dot
dot
เว็บภาพยนตร์ประวัติศาสตร์ ยินดีต้อนรับผู้สนใจทุกท่าน
dot
dot
สมาชิก Webboard/Blog
ชื่อผู้ใช้ :
รหัสผ่าน :
เข้าสู่ระบบอัตโนมัติ :
bullet ลืมรหัสผ่าน
dot
bulletข้อตกลงการเป็นสมาชิก
bulletเว็บบอร์ด-คุยกันหลังฉาก
bulletเว็บบอร์ด-Games ย้อนยุค
bulletเว็บบอร์ด-ชุดจำลองประวัติศาสตร์
bulletเว็บบอร์ด-หนังสือประวัติศาสตร์
bulletเว็บบอร์ด-เพลงประวัติศาสตร์
bulletคำถาม/คำตอบ ล่าสุด
bulletแนวทางการร่วมเขียนบทความ
dot
สงครามโลกครั้งที่ 2
dot
bulletสมรภูมิยุโรป (สัมพันธมิตรVSเยอรมัน-อิตาลี)
bulletสมรภูมิแปซิฟิก-เอเชีย (สัมพันธมิตรVSญี่ปุ่น)
dot
ภาพยนตร์ประวัติศาสตร์อื่นๆ
dot
bulletสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง
bulletประวัติศาสตร์ไทย
bulletประวัติศาสตร์อเมริกันยุคเริ่มแรก
bulletสงครามเวียดนามและอินโดจีน
bulletตะวันตกโบราณ (กรีก โรมัน ฯลฯ)
bulletประวัติศาสตร์ร่วมสมัย
bulletเอเชียโบราณ
bulletประวัติศาสตร์อื่นๆ (ยังไม่แยกหมวดหมู่)
bulletคลิปความรู้จาก YouTube
dot
บทความโดย วิวันดา
dot
bulletฮิตเล่อร์...และเหล่าขุนพลแห่งอาณาจักรไรค์ซที่สาม
bulletลอดลายรั้ว.....วินด์เซอร์
bulletเลิศเลอวงศา...โรมานอฟ
bulletเชลย
bulletซูคอฟ...ยอดขุนพลผู้ดับฝันของฮิตเล่อร์
dot
บทความโดย สัมพันธ์
dot
bulletคนไทยในกองทัพพระราชอาณาจักรลาว
bulletประวัติศาสตร์สงคราม กรีก
bulletกรณีพิพาทอินโดจีนและสงครามมหาเอเชียบูรพา
bulletอยุธยายศล่มแล้ว ลอยสวรรค์ ลงฤา
bulletฮานนิบาล
bulletพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบรมวงศานุวงศ์
bulletไทยกับมหาสงคราม
bulletสงครามเวียดนาม
bulletห้วยโก๋น ๒๕๑๘
bulletการทัพในมลายา
bulletประวัติศาสตร์อื่น ๆ
dot
เรื่องอื่นๆ
dot
bulletบทความเสริมความรู้ทั่วไป
bulletเกร็ดเล็กเกร็ดน้อย
bulletผู้จัดทำ
bulletผังเว็บไซต์ (Site Map)
bulletแนวทางการร่วมเขียนบทความ
bulletถาม-ตอบ (FAQs) (โปรดอ่านก่อนตั้งกระทู้หรือสมัครสมาชิก)
bulletร้านค้าออนไลน์
bulletแบ่งปัน Album
dot
ลิงค์ต่างๆ
dot
bulletHistory on Film
bulletกองบิน 21 กองพลบิน 2
bulletIELTS British Council
bulletIELTS IDP
bulletMUIC




โหราศาสตร์ยุคไอที



สงครามฝรั่งเศส - เวียดมินห์ (๖) - นายพล เดอ แลทเทอร์

*  *  *

สงครามฝรั่งเศส - เวียดมินห์ (๖)  - นายพล  เดอ  แลทเทอร์ 

 
สถานการณ์เดิม  .  .  .  จาก  .  .  .  การช่วงชิงเส้นทางอาณานิคมหมายเลข ๔ 
 
          ๑๗  ตุลาคม ๒๔๙๓    ทหารและพลเรือนฝรั่งเศสจำนวน  ๗,๐๐๐    เหลืออยู่เพียงเพียง  ๗๐๐  (สูญเสียมากกว่า  ๖,๐๐๐)   และในวันรุ่งขึ้น   ๑๘  ตุลาคม  ฝรั่งเศสก็เคลื่อนย้ายกำลังจากเกาบังลงใต้สู่ลางซัน ฐานที่มั่นทางใต้ลงไปของฝรั่งเศส  ตามเส้นทางอาณานิคมหมายเลข ๔      ความตื่นตระหนกแผ่กระจายไปในชาวฝรั่งเศสในกรุงฮานอย  และกล่าวขวัญถึงการอพยพ
 
 
 
