dot
dot
เว็บภาพยนตร์ประวัติศาสตร์ ยินดีต้อนรับผู้สนใจทุกท่าน
dot
dot
สมาชิก Webboard/Blog
ชื่อผู้ใช้ :
รหัสผ่าน :
เข้าสู่ระบบอัตโนมัติ :
bullet ลืมรหัสผ่าน
dot
bulletข้อตกลงการเป็นสมาชิก
bulletเว็บบอร์ด-คุยกันหลังฉาก
bulletเว็บบอร์ด-Games ย้อนยุค
bulletเว็บบอร์ด-ชุดจำลองประวัติศาสตร์
bulletเว็บบอร์ด-หนังสือประวัติศาสตร์
bulletเว็บบอร์ด-เพลงประวัติศาสตร์
bulletคำถาม/คำตอบ ล่าสุด
bulletแนวทางการร่วมเขียนบทความ
dot
สงครามโลกครั้งที่ 2
dot
bulletสมรภูมิยุโรป (สัมพันธมิตรVSเยอรมัน-อิตาลี)
bulletสมรภูมิแปซิฟิก-เอเชีย (สัมพันธมิตรVSญี่ปุ่น)
dot
ภาพยนตร์ประวัติศาสตร์อื่นๆ
dot
bulletสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง
bulletประวัติศาสตร์ไทย
bulletประวัติศาสตร์อเมริกันยุคเริ่มแรก
bulletสงครามเวียดนามและอินโดจีน
bulletตะวันตกโบราณ (กรีก โรมัน ฯลฯ)
bulletประวัติศาสตร์ร่วมสมัย
bulletเอเชียโบราณ
bulletประวัติศาสตร์อื่นๆ (ยังไม่แยกหมวดหมู่)
bulletคลิปความรู้จาก YouTube
dot
บทความโดย วิวันดา
dot
bulletฮิตเล่อร์...และเหล่าขุนพลแห่งอาณาจักรไรค์ซที่สาม
bulletลอดลายรั้ว.....วินด์เซอร์
bulletเลิศเลอวงศา...โรมานอฟ
bulletเชลย
bulletซูคอฟ...ยอดขุนพลผู้ดับฝันของฮิตเล่อร์
dot
บทความโดย สัมพันธ์
dot
bulletคนไทยในกองทัพพระราชอาณาจักรลาว
bulletประวัติศาสตร์สงคราม กรีก
bulletกรณีพิพาทอินโดจีนและสงครามมหาเอเชียบูรพา
bulletอยุธยายศล่มแล้ว ลอยสวรรค์ ลงฤา
bulletฮานนิบาล
bulletพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบรมวงศานุวงศ์
bulletไทยกับมหาสงคราม
bulletสงครามเวียดนาม
bulletห้วยโก๋น ๒๕๑๘
bulletการทัพในมลายา
bulletประวัติศาสตร์อื่น ๆ
dot
เรื่องอื่นๆ
dot
bulletบทความเสริมความรู้ทั่วไป
bulletเกร็ดเล็กเกร็ดน้อย
bulletผู้จัดทำ
bulletผังเว็บไซต์ (Site Map)
bulletแนวทางการร่วมเขียนบทความ
bulletถาม-ตอบ (FAQs) (โปรดอ่านก่อนตั้งกระทู้หรือสมัครสมาชิก)
bulletร้านค้าออนไลน์
bulletแบ่งปัน Album
dot
ลิงค์ต่างๆ
dot
bulletHistory on Film
bulletกองบิน 21 กองพลบิน 2
bulletIELTS British Council
bulletIELTS IDP
bulletMUIC




โหราศาสตร์ยุคไอที



วันวีรไทย - ปัตตานี

 

 ปัตตานี

 

 

          จังหวัดที่ตั้งอยู่ริมฝั่งทะเลตะวันออกของภาคใต้ติดกับทะเลจีนใต้ หรืออ่าวไทย    มีแม่น้ำที่สำคัญ   ๒ สาย คือ  แม่น้ำตานี และ แม่น้ำสายบุรี   มีพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นป่าเขา    และมีพื้นที่ติดชายฝั่งทะเลเป็นระยะทางยาวประมาณ  ๑๗๐  กิโลเมตร จึงเป็นเมืองท่าที่สำคัญ    และเป็นเมืองท่าที่สำคัญมาตั้งแต่อดีตกาล      มีอาณาเขตดังนี้

     ทิศเหนือ    ติดต่อกับจังหวัดสงขลา 

     ทิศใต้    ติดต่อกับจังหวัดนราธิวาส และจังหวัดยะลา 

     ทิศตะวันออก    ติดต่อกับอ่าวไทย 

     ทิศตะวันตก    ติดต่อกับจังหวัดยะลา และจังหวัดสงขลา

 

 

 

 

     ปัจจุบัน  ได้แบ่งการปกครองส่วนภูมิภาค  เป็น  ๑๒   อำเภอ    คือ

          อำเภอเมืองปัตตานี

          อำเภอโคกโพธิ์

          อำเภอหนองจิก

          อำเภอปะนาเระ

          อำเภอมายอ    

          อำเภอทุ่งยางแดง

          อำเภอสายบุรี    

          อำเภอไม้แก่น

          อำเภอยะหริ่ง    

          อำเภอยะรัง

          อำเภอแม่ลาน    

          อำเภอกะพ้อ

 

