dot
dot
เว็บภาพยนตร์ประวัติศาสตร์ ยินดีต้อนรับผู้สนใจทุกท่าน
dot
dot
สมาชิก Webboard/Blog
ชื่อผู้ใช้ :
รหัสผ่าน :
เข้าสู่ระบบอัตโนมัติ :
bullet ลืมรหัสผ่าน
dot
bulletข้อตกลงการเป็นสมาชิก
bulletเว็บบอร์ด-คุยกันหลังฉาก
bulletเว็บบอร์ด-Games ย้อนยุค
bulletเว็บบอร์ด-ชุดจำลองประวัติศาสตร์
bulletเว็บบอร์ด-หนังสือประวัติศาสตร์
bulletเว็บบอร์ด-เพลงประวัติศาสตร์
bulletคำถาม/คำตอบ ล่าสุด
bulletแนวทางการร่วมเขียนบทความ
dot
สงครามโลกครั้งที่ 2
dot
bulletสมรภูมิยุโรป (สัมพันธมิตรVSเยอรมัน-อิตาลี)
bulletสมรภูมิแปซิฟิก-เอเชีย (สัมพันธมิตรVSญี่ปุ่น)
dot
ภาพยนตร์ประวัติศาสตร์อื่นๆ
dot
bulletสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง
bulletประวัติศาสตร์ไทย
bulletประวัติศาสตร์อเมริกันยุคเริ่มแรก
bulletสงครามเวียดนามและอินโดจีน
bulletตะวันตกโบราณ (กรีก โรมัน ฯลฯ)
bulletประวัติศาสตร์ร่วมสมัย
bulletเอเชียโบราณ
bulletประวัติศาสตร์อื่นๆ (ยังไม่แยกหมวดหมู่)
bulletคลิปความรู้จาก YouTube
dot
บทความโดย วิวันดา
dot
bulletฮิตเล่อร์...และเหล่าขุนพลแห่งอาณาจักรไรค์ซที่สาม
bulletลอดลายรั้ว.....วินด์เซอร์
bulletเลิศเลอวงศา...โรมานอฟ
bulletเชลย
bulletซูคอฟ...ยอดขุนพลผู้ดับฝันของฮิตเล่อร์
dot
บทความโดย สัมพันธ์
dot
bulletคนไทยในกองทัพพระราชอาณาจักรลาว
bulletประวัติศาสตร์สงคราม กรีก
bulletกรณีพิพาทอินโดจีนและสงครามมหาเอเชียบูรพา
bulletอยุธยายศล่มแล้ว ลอยสวรรค์ ลงฤา
bulletฮานนิบาล
bulletพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบรมวงศานุวงศ์
bulletไทยกับมหาสงคราม
bulletสงครามเวียดนาม
bulletห้วยโก๋น ๒๕๑๘
bulletการทัพในมลายา
bulletประวัติศาสตร์อื่น ๆ
dot
เรื่องอื่นๆ
dot
bulletบทความเสริมความรู้ทั่วไป
bulletเกร็ดเล็กเกร็ดน้อย
bulletผู้จัดทำ
bulletผังเว็บไซต์ (Site Map)
bulletแนวทางการร่วมเขียนบทความ
bulletถาม-ตอบ (FAQs) (โปรดอ่านก่อนตั้งกระทู้หรือสมัครสมาชิก)
bulletร้านค้าออนไลน์
bulletแบ่งปัน Album
dot
ลิงค์ต่างๆ
dot
bulletHistory on Film
bulletกองบิน 21 กองพลบิน 2
bulletIELTS British Council
bulletIELTS IDP
bulletMUIC




โหราศาสตร์ยุคไอที



สงครามฝรั่งเศส - เวียดมินห์ (๘) - นายพล อองรี นาแวร์

*  *  *

สงครามฝรั่งเศส - เวียดมินห์ (๘)  -  นายพล  อองรี  นาแวร์

 

