dot
dot
เว็บภาพยนตร์ประวัติศาสตร์ ยินดีต้อนรับผู้สนใจทุกท่าน
dot
dot
สมาชิก Webboard/Blog
ชื่อผู้ใช้ :
รหัสผ่าน :
เข้าสู่ระบบอัตโนมัติ :
bullet ลืมรหัสผ่าน
dot
bulletข้อตกลงการเป็นสมาชิก
bulletเว็บบอร์ด-คุยกันหลังฉาก
bulletเว็บบอร์ด-Games ย้อนยุค
bulletเว็บบอร์ด-ชุดจำลองประวัติศาสตร์
bulletเว็บบอร์ด-หนังสือประวัติศาสตร์
bulletเว็บบอร์ด-เพลงประวัติศาสตร์
bulletคำถาม/คำตอบ ล่าสุด
bulletแนวทางการร่วมเขียนบทความ
dot
สงครามโลกครั้งที่ 2
dot
bulletสมรภูมิยุโรป (สัมพันธมิตรVSเยอรมัน-อิตาลี)
bulletสมรภูมิแปซิฟิก-เอเชีย (สัมพันธมิตรVSญี่ปุ่น)
dot
ภาพยนตร์ประวัติศาสตร์อื่นๆ
dot
bulletสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง
bulletประวัติศาสตร์ไทย
bulletประวัติศาสตร์อเมริกันยุคเริ่มแรก
bulletสงครามเวียดนามและอินโดจีน
bulletตะวันตกโบราณ (กรีก โรมัน ฯลฯ)
bulletประวัติศาสตร์ร่วมสมัย
bulletเอเชียโบราณ
bulletประวัติศาสตร์อื่นๆ (ยังไม่แยกหมวดหมู่)
bulletคลิปความรู้จาก YouTube
dot
บทความโดย วิวันดา
dot
bulletฮิตเล่อร์...และเหล่าขุนพลแห่งอาณาจักรไรค์ซที่สาม
bulletลอดลายรั้ว.....วินด์เซอร์
bulletเลิศเลอวงศา...โรมานอฟ
bulletเชลย
bulletซูคอฟ...ยอดขุนพลผู้ดับฝันของฮิตเล่อร์
dot
บทความโดย สัมพันธ์
dot
bulletคนไทยในกองทัพพระราชอาณาจักรลาว
bulletประวัติศาสตร์สงคราม กรีก
bulletกรณีพิพาทอินโดจีนและสงครามมหาเอเชียบูรพา
bulletอยุธยายศล่มแล้ว ลอยสวรรค์ ลงฤา
bulletฮานนิบาล
bulletพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบรมวงศานุวงศ์
bulletไทยกับมหาสงคราม
bulletสงครามเวียดนาม
bulletห้วยโก๋น ๒๕๑๘
bulletการทัพในมลายา
bulletประวัติศาสตร์อื่น ๆ
dot
เรื่องอื่นๆ
dot
bulletบทความเสริมความรู้ทั่วไป
bulletเกร็ดเล็กเกร็ดน้อย
bulletผู้จัดทำ
bulletผังเว็บไซต์ (Site Map)
bulletแนวทางการร่วมเขียนบทความ
bulletถาม-ตอบ (FAQs) (โปรดอ่านก่อนตั้งกระทู้หรือสมัครสมาชิก)
bulletร้านค้าออนไลน์
bulletแบ่งปัน Album
dot
ลิงค์ต่างๆ
dot
bulletHistory on Film
bulletกองบิน 21 กองพลบิน 2
bulletIELTS British Council
bulletIELTS IDP
bulletMUIC




โหราศาสตร์ยุคไอที



เอวีพี - ๑ ซำทอง
วันที่ 16/02/2020   20:50:35

*  *  *

เอวีพี - ๑   ซำทอง

สถานการณ์เดิม  .  .  .

เมืองสุย  (Moung Souy)  ๔  กรกฎาคม  ๒๕๐๗    

 

 

 

 

 

 

          ราชาแห่งสนามรบถึงเมืองสุย  .  .  .  คืนวันที่  ๔  ก.ค.๐๗  นี่ผ่านไปด้วยความฉุกละหุกดีพิลึก  .  .  .

