ๖ เครื่อง   นับเป็น การเริ่มกิจการบินนาวี ขึ้นเป็น ครั้งแรกของกองทัพเรือ  โดยมี นักบินทหารเรือ ซึ่ง กองทัพเรือ ส่งไปฝึกบิน กับ กรมอากาศยาน และ ที่สำเร็จ วิชาการบินจากประเทศอังกฤษ  ๒  ท่านคือ  เรืออากาศเอก หม่อมเจ้ารังษิยากร  อาภากร    พระโอรส ในเสด็จในกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ ทรงดำรงตำแหน่งผู้บังคับหมวดบินทะเล กองเรือรบ  กองทัพเรือ เป็นพระองค์แรก
 

 เครื่องบินแบบราชนาวี ๑  Watanabe  และเจ้าหน้าที่ในยุคเริ่มของหมวดบินทะเล   >

 

      หมวดบินทะเลได้ขอยืมเครื่องบินฝึกแบบ ๘๖ แอฟโร่ (Avro) จากกองทัพอากาศมา ๒ เครื่อง โดยนำมา ดัดแปลง ติดทุ่น สำหรับ ขึ้น - ลง ในทะเล 

          พ.ศ. ๒๔๘๒ - ๒๔๘๓ กองทัพเรือ ได้สั่งซื้อเครื่องบินทะเลเพิ่มเติมอีก ๑๘ เครื่อง เป็นแบบ E-8 N-1 ของบริษัท นากาชิมา (Nakajima) (ราชนาวีญี่ปุ่นเรียกว่า Type 95 และประเทศพันธมิตรระหว่าง สงครามโลกครั้งที่ ๒ เรียกว่า "Dave") เครื่องบินรุ่นนี้มาถึงประเทศไทยเมื่อ พ.ศ.๒๔๘๔   กองทัพเรือ เรียกว่า "แบบราชนาวี ๒" (บรน.๒)

             หมวดบินทะเลได้ดำเนินพัฒนา กิจการทั้งในด้าน องค์บุคคล องค์ความรู้ และ องค์วัตถุ อาตารสิ่งปลูกสร้าง    จนกระทั่งปี พ.ศ.๒๔๘๕   กระทรวงกลาโหม จึงได้ขยายหน่วยหมวดบินทะเล ขึ้นเป็น  กองบินทะเล  สังกัดกองเรือรบ

 

 

 

 

 

 

 

   <   บฝ.๘๖  (แอฟโร่  Avro) ติดทุ่น 

แบบราชนาวี ๒ (บรน.๒  Nakajima)   >

 

 

           เมื่อเกิดสงครามมหาเอเชียบูรพา  ( ๘  ธันวาคม  ๒๔๘๕ )   กองทัพเรือก็ได้สั่งซื้อเครื่องบินแบบ บรน.๒ เพิ่มขึ้นอีกจำนวน ๒๗ เครื่อง    และเครื่องบินตรวจการณ์ สามที่นั่ง แบบราชนาวี ๓ (บรน.๓) จำนวน ๓ เครื่อง เครื่องที่สั่งซื้อนี้เป็นแบบ E-13 A-1 ของบริษัท Aichi (ราชนาวี ญี่ปุ่น เรียกว่า "Type Zero Model 11" และประเทศพันธมิตร ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ ๒ เรียกว่า  Jake)  

 

แบบราชนาวี ๓ (บรน.๓) E-13 A-1  หรือ  Type Zero Model 11  หรือ  Jake    >

 

 

         ต่อมาใน พ.ศ.๒๔๘๖   กองทัพเรือ ได้เปลี่ยนชื่อ "กองบินทะเล" เป็น "กองบินทหารเรือ" มีกำลัง ๒ ฝูงบิน 

          ในเดือนมิถุนายน พ.ศ.๒๔๘๗ ประเทศญี่ปุ่นได้มอบเครื่องบินทะเลแบบ Zero (บรน.๓) ให้แก่กองทัพเรืออีกจำนวน ๓ เครื่อง   

          หลังสิ้นสุดสงครามมหาเอเชียบูรพา เมื่อ พ.ศ.๒๔๘๘ แล้ว   กองทัพเรือก็เร่งพัฒนา กองบินทหารเรือ ด้วยการปรับปรุงสนามบิน ซื้อเครื่องบิน สื่อสาร ขนาดเล็ก แบบ แอล.๔ จำนวนหนึ่ง    เครื่องบินฝึกแบบ ที.6 จากสหรัฐ ฯ จำนวน ๑๒ เครื่อง เครื่องบินฝึกแบบไทเกอร์ มอธ (Tiger Moth)จาก อังกฤษ จำนวน ๓๐ เครื่อง และเครื่องบินโจมตีแบบไฟร์ฟลาย (Fairey Firefly) จำนวนหนึ่ง   เครื่องบินสะเทินน้ำสะเทินบก กรัมมันวิทเยียน  ๖ เครื่อง   เครื่องบินสื่อสารแบบ โบนันซา และไปเปอร์คับสเปเชียลอีก จำนวนหนึ่ง  

          นอกจากนี้   กองทัพเรือมีแผน ที่จะซื้อเฮลิคอปเตอร์อีกจำนวนหนึ่งสำหรับเป็นพาหนะช่วยเหลือผู้ประสบภัยในทะเล  เป็นการพัฒนาการบินของทหารเรือ ให้เข้มแข็ง  ยิ่งขึ้น     และให้ กองบินทหารเรือ   เป็นหน่วยขึ้นตรงกองทัพเรือ เมื่อวันที่ ๑๗ กันยายน พ.ศ. ๒๔๙๑     

          กองบินทหารเรือ ได้เจริญก้าวหน้ามาเป็นลำดับ มีเครื่องบิน ทั้งเครื่องบินทะเล และ เครื่องบิน สะเทินน้ำสะเทินบก

 

