dot
dot
เว็บภาพยนตร์ประวัติศาสตร์ ยินดีต้อนรับผู้สนใจทุกท่าน
dot
dot
สมาชิก Webboard/Blog
ชื่อผู้ใช้ :
รหัสผ่าน :
เข้าสู่ระบบอัตโนมัติ :
bullet ลืมรหัสผ่าน
dot
bulletข้อตกลงการเป็นสมาชิก
bulletเว็บบอร์ด-คุยกันหลังฉาก
bulletเว็บบอร์ด-Games ย้อนยุค
bulletเว็บบอร์ด-ชุดจำลองประวัติศาสตร์
bulletเว็บบอร์ด-หนังสือประวัติศาสตร์
bulletเว็บบอร์ด-เพลงประวัติศาสตร์
bulletคำถาม/คำตอบ ล่าสุด
bulletแนวทางการร่วมเขียนบทความ
dot
สงครามโลกครั้งที่ 2
dot
bulletสมรภูมิยุโรป (สัมพันธมิตรVSเยอรมัน-อิตาลี)
bulletสมรภูมิแปซิฟิก-เอเชีย (สัมพันธมิตรVSญี่ปุ่น)
dot
ภาพยนตร์ประวัติศาสตร์อื่นๆ
dot
bulletสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง
bulletประวัติศาสตร์ไทย
bulletประวัติศาสตร์อเมริกันยุคเริ่มแรก
bulletสงครามเวียดนามและอินโดจีน
bulletตะวันตกโบราณ (กรีก โรมัน ฯลฯ)
bulletประวัติศาสตร์ร่วมสมัย
bulletเอเชียโบราณ
bulletประวัติศาสตร์อื่นๆ (ยังไม่แยกหมวดหมู่)
bulletคลิปความรู้จาก YouTube
dot
บทความโดย วิวันดา
dot
bulletฮิตเล่อร์...และเหล่าขุนพลแห่งอาณาจักรไรค์ซที่สาม
bulletลอดลายรั้ว.....วินด์เซอร์
bulletเลิศเลอวงศา...โรมานอฟ
bulletเชลย
bulletซูคอฟ...ยอดขุนพลผู้ดับฝันของฮิตเล่อร์
dot
บทความโดย สัมพันธ์
dot
bulletคนไทยในกองทัพพระราชอาณาจักรลาว
bulletประวัติศาสตร์สงคราม กรีก
bulletกรณีพิพาทอินโดจีนและสงครามมหาเอเชียบูรพา
bulletอยุธยายศล่มแล้ว ลอยสวรรค์ ลงฤา
bulletฮานนิบาล
bulletพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบรมวงศานุวงศ์
bulletไทยกับมหาสงคราม
bulletสงครามเวียดนาม
bulletห้วยโก๋น ๒๕๑๘
bulletการทัพในมลายา
bulletประวัติศาสตร์อื่น ๆ
dot
เรื่องอื่นๆ
dot
bulletบทความเสริมความรู้ทั่วไป
bulletเกร็ดเล็กเกร็ดน้อย
bulletผู้จัดทำ
bulletผังเว็บไซต์ (Site Map)
bulletแนวทางการร่วมเขียนบทความ
bulletถาม-ตอบ (FAQs) (โปรดอ่านก่อนตั้งกระทู้หรือสมัครสมาชิก)
bulletร้านค้าออนไลน์
bulletแบ่งปัน Album
dot
ลิงค์ต่างๆ
dot
bulletHistory on Film
bulletกองบิน 21 กองพลบิน 2
bulletIELTS British Council
bulletIELTS IDP
bulletMUIC




โหราศาสตร์ยุคไอที



สงครามฝรั่งเศส - เวียดมินห์ (๑) - ญวน - ก่อนเป็นอาณานิคม

 

*  *  *

สงครามฝรั่งเศส - เวียดมินห์ (๑) 

ญวน - ก่อนเป็นอาณานิคม   

The Franco - Vietminh War  (December 19, 1946 – August 1, 1954)

 

          สงครามฝรั่งเศส - เวียดมินห์  (The Franco - Vietminh War    December 19, 1946 – August 1, 1954)     เป็นสงครามระหว่างฝรั่งเศสกับขบวนการเพื่อเอกราชของเวียดนาม    (เวียดนามด๊อคแล๊บดองมินห์ฮอย   Viet Nam Doc Lap Dong Minh Hoi)   หรือที่เรียกสั้นๆว่า    เวียดมินห์  (Viet Minh)   และท่านอาจจะพบว่ามีการเรียกสงครามนี้ในชื่ออื่นๆ  อีกหลายชื่อ   ตามแต่จะพิจารณาถึงประเด็นสำคัญของสงคราม  เช่น    

               สงครามอินโดจีนครั้งแรก  (The First Indochina War)   เป็นสงครามใหญ่ที่เกิดขึ้นในอินโดจีนเป็นครั้งแรก  ชื่อนี้เกิดขึ้นเมื่อเกิดสงครามอินโดจีนครั้งที่สอง  (คือ  สงครามที่สหรัฐอเมริกาเข้าสู่สงครามในอินโดจีน)  แล้ว    

               สงครามอินโดจีนของฝรั่งเศส  (The French Indochina War)   เนื่องจากเป็นสงครามที่เกิดขึ้นในอินโดจีนของฝรั่งเศส    

               สงครามต่อต้านฝรั่งเศส  (The The Anti - French War)   เนื่องจากเป็นสงครามที่ประชาชนในประเทศอาณานิคมลุกขึ้นทำสงครามเพื่อต่อต้านฝรั่งเศสเจ้าอาณานิคมผู้รุกราน 

               สงครามฝรั่งเศส - เวียดนาม  (The Franco - Vietnamese War)    เนื่องจากเป็นสงครามระหว่างฝรั่งเศสกับชาวเวียดนาม 

               สงครามอินโดจีน   (The Indochina War)    เนื่องจากเป็นสงครามใหญ่ที่เกิดขึ้นในอินโดจีน 

