dot
dot
เว็บภาพยนตร์ประวัติศาสตร์ ยินดีต้อนรับผู้สนใจทุกท่าน
dot
dot
สมาชิก Webboard/Blog
ชื่อผู้ใช้ :
รหัสผ่าน :
เข้าสู่ระบบอัตโนมัติ :
bullet ลืมรหัสผ่าน
dot
bulletข้อตกลงการเป็นสมาชิก
bulletเว็บบอร์ด-คุยกันหลังฉาก
bulletเว็บบอร์ด-Games ย้อนยุค
bulletเว็บบอร์ด-ชุดจำลองประวัติศาสตร์
bulletเว็บบอร์ด-หนังสือประวัติศาสตร์
bulletเว็บบอร์ด-เพลงประวัติศาสตร์
bulletคำถาม/คำตอบ ล่าสุด
bulletแนวทางการร่วมเขียนบทความ
dot
สงครามโลกครั้งที่ 2
dot
bulletสมรภูมิยุโรป (สัมพันธมิตรVSเยอรมัน-อิตาลี)
bulletสมรภูมิแปซิฟิก-เอเชีย (สัมพันธมิตรVSญี่ปุ่น)
dot
ภาพยนตร์ประวัติศาสตร์อื่นๆ
dot
bulletสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง
bulletประวัติศาสตร์ไทย
bulletประวัติศาสตร์อเมริกันยุคเริ่มแรก
bulletสงครามเวียดนามและอินโดจีน
bulletตะวันตกโบราณ (กรีก โรมัน ฯลฯ)
bulletประวัติศาสตร์ร่วมสมัย
bulletเอเชียโบราณ
bulletประวัติศาสตร์อื่นๆ (ยังไม่แยกหมวดหมู่)
bulletคลิปความรู้จาก YouTube
dot
บทความโดย วิวันดา
dot
bulletฮิตเล่อร์...และเหล่าขุนพลแห่งอาณาจักรไรค์ซที่สาม
bulletลอดลายรั้ว.....วินด์เซอร์
bulletเลิศเลอวงศา...โรมานอฟ
bulletเชลย
bulletซูคอฟ...ยอดขุนพลผู้ดับฝันของฮิตเล่อร์
dot
บทความโดย สัมพันธ์
dot
bulletคนไทยในกองทัพพระราชอาณาจักรลาว
bulletประวัติศาสตร์สงคราม กรีก
bulletกรณีพิพาทอินโดจีนและสงครามมหาเอเชียบูรพา
bulletอยุธยายศล่มแล้ว ลอยสวรรค์ ลงฤา
bulletฮานนิบาล
bulletพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบรมวงศานุวงศ์
bulletไทยกับมหาสงคราม
bulletสงครามเวียดนาม
bulletห้วยโก๋น ๒๕๑๘
bulletการทัพในมลายา
bulletประวัติศาสตร์อื่น ๆ
dot
เรื่องอื่นๆ
dot
bulletบทความเสริมความรู้ทั่วไป
bulletเกร็ดเล็กเกร็ดน้อย
bulletผู้จัดทำ
bulletผังเว็บไซต์ (Site Map)
bulletแนวทางการร่วมเขียนบทความ
bulletถาม-ตอบ (FAQs) (โปรดอ่านก่อนตั้งกระทู้หรือสมัครสมาชิก)
bulletร้านค้าออนไลน์
bulletแบ่งปัน Album
dot
ลิงค์ต่างๆ
dot
bulletHistory on Film
bulletกองบิน 21 กองพลบิน 2
bulletIELTS British Council
bulletIELTS IDP
bulletMUIC




โหราศาสตร์ยุคไอที



พลเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากร กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน (๑)

*  *  *

 

 

 

 

 พลเอก   พระเจ้าบรมวงศ์เธอ  กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน
 
ทรงเป็นพระราชโอรสองค์ ที่  ๓๕
ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว กับเจ้าจอมมารดาวาด
 
 
 
 
 
 
 
 
 
เจ้าจอมมารดาวาด
 
 
 
 ประสูติ - ทรงพระเยาว์
 
ประสูติในพระบรมมหาราชวัง   เมื่อ  วันที่  ๒๓  มกราคม  ๒๔๒๔     ตรงกับ  วันจันทร์  ขึ้น  ๔  ค่ำ  เดือน  ๓  ปีมะเส็ง  ทรงพระนามว่า
 
"พระเจ้าลูกเธอ   พระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากร"
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
เมื่อทรงพระเยาว์ได้ทรงศีกษาที่โรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ  ในพระบรมมหาราชวัง
  
 
 
พ.ศ.๒๔๓๐  เริ่มกิจการรถไฟ
 
           พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงเริ่มกิจการรถไฟแล้ว  กล่าวคือ
 
 
 
          พ.ศ.๒๔๓๐   ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ เซอร์  แอนดรู คลาก และ บริษัท  ปันชาร์ด แมกทักการ์ด โลเธอร์ ดำเนินการสำรวจเพื่อสร้างทางรถไฟจาก กรุงเทพฯ - เชียงใหม่  และมีทางแยกตั้งแต่เมืองสระบุรี - เมืองนครราชสีมาสายหนึ่ง   จากเมืองอุตรดิตถ์ - ตำบลท่าเดื่อริมฝั่งแม่น้ำโขงสายหนึ่ง   และจากเมืองเชียงใหม่ไปยังเชียงราย - เชียงแสนหลวงอีกสายหนึ่ง  โดยทำการสำรวจให้แล้วเสร็จเป็นตอน ๆ รวม ๘ ตอน   ในราคาค่าจ้างโดยเฉลี่ยไม่เกินไมล์ละ ๑๐๐ ปอนด์   ทั้งสองฝ่ายลงนามในสัญญา  เมื่อวันที่  ๑๖   มีนาคม   ๒๔๓๐
 
          พ.ศ.๒๔๓๓  ได้มีพระราชโองการโปรดเกล้าฯ ประกาศให้เริ่มสร้างทางรถไฟในประเทศไทยขึ้น  
 
          พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานพระบรมราชานุมัติให้กระทรวงโยธาธิการว่าจ้าง มิสเตอร์ จี. มูเร แคมป์เบลล์ สร้างทางรถไฟหลวงจากกรุงเทพ ถึงนครราชสีมา เป็นสายแรก ขนาดทางกว้าง  ๑.๔๓๕  เมตร  
 
          วันที่   ๙  มีนาคม   ๒๔๓๔  พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พร้อมด้วยสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชสยามกุฎราชกุมารได้เสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธีเริ่มก่อสร้างทางรถไฟ   ณ บริเวณย่านสถานีกรุงเทพ   โดยทรงหลั่งน้ำบนแผ่นดิน แล้วทรงใช้เสียมเงินขนาดเล็กตักดินเทลงในเกวียนเงินขนาดเล็กเป็นพระฤกษ์
 
 
 
เสียมเงิน  แลพเกวียนเงินขนาดเล็ก  > 
 
 
 
กรกฎาคม  ๒๔๓๖    เกิดวิกฤติการณ์  ร.ศ.๑๑๒
 
 
 
ทรงศึกษาในทวีปยุโรป - วิศวกรรมศาสตร์
 
          วันที่  ๓๑  มีนาคม   ๒๔๓๗   พระเจ้าลูกเธอ   พระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากรได้เสด็จไปทรงศึกษาในทวีปยุโรป  พร้อมกับพระเจ้าลูกยาเธอ  เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์  และหม่อมเจ้า อีก   ๓ พระองค์  ประทับ  ณ กรุงลอนดอนชั่วระยะหนึ่ง  จึงเสด็จไปกรุงปารีส   ประเทศฝรั่งเศส  เพื่อทรงศึกษาภาษาฝรั่งเศส  จนกระทั่ง  วันที่  ๒๓  กันยายน  ๒๔๓๘  จึงเสด็จกลับไปประเทศอังกฤษ   ทรงเข้าศึกษาใน โรงเรียนแฮร์โรว์  วันที่  ๒๗  มีนาคม  ๒๔๔๐   
 
          เมื่อสำเร็จการศึกษาที่แฮร์โรว์แล้ว   ทรงรับศึกษาในวิชาวิศวกรรมศาสตร์  ที่ ทรินิตี้คอลเลจ  มหาวิทยาลัยเคมบริจด์ ประเทศอังกฤษ   ซึ่งการที่ทรงศึกษาในวิชานี้น่าจะเป็นไปตามพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
 
 
วางราง - ผาเสด็จ - ดงพญาไฟ เป็น ดงพญาเย็น
 
        บริษัทที่รับเหมาสร้างทางรถไฟดำเนินการ ตามปกติ   จากกรุงเทพฯ - อยุธยา - สระบุรี  ซึ่งเป็นพื้นที่ราบพื้นที่ราบ   
 
          ใน พ.ศ.๒๔๓๘  การก่อสร้างได้ดำเนินมาจนถึง"ดงพญาไฟ" ซึ่งเป็นภูเขาและป่าทึบ    คนงานส่วนมากซึ่งเป็นคนจีน  และชาวอีสานที่มารับจ้างทำงานขุดดิน พูนทาง และระเบิดภูเขา ต่างเจ็บป่วยเจ็บป่วยเป็นไข้ป่า และ ล้มตายเป็นจำนวนมาก   แม้แต่วิศวกรชาวเดนมาร์กที่มาคุมงานตอนหนึ่ง ชื่อนายราเบค ก็เสียชีวิตเนื่องจากเป็นไข้ป่า   ศพยังได้ฝังไว้ที่หน้าสถานีมวกเหล็กตราบเท่าทุกวันนี้
 
          ความทราบฝ่าละอองธุลีพระบาท พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรงพระกรุณาเสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วย สมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระบรมราชินี โดยรถไฟพระที่นั่งเพื่อทอดพระเนตรการก่อสร้างทางรถไฟสายนี้  ในวันที่  ๑๔  พฤศจิกายน  พ.ศ.๒๔๓๘    เมื่อรถไฟพระที่นั่งไปจนสุดทางที่ก่อสร้างที่ตำบลหินลับแล้ว  ได้เสด็จพระราชดำเนินต่อไปตามทางที่ยังไม่ได้วางรางจนถึงศิลาใหญ่อยู่ริมทางรถไฟ ซึ่งยื่นล้ำเข้ามาในแนวที่จะวางราง  จึงทรงจารึกอักษรพระปรมาภิไธยย่อ จปร  และ  สผ  กับปีรัตนโกสินทร์ศก  ๑๑๕      ต่อมา   ได้เรียกขานศิลาใหญ่ที่จารึกพระปรมาภิไธยนี้ว่า  
ผาเสด็จ
 
 และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนชื่อป่าผืนใหญ่ระหว่าง เมืองสระบุรี กับ นครราชสีมา จาก "ดงพญาไฟ" เป็น "ดงพญาเย็น”  ตั้งแต่นั้นมาจนทุกวันนี้
 