 

 

กองพันทหารราบที่  ๔๒  -  ทหารบกไทยใต้สุดสยาม

          จากสถานการณ์ชองโลกที่พัฒนาไป    รัฐบาลไทย  โดยกระทรวงกลาโหมพิจารณาเห็นความจำเป็นที่จะต้องมีกำลังทหารไว้รักษาเอกราช และอธิปไตยทางภาคใต้    จึงได้จัดตั้งหน่วยทหารบก และทหารอากาศ  ในภาคใต้หลายหน่วย 
 
          จังหวัดปัตตานี    ได้จัดตั้ง  กองพันทหารราบที่  ๔๒   (ร.พัน ๔๒)  ที่ตำบลบ่อทอง  อำเภอหนองจิก

 

คนเก่า  ในหน่วยใหม่

          กองพันทหารราบที่  ๔๒    ประกอบกำลังขึ้นจากกำลังทหารประจำการ   ทั้งนายสิบพลทหารจาก   ร.พัน  ๒   และ  ร.พัน  ๗    บางซื่อ เป็นหลัก มีนายสิบจาก หน่วยทหาาราบ กองพันต่าง ๆ ทั่วประเทศที่สมัครใจมารับราชการที่หน่วยนี้บ้าง       นายพันตรี  ขุนอิงคยุทธบริหาร   เป็นผู้บังคับกองพัน    ส่วนนายทหารสัญญาบัตรอื่น ๆ ก็แต่งตั้งมาจากกองพันทหารราบอื่น ๆ     

          กองพันมีกำลังรบหลักเพียง    ๓  กองร้อย   มี ผู้บังคับหมวด  เพียงกองร้อยละ   ๑ คน ก่อน เพื่อเป็นโครงไว้ก่อนส่วนตำแหน่งที่ว่างรอบรรจุผู้สำเร็จจากโรงเรียนนายร้อยฯ ภายหลัง       กองร้อยที่ ๑ และ ๒   เป็นกองร้อยปืนกลเบา    กองร้อยที่ ๔ เป็นกองร้อยปืนกลหนัก    แต่ละกองร้อยมี   ๓  หมวด   นอกจากนี้ก็มี   หมวดสื่อสาร ฯ   หมวดเสนารักษ์ ฯ   หมวดปืนใหญ่ติดตามทหารราบ    และ หมวดสัมภาระ ฯ

 

ระวังระไว  มิใช่ระแวง

          เมื่อมาตั้งกองพันอยู่ไม่กี่เดือน  ผู้บังคับกองพันคงจะเห็นความเคลื่อนไหวของคนญี่ปุ่นผิดแปลกขึ้นมาก     ซึ่งเดิมมีชาวญี่ปุ่นเปิดร้านทำฟันอยู่หน้าวัดตานีนรสโมสรเพียงร้านเดียว     ต่อมาก็มีร้านขายถ้วยชาม   ร้านถ่ายรูป   เพิ่มขึ้นอีก     โดยเฉพาะเจ้าของร้านถ่ายรูปได้ถ่ายวิวริมฝั่งทะเลอัดไว้เป็นจำนวนมากจึงสงสัย

          ในที่สุดผู้บังคับกองพันจึงสั่งการให้ ติดตามความเคลื่อนไหว

          ในเดือน ตุลาคม   ๒๔๘๔   เจ้าของร้านทั้งสามคนไม่ค่อยอยู่ร้าน   ถามคนเฝ้าก็ทราบว่าไปปิกนิกทางทะเลทุกวัน    เมื่อสอบถามเจ้าของเรือได้ความว่า    มีการหยั่งน้ำดูความลึกทุกระยะ   เมื่อน้ำขึ้นน้ำลง   ตักทรายชายฝั่ง   ถ่ายภาพริมฝั่ง   และส่วนมากจะออกเรือตั้งแต่เช้าตรู่    ส่วนมากจะใช้สำรวจบริเวณหลังด่านศุลกากรนานที่สุด   ที่อื่น เช่น นาเกลือ ปะนาเระ บางตะวา บางราพา และตาแปด

 

เกลือจิ้มเกลือ

           เมื่อผู้บังคับกองพันทราบ ท่านก็พิจารณาและประมาณสถานการณ์ว่าทหารญี่ปุ่นน่าจะยกพลขึ้นบก และจุดสำคัญ    คือหลังด่านศุลกากร  หรือตรงด่านกักสัตว์ (บริเวณที่ตั้งมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  วิทยาเขตปัตตานีปัจจุบัน) ท่านจึงได้สมมุติสถานการณ์ให้นายทหารแก้ปัญหา   โดยเฉพาะการวางกำลังในการตั้งรับบริเวณนั้น 

          ขั้นต้นเป็นการแก้ปัญหาบนแผนที่ในห้องประชุมกองพันก่อน     การตกลงใจในการแก้ปัญหาตกลงให้ร้อย ๑  โดยมีหมวดปืนกลหนักวางปีกทั้ง ๒ ข้าง ๆ ละหมวด  เพราะลักษณะภูมิประเทศเหมาะแก่การใช้การปืนกลหนักยิงประสานกันในแนวหน้า   

