* * *
เอวีพี - ๑ ภูล่องมาด - บ้านนา
สถานการณ์เดิม . . .
ที่ตั้งและการวางกำลังของ ทชล.๒ (กองกำลัง ฉก.วีพี.)
.jpg)
๑. BI 13
๑.๑ ตั้งรับแบบยึดพื้นที่บริเวณเมืองซำทอง
๑.๒ จัด ๑ กองร้อย ยึดรักษา เนินสกายไลน์ และกองร้อยนี้ จัดกำลัง ๑ หมวด ไประวังป้องกัน ทก.ฉก.วีพี.(ล่องแจ้ง)
๒. BI 14
๒.๑ ตั้งรับแบบยึดพื้นที่บริเวณภูล่องมาด
๒.๒ จัด ๑ กองร้อย ระวังป้องกัน พัน.ป.๑๐๕ มม. (BA 13) ที่ที่ตั้งยิง ZEBRA บ้านถ้ำตำลึง
๒.๓ จัด ๒ หมวด ไปสมทบ BI 15 ที่บ้านนา
๓. BI 15
๓.๑ ตั้งรับแบบยึดพื้นที่บริเวณบ้านนา
๓.๒ รับสมทบหน่วยของ BI 14 จำนวน ๒ หมวด
๔. พัน.ป.๑๐๕ มม. (BA 13) ที่ตั้งยิง ZEBRA ปกค.๑๕๕ มม. จำนวน ๒ กระบอก และปกค.๑๕๕ มม. ของทหาร ทชล.๒ อีก ๒ กระบอก รวม ๔ กระบอก
ภารกิจ ช่วยโดยตรง BI 14 ที่ภูล่องมาด และเพิ่มเติมกำลังยิงให้ BA 14 ที่ภูล่องมาด
๕. ร้อย.ป.๑๕๕ มม. (BA 13) ที่ตั้งยิง PUNCHER ปกค.๑๕๕ มม. และปบค.๑๐๕ มม. อย่างละ ๒ กระบอก
ภารกิจ ช่วยโดยตรง BI 15 ที่บ้านนา
๖. ร้อย.ป.๑๕๕ มม. (BA 14) ที่ตั้งยิง EAGLE ปบค.๑๐๕ มม. จำนวน ๒ กระบอก
ภารกิจ ช่วยโดยตรง BI 13 ที่เมืองซำทอง
๑๕ มิถุนายน ๒๕๑๓ ฝ่ายเวียดมินห์โจมตี BI 13 และ BA 14 (ที่ตั้งยิง EAGLE) ที่เมืองซำทอง
ฝ่ายเวียดมินห์ เสียชีวิต ๑๕ นาย และสูญเสีย อาวุธยุทโธปกรณ์จำนวนหนึ่ง
ฝ่าย BI 13 เสียชีวิต ๑ นาย บาดเจ็บ ๔ นาย
สถานการณ์ต่อไป . . .
ภูล่องมาด ๒๐ มิถุนายน ๒๕๑๓
.jpg)
BI 14 เข้าวางกำลังในพื้นที่ตั้งรับภูล่องมาดแทนหน่วยทหาร ทชล.๒ ในวันที่ ๑๕ มิถุนายน ๒๕๑๓ (วันเดียวกับ BI 13 และที่ตั้งยิง EAGLE ถูกเข้าตี) โดย วางกำลังตั้งรับเป็นแนวยาวปตามสันเขา
๒๐ มิถุนายน ๒๕๑๓ เวลาประมาณ ๐๐๔๕ ฝ่ายเวียดมินห์โจมตีด้วยการยิงอาวุธหนัก และ เวลาประมาณ ๐๒๑๐ ใช้กำลังประมาณ ๑ กองร้อยเข้าตี
BI 14 ร้องขอปืนใหญ่จากที่ตั้งยิง ZEBRA
การสู้รบดำเนินไปประมาณ ๑ ชั่วโมง ฝ่ายเวียดมินห์ถอนตัวไปทางตะวันออก
ภาพจำลองการรบที่ภูล่องมาด ๒๐ มิถุนายน ๒๕๑๓ >
ผลของการรบ
ฝ่ายเวียดมินห์ เสียชีวิตจำนวนหนึ่ง ทิ้งศพไว้ ๙ ศพ บาดเจ็บ ไม่ทราบจำนวนที่แน่นอน
BI 14 เสียชีวิต ๒ นาย บาดเจ็บ ๒ นาย
ยึดอาวุธยุทโธปกรณ์ได้ คือ ปืน AK-47 จำนวน ๓ กระบอก
เครื่องยิงจรวด B-40 จำนวน ๑ เครื่อง
ระเบิดขว้าง ๑๑ ลูก
ดินระเบิด ๔๒ แท่ง
