dot
dot
เว็บภาพยนตร์ประวัติศาสตร์ ยินดีต้อนรับผู้สนใจทุกท่าน
dot
dot
สมาชิก Webboard/Blog
ชื่อผู้ใช้ :
รหัสผ่าน :
เข้าสู่ระบบอัตโนมัติ :
bullet ลืมรหัสผ่าน
dot
bulletข้อตกลงการเป็นสมาชิก
bulletเว็บบอร์ด-คุยกันหลังฉาก
bulletเว็บบอร์ด-Games ย้อนยุค
bulletเว็บบอร์ด-ชุดจำลองประวัติศาสตร์
bulletเว็บบอร์ด-หนังสือประวัติศาสตร์
bulletเว็บบอร์ด-เพลงประวัติศาสตร์
bulletคำถาม/คำตอบ ล่าสุด
bulletแนวทางการร่วมเขียนบทความ
dot
สงครามโลกครั้งที่ 2
dot
bulletสมรภูมิยุโรป (สัมพันธมิตรVSเยอรมัน-อิตาลี)
bulletสมรภูมิแปซิฟิก-เอเชีย (สัมพันธมิตรVSญี่ปุ่น)
dot
ภาพยนตร์ประวัติศาสตร์อื่นๆ
dot
bulletสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง
bulletประวัติศาสตร์ไทย
bulletประวัติศาสตร์อเมริกันยุคเริ่มแรก
bulletสงครามเวียดนามและอินโดจีน
bulletตะวันตกโบราณ (กรีก โรมัน ฯลฯ)
bulletประวัติศาสตร์ร่วมสมัย
bulletเอเชียโบราณ
bulletประวัติศาสตร์อื่นๆ (ยังไม่แยกหมวดหมู่)
bulletคลิปความรู้จาก YouTube
dot
บทความโดย วิวันดา
dot
bulletฮิตเล่อร์...และเหล่าขุนพลแห่งอาณาจักรไรค์ซที่สาม
bulletลอดลายรั้ว.....วินด์เซอร์
bulletเลิศเลอวงศา...โรมานอฟ
bulletเชลย
bulletซูคอฟ...ยอดขุนพลผู้ดับฝันของฮิตเล่อร์
dot
บทความโดย สัมพันธ์
dot
bulletคนไทยในกองทัพพระราชอาณาจักรลาว
bulletประวัติศาสตร์สงคราม กรีก
bulletกรณีพิพาทอินโดจีนและสงครามมหาเอเชียบูรพา
bulletอยุธยายศล่มแล้ว ลอยสวรรค์ ลงฤา
bulletฮานนิบาล
bulletพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบรมวงศานุวงศ์
bulletไทยกับมหาสงคราม
bulletสงครามเวียดนาม
bulletห้วยโก๋น ๒๕๑๘
bulletการทัพในมลายา
bulletประวัติศาสตร์อื่น ๆ
dot
เรื่องอื่นๆ
dot
bulletบทความเสริมความรู้ทั่วไป
bulletเกร็ดเล็กเกร็ดน้อย
bulletผู้จัดทำ
bulletผังเว็บไซต์ (Site Map)
bulletแนวทางการร่วมเขียนบทความ
bulletถาม-ตอบ (FAQs) (โปรดอ่านก่อนตั้งกระทู้หรือสมัครสมาชิก)
bulletร้านค้าออนไลน์
bulletแบ่งปัน Album
dot
ลิงค์ต่างๆ
dot
bulletHistory on Film
bulletกองบิน 21 กองพลบิน 2
bulletIELTS British Council
bulletIELTS IDP
bulletMUIC




โหราศาสตร์ยุคไอที



สงครามฝรั่งเศส - เวียดมินห์ (๗) - นายพล ราอูล ซาลัง

*  *  *

สงครามฝรั่งเศส - เวียดมินห์ (๗)  -  นายพล  ราอูล ซาลัง

สถานการณ์เดิม  .  .  .  จาก  .  .  .  นายพล  เดอ  แลทเทอร์  .  .  .

          นายพล  เดอ  แลทเทอร์  ได้สถาปนา "แนวเดอแลทเทอร์"  เพื่อป้องกันกรุงฮานอย     เพื่อป้องกันกำลังเวียดมินห์ไม่ให้ผ่านเข้ามาได้  และใช้กองกำลังทหารฝรั่งเศสทำลายกองกำลังเวียดมินห์ตามแนวนี้

การรบที่วินห์เยน     (Battle of Vinh Yen)     ๑๓ - ๑๗  มกราคม  ๒๔๙๔    

          นายพล  เดอแลทเทอร์  บัญชาการรบด้วยตนเอง    เป็นการโจมตีทางอากาศครั้งใหญ่ที่สุด  และใช้ระเบิดนาปาล์มเป็นครั้งแรกในสงครามครั้งนี้    ฝ่ายเวียดมินห์สูญเสียหนักมาก   

การรบที่เมาเค  (Battle of Mao Khe)    ๒๓ - ๒๘  มีนาคม  ๒๔๙๔

          ฝ่ายฝรั่งเศสเสียหายน้อยมาก    ฝ่ายเวียดมินห์  เสียหายมาก  แม้ไม่เท่าการสูญเสียที่วินห์เยน     

การรบที่ฮัวบินห์  (The Battle of Hoa Binh)    ๑๐  พฤศจิกายน  ๒๔๙๔ - ๒๕  กุมภาพันธ์  ๒๔๙๕

