dot
dot
เว็บภาพยนตร์ประวัติศาสตร์ ยินดีต้อนรับผู้สนใจทุกท่าน
dot
dot
สมาชิก Webboard/Blog
ชื่อผู้ใช้ :
รหัสผ่าน :
เข้าสู่ระบบอัตโนมัติ :
bullet ลืมรหัสผ่าน
dot
bulletข้อตกลงการเป็นสมาชิก
bulletเว็บบอร์ด-คุยกันหลังฉาก
bulletเว็บบอร์ด-Games ย้อนยุค
bulletเว็บบอร์ด-ชุดจำลองประวัติศาสตร์
bulletเว็บบอร์ด-หนังสือประวัติศาสตร์
bulletเว็บบอร์ด-เพลงประวัติศาสตร์
bulletคำถาม/คำตอบ ล่าสุด
bulletแนวทางการร่วมเขียนบทความ
dot
สงครามโลกครั้งที่ 2
dot
bulletสมรภูมิยุโรป (สัมพันธมิตรVSเยอรมัน-อิตาลี)
bulletสมรภูมิแปซิฟิก-เอเชีย (สัมพันธมิตรVSญี่ปุ่น)
dot
ภาพยนตร์ประวัติศาสตร์อื่นๆ
dot
bulletสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง
bulletประวัติศาสตร์ไทย
bulletประวัติศาสตร์อเมริกันยุคเริ่มแรก
bulletสงครามเวียดนามและอินโดจีน
bulletตะวันตกโบราณ (กรีก โรมัน ฯลฯ)
bulletประวัติศาสตร์ร่วมสมัย
bulletเอเชียโบราณ
bulletประวัติศาสตร์อื่นๆ (ยังไม่แยกหมวดหมู่)
bulletคลิปความรู้จาก YouTube
dot
บทความโดย วิวันดา
dot
bulletฮิตเล่อร์...และเหล่าขุนพลแห่งอาณาจักรไรค์ซที่สาม
bulletลอดลายรั้ว.....วินด์เซอร์
bulletเลิศเลอวงศา...โรมานอฟ
bulletเชลย
bulletซูคอฟ...ยอดขุนพลผู้ดับฝันของฮิตเล่อร์
dot
บทความโดย สัมพันธ์
dot
bulletคนไทยในกองทัพพระราชอาณาจักรลาว
bulletประวัติศาสตร์สงคราม กรีก
bulletกรณีพิพาทอินโดจีนและสงครามมหาเอเชียบูรพา
bulletอยุธยายศล่มแล้ว ลอยสวรรค์ ลงฤา
bulletฮานนิบาล
bulletพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบรมวงศานุวงศ์
bulletไทยกับมหาสงคราม
bulletสงครามเวียดนาม
bulletห้วยโก๋น ๒๕๑๘
bulletการทัพในมลายา
bulletประวัติศาสตร์อื่น ๆ
dot
เรื่องอื่นๆ
dot
bulletบทความเสริมความรู้ทั่วไป
bulletเกร็ดเล็กเกร็ดน้อย
bulletผู้จัดทำ
bulletผังเว็บไซต์ (Site Map)
bulletแนวทางการร่วมเขียนบทความ
bulletถาม-ตอบ (FAQs) (โปรดอ่านก่อนตั้งกระทู้หรือสมัครสมาชิก)
bulletร้านค้าออนไลน์
bulletแบ่งปัน Album
dot
ลิงค์ต่างๆ
dot
bulletHistory on Film
bulletกองบิน 21 กองพลบิน 2
bulletIELTS British Council
bulletIELTS IDP
bulletMUIC




โหราศาสตร์ยุคไอที



พลเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากร กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน (๓)
วันที่ 16/02/2020   20:53:05

*  *  *

  ตอนที่แล้ว  .  .   .

          - พ.ศ.๒๔๖๕  ทรงรับพระอิสริยยศเป็น  กรมหลวงกำแพงเพชรอัครโยธิน

          - ทรงอำนวยการสร้างสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาสองแห่ง  คือ  สะพานพระราม  ๖  และสะพานปฐมบรมราชานุสรณ์    จนเปิดใช้การได้

          - ทรงเป็นเสนาบดีกระทรวงพาณิชย์และคมนาคม  และทรงพัฒนากิจการคลังออมสินเป็นที่เจริญรุดหน้า  แลเป็นที่นิยมของประชาชนทั่วไป

           - พ.ศ.๒๔๗๑  ทรงสั่งรถจักรดีเซลมาใช้ในราชการกรมรถไฟหลวง  เป็นชาติแรกในทวีปเอเซีย

          - พ.ศ.๒๔๗๒  ทรงรับพระอิสริยยศเป็น  กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน

          - ทรงทดลองการวิทยุกระจายเสียง  จนสามารถออกอากาศถ่ายทอดพระสุรเสียงพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว  ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก   ๒๕  กุมภาพันธ์  ๒๔๗๓

          - พ.ศ.๒๔๗๕    การฉลองพระนคร  ๑๕๐  ปี   

               -  ๖  เมษายน    พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเปิดสะพานปฐมบรมราชานุสรณ์

               -  ๒๔  มิถุนายน    นายพันเอก   พระยาพหลพลพยุหเสนากับพวกได้ทำการยึดอำนาจการปกครองโดยใช้กำลังทหาร     ระหว่างที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จแปรพระราชฐานประทับ  ณ  วังไกลกังวล    หัวหิน    และได้จับกุมพระบรมวงศ์ผู้ใหญ่หลายพระองค์ไว้เป็นตัวประกันที่พระที่นั่งอนันตสมาคม 

           - ๒  มีนาคม  ๒๔๗๗      พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสละราชสมบัติ

เสด็จในกรมฯ ก็ทรงนำครอบครัวไปพำนักที่เมืองสิงคโปร์  ในพ.ศ.๒๔๗๗   นั้น

 

ตอนต่อไป  .  .  .