 
         และด้วยพระบารมี ความเจ็บไข้ได้ป่วยต่างๆ ก็บรรเทาเบาบางลง คงมีบ้างเล็กน้อยเป็นธรรมดา   แต่การก่อสร้างไม่รุดหน้าไปเท่าที่ควร    จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เลิกจ้าง และให้จ่ายเงินค่าทำขวัญและค่าเสียหายกับผู้รับเหมาเดิมนั้น   แล้วให้กรมรถไฟดำเนินการสร้างเอง โดยได้รับโอนพนักงานชาวอังกฤษที่ทำงานอยู่เดิมและสมัครใจทำงานร่วมกับชาวเยอรมันให้ทำงานต่อไป และได้ค่าจ้างเพิ่มขึ้น โดยมี นายเบทเค เจ้ากรมรถไฟคนแรก เป็นผู้ดูแลรับผิดชอบ งานก่อสร้างก็ได้ดำเนินมาด้วยดี 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 ผาเสด็จ
 
 
 
 
๒๖  มีนาคม  ๒๔๓๙  เริ่มเดินรถไฟหลวง
 
          ใน พ.ศ.๒๔๓๙ การก่อสร้างได้สำเร็จลงบางส่วนพอที่จะเปิดการเดินรถได้   พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้า เสาวภาผ่องศรี พระบรมราชินี เสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพระราชพิธีเปิดการเดินรถไฟหลวงสายแรก ในพระราชอาณาจักร   เมื่อวันที่   ๒๖ มีนาคม   ๒๔๓๙    
 
รถจักรไอน้ำ โฟร์ วีลเลอร์   (ดับส์) ๒ - ๔ - ๐    ทำขบวนรถไฟพระที่นั่ง จากสถานีกรุงเทพฯ - อยุธยา ระยะทาง  ๗๒ กม.
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
รถจักรไอน้ำ โฟร์ วีลเลอร์   (ดับส์)   ๒ - ๔ - ๐
 
 
 
 
 
 
 
 
รถไฟขึ้นบันไดม้า
 
 
           พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จพระราชดำเนินไปทอดพระเนตรการก่อสร้าง อีกครั้งหนึ่ง  เมื่อวันที่  ๒๑   ธันวาคม  ๒๔๔๑   ซึ่งการก่อสร้างดำเนินไปถึงปลายราง กม.๑๗๐   ระหว่างสถานีปางอโศก      กับ สถานีบันไดม้า
 
          ต่อมา กรมรถไฟได้จัดก่อสร้างศิลาจารึกเป็นอนุสรณ์    และจารึกข้อความไว้ดังนี้…
 
 
 
ที่หมายในการที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทอดพระเนตรปลายทางรางรถไฟทำถึงที่นี้ เมื่อวันที่ ๒๑ ธันวาคม รัตนโกสินทร์ศก ๑๑๗
 
 
          และเมื่อการก่อสร้างใกล้จะถึงนครราชสีมา จึงได้เสด็จไปทอดพระเนตรอีกครั้ง เมื่อปลายรางถึง กม.ที่ ๒๒๕ - ๒๒๖   ระหว่างสถานีสีคิ้ว กับ สถานีโคกสะอาด  อำเภอจันทึก   เมื่อวันที่  ๑๑   มกราคม   ๒๔๔๒    และกรมรถไฟก็ได้จัดการก่อศิลาที่ระลึกจารึกข้อความไว้เช่นเดียวกับเมื่อเสด็จครั้งก่อน
 
 
 
 
สายตะวันออกเฉียงเหนือถึงนครราชสีมา
 
           พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดทางรถไฟถึงนครราชสีมาเมื่อวันที่   ๒๑  ธันวาคม   พ.ศ. ๒๔๔๓
 
 
สายเหนือเริ่มเดินถึงลพบุรี  
 
 
           ๑  เมษายน  ๒๔๔๔     เปิดเดินรถไฟสายเหนือจากสถานีชุมทางบ้านภาชี ถึง สถานีลพบุรี ระยะทาง  ๕๓  กิโลเมตร
 
 
 
วิศวกร - ทหารช่าง - เสด็จกลับ - ทรงรับราชการ 
 
                หลังจากสำเร็จการศึกษาที่ทรินิตี้คอลเลจแล้ว  พระเจ้าลูกเธอ   พระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากร  ทรงเข้ารับการศึกษาวิชาทหารช่างที่แซทแฮม  ทรงสำเร็จตามหลักสูตร เป็นนายร้อยตรีทหารช่าง   เมื่อ วันที่  ๖  พฤศจิกายน   ๒๔๔๕ 
 
                    จากนั้นเสด็จไปทรงศึกษาต่อที่ประเทศฝรั่งเศส   แล้วเสด็จกลับมาศึกษาที่ประเทศอังกฤษอีก จนได้เป็น    MEMBER  INSTITUTE  OF  CIVIL  ENGINEERS   ของอังกฤษ ใน พ.ศ.๒๔๔๗    แล้วจึงเสด็จกลับประเทศไทย
 
ฯลฯ
 
. . . เมื่อเสด็จกลับ   ได้เข้าประจำการอยู่ในกรมเสนาธิการทหารบก     นอกจากนี้    ยังได้รับหน้าที่เป็นอาจารย์สอนวิชาทหารช่างแก่นักเรียนนายร้อยทหารบก   ต่อมาภายหลัง  ได้ทรงรับหน้าที่จัดวางโครงการณ์ทหารช่างให้เรียบร้อยดีขึ้น    ทั้งนี้  พึงนับว่าเป็นการเปิดโอกาสสำคัญครั้งแรกให้แก่พระองค์   และพระองค์ก็ได้ทรงปฏิบัติหน้าที่ราชการที่มอบหมาย  ให้เป็นผลสำเร็จด้วยดี  . . .
 
ฯลฯ
 
(จาก . . . หนังสือ  เพิ่อระฤกพระคุณ  พระเจ้าบรมวงศ์เธอ   กรมพระกำแพงเพ็ชรอัครโยธิน   โรงพิมพ์กรมรถไฟ  ๑๐.๗๙.)
                     
                
ทางรถไฟสายใต้
 
 
          เมื่อการสร้างทางรถไฟสายเหนือดำเนินไปถึงลพบุรีแล้ว  พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงหระกรุณาให้เริ่มสร้างทางสายใต้    และ  สถานีรถไฟหลวงบางกอกน้อย  ที่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา  ปากคลองบางกอกน้อย  ใน พ.ศ.๒๔๔๔    ลักษณะสถานี เป็นทรงบ้านชั้นเดียว มีไม้ทำรั้วกั้นล้อมรอบ 
 
 
 
          การเดินรถขั้นแรก  ถึง เพชรบุรี   สามารถเปิดเดินรถได้เมื่อ  วันที่  ๑  เมษายน  ๒๔๔๖      
 
          วันที่  ๑๙  มิถุนายน  ๒๔๔๖    ทรงประกอบพิธีเปิด สถานีรถไฟหลวงบางกอกน้อย
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
(ซ้าย)    โคลัมเบีย  (เคราส์ส)  ที่สถานีราชบุรี   
คราวที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินทรงเปิด สถานีราชบุรี และ สะพานราชบุรี ข้ามแม่น้ำแม่กลอง  ที่เมืองราชบุรี    เมื่อวันที่  ๑๙  มิถุนายน  ๒๔๔๖    
ในภาพทางขวามือคือ พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าอุรุพงศ์รัชสมโภชตามเสด็จด้วย 
 
 (ขวา)    สะพานราชบุรี  เมื่อแรกเปิด  ต่อมาได้รับพระราชทานชื่อ "สะพานจุฬาลงกรณ์"
 
 
 
 
    
 
 
 
สถานีราชบุรีเป็นที่เติมน้ำ  เติมฟืน  มีบ่อวงเวียนกลับรถจักร เพราะเป็นปลายทางรถขบวน ธนบุรี – ราชบุรี แต่เดิม
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
พระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากร กับ เจ้าจอมมารดาวาด
 
พระรูปทรงฉายเมื่อครั้งเสด็จกลับจากทรงศึกษาในยุโรป พ.ศ.๒๔๔๗
 
 
 
 
๑๐   พฤศจิกายน  ๒๔๔๗        ได้รับพระราชทานยศ    นายพันตรีทหารช่าง
 
๑๘   มกราคม   ๒๔๔๗        ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์  มหาจักรีบรมราชวงศ์
 
๒๐    กันยายน    ๒๔๔๘     ได้รับพระราชทานเหรียญดุษฎีมาลา  เข็มศิลปวิทยา
 
 
๓๑   ตุลาคม  ๒๔๔๘    เปิดการเดินรถจากสถานีลพบุรี ถึง สถานีปากน้ำโพ ระยะทาง   ๑๑๗  กิโลเมตร
 
 
๑๖   พฤศจิกายน   ๒๔๔๘     ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ปฐมจุลจอมเกล้าวิเศษ 
 
๑๙   กันยายน   ๒๔๔๙     ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์  ปฐมาภรณ์มงกุฎสยาม   
 
 
 
จเรทหารช่าง           
 
 
          ๒๑  กันยายน  ๒๔๔๙   ได้รับพระราชทานยศเป็น  นายพันเอก   และทรงดำรงตำแหน่ง  จเรทหารช่าง
 
          ในระหว่างทรงตำแหน่งจเรทหารช่างนี้ ได้ทรงใช้พระวิริยอุตสาหะ  และพระปรีชาสามารถ อบรมฝึกฝนวิชาการทหารช่าง แก่บรรดานายทหารช่างอย่างไม่ทรงเห็นแก่เหน็ดเหนื่อย     การทหารช่างจึงได้เจริญก้าวหน้าขึ้น ด้วยพระองค์ทรงเป็นผู้นำ  ทรงวางรากฐานกิจการทหารช่างแผนใหม่ และ ให้มีขีดความสามารถในเรื่องการสื่อสารอย่างกว้างขวาง   จนต้องแยกออกเป็นเหล่าทหารสื่อสาร อีกต่างหาก ในเวลาต่อมา    ดังนั้น  ทหารช่าง และ ทหารสื่อสาร  จึงเคารพ รัก นับถือ เทิดทูน พระองค์ท่านฐานะทรงเป็นครูบาอาจารย์ มาตราบทุกวันนี้
 
ฯลฯ
 
. . .ในขณะที่ทรงดำรงตำแหน่งเป็นจเรการช่างทหารบกนั้น    พระองค์ได้ทรงเป็นผู้นำให้มีการบินและการวิทยุโทรเลขขึ้นในประเทศเป็นพระองค์แรก . . .
 
