dot
dot
เว็บภาพยนตร์ประวัติศาสตร์ ยินดีต้อนรับผู้สนใจทุกท่าน
dot
dot
สมาชิก Webboard/Blog
ชื่อผู้ใช้ :
รหัสผ่าน :
เข้าสู่ระบบอัตโนมัติ :
bullet ลืมรหัสผ่าน
dot
bulletข้อตกลงการเป็นสมาชิก
bulletเว็บบอร์ด-คุยกันหลังฉาก
bulletเว็บบอร์ด-Games ย้อนยุค
bulletเว็บบอร์ด-ชุดจำลองประวัติศาสตร์
bulletเว็บบอร์ด-หนังสือประวัติศาสตร์
bulletเว็บบอร์ด-เพลงประวัติศาสตร์
bulletคำถาม/คำตอบ ล่าสุด
bulletแนวทางการร่วมเขียนบทความ
dot
สงครามโลกครั้งที่ 2
dot
bulletสมรภูมิยุโรป (สัมพันธมิตรVSเยอรมัน-อิตาลี)
bulletสมรภูมิแปซิฟิก-เอเชีย (สัมพันธมิตรVSญี่ปุ่น)
dot
ภาพยนตร์ประวัติศาสตร์อื่นๆ
dot
bulletสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง
bulletประวัติศาสตร์ไทย
bulletประวัติศาสตร์อเมริกันยุคเริ่มแรก
bulletสงครามเวียดนามและอินโดจีน
bulletตะวันตกโบราณ (กรีก โรมัน ฯลฯ)
bulletประวัติศาสตร์ร่วมสมัย
bulletเอเชียโบราณ
bulletประวัติศาสตร์อื่นๆ (ยังไม่แยกหมวดหมู่)
bulletคลิปความรู้จาก YouTube
dot
บทความโดย วิวันดา
dot
bulletฮิตเล่อร์...และเหล่าขุนพลแห่งอาณาจักรไรค์ซที่สาม
bulletลอดลายรั้ว.....วินด์เซอร์
bulletเลิศเลอวงศา...โรมานอฟ
bulletเชลย
bulletซูคอฟ...ยอดขุนพลผู้ดับฝันของฮิตเล่อร์
dot
บทความโดย สัมพันธ์
dot
bulletคนไทยในกองทัพพระราชอาณาจักรลาว
bulletประวัติศาสตร์สงคราม กรีก
bulletกรณีพิพาทอินโดจีนและสงครามมหาเอเชียบูรพา
bulletอยุธยายศล่มแล้ว ลอยสวรรค์ ลงฤา
bulletฮานนิบาล
bulletพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบรมวงศานุวงศ์
bulletไทยกับมหาสงคราม
bulletสงครามเวียดนาม
bulletห้วยโก๋น ๒๕๑๘
bulletการทัพในมลายา
bulletประวัติศาสตร์อื่น ๆ
dot
เรื่องอื่นๆ
dot
bulletบทความเสริมความรู้ทั่วไป
bulletเกร็ดเล็กเกร็ดน้อย
bulletผู้จัดทำ
bulletผังเว็บไซต์ (Site Map)
bulletแนวทางการร่วมเขียนบทความ
bulletถาม-ตอบ (FAQs) (โปรดอ่านก่อนตั้งกระทู้หรือสมัครสมาชิก)
bulletร้านค้าออนไลน์
bulletแบ่งปัน Album
dot
ลิงค์ต่างๆ
dot
bulletHistory on Film
bulletกองบิน 21 กองพลบิน 2
bulletIELTS British Council
bulletIELTS IDP
bulletMUIC




โหราศาสตร์ยุคไอที



ฮานนิบาล - คาร์เธจ
วันที่ 16/02/2020   21:00:29

*  *  *

ฮานนิบาล  .  .  .  ครับ    ฮานนิบาล   บาร์คา     

 