 รถไฟ  . . .  ไปได้ด้วยแรงเฉื่อย

                    พ.ศ.๒๔๗๗ - ๒๔๗๘     กรมรถไฟหลวงได้สั่งรถจักรไอน้ำจากประเทศญี่ปุ่น  คือ   รถจักรไอน้ำ โมกุล  (ซี  ๕๖)     จากบริษัท  คิซา  ไซโซ  นิปปอน  ซาร์โย  มิตซูบิชิ  คาวาซากิ

 
 
 
 

             
             
            
รถจักรไอน้ำโมกุล  ซี ๕๖   ที่เข้ามาถึงประเทศไทยใน พ.ศ.๒๔๗๗  
 
 
 
 
 
 
 
 และ พ.ศ.๒๔๗๘ 
 
โรตารี่สากล
 
          ในระหว่างที่ทรงพำนักที่สิงคโปร์นี้    ทรงได้รับเลือกตั้งให้ทรงเป็น ผู้ว่าการภาค  (ก่อตั้ง) ของสโมสรโรตารี่สากล  ภาคที่  ๘๐   เมื่อวันที่   ๑  กรกฎาคม  ๒๔๗๘
 
 
สิงหาคม  ๒๔๗๙     เสด็จในกรมฯ ได้เสด็จมาเยือนประเทศไทย ขณะทรงพระประชวร
             
           
 
 ๑๔  กันยายน  ๒๔๗๙
 
 
 
 
 
 
 
 สิ้นพระชนม์  ณ  โรงพยาบาลในสิงคโปร์
 
สิริพระชนมายุ  ๕๔ ปี  ๗ เดือน  ๒๒ วัน
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
" . . .  ข่าวการสิ้นพระชนม์ของพระองค์จึ่งทำให้เกิดความเศร้าสลดใจ   อย่างสุดซึ้งแก่เพื่อนร่วมชาติของพระองค์  และชาวต่างประเทศผู้รู้จักมักคุ้นต่อพระองค์เป็นอย่างยิ่ง      และความสลดใจนี้จะคงตราตรึงอยู่เป็นเวลานาน."
 
(จาก. . . หนังสือ  เพิ่อระฤกพระคุณฯ)
             
 
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ
 
                   พระเกียรติคุณและพระปรีชาของพระองค์ท่านนอกจากจะเป็นที่ทราบและประจักษ์ในพระราชอาณาจักร จนได้รัพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ชั้นสูง  ในวโรกาสต่างๆ ตามที่ได้กล่าวมาโดยลำดับ แล้วนั้น ยังเป็นที่เลื่องลือแผ่กระจายไปยังนานาประเทศซึ่งพระประมุข และประมุขต่างประเทศได้พระราชทาน และถวายเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ดังนี้
 
 
 ตรา  อาร์มนาเซา    ชั้นที่  ๑          จาก    ฮอลล์แลนด์
 
มงกุฎเบลเยี่ยม    ชั้นที่  ๑          จาก    เบลเยี่ยม
 
ดันเนยรอก    ชั้นที่  ๑          จาก    เดนมาร์ค
 
เลยิออง ดอนเนอร์    ชั้นที่  ๑          จาก    ฝรั่งเศส
 
มงกุฎอิตาลี    ชั้นที่  ๑          จาก    อิตาลี
 
เซนต์  มอริส และ เซนต์ ลาซาลัส    ชั้นที่  ๑          จาก    อืตาลี
 
ตราช้าง          จาก    เดนมาร์ค
 
โพโลเนีย    ชั้นที่  ๑          จาก    ญี่ปุ่น
 
 
 
 
๒    กุมภาพันธ์    ๒๔๗๙
 
พระราชทานเพลิงพระศพ   ณ  พระเมรุวัดเทพศิรินทราวาส
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
          ถึงแม้ว่าจะทรงพ้นหน้าที่จากกรมรถไฟหลวง  ตั้งแต่วันที่   ๒๘   กุมภาพันธ์   ๒๔๗๐  แล้วก็ตาม    ผู้ที่ดำรงตำแหน่งดำเนินกิจการกรมรถไฟหลวงต่อมาก็ได้เจริญรอยตามแนวทางที่พระองค์ท่านได้ทรงดำเนินไว้แล้ว   โดยเฉพาะการจัดหารถจักรชนิดต่างๆ มาใช้  ดังนี้
 
 
 
มิกาโด
                     
          พ.ศ.๒๔๘๑     กรมรถไฟหลวงได้สั่งซื้อรถจักรไอน้ำ มิกาโด  ๒ - ๘ - ๒    สร้างโดยบริษัท  แจแปนนิสคาร์  แอนด์  โลโคโมทีฟ  เมคเกอร์  แอสโซซิเอชัน   ประเทศญี่ปุ่น   จำนวน  ๘  คัน
 
 
 
 

             
 
มิกาโด   ๒ - ๘ - ๒
 
 
ท่ามกลางความเป็นไปของโลก
 
ยุโรป  พ.ศ.๒๔๘๒
 
          อังกฤษ และฝรั่งเศส ประกาศสงครามกับเยอรมนี  และการสงครามลุกลามขยายกลายเป็นสงครามโลก
 
 
 เอเซีย
 
ไทย - อินโดจีนฝรั่งเศส
 
          ๗ - ๒๘  มกราคม  ๒๔๘๔    เกิดกรณีพิพาท ไทย - อินโดจีนฝรั่งเศส   ไทยได้ดินแดน  ฝั่งขวาแม่น้ำโขงตรงข้ามหลวงพระบาง  จำปาศักดิ์  เสียมราฐ  พระตะบอง  คืน 
 
 
ญี่ปุ่น
 
            ธันวาคม  ๒๔๘๔     ญี่ปุ่น โจมตีฐานทัพเรือของสหรัฐอเมริกา ที่  อ่าวเพิร์ล   ในหมู่เกาะฮาวาย    กลางมหาสมุทรแปซิฟิค    และ ประกาศสงครามกับฝ่ายสัมพันธมิตร  (เวลาเดียวกับที่ส่งกำลังเข้าประเทศไทย  แต่คนละวัน  เนื่องจากอยู่คนละฟากของเส้นแบ่งวัน)
 
          ๘  ธันวาคม  ๒๔๘๔     ญี่ปุ่นส่งกองทัพเข้าประเทศไทยหลายแห่ง ขอเดินทัพผ่านไทยไปโจมตีพม่า และ มลายู ของอังกฤษ    รัฐบาลซึ่ง จอมพล แปลก  พิบูลสงคราม  เป็นนายกรัฐมนตรี ยอมตามคำขอของญี่ปุ่นและ   ทำสัญญากติกาทางไมตรีกับญี่ปุ่น  เมื่อวันที่ ๒๑  ธันวาคม  ๒๔๘๔  และ ต่อมา
 
          ๒๕  มกราคม  ๒๔๘๕     ไทยก็ได้ประกาศสงครามกับอังกฤษ และสหรัฐอเมริกา   แต่ประชาชนส่วนใหญ่ไม่สนับสนุนกองทัพญี่ปุ่น    
 
          ญี่ปุ่นใช้เชลยศึกชาวยุโรปทำงานสร้างทางรถไฟผ่านจังหวัดกาญจนบุรี - ด่านพระเจดีย์สามองค์ไปสู่พม่าอย่างทารุณโหดร้าย  (ที่เรียกกันว่าทางรถไฟสายมรณะ)   ชาวบ้านในละแวกนั้นได้ช่วยเหลือเชลยศีกเหล่านั้นด้วยความเมตตา    และมีการจัดตั้งกองกำลังต่อต้านญี่ปุ่นอย่างลับๆ  ทั่วประเทศ   
             
 
                   
 
 
 
 
 
ตุลาคม - พฤศจิกายน    ๒๔๘๕    น้ำท่วมกรุงเทพฯ
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
ในช่วงปลายสงคราม              ญี่ปุ่นเริ่มปราชัย 
 