ฯลฯ
 (จาก. . . หนังสือ  เพิ่อระฤกพระคุณฯ)
                
 
 
กรมหมื่นกำแพงเพชรอัครโยธิน - นายพลตรี
 
 
 
 
 
 
ใบกำกับพระสุพรรณบัตร 
 
           ให้พระเจ้าลูกยาเธอ  พระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากร    เปนพระองค์เจ้าต่างกรม  มีพระนามตามจาฤกในพระสุพรรณบัตรว่า   พระเจ้าลูกยาเธอ   กรมหมื่นกำแพงเพชรอัครโยธิน   พยัคฆนาม  ทรงศักดินา    ๑๕๐๐๐    ตามพระราชกำหนดอย่างพระองค์เจ้าต่างกรมในพระบรมมหาราชวัง     จงทรงเจริญพระชนมายุ   พรรณศุขพลปฏิภาณคุณสารสมบัติ    สรรพศิริสวัสดิพิพัฒนมงคล  วิบุลยมโหฬารทุกประการ
 
ฯลฯ
 
        ตั้งแต่   ณ  วันที่   ๒๗  พฤศจิกายน  รัตนโกสินทรศก  ๑๒๕   เปนวันที่     ๑๓๘๙๕   ในรัชกาลปัตยุบันนี้
             
 
 
 
 
 ๒๔  มกราคม  ๒๔๕๐   เปิดเดินรถจากสถานีปากน้ำโพ ถึง สถานีพิษณุโลก ระยะทาง  ๑๓๙  กิโลเมตร
 
 
๑๑  พฤษภาคม  ๒๔๕๑
 
           ไดัรับพระราชทานยศ  นายพลตรี   ทรงดำรงตำแหน่ง  ผู้บัญชาการกองพลที่ ๑  รักษาพระองค์   ราชองครักษ์พิเศษ  และยังทรงเป็นจเรทหารช่าง อีกด้วย

            
 
 
 
 
 
 
เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ  สยามมกุฎราชกุมาร - เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนารถ - พระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากร - พระองค์เจ้าจิรประวัติวรเดช
 
 
 
 
 
 
 
 
นายพลตรี  พระเจ้าลูกยาเธอ   กรมหมื่นกำแพงเพชรอัครโยธิน  ผู้บัญชาการกองพลที่ ๑  รักษาพระองค์   และคณะนายทหารกองพลที่  ๑  รักษาพระองค์   
 
 
 
 
๑๐   พฤศจิกายน  ๒๔๕๑     ได้รับพระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ ๕  ชั้น ๒
 
 
๑๑  พฤศจิกายน  ๒๔๕๑   เปิดการเดินรถจากสถานีพิษณุโลก ถึง สถานีชุมทางบ้านดารา ระยะทาง  ๖๙  กิโลเมตร
 
 
 
 
 
 
 
 
 
สะพานปรมินทร์  ข้ามแม่น้ำน่าน  ที่  กม.๔๕๖.๙๘  ก่อนถึงสถานีชุมทางบ้านดารา
 
 
 
 
๑๕  สิงหาคม  ๒๔๕๒   เปิดการเดินรถจากสถานีชุมทางบ้านดารา ถึง สถานีปางต้นผึ้ง ระยะทาง  ๕๑  กิโลเมตร  และ
 
                                           เปิดการเดินรถจากสถานีชุมทางบ้านดารา ถึง สถานีสวรรคโลก ระยะทาง  ๒๙  กิโลเมตร            
 
 
 
เจ้ากรมรถไฟสายเหนือ   - รั้งแม่ทัพกองทัพที่ ๑ - ผู้บัญชาการกองพลที่ ๑ - รั้งจเรทหารช่าง
 
          พ.ศ.๒๔๕๓     พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ  ให้ทรงรักษาการเจ้ากรมรถไฟสายเหนือ   ทรงมีพระปณิธานอันแน่วแน่ที่จะให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการคมนาคม  และเศรษฐกิจของภูมิภาค  โดยให้มีทางรถไฟเชื่อมต่อกับประเทศเพื่อนบ้าน   ทรงบุกเบิก ปรับปรุงและพัฒนากิจการต่างๆ ของกรมรถไฟสายเหนือ  ทุกวิถีทาง
            
 
๓๐  ธันวาคม  ๒๔๕๓ 
 
         พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว  ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดกองทัพบกเสียใหม่โดยแบ่งออกเป็นภาค   
             
          ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้  นายพลตรี   กรมหมื่นกำแพงเพชรอัครโยธิน  ทรงรั้งตำแหน่งแม่ทัพกองทัพที่  ๑   และยังคงทรงดำรงตำแหน่ง ผู้บัญชาการกองพลที่ ๑   รักษาพระองค์    กับทรงรั้งตำแหน่งจเรทหารช่างด้วย
            
 
การบินครั้งแรกในประเทศไทย
 
          ๓๑  มกราคม - ๙  กุมภาพันธ์  ๒๔๕๓   (ค.ศ.๑๙๑๑)  นาย  ชาร์ลส์ วัน เดน บอร์น   Chrales Van Den Born  นักบินชาวเบลเยี่ยม   ได้นำเครื่องบินแบบ  อังรี  ฟาร์มัง ๔    Henry Farman IV    มาแสดงการบินที่สนามม้าราชกรีฑาสโมสร ปทุมวัน   มีพระราชวงศ์   ข้าราชการ  ประชาชน  ทั้งชาวไทย และ ต่างชาติ  เข้าชมเป็นจำนวนมากอย่างเนืองแน่น    นายพลเอก  เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนารถ  เสนาธิการทหารบก    และ  เสด็จในกรมฯ     เสด็จ และทรงผลัดกันประทับเครื่องบิน   นับว่าเป็นคนไทยคนแรกที่ "ขึ้นเครื่องบิน"      และ 
 
       พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว  ได้เสด็จทอดพระเนตรการแสดงการบินนี้ด้วยในวันที่  ๒  กุมภาพันธ์  ๒๔๕๓ 
              
             
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนารถ   (บนซ้าย)              Henry  Farman   IV   (ล่าง)              พระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากร   (บนขวา)
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
  
                  จากการที่ได้มีการแสดงการบินในครั้งนี้   พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว  ทรงตระหนักถึงความสำคัญ   คุณประโยชน์   และความจำเป็นของการบิน     จึงทรงพระกรุณาให้คัดเลือกนายทหารส่งไปศึกษาการบินที่ประเทศฝรั่งเศสในเวลาต่อมา     จำนวน  ๓ นาย คือ 
                     
          นายพันตรี    หลวงศักดิ์ศัลยาวุธ  (สุณี  สุวรรณประทีป)
 
          นายร้อยเอก    หลวงอาวุธสิขิกร  (หลง  สิน-ศุข)     และ
 
          นายร้อยโท    ทิพย์  เกตุทัต
             
 
 
  นักบินทหารบกรุ่นแรก   ๓ ท่าน  >          
 
 
 
 
           ๗  กุมภาพันธ์  ๒๔๕๓    กรมทหารบกออกคำสั่งที่ ๓๓/๕๘๘๐    ให้  นายพลตรี  กรมหมื่นกำแพงเพ็ชรอัครโยธิน  ทรงรั้งตำแหน่ง  จเรทหารปืนใหญ่  เพิ่มขึ้นอีกตำแหน่งหนึ่ง 
 
 
 
๑  มิถุนายน  ๒๔๕๔   เปิดการเดินรถจากสถานีปางต้นผึ้ง ถึง สถานีแม่พวก ระยะทาง  ๑๙  กิโลเมตร    
 
 
 
 
 
 
 
 
อุโมงค์ปางตูบขอบ
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
            
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
อุโมงค์เขาพลึง
 
อุโมงค์ปางตูบขอบ  และอุโมงค์เขาพลึง  ระหว่างสถานีปางต้นผึ้ง  -  ห้วยไร่
 
 
 
แม่ทัพกองทัพที่  ๑  - จเรทหารช่าง - นายพลโท
 
 
          ๙   กุมภาพันธ์  ๒๔๕๔     ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เป็น  แม่ทัพกองทัพที่  ๑   และ รั้งตำแหน่งจเรทหารช่างด้วย
 
          ๑๑  เมษายน  ๒๔๕๕     ได้รับพระราชทานยศ นายพลโท
 
 
 
๑๕  พฤศจิกายน  ๒๔๕๕   เปิดการเดินรถจากสถานีแม่พวก ถึง สถานีปากปาน ระยะทาง ๑๐กิโลเมตร
 
 
 
คลังออมสิน    กระทรวงพระคลังมหาสมบัติ
 
                   ๑  เมษายน  ๒๔๕๖  พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว  ทรงตราพระราชบัญญ้ติคลังออมสิน    สังกัดกรมพระคลังมหาสมบัติ   กระทรวงพระคลังมหาสมบัติ   เพื่อให้คลังออมสินเป็นประโยชน์เกื้อกูลเผยแผ่ไปถึงราษฎรโดยทั่วกัน 
 
 
 
 
 
๑  พฤษภาคม  ๒๔๕๖    เปิดการเดินรถจากสถานีปากปาน ถึง สถานีห้วยแม่ต้า ระยะทาง  ๑๒  กิโลเมตร
 
 
 
แผนกการบินทหารบก
 
                    ๒  พฤศจิกายน  ๒๔๕๖     นายทหาร   ๓  นายที่ไปศึกษาวิชาการบินที่ประเทศฝรั่งเศส ได้เดินทางกลับประเทศไทย  พร้อมด้วยเครื่องบิน จำนวน  ๘ เครื่อง  จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ  ให้จัดตั้ง "แผนกการบินทหารบก" ในบังคับบัญชานายพลโท   กรมหมื่นกำแพงเพ็ชรอัครโยธิน  จเรทหารช่างและเป็นการ เริ่ม  "กิจการบิน"  ในประเทศไทย  ซึ่งต่อมาได้เจริญก้าวหน้าขยายไปอย่างกว้างขวาง  เป็น อากาศนาวี  กองทัพอากาศ  การบินตำรวจ  การบินพลเรือน และ การบินพาณิชย์   ตราบจนปัจจุบันนี้
 
 
 
 
 
          
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
เครื่องบินทหารบกชุดแรกในประเทศไทย 
 
เบรเกต์   ปีก  ๒  ชั้น  Brequet III                                นิเออร์ปอร์   ปีกชั้นเดียว  Nieuport IIN , IVG
 
 
 
 
 
                    ส่วนนายทหารทั้ง  ๓ ท่านนั้น  ได้รับราชการก้าวหน้าตามลำดับได้รับพระราชยศ และบรรดาศักดิ์ เป็น     พลอากาศโท  พระยาเฉลิมอากาศ     นาวาอากาศเอก  พระยาเวหาสยานศิลปสิทธิ์   และ  นาวาอากาศเอก  พระยาทะยานพิฆาต  ตามลำดับ       และกองทัพอากาศได้ยกย่องให้ท่านทั้งสาม  เป็น "บุพพการีของกองทัพอากาศ"
 
 
 
 
 
 
"บุพพการีของกองทัพอากาศ" 
           
 
 
พลอากาศโท  พระยาเฉลิมอากาศ  (สุณี  สุวรรณประทีป)
           
<  นาวาอากาศเอก  พระยาเวหาสยานศิลปสิทธิ์  (หลง  สิน-ศุข)
 
นาวาอากาศเอก  พระยาทะยานพิฆาต  (ทิพย์  เกตุทัต)  >
 
 
 
 
 
