dot
dot
เว็บภาพยนตร์ประวัติศาสตร์ ยินดีต้อนรับผู้สนใจทุกท่าน
dot
dot
สมาชิก Webboard/Blog
ชื่อผู้ใช้ :
รหัสผ่าน :
เข้าสู่ระบบอัตโนมัติ :
bullet ลืมรหัสผ่าน
dot
bulletข้อตกลงการเป็นสมาชิก
bulletเว็บบอร์ด-คุยกันหลังฉาก
bulletเว็บบอร์ด-Games ย้อนยุค
bulletเว็บบอร์ด-ชุดจำลองประวัติศาสตร์
bulletเว็บบอร์ด-หนังสือประวัติศาสตร์
bulletเว็บบอร์ด-เพลงประวัติศาสตร์
bulletคำถาม/คำตอบ ล่าสุด
bulletแนวทางการร่วมเขียนบทความ
dot
สงครามโลกครั้งที่ 2
dot
bulletสมรภูมิยุโรป (สัมพันธมิตรVSเยอรมัน-อิตาลี)
bulletสมรภูมิแปซิฟิก-เอเชีย (สัมพันธมิตรVSญี่ปุ่น)
dot
ภาพยนตร์ประวัติศาสตร์อื่นๆ
dot
bulletสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง
bulletประวัติศาสตร์ไทย
bulletประวัติศาสตร์อเมริกันยุคเริ่มแรก
bulletสงครามเวียดนามและอินโดจีน
bulletตะวันตกโบราณ (กรีก โรมัน ฯลฯ)
bulletประวัติศาสตร์ร่วมสมัย
bulletเอเชียโบราณ
bulletประวัติศาสตร์อื่นๆ (ยังไม่แยกหมวดหมู่)
bulletคลิปความรู้จาก YouTube
dot
บทความโดย วิวันดา
dot
bulletฮิตเล่อร์...และเหล่าขุนพลแห่งอาณาจักรไรค์ซที่สาม
bulletลอดลายรั้ว.....วินด์เซอร์
bulletเลิศเลอวงศา...โรมานอฟ
bulletเชลย
bulletซูคอฟ...ยอดขุนพลผู้ดับฝันของฮิตเล่อร์
dot
บทความโดย สัมพันธ์
dot
bulletคนไทยในกองทัพพระราชอาณาจักรลาว
bulletประวัติศาสตร์สงคราม กรีก
bulletกรณีพิพาทอินโดจีนและสงครามมหาเอเชียบูรพา
bulletอยุธยายศล่มแล้ว ลอยสวรรค์ ลงฤา
bulletฮานนิบาล
bulletพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบรมวงศานุวงศ์
bulletไทยกับมหาสงคราม
bulletสงครามเวียดนาม
bulletห้วยโก๋น ๒๕๑๘
bulletการทัพในมลายา
bulletประวัติศาสตร์อื่น ๆ
dot
เรื่องอื่นๆ
dot
bulletบทความเสริมความรู้ทั่วไป
bulletเกร็ดเล็กเกร็ดน้อย
bulletผู้จัดทำ
bulletผังเว็บไซต์ (Site Map)
bulletแนวทางการร่วมเขียนบทความ
bulletถาม-ตอบ (FAQs) (โปรดอ่านก่อนตั้งกระทู้หรือสมัครสมาชิก)
bulletร้านค้าออนไลน์
bulletแบ่งปัน Album
dot
ลิงค์ต่างๆ
dot
bulletHistory on Film
bulletกองบิน 21 กองพลบิน 2
bulletIELTS British Council
bulletIELTS IDP
bulletMUIC




โหราศาสตร์ยุคไอที



พลเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากร กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน (๒)
วันที่ 16/02/2020   20:53:22

*  *  *

 

          ครับ  .  .  .  ตอนที่แล้ว  "เสด็จในกรม"  ทรงจัดการให้  .  .  .  กรมรถไฟหลวงได้เปิดทางรถไฟเดินติดต่อกับกับทางรถไฟของสหรัฐมลายูถึงสุไหงโกโล๊ค   ให้รับส่งคนโดยสาน แลบรรทุกสินค้า  ตั้งแต่ วันที่  ๑๗   กันยายน  พ.ศ.๒๔๖๔  และ  เปิดการเดินรถไฟรับ  ส่งคนโดยสาน แลบรรทุกสินค้าในทางสายเหนือนี้   ตลอดจนถึงเชียงใหม่  ตั้งแต่  วันที่     มกราคม  พ.ศ.๒๔๖๔    กับได้  .  .  .  ทรงให้ริเริ่มการสำรวจและขุดเจาะน้ำมันดิบ ที่  "บ่อเจ้าหลวง"  อำเภอฝาง  จังหวัดเชียงใหม่   อีกด้วย

ตอนต่อไปนี้  .  .  .  เริ่มตั้งแต่พระพุทธศักราช ๒๔๖๕  .  .  .  นะครับ  

 

 

กรมหลวงกำแพงเพชรอัครโยธิน

๑๑  พฤษภาคม  ๒๔๖๕     ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ  ให้สถาปนาพระอิสริยยศขึ้น เป็น กรมหลวงกำแพงเพชรอัครโยธิน

 ๑๑   พฤศจิกายน   ๒๔๖๕     ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์  นพรัตนราชวราภรณ์
 
 
สะพาน "พระราม  ๖"
ฯลฯ
 
           การทำทางเชื่อมสายรถไฟฝั่งตวันออก แลฝั่งตวันตก แห่งแม่น้ำเจ้าพระยาให้ต่อเนื่องถึงกันนั้น     คงได้อนุวัตร์จัดทำเรื่อยมา    นับว่ากิจการดีขึ้นตามลำดับ . . . การที่ได้จัดสร้างสพานรถไฟข้ามแม่น้ำขึ้นในครั้งนี้    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามว่า สพาน "พระราม  ๖"   เพื่อเฉลิมพระปรมาภิธัยไว้เปนอนุสาวรีย์ที่รฤกในการที่ได้สร้างสพานนี้ขึ้นโดยพระบรมราชานุญาตในรัชสมัยแห่งใต้ฝ่าลอองธุลีพระบาท  บริษัทผู้รับเหมาได้เริ่มลงมือทำการก่อสร้างตั้งแต่เดือน  ธันวาคม  เปนต้นมา
 
ฯลฯ
(จาก . . . รายงานประจำปี  พระพุทธศักราช  ๒๔๖๕)
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
การก่อสร้างฐานตอม่อ  (ซ้าย)
และ
การตั้งโครงเหล็ก (ขวา)
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 สะพานพระราม  ๖   กำลังก่อสร้าง
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
ผู้บัญชาการรถไฟหลวงทรงวางหีบบรรจุเอกสารบันทึกการสร้างสะพานในฐานคอนกรีตสะพานพระราม  
 
และทรงวางศิลาฤกษ์การสร้างสะพานพระราม  ๖    เมื่อวันที่  ๘  เมษายน  ๒๔๖๖   
 
 
 
 
 
๒๐   ธันวาคม   ๒๔๖๖     ได้รับพระราชทานเหรียญจักรมาลา
 
 
 
โฮเต็ลหัวหิน
ฯลฯ
 
          วันที่  ๑  มกราคม    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระราชดำรัสประกาศเปิดโฮเต็ลหัวหิน  บ้านพักอันสบาย  และอาหารอันโอชารส  ได้ทำความพอใจให้ผู้โดยสาร  และนักท่องเที่ยวเป็นอันมาก
 
ฯลฯ
(จาก  . . .  รายงานประจำปี  พระพุทธศักราช  ๒๔๖๖)
 
 
 
 
 
โฮเต็ลหัวหิน
มองจากชายหาด  v                                                                                             บังกาโลริมหาด  v
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
กำเนิดธุรกิจโฆษณา
 