          ในเช้าวันที่  ๑๔  พฤศจิกายน      ฝ่ายฝรั่งเศสจู่โจมเข้ายึดฮัวบินห์ได้อย่างง่ายดาย    และวางแนวต้านทานไว้ตลอดฝั่งแม่น้ำดำ  ด้านเหนือเมืองฮัวบินห์    ฝ่ายเวียดมินห์ต้านทานเพียงเล็กน้อย  แทบจะเรียกได้ว่าไม่มีการต้านทาน

          เมื่อฝ่ายฝรั่งเศสยึดฮัวบินห์ได้แล้ว  และเพื่อให้การตัดเส้นทางส่งกำลังบำรุงของฝ่ายเวียดมินห์ได้ผล  จึงจำเป็นต้องคงกองกำลังไว้ที่ฮัวบินห์  และต้องรักษาเส้นทางส่งกำลังบำรุงของฝรั่งเศสเองทั้งทางบก และทางน้ำ  ไว้ให้ได้เหมือนกัน

 "แผนการบดเนื้อ"  แนวความคิดในการตั้งรับของ  นายพล  เดอแลทเธอร์ 

          นายพล  เดอแลทเธอร์  ประมาณสถานการณ์ว่า    หากฝ่ายเวียดมินห์จะเข้าตีช่วงชิงเมืองฮัวบินห์  โดยใช้ยุทธวิธีคลื่นมนุษย์    ฝ่ายฝรั่งเศสซึ่งอยู่ในที่มั่นและมีอาวุธที่ดีกว่าจะสามารถบดขยี้ทหารเวียดมินห์ให้ย่อยยับได้  และเรียกแผนปฏิบัติการนี้ว่า "แผนการบดเนื้อ"

การเตรียมการตีโต้ตอบของนายพล  เกี๊ยบ

          นายพล  เกี๊ยบ  เริ่มรวบรวมกำลังเตรียมการสำหรับเข้าตีเพื่อยึดฮัวบินห์ และ เส้นทางอาณานิคมหมายเลข ๖    ได้แก่  กองพลที่ ๓๐๔,  กองพลที่ ๓๐๘  และ  กองพลที่ ๓๑๒  จากแม่น้ำแดง    ตั้งแต่  ๒๑  พฤศจิกายน  ๒๔๙๔    และกองพลที่ ๓๑๖  กองพลที่ ๓๒๐    พร้อมทั้งปืนใหญ่สนาม  และปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยาน

          ปลายปี พ.ศ.๒๔๙๔    นายพล  เดอแลทเทอร์  ต้องกลับไปรักษาตัวที่กรุงปารีส

 

สถานการณ์ต่อไป  .  .  .

        ฝ่ายข่าวกรองของฝรั่งเศสสังเกตว่า  ตั้งแต่สิ้นปี ๒๔๙๔   ฝ่ายเวียดมินห์เสริมกำลังรอบๆ  เส้นทางอาณานิคมหมายเลข ๖  มากขึ้น

 

พ.ศ.๒๔๙๕  (ค.ศ.๑๙๕๒) 

          ๑๑  มกราคม  ๒๔๙๕    นายพล  เดอแลทเทอร์  เสียชีวิตที่โรงพยาบาลทหารนุยยี  (Neuilly military hospital)  ด้วยโรคมะเร็ง 

 

นายพล  ราอูล  ซาลัง

 

          นายพล  ราอูล  ซาลัง    (Raoul  Salan)  เข้ารับหน้าที่ต่อไป  

          ถึงแม้ว่าฝ่ายฝรั่งเศสยังคงยึดฮัวบินห์และเส้นทางอาณานิคมหมายเลข ๖ ไว้ได้อยู่  พื้นที่ซึ่งฝรั่งเศสควบคุมเพียงแต่ขยายจากฮานอยถึง   ซวนมาย  (Xuan Mai)    การจัดกำลังเข้าประจำตามที่มั่นขนาดย่อม  (Out Post)  ตั้งแต่ดอนกอย  (Don Goi) ถึง ฮัวบินห์  ต้องใช้กำลังถึง  ๕ กองพัน    และอีก   ๔ กองพัน  เพื่อรักษาเส้นทางส่งกำลังบำรุง    ภายใต้การกดดันอย่างหนักของฝ่ายเวียดมินห์

           การเปิดเส้นทาง*อาณานิคมหมายเลข ๖  (RC 6)  ในเดือนมกราคม  ๒๔๙๕    ฝ่ายฝรั่งเศสต้องใช้กำลังถึง  ๑๒ กองพัน  และการสนับสนุนอย่างมาก  

          *การเปิดเส้นทาง  หมายถึง การทำให้ใช้เส้นทางได้อย่างปลอดภัย   เช่น  วางกำลังคุ้มครอง  การจัดกำลังติดอาวุธลาดตระเวน  (Road runner)  การลาดตระเวนทางอากาศ  ฯลฯ    หรือใช้วิธีการต่างๆ  ดังกล่าวประกอบกัน 

 

          นายพล  เกี๊ยบ  ปรับยุทธวิธีในการรบที่ฮัวบินห์เสียใหม่เป็นการเข้าตีที่มั่นฝ่ายฝรั่งเศสเป็นจุดๆ  และไม่ยึดพื้นที่ เพื่อลดอันตรายจากการถูกโจมตีทางอากาศ  และหากฝ่ายฝรั่งเศสระดมกำลังเข้ากวาดล้าง    ฝ่ายเวียดมินห์ก็จะสลายตัวเข้าหลบซ่อนในป่าเขา  และรวมคัวกันเข้าโจมตีต่อไปใหม่ 