 
   พฤศจิกายน  ๒๔๕๖     ได้รับพระราชทานเหรียญรัตนวราภรณ์
 
 
อียิปต์ - ยุโรป - รักษาพระองค์ - ทอดพระเนตรกิจการทหารช่าง
 
           ๒๓  พฤศจิกายน  ๒๔๕๖     นายพลโท  กรมหมื่นกำแพงเพชรอัครโยธิน กราบถวายบังคมลาไปประเทศอียิปต์ และยุโรป  มีกำหนด  ๑ ปี    เพื่อรักษาพระองค์  และทอดพระเนตรการทหารช่างของยุโรปซึ่งกำลังเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว   ทรงพระดำริว่า  จะต้องกวดขันให้แผนกทหารช่างดียิ่งขึ้นไปอีก   จึงทรงโปรดเกล้าฯ ให้  นายพลโท  กรมหมื่นกำแพงเพชรอัครโยธิน ทรงดำรงตำแหน่งจเรทหารช่าง   แต่เพียงอย่างเดียว  เพื่อให้ทรงเร่งรัดเรื่องของทหารช่างให้เร็วที่สุด
 
 
 
๑๕  มิถุนายน ๒๔๕๗   เปิดการเดินรถจากสถานีห้วยแม่ต้า ถึง สถานีบ้านปิน ระยะทาง  ๑๓  กิโลเมตร
             
       
 
 
มหายุทธสงครามในทวีปยุโรป 
 
          เดือนสิงหาคม  พ.ศ.๒๔๕๗  เกิดมหายุทธสงครามในทวีปยุโรป
 
                       
 
 ๑  พฤษภาคม  ๒๔๕๘   เปิดการเดินรถจากสถานีบ้านปิน ถึง สถานีผาคอ  ระยะทาง  ๑๗  กิโลเมตร
 
 
 
 
 
 
 
 
อุโมงค์ห้วยแม่ลาน    ระหว่างสถานีบ้านปิน  -  ผาคอ
 
 
 
 
๑๕  ธันวาคม ๒๔๕๘   เปิดการเดินรถจากสถานีผาคอ ถึง สถานีแม่จาง ระยะทาง  ๑๙  กิโลเมตร
 
๑  เมษายน  ๒๔๕๙   เปิดการเดินรถจากสถานีแม่จาง ถึง สถานีนครลำปาง ระยะทาง  ๔๒  กิโลเมตร
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
รถไฟขบวนแรกที่มาถึงสถานีนครลำปาง    (ซ้าย)                                                        และสถานีนครลำปาง   (ขวา)
 
 
 
กรมขุนกำแพงเพชรอัครโยธิน
  
                ๑๑  พฤษภาคม  ๒๔๕๙     ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ  ให้สถาปนาพระอิสริยยศขึ้นเป็น  กรมขุนกำแพงเพชรอัครโยธิน
 
 
 
๒๕  มิถุนายน  ๒๔๕๙    
 
เปิดใช้สถานีกรุงเทพแห่งใหม่  (คือที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน)  ซึ่งเริ่มก่อสร้างมาตั้งแต่ พ.ศ.๒๔๕๓  ปลายรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
 
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงกดปุ่มสัญญาณไฟฟ้าให้รถไฟขบวนแรกเข้าสู่สถานี 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
สถานีกรุงเทพ  ในยุคต่างๆ
 
ภาพล่าง    มองจากชั้น ๓    ตึกบัญชาการการรถไฟฯ   เชิงสะพานนพวงศ์   ประมาณ พ.ศ.๒๕๐๐
 
 
 
 
 
๒๐  ธันวาคม  ๒๔๕๙   เปิดการเดินรถจากสถานีนครลำปาง ถึง สถานีปางหัวพง ระยะทาง  ๓๓  กิโลเมตร
 
 
 
๓๑  ธันวาคม   ๒๔๕๙    ได้รับพระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์รัชกาลที่  ๖   ชั้น ๑
 
 
โรงเรียนทหารช่าง - สอนวิชาสื่อสาร
 
                    พ.ศ.๒๔๖๐     ในตำแหน่งจเรทหารช่าง เสด็จในกรมฯ  โปรดให้ตั้ง โรงเรียนทหารช่าง ขึ้นในกระทรวงกลาโหม   แล้วคัดเลือกทหารช่างจากกรมกองต่างๆ ไปเข้าเรียน   วิชาที่สอนในโรงเรียนทหารช่างสมัยนั้น ได้แก่  วิชา  การชลประทาน   การสะพาน   เครื่องกีดขวาง   วัตถุระเบิด   การไฟฟ้าทั้งทฤษฎีและปฏิบัติ   การไปรษณีย์   การสัญญาณ   เครื่องมือสื่อสาร   และเครื่องนำสาร ต่างๆ   แสดงว่าการศึกษา  และการดำเนินงานของทหารช่างตามพระดำริสมัยนั้น  ได้รวมวิชาและการดำเนินงานของทหารสื่อสารเข้าไว้ด้วย 
 
 
ผู้บัญชาการรถไฟหลวง - เอกภาพในการบริหาร
 
ฯลฯ
 
                    ตามพระราชกฤษฎีกาเมื่อ  ๕  มิถุนายน  ๒๔๖๐     ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระองค์  ซึ่งในขณะนั้นมีพระยศเป็นนายพลโท  เป็นผู้บัญชาการรถไฟหลวง  เพิ่มขึ้นอีกตำแหน่งหนึ่ง  . . .ส่วนหน้าที่ราชการใหม่ที่มอบหมาย ให้แก่พระองค์นี้ คือ  การรวมรถไฟสายเหนือ  (ทางขนาดกว้าง)  กับทางรถไฟสายใต้  (ทางขนาดแคบ)  ขึ้นเป็นกรมเดียวกัน  . . .  พระองค์ได้ทรงร่างแผนโครงการณ์รวมรถไฟสายเหนือ กับ สายใต้เป็นผลสำเร็จ  ได้รับพระบรมราชานุมัติในพระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศริสินทรมหาวชิราวุธ  พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว  ในรัชชกาลที่  ๖   และได้ประกาศเป็นพระราชกฤษฎีกา  เมื่อ   วันที่  ๒๗  มิถุนายน    ในปีนั้น .  .  . 
 
ฯลฯ 
(จาก. . . หนังสือ  เพิ่อระฤกพระคุณฯ) 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
รายงานประจำปี  พระพุทธศักราช  ๒๔๖๐
 
การรวมกรม
 
          เมื่อวันที่  ๕  มิถุนายน  พ.ศ.๒๔๖๐    ได้มีประกาศกระแสร์พระบรมราชโองการทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ  ให้ข้าพเจ้าเป็นผู้บัญชาการกรมรถไฟชั่วคราวเปนพิเศษขึ้นนอกจากตำแหน่งน่าที่ราชการฝ่ายทหารของข้าพเจ้าตามธรรมดา  และให้นายฮนรี  กิตตินซ์  นายช่างผู้บังคับการรถไฟหลวงสายใต้เปนที่ปฤกษา
 
          กิจสำคัญที่ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ  มอบให้ข้าพเจ้าเปนผู้ดำริห์  คือให้วางรูปแลระเบียบโครงการที่จะรวมการบัญชาการทางรถไฟหลวงขนาดกว้าง  และขนาดแคบเปนกรมเดียวกัน  เพื่อประหยัดค่าใช้จ่ายในกองบัญชาการ  และเพื่อวางระเบียบการงานของรถไฟทั้งสองสายให้เปนแบบเดียวกัน
 
ฯลฯ
 
          .  .  .  ต่อมาได้มีประกาศกระแสร์พระบรมราชโองการ    ลงวันที่  ๒๗  มิถุนายน  พ.ศ.๒๔๖๐  โปรดเกล้าฯ  ให้รวมกองบัญชาการรถไฟทั้งสอง
สายเปนกรมเดียวกัน  ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ  ตั้งให้ข้าพเจ้าเปนผู้บัญชาการกรมรถไฟหลวง ตามที่ได้ตั้งขึ้นใหม่นี้    ยุบตำแหน่งเจ้ากรมรถไฟหลวงสายเหนือ   และนายช่างผู้บังคับการกรมรถไฟหลวงสายใต้    คงให้นายฮนรี  กิตตินซ์  เปนที่ปฤกษา    และให้นายไวเลอร์  เปนหัวน่ากองแบบแผนในกรมรถไฟหลวงรับราชการสนองพระเดชพระคุณต่อไป
 
รัฐบาลสยามประกาศสงคราม
 
          เมื่อวันที่  ๒๒  กรกฎาคม  พ.ศ.๒๔๖๐    รัฐบาลสยามได้ประกาศสงคราม    มีเจ้าพนักงานต่างๆ ซึ่งเปนชนชาติสัตรูหลายนายต้องออกจากตำแหน่งน่าที่ในกรมรถไฟหลวง  ดังมีรายนามต่อไปนี้
 
ฯลฯ           
 
          บรรดาตำแหน่งน่าที่ราชการที่ได้ว่างลงในครั้งนี้ข้าพเจ้าได้จัดหาเจ้าพนักงานชาวสยามแลชาติสัมพันธมิตร์เข้าบรรจุรับราชการแทน    การเปลี่ยนแปลงนี้ได้เปนไปที่  กรุงเทพฯ  ที่โรงงานมักกะสัน  และที่กองก่อสร้างตำบลขุนตาล  กับตามทางรถไฟตลอดไปโดยเรียบร้อย  ไม่มีเหตุการณ์อย่างใด  .  .  .
 
กรมทาง
 
          เมื่อวันที่  ๓๐  กรกฎาคม  พ.ศ.๒๔๖๐    ได้มีประกาศกระแสร์พระบรมราชโองการให้รวมกรมทางเข้าอยู่ในกรมรถไฟหลวง  เพื่อให้การบัญชาการและหลักของการที่จะดำริห์แลจัดสร้างการคมนาคมทางบกทั้งปวงลงระเบียบแลดำเนินตามแบบเดียวกัน
 
แพนกกฎหมาย
 
         สำหรับกรมรัฐพาณิชย์ซึ่งต้องทำการค้าขายติดต่อกับสาธารณชนเปนการใหญ่  .  .  .  มีน่าที่แลกิจที่จะต้องรับแลจ่ายเงินเปนจำนวนมาก  มีสมบัติแลเขตร์กว้างยาว  เปนการสมควรที่จะต้องมีผู้มีความรู้ชำนาญในทางกฎหมายไว้เปนที่ปฤกษา    จึงได้ดำริห์วางระเบียบรูปการใหม่  ตั้งแพนกกฎหมายขึ้น    มีเลขานุการแพนกกฎหมายเปนหัวน่า  .  .  .  
 