กบฏแมนฮัตตัน 

           วันที่  ๒๙  มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๙๔    มีทหารเรือกลุ่มหนึ่ง นำโดย นาวาตรี มนัส จารุภา ทำการกบฏจี้ตัวจอมพล ป.พิบูลสงคราม   นายกรัฐมนตรี  ระหว่างเป็นประธานในพิธีรับมอบเรือขุดสันดอนสัญชาติอเมริกัน ชื่อ แมนฮัตตัน ที่กองบัญชาการกองทัพเรือ เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร โดยนำไปกักขังไว้ในเรือหลวงชื่อ "ศรีอยุธยา" ที่จอดรออยู่กลางแม่น้ำเจ้าพระยา     ต่อมาได้เรียกเหตุการณ์นี้ว่า กบฏแมนฮัตตัน  

          วันที่  ๑๒  กรกฎาคม  ๒๔๙๔   กองบินทหารเรือ จึงถูกยุบหน่วย    พร้อมทั้งมอบโอน  เครื่องบิน  อุปกรณ์ และอาวุธทั้งหมด  ให้กองทัพอากาศ  ด้วยเหตุผลทางการเมือง    

กิจการอากาศนาวีของกองทัพเรือ ซึ่งเป็นผลจากพระดำริและสายพระเนตรอันยาวไกลของเสด็จในกรมฯซึ่งได้ก่อกำเนิดและพัฒนาปรับปรุงมาประมาณ ๑๓ ปี  ก็จำต้องยุติลง  ด้วยเหตุฉะนี้         

          เมื่อกองทัพอากาศได้รับเครื่องบินจากกองทัพเรือแล้ว  จึงจัดตั้ง กองบิน ๗   โดยใช้ที่ตั้งของกองบินทหารเรือเดิม  ให้มีภารกิจระวังป้องกันภัยทางอากาศให้ฐานทัพเรือสัตหีบ     แต่ภารกิจ ที่เปิดเผยไม่ได้ น่าจะเป็นการ "คุม" ทหารเรือที่สัตหีบมากกว่า  (รบกันเอง)

 

อากาศนาวี   นกฟีนิกซ์

          วันที่  ๑๘  ตุลาคม  ๒๕๐๓   จอมพลเรือ สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด ได้อนุมัติหลักการให้กองทัพเรือ มีหน่วยบินและเครื่องบิน ไว้สนับสนุนการป้องกันประเทศทางทะเลได้ รวมทั้ง ให้กองทัพเรือ รับโครงการช่วยเหลือจาก สหรัฐอเมริกา

          ๑๗ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๐๕  กองทัพเรือสหรัฐฯ ได้มอบเครื่องบินสะเทินน้ำสะเทินบก แบบกรัมมัน แอลบาทรอสส์ (HU-16D) ชนิด ๒ เครื่องยนต์ จำนวน  ๒ เครื่อง  มอบให้กองทัพเรือที่สนามบินดอนเมือง     

          ต่อมากระทรวงกลาโหมได้ลงคำสั่งตั้งอัตราฝูงบินทหารเรือขึ้น เมื่อวันที่  ๔ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๐๕ โดยให้ เป็นหน่วยขึ้นตรง ต่อกองเรือยุทธการ  โดยมีที่ตั้งหน่วยอยู่ ที่สนามบิน กองทัพอากาศ  ดอนเมืองเป็นการชั่วคราว
 
          ในปี พ.ศ.๒๕๑๐ ได้ย้ายมาประจำ ณ สนามบินทหารเรืออู่ตะเภา งานของฝูงบินทหารเรือเจริญเติบโตขึ้นเป็นลำดับ จนได้รับการยกฐานะเป็น “กองบินทหารเรือ” อีกครั้งหนึ่งจนถึงทุกวันนี้ โดยเป็นหน่วยขึ้นตรงต่อกองเรือยุทธการ   เมื่อวันที่   ๒๘ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๑๔    

หน่วยได้ถือเอาวันที่  ๗  ธันวาคม  ๒๔๖๔  เป็นวันสถาปนาหน่วย  และถือว่า 

พลเรือเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ   กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์  เป็นองค์บิดาแห่งการบินนาวี

 

          ปัจจุบัน  กองบินทหารเรือ กองเรือยุทธการ   มีอากาศยานที่ทันสมัย และทรงประสิทธิภาพหลากหลาย  สามารถปฏิบัติป้องกันพระราชอาณาเขต  และพิทักษ์ทรัพยากร ทางทะเล  ได้ทุกรูปแบบแต่ไม่สามารถหาภาพมาได้ครบจึงขอเสนอเพียงพอเป็นกริยา   ดังนี้ครับ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

แบบ  A - 7 E  CORSAIR  (๒ ที่นั่ง) 

แบบ N - 24 A  NOMAD  >

 

 

 

 

 เครื่องบินแบบ   U - 17 B

 

 

 

 

 

 

 

 

 

เครื่องบินแบบ  S - 2F   TRACKER

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

<  DO-228         F-27 MK 200  >

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

<  P-3T   ORION         A-7E   White Shark   >

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

  <   CL-215       N-24A   >

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

<   BELL  212        BELL  214ST   >

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

<   S-76B        Super Lynx   >

 

 

 

นอกจากกองบินทหารเรือแล้ว  ราชนาวียังมีกำลังอากาศนาวีอีก คือ หน่วยบินจักรีนฤเบศร์  ใช้อากาศยานดังนี้

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

<     AV-8S/TAV-8S  Matador-Sea Harrier        S-70B  Sea Hawk   >

 

 

 

 

 

SEA  HARRIER   ขณะฝึกบินร่วมกับเครื่องบินสเปน

 

 

 

SEA  HARRIER   กับ  ร.ล.จักรีนฤเบศร์

 

 

 

 

 สัตหีบ  -  ทหารเรือจะต้องการที่นั้น ก็ยินดีอนุญาตให้

 

             นับแต่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานที่สัตหีบให้ทหารเรือ  ตั้งแต่ พ.ศ.๒๔๖๕   กองทัพเรือก็ได้พัฒนา ปรับปรุง สัตหีบ  ด้วยความอดทน และมุ่งมั่น จนนับได้ว่าเป็นบ้านที่สมบูรณ์ และอบอุ่นของทหารเรือทุกคน

          เท่าที่จำได้ สัตหีบเป็นเมืองทหารเรือ   เป็นที่ตั้งหน่วยทหารเรือขนาดใหญ่และสำคัญยิ่ง  ๓  หน่วย  คือ       