          สถานการณ์ฝ่ายฝรั่งเศสเป็นที่น่าวิตก  จนรัฐบาลฝรั่งเศสที่ปารีสต้องเรียกตัวผู้ว่าการ อินโดจีน    (Leon Pignon) และผู้บัญชาการทหารประจำอินโดจีน  นายพล  จอร์จ  คาร์เพนเทียร์  (General Georges Carpentier)  กลับฝรั่งศส    และส่งนายพล  ฌอง เดอ แลทเทอร์ เดอ ทัสซิงญี  (General Jean de Lattre de Tassigny) นายทหารที่มีชื่อเสียง  อดีตแม่ทัพ กองทัพที่ ๑    วีรบุรุษในสงครามโลกครั้งที่สอง  มาเป็นผู้รับผิดชอบเบ็ดเสร็จทั้งทางการเมืองและการทหารในอินโดจีน    ขวัญและกำลังใจฝ่ายฝรั่งเศสดูจะกระเตื้องขึ้น
 
 
         นายพล  เดอ  แลทเทอร์ เดินทางถึงไซง่อน   วันที่  ๑๓  ธันวาคม    ออกจากไซง่อน    ๑๕  ธันวาคม    ถึงฮานอย ในวันที่  ๑๗  ธันวาคม  ๒๔๙๓    
 
 
 
สถานการณ์ต่อไป  .  .  .
 
          นายพล เดอ แลทเทอร์ ตระหนักถึงอันตรายที่จะเกิดในพื้นที่ยุทธศาสตร์ตามเป้าหมายของนายพล เกี๊ยบ    คือดินแดนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำแดง  โดยมีกรุงฮานอยเป็นเป้าหมาย
 
 
 
แนวความคิดของนายพล เดอ แลทเทอร์
 
          ๑.  สถาปนาแนวป้องกันพื้นที่สำคัญคือดินแดนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำแดง  และกรุงฮานอย   เป็นแนวซึ่งไม่ยอมให้ฝ่ายเวียดมินห์ผ่านเข้ามาได้
 
          ๒.  เสริมกำลังป้องกันตามแนวดังกล่าว  และใช้กองกำลังฝรั่งเศสทำลายกองกำลังทำลายฝ่ายเวียดมินห์ตามแนวนี้   
 
           แนวนี้  เริ่มที่เมืองฟูโถ  (Phu Tho)  เป็นด่านหน้า    แนวทางเหนือ  ไปทางตะวันออกผ่านเมืองวินห์เยน  (Vinh Yen)    เมืองบัคนินห์  (Bac Ninh)    เมืองเมาเค  (Mao Khe)    ไปถึงเมืองเทียนเยน  (Tien Yen)    เมืองมอนกาย  (Mon Cai)    จรดอ่าวตังเกี๋ย    ส่วนทางใต้  วกลงข้ามแม่น้ำแดง  ไปทางตะวันออกเฉียงใต้  ผ่านแม่น้ำดำ  (Black River)    ผ่านใต้เมืองซอนเท  (Son Tay)    ไปตามแนวแม่น้ำเด  (Da River)    ผ่านเมืองนินห์บินห์  (Ninh Binh)    เมืองพัทเดียม  (Phat Diem)    จรดอ่าวตังเกี๋ย 
 
          ต่อมาแนวนี้เป็นที่รู้จักกันในชื่อ  "แนวเดอ แลทเทอร์ - De Lattre Line"
 
 
  
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 

 

"แนวเดอ แลทเทอร์ - De Lattre Line"
 
 
 
พ.ศ.๒๔๙๔ - ฝ่ายเวียดมินห์ต้องการขับไล่ฝรั่งเศสออกไปให้หมดจากแผ่นดินเวียดนาม 
 
 
 
การรบที่วินห์เยน    Battle of Vinh Yen    ๑๓ - ๑๗ มกราคม  ๒๔๙๔  -  ใช้ระเบิดนาปาล์มเป็นครั้งแรก
 
แนวความคิดในการปฏิบัติของฝ่ายเวียดมินห์
 
          นายพล  เกี๊ยบ ตัดสินใจเข้าตีเมืองหลวงฮานอย  โดยจะยึดเมืองวินห์เยน  (Vinh Yen) เมืองเอกของจังหวัดวินห์ฟุก  (Vinh Phuc)  ซึ่งเป็นเมืองด่านหน้าของฝรั่งเศส ที่อยู่ห่างจากฮานอยไปทางตะวันตกเฉียงเหนือ  ๓๐ ไมล์  (๔๘ กิโลเมตร)  ให้ได้เสียก่อน
 
ฝ่ายฝรั่งเศส
 
            ฝรั่งเศสมีรักษาเมืองโดยใช้  ๒ กรมเคลื่อนที่เร็ว  (Mobile Groups - GM)  ของกองพลน้อยทหารต่างด้าวที่ ๙  (9th Foreign Legion Brigade)  จำนวนกรมละ  ๓,๐๐๐
 
          GM 3  วางกำลังรักษาตัวเมือง
 
          GM 1  ยึดภูมิประเทศสำคัญทางตะวันออก
 
 
 
การเตรียมการปฏิบัติตามแผน
 
          นายพล  เกี๊ยบ  หวังที่จะตอกลิ่มระหว่างหน่วยทั้งสอง  ด้วยการให้  GM 3  ถอนกำลังจากทะเลสาบดามวัค  (the  Dam Vac lake)  ไปทางใต้  และทำลายในโอกาสต่อไป
 
          ในเดือนธันวาคม  ๒๔๙๓  (ค.ศ.๑๙๕๐)    นายพล  เกี๊ยบเคลื่อนกองพลที่ ๓๐๘  และกองพลที่ ๓๑๒  จากเวียดบัค  (Viet Bac)  ให้เข้าที่ตั้งตามแนวสันเขาทัมเดา  (Tam Dao ridge) 
 
