dot
dot
เว็บภาพยนตร์ประวัติศาสตร์ ยินดีต้อนรับผู้สนใจทุกท่าน
dot
dot
สมาชิก Webboard/Blog
ชื่อผู้ใช้ :
รหัสผ่าน :
เข้าสู่ระบบอัตโนมัติ :
bullet ลืมรหัสผ่าน
dot
bulletข้อตกลงการเป็นสมาชิก
bulletเว็บบอร์ด-คุยกันหลังฉาก
bulletเว็บบอร์ด-Games ย้อนยุค
bulletเว็บบอร์ด-ชุดจำลองประวัติศาสตร์
bulletเว็บบอร์ด-หนังสือประวัติศาสตร์
bulletเว็บบอร์ด-เพลงประวัติศาสตร์
bulletคำถาม/คำตอบ ล่าสุด
bulletแนวทางการร่วมเขียนบทความ
dot
สงครามโลกครั้งที่ 2
dot
bulletสมรภูมิยุโรป (สัมพันธมิตรVSเยอรมัน-อิตาลี)
bulletสมรภูมิแปซิฟิก-เอเชีย (สัมพันธมิตรVSญี่ปุ่น)
dot
ภาพยนตร์ประวัติศาสตร์อื่นๆ
dot
bulletสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง
bulletประวัติศาสตร์ไทย
bulletประวัติศาสตร์อเมริกันยุคเริ่มแรก
bulletสงครามเวียดนามและอินโดจีน
bulletตะวันตกโบราณ (กรีก โรมัน ฯลฯ)
bulletประวัติศาสตร์ร่วมสมัย
bulletเอเชียโบราณ
bulletประวัติศาสตร์อื่นๆ (ยังไม่แยกหมวดหมู่)
bulletคลิปความรู้จาก YouTube
dot
บทความโดย วิวันดา
dot
bulletฮิตเล่อร์...และเหล่าขุนพลแห่งอาณาจักรไรค์ซที่สาม
bulletลอดลายรั้ว.....วินด์เซอร์
bulletเลิศเลอวงศา...โรมานอฟ
bulletเชลย
bulletซูคอฟ...ยอดขุนพลผู้ดับฝันของฮิตเล่อร์
dot
บทความโดย สัมพันธ์
dot
bulletคนไทยในกองทัพพระราชอาณาจักรลาว
bulletประวัติศาสตร์สงคราม กรีก
bulletกรณีพิพาทอินโดจีนและสงครามมหาเอเชียบูรพา
bulletอยุธยายศล่มแล้ว ลอยสวรรค์ ลงฤา
bulletฮานนิบาล
bulletพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบรมวงศานุวงศ์
bulletไทยกับมหาสงคราม
bulletสงครามเวียดนาม
bulletห้วยโก๋น ๒๕๑๘
bulletการทัพในมลายา
bulletประวัติศาสตร์อื่น ๆ
dot
เรื่องอื่นๆ
dot
bulletบทความเสริมความรู้ทั่วไป
bulletเกร็ดเล็กเกร็ดน้อย
bulletผู้จัดทำ
bulletผังเว็บไซต์ (Site Map)
bulletแนวทางการร่วมเขียนบทความ
bulletถาม-ตอบ (FAQs) (โปรดอ่านก่อนตั้งกระทู้หรือสมัครสมาชิก)
bulletร้านค้าออนไลน์
bulletแบ่งปัน Album
dot
ลิงค์ต่างๆ
dot
bulletHistory on Film
bulletกองบิน 21 กองพลบิน 2
bulletIELTS British Council
bulletIELTS IDP
bulletMUIC




โหราศาสตร์ยุคไอที



สงครามฝรั่งเศส - เวียดมินห์ (๕) - การช่วงชิงเส้นทางอาณานิคมหมายเลข ๔

*  *  *

สงครามฝรั่งเศส - เวียดมินห์ (๕) - การช่วงชิงเส้นทางอาณานิคมหมายเลข ๔

 

