dot
dot
เว็บภาพยนตร์ประวัติศาสตร์ ยินดีต้อนรับผู้สนใจทุกท่าน
dot
dot
สมาชิก Webboard/Blog
ชื่อผู้ใช้ :
รหัสผ่าน :
เข้าสู่ระบบอัตโนมัติ :
bullet ลืมรหัสผ่าน
dot
bulletข้อตกลงการเป็นสมาชิก
bulletเว็บบอร์ด-คุยกันหลังฉาก
bulletเว็บบอร์ด-Games ย้อนยุค
bulletเว็บบอร์ด-ชุดจำลองประวัติศาสตร์
bulletเว็บบอร์ด-หนังสือประวัติศาสตร์
bulletเว็บบอร์ด-เพลงประวัติศาสตร์
bulletคำถาม/คำตอบ ล่าสุด
bulletแนวทางการร่วมเขียนบทความ
dot
สงครามโลกครั้งที่ 2
dot
bulletสมรภูมิยุโรป (สัมพันธมิตรVSเยอรมัน-อิตาลี)
bulletสมรภูมิแปซิฟิก-เอเชีย (สัมพันธมิตรVSญี่ปุ่น)
dot
ภาพยนตร์ประวัติศาสตร์อื่นๆ
dot
bulletสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง
bulletประวัติศาสตร์ไทย
bulletประวัติศาสตร์อเมริกันยุคเริ่มแรก
bulletสงครามเวียดนามและอินโดจีน
bulletตะวันตกโบราณ (กรีก โรมัน ฯลฯ)
bulletประวัติศาสตร์ร่วมสมัย
bulletเอเชียโบราณ
bulletประวัติศาสตร์อื่นๆ (ยังไม่แยกหมวดหมู่)
bulletคลิปความรู้จาก YouTube
dot
บทความโดย วิวันดา
dot
bulletฮิตเล่อร์...และเหล่าขุนพลแห่งอาณาจักรไรค์ซที่สาม
bulletลอดลายรั้ว.....วินด์เซอร์
bulletเลิศเลอวงศา...โรมานอฟ
bulletเชลย
bulletซูคอฟ...ยอดขุนพลผู้ดับฝันของฮิตเล่อร์
dot
บทความโดย สัมพันธ์
dot
bulletคนไทยในกองทัพพระราชอาณาจักรลาว
bulletประวัติศาสตร์สงคราม กรีก
bulletกรณีพิพาทอินโดจีนและสงครามมหาเอเชียบูรพา
bulletอยุธยายศล่มแล้ว ลอยสวรรค์ ลงฤา
bulletฮานนิบาล
bulletพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบรมวงศานุวงศ์
bulletไทยกับมหาสงคราม
bulletสงครามเวียดนาม
bulletห้วยโก๋น ๒๕๑๘
bulletการทัพในมลายา
bulletประวัติศาสตร์อื่น ๆ
dot
เรื่องอื่นๆ
dot
bulletบทความเสริมความรู้ทั่วไป
bulletเกร็ดเล็กเกร็ดน้อย
bulletผู้จัดทำ
bulletผังเว็บไซต์ (Site Map)
bulletแนวทางการร่วมเขียนบทความ
bulletถาม-ตอบ (FAQs) (โปรดอ่านก่อนตั้งกระทู้หรือสมัครสมาชิก)
bulletร้านค้าออนไลน์
bulletแบ่งปัน Album
dot
ลิงค์ต่างๆ
dot
bulletHistory on Film
bulletกองบิน 21 กองพลบิน 2
bulletIELTS British Council
bulletIELTS IDP
bulletMUIC




โหราศาสตร์ยุคไอที



SUNRISE - การเข้าตีภูกูด (ครั้งที่ ๓)
วันที่ 16/02/2020   20:50:58

*  *  *

SUNRISE  -  การเข้าตีภูกูด  (ครั้งที่ ๓)

สถานการณ์เดิม  .  .  .

SUNRISE - พระสุริยนจะเยี่ยมยอดยุคนธร  .  .  .