          ต่อมาในวันอาทิตย์ที่   ๓๐  พฤศจิกายน   ๒๔๘๔    ผู้บังคับกองพัน  จึงได้นัดนายทหารพร้อมครอบครัว (ของผู้ที่มี) นำอาหารไปปิคนิคกัน   ณ บริเวณที่กล่าวมาแล้ว แล้วให้นายทหารกับจ่านายสิบที่ทำหน้าที่ รอง ผู้บังคับหมวด รักษาการในตำแหน่ง ผู้บังคับหมวดไปตรวจดูภูมิประเทศจริง ๆ ให้ตรงกับการแก้ปัญหาบนแผนที่ได้ทำแล้ว

 

๖  ธันวาคม  ๒๔๘๔

          . . .  สถานึวิทยุ บี.บี.ซี.  ของอังกฤษออกข่าวว่า  กองเรือญี่ปุ่นราว  ๒๐๐  ลำ  กำลังเคลื่อนที่ลงมาในทะเลจีนใต้

 

๗  ธันวาคม  ๒๔๘๔

ทะเลจีนใต้ 

          ในตอนบ่าย       คลื่นลมแรงขึ้นทุกที     ทหารญี่ปุ่นตื่นเต้น และเป็นที่วิตกว่า การยกพลขึ้นบกในคืนนี้  (คืนวันที่ ๗ - ๘ ธันวาคม)    น่าจะเป็นไปอย่างยากลำบาก แน่นอน 

           ๒๐๐๐    สถานีวิทยุ บี.บี.ซี. ก็ออกข่าวอีกว่า   เครื่องบินลาดตระเวนของอังกฤษตรวจพบเรือรบญี่ปุ่นเคลื่อนเข้ามาในอ่าวไทย

 

 บ่อทอง  หนองจิก  ปัตตานี    ร.พัน  ๔๒   รี้พลสกลไกร  .  .  .  ยังไม่พร้อม

          เมื่อได้ประกอบกำลังเป็นโครงขึ้นที่ ร.พัน ๒ เสร็จ  และ อาคารในที่ตั้งปรกติถาวรสร้างเสร็จ    จึงเดินทางโดยขบวนรถไฟขบวนพิเศษ    จากสถานีบางซื่อ ไปลงสถานีโคกโพธิ์    {ปัจุบันเปลี่ยนชื่อเป็น  ปัตตานี (โคกโพธิ์) }     เมื่อเข้าที่ตั้งเรียบร้อยแล้ว     ก็ได้รับทหารใหม่จากจังหวัดสงขลาเข้ารับการฝึกหลักสูตร   ๔๕ วัน     แต่กำลังทุกหน่วยก็ยังไม่เต็มอัตรา    จนกองทัพบก  จึงได้จัดทหารกองหนุนจาก   ร.พัน ๒  และ  ร.พัน ๗    เพิ่มเติมไปให้จนเต็มอัตรา  และได้เดินทางถึง กองพัน ตอนพลบค่ำของ   ๗  ธันวาคม  ๒๔๘๔  และได้แบ่งบรรจุให้ทุกหน่วยเสร็จคืนนั้น     กว่าจะเข้านอนได้ก็เกือบเที่ยงคืน เพราะต้องจ่ายอาวุธ และเครื่องสนามให้เสร็จทุกคน

 

๘   ธันวาคม   ๒๔๘๔     บ่อทอง  หนองจิก  ปัตตานี    ร.พัน  ๔๒   รี้พลสกลไกรจึงได้พร้อม

 

           เวลาประมาณ  ๐๓๐๐    นายยุนุ   ไม่ทราบนามสกุล ชาวบ้านรูสะมิแล   เห็นญี่ปุ่นขึ้นบกที่บ้านชายทะเล    หมู่ที่  ๑    ตำบรูสะมิแล    จึงวิ่งไปบอกข่าวแก่นายละมุน และนางเหนี่ยง   เจริญอักษร ปลัดอำเภอเมืองปัตตานีและภรรยา ซึ่งได้รีบส่งข่าวแก่ นาวาเอก  หลวงสุนาวิวัฒน์   ร.น. (กิมเหลียง   สุนาวิน)   ข้าหลวงประจำจังหวัดปัตตานีสมัยนั้น

          ทหารญี่ปุ่นยกพลขึ้นบกตั้งแต่  บ้านชายทะเล    หมู่ที่  ๑    ตำบรูสะมิแล   เรื่อยไปทางบ้านบางปลาหมอ     จนถึงบ้านบางตาวา  อำเภอหนองจิก   เป็ฯระยะทางราว  ๘  กิโลเมตร 

 

 ทะเลโคลน หลังคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  ม.อ.ปัตตานี   ในปัจจุบัน  >

 

 

 

 

 

           กองทหารญี่ปุ่นก็ขึ้นบก ณ จุดที่วางแผนตั้งรับไว้แล้วจริง  ๆ   แต่บังเอิญมีเหตุการณ์ที่ฝ่ายเราเข้าประจำแนวตามแผนไม่ทัน ถ้าทันทหารญี่ปุ่นคงตายมากกว่านั้น  และฝ่ายเราอาจถูกเครื่องบินทิ้งระเบิดจนเมืองปัตตานีอาจเสียหายมากอย่างแน่นอน      