               กองเรือยุทธการ  บริเวณ อ่าวดงตาล   

               หน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน  บริเวณ อ่าวเตยงาม และ

               ฐานทัพเรือสัตหีบ

 

 

พระอนุสาวรีย์ พลเรือเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ   กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์  หน้ากองบัญชาการฐานทัพเรือสัตหีบ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

อ่าวดงตาล 

 

พระบารมีปกเกล้าฯ ที่อ่าวเตยงาม

          วันที่  ๑๙  เมษายน  ๒๕๐๙   พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเรือใบ  "เวคา"  ซึ่งเป็นเรือใบประเภทโอเค ขนาด  ๑๓ ฟุต   จากหน้าพระราชวังไกลกังวล  อำเภอหัวหิน  จังหวัดประจวบคีรีขันธ์  ตั้งแต่เวลา  ๐๔๒๘  แล่นข้ามอ่าวไทยไปอ่าวสัตหีบ   จังหวัดชลบุรี    ระยะทางประมาณ  ๖๐  ไมล์ทะเล   ตามลำพังพระองค์เดียว   เป็นเวลาประมาณ   ๑๗  ชั่วโมง   เสด็จถึงอ่าวสัตหีบเวลา  ๒๑๒๘

 ทรงปักธง "ราชนาวิกโยธิน"  บนก้อนหินใหญ่ที่ชายหาดของอ่าวเตยงาม   (ทรงนำธงมากับเรือ)  ในขณะที่วงดนตรีบรรเลงเพลงพระราชนิพนธ์ มาร์ชราชนาวิกโยธิน    

เมื่อทรงปักธงแล้ว ทรงคล้องพวงมาลัยใหญ่ประดับแผ่นศิลาจารึกข้อความถวายราชสดุดีและเฉลิมพระเกียรติ   ทรงลงพระปรมาภิไธย บนแผ่นศิลา

 

 

 

 

 

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ   พร้อมด้วยสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าอุบลรัตน์ราชกัญญาฯ  ประทับทรงพักผ่อนสำราญพระราชอิริยาบทตามพระราชอัธยาศัย ท่ามกลางเหล่าทหารนาวิกโยธินและครอบครัว  จนเลยเที่ยงคืน  จึงประทับเรือหลวงจันทร  เรือพระที่นั่งเสด็จกลับพระราชวังไกลกังวล

 

ธงราชนาวิกโยธินโบกสะบัดอยู่เหนือก้อนหินใหญ่ที่หาดเตยงาม อ่าวนาวิกโยธิน  สัตหีบ    ตั้งแต่วันที่ ๑๙ เมษายน ๒๕๐๙ มาตราบจนกระทั่งทุกวันนี้ . . . และ . . . ตลอดไป

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ณ ที่นี้
 

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
 

จอมทัพไทย

ได้ทรงเรือใบขนาด  ๑๓ ฟุตด้วยพระองค์เองพระองค์เดียว

จากหัวหินมาถึงสัตหีบ  เมื่อวันที่  ๑๙  เมษายน  พ.ศ.๒๕๐๙

เริ่มเวลา ๐๔๒๘ ถึงเวลา ๒๑๒๘

ทั้งนี้เป็นพระปรีชาสามารถอย่างยอดเยี่ยม

เป็นครั้งแรกในประวัติการณ์

กองทัพเรือได้ขอพระราชทานพระมหากรุณา

ให้ทรงลงพระปรมาภิไธยไว้เป็นศิริมงคล

และเพื่อเป็นเกียรติประวัติแก่กองทัพเรือสืบไป 

       

 

 

 

 

  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินมาทรงกระทำพิธีเปิดอนุสาวรีย์ฯ  

เมื่อวันที่  ๓๐  กรกฎาคม  ๒๕๒๘ 

 

 

 

 

 

 อนุสาวรีย์ทหารนาวิกโยธิน  ที่อ่าวนาวิกโนธิน

  

 

อนุสาวรีย์ทหารนาวิกโยธิน เป็นรูป  ๖ เหลี่ยม 

อนุสาวรีย์ฯ เป็นธงราชนาวิกโยธิน ปักอยู่บนอุปกรณ์ประจำกายของทหารนาวิกโยธิน ที่ใช้ในการยกพลขึ้นบก     แต่ละด้านมีความหมายดังนี้

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

  (ซ้าย)    ด้านหน้า เป็นรูปโน๊ตและเนื้อเพลง "ราชนาวิกโยธิน" ที่องค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช พระราชทานแก่ทหารนาวิกโยธิน เมื่อ วันที่  ๒๘  มิถุนายน ๒๕๐๒    ที่ทหารนาวิกโยธินถือเป็นพระมหากรุณาธิคุณอย่างล้นเกล้าล้นกระหม่อมเป็นอย่างยิ่ง

ส่วนฐาน เป็นประวัติทหารนาวิกโยธินที่เสียชีวิตในการสู้รบจากอดีตจนถึงปัจจุบัน

ด้านที่สอง (ทางขวามือ)  เป็นภาพปั้นของทหารนาวิกโยธิน กำลังยกพลขึ้นบกด้วยยานสะเทินน้ำสะเทินบก LVTP-7 ซึ่งทหารนาวิกโยธินถือเป็นเอกลักษณ์ที่แตกต่างไปจากเหล่าทัพอื่น

ส่วนฐาน เป็นรายชื่อผู้เสียชีวิต จารึกไว้บนแผ่นทองเหลืองจำนวนทั้งสิ้น  ๑๒ แผ่นๆ ละ  ๓๖ นาย

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 ด้านที่สาม (ทางซ้ายมือ)  เป็นภาพปั้น การปฏิบัติของทหารลาดตระเวน ทำการโดดร่มจากเครื่องบิน พร้อมด้วยแพยาง และอุปกรณ์ในการลาดตระเวนสะเทินน้ำสะเทินบก เพื่อสำรวจหาดและทำลายเครื่องกีดขวางก่อนที่จะทำการยกพลขึ้นบกของกำลังส่วนใหญ่