         ฮานนิบาล   บาร์คา  (Hannibal Barca)  ที่เราจะคุยถึงนี้  ท่านเป็นชาวคาร์เธจ  (Carthage)  ซึ่งชื่อนี้ไม่เป็นที่คุ้นหูพวกเรานัก  จึงใคร่ขอท้าวความเรื่อง  ชนชาติคาร์เธจ เสียหน่อย

 

ยุคดึกดำบรรพ์นานมา  

          ชาวคาร์เธจ  ซึ่งแทบจะเรียกได้ว่าเหลือแต่ชื่อให้พวกเราได้ศึกษากันนี้  เป็นชนเผ่าเซเมติก  (Semitic) สาขาหนึ่ง  ซึ่งเป็นชนชาติดึกดำบรรพ์ชาติหนึ่ง   มีถิ่นฐานเดิมอยู่ลุ่มแม่น้ำไทกริส  (Tigris)  และในทะเลทรายอาระเบีย    นับตั้งแต่ ประมาณ  ๑,๗๕๐  ปี  ก่อนพุทธกาล  หริอ  ประมาณ  ๒,๓๐๐  ปี ก่อนคริสตกาล   ชาวเซเมติกเหล่านี้ จึงได้ชื่อว่า   คาแนนไนต์  เซเมติก  (Canaanite Semitic)    นักประวัติศาสตร์อังกฤษท่านหนึ่ง  มีความเห็นว่า  พวกคาแนนไนต์  เซเมติก  พยายามที่จะเข้าไปตั้งถิ่นฐานในอียิปต์   แต่ชาวอียิปต์ก็พยายามขัดขวาง

 

 

 

Mesopotamia - Arabia

 

 

          ในที่สุด  จึงได้ตั้งถิ่นฐานอยู่เพียงบริเวณริมฝั่งทะเลเมดิเตอเรนียน ด้านตะวันออก  (บริเวณประเทศซีเรีย - เลบานอน  ปัจจุบัน)    

          ชาวคาแนไนต์ เซเมติก  ที่อยู่บริเวณริมฝั่งทะเลเมดิเตอเรนียนนี้  ชาวกรีกเรียก ว่า ฟินิเก  (Phoenike)    และชาวโรมันเรียก  ปิวเนียน  (Punian)     และต่อมา  ในภาษาสมัยใหม่เช่น  ภาษาอังกฤษจึงเรียกพวกนี้ว่า  ชาวฟินิเชียน  (Phoenician)  หรือ  ปิวนิค  (Punic)

 

 

 

 

           ชาวฟินิเซียน แยกย้ายกันตั้งนครรัฐต่างๆ ไม่ขึ้นแก่กัน นครรัฐที่สำคัญ  ได้แก่    นครไทร์  (Tyre)  นครไซดอน (Sidon)   นครไบบลอส  (Byblos)  เบรุต  (Beirut)  และนครเอเคอร์  (Acre)  เป็นต้น   ในตอนแรกๆ  นครไซดอนมีบทบาทเป็นผู้นำนครรัฐต่างๆ  แต่ต่อมา  นครไทร์มีบทบาทนำมากกว่า

 

 

 

 

 

          และเนื่องจากตั้งถิ่นฐานอยู่แถบชายฝั่งทะเลเมดิเตอเรนียนจึงทำให้ชาวฟินิเซียนต้องพัฒนาความรู้ ความสามารถเรื่องการเรือและการเดินเรือ    ระยะแรกๆ ก็คงเดินเรืออยู่ในทะเลเมดิเตอเรนียน และทะเลเอเจียน  (Aegean Sea)   และได้พัฒนาขึ้นตามลำดับ  จนออกจากทะเลเมดิเตอเรนียน ขึ้นไปทางเหนือจนถึงเกาะอังกฤษ  และไกลขึ้นไป  นักประวัติศาสตร์อังกฤษอีกท่านหนึ่ง  กล่าวว่า  ชาวฟินิเชียนเป็นพวกแรกที่รู้จักการเดินเรือด้วยการดูดาวเหนือ  (Pole Star)    นอกจากขึ้นไปทางเหนือแล้ว  ชาวฟินิเชียนยังเดินเรืองลงทางใต้  และได้เดินเรือผ่านแหลมกู๊ดโฮป ที่อยู่ใต้สุดของทวีปอาฟริกามาแล้ว   