           ใน พ.ศ.๒๔๖๗   ทรงตั้งบริษัท   สยามแอดเวอร์ไทซิ่ง  จำกัด    รับจ้างทำงานโฆษณาขึ้นเป็นครั้งแรก     และผู้ที่เห็นประโยชน์จากการโฆษณาเป็นรายแรกคือ   ห้างนายเลิด    ซึ่งจำหน่ายสินค้าหลายประเภท       นับว่าการโฆษณาได้เริ่มดำเนินการในรูปธุรกิจอย่างจริงจัง
 
 
กำเนิดเหล่าทหารสื่อสาร
 
          ๒๗  พฤษภาคม  ๒๔๖๗   มีคำสั่งตั้งทหารสื่อสาร เรียกว่า  ชนิดทหารสื่อสาร   จัดให้มีกองโรงเรียนทหารสื่อสารขึ้นในกรมจเรการช่างทหารบก    กำหนดหน้าที่ของ  แผนกที่  ๒   กรมจเรการช่างทหารบก  ให้มีหน้าที่การสื่อสาร  และปฏิบัติงานเกี่ยวกับการสื่อสาร   จึงนับว่า ได้แยกงานการสื่อสารออกจากงานการทหารช่าง   เป็น "ทหารสื่อสาร"  ขึ้นอีกเหล่าหนึ่ง    ใช้สีเม็ดมะปรางเป็นสัญญลักษณ์   แต่ยังคงสังกัดอยู่ในกรมจเรการช่างทหารบก   ภายใต้การบังคับบัญชา ดูแล และอุปการะ ของเสด็จในกรมฯ  เช่นเดิม  
 
จึงถือได้ว่า  ได้ทรงก่อกำเนิด  "เหล่าทหารสื่อสาร" โดยแท้
 
 
 
 
 
 
 
สนามกอลฟหลวงหัวหิน 
 
ฯลฯ
 
          วันที่  ๒๘  มิถุนายน    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระราชทานเกียรติยศแก่โฮเต็ลหัวหิน  โดยทรงเสวยน้ำชาที่นั่น    แลทรงตรวจสนามกอลฟ    โดยเหตูแน้  สนามจึงมีนามว่า  สนามกอลฟหลวงหัวหิน
 
ฯลฯ  
(จาก  . . .  รายงานประจำปี  พระพุทธศักราช  ๒๔๖๗)   
 
 
 
 
 
 
 
สนามกอลฟหลวงหัวหิน                 กรีน  หลุม  ๑๓  V
 
 
 
 
 
กิจการทหาร  -  จ.ช. ๑   นั้นไซร้  จเรทหารช่าง ๑  
 
          พ.ศ.๒๔๖๘    ทรงร่วมกับ  นายพันโท  พระอร่ามรณชิต    หัวหน้าแผนกที่  ๒   กรมจเรการช่างทหารบก  ได้คิดและออกแบบ เครื่องวิทยุโทรเลข โทรศัพท์ ขึ้นใหม่   มีความสามารถ รับ - ส่งได้ไกลถึง  ๓๕๐   กม.  เท่าเทียมกับเครื่องมาร์โคนี ซึ่งมีประสิทธิภาพสูงสุดในสมัยนั้น  แต่น้ำหนักเบากว่า   กินไฟ น้อยกว่า  และที่สำคัญราคาต่ำกว่าหลายเท่าตัว   ทรงขนานนาม "จ.ช. ๑"  ซึ่งหมายถึง  จเรทหารช่าง ๑   และ ได้ประทานทรัพย์สินทางปัญญานี้ให้แก่กระทรวงกลาโหม  ในโอกาสต่อมา
 
 
 
กิจการรถไฟ    ใน พ.ศ.๒๔๖๘   
 
          ด้านการโดยสาร    ได้นำรถโดยสารขนิด  ๘  ล้อ  มาใช้เป็นครั้งแรก
   
 
 
 
 
 
รถโดยสารชนิด  ๘  ล้อ   (Bogie)   รถนั่ง ชั้น  ๓  และ ที่ทำการพนักงานห้ามล้อ         
 
 
           ด้านการก่อสร้าง  -  สายตะวันออก
 
                    ในการก่อสร้างวางรางสายตะวันออกถึงอรัญญประเทศ  เมื่อ  วันที่  ๑๗  กุมภาพันธ์   ๒๔๖๘
             
             
 
เสนาบดีกระทรวงพาณิชย์และคมนาคม - กำหนดคลื่นความถี่
 
           ๑  เมษายน  ๒๔๖๙     ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ  ให้  นายพลเอก  กรมหลวงกำแพงเพชรอัครโยธิน  ทรงเป็นเสนาบดีกระทรวงพาณิชย์ และคมนาคม
                                        
ฯลฯ
 
                ในวาระที่ทรงดำรงตำแหน่งหน้าที่ราชการอยู่ในกระทรวงพาณิชย์และคมนาคม    เสด็จในกรมพระกำแพงเพชรอ้ครโยธิน    ทรงใฝ่พระทัยในกิจการของกระทรวงนั้นแทบทุกอย่าง     มีอาทิเช่น   ทรงทำความเจริญให้แก่การไปรษณีย์   การวิทยุกระจายเสียง   การจัดวางโครงการณ์บำรุงเกษตรกรรมให้เจริญก้าวหน้า   การจัดตั้งกรมพาณิชย์ขึ้นใหม่    สิ่งเหล่านี้  ก็อาศัยพระปรีชาญาณที่มองเห็นการไกลของพระองค์นั่นเอง    หลายครั้งหลายคราว  ที่พระองค์ได้ทรงแสดงให้บรรดาผู้ที่ร่วมงาน และผู้ที่ทำงานใต้บังคับบัญชาของพระองค์เห็นพระปรีชาสามารถในการฝ่าฟันอุปสรรคสำคัญๆ ต่างๆ . . . 
 
ฯลฯ
 
(จาก     หนังสือ   เพื่อระฤกถึงพระคุณฯ)
 
 
          ใน พ.ศ.๒๔๖๙ นี้  ทรงเป็นประธานกำหนดคลื่นวิทยุ  ได้ทรงวางหลักการควบคุมการไปรษณีย์ให้ทันสมัย  และขยายโครงข่ายวิทยุให้กว้างขวาง  เชื่อมต่อกับนานาประเทศ และ การสื่อสารอื่นๆ  รวมถึงการส่งข่าวหนังสือพิมพ์ด้วย
 
 
   พฤศจิกายน   ๒๔๖๙     ได้รับพระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์รัชกาลที่  ๗  ชั้น ๑
 
 
ทรงเปิดสะพานพระราม  ๖
 
 
          ๑  มกราคม  ๒๔๖๙    พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว  เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดสะพานพระราม  ๖ 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 

            
 
 
 
 
 
 
 รถจักรไอน้ำบอลด์วิน   ๔ - ๖ - ๒   หมายเลข ๒๒๖    ทำขบวนเสด็จ  ขณะจอดที่สถานีจิตรลดา
 
 
 
 
 
 
 
 ขบวนรถพระที่นั่งกำลังจะถึงพลับพลาพิธีบนสะพานพระราม  ๖ 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
           คำกราบบังคมทูลรายงานในการเปิดสะพานพระราม 
 
 
 
ขอเดชะ   ฝ่าละอองธุลีพระบาทปกเกล้าปกกระหม่อม
 
ฯลฯ
 
                    วารนี้  คล้ายวันพระราชสมภพในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว    ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ และเสด็จพระราชดำเนิรมาถึงสะพานนี้เพื่อเปิดให้เริ่มใช้ในราชการตั้งแต่บัดนี้ไป
 
