dot
dot
เว็บภาพยนตร์ประวัติศาสตร์ ยินดีต้อนรับผู้สนใจทุกท่าน
dot
dot
สมาชิก Webboard/Blog
ชื่อผู้ใช้ :
รหัสผ่าน :
เข้าสู่ระบบอัตโนมัติ :
bullet ลืมรหัสผ่าน
dot
bulletข้อตกลงการเป็นสมาชิก
bulletเว็บบอร์ด-คุยกันหลังฉาก
bulletเว็บบอร์ด-Games ย้อนยุค
bulletเว็บบอร์ด-ชุดจำลองประวัติศาสตร์
bulletเว็บบอร์ด-หนังสือประวัติศาสตร์
bulletเว็บบอร์ด-เพลงประวัติศาสตร์
bulletคำถาม/คำตอบ ล่าสุด
bulletแนวทางการร่วมเขียนบทความ
dot
สงครามโลกครั้งที่ 2
dot
bulletสมรภูมิยุโรป (สัมพันธมิตรVSเยอรมัน-อิตาลี)
bulletสมรภูมิแปซิฟิก-เอเชีย (สัมพันธมิตรVSญี่ปุ่น)
dot
ภาพยนตร์ประวัติศาสตร์อื่นๆ
dot
bulletสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง
bulletประวัติศาสตร์ไทย
bulletประวัติศาสตร์อเมริกันยุคเริ่มแรก
bulletสงครามเวียดนามและอินโดจีน
bulletตะวันตกโบราณ (กรีก โรมัน ฯลฯ)
bulletประวัติศาสตร์ร่วมสมัย
bulletเอเชียโบราณ
bulletประวัติศาสตร์อื่นๆ (ยังไม่แยกหมวดหมู่)
bulletคลิปความรู้จาก YouTube
dot
บทความโดย วิวันดา
dot
bulletฮิตเล่อร์...และเหล่าขุนพลแห่งอาณาจักรไรค์ซที่สาม
bulletลอดลายรั้ว.....วินด์เซอร์
bulletเลิศเลอวงศา...โรมานอฟ
bulletเชลย
bulletซูคอฟ...ยอดขุนพลผู้ดับฝันของฮิตเล่อร์
dot
บทความโดย สัมพันธ์
dot
bulletคนไทยในกองทัพพระราชอาณาจักรลาว
bulletประวัติศาสตร์สงคราม กรีก
bulletกรณีพิพาทอินโดจีนและสงครามมหาเอเชียบูรพา
bulletอยุธยายศล่มแล้ว ลอยสวรรค์ ลงฤา
bulletฮานนิบาล
bulletพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบรมวงศานุวงศ์
bulletไทยกับมหาสงคราม
bulletสงครามเวียดนาม
bulletห้วยโก๋น ๒๕๑๘
bulletการทัพในมลายา
bulletประวัติศาสตร์อื่น ๆ
dot
เรื่องอื่นๆ
dot
bulletบทความเสริมความรู้ทั่วไป
bulletเกร็ดเล็กเกร็ดน้อย
bulletผู้จัดทำ
bulletผังเว็บไซต์ (Site Map)
bulletแนวทางการร่วมเขียนบทความ
bulletถาม-ตอบ (FAQs) (โปรดอ่านก่อนตั้งกระทู้หรือสมัครสมาชิก)
bulletร้านค้าออนไลน์
bulletแบ่งปัน Album
dot
ลิงค์ต่างๆ
dot
bulletHistory on Film
bulletกองบิน 21 กองพลบิน 2
bulletIELTS British Council
bulletIELTS IDP
bulletMUIC




โหราศาสตร์ยุคไอที



ฮานนิบาล - สงครามปิวนิค (ครั้งทึ่ ๑)

*  *  *

ฮานนิบาล - สงครามปิวนิค  (ครั้งที่ ๑)

 

สถานการณ์เดิม  .  .  .

          .  .  .  อำนาจของกรุงโรมโดดเด่นขึ้นในคาบสมุทรอิตาลี    ในขณะที่คาร์เธจก็มีอำนาจมากที่สุดในอัฟริกา  โดยเมืองซีย์ราคูส (กรีก)   คุมเกาะซิซีลี อยู่กลาง

          คาร์เธจอาจจะสบายใจว่า  เมื่อโรมมีอำนาจเป็นใหญ่ในคาบสมุทรอิตาลี  คงจะเป็นมิตรกับตนตามที่ชาวเอตรุสกันดำเนินมาแล้ว    แต่ในความเป็นจริงของโลกนั้น   เมื่ออาณาจักรโรมันเติบโตแข็งแกร่งขึ้น ในขณะที่อาณาจักรกรีกเริ่มเสื่อมถอย    

ดังนั้น  อาณาจักรโรมันจึงเป็นคู่แข่งกับคาร์เธจ  โดยธรรมชาติ

 

           พลูตาร์ค  (Plutarch - Lucius Mestrius Plutarchus)  นักประวัติศาสตร์โบราณ  ได้เล่าว่า   พระเจ้าไพร์รัสได้ทรงทำนายไว้ก่อนที่จะถอนทัพกลับสู่ดินแดนของพระองค์ว่า 

"เราจะทิ้งสมรภูมิอันงามไว้ให้กรุงโรมและกรุงคาร์เธจได้ต่อสู้กันต่อไปภายหน้า" 

 

สถานการณ์ต่อไป  .  .  .