          กองร้อยปืนใหญ่เอสอาร์ ผลัดต่อๆ มา  ก็ผ่อนคลายมากขึ้น  มีสวัสดิการดีขึ้น  การบำรุงขวัญดีขึ้น  สิ่งอำนวยความสะดวกมากขึ้นจนกลายเป็นสิ่งบำรุงความสุข  .  .  .  ในสนามรบ

          จำเนียรกาลผ่านมาจวบจน เอสอาร์ - ๗  .  .  .  และเอสอาร์ - ๗ นี้  ก็เป็นผลัดที่ได้ใช้สิ่งอำนวยความสะดวกและสิ่งบำรุงความสุข ดังกล่าวอย่างอิ่มเอม

          พ.ศ.๒๕๑๑    ฝ่ายขบวนการประเทศลาวและเวียดมินห์ได้คุกคามพื้นที่ภาคใต้ของพระราชอาณาจักรลาว  (แขวงจำปาศักดิ์  และแขวงสีทันดอน)

 

กองกำลังอาสาสมัครทหารเสือพราน

          เมื่อกองทัพพระราชอาณาจักรลาวไม่สามารถเรียกร้องเชิญชวนให้อาณาประชาลาวสมัครเป็นทหารได้แล้ว    จึงต้องรับสมัครอาณาประชาชนจากประเทศเพื่อนบ้านให้เข้าเป็นทหาร  .  .  .  ในชื่อ  .  .  .  กองกำลังอาสาสมัครทหารเสือพราน  .  .  .

          ในชั้นต้น   กองทัพพระราชอาณาจักรลาวรับอาสาสมัครทหารเสือพรานเพียง  ๖ กองพัน  และมีแผนจะส่งเข้าปฏิบัติการในพื้นที่ที่มีการรบคือ

          พื้นที่ภาคตะวันตกเฉียงเหนือ  ภาค  ๑  (ทชล.๑)  แขวงหลวงพระบาง    ในพื้นที่เมืองเชียงลม  และเมืองห้วยทราย    จำนวน  ๒ กองพัน

          พื้นที่ภาคใต้  ภาค  ๔  (ทชล.๔)  แขวงจำปาศักดิ์    ในพื้นที่เมืองปากเซ    จำนวน  ๒ กองพัน

                                                        บนราบสูงโบโลเวน    จำนวน  ๒ กองพัน 

          เอสอาร์ - ๘  เข้ารับหน้าที่ต่อจากเอสอาร์ - ๗ นั้น  ได้ใช้สิ่งอำนวยความสะดวกและสิ่งบำรุงความสุข ในสนามรบอยู่ได้ไม่นาน ก็  .  .  .  จำเป็นต้องถอนตัวทางอากาศออกจากเมืองสุยอย่างเร่งด่วนภายใต้การกดดันอย่างหนักของข้าศึก  ในวันที่  ๒๗  มิถุนายน  ๒๕๑๒ 

ครับ  .  .  .  อาทิตย์ดับแสง  .  .  .  SUN  switched  off 

 

สถานการณ์ต่อไป  .  .  .

 

          ประมาณ  เดือนกุมภาพันธ์  ๒๕๑๓  ฝ่ายขบวนการประเทศลาวและเวียดมินห์โจมตีอย่างหนักทางด้านตะวันออกของทุ่งไหหิน  และในที่สุดก็สามารถยึดทุ่งไหหิน  และเมืองสุยได้สำเร็จ  และมีแผนเข้ายึด  เมืองภูคุณ  เมืองล่องแจ้ง  เมืองท่าเวียง  เมืองท่าทม  ต่อไป    ส่วนทางใต้จะใช้ถนนหมายเลข ๔  เข้าสู่  เมืองบริคัณฑ์  เมืองปากซัน  ผ่านภูงู  ซึ่งสามารถเข้าสู่ประเทศไทยทางอำเภอบึงกาฬ  จังหวัดหนองคาย

          ส่วนกำลังกองทัพแห่งชาติลาวภาค ๒  (ทชล.๒)  ของนายพลวังเปาซึ่งเป็นฝ่ายขวาต้องปรับแนวตั้งรับเป็น  บ้านนา - ภูล่องมาด - ถ้ำตำลึง - ภูผาไซ - บ้านคังโค้    โดยใช้เมืองซำทอง  และเมืองล่องแจ้งเป็นฐานที่มั่นใหญ่