 
 
 
                    
 
 
 
 การรบ    
 
          ๑๓  มกราคม  ๒๙๙๔ 
 
          กองพลที่ ๓๐๘  เข้าตีต่อที่มั่นขนาดเล็กที่เบาชุค  (Bao Chuc)  ซึ่งอยู่ทางเหนือของวินห์เยน  ๒ กิโลเมตร  มีกำลังประมาณ  ๕๐ นาย  เพื่อดึงความสนใจ
 
          GM 3  เคลื่อนย้ายไปทางเหนืออย่างรวดเร็วเพื่อแก้สถานการณ์ที่เบาชุค  แต่ถูกกองพลที่ ๓๑๒   ซุมโจมตีที่เดาทู  (Dao Tu)    ฝ่ายฝรั่งเศสต้องใช้การโจมตีทางอากาศอย่างหนักและการยิงฉากของปืนใหญ่ช่วยให้  GM 3  หลุดจากการปะทะและกลับเข้าวินห์เยนได้  แต่ก็สูญเสียมาก  แทบทั้งกองพัน    
 
          ฝ่ายเวียดมินห์ประสบความสำเร็จในการรุกเข้ายึดที่มั่นตามแนวเนินหน้าเมืองวินห์เยนไว้ได้
 
 
          ๑๔  มกราคม    นายพล เดอ แลทเธอร์มาถึงวินห์เยนเพื่อบัญชาการรบด้วยตนเอง    สั่งการให้
 
 
 
              - GM 1  เข้าตีจากด้านตะวันออกตามเส้นทางหมายเลช ๒  และผ่าเข้าไปในเมือง    พร้อมทั้งสั่งการโจมตีทางอากาศอย่างหนัก  ซึ่งปฏิบัติการได้สำเร็จและ  .  .  . 
 
            - ให้  GM 1  กับ  GM 3  รุกต่อไป   เพื่อเข้าตีฝ่ายเวียดมินห์ที่เนินเขาอีกหลายครั้ง    สามารถผลักดันฝ่ายเวียดมินห์ให้ออกไปจากเนินเขาซึ่งยึดไว้ได้
 
            - ให้  GM 2    จากกรุงฮานอยมาเป็นกองหนุน
 
          ๑๖  มกราคม   
 
            กองพลที่ ๓๐๘  เข้าตีด้วยยุทธวิธีคลื่นมนุษย์   
 
            นายพล เดอ แลทเธอร์  ตอบสนองด้วยการสั่งโจมตีทางอากาศอย่างหนัก    มีการใช้ระเบิดนาปาล์มเป็นจำนวนมาก  ซึ่งเป็นการใช้ครั้งแรกในสงครามนี้   (กองทัพฝรั่งเศสได้รับการสนับสนุนระเบิดนาปาล์มจากสหรัฐจากอเมริกา)  และการโจมตีทางอากาศครั้งนี้ก็เป็นการโจมตีทางอากาศครั้งใหญ่ที่สุดในสงครามนี้เช่นกัน   
 
          ในชั้นต้น    ฝ่ายเวียดมินห์ต้องชงัก และถอยชั่วขณะหนึ่ง  แต่ก็กลับมาสู้รบต่อไป
 
           เช้า  ๑๗  มกราคม    ฝ่ายฝรั่งศสบนเนิน ๑๐๑  กระสุนหมด  และถอนตัว    ฝ่ายเวียดมินห์เข้ายึดเนิน ๔๗  ซึ่งอยู่ตอนกลาง    ฝ่ายฝรั่งเศสยึดเนิน ๒๑๐  และ  เนิน ๑๕๗  ซึ่งอยู่ทางปีก    กองพลที่ ๓๐๘  เข้าตีอีกครั้ง  ในเวลารุ่งอรุณ 
 
 
 
          นายพล เดอ แลทเทอร์  ต้องสั่งใช้กองหนุนคือ  GM 2  ให้รักษาเนิน ๔๗   ขณะที่ส่ง  GM 3  ไปสนับสนุนหน่วยที่เนิน ๒๑๐    สนับสนุนด้วยการโจมตีทางอากาศและระเบิดนาปาล์ม   
 
          กองพลที่ ๓๐๘  ต้องสูญเสียอย่างมาก  ในที่สุด  ก็เริ่มถอนตัว    และกองพลที่ ๓๑๒  พยายามเข้าตีอย่างสิ้นหวังเพื่อหวังจะพลิกสถานการณ์  แต่ก็สายเกินไป   
 
          ในตอนเที่ยงวันนี้  (๑๗  มกราคม)    กองพลเวียดมินห์ทั้งสองกองพล  ก็ถอนตัว
 
 
 
ความสูญเสีย
 
          ฝ่ายฝรั่งเศส     เสียชีวิต  ๕๖    บาดเจ็บ  ๕๔๕
 
          ฝ่ายเวียดมินห์     เสียชีวิต  ๖๗๕, บาดเจ็บ  ๑,๗๓๐ และสูญหาย  ๘๐ 
 
          ถึงแม้ว่าจะเป็นชัยชนะที่น่าประทับใจของนายพล  เดอ แลทเทอร์ก็ตาม  แต่ก็ไม่ได้ทำให้สถานการณ์ผ่อนคลายขึ้น    นายพล  เกี๊ยบ ก็ยังคงพยายามที่จะเจาะแนวฝรั่งเศสให้ได้อีกต่อไป   อย่างไรก็ตาม  ฝ่ายฝรั่งเศสก็มีขวัญ  กำลังใจดีขึ้น  และเป็นการยืนยันว่า  ทางกรุงปารีสตัดสินใจถูกต้องที่เลือกนายพล  เดอแลทเทอร์เป็นผู้นำในการต่อสู้กับเวียดมินห์
 