สภาพทั่วๆ ไป    ก่อนเกิดสงครามปิวนิค

 

 

          กรุงคาร์เธจ

          มีฐานะทางการเงินมั่นคงที่สุด  และเป็นเมืองที่ใหญ่โตที่สุด    เส้นรอบวงเมืองยาวประมาณ  ๓๕  กิโลเมตร    กำแพงเมืองสูง  ๑๕  เมตร  หนา  ๒๕  เมตร    ภายในกำแพง  เป็นที่อยู่ได้ ของช้าง  ๓๐๐    ม้า  ๔๐๐   ทหารราบ  ๒๐,๐๐๐     และเป็นคลังเก็บรักษาอาวุธยุทธภัณฑ์  และเสบียงอาหาร   บนกำแพงมีป้อมอยู่มาก  แต่ละป้อมสูง  ๔  ชั้น    ภายนอกกำแพง  เป็นที่ลุ่ม และคูน้ำกว้าง  ประมาณ   ๑๘๕  เมตร   มีหลักฐานว่าคาร์เธจเจริญในทางวิศวกรรมถึงขนาดมีตึกถึง  ๖  ชั้นได้

          ดินแดนของคาร์เธจเวลานั้นมีดังนี้   อาฟริกาตอนเหนือกับทางตะวันออก จดฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติค  ภาคใต้ของสเปน   เกาะต่างๆ ในทะเลเมดิเตอเรเนียน  ภาคตะวันตกของเกาะซิซีลี

          แต่โดยที่ชาวคาร์เธจส่วนมาก   ชอบประกอบธุรกิจ  ทำมาค้าขาย  หรือทำนาทำสวน  ไม่นิยมเป็นนักรบ   ดังนั้น  กองทัพทั้งทางบก และทางเรือ  จึงใช้พลทหารจ้างเป็นส่วนมาก    กองทหารที่เป็นชาวคาร์เธจมีอยู่หน่วยเดียวคือกองทหารรักษาคัวแม่ทัพ   ซึ่งเป็นทหารราบ  ๑,๕๐๐  และทหารม้า  ๑,๐๐๐    ส่วนกองทหารจ้างนั้นก็ใช้ชาวคาร์เธจเป็นนายทหาร    ส่วนกองเรือ ของคาร์เธจนั้น  ว่ากันว่ามีเรือรบถึง  ๕๐๐  ลำ   มากกว่ากองเรือของทุกชาติรวมกันเสียอีก   และยังมีอู่ และท่าเรืออย่างดี  และเพียงพอด้วย

 

The circular island, is often used as an illustration of Carthage's greatness before the Romans destroyed it all.  ^
 

 

 

 

 

           กรุงโรม

          เกิดขึ้นไล่เลี่ยกับกรุงคาร์เธจ  ในดินแดนของชาวลาติอุม    เวลานั้นยังอยู่ในฐานะเป็นพวกเพาะปลูก  ไม่เจริญในทางการค้าขายเช่นชาวคาร์เธจ  ราษฎรรักกรุงโรมและรักชาติ อย่างแน่วแน่  จิตใจกล้าหาญ  พร้อมที่จะทำการสงครามเพือ่ช่วยชาติ  กล่าวได้ว่า  ไม่มีชาติใดที่เหมาะแก่การทำสงครามเท่าชาวโรมัน    ทหารของโรมเป็นชาวโรมันแท้ๆ  ทั้งนาย และพล   กองทัพโรมันมีทหารที่เป็นพลเมืองเองซึ่งพร้อมไปด้วยความกล้าหาญ  และความแคล่วคล่องว่องไวในการสงคราม    ทั้งเต็มไปด้วยความรักชาติบ้านเมือง  มียุทธวินัยเคร่งครัด

 

 

 

 

 

 

 อาณาจักรคาร์เธจ  และ  อาณาจักรโรมัน

 

 

สงครามปิวนิค  (ครั้งที่ ๑)     พ.ศ.๒๗๙ - ๓๐๒  หรือ  ๒๖๔ – ๒๔๑  ปี ก่อนคริสตศักราช

           ในสงครามปิวนิค  ครั้งที่ ๑  มีทั้งการรบทางบก และทางทะเลหลาบครั้ง     ในทางยุทธศิลปะ ไม่ถือว่าการรบทางบก  ครั้งใดที่จะนับเอามาศึกษากันเป็นพิเศษ    แต่ในการบทางทะเล ก็ได้มีเกิดนวัตกรรมขึ้นใช้ในการรบ    ไหนๆ ก็ว่ากันมาถึงนี่แล้ว  ก็ลองดูสงครามปิวนิค ครั้งที่ ๑  กันเสียหน่อย  .  .  .  นะครับ

            คาร์เธจ  เวลานั้นมีอำนาจอยู่ใน อาฟริกาตอนเหนือและตะวันออกจนจดฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติค  ภาคใต้ของสเปน   เกาะต่างๆ ในทะเลเมดิเตอเรเนียน  ได้แก่  หมู่เกาะบาเลียลิค   (Balearic Islands)   เกาะซาร์ดีเนีย   ภาคตะวันตกของเกาะซิซีลี