วันที่ ๒๐ มิถุนายน ๒๕๑๓ ตรงกับวันเสาร์ แรม ๒ ค่ำ เดือน ๗ ปีจอ (การตรวจสอบของ http://www.Payakon.com/moondate/php) เวลาประมาณ ๑ นาฬิกา ดวงจันทร์สว่างตรวจการณ์ได้ดี แต่เป็นฤดูฝน หากไม่มีเมฆบังดวงจันทร์จะตรวจการณ์ได้ดี และฝ่ายเข้าตีก็ได้ประโยชน์จากแสงจันทร์เช่นกัน แต่การรบครั้งนี้ ฝ่ายเวียดมินห์ใช้อาวุธหนักโจมตีก่อนจึงน่าจะไม่ได้ใช้หน่วยดักกง หรือ แซปเปอร์เข้าปฏิบัติการด้วย
กองกำลังอาสาสมัครทหารเสือพราน
ดังที่ได้เล่าไว้ในตอน . . . ระหว่างช่วงดวงดาวไม่ฉายแสง ว่า . . . การที่นายพลวังเปา รับสมัครชาวม้งให้เข้ามาเป็นทหารนี้ (พ.ศ.๒๕๐๗) เป็นแนวความคิดให้รับสมัครอาณาประชาลาวเข้าสู่กองทัพพระราชอาณาจักรลาว และเมื่อสถานการณ์รุนแรงขึ้น การสูญเสียมากขึ้น อาณาประชาลาวลดน้อยลง จนไม่สามารถเรียกร้องเชิญชวนให้อาณาประชาลาวสมัครเป็นทหารได้แล้ว จึงต้องรับสมัครอาณาประชาชนจากประเทศเพื่อนบ้านให้เข้าเป็นทหาร . . . ในกองทัพพระราชอาณาจักรลาว . . . นั้น กองทัพพระราชอาณาจักรลาวได้อาสาสมัครจากประเทศเพื่อนบ้านเข้าในกองทัพพระราชอาณาจักรลาว ในชื่อ . . . กองกำลังอาสาสมัครทหารเสือพราน . . .
ในชั้นต้น กองทัพพระราชอาณาจักรลาวรับอาสาสมัครทหารเสือพรานเพียง ๖ กองพัน และมีแผนจะส่งเข้าปฏิบัติการในพื้นที่ที่มีการรบคือ
พื้นที่ภาคตะวันตกเฉียงเหนือ ภาค ๑ (ทชล.๑) แขวงหลวงพระบาง ในพื้นที่เมืองเชียงลม และเมืองห้วยทราย จำนวน ๒ กองพัน
พื้นที่ภาคใต้ ภาค ๔ (ทชล.๔) แขวงจำปาศักดิ์
- ในพื้นที่เมืองปากเซ จำนวน ๒ กองพัน
- บนราบสูงโบโลเวน จำนวน ๒ กองพัน
เดือนกันยายน ๒๕๑๓ กองทัพพระราชอาณาจักรลาวสามารถรับสมัครอาสาสมัครทหารพรานได้มากขึ้น เป็น ๑๓ กองพันอาสาสมัครทหารพราน (BC - Battalion Commando) และ ๑ กองพันอาสาสมัครทหารพรานปืนใหญ่ (BA - Battalion Artillery) โดยมีแผนให้ปฏิบัติการในพื้นที่ ทชล.๒ จำนวน ๔ กองพัน และ ๑ กองพันปืนใหญ่
บ้านนา ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๑๓
BI 15 เคลื่อนที่เข้าผลัดเปลี่ยนหน่วย SGU.21 SGU.22 SGU.23 และ SGU.24 ที่บ้านนา เพื่อให้หน่วย SGU. เตรียมการรุกต่อไป (หมดฤดูฝน เริ่มเข้าฤดูหนาว) BI 15 เคลื่อนย้ายจากเมืองล่องแจ้งใน ๒๙ ตุลาคม ๒๕๑๓

การตั้งรับของทหารหน่วย SGU. ทชล.๒ ที่บ้านนา
ฝ่ายเวียดมินห์เข้าตีใน ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๑๓ เริ่มด้วยการใช้อาวุธหนัก และคาดว่าใช้ปืนใหญ่ยิงมาจากที่ตั้งยิงในทุ่งไหหินด้วย กำลังหน่วยทหารราบระดับกองร้อย และมีหน่วยทหารดักกงเข้าร่วมปฏิบัติการด้วย แต่ BI 15 ก็สามารถรักษาที่มั่นไว้ได้
ผลของการรบ
