dot
dot
เว็บภาพยนตร์ประวัติศาสตร์ ยินดีต้อนรับผู้สนใจทุกท่าน
dot
dot
สมาชิก Webboard/Blog
ชื่อผู้ใช้ :
รหัสผ่าน :
เข้าสู่ระบบอัตโนมัติ :
bullet ลืมรหัสผ่าน
dot
bulletข้อตกลงการเป็นสมาชิก
bulletเว็บบอร์ด-คุยกันหลังฉาก
bulletเว็บบอร์ด-Games ย้อนยุค
bulletเว็บบอร์ด-ชุดจำลองประวัติศาสตร์
bulletเว็บบอร์ด-หนังสือประวัติศาสตร์
bulletเว็บบอร์ด-เพลงประวัติศาสตร์
bulletคำถาม/คำตอบ ล่าสุด
bulletแนวทางการร่วมเขียนบทความ
dot
สงครามโลกครั้งที่ 2
dot
bulletสมรภูมิยุโรป (สัมพันธมิตรVSเยอรมัน-อิตาลี)
bulletสมรภูมิแปซิฟิก-เอเชีย (สัมพันธมิตรVSญี่ปุ่น)
dot
ภาพยนตร์ประวัติศาสตร์อื่นๆ
dot
bulletสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง
bulletประวัติศาสตร์ไทย
bulletประวัติศาสตร์อเมริกันยุคเริ่มแรก
bulletสงครามเวียดนามและอินโดจีน
bulletตะวันตกโบราณ (กรีก โรมัน ฯลฯ)
bulletประวัติศาสตร์ร่วมสมัย
bulletเอเชียโบราณ
bulletประวัติศาสตร์อื่นๆ (ยังไม่แยกหมวดหมู่)
bulletคลิปความรู้จาก YouTube
dot
บทความโดย วิวันดา
dot
bulletฮิตเล่อร์...และเหล่าขุนพลแห่งอาณาจักรไรค์ซที่สาม
bulletลอดลายรั้ว.....วินด์เซอร์
bulletเลิศเลอวงศา...โรมานอฟ
bulletเชลย
bulletซูคอฟ...ยอดขุนพลผู้ดับฝันของฮิตเล่อร์
dot
บทความโดย สัมพันธ์
dot
bulletคนไทยในกองทัพพระราชอาณาจักรลาว
bulletประวัติศาสตร์สงคราม กรีก
bulletกรณีพิพาทอินโดจีนและสงครามมหาเอเชียบูรพา
bulletอยุธยายศล่มแล้ว ลอยสวรรค์ ลงฤา
bulletฮานนิบาล
bulletพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบรมวงศานุวงศ์
bulletไทยกับมหาสงคราม
bulletสงครามเวียดนาม
bulletห้วยโก๋น ๒๕๑๘
bulletการทัพในมลายา
bulletประวัติศาสตร์อื่น ๆ
dot
เรื่องอื่นๆ
dot
bulletบทความเสริมความรู้ทั่วไป
bulletเกร็ดเล็กเกร็ดน้อย
bulletผู้จัดทำ
bulletผังเว็บไซต์ (Site Map)
bulletแนวทางการร่วมเขียนบทความ
bulletถาม-ตอบ (FAQs) (โปรดอ่านก่อนตั้งกระทู้หรือสมัครสมาชิก)
bulletร้านค้าออนไลน์
bulletแบ่งปัน Album
dot
ลิงค์ต่างๆ
dot
bulletHistory on Film
bulletกองบิน 21 กองพลบิน 2
bulletIELTS British Council
bulletIELTS IDP
bulletMUIC




โหราศาสตร์ยุคไอที



ฮานนิบาล - สงครามปิวนิค (ครั้งที่ ๓)

*  *  *

สงครามปิวนิค  (ครั้งที่ ๓)    พ.ศ.๓๙๔ - ๓๙๗  หรือ   ๑๔๙ – ๑๔๖  ปี ก่อนคริสตศักราช

สถานการณ์เดิม  .  .  .          จาก    สงครามฮานนิบาล   

          ฮานนิบาล  .  .  .  ช่วยชาวโรมันมิให้หนักใจอีกต่อไป   .  .  .  ด้วยการดื่มยาพิษ ที่บ้านในเมืองลิบิสซา  (Libyssa)   ริมชายฝั่งตะวันออกของทะเลมาร์มะรา

 

สถานการณ์ต่อไป  .  .  . 