                    เครื่องบินฝ่ายสัมพันธมิตรสามารถเข้ามาทิ้งระเบิดโจมตีถึงประเทศญี่ปุ่นได้    และประเทศไทยก็ถูกโจมตีด้วยเตรื่องบินทิ้งระเบิดด้วยเช่นกัน
 
 
สถานีรถไฟหลวงบางกอกน้อย
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
สภาพสถานีรถไฟหลวงบางกอกน้อย  (ธนบุรี)   หลังจากถูกโจมตีทางอากาศนอกจาก
 
 
 
          นอกจากสถานีรถไฟหลวงบางกอกน้อยแล้ว    ฝ่ายสัมพันธมิตรได้ส่งเครื่องบินเข้ามาทิ้งระเบิดทำลายเส้นทางคมนาคม  คือ  สะพานรถไฟที่สำคัญอีกหลายแห่ง  เช่น  สะพานจุลจอมเกล้า  ข้ามแม่น้ำตาปี  จังหวัดสุราษฎร์ธานี  ในทางสายใต้    สะพานปรมินทร์  ข้ามแม่น้ำน่าน   ที่สถานีชุมทางบ้านดารา  ในทางสายเหนือ    สะพานข้ามแม่น้ำแคว  ที่จังหวัดกาญจนบุรี    สะพานจุฬาลงกรณ์  ข้ามแมน้ำแม่กลอง  ที่จังหวัดราชบุรี       และสะพานพระราม ๖    ลองดูภาพนะครับ  
 
 
 
สะพานจุลจอมเกล้า  ข้ามแม่น้ำตาปี  จังหวัดสุราษฎร์ธานี  -  พ.ศ.๒๔๘๖ 
 
 
 
 
 
 
 สะพานจุลจอมเกล้า  ข้ามแม่น้ำตาปี  จังหวัดสุราษฎร์ธานี 
 
 
 
สะพานปรมินทร์  ข้ามแม่น้ำน่าน  ที่สถานีชุมทางบ้านดารา  -  ๒๔  เมษายน  ๒๔๘๗   
 
 
 
สะพานพระราม  ๖  -  ๗  กุมภาพันธ์  ๒๔๘๘
 
 
 
 
  
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 สะพานพระราม  ๖   ถูกฝ่ายสัมพันธมิตรทิ้งระเบิดทำลาย
 
 
 
 
สะพานจุฬาลงกรณ์  ข้ามแม่น้ำแม่กลอง  จังหวัดราชบุรี  -  ๑๐  กรกฎาคม  ๒๔๘๘   
 
 
 
 
สะพานข้ามแม่น้ำแคว  จังหวัดกาญจนบุรี 
 
 
 
           
 
 
 
 สะพานข้ามแม่น้ำแคว  จังหวัดกาญจนบุรี 
 
 
๑๔  สิงหาคม  ๒๔๘๘
    
                    ญี่ปุ่นยอมแพ้สงครามโดยไม่มีเงื่อนไข 
 
                     ไทยประกาศว่าการประกาศสงครามของไทยเป็นโมฆะเพราะขัดต่อรัฐธรรมนูญ  และความประสงค์ของประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ
 
 
๑๖  สิงหาคม  ๒๔๘๘  -  ไทยประกาศสันติภาพ 
  
 
บ้านเมืองหลังสงคราม
 
           ภายหลังสงคราม    บ้านเมืองอยู่ในสภาพที่เรียกได้ว่า "ทรุดโทรมที่สุด"    ทั้งใน ทางทหาร  ทางเศรษฐกิจ  ทางสังคมจิตวิทยา  และในทางการเมืองซึ่งจำต้องบูรณะฟื้นฟูอย่างมากในทุกๆ ด้าน     ทางการเมืองระหว่างประเทศ  ต้องดำเนินวิเทโศบาย เพื่อให้ประเทศเสียหายน้อยที่สุด     แต่ในวงการเมืองภายในประเทศก็ยังคงหวาดระแวง  แก่งแย่ง  ช่วงชิงอำนาจรัฐ  ประหัตประหารกันอย่างเข้มข้น  โหดเหี้ยม  เอาเป็นเอาตาย  ทุกรูปลักษณะ    และในที่สุด  .  .  . 
 
 
วันอาทิตย์ ที่  ๙  มิถุนายน  ๒๔๘๙
 
 
ประชาชนชาวไทย ก็ตะลึงงัน  และร่ำไห้กัน ทั้งประเทศ   เมื่อรัฐบาลแถลงข่าวว่า  
 
 
 
 

            
 
 สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล  เสด็จสวรรคต
 
 
ด้วยเหตุต้องพระแสงปืน บนพระที่  ณ  พระที่นั่งบรมพิมาน  ในพระบรมมหาราชวัง

             
กรมรถไฟหลวงหลังสงคราม      
                     
          ภายหลังสงครามประเทศต้องบูรณะฟื้นฟูอย่างมากดังที่ได้กล่าวแล้ว    ในส่วนกิจการรถไฟ ซึ่งเป็นการขนส่งพื้นฐานที่สำคัญยิ่ง  ในยุคนั้น   แต่ทรัพย์สินของกรมรถไฟหลวงเสียหาย  เนื่องจากภัยสงครามอย่างมาก  ทั้งอาคาร สถานที่  เส้นทาง  รถจักร ล้อเลื่อน  และอุปกรณ์ต่างๆ    ต้องบูรณะซ่อมบำรุงให้คืนสภาพเพื่อใช้งานได้ดังเดิมอย่างเร็ว ซึ่งต้องใช้เงินเป็นจำนวนมาก   ตามลำพังงบประมาณแผ่นดินไม่สามารถสนองตอบความต้องการได้   ทางรัฐบาลจึงจำเป็นต้องขอกู้เงินจากธนาคารโลก   ซึ่งได้แนะนำให้รัฐบาลไทยปรับองค์กรเสียใหม่ให้มีการบริหารจัดการอย่างคล่องตัว และเป็นอิสระ สามารถดำเนินการในเชิงธุรกิจได้อย่างมิประสิทธิภาพ
 
 
แมค  อาร์เธอร์   
 
                    ใน พ.ศ.๒๔๘๙  นี้  กรมรถไฟหลวงได้สั่งซื้อรถจักรไอน้ำ   แมค  อาร์เธอร์  ๒ - ๘ - ๒   สร้างโดย  บริษัท  บอลด์วิน,  ดารเวนปอร์ต,   อัลโก  เอชเค  พอร์เตอร์,  วัลแคน  ไอออนเวอร์คส์    สหรัฐอเมริกา     เป็นจำนวน  ๖๗  คัน
 
 
 
 
 
 
แมค  อาร์เธอร์     ๒ - ๘ - ๒
 
 
มิกาโด   (อีก)
 