สถานการณ์เดิม  .  .  .  จาก  .  .  .  นายพล  ราอูล  ซาลัง

          - กุมภาพันธ์  ๒๔๙๕    นายพล  ซาลัง  สั่งถอนกำลังจากฮัวบินห์

          - ยุทธการลอร์เรน   ไม่บรรลุเป้าหมาย  กองทหารฝรั่งเศส รุกลึกเข้าไปถึงฟูเยนบิงแล้ว    นายพล  เกี๊ยบไม่ส่งกำลังออกรบ    นายพล  ซาลัง  จึงสั่งถอนกำลังกลับเข้าสู่แนวเดอ แลทเธอร์  ถูกซุ่มโจมตีขนาดใหญ่ที่ช่องเขาฉานมวง  บนเส้นทางอาณานิคมหมายเลข ๒    สูญเสียมาก    
  
          - นายพล  เกี๊ยบ  ขยายผลต่อไป    เข้ายึดที่มั่นขนาดเล็ก   ที่บาเล และ ม็อกชาน   และส่งกองพลที่ ๓๐๘  เข้าตีนาซาน

          - การรบที่นาซาน  จังหวัดซอนลา    ตุลาคม - ๒  ธันวาคม  ๒๔๙๕

               ฝ่ายเวียดมินห์ใช้ยุทธวิธีคลื่นมนุษย์เข้าตี    ฝ่ายฝรั่งเศสใช้ปืนใหญ่และการโจมตีทางอากาศหยุดยั้งคลื่นมนุษย์ไว้ได้    นายพล  เกี๊ยบสั่งถอนกำลัง    ฝ่ายเวียดมินห์ต้องสูญเสียอย่างหนัก

          ครับ  .  .  .  นาซานได้บรรลุผลสัมฤทธิ์ที่ไม่คาดคิด  คือ  หยุด "กองกำลังเวียดมินห์ซึ่งดูเหมือนว่าไม่สามารถหยุดได้" ลงได้

 

สถานการณ์ต่อไป  .  .  .


สถานการณ์ในฤดูร้อน  ๒๔๙๖

 

 

          ๗  พฤษภาคม  ๒๔๙๖    ประธานาธิบดีฝรั่งเศสแต่งตั้ง พลเอก  อองรี  นาแวร์  (General Henry NAVARRE)  เป็นผู้บัญชาการทหารในอินโด  ต่อจากพลเอก  ราอูล  ซาลัง

 

         อย่างไรก็ตาม    นายพล  ราอูล  ซาลัง  ได้เสนอแนวความคิดทางยุทธวิธี  ว่าควรใช้  นาซาน  เดียนเบียนฟู  และไลเจา  เป็นฐานที่มั่นให้สนับสนุนซึ่งกันและกันได้    แต่เป็นธรรมดาครับ  ข้อเสนอของผู้ที่จากไปซึ่งไม่ต้องรับผิดชอบในการปฏิบัติอีกต่อไป  แต่ผู้มาใหม่จะต้องรับผิดชอบเต็มที่จะรับไว้พิจารณาหรือไม่ ?  เพียงใด ?

 


 

 

 

 

ภาพแสดงที่ตั้งของ  นาซาน  (อยู่ในจังหวัดซันลา)  เดียนเบียนฟู  และไลเจา

 

          นายพล  นาแวรร์ ได้เยี่ยมกองบังคับการ  คลังส่วนหลัง  หน่วยปฏิบัติการในสนาม  ที่มั่นคอนกรีตในสามเหลี่ยมปากแม่น้ำแดง  ที่มั่นขนาดเล็กบนพื้นที่สูง  ฐานปฏิบัติการในพื้นราบทางใต้  ที่ราบสูงตอนกลาง  และ  โดยเฉพาะอย่างยิ่งป้อมค่ายที่นาซาน  ซึ่งนายพล  กีลส์บังคับบัญชากองกำลัง  ๑๐,๐๐๐    สามารถสกัดกั้นเวียดมินห์ไม่ให้เข้าสู่แคว้นไท  ทางตะวันตก   และ  .  .  .  ป้องกัน  ไลเจา  (Lai Chau)

