dot
dot
เว็บภาพยนตร์ประวัติศาสตร์ ยินดีต้อนรับผู้สนใจทุกท่าน
dot
dot
สมาชิก Webboard/Blog
ชื่อผู้ใช้ :
รหัสผ่าน :
เข้าสู่ระบบอัตโนมัติ :
bullet ลืมรหัสผ่าน
dot
bulletข้อตกลงการเป็นสมาชิก
bulletเว็บบอร์ด-คุยกันหลังฉาก
bulletเว็บบอร์ด-Games ย้อนยุค
bulletเว็บบอร์ด-ชุดจำลองประวัติศาสตร์
bulletเว็บบอร์ด-หนังสือประวัติศาสตร์
bulletเว็บบอร์ด-เพลงประวัติศาสตร์
bulletคำถาม/คำตอบ ล่าสุด
bulletแนวทางการร่วมเขียนบทความ
dot
สงครามโลกครั้งที่ 2
dot
bulletสมรภูมิยุโรป (สัมพันธมิตรVSเยอรมัน-อิตาลี)
bulletสมรภูมิแปซิฟิก-เอเชีย (สัมพันธมิตรVSญี่ปุ่น)
dot
ภาพยนตร์ประวัติศาสตร์อื่นๆ
dot
bulletสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง
bulletประวัติศาสตร์ไทย
bulletประวัติศาสตร์อเมริกันยุคเริ่มแรก
bulletสงครามเวียดนามและอินโดจีน
bulletตะวันตกโบราณ (กรีก โรมัน ฯลฯ)
bulletประวัติศาสตร์ร่วมสมัย
bulletเอเชียโบราณ
bulletประวัติศาสตร์อื่นๆ (ยังไม่แยกหมวดหมู่)
bulletคลิปความรู้จาก YouTube
dot
บทความโดย วิวันดา
dot
bulletฮิตเล่อร์...และเหล่าขุนพลแห่งอาณาจักรไรค์ซที่สาม
bulletลอดลายรั้ว.....วินด์เซอร์
bulletเลิศเลอวงศา...โรมานอฟ
bulletเชลย
bulletซูคอฟ...ยอดขุนพลผู้ดับฝันของฮิตเล่อร์
dot
บทความโดย สัมพันธ์
dot
bulletคนไทยในกองทัพพระราชอาณาจักรลาว
bulletประวัติศาสตร์สงคราม กรีก
bulletกรณีพิพาทอินโดจีนและสงครามมหาเอเชียบูรพา
bulletอยุธยายศล่มแล้ว ลอยสวรรค์ ลงฤา
bulletฮานนิบาล
bulletพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบรมวงศานุวงศ์
bulletไทยกับมหาสงคราม
bulletสงครามเวียดนาม
bulletห้วยโก๋น ๒๕๑๘
bulletการทัพในมลายา
bulletประวัติศาสตร์อื่น ๆ
dot
เรื่องอื่นๆ
dot
bulletบทความเสริมความรู้ทั่วไป
bulletเกร็ดเล็กเกร็ดน้อย
bulletผู้จัดทำ
bulletผังเว็บไซต์ (Site Map)
bulletแนวทางการร่วมเขียนบทความ
bulletถาม-ตอบ (FAQs) (โปรดอ่านก่อนตั้งกระทู้หรือสมัครสมาชิก)
bulletร้านค้าออนไลน์
bulletแบ่งปัน Album
dot
ลิงค์ต่างๆ
dot
bulletHistory on Film
bulletกองบิน 21 กองพลบิน 2
bulletIELTS British Council
bulletIELTS IDP
bulletMUIC




โหราศาสตร์ยุคไอที



พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว - เสด็จประพาสยุโรป ร.ศ.๑๑๖
วันที่ 16/02/2020   20:55:47

*  *  *

เสด็จประพาสยุโรป  ร.ศ.๑๑๖  พ.ศ.๒๔๔๐

 

 

 

 
ความเป็นมา  .  .  .

             "นับแต่เหตุการณ์ที่ฝรั่งเศสกับกรุงสยามทุ่มเถียงกันด้วยเขตแดนทางฝั่งโขง"  จนถึง "เรือ รบทั้งสองของฝรั่งเศสก็ยังขืนเข้ามาในปากน้ำ ถึงที่ป้อมพระจุลจอมเกล้า    เจ้าพนักงานทหารเรือจึงได้ยิงห้ามนัดหมายตามธรรมเนียม   เรือรบไม่ฟังกับยิงโต้ตอบบ้าง จึงเกิดยิงโต้กันขึ้น แล้วเรือรบทั้งสองก็ได้ขึ้นมาทอดสมออยู่ในลำน้ำหน้าสถานฑูตฝรั่งเศส"    จนกระทั่งสยามจำต้องลงนามในหนังสือสัญญากับฝรั่งเศส เมื่อวันที่  ๓  ตุลาคม  ร.ศ. ๑๑๒    จำยินยอมเสียสละกรรมสิทธิ์ทั้งสิ้นทั่วไปในดินแดน ณ ฝั่งซ้ายฟากตะวันออกของแม่น้ำโขง และบรรดาเกาะทั้งหลายในแม่น้ำนั้น    นับเป็นวิกฤติการณ์ที่ร้ายแรงต่อประเทศไทยเป็นอย่างยิ่งในยุครัตนโกสินทร์ ถึงขั้น "เสียบ้าน เสียเมือง"  ถึงแม้ว่า   พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเสียพระราชหฤทัยเป็นอย่างยิ่งถึง กับทรงพระประชวรก็ตาม    แต่ด้วยพระปรีชาญาณอันสุขุมคัมภีรภาพจึงทรงปรับพระบรมราชวิเทโศบาย  .  .  .  กำหนดแน่แห่งการเสด็จพระราชดำเนินประเทศยุโรป    เพื่อจะศึกษาธรรมเนียมอันรุ่งเรือง  มาถึงการทำนุบำรุงแผ่นดินให้มีความเจริญเสมอเหมือนกับประเทศที่รุ่งเรืองตาม สมัยของโลกย์ที่ควรเป็นไปนั้น  .  .  .  และ  .  .  .  ให้คิดกระทำการที่จะสำเร็จในการสัญญาประกันความเป็นอิสรภาพระหว่างประเทศทั้งหลาย  .  .  .

         เรื่องการประกันความเป็นอิสรภาพของกรุงสยาม  นั้น    อังกฤษกับฝรั่งเศสได้ทำสัญญาไว้ที่กรุงลอนดอน  ณ  วันที่  ๑๕  มกราคม  รัตนโกสินทรศก  ๑๑๔    (1896  Anglo - French Agreement)  กำหนดว่า  .  .  .  ประเทศทั้งสองคิดเห็นว่าจำเป็นต้องรักษาความเป็นอิศรภาพของกรุงสยามไว้ด้วย  .  .  .   ซึ่งเป็นไปตามพระบรมราชวิเทโศบาย   

         ส่วนเรื่องให้สืบสวนการที่จะมีการรับรองเสด็จพระราชดำเนินยุโรปภายน่า  นั้น  ก็ได้กำหนดที่เหมาะสมใน    ร.ศ.๑๑๖   พ.ศ.๒๔๔๐




ความเป็นไป  .  .  .

ที่  ๑
 
 
                                                                         เรือมหาจักรี    วันที่  ๗  เมษายน  ร.ศ.๑๑๖

วัน  พุธ  ขึ้น  ๖  ค่ำ  เดือน  ๕    ปีระกา    ยังเป็นอัฐศก  จ.ศ.๑๒๕๘

ถึง    แม่เล็ก,

          ด้วยตั้งแต่แม่เล็กกลับไปแล้ว    ได้ออกเรือมาถึงร่องลึก    เพราะน้ำยังขึ้นไม่เต็มที่  .  .  .

 

- พระราชหัตถเลขาส่วนพระองค์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานแด่สมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี  พระบรมราชีนีนาถ





          พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  เสด็จประพาสยุโรปอย่างเป็นทางการ  โดยเรือพระที่นั่งมหาจักรี  (ลำที่  ๑)  เสด็จจากท่าราชวรดิษฐ์  ในวันพุธ ที่   ๗  เมษายน  พ.ศ.๒๔๔๐      เพื่อทรงเยือนประเทศในยุโรป  เช่น  อิตาลี  รัสเซีย  สวีเดน  เดนมาร์ก  อังกฤษ  เยอรมนี  ฝรั่งเศส  เป็นต้น  ซึ่งแต่ละประเทศ ได้จัดการรับเสด็จอย่างยิ่งใหญ่   หนังสือพิมพ์ชั้นนำในแต่ละประเทศต่างเสนอข่าว และพระบรมสาทิสลักษณ์อย่างกว้างขวาง และ แพร่หลาย    ไม่สามารถนำมาคุยในที่นี้ได้ทั้งหมด  จึงขอนำพระบรมฉายาลักษณ์  และ ภาพ มาแสดงเพียงจำนวนหนึ่ง
 


-
 




 
เรือพระที่นั่งมหาจักรี

 



 การเสด็จประพาสครั้งนี้  ทรงใช้เส้นทางเดินเรือ  โคลัมโบ - เอเดน -  เข้าทะเลแดง - ผ่านคลองสุเอซ  - ปอร์ตเสด - ผ่านทะเลเมดิเตอเรเนียน - เข้าทะเลอเดรียติก - ถึงเมืองเวนิส   ราชอาณาจักรอิตาลี




 

 





 

 

 

          เนื่องจาก สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ  และ พระเจ้าลูกยาเธอ  พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์  กำลังทรงศึกษา   ณ ประเทศอังกฤษ

          ในโอกาสนี้    ทรงพระกรุณาให้พระเจ้าลูกยาเธอ  พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์มาเฝ้ารับเสด็จที่เมืองกอล์ล   Galle    เกาะลังกา   เมื่อวันที่  ๑๙  เมษายน  ๒๔๔๐    และโปรดเกล้าฯ ให้รับราชการในตำแหน่ง  "ออฟฟิเซอร์" ในเรือพระที่นั่งฯ  เพื่อฝีกหัดการเดินเรือ   อยู่ในบังคับบัญชาของกัปตันคัมมิ่ง  * Captain R.S.D. Cumming R.N.     นายทหารเรืออังกฤษที่รัฐบาลสยามขอยืมตัวมาเป็นผู้บังคับการเรือพระที่นั่ง มหาจักรีในการเสด็จครั้งนี้    ทรงฝึกในเรือพระที่นั่งมหาจักรี  ตั้งแต่  ๒๐  เมษายน   ๒๔๔๐    ซึ่งเดินทางจากเมืองกอล์ล ต่อไป

          ดังพระราชหัตถเลขาพระราชทาน สมเด็จฯ  พระศรีพัชรินทรา  พระบรมราชินีนาถ  .  .  . 
 

 

คอล    วันจันทร์ที่  ๑๙  เมษายน

 

ฯลฯ

          ในเวลาที่เขียนหนังสืออยู่นี้    อาภากรกับหลวงสุนทรมาถึง    อาภากรโตขึ้นมากและขาวขึ้น  เขาแต่งตัวเป็นมิดชิพแมนมาพร้อมแล้ว  ฉันได้มอบให้อยู่ใต้บังคับกัปตัน*เป็นสิทธิ์ขาด    เว้นแต่วันนี้เขาอนุญาตให้มากินข้าวกับฉันวันหนึ่ง  .  .  .

 
 
           * กัปตัน คัมมิง    (Capt. R.S.D.  Cumming  R.N.)   นายทหารเรืออังกฤษ ที่รัฐบาลสยามขอยืมตัวมาเป็นผู้บังคับการเรือพระที่นั่ง
 




อิตาลี

 





 
สมเด็จพระเจ้าอุมแบร์โตที่ ๑ แห่งอิตาลี

 

Italian : Umberto Ranieri Carlo Emanuele Giovanni Maria Ferdinando Eugenio di Savoia

English : Humbert Ranier Charles Emmanuel John Mary Ferdinand Eugene of Savoy

พระราชบิดา  พระเจ้าวิคเตอร์  เอมมานูเอลที่  ๒    Victor Emmanuel II   

พระราชมารดา   พระราชินีมาเรีย  อเดเลด  แห่งออสเตรีย   Maria Adelaide of Austria

ประสูติ    ๑๔  มีนาคม  พ.ศ.๒๓๘๗  ค.ศ.๑๘๔๔   ที่เมืองตูริน  Turin     ราชอาณาจักรซาวอย    Kingdom of Savoy

ทรงครองราชย์สืบต่อจากสมเด็จพระราชบิดา  เมื่อ    ๙  มกราคม   พ.ศ.๒๔๒๑  ค.ศ.๑๘๗๘ – ๒๙  กรกฎาคม  พ.ศ.๒๔๔๓  ค.ศ.๑๙๐๐ 

สมเด็จพระราชินีมาร์เกริตาแห่งซาวอย   Margherita of Savoy 

 

 

 

 ที่  ๑๐

เรือมหาจักรี    ในทะเลมีดิเตอเรเนียน

                                                                               วันที่  ๘  พฤษภาคม  ร.ศ.๑๑๖

ฯลฯ

 เรือมหาจักรี  จอดที่เมืองเวนิส 

                                                                              วันศุกร์ที่  ๑๔  พฤษภาคม  

          .  .  .  เข้ามาเวลา  ๓  โมงเศษ  พบเรือไฟที่พวกไทยเราลงมา    คือ  ลูกโต*  สวัสดิ์  จีระ  พระยาราชวัลลภ  หลวงสรสิทธิ์  พระยาสุริยา  จหมื่นจิตรสเน่ห์  เจ้าจรูญ  หลวงศัลยุทธฉันไม่รู้ที่จะบอกว่าใจเป็นอย่างไรในเวลานั้น    ไม่ได้นึกเลยว่าจะเป็นก็เป็นได้    น้ำตากบจนเลยไหลด้วยกันทุกคน  .  .  .

          ลูกโต*   คือสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ

 

 
 

ประทับเรือคอนโดลากับดุ๊กออฟเยนัว   ๑๕  พฤษภาคม  ๒๔๔๐ 
 
 

 

 
 

ทรงฉายร่วมกับ กัปตัน คัมมิง และคณะนายทหารเรืออังกฤษที่รัฐบาลอังกฤษให้ยืมตัวเพื่อการเดินเรือ  ในเรือพระที่นั่งมหาจักรีที่เมืองเวนิส   เมื่อ  ๑๖  พฤษภาคม  ๒๔๔๐   ( พระเจ้าลูกยาเธอ  พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์ประทับราบที่พื้น)
 

 

         พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จฯ จากเรือพระที่นั่งฯ ใน  วันที่  ๑๖  พฤษภาคม  ๒๔๔๐    เพื่อเสด็จประพาสประเทศต่างๆ โดยทางบกต่อ   ส่วนพระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์ทรงฝึกในเรือพระที่นั่งมหาจักรีต่อไป  และเดินทางต่อจนถึงประเทศอังกฤษ  เพื่อทรงศึกษาต่อ
  
 
 


ที่  ๑๕
 

                                          ปาร์ก  เดสโอวีฟ  เยนิวา

                                                                     วันที่  ๑๖  พฤษภาคม  ร.ศ.๑๑๖

ถึงแม่เล็ก, 

          .  .  .  ตลอดทางจนถึงสเตชั่นรถไฟคนมากเต็มไปทั้งนั้น    มีทหาร ๘๐๐  คน    ขุนนางพร้อมกันหมดสนทนาสั่งเสียกัน  แล้วขึ้นรถไฟ    ในเวลาที่จะจากกันไว้อาลัยกันมาก    แต่จับมือกัน  ๔  ครั้ง  จนรถออกก็มือหลุดจากกันเอง  .  .  .  อาภากรคงอยู่ในเรือจะอ้อมไปทางเค๊บออฟกุดโฮป  .  .  .  แต่เรือจะต้องอยู่เวนิสอีก  ๗  วันจึงจะได้ออกไปอิงคแลนด์    เราออกจากเวนิสเวลา  ๕  ทุ่มเศษ

ฯลฯ

 

ที่  ๑๖
 

                                        ปาร์ก  เดสโอวีฟ  เยนิวา

                                                                      วันที่  ๑๗  พฤษภาคม  ร.ศ.๑๑๖

ถึงแม่เล็ก,

ฯลฯ

          วันนี้เช้าโมงหนึ่ง    ได้มาถึงเมืองมิแลน  เป็นของอิตาลี    ช่างผิดกันกับเวนิสจริงๆ    เป็นเมืองฝรั่งแท้เหมือนที่อื่นๆ    ตึกสูงถนนสะอาดลาดด้วยศิลาฤๅชันแอศแฟลด์    พื้นดินไม่ราบตอด  มีเนินบ้าง    เราขึ้นรถม้าไปที่โฮเตล