สถานการณ์เดิม  .  .  .  จากเวียดมินห์ (๔) - เริ่มสงครามฝรั่งเศส - เวียดมินห์

           ๑๙  ธันวาคม  ๒๔๘๙  เวียดมินห์ทำลายโรงไฟฟ้าฮานอย  และโจมตีพลเรือนชาวฝรั่งเศส    กองกำลังฝ่ายฝรั่งเศสตอบโต้ด้วยการผลักดันฝ่ายเวียดมินห์ออกไปจากกรุงฮานอย  .  .  .  นับเป็นการเริ่มสงครามฝรั่งเศส - เวียดมินห์    

 

การรบที่เกาบัง 

          ๒๕  กรกฎาคม  ๒๔๙๑    ทหารเวียดมินห์จำนวน  ๒ กองพัน  เข้าโจมตีค่ายทหารฝรั่งเศสที่เกาบังซึ่งมีกำลัง  ๒ กองร้อย   แต่สามารถยืนหยัดอยู่ได้ถึง  ๓ วัน

          พ.ศ.๒๔๙๒

          - ฝรั่งเศสประกาศตั้ง สหรัฐเวียดนาม  (Associated States of Vietnam)    เชิญอดีต พระจักรพรรดิเบ๋าได๋  (Bao-Dai) ซึ่งประทับอยู่ที่ฮ่องกงกลับมาเป็นประมุขที่เวียดนามตอนใต้  และอ้างสิทธิเหนือเวียดนามทั้งหมด    

          - เมื่อกองทัพคอมมิวนิสต์จีนของเมาเซตุงมีชัยต่อกองทัพจีนคณะชาติของจอมพลเชียงไคเชค     กองทัพคอมมิวนิสต์จีนของเมาเซตุง พันธมิตรผู้เห็นอกเห็นใจ   ก็ได้สนับสนุนกองทัพเวียดมินห์ในด้านการจัด  ให้มีอาวุธ และการฝึกเป็นอย่างดี  และสนับสนุนทางการส่งกำลังบำรุงด้วย

          นับว่า  สถานการณ์กองทัพเวียดมินห์ดีขึ้น

 

 เส้นทางอาณานิคมหมายเลข ๔  

           เส้นทางอาณานิคมหมายเลข ๔   Route Coloniale - RC 4   คือ เส้นทางเลียบพรมแดนจีน - เวียดนาม  ด้านตะวันออกเฉียงเหนือ   ผ่านเมืองสำคัญเช่น  เกาบัง  (Cao Bang)    ดองเค  (Dong Khe)    ทัทเค  (That Khe)    ลางซัน  (Lang Son) 

          เป็นเส้นหลักการส่งกำลังบำรุงที่สำคัญของฝ่ายเวียดมินห์    ที่รับการสนับสนุนจากสาธารณรัฐประชาชนจีน    นายพล  เกี๊ยบ  ต้องการสู้เพื่อรักษาและครองเส้นทางนี้ต่อไป  ไม่ว่าจะสูญเสียสักเท่าใด    เพราะ หากฝรั่งเศสควบคุมเส้นทางสายนี้ได้แล้ว    การรับการสนันสนุนจากต่างประเทศจะเป็นไปอย่างยากลำบาก   

          ฝ่ายฝรั่งเศส    สร้างหรือพัฒนาเส้นทางสายนึ้ขึ้นมา  ก็เพื่อให้สามารถควบคุมพรมแดน จีน - เวียดนามได้อย่างมีประสิทธิภาพ  .  .  .  ฝรั่งเศสก็ต้องการควบคุมเส้นทางนี้ให้ได้เช่นกัน 

 

  สถานการณ์ต่อไป  .  .  .

 พ.ศ.๒๔๙๓  (ค.ศ.๑๙๕๐)  -  การช่วงชิงเส้นทางอาณานิคมหมายเลข ๔

          ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ ถึง เมษายน  ๒๔๙๓    นายพล  โวเหงียนเกี๊ยบ  เริ่มปฏิบัติการรุกต่อฝ่ายฝรั่งเศสในแนวเส้นทางอาณานิคมหมายเลข ๔    ตามแผนยุทธการลีฮองฟอง ๑  (Le Hong Phong I)  ในเขตลุ่มแม่น้ำแดง  ด้วยการวางกับระเบิด   และการซุ่มโจมตี    ทำให้เวียดมินห์ควบคุมพื้นที่ทางตอนเหนือของแคว้นตังเกี๋ยใกล้พรมแดนจีน  ให้เป็นที่มั่นที่มั่นคงได้   นอกจากบริเวณเส้นทางอาณานิคมหมายเลข ๔    ซึ่งทหารฝรั่งเศสยังคงตั้งค่ายรักษาเส้นทางอยู