         ในทางยุทธศาสตร์    การรบครั้งนี้  แสดงว่า 
 
          ความต้องการของฝ่ายเวียดมินห์ที่จะไล่ฝรั่งเศสออกไปให้หมดจากแผ่นดินเวียดนามใน  พ.ศ.๒๔๙๔  นั้น  ไม่ใช่
เรื่องง่ายๆ ดังที่คิด    การสงครามยังคงต้องดำเนินต่อไป  และแต่ละฝ่ายก็จะไม่ได้ชัยชนะกันอย่างง่ายดาย
 
 
 
การพัฒนากองทัพเวียดมินห์
 
๑๖  มกราคม  ๒๔๙๔    จัดตั้งกองพลที่ ๓๒๐
 
          กองพลที่ ๓๒๐    "Dong Bang" (Delta or Plains)
 
          พื้นที่ฐานทัพ        นามดินห์  (Nam Dinh)    สามเหลี่ยมปากแม่น้ำแดง  ตอนใต้แม่น้ำแดง 
 
          หน่วยในอัตรา     - กรมที่ ๔๘   
 
                                    - กรมที่ ๕๒   
 
                                    - กรมที่ ๖๔  หรือ  ๑๖๔   และ
 
                                    - กองพันทหารปืนใหญ่  
 
 
 
๑๑  มีนาคม  ๒๔๙๔    จัดตั้งกองพลที่ ๓๒๕
 
          กองพลที่ ๓๒๕
 
          พื้นที่ฐานทัพ      ทัวเทียน  (Thua Thien)     ตอนเหนือของเวียดนามกลาง
 
          หน่วยในอัตรา    - กรมที่ ๑๘   
 
                                  - กรมที่ ๙๕   
 
                                  - กรมที่ ๑๐๑    และ
 
                                  - กองพันทหารปืนใหญ่ที่ ๘๘๘ 
 
          กองพลที่ ๓๒๕    เป็นกองพลเดียวที่ปฏิบัติการนอกแคว้นตังเกี๋ย
 
 
 
การรบที่เมาเค  (Battle of Mao Khe)    ๒๓ - ๒๘  มีนาคม  ๒๔๙๔  (ค.ศ.๑๙๕๑)
 
          หลังจากการพ่ายแพ้และสูญเสียอย่างหนักในการรบที่วินห์เยน   (the Battle of Vinh Yen)    นายพล  เกี๊ยบตกลงใจเข้าโจมตีท่าเรือเมืองไฮฟอง  (the port of Haiphong)  ศูนย์กลางการส่งกำลังบำรุงของฝรั่งเศส    โดยวางแผนทำให้เกิดรอยแยกในแนวตั้งรับของฝรั่งเศส  (แนวเดอ แลทเทอร์)  ที่เมาเค  ซึ่งอยู่เหนือเมืองไฮฟองขึ้นไป  ๒๐ ไมล์  (๓๒ กิโลเมตร)   
 
 
กำลังรบ
 
          ฝ่ายฝรั่งเศส
 
          กำลังตั้งรับที่เมาเค    ประกอบด้วย
 
           - ที่มั่นขนาดเล็ก  (outposts)  ตั้งอยู่รอบเมือง     
 
          - หมวดรถยนตร์หุ้มเกราะของทหารราบอาณานิคมมอร็อคโค  (Armored car platoon of the Moroccan Colonial Infantry)  ตั้งอยู่ในเมือง
 
          - กองร้อยทหารท้องถิ่น   ในบังคับบัญชาของร้อยโททหารเวียดนาม  นายทหารชั้นประทวนของฝรั่งเศส  ๓ นาย  ตั้งอยู่ที่เหมืองถ่านหินซึ่งอยู่ห่างเมืองไปทางเหนือประมาณ  ๑ กิโลเมตร 
 
          - ๑ กองร้อย  ของทหารกองพันทหารเซเนกัลที่ ๓๐ (30th Senegalese Composite Battalion) ตั้งมั่นคุ้มกันโบสถ์คาธอลิค ซึ่งอยู่ทางทางตะวันออกของเมือง
 
            รวมมีกำลังทหารฝรั่งเศสอยู่ประมาณ  ๔๐๐ นาย  เพิ่มเติมด้วย
 
            - กองพันพลร่มอาณานิคมที่ ๖  (6e BPC)
 