                    ข้าพระพุทธเจ้า และเจ้าหน้าที่ทั้งหลายมีความชื่นชมโสมนัสในเหตุการณ์ต่างๆ ซึ่งแสดงประจักษ์แก่ตาโลกว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวของประชาชนชาวสยามได้ทรงสอดส่องสุขทุกข์ของราษฎร  และความเจริญของแผ่นดิน    โดยพระองค์เองมิได้ทรงย่อท้อที่จะดำเนิรกิจราชการไปเพื่อสันติสุขของประชาชน ด้วยผลานิสงส์แห่งพระราชหฤทัยอันมั่นคง     ขอคุณพระรัตนตรัยจงคุ้มครองรักษา พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปก  พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว     ขอให้สิ่งซึ่งเป็นประธานในสกลโลกจงดลพระราชหฤทัย ให้พระปรีชาญาณสอดส่องไปในทางซึ่งล้วนชอบด้วยทางการ    เพื่อความสุขความสำราญแห่งสยามรัฐชนบท    ราชกิจทั้งมวลจงเปนผลสำเร็จ  สมดังพระราชประสงค์    ขอจงมีพระชนม์ยืนยาว    ทรงพระสิริสวัสดิ์ยั่งยืนในราชสมบัติ    ปราศจากอุปัทวันตรายทั้งปวง    ราชศัตรูหมู่ด้ษกรจงเกรงขามพ่ายแพ้พระบารมีทุกเมื่อ
 
ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม    ขอเดชะ
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
เรามีความยินดีเปนอันมากที่ได้มาในการพิธีเปิดสะพานพระราม  ๖   ในวันนี้ . . .
 
ฯลฯ
                               
 เราขอเปิดสะพานนี้ให้เปนฤกษ์ให้เริ่มใช้ตั้งแต่บัดนี้เปนต้นไป 
 
ด้วยเดชะอำนาจคุณพระรัตนตรัยประกอบกับพระบารมีแห่งสมเด็จพระมหาราชเจ้าที่ได้กล่าวพระนามมาแล้ว
 
ขอให้สะพานพระราม  ๖  นี้   จงมั่นคงถาวรอยู่ตลอดกาล
 
ผู้ใดได้อาศัยผ่านไปมาขอจงประสพโชคดีทวีผลสมความมุ่งหมายทั่วกัน  เทอญ.
 
 

*    *    *    *    *    *    *  
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 แล้วรถด่วนระหว่างประเทศ  บางกอกน้อย - ไปร    ก็เปลี่ยนต้นทางเป็น    กรุงเทพ - ไปร    (จากสถานีกรุงเทพ )  
 
 
 
 
 
ฯลฯ
 
วันที่  ๒๘  กุมภาพันธ์    กรมพระกำแพงเพ็ชร์    ได้ทรงพ้นจากตำแหน่งผู้บัญชาการ    และ พระยาสารศาสตร์ศิริลักษณ์ได้รั้งตำแหน่งต่อไป
 
ฯลฯ
(จาก  . . .  รายงานประจำปี  พระพุทธศักราช  ๒๔๗๐)
 
            
 
การวิทยุกระจายเสียง      
 
         พ.ศ.๒๔๗๐     ทรงริเริ่มการวิทยุกระจายเสียงขึ้น  ด้วยทรงตั้งเครื่องส่งกระจายเสียงทดลองขนาดเล็กขึ้นที่วังบ้านดอกไม้  เป็นการส่วนพระองค์ก่อน ทรงใช้ชื่อ   สถานี
  HS 1 PJ   ซึ่ง  PJ  นั้นย่อมาจาก   บุรฉัตรไชยากร
 
          ต่อมาได้ทรงขยายงานทดลองสถานีวิทยุกระจายเสียง โดยทรงสั่งเครื่องส่งวิทยุกระจายเสียงคลื่นสั้นเข้ามาทดลองใช้  ให้อยู่ในความควบคุมของ กองช่างวิทยุ   กรมไปรษณีย์โทรเลข   ตั้งสถานีที่ตึกทำการไปรษณีย์โทรเลขปากคลองโอ่งอ่าง  ให้ชื่อสถานี  HS 4 PJ  
 
          และต่อมาได้ทรงประกอบเครื่องส่งขนาด  ๑  กิโลวัตต์  ใช้คลื่นขนาดกลาง   ทดลองส่งที่ตำบลศาลาแดง  ทรงใช้ชื่อสถานี   HS 11 PJ  ปรากฏผลว่า ใช้เครื่องรับอย่างปานกลางชนิดหลอด   รับฟังได้ดี   ทั่วพระราชอาณาจักร
            
 
วังบ้านดอกไม้    >    
 
 
 
 
ทรงเร่งผลผลิตทางการเกษตร 
 
           พ.ศ.๒๔๗๑  ในบทบาทเสนาบดีกระทรวงพาณิชและคมนาคม  ทรงเร่งเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรของไทยเพื่อเป็นสินค้าออก  เช่น    ข้าว  ยางพารา   มะพร้าว   ครั่ง  ฯลฯ
 
 
ทรงแก้ปัญหาการจราจร
 
                       
            ทรงแก้ปัญหาจราจรบริเวณทางเชื่อมต่อถนนบำรุงเมืองกับถนนพระรามที่ ๑  ตัดกับทางรถไฟ  โดยการสร้างสะพานต่อจากสะพานกษัตริย์ศึก  (ซึ่งข้ามคลองผดุงกรุงเกษม)  ให้ข้ามทางรถไฟที่ยศเส  ทำให้การจราจรดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง และปลอดภัย  ใน พ.ศ.๒๔๗๑  นี้ด้วย    เปิดใช้งานเมื่อ   ๖   เมษายน   ๒๔๗๒
  
นับเป็นทางตัดทางรถไฟต่างระดับแห่งแรกในประเทศไทย                       
 
 
 ทางตัดต่างระดับ   ถนนข้ามทางรถไฟแห่งแรกในประเทศไทย
 ที่ถนนพระรามที่ ๑  ตัดผ่านทางรถไฟที่ยศเส  (มองเห็น  "พ.ศ.๒๔๗๑" เหนือรถไฟ)   >    
  
             
             
           
 
 
 
๒๔๗๑ - รถจักรดีเซล  ชาติแรกในเอเซีย
 
                    กรมรถไฟหลวงได้สั่งซื้อรถจักรที่มีสมรรถนะสูงมาใช้งานเพื่อให้การดำเนินงานเกิดประสิทธิภาพอยู่เสมอ        รถจักรไอน้ำที่ใช้อยู่ในสมัยนั้นได้แก่
 
 
 
 
-  โฟร์  วีลเลอร์  (ดับส์ - Dubs)     ๒ - ๔ - ๐     ผลิตโดย บริษัท  ดับส์  แอนด์  คัมปะนี    ประเทศอังกฤษ
 
ใช้การเมื่อ พ.ศ. ๒๔๓๘ -  ๒๔๓๙        เป็นรถจักรไอน้ำที่ใช้ทำขบวนรถไฟพระที่นั่งเป็นปฐมฤกษ์   เมื่อ วันที่  ๒๖  มีนาคม  ๒๔๓๙
 
 
 
 
 
 
โฟร์  วีลเลอร์   (ดับส์)    ๒ - ๔ - ๐   (Dubs) 
 
 
 
 
-  ซิกส์ คัพเพลอร์  (แพคเก็ท)  ๐ - ๖ - ๐      สร้างโดย : บริษัท แพคเก็ท แอนด์ ซันส์ ประเทศอังกฤษ
 
สั่งมาใช้การเมื่อปี : พ.ศ. ๒๔๔๐ 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 

 
 
 ซิกส์  คัพเพลอร์   (แพคเก็ท)   ๐  - ๖ - ๐
 
 
 
 
-  ซิกส์  คัพเพลอร์  (เฮนเชล)  ๐ - ๖ - ๐   ผลิตโดย  บริษัท  เฮนเชล  แอนด์  ซอห์น   ประเทศเยอรมนี
 
สั่งมาใช้งานตั้งแต่ พ.ศ.๒๔๕๓ - ๒๔๕๘
 
 
 
 
 