ฯลฯ

 

 

 

 พระรูปทรงฉายที่เมืองเยนีวา    พ.ศ.๒๔๔๐

 

 

ที่  ๑๗
 

ฯลฯ

เยนีวา          วันที่  ๒๑  พฤษภาคม

 

          วันนี้ไม่ใคร่สบาย    ตื่นขึ้นทำโคลงให้สวัสดิ์สองบท    สำหรับเขียนในสมุดวันเกิด  ดังนี้

                                                            สงครามบใช่สิ้น                  สัจธรรม์    เทียวเฮย

                                                  ผู้เพื่อชาติภูมิกัน                           ชอบป้อง

                                                  อนึ่งผู้ดุจกรกัน                              เป็นขวาก    รั้วแฮ

                                                  ชนกาจกวนอ่อนข้อง                     ขัดกั้งควรการ

                                                               รอญราญโดยเหตุเกื้อ       แก่ตน

                                                  มุ่งประโยชน์เพื่อผล                       ต่ำช้า

                                                  สงครามที่เกิดกล                            คำกล่าว    นี้นา

                                                  ควรติว่ารบร้า                                  ชั่วร้ายอาธรรม์

 

          เขียนให้ในสมุดวันเกิดจองลูกโตตามที่เขาขอให้ฉันเขียน    ว่า

                                                            ฝูงชนกำเนิดคล้าย                    คลึงกัน

                                                  ใหญ่ย่อมเพศผิวพรรณ                      แผกบ้าง

                                                  ความรู้อาจเรียนทัน                             กันหมด

                                                  ยกแต่ชั่วดีกระด้าง                              อ่อนแก้ฤๅไหว

ฯลฯ
 
 

 

สวิสเซอร์แลนด์

 

  



 พิธีรับเสด็จ  ณ  สถานีรถไฟกรุงเบอร์น  สวิสเซอร์แลนด์   เมื่อ   ๒๕  พฤษภาคม  ๒๔๔๐


 

 

อิตาลี

ที่  ๑๙
 

                                             วังดุ๊กออฟเยนัว    เมืองตุริน

                                                                               วันที่  ๑  มิถุนายน  ร.ศ.๑๑๖

ถึงแม่เล็ก,

 

ที่  ๒๐
 

                                                       โฮเตลเดอลาเป    เมืองฟลอเรนซ์

                                                                  วันที่  ๑  มิถุนายน  รัตนโกสินทร์  ศก  ๑๑๖

ถึงแม่เล็ก,

          ด้วยฉันมาที่นี่เกือบจะเรียกว่าพบปะแต่ช่างปั้น  ช่างเขียน  ช่างแกะ  ช่างสลัก    วันยังค่ำๆ  ด้วยการช่างเช่นนี้ย่อมเป็นที่พอใจลุ่มหลงของฉันมาแต่เดิมแล้ว  .  .  . 

          .  .  .  นอกนั้นก็ไปนั่งให้ช่างเขียนสองแห่งเขียนรูป    รูปหมู่  ๗  คนทั้งครัว   จะต้องปีหนึ่งจึงจะแล้ว    มันเขียนดีเว้นแต่คงจะเกิดกาหลด้วยเรื่องไม่เห็นตัวแลเห็นเครื่องแต่งตัว  ถึงรับอาสาจะเข้าไปเมืองไทย    โปรเฟสเซอร์คนนี้ชื่อเยลลี    ได้เขียนรูปเจ้าแผ่นดินมาถึง  ๑๕  รูปแล้ว  .  .  .

 

 

 

 

 รูปหมู่  ๗  คนทั้งครัว 

 

พระรูปหมู่นี้    เป็นพระรูปเขียนสีแผ่นใหญ่ติดอยู่ในห้องสีน้ำเงินสถานบูรพาภิมุขพระที่นั่งจักรีมหาปราสาท

 

 พระบรมฉายาสาทิสลักษณ์หมู่  ซึ่งทรงพระกรุณาให้ โปรเฟสเซอร์เยลลี เอดดออาร์โด  (Gelle Edoardo)    ช่างเขียนสีน้ำมัน  ชาวเมืองฟลอเรนซ์ อิตาลี    เป็นผู้เขียน

 

 

 ฯลฯ

 

 

 

          พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จฯ กรุงโรม  เมื่อ  ๓  มิถุนายน  ๒๔๔๐

 

 

 
 

 

ที่  ๒๑
 

                                       วังควิรินะเล    เมืองโรม

                                                                      วันที่  ๗  มิถุนายน  ร.ศ.๑๑๖

ถึงแม่เล็ก,
 
 

ที่  ๒๒
 

                                                                                 โฮเตล  คอนติเนนตัล    เมืองฟลอเลนซ์    อิตาลี

                                                                               วันที่  ๘  มิถุนายน  ร.ศ.๑๑๖
 
 

 

ออสเตรียและฮังการี

 

 
 
สมเด็จพระจักรพรรดิฟรานซ์  โจเซฟ    พระเจ้ากรุงออสเตรีย  และฮังการี

 

ราชวงศ์ ฮับสเบอร์ก - ลอร์เรน     House of Habsburg-Lorraine

พระมเหสี   พระนางเอลิซาเบธแห่งบาวาเรีย    Elisabeth of Bavaria

พระราชบิดา  อาชดู๊ก หรานซ์  คาร์ล  ลุดวิก  Archduke Karl Ludwig

พระราชมารดา  เจ้าหญิงโซฟี แห่งบาวาเรีย  Princess Sophie of Bavaria

สืบราชสมบัติต่อจากพระปิตุลา พระเจ้าเฟอร์ดินานที่  ๕   Ferdinand V   เมื่อ  ๒  ธันวาคม  พ.ศ.๒๓๙๑  ค.ศ.๑๘๔๘    

ประสูติ    ๑๘  สิงหาคม  พ.ศ.๒๓๗๓  ค.ศ.๑๘๓๐

สิ้นพระชนม์    ๒๑  พฤศจิกายน  พ.ศ.๒๔๕๙  ค.ศ.๑๙๑๖

 

ที่  ๒๘
 

                                      อิสเชล    ในออสเตรีย

                                                                          วันที่  ๒๐  มิถุนายน  ร.ศ.๑๑๖

 

ที่  ๒๙
 

                                      วังฮอฟเบอร์ค    เวียนา

                                                                         วันที่  ๒๒  มิถุนายน  ร.ศ.๑๑๖

ฯลฯ

          มาถึงนี่เอมเปอเรอลงมารับ  กับอาชดู๊ก  ๓  คน    เป็นน่าพิศวงผิดคาดผิดหมาย    เอมเปอเรอดูในรูปเหมือนจะใหญ่โต    แต่ที่จริงเล็กนิดเดียว  ผอมกว่าฉันเป็นกอง    เป็นแต่สูงกว่าเท่า นั้น    แกเหี่ยวแต่คล่องแคล่วเต้นหรับๆ  ดูเป็นคนแก่ใจดี    ดูรูปแลคำเล่าหมายว่าจะยิ้มไม่เป็น  ที่จริงยิ้มอยู่เป็นนิตย์  .  .  . 

ฯลฯ

 

ที่  ๓๐
 

                                      วังฮอฟเบอร์ค    เวียนา

                                                                 วันที่  ๒๔  มิถุนายน  ร.ศ.๑๑๖

ถึงแม่เล็ก,

ฯลฯ

          วันที่  ๒๓  เวลา  ๔  โมงเช้า    ไปเฝ้าเอมเปอเรอ  เป็นการเยี่ยมตอบ    แต่งเต็มยศ    เดินบนพระที่นั่งก็จริงอยู่แล  แต่ต้องเข้าใจวาไปถึงสวนเต่า    เอมเปอเรอไปนอนที่เชินบรูนจริงอยู่  แต่เข้ามาว่าราชการที่นี่  ตั้งแต่เช้า  ๓  โมง  ไปจนบ่ายโมง  ๑  ทุกวัน    เข้าห้องปิดประตูอยู่สองคน  พระรัตนโกษาเป็นล่าม    พูดกันด้วยเรื่องอะไรๆ  ต่างๆ    เอมเปอเรอเล่าว่า  ไปเซนปีเตอร์สเบิกเมื่อเร็วๆ  นี้    ซาร์พูดสรรเสริญฉันว่าดีนัก  แลมีใจรักใคร่มาก    บอกเอมเปอเรอว่า  ฉันคงเป็นแขกอย่างดีของเอมเปอเรอคนหนึ่งที่ควรรับ  แลว่าคงจะได้การรับรองดีมาก    นั่งอยู่ถึง  ๑๐  มินิตก็ไม่บอกให้กลับแลไม่หยุดพูด    ตำราเขาว่าไม่มีใครเฝ้าช้าเลย    ฉันเห็นเหมาะช่อง  ก็ลุกลามา  .  .  .

ฯลฯ

 

ที่  ๓๑
 

                                                                        แกรนด์โฮเตล    ฮังการี    เมืองบูดาเปสต์

                                                                     วันที่  ๒๖  มิถุนายน  ร.ศ.๑๑๖

ถึงแม่เล็ก,

 

ที่  ๓๖
 

                                                          พระราชวังลาเซนกี    เมืองวอซอ

                                                                วันที่  ๑  กรกฎาคม  ร.ศ.๑๑๖

ถึงแม่เล็ก,

          ฉันออกมาแต่บูดาเปสต์เมื่อคืนนี้  .  .  .  พอ  ๔  โมงเศษ  เข้าแดนโปแลนด์    เจ้าเมืองรายทางมารับแลตามมาส่ง    อีกสเตชั่นหนึ่งจะถึงวอซอแอดมิราลอาสนิฟ  เป็นราชองครักษ์แต่ครั้งพระ เจ้าปู่กับปรินซ์ออฟเลนสกี  และอีก  ๒  คน  กับทั้งกรมท่ามารับ  .  .  .  ที่สเตชั่นเกาวนาเยเนราลที่แท้เท่ากรมประจักรฤๅสรรพสิทธิ์เป็นคนเก่าเคยไป ทัพ    ได้ตราทหารสูงกว่าเอมเปอเรอที่ตาย    กับขุนนางนายทหารผู้ใหญ่ใส่แกรนด์ครอสสัก  ๒๐  คน    พลเรือนแกรนด์ครอสสัก  ๑๒  คน    นอกนั้นมากเหลือนับ    ทหารการ์ดออฟออเนอกำปะมีที่  ๑  แต่ช่างเลือกมาราวกับยักษ์    มียื่นบัญชีทหาร  เดินตรวจทหารแล้ว  ทหารเดินผ่านหน้า  มันเป็นทหารแตกหัก* จริงๆ  เดินก้าวยาวๆ  งามที่สุด    นำคนให้รู้จักแล้วขึ้นรถมากับเจ้าเมืองมาที่วังลาเซนกี    วังนี้ไม่ใช่ที่ชาห์ออฟเปอเซียมาอยู่  เป็นวังใหญ่กว่า    ตั้งอยู่กลางสระคล้ายบางปะอินเป็นที่สุด    พึ่งซ่อมเสร็จใหม่ๆ  สำหรับเอมเปอเรอจะมาในการซ้อมทหารปีนี้    ทหารแห่นำตามถึงร้อยหนึ่ง  เป็นพวกครอสสักทหารแขกที่เป็นยอดทหารของรัสเซีย    ทหารรายทางมีเรชยีเมนต์ของเอมเปอเรอออสเตรียแลเยอรมัน    คนมันช่างโตนี่กระไร    เรชยีเมนต์อื่นอีก  ๒  และทหารม้า  ๒ เรชยีเมนต์    คนราว  ๔  พัน  .  .  .

ฯลฯ

          ในส่วนราชการกรมท่า  คนที่มาได้พูดกับพระยาสุริยาขึ้นเองว่า    ความลำบากเกี่ยวกับฝรั่งเศสคงจะเบาบาง    ฉันจะรับสั่งอะไรกับเอมเปอเรอ  คงจะเป็นพระราชธุระทั้งนั้น

    เวลานี้กำลังปลื้ม    การที่ตรมตรอมมาแต่คืนนี้ปลดเปลื้องไปเป็นอันมาก    เห็นจะได้นอนหลับสบาย    พรุ่งนี้จะตรวจทหารหมื่นหนึ่งแต่เช้าจึงขอนอน

                                                                                                                                                 ผัวที่รักของแม่เล็ก

 

 

 

                     แตกหัก*     คำว่า  แตกหัก  เป็นศัพท์แผลงมีความหมายว่า  รูปร่างใหญ่โตมาก

 

ที่  ๓๗
 

                                           ลาเซนกี    เมืองวอซอ

                                                                    วันที่  ๒  กรกฎาคม  ร.ศ.๑๑๖

ถึงแม่เล็ก,

          ด้วยฉันรู้สึกว่า    ฉันสิ้นเวรสิ้นกรรมพ้นทุกข์แล้ว    ที่ได้มาอยู่ในหมู่ผู้ดีทั้งหลายในเมืองนี้  ไม่ต้องร่ำร้องหาเวลาที่จะเขียนหนังสือ    เกาวนาเยเนราล  พระวรวงศ์เธอ  ปรินซ์อิมาเตนสกีเอง  เป็นผู้กะเวลาให้ฉันว่างตั้งแต่บ่าย  ๒  โมงจนบ่าย  ๔  โมง    สำหรับจะได้เขียนหนังสือเข้าไปถึงแม่เล็กและรัฐบาล    ดูเถิดจะไม่ให้ฉันชอบคนที่เป็นผู้ดีอย่างไร  ผู้ดีโก้หร่านของเราสู้ไม่ได้  เพราะไม่เคยมีธุระอะไรในโลก  เป็นแต่กินๆ  เที่ยวๆ  เล่นๆ  นึกถึงเวลาธุระไม่เป็น  .  .  .

          .  .  .  ฉันไปกับแอดมิราลก่อน    ต้องไปขึ้นรถด้วยกันที่สนาม    เจ้าเมืองขี่รถไปข้างฉันกับพวกสตาฟทั้งปวงตามหลังตรวจแถวทหารตลอด    มีทหารเดินเท้า  ๔  เรชยีเมนต์ แลทหารม้า  ๒    ทหารปืนใหญ่  ๒    ทหารม้าปืนใหญ่  ๑    ครอสสัก  ๑  เรชยีเมนต์    เวลาผ่านหน้าทหารโห่ตลอดๆ  แถว  แลยื่นบัญชีด้วยแล้วกลับมา    พลับพลาทำขึ้นกลางสนามงามนัก  มีของเลี้ยงด้วย    ทหารครอสสักผ่านก่อน  แล้วทหารเดินเท้าแลทหารราบ    ต่อนั้นจึงทหารปืนใหญ่แลทหารม้า  ปืนใหญ่ม้าแลม้าฮุสซากาลบ  ยิงปืนด้วย  ว่องไวยิ่งนัก    ต่อนั้นเอาเงินใส่ผ้าเช็ดหน้าทิ้งรายไป    ทหารครอสสักฮ่อม้าเช่นม้าฮ่อคเชนทรยนานของเรา  โอนตัวลงมาเก็บผ้า  บางคนได้  ๒ - ๓  ที่ไม่ได้นั้นน้อย    บางคนทำเหมือนถูกปืนตกม้า  ไม่ได้ผิดกับตายจริงๆ  เลย    มีพวกกันมาเก็บศพ  เพราะพวกนี้ถือว่า  ถ้าข้าศึกได้ศพพวกพ้องไปเป็นที่น่าอาย    บางคนทำเป็นตกม้าขาหัก  พวกพ้องมาพาไป    คนเดียวขี่ม้า  ๒  ตัวบ้าง    ๒ -๓  คนขี่ม้าตัวเดียวบ้าง    ความชำนาญม้าเหมือนเซอคัส    เคยเห็นทหารม้าจะมาเหมือนพวกครอสสักไม่ได้แล้วในโลกนี้    สมควรที่สรรเสริญแลเป็นที่เกรงกลัวกันนั้นยิ่งแล้ว

          แล้วปล่อยบาลูนในสนามมีนกพิราบไปด้วย    ฉันช่างได้รับความเคารพนับถือของพวกทหารเสียจริงๆ

ฯลฯ

          ได้รับโทรเลขจากเอมเปอเรอออฟรัสเซียฉบับหนึ่ง  เอมเปอเรอออหออสเตรียฉบับหนึ่ง  ได้ส่งสำเนามาให้ดูด้วย    คงจะเห็นได้ว่าดีปานใด