           ฝ่ายฝรั่งเศสต้องปรับแผนจากการวางกำลังเป็นจุดย่อยๆ  ตามแนวทางเป็น การรวมกำลังเข้าไว้เป็นหน่วยใหญ่ในดองเค  และเกาบัง

 

 

 

   เส้นทางอาณานิคมหมายเลข ๔   Route Coloniale - RC 4  

คือ เส้นทางเลียบพรมแดนจีน - เวียดนาม  ด้านตะวันออกเฉียงเหนือ

ผ่านเมืองสำคัญเช่น  เกาบัง  (Cao Bang)    ดองเค  (Dong Khe)    ทัทเค  (That Khe)    ลางซัน  (Lang Son) 

  

กองทัพเวียดมินห์  ๒๔๙๓

         กองทัพเวียดมินห์พัฒนาขึ้น ทั้งด้านกำลังพล  การจัด  และการฝึก    ได้รับการฝึกที่ดีขึ้น  ในมณฑลกวางสี  สาธารณรัฐประชาชนจีน  ตั้งแต่ พ.ศ.๒๔๙๓

 

 กองพลเวียดมินห์  ประกอบด้วย

          ๑. กองบัญชาการ  และกองร้อยกองบัญชาการกองพล  ซึ่งจะมี

               ๑.๑ กองร้อยสื่อสาร  ๑ กองร้อย 

               ๑.๒ กองร้อยทหารราบ  ๑ กองร้อย  (สำหรับรักษาความปลอดภัยกองบัญชาการ  และเป็นลูกมือด้วย)

               ๑.๓ กองร้อยลาดตระเวน  ๑ กองร้อย

         

 

          ๒. กรมทหารราบ  ๓ กรม    แต่ละกรม  ประกอบด้วย

               ๒.๑  กองพันทหารราบ  ๓ กองพัน    แต่ละกองพัน  ประกอบด้วย

                        ๒.๑.๑  กองร้อยอาวุธเบา  ๓ กองร้อย

                        ๒.๑.๒  กองร้อยอาวุธหนัก  ๑ กองร้อย    (เครื่องยิงลูกระเบิดขนาด  ๘๑ หรือ ๘๒ มิลลิเมตร)

               ๒.๒ กองร้อยอาวุธหนัก  ๑ กองร้อย    (เครื่องยิงลูกระเบิดขนาด  ๘๑ หรือ ๘๒ มิลลิเมตร  เหมือนกองร้อยอาวุธหนักของกองพัน)

               ๒.๓ กองร้อยลาดตระเวน

          ๓. กองร้อยทหารช่าง

          ๔. กองร้อยทหารขนส่ง

          ๕. กองพันทหารปืนใหญ่    (จัดเฉพาะกองพลที่ ๓๐๔  และกองพลที่ ๓๒๐  และมีเฉพาะเครื่องยิงลูกระเบิดขนาด  ๑๒๐ มิลลิเมตร  กับปืนไร้แรงสะท้อนถอยหลังขนาด  ๗๕ มิลลิเมตร)

          ๖. กองพันทหารปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยาน    มีปืนต่อสู้อากาศยานขนาด  ๑๒.๗ หรือ  ๑๒.๘ มิลลิเมตร    ๑๘ กระบอก

 

           เมื่อแรกจัดตั้ง    บางหน่วยยังจัดไม่ครบตามอัตรา  ซึ่งเป็นไปตามสถานการณ์  และยุทโธปกรณ์ที่ได้รับการการสนับสนุน     เช่น  การจัดกองพันทหารปืนใหญ่    ในชั้นต้นจัดให้กองพลที่ ๓๐๔  และ  กองพลที่ ๓๒๐   ก่อน  และอาวุธประจำหน่วยของกองพันทหารปืนใหญ่ในระยะแรกตั้งนี้  ยังไม่ได้จัดปืนใหญ่สนามให้    ใช้เพียงปืนไร้แรงสะท้อนถอยหลัง (ปรส.)    และเครื่องยิงลูกระเบิด  (ค.)  เป็นอาวุธหลักของหน่วย