 

Switch On  -  ปืนใหญ่ไปก่อน

          ๒๖  กุมภาพันธ์  ๒๕๑๓    มีคำสั่งให้จัดส่งหน่วยทหารปืนใหญ่สนามไปสนับสนุนก่อน  เรียกว่า  โครงการ วีพี   ซึ่งขณะนั้น  มีกองร้อยปืนใหญ่ที่เตรียมส่งไปผล้ดเปลี่ยน กองร้อยเอสอาร์ - ๘  (จะเป็นกองร้อยเอสอาร์ - ๙) อยู่แล้ว  จึงปรับกองร้อยนี้เป็นหน่วยในโครงการ วีพี   เรียกชื่อหน่วย  เอวีพี - ๑   (AVP - 1  Artillery Vang Pao)

          มีนาคม  ๒๕๑๓  ฝ่ายขบวนการประเทศลาวและเวียดมินห์เปิดฉากการรุกครั้งใหญ่ต่อกองกำลัง ทชล.๒  ทำให้สถานการณ์ของ ทชล.๒ อยู่ในภาวะวิกฤติเป็นอย่างยิ่ง  เกือบจะเสียที่มั่น  จน  .  .  .  เจ้าสุวรรณภูมา นายกรัฐมนตรีรัฐบาลแห่งพระราชอาณาจักรลาวต้องร้องขอความช่วยเหลือจากมิตรประเทศให้ช่วยสนับสนุน

 

 

 โครงการ การส่งกำลังรบของกองทัพประจำการเข้าปฏิบัติการ  (โครงการ วีพี)

          ความมุ่งหมาย    เพื่อต่อต้านและสกัดกั้นอิทธิพลของฝ่ายคอมมิวนิสต์  มิให้เข้าประชิดพรมแดนเป็นการด่วน  และผลทางการเมืองระหว่างประเทศ

          หลักการ      ต้องปกปิดพฤติกรรมทั้งมวลโดยไม่ทำการรบเผชิญหน้า

          ห้วงระยะเวลาของโครงการ      ๑ ปี         

          การประกอบกำลัง      ๓  กองพันทหารราบ  และ  ๒  กองร้อยปืนใหญ่สนาม    

               - กองพันทหารราบ ไอวีพี ๑๑

               - กองพันทหารราบ ไอวีพี ๑๒

               - กองพันทหารราบ ไอวีพี ๑๓

               - กองร้อยทหารปืนใหญ่ เอวีพี  ๑
 

              - กองร้อยทหารปืนใหญ่ เอวีพี ๒

 

จากโครงการสู่การปฏิบัติ

          ในทางปฏิบัติ  ใช้หน่วยทหารซึ่งรับผิดชอบในด้านที่เกี่ยวข้องเข้าปฏิบัติการโดยพลัน  ด้วยการปรับเป็น "หน่วยรบเฉพาะกิจ"  เรียกชื่อว่า "หน่วยรบเฉพาะกิจ วีพี"  หรือ "ฉก.วีพี."

ภารกิจ

          ยึดรักษาและป้องกัน เมืองซำทอง  เมืองล่องแจ้ง   ไว้ให้ได้  ๙๐ วัน

การจัด      ฉก.วีพี.  ประกอบด้วย

            - ที่บังคับการ  (ทก.ฉก.วีพี.)

            - กองพันทหารราบเฉพาะกิจ  (พัน.ร.ฉก.)  ๓ กองพัน

            - กองพันทหารปืนใหญ่ขนาด  ๑๐๕  มม.  (พัน.ป.๑๐๕ มม.)  ๑ กองพัน 

            - กองร้อยทหารปืนใหญ่ขนาด  ๑๕๕  มม.  (ร้อย.ป.๑๕๕ มม.)  ๑ กองร้อย 

            - หมวดระวังป้องกัน  ๑ หมวด

การเคลื่อนย้ายเข้าพื้นที่การรบ

          ๑๗ - ๑๙  มีนาคม  ๒๕๑๓  ทก.ฉก.วีพี.  และ  BA 13  เคลื่อนย้ายทางอากาศถึงสนามบินล่องแจ้ง  (LS-20A)   