ซิกส์  คัพเพลอร์  (เฮนเชล)  ๐ - ๖ - ๐
 
 
 
-  ซิกส์  คัพเพลอร์  (บรูซ)   ผลิตโดย  บริษัท  บรูซ  อีเลคตริทอล  เอนยิเนียริ่ง   ประเทศอังกฤษ
 
สั่งมาใช้งานตั้งแต่ พ.ศ.๒๔๕๓
 
 
 
 
ซิกส์  คัพเพลอร์  (บรูซ)  ๐ - ๖ - ๐
 
 
 
 
-  โคลัมเบีย  (เคราส์ส - Krauss)     ๒ - ๔ - ๒     ผลิตโดยบริษัท  เคราส์ส   ประเทศเยอรมนี
 
สั่งมาใช้งานเมื่อ พ.ศ.๒๔๔๕ และ ๒๕๕๔
 
 
 
 
 
 
 
 
โคลัมเบีย  (เคราส์ส - Krauss)     ๒ - ๔ - ๒
 
 
 
 
-  เท็น  วีลเลอร์     ๔ - ๖ - ๐      ผลิตโดย   บริษัท  นอร์ท  บริทิช  โลโคโมทีฟ  คัมปะนี  ไฮด์ปาร์ค
 
สั่งมาใช้งานเมื่อ พ.ศ.๒๔๕๐
 
 
 
 
 
 
 เท็น  วีลเลอร์     ๔ - ๖ - ๐ 
 
 
 
-  เท็น  วีลเลอร์  สวิชเชอร์ (ฮาโนแมก)    สร้างโดย  บริษัท  แฮนโนเวอร์เช  แมชีนเนนเบอะ  (จอร์จ  อีเกสตอฟ์ฟ, แฮนโนเวอร์)  ประเทศเยอรมนี
 
กรมรถไฟสั่งมาใช้งานเมื่อ พ.ศ.๒๔๕๖  ในทางขนาด  ๑.๔๓๕  เมตร   และเปลี่ยนเป็นขนาด  ๑.๐๐  เมตร  ใน พ.ศ.๒๔๖๗
 
 
 
 
 
 
          
 
   เท็น  วีลเลอร์  สวิชเชอร์ (ฮาโนแมก)   ๐ - ๑๐ - ๐
 
 
 
 
-  เท็น  วีลเลอร์   ๔ - ๖ - ๐     สร้างโดย  บริษัท  นอร์ท  บริทิช  โลโคโมทีฟ  คัมปะนี  ประเทศอังกฤษ
 
สั่งมาใช้งานเมื่อ พ.ศ.๒๔๕๖, ๒๔๕๘, ๒๔๖๒
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 เท็น  วีลเลอร์   ๔ - ๖ - ๐     บริษัท  นอร์ท  บริทิช  โลโคโมทีฟ  คัมปะนี
 
 
 
 
 -  แปซิฟิค (พีคลาส)  ๔ - ๖ - ๒   ผลิตโดยบริษัท  คิทซัน  นอร์ท  บริทิช  โลโคโมทีฟ  คัมปะนี
 
สั่งมาใช้งานเมื่อ  พ.ศ.๒๔๕๙ - ๒๔๖๑
             
                  
 
 
 
     
 
 
 แปซิฟิค (พีคลาส)  ๔ - ๖ - ๒
 
 
 
 
มิกาโด  (นาสมิท)  ๒ - ๘ - ๒    สร้างโดย  บริษัท  นาสมิท  วิลสัน  แอนด์  คัมปะนี   ประเทศอังกฤษ
 
 
  
 
 
 
 
 
มิกาโด  (นาสมิท)  ๒ - ๘ - ๒
 
 
 
 
-  มิกาโด  (บอลด์วิน)    ๒ - ๘ - ๒     สร้างโดยบริษัท  บอลด์วิน  โลโคโมทีฟ  เวอร์ค,    สหรัฐอเมริกา
 
สั่งมาใช้งาน เมื่อ  พ.ศ.๒๔๖๘
 
 
 
 
 
 
 
    มิกาโด  (บอลด์วิน)    ๒ - ๘ - ๒
 
 
 
 
-  แปซิฟิค (บอลด์วิน)  ๔ - ๖ - ๒   ผลิตโดย  บริษัท  บอลด์วิน  โลโคทีฟ  เวอร์ค   สหรัฐอเมริกา
 
สั่งมาใช้งานเมื่อ พ.ศ.๒๔๗๑
 
 
 
 
 
 
 
 
แปซิฟิค (บอลด์วิน)  ๔ - ๖ - ๒
 
 
 
 
-  แปซิฟิค (ฮาโนแมก)  ๔ - ๖ - ๒  ผลิตโดย  บริษัท  แฮนโนเวอร์เช  แมชีนเนนเบอะ  (ยอร์ช  อีเกสตอฟ์ฟ,แฮนโนเวอร์)   ประเทศเยอรมนี
 
สั่งมาใช้งานใน พ.ศ.๒๔๗๑,๒๔๗๒     ปลดระวางเมื่อ  ๑๗  พฤษภาคม  ๒๕๑๑    รวมอายุการใช้งานประมาณ    ๔๐  ปี
 
 
 
 
 
 
 
แปซิฟิค (ฮาโนแมก)  ๔ - ๖ - ๒
 
 
 
 
 -  การ์รัตต์     ๒ - ๔ - ๘  + ๒ - ๔ - ๘   สร้างโดยบริษัท  เฮนเชล  ประเทศเยอรมนี
 
สั่งมาใช้เมื่อ พ.ศ.๒๔๗๒   จำนวน  ๖ คัน    และ พ.ศ.๒๔๗๙  อีก  ๒ คัน     ใช้ในทางช่วง แก่งคอย - ปากช่อง  ซึ่งเป็นทางตัดผ่าภูเขา ที่ลาดชันมาก 
 
การ์รัตต์    รถจักรไอน้ำใหญ่ที่สุดในโลก เป็นรถจักรไอน้ำที่ทรงพลังสูงสุด  มีกำลังฉุด ๑,๐๐๐  แรงม้า
สามารถทำความเร็วในทางราบได้สูงสุดถึง  ๕๐ กิโลเมตร /ชั่วโมง
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
การ์รัตต์     ๒ - ๔ - ๘  + ๒ - ๔ - ๘   รถจักรไอน้ำใหญ่ที่สุดในโลก  และทรงพลังสูงสุด
 
 
 
          ถึงแม้ว่า เสด็จในกรมฯ  จะทรงจัดหารถจักรไอน้ำที่มีประสิทธิภาพสูงสุดมาใช้ในกรมรถไฟหลวงก็ตาม   แต่รถจักรไอน้ำก็มีข้อจำกัดอยู่ในตัวอยู่แล้ว  เช่น  ต้องการเชื้อเพลิงเป็นจำนวนมากเพื่อต้มน้ำให้เกิดกำลังดันไอสูง ไปดันลูกสูบ ให้หมุนล้อขับต่อไป    จึงต้องจอดเพื่อ เติมน้ำ เติมฟืน เป็นระยะๆ  ตามสถานีที่กำหนดไว้  เป็นเวลาครั้งละนานๆ   รถจักรไอน้ำเองจึงต้องมีรถลำเลียงสำหรับบรรทุกน้ำ และฟืนติดไปด้วย   เพื่อเติมน้ำ เติมฟืน ในระหว่างทางที่ยังไม่ถึงสถานีที่กำหนดนั้น
 
เมื่อมีรถจักรดีเซลเกิดขึ้น   ทรงพระดำริว่าน่าจะมีสมรรถนะสูงกว่ารถจักรไอน้ำ  และน่าจะพัฒนาต่อไปได้อีกมาก   
 
 
 
ใน พ.ศ.๒๔๗๑  จึงทรงสั่ง  รถจักรดีเซล  S.L.M.  Winterthur    ขนาด  ๑๘๐  แรงม้า จากประเทศสวิสเซอร์แลนด์มาทดลองใช้ในกิจการรถไฟหลวง   จำนวน  ๒  คัน 
 