       โรม นั้น  มีอำนาจเพียงตอนกลางของคาบสมุทรอิตาลี     จึงเกรงว่าคาร์เธจจะเป็นพันธมิตรกับกรีก แผ่อำนาจเข้ามาในเกาะซิซีลีมากขึ้นจนถึงระดับที่เป็นภัยคุกคามต่อกรุงโรม    ดังนั้น   โรมันก็หันไปสนใจเกาะซิซีลี เกาะใหญ่ซึ่งกรีก และคาร์เธจแบ่งกันยึดครอง   เมื่อคาร์เธจเริ่มแผ่อิทธิพลเข้าไปใน  เมืองเมสซินา  (Messina  -  Messana  ในแผนที่)  ทางตะวันออกเฉียงเหนือของเกาะซิซีลี  และ เมืองเรกิอุม  (Rhegium)  ทางตะวันตกเฉียงใต้บนปลายคาบสมุทรอิตาลี  ซึ่งเป็นเมืองกรีก   จึงเป็นภาวะที่ทางกรุงโรมยอมไม่ได้

 

           ปฐมเหตุในเกาะซิซีลี  คือ โรมันได้รับคำร้องขอจากเมืองเมสสินา  ให้ช่วยเหลือ   เหตุที่โรมันรับเป็นธุระ เนื่องจากจะได้ถือเป็นโอกาสผลักดันคาร์เธจออกไปจากเกาะซิซีลี

          โรมันส่งทหารกองแรกเข้าไปในเกาะซิซีลี   ใน  พ.ศ.๒๗๙  หรือ  ๒๖๔   ปี  ก่อนคริสตศักราช

 

 

 

 

 ขั้นแรก  ยึดเมืองอะกริเจนตุม    

          การรบหลักครั้งแรกในสงครามปิวนิค  ครั้งที่ ๑  คือการยึดเมืองอะกริเจนตุม  (Agrigentum)  ซึ่งเป็นเมืองกรีกทางใต้ของเกาะซิซีลี    ฝ่ายโรมันใช้เวลาล้อมเมืองอยู่  ๖  เดือน  ก็ยึดเมืองอะกริเจนตุมได้    การพิชิตเมืองอะกริเจนตุมนี้    เป็นการขัดขวางการรุกของคาร์เธจบนเกาะซิซีลี

 

การเคลื่อนไหวก้าวต่อไปของโรมัน เป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่อย่างไม่เคยมีมาก่อนในประวัติศาสตร์การทหาร

              ฝ่ายโรมันแสวงหาชัยชนะบนเกาะซิซีลี   แต่ต้องการอำนาจทางเรือเพื่อเผชิญกับกำลังทางเรือของคาร์เธจ    ถึงแม้ว่าจะไม่เคยมีการสร้างเรือ และประสบการณ์ในการเดินเรือมาก่อน    โรมันได้นำเรือคาร์เธจที่ยึดได้มาลอกแบบ    และในสองเดือนต่อมา  กรุงโรมสร้าง เรือ quinquereme ๑๐๐  ลำ  และ  trireme  ๒๕  ลำ    โรมันสร้างเรือจำลองขึ้นบนบก เพื่อฝึกฝีพาย และลูกเรือ   ทั้งยังได้ประดิษฐ์ทางลาดเคลื่อนที่ได้  (corvus)   ซึ่งสามารถพาดเกี่ยวเข้ากับเรือข้าศึกให้ทหารลงไปต่อสู้ประชิดตัวกับข้าศึก ซึ่งทหารโรมันทำได้ยอดเยี่ยม

           Polybius นักประวัติศาสตร์ชาวกรีกเขียนไว้ว่า    กรุงโรมใช้เรือ quinquereme อัปปางของคาร์เธจที่ยึดได้ที่เมืองเมสสินาเป็นต้นแบบ    มิเช่นนั้น  โรมันก็จะไม่มีจุดเริ่มในการออกแบบ

          อย่างไรก็ตาม   อาจจะเป็นการกล่าวเกินจริงว่า  โรมันได้ขอยืม เรือ quinquereme ของกรีก มาก่อนตั้งแต่ พ.ศ.๒๗๙  หรือ  ๒๖๔   ปี  ก่อนคริสตศักราช

          กเนอุส คอร์เนเลียส  สคิปิโอ  (Gnaeus Cornelius Scipio)  เป็นผู้บัญชาการกองเรือกองแรกของโรมันครั้งนี้ โดยมีเรือในบังคับบัญชา ๑๗ ลำ มุ่งหน้าไปยังเมสซินา

 

 

 

Quinquereme

 

 

การรบที่เกาะลิพารี  (Battle of Lipari)   พ.ศ.๒๘๓  หรือ  ๒๖๐   ปี  ก่อนคริสตศักราช  เป็นสงครามทางเรือครั้งแรก ที่นอกเกาะลิพารี

          ขณะที่กองเรือโรมันอยู่ในช่องแคบ ก็ได้ข่าวว่า ทหารคาร์เธจ ที่ลิพาร่า (Lipara)   กำลังจะยอมแปรพักตร์มาเข้าด้วย    สคิปิโอจึงนำกองเรือเข้าสู่ท่าเรือเมืองลิพาร่า โดยไม่ได้เตรียมรบ
 
          แต่กองเรือของคาร์เธจ  ของ ฮานนิบาล กิสโค (Hannibal Gisco)    ซึ่งมีเรือประมาณ  ๒๐  ลำ   กำลังซุ่มรอจังหวะที่จะปิดล้อมอยู่นอกอ่าว เมื่อกองเรือของโรมันทั้งหมดเข้าไปในอ่าว ลิพาร่าแล้ว กองเรือคาร์เธจก็เข้าปิดล้อมทันที

          ฝ่ายโรมันไม่ทันตั้งตัว ไม่มีประสบการณ์การรบทางทะเล  และไม่ได้เตรียมรบ   เมื่อถูกกองเรือคาร์เธจปิดล้อมจึงต้องเสียเรือไปทั้ง  ๑๗  ลำ  และยอมแพ้  ตัวสคิปิโอเองถูกจับตัวได้
 