คาร์เธจหลังฮานนิบาล

          ก็เป็นธรรมดาที่พวกมั่งมีและมีอำนาจบารมีก็คงมีความเป็นปรกติสุขต่อไป   แต่ประชาชาวคาร์เธจจะต้องก้มหน้าทำงานหาเงินเป็นค่าปรับ  หรือเรียกภาษาปัจจุบันก็น่าจะนับว่าเป็นค่าปฏิกรรมสงครามอะไรประมาณนั้น   ปีละ  ๒๐๐  Silver talents   ต่อไปเหมือนกัน

          เมื่อไม่มีกองทัพไว้ป้องกันตน  คาร์เธจมักถูกเพื่อนบ้านด้านตะวันตก คือนูมิเดีย  ส่งกำลังมารุกรานล้ำดินแดนของคาร์เธจอยู่เสมอๆ  ซึ่งทางคาร์เธจก็น่าจะได้ตอบโต้บ้างและได้ร้องเรียนไปยังกรุงโรม  แต่ก็เป็นที่เข้าใจกันได้ไม่ยาก  ว่าโรมก็เข้าข้างนูมิเดียเสมอ    และ

          คาร์เธจเองก็ค่อยๆ  ฟื้นตัวจากสงครามและเจริญรุ่งเรืองด้วยการค้าทางทะเลอีกครั้ง  .  .  .  จน  .  .  .  โรมอิจฉา

 

พ.ศ.๓๙๒  (๑๕๑  ปีก่อนคริสตศักราช)

           ครบห้าสิบปีแห่งการจ่ายค่าปรับให้โรม     คาร์เธจพิจารณาว่าได้ปฏิบัติตามสัญญาสงบศึกครบถ้วนแล้ว  และหมดพันธะข้อผูกมัดต่างๆ ตามสัญญา    จึงจัดตั้งกองทัพเพื่อต่อต้านนูมิเดียผู้รุกราน    แต่  .  .  .  โรม  .  .  .  ซึ่งมองตนว่าเป็นมหาอำนาจใหม่โลกรอบเมดิเตอเรเนียนไม่คิดเช่นนั้น 

 

"Centerum censeo Carthaginem esse delenduam." 

           เมื่อกรุงโรมทราบข่าวการจัดกองทัพของคาร์เธจ  จึงส่ง  คณะสังเกตการณ์เดินทางมาหาข้อเท็จจริงถึงคาร์เธจ   มี คาโต  (Cato)   เซเนตเตอร์คนหนึ่งมาในคณะด้วย    เมื่อกลับไปแถลงแก่สภาเซเนต  คาโต  กล่าวสรุปว่า   "Centerum censeo Carthaginem esse delenduam." - "Furthermore, I think that Carthage must be destroyed."   แต่ เซเนตเตอร์อีกคนหนึ่ง  คือ  ปุบลิอุส คอร์เนลิอุส สกิปิโอ คอร์คูลุม   (Publius Cornelius Scipio Nasica Corculum)  ไม่เห็นด้วย

           เหตุผลอื่นที่โรมันต้องการพิชิตคาร์เธจและดินแดนที่เหลืออยู่  เนื่องจาก  โรมันไม่มีผลิตผลทางการเกษตรพอที่จะเลี้ยงดูประชากรของตน  ซึ่งมีจำนวนกว่า  ๔๐๐,๐๐๐    และดินแดนคาร์เธจและดินแดนโดยรอบ  เป็นดินแดนที่อุดมสมบูรณ์ที่โรมันยังไม่ได้ครอบครอง