นับเป็นประเทศแรกในทวีปเอเซียที่ใช้รถจักรดีเซล
 
 
 
 
 
 
 
 S.L.M. Winterthur   ๑๘๐  แรงม้า  รถจักรดีเซล  รุ่นแรกของกรมรถไฟหลวง  และในทวีปเอเซีย 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 ขณะทำขบวนในทางราบ   (บน)             และข้ามสะพานหอสูงในเส้นทางสายเหนือ   (ล่าง)
             
 
 
 
   พฤศจิกายน   ๒๔๗๑     ได้รับพระราชทานเตรื่องราชอิสริยาภรณ์  มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก
 
 
องค์บิดาแห่งวงการโฆษณาในประเทศไทย                                    
                                               
                     จากการที่ทรงตั้งแผนกโฆษณา กรมรถไฟ ขึ้น  ทรงวางแผนและหลักปฏิบัติการโฆษณา โดยทรงนำแผนการโฆษณากิจการรถไฟในประเทศอังกฤษมาใช้   การที่ทรงตั้งบริษัท   สยามแอดเวอร์ไทซิ่ง  จำกัด     รับจ้างทำงานโฆษณาขึ้นเป็นครั้งแรก  ใน พ.ศ.๒๔๖๗    นับว่าการโฆษณาได้เริ่มดำเนินการในรูปธุรกิจอย่างจริงจัง   และต่อมา  เมื่อคลังออมสินได้เข้ามาอยู่ในกระทรวงพาณิชและคมนาคม ซึ่งพระองค์ท่านทรงเป็นเสนาบดี ก็ได้ทรงวางแผน  โฆษณาให้กับคลังออมสินอีก ซึ่งประสบความสำเร็จอย่างยิ่ง กิจการของธนาคารออมสินเจริญก้าวหน้า เป็นที่นิยมของประชาชนทั่วไป มาตราบทุกวันนี้     วงการโฆษณาจึงได้ยกย่อง เสด็จในกรมฯ ว่า ทรงเป็น
 
"องค์บิดาแห่งวงการโฆษณาในประเทศไทย"
 
 
องค์บิดาแห่งการก่อสร้างไทย      
   
                    ในการประชุมใหญ่ของสมาคมนายช่างแห่งกรุงสยามเมื่อ    ๒๘  ธันวาคม  ๒๔๗๑    คณะกรรมการสมาคมฯ  ได้อัญเชิญเสด็จในกรมฯ  ทรงเป็นนายกสมาคมฯ   และในโอกาสต่อๆ มา ก็ทรงเป็นนายกกิตติมศักดิ์ของสมาคมฯ  และยกย่องพระองค์เป็น 
 
"องค์บิดาแห่งการก่อสร้างไทย"
 
 
 
กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน - ๔ มะเส็ง
 
 ๘  พฤษภาคม  ๒๔๗๒     ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาพระอิสริยยศขึ้นเป็น กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน    
 
           ในวโรกาสนี้ ได้ทรงชักชวนพระราชโอรสและพระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  ที่ทรงเป็นสหชาติกัน  คือประสูติในปีมะเส็งเดียวกันอีก   ๓  พระองค์   และทรงเจริญพระชนมายุ   ๔๘  พรรษา  คือ   สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ  เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์     พระเจ้าบรมวงศ์เธอ  พระองค์เจ้าศศิพงศ์ประไพ   และ  พระเจ้าบรมวงศ์เธอ  พระองค์เจ้าพิสมัยพิมลสัตย์  ทรงร่วมบริจาคทรัพย์ร่วมสร้างตึกให้สภากาชาด    และทรงตั้งชื่อ  ตึก ๔ มะเส็ง    

 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
  (ซ้าย) ภาพวาดตึก ๔ มะเส็ง หลังเก่า       (ขวา) ตึก ๔ มะเส็ง หลังใหม่ สร้างเมื่อ พ.ศ.๒๕๕๑  แทนหลังเก่า  แต่คงโครงหน้าตึกไว้เช่นเดิม
 
 
 
            
 
 
                  ๔ มะเส็ง :         
             
 
 
     บนซ้าย  -  จอมพลเรือ   สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ  เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์  กรมพระนครสวรรค์วรพินิต - บส
 
     บนขวา  -  พลเอก  พระเจ้าบรมวงศ์เธอ  พระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากร
                          กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน - บช
 
     ล่างซ้าย  -  พระเจ้าบรมวงศ์เธอ   พระองค์เจ้าศศิพงศ์ประไพ - ศป
 
     ล่างขวา  -  พระเจ้าบรมวงศ์เธอ   พระองค์เจ้าพิสมัยพิมลสัตย์ - พพ
             
 
 
 
 
 
 สะพานปฐมบรมราชานุสรณ์
 
                    พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชดำริว่า ในโอกาสที่กรุงเทพมหานครฯ จะมีอายุครบ   ๑๕๐ ปี  ใน พ.ศ.๒๔๗๕    สมควรที่จะสร้างสิ่งอนุสรณ์เพื่อให้ประชาชนรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณแห่งพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ที่ได้ทรงวิริยะ อุตสาหะสร้างราชธานี นี้  
 
                   จึงทรงพระกรุณาให้สร้างสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา  เพราะนอกจากจะเป็นสิ่งอนุสรณ์ตามพระราชดำริแล้ว  ยังเป็นการเชื่อมแผ่นดินกรุงเทพฯ กับ กรุงธนบุรีฯ ให้เป็นแผ่นดินเดียวกัน  ทำให้กระจายความเจริญไปสู่กรุงธนบุรีฯ  ได้สะดวก   จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ  ให้เสด็จในกรมฯ ทรงดำเนินการ           
 
                    ๑   กรกฎาคม   ๒๔๗๒    เสด็จในกรมฯ  ทรงเป็นประธานคณะกรรมการ ประมูลการก่อสร้างสะพานปฐมบรมราชานุสรณ์ ที่ประเทศอังกฤษ   คณะกรรมการประกอบด้วยวิศวกรไทย  ๓  นาย  วิศวกรต่างชาติ   ๔  นาย    พิจารณาบริษัทที่เข้าประมูลทั้งหมด  ๖  บริษัท  แล้วโทรเลข ถวายรายงานผลการประมูล  
 
                    เมื่อ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงนำเข้าที่ประชุมอภิรัฐมนตรี เมื่อ  ๑๙  กรกฎาคม  นั้น  ที่ประชุมฯ  มีความเห็นว่า ควรให้  บริษัท  เดอร์แมนลอง เป็นผู้ดำเนินการก่อสร้าง  เพราะเสนอราคาต่ำที่สุด   ใช้เวลาก่อสร้างเร็วที่สุด   และความน่าเชื่อถือ ของบริษัท ก็ทัดเทียมกับบริษัทอื่นๆ    
 
                    จึงทรงพระกรุณาให้โทรเลขทูลให้เสด็จในกรมฯ ทรงทราบมติที่ประชุมฯ   และทรงลงพระนามในสัญญาจ้าง  เมื่อวันที่  ๓๐  กรกฎาคม  ๒๔๗๒   
 
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินทรงวางศิลาฤกษ์   เมื่อ  ๙  มกราคม  ๒๔๗๒ 
 
 
 
 

            
 
 
           สะพานปฐมบรมราชานุสรณ์ ขณะกำลังก่อสร้าง
 
 
 
คลังออมสิน  กระทรวงพาณิชย์และคมนาคม  
     
                    ๑  มกราคม  ๒๔๗๒     พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงโอนกิจการคลังออมสินให้อยู่ในความรับผิดชอบของกรมไปรษณีย์โทรเลข  กระทรวงพาณิชย์และคมนาคม  ซึ่งเสด็จในกรมฯ ทรงเป็นเสนาบดี     จึงทรงสามารถใช้พระปรีชาพัฒนากิจการคลังออมสินจนได้เริ่มแพร่หลาย  เจริญรุดหน้า  เป็นที่นิยมแก่ประชาชนอย่างกว้างขวาง  จึงนับได้ว่ากิจการคลังออมสินในยุคนี้ เป็นยุคแห่งความก้าวหน้าของการคลังออมสินแห่งประเทศไทย    สมดังเนื้อเพลงของ ธนาคารออมสิน ตอนหนึ่งที่ว่า . . .  
 