            - เรือรบ  (ในลำน้ำ)    ๓ ลำ
 
            - ลำเลียงพล  (ในลำน้ำ)    ๒ ลำ
 
 
           ฝ่ายเวียดมินห์ 
 
          - กรมที่ ๑๐๒  กองพลที่ ๓๐๘
 
          - กรมที่ ๓๖  กองพลที่ ๓๐๘
 
          - กรมที่ ๑๔๑  กองพลที่ ๓๑๒
 
          - กรมที่ ๓๖๑  กองพลที่ ๓๑๒
 
                                 รวม  ๑๐,๐๐๐                                                  Riverine  Force

 การรบ

          นายพล  เดอ แลทเทอร์  ยังไม่มั่นใจในแผนและความตั้งใจของของนายพล  เกี๊ยบ  ว่าจะดำเนินการอย่างไร  จึงส่งกองพันพลร่มอาณานิคมที่ ๖  (the 6th Colonial Parachute Battalion, 6e BPC)  และกองร้อยทหารปืนใหญ่ เข้าไปแก้สถานการณ์ให้หน่วยที่ถูกปิดล้อมที่เมาเค
 
         ในรุ่งเช้าวันที่  ๒๗  มีนาคม    กรมที่ ๒๐๙  กองพลที่ ๓๑๒  เข้าตีกองร้อยทหารท้องถิ่นที่เหมืองถ่านหิน  ซึ่งสามารถต้านทานอยู่ได้จนกระทั่งเครื่องบินทิ้งระเบิด  บี ๒๖  และ  เครื่องบินขับไล่ Hellcat  มาสนับสนุนทางอากาศ    ทำให้สถานการณ์ดีขึ้น    หลังจากนั้น   เมื่อหมดกระสุนก็ถอนตัวสู่เมาเคได้  โดยไม่สูญเสีย
  
          ฝ่ายเวียดมินห์    เสียชีวิต  ๔๖    บาดเจ็บ  ๒๐๙    สูญหาย  ๑๔
 
 
          ๒๘  มีนาคม    ฝ่ายเวียดมินห์เปิดฉากการระดมยิงเมืองด้วยปืนใหญ่และเครื่องยิงลูกระเบิด  ตั้งแต่เวลา  ๐๒๐๐   แล้วส่งคลื่นมนุษย์  (human wave)  เข้าโจมตี    ปืนใหญ่ของฝรั่งเศสซึ่งอยู่ในที่ตั้งยิงที่ดีสามารถหยุดยั้ง และผลักดันออกมาฝ่ายเวียดมินห์ได้  .  .  .  การต่อสู้ถึงขั้นตะลุมบอนกันตัวต่อตัว  .  .  .
 
          ในที่สุด  ฝ่ายเวียดมินห์ก็สามารถเข้าเมืองได้    แต่ขาดแรงหนุนเนื่องในการเข้าตี    ฝ่ายเวียดมินห์จึงต้องถอนตัวในตอนเช้า  (๒๙  มีนาคม)  
 
          การรบที่เมาเคนี้    ข้อมูลหลายแห่งตรงกันว่า  ฝ่ายฝรั่งเศสเสียหายน้อยมาก  ส่วนฝ่ายเวียดมินห์  เสียหายมาก  แม้ไม่เท่าการสูญเสียที่วินห์เยน
 
 
การสูญเสีย
 
          ฝ่ายฝรั่งเศส    สูญเสียเพียงเล็กน้อย  เสียชีวิต  ๔๐    บาดเจ็บ  ๑๕๐  
 
          ฝ่ายเวียดมินห์    สูญเสียประมาณ  ๓,๐๐๐  (ตามประมาณการของฝ่ายฝรั่งเศส) แต่ทางฝ่ายเวียดมินห์เองแถลงว่าเสียชีวิต  ๑๕๐  และบาดเจ็บ  ๔๒๖    
   
          นับเป็นชัยชนะอีกครั้งหนึ่งของ  นายพล  เดอแลทเธอร์ 
 
 
          แต่ฝ่ายเวียดมินห์ก็ยังคงดำรงความมุ่งหมายในการทำสงคราม    และรวบรวมกำลังโจมตีฝรั่งเศสอีกต่อไป  .  .  .  ในเดือนพฤษภาคม
 
 
๑  พฤษภาคม  ๒๔๙๔    จัดตั้งกองพลที่ ๓๑๖
 
          กองพลที่ ๓๑๖      "Bien Hoa", "Highlands"
 
          พื้นที่ฐานทัพ          Thai Nguyen area,Viet Bac           
 
              หน่วยในอัตรา          - กรมที่ ๙๘    (กองพันที่ ๒๑๕,   กองพันที่ ๔๓๙  และ กองพันที่ ๙๙๓) 
 
                                             - กรมที่ ๑๗๔    (กองพันที่ ๒๔๙,  กองพันที่ ๒๕๑  และกองพันที่ ? )
 
                                             - กรมที่ ๑๗๖   (กองพันที่  ๘๘๘,  กองพันที่ ๙๗๐  และกองพันที่ ๙๙๙)
   
                                             - กองพันทหารปืนใหญ่ที่ ๙๘๐    กองร้อยอาวุธหนักที่ ๘๑๒
 
        
หมายเหตุ          การจัดตั้งหน่วยนี้ในระยะเริ่มแรก  กำลังพลเป็นชาวไทในที่สูงเสียเกือบครึ่ง   
 
 
 
การเข้าตีของเวียดมินห์ในเดือนพฤษภาคม  ๒๔๙๔
 
 
           ๒๙  พฤษภาคม เวียดมินห์โจมตีครั้งใหม่  คราวนี้นายพล เกี๊ยบใช้กำลัง  ๓ กองพล  คือ
 
 
 