ฝ่ายเวียดมินห์ เสียชีวิตจำนวนหนึ่ง ทิ้งศพไว้นับได้ ๔๕ ศพ บาดเจ็บ ไม่ทราบจำนวนที่แน่นอน
BI 15 เสียชีวิต ๑๗ นาย บาดเจ็บสาหัส ๓๐ นาย บาดเจ็บเล็กน้อย ๗ นาย
ค.๖๐ มม. ชำรุด ๑ เครื่อง
ปืนเล็กยาว เอ็ม ๑๖ ชำรุด ๓๐ กระบอก
ยึดอาวุธยุทโธปกรณ์ได้ คือ ปืน AK - 47 จำนวน ๑๕ กระบอก
เครื่องยิงจรวด B-40 จำนวน ๓ เครื่อง ลูกยิงจรวด ๑๐ ลูก
ระเบิดขว้าง ๑๑ ลูก
ดินระเบิดจำนวนมาก
การเข้าตีของฝ่ายเวียดมินห์ทั้งสามครั้งนี้ นับเป็นการปฏิบัติการครั้งแรกหลังจากที่ได้รุกไล่ฝ่ายเป็นกลางจากเมืองสุย และทุ่งไหหิน ทำให้พิจารณาได้ว่าเป็นการเข้าตีเพื่อหยั่งกำลังฝ่าย ทชล.๒ ก็เป็นได้
ฝ่ายเวียดมินห์ขอล้างตาที่ภูล่องมาด

ภูล่องมาด ๑ ธันวาคม ๒๕๑๓
๑ ธันวาคม ๒๕๑๓ ฝ่ายเวียดมินห์ส่งทหารดักกงจำนวน ประมาณ ๕๐ นายเข้าปฏิบัติการต่อ BI 14 ที่ภูล่องมาดอีก คราวนี้สามารถทะลุเข้ามาในฐานที่มั่นได้ ถึงขั้นการรบประชิดเข้าตะลุมบอนกัน
ผลของการรบ
ฝ่ายเวียดมินห์ เสียชีวิตจำนวนหนึ่ง ทิ้งศพไว้ ๖ ศพ บาดเจ็บ ไม่ทราบจำนวนที่แน่นอน
BI 14 เสียชีวิต ๘ นาย บาดเจ็บสาหัส ๔ นาย เล็กน้อย ๗ นาย
ยึดอาวุธยุทโธปกรณ์ได้ คือ ปืน AK-47 จำนวน ๔ กระบอก ระเบิดขว้าง และดินระเบิด จำนวนหนึ่ง คีมตัดลวดหนาม ๓ อัน
ภาพจำลองการวางกำลังของ BI14 และ BA13 ที่ภูล่องมาด >


อาก้า ak-47 ปืนเล็กยาวอัตโนมัติของคาลาชนิคอฟ ปี 1947
(Kalashnikov automatic rifle, model of 1947 รัสเซีย - Автомат Калашникова 47)
กระสุนขนาด ๗.๖๒ มิลิเมตร อาวุธประจำกายหลักของกองทัพฝ่ายสหภาพโซเวียต
การเข้าตีของฝ่ายเวียดมินห์ครั้งนี้มีข้อสังเกต คือสามารถเข้าในฐานที่มั่นได้ และ BI 14 สามารถเก็บคีมตัดลวดหนามได้จำนวนหนึ่ง
ครับ . . . ฝ่ายเวียดมินห์พยามยามที่จะรุกเข้าสู่ซำทอง ล่องแจ้ง ซึ่งเป็นฐานที่มั่นใหญ่ของกองกำลังฝ่ายขวาของนายพลวังเปา แต่ใน พ.ศ.๒๕๑๓ นี้ ยังไม่สำเร็จ หากจะพิจารณากำลังที่ใช้จะเห็นว่า ยังไม่เป็นการรุกใหญ่ อาจจะเป็นการเข้าตีเพื่อหยั่งกำลังฝ่ายเป็นกลางก็เป็นได้
แต่อย่างไรก็ตาม การรบที่ภูล่องมาด เมื่อ ๑ ธันวาคม ๒๕๑๓ ฝ่ายเวียดมินห์ก็สามารถเข้าในฐานที่มั่นของ BI 14 ได้ . . . ในเดือนธันวาคม ๒๕๑๓ นี้ แนวรบด้านเหนือ (ทชล.๒) เหตุการณ์ไม่เปลี่ยนแปลง . . . เราพักกันก่อน . . .
ปีหน้า พ.ศ.๒๕๑๔ เชิญทางแนวรบด้านใต้ (ทชล.๔) ว่าเหตุการณ์จะเป็นอย่างไรบ้าง ครับ . . . ปากเซ มกราคม ๒๕๑๔


สถานการณ์ต่อไป . . . ปากเซ มกราคม ๒๕๑๔
สถานการณ์ต่อไป . . . ปากเซ มกราคม ๒๕๑๔
สถานการณ์ต่อไป . . . ปากเซ มกราคม ๒๕๑๔