ส่วนฐาน เป็นรายชื่อผู้เสียชีวิต บนแผ่นทองเหลืองจำนวนทั้งสิ้น  ๑๒ แผ่นๆ ละ  ๓๖ นาย
 
ด้านที่สี่ (ทางขวามือ  เป็นภาพปั้นการปฏิบัติการของทหารปืนใหญ่นาวิกโยธิน กำลังยิงปืนใหญ่ ขนาด ๑๕๕ มม.แบบ ซีจี ๔๕  เป็นปืนใหญ่ที่ยิงได้ไกลที่สุดในประเทศไทย

ส่วนฐาน มีประตูและบันไดสู่ห้องส่วนล่างของอนุสาวรีย์ฯ เป็นที่เก็บอัฐิของทหารนาวิกโยธินที่เสียชีวิต

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ด้านที่ห้า (ทางซ้ายมือ) เป็นภาพปั้นการรบร่วมของทหารราบ ทหารลาดตระเวนนาวิกโยธิน โดยใช้ยานยนต์หุ้มเกราะคอมมานโด V-150 ในการรบ 

ส่วนฐาน มีประตูจัดทำขึ้นเป็นพิเศษ ลวดลายภายในประกอบด้วยเครื่องหมายความสามารถของทหารนาวิกโยธิน คือ เครื่องหมายความสามารถพิเศษ  แขนงการลาดตระเวนสะเทินน้ำสะเทินบกและจู่โจม และเครื่องหมายความสามารถพิเศษกระโดดร่มกองทัพเรือ
 
ด้านที่หก ซึ่งอยู่ด้านหลังของอนุสาวรีย์ฯ เป็นภาพปั้นทหารนาวิกโยธินขนาด  ๕ เท่า ของทหารจริง ยืนอยู่ในลักษณะเฉียงอาวุธ โดยใช้อาวุธประจำกาย ปลย.เอ็ม.๑๖ เอ.๑ ยืนหันหน้าสู่ทะเล รูปปั้นนี้สวมหมวกกระบังอ่อน เพื่อให้เห็นเด่นชัดแตกต่างจากทัพอื่น แสดงให้เห็นว่าทหารนาวิกโยธิน ซึ่งทุกคนคอยปกป้องฝั่งทะเล 

ส่วนฐาน เป็นรายชื่อพระนามและรายนาม อดีตผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน ที่ล่วงลับไปแล้ว 

 

 

 

 

ราชนาวี

          กองทัพเรือได้พัฒนากองทัพให้เจริญก้าวหน้าทัดเทียมนานาประเทศ    โดยพัฒนาทั้งด้านอำนาจกำลังรบที่มีตัวตน และไม่มีตัวตน  เช่น  การจัดหน่วย  การเสริมสร้างอาวุธยุทโธปกรณ์  หลักนิยม ฯลฯ   มีการปรับแนวความคิดจากการป้องกันประเทศตามแนวชายฝั่ง เป็นการป้องกันระยะไกล  โดยวางกำลังป้องกันทางทะเลเป็นขั้นๆ  ซึ่งแนวป้องกันนอกสุดในทะเลจีนใต้ และมหาสมุทรอินเดีย  

          ในด้านกองเรือ ได้มีเรือประเภทต่างๆ   เพื่อสนับสนุนแนวความคิดการป้องกันประเทศดังกล่าว  ให้สามารถรักษาดุลย์กำลังทางเรือ  เพื่อการป้องปราม  และตามหลักการครองทะเล    มีกำลังรบที่สามารถป้องกันน่านน้ำไทยได้ทั้งสองฝั่ง  ไม่ว่าจะเป็นฝั่งอ่าวไทยหรือฝั่งอันดามันโดยเฉพาะกำลังรบของกองทัพเรือไทยหลักๆ   เช่น    ว่ากันตั้งเรือเล็กๆ  ก่อนนะครับ    เริ่มด้วยเรือที่ใช้ในลำน้ำ

 

  เรือจู่โจมลำน้ำ

 

 

 

 

 

 

 

 

  มี  ๒ แบบ  คือ แบบพ่นน้ำ  (เรือ จลพ.) (Hydro Jet Assault Boat)   AB

(H) ชั้น ล. 3130  หมายเลข ล.3130 - ล.3132    (ซ้าย)  และ

แบบเครื่องติดท้าย (เรือ จลต.)  (Outboard Motor Assault Boat)   AB(M)   ชั้น ล.31   หมายเลข ล.31 - ล.3135    (ขวา)

 

 

 

 

เรือเร็วตรวจการณ์ลำน้ำ ชั้น ล.๑๑

 

 เรือตรวจการณ์ชายฝั่ง    (เรือ ตกช.)   

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ชั้น ต.21

หมายเลข ต.21 - ต.25   และ  ต.28 - ต.212 
 

 <  ชั้น ต.213  หมายเลข  ต.213 - ต.226  > 
 

 ชั้น ต.231   หมายเลข  ต. 231

 

   เรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่ง    (เรือ ตกฝ.)

  ชั้น ต.81   ต. 81 - ต. 83

 

 

 ชั้น ต.91    หมายเลข  ต. 91 - ต. 99

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

  ต. 92                ต. 96   

 

ชั้น ต.110

 

 

 ต. 11 - ต. 110

 

 

เรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่ง   (เรือ ตกฝ.)  ชั้น ต.991    หมายเลข  ต.991 - ต.993

กองทัพเรือจัดสร้างเพื่อเฉลิมพระเกียรคิพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

เนื่องในวโรกาสทรงเจริญพระชนมายุ  ๘๐ พรรษา    พ.ศ.๒๕๕๐

 

 

 

 

   

 

 

 

 

 

 

เรือใช้งานเครื่องหมายทางเรือ    (เรือ งคร.)

  ชั้นสุริยะ

 

 

 

เรือสำรวจขนาดใหญ่     (เรือ สรญ.)

 ชั้นจันทร

ชั้นศุกร์

 

 

 

 

 

 

 

 <   ร.ล. จันทร      ร.ล. ศุกร์   > 

 

 

ชั้นพฤหัสบดี

 

 

 

 813   ร.ล. พฤหัสบดี      (ประจำการ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๑ )

 

 เรือลากจูงขนาดเล็ก     (เรือ ลจล.)