          พ.ศ.๒๔๙๓   ได้สั่งซื้อรถจักรไอน้ำ มิกาโด   ๒ - ๘ - ๒    สร้างโดยบริษัท  ฮิตาชิ  จำกัด  ประเทศญี่ปุ่น จำนวน    ๗๐  คัน     นับเป็นรถจักรไอน้ำรุ่นสุดท้ายที่สั่งเข้ามาในประเทศไทย

             

 
 
 
 
 มิกาโด    ๒ - ๘ - ๒    รถจักรไอน้ำรุ่นสุดท้ายที่สั่งเข้ามาในประเทศไทย  
 
 
 
 
           ปัจจุบัน การรถไฟแห่งประเทศไทย ได้ดัดแปลง รถจักรไอน้ำ โมกุล  (ซี  ๕๖)  และรถจักรไอน้ำ มิกาโด   รุ่นนี้   ให้ใช้น้ำมันเตาเป็นเชื้อเพลิงแทนการใช้ฟืน   และยังคงบำรุงรักษาให้ใช้งานได้ จำนวนหนึ่ง   สำหรับทำขบวนในโอกาสพิเศษ   เช่น ขบวนรถไฟประวัติศาสตร์  วันที่ระลึก ทรงเปิดเดินรถไฟเป็นปฐมฤกษ์  ๒๖  มีนาคม,  วันสงกรานต์  ๑๓  เมษายน,  วันปิยมหาราช  ๒๓  ตุลาคม   และ   วันเฉลิมพระชนมพรรษา  ๕  ธันวาคม   เป็นต้น    
 
 
 
 
 
 
 
      
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
รถจักรไอน้ำ โมกุล  (ซี  ๕๖)  และ  รถจักรไอน้ำ มิกาโด   ทำขบวนในโอกาสพิเศษ 
            
 
 
พ.ศ.๒๔๙๓
 
สถานีธนบรี
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
สถานีธนบุรี
 
อยู่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา  บริเวณปากคลองบางกอกน้อย
ในสมัยสงครามมหาเอเซียบูรพา  กองทัพญี่ปุ่นใช้เป็นตำบลส่งยุทธภัณฑ์ไปพม่า   จึงถูกฝ่ายสัมพันธมิตรทิ้งระเบิดทำลาย
รัฐบาลไทยสร้างขึ้นใหม่  เมื่อ  พ.ศ.๒๔๙๓  โดยใช้รูปแบบเดิม        
 
ภาพซ้าย    เป็นภาพมองจากชานชาลา  (ตะวันตก)                    ภาพขวา    เป็นภาพมองจากแม่น้ำเจ้าพระยา  (ตะวันออก) 
 
 
สะพานพระราม ๖
 
                      เนื่องจากสะพานพระราม  ๖  ถูกระเบิดทำลายเสียหาย  จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องซ่อมสร้างให้แล้วเสร็จใช้การได้     รัฐบาลจึงได้ว่าจ้างบริษัท  คริสเตียนนี   แอนด์  นีลเส็น   ดำเนินการซ่อมสร้างสะพานพระราม  ๖   เมื่อ พ.ศ.๒๔๙๓

            
 
 
 
 
 
 
    กรกฎาคม  ๒๔๙๔  -  กรมรถไฟหลวง  สู่  การรถไฟแห่งประเทศไทย    รัฐวิสาหกิจ  ประเภทสาธารณูปการ
 
 
 
 
 
 
การรถไฟแห่งประเทศไทย
 
 
 
 
สะพานจุลจอมเกล้า  -  ซ่อมแล้วเสร็จ  เปิดใช้การได้เมื่อ  ๑๖  กุมภาพันธ์  ๒๔๙๖   
 
 
 
 
สะพานจุลจอมเกล้า
 
 

สะพานปรมินทร์

 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
สะพานปรมินทร์
 
 
 
 
  สะพานพระราม  ๖  -  ๑๒   ธันวาคม   ๒๔๙๖     
 
 สะพานพระราม ๖   ที่ได้ซ่อมสร้างมาตั้งแต่ พ.ศ.๒๔๙๓ นั้น   ก็ซ่อมสร้างแล้วเสร็จสามารถเปิดใช้ได้ตามเดิมใน พ.ศ.๒๔๙๖    
 
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธีเปิดในวันที่ ๑๒   ธันวาคม  ๒๔๙๖
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
รถจักรดีเซลไฟฟ้าซุลเซอร์  หมายเลข  ๕๖๒    กำลัง  ๙๖๐  แรงม้า  ทำขบวนเสด็จ  (รถรุ่นนี้  การรถไฟฯ สั่งมาใช้งานเมื่อ  พ.ศ.๒๔๙๔) 
                          
             
    
 
 
 
 
 
 
 
 หลังจากการบูรณะ พ.ศ.๒๔๙๖   ทางเหนือของทางรถไฟ  (ขวามือ เมื่อมาจาก กรุงเทพ)  เป็นถนน  สองช่องทางจราจร
 
ในภาพ  เป็นการมองจากฝั่งธนบุรี
 
 
 

 
 
สะพานพระรามที่ ๖   ปัจจุบัน  เมื่อสร้างสะพานพระราม ที่ ๗  แล้ว   รื้อถนน วางรางรถไฟเพิ่ม  เพื่อทำเป็นทางรถไฟคู่
 
ในภาพ  เป็นการมองจากฝั่งพระนคร
 
 
 
 
 
 
 
  
 
 
 
 ๖  เมษายน  ๒๕๐๐  -  ทรงเปิดพระอนุสาวรีย์ฯ
 
 
 
 
 
 
 
 
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  เสด็จพระราชดำเนิน  ทรงเปิดพระอนุสาวรีย์  พลเอก  พระเจ้าบรมวงศ์เธอ  กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน
 
ณ  หน้าตึกบัญชาการ  การรถไฟแห่งประเทศไทย  
 
 
 
 
 
 ศตวรรษ  บุรฉัตรไชยากร
 
 
 
ตราไปรษณียากรที่ระลึกตรบ  ๑๐๐ ปี 
 
พลเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากร  กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน 
 
วันแรกจำหน่าย   ๑๔  กันยายน  ๒๕๒๕
            
       
 
  
พ.ศ.๒๕๓๐  -  ๘๐ ปี  รถไฟไทย
 
 
 
ตราไปรษณียากร  ชุดที่ระลึก  ๘๐  ปี  รถไฟไทย    ๒๖  มีนาคม  ๒๕๓๐ 
 
 
 
 
 สะพานจุฬาลงกรณ์  -  ซ่อมเสร็จ  พ.ศ.๒๕๓๐
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
"สะพานจุฬาลงกรณ์" 
 
 
 
 
 
 
 
 
ตราไปรษณียากร  ชุดรถไฟไทย    ๒๙  ธันวาคม  ๒๕๓๓
 
 
 
 
 ๑๐๐ ปี  รถไฟไทย
 
 
 
 
       
 
  