          นาซานเป็นความสำเร็จทางยุทธวิธีของฝรั่งเศส  แต่นาซานก็เป็นภาระในการรักษาไว้ต่อไปด้วย   และต้องระดมอากาศยานในการส่งกำลัง และสนับสนุนอย่างมาก

          นายพล  นาแวรร์   มีความคิดว่า  หากสถาปนาที่มั่นที่เดียนเบียนฟู  ขณะที่ยังคงรักษานาซานไว้  จะเป็นการบังคับให้ฝ่ายเวียดมินห์ต้องแบ่งกำลังเป็นสองส่วนเพื่อเกาะค่ายทั้งสอง  แต่ฝ่ายฝรั่งเศสเอง ก็ขาดแคลนกำลัง และมีข้อจำกัดอื่นๆ  ทำให้ไม่สามารถรักษานาซานไว้ได้  และหากรักษาต่อไปอาจจะเป็นการเปิดช่องให้เวียดมินห์โจมตีอีกได้    

          วิธีการ "นาซาน และ เดียนเบียนฟู" ดังกล่าว  จึงเป็นไปไม่ได้ 

          นายพล  นาแวรร์ตกลงใจที่จะ "ปล่อย" นาซาน  และส่งกำลังเข้าเดียนเบียนฟู   นาซานมีคุณค่าที่จะเป็นภาพต้นแบบสำหรับเดียนเบียนฟู  และคาดหวังว่าจะประสบความสำเร็จได้ดังเช่นที่นาซาน 

 

 


          ต้นเดือนมิถุนายน  ๒๔๙๖    ขณะที่กำลังคิดคำนึงถึงการสถาปนาที่มั่นที่เดียนเบียนฟู    นายพล  นาแวรร์  คิดถึงการถ่าย หรือถอดแบบปราการที่นาซาน  (ซึ่งไม่สามารถรักษาไว้ได้ต่อไป)    มาใช้ที่เดียนเบียนฟู 

 

          ในเดือนสิงหาคม  ๒๔๙๖  ได้สั่งการให้ถอนกำลังจากนาซาน    รวมถึงไลเจา  (Lai Chau)  ที่อยู่ไกลขึ้นไปทางเหนือด้วย

 

           นายพล  กีลล์ส  ผู้บังคับการทหารฝรั่งเศสที่นาซานสามารถใช้อุบายถอนตัวจากนาซาน โดยไม่สูญเสีย  (ในเดือนสิงหาคม  ๒๔๙๖)

 

          รัฐบาลฝรั่งเศสพยายามที่จะแสวงประโยชน์  และป้องกันลัทธิคอมมิวนิสต์ในดินแดนที่เคยเป็นอาณานิคมของตนมาก่อน    จึงพยายามขยายอิทธิพลเข้าไปในพระราชอาณาจักรลาวด้วย     ใน  ๒๘  ตุลาคม  ๒๔๙๖  มีการลงนามในสนธิสัญญาป้องกันร่วมกันกับรัฐบาลลาว      ให้พระราชอาณาจักรลาวรวมอยู่ในสหพันธ์ฝรั่งเศส    ดังนั้น  รัฐบาลฝรั่งเศสจึงสั่งการให้ นายพล  นาแวรร์ มีภารกิจในการป้องกันพระราชอาณาจักรลาวด้วย

 

          นายพล  นาแวรร์ จึงต้องพิจารณาเลือกที่ตั้งฐานปฏิบัติการซึ่งสามารถจะตุ้มครองและเข้าปฏิบัติการในพระราชอาณาจักรลาวตอนเหนือได้สะดวก  และกวาดล้างพื้นที่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของเวียดนามได้ด้วย

 

          ในการเลือกที่ตั้งฐานปฏิบัติการซึ่งสามารถจะตุ้มครองและเข้าปฏิบัติการในพระราชอาณาจักรลาวตอนเหนือได้สะดวก  นายพล  นาแวรร์พิจารณาที่  .  .  .  เดียนเบียนฟู

 

Why not in  Dien Bien Phu ?