 ชั้นกลึงบาดาล

 

 

 

 

 

 

 

 851  ร.ล.กลึงบาดาล        852  ร.ล. มารวิชัย  

 

 

เรือลากจูงขนาดกลาง (เรือ ลจก.)

 ชั้นริ้น

 

 

 

 

 

 

 

 

 

  853  ร.ล.ริ้น        854  ร.ล.รัง

 

 

 ชั้นแสมสาร

 

 

 

 

 855  ร.ล.แสมสาร                 856  ร.ล.แรด  

 

 

 

  ชั้นจวง

 

 

 

 

 

841  ร.ล.จวง                          842  ร.ล.จิก

 

 

 เรือลำเลียงน้ำมัน     (เรือ นม.)

 ชั้นจุฬา

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

831  ร.ล. จุฬ่า

832  ร.ล. สมุย                                                                   833  ร.ล. ปรง

834  ร.ล. เปริด

 

 

 ชั้นเสม็ด

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

871   ร.ล.สิมิลัน   เรือส่งกำลังบำรุงขนาดใหญ่ของราชนาวี

 

เรือตรวจการณ์ปืน     (เรือ ตกป.)
 
 
 ชั้นหัวหิน

 

 

 

 

 

 

 

  541  ร.ล.หัวหิน

  

 

 

 

 

 

 

 

 

  542  ร.ล.แกลง        543  ร.ล.ศรีราชา

 

 

 ชั้นสัตหีบ

 

 

 

 

 

 

 

 521  ร.ล.สัตหีบ    522  ร.ล.คลองใหญ่

 

  

 

 

 

 

 

 

 

 523  ร.ล.ตากใบ   524  ร.ล.กันตัง 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 525  ร.ล.เทพา    526  ร.ล.ท้ายเหมือง

 

 

เรือกวาดทุ่นระเบิด   (เรือ กท.)

 ชั้นบางแก้ว 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

    612  ร.ล. บางแก้ว   613  ร.ล. ดอนเจดีย์

 

ร.ล.บางแก้ว   เดิมคือเรือ  MSC 303     หมายเลข 6     รัฐบาลไทยได้รับมอบตามข้อตกลงว่าด้วยการช่วยเหลือทางทหาร  เปลี่ยนเป็นหมายเลข  612

ร.ล.ดอนเจดีย์   เดิมคือเรือ  MSC 313    หมายเลข  8    รัฐบาลไทยได้รับมอบตามข้อตกลงว่าด้วยการช่วยเหลือทางทหาร  เปลี่ยนเป็นหมายเลข  613  

 

 

 ชั้นบางระจัน

 

 

 

 

 

 

 

 631  ร.ล. บางระจัน                     632  ร.ล. หนองสาหร่าย

 

  

ชั้นลาดหญ้า

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 633  ร.ล. ลาดหญ้า                     634  ร.ล. ท่าดินแดง 

 

 

 ชั้นถลาง

 

 

621   ร.ล. ถลาง

 

ชั้น ท. 6

ท. 6 - ท. 10

 

เรือยกพลขึ้นบก     (เรือ ยพ.)
 
  ชั้นสีชัง

 

 

 

 

 

 

 

 

  721  ร.ล. สีชัง                    722  ร.ล. สุรินทร์

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 711  ร.ล. อ่างทอง     712  ร.ล. ช้าง   

 

 

 

 

 

 

 

 

  713  ร.ล. พงัน    714  ร.ล. ลันตา

   

 

 

 

 715  ร.ล. พระทอง

 

เรือตรวจการณ์ปราบเรือดำน้ำ    (เรือ ตกด.)

 ชั้นคำรณสินธุ์

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 531  ร.ล. คำรณสินธุ์

532  ร.ล. ทะยานชล                               533  ร.ล. ล่องลม

 

 

เรือเร็วโจมตีอาวุธปล่อยนำวิถี    (เรือ รจอ.)

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 321  ร.ล.ราชฤทธิ์   (เดิมหมายเลข  4)

322  ร.ล.วิทยาคม                                      323  ร.ล.อุดมเดช  

 

  

 ชั้นปราบปรปักษ์

 

 

 

  

 

311  ร.ล.ปราบปรปักษ์                                                                         312  ร.ล.หาญหักศัตรู 

313  ร.ล.สู้ไพรินทร์

 

 

 เรือตรวจการณ์ไกลฝั่ง     (เรือ ตกก.)
 
  ชั้นปัตตานี


 

 

 

 

      511  ร.ล. ปัตตานี                                                           512  ร.ล. นราธิวาส

 

เรือเร็วโจมตีปืน     (เรือ รจป.)

 ชั้นชลบุรี


 

 

 

 

 

 331   ร.ล.ชลบุรี

332  ร.ล.สงขลา                                                             333  ร.ล.ภูเก็ต

 

เรือคอร์เวต     (เรือ คว.)

 ชั้นรัตนโกสินทร์


 

 

 

 

 

 

 

 441    ร.ล. รัตนโกสินทร์                                                  442    ร.ล. สุโขทัย

 

 

 

 

461   ร.ล. พุทธยอดฟ้าจุฬาโลก                                      462   ร.ล. พุทธเลิศหล้านภาลัย

 

 ชั้นเจ้าพระยา (Jianghu Class Frigate)


 

 

 

 455   ร.ล. เจ้าพระยา                                                                 456   ร.ล. บางปะกง


 

 

 457   ร.ล. กระบุรี                                                                    458   ร.ล. สายบุรี

 

 ชั้นนเรศวร   (Type-025T)
 

 

 

 421  ร.ล. นเรศวร                                                      422   ร.ล. ตากสิน 

 

 ชั้นตาปี

 

 

 


 

 

 

431   ร.ล. ตาปี                                                    432   ร.ล. คีรีรัฐ

 

 ชั้นมกุฎราชกุมาร


 

433    ร.ล. มกุฎราชกุมาร

  

 

 ชั้นปิ่นเกล้า

 

413    ร.ล. ปิ่นเกล้า

 

เรือบรรทุกเครื่องบิน     (เรือ บ.)