ฯลฯ

          เรื่องมีข่าวลงพิมพ์ว่าไทยวิวาทกับฝรั่งเศสก็ได้ความชัดแล้วว่าเป็นความไม่ จริง  โล่งไปได้อย่างหนึ่ง    ฉันจะถึงเซนตื์ปิเตอร์สเบิคพรุ่งนี้ค่ำ    เอมเปรสส์พระราชมารดารับสั่งให้บอกว่า  อยากพบนัก  จะเสด็จมาหาก่อนที่ฉันจะไปเฝ้า    ขอให้คิดดูว่า  ฉันจะกลั้นเหว*ได้อย่างไร

  ผัวที่รักของแม่เล็ก


         

 

 

          เหว*    คำว่าเหว  ฤๅ  ทุ่มเหว  นี้มีความหมายว่า  ยอ

 

 

 

รัสเซีย

 

           ดูจะเป็นที่คาดหวังมากที่สุด เพราะทรงมีพระราชไมตรีเป็นอันดีกับ  ซาร์ นิโคลาส ที่ ๒  ตั้งแต่เสด็จเยือนประเทศไทยครั้งทรงเป็นซาร์เรวิช  เมื่อ พ.ศ.๒๔๓๔  แต่เนื่องจาก รัสเซีย มีสัญญาทวิภาคีอยู่กับฝรั่งเศส อยู่แล้ว  จึงไม่ขัดขวางฝรั่งเศส  แต่ก็มีส่วนส่งเสริมการเสด็จประพาสนี้
 
 
 

 

 

 

พระจักรพรรดินีอเลกซานดรา  ฟีโอโดโรฟนา  และ  สมเด็จพระเจ้าซาร์นิโคลัสที่  ๒   แห่งรัสเซีย    

ALEXANDRA  FEODEROFNA              NICHOLAS II   (NIKOLAI ALEXANDROVICH) 

                                                                                                                                                (ภาพจาก  The Illustriertr Zeitung 1901)
 
 
 

ราชวงศ์ โรมานอฟ    House of Holstein - Gottorp - Romanov

พระราชบิดา สมเด็จพระจักรพรรดิอเล็กซานเดอร์ที่  ๓  แห่งรัสเซีย

พระราชมารดา พระจักรพรรดินีมาเรีย เฟโอโดรอฟนาแห่งรัสเซีย   Maria Feodorovna  (เจ้าหญิงแด็กมาร์แห่งเดนมาร์ก  Dagmar of Denmark)  
 
พระราชสมภพ  ๑๘  พฤษภาคม  พ.ศ.๒๔๑๑   ที่   Tsarskoye Selo (now called Pushkin), Saint Petersburg, Russian Empire

ครองราชย์  ๒๐  ตุลาคม  พ.ศ.๒๔๓๗ – ๑๕  มีนาคม  พ.ศ.๒๔๖๐   สืบต่อจาก  สมเด็จพระจักรพรรดิอเล็กซานเดอร์ที่  ๓ แห่งรัสเซีย   Alexander III 

ระบอบกษัตริย์ถูกล้มล้าง  เมื่อ  ๑๕  มีนาคม  พ.ศ.๒๔๖๐ 

พระราชโอรส/ธิดา แกรนด์ดัชเชสโอลกา นิโคเลฟนา แห่งรัสเซีย    Grand Duchess Olga Nikolaevna

แกรนด์ดัชเชสทาเทียนา นิโคเลฟนา แห่งรัสเซีย   Grand Duchess Tatiana Nikolaevna

แกรนด์ดัชเชสมาเรีย นิโคเลฟนา แห่งรัสเซีย    Grand Duchess Maria Nikolaevna

แกรนด์ดัชเชสอนาสตาเซีย นิโคเลฟนา แห่งรัสเซีย    Grand Duchess Anastasia Nikolaevna

ซาเรวิชอเล็กซี นิโคเลวิช แห่งรัสเซีย    Tsarevich Alexei Nikolaevich

สวรรคต  ๑๗  กรกฎาคม พ.ศ.๒๔๖๑    ที่   Yekaterinburg, Russian   (พระชนมายุ  ๕๐  พรรษา)

ที่ฝังพระศพ   Peter and Paul Cathedral, Saint Petersburg, Russian Federation  
 

 

 

 

 



 

 ประทับทอดพระเนตรการสวนสนาม  ที่ทุ่งมอกาตก  นครวอร์ซอ   (Warswa)    ราชอาณาจักรรัสเซีย

๒  กรกฎาคม  ๒๔๔๐


 

 

          วันที่  ๓  กรกฎาคม  พ.ศ.๒๔๔๐   พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จพระราชดำเนินถึงเมืองเซนต์ปี เตอร์สเบิร์ก  ราชอาณาจักรรัสเซีย   สมเด็จพระจักรพรรดินิโคลัสที่  ๒   แห่งราชอาณาจักรรัสเซีย ทรงต้อนรับอย่างสมพระเกียรติและอบอุ่น    พร้อมทั้งพระบรมวงศานุวงศ์แห่งราชวงศ์โรมานอฟและจากประชาชนชาวรัสเซีย

 

ที่  ๓๘
 

                        วังปีเตอร์ฮอฟ

                                                                  วันที่  ๕  กรกฎาคม  ร.ศ.๑๑๖

ถึงแม่เล็ก,

          ด้วยฉันตั้งใจจะเขียนหนังสือแต่หาช่องไม่ได้    เต็มไปด้วยการรับรองทั้งสิ้น    การที่รับนี้  เป็นเรากันเองมากกว่าอย่างอื่น    แต่การที่เป็นยศศักดิ์ก็ไม่ได้ขาดด้วย    จึงได้มากมายนัก    ไม่มีเวลาจะแต่งอย่างอื่น  นอกจากเต็มยศกัยครึ่งยศดำ    แต่มาถึงจนวันนี้มีเวลาพบกับเอมเปอเรอ  และเจ้านายเสมอไม่ใคร่ขาด    ดูเหมือนเราเป็นคนหนึ่งในพี่น้องเอมเปรสส์แม่  และเอมเปรสส์สาวอี๋ไปทั้งนั้น    เวลาเต็มหมด  ไม่ได้กินข้าวบ้านเลยสักเวลาเดียว    ส่วนราชการก็เดินดี  .  .  .  แต่ที่รัสเซึยนี้  เป็นไปคนละอย่างกับที่อื่น    คือใครๆ  ในเจ้านายโจม ถึงตัวฉันทั้งนั้น  ขุนนางเกือบไม่ได้ปนเลย    ที่สุดจนเจ้านาย  ถ้าเป็นเวลาเจ้านายเขาไปจึงจะได้เข้า    หาไม่ก็มีแต่ฉันกับเอมเปอเรอขลุกกันอยู่  ๒  คนเท่านั้น    ไปไหนก็ไปกัน  ๒  คน  ไม่มีใครตาม    เที่ยวเตร่ก็ไปแต่สารถีคนเดียว

ฯลฯ

 

ที่  ๓๙
 

                       วังปีเตอร์ฮอฟ

                                                          วันที่  ๑๑  กรกฎาคม  ร.ศ.๑๑๖

ถึงแม่เล็ก,

           .  .  .  เมื่อวานนี้รวมเบ็ดเสร้จอยู่ด้วยกันกับเจ้านายและเอมเปอเรอถึงหกชั่วโมง    มีเวลาว่างก็ได้พูดราชการกับเคานต์มูราเวียฟ  แลทำโทรเลขส่งบางกอก    กับเอมเปอเรอนั้นพูดราชการกันในรถทั้งนั้น  ไปด้วยกันแต่สองคนนานๆ
 
          ตกลงเป็นออกจากนี่วันนี้ไปกับฮที่กรอนเสตคและดูเรือพระที่นั่ง    แล้วเอมเปอเรอจะได้พาฉันไปส่งที่เรือโปลาสตา    ลากันที่นั้น    เรือจะได้ออกวันที่  ๑๒  เวลาย่ำรุ่งวันที่  ๑๓  ถึงสต๊อกโฮม    อยู่ในวัง  ๔  วัน    แล้วจะไปเที่ยวเมืองคฤสติยานา    กลับมาลงเรือมหาจักรี  ไปถึงโคเปนเฮเกนวันที่  ๒๓    จะไปถึงอิงคแลนด์  วันที่  ๒๘    อยู่ที่นั่นจนวันที่  ๒๔  เดือนสิงหาคม    จะข้ามที่เชียเนศมาขึ้นที่ฮัมเบิร์ก  แล้วไปเบอร์ลิน    แล้วไปที่ดู๊กยอน  แมกเลนเบิร์ก    ขากลับจะมาลงฮอลแลนด์    แล้วเบลเยี่ยม  เข้าเมืองฝรั่งเศสทางนั้น    อยู่ปารีสไม่เกิน  ๔  วัน    จะกลับไปอิงคแลนด์    ทำการเฉลิมพระชนม์พรรษาที่แตปโลคอต

         อีกตอนหนึ่งจะข้ามไปฝรั่งเศสอีก    ลงไปสเปญและโปรตุกัล    ลงเรือที่นั่น    แล้วไปแวะยอบรอตา  แลมอลตา    แต่จะแวะหาปรินซ์ออฟเนเปิลตามที่ได้พูดกันกับเอมเปอเรอ   กะว่าเรื่องกรีกกับเตอรกีคงจะตกลงกันในเวลานั้นแล้ว    จะแวะหาพระเจ้าแผ่นดินกรีกเป็นการเงียบๆ  .  .  .

 

ที่  ๔๐
 

                        วังปีเตอร์ฮอฟ

                                                                    วันที่  ๑๑  กรกฎาคม  ร.ศ.๑๑๖

ถึงแม่เล็ก,

          ด้วยฉันลืมไป    ฉันได้ส่งรูปที่ถ่ายพร้อมกับเอมเปอเรอแผ่นหนึ่งกับที่ถ่ายพร้อมกับเจ้านาย ด้วยแผ่นหนึ่ง    รูปนี้ได้ลงชื่อด้วยกันทั้งสองคนแลกกันไว้คนละแผ่น    ที่ส่งมามีความประสงค์อย่างหนึ่งว่า    จะให้เอาออกติดให้คนดู    จะเป็นแต่ที่ฉันกับเอมเปอเรอก็ได้    ที่นี่จะได้ลงพิมพ์ด้วย

ฯลฯ

 

 

 
 

 

 

 

ณ  พระราชวังปีเตอร์ฮอฟ์ฟ   กรุงเซนต์ปีเตอร์สเบอร์ก
 
 
 

 

 

 
 

 

ณ  พระตำหนักอเล็กซานเดรีย  พระราชวังซาร์วิกเซโร    เมืองปีเตอร์ฮอล์ฟ   ที่ประทับเอมเปรสมาลีฟิโอโคลอฟนา 

๑๐  กรกฎาคม  ๒๔๔๐

 

 

.  .  .  ฉันได้ส่งรูปที่ถ่ายพร้อมกับเอมเปอเรอแผ่นหนึ่งกับที่ถ่ายพร้อมกับเจ้านาย ด้วยแผ่นหนึ่ง    รูปนี้ได้ลงชื่อด้วยกันทั้งสองคนแลกกันไว้คนละแผ่น    ที่ส่งมามีความประสงค์อย่างหนึ่งว่า    จะให้เอาออกติดให้คนดู    จะเป็นแต่ที่ฉันกับเอมเปอเรอก็ได้    ที่นี่จะได้ลงพิมพ์ด้วย

 

 

ครับ  .  .  .  หนังสือพิมพ์ในยุโรปก็ได้เชิญพระบรมฉายาลักษณ์องค์นี้ลงพิมพ์ด้วย    ไม่ทราบว่ากี่ฉบับ  แต่ที่เห็น คือ ฉบับนี้ครับ

 

 

 
 

 

 

ที่  ๔๑
 

                               วังปีเตอร์ฮอฟ

                                                                     วันที่  ๑๑  กรกฎาคม  ร.ศ.๑๑๖

ถึงแม่เล็ก,

          ด้วยวันนี้เบร๊กฟัสส่งเจ้านายทั้งปวงช่างคุ้นเป็นกันเองไปหมด    เอมเปรสส์เกือบจะทรงกรรแสง    สั่งแล้วสั่งเล่ารับปวารณากันว่าจะคิดว่าฉันเป็นลูก    ฉันก็จะคิดว่าเป็นแม่ตั้งแต่นี้ไป    ทุกวนเป็นแต่จูบกัน    วันนี้ตกลงเป็นแม่ลูกันแล้ว    เอียงพระปรางให้ฉันจูบ    บรรดาลูกทั้งผู้หญิงผู้ชาย  ต่างคนต่างจูบกันกับฉันทุกคน    ลูกเราเอมเปรสส์ก็รับเอาไปจูบเป็นหลานหมดทั้งนั้น    อยากจะให้ฉันไปเฝ้าอีกฤๅอย่างไร  แต่เอมเปอเรอไม่ตกลง  เพราะเมียเขาสั่งมาว่าให้เอาฉันไปให้ได้ด้วยขี้อาย    จะต้องลากันในห้องเงียบๆ    ปรินซ์ฮันออฟเดนมาร์คเป็นคนแก่คู่เล่นกัน กับฉัน  ปล้ำกันทุกวัน    พบเข้าแล้วกอดจูบกลมทีเดียว    บอกว่า  เขียนหนังสือไปทูลเจ้าแผ่นดินสวิเดนแปดน่าชมฉันเป็นอันมาก  เพราะเป็นเพื่อนรักกัน    แต่เอมเปอเรอรับประกันที่เดนมาร์คแลที่อิงคแลนด์ว่าจะเหมือนกันเช่นนี้

ฯลฯ

 

พระราชไมตรีอันแน่นแฟ้น    ก่อนจะถึงวันนี้ที่กรุงเซนต์ปีเตอร์เบิร์ก

 
 

 

 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  และซาเรวิชนิโคลัส    ณ  พระที่นั่งเวหาศจำรูญ  พระราชวังบางปะอิน  พระนครศรีอยุธยา   พ.ศ.๒๔๓๓   
 
 

 

สวีเดน     พระอาทิตย์เที่ยงคืน

               ๑๓ - ๒๐  กรกฎาคม    เสด็จประพาสพระราชอาณาจักรสวีเดน


 

 



 

พระเจ้าออสการ์ ที่ ๒  แห่งสวีเดนและนอรเวย์

Oscar Frederik  King of Sweden and Norway

18 September 1872 – 26 October 1905 

 

วันที่  ๑๓  กรกฎาคม  รัตนโกสินทรศก  ๑๑๖

          .  .  .  แต่รุ่งสว่างมาเรือพระที่นั่งใช้จักรมาในช่องทะเลชายฝั่งสวีเดน    มีเกาะเล็กใหญ่ซึ่งมีภูเขาต่ำๆ  มีต้นไม้ปกคลุมร่มครึ้มบ้าง  เป็นท้องทุ่งหญ้าบ้าง  มีบ้านเรือนตั้งอยู่รายๆ    ทำงดงามเป็นเรือนไม้โดยมาก    ตามช่องที่เรือพระที่นั่งเดินไปนั้นกว้างบ้างแคบบ้าง    น้ำนิ่งสนิทเหมือนเรือเดินไปในกลางสวน  งดงามเพลิดเพลินยิ่งนัก    เรือพระที่นั่งใช้จักรต่อมาจนเวลาเช้า  ๓  โมงเศษ    พบเรือกลไฟชักธงราชฑูตสยาม  .  .  .  พอเวลาเช้า  ๔  โมงถึงช่องแคบหว่างเขาเป็นที่มีป้อมของกรุงสตอกโฮล์มทั้งสองฟากช่อง    ป้อมเรียกชื่อว่าออสตาร์เฟรเดอริกแบค    เชิงป้อมข้างขวามือมีทหารประมาณ  ๓๐๐  คนยืนแถวถวายคำนับ  และมีทหารแตรทำเพลงแตรสรรเสริญพระบารมี    ทหารแบตเตอรีบนป้อมสองป้อมยิง ปืนใหญ่ถวายคำนับป้อมละ  ๒๑  นัด    และป้อมหนึ่งยิงปืนคำนับราชฑูตสยาม  ๑๙  นัด    เรือพระที่นั่งโปลาสะตาร์ยิงปืนใหญ่รับคำนับป้อมทั้งสอง    และยิงรับคำนับราชฑูต๑๙  นัดด้วย

ฯลฯ

 

          ประมาณ  ๒๐  นาที    เห็นเรือพระที่นั่งสมเด็จพระเจ้าแผ่นดินสวีเดนและนอรเวออกจากท่ามาสู่เรือ พระที่นั่ง    เป็นเรือโบตขนาดใหญ่อย่างโบราณชื่อว่า วาสะออเดน    ยาวสัก  ๑๐  วา    กำลังกว้างสัก  ๕  ศอก    เป็นเรือพระที่นั่งสำหรับใช้ในการพระราชพิธีมีเก๋งค่อนข้างตอนท้าย    มีลวดลายทองอันงาม    หลังเก๋งเป็นรูปมงกุฏของกรุงสวีเดนปิดทองมีฝีพาย แต่งตัวเสื้อผ้าขาวอย่างกะลาสีทหารเรือกรุงเทพฯ  ๑๔  คน    ตอนท้ายต่อเก๋งมีที่นั่งได้พอข้างละ  ๖  คน    พอเห็นเรือพระที่นั่งของพระเจ้าแผ่นดินกรุงสวีเดนและนอรเวมา    พวกเจ้าพนักงานประจำเรือมีกัปตันเป็นประธานยืนเรียงแถงต้นบันไดฝ่ายริม เรือ    ข้าราชการฝ่ายกรุงสยามและฝ่ายรัสเซียยืนเรียงแถงตอนในตามบรรดาศักดิ์    เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทอยู่พร้อมพรั่งคอยรับพระเจ้าแผ่นดินกรุงสวีเดนและนอรเว

          พอเรือพระที่นั่งพระเจ้าแผ่นดินกรุงสวีเดนและนอรเวถึงปลายบันไดเรือกลไฟโปลา สะตาร์กัปตันลงไปรับเสด็จพระราชดำเนินพระเจ้าแผ่นดินกรุงสวีเดนและนอรเว  .  .  .