          ๔  กรกฎาคม  ๒๕๐๗    ราชาแห่งสนามรบถึงเมืองสุย    คืนวันที่  ๔  ก.ค.๐๗  นี่ผ่านไปด้วยความฉุกละหุกดีพิลึก

          ฝ่ายเป็นกลางกำหนดแผนการรบว่าจะเข้าตีฝ่ายขบวนการประเทศลาวและเวียดมินห์ที่ภูกูดทางด้านตะวันตก  ใน  ๑๙ - ๒๗  กรกฎาคม  ๒๕๐๗    ซึ่งกองร้อยเอสอาร์ก็ได้ยิงสนับสนุนการเข้าตีครั้งนี้อย่างเต็มที่    แต่ผลการเข้าตีไม่เป็นไปตามแผน  คือเข้าตีไม่สำเร็จ  ไปไม่ถึงที่หมาย

          ฝ่ายเป็นกลางจึงกำหนดเข้าตีภูกูดอีกใน  ๕ - ๙  สิงหาคม    ครั้งนี้  กำลังรบ  (ฝ่ายเป็นกลาง)  แสดงเจตนาชัดเจนว่า  "เข้าไปก็ตายเปล่าๆ  สู้อยู่เฉยๆ ไม่ได้" สั่งเข้าตีก็หลบเข้าป่าเสีย

          คณะผู้ที่เกี่ยวข้องจึงต้องหารือกัน  และฝ่ายปฏิบัติก็เลย  ขอให้จัดทีมครูฝึกมาฝึกให้ไปรบ  โดยจัดทีมครูฝึกเป็นส่วนเพิ่มเติมของกองร้อยปืนใหญ่เอสอาร์

          เมื่อการฝึกได้เสร็จสิ้นแล้ว  .  .  .  เชิญติดตามการเข้าตีภูกูดครั้งใหม่  ครับ

 

สถานการณ์ต่อไป  .  .  .

การเข้าตีภูกูด (ครั้งที่ ๓)

          เมื่อฝึกจนฝ่ายครูฝึกมั่นใจว่าใช้การได้แล้ว  จึงกำหนดการเข้าตีภูกูด ครั้งใหม่ขึ้น  ในวันที่  ๒ - ๑๑  ธันวาคม  ๒๕๐๗    ผลหรือครับ  .  .  .  เพื่อนปีนเขาขึ้นไปสักครึ่งเขาก็ปีนลง  ไม่ขึ้นไป  ทั้งๆ ที่กำลังของขบวนการประเทศลาวและเวียดมินห์ข้างบนมีไม่กี่คน  บางทีก็ออกนอกเส้นทางเสีย  ไปนั่งสังเกตการณ์ดูตั้งแต่วันแรก  วันที่สอง  เรื่อยไปก็เหมือนเดิมทุกวัน  .  .  .  ก็ลงเอยเหมือนเดิมคือ  ขึ้นภูกูดไม่ได้  ตีโอบก็ไม่เอา  กลับมาอยู่แนวเก่าดีกว่า  ไม่ตายดี  .  .  .  พวกฝ่ายเป็นกลางยศน้อยๆ  เขาบอกว่าตีไปทำไมกัน  ไม่ได้ดีอะไรด้วย  มีแต่ตายลูกเดียวถ้าทำกล้า,  สู้อยู่เฉยๆ ไปวันๆ ยังดีกว่าไม่ตาย  .  .  .

          สรุปได้ตอนนี้ว่าฝ่ายเป็นกลางหมดแรงไปแล้ว

          นี่แหละครับ  อำนาจกำลังรบที่ไม่มีตัวตนของฝ่ายเป็นกลาง  ก็เป็นอำนาจกำลังรบที่ไม่มีตัวตนจริงๆ  คือ  ไม่มีเอาเสียเลย

 

"ยิงเขามามากแล้ว  ก็ถูกเขายิงพังเสียบ้าง"         

          ในการเข้าตีภูกูด    กองร้อยปืนใหญ่เอสอาร์ที่ยิง  .  .  .  ยิง  .  .  .  และยิง  เสียจนลำเลียงกระสุนกันแทบไม่ทันนั้น  ใช่ว่าจะยิงเขาฝ่ายเดียวนะครับ    เราเห็นในเรื่องอำนาจกำลังรบแล้ว  ว่าฝ่ายขบวนการประเทศลาวและเวียดมินห์ก็มีปืนใหญ่เหมือนกัน  และนำยุทธวิธีทหารปืนใหญ่มาใช้ให้เกิดประโยชน์ด้วย   ไม่ได้ใช้แต่เทคนิคการยิง เพียงอย่างเดียว    