 

           นายพล  ซาลังให้กองทหารฝรั่งเศสถอนตัวจากฝั่งตะวันตกของแม่น้ำดำ  ทำให้ฝ่ายเวียดมินห์ได้ครอบครองพื้นที่  และควบคุมเส้นทางคมนาคมตามแม่น้ำดำ  .  .  .  ฝรั่งเศสต้องงดใช้แม่น้ำดำ

         ระหว่าง  ๑๐ - ๒๙  มกราคม  ๒๔๙๕    กองทัพฝรั่งเศสเข้ากวาดล้างดองเบน  (Dong Ben)    ซอมโฟ  (Xom Pheo)    บายลาง  (Bai Lang)    ซวนมาย  (Xuan Mai)    เคมพาส  (Kem Pass)  และโอทรัค  (Ao Trach) 

          ๓๐  มกราคม    เวียดมินห์กลับเป็นฝ่ายรุกที่ซุกซิก  (Suc Sich)  และได้สู้รบกับกองร้อยของกองพันพลร่มอาณานิคมที่ ๘  (the 8th Colonial Parachute Battalion)

           ในที่สุด    นายพล  ซาลัง  พิจารณาเห็นว่าการรักษาฮัวบินห์และการสนับสนุนดำเนินไปอย่างยากลำบากยิ่ง  ต้องใช้กองกำลังจำนวนมาก  จึงตกลงใจถอนกำลังจากฮัวบินห์ใน  ๒๒  กุมภาพันธ์  ไปยังซวนมาย  (Xuan Mai)   โดยถอนตัวแบบกบกระโดด  (leap-frog)  ตามแนวเส้นทางอาณานิคมหมายเลข ๖


 
          สงครามในตังเกี๋ยดูเหมือนจะเป็นการคุมเชิงกัน    ฝ่ายฝรั่งเศสยึดแนวเดอแลทเธอร์  และรักษาพื้นที่สามเหลี่ยมปากแม่น้ำแดงไว้เป็นเขตปลอดเวียดมินห์


         ก่อนสิ้นฤดูมรสุมในเดือนตุลาคม    นายพล  เกี๊ยบ  ส่งกองพลที่ ๓๐๘,  ๓๑๒  และ  ๓๑๖  เข้าที่ราบสูงไทย  (the Thai Highlands)  ทางตะวันตกเฉียงใต้ของเวียดนาม  ใกล้พระราชอาณาจักรลาว     ที่หมายคือที่ตั้งทหารฝรั่งเศสที่  เงียโล  (Nghia Lo)  ในเทือกเขาระหว่างแม่น้ำดำ  และแม่น้ำแดง   รวมทั้งการโจมตีที่  เกียฮอย  และวันเยน  (Gia Hoi - Van Yen)

 

 

 

เส้นทางสายอาณานิคม ๖  RC 6  ฮานอย - ฮัวบินห์

 เส้นทางสาย  RP 41  ฮัวบินห์ - นาซาน - ซันลา - ตวนเกียว - ไลเจา

เงียโล  (Nghia Lo)    ตูเล  (Tu Le)  ในเทือกเขาระหว่างแม่น้ำดำ  และแม่น้ำแดง 

 

         ๑๗  ตุลาคม  ๒๔๙๕    กองพลที่ ๓๐๘  ส่งคลื่นมนุษย์เข้าตีเงียโลได้สำเร็จ  ถอนกำลังจากที่อื่นเข้าสู่แม่น้ำดำ    ฝรั่งเศสส่งกองพันพลร่มที่ ๖  (6e BPC)  ลงที่ตูเล  (Tu Le)  เป็นกำลังสกัดกั้น  จึงรอดพ้นจากการถูกทำลาย  แต่ก็ต้องสูญเสียมาก    อย่างไรก็ตาม  ก็สามารถช่วยแก้ปัญหาเกียฮอยไว้ได้  (เกียฮอยถูกกองพลที่ ๓๑๒  เข้าล้อมไว้ตั้งแต่  ๑๕  ตุลาคม  ๒๔๙๕) 

 

          กองทหารฝรั่งเศสหลายหน่วยไปถึงนาซาน  บนเส้นทางสายอาณานิคม ๖  นอก "แนวเดอแลทเทอร์"      และสร้างป้อมสนามอย่างรวดเร็ว  (ด้วยการสนับสนุนทางอากาศ)  แต่  .  .  .  พื้นที่ด้านตะวันคกเฉียงเหนือของแคว้นตังเกี๋ย  และพรมแดนด้านพระราชอาณาจักรลาวเปิดโล่งต่อเวียดมินห์

 

ฝรั่งเศสรุกเข้าสู่ตอนเหนือของพื้นที่สามเหลี่ยมปากแม่น้ำแดง  คุกคามพื้นที่ของฝ่ายเวียดมินห์

กลยุทธ์นายพล  ซาลัง

          นายพล  ซาลังพิจารณาว่าการเข้าตีเงียโลของฝ่ายเวียดมินห์เพื่อหันเหความสนใจเท่านั้น  (คาดว่าเวียดมินห์จะโจมตีในพิ้นที่สามเหลี่ยมปากแม่น้ำแดงและเตรียมใช้กองหนุน)  แต่เมื่อเวียดมินห์ไม่โจมตี (ในพิ้นที่สามเหลี่ยมปากแม่น้ำแดง) ดังคาด    นายพล  ซาลังจึงตกลงใจรุกไปยังเวียดบัค  (Viet Bac)  ตอนเหนือของพื้นที่สามเหลี่ยมปากแม่น้ำแดง  เป็นการคุกคามพื้นที่ของฝ่ายเวียดมินห์    โดยหวังว่า 