               สงครามสกปรก  (The Dirty War)   เนื่องจากเป็นสงครามที่ดำเนินไปด้วย "ดอลลาร์สหรัฐ"  จัดตั้งรัฐบาล (หุ่น)  และกองทหารท้องถิ่นให้เป็นกำลังเสริมกองทหารประจำในการส่งไปประจำที่มั่นต่างๆ  เพื่อควบคุมพื้นที่ และท้องถิ่น   และ "เลือดฝรั่งเศส" สนับสนุนให้ประชาชนเวียดนามรบกันเอง  ตามหลักการ  ต่อสู้ชาวเวียดนามด้วยชาวเวียดนาม   เลี้ยงสงครามด้วยสงคราม

          ครับ  .  .  .  ก่อนที่จะคุยกันเรื่องการสงครามนี้     ขอกล่าวถึงความเป็นมาของชนชาติญวนอย่างย่อๆ  กันก่อน

 

ญวน  -  ก่อนเป็นอาณานิคม

          กล่าวกันว่าญวนเป็นชนชาติผสม ระหว่างพลเมืองท้องถิ่นเดิมของตังเกี๋ย กับชนชาติมองโกลเผ่าหนึ่งซึ่งอพยพจากลุ่มแม่น้ำแยงซีเข้ามายังคาบสมุทรอินโดจีน    

          ญวนตกเป็นเมืองขึ้นของจีนตั้งแต่ประมาณ พ.ศ.๓๐๐  เป็นต้นมา  มีชื่อเรียกในสมัยนั้นว่า หนานเยว่ หรือ นามเวียด  (Nam Viet) 

 

 

 

 

 อาณาจักร  หนานเยว่ หรือ นามเวียด  ๒๐๐ ปีก่อนคริสตศักราช 

 

          กองทัพฮั่นเข้ายึดอาณาจักรนามเวียด ได้ในปี พ.ศ.๕๘๕    และผนวกเป็นส่วนหนึ่งของจีน  ใช้ชื่อว่าเจียวจื้อ  ขยายอาณาเขตลงใต้ถึงบริเวณเมืองดานังในปัจจุบัน และส่งข้าหลวงปกครองระดับสูงมาประจำ  (๑๑๑ ปีก่อนคริสตศักราช – ค.ศ.๙๓๘)  

          ญวนพยายามต่อสู้ดิ้นรนขับไล่ผู้ปกครองชาวจีนเพื่ออิสรภาพเป็นหลายครั้ง

          จากการที่ญวนเคยป็นเมืองขึ้นของจีนสมัยโบราณนับพันปี จึงได้รับอิทธิพลความเชื่อตามลัทธิขงจื๊อและรับวัฒนธรรมจีนมาผสมผสานกับวัฒนธรรมพื้นเมืองของตน ซึ่งยังคงจะเห็นได้ในปัจจุบัน

           ประมาณ  พ.ศ.๑๔๐๐    บรรพบุรุษไทยครั้งอาณาจักรที่น่านเจ้า ได้ยกกองทัพเข้าตังเกี๋ย และฮานอย

 

 อาณาจักรไดเวียด

             พ.ศ.๑๔๙๘ - ๑๕๑๐    เมื่อราชวงศ์ถังของจีนหมดอำนาจ  เกิดจลาจลวุ่นวายขึ้นในประเทศจีน  ชาวญวนถือโอกาสเป็นอิสระอีกครั้งหนึ่ง  โงเกวี่ยน - Ngo Quyen  ผู้นำท้องถิ่นในเขตเมืองฮวาลือ ทางใต้ของลุ่มแม่น้ำแดงรวบรวมผู้คนขับไล่จีนได้    และสถาปนาตนเองเป็นกษัตริย์     ตั้งราชวงศ์โง    เปลี่ยนชื่อประเทศว่า ไดเวียด 

 

         เมื่อเป็นอิสระจากจีนแล้ว ก็เริ่มแย่งยิงอำนาจกันเองบ้าง  ใครได้อำนาจก็ตั้งวงศ์ใหม่   และเพื่อเสริมสร้างความสามัคคีของพวกเดียวกันก็ต้องทำสงครามกับชนชาติอื่น  คือรุกรานอาณาจักรจามปาของพวกจามซึ่งอยู่ทางใต้
 

 อาณาจักรไดเวียด  และการขยายตัว   > 

 

 

 

 

 จำเนียรกาลผ่านไป         

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

(ซ้าย)  Map of Vietnam showing the Mac in control of the north and central part of Vietnam while the
Nguyen-Trinh alliance controls the south. (1540)

(ขวา)  Map of Vietnam circa 1560. Mạc control north-east Vietnam. Trịnh-Nguyễn forces control the rest. Nguyễn Hoang's assigned territory is shown in green.

 

 

สมัยกรุงศรีอยุธยา  

พ.ศ.๒๑๑๓   (ค.ศ.๑๕๗๐)    ดินแดนญวนได้แบ่งออกเป็น  ๓  ส่วน  คือ

               - ภาคเหนือ  ราชวงศ์มัก    ครองตังเกี๋ย  เมือง ฮานอย  Hanoi   เป็นเมืองหลวง

               - ภาคกลาง   ราชวงศ์เล  ครองเขตทันหัว  Than Hoa    แง่อาน  Nghe An   และฮาเตียน แต่พวกตริญ ในฐานะอุปราช มีอิทธิพลในราชสำนัก และในทางการเมืองมากกว่า   มีเมือง เทโด  Tay do   เป็นเมืองหลวง

               - ภาคใต้  อยู่ในอำนาจของราชวงศ์เหงียน  เมือง กวางตรี Quangtri  เป็นเมืองหลวง

           พ.ศ.๒๑๓๕  (ค.ศ.๑๕๙๒)   ปีที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงชนะสงครามยุทธหัตถี    ตริญตอง อุปราชญวนกลางสามารถแผ่อำนาจครอบคลุมไปทั่วตังเกี๋ย (ญวนเหนือ) และยึดฮานอยไว้ได้   