 

พ.ศ.๓๙๔  (๑๔๙  ปีก่อนคริสตศักราช) 

หมาป่ากับราชสีห์ไม่มีเขี้ยวเล็บ  

          โรมพยายามหาเหตุให้เกิดข้อขัดแย้งอย่างเปิดเผย  เป็นขั้นเป็นตอน

          ประการแรก    เรียกร้องให้ตาร์เธจส่งเด็กชายจากครอบครัวชนชั้นสูงจำนวน  ๓๐๐  ไปเป็นตัวประกัน  ซึ่งคาร์เธจก็ให้สัญญา   

          ประการต่อมา    ในทางการเมือง  โรมสามารถชักชวนอัตติกา  (Uttica)  พันธมิตรของคาร์เธจแปรพรรคไปเข้ากับโรม    และส่งทหารโรมันจำนวน  ๘๐,๐๐๐   มาไว้ที่อัตติกา

          ประการที่สาม    สั่งปลดอาวุธคาร์เธจ  โดยให้ส่งมอบอาวุธ และเกราะ

          ประการสุดท้าย    ให้คาร์เธจสร้างเมืองใหม่ลึกเข้าไปในแผ่นดิน  เป็นระยะทาง  ๑๐ ไมล์   (๑๖  กิโลเมตร)   ส่วนสิ่งปลูกสร้างเดิมให้  .  .  .  ริ้อถอน  .  .  . 

 คาร์เธจปฏิเสธ  .  .  .  โรมันประกาศสงครามกับคาร์เธจ

 

สงครามปิวนิค  (ครั้งที่ ๓)

            ถึงแม้ว่าจะถูกโจมตีจากข้าศึกที่ล้อมอยู่รอบด้าน  คาร์เธจยังยืนหยัดอยู่ได้ถึงฤดูใบไม้ผลิ  พ.ศ.๓๙๗  (๑๔๖  ปีก่อนคริสตศักราช)    เมื่อสกิปิโอ เอมิเลียนุส  (Scipio Aemilianus)  เข้าโจมตีอย่างรุนแรง    ถึงแม้ว่าชาวคาร์เธจ  (ผู้มีหน้าที่ป้องกัน  ๙๐,๐๐๐  และ  ประชาชน  ๓๐,๐๐๐)  จะต่อสู้อย่างกล้าหาญ และเสียสละยิ่ง  แต่ด้วยกำลังอันมากมายของกองทัพโรมัน  .  .  .  ชาวคาร์เธจค่อยๆ ถูกผลักดันและถูกทำลาย  .  .  .  อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้    

          ชาวคาร์เธจต้องเสียชีวิตเพราะอดอาหารในระหว่างการปิดล้อมเมืองจำนวนหนึ่ง  และถูกสังหารในการสู้รบหกวันสุดท้าย   ในที่สุด   เมื่อการรบยุติ  มีชาวคาร์เธจ เหลือผู้คนอยู่เพียง  ๕๐,๐๐๐    ถูกขายเป็นทาส  ตามวิธีปฏิบัติในยุคนั้นสมัยนั้น    กรุงคาร์เธจถูกเผา  บางแห่งไฟไหม้อยู่ถึง  ๑๐  วัน  ๑๗  วัน  .  .  .  กำแพงเมือง  .  .  .  อาคารใหญ่โต  .  .  .  ท่าเรือ  ถูกทำลายอย่างที่สุด

          ข้อมูลบางแห่งว่าโรมันเอาเกลือโรยพื้นดินของคาร์เธจเพื่อไม่ให้ใช้เพาะปลูกได้   แต่หากพิจารณาว่า   โรมต้องการพื้นที่เพาะปลูกของคาร์เธจเป็นแหล่งผลิตอาหารเลี้ยงประชากรโรมัน  ก็ไม่สมเหตุสมผล