          จะกล่าวถึงการจัดตั้งกองพลของเวียดมินห์ไปตามลำดับเวลา  เพื่อให้เห็นว่า เวียดมินห์ได้พัฒนากองทัพให้สอดคล้องกับสถานการณ์อย่างไร    เริ่มตั้งแต่  มกราคม  ๒๔๙๓    ด้วยกองพลที่ ๓๐๔    เชิญครับ          

 

๔  มกราคม  ๒๔๙๓    จัดตั้ง  กองพลที่ ๓๐๔     

          กองพลที่ ๓๐๔    "Nam Dinh"    ที่จังหวัดทันห์ห้ว  (Thanh Hoa)

          พื้นที่ฐานทัพ    เทียนกวง  "Tuyen Quang"   ในสามเหลี่ยมปากแม่น้ำแดง

          หน่วยในอัตรา   

               - กรมที่ ๙ 

               - กรมที่ ๕๗  และ

               - กรมที่ ๖๖  "Ky Con"  

               - กองพันทหารปืนใหญ่ที่ ๘๔๐    มีอาวุธประจำหน่วย  คือ    ปืนไร้แรงสะท้อนถอยหลัง (ปรส.)  ขนาด  ๗๕  มิลลิเมตร    และเครื่องยิงลูกระเบิดขนาด  ๑๒๐  มิลลิเมตร

               - กองพันทหารปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยานที่ ๕๓๓     มีอาวุธประจำหน่วยคือ  ปืนต่อสู้อากาศยานขนาด  ๑๒.๗  ของสหภาพโซเวียด  จำนวน  ๑๘ กระบอก     

               - กองพันทหารช่าง

               - กองร้อยทหารสื่อสาร

 

ดองเค  พฤษภาคม  ๒๔๙๓ 

          ๒๕  พฤษภาคม  ๒๔๙๓    กองทหารเวียดมินห์  ๒,๕๐๐ คน    เอาชนะทหารฝรั่งเศสที่ค่ายดองเค  (Dong Khe)  ซึ่งตั้งอยู่กึ่งกลางทางหลวงอาณานิคมหมายเลข ๔  ระหว่างเกาบัง และลางซัน  (Cao Bang - Lang Son)    เป็นการตัดเส้นทางการส่งกำลังบำรุงของฝรั่งเศส

          แต่ในเย็นวันที่  ๒๗  พฤษภาคม   ฝรั่งเศสส่งพลร่มเข้ายึดค่ายที่ดองเคคืนได้

 

 เดือนกรกฎาคม - สิงหาคม  ๒๔๙๓    จัดตั้งกองพลที่ ๓๐๘

          กองพลที่ ๓๐๘    "Viet Bac", "Capital"

          เมื่อเดือนสิงหาคม  ๒๔๙๒    ได้จัดเป็น  "กลุ่มกรมที่ ๓๐๘"  ขึ้นในสาธารณรัฐประชาชนจีน    ประกอบด้วย  กรมที่ ๙๒    กรมที่ ๑๐๒  "Ba Vi"    กรมที่ ๓๐๘    และกองพันทหารปืนใหญ่    

          พื้นที่ฐานทัพ    ไทเหงียน  (Thai Nguyen)    เวียดบัค  (Viet Bac)

          พื้นที่เรียกพล    เมืองวินห์  ( Vinh)    ฟุกเยน  (Phuc Yen)    และฮานอย  (Hanoi)

          หน่วยในอัตรา    ในกลางปี  ๒๔๙๓   

                                  - กรมที่ ๓๖   

                                  - กรมที่ ๘๘  "Tam Dao"   

                                  - กรมที่ ๑๐๒  "Ba Vi"    และ

                                  - กองพันทหารปืนใหญ่

          กองพลที่ ๓๐๘  นี้     จัดเป็นหน่วยชั้นหนึ่ง  เป็นหน่วยที่ดีที่สุดมาตลอดเวลา

 