          ในปีต่อมา ก็ได้ย้ายเมืองหลวง และเชิญเสด็จกษัตริย์แห่งราชวงศ์เล จากเทโดไปประทับที่เมืองฮานอย    ส่วนกษัตริย์ราชวงศ์มัก แห่งตังเกี๋ย หรือญวนเหนือต้องเสด็จหนีไปขอความช่วยเหลือจากกษัตริย์จีน
 

         ตระกูลตริญ (เหนือ)  กับ ตระกูลเหงียน (ใต้)  ได้ต่อสู้ขับเคี่ยวแย่งอำนาจกันตลอดมา   ขณะนั้นโปรตุเกสได้มาเก๊าของจีนแล้ว  ได้เข้าไปติดต่อค้าขายกับญวนทั้งสองภาค  ตั้งชื่ออาณาจักรของพวกเหงียน (ญวนใต้) ว่าโคชินจีน / โคชินไชน่า   Cochinchine / Cochinchina   และพวกเหงียนก็ได้อาวุธจากพ่อค้าโปรตุเกส และสร้างกำแพงกั้นเหนือเขตแดนเมืองเว้  Hue

          ในช่วงประมาณ พ.ศ.๒๑๗๐ - ๘๐  (ค.ศ.๑๖๔๐ - ๖๐)    ภายหลังจากที่สามารถขยายอาณาเขตออกไปผนวกดินแดนของอาณาจักรจามปา  (Champa) แล้ว   ราชวงศ์เหงียน  (Nguyen) ซึ่ง มีความเข้มแข็งมากขึ้น  สามารถรวบรวมดินแดนส่วนต่างๆของประเทศให้เป็นปึกแผ่นก็เริ่มขยายอิทธิพลเข้าไปในเขตดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขง 

 

 


 

 Map of Vietnam showing (roughly) the areas controled by the Trinh, Nguyen, Mac, and Champa about the year 1640

 

          ต่อมา     บาทหลวงคณะเยซุอิต  เข้าไปเผยแพร่คริสตศาสนาในดินแดนญวน  ญวนใต้ต้อนรับคณะบาดหลวงดีกว่าญวนเหนือ  เพราะหวังว่าโปรตุเกสจะช่วยเหลือญวนใต้ในการรบ    แต่ใน  พ.ศ.๒๑๙๘    พวกเหงียนต้องสู้รบกับพวกตริญ    พวกโปรตุเกสไม่ได้ช่วยดังหวัง   พวกเผยแพร่คริสตศาสนาจึงพบอุปสรรคอย่างมากในดินแดนญวนใต้

 

         พ.ศ.๒๒๑๖   (ค.ศ.๑๖๗๓)   ตรงกับรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช  (พ.ศ.๒๑๙๙ - ๒๒๓๑)   พวกตริญ (ญวนเหนือ)  พ่ายแพ้แก่พวกเหงียน (ญวนใต้)   จึงเร่งทำนุบำรุงบ้านเมือง     ฝ่ายญวนใต้เมื่อชนะต่อญวนเหนือแล้วก็หันไปรุกรานอาณาจักรจัมปา  และเมื่อรวมได้สำเร็จแล้ว  ก็รุกเข้าสู่เขมร ลงไปจนถึงดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขง 

  

 

 

Map of Vietnam showing the conquest of the south (the Nam Tien) Yellow portions conquered
by the Nguyen Lords. Light green conquered by Le Thanh Tong emperor of Đại Việt from 1460 until his death.

 

 ในช่วงปลายสมัยอยุธยา ญวนพยายามแผ่อิทธิพลเข้ามาคุกคามเขมร    พ.ศ.๒๒๙๘  (ค.ศ.๑๗๗๕)  

 

สมัยกรุงธนบุรี

          ญวนเห็นว่าไทยเพิ่งแพ้พม่า จึงรีบแผ่อิทธิพลเข้ามาในเขมรยึดเอาเมืองบันทายมาศของเขมร   จนสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงพระกรุณาให้พระยาอภัยรณฤทธิ์เป็นแม่ทัพไปตีกัมพูชา    เมื่อ  พ.ศ.๒๓๑๒     ตีได้เมืองพระตะบอง  เสียมราฐ 

           พ.ศ.๒๓๑๖  (ค.ศ.๑๗๗๓)  ทางญวนใต้เกิดกบฏไตเซิน Tay-Son   หรือที่พวกเราคุ้นเคยกันในชื่อ ไกเซิน    ระหว่างที่ญวนใต้กำลังปราบกบฏอยู่    กองทัพญวนเหนือของพวกตริญก็เข้าตี และยึดได้เมืองเว้    องเชียงชุนน้องชายอุปราชเมืองเว้ ต้องหนีไปเมืองบันทายมาศ   ต่อมา  พวกกบฏก็ตีเมืองบันทายมาศแตกอีก    องเชียงชุนและพระยาราชาเศรษฐีเจ้าเมืองจึงพาครอบครัวลงเรือหนีเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภาร ณ กรุงธนบุรี  

 

          เหตุการณ์ทางญวนใต้ก็ซ้ำร้าย    ฝ่ายรัฐบาลเหงียนก็แพ้พวกกบฏ   พวกกบฏเข้ายึดเมือง เกียดินห์   (ไซง่อน  Saigon  โฮชิมินห์  Ho Chi Minh  ปัจจุบัน) ได้     แต่  

          องเชียงสือ/เหงียนฟุกอาน  Nguyen Phuc Anh   หลานอาขององเชียงชุนหนีไปซ่องสุมผู้คนมาตีเอาเมืองเกียดินห์ (ไซง่อน) คืนจากพวกกบฏ    และได้เป็นเจ้าเมืองไซง่อน    ส่งทูตมาเจริญทางพระราชไมตรีกับพระราชอาณาจักรไทยครั้งหนึ่ง

 

                                        
เหงียนฟุกอาน   Nguyen Phuc Anh  >  
                                                                           

 