 ชั้นจักรีนฤเบศร


 

 

 ร.ล.จักรีนฤเบศร   เรือบรรทุกเครื่องบินของราชนาวี ลำแรกของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ขณะเดินทางจากอู่ต่อเรือเมืองบาซาน  ประเทศสเปน  สู่ประเทศไทย พร้อมหมู่เรือฝึกนักเรียนนายเรือ  พ.ศ.๒๔๔๐

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 ร.ล.จักรีนฤเบศร  . . . ลอยลำสง่าฝ่าคลื่นลม . . .

 

 

 

 

ร.ล.จักรีนฤเบศร์  และ   เครื่องบินประจำเรือ  AV - 8   SEA  HARRIER 

 

 

 . . .  ตายแต่ตัวชื่อยังฟุ้ง    ไปทั่วทั้งกรุง  ไม่ลืมได้  . . .

 

 

 พระมาลา  และ  อินทรธนูพระยศนาวาเอก

 

 

 ไม้ทรงถือ ไม้ตะพด  และ  เครื่องวัดแดด ที่ทรงใช้ในเรือหลวงพระร่วงเมื่อคราวเดินเรือกลับประเทศไทย  จารึกพระนาม   Abhakara

 

 

เรือหลวงชุมพร

 

 

 

 

 

   เรือหลวงชุมพรเป็นเรือตอร์ปิโดใหญ่ ต่อที่อู่ กันติเอริ ริอูนิติ เดลลัดดริอาติโก ประเทศอิตาลี

วางกระดูกงูเมื่อวันที่   ๗   กรกฎาคม   ๒๔๗๙   

ยาว ๖๘ เมตร   กว้าง ๖.๕๕ เมตร

ระวางขับน้ำปกติ   ๔๑๓ ตัน  ระวางขับน้ำเต็มที่   ๔๖๐ ตัน  กินน้ำลึก ๒.๘ เมตร

ความเร็วสูงสุด ๓๐ นอต   ความเร็วมัธยัสถ์ ๑๒ นอต 

รัศมีทำการเมื่อความเร็วสูงสุด   ๘๖๗ ไมล์   รัศมีทำการเมื่อความเร็วมัธยัสถ์  ๓,๕๓๐ ไมล์

ทหารประจำเรือ   ๑๑๒ นาย

เรือหลวงชุมพรได้ปฏิบัติราชการในกองทัพเรือเป็นเวลาประมาณ   ๓๗ ปี

ปลดระวางประจำการเมื่อวันที่    ๒๖  พฤศจิกายน   ๒๕๑๘ 

พ.ศ.๒๕๒๒  จังหวัดชุมพรมีความประสงค์จะนำเรือหลวงชุมพรทั้งลำ ซึ่งปลดระวางประจำการแล้วไปตั้งเป็นอนุสาวรีย์ไว้ที่บริเวณหาดทรายรี จังหวัดชุมพร ซึ่งเป็นที่สิ้นพระชนม์ของ พลเรือเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์  กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์  เพื่อเป็นอนุสรณ์แด่พระองค์ท่าน กระทรวงกลาโหมได้อนุมัติมอบเรือให้จังหวัดชุมพร  ตามที่ขอ

กองทัพเรือจึงได้ตกแต่งเรือให้มีสภาพสวยงาม ติดตั้งอาวุธให้อยู่ในสภาพเดิม และนำไปเกยที่หาดทรายรี ได้มีพิธีรับมอบเมื่อ   ๒๗  กันยายน  ๒๕๒๓

 

ตราไปรษณียากรชุดบุคคลสำคัญ

๑๙   พฤษภาคม   ๒๕๔๑

 

 

          นับตั้งแต่วันสิ้นพระชนม์ตราบจนวันนี้  นับได้  ๘๖ ปี แล้ว  แต่ความเตารพ  นับถือ  เทิดทูน  ศรัทธาในเสด็จในกรมฯ มิได้เสื่อมคลายไปตามกาล  แต่กลับเพิ่มพูน ยิ่งขึ้นเป็นลำดับ  แพร่กระจายไปอย่างกว้างขวางทุกวงการ  ในรูปลักษณ์ต่างๆ  เช่น  พระอนุสาวรีย์   ศาล  และอื่นๆ   ตามแต่จะขนานนาม  นับได้หลายร้อยแห่ง   เหรียญ และพระรูป อีกมากมายสุดจะคณานับได้

          ในวันอาภากร  ๒๕๔๔    กองทัพเรือได้จัดงานเทิดพระเกียรติ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์เป็นงานยิ่งใหญ่   มีการจัดพิมพ์หนังสือ  "เทิดพระเกียรติ  พลเรือเอก  พระเจ้าบรมวงศ์เธอ  กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์"  อย่างสมบูรณ์    และรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับ "ศาล เสด็จในกรมฯ"  ไว้ในหนังสือ "ภาพชุด ศาลกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์"   ปรากฏที่ตั้งพระอนุสาวรีย์ และ ศาลเสด็จในกรมฯ  ทั่วประเทศ  จำแนกตามภูมิภาค  ดังนี้    กรุงเทพมหานครฯ ปริมณฑล และภาคกลาง  ๑๖๑   ภาคใต้  ๓๑   ภาคเหนือ  ๕   ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  ๙   ภาคตะวันออก  ๓๖    รวม  ๒๖๔   แห่ง   และคาดว่าจะเพิ่มขึ้นอีกตามความเตารพ  นับถือ  เทิดทูน  ศรัทธาในเสด็จในกรมฯ

                    
         

 

 

คำจารีกหน้าพระอนุสาวรีย์ฯ  ที่ วังนันทอุทยาน    ฐานทัพเรือกรุงเทพ 

 

 

๑๙  พฤษภาคม     วันอาภากร

 

เพื่อเทิดพระเกียรติ

 

พลเรือเอก

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ  พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์

กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์  

 

ข้าพระพุทธเจ้าขออัญเชิญดวงพระวิญญาณของพระองค์ท่าน

ทรงสถิตเสวยสุข  ณ  ทิพยสถานชั่วนิรันดร์ เทอญ.