          นอกจากจะเจริญในการเดินเรือแล้ว   ชาวฟินิเชียนตามนครรัฐต่างๆ ก็เจริญในทางอุตสาหกรรม  และการค้าขาย  สอดคล้องกับการเดินเรือ    จึงทำให้ชาวฟินิเชียน ร่ำรวยขึ้นด้วย

 

 

Byblos

 

 

Sidon

 

 

 

 

 

 

 

Sidon at Night: 1911 Illustration of Sidon, Lebanon at Night

Source: Jupiter Images

 

 

 

 

 

 

Tyre

 

 

เศรษฐกิจแข็งแกร่ง    การเมืองอ่อนแอ


          เมื่อราว   ๕๕๐  ปี  ก่อนพุทธกาล  หริอ  ประมาณ  ๑,๑๐๐  ปี ก่อนคริสตกาล   ปรากฏว่าชาวฟินิเชียน ร่ำรวยอย่างยิ่ง  แต่ถึงแม้ว่า  จะมีพลังทางเศรษฐกิจแข็งแกร่งเพียงใด  แต่พลังทางการเมืองของชาวฟินิเชียนอ่อนแอมาก   เพราะมิได้มีการรวมกันเป็นชาติรัฐ ให้มั่นคง  ยังคงแยกกันอยู่เป็นนครรัฐ   และถึงจะมีการทำเป็นสหรัฐบ้างแต่ก็เป็นไปแบบหลวมๆ   เช่นนครไซดอนมีบทบาทเป็นผู้นำนครรัฐต่างๆ  แต่ก็ไม่มีอำนาจปกครองนครรัฐอื่นๆ     ถึงแม้ว่าชาวฟินิเชียนจะอ่อนแอในทางการเมือง  แต่ก็มีความสามารถในเรื่องการสร้างอาณานิคม  กล่าวคือ  สนับสนุนส่งเสริมให้พลเมืองออกไปตั้งสถานีการค้า และคลังย่อยๆ   ในต่างดินแดน โดยได้รับอนุมัติจากเจ้าของดินแดนนั้น    เมื่อมีผู้คนออกไปอยู่เพิ่มมากขึ้น  สถานีย่อยเหล่านั้นก็ขยายตัวเป็นศูนย์กลางการค้าขาย  และพัฒนาเป็นเมืองต่อไป   ซึ่ง   แน่นอนครับ   ว่าเป็นเมืองของชาวฟินิเชียน

 

โลกหมุนไป

          ในสมัยต้นๆ  ชาวฟินิเชียน มุ่งเน้นเฉพาะทางการค้า  และต้องรักษาทางไมตรีกับเจ้าของดินแดนเป็นอย่างดี    แต่ต่อมา  เมื่อชาวกรีกเริ่มเดินเรือ  และออกทำการค้าไกลออกไปจากดินแดนของตน  และมีอาณานิคมบ้าง  ซึ่งส่วนมากชาวกรีก ขยับขยายทางบกผ่านช่องเฮเลสปอนท์  ซึ่งปัจจุบันเรียกช่องดาดะแนลส์ (Hellespont - Dadanalles)  และทางทะเลข้ามทะเลเอเจียน   ออกไปตั้งหลักแหล่ง  ในดินแดนที่เรียกว่า เอเซียไมเนอร์   ซึ่งได้ขยายตัวเป็นเมืองใหญ่  เช่น  ทรอย  (Troy)   มิเลตุส (Miletus)  เป็นต้น   จึงต้องแก่งแย่งแข่งขันกัน

 