          นายพล  เกี๊ยบจะถอนกำลังจากแม่น้ำดำ มาทำการรบในกลางพื้นที่ของฝ่ายเวียดมินห์   ซึ่งไม่เพียงแต่จะทำให้กองกำลังเวียดมินห์ในพื้นที่แม่น้ำดำอ่อนลงไปเท่านั้น  แต่เวียดมินห์ยังจะเสียความน่าเชื่อถือต่อประชาชนในพื้นที่อีกด้วย   

          ฝรั่งเศสมีโอกาสเข้าตีให้ได้เงียโลกลับคืน  และยังดึงเวียดมินห์ให้ออกจากลาวอีกด้วย

         เพื่อให้สำเร็จตามแผนนี้    นายพล  ซาลัง  ตกลงใจ  เข้าตีตามแม่น้ำเคลีย  และเส้นทางอาณานิคมหมายเลข ๒  โดยรวบรวมกำลังถึง  ๓๐,๐๐๐  ซึ่งเป็นการรวมกำลังครั้งใหญ่ที่สุดที่เคยมีในอินโดจีน  บนแม่น้ำเคลีย    ประกอบด้วย  กรมเคลื่อนที่เร็ว  ๔ กรม  (Groupes Mobiles)  1er Chasseurs,  8e RSA  และ  Dinassaut  (DNA 12)     เพื่อปฏิบัติการ  .  .  .  ยุทธการลอร์เรน

 

ยุทธการลอร์เรน  (Operation Lorraine)

         กำลังภาคพื้นดินของฝรั่งเศสรวมพลที่  ตรังฮา (Trung Ha)  ริมฝั่งแม่น้ำแดง  ตะวันตกเฉียงเหนือของซอนเต  (Son Tay)  และ เวียดตรี  (Viet Tri)  ริมฝั่งแม่น้ำเคลียไปทางตะวันตกเฉียงเหนือ ใน  ๒๙  ตุลาคม    มีแผนจะบรรจบกันที่ฟูโถ  (Phu Tho)  ๓๒ กิโลเมตรไปทางตะวันตกเฉียงเหนือ    แต่ถูกกำลังฝ่ายเวียดมินห์รบหน่วงเวลาอย่างเข้มแข็ง           

          อย่างไรก็ตาม  กองกำลังฝ่ายฝรั่งเศสจากตรังฮา  และเวียดตรีก็บรรจบกันได้เมื่อ  ๕  พฤศจิกายน     ทำให้กองทหารฝรั่งเศสมั่นใจและรุกลึกเข้าไปอีก

 

แผนยุทธการมาเรียน  (Operation Marion)

            ๙  พฤศจิกายน  ๒๔๙๕    พลร่มจำนวน  ๒,๓๕๐  จาก  (3e BPC, 1er BEP and 2e BEP)  ลงที่ตำบลส่งลงใกล้ฐานส่งกำลังของเวียดมินห์ที่ฟูดวน  (Phu Doan)  ตามแผนยุทธการมาเรียน  (Operation Marion)  และหน่วยยานเกราะของ  GM1  และ  GM4   รุกขึ้นไปตามเส้นทางอาณานิคมหมายเลข ๒ 

          ในขั้นนี้  ฝ่ายฝรั่งเศสยึดขบวนส่งกำลังของเวียดมินห์ได้  ซึ่งมีรถยนตร์บรรทุกผลิตในสหภาพโซเวียตโมโลตาวา  (Molotava)  จำนวน  ๔ คัน    ยังความประหลาดใจแก่ฝ่ายข่าวกรองฝรั่งเศส  (แสดงว่าฝ่ายข่าวกรองฝรั่งเศสไม่ทราบมาก่อนว่าสหภาพโซเวียตสนับสนุนเวียดมินห์ )

            จากฟูดวน  กองกำลังฝรั่งเศสรุกต่อไปยัง ฟูเยนบิง  (Phu Yen Bink)  ขณะที่ส่วนลาดตระเวนไปทางเหนือสู่ เทียนกวง  (Tuyen Quang)  และทางตะวันตกสู่ เยนเบ  (Yen Bay)  เพื่อสกัดกั้นการตีโต้ตอบของเวียดมินห์

          ๑๓ - ๑๔  พฤศจิกายน    ฝ่ายฝรั่งเศสรุกไปถึงฟูเยนบิง     บนเส้นทางอาณานิคมหมายเลข ๒  ริมแม่น้ำเคลีย

 

          กองทหารฝรั่งเศส รุกลึกเข้าไปถึงฟูเยนบิงแล้ว      เรากลับไปดูรายการยุทโธปกรณ์ที่ฝ่ายฝรั่งเศสยึดได้ในขบวนลำเลียงของฝ่ายเวียดมินห์กันก่อน  ว่ามีอะไรบ้าง

          รายการยุทโธปกรณ์ที่ฝ่ายฝรั่งเศสยึดได้ในขบวนลำเลียงของฝ่ายเวียดมินห์  (ในยุทธการมาเรียน)  มี  ๒ บัญชี  คือของ นายพล  อีฟส์ กราส์   (General Yves Gras)  และของ  ดร.เบอรนาร์ด บี.ฟอล์ล   (Dr. Bernard  B. Fall)  เชิญพิจารณาครับ  .  .  .

