dot
dot
เว็บภาพยนตร์ประวัติศาสตร์ ยินดีต้อนรับผู้สนใจทุกท่าน
dot
dot
สมาชิก Webboard/Blog
ชื่อผู้ใช้ :
รหัสผ่าน :
เข้าสู่ระบบอัตโนมัติ :
bullet ลืมรหัสผ่าน
dot
bulletข้อตกลงการเป็นสมาชิก
bulletเว็บบอร์ด-คุยกันหลังฉาก
bulletเว็บบอร์ด-Games ย้อนยุค
bulletเว็บบอร์ด-ชุดจำลองประวัติศาสตร์
bulletเว็บบอร์ด-หนังสือประวัติศาสตร์
bulletเว็บบอร์ด-เพลงประวัติศาสตร์
bulletคำถาม/คำตอบ ล่าสุด
bulletแนวทางการร่วมเขียนบทความ
dot
สงครามโลกครั้งที่ 2
dot
bulletสมรภูมิยุโรป (สัมพันธมิตรVSเยอรมัน-อิตาลี)
bulletสมรภูมิแปซิฟิก-เอเชีย (สัมพันธมิตรVSญี่ปุ่น)
dot
ภาพยนตร์ประวัติศาสตร์อื่นๆ
dot
bulletสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง
bulletประวัติศาสตร์ไทย
bulletประวัติศาสตร์อเมริกันยุคเริ่มแรก
bulletสงครามเวียดนามและอินโดจีน
bulletตะวันตกโบราณ (กรีก โรมัน ฯลฯ)
bulletประวัติศาสตร์ร่วมสมัย
bulletเอเชียโบราณ
bulletประวัติศาสตร์อื่นๆ (ยังไม่แยกหมวดหมู่)
bulletคลิปความรู้จาก YouTube
dot
บทความโดย วิวันดา
dot
bulletฮิตเล่อร์...และเหล่าขุนพลแห่งอาณาจักรไรค์ซที่สาม
bulletลอดลายรั้ว.....วินด์เซอร์
bulletเลิศเลอวงศา...โรมานอฟ
bulletเชลย
bulletซูคอฟ...ยอดขุนพลผู้ดับฝันของฮิตเล่อร์
dot
บทความโดย สัมพันธ์
dot
bulletคนไทยในกองทัพพระราชอาณาจักรลาว
bulletประวัติศาสตร์สงคราม กรีก
bulletกรณีพิพาทอินโดจีนและสงครามมหาเอเชียบูรพา
bulletอยุธยายศล่มแล้ว ลอยสวรรค์ ลงฤา
bulletฮานนิบาล
bulletพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบรมวงศานุวงศ์
bulletไทยกับมหาสงคราม
bulletสงครามเวียดนาม
bulletห้วยโก๋น ๒๕๑๘
bulletการทัพในมลายา
bulletประวัติศาสตร์อื่น ๆ
dot
เรื่องอื่นๆ
dot
bulletบทความเสริมความรู้ทั่วไป
bulletเกร็ดเล็กเกร็ดน้อย
bulletผู้จัดทำ
bulletผังเว็บไซต์ (Site Map)
bulletแนวทางการร่วมเขียนบทความ
bulletถาม-ตอบ (FAQs) (โปรดอ่านก่อนตั้งกระทู้หรือสมัครสมาชิก)
bulletร้านค้าออนไลน์
bulletแบ่งปัน Album
dot
ลิงค์ต่างๆ
dot
bulletHistory on Film
bulletกองบิน 21 กองพลบิน 2
bulletIELTS British Council
bulletIELTS IDP
bulletMUIC




โหราศาสตร์ยุคไอที



สงครามฝรั่งเศส - เวียดมินห์ (๓) - สาธารณรัฐประชาธิปไตยแห่งเวียดนาม
วันที่ 16/02/2020   20:47:38

*  *  *

สงครามฝรั่งเศส - เวียดมินห์  (๓)  -  สาธารณรัฐประชาธิปไตยแห่งเวียดนาม 

 

สถานการณ์เดิม  .  .  .  จาก  เวียดนามยุคอาณานิคมของฝรั่งเศส   .  .  .