          ที่นาซาน   ฝ่ายเวียดมินห์ประสบความล้มเหลวอย่างนองเลือด      เพื่อเป็นการป้องกันพระราชอาณาจักรลาวไว้ได้ด้วยกำลังเท่าที่มี    นายพล  นาแวรร์ ต้องการสร้างที่มั่นแข็งแรงในแคว้นไท       และควบคุมเส้นทางผ่านที่สำคัญของฝ่ายเวียดมินห์     

          เดียนเบียนฟู  สามารถเป็นฐานอากาศ - พื้นดินที่มีประสิทธิภาพล้ำหน้าซึ่งปฏิบัติการรุกได้สำเร็จในบริเวณ  นี้  .  .  . 

           นายพล  นาแวรร์เห็นว่าได้พบเงื่อนไขทั้งหมดของนาซานแห่งใหม่  และพร้อมที่จะปฏิบัติดังที่นาซานอีกที่  .  .  .  เดียนเบียนฟู .  .  .  Why not in Dien Bien Phu ?

 

          นายพล  นาแวรร์ถือหลักที่ว่า  ไม่มีการปราบปรามที่ปราศจากการปะทะ  และมีความคิดจะยึดและสถาปนาฐานที่มั่นที่เดียนเบียนฟู ให้เป็นฐานปฏิบัติการอากาศ - พื้นดินที่มีประสิทธิภาพล้ำหน้า  เพื่อสกัดกั้นเวียดมินห์ไม่ให้เข้าสู่พระราชอาณาจักรลาว  ตามนโยบายรัฐบาลฝรั่งเศสอีกด้วย

 

แนวความคิดของ  นายพล  นาแวรร์  ที่ต้องการสถาปนาที่มั่นที่เดียนเบียนฟู  เพื่อ  

          ๑. รักษาความมั่นคงในพระราชอาณาจักรลาวตอนเหนือ

               เนื่องจากเส้นทางที่ฝ่ายเวียดมินห์ใช้ในการติดต่อระหว่างพระราชอาณาจักรลาวกับสาธารณรัฐประชาชนจีน  จะต้องผ่านเดียนเบียนฟู   หากฝรั่งเศสยึดเดียนเบียนฟูไว้ได้แล้ว  เป็นการขัดขวางการติดต่อดังกล่าว    จะทำให้พระราชอาณาจักรลาวตอนเหนือปลอดภัยได้ด้วยกำลังเท่าที่มี  ตามนโยบายรัฐบาลฝรั่งเศส 

          ๒. ลดความกดดันในพื้นที่สามเหลี่ยมปากแม่น้ำแดง 

               เนื่องจากในพื้นที่สามเหลี่ยมปากแม่น้ำแดงเป็นที่ชุมนุมกองกำลังฝ่ายเวียดมินห์ซึ่งกดดันฝรั่งเศสอยู่    หากมีฐานที่มั่นที่เดียนเบียนฟู  อาจเป็นการทำให้ฝ่ายเวียดมินห์ต้องนำกำลังออกจากพื้นที่สามเหลี่ยมปากแม่น้ำแดง  (มาที่เดียนเบียนฟู)  บ้าง

          ๓. ใช้เป็นฐานทัพอากาศหน้า

               หากสถาปนาเดียนเบียนฟูให้เป็นฐานปฏิบัติการอากาศ - พื้นดินที่มีประสิทธิภาพล้ำหน้า  จะสามารถโจมตีเส้นทาง  และขบวนส่งกำลังบำรุงของฝ่ายเวียดมินห์ได้สะดวกรวดเร็ว  ทำให้การปฏิบัติการรุกในบริเวณนี้เป็นผลสำเร็จ