การรบที่เกาะมีย์เล  (The Battle of Mylae)    พ.ศ.๒๘๓  หรือ  ๒๖๐   ปี  ก่อนคริสตศักราช   (present-day Milazzo)

           เป็นการรบทางทะเลอย่างแท้จริง    และการรบครั้งนี้เป็นนัยสำคัญต่อชัยชนะของโรมัน

 


 
           กองเรือคาร์เธจ   ปะทะกับกองเรือโรมัน ทางเหนือเกาะมีย์เล     โพลิบิอุสกล่าวว่า  กองเรือคาร์เธจ  ๑๓๐  ลำ  แต่ไม่ได้กล่าวถึงจำนวนเรือฝ่ายโรมัน  ซึ่งน่าจะเหลือ  ๑๐๓  ลำ  (มีเรือ  ๑๒๐  ลำ  เสียหายจากการรบที่เกาะลิพาริ จำนวน  ๑๗  ลำ)   แต่ก็เป็นไปได้ว่า โรมันอาจจะมีจำนวนเรือมากกว่านี้ เพราะมีเรือที่ยึดมาได้ และเรือจากพันธมิตร    ฝ่ายคาร์เธจคาดหวังในชัยชนะ เนื่องจากมีความเชี่ยวชาญในการรบทางทะเลสูงมาก และมีประสบการณ์ในการเดินเรือมา  ๘๐๐  ปี   แต่กองเรือโรมันซึ่งใช้นวัตกรรมคอร์วัส (ทางลาดเคลื่อนที่) ติดตั้งที่บริเวณหัวเรือทุกลำ  เรือโรมันแล่นเข้าใกล้เรือคาร์เธจแล้วใช้ทางลาดเคลื่อนที่ได้นี้ พาด และเกี่ยวเข้าไป    ทหารโรมันก็ใช้ทางลาดนี้ลงไปในเรือข้าศึก ใช้ความสามารถเฉพาะตัวที่สูงกว่าต่อสู้ได้ชัยชนะ และ ยึดเรือคาร์เธจ   ฝ่ายโรมันยึดเรือคาร์เธจได้  ๓๑  ลำ    และทำลายได้  ๑๓  ลำ  และเพื่อหลีกเลี่ยงเจ้านวัตกรรม นี้  เรือคาร์เธจต้องปรับยุทธวิธีเสียใหม่   เป็นเดินเรือรอบเรือโรมัน  และเข้าโจมตีทางด้านหลัง (ท้ายเรือ) หรือทางด้านข้าง

          อย่างไรก็ตาม   นวัตกรรมของโรมันก็ยังทำงานได้ผล สามารถเกี่ยวเอาเรือคาร์เธจได้อีก  ๒๐  ลำ   จนกองเรือคาร์เธจต้องล่าถอย    และแพ้อย่างเด็ดขาดในการสู้รบ     

 

           ฝ่ายกองเรือโรมัน   แทนที่จะตามกองเรือคาร์เธจที่เหลือในทะเล   กลับแล่นไปเกาะซิซีลี

 

          นักประวัติศาสตร์สมัยใหม่ต่างแปลกใจที่แม่ทัพเรือโรมันไม่ตามทำลายกองเรือคาร์เธจเสียในทันทีทันใด   แต่ว่ากองเรือคาร์เธจจำนวน  ๘๐  ลำ ก็แข็งแรงเกินกว่าฝ่ายโรมันจะพิชิตได้ง่ายๆ

กงศุลโรมันสองคนคือ  Gnaeus Cornelius Scipio Asina  ควบคุมกองเรือ    Gaius Duilius  บังคับบัญชากำลังทางบก

 

 

 

 

Trireme 

Triremes were the finest warships of their era.  

 

 

การรบที่แหลมเอ็คโนมุส  (The Battle of Cape Ecnomus)      พ.ศ.๒๘๗  หริอ  ๒๕๖ ปี ก่อนคริสตศักราช     ปัจจุบันเรียก  P  oggio di Sant'Angelo, Licata, Sicily

            หลังจากได้ชัยชนะทางทะเลอีกหลายครั้ง   การใช้นวัตกรรมในเรืออย่างได้ผลทำให้โรมันตัดสินใจ ว่าถึงเวลาที่ต้องส่งกำลังขึ้นฝั่งอาฟริกา   และจะใช้การรบบนพื้นดินซึ่งเหนือกว่า  เข้าโจมตีคาร์เธจโดยตรง  เพื่อให้บรรลุความมุ่งหมายนี้   ต้องใช้เรือเป็นจำนวนมากเพื่อใช้ในการขนส่งทหารและเครื่องมือต่างๆ  โรมันได้สร้างกองเรือลำเลียงขนาดใหญ่ จำนวน  ๒๐๐  ลำ    ฝ่ายโรมัน  มีเรือทั้งสิ้น  ๓๓๐  ลำ    จัดกองระวังหน้าขวา - ซ้าย และกองระวังหลัง   (กองเรือหมายเลข  I, II, III ในภาพจำลอง) เพื่อคุ้มกันกองเรือลำเลียงพลซึ่งอยู่ตรงกลาง    กงศุลทั้งสองของโรมัน  คือ  มาร์คุส อติลิอุส เรกุลุส  และ ลูซิอุส มานลิอุส วัลโซ ลองกุส   (Marcus Atilius Regulus and Lucius Manlius Vulso Longus)  เป็นผู้บัญชาการกองเรือ   
 