 

บัญชีของนายพล  อีฟส์ กราส์                                

          ยุทโธปกรณ์ต่างๆ  ๒๕๐ ตัน                            

          ปืนกลเบา  และปืนกลหนัก  ๕๒ กระบอก            

          อาวุธประจำกาย  (ปืนเล็ก)  ๑,๐๐๐ กระบอก    

          ปืนไร้แรงสะท้อนถอยหลัง  ๓ กระบอก               

          รถยนต์บรรทุกขนาดเล็ก  ๑ คัน                       

 บัญชีของ  ดร.เบอรนาร์ด บี.ฟอล์ล                                

          รถยนต์บรรทุกขนาดเล็ก  ๑ คัน                            

          ยุทโธปกรณ์ต่างๆ  ๑๕๐ ตัน                                 

          อาวุธประจำกาย  (ปืนเล็ก)  ๑,๕๐๐ กระบอก       

          ปืนกลหนัก  ๑๐๐ กระบอก                                  

          ปืนกลกลาง  ๒๒ กระบอก                                   

          ปืนกลเบา  ๓๐ กระบอก                                      

          เครื่องยิงลูกระเบิดขนาดเบา  ๔๐ เครื่อง                  

          เครื่องยิงลูกระเบิดขนาดกลาง  ๑๔ เครื่อง                

          เครื่องยิงลูกระเบิดขนาดหนัก  ๒ เครื่อง                  

          เครื่องยิงจรวดต่อสู้รถถัง  (bazookas)  ๒๓ เครื่อง              

          ปืนไร้แรงสะท้อนถอยหลัง  ๓ กระบอก 

          ถึงแม้ว่ากองกำลังฝรั่งเศสยึดขบวนส่งกำลังฝ่ายเวียดมินห์ได้    นายพล  เกี๊ยบ  ก็ยังได้รับการสนับสนุนจากจีน  และกดดันลาวต่อไป

                    

          ครับ  .  .  .  เชิญติดตามสถานการณ์ตามแผนยุทธการลอร์เรนต่อครับ

 

          นายพล  เกี๊ยบ  ยังคงซุ่มอยู่แถบแม่น้ำดำ    คอยให้ฝ่ายฝรั่งเศสรุกจนพ้นระยะเส้นหลักการส่งกำลังบำรุง    และส่งหน่วยจากกองพลที่ ๓๐๘  และกองพลที่ ๓๑๖    กองพลละ  ๑ กรม  (รวม  ๒ กรม)  จากแถบแม่น้ำดำไปยังเยนเบ  (Yen Bay)    ให้กองพลที่ ๓๐๔  และกองพลที่ ๓๒๐  ล้อมแม่น้ำแดง  เป็นการเพิ่มการปฏิบัติการแบบกองโจร  เพื่อให้ฝ่ายฝรั่งเศสถอนกำลังที่ปฏิบัติตามแผนยุทธการลอร์เรน

 

          นายพล  ซาลัง  ตระหนักดีว่าแผนยุทธการลอร์เรนไม่ได้ผลตามความมุ่งหมาย    นายพล  เกี๊ยบไม่ส่งกำลังหลักออกทำการรบ    กองทหารฝรั่งเศสตั้งอยู่ในเขตอิทธิพลของเวียดมินห์อย่างไม่ได้ประโยชน์  พ้นระยะระบบการส่งกำลังบำรุงทางอากาศ    การส่งกำลังทางถนน  หรือทางน้ำก็มีความเสี่ยงสูงต่อการถูกซุ่มโจมตี    นับว่าสถานการณ์ไม่เอื้ออำนวย

          ๑๔  พฤศจิกายน    นายพล  ซาลัง  จึงสั่งถอนกำลังเข้าสู่แนวเดอ แลทเทอร์    และ  .  .  .

           ๑๗  พฤศจิกายน    นายพล  เกี๊ยบ  ส่งกำลัง  ๒ กรมกลับเข้าไปในพื้นที่ฟูดวน - ฟูโถ     ดังนี้

           กรมที่ ๓๖  กองพลที่ ๓๐๘  วางกำลังซุ่มโจมตีขนาดใหญ่ที่ช่องเขาฉานมวง  (Chan Muong gorge)  บนเส้นทางอาณานิคมหมายเลข ๒  ซึ่งเป็นช่วงที่คดเคี้ยว ในช่องเขาสูงชัน  และป่าทึบ   

          เมื่อกำลังฝ่ายฝรั่งเศส  GM 1,  GM 4  (BMI, II/2e REI, 4e BM/7e RTA, RICM tanks)  ผ่านเข้ามา  ก็ถูกโจมตีอย่างหนักด้วยเครื่องยิงลูกระเบิด    ทหารราบสูญเสียมาก  แต่ได้รถถังและกองระวังหลัง  ช่วยกู้สถานการณ์ป้องกันขบวนไม่ให้ถูกทำลายทั้งหมด    

          หน่วยพลร่มฝรั่งเศสถอนตัวไปตามเส้นทางอย่างโชคดี  เมื่อวันก่อน  (๑๖  พฤศจิกายน)


 

           ถึงแม้ว่าการปฺฏิบัติการตามแผนยุทธการลอร์เรน  เป็นการรบตามแบบ    นายพล  เกี๊ยบ ก็แสดงความสามารถให้เห็นว่า ได้ไปไกลกว่าการรบตามแบบ