          เมื่อขึ้นถึงบนเรือพระที่นั่งซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวคอยรับอยู่ นั้น    พระมหากษัตริย์ทั้ง ๒ พระองค์  ต่างถวายคำนับกอดรัดและจุมพิตตามขัตติยราชประเพณีแล้วพระเจ้าแผ่นดิน กรุงสวีเดนและนอรเวทรงนำพระราชโอรสทั้ง  ๔  เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท  แล้วพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรนำสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช    สมเด็จพระเจ้า ลูกยาธอ  เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์    พระเจ้าน้องยาเธอทั้งสองพระองค์    และพระเจ้าลูกยาเธอเฝ้าพระเจ้าแผ่นดินกรุงสวีเดนและนอรเว

          พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทูลเชิญพระเจ้าแผ่นดินกรุงสวีเดนและนอรเวเสด็จ พระราชดำเนินประทับ  ณ  ห้องรับแขกในเรือพระที่นั่ง  .  .  .  แล้วพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงนำข้าราชการฝ่ายสยามซึ่งตามเสด็จพระ ราชดำเนินในขบวนซูตและข้าราชการฝ่ายกรุงรัสเซียซึ่งตามมาส่งเสด็จพระราช ดำเนินนั้นเฝ้าทูลพระเจ้าแผ่นดินกรุงสวีเดนและนอรเว    ต่างพระองค์มีพระราชดำรัสทักทายปราศรัยด้วยข้าราชการตามสมควรแล้ว    เสด็จพระราชดำเนินทั้งสองพระองค์ลงสู่เรือพระที่นั่งวาสะออเดน    พร้อมด้วยพระบรมวงศานุวงศ์ทั้งสองฝ่าย    พอเรือพระที่นั่งเคลื่อนจากเรือโปลาสะตาร์    เรือโปลาสะตาร์ และป้อมในเมืองยิงปืนใหญ่ถวายคำนับเป็นพระเกียรติยศ    พอเรือพระที่นั่งเทียบท่าลอการ์ด  (Logard)    พระเจ้าแผ่นดินกรุงสวีเดนและนอรเวเสด็จพระราชดำเนินขึ้นท่าก่อนคอยรับเสด็จ พระราชดำเนินอยู่    พอพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินขึ้น สู่ท่า    พระเจ้าแผ่นดินกรุงสวีเดนและนอรเวทูลต้อนรับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  แล้วพระมหากษัตริย์ทั้งสองพระองค์ทรงกอดรัดและจุมพิตอีกครั้งหนึ่ง  .  .  .
 
 
 

 



 

 

         พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชดำเนินตรวจแถวทหารกองรับเสด็จพระราชดำเนิน ประดับพระเกียรติยศพร้อมด้วยพระเจ้ากรุงสวีเดนและนอรเว    แล้วทั้งสองพระองค์เสด็จพระราชดำเนินขึ้นสู่รถพระที่นั่งมายังพระราชวัง
              
 
 

 

 

 
พระเจ้าออสการ์ ที่ ๒  แห่งสวีเดนและนอรเวย์  ทรงนำเสด็จพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  เสด็จสู่พระราชวังกรุงสตอกโฮล์ม   ๑๓  กรกฎาคม  ๒๔๔๐  

 

          ตามทางมีพลเมืองมาชมพระบารมีแน่น    ที่ท่าขึ้นจนถึงพระราชวังมีทหารยืนแถวรายทางถวายรับตลอดทาง

          ครั้นเวลาบ่าย  ๓  โมงเศษพระเจ้าแผ่นดินกรุงสวีเดนและนอรเวเสด็จมายังตำหนักที่พระบาทสมเด็จพระ เจ้าอยู่หัวประทับทูลเชิญเสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรโรงเอกสะอิบิชัน  ซึ่งเรียกว่า เยเนอราลอาร์ตแอนด์อินดัสตรี เอกสะอิบิชัน  คริสต์ศักราช  ๑๘๙๗    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยพระเจ้าแผ่นดินกรุงสวีเดน และนอรเวโดยรถม้าพระที่นั่งมายังที่ตำบลสะคันเสน  (Skansen)  ซึ่งโรงเอกสะอิบิชันตั้งนั้น    พอเสด็จพระราชดำเนินมาถึงโรงหนึ่งเรียกว่าสตอกโฮล์มซิตีแปปเวลเลียน  พบพระเจ้าแผ่นดินกรุงเบลเยี่ยมซึ่งเสด็จมาทอดพระเนตรเอกสะอิบิชันอย่าง เงียบๆ     พระเจ้าแผ่นดินกรุงสวีเดนและนอรเวทรงนำให้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเฝ้า พระเจ้ากรุงเบลเยี่ยมแล้วต่างพระองค์มีพระราชดำรัสทักทายปราศรัยตาม ขัตติยราชประเพณีแล้วเสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยพระเจ้าแผ่นดินกรุงสวีเดน และนอรเว ต่อไป  .  .  .  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนิน พร้อมด้วยปรินซ์แบระนาดอตโดยเรือกลไฟเล็กเป็นไปรเวตมิได้ชักธงราชะ    ด้วยเหตุว่า  พระเจ้าแผ่นดินเบลเยี่ยมเสด็จเป็นการไปรเวตอินคอกนิโต    แต่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระราชประสงค์จะทรงแสดงความเคารพและทางพระ ราชไมตรีจึงเสด็จพระราชดำเนินไปเยี่ยมถึงเรือพระที่นั่งพระเจ้าแผ่นดินเบลเยี่ยมรับเสด็จเป็นอันดี    ประทับอยู่ครู่หนึ่งเสด็จพระราชดำเนินคืนกลับพระราชวัง

         เวลาบ่าย  ๓  โมงวันนี้    เรือพระที่นั่งมหาจักรีซึ่งเครื่องชำรุดแวะแก้ไขในชายทะเลประเทศฮอลแลนด์ดี แล้วนั้น    มาถึงได้ทอดจอดอยู่ในอ่าวหน้ากรุงสตอกโฮล์ม    กัปตันคัมมิงนายเรือได้มาเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทในเวลาย่ำค่ำ

ฯลฯ

 

วันที่  ๑๔  กรกฎาคม  รัตนโกสินทรศก  ๑๑๖

          เวลาเช้า  ๕  โมงเศษ  ปรินซ์แบระนาดอต  มารับเสด็จพระราชดำเนินพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพร้อมด้วยพระบรมวงศานุ วงศ์และข้าราชการ    เสด็จพระราชดำเนินโดยขบวนรถม้าพระที่นั่งจาก พระราชวังไปที่พิพิธภัณฑ์เรียกว่าแนชูเรลฮิสะตอรีมิวเซียม    แนชูเรลฮิสะตอรีมิวเซียมนี้ชั้นล่างมีเครื่องภาชนะใช้สอยของคนโบราณแต่เมื่อ ยังใช้ศิลาและทองบรอนซ์เป็นลำดับมาจนถึงเวลาที่ใช้เหล็ก  .  .  .  แล้วเสด็จพระราชดำเนินกลับมายังโฮเต็ลหัสเสนแบคเคนซึ่งพระเจ้าแผ่นดินกรุง สวีเดนและนอรเวเชิญเสด็จเสวยพระกระยาหารกลางวัน  .  .  .

          - เมื่อเสร็จการพระกระยาหารแล้ว  พระเจ้าแผ่นดินกรุงสวีเดนและนอรเวนำเสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรสวนของงาน เอกสะอิบิชันชื่อสวนหัสเสน  และอีกสวนหนึ่งที่จำลองวิถีชีวิตย่างเก่าของกรุงสตอกโฮล์ม    แล้วทอดพระเนตรโรงที่ทำน้ำตาลทรายที่บ่อแร่ถ่านหิน

          ครั้นเวลาจวน  ๑  ทุ่ม    ข้าราชการฝ่ายกรุงสยามและฝ่ายสวีเดนและนอรเวพร้อมด้วยอัครราชฑูตต่างประเทศ ทั้งปวง    บรรดาได้รับเชิญประชุมนั่งโต๊ะเลี้ยงเรียกว่ากาลาดินเนอร์  .  .  .  โต๊ะที่เสวยนั้นตั้งเป็น  ๓  ด้าน    มีจำนวนคนในโต๊ะรวม  ๑๓๗  คน  .  .  .  การจัดนั่งในโต๊ะนั้นพระเจ้าแผ่นดินกรุงสวีเดนและนอรเวประทับกลางโต๊ะ  พระเจ้าแผ่นดินกรุงเบลเยี่ยมประทับเบื้องขวา  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวประทับเบื้องซ้าย  .  .  . 

ฯลฯ

 

วันที่  ๑๕  กรกฎาคม  รัตนโกสินทรศก  ๑๑๖

          - เวลาเช้าเสด็จลิฟต์แคตรินฮิสเสน  (Katarinahissen)  เป็นลิฟต์สูง  ๓๘  เมตร   เพื่อทอดพระเนตรภูมิทัศน์กรุงสตอกโฮล์ม     เมื่อทอดพระเนตรแล้วเสด็จฯ ยังวัดริดดาฮอม(Riddarholm Cathedral)  ทรงกระทำเคารพพระศพพระเจ้าแผ่นดินกรุงสวีเดนและนอรเวองค์ก่อนๆ    แล้วเสด็จฯ ยังท่าริดดาฮอลเมน  ประทับเรือกลไฟชื่อติดสิน  (Tessin)  ประพาสทะเลสาบแมลาเร็น  (Malaren Lake)    ซึ่งเป็นทะเลสาบน้ำจีด  แต่ดูคล้ายทะเลน้ำเค็ม    ในทะเลเป็นเกาะใหญ่เกาะน้อย  มีซอกทางไปมากว้างบ้างแคบบ้าง    เกาะเป็นป่าสนเขียวชอุ่ม    มีบ้านเป็นที่พักในฤดูร้อนเรียงราย    งามทั้งเกาะ  และงามทั้งทะเลน่าพิศวงงงงวย  เพลิดเพลินด้วยความงามไม่มีที่ใคจะงามเสมอเหมือน

          - ถึงวังดรอตนิงฮอล์ม  (Nrottningholm)  เป็นวังและอุทยานสำหัรบฤดูออทัม    เสวยพระกระยาหารกลางวัน

          .  .  .  เสด็จพระราชดำเนินกลับมายังวังลงสู่เรือกลไฟใช้จักรกลับมายังกรุงสตอกโฮล์ม เวลา  บ่าย  ๕  โมง  ๔๕  นาที  ถึงท่าริดดาฮอลเมนเสด็ขขึ้นจากเรือพระที่นั่งโดยขบวนรถม้ามายังท่า ลอการ์ดหน้าพระราชวังแล้ว  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทูลลาพระเจ้าแผ่นดินกรุงสวีเดนและนอรเวลงสู่เรือ พระที่นั่งวาสะออเด็น  .  .  .  เสด็จพระราชดำเนินขึ้นบนเรือพระที่นั่งมหาจักรี  .  .  .

          ในเวลาเย็นวันนี้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทูลเชิญพระเจ้าแผ่นดินกรุง สวีเดนและนอรเวพร้อมด้วยพระราชโอรสทั้ง  ๔  .  .  .  เสวยพระกระยาหารเย็นในเรือพระที่นั่งมหาจักรี  .  .  .  ในเวลาจะเสด็จจากเรือพระที่นั่งมหาจักรี    พระมหากษัตริย์ทั้ง ๒ พระองค์ทรงกอดรัดจุมพิต  และต่างพระองค์ทรงกอดรัดจุมพิตเจ้านายทั้งสองฝ่าย    ต่างพระองค์แสดงความอาลัยไมตรีอันมีอยู่ในการที่จะต้องนิราศจากกันไปนั้นเป็นอันมาก    

          เมื่อพระเจ้าแผ่นดินกรุงสวีเดนและนอรเวเสด็จพระราชดำเนินลงสู่เรือกลไฟเล็ก แล้ว    เจ้านายข้าราชการและทหารในเรือพระที่นั่งมหาจักรีโห่  ๓  ลา    และให้ยิงปืนใหญ่ส่งเป็นพระเกียรติยศ

          เรือพระที่นั่งทอดรอจนเวลา  ๕  ทุ่มครึ่ง  พอรุ่งสว่าง  (เพราะฤดูนี้มีมัวๆ  แต่ในระหว่าง  ๕  ทุ่มเพียงชั่วโมงเดียว  จะว่าไม่มีกลางคืนก็ได้)    ถอนสมอใช้จักรออกจากท่ากรุงสตอกโฮล์ม    เวลา  ๗  ทุ่ม  มาถึงหว่างเกาะป้อมออสตาร์เฟรเดอริกแบค  ที่ป้อมยิงปืนใหญ่ถวายคำนับ  เรือพระที่นั่งมหาจักรียิงรับ    แล้วที่ป้อมซ้ำยิงส่งอีก  ๒๑  นัด    คลื่นลมสงบตลอดคืน

 

วันที่  ๑๖  กรกฎาคม  รัตนโกสินทรศก  ๑๑๖

          .  .  .  เวลา  ๒  ทุ่ม  เรือพระที่นั่งมาถึงท่าหน้าเมืองเฮอร์นูสานต์  (Hernosand)  
 

          เวลาวันนี้บ้านทั้งหลายในเมืองชักธงสีต่างๆ  และปล่อยโคมลอยมีธงช้างกับธงสวีเดนและนอรเวคู่กันขึ้นถวาย

 

เรือพระที่นั่งมหาจักรีที่ท่าเรือเฮอร์นูสานต์    >

 

          เวลายามครึ่ง  พระอาทิตย์บังเมฆน่าพิศวง    เมฆนั้นเป็นสีขาวเทือกใหญ่เหมือนภูเขา  ตามหลังเมฆเหล่านั้นพระอาทิตย์จับดูเหมือนหนึ่งถ่านเพิ่งลุกพลุ่งโพลงพวย พุ่งขึ้นไปสูงเป็นอันมาก  แสงสว่างตลอดขอบฟ้าที่สว่างนั้นค่อยน้อยลงๆ  ตามลำดับจนถึงเวลา  ๔  ทุ่ม    ตามที่หลังเมฆนั้น  แสงสว่างที่เหมือนถ่านเพลิงนั้นลดลงคงอยู่เสมอจุดโคมรายแต่งบนหลังคา เรือนยาวสุดสายตา    ส่วนท้องฟ้านั้นสีเหมือนผีตากผ้าอ้อมแล้วค่อยๆ  จางลงไปจนเหลืองเหมือนแสทองที่ขึ้นเวลาเช้ามืด    เมื่อหันกลับมาอีกด้านหนึ่ง  เห็นพระจันทร์ขึ้นแสงสว่างอย่างเดือนหงาย แจ่ม  แสงสว่างของพระจันทร์และพระอาทิตย์เจือกันเห็นเป็นแสงสว่างอย่างหนึ่งซึ่ง ยังไม่ได้เคยเห็นเลย    เมื่อเป็นเช่นนี้ไปจนเวลาสอง
ยามเศษ  ค่อยดูสว่างขึ้น    จนเวลา  ๗  ทุ่มก็มีแสงแดด    เวลาที่มืดนั้นยังมีแสงสว่างอ่านหนังสือได้ไม่ต้องอาศัยแสงไฟเลย    คนที่มาดูจอดเรือล้อมเรือพระที่นั่งผลัดเปลี่ยนกันไปมาอยู่จนดึก

 

วันที่  ๑๗  กรกฎาคม  รัตนโกสินทรศก  ๑๑๖

          .  .  .  ครั้นเวลา ๑  ทุ่ม  เรือพระที่นั่งมหาจักรีใช้จักรออกเมืองเฮอร์นูสานต์    มีเรือกลไฟใหญ่น้อยบรรทุกคนพลเมืองเป็นหลายลำกับมีเรือเล็กอีกมากมายนับไม่ ถ้วนมาดูเสด็จพระราชดำเนิน  .  .  .