          นับจำเดิมแต่เมื่อได้ตั้งแพนกกฎหมายขึ้น  แต่เดือน  กุทภาพันธ์  พ.ศ.๒๔๖๐  .  .  .  เฉภาะอายุของแพนกกฎหมายในชั่วขณะเวลาแต่น้อยเท่านี้
ได้รับคดีไต่สวนพิจารณาเปนจำนวนถึง  ๗๙  เรื่อง    แลได้จัดการแล้วเสร็จไปเปนจำนวน  ๗๗  เรื่อง
 
 
(จาก . . . รายงานประจำปี  พระพุทธศักราช  ๒๔๖๐)
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
                    เหตุที่ต้องมีกรมรถไฟสายเหนือและกรมรถไฟสายใต้ นั้น เป็นไปตามเงื่อนไขของการกู้เงินมาสร้างทางรถไฟให้เชื่อมต่อกับรถไฟมลายู  ที่ให้แยกการดำเนินงานออกจากกัน    จึงต้องแยกอำนาจการบริหารจัดการออกจากกันเป็นสองกรม   และเนื่องจากรถไฟมลายูใช้ทางขนาด  ๑.๐๐ เมตร   ทางรถไฟสายใต้จึงใช้ทางขนาด   ๑.๐๐  เมตร ด้วย
 
                    การรวมกรมรถไฟทั้งสองเข้าด้วยกันนั้น  เป็นประโยชน์อย่างยิ่ง  เพราะนอกจากจะทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายได้จำนวนหนึ่ง   เนื่องจากอาจจะใช้ เจ้าหน้าที่  อุปกรณ์  เครื่องมือเครื่องใช้  ชิ้นส่วนซ่อม   หรือสิ่งอำนวยความสะดวกบางอย่าง ร่วมกันได้  และประการสำคัญที่สุดคือ  ก่อให้เกิด "เอกภาพในการบริหาร"  อีกด้วย
 
                    เสด็จในกรมฯ  จึงทรงสามารถดำเนินการให้เป็นไปตามพระปณิธาน  ในอันที่จะให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการคมนาคมของภูมิภาคได้อย่างเต็มที่ จึงทรงพัฒนากิจการของกรมรถไฟหลวงให้รุ่งเรือง รุดหน้าเป็นอย่างยิ่ง ในทุกๆ ด้าน
 
 
 
การ์ตูนภาพล้อ ฝีพระหัตถ์พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว   >             
 
 
 
ไทยกับมหายุทธสงคราม
 
 
๒๒  กรกฎาคม  ๒๔๖๐     มีพระบรมราชโองการประกาศสงคราม กับ เยอรมนี และ ออสเตรีย - ฮุงการี
 
 
 
 
 
 
 
 
                   การประกาศสงครามนี้  มีผลให้วิศวกรของกรมรถไฟหลวง และกรมทางต้องถูกควบคุมตัวเป็นเชลยศึกในฐานะชนชาติคู่สงคราม     ทั้งสองกรมจึงขาดแคลนบุคคลากรระดับวิศวกร เป็นจำนวนมาก     พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ  ให้นายพลโท กรมขุนกำแพงเพชรอัครโยธิน จเรทหารช่าง เข้าควบคุมงานก่อสร้างทางรถไฟสายเหนือที่ยังคั่งค้างอยู่ต่อไป     และ ให้รวมกรมทางเข้าอยู่ในกรมรถไฟหลวง เพื่อให้กรมรถไฟหลวง และกรมทางใช้วิศวกรที่มีอยู่ร่วมกันได้   
 
ฯลฯ
 
 เมื่อ  วันที่  ๓๐  กรกฎาคม  พ.ศ.๒๔๖๐    ได้มีประกาศกระแสร์พระบรมราชโองการให้รวมกรมทางเข้าอยู่ในกรมรถไฟหลวง  เพื่อให้การบัญชาการ  และหลักของการที่จะดำริห์แลจัดสร้างการคมนาคมทางบกทั้งปวงลงระเบียบแลดำเนินตามแบบเดียวกัน.
 
ฯลฯ
 (จาก . . . รายงานประจำปี  พระพุทธศักราช  ๒๔๖๐)
 
 
สำเนา
 
พระราชหัตถเลขาพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
 
-------------------
 
ท่าวาสุกรี              
                                                                                                                            วันที่   ๙   พฤศจิกายน   ๒๔๖๐
ถึง    บุรฉัตร์   ทราบ
 
          ตั้งแต่ฉันได้สนทนากับเธอเมื่อ วันที่  ๗  มาแล้ว,  ประกอบกับความสังเกตของฉันเองในราชการทั่วไป,  รู้สึกว่าราชการกรมรถไฟเป็นราชการสำคัญ และมีงานต้องทำมาก,  เพราะเต็มไปด้วยความยุ่งยาก,  และฉันรู้สึกว่าเป็นเคราะห์ดีอย่างยิ่งที่ฉันได้เลือกตั้งให้ตัวเธอเป็นผู้บัญชาการกรมรถไฟ,  และอาจจะพูดได้โดยไม่แกล้งยอเลยว่า   ถ้าเป็นผู้อื่นเป็นผู้บัญชาการ  การงานอาจจะยุ่งเหยิงมากจนถึงแก่เสียทีได้ทีเดียว,  เมื่อความจริงเป็นอยู่เช่นนี้,  และจึ่งได้มารู้สึกว่า   (๑)  การงานกรมรถไฟไม่ใช่เป็นของที่จะวานให้เธอทำเป็นชั่วคราวเสียแล้ว;   จะต้องคิดอ่านเป็นงานแรมปี  หรือ  " Permanent Job "  ทีเดียว ;   (๒)  ฉันเห็นว่าเธอควรจะต้องให้เวลา และกำลังส่วนตัวสำหรับกิจรถไฟนี้มากกว่าอย่างอื่น,  เพราะหาตัวแทนเธอไม่ได้ !
         
          เมื่อการเป็นเช่นนี้    ฉันจำเป็นต้องคำนึงถึงกำลังกายของเธอด้วย,  เพราะถ้าเธอมีเหตุกำลังกายทรุดโทรมไปแม้แต่ชั่วคราว ก็จะเป็นความลำบากมากมายเกินที่ฉันจะ  Contemplate  ได้;    จึ่งต้องขอบอกตามตรง _ และเธอต้องอย่าเสียใจ - ว่าในเวลานี้ เธอมีหน้าที่ราชการหลายอย่างเกินไป,  จนทำให้ฉันนึกวิตกว่า   ถึงแม้ใจเธอจะเต็มใจรับทำอยู่ทั้งหมดก็ดี,  แต่กำลังกาย  (Health)  ของเธอจะไม่ทนไปได้.     จริงอยู่  ฉันได้ยินเธอกล่าวอยู่เสมอว่า  "ยอมถวายชีวิต"    แต่ฉันขอบอกอย่าดื้อๆ - เพราะฉันรักเธอ - ว่าฉันไม่ต้องการชีวิตเธอ !  ฉันต้องการใช้กำลังตวามสามารถของเธอมากกว่า.
 
          เหตุฉนี้ ฉันเห็นเป็นการจำเป็นที่เธอจะต้องยอม  Give up  ราชการแผนกจเรทัพบก,  ซึ่งมีกิจต้องทำมาก  จนเธอไม่มีเวลาที่จะดูแลได้พอ.    การที่ฉันขอให้เธอย้ายจากตำแหน่งจเรทัพบกเช่นนี้.    ฉันรู้สึกอยู่ดีว่าเธอเองคงจะรู้สึกเสียดายมาก,  และฉันก็เสียดายเหมือนกัน;    แต่เมื่อคำนึงดูโดยรอบตามที่ได้ชี้แจงมาแล้วนั้น,  ฉันเห็นว่าจำเป็นต้องขอให้เธอใช้กำลังกายและกำลังสติปัญญาในทางรถไฟมากที่สุด,  จึ่งต้องหาทางให้  Relief  แก่เธอตามที่พอทำได้.    ผู้ที่จะเป็นจเรทัพบกหาตัวแทนพอได้;   แต่ผู้บัญชาการกรมรถไฟในเวลานี้เธอเป็นคน  Indispensable.    แต่การที่เธอจะย้ายจากตำแหน่งจเรทัพบกแล้ว   ก็คงจะยังต้องติดต่อกับทหารบกอยู่ต่อไปเหมือนกัน,  เพราะทหารบกต้องการอาศรัยความรู้ของเธอในการทหารช่าง.
 
          ฉันเขียนจดหมายนี้มาชี้แจงเป็นส่วนตัว   เพื่อเธอจะได้ทราบความติดของฉันโดยพิศดาร,  และขอให้เข้าใจว่าที่คิดครั้งนี้ฉันได้ชั่งดูหนักเบา ตลอดแล้ว.
 
(  พระปรมาภิไธย  )   ราม                                      
         
 
*    *    *    *    *    *
 
 
๒๐   ธันวาคม   ๒๔๖๐     ได้รับพระราชทานเข็มราชการแผ่นดินแห่งเหรียญดุษฎีมาลา             
           
 
พ.ศ.๒๔๖๑      ทหารไทยไปงานพระราชสงคราม
 
          ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ  ให้จัดส่งกำลังทหารไทย  คือ  กองบินทหารบก  และ  กองทหารบกรถยนต์  ไปร่วมรบในมหายุทธสงตราม
 
 
๑๙  มิถุนายน  ๒๔๖๑     กองทหารซึ่งจะไปในงานพระราชสงครามเคลื่อนที่จากพระนคร 
 
 
๑  กรกฎาคม ๒๔๖๑    เปิดการเดินรถจากสถานีปางหัวพง ถึง สถานีปางยาง ระยะทาง  ๔  กิโลเมตร
 
 
 
 
 
การขยายเส้นทางเดินรถไฟพร้อมพรึ่บดังมือเดียว   ยามยากเย็นเข็นได้ บ่ หน่าย บ่ วาง                
 
         สายเหนือ                               
 
                    เนื่องจากได้มีพระบรมราชโองการประกาศสงคราม กับ เยอรมนี และ ออสเตรีย - ฮังการี   นั้น   นายช่างใหญ่ในการก่อสร้างทางรถไฟสายเหนือซึ่งเป็นชาวเยอรมันต้องพ้นตำแหน่ง  เมื่อตำแหน่งว่างลง   จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้นายพลโท กรมขุนกำแพงเพชรอัครโยธิน   จเรทหารช่าง    เข้าควบคุมงานก่อสร้างทางรถไฟสายเหนือที่ยังคั่งค้างอยู่    ตั้งแต่การขุดเจาะอุโมงค์ขุนตาน และการวางรางจนถึงสถานีเชียงใหม่                           
 
                    อุโมงค์ขุนตาน   เริ่มดำเนินการเจาะ  ตั้งแต่  พ.ศ.๒๔๕๐  โดยวิศวกรชาวเยอรมัน  นาย เอมิล ไฮเซน โฮเฟอร์  และต่อมา เสด็จในกรมฯ ทรงดำเนินการต่อ
 
 
อุโมงค์ขุนตาน
 
 
 
 
 
ขุนตาน
 
 

           
 
 
 
 
 
การขุดเจาะอุโมงค์ 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
ทรงตรวจงาน
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
ความสำเร็จ 
         
 
 
           การสร้างอุโมงค์ได้แล้วสำเร็จตลอดลงเมื่อปลายเดือนมีนาคม  พ.ศ.๒๔๖๑  ใช้เวลาถึง  ๑๑ ปี    กรมรถไฟหลวงได้จัดทำพิธีเปิดอุโมงค์ขุนตาน พร้อมประกอบพิธีเชิญพระครุฑพ่าพ์ขึ้นประดิษฐานบนทางเข้าอุโมงค์ทั้งสองด้าน  เมื่อวันที่  ๑  กรกฎาคม  พ.ศ. ๒๔๖๑      กรมขุนกำแพงเพชรอัครโยธิน ทรงเป็นประธาน   
     