ตำนานปรำปรา

          มาถึงตอนนี้ก็มีเรื่องตำนานปรำปรา  ว่า  ประมาณ  ๓๐๐  ปีก่อนพุทธกาล  หริอ  ประมาณ  ๘๕๐  ปี ก่อนคริสตกาล    พระราชาแห่งนครไทร์  ทรงนามว่า ปิกเมเลียน  (Pygmalion)   เป็นพระราชาที่โหดร้าย ดุดัน มาก  จนกระทั่งพระขนิษฐาคือเจ้าหญิงเอลิซาร์  (Elissaar)   ทนความโหดร้าย ดุดัน ของพระเชษฐาไม่ได้  จึงรวบรวมผู้คนเดินทางไปทวีปอัฟริกา และสร้างบ้านแปงเมือง อยู่ใกล้ๆ เมืองอัตติคา  ซึ่งชาวฟินิเชียนได้ตั้งอาณานิคมไว้เมื่อประมาณ  ๕๐  ปีมาแล้ว   และ เจ้าหญิงเอลิซาร์  นี้จึงได้ฉายาว่า ดิโด (Dido)  ซึ่งแปลว่าผู้หลบหนี

          ตอนนี้ก็ขอแทรกไว้หน่อยครับ    สำหรับท่านที่เคยได้ยินชื่อมหากาพย์ เรื่องอิเลียด  (Iliad)   ซึ่งพรรณาว่าด้วยเรื่องสงครามกรุงทรอย  (Troy)  ซึ่งกรีก ยกพยุหโยธาไปตีกรุงทรอย  และกรุงทรอยนั้นมีวีรบุรุษหนึ่งชื่อ เอเนียส (Aeneas)    เมื่อกรุงทรอยเสียแก่กรีกแล้ว  เอเนียสก็ได้ลงเรือหลบหนีออกจากกรุงทรอย  แต่ต่อมาเรือได้อัปปาง และคลื่นได้ซัดให้เอเนียสไปขึ้นฝั่งที่เมืองซึ่งเจ้าหญิงดิโดสร้างขึ้นนี้  จนเกิดเป็นความรักหวานชื่นกันระยะหนึ่ง  แต่ต่อมาหนุ่มเอเนียสก็ต้องพรากจากไป    ทำให้เจ้าหญิงดิโดโศกเศร้ามากจนปลงพระชนม์ตนเอง  ก็เป็นเรื่องตำนานปรำปรา นะครับ

 

"เมืองใหม่"  -  คาร์เธจ   (Carthage)

          ที่เป็นประวัติศาสตร์ก็คือ  เมืองที่ชาวฟินิเชียนจากนครไทร์ได้สร้างขึ้นใหม่นี้  อยู่ใกล้ๆ เมืองอัตติคา   จึงเป็นที่เรียกขานกันว่า   คาร์ต - ฮาดาชต์  (Kart - Hadasht)  ซึ่งมีความหมายว่า เป็น "เมืองใหม่"     แต่นักประวัติศาสตร์  ได้เรียกต่างกันไป  ว่า เคอร์จาธ - ฮาเดสชาธ  (Kirjath - Hadasht)   บ้าง  คาร์ธาดา  (Karthada)  บ้าง    แต่ชาวกรีกเรียก  คาร์เชดอน  (Karchedon)   ชาวโรมันเรียก  คาร์ธาโก  (Carthago)  และ เหล่าชาติใหม่ เช่นอังกฤษ  เรียกว่า  คาร์เธจ  (Carthage)   ซึ่งเป็นชื่อที่คุ้นหูพวกเราส่วนมาก

 

 

 

 

 

 

 

Karchedon  -  Carthago  -  Carthage

 

 