หลังสงครามโลกครั้งที่ ๒

          เมื่อญี่ปุ่นยอมแพ้จึงเกิดช่องว่างแห่งอำนาจขึ้นในเวียดนาม    เวียดมินห์ได้ทำการ  "ปฏิวัติสิงหาคม   August Revolution"  ทั่วประเทศเข้ายึดที่ทำการของรัฐ

๑๒  สิงหาคม  ๒๔๘๘    มีการออกประกาศให้ให้ก่อการจลาจล  มีการโจมตีที่มั่นทหารต่างชาติหลายแห่ง

๑๓  สิงหาคม  ๒๔๘๘    คณะกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์อินโดจีน  (The Central Committee of the Indochinese Communist Party - ICP)   ประชุมกันที่ตันเตรา  (Tan Trao)    ได้ข้อตกลงใจที่จะให้แสวงประโยชน์ในช่องว่างแห่งอำนาจนี้ด้วยนำประชาชนปฏิวัติทั่วไป และเข้ายึดอำนาจรัฐ

๑๔  สิงหาคม  ๒๔๘๘    ญี่ปุ่นยอมแพ้โดยไม่มีเงื่อนไข

๑๕  สิงหาคม  ๒๔๘๘    กองทัพญี่ปุ่นทุกสมรภูมิวางอาวุธ

๒๕  สิงหาคม  ๒๔๘๘    สมเด็จพระจักรพรรดิเบาได๋แห่งเวียดนาม  (๘  มกราคม  ๒๔๖๙ – ๒๕  สิงหาคม  ๒๔๘๘  -  ค.ศ.๑๙๒๖ - ๔๕)  ทรงสละราชบัลลังก์    เป็นการสิ้นสุดราชวงศ์เหงียน   ก่อนสละราชบัลลังก์ได้ทรงแต่งตั้งให้โฮจิมินห์ ดำรงตำแหน่งผู้สำเร็จราชการ เพื่อจัดตั้งรัฐบาลใหม่ขึ้นในฮานอยและเป็นประธานาธิบดีคนแรก


สถานการณ์ต่อไป  .  .  .

          ๒๙  สิงหาคม  ๒๔๘๘    กองทหารหน่วยแรกของกองทัพปลดแอกแห่งเวียดนามเข้าสู่กรุงฮานอย

 

สาธารณรัฐประชาธิปไตยแห่งเวียดนาม 

          ๒  กันยายน  ๒๔๘๘  (ค.ศ.๑๙๔๕)    ประธานาธิบดีโฮจิมินห์ประกาศเอกราชของ "สาธารณรัฐประชาธิปไตยแห่งเวียดนาม"  (the Democratic Republic of Vietnam)    และนายพล ชาร์ลส  เดอ โกลล์  ( General Charles De Gaulle )  ประธานาธิบดีฝรั่งเศส    ก็แต่งตั้ง พลเรือเอก จอร์จ เทียร์รี อาร์คจองเลียว (Admiral  Georges Thierry d'Argenlieu)  เป็นข้าหลวงใหญ่อินโดจีน   (High - Commissioner in Indochina)   

 

 

 ธงชาติสาธารณรัฐประชาธิปไตยแห่งเวียดนาม

 

 

 

    

 

 

<    General Charles De Gaulle       

Admiral  Georges Thierry d'Argenlieu    >

 

 

 

 

๙  กันยายน   กองทัพจีนได้เข้ายึดกรุงฮานอยเพื่อปลดอาวุธกองทัพญี่ปุ่น และยึดเมืองที่เป็นจุดยุทธศาสตร์ในแคว้นตังเกี๋ย เหนือเส้นขนานที่  ๑๖

           ลอร์ด  หลุยส์  เมาท์แบทเทน  (Lord Louis Mountbatten)  ผู้บัญชาการทหารสูงสุดสัมพันธมิตรในยุทธบริเวณเอเซียตะวันออกเฉียงใต้  (Supreme Allied Commander of the Southeast Asia Theatre)    ส่งกองทัพอังกฤษเข้าไปในเวียดนาม  ดังนี้