ฯ ล ฯ 
 
  . . .  .  . รูปฉัตรหมาย บุรฉัตรไชยากร                       กำแพงเพชรอนุสรณ์ธำรงสง่า
ทรงขยายกิจการงานนานา                                         จนออมสินวัฒนาสถาวร  .  .  . 
 
ฯ ล ฯ
 
 
โรตารีกรุงเทพ
 
          นาย เจมส์  วีลเลอร์  เดวิดสัน    ผู้แทนประธานโรตารีสากล ได้เดินทางมาประเทศไทยและได้เข้าเฝ้าเสด็จในกรมฯ    เพื่อกราบทูลให้ทรงทราบถึง อุดมการณ์ของโรตารี  ในอันที่จะให้บุคคลมีส่วนร่วมในการพัฒนาตนเอง  และประเทศชาติ  ตลอดจนสรรพสิ่งต่างๆ ในโลก   เพื่อผดุงไว้ซึ่งสันติภาพ และความสงบสุขอย่างแท้จริง     ทรงร่วมกับผู้เห็นชอบในอุดมการณ์ร่วมกัน  ทั้งชาวไทย และต่างชาติ   ๑๕  สัญชาติ  รวม   ๖๙  ท่าน  ก่อตั้งสโมสรโรตารีกรุงเทพ    เมื่อ  ๑๗  กันยายน  ๒๔๗๓   
 
          ที่ประชุมได้ทูลเชิญ  เสด็จในกรมฯ  ทรงเป็นนายกสโมสรฯ      สโมสรฯ  ได้รับสารตราตั้งจากโรตารีสากลเมื่อ    ๒๘  พฤศจิกายน  ๒๔๗๓
 
          พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว    เสด็จพระราชดำเนินทรงร่วมประชุม ในวันฉลองตราตั้ง  ยังความปลื้มปีติแก่สมาชิก  และผู้เกี่ยวข้องโดยทั่วกัน
            
 
 
จากวังบ้านดอกไม้  ถึงวังพญาไท
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
ในด้านการการวิทยุกระจายเสียง  ได้พัฒนาไปใช้เครื่องส่งฟิลลิปส์  กำลังส่ง  ๒.๕  กิโลวัตต์   ตั้งสถานีส่งที่พระราชวังพญาไทโดยมีชื่อ
 
"สถานีวิทยุกรุงเทพฯ ที่พญาไท"
 
 
 
พระสุรเสียงสู่พสกนิกรทั่วหล้า
 
๒๕  กุมภาพันธ์  วันวิทยุกระจายเสียงไทย
 
 
               
                     ๒๕  กุมภาพันธ์  ๒๔๗๓    วันฉัตรมงคล ในรัชกาลที่  ๗     ทรงเปิดการวิทยุกระจายเสียง เป็นปฐมฤกษ์   ด้วยการถ่ายทอดพระสุรเสียงพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว   จากพระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย ในพระบรมมหาราชวัง    นับเป็นการถ่ายทอดเสียงทางวิทยุเป็นครั้งแรกในประเทศไทย  พสกนิกรได้รับฟังพระสุรเสียงด้วยความปลาบปลื้มปิติ ยินดีทั่วกัน  
 
 
 
 
 

                     
 
 
        ฯลฯ       
 
. . .การวิทยุกระจายเสียงที่ได้เริ่มจัดขึ้น    และทำการทดลองตลอดมานั้น    ก็ด้วยตวามมุ่งหมายว่า    จะส่งเสริม  การศีกษา   การค้าขายและการบันเทิงแก่พ่อค้าประชาชน      เพื่อควบคุมการนี้   เราให้แก้ไขพระราชบัญญัติที่ได้ประกาศใช้เมื่อเดือนกันยายนที่แล้ว      และบัดนี้  ได้เครื่องส่งกระจายเสียงอย่างดี   เข้ามาตั้งที่สถานีวิทยุโทรเลขพญาไทเสร็จแล้ว     เราจึงขอถิอโอกาสสั่งให้เปิดใช้เป็นปฐมฤกษ์    ตั้งแต่บัดนี้ . . .     
                 
             
ดังนั้น    วงการวิทยุกระจายเสียงของไทย จึงได้ถือเอา  วันที่  ๒๕  กุมภาพันธ์  เป็นวันวิทยุกระจายเสียงไทย   สืบมา 
 
 
 
อภิรัฐมนตรี 
ฯลฯ
 
. . . ต่อมาเมื่อปี พ.ศ.๒๔๗๔  ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ  ให้ดำรงตำแหน่งอภิรัฐมนตรีอีกตำแหน่งหนึ่งอันเป็นองค์มนตรีที่ปรึกษาราชการแผ่นดินในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปก พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว  ซึ่งได้ทรงสถาปนาขึ้น เมื่อแรกทรงครองราชสมบัติ
 
ฯลฯ
(จาก   หนังสือ . . . เพื่อระฤกถึงพระคุณฯ)
             
 
วิทยุโทรภาพ
 
          วันที่  ๑๐  สิงหาคม  พ.ศ.๒๔๗๔    เปิดทำการ  รับ - ส่ง  วิทยุโทรภาพโดยเครื่องวิทยุโทรภาพ  ระหว่าง  กรุงเทพฯ กับ กรุงเบอร์ลิน   โดยส่งพระรูปที่ช่างเขียนชาวเยอรมันได้วาดขึ้น    ใช้เวลารับส่งรวม  ๑๐  นาที
 
 
 
 
 
 
รูปที่ได้รับจากเครื่องวิทยุโทรภาพจากกรุงเบอรลิน  เป็นครั้งแรก  อมื่อ  ๑๐  สิงหาคม  ๒๔๗๔
 
 
ดีเซล - ดีจัง - จึงสั่งเพิ่ม
 
                    ผลการทดลองใช้งานรถจักรดีเซลทั้งสองคัน   น่าจะเกิดผลดี  เช่น  ทำเวลาได้ดีกว่ารถจักรไอน้ำ  (คือ วิ่งได้เร็วกว่า  จึงใช้เวลาเดินทางน้อยกว่า)    เพราะไม่ต้องเสียเวลา เติมน้ำ เติมฟืนเช่นรถจักรไอน้ำ    ไม่มีเขม่า และขี้เถ้าจากรถจักรปลิวมารบกวนผู้โดยสาร   เป็นต้น    ดังนั้น  .  .  . 
 