          ที่ตั้งเมืองใหม่นี้ เจ้าของถิ่นเดิมคือ พวกเบอร์เบอร์  (Berber)   ชาวเมืองใหม่ก็ยินดีจ่ายค่าเช่าให้แก่เจ้าถิ่นเดิมเพื่อรักษาความสงบ  และทำการค้าขาย  ตามแบบฉบับเดิมชาวฟินิเชียนและเมืองใหม่นี้ก็เจริญรุ่งเรือง  เนื่องจากอยู่ในชัยภูมิที่เหมาะ  อากาศไม่ร้อน ไม่หนาวเกินไป  ดินดำน้ำดี  เหมาะแก่การเพาะปลูก  พวกเบอร์เบอร์เจ้าของถิ่นเดิมก็ไม่รบกวน    ในทางภูมิรัฐศาสตร์  ก็เป็นที่ตั้งที่เหมาะสมเพราะอยู่เกือบกลางทะเลเมดิเตอเรนียน  สามารถควบคุมช่องทะเลตอนใต้ของเกาะซิซีลี  ซึ่งเป็นเส้นทางเดินเรือจากตะวันตกสู่ตะวันออกของทะเลเมดิเตอเรนียน    ด้านทางบก  ก็เป็นต้นทางที่ขึ้นสู่ทวีปอาฟริกา   ประกอบกับชาวเมืองใหม่ หรือชาวคาร์เธจ  ชำนาญในด้านการค้าขาย  จึงทำให้    นครคาร์เธจรุ่งเรืองขึ้นเป็นเทียบชั้นนครไทร์  หรือไซดอน  และมีบทบาทเกือบจะเป็นหัวหน้านครรัฐต่างๆ ของชาวฟินิเชียน  ทีเดียว

          และได้กล่าวมาแล้วว่า  กรีก ก็เป็นอีกชาติหนึ่งที่พัฒนาเรื่องการค้า และการเดินเรือขึ้นมาเหมือนกัน    สถานีการค้าแห่งแรกที่กรีกพัฒนาขึ้นจนกลายเป็นเมือง  นั้นเกิดหลังเมืองคาร์เธจ ประมาณ  ๑๐๐  ปี  คือเมืองคูมาเอ  (Cumae)  ในภาคใต้ของแหลมอิตาลี  ใกล้ๆ เมืองเนเปิลส์  (Naples)  ในปัจจุบัน  และต่อมาก็มีเมืองอื่นๆ เช่น  มาสสิเลีย  (Massilia)    เมืองกรีกเหล่านี้ ทำการค้าเกิดผลประกอบการดีมาก เจริญรุดหน้าอย่างรวดเร็ว     นครไทร์  หรือไซดอน นั้นอยู่ไกลเกินกว่าที่จะแข่งขันกับเมืองกรีกใหม่ๆ เหล่านี้ได้    กรุงคาร์เธจ จึงต้องแข่งขันกับเมืองกรีกใหม่ๆ เหล่านี้

          สถานีการค้าของชาวฟินิเชียน  นับได้ว่ามีถึง  สามร้อยกว่าแห่ง   สามารถเดินเรือผ่าน The Pillars of Hercules  หรือ  Strait of Gibraltar  ในปัจจุบัน  และไกลออกไปถึงเกาะอ้งกฤษก็มี   แต่ที่สำคัญที่สุดคือ เมืองกาเดส  (Gades)   ทางภาคใต้ของแหลมสเปน  และตามชายฝั่งทางเหนือของทวีปอาฟริกา   เมืองที่สำคัญในพื้นที่นี้ ได้แก่  เมืองอัตติคา  (Utica) 

 

 

 

การเมืองไม่มั่นคง  การทหารไม่เข้มแข็ง  ก็อยู่ไม่ได้

           ชาวคาร์เธจเริ่มตระหนักว่าพลังอำนาจทางเศรษฐกิจเพียงอย่างเดียวไม่เพียงพอที่จะให้นครรัฐอยู่อย่างสงบสุขเสียแล้ว  จำเป็นต้องมีพลังอำนาจทางการเมืองที่มั่นคง  และพลังอำนาจทางการทหารที่เข้มแข็งด้วย รัฐจึงจะอยู่ได้    จึงได้เริ่มเปลี่ยนเป็นชาติรัฐ  (Nation State)  และมีการจัดกองทัพทั้งทางบก ทางเรือ 

 