          ๑๒  กันยายน    กองพันทหารกุรข่าอินเดีย เป็นหน่วยทหารสัมพันธมิตรหน่วยแรกจากกรุงย่างกุ้งได้มาถึงกรุงไซง่อน

          ๑๓   กันยายน    นายพล เซอร์ ดักกลาส  เกรซีย์  (General Sir Douglas Gracey)   ผู้บัญชาการกองกำลังภาคพื้นดินสัมพันธมิตร  (Commander Allied Land Forces)  และกองพลที่  ๒๐  อินเดีย    (GOC 20th Indian Division,   GOC = General Officer Commanding)   จำนวน   ๒๐,๐๐๐   มาถึงกรุงไซง่อน เพื่อปลดอาวุธทหารญี่ปุ่น และฟื้นฟูความสงบในพื้นที่ใต้เส้นขนานที่  ๑๖    ซึ่งได้พบว่าเกิดสภาพอนาธิปไตยขึ้นอย่างกว้างขวางทั่วไป 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

<    Lord Louis Mountbatten       

General Sir Douglas Gracey    >

 

 

 

 

 ๒๒   กันยายน     กองทัพอังกฤษในกรุงไซง่อนสนับสนุนอาวุธให้กองทหารฝรั่งเศส 

 ๒๓  กันยายน    ฝรั่งเศสส่งกำลังทหารเข้ากรุงไซง่อน  ล้มรัฐบาลเวียดนาม   และประกาศฟื้นอำนาจฝรั่งเศสในอินโดจีน

           อย่างไรก็ตาม    รัฐบาลฝรั่งเศสหลังสงครามโลกครั้งที่ ๒   อยู่ในภาวะอ่อนแอและไร้เสถียรภาพ  และการไร้เสถียรภาพทางการเมืองนี้ทำให้ไม่มีนโยบายที่ชัดเจนในการจัดการเกี่ยวกับสงครามในเวียดนาม    จึงเรียกร้องสิทธิ์ในการปกครองเวียดนามอีกเพื่อหวังคะแนนนิยมในประเทศ   

          รัฐบาลฝรั่งเศสต้องการข้ามเส้นขนานที่ ๑๖   ขึ้นไปทางเวียดนามตอนเหนือ    จึงเจรจากับ ฝ่ายเวียดมินห์และจีน   เพื่อให้เปิดทางให้แก่กองทัพฝรั่งเศส

          ฝรั่งเศสต่อรองกับจีนโดยอ้างถึงการที่ฝรั่งเศสเคยช่วยเหลือสนับสนุนจีนในระหว่างสงครามโดยให้ใช้ท่าเรือในเวียดนาม     รัฐบาลจีนก๊กมินตั๋งก็ไม่ต้องการมีปัญหากับฝรั่งเศสเพราะยังสู้รบติดพันกับพรรคคอมมิวนิสต์จีนของเมาเซตุงอยู่  จึงยอมวางมือจากเวียดนาม            

          ฝ่ายเวียดมินห์นั้นกลัวถูกจีนกลืนชาติ  (น่าจะเป็นความฝังใจของเผ่าพันธุ์)  มากกว่ากลัวฝรั่งเศสเข้ายึดครอง    เพราะสามารถใช้พลังประชาชนต่อสู้ได้  จึงต้องการขับไล่จีนออกจากเวียดนาม
 
 

พ.ศ.๒๔๘๙  (ค.ศ.๑๙๔๖) 

"กองพันแห่งสยาม"

          ขบวนการเสรีไทยได้สนับสนุนการต่อสู้กอบกู้เอกราชของชาวเวียดนามด้วยการมอบอาวุธอาวุธประจำกายให้จำนวนหนึ่ง    นายปรีดี  พนมยงค์  นายกรัฐมนตรีในขณะนั้นให้ร้อยเอก  พงษ์เลิศ  ศรีสุขนันท์  นายทหารสารวัตร  ลำเลียงจากค่ายเสรีไทย  ที่จังหวัดชลบุรี  เมื่อต้นปี ๒๔๘๙   ไปขึ้นรถไฟที่ฉะเชิงเทรา และส่งมอบให้ผู้รับที่พระตะบอง ซึ่งยังเป็นของไทยอยู่