 
 อนุสรณ์ปฐมฤกษ์รถไฟหลวง    ๒๖  มีนาคม  ๒๔๓๙

  

พ.ศ.๒๕๔๐ 
 
 
 
 
 
 
แผ่นที่ระลึกตราไปรษณียากร    ชุดที่ระลึก  ๑๐๐  ปี   รถไฟไทย    ๒๖  มีนาคม  ๒๕๔๐
 
 
 
 
 
 
 
ตราไปรษณียากรที่ระลึกโรตารี่ในประเทศไทย
 
 
 
 
วันแรกจำหน่าย    ๑  กรกฎาคม  ๒๕๔๔
 
 
 
 
 พ.ศ.๒๕๔๗  -  ตราไปรษณียากรชุดสะพาน
 
 
 
 
 
 
 
 
ตราไปรษณียากร  ชุด  สะพานสำคัญ
 
ทั่งสะพานพระพุทธยอดฟ้า  และสะพานพระราม  ๖    นับได้ว่าเป็นสะพานที่สำเร็จด้วยเสด็จในกรมฯ   
 
 
 
 
                   จาก พ.ศ.๒๔๔๗   ที่เสด็จในกรมฯ ได้ทรงสำเร็จการศึกษา   เสด็จกลับประเทศไทย   ตราบจน พ.ศ.๒๔๗๕    ที่นายพันเอก พระยาพหลพลพยุหเสนากับพวกได้ยึดอำนาจการปกครองประเทศ  นับเวลาได้เพียง  ๒๘  ปี ที่ทรงปฏิบัติราชการสนองพระเดชพระคุณ    เสด็จในกรมฯ ได้ทรงอุทิศพระองค์เพื่อการพัฒนาประเทศชาติเป็นหลายด้าน   ด้วยพระสติปัญญา  ปรีชาสามารถ  พระวิริยะอุตสาหะ   ดังที่ได้กล่าวมาพอเป็นสังเขปแล้ว    เป็นที่เชื่อได้อย่างแน่นอนว่า   หากพระองค์ท่านได้ทรงปฏิบัติราชการต่อไปแล้ว น่าจะทรงยังประโยชน์แก่ประเทศไทยอีกเป็นเอนกประการ     
 
                    กิจการที่พระองค์ท่านได้ทรงก่อร่างเป็นพื้นฐานไว้  ก็ได้อาศัยสร้างตัว   ให้เจริญรุดหน้าต่อไป   เช่น
 
 
วงการทหาร
 
ทหารช่าง
 
 
 
ฯลฯ
 
. นอกจากนี้  ยังทรงเป็นผู้นำความเจริญแห่งวิชาทหารช่าง  และอาณัติสัญญาณ์ของกองทัพบกสยาม    และทรงกำกับการสอน และฝึกหัดนายทหารให้มีความรู้ ในวิชานี้อีกด้วย    ได้ทรงแต่งตำราเรียนเกี่ยวแก่วิชาการทหารช่าง และอาณัติสัญญาณ์  รวมทั้งสมุดคู่มือ ซึ่งให้ประโยชน์แก่นักเรียนนายร้อยทหารบกในสมัยครั้งกระนั้น   เป็นเอนกประการ . . . 
 
 ฯลฯ
(จาก  หนังสือ  เพื่อระลึกถึงพระคุณฯ)
ทหารสื่อสาร
 
 
 
                    จากการที่ได้มีคำสั่งตั้ง "ชนิดทหารสื่อสาร" เป็นแผนกที่  ๒   ในกรมจเรการช่างทหารบก  เมื่อ  วันที่   ๒๗  พฤษภาคม  ๒๔๖๗   ให้มีหน้าที่การสื่อสาร  และปฏิบัติงานเกี่ยวกับการสื่อสาร นั้น  ได้ขยายเป็น เหล่าทหารสื่อสาร  กรมการทหารสื่อสาร  และการสื่อสาร ก็ได้เจริญแพร่หลายไปทุกวงการ   และทางเทคโนโลยี ก็ได้พัฒนารุดหน้าเป็นอย่างมาก ทั้งภาครัฐ และ เอกชน เช่นที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน   
 
 
     ทหารสื่อสารก็ถือเอา วันที่  ๒๗  พฤษภาคม  เป็น  วันทหารสื่อสาร
             
                     
 
 
ด้วยเหตุที่ทรงพระคุณต่อกิจการทหารช่าง และทหารสื่อสาร อย่างไม่มีผู้ใดเสมอเหมือน  
 
กระทรวงกลาโหมได้ขอพระราชทานชื่อค่ายทหาร โดยอัญเชิญพระนามของพระองค์ท่านเป็นชื่อค่ายดังนี้  .  .  .
 
  
 
ค่ายบุรฉัตร
 
 
 
 
 
 
 
 
 ค่ายบุรฉัตร       จังหวัดราชบุรี      เป็นที่ตั้งของ กองพลทหารช่าง
 
 
*   *   *   * 
 
ค่ายกำแพงเพชรอัครโยธิน
 
 
 
 
  
 
 
 
พระอนุสาวรีย์  พลเอก  พระเจ้าบรมวงศ์เธอ  กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน   
 
ประดิษฐาน  ณ  ค่ายกำแพงเพชรอัครโยธิน    กรมทหารสื่อสารที่ ๑    จังหวัดสมุทรสาคร 
 
 
 
 
 
 
 
 
*   *   *   *
 
 
 
 

 
 
เข็มบุรฉัตร
 
เพื่อเป็นการเทิดพระเกียรติ  และเผยแผ่พระเกียรติคุณ
 
พลเอก  พระเจ้าบรมวงศ์เธอ  กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน
 
กรมทหารสื่อสารที่  ๑   กองทัพบก  ได้จัดสร้าง "เข็มบุรฉัตร" 
 
มอบให้แก่ ผู้ที่บำเพ็ญคุณงามความดี และทำคุณประโยชน์แก่ทางราชการทหาร
 
เป็นที่ระลึก และเป็นเกียรติประวัติ แก่ตนเอง และวงศ์ตระกูล สืบไป
 
 
*   *   *   *
 
 
วงการวิทยุกระจายเสียง  และ โฆษณา    สู่   ทัศนาจร  และ  การท่องเที่ยว 
      
          จากสถานีวิทยุทดลองที่วังบ้านดอกไม้  พัฒนาไปสู่  สถานีวิทยุกรุงเทพฯ ที่พญาไท  เพียง  ๑  สถานี  เมื่อ พ.ศ.๒๔๗๓       เป็นสถานีวิทยุกระจายเสียง  สถานีวิทยุโทรทัศน์    และการแพร่กระจายคลื่นวิทยุในลักษณะต่างๆ  เช่นที่เป็นอยู่ ในทุกวันนี้ และจะพัฒนาต่อไป อย่างไม่อาจคาดเดาได้ ซึ่งทำให้วงการโฆษณาเติบโตตาม และขยายตัวไปในทุกสื่อ มีมูลค่าอย่างมากมาย
 