          ต่อมาเมื่อ  กรีกได้ตั้งเมือง อลาเลีย  (Alalia)  บนเกาะคอร์ซิกา  (Corsica)     คาร์เธจก็อยู่ในระดับที่พอจะทำสงครามได้     ขณะนั้นชาวเอตรุสกัน  (Etruscan)    กำลังมีอำนาจอยู่ในตอนกลางคาบสมุทรอิตาลี    กรุงโรม นั้นเพิ่งจะเป็นศูนย์กลางของหมู่ชาวลาติอุม  (Latium)  และมีจำนวนและดินแดนเพียงน้อยนิด     ทางกรุงคาร์เธจจึงได้เป็นพันธมิตรกับ พวกเอตรุสกันและทำสงครามกับพวกกรีกอยู่หลายปี   ต่างฝ่ายผลัดกันแพ้ผลัดกันชนะ     แต่ในที่สุด  กรีกยอมออกจากเกาะคอร์ซิกา   คาร์เธจได้หมู่เกาะบาเลียลิค   (Balearic Islands)   เกาะซาร์ดีเนีย  และบางส่วนของเกาะซิซีลี ด้วย    แต่เมืองสำคัญที่สุดของเกาะซิซีลี คือเมืองซีย์ราคูส  (Syracuse)  เมืองป้อมปราการแข็งแรงมั่นคงทางด้านตะวันออกของเกาะ  ยังเป็นอิสระอยู่

          ต่อมา  พวกกรีกแห่งเมืองคูมาเอก็ได้ทำสงครามกับพวกเอตรุสกัน และเป็นฝ่ายมีชัย    และช่วงเวลานั้นทางกรุงโรมได้เติบโตมีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงการปกครองขับไล่พระราชา เปลี่ยนเป็นมหาชนรัฐ  และเริ่มปรากฏท่าทางว่าจะเป็นใหญ่ในคาบสมุทรอิตาลีต่อไป   ฝ่ายเอตรุสกันก็เริ่มเสื่อมลง

 

 

 

 

 

          จำเนียรกาลผ่านไปจน พ.ศ.๓๔  หรือ  ๕๐๙  ปีก่อนก่อนคริสตศักราช   กรุงคาร์เธจ และกรุงโรม ก็ได้ตกลงกันว่า  ดินแดนในคาบสมุทรอิตาลีนั้นจะอยู่ใต้อิทธิพลของกรุงโรม  และกรุงคาร์เธจจะมีอิทธิพลเหนืออาฟริกา และน่านน้ำใกล้เคียง

 

          สถานการณ์ของโลกด้านนี้    กรีก ซึ่งกำลังขยายตัวออกไปตั้งหลักแหล่งในดินแดนด้านตะวันออกที่เรียกว่า เอเซียไมเนอร์  ก็ขัดผลประโยชน์กับเปอร์เซีย  ถึงขั้นก่อความไม่สงบจนทางเปอร์เซียต้องออกแรงปราบปรามอยู่นาน  จนใน  พ.ศ.๕๐  (๔๙๒  ปี  ก่อนคริสตศักราช)   กษัตริย์ดาริอุสที่ ๑ แห่งเปอร์เซียจึงต้องส่งกองทัพไปทำสงครามกับรัฐกรีก    และรัฐกรีกก็ได้ทำสงครามต่อสู้กับมหาอำนาจเปอร์เซีย หลายครั้ง   เป็นเวลาสิบกว่าปี  จนกระทั่ง พ.ศ.๖๒  (๔๘๑  ปี ก่อนคริสตศักราช)   จึงเอาชนะเปอร์เซียได้อย่างเด็ดขาด  -  รายละเอียดใน เรื่องสงครามกรีก - เปอร์เซีย

          ทางฝ่ายคาร์เธจก็คงอยากได้เกาะซิซีลีไว้เสียทั้งเกาะ  ก็พยายามรบตีเอาเมืองซีย์ราคูสให้ได้  แต่ในที่สุด  พ.ศ.๖๓  (๔๘๐ ปี ก่อนคริสตศักราช)    ประมุขของเมืองซีย์ราคูสก็สามารถรบชนะฝ่ายคาร์เธจได้อย่างงดงาม   เป็นการบั่นทอนกำลังฝ่ายคาร์เธจไปราว  ๖๐  ปี

 