          - กองพลที่ ๓๐๔  เข้าโจมตีที่ฟุไล  (Phu Ly), 
 
          - กองพลที่ ๓๐๘  เข้าตีที่นินห์บินห์  (Ninh Binh) 
 
          - กองพลที่ ๓๒๐  ซึ่งเป็นกองกำลังหลัก  เข้าตีที่ฟัตเดียม  (Phat Diem) ซึ่งอยู่ทางใต้ของฮานอย    
 
 
Mao Khe,
 
 
Phu Ly - Ninh Binh - Phat Diem   >
 
 
 
          การโจมตีของเวียดมินห์ทั้งสามแห่งล้มเหลว    นายพล  เดอ แลทเทอร์  สามารถรักษาแนวเดอ แลทเทอร์ไว้ได้  และถือโอกาสตีโต้ตอบ  รุกไล่ฝ่ายเวียดมินห์จนต้องกลับเข้าป่า   
 
          นอกจากนี้  ยังทำลายกองกำลังเวียดมินห์บางส่วนที่ติดอยู่ในบริเวณสามเหลี่ยมปากแม่น้ำแดงในวันที่  ๑๘  มิถุนายน 
  
 
          ถึงแม้ว่าฝ่ายฝรั่งเศสจะมีชัย  แต่ก็ไม่เป็นชัยชนะที่เด็ดขาด   
 
          ฝ่ายเวียดมินห์ยังคงดำรงความมุ่งหมายในการทำสงครามต่อไป  แม้ว่าจะสูญเสียอย่างหนัก 
 
 
          ฝ่ายฝรั่งเศสก็ไม่ได้ประโยชน์จากความสำเร็จทางทหารในสถานการณ์    ตรงกันข้าม  กลับถูกต่อต้านรุนแรงยิ่งขึ้นจากฝ่ายต่อต้านสงครามในฝรั่งเศสเอง    และเมื่อมีการสูญเสียมากขึ้น  ก็เป็นปัญหาในการสรรหากำลังพลทดแทน    เนื่องจากกองกำลังฝรั่งเศสเป็นกำลังพลอาสาสมัคร  ที่ได้รับการสนับสนุนด้านงบประมาณจากสหรัฐอเมริกา   
 
          ดังนั้น    รัฐบาลฝรั่งเศสจึงต้องขอรับเงินช่วยเหลือจากสหรัฐอเมริกาเพิ่มขึ้น    (ต้องจ่ายเงินชดเชยการเสียชีวิต  และต้องบรรจุกำลังพลทดแทน  จึงมีค่าใช้จ่ายมากขึ้น)   
 
 
 
การรบที่ฮัวบินห์  (The Battle of Hoa Binh)    ๑๐  พฤศจิกายน  ๒๔๙๔ - ๒๕  กุมภาพันธ์  ๒๔๙๕
 
          นายพล  เดอแลทเธอร์ต้องการให้ชัยชนะเป็นไปอย่างต่อเนื่อง    ในปี  ๒๔๙๔  (ค.ศ.๑๙๕๑)    จึงพยายามแสวงหาโอกาสเป็นฝ่ายรุกต่อไป    หลังจากมีชัยชนะในการรบที่ธรณีประตูกรุงฮานอย  .  .  .  การรบที่ดองเทรียว  (the battle of Dong Trieu)  ในเดือนมีนาคม  ๒๔๙๔    จึงวางแผนรุกทางยุทธศาสตร์ต่อไป  .  .  . 
 
          นายพล  เดอแลทเธอร์เลือก ฮัวบินห์  (Hoa Binh)  เมืองหลวงของพวก  Muong tribe    ริมแม่น้ำดำ    ห่างไปทางตะวันตกเฉียงใต้ของกรุงฮานอยประมาณ  ๖๒ กิโลเมตร    
 
          ฮัวบินห์เป็นพื้นที่สำคัญทางยุทธศาสตร์    เนื่องจาก 
 
          ๑. หากเวียดมินห์สามารถควบคุมฮัวบินห์ได้จะทำให้เคลื่อนไหวในหุบเขาตอนเหนือของกรุงฮานอย ได้อย่างอิสระ  และ การส่งกำลังอาวุธกระสุนเป็นไปได้ด้วยดี     
 
          ๒. เป็นการตัดเส้นทางส่งกำลังบำรุงระหว่างทันห์หัว และ เวียดบัค  (Thanh Hoa - Viet Bac) 
 
          ๓. ได้ผลในทางจิตวิทยาต่อพวก  Muong  ซึ่งสนับสนุนทั้งสองฝ่ายอีกด้วย
 
          ดังนั้น  นายพล  เดอแลทเธอร์จึงวางแผนให้เข้ายึดฮัวบินห์เพื่อเป็นการบีบบังคับให้ นายพล  เกี๊ยบต้องส่งกองกำลังออกมาเผชิญหน้ากับกองกำลังของฝรั่งเศสซึ่งมีอำนาจการยิงเหนือกว่า  และจะถูกทำลายในที่สุด

 
กำลังรบ 
 
          ฝ่ายฝรั่งเศส    ใช้กำลัง  ๑๐ กองพัน  และ  ๘ กองพันพลร่ม  จัดกำลังรบเฉพาะกิจ  ดังนี้
 