        ในต้นเดือน  กันยายน  ๒๔๙๓   กองทัพเวียดมินห์มีกำลังประจำการถึง  ๑๐๐,๐๐๐    จัดเป็น  ๗๐ กองพัน    กำลังประจำถิ่นอีก  ๓๓ กองพัน  จำนวน  ๔๐,๐๐๐   และเจ้าหน้าที่สนับสนุน  อีก  ๖๐,๐๐๐

 

การยุทธเพื่อช่วงชิงเส้นทางอาณานิคมหมายเลข ๔  (ต่อ) 

 

          นายพล  เกี๊ยบ  ได้ส่งกำลังเข้าโจมตีทหารฝรั่งเศสที่ค่ายดองเค  (Dong Khe)  มาครั้งหนึ่งแล้ว  เมื่อ  ๒๕  พฤษภาคม  ๒๔๙๓    

          แต่ในเย็นวันที่  ๒๗  พฤษภาคม   ฝรั่งเศสส่งพลร่มเข้ายึดค่ายที่ดองเคคืนได้  

 

          นายพล  เกี๊ยบ  ยังคงดำรงความมุ่งหมายที่ต้องการรักษาเส้นทางนี้ต่อไป    และเห็นว่ามีความจำเป็นที่ต้องยึดที่มั่นฝรั่งเศสที่ดองเค ซึ่งอยู่ประมาณกึ่งกลางเส้นทางนี้ให้ได้ก่อน    เพื่อแยกกำลังฝ่ายฝรั่งเศสที่เกาบัง  และ  ลางซัน  ให้เป็น  สองส่วน      ไม่สามารถรวมกำลังกันได้

          นายพล  เกี๊ยบวางแผนยุทธการลีฮองฟอง ๒  (Le Hong Phong II)  เพื่อโจมตีที่ตั้งของฝ่ายฝรั่งเศสอีก

 

 

 

 

เมื่อกองกำลังและอาวุธจากจีนมาถึงตังเกี๋ยแล้ว   นายพล  เกี๊ยบตกลงใจเข้าโจมตีค่ายทหารฝรั่งเศสที่ดองเคใน  ๑๕  กันยายน  ๒๔๙๓

 

การรบที่ดองเค  (The Battle of Dong Khe)    ๑๕ - ๑๘  กันยายน  ๒๔๙๓

การรบที่สำคัญมากครั้งหนึ่งในการช่วงชิงเส้นทางสายนี้

 กำลังรบ

          ฝ่ายฝรั่งเศส

               กองร้อยที่ ๕  และกองร้อยที่ ๖  ของกองพันที่ ๒  กรมทหารต่างด้าวฝรั่งเศสที่ ๓   (3rd Regiment of the French Foreign Legion -3rd REI)    มีกำลังรวมประมาณ  ๓๐๐

          ฝ่ายเวียดมินห์

             ทหารราบ  ๕ กองพัน  สนับสนุนด้วยทหารปืนใหญ่  ๑ กองพัน

 ๑๖  กันยายน

          ฝ่ายเวียดมินห์เริ่มเข้าตี  การรบดำเนินไปอย่างรุนแรง  

 

การแก้ไขสถานการณ์ของฝรั่งเศส

          ๑. การปฏิบัติเฉพาะหน้า

               ๑.๑  ๑๗  กันยายน     ส่งกองพันพลร่มต่างด้าวที่ ๑  แห่งกองทหารต่างด้าวฝรั่งเศส  (the French Foreign Legion's 1st Parachute Battalion -1st BEP)  โดดร่มลงที่ทัทเค  เพื่อเพิ่มเติมกำลังให้ที่ทัทเค อย่างเร่งด่วน

               ๑.๒  จัดตั้งกองรบเบยาร์ด  (Groupement Bayard)  ที่ลางซัน    ประกอบด้วย  กองพันทหารมอร๊อคโคที่ ๑  (Moroccan 1st)  และกองพันทหาร  Goumier ที่ ๑๑  (11th Tabors)    รวม  ๓,๕๐๐ คน  เป็นทหาร  ๒,๖๐๐ นาย  และพลเรือนอาสาสมัครอีก  ๕๐๐ นาย    พันเอก  เลอ เพจ  (Le Page)  เป็นผู้บังคับการ  ปฏิบัติการแรกของหน่วยเฉพาะกิจคือ การทำลายเครือข่ายของเวียดมินห์ในลางซัน

 