๔  ธันวาคม  ๒๕๐๗  

          ระหว่างการเข้าตีภูกูด  ครั้งที่ ๓    กองร้อยปืนใหญ่เอสอาร์ก็ยิงสนับสนุนหน่วยเข้าตีอย่างขมักเขม้น  (ไม่ทราบว่าหน่วยเข้าตีเดินลงเขากลับหรือยัง)  ฝ่ายขบวนการประเทศลาวและเวียดมินห์ก็ใช้ปืนใหญ่ยิงต่อต้านปืนใหญ่ฝ่ายเป็นกลาง    แทบจะว่าเป็นการดวลปืนใหญ่กันทีเดียว    แต่ภารกิจต่างกัน

          ปืนใหญ่ฝ่ายเป็นกลางยิงสนับสนุนหน่วยดำเนินกลยุทธในการเข้าตี  ฝ่ายเป็นกลางยิงยากกว่า  เพราะคงจะไม่มีผู้ตรวจการณ์หน้าไปกับหน่วยเข้าตี  คงได้แต่ยิงตามคำขอยิงจากที่ตรวจการณ์ภูเซีย  ซึ่งอยู่กับที่  ก็ว่ากันไป   

          ส่วนปืนใหญ่ฝ่ายขบวนการประเทศลาวและเวียดมินห์ยิงต่อต้านปืนใหญ่ฝ่ายเป็นกลาง    ฝ่ายขบวนการประเทศลาวและเวียดมินห์ยิงได้ง่ายกว่าครับ  เพราะที่ตั้งยิงของฝ่ายเป็นกลางเปิดเผย  ตรวจการณ์ได้ง่าย  ไม่มีการเปลี่ยนที่ตั้งยิงเลย  มีแต่การปรับปรุงระบบป้อมสนามสร้างบังเกอร์ป้องกันให้แข็งแรงเท่านั้น  ไม่มีการพราง  การซ่อนเร้น  เพราะฝ่ายเป็นกลางเป็นเจ้าอากาศ

          ท่านว่าอาวุธที่ฝ่ายขบวนการประเทศลาวและเวียดมินห์ใช้ยิงต่อต้านปืนใหญ่ฝ่ายเป็นกลางนั้น   ฝ่ายขบวนการประเทศลาวและเวียดมินห์ใช้ถึง  ๔ ชนิด  คือ

            - ปืนใหญ่เบากระสุนวิถีโค้ง  (ปบค.) ขนาด  ๑๐๕ มม.  

            - ปืนใหญ่เบากระสุนวิถีราบ  (ปบร.) ขนาด  ๘๕ มม.  

            - เครื่องยิงลูกระเบิด  ขนาด  ๑๒๐ มม.  (ค.๑๒๐ มม.)

            - ใช้รถถังพีที-๗๖  หรือ ที-๓๔  เป็นฐานยิง  คือใช้ปืนใหญ่รถถังยิงเท่านั้น  ตัวรถถังไม่เคลื่อนที่ดำเนินกลยุทธ
           
           ในระหว่างที่ดวลปืนใหญ่กัน  และฝ่ายขบวนการประเทศลาวและเวียดมินห์ยิงที่ตั้งยิงกองร้อยปืนใหญ่เอสอาร์นี่แหละครับ   มีอยู่นัดหนึ่ง  และนัดเดียวจริงๆ ตกลงตรงกองกระสุนของหมู่ปืนใหญ่ขนาด ๑๐๕ มม. เข้าพอดี  .  .  .  เรียบโร้ย ครับ    เกิดระเบิดซ้อน   ท่านผู้เห็นเหตุการณ์เล่าว่า 

          .  .  .  กองกระสุนที่ระเบิดนี้เปนควันลอยสูงขึ้นเปนรูปดอกเห็ดเลย  ผมยังได้ให้ช่างภาพยนต์  . . .  ถ่ายเอาไว้และผมเก็บเอาไว้ดูเปนที่ระลึกจนถึงปัจจุบันนี้  ก็ผมอยู่ในเหตุการณ์ด้วยตลอดเวลานี่ครับ  .  .  .  (แต่ท่านไม่ได้นำภาพมาแสดง  เลยไม่มีภาพมาให้ดู)