ญวน - เขมร - ไทย  สมัยกรุงรัตนโกสินทร์

          พวกกบฏไกเซินกลับตีและยึดเมืองเกียดินห์ (ไซง่อน) ได้อีก  ฟ้าทะละหะ (มู) จัดกองทัพเขมรไปช่วย แต่แพ้พวกไกเซิน    องเชียงสือเองก็ต้องหลบหนี จนต้องเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารในปลาย  พ.ศ.๒๓๒๕  

          พ.ศ.๒๓๒๖ -  ๒๗  พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงจัดกองทัพให้ยกไปช่วยองเชียงสือปราบกบฏถึง  ๒ ครั้ง  แต่เนื่องจากไทยยังคงมีศึกติดพันอยู่กับพม่าไม่อาจจัดทัพให้สมบูรณ์ได้เต็มที่    การปราบกบฏไกเซินจึงไม่สำเร็จดังพระราชประสงค์   

 

         พ.ศ.๒๓๒๘  (ค.ศ.๑๗๘๕)    (ปีที่ไทยเผชิญสงครามเก้าทัพ)    ทางเมืองญวน   พวกไกเซินชนะญวนใต้แล้วก็ขยายผลไปทางเหนือจนได้ครอบครองญวนทั้งหมด      พระจักรพรรดิญวนเหนือต้องหนีไปขอรับการสนับสนุนจากราชสำนักแมนจูของจีน  ซึ่งได้ส่งกองทัพใหญ่เข้ามายึดเมืองฮานอยกลับคืนได้ใน พ.ศ.๒๓๓๑  (ค.ศ.๑๗๘๘)   แล้วสถาปนา  เลเจียวท่ง  (Le Chieu Thong)  เป็นจักรพรรดิ    แต่ในปีต่อมา   พวกไกเซินก็รวบรวมกองทัพกลับมาตีได้อีก  จักรพรรดิเลเจียวท่งต้องลี้ภัยไปจีน  และ  .  .  .  ไม่กลับมาอีก

          ขณะที่องเชียงสือ พี่งพระบรมโพธิสมภารอยู่ในกรุงเทพฯ นั้น  สังฆราชปิโญ เดอ เบแฮน   (Pigneau de  Behaine)   สังฆราชแห่งอาดรัง  ประมุขมิสซังโคชินจีน    ซึ่งหนีพวกไกเซินเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารอยู่ที่จันทบุรีได้ติดต่อข้าหลวงฝรั่งเศสในอินเดียเพื่อหาหนทางช่วยเหลือองเชียงสือในการต่อสู้พวกไกเซิน

          พ.ศ.๒๓๓๐  องเชียงสือกับพวกออกจากกรุงเทพฯ เพื่อไปต่อสู้กับพวกไกเซิน  โดยเพียงแต่ทำหนังสือกราบถวายบังคมลาไว้ที่โต๊ะบูชา

          พ.ศ.๒๓๔๐  พระนารายณ์ราชาถึงแก่พิราลัย มีบุตร  ๕ องค์ คือ นักองจัน  นักองพิม  นักองสงวน  นักองอิ่ม  และนักองด้วง   ซึ่งยังเยาว์อยู่มาก    พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชจึงทรงพระกรุณาให้ฟ้าทะละหะ (ปก)  เป็นผู้สำเร็จราชการ  

 

พระจักรพรรดิยาลองแห่งเวียดนาม  (องเชียงสือ)

          องเชียงสือได้รับการสนันสนุนจากข้าหลวงฝรั่งเศสในอินเดียจัดหาทหารอาสาสมัครชาติตะวันตกได้หลายร้อยคน  และ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชได้พระราชทานอาวุธ  อาหาร  และยานพาหนะ (เรือ)   จำนวนหนึ่ง 

 

 

 พระจักรพรรดิยาลองแห่งเวียดนาม  องเชียงสือ     >

 

 

 

          พ.ศ.๒๓๔๕   (ค.ศ.๑๘๐๒)    องเชียงสือก็ได้ชัยชนะตลอดทั้งญวนใต้  ญวนเหนือ  และสถาปนาตนเป็นพระจักรพรรดิยาลองแห่งเวียดนาม  (Gia Long)  ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์เหงียน    ประกอบด้วยดินแดน  ๓ ส่วน คือ 

          ญวนเหนือ  ศูนย์กลางอยู่ที่ฮานอย  

          ญวนกลาง  มีศูนย์กลางที่เว้  และเป็นเมืองหลวงด้วย    และ

          ญวนใต้  ศูนย์กลางอยู่ที่เกียดินห์ (ไซง่อน)

 

            พระจักรพรรดิยาลองทรงเริ่มฟื้นฟูประเทศเวียดนาม    ดินแดนภาคใต้ขยายไปถึงปากแม่น้ำโขงและชายฝั่งอ่าวไทย    ทรงรักษาสัมพันธ์กับชาวตะวันตกโดยเฉพาะฝรั่งเศสที่ช่วยรบกับพวกไกเซิน  ทรงตอบแทนฝรั่งเศสด้วยการอนุญาตให้เผยแพร่คริสต์ศาสนาได้อย่างกว้างขวาง    และนายช่างฝรั่งเศสช่วยออกแบบพระราชวังที่เว้ และป้อมปราการเมืองเกียดินห์ (ไซง่อน)

 

 

          พ.ศ.๒๓๔๙    นักองจัน  อายุได้ ๑๖ ปี  ฟ้าทะละหะนำมาเข้าเฝ้าฯ    พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชจึงทรงพระกรุณาอภิเษกนักองจันเป็นสมเด็จพระอุทัยราชา  พระเจ้ากรุงกัมพูชา    แต่พระอุทัยราชานี้ไม่จงรักภักดีต่อไทยเช่นสมเด็จพระนารายณ์ราชาพระบิดา    เนื่องจากเติบโตในเขมรแวดล้อมด้วยขุนนางที่นิยมญวนจึงมีจิตฝักใฝ่ญวนและคิดเอาญวนเป็นที่พึ่ง เพื่อหลุดพ้นจากอำนาจไทย  