          Mobile Group 7  เป็นกองรบด้านเหนือ  มีภารกิจรุกลงทางใต้ตามแม่น้ำดำกับหน่วยรบตามลำน้ำ 
 
          Mobile Group 3  เป็นกองรบด้านใต้  มีภารกิจเข้าบรรจบกับกองพันพลร่มในฮัวบินห์
 
          Mobile Group 2  จัดขึ้นเพื่อเป็นกองรบติดต่อ   liaison group  สำหรับกองรบทางเหนือ  และกองรบทางใต้   
 
          ฝ่ายเวียดมินห์    นายพล  เกี๊ยบ    ใช้กำลัง  ๓ กองพล    และ  ๒ กรมอิสระ  พร้อมหน่วยสนับสนุน 
 
 
การรบ
 
ขั้นที่ ๑ - the last operation using   Ju52 aircraft 
 
          ๑๐  พฤศจิกายน  ๒๔๙๔    ฝรั่งเศสใช้แผนยุทธการทิวลิป  (Operation Tulipe)     ใช้กำลัง  ๕ กองพันในการยึดรักษาภายใต้การกดดันอย่างหนักของฝ่ายเวียดมินห์  และ  อีก  ๔ กองพัน  รักษาเส้นทาง  เพื่อยึดช่องโชเบน  (Cho Ben Pass)  และขยายการควบคุมให้เลยทางสาย ๒๑  ออกไป 
 
          หลังจากที่กองกำลังเฉพาะกิจเหนือของฝรั่งเศส  (the French Task Force North - MG 7)  และ  กองพันพลร่มต่างด้าวที่ ๑  (1st Foreign Parachute Battalion - 1er BEP)  บรรจบกันได้ทางตะวันตกของโชเบน  ก็รุกต่อไป     
 
          กองกำลังเคลื่อนที่เร็วหน่วยอื่นก็เคลื่อนเข้ามาจากทางใต้และทางตะวันออก  กองพันที่ ๖๔  และกองพันที่ ๑๖๔  ของเวียดมินห์ต้องสู้รบอย่างหนัก    และในวันนั้น  กองกำลังเคลื่อนที่เร็วที่ ๒  (MG 2)  ก็ยึดที่หมายได้   และกองพันพลร่มอาณานิคมที่ ๑    (1st Colonial Parachute Battalion - 1er BPC)  ก็ถึงที่หมายที่เหนือโชเบน  .  .  .  ฝ่ายเวียดมินห์ต้องละทิ้งโชเบน
 
 
ขั้นที่ ๒    รุกต่อไป
 
          นายพลเดอแลทเธอร์วางแผนรุกต่อไป
 
          ในเช้าวันที่  ๑๔  พฤศจิกายน    กองรบทางเหนือ  และกองรบทางใต้ก็ถึงที่หมายเริ่มต้น    กองพันพลร่มอาณานิคมที่ ๑,  ที่ ๒  และที่ ๗  จู่โจมเข้ายึดฮัวบินห์    ติดตามด้วยทหารราบ  ๑๕ กองพัน    ทหารปืนใหญ่  ๗ กองพัน    ยานเกราะ  ๒ หน่วย    และเรือยนตร์เข้าปฏิบัติการตามแม่น้ำดำ    และวางแนวต้านทานไว้ตลอดฝั่งแม่น้ำดำ  ด้านเหนือเมืองฮัวบินห์   
 
          ฝ่ายฝรั่งเศสยึดฮัวบินห์ได้อย่างง่ายดาย    ฝ่ายเวียดมินห์ต้านทานเพียงเล็กน้อย  แทบจะเรียกได้ว่าไม่มีการต้านทาน
 
          การที่ฝ่ายเวียดมินห์ต้านทานเพียงเล็กน้อย  แทบจะเรียกได้ว่าไม่มีการต้านทาน นั้น    อาจพิจารณาได้ว่า  ฝ่ายเวียดมินห์ได้ประมาณสถานการณ์แล้ว  เห็นว่า  ฝ่ายฝรั่งเศสมีกำลังเหนือกว่ามาก  และยังไม่พร้อมที่จะสู้รบ  จึงไม่เข้าสู้รบ           
 
          เมื่อฝ่ายฝรั่งเศสยึดฮัวบินห์ได้แล้ว  และเพื่อให้การตัดเส้นทางส่งกำลังบำรุงของฝ่ายเวียดมินห์ได้ผล  จึงจำเป็นต้องคงกองกำลังไว้ที่ฮัวบินห์  และต้องรักษาเส้นทางส่งกำลังบำรุงของฝรั่งเศสเองทั้งทางบก และทางน้ำ  ไว้ให้ได้  เหมือนกัน
 
 
 
แนวความคิดในการตั้งรับของ  นายพล  เดอแลทเธอร์  "แผนการบดเนื้อ"
 
          นายพล  เดอแลทเธอร์  ประมาณสถานการณ์ว่า    หากฝ่ายเวียดมินห์จะเข้าตีช่วงชิงเมืองฮัวบินห์  โดยใช้ยุทธวิธีคลื่นมนุษย์    ฝ่ายฝรั่งเศสซึ่งอยู่ในที่มั่นและมีอาวุธที่ดีกว่าจะสามารถบดขยี้ทหารเวียดมินห์ให้ย่อยยับได้  และเรียกแผนปฏิบัติการนี้ว่า "แผนการบดเนื้อ"
 