          ส่วนทางฝ่ายกรีกนั้น   การมีชัยต่อมหาอำนาจเปอร์เซียอย่างเด็ดขาดทำให้ชนชาวกรีก เกิดความเชื่อมั่น  มุ่งมั่น  ความริเริ่ม สร้างสรรค์ในศิลปวิทยาการต่างๆ   จนเป็นรากฐานของยุโรปในกาลต่อมา  และเมื่อกรีกไม่มีภัยสงครามจากรัฐอื่นแล้ว  รัฐกรีกต่างๆ ก็แข่งขันกันเอง ในด้านต่างๆ   จน  ถึงขั้น  .  .  . รบกันเอง  ที่เรียกว่า สงครามเพลอพพอนเนเซียน  (The Peloponnesian War)   เมื่อ พ.ศ. ๘๖  -  ๑๓๙   (๔๕๗  -  ๔๐๔  ปี ก่อนคริสตศักราช)  -  รายละเอียดใน เรื่องสงครามกรีก - กรีก

 

          ในคาบสมุทรอิตาลีนั้น  อำนาจของพวกเอตรุสกันเริ่มลดลง เพราะถูกพวกกรีกจากเมืองซีย์ราคูสมารบได้ชัยชนะ  และถูกพวกกอล (Gaul)  ซึ่งอยู่ตอนเหนือของคาบสมุทรอิตาลีมารุกรานได้สำเร็จ    พวกกอลยึดกรุงโรมได้ด้วย  แต่กรุงโรมกลับตั้งตัวได้รวดเร็วและตั้งตนเป็นผู้นำชนชาติต่างๆ ในคาบสมุทรอิตาลี จนได้ปะทะกับเมืองกรีกต่างๆ ทางใต้ของคาบสมุทรอิตาลี เช่นเมืองตาเรนตุม  (Tarentum)

 

Pyrrhic  Victory

 

          การช่วงชิงความเป็นมหาอำนาจในคาบสมุทรอิตาลีระหว่างกรีก  -  โรมัน  ยุติลงในสมัยพระเจ้าไพร์รัส แห่งเอพิรุส  (Pyrrhus  of  Epirus)  ของกรีก  ซึ่งเป็นว่านเครือพระเจ้าอเลกซานเดอร์มหาราช       ได้นำทัพกรีกสู้รบกับกองทัพโรมัน    พระองค์ได้ชัยชนะที่เมืองเฮอราเคลีย   (Heraclea)   ในพ.ศ.๒๔๓    (๒๘๐  ปีก่อนคริสตศักราช)    และเมืองอัสคูลุม  (Asculum)  ในปีต่อมา   แต่กองทัพโรมันก็ได้ต่อสู้อย่างทรหดยิ่ง     แม้ว่ากองทัพของพระเจ้าไพร์รัสจะมีชัยชนะในการรบ  แต่ก็ไม่สามารถทำการรบต่อไปได้   ต้องนำทัพกลับ 

           จึงเกิดคำศัพท์เรียก ชัยชนะที่ต้องสูญเสียสิ้นเปลืองแทบหมดสิ้น จนไม่สามารถทำอะไรต่อไปได้อีก และไม่ได้ประโยชน์อะไรเลยว่า    "ชัยชนะของพระเจ้าไพร์รัส"    (Pyrrhic  Victory)

 

 

 

          และจากสงครามนี้ก็ทำให้เห็นอำนาจของกรุงโรมโดดเด่นขึ้นในคาบสมุทรอิตาลี    ในขณะที่คาร์เธจก็มีอำนาจมากที่สุดในอัฟริกา  โดยเมืองซีย์ราคูส (กรีก)   คุมเกาะซิซีลี อยู่กลาง

          คาร์เธจอาจจะสบายใจว่า  เมื่อโรมมีอำนาจเป็นใหญ่ในคาบสมุทรอิตาลี  คงจะเป็นมิตรกับตนตามที่ชาวเอตรุสกันดำเนินมาแล้ว    แต่ในความเป็นจริงของโลกนั้น   เมื่ออาณาจักรโรมันเติบโตแข็งแกร่งขึ้น ในขณะที่อาณาจักรกรีกเริ่มเสื่อมถอย    

 

ดังนั้น  อาณาจักรโรมันจึงเป็นคู่แข่งกับคาร์เธจ  โดยธรรมชาติ 

 