          ฝ่ายคาร์เธจส่งกองเรือซึ่งมีจำนวน   ๓๕๐  ลำ เข้าขัดขวาง    แม่ทัพเรือคาร์เธจ คือ  ฮานโน  และฮามิลคาร์  (Hanno the Great and Hamilcar)   (not to be confused with Hamilcar Barca)    แบ่งเป็น  ๔ กองเรือ  เรียงหน้ากระดาน  (กองเรือหมายเลข 1, 2, 3, 4 ในภาพจำลอง)   (Initial  dispositions)   แต่ละลำ  มีฝีพาย  ๑๐๐  และทหาร อีก  ๑๕๐    กองเรือหมายเลข  2, 3  อยู่ในบังคับบัญชาของฮามิลคาร์   กองเรือหมายเลข ๔  อยู่ในบังคับบัญชาของฮานโน

          ฝ่ายโรมันกล่าวว่า  ตนมีกำลัง  ๑๔๐,๐๐๐    ส่วนฝ่ายคาร์เธจ   มีกำลัง  ๑๕๐,๐๐๐   

          ทั้งสองฝ่ายได้พบกันที่แหลมเอ็คโนมุส    การรบครั้งนี้  ถือเป็นการรบทางทะเลใหญ่ที่สุด ในโลกเมดิเตอเรเนียนโบราณ ในประวัติศาสตร์ตราบจนปัจจุบัน 

 

 

 

   

           กองระวังหน้าทั้งสองของโรมัน (กองเรือ I  และ II)  ก็เข้าโจมตีกลางกระบวนของกองเรือคาร์เธจ  (กองเรือ 2  และ 3) ก่อน    กองเรือ 2  และ 3  ของคาร์เธจก็แสร้งถอยหนี ล่อให้ฝ่ายโรมันติดตาม    ในขณะที่กองเรือทางด้านซ้ายและขวา  (กองเรือ 1  และ 4) ของคาร์เธจก็เข้าโจมตีต่อกองเรือลำเลียงพล และกองระวังหลังของโรมัน  (กองเรือ III)   (Battle:  First step)

          แต่ปรากฏว่า กองเรือย่านกลาง (กองเรือ 2  และ 3) ของคาร์เธจถอนตัวล่อกองระวังหน้าของโรมันมากเกินไป   กองระวังหน้าของโรมัน (กองเรือ I  และ II) จึงสามารถ ย้อนกลับมาช่วยกองเรือลำเลียงพล  และ กองระวังหลังได้ทัน  การสู้รบดำเนินไปอย่างทรหดยิ่ง    ในที่สุด  กองเรือโรมันก็เอาชนะกองเรือของคาร์เธจที่รบติดพันอยู่ได้โดยการปิดล้อม     (Battle:  Second step)กองเรือคาร์เธจถูกจับ และถูกทำลายประมาณครึ่งกอง

 

 

 

The Roman Fleet Victorious over the Carthaginians at the Battle of Cape Ecnomus  
 
    โดย  Gabriel Jacques de Saint-Aubin   French, about 1763

Watercolor, gouache, pen and India and brown ink over black chalk     สีน้ำผสมกาว


 

          กองเรือคาร์เธจเป็นฝ่ายพ่ายแพ้ในที่สุด และโรมันสามารถครองทะเลได้ โรมันส่งเชลยศึกที่จับได้กลับไปโรมเพื่อแสดงผลงานที่ได้จากการจัดตั้งกองเรือด้วยเงินเรี่ยไรของประชาชน   ทำให้ประชาชนเลื่อมใสและศรัทธาในขีดความสามารถของกองทัพ     โรมันขึ้นบกที่อาฟริกาได้สำเร็จ  รุกเข้าสู่อาณานิคมของคาร์เธจในแอฟริกา  และเตรียมการรบต่อไป

 

การรบที่อดีส์  (The Battle at Adys)     พ.ศ.๒๘๗  หริอ  ๒๕๖ ปี ก่อนคริสตศักราช     การรบครั้งแรกที่โรมันรุกเข้าไปในอัฟริกาเหนือ
 
        โรมันสามารถขึ้นบกที่แอฟริกาได้สำเร็จ  มาร์คัส อทิเลียส เรกุลุส (Marcus Atilius Regulus)  แม่ทัพโรมัน   นำกำลัง  ๑๕,๐๐๐  เตรียมทำการรบครั้งใหญ่    ฝ่ายคาร์เธจก็เรียกขุนทหารเตรียมเผชิญปัญหาร้ายแรงนี้
 
          การรบครั้งแรกที่อดีส์    เป็นชัยชนะที่สำคัญของโรมัน   และพยายามบังคับให้คาร์เธจลงนามในสัญญาสงบศึก  แต่ข้อตกลงบีบบังคับหรือเอาเปรียบฝ่ายคาร์เธจเป็นอย่างมาก  เกินกว่าที่จะยอมรับได้   คาร์เธจจึงไม่ยอม  และต้องรบกันต่อไป

            เรกุลุสต้องรอการเพิ่มเติมกำลัง  เพื่อที่จะทำการรุกต่อไป

 

 คาร์เธจปฏิรูปกองทัพ    


  
                 ปี  พ.ศ.๒๘๘  หรือ  ๒๕๕ ปี ก่อนคริสตศักราช    ระหว่างที่เรกุลุสต้องรอการเพิ่มเติมกำลัง  เพื่อที่จะทำการรุกต่อไป นั้นคาร์เธจได้ปฏิรูปกองทัพโดยให้ซานธิปปุส   Xanthippus  ทหารสปาร์ตา เป็น ผู้ดำเนินการ   ซานธิปปุสได้ใช้การทหารของกรีกเป็นต้นแบบ  เพราะการทหารของกรีกในยุคนั้น  มีความเป็น มืออาชีพ กว่าของคาร์เธจ และโรมัน