          โฮจิมินห์ได้มีจดหมายตอบถึงนายปรีดีฯ  เป็นภาษาฝรั่งเศส  ขอบคุณในการช่วยเหลือสนับสนุนภารกิจกอบกู้เอกราชของเวียดนาม พร้อมกับแจ้งว่าอาวุธเหล่านี้  ประกอบเป็นกำลังได้สองกองพัน จึงขอให้สมญานามว่า "กองพันแห่งสยาม"

 

๒๘  มกราคม    นายพล ดักกลาส  เกรซีย์  ผู้บัญชาการกองกำลังภาคพื้นดินสัมพันธมิตร  ออกจากกรุงไซง่อน   
 
๒๘  กุมภาพันธ์      

          มีการลงนามในสนธิสัญญาระหว่างจีนกับฝรั่งเศส  ณ  เมืองจุงกิง  ประเทศจีน    ประธานาธิบดีเจียงไคเช็คยอมให้ฝรั่งเศสยกกองกำลังเข้าไปควบคุมดูแลแคว้นตังเกี๋ย แทนจีนที่จะถอนตัวออกไป  (โดยได้รับการสนับสนุนจากอังกฤษ)    นับว่าความต้องการของเวียดมินห์ที่ต้องการผลักดันจีนออกไปนั้น  ได้ผล

 

ประธานาธิบดี โฮจิมินห์

 

๒  มีนาคม  ๒๔๘๙  (ค.ศ.๑๙๔๖)   การประชุมรัฐสภาสาธารณรัฐประชาธิปไตยแห่งเวียดนามครั้งแรก  มีมติเลือก โฮจิมินห์  เป็นประธานาธิบดี

 

 ๖  มีนาคม    ประธานาธิบดีโฮจิมินห์ลงนามในข้อตกลงชั่วคราวกับรัฐบาลฝรั่งเศสในฮานอย  ระบุว่ารัฐบาลฝรั่งเศสยอมรับสาธารณรัฐประชาธิปไตยแห่งเวียดนามเป็นรัฐอิสระภายในเครือสหภาพฝรั่งเศส    มีรัฐบาล  มีรัฐสภา  มีกองทัพ  และการคลังที่เป็นของอินโดจีนและของสหภาพฝรั่งเศส

 

 

 

 

 

 

 

 

 

             รัฐบาลฝรั่งเศสเห็นชอบด้วยที่จะจัดให้มีการลงประชามติในเรื่องเกี่ยวกับการรวมตัวของรัฐเวียดนามทั้งสาม  คือ  ตังเกี๋ย  อันนาม  และโคชินไชน่า  (the three "ky" - Tonkin, Annam and Cochin-China)

           รัฐบาลเวียดนามประกาศว่าพร้อมที่จะเป็นมิตรกับกองทัพฝรั่งเศสที่จะเข้ามาปลดอาวุธกองทัพญี่ปุ่น   ตามข้อตกลงระหว่างประเทศเพื่อปลดเปลื้องภาระกองทัพจีน    แต่ละภาคส่วนจะใช้มาตรการที่จำเป็นเพื่อยุติสถานะศัตรูในทันที  เช่น  ให้กองทหารอยู่ในที่ตั้ง และสร้างบรรยากาศที่ดี    จนกว่าจะถึงการประชุมกันฉันท์มิครอย่างเปิดเผย  ในวันที่  ๑๔ กันยายน  

 

๘  มีนาคม   ทหารฝรั่งเศสขึ้นบกที่ไฮฟอง (Haiphong)      

๑๘  มีนาคม    ทหารฝรั่งเศสเข้ากรุงฮานอย

 

 

 

 

 

 

 