                    กรมรถไฟหลวงจึงได้ซื้อรถจักรดีเซลมาใช้งานเพิ่มเติม    คือ
 
 
         พ.ศ.๒๔๗๔  สั่งซื้อรถจักรดีเซลซุลเซอร์ ขนาด  ๔๕๐  แรงม้า 
 
 
 
 
 
 
 
ซุลเซอร์     ๔๕๐  แรงม้า 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 การลำเลียง  รถจักรดีเซลซุลเซอร์     ๔๕๐  แรงม้า   และ  รถจักรไอน้ำบอลด์วิน    จากเรือที่สถานีแม่น้ำ 
 
 
 
 
 
          ในปีต่อมา  พ.ศ.๒๔๗๕    ก็ได้สั่งซื้อรถจักรดีเซล ฟริกซ์   ขนาด  ๒ x ๘๐๐  แรงม้า   ซึ่งเป็นรถจักรดีเซลไฟฟ้าที่มีกำลังม้าสูงสุดที่มีใช้อยู่ในทวีปเอเซียสมัยนั้นด้วย
 
 
 

             
 
ฟริกซ์    ๒ x ๘๐๐  แรงม้า  
 
 
 
 
 
 
 
 
ฟริกซ์  ๒ x ๘๐๐  แรงม้า  กำลังสูงสุดในทวีปเอเซียสมัยนั้นกำลังทำขบวนรถด่วนสายใต้  กรุงเทพฯ - ไปร
             
            
 
 
  เมษายน  ๒๔๗๕   ฉลองพระนคร  ๑๕๐  ปี
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดสะพานปฐมบรมราชานุสรณ์
 
 
 
 
 
 ๒๔  มิถุนายน  ๒๔๗๕     นายพันเอก  พระยาพหลพลพยุหเสนากับพวกยึดอำนาจการปกครองโดยใช้กำลังทหาร
 
 
                    ในวันที่  ๒๔  มิถุนายน  ๒๔๗๕     นายพันเอก   พระยาพหลพลพยุหเสนากับพวกได้ทำการยึดอำนาจการปกครองโดยใช้กำลังทหาร     ระหว่างที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จแปรพระราชฐานประทับ  ณ  วังไกลกังวล    หัวหิน    และได้จับกุมพระบรมวงศ์ผู้ใหญ่หลายพระองค์ไว้เป็นตัวประกันที่พระที่นั่งอนันตสมาคม 
 
                                                            นายพันเอก  พระยาพหลพลพยุหเสนากับพวก
 

             
 
 
แต่เสด็จในกรมฯ ทรงเล็ดลอดการจับกุม   เสด็จโดยรถไฟขบวนพิเศษไปเฝ้าถวายรายงานพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวที่วังไกลกังวล อำเภอหัวหิน   เมื่อเวลา เที่ยงวันเศษ ของวันนั้น
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 พระตำหนักเปี่ยมสุข    วังไกลกังวล

            
.  .  .  เมื่อมามีเหตุการณ์รุนแรงขึ้นเสียแล้ว    และเมื่อผู้ก่อการรุนแรงนั้นอ้างว่ามีความประสงค์จะสถาปนารัฐธรรมนูญขึ้นเท่านั้น
 
ก็เป็นอันไม่ผิดกับหลักการที่ข้าพเจ้ามีความประสงค์อยู่เหมือนกัน 
 
ข้าพเจ้าจึ่งเห็นควรโน้มตามความประสงค์ของผู้ก่อการยึดอำนาจนั้นได้
 
เพื่อหวังความสงบราบคาบในประเทศ  .  .  . 
 
 (จาก พระราชหัตถเลขา  พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว  ลง วันที่  ๒  มีนาคม  ๒๔๗๗)
 
 
 
 
 
 
 
พระราชทานรัฐธรรมนูญ    ๑๐   ธันวาคม   ๒๔๗๕
 

             
            
          สาเหตูของการยึดอำนาจการปกครองครั้งนี้  ปรากฏชัดเจน ใน  "บันทึกพระยาทรงสุรเดช  เมื่อวันปฏิวัติ    ๒๔   มิถุนายน   ๒๔๗๕"  ซึ่งเจ้าตัวได้บันทึกไว้เมื่อ   พ.ศ.๒๔๘๒   ดังนี้  . . . 
 
 ฯลฯ
 
 
 . . . สาเหตุที่ทำให้เกิดมีพวกปฏิวัติครั้งนี้ ไม่ใช่สาเหตุอันเดียวกันเป็นแน่ทีเดียว   . . . แต่เท่าที่ได้ยินพูด  และแสดงความประสงค์ออกมา  และเท่าที่ได้สังเกตเห็นความเป็นไป อากัปกิริยาของเขาแล้ว  ก็รู้ได้ทีเดียวว่า 
 
ส่วนหนึ่งต้องการบริหารงานตำแหน่งสำคัญๆ  ทั้งที่ตัวไม่มีความรู้และไม่เคยผ่านงานต่ำๆ มาเลย ! . . .
 
ฯลฯ
            
           
 ท่ามกลางความเป็นไปของรัฐ
 
 
ได้อำนาจรัฐ - ขาดประสบการณ์ - ขัดกันเอง
 
 
                      ฝ่ายคณะผู้ก่อการที่ได้อำนาจรัฐแล้วนั้น   เนื่องจากไม่มีความรู้ ไม่มีประสบการณ์ด้านการบริหารราชการแผ่นดิน หรือองค์กรขนาดใหญ่มาก่อน    ผู้มีอำนาจฝ่ายพลเรือน เช่น   นาย ปรีดี  พนมยงค์  ซึ่งนับว่าเป็นตัวเอกฝ่ายพลเรือน ก็เป็นเพียง  อำมาตย์ตรี  หลวงประดิษฐ์มนูธรรม   เลขานุการกรมร่างกฎหมาย  กระทรวงยุติธรรม     ฝ่ายทหารนั้น  นายพันเอก  พระยาพหลพลพยุหเสนา  (พจน์  พหลโยธิน)   ซึ่งมียศ และบรรดาศักดิ์สูงกว่าเพื่อน  ก็เป็นเพียงรองจเรทหารปืนใหญ่    ส่วน นายพันเอก  พระยาทรงสุรเดช  (เทพ    พันธุมเสน)   เป็นอาจารย์โรงเรียนนายร้อย    นายพันเอก  พระประศาสน์พิทยายุทธ  (วัน   ชูถิ่น) เป็นผู้อำนวยการโรงเรียนเสนาธิการทหารบก   และนายพันเอก  พระยาฤทธิ์อัคเนย์  (สละ  เอมะศิริ) เป็นผู้บังคับการกรมทหารปืนใหญ่ที่  ๑  รักษาพระองค์  และเป็นราชองครักษ์ ด้วย    ฝ่ายทหารล้วนแล้วแต่คุ้นเคยกับการสั่งการภายในหน่วยของตนเท่านั้น     
 
                      คณะผู้ก่อการได้อ้างว่าจะแก้ปัญหาความยากจนค่นแค้นของประชาชน แต่ก็ไม่ได้มีแผนหรือความคิดที่จะแก้ปัญหาไว้ก่อน  เพิ่งจะมาร่าง เค้าโครงเศรษฐกิจ  ซึ่งมีหลักการใกล้เคียงกับลัทธิคอมมูนิสต์  
 
                    กิจที่ผู้ก่อการเร่งดำเนินการอย่างจริงจังคือ   พยายามรักษา และ สร้างเสริมอำนาจของคณะของตนให้มั่นคง โดยปราบผู้ที่ไม่ร่วมมือหรือไม่สนับสนุน   และโยกย้ายคนของตนมาดำรงตำแหน่งสำคัญๆ เท่านั้น  ไม่ได้แก้ปัญหาบ้านเมืองตามที่ได้กล่าวอ้างไว้ 
 
                    และเมื่อในหมู่คณะเห็นไม่ตรงกัน  ขัดกันเอง  ก็ต้องปราบกันเองในเวลาต่อมา         
 
                      ๑๓  มิถุนายน  ๒๔๗๖     นายทหารทั้ง  ๔ นายที่กล่าวข้างต้น  ได้ลาออกจากตำแหน่งทั้งทางการเมือง และการทหาร   และต่อมาอีก  ๑ สัปดาห์  คือ
 
                      ๒๐  มิถุนายน  ๒๔๗๖     นายพันเอก  พระยาพหลพลพยุหเสนา  ก็ชักชวน  นายพันโท  หลวงพิบูลสงคราม  และนายนาวาโท  หลวงศุภชลาศัย   นำกำลังทหารยึดอำนาจจากรัฐบาลอีก    เพราะยึดได้ง่ายๆ  เลยได้ใจ
 