 

 

รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย    (พ.ศ.๒๓๕๒ - ๒๓๖๗)

          พ.ศ.๒๓๕๒    (ค.ศ.๑๘๐๙)  พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชเสด็จสวรรคต   พระเจ้าเวียดนามยาลองได้จัดคณะทูตมาถวายบังคมพระบรมศพชุดหนึ่ง  และอีกชุดหนึ่งเฝ้าพระเจ้าอยู่หัวพระองค์ใหม่  ถวายเครื่องราชบรรณาการ    พร้อมทั้งขอพระราชทานเมืองบันทายมาศ หรือ ฮาเตียน  ซึ่งเวียดนามได้ส่งขุนนางญวนเข้ามาจัดการว่าราชการเรียบร้อยแล้ว    พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยคงจะทรงพระราชดำริว่า เป็นห้วงในการพระบรมศพ และไทยยังคงมีศึกติดพันอยู่กับพม่า  จึงพระราชทานให้ตามที่ขอ

          ความสัมพันธ์ระหว่าง  เขมร ญวน และไทย ในระยะนี้มีเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกันโดยตลอด  ผู้นำเขมรที่ยังคงจงรักภักดีต่อไทยก็มี  เช่น  นักองสงวน  พระมหาอุปโยราช  แต่พระอุทัยราชากษัตริย์เขมรฝักใฝ่ฝ่ายญวน    ไทยก็ยังคงมีศึกกับพม่า  ทำให้ญวนถือเป็นโอกาสที่แผ่อิทธิพลต่อเขมร และแสดงให้เห็นว่า  เขมรนั้นอยู่ในอำนาจและเชื่อฟังญวนมากกว่าไทย

           ๓  กรกฎาคม  พ.ศ.๒๓๕๘  (ค.ศ.๑๘๑๕)   กองทัพอังกฤษได้รับชัยชนะต่อกองทัพฝรั่งเศสของพระเจ้านโปเลียนอย่างเด็ดขาดในการรบที่วอเตอร์ลู    ทำให้ฝรั่งเศสต้องเสียอิทธิพลในอินเดียไปด้วย   จึงมุ่งเน้นมาทางตะวันออกต่อไป     และในเวียดนามมีคณะเผยแพร่คริสตศาสนาจากฝรั่งเศสอยู่แล้ว

 

          พ.ศ.๒๓๖๓ - ๘๓   (ค.ศ.๑๘๒๐ - ๔๐)    พระจักรพรรดิเวียดนามยาลองสิ้นพระชนม์    พระโอรสได้ราชสมบัติสืบมาคือ  พระเจ้าเวียดนามมินมาง    ทรงเปลี่ยนชื่อประเทศเป็น ด่ายนาม    แผ่แสนยานุภาพไปยังลาวและกัมพูชา  ผนวกกัมพูชาฝั่งตะวันออก     นับเป็นยุคที่ราชวงศ์เหงียนรุ่งเรืองที่สุด

          พม่าส่งทูตชวนให้จัดทัพมารบไทย  แต่พระเจ้าเวียดนามมินห์มางไม่ทรงรับทูตพม่า    ซึ่งมีคำอ้างของทางญวนในภายหลังต่อมาว่าเป็นเพราะพระเจ้ายาลองได้รับสั่งไว้ไม่ให้ลูกหลานคิดร้ายต่อไทย  เพราะได้เคยอุปการะสมัยตกทุกข์ได้ยากมาพึ่งพระบรมโพธิสมภารจนกลับเป็นใหญ่ได้    แต่การที่ญวนไม่คิดร้ายต่อไทยนั้น  สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงเห็นว่า   น่าจะมีข้อจำกัดหรือขอบเขตอยู่เพียงไม่ทำร้ายต่อหัวเมืองไทยเท่านั้น    ส่วนเขมรและลาวนั้นเป็นประเทศราช   ญวนคงถือว่าใครดีใครได้     จึงได้เกิดสงครามกับไทยในรัชกาลต่อมา

          ในรัชสมัยของจักรพรรดิมินห์มาง นี้  เวียดนามเริ่มใช้นโยบายต่อต้านการเผยแพร่คริสต์ศาสนาอย่างรุนแรง   ต่อต้านการเผยแพร่ศาสนาของฝรั่งเศสอย่างจริงจัง   มีการจับกุมและประหารบาดหลวงชาวตะวันตกอย่างต่อเนื่องรวมถึง ชาวเวียดนามที่นับถือคริสตศาสนาด้วย  ทำให้นักสอนศาสนาและประชาชนที่นับถือศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกต้องเสียชีวิตไปเป็นจำนวนมาก

 

BaoMinMang  1820 - 40                      

 

รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว   (พ.ศ.๒๓๖๗ - ๒๓๙๔)

ฝรั่งเศสมาแล้ว

           ในรัชสมัยพระจักรพรรดิตือดึ๊ก   Tu Duc   พ.ศ.๒๓๗๒ - ๒๔๒๖   (ค.ศ.๑๘๒๙ - ๑๘๘๓)    ทรงต่อต้านชาวคริสต์อย่างรุนแรงต่อไป  เน้นการปิดประเทศเพื่อสกัดกั้นอิทธิพลของต่างชาติ   มีการใช้ความรุนแรงในการปราบปรามบาทหลวงชาวฝรั่งเศส    จนในที่สุด  บาดหลวงชาวฝรั่งเศสต้องขอความช่วยเหลือจากรัฐบาลของตนให้ช่วยคุ้มครอง

 

รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว    (๒๓๙๔ - ๒๔๑๑)

ยุคล่าอาณานิคม    

รัชสมัยพระเจ้านโปเลียนที่ ๓    (๒ ธันวาคม พ.ศ.๒๓๙๕   ถึง   ๔ กันยายน พ.ศ.๒๔๑๓   ค.ศ.๑๘๕๒ - ๗๐)     
 