          ผลหรือครับ  .  .  .  นัดนี้นัดเดียว  ฝ่ายเป็นกลางเสียอาวุธ  ปบค.๑๐๕  จำนวน  ๑ กระบอก  ปืนสั้นบรรจุเอง แบบ ๘๗  (ปสบ.๘๗)  ๑๒ กระบอก   และยุทโธปกรณ์อื่นๆ   จำนวนหนึ่ง

          ถึงแม้ไม่มีภาพ "ดอกเห็ด" มาให้ชม  ท่านก็มีภาพอื่นมาให้ชมกันครับ
          
 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

"ยิงเขามามากแล้ว  ก็ถูกเขายิงพังเสียบ้าง"

 

 

ปืนสั้นบรรจุเองแบบ ๘๗  (ปสบ.๘๗)

อาวุธประจำกายทหารปืนใหญ่ 

 

 

          ส่วนยิง ปกค.๑๕๕ มม. ของกองร้อยปืนใหญ่เอสอาร์  ก็ทำลายอาวุธของฝ่ายขบวนการประเทศลาวและเวียดมินห์ได้เหมือนกันนะครับ  คือ

          ๕  ธันวาคม    สามารถทำลาย  ปบค.๑๐๕ มม.  ได้  ๒ กระบอก  และ

          ๖  ธันวาคม    ก็ทำลาย  ปตอ.๓๗ มม. ได้อีก  ๑ กระบอก

           หลังจากการเข้าตีภูกูด  ครั้งที่ ๓  (๒ - ๑๑  ธันวาคม  ๒๕๐๗ )  แล้ว  ส่วนยิง ปกค.๑๕๕ มม.  ก็ยังมีผลงานอีก         

          ๑๒  มกราคม  ๒๕๐๘    สามารถทำลาย  ปบร.๘๕ มม.ได้อีก  ๑ กระบอก

 

ดัดแปลงภูมิประเทศและจัดระเบียบที่ตั้ง

          เมื่อสถานการณ์เอื้ออำนวย  กองร้อยปืนใหญ่เอสอาร์   ได้ดัดแปลงภูมิประเทศและจัดระเบียบที่ตั้ง  ท่านมีภาพให้ดูครับ  .  .  .

 

 

 

ที่ตั้งยิง ปกค.๑๕๕ มม.

 

 

 

 

 

 

 

 ที่ตั้งยิง  ปบค.๑๐๕ มม.

 

 


 

 

ส่วนหนึ่งของความเป็นระเบียบเรียบร้อยสวยงามกองร้อยปืนใหญ่เอสอาร์

 

 

SR.I  -  SR.II

          นับตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่สองยุติลง  รัฐบาลไทยได้ส่งกองทหารออกไปรบนอกประเทศคือร่วมในกองกำลังสหประชาชาติในสงครามเกาหลี  ตั้งแต่ พ.ศ.๒๔๙๓  เป็นต้นมา  โดยจัดส่งเป็นผลัดๆ  ผลัดละ  ๑ ปี    เนื่องจากสงครามเกาหลีเป็นสงครามใหญ่  มีการจัดสวัสดิการ และบำรุงขวัญทหารที่ทำการรบเป็นระบบอย่างดี  และเมื่อถึง พ.ศ.๒๕๐๗  นี้  สถานการณ์รบก็เบาบางลงมาก    แต่การปฏิบัติการที่เมืองสุย นี้  เป็นการรบกันเองระหว่างกองกำลังลาวฝ่ายเป็นกลางกับฝ่ายขบวนการประเทศลาวและเวียดมินห์    สถานการณ์ก็รุนแรง  แต่ไม่มีการสว้สดิการ  หรือบำรุงขวัญกำลังพลแต่ประการใดทั้งสิ้น  ผู้บังคับบัญชาจึงปรับเวลาปฏิบัติการให้เหลือผลัดละ  ๘ เดือน