 

          ทหารญี่ปุ่นที่ขึ้นที่ปัตตานี    ประกอบด้วยหนึ่งกองพลทหารราบ และหนึ่งกองพลน้อย  (Brigade) สนับสนุน   เป็นส่วนของกองทัพที่  ๒๕    ซึ่งมีภารกิจ  ในพื้นที่มลายู  และเกาะสุมาตราตอนเหนือ     ใช้เรือลำเลียง  Hirokawa Maru, Sagami Maru, Kinka Maru, Tozan Maru, Aosan Maru, Kinugawa Maru    รวม ๖ ลำ    ไม่มีเรือคุ้มกัน

 

 

 

     สงครามมาเหยียบด้าว    แดนไกล    ใกล้ฤา

ทอดชีพอาสาไป                อย่าคร้าม 

. . .

          กองพันทหารราบที่  ๔๒   

           ผู้บังคับกองพันน่าจะได้รับข่าวจากข้าหลวงประจำจังหวัด ฯ   จึงสั่งการให้หน่วยปฏิบัติตามแผน    

           เวลาประมาณ   ๐๓๓๐      ทหารใหม่ที่เพิ่งเดินทางมาถึงและเข้านอนไปไม่กี่ชั่วโมง      ก็ต้องจับอาวุธเข้าป้องกันอธิปไตยของชาติ

 

          แต่ได้รับข่าวว่าทหารญี่ปุ่นเข้ามายึดพิ้นที่บริเวณโรงฆ่าสัตว์  จึงนำกำลังเดินทางไปสกัดกั้นทหารญี่ปุ่น      แต่ความจริงแล้วทหารญี่ปุ่นเข้ามาที่บริเวณด่านกักสัตว์ ตามที่ได้ประมาณสถานการณ์ไว้แล้ว  ดังนั้น  เมื่อฝ่ายเราเดินทางไปใกล้ถึงบริเวณ ด่านกักสัตว์ ซึ่งญี่ปุ่นได้ยึดไว้แล้ว   จึงโจมตีฝ่ายเราทันที  

          นายพันตรี  ขุนอิงคยุทธบริหาร   เดินทางคามไป  แต่เกิดอุบัติเหุทำให้ท่านบาดเจ็บเล็กน้อย    และได้ถึงที่ปะทะในเวลาต่อมา     ขณะนั้น  ฝ่ายเราอยู่ในภูมิประเทศที่เสียเปรียบ    ท่านจึงเข้าอำนวยการสั่งการรบ ด้วยตนเอง  จนถูกยิงบาดเจ็บสาหัส    ต้องนำส่งสุขศาลาอำเภอหนองจิก   และเสียชีวิตในเวลาต่อมา   

 

          เวลาประมาณ  ๑๓๐๐    สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทยของกรมโฆษณาการ  (กรมประชาสัมพันธ์ในปัจจุบัน)  ได้ประกาศว่า   รัฐบาลไทยตกลงให้ทหารญี่ปุ่นเคลื่อนกำลังผ่านประเทศไทยได้

 

 

อังกฤษ  .  .  .  ?  ?

          กองพลที่ ๑๑  (อินเดีย)  จากเกาะปีนัง  ได้รับภารกิจให้เข้ายึดที่มั่นบ่อแร่  ห่างจากพรมแดน  ๓๕ - ๔๐ ไมล์  (ในเขตประเทศไทย)    จึงส่ง  กองพันที่ ๑๔  กรมทหารราบที่ ๕  ไปทางโกร๊ะ   

          เวลาประมาณ  ๑๕๐๐ นาฬิกา    ฝ่ายไทยต่อต้านอย่างรุนแรง  ไม่สามารถเคลื่อนที่ผ่านไปได้  (รัฐบาลไทยประกาศยอมให้ญุ่ปุ่นเดินทัพผ่าน  ตั้งแต่เวาลา  ๑๓๐๐  นาฬิกา)

 

          ครับ  .  .  .  สถานการณ์ในวันวีรไทย  ๘  ธันวาคม  ๒๔๘๔  ที่จังหวัดปัตตานี  คงมีเพียงเท่านี้    แต่ญี่ปุ่นยังคงเดินทัพต่อไป    เชิญติดตามกองทัพญี่ปุ่นต่อไป  นะครับ   

 

 

ขุนอิงคยุทธบริหาร  .  .  .

และยามจะบรรลัย                   ทิ้งซึ่ง

รอยบาทเหยียบแน่นไว้             แทบพื้นทรายสมัย

 

 

 

          รายละเอียดวีรกรรมของท่าน นายพันตรี  ขุนอิงคยุทธบริหาร   ผู้บังคับกองพันทหารราบที่  ๔๒   ปรากฏอยู่ในรายงานของ พลตรี  หลวงเสนาณรงค์  ผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่  ๖  รายงานต่อ ผู้บัญชาการทหารบก ดังนี้
 

 

 - สำเนา -


๒๑  ธ.ค. ๘๔

เรื่อง   ชมเชย  ผบ.ร.พัน๔๒

จาก   ผบ.มณฑล  ๖

ถึง     ผบ.ทบ.