 

วันที่  ๑๘  กรกฎาคม  รัตนโกสินทรศก  ๑๑๖

          เวลาเช้า  ๕  โมงครึ่ง     พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินจากเรือพระที่นั่งมหาจักรีมา สู่เรือกลไฟสตีมคาเรน  (Stromkarlen)  .  .  .  จากบ้านนิแลนด์  ขึ้นไปตามลำน้ำอองเกอมัน  .  .  .  เวลาบ่าย  ๒  โมง  ๔๐  นาทีเรือ พระที่นั่งสตีมคาเรนมาถึงเมืองสอเลฟเตียว  (Solleftea)   .  .  .  เสด็จฯ ขึ้นจากเรือพระที่นั่ง  ประทับรถสู่ที่ประทับโฮเต็ลอาเปลเบิร์กส  (Appelbergs)

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

เรือกลไฟพระที่นั่งสตีมคาเรน   Steam  Karen    (ซ้าย)

โฮเต็ลอาเปลเบิร์กส  Appelberg  Hotel   ถนนสะตูกอร์ตัน  เมืองสอเลฟเตียว  Solleftea    (ขวา)    
 

 

ที่  ๔๓
 

                                                     สเลฟต์โย    สวิเดนข้างเหนือ

                                                                        วันที่  ๑๘  กรกฎาคม  ร.ศ.  ๑๑๖

ถึงแม่เล็ก,

          ด้วยฉันได้มาถึงที่นี่เวลาบ่าย  ๓  โมง  .  .  .  มีที่เป็นการวิเศษแปลกประหลาดควรเล่านั้น  คือ   พระอาทิตย์พระจันทร์โคมต่างๆ  คือ พระอาทิตย์ตกเวลายามครึ่ง  ตกลงไปหลัง เมฆแลดูเหมือนเขาที่เต็มไปด้วยถ่านไฟที่ลุกเป็นเปลวๆ  ปลาบๆ    ตามที่อื่นก็แดงเป็นผีตากผ้าอ้อมไปหมด  อยู่เช่นนี้ค่อยน้อยลงๆ  จน  ๔  ทุ่มครึ่ง    เหมือนทำโครงไม้เป็นรูปเรือนแล้วจุดไฟซุ้มเฉลิมพระชนม์ พรรษา    จน  ๕  ทุ่มจึงได้หมด  เห็นแต่แสงเหลืองจับขอบฟ้าอยู่ข้างตะวันออก    พอ  ๔  ทุ่ม  เห็นพระจันทร์โผล่ขึ้นมาจืดๆ  จน  ๕  ทุ่มมีแสงออกขาวพระจันทร์ดวงโต    แลมีสีเหมือนเครื่องฉายไฟฟ้า    เวลานั้นฟ้าข้างหนึ่ขาวข้างหนึ่งแดงประสานกันสว่างอ่านหนังสือฤๅสนเข็ม ได้    จน  ๒  ยาม  แดงน้อยลง  มีขาวมากขึ้นๆจน  ๗  ทุ่มข้างตะวันตกนั้นกลับแดงขึ้นมาอีก  แล้วลามมาจนเกือบกลางฟ้า    จน  ๘  ทุ่ม พระอาทิตย์ขึ้นแดดออก    ๓  ยาม  แดดแข็งทีเดียว    เวลากลางวันแดดจัด  แต่พระอาทิตย์มาเวียนอยู่รอบๆ  เรา    บ่าย  ๕  โมงเหมือนบ่าย  ๓  โมง    ของเรา  ๒  ทุ่มเหมือนบ่าย  ๔  โมง  เรื่องที่ว่ามืดนั้นเป็นไม่มีเลย    ในระหว่าง  ๕  เดือนนี้ดูคนไม่เห็นมันหลับมันนอนกัน  .  .  .

ฯลฯ

          ฉันจะต้องย้อนเล่าขึ้นไปถึงเรื่องฉันทำเมาที่สต๊อกโฮม  .  .  .  ความที่รักฉันพูดอะไรเกือบจูบกันทุกที    การเลี้ยงในเรือวันจะกลับเป็นการสนุกรื่นเริงเสียจริงๆ   .  .  .  ได้แก้แทนกรมหลวง  (เทวะวงษ์ฯ) เรื่องหนึ่ง    คือพอมึนกันเข้าทั้งสองข้างเจ้าแผ่นดินถามสวัสดิ์ว่าจะขอถามว่าอ้ายฝรั่งเศส มันข่มขี่โดยไม่เป็นยุติธรรม  ทำไมจึงยอมให้มันข่มเหง    สวัสดิ์ก็ว่า ตัวไม่อยู่เป็นเวลาเดินทางมายุโรป    การที่เป็นไปนั้นเพราะเสนาบดีผู้หนึ่งมีความหวาดหวั่นพรั่นกลัว  ๐ๅถ้าจะว่าเป็นความคิดที่คลั่งขึ้นมาอย่างหนึ่ง  แลอะไรๆ  ต่อไปยืดยาว    เจ้าแผ่นดินก็พลอยพูดพยักเพยิดไปว่ากล่าวต่างๆ    ไม่หันมาทางฉันเลย    ฉันพื้นเต็มที่    พอจบลงเจ้าแผ่นดินดื่มให้สวัสดิ์ว่าเป็นความคิดถูกต้องกัน    ฉันจึงว่า  ขอให้ทรงอนุญาตทูลให้ระลึกสักหน่อย    ฉันเข้าใจว่าท่านเป็นพระเจ้าแผ่นดินมากว่า  ๒๕  ปี  แลทรงทราบราชการทรงพระสติปัญญามาก  คนที่จะพูดเมื่อไม่ต้องรับผิดชอบ  แลคนรับผิดชอบจะพูดนั้นผิดกันมาก    ท่านคงจะรู้สึกบ้างว่า  บางเวลาท่านคงเคยนึกอย่าเช่นที่เราพูดนี้บ้าง    ฮากันทั้งโต๊ะเพราะเพราะเป็นความกินใจอยู่    เลยมาเห็นชอบเห็นดีแลจูบฉันชมว่าไม่ใช่เลวเลย  .  .  .  ครั้นมาดินเนอในเรือยกเอาเรื่องนี้ขึ้นมาพูดอีก    อ้างเอาการที่ฉันเอาลูกไปเที่ยวเรี่ยรายไว้เมืองทั้งปวงจะประชันชนะเมือง แกแลซ้ำอีกว่านานไปจะชนะ  เพราะพวกแกมีที่เสียด้วยเรื่องกินเหล้ามาก เป็นต้น    คนไทยกินเหล้าน้อย    ถ้าเด็ดเอาแต่ความดีไปดังนี้พวกเราจะไม่แพ้อย่างไร    ฉันว่าคำที่รับสั่งนี้ยอเกินไป  ไม่มีท่าทางที่เราจะดีขึ้นไปได้ กว่า     เพราะใช่ว่าเราจะเรียนเอาแต่ความดีไป  เราเรียนความชั่วไป  เช่นกินเหล้าเอาอย่างฝรั่งเหมือนกัน  แต่เมืองร้อนยิ่งร้ายไปกว่าพวกท่านเสียอีก    จึงเลยเป็นหัวเราะกันต่อไป    การโต้ตอบแรงๆ  เช่นนี้มีมากเป็นพื้น  ฉันอดไม่ได้  ทอยเข้าไปบ้างบ่อยๆ    เพราะเหตุนี้  จึงต้องทำเมา    คนเมาด้วยกันจะเอาความอะไรกัน

ฯลฯ

 

 

 

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าจิรประวัติวรเดช  สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ สยามมกุฎราชกุมาร และ สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์  ทรงฉายที่เมืองสอลเลฟเตีย  (Solleftea)

 

 

วันที่  ๑๙  กรกฎาคม  รัตนโกสินทรศก  ๑๑๖

 

 

          เวลาเช้า  ๔  โมงครึ่งเสด็จพระราชดำเนินสู่รถไฟพระที่นั่ง ออกจากเมืองสอเลฟเตียว  (Solleftea)  มาตามที่ริมเนินเป็นป่าสน    ฝั่งขวาลำแม่น้ำอองเกอมันมีบ้านเรียงรายลำน้ำเป็นแก่งใหญ่น้ำตกงามหลายแห่ง   มีไม้สนตัดลอยมามากอย่างไม้ซุงปล่อยลอยในแม่น้ำเมืองเราทางเหนือ    เวลาเที่ยงมาถึงบ้านบิสป์กอเดน  (Bispgarden)    เสวยพระกระยาหารกลาง วัน  ณ  โฮเต็ล    จนเวลาบ่าย  ๑  โมง  เสด็จโดยขบวนรถพระที่นั่งมาตามถนนเนินเขาริมฝั่งแม่น้ำอินดัล  (Indal)  เวลามาตามทางแลเห็นลำแม่น้ำเป็นน้ำหุบโกรกในซอกเขา    สองฟากเป็นที่ไร่ข้าวไร่ผัก  มีบ้านซึ่งปลูกสร้างด้วยไม้สน  ด้วยพื้นที่เหล่านี้มีป่าไม้สนเป็นพื้น    ถนนที่มาเป็นทางกว้างพอรถหลีกกันได้  มีกรวดทรายฝุ่นละอองจัดเวลาบ่าย  ๒  โมง  ๕  นาที    รถพระที่นั่งถึงบ้านอูเต็นเนเด  (Utannede)  ซึ่งเป็นท่าเรือ  .  .  .  เวลาบ่าย  ๔ โมง  ๑๒  นาที  ถึงบ้านลิเดน  (Liden)    อยู่ฝั่งขวาลำน้ำ  เป็นที่เปลี่ยนเรือ
 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 สถานีรถไฟสอเลฟเตียว                                                                                          ทางรถไฟเลียบแม่น้ำฟอร์ส  (Forsse)  

 

 

          คนขนของลงเปลี่ยนเรือ    พอเวลาบ่าย  ๔  โมง  ๔๕  นาทีเสร็จ  เสด็จประทับเรือกลไฟพระที่นั่งลำใหม่  เป็นเรือพุ้ยท้าย  ๒  ชั้น  .  .  .  เวลา  ๑  ทุ่ม  เรือพระที่นั่งถึงบ้านแบระเยฟอเสน  (Bergeforssen)   .  .  .   

          พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทอดพระเนตรแก่งและสะพานพอให้จนจองเปลี่ยนเรือ เสร็จ  แล้วเสด็จลงสู่เรือพระที่นั่งลำใหม่  ชื่อเตอริสะเตน    พอเวลา  ๑  ทุ่ม  ๒๐  นาทีใช้จักรออกจากท่า  .  .  .  เวลา  ๑  ยาม  ๑๕  นาที  เรือพระที่นั่งถึงท่าหน้าเมืองสุนด์สวาลล์  (Sundsvall)     เรือพระที่นั่งมหาจักรีมาทอดสมออยู่ห่างท่าเมืองสุนด์สวาลล์  สัก  ๔๐  เส้น  .  .  .  ประทับแรมในเรือพระที่นั่งมหาจักรี  ณ  อ่าวเมืองสุนด์สวาลล์  ๑  ราตรี
 
 

 

เรือกลไฟพระที่นั่งอินดอเลน   (Indollen)     ที่ท่าเรือแบระเยฟอเสน  (Bergeforssen)

 

 

วันที่  ๒๐  กรกฎาคม  รัตนโกสินทรศก  ๑๑๖

          เวลา  ๕  โมงเช้าเศษ    เสด็จพระราชดำเนินจากเรือพระที่นั่งมหาจักรีโดยเรือกรรเชียงมาขึ้นท่าเมือง สุนด์สวาลล์    ประทับรถไปบ้านเอนเหินนิง    มิสเตอร์เอนเหินนิงจัดตกแต่งบ้าน รับเสด็จ  ยิงปืนถวายคำนับ   พาภรรยากับบุตรหญิงเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท  ทูนเกล้าฯ  ถวายช่อดอกไม้    เสด็จพระราชดำเนินประพาสโรงจักรเลื่อยไม้  ทอดพระเนตรเครื่องจักรเลื่อยไม้    แล้วเสด็จมาประทับเสวยผลไม้และเครื่องดื่ม  ณ  สนามหลังบ้านมิสเตอร์เอนเหินนิง    แล้วเสด็จฯ  โฮเต็ลคะเนาสต์  ในเมืองสุนด์สวาลล์  เสวยพระกรัยาหารกลางวัน    
 

 

 

ขบวนเสด็จพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวที่หน้าโฮเต็ลคะเนาสต์  ในเมืองสุนด์สวาลล์ 

 

          เวลา  บ่าย  ๓  โมง  ๑๐  นาที    เสด็จฯ  ออกจากโฮเต็ลคะเนาสต์ สู่ท่าเรือ    เวลาประมาณบ่าย  ๕  โมง  ๑๕ นาที    เรือพระที่นั่งมหาจักรีใช้จักรออกจากอ่าวหน้าเมืองสุนด์สวาลล์    มีลมจัดคลื่นมาขวางเรือ    เรือแคลงมากเมื่อออกปากอ่าว  .  .  .  คลื่นยังมีจัดมาข้างๆ  เรือพระที่นั่งแคลงมากกว่าที่ได้เคยแคลงมาแต่ก่อน    จนน้ำเข้าดาดฟ้าชั้นล่าง   คนในเรือเมาคลื่นโดยมาก    แต่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเป็นปรกติ    เวลา  ๕  ทุ่มเศษจึงค่อยสงบจนรุ่งสว่าง

 

 

เดนมาร์ค



 




 
 สมเด็จพระราชาธิบดีคริสเตียนที่  ๙   แห่งเดนมาร์ก 
 

สมเด็จพระราชาธิบดีแห่งเดนมาร์ก   ราชวงศ์ ราชวงศ์กลอสเบิร์ก

ครองราชย์  ๑๕  พฤศจิกายน  พ.ศ.๒๔๐๖  ค.ศ.๑๘๖๓  ต่อจาก  สมเด็จพระราชาธิบดีเฟดเดอริคที่ ๗ 
 

พระอัครมเหสี สมเด็จพระราชินีหลุยส์แห่งเฮสส์ - คาสเซิล 
 

พระราชสมภพ  ๘  เมษายน  พ.ศ.๒๓๖๑  ค.ศ.๑๘๑๘

สวรรคต  ๒๙  มกราคม  พ.ศ.๒๔๔๙  ค.ศ.๑๙๐๖ (๘๗  พรรษา)

พระราชบิดา ดยุค ฟรีดริช วิลเฮล์ม แห่ง เชสก์วิก โฮลเลิร์น ซอนเดอร์เบิร์ก กลอสเบิร์ก

พระราชมารดา หลุยส์ แคโรไลน์ แห่ง เฮสส์ - คาสเซิล
 

 

 

 

 

กรุงโคเปนเฮเกน    ประเทศเคนมาร์ก

 

 

ที่  ๔๕
 

                                               เรือมหาจักรี    ปากคลองกิล

                                                                         วันที่  ๒๗  กรกฎาคม  ร.ศ.  ๑๑๖

ถึงแม่เล็ก,

          .  .  .  การที่มาถึงโคเปนเฮเกนนี้อาจจะถึงได้เสียแต่วันที่  ๒๒  แล้ว    ต้องมาจอดรออยู่แต   ๘  ทุ่ม    ต่อเช้าจึงได้เดินกระดิบๆ  มา    เพราะเจ้าแผ่นดินขอให้ถึง  ๔  โมงเช้ามีเรือรบออกมารับเมื่อสว่างลำ หนึ่ง  สลุตแล้วแล่นตามมา  .  .  .  สายหน่อยออกมาอีกลำหนึ่ง  สลุตแล้วแล่นแห่มา  ๒  ลำ    ผ่านป้อมในน้ำมา  ๔  ป้อมๆ  ที่  ๕  หน้าเมืองเป็นที่จีระเคยมาอยู่  มีทหารยืนรายเต็ม    แล้วเลี้ยวเข้าร่องไปทอดที่หน้าท่า    ในทันใดนั้น  เจ้าแผ่นดินแลเจ้านายลงมาคือ  .  .  .  ปรินซ์วัลดิมาคือน้องเฮนรีดอเลียน  ที่ไปเกาะสีชัง  ๑  พอมาถึงก็เป็นคนรู้จักกันมาแล้ว    คนนั้นบอกเช่นนี้  คนนี้บอกเช่นนั้น  .  .  .  เดินดูเรือทั่วถึงแล้วลงเรือขึ้นไปบกด้วยกัน  .  .  .  แล้วไปตรวจทหารแล้วจึงขึ้นรถ  .  .  .