          ในปลายปี  พ.ศ.๒๔๐๑  (ค.ศ.  ๑๘๕๘)    เรือรบฝรั่งเศสเข้ายึดเมืองตูราน   (Tourane หรือ  ดานัง   Danang ในปัจจุบัน)                                                    

           ในต้นปี พ.ศ.๒๔๐๒    ฝรั่งเศสเข้ายึดเกียดินห์  (Gia Dinh - ไซง่อน)    ทำให้ชาวเวียดนามที่เป็นคริสเตียนเชื่อว่า ฝรั่งเศสจะเข้ายึดเวียดนามได้ทั้งหมด    แต่ชาวเวียดนามก็ต่อต้านและ ประกอบกับเกิดอหิวาห์ตกโรคและไทฟอยด์ระบาด    ในต้นปี พ.ศ.๒๔๐๓  (ค.ศ.๑๘๖๐)    ฝรั่งเศสจึงถอนตัวจากตูราน
 
          เมื่อถอนตัวไปแล้ว ก็กังวลว่า อังกฤษอาจถือโอกาสนี้เข้ามาครอบครองเวียดนามแทน     

          ดังนั้น   ในปีต่อมา    ฝรั่งเศสจึงส่งกองเรือ  จำนวน   ๗๐ ลำ พร้อมทหารอีก   ๓,๕๐๐ นาย เข้าโจมตีเกียดินห์อีก    หลังการรบอย่างนองเลือด  ฝรั่งเศสก็ยึดได้    จากนั้นก็ขยายผลไปยังพื้นที่รอบๆ    ในเดือนมิถุนายน  พ.ศ.๒๔๐๕  (ค.ศ.๑๘๖๒)     พระจักรพรรดิตือดึ๊ก (Tu Duc)  ยินยอมลงพระนามในสนธิสัญญาไซ่ง่อน   (Treaty of Saigon)  

 

          สนธิสัญญาไซ่ง่อนดังกล่าว กำหนดให้เวียดนามต้องยกดินแดน  ๓  เมืองรอบๆ เกียดินห์   (ซึ่งฝรั่งเศสเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น   ไซง่อน  Saigon    ปัจจุบัน  คือ  โฮจิมินห์  Ho Chi Minh City)    ให้เปิดเมืองท่า  ๓ เมือง  คือ   เบียนหว่า  (Bien Hoa)   เกียดินห์  (Gia Dinh)   ดินห์ทวง  (Dinh Tuong)   และ เกาะปูโลคอนดอร์  (Poulo Condore)   เพื่อการค้าขาย   

          ยินยอมให้เรือรบฝรั่งเศสผ่านแม่น้ำโขงไปยังกัมพูชา   

          ให้อิสระแก่มิชชันนารีในการเผยแพร่ศาสนา    

          และต้องจ่ายค่าปฏิกรรมสงครามจำนวนหนึ่งให้กับฝรั่งเศส

 เกาะปูโลคอนดอร์  (Poulo Condore)  >     

 

           ๑๑  สิงหาคม  ๒๔๐๖  (ค.ศ.๑๘๖๓)    นายพลเรือ  เดอลา กรองดิแยร์  (Admiral de la Grandiere)   ผู้ว่าการโคชินไชน่า   (Cochinchina  -  ดินแดนเวียดนามตอนใต้  ฝรั่งเศสเปลี่ยนใหม่เป็น  นามโบ    Nam Bo)    นำเรือรบ เข้ามาถึง อุดงมีชัย   บังคับให้ สมเด็จพระนโรดม    กษัตริย์กัมพูชายอมเข้ามาเป็นรัฐในอารักขาของฝรั่งเศส   โดยอ้างประวัติศาสตร์ว่ากัมพูชาเคยอยู่ใต้อำนาจญวนมาก่อน 

 

          พ.ศ.๒๔๐๘  (ค.ศ.๑๘๖๕)    ได้เกิดกบฏคริสเตียนที่  Bac Bo   (บริเวณสามเหลี่ยมปากแม่น้ำแดง)  ซึ่งต้องใช้กำลังเข้าปราบ    ทหารของพระจักรพรรดิตือดึ๊กสังหารชาวคริสเตียนไปนับพันคน    มิชชันนารีได้ร้องขอไปยังรัฐบาลฝรั่งเศสให้เข้าช่วยเหลือพวกกบฏ  

          เมื่อสถาปนาความมั่นคงในโคชินไชน่า   ซึ่งเป็นดินแดนเวียดนามตอนใต้แล้ว     กองเรือรบฝรั่งเศสและเรือพาณิชย์เคลื่อนกำลังต่อไปยังตังเกี๋ย  (ฝรั่งเศสอ้างว่าไปยัง  Bac Bo)   ซึ่งเป็นดินแดนเวียตนามตอนเหนือ       

 

          ในเดือนมิถุนายน  พ.ศ.๒๔๑๐  ค.ศ. ๑๘๖๗    นายพลเรือ  เดอลา กรองดิแยร์   ก็เข้ายึดดินแดนกัมพูชาทางฝั่งตะวันตกอีก   ๓ จังหวัด   

 

         เมื่อฝรั่งเศสได้ญวนทั้งประเทศแล้วก็อ้างว่าเขมรเคยเป็นเมืองขึ้นญวนมาก่อน เมื่อฝรั่งเศสได้ญวนแล้วก็ต้องได้เขมรด้วย   

 

          พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว   ทรงยอมเสียประเทศราชกัมพูชา  เขมรส่วนนอก  (คือพื้นที่หมายเลข  1 ในแผนที่ด้านขวา)  ให้ฝรั่งเศส เมื่อ พ.ศ.๒๔๑๐    แต่ฝรั่งเศสยอมคืนเสียมราฐ และพระตะบอง ที่ยึดไปคืนให้สยาม


 

 

รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  (พ.ศ.๒๔๑๑ - ๒๔๕๓)