          ดินแดนของอาณาจักรคาร์เธจถูกผนวกเป็นของโรม  ซึ่งจัดเป็นอาณาเขตโรมันแห่งอาฟริกา

       (ตอนนี้ไม่ทราบว่าฮานโนและพวกพ้องซึ่งเป็นอริของตระกูลบาร์คา  ยังอยู่เป็นผู้มีบารมีสูงแห่งอาณาจักรคาร์เธจอยู่หรือไม่)


           ครับ  .  .  .  ตับฮานนิบาล  ตั้งแต่  -  คาร์เธจ  -  สงครามปิวนิค (ครั้งที่ ๑)  -  สงครามฮานนิบาล (Bellum Hanniballicum)  -  ชัยชนะในคาบสมุทรอิตาลี   -  การคุมเชิง และแสวงหาพันธมิตร  -  ซามา  และ  ดำเนินมาจนถึง  -  คาร์เธจหลังสงครามฮานนิบาล  .  .  .  จนคาร์เธจเหลือแต่ชื่อและทรากให้เราได้ศึกษากัน

 

 

 

 

Carthage walls

 

 

 

Tunesia Carthage

 

 

         อย่างไรก็ตาม    ในด้านผู้ชนะก็เกิดผลกระทบจากสงครามเหมือนกัน

ผลกระทบต่อสังคมโรมัน    ได้แก่

          ๑. ยกย่องและเชิดชูเกียรติทหารกันมาก  ทำให้ทหารมีอำนาจมากขึ้น   

          ๒. แม่ทัพ นายกอง ขุนทหาร ข้าหลวง  และนายทุนด้านการเกษตรได้ที่ดินเป็นกรรมสิทธิ์มากขึ้น

          ๓. กสิกรสูญเสียที่ดินให้แก่เศรษฐี และทหารที่กลับจากสงคราม   จึงมีฐานะยากจนลง

          ๔. พ่อค้า  นักธุรกิจ  และพวกเพลเบียนที่มั่งมี  นิยมเข้าเป็นทหารมากขึ้น

          ๕. พื้นที่ราบในแคว้นละติอุมดินเสื่อมลง

          ๖. เกิดผู้ประกอบอาชีพธุรกิจทางการค้าขายมากขึ้น  

          ๗. มีทาสเชลยในกรุงโรมมากมาย 

 

          ความล่มสลายของคาร์เธจ เป็นตัวอย่างหนึ่งของอาณาจักรหนึ่ง  ซึ่งก่อร่างสร้างตัวจนกว้างใหญ่ไพศาล  มีนักรบที่สามารถ  และกองทัพที่เกรียงไกร  แต่รัฐบาลไม่สนับสนุนเพราะความขัดแย้งกันเองภายในอาณาจักร    ขอเชิญทุกท่านใช้วิจารณญาณ  และแสดงความเห็นกันนะครับ  .  .  . 

 

 

 

 

 

Head of the Punic Goddess Tanit, Terracotta 4th to 3rd century BCE

 

 

 

บรรณานุกรม

          -  แหล่งกำเนิดอารยธรรมยุคแรกของโลก     มนต์  ทองชัช    สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์   วังบูรพา  กรุงเทพมหานครฯ  พ.ศ.๒๕๒๗

          -  พงษาวดารยุทธศิลปะ    นายพลเอก  สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ  เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนารถ  กรมหลวงพิษณุโลกประชานารถ    พิมพ์ครั้งที่ ๑   ในพระพุทธศักราช  ๒๔๕๙

          -  ชีวะประวัติของฮานนิบาล  จอมทัพแห่งกรุงคาร์เธจ    พันตรี  พระเจ้าวรวงศ์เธอ  พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์    โรงพิมพ์โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า   พฤศจิกายน  พ.ศ.๒๔๙๐