 

การสูญเสีย

          ฝ่ายฝรั่งเศส    เสียชีวิต  บาดเจ็บ  และสูญหาย  รวม  ๑,๒๐๐

          ฝ่ายเวียดมินห์    ไม่พบรายงาน

 

          จากความได้เปรียบของสถานการณ์   นายพล  เกี๊ยบ  ขยายผลต่อไป

          ๑. เข้ายึดที่มั่นขนาดเล็ก  (outpost)  ที่บาเล และ ม็อกชาน  (Ba Lay,  Moc Chan)

          ๒. ส่งกองพลที่ ๓๐๘  เข้าตีนาซาน  ซึ่งมีกำลังเหลือเพียงเล็กน้อย  และอยู่โดดเดี่ยวได้ถอนไปหลังการเหตุการณ์ที่เงียโล  (๑๗  ตุลาคม)    แต่ฝ่ายฝรั่งเศสได้ส่งกำลังเข้ามาเพิ่มเติม   ประกอบด้วย  3e BPC, 1er BEP, 2e BEP, III/3e REI, III/5e REI   ทหารรับจ้าง  ๒ กองพัน  และกองพันทหารเวียดนาม  ๒ กองพัน  กับทหารปืนใหญ่จำนวนหนึ่ง    และวางระเบิดไว้  ๓,๕๐๐ ลูก  มีลวดหนามล้อมรอบ   

 

การรบที่นาซาน  จังหวัดซอนลา  (Na San, Son La Province)   ตุลาคม - ๒  ธันวาคม  ๒๔๙๕

          นาซาน  พื้นที่เล็ก  ขนาดกว้าง  ๑ กิโลเมตร  ยาว  ๒ กิโลเมตร  ริมทางสาย ๔๑    ล้อมรอบด้วยภูเขา

          ในต้นเดือนตุลาคม  ๒๔๙๕    ที่นาซานมีที่มั่นขนาดเล็ก   (Outposts หรือ Point d'appui - PA)  แห่งหนึ่ง    มีทางวิ่งขนาดสั้นแห่งหนึ่ง  แต่อย่างไรก็ตาม    ในเดือนพฤศจิกายน   ฝ่ายฝรั่งเศสได้พัฒนา   และเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้ที่มั่นแห่งนี้เป็นป้อมค่ายให้สามารถเผชิญหน้ากับกองพลของเวียดมินห์ได้   (รายละเอียดย้อนดูใน  ๑๗  ตุลาคม)

          ๒๓  พฤศจิกายน  เวลา  ๒๐๐๐    ฝ่ายเวียดมินห์เริ่มเข้าตี

          กรมที่ ๘๖  กองพลที่ ๓๐๘  เข้าตีที่มั่นฝรั่งเศสแห่งหนึ่งถึง  ๒ ครั้ง  แต่ถูกตีโต้กลับไปด้วยกำลังทหารที่วางตัวอยู่ในคูติดต่อ  

         ในช่วง  ๒๔ - ๓๐  พฤศจิกายน    ฝ่ายเวียดมินห์เข้าตีที่ตั้งต่างๆ  ของฝรั่งเศสทุกคืน    ในเวลากลางวัน    ฝ่ายฝรั่งเศสต้องจัดกำลังออกลาดตระเวนในระยะยิงของอาวุธยิงสนับสนุนเป็นประจำ    

          คืน  ๓๐  พฤศจิกายน    ฝ่ายเวียดมินห์ใช้กำลังถึง  ๙ กองพันเข้าตีที่มั่นทางด้านตะวันออกและตะวันตกของกองบังคับการที่นาซาน

          ที่มั่นทางด้านตะวันออก  (PA 22)  กองพันไท ที่ ๒  (2nd Thai battalion - BT2)  เป็นหน่วยรับผิดชอบ    กรมที่ ๑๖๕  กองพลที่ ๓๑๒    สามารถเข้ายึดที่มั่นของกองพันไท ที่ ๒ ได้อย่างรวดเร็ว   

          ส่วนที่มั่นทางตะวันตก  (PA 24)   ได้สู้รบอย่างกล้าหาญเป็นเวลาถึง  ๓ ชั่วโมง  จึงเสียที่มั่นแก่  กรมที่ ๑๐๒  กองพลที่ ๓๐๘   
 
          ๑  ธันวาคม    ฝ่ายฝรั่งเศสส่งกำลังเข้าตีตั้งแต่เช้า  โดยใช้ปืนใหญ่ระดมยิงอย่างหนัก 

               กองพันพลร่มต่างด้าวที่ ๒  (2nd Foreign Airborne Battalion)  จำนวน  ๒ กองร้อย    เข้าตีที่มั่นด้านทิศตะวันออก  (PA 22)   เข้ายึดกลับคืนได้

               กองพันที่ ๓  (3rd BPC)    เข้าตีที่มั่นด้านทิศตะวันตก  (PA 24)   ต้องสู้รบกันถึง  ๗ ชั่วโมง  จึงยึดคืนได้

          ๒  ธันวาคม    ฝ่ายเวียดมินห์ใช้ยุทธวิธีคลื่นมนุษย์เข้าตีอย่างต่อเนื่องต่อที่มั่นอีกหลายแห่ง  ด้วยกำลังมากกว่ากำลังในที่มั่นถึง  ๑๕ ต่อ ๑    ฝ่ายฝรั่งเศสใช้ปืนใหญ่และการโจมตีทางอากาศหยุดยั้งคลื่นมนุษย์ไว้ได้