          กองร้อยปืนใหญ่เอสอาร์ ก็ครบกำหนด  ๘ เดือนใน  ๘  กุมภาพันธ์  ๒๕๐๘   แต่สถานการณ์ของฝ่ายเป็นกลางยังไม่เป็นที่น่าไว้วางใจ  จึงจำต้องมีกองร้อยปืนใหญ่สนับสนุนอยู่ต่อไป   ครับ  .  .  .  ก็ต้องมีกองร้อยปืนใหญ่เอสอาร์ผลัดใหม่มาสับเปลี่ยนกำลัง  .  .  .  เป็นกองร้อยปืนใหญ่เอสอาร์ - ๒   

          เมื่อจะมีกองร้อยปืนใหญ่ผลัดใหม่มาผลัดเปลี่ยน  เป็นกองร้อยปืนใหญ่เอสอาร์ - ๒  กองร้อยปืนใหญ่เอสอาร์เดิมนี้   จึงต้องเป็นกองร้อยปืนใหญ่เอสอาร์ - ๑

 

ผลการยิงของกองร้อยปืนใหญ่เอสอาร์ - ๑

          ในช่วง เดือนกรกฎาคม  ๒๕๐๗  ถึง มกราคม  ๒๕๐๘  ประมาณ  ๗ เดือนของกองร้อยปืนใหญ่เอสอาร์ - ๑  นี้  ก็มีการบันทึกว่าผลการยิงเป็นอย่างไรบ้าง  เชิญครับ  .  .  .  (ได้แสดงไว้ตามลำดับ  วัน เวลาแล้ว  เพื่อให้เห็นภาพตามขั้นตอน   แต่รวบรวมมาไว้เพื่อให้เห็นผลการยิงได้ชัดเจน)

 

          วัน  เดือน  ปี                            อาวุธที่ใช้ยิง             เป้าหมายฝ่ายขบวนการประเทศลาวและเวียดมินห์ที่ถูกทำลาย

 

          ๑๘  กรกฎาคม  ๒๕๐๗        ปบค.๑๐๕ มม.                      ปบค.๑๐๕ มม.  ๒ กระบอก

          ๑๙  กรกฎาคม                       ปกค.๑๕๕ มม.                     ปบร.๘๕ มม.  ๒ กระบอก

          ๕  สิงหาคม                            ปกค.๑๕๕ มม.                     รถถัง พีที-๗๖  ๑ คัน

           ๗  สิงหาคม                           ปบค.๑๐๕ มม.                      ปรส.๕๗  ๒ กระบอก

                                                          ปกค.๑๕๕ มม.                    ปบค.๑๐๕ มม.  ๒ กระบอก

          ๑๓  สิงหาคม                                                                        ปตอ.๓๗ มม.  ๒ กระบอก
 

           ๗  กันยายน                                                                         รถบรรทุก  ๔ คัน

          ๑๔  กันยายน                                                                       ปบร.๘๕ มม.  ๒ กระบอก

            ๑  ตุลาคม                                                                          ปบค.๑๐๕ มม.  ๒ กระบอก

          ๑๖  ตุลาคม                                                                          ปบร.๘๕ มม.  ๒ กระบอก

            ๕  ธันวาคม                                                                        ปบค.๑๐๕ มม.  ๒ กระบอก

            ๖  ธันวาคม                                                                         ปตอ.๓๗ มม.  ๑ กระบอก

          ๑๒  มกราคม  ๒๕๐๘                                                         ปบร.๘๕ มม.  ๑ กระบอก

           ตั้งแต่  ๑๓  สิงหาคม  ๒๕๐๗  เป็นต้นมา  เป็นการปฏิบัติของ  ปกค.๑๕๕ มม. ทั้งสิ้น

 

          นอกจากกองร้อยปืนใหญ่เอสอาร์ - ๑  แล้ว ไม่ปรากฏว่ากองร้อยปืนใหญ่เอสอาร์อื่นๆ  ได้บันทึกผลการยิงไว้เลย

 

ผลการถูกยิงของกองร้อยปืนใหญ่เอสอาร์ - ๑

          ในช่วง เดือนกรกฎาคม  ๒๕๐๗  ถึง มกราคม  ๒๕๐๘  ประมาณ  ๗ เดือนนี้    มีการบันทึกว่ากองร้อยปืนใหญ่เอสอาร์ - ๑ ก็รับของฝ่ายฝ่ายขบวนการประเทศลาวและเวียดมินห์ไว้มากเหมือนกัน  นับได้ประมาณ  ๒,๐๐๐ นัด  ซึ่งจำแนกตำบลกระสุนตกได้ดังนี้ครับ