         เนื่องด้วยได้รับรายงานที่  ๑๓๑/๘๔  ลง ๑๙  ธ.ค. ๘๔   เรื่องผลการปฎิบัติการต่อต้านทหารญี่ปุ่นยกพลขึ้นบกของหน่วยทหารนครศรีธรรมราชไปแล้วนั้น    บัดนี้ได้รับรายงานจาก   รอง.ผบ.ร.พัน ๔๒  เป็นรายงานย่อ   จึงขอเรียนเพิ่มเติมเป็นสังเขปดังต่อไปนี้

         เมื่อ   ๘  ธ.ค. ๘๔   พ.ท.ขุนอิงคยุทธบริหาร  ผบ.ร.พัน ๔๒    ได้ทราบจากข้าหลวงประจำจังหวัดปัตตานีว่าญี่ปุ่นยกกำลังขึ้นบก จึงรีบรวบรวมทหารในบังคับไปทำการต่อต้านโดยด่วน    ขณะเดินทางไปในความมืด  รถยนต์ที่นั่งไปต้องหลีกรถยนต์ทหารที่ติดหล่ม   เกิดอุบัติเหตุรถคว่ำ    ตัว พ.ท.ขุนอิงคยุทธบริหารต้องบาดเจ็บที่ศีรษะ  มีอาการค่อนข้างสาหัส   แต่มิได้ลดมานะ ได้พยายามเปลี่ยนโดยสารรถยนต์คันอื่นไปอำนวยการรบในแนวหน้า ซึ่งระยะห่างจากข้าศึกประมาณ    ๕๐  ม. ด้วยความองอาจกล้าหาญเป็นอย่างยิ่ง 

          ในขณะนั้นได้อำนวยการรบในแนวหน้า  และทั้งได้อำนวยการรบโดยทั่วไปอีก  คือสั่งให้บางกองร้อยแยกไปยึดเฝ้าสนามบินและเตรียมการทำไว้    นอกนั้น  ยังได้อำนวยการให้บางส่วนไปยึดตำบลตุยงเพื่อกีดขวางมิให้ความสะดวกแก่ข้าศึกอีกด้วย  ซึ่งนับเอาใจใส่ต่อหน้าที่  ใช้ความคิดอย่างรอบคอบเหนือความเจ็บปวดที่ได้รับ  

          ณ  ที่  พ.ท.ขุนอิงคยุทธบริหาร  ขึ้นไปถึงแนวหน้านั้นถูกฝ่ายข้าศึกยิงก่อน    ยิงรถยนต์สงครามด้วย ปร.ซึ่งบรรทุกปืนกลหนักเตรียมการยิงไว้พร้อมรถยนต์สงครามเสียหายทั้งคันพร้อมด้วยปืนกล   ทหารบนรถยนต์สงครามเสียชีวิต   ๖  คน     ฝ่ายเราจึงยิงตอบและเตรียมตะลุมบอน  ข้าศึกได้ใช้ลูกระเบิดขว้างบรรจุไอพิษน้ำตา     ฝ่ายเราจึงต้องชงัก  ขณะที่ พ.ท.ขุนอิงคยุทธบริหารซึ่งกำลังอำนวยการรบอยู่อย่างเข็มแข็งในแนวหน้านั้น  ได้ถูกยิงบาดเจ็บสาหัสในท่ามกลางการรบอย่างดุเดือดจนไม่มีผู้สามารถเคลื่อนไหวมาช่วยเหลือ พ.ท.ขุนอิงคยุทธบริหารได้  มีเจ้าหน้าที่เสนารักษ์พยายามจะทำการช่วยเหลือก็ถูกข้าศึกยิงตาย     ถึงแม้กระนั้นก็ดี พ.ท.ขุนอิงคยุทธบริหารก็มิได้ละความพยายามอำนวยการรบอยู่เต็มความสามารถ  จนผลการต่อสู้เบาบางลงจึงได้รับการช่วยเหลือให้ได้เข้าที่กำบังและส่งตัวไปรักษาพยาบาลที่โรงพยาบาลประจำจังหวัด             

          รุ่งขึ้น   ๙  ธ.ค.๘๔   ทนพิษบาดเจ็บไม่ได้จึงได้ถึงแก่กรรม    ตามรายงานของ  รอง  ผบ.ร.พัน.๔๒  ฉบับนี้  กระผมได้พิจารณาแล้วเห็นว่า  พ.ท.ขุนอิงคยุทธบริหาร    ผบ.ร.พัน ๔๒   เป็นผู้องอาจกล้าหาญ   ทรหด  ยอมเสียสละทุกประการแก่ประเทศชาติที่รักเป็นอย่างดียิ่ง   ยากที่จะหาเปรียบปรานได้ในพฤติการณ์เช่นนี้     จึงสมควรได้รับความชมเชย    ส่วนนายทหาร,นายสิบ  พลทหารใน ร.พัน ๔๒  ซึ่งมีความกล้าหาญทรหดอดทนเยี่ยง พ.ท.ขุนอิงคยุทธบริหาร  ผบ.ร.พัน ๔๒  นี้ก็มีอยู่เป็นส่วนมาก  แต่ก็ยังมิได้รับรายงานละเอียดจึงยังมิได้เรียนให้ทราบ    เป็นรายบุคคลจะใด้เรียนให้ทราบภายหลัง