           อุโมงค์มีความยาว    ๑,๓๕๒.๑๐  เมตร   กว้าง  ๕.๒๐  เมตร  สูง  ๕.๔๐  เมตร   เพดาน และผนังโค้ง รัศมี  ๒.๕๐ เมตร   คอนกรีตเสริมเหล็กตลอดอุโมงค์   
 
             
 
 
ทาชมภู
 
 
           เมื่อเจาะอุโมงค์ขุนตานเรียบร้อยแล้ว    การวางรางรถไฟไปถึงเชียงใหม่จำเป็นต้องข้ามลำน้ำแม่ทา  ที่ กม.๖๙๐/๓๔๐.๖๐    ระหว่างสถานีขุนตาน กับสถานีทาชมพู  เขตอำเภอแม่ทา  จังหวัดลำพูน
 
           ตามปรกติแล้วสะพานรถไฟจะต้องสร้างด้วยเหล็ก เพราะต้องรับแรงสั่นสะเทือนมาก   แต่เนื่องจากอยู่ในช่วงมหายุทธสงคราม  ไม่สามารถสั่งเหล็กจากประเทศในทวีปยุโรปมาได้     เสด็จในกรมฯ  จึงทรงออกแบบ และคำนวณ สร้างสะพานทาชมพูด้วยคอนกรีต    ซึ่งเป็นที่การคาดกันว่า สะพานนี้คงจะใช้ได้ไม่กี่เดือนก็จะต้องพัง    แต่การก่อสร้างก็ดำเนินต่อไปตามที่เสด็จในกรมฯ   ได้ทรงออกแบบและคำนวณไว้แล้ว
                        
สะพานทาชมภู   ขณะกำลังก่อสร้าง       
            
                               
 
 
วันที่  ๓๐  กรกฎาคม  ๒๔๖๑    เรือเอ็มไพร์ซึ่งลำเลียงกองทหารไทยไปการพระราชสงครามในทวีปยุโรปได้เข้าจอดเทียบท่าเมืองมาร์เซย์  ประเทศฝรั่งเศส 
 
 
 
   ธันวาคม   ๒๔๖๑     ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์  มหาโยธินรามาธิบดี  ชั้น ๒
 
 
 
          ในขณะที่การสร้างทางรถไฟไปเชียงใหม่ต้องพาดผ่านภูมิประเทศยากลำบากเป็นระยะๆ   การสร้างทางรถไฟสายอื่นสามารถดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง   เช่น
 
 
         สายใต้           
 
          พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  ทรงเปิดการเดินรถไฟสายใต้  จากสถานึธนบุรี  ถึง  สถานีเพชรบุรี  เมื่อ  วันที่   ๑๖  มิถุนายน  พ
ศ. ๒๔๔๖                   
 
           เมื่อเสด็จในกรมฯ ทรงรับตำแหน่งผู้บัญชาการรถไฟหลวงใน พ.ศ.๒๔๖๐ นั้น     รถไฟสายใต้ได้เดินรถถึงสถานีหาดใหญ่แล้ว ตั้งแต่    ๑  เมษายน  ๒๔๖๐ 
 
 ฯลฯ
 
           การเปิดทางรถไฟติดต่อกับทางจากสิงคโปร์          เหตุการณ์ที่สำคัญที่สุดที่ได้เกิดขึ้นในระหว่างปีนี้  ก็คือ  การเปิดทางรถไฟของประเทศสยามติดต่อกับทางรถไฟของประเทศใกล้เคียง   เมื่อ  วันที่  ๑  กรกฎาคม  พ.ศ.๒๔๖๑     นับเป็นครั้งแรกในตำนานแห่งรถไฟของรัฐบาลสยาม . . . 
                          
                     นับตั้งแต่วันที่กรมรถไฟหลวงได้เปิดทางรถไฟเดินติดต่อกับกับทางรถไฟของสหรัฐมลายูเป็นต้นมา เปนที่น่าปลื้มใจว่า   ยังไม่ปรากฏข้อขัดข้องบาดหมางอย่างใด  ในระหว่างรถไฟของสองประเทศเลย     ได้ทำการโดยความปรองดองต่อกันตลอดเวลา. 
 
ฯลฯ    
 (จาก  . . .  รายงานประจำปี  พระพุทธศักราช  ๒๔๖๑) 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
ซ้าย    สถานีหาดใหญ่   พ.ศ.๒๕๐๙  (น้ำท่วม)
 
ขวา  "สูงเนิน"  โฟร์  วีลเลอร์  ๐ - ๔ - ๐      ใช้ในทางกว้าง  ๖๐   เซนติเมตร     (ในระหว่างการสร้างทางรถไฟ)  ที่สถานีชุมทางหาดใหญ่
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
สถานีปาดังเบซาร์
 
ซ้าย    อาคารสถานีเดิม เปิดใช้ตั้งแต่เริ่มเดินรถไฟระหว่างประเทศ  เมื่อ   ๑  กรกฎาคม  ๒๔๖๑
 
ขวา   อาคารสถานีหลังใหม่ที่สร้างแทนอาคารเดิมซึ่งทรุดโทรมไปตามกาลเวลา  เปิดใช้ ตั้งแต่   ๑๓   กันยายน  ๒๕๐๐   จนถึงปัจจุบัน
            
           
 
  และสร้างทางให้ติดต่อกันได้ทางสุไหงโก-ลก  จังหวัดนราธิวาส กับรัฐกลันตันอีกเส้นทางหนึ่ง
 
 
 
 
๑๑  พฤศจิกายน  ๒๔๖๑ - วันสงบศึกมหาสงครามในทวีปยุโรป  
 
 
 
 
 
 
 
 
 
กองทหารบกรถยนตร์ ของไทยในสมรภูมิ  มหายุทธสงตราม ในยุโรป            
           
 
 
นายพลเอก   
        
          ๑  เมษายน  ๒๔๖๒     ไดัรับพระราชทานยศ   นายพลเอก
 
 
 
การสำรวจเส้นทางใหม่
 
          สายตะวันออก
 
     . . . เมื่อ  วันที่   ๗  พฤษภาคม     ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ    ให้ออกประกาศพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตร์ที่ดินเพื่อสร้างทางรถไฟเพิ่มเติมต่อจากฉเชิงเทรา  (แปดริ้ว)  ไปยังอรัญญประเทศซึ่งอยู่ใกล้กับเขตร์แดนแห่งประเทศกำภูชาสายหนึ่ง .  .  .
 
 
          สายตะวันออกเฉียงเหนือ
 
                    .  .  .  แลเมื่อ  วันที่   ๘  พฤษภาคม     ก็ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ    ให้ออกประกาศพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตร์ที่ดินสร้างทางรถไฟ ต่อจาก นครราชสิมา ไปยัง จังหวัดอุบลราชธานีอีกสายหนึ่ง .
 
ฯลฯ
 
                    การสำรวจวางแนวทางในทางสายตวันออก แลสายตวันออกเฉียงเหนือ  ได้ลงมือกระทำการในคราวเดียวพร้อมกันกับประกาศพระราชกฤษฎีกา     ที่แห่งใดซึ่งได้ตรวจวางแนวทางอันแน่นอนไว้แล้ว    แลผ่านไปในที่ดินซึ่งไม่มีเจ้าของหวงห้าม  หรือไม่ใช่เปนที่รายพิพาทก็ได้ทำการดินทีเดียว.
 
ฯลฯ
(จาก  . . .  รายงานประจำปี  พระพุทธศักราช  ๒๔๖๒)
 
 
 
 
 
 
 ๒๑  กันยายน  ๒๔๖๒    ทหารอาสาชุดสุดท้ายได้เดินทางถึงกรุงเทพฯ
 
 
 
สะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา
 
ฯลฯ
                                
 เนื่องจากการที่จะต้องเปลี่ยนแปลงขนาดของทางรถไฟดังกล่าวแล้ว   ข้าพเจ้าจึงได้ดำริห์วางการที่จะเชื่อมทางรถไฟฝั่งตวันออกแลฝั่งตวันตกแห่งแม่น้ำเจ้าพระยาให้ติดต่อถึงกัน    โดยทำสพานเหล็กข้ามแม่น้ำ    และโดยเหตุนี้  ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ  ให้ประกาศพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตร์สร้างทางรถไฟตอนนี้    เมื่อ  วันที่    ๑๖  มกราคม  พ.ศ.๒๔๖๒.
 
ฯลฯ
 
 การตรวจวางแนวทางรถไฟข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา เพื่อเชื่อมทางรถไฟหลวงทั้งสองฝั่งแม่น้ำให้ติดต่อถึงกันนั้น     ก็ได้กำลังกระทำการอยู่     เปนที่หวังว่า ภายในไม่ช้านัก  การตรวจวางแนวทางอันแน่นอน จะแล้วเสร็จสิ้นได้.
 
ฯลฯ
 
 
 ส่วนทางสายเหนือ และสายใต้ . . .
 
                    ในปีนี้  งานในการก่อสร้างทางสายเหนือ แลสายใต้ได้ดำเนินไปเปนผลสำเร็จด้วยความพอใจยิ่ง   คือ   ในทางสายเหนือ ได้วางรางถึงหลัก ก.ม. ๖๕๑.๘๔๒     แลในทางสายใต้  เมื่อ  วันที่  ๓๑  มีนาคม    ได้วางรางถึงแม่น้ำสุไหงโกโละที่พรมแดนระหว่างประเทศสยามกับกลันตัน.
 
(จาก . . . รายงานประจำปี  พระพุทธศักราช  ๒๔๖๒)
 
 
 
                                       
 
 การก่อสร้างสะพานทาชมภู  แล้วเสร็จใน พ.ศ.๒๔๖๒              
             
 
จากนั้นการสร้างทางต่อไปจนถึงเชียงใหม่ก็ดำเนินไปอย่างราบรื่น
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
          เมษายน ๒๔๖๓    พลเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากร กรมขุนกำแพงเพชรอัครโยธิน เสด็จทอดพระเนตรกิจการรถไฟในยุโรป เช่น    อังกฤษ อิตาลี ฝรั่งเศส เดนมาร์ก ฮอลันดา เบลเยี่ยม สวิสเซอรแลนด์ และเยอรมนี
 
 
 
 
 
 
 
 
ภาพถ่ายนี้ปรากฏในพิพิธภัณฑ์ภาพถ่ายของอังกฤษ ระบุว่าถ่ายเมื่อ  ๒๙  พฤษภาคม  ๒๔๖๓  โดย Bassano 
 
 
 
 
 
เริ่มการก่อสร้างทางรถไฟต่อสายตวันออกแลสายตวันออกเฉียงเหนือ
 
                        เมื่อการสำรวจวางแนวทางในทางสายตวันออกแลสายตวันออกเฉียงเหนือได้กระทำเปนการสำเร็จ แลวางแนวทางอันแน่นอนได้ในบางตอนแล้ว     ก็ได้เริ่มต้นทำการก่อสร้างตามแนวทางที่ได้กำหนดไว้ต่อไป     แลเนื่องด้วยเหตุนี้  ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ออกประกาศพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการจัดซื้อที่ดินแลอสังหาริมทรัพย์อย่างอื่น  ๒  ฉบับๆ หนึ่งเมื่อ  วันที่  ๒๖  มิถุนายน   . . . ให้กรมรถไฟแผ่นดินจัดการซื้อที่ดินในระหว่างจังหวัดฉเชิงเทรา (แปดริ้ว) กับนครนายก . . . แลอีกฉบับหนึ่ง เมื่อวันที่  ๒๐  สิงหาคม  . . . ให้จัดซื้อที่ดินตั้งแต่นครราชสิมาถึง ท่าช้าง    แลตั้งแต่นั้น  การก่อสร้างทางทั้งสองสายนี้  ก็ได้ลงมือตั้งต้นกระทำต่อมา 
 