          ๔  ธันวาคม    นายพล  เกี๊ยบสั่งถอนกำลัง  

 

 

 การรบที่นาซาน

การสูญเสีย

          ฝ่ายเวียดมินห์    เสียชีวิต  ๕,๐๐๐     บาดเจ็บถูกจับได้อีก  ๒,๐๐๐  

          ฝ่ายฝรั่งเศสก็สูญเสียร่วม  ๒ กองพัน    

 

          ชัยชนะที่นาซานเป็นการฟื้นฟูขวัญและกำลังใจฝ่ายฝรั่งเศสเป็นอันมาก  แต่ก็สร้างทรรศนะผิดๆ  เกี่ยวกับฐานส่งกำลังทางอากาศว่า สามารถสนับสนุนได้   แม้ในพื้นที่ของฝ่ายเวียดมินห์ 

 

          ครับ  .  .  .  นาซานได้บรรลุผลสัมฤทธิ์ที่ไม่คาดคิด  คือ  หยุด "กองกำลังเวียดมินห์ซึ่งดูเหมือนว่าไม่สามารถหยุดได้" ลงได้

 

บทเรียนจากการรบ
 
          ฝ่ายฝรั่งเศส  โดย  พันเอก  กีลล์ส  (Colonel Gilles)  คิดยุทธวิธีใหม่  "เม่น" "the hedgehog"  เป็นครั้งแรก  

          การตั้งรับแบบ "เม่น"  ประกอบด้วย  ที่มั่นขนาดเล็ก  (outpost)  ที่มีวางอาวุธต่างๆ วางไว้โดยรอบเป็นจุดต้านทาน   (Point d'appui - PA)  และสร้างระบบสนามเพลาะ  และลวดหนามหีบเพลง   มีความมุ่งหมายที่จะล่อฝ่ายเวียดมินห์ให้เข้าโจมตี    

          ที่นาซาน  มีจุดต้านทาน  ๓๐ แห่ง  ใช้กำลังทหารราบถึง ๑๑ กองพัน  (กำลังพลประมาณ  ๑๕,๐๐๐ )  และทหารปืนใหญ่  ๖ กองร้อย 

          ยุทธวิธีนี้ใช้ได้ผลที่นาซาน    ฝ่ายฝรั่งเศสจึงถือยุทธวิธีนี้เป็นมาตรฐาน  ในการฝึกต่อไป  จนตลอดสงครามนี้

          ถึงแม้ว่าจะได้ชัยชนะ    ฝรั่งเศสก็หาหนทางทางการเมืองที่เหมาะสมที่จะถอนตัวจากอินโดจีน

          ส่วนฝ่ายเวียดมินห์    แม้ว่าจะปราชัยที่นาซานก็ตาม  แต่ชัยชนะใน พ.ศ.๒๔๙๕  ก็เป็นผลส่งให้ฝ่ายเวียดมินห์รุกเข้าพระราชอาณาจักรลาวใน  พ.ศ.๒๔๙๖

 

          ครับ  .  .  .  เพื่อเป็นการยกย่องวีรกรรมในการรบของทั้งสองฝ่าย    ผมขอเสนอรายละเอียดเกี่ยวกับหน่วยต่างในการรบที่นาซาน  ครั้งนี้  ดังนี้

 

ฝ่ายฝรั่งเศส

          ผู้บัญชาการทหารฝรั่งเศสที่นาซาน    พันเอก  ฌอง  กีลล์ส  (Colonel Jean Gilles)

Groupement Lansade

          - กรมทหารแม่นปืนอัลจีเรียที่ ๑  (1st Algerian Marksmen Regiment)  

          - กรมทหารราบด่างด้าวที่ ๓  (3rd Foreign Infantry Regiment)  commandant Favreau

          - กรมทหารแม่นปืนมอร็อคโคที่ ๖  (6th Morrocan Marksmen Regiment)

Groupement mobile Vietnamien (Vietnamese Mobile Group)

          - กองพันไทที่ ๑  (1st Thai Battalion) (BM/BT 1)  (ไท  หมายถึง  ไทยดำ  ซึ่งอยู่บนที่ราบสูงไทย)

          - กองพันไทที่ ๒  (2nd Thai Battalion) (BT 2)

          - กองพันไทที่ ๓  (3rd Thai Battalion) (BT 3), commandant Vaudrey

          - กองพันที่ ๕๕  (55th BVN - 55e Bataillon Vietnamien), capitaine Pham Van Dong

          - กรมทหารราบด่างด้าวที่ ๕  (5th Foreign Infantry Regiment), chef de bataillon Dufour

Groupement parachutiste (Airborne Group)  Lieutenant colonel Ducourneau

          - กองพันพลร่มต่างด้าวที่ ๑  (1st Foreign Airborne Battalion), chef de bataillon Brothier

          - กองพันพลร่มต่างด้าวที่ ๒  (2nd Foreign Airborne Battalion), chef de bataillon Bloch

          - กองพันพลร่มต่างด้าวที่  ๓  (3rd Colonial Airborne Battalion), capitaine Bonnigal

Artillerie (Artillery)

          - กรมทหารปืนใหญ่เวียดนามที่ ๕  (5th Vietnamese Artillery Group)    ประกอบด้วย    ปืนใหญ่ขนาด  ๑๐๕ มม.  ๒ กองร้อย