       อนึ่ง   ผลการปฏิบัติต่อต้านการยกพลขึ้นบกของญี่ปุ่นครั้งนี้  ร.พัน ๔๒  ได้เสียหาย  อาวุธ  กระสุน  เครื่องยุทโธปกรณ์เป็นอย่างมากและเป็นจำนวนมาก    ซึ่งจะได้เรียนให้ทราบละเอียดต่อไป   สำหรับผลการปฏิบัติของ จ.ว.ทบ.ส.ข.  ขณะนี้ยังมิได้รับรายงานละเอียด   ซึ่งจะรายงานให้ทราบในโอกาสต่อไปเช่นเดียวกัน

                                   ควรมิควรแล้วแต่จะกรุณา                                    


                                                                                                                     (ลงชื่อ)  พล.ต.หลวงเสนาณรงค์  

 


          นอกจากท่านขุนอิงคฯ  แล้ว    ยังมี วีรชนที่พลีชีพเมื่อครั้งญี่ปุ่นบุกปัตตานี เมื่อวันที่   ๘  ธันวาคม   ๒๔๘๔ บุคคลเหล่านี้ได้เสียสละชีวิตเพื่อปกป้องแผ่นดินปัตตานีไว้    สมควรที่จะได้รับการบันทึกชื่อไว้เป็นเกียรติประวัติให้อนุชนรุ่นหลังได้รู้จัก ดังต่อไปนี้

ทหาร ร.พัน ๔๒    ๒๔  นาย

          ๑.  พ.อ.ขุนอิงคยุทธบริหาร    ๒.  จ.ส.อ.เถาว์ ไทยบัณฑิต    ๓.  จ.ส.อ.กิ้มเซ่ง แซ่ฮ้อ    ๔.  จ.ส.อ.เลื่อน นิลมาศ    ๕.  จ.ส.อ.ปลั่ง แสงจันทร์     ๖.  จ.ส.อ.ยก เพ็ชรศรี    ๗.  จ.ส.อ.จุ๊อั้น แก้วมรกต   ๘.  จ.ส.อ.ไข่ รอดกุล    ๙.  จ.ส.อ.สวาท ยังเฟื่องมนต์    ๑๐.  จ.ส.อ.ชัย ชูเชิด    ๑๑.  จ.ส.อ.งั้น ไพจิตรจินต์    ๑๒.  จ.ส.อ.เจ๊ะแอ มุนีใน    ๑๓.  ร.ต.วิเชียร อินทสงค์    ๑๔.  จ.ส.อ.ชื่น แก้วทะโร    ๑๕.  จ.ส.อ.อั้น แก้วศรีเพชร    ๑๖.  จ.ส.อ.แม้น เกตุประดิษฐ์    ๑๗.  จ.ส.อ.ดำ สุยะชีวิน    ๑๘.  จ.ส.อ.สะมะแอ หม้ดหมะ    ๑๙.  จ.ส.อ.จิน ถาวรวิศิษฐ    ๒๐.  จ.ส.อ.ดาหมัน หมินงะ    ๒๑.  จ.ส.อ.คลิ้ง สว่างภพ    ๒๒.  จ.ส.อ.ลิ่น ทองรักษ์    ๒๓.  จ.ส.อ.ขำ มุสิกพงษ์    ๒๔.  จ.ส.อ.เส็ง อุ้ยอุสาห์


ตำรวจภูธรปัตตานี

          ๑.  ร.ต.อ.ประดิษฐ์ สรสุรชาติ    ๒.  จ.ส.ต.เลี่ยม มุ้ยเมือง    ๓.  จ.ส.ต.สาลี เปลี่ยนใจ    ๔.  จ.ส.ต.แพน สุวรรณแพทย์    ๕.  พลตำรวจเสรี ไม่ทราบนามสกุล

ยุวชนทหารปัตตานี (นักเรียนโรงเรียนเบญจมราชูทิศ)

          ๑.  ยุวชนทหาร เอื้อน นุ่มนวล    ๒.  ยุวชนทหาร ละม้าย เหมมณี    ๓.  ยุวชนทหาร สนิท หงษ์มณี    ๔.  ยุวชนทหาร ถวัลย์ อนันต์สิทธิ์    ๕.  ยุวชนทหาร บุญช่วย เพชร์แลบ (ชาวนครศรีธรรมราช)


พลเรือน

          ๑.  นายเชื้อ วรคามิน (พนักงานป่าไม้จังหวัดปัตตานี)    ๒.  นายพิทยา สายสินธุ์    ๓.  นายนำ หลาดมณี    ๔.  นายวาท หลาดมณี    ๕.  นายสวาท ณ สงขลา (เสมียนแผนกอัยการจังหวัดปัตตานี)    ๖.  นายกมล อิศรางกูร ณ อยุธยา    ๗.  นายจั่ว ไม่ทราบนามสกุล (ครู)    ๘.  นายชิน ไม่ทราบนามสกุล (เสมียนมหาดไทย)    ๙.  นายคล้าย ไม่ทราบนามสกุล (พนักงานไปรษณีย์)