 โคชินไชน่า  -  ฟองเตนโบล 

๑  มิถุนายน  ๒๔๘๙  (ค.ศ.๑๙๔๖)     ฝรั่งเศสประกาศเอกราชของโคชินไชน่า  (เวียดนามใต้)  ภายในสหพันธรัฐอินโดจีน  (the Indochina Federation)   และสหภาพฝรั่งเศส  (the French Union)

 ธงชาติสาธารณรัฐโคชินไชน่า    พ.ศ.๒๔๘๙ - ๒๔๙๑

 

๑๐  มิถุนายน     กองทัพจีนถอนตัวออกจากกรุงฮานอย

๖  กรกฎาคม    มีการเจรจาที่ฟองเตนโบล  (Fontainebleau)  ใกล้กรุงปารีส    ฟามวันดง   (Phan Van Dong)  รัฐมนตรีคลัง  หัวหน้าคณะผู้แทนสาธารณรัฐประชาธิปไตยแห่งเวียดนาม  ประกาศคัดค้านการประกาศเอกราชของโคชินไชน่า    พร้อมทั้ง กล่าวหาว่าฝ่ายฝรั่งเศสละเมิดข้อตกลง  ๖  มีนาคม

          ในระหว่างที่มีการเจรจากันอยู่นี้    ฝ่ายเวียดมินห์ได้ปฏิบัติการลอบสังหารและก่อวินาศกรรม  ซึ่งฝ่ายฝรั่งเศสก็ตอบโต้อย่างรุนแรงเช่นกัน    พยายามเพิ่มกำลังทหาร และขยายพื้นที่ควมคุมออกไปด้วย

๑  สิงหาคม     คณะผู้แทนฯ เวียดนามเลื่อนการเจรจาที่ฟองเตนโบล    หลังจากที่ได้ทราบว่า  ฝ่ายฝรั่งเศสจัดการประชุมที่เมืองดาลัท  (Da Lat)  

 

Franco - Laotian  Modus  Vivendi  

๒๗  สิงหาคม     มีการลงนามใน  Franco - Laotian Modus Vivendi   ให้ลาวเป็นเอกราชภายในสหภาพฝรั่งเศส

๑๐  กันยายน   การเจรจาที่ฟองเตนโบลยุติลงหลังจากที่ประชุมไม่บรรลุข้อตกลงเรื่องโคชินไชน่า  

 

Franco – Vietnam  Modus  Vivendi 

๑๔  กันยายน     ก่อนจะออกจากกรุงปารีส  ประธานาธิบดีโฮจิมินห์ลงนามในแนวปฏิบัติระหว่างฝรั่งเศสและอินโดจีน ว่า   (Franco – Vietnam  Modus  Vivendi)    

            - จะมีการยอมรับในสิทธิแห่งประชาชน 

            - จะมีการยอมรับในสิทธิครอบครองของเอกชน  สิทธิในอสังหาริมทรัพย์  และ  การรื้อฟื้นการอนุญาตให้ฝรั่งเศสเข้าครอบครองอสังหาริมทรัพย์ในเวียดนามที่ได้ครอบครองมาก่อนแล้ว      

            - เงินเพียสตร์อินโดจีน  (Indochina Piastre)  ผูกอยู่กับเงินฟรังก์ฝรั่งเศส

            - จะมีการทำข้อตกลงทางศุลกากร  และการค้าเสรีต่อไปภายในสหภาพอินโดจีน

            -  ฟื้นฟูความเป็นระเบียบเรียบร้อยโดยทั่วไปในโคชินไชน่า  ได้แก่

                    ยุติการต่อสู้ทุกรูปแบบ

                    ปลดปล่อยนักโทษคดีทางการเมืองและทางการทหารทั้งหมด  เว้นแต่ผู้มีความผิดในคดีอาญา

                    ยุติการโฆษณาชวนเชื่อที่ไม่เป็นมิตร

 

๘  พฤศจิกายน   รัฐสภาลงมติรับรัฐธรรมนูญของสาธารณรัฐประชาธิปไตยแห่งเวียดนาม

๒๐  พฤศจิกายน    เรือลาดตระเวนฝรั่งเศสถูกยิงในท่าเรือเมืองไฮฟอง    กองทัพเวียดมินห์โจมตีหน่วยทหารเล็กๆ ที่ลางซอน