          ๒๘  มีนาคม  ๒๕๑๓    BI 13  เคลื่อนย้ายทางอากาศถึงสนามบินล่องแจ้ง  (LS - 20A)  เข้าประจำที่มั่นในเมืองล่องแจ้ง    

          ๑๙  เมษายน  ๒๕๑๓    BI 14  และ BA 14  เคลื่อนย้ายทางอากาศถึงสนามบินล่องแจ้ง  เข้าที่รวมพลชั่วคราวในเมืองล่องแจ้ง 

          ๓๐  เมษายน  ๒๕๑๓    BI 13  เข้าที่มั่นตั้งรับที่เมืองซำทอง    

 

 

 

 

 

 

เมืองซำทอง  และสนามบิน  LS  20

 

 

กำลังฝ่ายขบวนการประเทศลาวและเวียดมินห์

          ๑. กรม ๑๗๔  เวียดมินห์    มี  ๓ กองพัน  คือ  พัน.๑  พัน.๒  และ พัน.๓

            ๑.๑ ทก.กรม    บริเวณด้านใต้ของภูกูด

            ๑.๒ กรม ๑๗๔  พัน.๑    บริเวณเมืองสุย และทางตะวันออกไปถึงเมืองเชียงแดด

            ๑.๓ กรม ๑๗๔  พัน.๒    บริเวณห้วยกินิน  สันหลวง  ถ้ำเหิบ  น้ำจ้อง  และบ้านห้วยบัว

            ๑.๔ กรม ๑๗๔  พัน.๓    บริเวณทางทิศเหนือของบ้านนา    และบริเวณที่ราบด้านตะวันออกเฉียงใต้ชายทุ่งไหหิน   

          ๒. กรม ๑๔๘  เวียดมินห์    มี  ๒ กองพัน  คือ  พัน.๕  และ พัน.๖

            ๒.๑ ทก.กรม    อยู่บริเวณภูเก็ง

            ๒.๒ กรม ๑๔๘  พัน.๕    ปฏิบัติการบริเวณภูเซอ

            ๒.๓ กรม ๑๔๘  พัน.๖    ปฏิบัติการบริเวณภูแท่น

         ๓. กองพันดักกง* ที่ ๒๗  ของกรม ๓๐๕  เวียดมินห์

            - ปฏิบัติการบริเวณถ้ำเหิบ  ห้วยกินิน  และทางด้านเหนือของบ้านนา

          ๔. กองพัน ๔๖ ของขบวนการประเทศลาว  (พัน.ปทล.๔๖)

            -  บริเวณห้วยกินิน, เมืองสุย  และมีภารกิจจัดชุดนำทางในการขนส่งสัมภาระให้หน่วยทหารเวียดมินห์ด้วย   

          *ดักกง  หรือ ดั๊กกง  (duc conc)   เป็นหน่วยพิเศษ  จัดกำลังเป็นชุดปฏิบัติการ  จำนวนเพียง ๕ - ๑๐ คนต่อชุด  มีความสามารถในการเก็บกู้  และวางกับระเบิดและลักลอบบุกจู่โจมต่อที่มั่นข้าศึกด้วยการทำลายระบบระวังป้องกัน  เช่นตัดลวดหนาม  ฯลฯ   ดักกงไม่มีอาวุธประจำกาย  นุ่งกางกางขาสั้น  หรือกางเกงในตัวเดียว ไม่สวมรองเท้า  และที่ดักกงแต่ละคนจะต้องพกติดตัวคือดินระเบิด  คนละ ประมาณ  ๑๐ ก้อน  น้ำหนักก้อนละประมาณครึ่งปอนด์พร้อมเชื้อปะทุถ่วงเวลาประมาณ  ๓ วินาที  คีมตัดลวดหนาม  ติดตัวทุกคน

 

กำลังฝ่าย ทชล.๒

          ๑. หน่วยของ ทชล.๒

               - กรมรบพิเศษ  (Spacial  Guallila Unit - SGU)  ที่  ๒๑ - ๒๔  รวม  ๔ กรม

         ๒  กองกำลัง  ฉก.วีพี.  ประกอบด้วย

            - ที่บังคับการ  (ทก.ฉก.วีพี.)
 