 อนึ่ง     การท่องเที่ยวที่นำรายได้สู่ประเทศเป็นจำนวนมหาศาลในปัจจุบัน    ก็มีกำเนิดมาจากการโฆษณากิจการรถไฟในยุคของพระองค์ท่าน นั่นเอง
 
 
การสื่อสารและโทรคมนาคม
 
           จากการเริ่มทดลองส่งวิทยุโทรภาพระหว่างกรุงเทพ - กรุงเบอร์ลิน  เมื่อ  วันที่  ๑๐  สิงหาคม  ๒๔๗๔   ที่ต้องใช้เวลาในการรับ - ส่งภาพถึง  ๑๐  นาที    ก็ได้พัฒนาขึ้นอย่างน่าอัศจรรย์  ดังที่เป็นอยู่ในป้จจุบัน  ซึ่งนับว่าเป็นยุคข้อมูลข่าวสาร  ซึ่งการจะรับ - ส่งข่าวสาร  หรือข้อมูลให้ได้  รวดเร็ว  ประหยัด  ชัดเจน  และแน่นอน  ก็ต้องขึ้นอยู่กับการใช้เทคโนโลยีในการสื่อสารและคมนาคม    ซึ่งพระองค์ท่านได้ทรงวางรากฐานไว้แล้ว
 
 
การออมสิน
 
          จาก คลังออมสิน  ไปสู่ ธนาคารออมสิน ดำเนินการตามพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวในการที่ปลูกฝังการรักการออมแก่เยาวชนและประชาชน ซึ่งธนาคารออมสิน  ก็ได้สนองพระราชหำริพัฒนาและส่งเสริมการออมแก่ประชาชนในลักษณะต่างๆ   และพัฒนาไปในรูปแบบเดียวกับธนาคารอื่นๆ  ในปัจจุบัน
 
 
การสำรวจและขุดเจาะปิโตรเลียม
 
 
           การที่ทรงให้ริเริ่มการสำรวจและขุดเจาะน้ำมันดิบ ที่ "บ่อเจ้าหลวง"  อำเภอฝาง  จังหวัดเชียงใหม่  เมื่อ  พ.ศ.๒๔๖๔   ซึ่งมีน้ำมันดิบขึ้นมาตามธรรมชาติอยู่แล้ว     แต่เมื่อขุดเจาะลงไปได้  ๑๘๕  เมตร  พบเพียงร่องรอยแกซธรรมชาติ แต่ปรากฏว่าท่อกรุขาด   จึงระงับการเจาะ  เมื่อ  พ.ศ.๒๔๖๕  นั้น      
         
           แม้ว่าพบเพียงร่องรอย ก็เป็นแรงบันดาลใจให้มีการสำรวจแหล่งน้ำมันดิบ และแกซธรรมชาติในประเทศไทยต่อมาดังที่เป็นในปัจจุบัน  

             
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
บ่อน้ำมันฝาง ปัจจุบัน กรมการพลังงานทหารดำเนินการต่อไปอย่างได้ผลในระดับหนึ่ง
 
 
 
 กิจการรถไฟ
 
                      เป็นกิจการที่เสด็จในกรมฯ ทรงทุ่มเททุกวิถีทางที่จะให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการคมนาคม และเศรษฐกิจในภูมิภาค   ซึ่งสามารถบรรลุพระปณิธานได้ระดับหนึ่ง
 
ฯลฯ
 
          ในวาระที่ทรงดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการรถไฟหลวง อันเป็นกรมรัฐพาณิชย์นี้เอง     เป็นวาระที่แสดงถึงความปรีชาสามารถของพระองค์ให้เห็น  ประจักษ์อย่างเด่นชัด เป็นต้นว่า    การเดินรถติดต่อระหว่างรถไฟสยามกับรถไฟสหรัฐมลายู     การขยายระยะทางรถไฟ     การประสานงานของถนนและรถไฟ  เพื่อให้ต่างฝ่ายต่างช่วยประโยชน์ซึ่งกันและกัน    และการฝึกหัดข้าราชการคนไทยให้มีวิชาความรู้ในการดำเนินงานรถไฟได้เองทั่วพระราชอาณาจักร์ . . .
                                
          พระปรีชาสามารถซึ่งทรงใช้ในกรมรถไฟไม่ว่ากิจการใดๆ  เป็นพะยานให้เห็นว่า  พระองค์เป็นผู้นำโดยแท้     
 
            พระองค์เป็นผู้ก่อกำเนิดในการชักนำให้ข้าราชการผู้ใหญ่ ผู้น้อยในกรมรถไฟมีความรู้สึกฉันท์มิตร์กัน  ยิ่งกว่าที่จะรู้สึกเป็นนายกับบ่าว   ทั้งนี้ได้ ก็ด้วยทุกคนร่วมเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันที่จะปฏิบัติราชการไปตามหน้าที่ ๆ พระองค์ทรงมอบหมายให้     
 
          ฉะนั้น   กรมรถไฟหลวง ภายใต้ความอำนวยการของพระองค์จึงไม่น้อยหน้ากว่ารถไฟของประเทศเพื่อนบ้านใกล้เคียงกัน ในครื่องล้อเลื่อนและอื่นๆ  ก็ได้ใช้แบบ และวิธีอันทันสมัย   นับว่าเป็นรถไฟที่มีประสิทธิภาพอยู่ในขนาดที่ดี  มาจนกระทั่งทุกวันนี้
 
ฯลฯ
(จาก  หนังสือ   "เพื่อระฤกถึงพระคุณฯ)
 
                เมื่อกรมรถไฟหลวงแปรสภาพเป็นรัฐวิสาหกิจ ประเภทสาธารณูปการ  ในชื่อ  การรถไฟแห่งประเทศไทย   ในวันที่  ๑  กรกฎาคม  ๒๔๙๔   นั้น  ก็ได้พยายามเจริญรอยตามที่เสด็จในกรมฯ  ทรงกรุยทางไว้ก่อนแล้ว   แต่การขยายเส้นทางเดินรถคงมีข้อจำกัด  หรือจากนโยบายของรัฐบาล จึงไม่มีการขยายเส้นทางเดินรถ    การดำเนินกิจการรถไฟในยุคนี้    ดูจะเป็นการ  พยุง  หรือพยายามไม่ให้ตกต่ำเร็วเกินควรเท่านั้นเอง    และงานซึ่งเป็นที่สนใจและพยายามดำเนินการกันเห็นจะได้แก่  .  .  .   การจัดหารถจักรดีเซลมาใช้งานเพิ่มเติม 
                      
รถจักรดีเซลที่การรถไฟแห่งประเทศไทยสั่งมาใช้งาน ได้แก่ 
 
 
 พ.ศ.๒๔๙๔     รถจักรดีเซลไฟฟ้าซุลเซอร์   ขนาด  ๙๖๐ แรงม้า   จากสวิสเซอร์แลนด์
 
       
 