๒๙  พฤศจิกายน    ฝรั่งเศสแถลงว่า  มีหลักฐานเชื่อได้ว่า  โฮจิมินห์ติดต่อกับทางมอสโคว์ และรับความช่วยเหลือจากสหภาพโซเวียต

๓๐  พฤศจิกายน    ฝรั่งเศสยื่นคำขาดให้เวียดมินห์ถอนตัวจากเมืองไฮฟอง    สถานเอกอัครราชฑูตที่ฮานอยรายงานว่ารัฐบาลเวียดนามย้ายออกไปเป็นส่วนๆ


 
          ครับ  .  .  .  ฝรั่งเศสเข้ามาขับไล่รัฐบาลของโฮจิมินห์    จึงเกิดการต่อต้านฝรั่งเศสขึ้น    พวกเวียดมินห์ก็หลบหนีออกจากเมือง  และเตรียมทำสงครามกองโจรต่อไป    มิใช่เฉพาะแต่เวียดมินห์เท่านั้นที่ต้องการขับไล่ฝรั่งเศส    ยังมีกลุ่มติดอาวุธอื่นๆ  เกิดขึ้นอีกหลายกลุ่มเพื่อชิงอำนาจในประเทศ  พากันยึดเมืองต่างๆ  และทำการต่อสู้กันต่อไป 

 

ครับ  .  .  .  ต่างก็รักชาติด้วยกันทั้งนั้น    คงแบบของเรายุค  พ.ศ.๒๓๑๐  นะครับ 

 

.  .  .  สงครามโลกครั้งที่สองเสร็จสิ้นลงแล้ว  แต่สงครามของชาวเวียดนามเพิ่งจะเริ่ม  .  .  .  เริ่มทำสงครามกับมหาอำนาจจักรวรรดินิยมเจ้าอาณานิคมฝรั่งเศสผู้รุกรานพยายามกลับเข้าควบคุมอาณานิคมเวียดนาม  โดยมีกองกำลังภาคตะวันออกไกลของฝรั่งเศส  (The French Far East Expeditionary Corps - Corps Expeditionnaire Francais en Extreme-Orient, CEFEO)  เป็นเครื่องมือ

  .  .  .  ชาวเวียดนาม  .  .  .  ชาติเล็กๆ ที่ถูกรุกราน กดขี่ และข่มเหง  .  .  .  ทำสงครามเพื่อเอกราชของเวียดนามโดยขบวนการเพื่อเอกราชของเวียดนาม  (เวียดนามด็อคแล็บดองมินห์ฮอย - Viet Nam Doc Lap Dong Minh Hoi)  หรือ ที่เรียกสั้นๆว่า  เวียดมินห์  (Viet Minh)  โดยกองทัพประชาชน  ด้วยสงครามจรยุทธ 

.  .  .  เพื่ออิสรภาพ  .  .  . 

 

 

 

          ครับ    สงครามฝรั่งเศส - เวียดมินห์กำลังจะเริ่ม  .  .  .  ในสถานการณ์ต่อไป  .  .  .  เริ่มสงครามฝรั่งเศส - เวียดมินห์

 

 

สถานการณ์ต่อไป  .  .  .  เริ่มสงครามฝรั่งเศส - เวียดมินห์

สถานการณ์ต่อไป  .  .  .  เริ่มสงครามฝรั่งเศส - เวียดมินห์

สถานการณ์ต่อไป  .  .  .  เริ่มสงครามฝรั่งเศส - เวียดมินห์




บทความจากสมาชิก




แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.
| WW II Europe | WW II Asia | WW I | Vietnam War | ประวัติศาสตร์ไทย | บทความจากสมาชิก | คุยกันหลังฉาก | บทความทั้งหมด |

สนใจร่วมเขียนบทความในเว็บไซต์ เชิญอ่าน แนวทางการร่วมเขียนบทความ ภาพยนตร์ประวัติศาสตร์

Custom Search



eXTReMe Tracker