           - กองพันทหารราบเฉพาะกิจ  (พัน.ร.ฉก.)  ๓ กองพัน  คือ

               - BI 13

               - BI 14

               - BI 15 

            - BA 13    กองพันทหารปืนใหญ่ขนาด  ๑๐๕  มม.  (พัน.ป.๑๐๕ มม.)  ๑ กองพัน   

            - BA 14    กองร้อยทหารปืนใหญ่ขนาด  ๑๕๕  มม.  (ร้อย.ป.๑๕๕ มม.)  ๑ กองร้อย

            - หมวดระวังป้องกัน  ๑ หมวด 
         
 

ที่ตั้งและการวางกำลังของ ทชล.๒  (กองกำลัง  ฉก.วีพี.)

          ๑. BI 13

            ๑.๑  ตั้งรับแบบยึดพื้นที่บริเวณเมืองซำทอง

           ๑.๒  จัด  ๑ กองร้อย  ยึดรักษา  เนินสกายไลน์    และกองร้อยนี้  จัดกำลัง  ๑ หมวด  ไประวังป้องกัน  ทก.ฉก.วีพี. (ล่องแจ้ง)  

          ๒. BI 14  

            ๒.๑   ตั้งรับแบบยึดพื้นที่บริเวณภูล่องมาด

            ๒.๒  จัด  ๑ กองร้อย  ระวังป้องกัน พัน.ป.๑๐๕ มม. (BA 13)  ที่ที่ตั้งยิง  ZEBRA  บ้านถ้ำตำลึง

           ๒.๓  จัด  ๒  หมวด  ไปสมทบ  BI 15 ที่บ้านนา

          ๓.  BI 15

            ๓.๑  ตั้งรับแบบยึดพื้นที่บริเวณบ้านนา

            ๓.๒  รับสมทบหน่วยของ  BI 14  จำนวน  ๒  หมวด

          ๔.  พัน.ป.๑๐๕ มม. (BA 13)    ที่ตั้งยิง  ZEBRA    ปกค.๑๕๕ มม.  จำนวน ๒ กระบอก และปกค.๑๕๕ มม. ของทหาร ทชล.๒ อีก  ๒ กระบอก    รวม  ๔ กระบอก

          ภารกิจ  ช่วยโดยตรง  BI 14  ที่ภูล่องมาด   และเพิ่มเติมกำลังยิงให้  BA 14  ที่ภูล่องมาด

          ๕.  ร้อย.ป.๑๕๕ มม. (BA 13)    ที่ตั้งยิง  PUNCHER    ปกค.๑๕๕ มม. และปบค.๑๐๕ มม.  อย่างละ  ๒ กระบอก

            ภารกิจ  ช่วยโดยตรง  BI 15  ที่บ้านนา

          ๖.  ร้อย.ป.๑๕๕ มม. (BA 14)    ที่ตั้งยิง  EAGLE    ปบค.๑๐๕ มม. จำนวน  ๒ กระบอก

            ภารกิจ  ช่วยโดยตรง  BI 13  ที่เมืองซำทอง

 

แนวความคิดในการปฏิบัติ

          กลยุทธ์               
              

           ฉก.วีพี.กำหนดแผนการตั้งรับแบบยึดพื้นที่  มีความคาดหวังว่าจะสามารถต้านทานการเข้าตีของข้าศึกได้    

          การยิง         

          ที่ตั้งยิง  PUNCHER  และที่ตั้งยิง  ZEBRA  ยิงช่วยเหลือกันได้   

 

          จากแนวความคิดในการปฏิบัตินี้  จะเห็นได้ว่า  หน่วยดำเนินกลยุทธ  (ทหารราบ) ได้แต่รักษาที่มั่นรอให้ข้าศึกเข้าตีเพียงประการเดียว  โดยมีทหารปืนใหญ่ยิงสนับสนุนในการตั้งรับเท่านั้น  การดำเนินกลยุทธ์กระทำได้อย่างจำกัดยิ่ง  แทบจะเรียกได้ว่าไม่สามารถดำเนินกลยุทธได้เลย    ส่วนมาตรการเชิงรุกกระทำได้เพียงการลาดตระเวนรอบๆ  ที่มั่นตั้งรับซึ่งเป็นยอดเขาสูง  เท่านั้น

 

 

 

 

 

 

 

 

 ภาพจำลองสถานการณ์  แสดงการวางกำลังฝ่ายเป็นกลาง   (เฉพาะส่วนของ  ฉก.วีพี.) 