(จาก . . . รายงานประจำปี  พระพุทธศักราช  ๒๔๖๓)
 
 
 
 
 
๑  มกราคม  ๒๔๖๔    เปิดการเดินรถจากสถานีปางยาง ถึง สถานีนครเชียงใหม่ ระยะทาง  ๗๒  กิโลเมตร
 
 
 
 พ.ศ.๒๔๖๔  
 
พระราชบัญญัติจัดวางการรถไฟแลทางหลวง
 
          เหตุการณ์สำคัญที่ได้ประสบในระหว่างพระพุทธศักราชนี้  ก็คือ ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ  ให้ประกาศใช้พระราชบัญญัติ จัดวางการรถไฟแลทางหลวง   เมื่อวันที่  ๑๕  สิงหาคม  พ.ศ.๒๔๖๔    พระราชบัญญัตินี้เปนบันทัดฐานวางหลักการปกครองรถไฟของประเทศนี้ให้มีระเบียบ แลเข้าอยู่ในสภาพของการพาณิชย์กรรมโดยรอบคอบ     อนุโลมเข้าหาวิธีการซึ่งเข้าแนวทำนองอันดีของประเทศอื่นๆ
 
ฯลฯ
(จาก . . . รายงานประจำปี พระพุทธศักราช   ๒๔๖๔)
 
          สายใต้
ฯลฯ 
 
 การก่อสร้างทางสายใต้ เปนอันว่าได้สำเร็จเสร็จสิ้นลง   รัฐบาลของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงได้ตกลงสั่งให้เปิดทางสายปัตตานีถึงพรมแดนกลันตัน ในตอนที่ยังขาดอยู่ จากตันหยงมาศ ถึงสุไหงโกโล๊ค   ให้รับส่งคนโดยสาน แลบรรทุกสินค้า  ตั้งแต่ วันที่  ๑๗   กันยายน   เปนต้นมา
 
ฯลฯ
 
          สายเหนือ
ฯลฯ
                                  
          การก่อสร้างทางสายเหนือก็เปนอันว่าได้จัดทำสำเร็จเสร็จสิ้นตามรูปการตั้งแต่ต้นปีนี้มาแล้ว     ฉนั้น ในศุภวาระดิถีมหามงคลสมัยเฉลิมพระชนม์พรรษา, พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงได้มีพระราชดำรัสสั่งให้เปิดการเดินรถไฟรับ  ส่งคนโดยสาน แลบรรทุกสินค้าในทางสายเหนือนี้  ตลอดจนถึงเชียงใหม่  ตั้งแต่  วันที่   ๑  มกราคม . . .
 
ฯลฯ
 
 
          การเดินรถเร็วในทางสายใต้
ฯลฯ
 
 ในอภิลักขิตสมัยเช่นเดียวกันดังกล่าวข้าวต้น    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  ได้มีพระราชดำรัสสั่งให้เปิดการเดินขบวนรถตลอดระหว่างประเทศขึ้นเป็นครั้งแรก คือ  ระหว่างประเทศสยาม  กับประเทศสหะรัฐมลายูของอังกฤษ    โดยจัดให้ขบวนรถเร็วเดินตลอดถึงกัน  ตั้งแต่  วันที่  ๒  มกราคม . . .
 
ฯลฯ
(จาก . . . รายงานประจำปี  พระพุทธศักราช  ๒๔๖๔)
 
 
 
การก่อสร้างทางรถไฟต่อสายตวันออกเฉียงเหนือแลสายตวันออก
 
                    การถมมูลดินทำคันทาง แลการทำสพานตอนต้นในทางรถไฟต่อสายตวันออกเฉียงเหนือนั้น    ได้ทำไปได้เปนอันมากสมควรที่จะลงมือวางรางได้     จึงได้เริ่มทำการวางราง  ระหว่างเดือน  ตุลาคม กับ พฤศจิกายน     โดยฝีมือกองพันรถไฟทหารช่าง     การงานที่กองทหารในกองพันรถไฟทหารช่างได้กระทำนี้  นับว่า ได้สำเร็จไปอย่างเรียบร้อย แลรวดเร็ว     เปนที่น่าสรรเสริญในความฝึกฝนแลอบรมวิชาแพนกนี้   ซึ่งกองทัพบกได้กระทำไปเป็นอย่างยิ่ง
 
                    เมื่อ  วันที่  ๔  ธันวาคม    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานเกียรติยศ เสด็จพระราชดำเนินประพาศตามทางสร้างใหม่ตลอดจนถึงสำนักงานใหญ่ที่ ท่าช้าง     โดยเสด็จประทับบนรถยนตร์ตรวจการ    ทอดพระเนตรการวางรางซึ่งได้วางไปแล้วถึงสพานตรงที่จะข้ามแม่น้ำมูล    ได้ทรงพระมหากรุณา แสดงความพอพระราชหฤทัย   ในกิจการซึ่งฝ่ายทหารแลพลเรือนได้กระทำสำเร็จอย่างเรียบร้อย
 
                    เมื่อ  วันที่  ๕  มกราคม    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้    จอมพล  สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ  เจ้าฟ้ากรมพระยาภานุพันธุวงศ์วรเดช  เสด็จแทนพระองค์ในพระราชพิธี การวางรางและและตรึงตะปูรางเปนพระฤกษ์ในทางรถไฟต่อสายตะวันออก ที่กิโลเม็ตร์   ๖๑
 
ฯลฯ 
(จาก . . . รายงานประจำปี  พระพุทธศักราช  ๒๔๖๔)
 
 
 
ปักษ์ใต้
 
 
          เปิดทางสายปัตตานีถึงพรมแดนกลันตัน ในตอนที่ยังขาดอยู่ จากตันหยงมาศ ถึงสุไหงโกโล๊ค   ให้รับส่งคนโดยสาน แลบรรทุกสินค้า  ตั้งแต่ วันที่  ๑๗   กันยายน   เปนต้นมา
 
          เปิดการเดินขบวนรถตลอดระหว่างประเทศขึ้นเป็นครั้งแรก คือ  ระหว่างประเทศสยาม  กับประเทศสหะรัฐมลายูของอังกฤษ    โดยจัดให้ขบวนรถเร็วเดินตลอดถึงกัน  ตั้งแต่  วันที่  ๒  มกราคม  .  .  .
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 ซ้าย   สถานีสุไหงโก-ลก    (ปัจจุบัน)                              ขวา     สะพานรถไฟข้ามแม่น้ำโก-ลก   ซึ่งเป็นเส้นเขตแดน ไทย - มลายู  เข้าสู่รัฐกลันตัน  ของมลายู   ส่วนสะพานสำหรับรถยนตร์ และ คนเดิน
 (ด้านซ้ายในภาพ)  ได้สร้างภายหลัง
 
 
 
 
ฝ่ายเหนือ 
 
 
 เปิดการเดินรถไฟรับ  ส่งคนโดยสาน แลบรรทุกสินค้าในทางสายเหนือนี้   ตลอดจนถึงเชียงใหม่  ตั้งแต่  วันที่   ๑  มกราคม . . .
             
 
            
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
จากสถานีกรุงเทพ. กม. ๐๐.๐๐๐                                                             ข้ามสะพานหอสูง  กม. ๖๗๖.๗๓๖  
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
เข้า  อุโมงค์ขุนตานทางด้านทิศใต้                                                        ออก  ทางด้านทิศเหนือ 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
  
ข้ามสะพานทาชมภู  กม. ๖๙๐.๓๔๐
 
 
 
 
 
 
 
 
สู่สถานีเชียงใหม่  กม.๗๕๑.xxx
 
 
 
 
 
กรุงเทพ - เชียงใหม่  ๗๕๑  กิโลเมตร 
 
           ในที่สุด  การก่อสร้างรถไฟสายเหนือเริ่มจากสถานีชุมทางบ้านภาชี ถึงสถานีนครเชียงใหม่ ระยะทาง   ๖๖๑  กิโลเมตร   (สถานีกรุงเทพ  ถึง  สถานีชุมทางบ้านภาชี   ระยะทาง  ๙๐  กิโลเมตร)   ก็เสร็จลุล่วงตามพระปณิธาน     สิ้นค่าก่อสร้างรวมทั้งสิ้น   ๔๖,๘๑๗,๓๙๒  บาท
 
          ระหว่างที่ยังก่อสร้างไม่ถึงเชียงใหม่    กรมรถไฟหลวงก็จัดการเดินรถคืบหน้าไปเป็นระยะๆ     โดยเปิดการเดินรถไฟอย่างเป็นทางการดังนี้
 
          ๑  เมษายน  ๒๔๔๔    เปิดเดินรถจากสถานีชุมทางบ้านภาชี ถึง สถานีลพบุรี ระยะทาง  ๕๓  กิโลเมตร
 
          ๓๑  ตุลาคม  ๒๔๔๘    เปิดการเดินรถจากสถานีลพบุรี ถึง สถานีปากน้ำโพ ระยะทาง  ๑๑๗  กิโลเมตร
 
          ๒๔  มกราคม  ๒๔๕๐    เปิดเดินรถจากสถานีปากน้ำโพ ถึง สถานีพิษณุโลก ระยะทาง  ๑๓๙  กิโลเมตร
 
          ๑๑  พฤศจิกายน  ๒๔๕๑    เปิดการเดินรถจากสถานีพิษณุโลก ถึง สถานีชุมทางบ้านดารา ระยะทาง  ๖๙ กิโลเมตร
 
          ๑๕  สิงหาคม  ๒๔๕๒    เปิดการเดินรถจากสถานีชุมทางบ้านดารา ถึง สถานีปางต้นผึ้ง ระยะทาง  ๕๑  กิโลเมตร  และ
 
                                    เปิดการเดินรถจากสถานีชุมทางบ้านดารา ถึง สถานีสวรรคโลก ระยะทาง  ๒๙  กิโลเมตร   ค่าก่อสร้างทั้งสิ้น  ๘๑๖,๕๘๒  บาท
 
          ๑  มิถุนายน  ๒๔๕๔    เปิดการเดินรถจากสถานีปางต้นผึ้ง ถึง สถานีแม่พวก ระยะทาง  ๑๙  กิโลเมตร
 
          ๑๕  พฤศจิกายน  ๒๔๕๕    เปิดการเดินรถจากสถานีแม่พวก ถึง สถานีปากปาน ระยะทาง  ๑๐  กิโลเมตร. 
 