 
การเตรียมการตีโต้ตอบของนายพล  เกี๊ยบ
   
         นายพล  เกี๊ยบ  เริ่มรวบรวมกำลังเตรียมการสำหรับเข้าตีเพื่อยึดฮัวบินห์ และ เส้นทางอาณานิคมหมายเลข ๖    ได้แก่  กองพลที่ ๓๐๔,  กองพลที่ ๓๐๘  และ  กองพลที่ ๓๑๒  จากแม่น้ำแดง  ซึ่งได้ปรับและเพิ่มเติมด้วยกำลังที่สดชื่น  ตั้งแต่  ๒๑  พฤศจิกายน  ๒๔๙๔    และกองพลที่ ๓๑๖  กองพลที่ ๓๒๐   พร้อมทั้งปืนใหญ่สนาม  และปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยาน
 
          Mobile Group 3  เป็นหน่วยนำในการกวาดล้างตามเส้นทางอาณานิคมหมายเลข ๖  และเมื่อข้ามแม่น้ำดำแล้วก็ได้บรรจบกับกองพันพลร่มอีก  ๓ กองพัน  ใน  ๒๒  พฤศจิกายน
 
 
 
 
 
 
 
เส้นทางอาณานิคมหมายเลข ๖  (RC 6)  จาก   ฮานอย - ฮัวบินห์ - นาซาน - ซันลา - ไลเจา  
 
 
 
          ระหว่างวันที่  ๑๐ - ๑๔  ธันวาคม    ได้มีการปะทะใหญ่  ๒ ครั้ง
 
          - กรมที่ ๘๘  โจมตีฝรั่งเศสที่ทูวู  (Tu Vu)  แต่ถูกตีโต้ตอบด้วยกองทหารมอร็อคโคสนับสนุนด้วยรถถัง    
 
          - และเมื่อ กรมที่ ๑๖๕  และกรมที่ ๒๐๙  ของกองพลที่ ๓๑๒  แทรกซึมเข้าในบาตรี  (Ba Tri)  และ บาวี  (Ba Vi)  ก็เผชิญกับ  Mobile Group 4  กองพันพลร่มอาณานิคมที่ ๕  ซึ่งมีรถถังเชอร์แมนสนับสนุน    แต่กองพันพลร่มอาณานิคมที่ ๕ ก็ถูก กรมที่ ๑๖๕  ซุ่มโจมตี และต้องสูญเสียมาก
 
          ยุทธการนี้จบลงด้วยฝ่ายฝรั่งเศสสูญเสียเพียงเล็กน้อย
 
การสูญเสีย
 
          ยุทธการนี้จบลงด้วยฝ่ายฝรั่งเศสสูญเสียเพียงเล็กน้อย
 
          ฝรั่งเศส    เสียชีวิต  ๔๓๖    บาดเจ็บ    ๒,๐๖๐    สูญหาย  ๔๕๘               
 
          เวียดมินห์    เสียชีวิต  ๓,๔๕๕    บาดเจ็บ  ๗,๐๐๐    ถูกจับ  ๓๐๗
 
    
 
 
          นายพล  เดอ แลทเธอร์  ปฏิบัติการได้ผลดีดังที่วางแผนไว้ที่ว่า  จะทำลายกองกำลังฝ่ายเวียคมินห์ตามแนวเดอ แลทเธอร์  ไม่ให้ผ่านเลยแนวนี้เข้ามาได้    แต่  .  .  .  ท่านก็มีปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพ     
 

          ปลายปี พ.ศ.๒๔๙๔    นายพล  เดอ แลทเธอร์  ต้องกลับไปรักษาตัวที่กรุงปารีส  

 
          ครับ  .  .  .  นายพล  เดอ แลทเธอร์  ต้องกลับไปรักษาตัวที่กรุงปารีส    เราคอยท่านกลับมาก่อนนะครับ  ว่าจะมีกลยุทธอะไรที่จะรบให้ชนะฝ่ายเวียดมินห์ได้    คงต้องคอยถึงปีหน้า  พ.ศ.๒๔๙๕  (ค.ศ.๑๙๕๒)    เราส่งท้ายปีเก่า  ๒๔๙๔  และต้อนรับปีใหม่  ๒๔๙๕    กันก่อน  .  .  .  ครับ
 
 
 
สถานการณ์ต่อไป  .  .  .  นายพล  ราอูล ซาลัง
 
สถานการณ์ต่อไป  .  .  .  นายพล  ราอูล ซาลัง
 
สถานการณ์ต่อไป  .  .  .  นายพล  ราอูล ซาลัง



ประวัติศาสตร์สงคราม กรีก โดย สัมพันธ์

อเล็กซานเดอร์มหาราช : สู่ตะวันออก
อเล็กซานเดอร์มหาราช : เริ่มลมเหนือ
สงคราม กรีก - กรีก
สงคราม กรีก - เปอร์เซีย



แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.
| WW II Europe | WW II Asia | WW I | Vietnam War | ประวัติศาสตร์ไทย | บทความจากสมาชิก | คุยกันหลังฉาก | บทความทั้งหมด |

สนใจร่วมเขียนบทความในเว็บไซต์ เชิญอ่าน แนวทางการร่วมเขียนบทความ ภาพยนตร์ประวัติศาสตร์

Custom Search



eXTReMe Tracker