 เพื่อให้เข้าใจง่ายขึ้น  จึงใช้สัญญลักษณ์ และเครื่องหมายทางทหารเท่าที่จำเป็น

 

ซำทอง    ๑๕  มิถุนายน  ๒๕๑๓

          หลังจากที่  BI 13    วางกำลังตั้งรับแบบยึดพื้นที่บริเวณเมืองซำทองได้ไม่นาน    วันที่  ๑๕  มิถุนายน  ๒๕๑๓  เวลาประมาณ  ๒๐๐๐    ได้มีเสียงปืนเล็กดังขึ้น  ๑ นัดทางด้านใต้เมืองซำทอง    ผบ.ร้อย.ป.๑๕๕ มม. (BA 14)  ที่ตั้งยิง  EAGLE  ได้ตรวจสอบไปยังหน่วยต่างๆ ว่าหน่วยใดยิงปืนดังกล่าวหรือไม่    ทุกหน่วยยืนยันว่า  ไม่มีหน่วยใดยิงปืน    ผบ.ร้อย.ป. จึงประมาณสถานการณ์ว่าน่าจะเป็นเสียงปืนจากฝ่ายเวียดมินห์ส่งสัญญาณอย่างใดอย่างหนึ่งกัน  (โดยปรกติแล้ว  ทหารเวียดมินห์จะมีวินัยการยิงปืนดีเยี่ยม การทำปืนลั่นโดยไม่ได้ตั้งใจจะถูกลงโทษอย่างหนัก)    จึงสั่งการให้ระวังป้องกันยิ่งขึ้นเพื่อเตรียมรับสถานการณ์

          ประมาณ  ๒๓๓๐   ยามทางด้านใต้ของที่ตั้งยิงปืนใหญ่สังเกตเห็นสิ่งผิดปรกติที่บริเวณลวดหนามชั้นนอก  ว่ามีการเคลื่อนที่  จึงกระจายข่าวให้ทราบทั่วกัน  ผบ.ร้อย.ป. ได้รับรายงานจากจุดต่างๆ  นับได้ว่ามีฝ่ายเวียดมินห์เคลื่อนที่เข้ามารวมประมาณ  ๒๐ คน    เมื่อเข้ามาถึงลวดหนามชั้นสุดท้าย    ผบ.ร้อย.ป.จึงสั่งให้เริ่มเปิดฉากการยิงตามที่ได้วางแผนไว้    ปรากฏว่า  สามารถสกัดกั้นไว้ได้  ถอนตัวกลับไป  และ  .  .  .  ทิ้งศพที่ติดลวดหนามไม่สามารถนำกลับไปได้  จำนวน  ๕ ศพ   

 

ครั้งเดียวไม่เคยพอ

          คืนเดียวกัน  แต่เป็นวันใหม่  ๑๖  มิถุนายน  ๒๕๑๓  เวลา  ประมาณ  ๐๑๔๕    คราวนี้ฝ่ายเวียดมินห์เล่นมือยาว  ยิงจรวด  ๑๒๒ มม.จำนวน  ๖ นัด  ยัง  กองร้อยที่ ๑  และ กองร้อยที่ ๒  ของ  BI 13  ซึ่งอยู่ทางด้านเหนือของที่ตั้งยิง  EAGLE (BA 14)  เพื่อกดกำลังส่วนนี้ไว้    และส่งกำลังเข้าตีที่ตั้งยิง  EAGLE  ทางด้านตะวันออก    แต่ทั้ง  BI 13  และที่ตั้งยิง  EAGLE   (BA 14)  รู้ตัวอยู่แล้วจึงเตรียมการต้อนรับขับไล่ตอบโต้อย่างรุนแรงจนฝ่ายเวียดมินห์ต้องถอนตัวไปทางทิศใต้

          รุ่งเช้า  ๑๖  มิถุนายน  ๒๕๑๓    เมื่อสำรวจความเสียหายแล้วปรากฏว่า  

          ฝ่ายเวียดมินห์

            ทิ้งศพไว้อีก  ๘ ศพ  และพบร่องรอยว่าข้าศึกสูญเสียจำนวนมาก  (รวมข้าศึกทิ้งศพไว้  ๑๓)  