          - กระจัดกระจาย สะเปะสะปะ  หรือเป็นการปรับการยิง  ไม่ถึง  ๒๐๐ นัด

          - ที่ตรวจการณ์ภูเซีย    ประมาณ  ๒๖๐ นัด

          - ส่วนยิง ปบค.๑๐๕ และ ๑๕๕  (ที่ตั้งยิง)    ประมาณ  ๑,๕๐๐ นัด 

 

กองร้อยปืนใหญ่เอสอาร์ ผลัดต่อๆ มา

          กองร้อยปืนใหญ่เอสอาร์ ผลัดต่อๆ มา  ก็ดูผ่อนคลายมากขึ้น  มีสวัสดิการดีขึ้น  การบำรุงขวัญดีขึ้น  สิ่งอำนวยความสะดวกมากขึ้น  เช่น  

          เมื่อถึง  เอสอาร์ - ๗  ก็มี  อาคารสำนักงาน  อาคารที่พักของนายทหารมีเครื่องทำน้ำอุ่นใช้ตลอดเวลา  มีอาคารรับประทานอาหารของนายทหารซึ่งใช้เป็นโรงหนังหล้งจากรับประทานอาหารเย็นเสร็จ  (มีภาพยนตร์ใหม่เอี่ยมจาก สรอ.มาฉายทุกคืน)  ในตู้เย็นจะมีเบียร์  และโซดาแช่เย็น  และมีสุราฝรั่งพร้อม

ณ  ฐานยิงนี้ยังมี

          ๑. โรงเลื่อยไม้  ซึ่งใช้ใบเลื่อยต่อจากเพลารถ  ๒ ตันครึ่ง  ไม้ที่เข้าเลื่อยจะเป็นไม้สน  .  .  .        

          ๒. เตาเผาอิฐ  เพื่อทำอิฐใช้ในการทำฐาน ป.  และอาคารบ้านพัก

          ๓. ช่างตัดเย็บผ้า  (มีจักรเย็บผ้าพร้อม)  เพื่อทำเสื้อฝน  เสื้อกันหนาว  และ

          ๔. ช่างโลหะ  เพื่อทำเครื่องโลหะจากปลอกกระสุนขนาดต่างๆ  ซึ่งใช้เป็นของชำร่วยอย่างดี

ที่ตรวจการณ์ภูเซีย    

          เป็นที่ตรวจการณ์เดียวของหน่วยเอสอาร์  ตั้งอยู่บนภูเซียซึ่งอยู่ในแนวขอบหน้าของการตั้งรับของทหารฝ่ายเป็นกลาง  ภูเซียตั้งอยู่ด้านซ้ายของถนนสาย ๗    ห่างจากที่ตั้ง ป.๑๐๕ และ ป.๑๕๕ มม. ไปทางทุ่งไหหินประมาณ  ๔ กม.    อยู่ตรงกันข้ามกับภูกูดซึ่งเป็นที่ตรวจการณ์ของฝ่ายขบวนการประเทศลาวและเวียดมินห์เช่นเดียวกัน    ภูกูดสูงกว่าภูเซียมาก  อยู่ห่างกันประมาณ  ๒ กม.

          .  .  .  สิ่งอำนวยความสะดวกมีตามสมควร  เช่น ตู้เย็นน้ำมันก๊าด  และเครื่องทำน้ำอุ่น  .  .  .

ถนนหมายเลข ๗

          จากเมืองภูคูณ  ผ่านเมืองสุย  จะเข้าสู่ทุ่งไหหินทางด้านขวาของภูเซีย  ที่มั่นฝ่ายกลางจะอยู่ตามเนินภูดุก  หน้าภูดุกเป็นลำน้ำงึม  ตรงข้ามภูดุกจะเป็นภูแท่นซึ่งอยู่เลยน้ำงึมไปและเป็นเขตเมืองพั้น  และเมืองเชียงขวางของฝ่าย ปทล.    ครั้งหนึ่ง  หน.พิกุล  เคยคิดที่จะมาทำธุรกิจตัดต้นสนล่องไปตามลำน้ำงึมเพื่อไปขายที่เมืองไทย