   
 
 
 
 
รถจักรดีเซลไฟฟ้าซุลเซอร์   ขนาด   ๙๖๐  แรงม้า  
 
 
 
 
เพื่อเป็นการสำนึกในพระคุณ พลเอก  พระเจ้าบรมวงศ์เธอ  พระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากร  กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน
 
ที่ทรงริเริ่มนำรถจักรดีเซลมาใช้ในกิจการรถไฟหลวง
 
จึงได้อัญเชิญเครื่องหมายประจำพระองค์ และลายพระหัตถ์ "บุรฉัตร" ประดิษฐานไว้ข้างรถจักรดีเซลทุกคัน
 
ตั้งแต่ พ.ศ.๒๔๙๘  เป็นต้นมา
 
 
 
        
 
 
 
 
 
พ.ศ.๒๔๙๘     รถจักรดีเซลไฟฟ้า ดาเวนปอร์ต    กำลัง  ๕๐๐  และ   ๒ x ๕๐๐    จากสหรัฐอเมริกา
 
 
  
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
รถจักรดีเซลไฟฟ้าดาเวนปอร์ต     ขนาด   ๕๐๐  แรงม้า  (ซ้าย)    และ    ๒ x ๕๐๐  แรงม้า  (ขวา)   ความเร็วสูงสุด    ๙๒  กิโลเมตร ต่อ ชั่วโมง
             
             
 
  พ.ศ.๒๔๙๘     ได้สั่งรถจักรดีเซลมาใช้ในรถไฟสายแม่กลอง  สองชนิด  คือ 
 
รถจักรดีเซลไฮโดรลิกส์เฮนส์เชล    ขนาด    ๔๔๐  แรงม้า    จากสหพันธรัฐเยอรมนี ใช้ลากจูงรถด่วนในรถไฟสายแม่กลอง จากสถานึคลองสาน - มหาชัย เป็นครั้งแรก เมื่อ  ๑๑  สิงหาคม  ๒๕๐๐      และ  รถจักรดีเซลไฟฟ้า ซุลเซอร์   ขนาด  ๗๓๕  แรงม้า
             
 
 
 
 
 
รถจักรดีเซลไฮโดรลิกส์เฮนส์เชล    ขนาด    ๔๔๐  แรงม้า 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
รถจักรดีเซลไฟฟ้า ซุลเซอร์   ขนาด  ๗๓๕  แรงม้า
 
 
 
 
  พ.ศ.๒๕๐๑     รถจักรดีเซลไฟฟ้าฮิตาชิ    ขนาด   ๙๕๐  แรงม้า    ความเร็วสูงสุด    ๗๐  กิโลเมตร ต่อ ชั่วโมง     จากประเทศญี่ปุ่น
     
 
 
 
        
 
 
 รถจักรดีเซลไฟฟ้าฮิตาชิ    ขนาด   ๙๕๐  แรงม้า 
 
 
 
 พ.ศ.๒๕๐๔     การรถไฟแห่งประเทศไทย  ได้ทำโครงการ  Dieselization  นำรถจักรดีเซลมาทดแทนรถจักรไอน้ำทั้งหมดภายในเวลา  ๑๔ ปี
            
 
พ.ศ.๒๕๐๗     รถจักรดีเซลไฮโดรลิคส์ เฮนส์เชล   กำลัง  ๑,๒๐๐  แรงม้า   ความเร็วสูงสุด    ๙๐  กิโลเมตร ต่อ ชั่วโมง    จากสหพันธรัฐเยอรมนี
 

             
 
 
รถจักรดีเซลไฮโดรลิคส์ เฮนส์เชล   กำลัง   ๑,๒๐๐  แรงม้า
 
 
 
พ.ศ.๒๕๐๗    ทางการทหารสหรัฐอเมริกา ส่งรถจักรดีเซลไฮโดรลิคส์พลีมัท มาสนับสนุนการปฏิบัติภารกิจระหว่างสงครามเวียดนาม   จำนวน  ๑๐  คัน
 
 
 
 
             
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
รถจักรดีเซลไฮโดรลิคส์พลีมัท
 
 
รถจักรดีเซลไฟฟ้า ยี.อี.   กำลัง  ๑,๓๒๐  แรงม้า    ความเร็วสูงสุด    ๑๐๓  กิโลเมตร ต่อ ชั่วโมง  จากสหรัฐอเมริกา    และทางสหรัฐอเมริกาได้ส่งมาเปลี่ยนกับ "พลิมัท" อีก  ๑๐ คัน    
            
 
 
 
 
 
รถจักรดีเซลไฟฟ้า ยี.อี.   กำลัง  ๑,๓๒๐  แรงม้า 
 
 
 
 
 พ.ศ.๒๕๑๒     รถจักรดีเซลไฮโดรลิคส์กรุป์ป    กำลัง  ๑,๕๐๐  แรงม้า    ความเร็วสูงสุด    ๙๐  กิโลเมตร ต่อ ชั่วโมง      จากสหพันธรัฐเยอรมนี  
 
 
 
 
   
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
รถจักรดีเซลไฮโดรลิคส์กรุป์ป    กำลัง  ๑,๕๐๐  แรงม้า           
    
 
 
 
 พ.ศ.๒๕๑๗, ๒๕๒๓, ๒๕๒๖ และ ๒๕๒๘    รถจักรดีเซลไฟฟ้าอัลสธอม    กำลัง   ๒,๔๐๐  แรงม้า    ความเร็ว    ๑๐๐ กิโลเมตร ต่อ ชั่วโมง    จากประเทศฝรั่งเศส
 
 
         
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
รถจักรดีเซลไฟฟ้าอัลสธอม    กำลัง    ๒,๔๐๐  แรงม้า
 

             
 
พ.ศ.๒๕๓๖    รถจักรดีเซลไฟฟ้าฮิตาชิ    ขนาด    ๒ x ๑,๔๓๐  แรงม้า    ความเร็วสูงสุด    ๑๐๐  กิโลเมตร ต่อ ชั่วโมง    จากประเทศญี่ปุ่น
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
รถจักรดีเซลไฟฟ้าฮิตาชิ  ขนาด    ๒ x ๑,๔๓๐  แรงม้า 
                
 
 
พ.ศ.๒๕๓๘     รถจักรดีเซลไฟฟ้า ยี.อี.  ขนาด   ๒,๕๐๐  แรงม้า    ความเร็วสูงสุด    ๑๐๐  กิโลเมตร ต่อ ชั่วโมง    จากสหรัฐอเมริกา
 
 
 
 
 
รถจักรดีเซลไฟฟ้า ยี.อี.  ขนาด   ๒,๕๐๐  แรงม้า 
 
 
 
 
 
ถึงกระนี้กระนั้นกระไรก็ตาม      สามารถกล่าวโดยสรุปได้ว่า
 
กิจการรถไฟไทย ในสมัยเสด็จในกรมฯ ได้เจริญรุดหน้าอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน
 