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

        

 

 

 

 

 

 

 

 

         ข้อมูลส่วนใหญ่ได้จาก  หนังสือ จอมทัพไทยกับราชนาวี ของกองทัพเรือ  โรงพิมพ์อรุณการพิมพ์ พ.ศ.๒๕๓๙    และหนังสือ เทิดพระเกียรติ  พลเรือเอก  พระเจ้าบรมวงศ์เธอ  กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ ของกองทัพเรือ  พ.ศ.๒๕๔๔   ซึ่งพลเรือเอก สามภพ  อัมระปาล อดีตผู้บัญชาการทหารเรือ  ได้กรุณามอบให้  เมื่อครั้งท่านดำรงตำแหน่ง  ผู้บัญชาการกองเรือภาคที่  ๒   จึงขอขอบพระคุณท่านไว้  ณ  โอกาสนี้

          ส่วนข้อมูล พระบรมฉายาลักษณ์  พระฉายาลักษณ์ และภาพต่างๆ ได้จากเว็บไซต์ต่างๆ  ทำให้เรื่องสมบูรณ์ และน่าอ่านยิ่งขึ้น จึงขอขอบคุณไว้  ณ  ที่นี้เช่นกัน   และหากท่านได้ตรวจพบข้อบกพร่อง หรือมีคำแนะนำ หรือต้องการข้อมูลใดเพิ่มเติม   โปรดแจ้งให้ทราบ  เพื่อดำเนินการ และขอขอบคุณล่วงหน้ามา  ณ  โอกาสนี้เป็นที่ยิ่ง 

 

 

 

 

  

 

 

 

 


 เรือฟริเกต    (เรือ ฟก.)

 ชั้นพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก (Knox Class Frigate)


 

 

 


 

 

 




ประวัติศาสตร์สงคราม กรีก โดย สัมพันธ์

อเล็กซานเดอร์มหาราช : สู่ตะวันออก
อเล็กซานเดอร์มหาราช : เริ่มลมเหนือ
สงคราม กรีก - กรีก
สงคราม กรีก - เปอร์เซีย



1

ความคิดเห็นที่ 1 (645)
avatar
นายทศพร ปรากฏดี(ลูกเสด็จเตี่ย)
ผมเป็นประชาชนคนหนึ่ง ที่เคารพรัก ศรัทธา ในตัวพระองค์อย่างที่สุด และจะดำเนินชีวิตตามที่ท่านประสงค์ คือผมจะจงรักภักดีต่อประเทศชาติแผ่นดินนี้
ผู้แสดงความคิดเห็น นายทศพร ปรากฏดี(ลูกเสด็จเตี่ย) (todtopa-at-hotmail-dot-com)วันที่ตอบ 2010-10-09 22:35:23 IP : 183.89.181.44


ความคิดเห็นที่ 2 (646)
avatar
samphan

อ่านความเห็นคุณสมพรแล้วขนลุกเลยครับ

          จะตอบตั้งแต่เช้าแล้ว เห็นข้อความบางตอนขาดหายไป  และภาพคลาดเคลื่อนไปจากที่  เลยปรับเสียใหม่  นี่ยังไม่เสร็จดี  รีบคุยกับคุณสมพรก่อน  เดี๋ยวไปปรับต่อ

          ขอบคุณมากครับ   ผมเชื่อว่าคนไทยทุกคนจงรักภักดีต่อประเทศชาติอยู่แล้ว     แต่ความเข้าใจอาจจะไม่ตรงกัน  นะครับ      สวัสดีครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น samphan (samphan_chaeng-at-hotmail-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2010-10-10 13:40:22 IP : 110.168.47.42


ความคิดเห็นที่ 3 (682)
avatar
นักรบรับจ้าง

เรียน ท่านสัมพันธ์

        ในภาพ ร.ล.จักรีนฤเบศร์ บรรยายถึง บ.ซีแฮริเออร์  น่าจะไม่ใช่แน่นอน  เพราะดูยังไงก็เห็นแต่เจ้าต่อมหาภัย F-18 ฮอร์เนท  ที่เป็นความฝันของ ทร.มาช้านาน  ผลสุดท้ายก็ต้องขายใบจองให้สิงคโปร์ไป  ชาตินี้คงไม่มีโอกาสได้เชยชม  เสียดายแทน ทร.  สิ่งที่ได้มาก็เป็น ซีแฮริเออร์เก่าๆ ซ่อมแล้วซ่อมอีก  ทราบข่าวว่าล่าสุดบินได้แค่ลำเดียว.....ใกล้ปีใหม่แล้วขอให้ท่านสัมพันธ์ มีสุขภาพแข็งแรง และวันนี้เป็นวันพ่อแห่งชาติ ก็ขอให้เป็นร่มโพธิ์ร่มไทรให้ลูกๆหลานได้พักพิงร่มเงาไปชั่วกาลนาน...

ผู้แสดงความคิดเห็น นักรบรับจ้าง (weerapol_p-at-hotmail-dot-com)วันที่ตอบ 2010-12-05 05:21:02 IP : 113.53.165.237


ความคิดเห็นที่ 4 (684)
avatar
สัมพันธ์

ขอบคุณครับ

          คุณนักรบรับจ้าง  ก็เช่นกันนะครับ  รักษาสุขภาพให้ดีด้วย  เพราะอยู่ในห้องปรับอากาศนานๆ  กล้ามเนื้ออาจจะหย่อนยาน  ไม่ได้ดังใจ   ไม่ได้ออกแรงตีศึก    เดี๋ยวจะครั่นเนื้อครั่นตัว มิใคร่สบาย  ไปเสีย

          AV-8  ชำรุดก็ช่อมกันไป  ซ่อมไม่ได้  ก็จำหน่ายออกจากบัญชีตุมกันปาย  .  .  .  เรียบโร้ย      แต่ผมยังไม่เห็น  F-18  เลยครับ 

          ผมได้ภาพ  ทรงเปิดอนุสาวรีย์ทหารนาวิกโยธิน  และภาพอนุสาวรีย์ฯ  ทั้ง  ๖ ด้าน    เลยลงเพิ่มใน  ห้วข้อ  พระบารมีปกเกล้าที่อ่าวเตยงาม  ภาพเลยรวนๆ ไป  ยังไม่ได้ปรับใหม่เลยครับ