บก.เอสอาร์ใหม่

          เอสอาร์ - ๖  สร้างที่ บก.บ้านค่าย  เมื่อปลายเดือนมิถุนายน ๒๕๑๑  ก่อนที่เอสอาร์ - ๗ จะมาปฏิบัติงาน  ไม้ที่สร้างเป็นไม้สน  เป็นอาคารชั้นเดียว  แต่กว้างขวาง  มีสิ่งอำนวยความสะดวกเช่น  ห้องน้ำ  ห้องรับแขก  และห้องสมุด 

          อาหารการกินอุดมสมบูรณ์  รวมทั้งเครื่องดื่มต่างๆ  ไม่ว่ากาแฟหรือนมเนย  จนกำลังพลนำไปแบ่งให้สุนัขกินเพื่อช่วยอยู่เวรยาม  สำหรับนายทหารจะมีเครื่องดื่มไม่ว่าเหล้าฝรั่งหรือเบียร์ในตู้เย็นน้ำมันก๊าดตลอดเวลา  (สมัยนั้นยังไม่นิยมดื่มไวน์กัน)

          ที่ บก.บ้านค่าย  จะมีหนังสือพิมพ์ทั้งภาษาไทยและอังกฤษให้อ่าน  ซึ่งจะมาพร้อมกับเครื่องบินเมล์เป็นปึก

 

 

 

           ครับ  .  .  .  ระหว่างที่พระสุริยนเยี่ยมยอดยุคนธรอยู่นี้  .  .  .  เราไปดูสถานการณ์ด้านภาคใต้ของพระราชอาณาจักรลาวกันบ้าง

 

 ทชล.๔  -  กองทัพภาคใต้พระราชอาณาจักรลาว 

 

          พ.ศ.๒๕๑๑    ฝ่ายขบวนการประเทศลาวและเวียดมินห์ได้คุกคามพื้นที่ภาคใต้ของพระราชอาณาจักรลาว  (แขวงจำปาศักดิ์  และแขวงสีทันดอน) มากยิ่งขึ้น  โดยมีเป้าหมายจะเข้ายึดที่ราบสูงโบโลเวน  (Plateau des Bolovens)  ซึ่งเป็นชัยภูมิสำคัญ  จะทำให้ควบคุมพื้นที่ทางตะวันออกได้ถึงแม่น้ำโขง  และทางใต้ก็จะรุกเข้าสู่กัมพูชาได้สะดวกยิ่งขึ้น    ทั้งนี้ได้ส่งกำลังทหารเวียดมินห์ จำนวน  ๖ กองพัน  จากกรุงฮานอย  เข้าในหุบเขาเซโดน    ทำให้พื้นที่เมืองสาละวัน  และเมืองอ้ตตะปือต้องตกอยู่ใต้อิทธิพลฝ่ายขบวนการประเทศลาวและเวียดมินห์

 

โครงการ "ผาสุก"

          เดือนมิถุนายน  ๒๕๑๒    นายพล  ผาสุก  สำลี  ผู้บัญชาการกองทัพแห่งชาติลาว  ภาค ๔  (ผบ.ทชล.๔)  ได้ดำเนินการโครงการ "ผาสุก" เพื่อหาข่าว  ค้นหา  ตัดรอนกำลัง   ทำลายกำลังและอาวุธยุทโธปกรณ์ของฝ่ายขบวนการประเทศลาวและเวียดมินห์  ในพื้นที่แขวงจำปาศักดิ์  และแขวงสีทันดอน  ซึ่งได้ผลในระดับหนึ่ง

 

 

ครับ  .  .  .  กลับไปที่เมืองสุยนะครับ  .  .  .

 

 

อาทิตย์ดับแสง  .  .  .  SUN  switched  off  .  .  .       