๑๘  กันยายน    

          กองทหารฝรั่งเศส  สองกองร้อยที่ดองเคถูกบดขยี้  มีกำลังเหลือรอดหนีไปทัทเค เพียง  ๑๒ นาย  ถูกจับ  ๑๔๐ นาย  ส่วนที่เหลือถูกสังหาร  หรือสูญหายในการรบ

          ครับ  .  .  .  ฝ่ายเวียดมินห์ก็สามารถยึดดองเคได้

 

การแก้ไขสถานการณ์ของฝรั่งเศส  (ต่อ)

          ๒. แผนการแก้ไขสถานการณ์ของฝรั่งเศสขั้นต่อไป

               ๒.๑ ให้กองรบบายาร์ดจากทัตเคทำการรบรุกขึ้นไปทางเหนือ  ยึดเอาดองเคคืน  (ซึ่งเสียไปตั้งแต่  ๑๘  กันยายน)    และรักษาไว้  จนกว่าที่กองกำลังจากเกาบัง ของพันเอก  ชาร์ตัน   จะมาถึง

               ๒.๒ ให้พันเอก  ชาร์ตัน  (Colonel Charton)  ผู้บังคับการค่ายเกาบังทำลายอาวุธหนัก  แล้วเคลื่อนย้ายไปดองเค 

 

 

 

 

การยุทธเพื่อช่วงชิงเส้นทางอาณานิคมหมายเลข ๔ 

  การปฏิบัติ

            ๓๐  กันยายน    กองรบบายาร์ดออกจากทัทเค  โดยกองพันพลร่มที่ ๑  (1 BEP)  (ซึ่งโดดร่มลงตั้งแต่  ๑๗  กันยายน)  เป็นหน่วยนำ

          ๑  ตุลาคม    พันเอก  ชาร์ตัน  นำกำลังออกจากเกาบัง    ให้กองพันที่ ๓  (3rd REI)  เป็นหน่วยนำ    ไม่ทำลายอาวุธหนักตามคำสั่ง  แต่กลับนำไปด้วย  การเคลื่อนย้ายตามเส้นทางอาณานิคมหมายเลข ๔  เป็นไปอย่างเชื่องช้า  และถูกฝ่ายเวียดมินห์ซุ่มโจมตี    หลังจากต่อสู้เพียงเล็กน้อยก็ต้องละทิ้งอาวุธหนัก  (ที่นำมาด้วย)

          ๕  ตุลาคม    กำลังจากเกาบังก็สามารถเข้าบรรจบกับกองรบบายาร์ดที่เนินเขารอบๆ ดองเคได้

          ๗  ตุลาคม    ทั้งสองหน่วยก็ถูกกองกำลังของเวียดมินห์ และของจีนผลักดันเข้าไปที่ช่องเขาก็อกซา  (Coc Xa gorge)  และถูกทำลายในที่สุด 

          มีผู้บันทึกไว้ว่า    ทหารพลร่ม  ๑๓๐  จาก  ๕๐๐    ต้องนำผู้บาดเจ็บผูกไว้ข้างหลัง  แล้วถอนตัวออกจากการรบนี้  ด้วยการใช้เชือกโรยตัวลงมาตามหน้าผาสูง  ๗๕ ฟุต 

  

ฝรั่งเศสแก้ไขสถานการณ์ต่อไป

          ฝ่ายฝรั่งเศสพยายามแก้สถานการณ์ต่อไป    ด้วยการนำกำลังจาก  กองร้อยกำลังทดแทนของกองพันพลร่มที่ ๑  จำนวน  ๑๒๐ นาย  (1er BEP Replacement Company)  สนธิกำลังกับ  กองพันพลร่มอาณานิคมที่ ๓  (3e BCCP  Bataillon Colonial de Commandos Parachutistes, Parachute Colonial Commando Battalion)  จำนวน  ๒๖๘ นาย   โดดร่มลงที่ทัทเคอีกใน  ๘  ตุลาคม    แต่ก็  .  .  .   ถูกทำลายในสัปดาห์ต่อมา

 

          1st BEP  เป็นทหารพลร่มฝรั่งเศสหน่วยแรกที่สูญเสียในการรบ  มีกำลังพลเหลือเพียง  ๒๓ นาย  ที่สามารถหนีกลับไปยังแนวของฝรั่งเศสได้