          ปรากฏว่า   ซานธิปปุส สามารถฝึกให้กองทัพคาร์เธจมีมาตรฐานสูงขึ้นกว่าแต่ก่อน     ในที่สุด  กองทัพคาร์เธจสามารถฝึกทหารราบ จำนวน  ๑๒,๐๐๐  ทหารม้า  ๔,๐๐๐  และ  ช้าง  ๑๐๐  เชือก    เป็นกองทัพขนาดเดียวกับกองทัพโรมัน

ซานธิปปุส  (Xanthippus)   ทหารสปาร์ตา  ผู้วางรากฐานการทหารของคาร์เธจ   > 

 

 

 การรบที่ตูนิส  (The Battle of Tunis / Battle of Bagradas River)     พ.ศ.๒๘๘   หรือ  ๒๕๕ ปี ก่อนคริสตศักราช

          กองทัพโรมันของาร์คัส อทิเลียส เรกุลุส  (Marcus Atilius Regulus) อยู่ใน เมืองตูนิส   เผชิญหน้ากับกองทัพคาร์เธจที่คืนชีพขึ้นมาใหม่    เรกุลุสมีจิตใจจดจ่อและต้องการชัยชนะครั้งสุดท้ายอันรุ่งโรจน์เสียเองมากกว่าที่จะเสี่ยงให้ชัยชนะดังกล่าวตกเป็นของผู้อื่น   

          ซานธิปปุส  ใช้กองทหารคาร์เธจที่เคยพ่ายแพ้ในการรบที่อดีส์เข้าทำการรบ    จัดรูปขบวนคาร์เธจ  ให้ฟาลังซ์อยู่กลาง   กองทหารจ้างอยู่ทางขวา    ช้างอยู่แถวหน้าสุด    ทหารม้า  แยกออกอยู่ทั้งสองปีก   

          ฝ่ายโรมันก็จัดรูปขบวนตามปรกติ  คือ ลีเจียน (ทหารราบ) อยู่กลาง  และทหารม้าอยู่สองปีก

          ฝ่ายคาร์เธจเริ่มด้วยใช้ขบวนช้างศึกโจมตีกำลังทหารราบหลักของโรมัน  แต่ทำอะไรไม่ได้    ทหารราบโรมันสามารถจัดการให้ช้างเหล่านั้นกลับไปทำร้ายฟาลังซ์ของคาร์เธจเสียเอง

          ทหารม้าโรมันซึ่งจำนวน เป็นหนึ่งต่อสี่ ของคาร์เธจแพ้อย่างรวดเร็ว    แต่ด้านซ้ายของโรมันประสบความสำเร็จ    ทหารโรมัน    ๒,๐๐๐   เอาชนะกองทหารของคาร์เธจ และผลักดันออกไปได้      

          ในที่สุด  ทหารม้าคาร์เธจก็บุกเข้ามาเข้ามาจากทั้งสองปีกกองทัพโรมันที่กำลังระส่ำระสายก็ ถูกทำลาย    กองทัพโรมันเกือบถูกทำลายทั้งกองทัพ และ เรกุลุสก็ถูกจับได้  ทหารโรมันจำนวน  ๒,๐๐๐  ที่มีชัยแต่แรกสามารถหนีได้  และกองเรือโรมันได้ช่วยเหลือไว้  

          ความพ่ายแพ้ และ ภัยพิบัติจากพายุในทะเล   ยุติโอกาสของโรมันที่จะพิชิตคาร์เธจในอาฟริกา   และ เป็นที่มั่นใจว่าส่วนที่เหลือของสงครามคราวนี้  จะต้องสู้รบกันบนเกาะซิซีลี และในท้องทะเลอีกต่อไป

 

การปิดล้อมเมืองลิลีเบอุม (Lilybaeum)   พ.ศ.๒๙๔  หรือ  ๒๔๙ ปี ก่อนคริสตศักราช

           กองเรือโรมันเข้าปิดล้อมเมืองลิลีเบอุม (Lilybaeum) ของคาร์เธจบนเกาะซิซีลีด้านตะวันตก   แต่ฮันนิบาลสามารถนำกำลังเจาะวงล้อมของโรมันเข้าไปส่งเสบียงยังเมืองลิลีเบอุม  แล้วลงเรือที่ท่าเรือดรีพานา  (Drepana) แทรกซึมกลับออกมาได้โดยที่กองเรือโรมันไม่รู้ตัว    แม่ทัพเรือโรมันจึงตัดสินใจกวาดล้างกองเรือคาร์เธจในท่าเรือนี้ทันทีโดยลักลอบเข้าสู่ท่าในคืนเดือนมืด แต่ไม่สามารถรักษารูปขบวนได้เลยสูญเสียการจู่โจม ต้องถอนตัวกลับ   แต่เนื่องจากความเชื่องช้าในการปรับรูปขบวน จึงถูกกองเรือคาร์เธจไล่ติดตามและปิดล้อมจนเป็นฝ่ายพ่ายแพ้

          โรมันสูญเสียกำลังทางเรือไปมาก แต่ค่อยๆ พัฒนาขึ้นมาใหม่
 

 

 

 

 

 