                                                                                            สวัสดีครับ                                   

ผู้แสดงความคิดเห็น สัมพันธ์ (samphan_chaeng-at-hotmail-dot-com)วันที่ตอบ 2010-12-05 07:46:06 IP : 124.121.12.192


ความคิดเห็นที่ 5 (687)
avatar
นักรบรับจ้าง

เรียนท่านสัมพันธ์

   ผมหหมายถึงเจ้าเครื่องที่บินอยู่เหนือ ร.ล.จักรีนฤเบศร์ที่บรรยายว่าร.ล.จักรีนฤเบศร์  และ   เครื่องบินประจำเรือ  AV - 8   SEA  HARRIER   ความจริงมันเป็น F18 HORNET ขอบพระคุณสำหรับความห่วงใยในสุขภาพ ช่วงระยะนี้เหมือนกับเป็นตู้ยาเคลื่อนที่ ไม่ว่าจะความดันโลหิตสูง ไมเกรน และเก๊าท์  กำลังเขียนสคิปประวัติตัวเองและเรื่องราวในการรบที่ลาว,ชายแดนน่านและการมีส่วนเข้าไปอยู่ในกองกำลังเถื่อนที่ภาคเหนือ(แถวเชียงราย)เตรียมอัดใส่แผ่น CD ไว้เปิดในช่วงสุดท้ายของชีวิตให้แขกที่ร่วมงานฟัง  ไม่อยากให้คนอื่นมาอ่านประวัติ  เพราะจะผิดเพี้ยนไปจากจริง  มีผู้ร่วมทำกัน 2-3 คน เป็นพี่ๆ B.C.607A และ B.C.616A  ผมขอร้องให้เขียน หรือเล่าการรบที่ซำทอง,หมวกเจ๊ก,เขาฝาชี,บ้านนา(B.C.607Aช่วงการรุกต้นปี 2515)การรบที่ทุ่งไหหินช่วงที่2(B.C.616A)ปี2515 ซึ่ง B.C.616A ถอยร่น(แตก)มาขอน้ำขออาหารจากพวกเราที่บริเวณ เนิน 1516 แถวภูผาไซ  แต่ท่านพี่กลับไม่ยอมเขียนหรือเล่าอะไรให้ฟังมีแต่ก้มหน้านิ่ง  ผมต้องรอหาโอกาสเหมาะๆอีกสักครั้งเผื่อจะไข้อมมูลมาเสริมในตับคนไทยในกองทัพลาว ในช่วงการรุกสู่ซำทอง(ในมุมของทหารราบ)

 

 

ผู้แสดงความคิดเห็น นักรบรับจ้าง (weerapol_p-at-hotmail-dot-com)วันที่ตอบ 2010-12-06 10:50:21 IP : 125.26.157.176


ความคิดเห็นที่ 6 (689)
avatar
สัมพันธ์

ไม่เป็นไรครับ    ค่อยๆ คุยกันไป  แกคงเผยอะไรออกมามั่ง

          ว่าแต่สุขภาพของคุณนักรบรับจ้าง เองเถอะ  เป็นโรคคนมีสตางค์  กินดี  ทั้งนั้น   ความดันสูงท่านว่า  ต้องลด/งด เค็ม   และมีอาหาร เครื่องดื่มบางอย่าง  พอช่วยได้บ้าง   เช่น ผักคึ่นช่าย  น้ำกระเจี๊ยบ       ขออีเมล์  ด้วยครับ      หากพรรคพวกเขาส่งเรื่องเกี่ยวกับสุขภาพมาให้  จะได้ส่งต่อมา  เผื่อจะเป็นประโยชน์  นะครับ  

ผู้แสดงความคิดเห็น สัมพันธ์ (samphan_chaeng-at-hotmail-dot-com)วันที่ตอบ 2010-12-06 13:38:55 IP : 110.168.16.84


ความคิดเห็นที่ 7 (694)
avatar
นักรบรับจ้าง

ขอบพระคุณอย่างสูง

   ผมว่าลงในนี้น่าจะได้ประโยชน์มากกว่า  คนที่เข้ามาอ่านจะได้รู้ด้วย  อีเมลผมมีปัญหาเข้าไม่ได้สักที  ถ้ามีเวลาลองเข้าไปดู  http://province.rid.go.th/khonkaen/nongwai/water_report.php จะดูหน้าตาผมก็คลิ๊กที่ อัตรากำลังแล้วคลิ๊กที่ฝ่ายจัดสรรน้ำ จะเห็นคนที่หน้าตาดีที่สุด(สูสีกับ หน.ภูสิน)  หรืออยากจะรู้สถานการณ์น้ำในเขื่อนอุบลรัตน์-ฝายหนองหวาย ก็เข้าไปที่สถานการณ์น้ำ   มีข้อมูลที่ผมต้อง Update ทุกวัน

ผู้แสดงความคิดเห็น นักรบรับจ้าง (weerapol_p-at-hotmail-dot-com)วันที่ตอบ 2010-12-07 10:10:40 IP : 125.26.148.247


ความคิดเห็นที่ 8 (695)
avatar
สัมพันธ์

เข้าไปดูแล้วครับ  อุดมสมบูรณ์กว่าผมเยอะทีเดียว

แต่ที่อยากได้อีเมล์เพราะ  บางเรื่องยาวมากไม่เหมาะที่จะลงในความคิดเห็น  และมันไม่เกี่ยวข้องกันด้วยครับ  ใช้ของหลวงไม่สะดวกเปิดใหม่ก็ได้นะครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น สัมพันธ์ (samphan_chaeng-at-hotmail-dot-com)วันที่ตอบ 2010-12-07 20:29:50 IP : 124.122.208.144



1


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.
| WW II Europe | WW II Asia | WW I | Vietnam War | ประวัติศาสตร์ไทย | บทความจากสมาชิก | คุยกันหลังฉาก | บทความทั้งหมด |

สนใจร่วมเขียนบทความในเว็บไซต์ เชิญอ่าน แนวทางการร่วมเขียนบทความ ภาพยนตร์ประวัติศาสตร์

Custom Search



eXTReMe Tracker