 

 

Carthaginian Empire  and  Rman Empire

 

 

 

          ในกรณีนี้  พลูตาร์ค  (Plutarch - Lucius Mestrius Plutarchus)  นักประวัติศาสตร์โบราณ  ได้เล่าว่า   พระเจ้าไพร์รัสได้ทรงทำนายไว้ก่อนที่จะถอนทัพกลับสู่ดินแดนของพระองค์ว่า

 

"เราจะทิ้งสมรภูมิอันงามไว้ให้กรุงโรมและกรุงคาร์เธจได้ต่อสู้กันต่อไปภายหน้า"

 

 

 

 

 

 

 

 

          ครับ  .  .  .  เราก็จะทิ้งความเป็นมาของโลกเมดิเตอเรเนียนยุคโบราณกาเลไว้เพียงนี้ก่อน  และติดตามโลกส่วนนี้ต่อไปใน  .  .  .  สงครามปิวนิค ครั้งที่ ๑  .  .  .  นะครับ

 

สถานการณ์ต่อไป.  .  .  สงครามปิวนิค ครั้งที่ ๑

สถานการณ์ต่อไป.  .  .  สงครามปิวนิค ครั้งที่ ๑

สถานการณ์ต่อไป.  .  .  สงครามปิวนิค ครั้งที่ ๑

 

*   *   *   *   *

 

บรรณานุกรม

          -  แหล่งกำเนิดอารยธรรมยุคแรกของโลก     มนต์  ทองชัช    สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์   วังบูรพา  กรุงเทพมหานครฯ  พ.ศ.๒๕๒๗

          -  พงษาวดารยุทธศิลปะ    นายพลเอก  สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ  เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนารถ  กรมหลวงพิษณุโลกประชานารถ    พิมพ์ครั้งที่ ๑   ในพระพุทธศักราช  ๒๔๕๙

          -  ชีวะประวัติของฮานนิบาล  จอมทัพแห่งกรุงคาร์เธจ    พันตรี  พระเจ้าวรวงศ์เธอ  พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์    โรงพิมพ์โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า   พฤศจิกายน  พ.ศ.๒๔๙๐

          - เอกสารอัดสำเนาวิชาประวัติศาสตร์การสงคราม  กองวิชาสรรพาวุธและประวัติศาสตร์การสงคราม  โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า    พ.ศ.๒๕๐๔

 

 

          -  ANCIENT AND MEDIEVAL WARFAIRE      UNITED STATES MILITARY ACADEMY    WEST POINT  -  NEW YORK    1973 

         -  ข้อมูล และรูปภาพ ส่วนหนึ่งได้นำมาจาก เว็ปไซต์ ต่างๆ ทำให้เรื่องสมบูรณ์และน่าอ่านยิ่งขึ้น  จึงขอขอบคุณไว้  ณ  ที่นี้   แลหากท่านที่มีข้อมูลที่แตกต่าง  หรือมีข้อคิดเห็น คำแนะนำ ขอโปรดแจ้งให้ทราบเพื่อจะได้ตรวจสอบ และดำเนินการ เพื่อประโยชน์แก่ผู้สนใจโดยทั่วไป




บทความจากสมาชิก




1

ความคิดเห็นที่ 1 (633)
avatar
ประดิษฐ์ มาลาพันธ์
คุณทำได้ดีมากครับผมชอบมากเลยครับ
ผู้แสดงความคิดเห็น ประดิษฐ์ มาลาพันธ์ (nong-at-hotmail-dot-com)วันที่ตอบ 2010-09-13 10:35:14



1


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.
| WW II Europe | WW II Asia | WW I | Vietnam War | ประวัติศาสตร์ไทย | บทความจากสมาชิก | คุยกันหลังฉาก | บทความทั้งหมด |

สนใจร่วมเขียนบทความในเว็บไซต์ เชิญอ่าน แนวทางการร่วมเขียนบทความ ภาพยนตร์ประวัติศาสตร์

Custom Search



eXTReMe Tracker