พ.ศ.๒๙๖  หรือ  ๒๔๗  ปี  ก่อนคริสตศักราช  ฮามิลคาร์  บาร์คา  ก็ได้ข่าวว่า  ภรรยาให้กำเนิดบุตรชายคนแรก   บุตรคนนี้ได้ชื่อว่า

ฮานนิบาล
 


การรบที่เกาะอีกาเตส (Battle of the Aegates or Aegusa / Aegadian Islands)    ๑๐  มีนาคม  พ.ศ.๓๐๒  หรือ  ๒๔๑ ปี ก่อนคริสตศักราช

 

           การรบทางเรือครั้งใหญ่ครั้งสุดท้ายระหว่างกองเรือของคาร์เธจและโรมัน

          ในช่วงที่ผ่านมา   โรมันสูญเสียกองเรือไปเป็นจำนวนมากที่เมืองลิลีเบอุม   ปฏิบัติการทางเรือต่างๆ จึงลดลงไปอย่างมาก    ชาวโรมันก็เห็นความสำคัญของการเสริมสร้างความเข้มแข็งของกำลังทางเรือจึงเรี่ยไรกันสร้างเรือควินคิวเรเมได้ ๒๐๐ ลำ เรือที่ต่อใหม่ไม่ติดตั้ง คอร์วุส บนเรือแล้ว   กองเรือใหม่บังคับบัญชาโดย ไกอัส ลูทาเทียส คาทุลุส  (Gaius Lutatius Catulus) ในขณะที่คาร์เธจก็ต่อเรือขึ้นมา ๒๕๐ ลำ

          กองเรือทั้งสองฝ่ายมาพบกันใกล้ๆ เมืองลิลีเบอุม เพราะฝ่ายโรมันต้องการปิดอ่าว ในขณะที่กองเรือคาร์เธจก็ต้องการอพยพทหารของตนที่รักษาเมืองอยู่

          กองเรือของโรมันเดินทางมาถึงก่อนกองเรือคาร์เธจเล็กน้อย เมื่อกองเรือคาร์เธจเดินทางมาใกล้จะถึงลิลีเบอุมในเช้าวันที่ ๑๐ มีนาคม   ฮันโน แม่ทัพได้สั่งหยุดกองเรือเพื่อรอลมส่ง   แต่กองเรือโรมันที่ปิดอ่าวเมืองนี้อยู่ก่อนได้ตรวจพบและมุ่งหน้าเข้าหากองเรือคาร์เธจ    แม้กองเรือคาร์เธจจะได้เปรียบจากลมช่วย แต่คาทุลุส ก็ตัดสินใจนำกองเรือเข้ารบ เพราะไม่ต้องการให้กองเรือคาร์เธจไปถึงลิลีเบอุม และรวมกำลังกับฮามิลคาร์ บาร์คาได้

          กองเรือโรมันจึงชิงความได้เปรียบบุกเข้าโจมตีก่อน   กองเรือคาร์เธจแม้จะมีเรือมากกว่าแต่เนื่องจากถูกจู่โจมจึงเสียขวัญและพ่ายแพ้    เรือของคาร์เธจจมไป ๕๐ ลำ ถูกยึดได้ ๗๐ ลำ เรือที่เหลือ  ได้ลมส่งเลยหนีไปได้ โดยเรือของโรมันจมไป ๓๐ ลำ
 
          ในที่สุด  เมืองลิลีเบอุมจึงถูกปิดล้อม และกองทัพของฮามิลคาร์บนเกาะซิซีลีก็ถูกตัดขาดและต้องแตกกระจัดกระจายไปในที่สุด

           ฮามิลคาร์ย้ายถิ่นจากซิซีลีไปสู่ดินแดนฮิสปาเนีย (Hispania) หรือคาบสมุทรไอบีเรีย ซึ่งเป็นที่ตั้งของสเปนและปอร์ตุเกสในปัจจุบัน

          การรบทางทะเลครั้งนี้  กองทัพเรือโรมันก็ได้ครองทะเลตั้งแต่บัดนั้น    และรัฐบาลคาร์เธจก็ขอเจรจาเลิกรบ

 

 สงครามปิวนิค  (ครั้งที่ ๑)  ยุติลง  หลังรบกันมา ๒๓ ปี

 

 

ทหารแก่ไม่เคยตาย  .  .  .

          เมื่อเสร็จสงคราม  ฮามิลคาร์ก็ลาออกจากตำแหน่งม่ทัพสูงสุด    ส่วนกองทัพจ้างของคาร์เธจนั้นเมื่อกลับถึงคาร์เธจก็แสดงความไม่พอใจรัฐบาลหลายประการ    จนในที่สุดกองทัพนี้ก็เป็นกบฏ  และได้แสดงความทารุณโหดร้ายเป็นอย่างยิ่ง   จนรัฐบาลคาร์เธจต้องเรียกฮามิลคาร์ให้กลับเข้ามาเป็นแม่ทัพอีก    และฮามิลคาร์ก็ได้จัดการกบฏกองทัพจ้างนี้ได้สำเร็จ  .  .  .   เรียบโร้ย

          ผลจากการเหตุการณ์ไม่เรียบร้อยภายในกรุงคาร์เธจคราวนี้  คือ  กรุงโรมถือโอกาสยึดเอาเกาะซาร์ดิเนียเป็นของกรุงโรม    ทั้งๆ ที่ในสัญญาสงบศึก  กรุงโรมได้รับรองไว้ว่าเกาะซาร์ดิเนียเป็นของคาร์เธจ