          นอกจากท่านเหล่านี้    ก็ยังมีบุคคลที่เกี่ยวข้องอยู่ในเหตุการณ์ช่วงที่ญี่ปุ่นบุกปัตตานี สมควรได้รับการบันทึกชื่อไว้ เช่นเดียวกัน ดังต่อไปนี้

          นายยุนุ ไม่ทราบนามสกุล ชาวบ้านรูสะมิแลที่เห็นญี่ปุ่นบุกปัตตานี เวลา ๐๓.๐๐ น. ของวันที่  ๘  ธันวาคม  ๒๔๘๔ จึงวิ่งไปบอกข่าวแก่นายละมุน และนางเหนี่ยง  เจริญอักษร ปลัดอำเภอเมืองปัตตานีและภรรยา ซึ่งได้รีบส่งข่าวแก่ น.อ.หลวงสุนาวิวัฒน์  ร.น. (กิมเหลียง  สุนาวิน)  ข้าหลวงประจำจังหวัดปัตตานีสมัยนั้น ทำให้การประสานงานกับสถานีตำรวจภูธรจังหวัดปัตตานีเรียบร้อยรวดเร็ว  สามารถเตรียมกำลังเป็นศูนย์อำนวยการต่อสู้ป้องกันเมืองปัตตานี  ทั้งกำลังตำรวจ   กำลังยุวชนทหาร  และพลเรือนได้ทันท่วงที   มิฉะนั้นคงจะเสียหายมากกว่านี้

          นายประธาน  เลขะกุล  เจ้าของร้านปืนกุ้นเซียะบราเดอร์ ตั้งอยู่เยื้องสถานีตำรวจภูธรปัตตานี   นายสมเกียรติ  เวียงอุโฆษ เจ้าของร้านปืนที่ถนนปัตตานีภิรมย์ ใกล้โรงเรียนจีนจ้องฮั้ว เจ้าของร้านทั้งสองคนได้ให้ยืมปืนและกระสุนปืนทั้งหมดเท่าที่มีในร้านของตน เพื่อให้ทุกคนใช้ต่อสู้กับทหารญี่ปุ่น

          นอกจากนี้ก็ยังมีกลุ่ม "ลูกปัตตานี" อีกหลายคนที่มีส่วนในการปกป้องเมืองปัตตานีไว้ อาทิ นายเกษม  ทรัพย์เกษม    นายมานิต  วัฒนานิกร    นายแวยายอ กาซอ  นายคณิต  ศรีเจริญ    นายถาวร  มงคลสิทธิ์  นายเฉลียว ดิลก  นายอรุณ  พงศ์ประเสริฐ (ชื่อเดิม ดอเลาะ)  และนายสุนนท์ ทับทิมทอง

          บุคคลเหล่านี้ทั้งที่พลีชีพและที่รอดชีวิตมาได้จากเหตุการณ์ญี่ปุ่นบุกปัตตานี เมื่อวันที่  ๘  ธันวาคม  ๒๔๘๔   ล้วนเป็นบุคคลที่ชาวเราจะต้องรำลึกถึงพวกเขา ในฐานะผู้มีพระคุณที่ได้ปกป้องเมืองปัตตานีเอาไว้

          ต่อมา  ประชาชนจังหวัดปัตตานี และทางราชการได้ร่วมกันสร้างอนุสาวรีย์ พันเอก   ขุนอิงคยุทธบริหาร ประดิษฐานที่ ค่ายอิงคยุทธบริหาร  ซึ่งเป็นที่ตั้งหน่วย จังหวัดทหารบกปัตตานี  และ  กองพันที่  ๒  กรมทหารราบที่  ๕    เพื่อเป็นอนุสรณ์แด่ พันเอก  ขุนอิงคยุทธบริหาร   ผู้บังคับกองพันทหารราบที่  ๔๒  ในขณะนั้น  และจารึกชื่อผู้เสียชีวิต   ในเหตูการณ์สู้รบกับกองทหารญี่ปุ่นครั้งกระนั้น      พลโท  ปิ่น ธรรมศรี    แม่ทัพภาคที่  ๔ ในขณะนั้นได้กระทำพิธีเปิดอนุสาวรีย์ ฯ นี้    เมื่อ  ๑๐  ธันวาคม  ๒๕๒๑

 

 

จากปี ๒๔๘๔  ถึง ปีนี้  ๒๕๕๒   เกือบ  ๗๐  ปี  ที่ ท่านทั้งหลายได้สละเลือด เนื้อ และชีวิตเป็นชาติพลี

เป็นแบบฉบับให้อนุชนถือเป็นเยี่ยงอย่างสืบไป 

 

. . . ขอท่านเป็นสุข และสงบ ในสัมปรายภพ . . . เทอญ 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

*   *   *   *   *   *   *   *   *   *   *   *   *   *   *

 

 

บรรณานุกรม

          - วีระบุรุษทหารไทย    พ.ต. ม.ร.ว. ประพีพันธ์  สุบรรณ      องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก  กรุงเทพฯ    พ.ศ.๒๕๐๒

          - ไทยกับสงครามโลกครั้งที่  ๒  โดย    ศาสตราจารย์   ดิเรก  ชัยนาม      แพร่พิทยา  กรุงเทพฯ  ๒๕๐๙