          วันที่  ๒๖  .  .  .  ออกเรือจากโคเปนเฮเกนเวลายามเศษ    ได้เล้ยงพวกที่มาคอยส่งอีกครั้ง    ดื่มถวายเจ้าแผ่นดินด้วย    เขาสลุตกันจนเต็มที่  .  .  .

 

ที่  ๔๖
 

                                               เรือมหาจักรี    ในทะเลเหนือ

                                                               วันที่  ๒๘  กรกฎาคม  ร.ศ.  ๑๑๖

ถึงแม่เล็ก, 

          .  .  .  ความจริงฉันคิดถึงบ้านอยากกลับเต็มที    แต่ฉันไม่ได้มาด้วยความจำใจและไม่ได้มาด้วยความหวังใจที่จะได้ทิพย์สัมผัส  ฤๅทิพย์อมฤตรส    ฉันมาด้วยความมุ่งหมายที่มั่นคง  ไฉนเลยจะอยากด่วนกลับไป  ไม่เก็บผลอันจะพึงได้ให้เต็มห่อเต็มพก    ไฉนเลยฉันจะเพลิดเพลินใจจนไม่อยากกลับไปได้    เพราะความมุ่งหมายมั่นคงอยู่ดังนี้

 

ที่  ๔๘
 

                                                                     เรือมหาจักรี    ในช่องทะเลเกาะอังกฤษ

                                                                 วันที่  ๒๙  กรกฎาคม  ร.ศ.  ๑๑๖

ถึงแม่เล็ก,

ฯลฯ

          .  .  .  ค่ำวันนี้จะถึงตำบลโอเวศเป็นฝั่งเกาะอังกฤษไม่มีอะไร    แต่จะต้องพัก    ถ้าไปอีกก็ถึงปอตเมาท์ในค่ำวันนี้   เพราะกะเวลาเหลือเผื่อหมอกต้องเดินช้าลงมา ๔  น๊อตครั้นไปรออยู่เปล่าๆ  ก็จะถอยหลัง  แล่นเบาๆ  ก็เปลือง  ตกลงเป็นจอดนอนเสียเงียบๆ    รุ่งขึ้นก็ไปให้ถึงเวลาเที่ยงที่ดู๊กออฟยอกจะลงมาทีเดียว

ฯลฯ

 

อังกฤษ






 



              สมเด็จพระราชินีวิกตอเรีย   Queen Victoria of the United Kingdom

 

พระนามแบบเต็ม อเล็กซานดรินา วิกตอเรีย  (๒๔  พฤษภาคม พ.ศ.๒๓๖๒ - ๒๒  มกราคม  พ.ศ.๒๔๔๔)

ทรงเป็นสมเด็จพระราชินีแห่งสหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์ ตั้งแต่วันที่  ๒๐  มิถุนายน  พ.ศ.๒๓๘๐  

และสมเด็จพระจักรพรรดินีแห่งอินเดียพระองค์แรก  ตั้งแต่วันที่  ๑  พฤษภาคม  พ.ศ.๒๔๑๙   จนเสด็จสวรรคต   

รัชกาลของพระองค์ยาวนานถึง  ๖๓ ปี   ๗ เดือน  ๒ วัน ซึ่งยาวนานกว่ารัชกาลใดของพระประมุขอังกฤษพระองค์อื่น

โดยทั่วไปแล้วยุคสมัยที่เกิดขึ้นในรัชกาลของพระองค์เป็นที่รู้จักว่า  "สมัยวิกตอเรีย" (Victorian Era)

 

               ความหวังหนึ่งของไทยที่หวังว่าจะช่วยยับยั้งฝรั่งเศสในการรุกรานประเทศไทย  แต่อังกฤษก็สงวนท่าที และ ปกป้องผลประโยชน์ของตน  และ  .  .  .  พ.ศ.๒๔๓๙    ได้มีการลงนามในสนธิสัญญาระหว่างอังกฤษและฝรั่งเศส  ประกันความเป็นกลางของดินแดนตอนกลางคือลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาของสยาม  (1896 Anglo - French Agreement)  ที่มีส่วนช่วยให้ดินแดนของสยามมีอธิปไตยอยู่ได้   เป็นรูปขวานทอง หรือ  "สุวรรณภูมิ"  อย่างที่เราเห็นในปัจจุบัน

 

ที่  ๔๙
 

                           บักกิงฮัมแปเลส

                                                                 วันที่  ๓๐  กรกฎาคม  ร.ศ.  ๑๑๖

ถึงแม่เล็ก,
 
 
 

 

 

 

 
ดุ๊ก ออฟ ยอร์ค  พระราชโอรสผู้แทนพระองค์พระราชิชีวิคตอเรียรับเสด็จฯ ที่ท่าเรือปอร์ตสมัท  ๗  สิงหาคม  พ.ศ.๒๔๔๐

ภาพจากหนังสือพิมพ์     THE  GRAHIC     SATURDAY,  AUGUST  7, 1897
 

 

ที่  ๕๐
 

                                                                       เวลเบก  แอบบี  เวอกสอบ  เมืองอังกฤษ

                                                                    วันที่  ๘  สิงหาคม  ร.ศ.  ๑๑๖

ถึงแม่เล็ก,

          .  .  .  การรับรองที่นี่นับว่าเป็นอย่างดีของอังกฤษ  ดูผิดกันกับเมืองอื่นมากก็จริง  แต่มันจะซี๊ดกันเต็มทีแล้ว    บรรดาหนังสือพิมพ์ดีหมดทั้งนั้น  มันพูดเพราะมากกว่าที่มันทำ.  .  .  อยู่ในลอนดอนฉันไม่สบาย  มันร้อนเหมือนจะจับไข้แต่ก็ไม่จับ    นอนก็ไม่ใคร่หลับ  ท้องไม่ปรกติ    แต่เดี๋ยวนี้ยังชั่วขึ้น  เมื่อยมาแต่ในเรือ  เพราะเขียนหนังสือมาก  ไม่หายจนเดี๋ยวนี้    อยากกลับไปบ้านเต็มทน    แต่ขออย่าให้หมายว่าจะแล่นกลับไปให้คนขัน  ฤๅเพลิดเพลินใจอันใดเลย

ฯลฯ
 
 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 ดยุค  แห่ง เคมบริดจ์  ผู้แทนสมเด็จพระราชินีวิคตอเรีย  แห่งอังกฤษ  รับเสด็จ ที่สถานีรถไฟวิคตอเรีย  กรุงลอนดอน

ภาพ จากหนังสือพิมพ์   THE  GRAHIC   SATURDAY, AUGUST  7, 1897  (ซ้าย) 

และ THE  ILLUSTRATED  LONDON  NEWS  SATURDAY, AUGUST  7, 1897  (ขวา)
 

 

 

 

 

 
 
 
 
 
 
 
งานสโมสรสันนิบาตที่สถานเอกอัครราชฑูตไทย/กรุงลอนดอน  (ซ้าย)
 
 สมเด็จพระราชินีวิคตอเรีย พระราชทานถวายเลี้ยง  (ขวา)



 

 

 

 

          การเสด็จประพาสอังกฤษ  พ.ศ.๒๔๔๐  นี้    ผมมีพระบรมฉายาลักษณ์ทรงฉายที่พระตำหนักทับโลว์คอร์ท  เมืองเมเดนเฮ็ด  เมื่อวันที่  ๗  สิงหาคม    เชิญครับ  .  .   .
 

 

 
 

 

 

 

 

 
 

 

จากซ้าย    (ตัวเลขในวงเล็บคือพระชนมายุ)  

 เจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพร  (๑๔)    พระองค์เจ้าดิลกนพรัฐ  (๑๓)    เจ้าฟ้าสมมติวงศ์วโรทัย  (๑๕)    เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ  (๑๕)    พระองค์เจ้าวุฒิไชยเฉลิมลาภ  (๑๔)  เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์  (๑๖)    เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ  สยามมกุฎราชกุมาร  (๑๗)    พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์  (๑๗)    พระองค์เจ้าเพ็ญพัฒนพงศ์  (๑๕)    พระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากร  (๑๖)    พระองค์เจ้าจิรประวัติวรเดช  (๒๑)  และ  พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

 

 

 
 

 

 

 

จากซ้าย   ประทับนั่ง      เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์    พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว    พระองค์เจ้าดิลกนพรัฐ     เจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพร

                         ประทับยืน       พระองค์เจ้าเพ็ญพัฒนพงศ์    เจ้าฟ้าสมมติวงศ์วโรทัย    พระองค์เจ้าจิรประวัติวรเดช     พระองค์เจ้าวุฒิไชยเฉลิมลาภ   

 เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ  สยามมกุฎราชกุมาร    พระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากร     พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์     เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ
 
 
 

 

 
 

 

 
 
เยอรมนี


               อยู่คนละขั้วกับฝรั่งเศสอย่างชัดเจน  ชนะสงคราม ฟรังโก - ปรัสเซียน  เมื่อ พ.ศ.๒๔๑๓  และ มีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศไทยในหลายกิจการ


  


 

 
             สมเด็จพระจักรพรรดิวิลเฮล์มที่  ๒  แห่งเยอรมนี     Friedrich Wilhelm  Albert  Viktor  von  Preuten  พ.ศ.๒๔๐๒ - ๒๔๘๔

 

พระชนมายุ     ๒๗  มกราคม พ.ศ.๒๔๐๒ -  ๔  มิถุนายน  พ.ศ.๒๔๘๔  

ทรงเป็นจักรพรรดิพระองค์สุดท้ายแห่งจักรวรรดิเยอรมัน และพระมหากษัตริย์พระองค์สุดท้ายแห่งปรัสเซีย

ทรงดำรงวาระตั้งแต่วันที่  ๒๗  มกราคม  ค.ศ.๑๘๘๘  (พ.ศ.๒๔๓๑) ถึง  ๙ พฤศจิกายน  พ.ศ.๒๔๖๑

 

 

ที่  ๕๑
 

                                                                                        โฮเต็ล  เอสเซแนร์ฮอฟ.  เอสเซน    (แขวง  รือห์ร)

                                                               วันที่  ๔  กันยายน  ร.ศ.  ๑๑๖

ถึงแม่เล็ก,

          .  .  .  มาที่นี่เขารับรองดีด้วยประสงค์จะให้เป็นเกียรติยศบ้าง  ให้เป็นสุขบ้าง  ให้เป็นที่ชื่นชมยินดีในใจบ้าง    แต่มีการกลับทำให้ได้ความเดือดร้อนพื้เสีย  เพราะหมดเวลา  .  .  .

 

ที่  ๕๒
 

               เอสเซน

                                                              วันที่  ๕  กันยายน  ร.ศ.  ๑๑๖

ถึงแม่เล็ก,

ฯลฯ

          การที่เราจะหมายกำลังอุดหนุนจากประเทศอื่นนั้น    ตามที่ฉันเข้าใจชัดจากที่ได้สนทนากันกับเอมเปอเรอออฟรัสเซีย  และเคาน  มูราเวียฟ    หลอดสอลีสบุรี    มิสเตอร์เคอสันเอมเปอเรอออฟเยอรมนี    เห็นว่าไม่มีอะไรที่จะยึดหน่วงยิ่งกว่า    ถ้าถึงจะทำลายเอกราชของเราแล้ว  ท่านเหล่านั้นคงจะเข้าแทรกแซงพูดจา  ไม่เป็นการทำได้ตามสบายใจ    ฤๅถ้าสบเหมาะถึงรบกันก็ได้    เว้นไว้แต่การที่จะถึงเช่นนั้นไม่มี

          นอกจากนี้แล้ว    ความทุกข์ร้อนอันใดของเราที่จะพึ่งปากคนอื่นให้ช่วยพูด  พึ่งความคิดผู้อื่นให้ช่วยคิดนั้น    อย่าได้ฝันเห็นเลยว่า  ใครจะเป็นธุระโดยว่าเขาจะเป็นธุระก็เสียแก่เรา    เราเป็นเมืองเอกราชต้องพูดเองจึงจะสมควร    ถ้าเขาไม่ต้องการเราเป็นโปรเตกชั่นแล้ว  เขาไม่ฮุบเลย

ฯลฯ

          ตัวฉันเองรู้สึกเสียเป็นนิจ  ว่าเป็นสามีฤๅผัวของเมืองไทยที่ได้อยู่กินด้วยกันมาถึง  ๓๐  ปี    เป็นเมียเก่าก่อนแม่เล็กนานแต่เพียงอยู่ด้วยกัน  ๒๐  ปีเศษ  ยังคิดถึงกันเกือบตายนี่เมียเก่าเมียแก่ที่เลี้ยงฉันมา    ฉันอาศัยเมียฉันอยู่เมียฉันกินจะไม่ให้ฉันคิดถึงยิ่งกว่าเมียใหม่อย่างไรได้    นอนใจเต้นนั่งใจเต้นนึกถึงทุกค่ำเช้า  .  .  .

 

 
 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ทรงพระราชปฎิสันถารกับ  บิสมาร์ค ที่ ฟรีดริชส์รูห์   (Friedrichsruh)

 

 

 


 
 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ออทโท ฟอน บิสมาร์ค  Otto  von Bismarck   "อัครเสนาบดีเหล็ก"  "The Iron Chancellor".

(๑  เมษายน พ.ศ.๒๓๕๘  ค.ศ.๑๘๑๕ - ๓๐  กรกฎาคม  พ.ศ.๒๔๓๘  ค.ศ.๑๘๙๘) 
 
 

ออทโท เอดูอาร์ด เลโอโปล ฟอน บิสมาร์ค  (Otto  Eduard Leopold von Bismarck )   เสนาบดีและรัฐบุรุษของปรัสเซีย - เยอรมนี   

อัครเสนาบดีรัฐมนตรีแห่งปรัสเซีย  German Chancellor 1862-1890     เป็นผู้รวมประเทศเยอรมนีกับปรัสเซียเข้าด้วยกัน และสถาปนาจักรวรรดิเยอรมนี
ค.ศ.๑๘๖๗    อัครเสนาบดีแห่งสมาพันธรัฐเยอรมันเหนือ  Chancellor of the North German Confederation

 และในที่สุด  ค.ศ.๑๘๗๑  ได้ดำรงตำแหน่งอัครเสนาบดีแห่งจักรวรรดิเยอรมนี  German Empire  Chancellor

เจ้าของวาทะ    เหล็ก และ เลือด   Blood and Iron Speech

 

 

เนเธอแลนด์



 

-

 

 

 

สมเด็จพระราชินี  เอ็มมาแห่งวัลเด็ค และไพร์มอนต์   ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ 

H.M.  Emma of Waldeck and Pyrmont

สมเด็จพระราชินี วิลเฮลมินา เฮเลนา พอลีน มารี ฟาน ออรันเย - นัสเซา 

H.M.  Wilhelmina Helena Pauline Maria  Orange - Nassau
 
สมเด็จพระราชินีแห่งเนเธอร์แลนด์

 

ราชวงศ์   ออรันเย - นัสเซา    House of Orange-Nassau

ครองราชย์ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2433 - 4 กันยายน พ.ศ. 2491

ระยะครองราชย์ 57 ปี

รัชกาลก่อนหน้า สมเด็จพระราชาธิบดีวิลเล็มที่ 3 แห่งเนเธอร์แลนด์

รัชกาลถัดไป สมเด็จพระราชินียูเลียนาแห่งเนเธอร์แลนด์   H.M. Juliana of the Netherlands

พระราชสมภพ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2423   1880

สวรรคต 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2505   1962  (อายุ 82 ปี)

พระราชบิดา สมเด็จพระราชาธิบดีวิลเล็มที่  ๓  แห่งเนเธอร์แลนด์   H.M.  William III of the Netherlands

พระราชมารดา สมเด็จพระราชินีเอ็มมาแห่งวัลเด็คและไพร์มอนต์   H.M.  Emma of Waldeck and Pyrmont

พระราชสวามี ดยุคเฮนริคแห่งเม็คเล็นบูร์ก-ชเวริน   Duke  Hendrik of Mecklenburg-Schwerin

พระราชโอรส/ธิดา สมเด็จพระราชินียูเลียนาแห่งเนเธอร์แลนด์    H.M. Juliana of the Netherlands

 

หมายเหตุ      เนื่องจาก สมเด็จพระราชาธิบดีวิลเล็มที่  ๓  พระราชบิดา  สวรรคตเมื่อ  ค.ศ.๑๗๘๙     พระราชินี วิลเฮลมินา  เจริญพระชนม์  ๙  พรรษา   พระราชมารดา  คือ  สมเด็จพระราชินี  เอ็มมาแห่งวัลเด็ค และไพร์มอนต์  พระราชมารดาจึงทรงเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์  จน  ค.ศ.๑๘๙๐  (พ.ศ.๒๔๔๑)  (กวีนรีเจนต์)

 

พระฉายาลักษณ์ที่เชิญมาข้างต้นทรงฉายเมื่อพระราชพิธีราชาภิเษกแล้ว      เชิญชม  พระฉายาลักษณ์ในพระราชพิธีราชาภิเษกนะครับ

 

 



 

 

 

ที่  ๕๔
 

                               วังฮอฟลู    บลันดา

                                                                    วันที่   ๗  กันยายน  ร.ศ.  ๑๑๖

ถึงแม่เล็ก,

          ด้วยเวลานี้ฉันมาอยู่ที่นี่    ได้ออกจากพระราชวังหลวงกรุงเฮกมาแต่บ่ายโมงครึ่ง    ถึงนี่บ่าย  ๓  โมง    มาตามทางมีทหารทุกสเตชั่น    กวีนสองคนรับที่กระได  พามากินน้ำชาแล้ว เปลื้องเครื่องเต็มยศ  เที่ยวขับรถกับกวีน  ได้สนทนากันเป็นการสนิทสนมดี    กวีนทั้งสองพระองค์พูดอังกฤษดีนัก    กวีนรีเจนต์อ้วนใหญ่กว่าแม่เล็กสองเท่า  แต่ไม่สูงกว่าฉันมากนักช่าง ตรัสเต็มที่    แต่ไม่ใช่ตรัสแหลกๆ  เหลวๆ  ดูเป็นคนฉลาด  แต่ไม่ใช่นักเลง    เป็นภูมิผู้ใหญ่  ควรแล้วที่พระราชสวามีจะรัก    กวีนเล็กนั้นรูปร่างงามกว่าที่ได้เคยเห็นรูป  ผอมเป็นซวดทรง  แต่ท่าทางก็จะอ้วน    ยิ้มแย้มแจ่มใสเป็นเด็ก  .  .  .
 