          ๑  พฤษภาคม  ๒๔๕๖    เปิดการเดินรถจากสถานีปากปาน ถึง สถานีห้วยแม่ต้า ระยะทาง  ๑๒  กิโลเมตร
 
          ๑๕  มิถุนายน  ๒๔๕๗    เปิดการเดินรถจากสถานีห้วยแม่ต้า ถึง สถานีบ้านปิน ระยะทาง  ๑๓  กิโลเมตร: 
 
          ๑  พฤษภาคม  ๒๔๕๘    เปิดการเดินรถจากสถานีบ้านปิน ถึง สถานีผาคอ ระยะทาง  ๑๗  กิโลเมตร
 
          ๑๕  ธันวาคม  ๒๔๕๘    เปิดการเดินรถจากสถานีผาคอ ถึง สถานีแม่จาง ระยะทาง  ๑๙  กิโลเมตร
 
          ๑  เมษายน  ๒๔๕๙    เปิดการเดินรถจากสถานีแม่จาง ถึง สถานีนครลำปาง ระยะทาง  ๔๒  กิโลเมตร
 
          ๒๐  ธันวาคม  ๒๔๕๙    เปิดการเดินรถจากสถานีนครลำปาง ถึง สถานีปางหัวพง ระยะทาง  ๓๓  กิโลเมตร
 
          ๑  มกราคม  ๒๔๖๔    เปิดการเดินรถจากสถานีปางยาง ถึง สถานีนครเชียงใหม่ ระยะทาง  ๗๒  กิโลเมตร
 
 
           (ผมได้แทรกการเดินรถแต่ละระยะ  ไว้ตามห้วงเวลาแล้ว  แต่นำมารวมไว้  เพื่อให้ดูได้อีกแบบหนึ่งครับ)
 
 
 
การพัฒนาด้านอื่นๆ
  
                    นอกจากการขยายเส้นทางเดินรถแล้ว   ยังทรงพ้ฒนา "งาน" ที่สนับสนุนกิจกรรมหลักเพิ่อให้กิจกรรมหลักก้าวไปได้ไม่หยุดชงัก   "งาน" ดังกล่าว ได้แก่ 
    
          การควบคุมการเดินรถ   ทรงนำเครื่องมือที่มีเทคโนโลยีทันสมัยมาใช้ควบคุมการเดินรถเพื่อความปลอดภัย  และรวดเร็ว  เช่น  ปรับปรุงสัญญาณประแจกล และโทรคมนาคม  โดยใช้โทรศัพท์ทางไกล และเครื่องตอบรับอัตโนมัติ   และตั้งเครื่องอาณัติสัญญาตราแผ่นทางสดวก "ไทเยอร์"     สำหรับเป็นเครื่องอาณัติสัญญาบอกทางสดวก ระหว่างกรุงเทพฯ กับ บ้านภาชี   เป็นต้น
 
      พร้อมทั้งชักชวนให้ประชาชนไปเที่ยว   ทัศนาจรโดยใช้บริการรถไฟ   ซึ่งเป็นพาหนะชนิดเดียวที่มี และ สามารถเดินทางไปได้ทุกภูมิภาคของประเทศไทยในสมัยนั้น      ทั้งยังทรงให้สร้างสิ่งอำนวยความสะดวก รองรับด้วย  เช่น โรงแรมรถไฟที่  หัวหิน  หาดใหญ่  เชียงใหม่  ที่พักบนดอยขุนตาน และ สนามกอล์ฟที่หัวหิน   เป็นต้น   ทำให้ประชาชนนิยมใช้บริการกันอย่างกว้างขวาง  เป็นผลให้กิจการเจริญก้าวหน้ายิ่งขึ้น     นับเป็นการเริ่มการส่งเสริมการท่องเที่ยวในประเทศทีเดียว 
 
          สถานที่น่าเที่ยวต่างๆ ที่รถไฟไปถึง          การโฆษณา    ทรงตั้งแผนกโฆษณา กรมรถไฟหลวง ขึ้น  และทรงวางแผนและหลักปฏิบัติการโฆษณา   โดยทรงนำแผนการโฆษณากิจการรถไฟในประเทศอังกฤษมาใช้   เพื่อให้ประชาชนทราบข้อมูลข่าวสารที่เกี่ยวกับบริการ ของกรมรถไฟหลวง   และ
 
 
 
การสำรวจทรัพยากรธรณี        
 
                    พ.ศ.๒๔๖๔     ทรงให้ริเริ่มการสำรวจและขุดเจาะน้ำมันดิบ ที่ "บ่อเจ้าหลวง"  อำเภอฝาง  จังหวัดเชียงใหม่   ซึ่งมีน้ำมันดิบขึ้นมาตามธรรมชาติอยู่แล้ว     ทรงว่าจ้าง   Mr.  Wallace Lee   นักธรณีวิทยาชาวอเมริกัน มาสำรวจทางธรณีวิทยา เพื่อสำรวจหาน้ำมันดิบ  เมื่อขุดเจาะลงไปได้  ๑๘๕  เมตร  พบเพียงร่องรอยแกซธรรมชาติ แต่ปรากฏว่าท่อกรุขาด   จึงระงับการเจาะ  เมื่อ  พ.ศ.๒๔๖๕  
    
 
ถึงกระนี้กระนั้นกระไรก็ตาม     แม้ว่าพบเพียงร่องรอย ก็เป็นแรงบันดาลใจให้มีการสำรวจแหล่งน้ำมันดิบ และแกซธรรมชาติในประเทศไทยต่อมาดังที่เป็นในปัจจุบัน  
 
 
 
 
 
 
 
ครับ  .  .  .   แล้วกรมรถไฟหลวงก็พาเราถึงเชียงใหม่กันแล้ว    พักกันที่เชียงใหม่นี้สักระยะหนึ่งก่อนนะครับ    แล้วจะได้คุยกันต่อว่า    .  .  .  เสด็จในกรมพระกำแพงเพชรจะทรงพัฒนาบ้านเมืองอย่างไรต่อไปใน  .  .  .  พลเอก   พระเจ้าบรมวงศ์เธอ  กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน  (๒) 

 ตอนต่อไป  .  .  .  พลเอก   พระเจ้าบรมวงศ์เธอ  กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน  (๒)

 ตอนต่อไป  .  .  .  พลเอก   พระเจ้าบรมวงศ์เธอ  กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน  (๒)

 ตอนต่อไป  .  .  .  พลเอก   พระเจ้าบรมวงศ์เธอ  กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน  (๒)

 

 

 

 

บรรณานุกรม

            - จดหมายเหตุพระราชกิจรายวัน    พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว    ภาค  ๑๒    ที่ระลึกในงานพระราชทานเพลิงพระศพ  ณ พระเมรุวัดเทพศิรินทราวาส  พระเจ้าบรมวงศ์เธอ  กรมพระกำแพงเพ็ชรอัครโยธิน    เมื่อ   ๒    กุมภาพันธ์    ๒๔๗๙ 

            - เพิ่อระฤกพระคุณ  พระเจ้าบรมวงศ์เธอ  กรมพระกำแพงเพ็ชรอัครโยธิน   โรงพิมพ์กรมรถไฟ  ๑๐.๗๙.   

            - ส่วนพระบรมฉายาลักษณ์ พระฉายาลักษณ์ และภาพต่างๆ  ได้รับความอนุเคราะห์จาก วารสารรถไฟสัมพันธ์  จากเว็ปไซต์ของการรถไฟแห่งประเทศไทย  และจากเว็ปไซต์ อื่นๆ ที่ปรากฏสัญญลักษณ์บนภาพก็ดี  ไม่ปรากฏก็ดี   ทั้งข้อมูลส่วนที่เป็นข้อความก็ดี   ที่เป็น พระบรมฉายาลักษณ์  พระฉายาลักษณ์ หรือ ภาพต่างๆ ก็ดี ล้วนแล้วแต่ช่วยให้เรื่องสมบูรณ์  และน่าอ่านยิ่งขึ้น จึงขอขอบคุณ ทุกส่วน ทุกเว็ปไซต์ ที่เกี่ยวข้อง   ไว้  ณ  ที่นี้

 

 




พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบรมวงศานุวงศ์ โดย สัมพันธ์

๑๐๐ ปี สมเด็จพระปิยมหาราชเสด็จสวรรคต
พลเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากร กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน (๓)
พลเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากร กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน (๒)
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว - ทวยราษฎร์รักบาทแม้ ยิ่งด้วยบิตุรงค์ (๒)
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว - ทวยราษฎร์รักบาทแม้ ยิ่งด้วยบิตุรงค์ (๑)
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว - เสด็จประพาสยุโรป ร.ศ.๑๒๖
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว - เสด็จประพาสยุโรป ร.ศ.๑๑๖
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว - วิกฤติการณ์ ร.ศ.๑๑๒ (๒)
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว - วิกฤติการณ์ ร.ศ.๑๑๒ (๑)
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว - ปราบฮ่อ (๓)
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว - ปราบฮ่อ (๒)
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว - ปราบฮ่อ (๑)
พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว
พลเรือเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ (๒)
พลเรือเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์



1

ความคิดเห็นที่ 1 (603)
avatar
พลตรีพิจิตร ขจรกล่ำ

ดีมากครับ  ผมชื่นชมผลงานพระองค์ท่านมานานแล้ว  ช่วยค้นหา  เรื่องการฝึกซ้อมรบที่อยุธยาด้วยครับ สมัย ร.๖

มีการใช้สะพานเครื่องหนุนลอย  

ผู้แสดงความคิดเห็น พลตรีพิจิตร ขจรกล่ำ (pichitka-at-gmail-dot-com)วันที่ตอบ 2010-08-05 21:11:47 IP : 125.25.82.233


ความคิดเห็นที่ 2 (604)
avatar
สัมพันธ์

ขอบคุณครับที่กรุณาให้เกียรติ

แต่คิดว่า  กองประวัติศาสตร์  กรมยุทธการทหารบก  และ/หรือ  กรมการทหารช่าง  น่าจะเป็นแหล่งข้อมูลที่ดี  ที่สุด  นะครับ   

ผู้แสดงความคิดเห็น สัมพันธ์ (samphan_chaeng-at-hotmail-dot-com)วันที่ตอบ 2010-08-06 06:01:16 IP : 124.122.37.52


ความคิดเห็นที่ 3 (616)
avatar
แสนยาวุฒิ
ขอบคุณสำหรับความรู้เส้นทางไฟสายเหนือ 
ผู้แสดงความคิดเห็น แสนยาวุฒิ (sanyavoot-at-windowslive-dot-com)วันที่ตอบ 2010-08-27 17:12:29 IP : 118.172.75.161


ความคิดเห็นที่ 4 (617)
avatar
samphan
ครับ    เห็นภาพสะพานทาชมภู  เลยนำมาลงเพิ่มอีก  เชิญครับ
ผู้แสดงความคิดเห็น samphan (samphan_chaeng-at-hotmail-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2010-08-28 07:09:56 IP : 124.121.65.206



1


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.
| WW II Europe | WW II Asia | WW I | Vietnam War | ประวัติศาสตร์ไทย | บทความจากสมาชิก | คุยกันหลังฉาก | บทความทั้งหมด |

สนใจร่วมเขียนบทความในเว็บไซต์ เชิญอ่าน แนวทางการร่วมเขียนบทความ ภาพยนตร์ประวัติศาสตร์

Custom Search



eXTReMe Tracker