          และ  "การยึดอำนาจ"  ก็กลายเป็นยาเสพติดของทหารที่เห็นแก่ประโยชน์ตนสำคัญกว่าประโยชน์บ้านเมือง  เมื่อเกรงว่าตนจะถูกบั่นทอนผลประโยชน์ก็ "ยึดอำนาจ"    มาจนครั้งล่าสุดเมื่อ  เดือนกันยายน  ๒๕๔๙  นี้เอง
 
 
 
 
          ๑๑  ตุลาคม  ๒๔๗๖     นายพลเอก  พระเจ้าวรวงศ์   พระองค์เจ้าบวรเดช  ทรงนำกำลังทหารจากภาคอิสานและจังหวัดเพชรบุรี   เข้ามาจะยึดอำนาจจากรัฐบาล     
 
 
         
           กำลังทั้งสองฝ่ายตั้งประจันหน้าจะรบกันเองที่ทุ่งบางเขน    ต่างฝ่ายต่างใช้สมบัติของชาติเข้าเข่นฆ่าประหัตประหารกัน     เช่น  นำเอาลูกระเบิดผูกติดกับรถจักร ให้วิ่งไปชนขบวนรถไฟฝ่ายตรงข้ามที่บรรทุกทหารมา    
 
          อีกฝ่ายจึงนำรถจักรดีเซลไปหุ้มเกราะ เพื่อให้ทำขบวนได้อย่างปลอดภัย

             
 
 นายพลเอก  พระเจ้าวรวงศ์   พระองค์เจ้าบวรเดช   >
 
ซุลเซอร์หุ้มเกราะ    ใช้ในการ รบกันเอง                                   
             
             
             

 
 
          ในระหว่างเกิดเหตุการณ์พระองค์เจ้าบวรเดชนี้  พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินไปประทับ  ณ วังไกลกังวล  เป็นการแสดงว่า  พระองค์มิได้ทรงเอนเอียงไปทางฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด  ดังพระราชหัตถเลขา  ลง  วันที่  ๒  มีนาคม  ๒๔๗๗     ดังนี้
 
ฯลฯ
 
อนึ่ง     ข้าพเจ้าไม่มีความประสงค์ที่จะให้ผู้ใดก่อการไม่สงบขึ้นในประเทศ เพื่อประโยชน์ของข้าพเจ้า     ถ้าหากมีใครอ้างใช้นามของข้าพเจ้า  
            พึงเข้าใจว่ามิได้เป็นไปโดยความยินยอมเห็นชอบ หรือสนับสนุนของข้าพเจ้า
  
                                                                 
ฯลฯ
 
ท่ามกลางความเป็นไปของรัฐ
 
ในกิจการทางทหาร
 
           ทหารสื่อสาร   ที่เสด็จในกรมฯ ทรงตั้งไว้ ก็ได้แยกออกจาก ทหารช่างอย่างชัดเจน  เมื่อมีการจัดตั้ง แผนกที่ ๕  ในกรมจเรทหารบก  (จร.๕)  มีที่ตั้งในศาลาว่าการกลาโหม    แต่มิได้อยู่ในกรมจเรการข่างทหารบกอีกต่อไป   มีหน้าที่เกี่ยวกับกิจการทหารสื่อสาร  เมื่อปลาย พ.ศ.๒๔๗๖  
 
 
 
 
พ.ศ.๒๔๗๖                
 
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จไปรักษาพระเนตร  ณ  ประเทศอังกฤษ   และ  .  .  .  ในปีต่อมา
 
             
 ๒  มีนาคม  ๒๔๗๗
 
 
 
 

                             
             
ฯลฯ
 
 
ข้าพเจ้าเห็นว่า

คณะรัฐบาลและพวกพ้องใช้วิธีการปกครองซึ่งไม่ถูกต้องตามหลักการของเสรีภาพในตัวบุคคลและหลักการยุตติธรรมตามความเข้าใจและยึดถือของข้าพเจ้า 
             
ข้าพเจ้าไม่สามารถที่จะยินยอมให้ผู้ใด
คณะใดใช้วิธีการอย่างนั้นในนามของข้าพเจ้าได้ต่อไป
 
ฯลฯ
 
. . . และเมื่อข้าพเจ้ารู้สึกว่า  บัดนี้
เป็นอันหมดหนทางที่ข้าพเจ้าจะช่วยเหลือหรือให้ความคุ้มครองแก่ประชาชนได้ต่อไปแล้ว 
            
ข้าพเจ้าจึ่งขอสละราชสมบัติ และออกจากตำแหน่งพระมหากษัตริย์ 
แต่บัดนี้เป็นต้นไป . . .
 
ฯลฯ 
 
 พระราชหัตถเลขา พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว    ๒  มีนาคม  ๒๔๗๗
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
เสด็จในกรมฯ ก็ทรงนำครอบครัวไปพำนักที่เมืองสิงคโปร์   ในพ.ศ.๒๔๗๗ นั้น
 
 
 
 
 
 
 
         ครับ  .  .  .  เมื่อเสด็จในกรมต้องทรงนำครอบครัวไปพำนักที่เมืองสิงคโปร์ตามวิถีทางการเมืองแล้ว    ขอเชิญพักกันก่อน  ก่อนที่จะติดตามกิจกรรมที่พระองค์ท่านได้ทรงดำเนินการ  และทรงก่อเริ่มไว้แล้ว  ว่าได้เป็นไปอย่างไร  ก็ขอเชิญติดตามในตอนต่อไปครับ  ใน  .  .  .  
 
ตอนต่อไป  .  .  .  พลเอก   พระเจ้าบรมวงศ์เธอ  กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน (๓)
 
ตอนต่อไป  .  .  .  พลเอก   พระเจ้าบรมวงศ์เธอ  กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน (๓)
 
ตอนต่อไป  .  .  .  พลเอก   พระเจ้าบรมวงศ์เธอ  กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน (๓)                                   
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
บรรณานุกรม

            - จดหมายเหตุพระราชกิจรายวัน    พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว    ภาค  ๑๒    ที่ระลึกในงานพระราชทานเพลิงพระศพ  ณ พระเมรุวัดเทพศิรินทราวาส  พระเจ้าบรมวงศ์เธอ  กรมพระกำแพงเพ็ชรอัครโยธิน    เมื่อ   ๒    กุมภาพันธ์    ๒๔๗๙ 

            - เพิ่อระฤกพระคุณ  พระเจ้าบรมวงศ์เธอ  กรมพระกำแพงเพ็ชรอัครโยธิน   โรงพิมพ์กรมรถไฟ  ๑๐.๗๙.   

            - ส่วนพระบรมฉายาลักษณ์ พระฉายาลักษณ์ และภาพต่างๆ  ได้รับความอนุเคราะห์จาก วารสารรถไฟสัมพันธ์  จากเว็ปไซต์ของการรถไฟแห่งประเทศไทย  และจากเว็ปไซต์ อื่นๆ ที่ปรากฏสัญญลักษณ์บนภาพก็ดี  ไม่ปรากฏก็ดี   ทั้งข้อมูลส่วนที่เป็นข้อความก็ดี   ที่เป็น พระบรมฉายาลักษณ์  พระฉายาลักษณ์ หรือ ภาพต่างๆ ก็ดี ล้วนแล้วแต่ช่วยให้เรื่องสมบูรณ์  และน่าอ่านยิ่งขึ้น จึงขอขอบคุณ ทุกส่วน ทุกเว็ปไซต์ ที่เกี่ยวข้อง   ไว้  ณ  ที่นี้

 




บทความจากสมาชิก




แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.
| WW II Europe | WW II Asia | WW I | Vietnam War | ประวัติศาสตร์ไทย | บทความจากสมาชิก | คุยกันหลังฉาก | บทความทั้งหมด |

สนใจร่วมเขียนบทความในเว็บไซต์ เชิญอ่าน แนวทางการร่วมเขียนบทความ ภาพยนตร์ประวัติศาสตร์

Custom Search



eXTReMe Tracker