แม้ในปัจจุบันก็ไม่อาจสามารถเทียบเทียมได้
             
             
 
 
               

             
 
 
 
กว่า  ๗๐ ปี จากวันสิ้นพระชนม์
 
พระเกียรติคุณ และพระปรีชาสามารถอันหลากหลาย ของพระองค์ท่านที่แผ่กว้างไปในวงการต่างๆ  อย่างหลากหลาย
 
นับวันแต่จะปรากฏเป็นที่ประจักษ์แก่ประชาชาวไทย 
 
สมดังพระนาม
 
 
 
 
 
 
 
             
 
นายพลเอก  พระเจ้าบรมวงศ์เธอ  พระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากร
 
กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน 
 
ประชาบดินทรเจษฎภาดา  ปิยมหาราชาราชวงศ์วิศิษฏ์
 
เอนกยนตรวิจิตรกฤตยโกศล  วิมลรัตนมหาโยธาธิบดี  ราชธุรันธุรีมโหฬาร
 
พาณิชยการคมนาคม  อุดมรตนตรัยสรณ  ธาดามัททวเมตตาชวาศรัย
 
ฉัตร์ชัยดิลกบพิตร
            
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
บรรณานุกรม
            - จดหมายเหตุพระราชกิจรายวัน    พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว    ภาค  ๑๒    ที่ระลึกในงานพระราชทานเพลิงพระศพ  พระเจ้าบรมวงศ์เธอ  กรมพระกำแพงเพ็ชรอัครโยธิน  ณ พระเมรุวัดเทพศิรินทราวาส      เมื่อ   ๒    กุมภาพันธ์    ๒๔๗๙
 
            - เพิ่อระฤกพระคุณ  พระเจ้าบรมวงศ์เธอ  กรมพระกำแพงเพ็ชรอัครโยธิน   โรงพิมพ์กรมรถไฟ  ๑๐.๗๙.   
 
            - ส่วนพระบรมฉายาลักษณ์ พระฉายาลักษณ์ และภาพต่างๆ  ได้รับความอนุเคราะห์จาก วารสารรถไฟสัมพันธ์  จากเว็ปไซต์ของการรถไฟ
แห่งประเทศไทย  และจากเว็ปไซต์ อื่นๆ ที่ปรากฏสัญญลักษณ์บนภาพก็ดี  ไม่ปรากฏก็ดี   ทั้งข้อมูลส่วนที่เป็นข้อความก็ดี   ที่เป็น พระบรมฉายาลักษณ์  พระฉายาลักษณ์ หรือ ภาพต่างๆ ก็ดี ล้วนแล้วแต่ช่วยให้เรื่องสมบูรณ์  และน่าอ่านยิ่งขึ้น จึงขอขอบคุณ ทุกส่วน ทุกเว็ปไซต์ ที่เกี่ยวข้องไว้  ณ  ที่นี้
 
 
 

 




บทความจากสมาชิก




1

ความคิดเห็นที่ 1 (709)
avatar
นายถนอม พูนวงศ์

ดีมากๆ เลยครับ  อ่านประวัคิศาตร์การรถไฟแล้ว อยากโดยสารรถไฟมากๆ แต่เมื่อไรจะพัฒนาความเร็วให้เหมือนรถไฟในต่างประเทศบ้างละครับ?

ผู้แสดงความคิดเห็น นายถนอม พูนวงศ์ (thinompon-at-hotmail-dot-com)วันที่ตอบ 2010-12-21 11:01:35


ความคิดเห็นที่ 2 (710)
avatar
สัมพันธ์ แจ้งเจนเวทย์

ครับ    การเดินทางโดยรถไฟมีคุณค่าของการเดินทางมาก    แต่การเดินทางด้วยรถไฟในปัจจุบันก็  .  .  .   

          เท่าที่ทราบ  กิจการรถไฟในยุคเสด็จในกรมพระกำแพงฯ    กรมรถไฟหลวงสั่งรถจักรดีเซลมาใช้เป็นประเทศแรกในทวีปเอเซีย  และทรงสั่งรถจักรที่มีประสิทธิภาพที่สุดมาใช้เสมอ    กิจการรถไฟของไทยจึงเจริญรุ่งเรืองมาก  และคงอยู่ในระดับแนวหน้าของนานาชาติ   เนื่องจากสายพระเนตรอันกว้างขวางและยาวไกล

          ในปัจจุบัน    ผมว่า  ครฟ. (คนรถไฟ) ทุกท่านปรารถนาที่จะให้กิจการรถไฟในปัจจุบันรุ่งเรืองเช่นในสมัยเสด็จในกรมฯ เหมือนกัน   นะครับ

          เราเป็นชาติแรกในเอเซียที่ใช้รถจักรดีเซล  และอาจจะเป็นชาติสุดท้ายในเอเซียที่ยังคงใช้รถจักรดีเซลอยู่ก็ได้  ครับ         

ผู้แสดงความคิดเห็น สัมพันธ์ แจ้งเจนเวทย์ (samphan_chaeng-at-hotmail-dot-com)วันที่ตอบ 2010-12-21 17:30:20


ความคิดเห็นที่ 3 (101649)
avatar
mint

 กำลังหาหนังสือเล่มนี้ค่ะ เพื่อรฦกถึงพระคุณ สมเด็จพระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน

ไม่ทราบว่าจะกรุณา รบกวนขอแบ่งปันข้อมูลได้มั้ยคะ กำลังทำวิทยานิพนธ์ค่ะ  ขอบคุณค่ะ

ผู้แสดงความคิดเห็น mint (mashimoro_mint-at-hotmail-dot-com)วันที่ตอบ 2011-06-26 07:45:15


ความคิดเห็นที่ 4 (101969)
avatar
สัมพันธ์

คุณ มืนท์

          ขออภัย  ผมไม่ได้เข้ามาดูเสียนาน  เลยไม่ทราบว่าอยากได้ข้อมูลจากหนังสือเล่มนี้

          ผมยินดี  ที่จะสนับสนุนครับ     ต้องไปค้นก่อนว่าเก็บไว้ที่ไหน  เพราะเก็บดีมาก  

          หากยังต้องการ  กรุณาติดต่อกลับ    08 1917 7119

ผู้แสดงความคิดเห็น สัมพันธ์ (samphan_chaengchenwet-at-hotmail-dot-com)วันที่ตอบ 2012-01-22 15:34:36



1


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.
| WW II Europe | WW II Asia | WW I | Vietnam War | ประวัติศาสตร์ไทย | บทความจากสมาชิก | คุยกันหลังฉาก | บทความทั้งหมด |

สนใจร่วมเขียนบทความในเว็บไซต์ เชิญอ่าน แนวทางการร่วมเขียนบทความ ภาพยนตร์ประวัติศาสตร์

Custom Search



eXTReMe Tracker