          - กรมทหารปืนใหญ่อาณานิคมที่ ๔๑  (41st Colonial Artillery Regiment)  

          - กองร้อยเครื่องยิงลูกระเบิดต่างด้าว  (Foreign Legion Mortar Company - CMLE)    ประกอบด้วย    ๑ ตอน เครื่องยิงลูกระเบิดขนาด  ๑๒๐ มม.    (๔  เครื่องยิง)  และ  ๑ ตอน เครื่องยิงลูกระเบิดขนาด  ๘๑ มม.    (๖ เครื่องยิง)
 
หน่วยทหารช่าง  ๖ ตอน    Commandant Casso


ฝ่ายเวียดมินห์

          นายพล โว เหงียน เกี๊ยบ  ผู้บัญชาการยุทธแคว้นไท  (General Vo Nguyen Giap, Commander of the Thai region Campaign)

          - กองพลที่ ๓๐๘    ผู้บัญชาการ  พันเอก  ววง ทัว ทู  (Colonel Vuong Thua Tu)    ประกอบด้วย  กรมที่ ๓๖,  กรมที่ ๘๘,  กรมที่ ๑๐๒

          - กองพลที่ ๓๑๒    ผู้บัญชาการ  พันเอก  เล ตรอง ทัน  (Colonel Le Trong Tan)    ประกอบด้วย  กรมที่ ๑๔๑,  กรมที่ ๑๖๕,  กรมที่ ๒๐๙

          - กองพลที่ ๓๑๖    ผู้บัญชาการ  พันเอก  เล กวาง บา  (Colonel Le Quang Ba)     ประกอบด้วย  กรมที่ ๙๘,  กรมที่ ๑๗๔,  กรมที่ ๑๗๖

 

          ครับ  .  .  .  นาซานได้บรรลุผลสัมฤทธิ์ที่ไม่คาดคิด  คือ  หยุด "กองกำลังเวียดมินห์ซึ่งดูเหมือนว่าไม่สามารถหยุดได้" ลงได้    จึงเป็นความประทับใจที่ดีของฝ่ายฝรั่งเศส  และถือเอาการตั้งรับที่นาซานเป็นรูปแบบในการจัดการตั้งรับต่อไป    ถึงกระนี้กระนั้นกระไรก็ตาม    รัฐบาลฝรั่งเศสก็ส่ง นายพล  อองรี  นาแวร์  มาเป็นแม่ทัพใหญ่ฝรั่งเศสในอินโดจีนแทนนายพล ราอูล  ซาลัง    ขอเชิญติดตาม นายพล  อองรี  นาแวร์  ในสถานการณ์ต่อไปครับ  .  .  .

 

 

สถานการณ์ต่อไป  .  .  .  นายพล  อองรี  นาแวร์

สถานการณ์ต่อไป  .  .  .  นายพล  อองรี  นาแวร์

สถานการณ์ต่อไป  .  .  .  นายพล  อองรี  นาแวร์




สงครามเวียนดนาม โดย สัมพันธ์

๔๐ ปี กองทัพประชาชนเวียดนาม
๓๐ ปี การรบที่เดียนเบียนฟู
สงครามฝรั่งเศส - เวียดมินห์ (๑๓) - ๕๗ วันใน . . . เดียน เบียน ฟู (๓) - ล่มสลาย . . . ไม่ยอมแพ้
สงครามฝรั่งเศส - เวียดมินห์ (๑๒) - ๕๗ วันใน . . . เดียน เบียน ฟู (๒) - เกเบรียล ๑๔ มีนาคม ๒๔๙๗
สงครามฝรั่งเศส - เวียดมินห์ (๑๑) - ๕๗ วันใน . . . เดียน เบียน ฟู (๑) - บีทริซ ๑๓ มีนาคม ๒๔๙๗
สงครามฝรั่งเศส - เวียดมินห์ (๑๐) - ยึดเดียนเบียนฟู (๒) "it is impregnable" "It is Verdun!"
สงครามฝรั่งเศส - เวียดมินห์ (๙) - ยึดเดียนเบียนฟู (๑) - ยุทธการคาสเตอร์
สงครามฝรั่งเศส - เวียดมินห์ (๘) - นายพล อองรี นาแวร์
สงครามฝรั่งเศส - เวียดมินห์ (๖) - นายพล เดอ แลทเทอร์
สงครามฝรั่งเศส - เวียดมินห์ (๕) - การช่วงชิงเส้นทางอาณานิคมหมายเลข ๔
สงครามฝรั่งเศส - เวียดมินห์ (๔) - เริ่มสงครามฝรั่งเศส - เวียดมินห์
สงครามฝรั่งเศส - เวียดมินห์ (๓) - สาธารณรัฐประชาธิปไตยแห่งเวียดนาม
สงครามฝรั่งเศส - เวียดมินห์ (๒) - เวียดนามยุคอาณานิคมของฝรั่งเศส
สงครามฝรั่งเศส - เวียดมินห์ (๑) - ญวน - ก่อนเป็นอาณานิคม



แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.
| WW II Europe | WW II Asia | WW I | Vietnam War | ประวัติศาสตร์ไทย | บทความจากสมาชิก | คุยกันหลังฉาก | บทความทั้งหมด |

สนใจร่วมเขียนบทความในเว็บไซต์ เชิญอ่าน แนวทางการร่วมเขียนบทความ ภาพยนตร์ประวัติศาสตร์

Custom Search



eXTReMe Tracker