          - ประวัติกองทัพไทย  ในรอบ  ๒๐๐  ปี  พ.ศ.๒๓๒๕ - ๒๕๒๕      กรมแผนที่ทหาร  กรุงเทพฯ  ๒๕๒๕

          - ๕๐ ปี  วีรไทย    กองทัพภาคที่ ๔  จัดพิมพ์เนื่องในวาระครบ  ๕๐ ปี  แห่งสงครามมหารเอเซียบูรพา  ๘  ธันวาคม  ๒๕๓๔ 

          - เว็บไซต์ ของกองบัญชาการกองทัพไทย  กองทัพบก  กองทัพเรือ  กองทัพอากาศ  และเว็บไซต์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง  ซึ่งขอขอบคุณไว้  ณ  ที่นี้

 

 

 




กรณีพิพาทอินโดจีนและสงครามมหาเอเชียบูรพา โดย สัมพันธ์

วันวีรไทย - นครศรีธรรมราช
สงครามมหาเอเซียบูรพา - ไทยประกาศสันติภาพ
สงครามมหาเอเซียบูรพา - เชียงตุง ๒๔๘๕
สงครามมหาเอเซียบูรพา - จากวันวีรไทย ถึง วันประกาศสงคราม
วันวีรไทย - บางปู ปราจีนบุรี
วันวีรไทย - สงขลา
วีรไทย - สุราษฎร์ธานี
วันวีรไทย - ชุมพร
วันวีรไทย - ประจวบคีรีขันธ์
สงครามมหาเอเซียบูรพา - ก่อนจะถึงวันวีรไทย
กรณีพิพาทอินโดจีน - มณฑลบูรพา . . . เคยได้เป็นของเรา
กรณีพิพาทอินโดจีน - ยุทธนาวีที่เกาะช้าง
กรณีพิพาทอินโดจีน - วีรกรรม น.ต.ศานิต นวลมณี



1

ความคิดเห็นที่ 1 (474)
avatar
ผู้รอคอย

ขอให้ทหารหาญทุกท่านที่ประการในจังหวัดปัตตานีทุกท่านปลอดภัย

และรักษาตนตั้งอยู่ในความไม่ประมาท

เพราะมีคนข้างหลังที่รอคอยการกลับมาของท่านอยู่ที่บ้าน

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ผู้รอคอย วันที่ตอบ 2010-01-25 13:01:56 IP : 118.173.244.81


ความคิดเห็นที่ 2 (584)
avatar
JACK

R.I.P. จงเป็นสุขๆเถิดทหารกล้าเอย จะไม่มีใครลืมสิ่งที่ท่านเสียสละไว้

ผู้แสดงความคิดเห็น JACK (jikkie_dorson-at-hotmail-dot-com)วันที่ตอบ 2010-07-07 12:54:10 IP : 124.122.205.249


ความคิดเห็นที่ 3 (623)
avatar
จ.ต.พงศกรหินดี

ขอให้เพื่อนทหารอากาศทุกนายปลอดภัยอีกไม่นานเราคงได้เจอกันที่ปัตตานี จ.ตพงศกร  หินดี

ผู้แสดงความคิดเห็น จ.ต.พงศกรหินดี วันที่ตอบ 2010-09-01 17:24:39 IP : 124.157.156.183


ความคิดเห็นที่ 4 (624)
avatar
สัมพันธ์
 
Lives of great men all remind us 
We can make our lives sublime. 
And departing leave behind us 
Footprints on the sand of time. 
                                        Henry Wordsworth Longfellow กวีอเมริกัน 
 

ประวัติวีรบุรุษไซร้  เตือนใจ เรานา
ว่าอาจจะยังชนม์                 เลิศได้ 
และยามจะบรรลัย                ทิ้งซึ่ง 
รอยบาทเหยียบแน่นไว้          แทบพื้นทรายสมัย 
                                              พระราชนิพนธ์พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
 
ผู้แสดงความคิดเห็น สัมพันธ์ (samphan_chaeng-at-hotmail-dot-com)วันที่ตอบ 2010-09-01 22:45:59 IP : 115.87.55.220


ความคิดเห็นที่ 5 (625)
avatar
Athlon

ผมก็เป็น ลูกคน หนึ่ง ที่ อยู่ในค่าย อิงคฯ

รู้สึก ภูมิใจที่ได้โตในค่าย นี่ครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น Athlon วันที่ตอบ 2010-09-02 17:01:55 IP : 183.88.118.174


ความคิดเห็นที่ 6 (5977)
avatar
คนเมืองขอน

รบด้วยใจ ไว้ลายลูกปัตตานี ชีวิตเป็นชาติพลี

ผู้แสดงความคิดเห็น คนเมืองขอน วันที่ตอบ 2010-08-02 09:46:26 IP : 125.26.141.70



1


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.
| WW II Europe | WW II Asia | WW I | Vietnam War | ประวัติศาสตร์ไทย | บทความจากสมาชิก | คุยกันหลังฉาก | บทความทั้งหมด |

สนใจร่วมเขียนบทความในเว็บไซต์ เชิญอ่าน แนวทางการร่วมเขียนบทความ ภาพยนตร์ประวัติศาสตร์

Custom Search



eXTReMe Tracker