          ครับ  .  .  .  จาก  .  .  .  ๒๙  มิถุนายน  ๒๕๐๗   ซึ่งหน่วยเหนือจัดกำลังทหารปืนใหญ่  ๑ กองร้อยเพิ่มเติมกำลังสนับสนุนกำลังฝ่ายเป็นกลางของเจ้าสุวรรณภูมา  จนถึง   ๔  กรกฎาคม  ๒๕๐๗  .  .  . ด้วยเวลาเพียง  ๔ วัน  .  .  .  ราชาแห่งสนามรบก็ถึงเมืองสุย  .  .  .  และ  .  .  .  คืนวันที่  ๔  ก.ค.๐๗  นี่ผ่านไปด้วยความฉุกละหุกดีพิลึก

          เมื่อเป็นภารกิจเร่งด่วนดังนี้    หน่วยเหนือไม่มีเวลาเตรียมการจัดตั้งหน่วยใหม่ และฝึกให้ทันการได้  จึงต้องใช้วิธีใช้หน่วยที่มีอยู่แล้วเคลื่อนย้ายไปทั้งหน่วย  เพราะถือว่าต้องพร้อมรบอยู่แล้ว    ดังนั้น  .  .  .  อะไรก็ดูฉุกละหุกไปหมด    แต่กองร้อยปืนใหญ่เอสอาร์ - ๑  ก็สามารถปฏิบัติภารกิจลุล่วงไปได้ด้วยดี

           กองร้อยปืนใหญ่เอสอาร์ ผลัดต่อๆ มา  ก็ดูผ่อนคลายมากขึ้น  มีสวัสดิการดีขึ้น  การบำรุงขวัญดีขึ้น  สิ่งอำนวยความสะดวกมากขึ้น  ดังที่ได้เรียนให้ทราบก่อนหน้านี้แล้ว  .  .  .  จากการที่  .  .  .  มีเพียงเครื่องมือที่จำเป็นต้องใช้ในการรบ  เป็น  .  .  .  มีเครื่องอำนวยความสะดวก  .  .  .  และพัฒนาเป็น  .  .  .  เครื่องบำรุงความสุข   .  .  .  จากการที่  .  .  .  ต้องไปรบ  ก็กลายเป็น  .  .  .  ต้องแย่งกันไป (รบ)    ท่านผู้มีประสบการณ์และได้ร่วมอยู่ในเอสอาร์ - ๗ ท่านหนึ่ง  บันทึกว่า  กำลังพลที่ได้รับการคัดเลือกไปถือว่าเป็นผู้โชคดี  ส่วนมากมักจะเป็นผู้ปฏิบัติงานดีเด่นในหน่วยต้นสังกัด และผู้บังคับบัญชาชอบ

 

เมืองสุย  -  เอสอาร์ - ๘

          จำเนียรกาลผ่านมาจวบจน เอสอาร์ - ๗  .  .  .  และเอสอาร์ - ๗ นี้  ก็เป็นผลัดที่ได้ใช้สิ่งอำนวยความสะดวกดังกล่าวอย่างเต็มที่  แต่เมื่อเอสอาร์ - ๘  เข้ารับหน้าที่ต่อนั้น  ได้ใช้สิ่งอำนวยความสะดวก  และเครื่องบำรุงความสุขในสนามรบอยู่ได้ไม่นาน ก็  .  .  .  จำเป็นต้องถอนตัวทางอากาศออกจากเมืองสุยอย่างเร่งด่วนภายใต้การกดดันอย่างหนักของข้าศึก  ในวันที่  ๒๗  มิถุนายน  ๒๕๑๒    ครับ  .  .  .  อาทิตย์ดับแสง  .  .  .  SUN  switched  off  .  .  .  

         

             ครับ  .  .  .  อาทิตย์ดับแสง  .  .  .  SUN  switched  off  .  .  .   แล้ว  .  .  .  รอ  SUNRISE  อีก  นะครับ  สถานการณ์ต่อไป  .  .  .  AVP1 

 

สถานการณ์ต่อไป  .  .  .  AVP1

สถานการณ์ต่อไป  .  .  .  AVP1

สถานการณ์ต่อไป  .  .  .  AVP1




บทความจากสมาชิก




แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.
| WW II Europe | WW II Asia | WW I | Vietnam War | ประวัติศาสตร์ไทย | บทความจากสมาชิก | คุยกันหลังฉาก | บทความทั้งหมด |

สนใจร่วมเขียนบทความในเว็บไซต์ เชิญอ่าน แนวทางการร่วมเขียนบทความ ภาพยนตร์ประวัติศาสตร์

Custom Search



eXTReMe Tracker