          พ.ศ.๒๔๑๖  (ค.ศ. ๑๘๗๓)    ฝรั่งเศสเข้าโจมตีป้อมที่เมืองฮานอย   แต่ชาวญวนต่อสู้อย่างแข็งขัน   ฝรั่งเศสตีไม่ได้    เมื่อใช้กำลังทหารหักเอาไม่ได้  ฝรั่งเศสก็เปลี่ยนมาบีบบังคับพระจักรพรรดิตือดึ๊กยอมให้ฝรั่งเศสมีอำนาจอย่างเต็มที่เหนือดินแดนของเวียดนาม และยอมให้ฝรั่งเศสเข้าไปในแม่น้ำแดงเพื่อทำการค้า    พระจักรพรรดิตือดึ๊กต้องยอมลงพระนามในสัญญา  เมื่อเดือนมีนาคม  พ.ศ.๒๔๑๗  (ค.ศ. ๑๘๗๔)    

           ต่อมากำลังทหารฝรั่งเศสที่นำโดยนายทหารเรือชื่อ ฟรานซีส การ์นิเยร์   (Francis Garnier)  ถูกชาวเวียดนามและกองทหารธงดำ* ฆ่าตาย

* กองทหารธงดำ  Black Flag forces   เป็นทหารจีนที่หลบหนีกบฏไต้ผิงเข้ามายังเวียดนาม ต่อมาราชสำนักเวียดนามที่เมืองเว้  (Hue) อนุญาตให้อยู่ในตังเกี๋ย -  ฮ่อธงดำ ก็เรียก

 

         เดือนเมษายน  ๒๔๒๕  (๑๘๘๒)     Henri Laurent Riviere  นายทหารเรือฝรั่งเศสอีกคนนำกองทหารฝรั่งเศสเข้าโจมตีป้อมที่ฮานอยได้    แต่ในที่สุด  ก็แพ้แก่ชาวเวียดนาม และกองทหารธงดำอีกครั้ง     Henri Laurent Riviere  เสียชีวิตในการรบ  ทหารฝรั่งเศสต้องถอยหนีตายนำกำลังที่เหลือถอนตัวจากตังเกี๋ย    
 
 

          กรกฎาคม  ๒๔๒๖  พระจักรพรรดิตือดึ๊กสิ้นพระชนม์   

          ต่อมา ในเดือนสิงหาคม   ๒๔๒๖   ฝรั่งเศสก็ได้เมืองเว้  บังคับให้เวียดนามยินยอมให้ทหารฝรั่งเศสเข้าในเวียดนามตอนเหนือจรดดินแดนเวียดนามตอนกลางได้    (เวียดนามตอนใต้ หรือ  Cochinchina นั้น  ฝรั่งเศสยึดครองอยู่แล้ว)     ต่อมา  สภาขุนนางของเวียดนามถูกบังคับให้ลงนามในสนธิสัญญาเว้  (Treaty of Hue)   เป็นการรับรองอำนาจของฝรั่งเศสเหนืออธิปไตยของเวียดนาม

           ๒๕  สิงหาคม  ๒๔๒๖    (ค.ศ.๑๘๘๓)    เวียดนามทั้งหมดกลายเป็นรัฐอารักขาของประเทศฝรั่งเศสโดยเด็ดขาด      ฝรั่งเศสยอมให้เวียดนามยังมีพระจักรพรรดิเช่นเดิม  แต่ต้องผ่านการร่วมคัดเลือกโดยข้าหลวงฝรั่งเศส   และมีบทบาทเพียงเป็นสัญญลักษณ์ของประเทศเท่านั้น   อำนาจในการบริหาร  การคลัง  การทหาร  และการทูตสูงสุดเป็นของฝรั่งเศส   

 

          ครับ  .  .  .  นับได้ว่าเวียดนามสิ้นสุดฐานะเอกราชนับแต่นั้น

 

 

          และจากการที่ฝรั่งเศสได้เวียดนามทั้งหมดเป็นรัฐอารักขานี้  ทำให้อาณาเขตของฝรั่งเศสประชิดกับพระราชอาณาเขตสยาม  ฝรั่งเศสพยายามที่จะยึดครอง  ลาวและเขมรซึ่งเป็นประเทศราชของไทยซึ่งทำให้เกิดกรณีพิพาทกัน  ตั้งแต่เรื่องการปราบฮ่อ  ลุกลามเป็นวิกฤติการณ์ ร.ศ.๑๑๒  และพยายามที่จะยึดเอาประเทศไทยเป็นอาณานิคมด้วย  ดังรายละเอียดในเรื่อง  "พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว - ปราบฮ่อ - วิกฤติการณ์ ร.ศ.๑๑๒ - ทวยราษฎร์รักบาทแม้ ยิ่งด้วยบิตุรงค์"
 
 

 

 

 

 

 

 

          ครับ  .  .  .  เมื่อฝรั่งเศสได้เวียดนามทั้งหมดแล้ว   อาณาจักรจะเป็นอย่างไร    เชิญติดตามใน  .  .  .  เวียดนามยุคอาณานิคมของฝรั่งเศส    และความเป็นไปจนสงครามโลกครั้งที่ ๒  สงบลง  ครับ  .  .  .  สถานการณ์ต่อไป  .  .  .    

 

สถานการณ์ต่อไป  .  .  .  เวียดนามยุคอาณานิคมของฝรั่งเศส

สถานการณ์ต่อไป  .  .  .  เวียดนามยุคอาณานิคมของฝรั่งเศส

สถานการณ์ต่อไป  .  .  .  เวียดนามยุคอาณานิคมของฝรั่งเศส

 

 

  
 

 

 

 




ประวัติศาสตร์สงคราม กรีก โดย สัมพันธ์

อเล็กซานเดอร์มหาราช : สู่ตะวันออก
อเล็กซานเดอร์มหาราช : เริ่มลมเหนือ
สงคราม กรีก - กรีก
สงคราม กรีก - เปอร์เซีย