          ต่อมาเป็นหน่วย  3rd BCCP  ซึ่งเหลือกำลังพลที่ปลอดภัยเพียง  ๑๔ นาย
 

 

 

 

 ฝรั่งเศสตื่นตระหนก

          ๑๗  ตุลาคม    ทหารและพลเรือนฝรั่งเศสจำนวน  ๗,๐๐๐    เหลืออยู่เพียงเพียง  ๗๐๐  (สูญเสียมากกว่า  ๖,๐๐๐)   และในวันรุ่งขึ้น   ๑๘  ตุลาคม  .  .  .  

.  .  .  ฝรั่งเศสก็เคลื่อนย้ายกำลังลงใต้สู่ลางซัน ฐานที่มั่นทางใต้ลงไปของฝรั่งเศส    เมื่อข่าวนี้ไปถึงกรุงฮานอย    ชาวฝรั่งเศสตื่นตระหนกกันทั่วไป  และกล่าวขวัญถึง  .  .  .  การอพยพ  .  .  .

 

          ครับ  .  .  .  การช่วงชิงเส้นทางอาณานิคมหมายเลข ๔  จบลงด้วยความปราชัยของฝ่ายฝรั่งเศส    ฝ่ายเวียดมินห์สามารถกวาดล้างฝรั่งเศสออกจากเส้นทางอาณานิคมหมายเลข ๔  ได้เกือบหมดสิ้น    คงเหลือแต่ที่ลางซัน

 

กองทัพเวียดมินห์ก็พัฒนาต่อไป  .  .  .

๒๗  ตุลาคม  ๒๔๙๓    จัดตั้งกองพลที่ ๓๑๒ 

          กองพลที่ ๓๑๒    "Ben Tre", "Chien Tang"  (ชัยชนะ)

          พื้นที่ฐานทัพ    ไทเหงียน  (Thai Nguyen)    เวียดบัค  (Viet Bac)   (เหมือนกองพลที่ ๓๐๘)

          หน่วยในอัตรา    - กรมที่ ๑๔๑  "Hongai"    

                                  - กรมที่ ๑๖๕  "Dong Trieu"   

                                  - กรมที่ ๒๐๙    และ

                                  - กองพันทหารปืนใหญ่ที่ ๑๕๔

 

          ใน พ.ศ.๒๔๙๓  นี้  ฝ่ายเวียดมินห์ได้เสริมสร้างกำลังกองทัพด้วยการจัดตั้งหน่วยระดับกองพลทหารราบได้  ๓ กองพล      ได้แก่  กองพลที่ ๓๐๔    กองพลที่ ๓๐๘    และกองพลที่ ๓๑๒

 

          สถานการณ์ฝ่ายฝรั่งเศสเป็นที่น่าห่วงใยจนรัฐบาลฝรั่งเศสที่ปารีสต้องเรียกตัวผู้ว่าการอินโดจีน  (Leon Pignon)    และผู้บัญชาการทหารประจำอินโดจีน  นายพล  จอร์จ  คาร์เพนเทียร์  (commander - in - chief of the French Expeditionary Corps, General Georges Carpentier)  กลับฝรั่งศส    และส่งนายพล  ฌอง มารี เดอ แลทเทอร์ เดอ ทัสซิงญี  (General Jean Marie de Lattre de Tassigny)  นายทหารผู้มีชื่อเสียง  อดีตผู้บัญชาการกองทัพที่ ๑  (French First Army)  วีรบรุษจากสงครามโลกครั้งที่สอง  มาเป็นผู้รับผิดชอบเบ็ดเสร็จทั้งทางการเมืองและการทหารในอินโดจีน   

          ขวัญและกำลังใจฝ่ายฝรั่งเศสดูจะกระเตื้องขึ้น

 

 

 

 (จากซ้าย)    นายพล มองต์ โกเมอรี  แห่งสหราชอาณาจักร  (สวมหมวกบาร์เลย์)    นายพล ไอเซนเฮาว์  แห่งสหรัฐอเมริกา    นายพล ซูคอฟ  แห่งสหภาพโซเวียต    นายพล เดอ แลทเทอร์ เดอ ทัสซิงญี  แห่งฝรั่งเศส