 


 

เบลเยี่ยม

 



 

 

พระเจ้าเลโอโปลที่  ๒    พระราชาธิบดีกรุงเบลเยี่ยม

๑๗  ธันวาคม  พ.ศ.๒๔๐๘  ค.ศ.๑๘๖๕ –  ๑๗  ธันวาคม  พ.ศ.๒๔๕๒  ค.ศ.๑๙๐๙     สืบต่อจากพระเจ้า  Leopold I  พระราชบิดา

 

พระราชบิดา    พระเจ้าเลโอโปลที่  ๑   Leopold I

พระราชมารดา    พระราชินีหลุยส์ - มารี     Louise-Marie of France

พระมหสี   อาร์คดัชเชส  มารี  เฮนเรียต     Archduchess Marie Henriette of Austria

พระโอรส  และพระธิดา

          เจ้าหญิงหลุยส์ - มารี              Princess Louise - Marie

          เจ้าชายเลโอโปล           Prince Leopold, Duke of Brabant

          เจ้าหญิงสเตฟานี            Princess Stephanie

          เจ้าหญิงเคลเมนทีน         Princess Clementine
 
 ประสูติ    ๙  เมษายน  พ.ศ.๒๓๗๘   ค.ศ.๑๘๓๕    Brussels, Belgium

สิ้นพระชนม์  ๑๗  ธันวาคม  พ.ศ.๒๔๕๒  ค.ศ.๑๙๐๙    (๗๔  พรรษา)    Laeken/Laken, Belgium

 

 

ที่  ๕๕
 

                                                   พระราชวัง    เมืองบรัสเซล

                                                         วันที่   ๙  กันยายน  ร.ศ.๑๑๖

ถึงแม่เล็ก,

          ด้วยเมื่อเช้าฉันออกจากเมืองเฮกมาถึงที่นี่เวลาบ่าย  ๔  โมง    การรับรองที่นี่ก็คี  มีทหารราบทางตลอดเหมือนที่อิตาลี  .  .  .

          เลี้ยงใหญ่ก็เป็นการเรียบร้อยดี    แต่พูดจาก็เป็นเช่นนั้นอยู่นั่นเอง    พรุ่งนี้เต็มยศยังค่ำไม่มีเวลาว่างเลย    ขอร้องกันก็ไม่ไหว
 

        ผัวที่รักของแม่เล็ก
 


 





 ฝรั่งเศส



 




ประธานาธิบดี  เฟลิกซ์ โฟร์  Felix Faure


๑๗  มกราคม  พ.ศ.๒๔๓๘  (ค.ศ.๑๘๙๕) - ๑๖ กุมภาพันธ์  พ.ศ.๒๔๔๒  (ค.ศ.๑๘๙๙) 
  
 

 



 
 
    ประธานาธิบดี  เฟลิกซ์  โฟร์  แห่งฝรั่งเศส รับเสด็จฯ และนำเสด็จทรงตรวจแถวกองทหารเกียรติยศ

 

ที่  ๕๖
 

                   เมืองปารีส

                                                                       วันที่   ๑๑  กันยายน  ร.ศ.๑๑๖

ถึงแม่เล็ก,

          ด้วยตั้งแต่ฉันออกมาครั้งนี้ยังไม่ได้รับความคับแค้นเดือดร้อนเหมือนอย่าง ครั้งนี้เลย    การที่แม่เล็กรู้สึกหนักในเรื่องที่ฉันจะมาเมืองฝรั่งเศสประการใด    ขอให้เข้าใจว่าฉันหนักกว่าสิบเท่าอยู่แล้ว  เพราะเป็นผู้ที่มาเอง    แต่ครั้นเมื่อมาถึงปารีสเข้า    เขาก็รับรองอย่างแข็งแรง  เปรสิเดนต์ก็ขึ้นรถมาส่งถึงที่อยู่  ซึ่งเป็นการที่เขาไม่ได้ทำให้แก่ผู้ใด  นอกจากเอมเปอเรอรัสเซีย    การที่เขาทำเช่นนี้    ผู้ซึ่งมีสัญญาไม่วิปลาศคงจะเข้าใจได้ว่า  เขาไม่ได้ทำด้วยเกรงกลัวอำนาจเราอย่างใด    ทำด้วยเห็นแก่พระบารมีเอมเปอเรอ   แลด้วยกำลังตื่นรูขนบธรรมเนียมเจ้านาย  เพราะได้เคยไปเห็นการรับรองที่รัสเซียมา    การที่ทำอะไรก็ถ่ายแบบที่นั้นมาทั้งสิ้น    ส่วนการรับรองในเมืองฝรั่งเศสนี้    เรียกได้ว่าดีอย่างยิ่ง    สเตชั่นแต่งหรูหรามาก  ทหารก็มาก  ทั้งในสเตชั่นนอกสเตชั่น  คนแน่นในตอนที่ใกล้สเตชั่น    ถึงโปลิสต้องยืนหันหน้าออก    กางแขนคอยกัน  ร้องวรฟีลิกโฟร์  วีเปรสิเดนต์  วีเฟรัวเดอเสียม  เซ็งแซ่ไป  .  .  .  เปรสิเดนต์ นั้นอยู่ข้างจะเป็นคนรูปร่างงาม  มีสง่า  .  .  .  กิริยาอั๙ฌาสัยภาคภูมิมากจริงอยู่แลแต่ไม่หยาบคาย  ออกตื่นตัวเองมากๆ  .  .  .  การสนทนาทั้งมาตามทาง  แลที่เข้าไปนั่งปิดประตูอยู่ด้วยกันสองคน  ก็เป็นสุนทรกถาแลเรื่องไปรัสเซีย    ข้อที่พูดราชการนั้น    แสดงความยินดีที่ฉันมา  จะได้มีช่องปรึกษาหารือกันระงับการซึ่งพวกฝรั่งเศสซึ่งอยู่ฝ่ายตะวันออก แกล้งกล่าวว่า  เราไม่อยากเป็นไมตรีกับฝรั่งเศส  จะขอให้มีเวลาปรึกษาหารือกัน    ฉันก็รับ    เขาว่าขอให้เข้าใจว่าเมืองฝรั่งเศสไม่เหมือนเมืองอื่น  ต้องปกครองตามใจคนจึงเป็นการยาก  แต่รอดตัวที่เขาเป็นคนมีคนชอบมาก    ฉันก็ว่าฉันดีใจที่ได้มาเปิดความจริงซึ่งมีอยู่ในอกให้เห็นว่าเราอยาก เป็นไมตรีกับฝรั่งเศสเพียงใด    ข้อความอันนี้ฉันก็ได้เปิดไว้กับเอมเปอเรอรัสเซียเสร็จแล้ว       เขาก็รับว่าเอมเปอเรอได้รับสั่งกับเขา    ฉันว่าด้วยฝรั่งเศสมีใจรักแล เชื่อถือเอมเปอเรอๆ  เป็นพยานฉันในข้อนี้  กับทั้งที่ฉันจะได้สำแดงไมตรีต่อมองซิเออร์โฟร์ซึ่งเป็นที่รักของชาวฝรั่งเศส  จะเป็นเหตุให้ความประสงค์ของฉันสำเร็จได้    แกต้องการจีระอยากจะให้มาที่เมืองฝรั่งเศสบ้าง  เพราะเขาไปรัสเซีย    ฉันรับจะหาคนให้เรียนที่ฝรั่งเศส  และพูดถึงลูกโตอย่างดี    แล้วนำเจ้านายข้าราชการมาพบและไปเลี้ยงน้ำชาที่เมีย   เมียกัยลูกสาวนั้นหน้าตาเหลือสติกำลัง  .  .  .  การที่แล้วไปนี้เป็นแต่เริ่มต้น    ยังมีเรื่องที่จะได้ปรึกษากันมีอีกต่อไป

 

วันที่   ๑๒  กันยายน  ร.ศ.๑๑๖

          .  .  .  ไปโฮเต็ลอินวาลิด  เป็นที่ทหารแก่ๆ อยู่  มีที่ฝังศพเอมเปอเรเนโปเลียนโบนาปาตอยู่ด้วย  .  .  .  ออกจากนั้นไปขึ้นเอฟเฟลตาวเวอ  .  .  .  ในเวลานี้หนังสือพิมพ์จะว่าร้ายแรงก็ไม่มี  แต่จะว่าดีก็ไม่ได้    แต่สังเกตดูวันนี้ผู้คนที่มาดูเฉพาะตัวฉันมากขึ้น    ราษฎรที่นี่มันไม่ได้โกรธเรา    ถ้าจะว่าไปฝรั่งเศสมันไม่รู้ความ.  .  .  แต่บ้านเมืองของมันงดงามหาที่ไหนเปรียบไม่ได้แล้ว    สมควรจะเรียกเมืองสวรรค์    ถ้ามาเป็นคนๆ ธรรมดาจะสนุกหาน้อยไม่  การที่จะได้รับเช่นนั้นฤๅไม่แคลงใจ    แต่ถึงไม่ได้รับก็ไม่เสียใจ    ได้กลับบ้านเร็วๆ  แล้วก็เป็นพอ    ต่อให้สบายกว่านี้ร้อยเท่าก็ไม่อยากอยู่
 

                                                                                                                      ผัวที่รักของแม่เล็ก
 
 

 

 

 

 

 

 

เสด็จฯ  ทรงเยี่ยม  Invalides  โรงพยาบาลทหารผ่านศึกพิกาทุพพลภาพ  ในกรุงปารัส

จาก หนังสือพิมพ์   Le Journal illustre    ฉบับวันอาทิตย์ที่  ๒๖  กันยายน  ๑๘๙๗  (พ.ศ.๒๔๔๐)

 

 

 

 

 

 

 

 

 

-

 

 

 

 

 

 

 

  .  .  .  โฮเต็ลอินวาลิด  เป็นที่ทหารแก่ๆ อยู่                                                              มีที่ฝังศพเอมเปอเรเนโปเลียนโบนาปาต 

Invaliddes    (จาก หนังสือพิมพ์  L'Illustration)                                   Tombeau  de  Napoleon    (จาก หนังสือพิมพ์  La Pettit Jounal) 
 

 

 

 

 

 

 

 
 

 

ประธานาธิบดีแห่งฝรั่งเศส นำเสด็จทอดพระเนตรการซ้อมรบ ที่ทุ่ง แซง กองแตง   ซึ่งใช้ทหารถึง  ๖๐,๐๐๐  คน
 
 

 

           ครับ  .  .  .  จากฝรั่งเศสพระราชภารกิจที่ทรง รู้สึกหนักก็ได้ผ่านพ้น   ซึ่งสังเกตได้จากพระราชหัตถเลขาส่วนพรองค์ที่ทอดเวลา  และมิได้ทรงกล่าวถึงราชการ  จึงขอเสนอเพียงสถานที่  และวันที่ทรงเท่านั้น  ดังนี้ครับ

ที่  ๕๗     โฮเต็ลสเตฟานี    เมืองบาเดนบาเดน    วันที่  ๙  ตุลาคม  ร.ศ.๑๑๖

ที่  ๕๘      โฮเตลเดอปารีส   มอนติคาโล    วันที่  ๑๖  ตุลาคม  ร.ศ.๑๑๖

ที่  ๕๙      วังอับดิน    เมืองไคโร    วันที่  ๖  พฤศจิกายน  ร.ศ.๑๑๖

ที่  ๖๐      วังอับดิน    เมืองไคโร    วันที่  ๖  พฤศจิกายน  ร.ศ.๑๑๖

ที่  ๖๑      เรสิเดนซี,  เอเดน    วันที่  ๒๑  พฤศจิกายน  ร.ศ.๑๑๖

 

ที่  ๖๒   

                                   กวีนเฮาส์    โคลัมโบ   

                                                                      วันที่  ๒๙  พฤศจิกายน  ร.ศ.๑๖๖

ถึงแม่เล็ก,

 ฯลฯ

          ฉันจะจดหมายให้ละเอียดก็ไม่ได้    เพราะเรือจะออกในเวลาค่ำวันนี้    เวลาอ่านได้หมดก็บ่าย  ๓  โมงเสียแล้ว    แต่ไม่รู้จะบอกว่าวันถึงเข้าจะโคมประการใด    ฉันไม่เคยประหม่าอันใด เลย    วันนี้พบพระยาเทเวศร์เข้าออกสั่นๆ  จะพูดอะไรก็นึกไม่ใคร่ออก    จึงไม่สามารถเล่าได้ว่าดีใจเพียงใด    หัวใจยังโคม*ๆ  อยู่จนเดี๋ยวนี้

                                                                                                           จำเป็นต้องจบที

                                                                                                                                     ผัวที่รักของแม่เล็ก
          

 

 

 

 

*โคม    มีความหมายตามศัพท์แผลงใช้กันว่า   พูดฤๅทำอะไรไม่กินความกัน  ฤๅไม่เข้ากับเรื่อง  ฤๅพูดหลงไหลไป  ฤๅพูดโดยไม่มีเค้ามูลที่เห็นว่าควรจะพูดอย่างนั้น    แต่แรกใช้กันว่าโคมลอย  .  .  .

 

 



 

 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 วันที่  ๑๖  ธันวาคม  รัตนโกสินทรศก  ๑๑๖   เสด็จฯ  ถึงกรุงเทพพระมหานครฯ
 
รวมระยะเวลาที่เสด็จประพาสยุโรป  ๒๕๓ วัน

 
  

  

 
 


 

 

 

           ครับ  .  .  .  จากสถานการณ์ที่นับว่าร้ายแรงที่สุดในยุครัตนโกสินทร์ ถึงขั้น  "เสียบ้าน เสียเมือง"   และด้วยพระราชดำริ  ".  .  .  เราจะต้องคิดตั้งตัวใหม่จนเต็มกำลังที่จะตั้งได้  ทั้งการบำรุงบ้านเมืองแลการทหาร    ฉันมุ่งหมายใจว่า    บางทีจะเป็นโอกาสจำเป็น  ฤๅจะเป็นการดีแก่บ้านเมืองที่จะออกไปเองเพื่อจะเที่ยวในประเทศยุโรป .  .  ."      ที่พระราชทานแก่พระองค์เจ้าวัฒนานุวงศ์  ลงวันที่  ๑๒  กันยายน  ร.ศ.๑๑๒  นั้น  ก็บรรลุ   และปรากฏผลเป็นที่ประจักษ์ในกาลต่อมาว่า   การเสด็จประพาสยุโรปนี้เป็นผลดีแก่พระราชอาณาจักรสยามเป็นอย่างยิ่ง  ที่ทรงสามารถนำสยามนาวาผ่านพ้นสถานการณ์ที่นับว่าร้ายแรงที่สุดนั้น   ได้อย่างหวุดหวิด 

 

             แต่ถึงกระนี้กระนั้นกระไรก็ตาม    สยามประเทศก็ยังต้องเผชิญและแก้ปัญหาที่เป็นผลสืบเนื่องมาจากวิกฤติการณ์  ร.ศ.๑๑๒  อีกต่อไป    ครับ  .  .  .  ขอเชิญติดตามต่อไปครับ  .  .  .
 