 ฮามิลคาร์  บาร์คา   (Hamilcar  Barca)     >

  

 ผลของสงคราม

          โรมันเป็นฝ่ายชนะ และได้ครองทะเลเมดิเตอเรเนียน แต่ท่ามกลางชัยชนะ, ทั้งโรมันและคาร์เธจต่างสูญเสียทางเศรษฐกิจไปอย่างมากมาย มีการขีดเส้นแบ่งแดน

          กรุงโรมได้ดินแดนชายฝั่งด้านเหนือของทะเลเมดิเตอเรเนียนตั้งแต่ฮิสปาเนีย (Hispania), คอร์ซิก้า (Corsica), ซาร์ดิเนีย (Sardinia)

          คาร์เธจได้แอฟริกาไป อาณาเขตของกรุงโรมแผ่ขยายไปจากเดิมที่อยู่เพียงในคาบสมุทรอิตาลี ยิ่งกว่านั้น สาธารณชนแสดงความรักชาติโดยบริจาคเงินเพื่อสนับสนุนการสร้างกองเรืออันเป็นปัจจัยหนึ่งนำชัยชนะมาสู่โรม และเป็นจุดเริ่มต้นของกองเรือโรมันซึ่งนำความยิ่งใหญ่มาสู่โรมในเวลาต่อมา. 

 

 

 

 

 

 อาณาจักรคาร์เธจ  และ  อาณาจักรโรมัน  หลังสงครามปิวนิค  ครั้วที่  ๑

หรือ  ก่อนสงครามปิวนิค  ครั้งที่  ๒  (๒๑๘   ปี  ก่อนคริสตศักราช)

 

 

 

ครับ  .  .  .  สงครามปิวนิค  (ครั้งที่  ๑)  ก็จบลงด้วยประการ  ฉะนี้

 

 

 

 

 

 

สถานการณ์ต่อไป  .  .  .  สงครามฮานนิบาล  (Bellum  Hanniballicum) 

สถานการณ์ต่อไป  .  .  .  สงครามฮานนิบาล  (Bellum  Hanniballicum) 

สถานการณ์ต่อไป  .  .  .  สงครามฮานนิบาล  (Bellum  Hanniballicum) 

 

 

 

 

บรรณานุกรม

          -  แหล่งกำเนิดอารยธรรมยุคแรกของโลก     มนต์  ทองชัช    สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์   วังบูรพา  กรุงเทพมหานครฯ  พ.ศ.๒๕๒๗

          -  พงษาวดารยุทธศิลปะ    นายพลเอก  สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ  เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนารถ  กรมหลวงพิษณุโลกประชานารถ    พิมพ์ครั้งที่ ๑   ในพระพุทธศักราช  ๒๔๕๙

          -  ชีวะประวัติของฮานนิบาล  จอมทัพแห่งกรุงคาร์เธจ    พันตรี  พระเจ้าวรวงศ์เธอ  พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์    โรงพิมพ์โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า   พฤศจิกายน  พ.ศ.๒๔๙๐

          - เอกสารอัดสำเนาวิชาประวัติศาสตร์การสงคราม  กองวิชาสรรพาวุธและประวัติศาสตร์การสงคราม  โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า    พ.ศ.๒๕๐๔

 

 

          -  ANCIENT AND MEDIEVAL WARFAIRE      UNITED STATES MILITARY ACADEMY    WEST POINT  -  NEW YORK    1973 

         -  ข้อมูล และรูปภาพ ส่วนหนึ่งได้นำมาจาก เว็ปไซต์ ต่างๆ ทำให้เรื่องสมบูรณ์และน่าอ่านยิ่งขึ้น  จึงขอขอบคุณไว้  ณ  ที่นี้   แลหากท่านที่มีข้อมูลที่แตกต่าง  หรือมีข้อคิดเห็น คำแนะนำ ขอโปรดแจ้งให้ทราบเพื่อจะได้ตรวจสอบ และดำเนินการ เพื่อประโยชน์แก่ผู้สนใจโดยทั่วไป

 

 

 




ประวัติศาสตร์สงคราม กรีก โดย สัมพันธ์

อเล็กซานเดอร์มหาราช : สู่ตะวันออก
อเล็กซานเดอร์มหาราช : เริ่มลมเหนือ
สงคราม กรีก - กรีก
สงคราม กรีก - เปอร์เซีย



1

ความคิดเห็นที่ 1 (529)
avatar
gundamkai
สนุกมากๆเลยค่ะ กำลังอยากรู้เรื่องเกี่ยวกับโรมันอยู่พอดี
ผู้แสดงความคิดเห็น gundamkai (kaiinparis-at-hotmail-dot-fr)วันที่ตอบ 2010-04-16 22:20:40 IP : 118.174.24.65


ความคิดเห็นที่ 2 (534)
avatar
สัมพันธ์
ขอบคุณ และยินดีครับ
ผู้แสดงความคิดเห็น สัมพันธ์ (samphan_chaeng-at-hotmail-dot-com)วันที่ตอบ 2010-04-18 14:13:22 IP : 124.121.42.155



1


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.
| WW II Europe | WW II Asia | WW I | Vietnam War | ประวัติศาสตร์ไทย | บทความจากสมาชิก | คุยกันหลังฉาก | บทความทั้งหมด |

สนใจร่วมเขียนบทความในเว็บไซต์ เชิญอ่าน แนวทางการร่วมเขียนบทความ ภาพยนตร์ประวัติศาสตร์

Custom Search



eXTReMe Tracker