 

 

 นายพล  เดอ  แลทเทอร์ เดินทางถึงฮานอย ในวันที่  ๑๗ ธันวาคม  ๒๔๙๓  (ค.ศ.๑๙๕๒)

  ครับ  .  .  .  ๒๔๙๓  (ค.ศ.๑๙๕๐)  ก็ผ่านไป 

 

               อย่างไรก็ตาม  ตลอดปี พ.ศ.๒๔๙๓    การส่งกำลังบำรุงไปเกาบังไม่สามารถดำเนินการอย่างต่อเนื่องได้    ต้องใช้การส่งกำลังทางอากาศ  

 

            สถานการณ์ฝ่ายเวียดมินห์ดูดีขึ้น  เนื่องจากได้รับการสนับสนุนจากพันธมิตรผู้เห็นอกเห็นใจ  และผลการปฏิบัติด้านยุทธการก็เป็นฝ่ายมีชัย    

          ส่วนฝ่ายฝรั่งเศสนั้น  เป็นไปในทางตรงกันข้าม    แต่ก็ฝากความหวัง  ฝากอนาคตไว้กับ  .  .  .  นายพล  ฌอง เดอ แลทเทอร์ เดอ ทัสซิงญี  .  .  .  ครับ  ท่านมาถึงฮานอยแล้ว    เชิญติดตามท่านในสถานการณ์ต่อไปครับ

 

 

สถานการณ์ต่อไป  .  .  .  นายพล  เดอ  แลทเทอร์

สถานการณ์ต่อไป  .  .  .  นายพล  เดอ  แลทเทอร์

สถานการณ์ต่อไป  .  .  .  นายพล  เดอ  แลทเทอร์

 

 

 

 




สงครามเวียนดนาม โดย สัมพันธ์

๔๐ ปี กองทัพประชาชนเวียดนาม
๓๐ ปี การรบที่เดียนเบียนฟู
สงครามฝรั่งเศส - เวียดมินห์ (๑๓) - ๕๗ วันใน . . . เดียน เบียน ฟู (๓) - ล่มสลาย . . . ไม่ยอมแพ้
สงครามฝรั่งเศส - เวียดมินห์ (๑๒) - ๕๗ วันใน . . . เดียน เบียน ฟู (๒) - เกเบรียล ๑๔ มีนาคม ๒๔๙๗
สงครามฝรั่งเศส - เวียดมินห์ (๑๑) - ๕๗ วันใน . . . เดียน เบียน ฟู (๑) - บีทริซ ๑๓ มีนาคม ๒๔๙๗
สงครามฝรั่งเศส - เวียดมินห์ (๑๐) - ยึดเดียนเบียนฟู (๒) "it is impregnable" "It is Verdun!"
สงครามฝรั่งเศส - เวียดมินห์ (๙) - ยึดเดียนเบียนฟู (๑) - ยุทธการคาสเตอร์
สงครามฝรั่งเศส - เวียดมินห์ (๘) - นายพล อองรี นาแวร์
สงครามฝรั่งเศส - เวียดมินห์ (๗) - นายพล ราอูล ซาลัง
สงครามฝรั่งเศส - เวียดมินห์ (๖) - นายพล เดอ แลทเทอร์
สงครามฝรั่งเศส - เวียดมินห์ (๔) - เริ่มสงครามฝรั่งเศส - เวียดมินห์
สงครามฝรั่งเศส - เวียดมินห์ (๓) - สาธารณรัฐประชาธิปไตยแห่งเวียดนาม
สงครามฝรั่งเศส - เวียดมินห์ (๒) - เวียดนามยุคอาณานิคมของฝรั่งเศส
สงครามฝรั่งเศส - เวียดมินห์ (๑) - ญวน - ก่อนเป็นอาณานิคม



แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.
| WW II Europe | WW II Asia | WW I | Vietnam War | ประวัติศาสตร์ไทย | บทความจากสมาชิก | คุยกันหลังฉาก | บทความทั้งหมด |

สนใจร่วมเขียนบทความในเว็บไซต์ เชิญอ่าน แนวทางการร่วมเขียนบทความ ภาพยนตร์ประวัติศาสตร์

Custom Search



eXTReMe Tracker