1

ความคิดเห็นที่ 1 (610)
avatar
โรจน์ จินตมาศ
พอดีครั้งก่อนๆ ผมได้เขียนบทความแนะนำสารคดีเกี่ยวกับโฮจิมินห์และสงครามเวียดนามไว้ ได้บทความ "ตับ" นี้ของท่าน samphan มาเสริมอีก คงช่วยให้ท่านสมาชิกและผู้ชมเว็บ IseeHistory เข้าใจเรื่องของเวียดนามได้ดีขึ้น
ผู้แสดงความคิดเห็น โรจน์ จินตมาศ (webmaster-at-iseehistory-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2010-08-23 20:41:27 IP : 124.120.162.140


ความคิดเห็นที่ 2 (611)
avatar
สัมพันธ์

บทความ "ตับ" นี้    จะว่าถึง้เรื่องการรบบางครั้งเท่านั้น  ฯลฯ  จะมีกล่าวถึงลุงโฮ  น้อยมากครับ  คงไม่สมความตั้งใจ  นะครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น สัมพันธ์ (samphan_chaeng-at-hotmail-dot-com)วันที่ตอบ 2010-08-23 22:33:45 IP : 110.168.49.71


ความคิดเห็นที่ 3 (612)
avatar
โรจน์ จินตมาศ
ครับ จะเกี่ยวกับลุงโฮโดยตรงหรือโดยอ้อมก็ยังน่าสนใจครับ
ผู้แสดงความคิดเห็น โรจน์ จินตมาศ (webmaster-at-iseehistory-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2010-08-24 10:59:03 IP : 203.114.104.116


ความคิดเห็นที่ 4 (613)
avatar
สัมพันธ์
ครับ    ด้วยความขอบคุณ  และยินดียิ่งครับ
ผู้แสดงความคิดเห็น สัมพันธ์ (samphan_chaeng-at-hotmail-dot-com)วันที่ตอบ 2010-08-24 12:23:43 IP : 203.144.225.157


ความคิดเห็นที่ 5 (614)
avatar
แมวเซา
สวัสดีครับ  ติดตามอ่านอยู่ตลอดนะครับ   ผมสนใจเหตุการณ์ของญวน(ช่วงสมัยรัชกาลที่ 3 ของไทยเรา)ด้วยครับ  ญวนรบกับไทยและเขมรหนักมาก  เลยคิดอยู่ว่าทำให้ญวนอ่อนเปลี้ยไปมากเลยแพ้ฝรั่งเศญง่ายไป   สงสัยมากอยู่อย่างหนึ่งว่าสมัยนั้นไทยเราค้าขายทางเรือกับจีนได้มากอย่างไรเพราะรบกับญวนตั้งนานเป็นสิบปีทำไมญวนไม่ปิดน่านน้ำนะครับ...มีอีกช่วงหนึ่งที่ไทยไปตีเอาเมืองฮาเตียนและโจฎก แล้วเอาพวกบาทหลวงฝรั่งเศษมาไว้ที่จันทบุรีนี่ จะเกี่ยวกับที่ฝรั่งเศษตามมายึดเอาเมืองจันทบุรีในตอนหลังใหมครับ...ขอบคุณครับ
ผู้แสดงความคิดเห็น แมวเซา วันที่ตอบ 2010-08-25 13:45:19 IP : 124.121.238.12


ความคิดเห็นที่ 6 (6155)
avatar
สัมพันธ์

ขอบคุณครับ     ว่ากันตามความคิดของคนชอบประวัติศาสตร์นะครับ    หากไม่ถูกต้อง ก็ต้องขอความกรุณาท่านที่ศึกษามาโดยตรง  หรือท่านผู้รู้ กรุณาทักท้วงเพื่อเป็นวิทยาทานแก่ผู้สนใจทั่วไปด้วย

          การที่เราขับเคี่ยวกับญวน นั้น  ผมว่าคงไม่ทำให้ญวนอ่อนไปเท่าไหร่      เหตุที่ญวนแพ้ฝรั่งเศสน่าจะเป็นที่อาวุธมากกว่าครับ

          การปิดน่านน้ำ    ญวนอาจจะไม่มีกองเรือที่มีศักยภาพพอ  หากพบพรรคพวกที่เป็นทหารเรือจะถามขอความรู้จากท่านให้ครับ  

         ส่วนเรื่องที่เรานำคณะบาทหลวงมา  กับการที่ฝรั่งเศสยึดเมืองจันทบุรี  ผมคิดว่าไม่น่าจะเกี่ยวข้องกัน     การที่ฝรั่งเศสยึดเมืองจันทบุรีในสมัยรัชกาลที่ ๕  คงเป็นเรื่องหมาป่ากับลูกแกะ  มากกว่า

          แต่ที่น่าสนใจคือ  .  .  .  ขณะที่องเชียงสือ พี่งพระบรมโพธิสมภารอยู่ในกรุงเทพฯ นั้น  สังฆราชปิโญ เดอ เบแฮน   (Pigneau de  Behaine)   สังฆราชแห่งอาดรัง  ประมุขมิสซังโคชินจีน    ซึ่งหนีพวกไกเซินเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารอยู่ที่จันทบุรีได้ติดต่อข้าหลวงฝรั่งเศสในอินเดียเพื่อหาหนทางช่วยเหลือองเชียงสือในการต่อสู้พวกไกเซิน     (ในสมัยรัชกาลที่ ๑)  ก็ดีว่าสำเร็จนะครับ

          ถือเป็นการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันนะครับ               ขอบคุณ  และสวัสดีครับ

          

ผู้แสดงความคิดเห็น สัมพันธ์ (samphan_chaeng-at-hotmail-dot-com)วันที่ตอบ 2010-08-25 16:07:45 IP : 115.87.36.68



1


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.
| WW II Europe | WW II Asia | WW I | Vietnam War | ประวัติศาสตร์ไทย | บทความจากสมาชิก | คุยกันหลังฉาก | บทความทั้งหมด |

สนใจร่วมเขียนบทความในเว็บไซต์ เชิญอ่าน แนวทางการร่วมเขียนบทความ ภาพยนตร์ประวัติศาสตร์

Custom Search



eXTReMe Tracker