            ทิ้งอาวุธไว้จำนวนหนึ่ง  ได้แก่

               ปืน  AK - 47  จำนวน  ๔ กระบอก  พร้อมกระสุนจำนวนมาก    

               เครื่องยิงจรวด B - 40  จำนวน  ๒ เครื่อง  พร้อมลูกจรวดยิง  ๕ ลูก    

               ดินระเบิด  ๑๐๐ แท่ง    

          BI 13     ตาย  ๑    บาดเจ็บ  ๔
           
 

 

          วันที่  ๑๕  มิถุนายน  ๒๕๑๓  ตรงกับวันจันทร์     ขึ้น ๑๒ ค่ำ  เดือน ๗  (การตรวจสอบของ  http://www.Payakon.com/moondate/php)  ถึงแม้ว่าเป็นฤดูฝน  แต่หากไม่มีเมฆบังแสงจันทร์จนเกินไปแล้ว  น่าจะมีแสงสว่างพอตรวจการณ์ได้  (กองร้อยทหารปืนใหญ่มีกล้องส่องสองตาช่วยในการตรวจการณ์ในเวลากลางคืนได้มาก)

 

 


 

ภาพจำลองการรบที่ซำทอง  ๑๕ - ๑๖  มิถุนายน  ๒๕๑๓

 

บทเรียนจากการรบ

          การเข้าตีของฝ่ายเวียดมินห์ในครั้งนี้คาดว่าจะใช้กำลังทหารราบ  ๒ กองร้อย  และหน่วยดักกง หรือหน่วยกล้าตายก่อวินาศกรรม  ที่เราเรียกว่าแซปเปอร์  ไม่เกิน  ๒ ชุด      

          อย่างไรก็ตาม  ก็มีข้อที่ควรเป็นบทเรียนได้เช่น

          - การวางเครื่องกีดขวาง  และอำนาจการยิงในทิศทางที่คาดว่าเป็นเส้นทางการเคลื่อนที่ของข้าศึก

          - ความละเอียดรอบคอบ  ช่างสังเกตสิ่งผิดปรกติ  เช่น  ผู้บังคับกองร้อยปืนใหญ่  ได้ยินเสียงปืนเล็กเพียง  ๑ นัดก็พยายามตรวจสอบ  เมื่อฝ่ายเราไม่ได้ยิง  ก็พิจารณาได้ว่าไม่ใช่ฝ่ายเราเป็นผู้ยิง  และสั่งเตรียมรับสถานการณ์

          - วินัยในการยิง    เป็นสิ่งสำคัญยิ่ง  หากยิงก่อนเวลาอันควร  หรือยิงด้วยความตื่นตระหนก  จะเป็นการแสดงตน  และไม่ได้ประโยชน์เลย

 

          ครับ  .  .  .  BI 13  และ  BA 14  ที่ตั้งยิง  EAGLE  ที่เมืองซำทองก็สามารถยืนหยัดต่อสู้รักษาที่มั่นไว้ได้   และต่อมา  อีกไม่กี่วันหรอกครับ  BI 14 ที่บริเวณภูล่องมาด    และ  BI 15  ที่บริเวณบ้านนา  ก็ได้แสดงขีดความสามารถบ้าง  .  .  .  เชิญติดตามครับ  .  .  .  ที่ภูล่องมาด - บ้านนา 

 

 

 

สถานการณ์ต่อไป  .  .  .  เอวีพี - ๑  ภูล่องมาด - บ้านนา

สถานการณ์ต่อไป  .  .  .  เอวีพี - ๑  ภูล่องมาด - บ้านนา

สถานการณ์ต่อไป  .  .  .  เอวีพี - ๑  ภูล่องมาด - บ้านนา

 

 

 

 




บทความจากสมาชิก




แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.
| WW II Europe | WW II Asia | WW I | Vietnam War | ประวัติศาสตร์ไทย | บทความจากสมาชิก | คุยกันหลังฉาก | บทความทั้งหมด |

สนใจร่วมเขียนบทความในเว็บไซต์ เชิญอ่าน แนวทางการร่วมเขียนบทความ ภาพยนตร์ประวัติศาสตร์

Custom Search



eXTReMe Tracker