           -  ANCIENT AND MEDIEVAL WARFAIRE      UNITED STATES MILITARY ACADEMY    WEST POINT  -  NEW YORK    1973 

         -  ข้อมูล และรูปภาพ ส่วนหนึ่งได้นำมาจาก เว็ปไซต์ ต่างๆ ทำให้เรื่องสมบูรณ์และน่าอ่านยิ่งขึ้น  จึงขอขอบคุณไว้  ณ  ที่นี้   แลหากท่านที่มีข้อมูลที่แตกต่าง  หรือมีข้อคิดเห็น คำแนะนำ ขอโปรดแจ้งให้ทราบเพื่อจะได้ตรวจสอบ และดำเนินการ เพื่อประโยชน์แก่ผู้สนใจโดยทั่วไป




ฮานนิบาล โดย สัมพันธ์

ฮานนิบาล - หลังสงครามฮานนิบาล
ฮานนิบาล - ซามา
ฮานนิบาล - การคุมเชิง และแสวงหาพันธมิตร
ฮานนิบาล - ชัยชนะในคาบสมุทรอิตาลี
ฮานนิบาล - สงครามฮานนิบาล (Bellum Hanniballicum)
ฮานนิบาล - สงครามปิวนิค (ครั้งทึ่ ๑)
ฮานนิบาล - คาร์เธจ



1

ความคิดเห็นที่ 1 (472)
avatar
ผู้นับถือ ในอุดมการณ์

ใช่ครับ การที่มีคนดีๆ แต่ไมได้รับการสนับสนุนอย่างเต็มที่ ย่อมไม่ทำให้เกิดประโยชน์สุข แก่ชาติ บ้านเมือง

ถ้า ฮานนิบาล ไม่แพ้กรุงโรม ที่ แอฟริกา อาจจะทำให้คาร์เทจ มีอำนาจ เหนือโรม ก็ได้

การคิดแต่ประโยชน์ส่วนตัวนี่แหละ ทำให้ ชาติ บ้านเมือง ล่มจม

ผู้แสดงความคิดเห็น ผู้นับถือ ในอุดมการณ์ (rome_za15-at-hotmail-dot-com)วันที่ตอบ 2010-01-22 18:21:05 IP : 125.25.102.250


ความคิดเห็นที่ 2 (473)
avatar
สัมพันธ์

ครับ  .  .  . การคิดแต่ประโยชน์ส่วนตัว  เป็นสาเหตุที่เกิดความเลวร้ายต่างๆ ตามมาอีกมากมาย 

          บางอาณาจักร  ก็มีคนดีแต่เอา  ชาติ - ศาสน์ -  กษัตริย์ - ประชาชน  มาอ้าง   แต่ที่จริงแล้ว  ก็เป็นเพียงคำอ้างเพื่อนำไปสู่เป้าหมายของตน  คือ ประโยชน์ส่วนตัว  ตามที่ท่านว่าไว้นั่นแหละครับ 

และ การที่มีคนดีๆ แต่ไมได้รับการสนับสนุนอย่างเต็มที่  ก็เพราะ ไม่ใช่คนของเรา  นะครับ           ขอบคุณ และ สวัสดี ครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น สัมพันธ์ (samphan_chaeng-at-hotmail-dot-com)วันที่ตอบ 2010-01-22 20:54:12 IP : 125.25.91.240



1


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.
| WW II Europe | WW II Asia | WW I | Vietnam War | ประวัติศาสตร์ไทย | บทความจากสมาชิก | คุยกันหลังฉาก | บทความทั้งหมด |

สนใจร่วมเขียนบทความในเว็บไซต์ เชิญอ่าน แนวทางการร่วมเขียนบทความ ภาพยนตร์ประวัติศาสตร์

Custom Search



eXTReMe Tracker