 

พระยอดเมืองขวาง

          ในที่สุด  ทางฝรั่งเศสยอมแลกเปลี่ยนการปล่อยตัวพระยอดมืองขวางให้พ้นโทษก่อนกำหนด  ด้วยข้อกำหนดดังนี้ คือ

          ๑. ให้รัฐบาลไทยยอมรับเรื่องจดทะเบียนคนในบังคับฝรั่งเศสเรื่องเขตแดนหลวงพระ บาง และเขตปลอดทหาร ๒๕ กม. ในฝั่งขวาของแม่น้ำโขง

          ๒. เมื่อปล่อยตัวพระยอดเมืองขวาง ไม่ให้ทำเอิกเกริก และไม่ให้หนังสือพิมพ์ลงข่าวแสดงความยินดีด้วย

          ๓. ขอให้ไทยปล่อยคนในบังคับฝรั่งเศสที่ต้องขังอยู่ภายในวันที่  ๑๕  ตุลาคม  ๒๔๔๑

 

พระมหากรุณาธิคุณปกเกล้าปกกระหม่อมพระยอดเมืองขวาง

 

          ในวันที่  ๖  พฤศจิกายน  ๒๔๔๑  พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีพระบรมราชโองการ โปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ปล่อยตัวพระยอดเมืองขวางออกจากเรือนจำ กองมหันตโทษ    พร้อมกับจัดรถรับส่งพระยอดเมืองขวางกลับไปบ้าน  .  .  . 

          พระยอดเมืองขวางกำลังนุ่งโสร่งรับประทานอาหารอยู่  พอทราบพระบรมราชโองการดังกล่าว   ก็ถึงกับเลิกรับประทานอาหารและเดินออกจากเรือจำมหันตโทษโดยไม่ได้แต่งตัว ใหม่แต่อย่างใด 

          รวมเวลาที่พระยอดเมืองขวางถูกจำคุก  นับแต่มีคำพิพากษาถึงวันปล่อยตัว  ๔ ปี  ๔ เดือน  ๒๔ วัน  

          ทั้งยังทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ  พระราชทานบำนาญให้เป็นพิเศษเดือนละ   ๕๐๐ บาท  แต่ท่านรับพระมหากรุณา อยู่เพียง  ๒ - ๓ ปี   ก็ล้มป่วยและ ถึงแก่กรรม เมื่อ พ.ศ.๒๔๔๓

 

       นับรวมอายุได้  ๕๒  ปี   

 

 

 พระยอดเมืองขวาง (ขำ ยอดเพ็ชร์)               

ถ่ายเมื่อ พ.ศ.๒๔๔๑   หลังออกจากเรือนจำ         


จันทบุรีดินแดนไทย   ไทยไม่ยอมเสีย

           ถึงแม้ว่าไทยได้ปฏิบัติตามคำบังคับต่างๆ ตามที่กำหนดในอนุสัญญาต่อท้ายสัญญาสงบศึก  ลงวันที่  ๓  ตุลาคม  ๒๔๓๖  ครบถ้วนทุกประการแล้วก็ตาม   แต่ฝรั่งเศสก็ยังไม่ยอมออกจากจันทบุรี  จนเวลาล่วงไป ๑๐ ปีกว่าแล้ว  ฝรั่งเศสก็ยังไม่มีทีท่าว่าจะออกไปจากจันทบุรี   ฝ่ายไทยจึงต้องขอแลกเปลี่ยนเมืองมโนไพร และจำปาศักดิ์ให้กับฝรั่งเศส  ทำให้เกิดมีสัญญากับฝรั่งเศสขึ้นอีกสองฉบับ คืออนุสัญญา ลงวันที่ ๗ ตุลาคม   ๒๔๔๕ และอนุสัญญา ลงวันที่ ๑๓ กุมภาพันธ์   ๒๔๔๖

            อนุสัญญาฉบับ ลงวันที่  ๗  ตุลาคม  พ.ศ.๒๔๔๕   มีอยู่ ๑๐ ข้อ   ใจความว่า

                ข้อ ๑  กำหนดพรมแดนระหว่างไทยกับเขมรตอนเหนือ และรวมเอาดินแดนฝั่งขวาแม่น้ำโขงแคว้นหลวงพระบาง

                 ข้อ ๒  ให้ไทยยกเมืองมโนไพร และจำปาศักดิ์ให้ฝรั่งเศส

                ข้อ ๓  ให้ไทยมีได้แต่ทหาร และนายทหารที่เป็นคนไทยในดินแดน ภาคอีสาน

                ข้อ ๔  การสร้างท่าเรือคลอง และทางรถไฟ ในดินแดนภาคอีสาน จะทำได้ด้วยทุนของไทยและโดยคนไทย

                ข้อ ๕,๖ และ ๗ เป็นเรื่องเกี่ยวกับคนในบังคับ

                ข้อ ๘,๙ และ ๑๐ เป็นเรื่องเกี่ยวกับการบังคับใช้และการตีความในสัญญา

            แม้ว่าไทยกับฝรั่งเศสจะได้ทำอนุสัญญาฉบับนี้กันแล้ว แต่ทางรัฐสภาฝรั่งเศสยังไม่ยอมให้สัตยาบัน และฝรั่งเศสก็ยังไม่ยอมออกไปจากจันทบุรี

 

          ดังนั้น    ต่อมาอีกปีเศษจึงได้มีการทำอนุสัญญาฉบับลงวันที่  ๑๓  กุมภาพันธ์  พ.ศ.๒๔๔๖    แก้ไขเพิ่มเติมสัญญาฉบับก่อน มี ๑๖ ข้อ    ใจความว่า

                ข้อ ๑  กำหนดเขตแดนไทยกับเขมรโดยถือเอาภูเขาบรรทัดเป็นหลัก แล้ววกกินดินแดนฝั่งขวาแม่น้ำโขงตรงข้ามปากเซ

                ข้อ ๒  กำหนดเขตแดนทางหลวงพระบาง โดยไทยต้องยกดินแดนฝั่งขวาแม่น้ำโขงตรงหน้าหลวงพระบางให้ฝรั่งเศส

                ข้อ ๓  บัญญัติให้ตั้งข้าหลวงผสมปักปันเขตแดนตามความในข้อ  ๑  และ  ๒ ให้เสร็จภายในสี่เดือน

                ข้อ ๔  ให้รัฐบาลไทยยอมเสียสละอำนาจที่จะเป็นเจ้าของแผ่นดินเมืองหลวงพระบางทางฝั่ง ขวาแม่น้ำโขง แต่อนุญาตให้คนไทยขึ้นล่องในแม่น้ำโขงตอนที่ตกเป็นของฝรั่งเศสตอนนั้นได้ สะดวก

                ข้อ ๕  เมื่อได้ทำการปักปัน และตกลงกันตามความข้างต้นนั้นเสร็จสิ้นแล้ว ฝรั่งเศสรับว่าจะออกไปจากจันทบุรีทันที

                ข้อ ๖  ทหารของประเทศไทยที่จะประจำดินแดนภาคอีสานต้องเป็นชาติไทยทั้งหมด ส่วนตำรวจนั้นให้นายตำรวจเป็นชาติเดนมาร์ค แต่ถ้าจะเปลี่ยนเป็นชาติอื่นต้องให้
ฝรั่งเศสตกลงด้วยก่อน ส่วนตำรวจที่รักษาพระตะบอง เสียมราฐ และศรีโสภณนั้น ต้องเป็นคนพื้นเมืองนั้นทั้งสิ้น

                ข้อ ๗  การทำท่าเรือ คลอง ทางรถไฟในดินแดนภาคอีสาน ต้องทำด้วยทุนและแรงงานของไทย ถ้าทำไม่ได้ต้องปรึกษาฝรั่งเศส

                ข้อ ๘  ไทยจะต้องให้ฝรั่งเศสเช่าที่ทำท่าเรือที่เชียงคาน หนองคาย ชัยบุรี ปากน้ำก่ำ มุกดาหาร เขมราฐ และปากน้ำมูล

                ข้อ ๙  ไทยกับฝรั่งเศสจะต้องร่วมมือกันสร้างทางรถไฟจากพนมเปญถึง พระตะบอง

                ข้อ ๑๐  และข้อ ๑๑  บัญญัติวิธีการจดทะเบียนคนในบังคับของฝรั่งเศส

                ข้อ ๑๒  และ ข้อ ๑๓  ว่าด้วย อำนาจศาล

                ข้อ ๑๔  ข้อ ๑๕  และข้อ ๑๖  เป็นเรื่องเกี่ยวกับการบังคับใช้และการตีความในสัญญา

 

พ.ศ.๒๔๔๗   มหามาร  ยึดสยาม  แบ่งสรรปันประโยชน์   The Entente - cordiale  1904  

          วันที่  ๘  เมษายน  พ.ศ.๒๔๔๗  ค.ศ.๑๙๐๔    อังกฤษ  และฝรั่งเศสได้ลงนามในข้อตกลง  The Entente - cordiale  1904   (Anglo-French Entente 1904)     ซึ่งตกลงประสานการจัดการขยายอาณานิคมอย่างสันติแทนการแย่งชิงและขัดแย้งกันใน  ๓  พื้นที่   คือ    ได้แก่พื้นที่อียิปต์  และมอรอคโค      พื้นที่นิวฟาวนด์แลนด์  และบางส่วนของอาฟริกากลาง และอาฟริกาตะวันตก    และพื้นที่ประเทศไทย  มาดากาสการ์  และ หมู่เกาะวานนูอาตู    Madagascar  Vanuatu

          สำหรับประเทศไทย   

          ฝรั่งเศสจะมีอิทธิพลในพื้นที่ด้านตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา    ในทำนองเดียวกัน 

          อังกฤษจะมีอิทธิพลในพื้นที่ด้านตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา 

          ฝรั่งเศสและอังกฤษตกลงร่วมกันว่าจะไม่ผนวกสยามเป็นเมืองขึ้นแต่จะเพียงแค่มีอิทธิพลในดินแดนนี้เท่านั้น

          นับว่าเป็นความร่วมมือกันครอบครองดินแดนสยามดังเป็นอาณานิคม  และแบ่งสรรประโยชน์กัน

 Entente - cordiale  Dancing   

 

 

          ฝรั่งเศส ยังไม่ยอมออกจากเมืองจันทบุรี   โดยอ้างว่าไทยต้องปฏิบัติตามข้อตกลง  (Agreement) ลงวันที่  ๒๙  มิถุนายน   พ.ศ.๒๔๔๗   เกี่ยวกับการปักปันเขตแดนใหม่ให้เสร็จสิ้นเสียก่อน

 

 โคตรโกง   คายจันทบุรี   คาบตราด เกาะกงแทน

          ในที่สุด ฝรั่งเศสได้ถอนทหารออกจากจันทบุรีหมดเมื่อวันที่  ๘  มกราคม  ๒๔๔๗   แต่ไทยก็ต้องยอมยกดินแดนฝั่งขวาแม่น้ำโขงตรงข้ามเมืองหลวงพระบาง เมืองมโนไพร  และจำปาศักดิ์  ให้ฝรั่งเศส

          ถึงกระนั้น  ฝรั่งเศสก็ยังใช้ความโกงส่งทหารเข้ายึดตราด และเกาะกง  (เมืองประจันตคีรีเขตร)  ไว้อีก

 

๙  มกราคม  ๒๔๔๗     งานพิธีฉลองเมืองจันทบุรี

         วันที่  ๙  มกราคม  พ.ศ.๒๔๔๗    พระยาศรีสหเทพปลัดทูลฉลองมหาดไทยได้ออกเดินทางจากจังหวัดสมุทรปราการพร้อม ด้วยเรือจำเริญ  บรรทุกทหารเรือ  ๑  กองร้อย  เดินทางไปฉลองเมืองจันทบุรี    ในโอกาสที่ทหารฝรั่งเศสได้ถอนกำลังออกไปแล้ว

           งานพิธีฉลองเมืองจันทบุรีได้จัดทำที่ค่ายทหาร    มีการตั้งเสาธงสูง  ๑๓  วา    ที่กลางค่ายปลูกโรงพิธี    โรงเลี้ยง    โรงการเล่น    มีงิ้ว    หุ่นจีน    ละคร   ลิเก    ในเวลากลางคืนมีการจุดโคมไฟ  สว่างไสวตามค่ายทหาร    และตามบ้านเรือนราษฎรทั่วไป

          ตอนเย็นมีการนิมนต์พระสงฆ์มาเจริญพระพุทธมนต์

          เสร็จแล้วมีการเลี้ยงใหญ่    ไวซ์กงสุลฝรั่งเศสและภรรยาก็มาร่วมงานด้วย    มีผู้มาร่วมงานประมาณ  ๒,๐๐๐  คน    เป็นที่รื่นเริงกันมาก

          วันที่  ๑๔  มกราคม   

              ตอนเช้า  ถวายอาหารบิณฑบาตร  และเครื่องไทยธรรมแก่พระสงฆ์

              เวลา  ๐๙.๐๐  น.    พระยาศรีสหเทพพร้อมด้วยผู้ว่าราชการเมือง  กรมการ  กำนัน  ผู้ใหญ่บ้าน  พ่อค้า  และประชาชนมาประชุมพร้อมกันหน้าเสาธง

                                            พระยาศรีสหเทพอ่านประกาศ  และคำถวายพระพรชัยมงคล
                      
                                            เสร็จแล้วชักธงมหาราชขึ้น สู่ยอดเสา   ดนตรีบรรเลงเพลงสรรเสริญพระบารมี    เรือรบที่จอดอยู่ปากน้ำแหลมสิงห์ยิงสลุต  ๒๑  นัด 

 


           ครับ  .  .  .  ในที่สุดเราก็ได้เมืองจันทบุรีกลับคืน   แต่ฝรั่งเศสก็อ้างนาประการส่งกำลังเข้ายึดเมืองตราด  และเมืองประจันตคีรีเขตร  หรือเกาะกงไว้มีเหตุให้ต้องเสด็จประพาสยุโรปอีก    ครับ  ก็ขอเชิญติดตามการเสด็จประพาสยุโรปครั้งต่อไปในตอนต่อไปครับ  .  .  .  เสด็จประพาสยุโรป  ร.ศ.๑๒๖ 

 

ตอนต่อไป   .  .  .  เสด็จประพาสยุโรป  ร.ศ.๑๒๖ 

ตอนต่อไป   .  .  .  เสด็จประพาสยุโรป  ร.ศ.๑๒๖

ตอนต่อไป   .  .  .  เสด็จประพาสยุโรป  ร.ศ.๑๒๖

 

 

 

บรรณานุกรม

          - พระราชหัตถเลขาส่วนพระองค์สมเด็จพระรามาธิบดี  ศรีสินทรมหาจุฬาลงกรณ์  พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชทานแด่สมเด็จพระศรีพัชรินทรา  บรมราชีนีนาถ  พระบรมราชชนนี    ในเวลาที่ทรงสำเร็จราชการแผ่นดินต่างพระองค์  เมื่อเสด็จพระราชดำเนินประพาศยุโรป  พ.ศ.๒๔๔๐    สำนักพิมพ์เขษมบรรณกิจ    โรงพิมพ์  เฟื่องอักษร  ถนนเฟื่องนคร    พระนคร  พ.ศ.๒๕๐๔

         - จดหมายเหตุพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จประพาสประเทศสวีเดน และนอรเว  รัตนโกสินทรศก  ๑๑๖    สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ,  กระทรวงศึกษาธิการ    โรงพิมพ์การศาสนา  กรมการศาสนา    กรุงเทพฯ  พ.ศ.๒๕๔๒

          - พระบรมราชานุสรณ์  รัชกาลที่  ๕  ประเทศสวีเดน   ISBN    974-7500-94-9 

 




บทความจากสมาชิก




แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.
| WW II Europe | WW II Asia | WW I | Vietnam War | ประวัติศาสตร์ไทย | บทความจากสมาชิก | คุยกันหลังฉาก | บทความทั้งหมด |

สนใจร่วมเขียนบทความในเว็บไซต์ เชิญอ่าน แนวทางการร่วมเขียนบทความ ภาพยนตร์ประวัติศาสตร์

Custom Search



eXTReMe Tracker