          ๔. ใช้เป็นที่บดเนื้อ 

               หากฝ่ายเวียดมินห์ใช้กองกำลังขนาดใหญ่โจมตีด้วยยุทธวิธี "คลื่นมนุษย์" ต่อที่มั่นเดียนเบียนฟูนี้เช่นที่นาซานอีก    จะเป็นโอกาสอันดีที่จะทำลายกองกำลังขนาดใหญ่ของเวียดมินห์ให้ย่อยยับไปได้  ดังที่นาซานอีกเช่นกัน         

 

ข้อเสียทางยุทธการของเดียนเบียนฟูต่อฝ่ายฝรั่งเศส  - "มีแนวโน้มที่จะเป็นกับดัก"

          ๑. จำนวนสิ่งอุปกรณ์ที่ต้องส่งไปสนับสนุนเดียนเบียนฟูมีปริมาณมหาศาล  ต้องระดมอากาศยานที่มีอยู่อย่างมาก

          ๒. เนื่องจากเดียนเบียนฟูสามารถติดต่อกับฮานอยได้ด้วยการคมนาคมทางอากาศเท่านั้น  และระยะทางระหว่างเดียนเบียนฟู กับ ฐานทัพอากาศฮานอย ซึ่งอยู่ห่างไปทางตะวันออกถึง  ๒๘๐ กิโลเมตร    จึงเป็นอุปสรรคในเรื่องต่างๆ  เช่น

            - การสนับสนุนทางอากาศยุทธวิธี  เกิดข้อจำกัดเนื่องจาก เกินรัศมีทำการของเครื่องบินขับไล่จากกรุงฮานอย  

            - การสนับสนุนและการซ่อมบำรุงขนาดใหญ่ ซึ่งมีน้ำหนักมาก

          ๓. สภาพอากาศที่แปรปรวนในที่สูงจะเป็นอุปสรรคในการปฏิบัติการทางอากาศ  อีกด้วย

 

"มีแนวโน้มที่จะเป็นกับดัก" 

 

          ได้มีการคัดค้านการเลือกเดียนเบียนฟู  ด้วยเหตุผลหลักคือ    การดำรงการเชื่อมต่อทางอากาศกับกรุงฮานอยซึ่งอยู่ไกลออกไปถึง  ๒๘๐ กิโลเมตร    สภาพอากาศที่แปรปรวนอยู่เสมอในพื้นที่ภูเขาทางตอนเหนือของเวียดนาม  ซึ่งนายทหารอากาศที่รับผิดชอบการสนับสนุนกำลังภาคพื้นดินก็ได้เสนอข้อคืดเห็นด้วย   

          นายพล  กีลล์ส  อดีตผู้บัญชาการที่นาซานไม่เห็นด้วยอย่างสิ้นเชิง   และเห็นว่า "มีแนวโน้มที่จะเป็นกับดัก"   

 

          ถึงกระนี้กระนั้นกระไรก็ตาม  .  .  .  

 

นายพล  นาแวรร์  ได้ตกลงใจ  .  .  .  "ยึด และรบ ที่เดียนเบียนฟู"

 

เดียนเบียนฟู  -  เมืองแถงของไทยในอดีต

          หมู่บ้านเมืองทันห์  (Moung Thanh)  ในเมืองเดียนเบียนฟู  (Dien Bien Phu)  เมืองแถงของไทยในอดีต    จังหวัดไลเจา  (Lai Chau)        

          หมู่บ้านเล็กๆ  กลางหุบเขา    ยาวตามแนวเหนือ - ใต้  ประมาณ  ๑๗ กิโลเมตร  ส่วนกว้าง ตะวันออก - ตะวันตก  ประมาณ  ๕ - ๗ กิโลเมตร    มีเส้นทางตามแนวเหนือ - ใต้   ขนานกับลำน้ำยวม  และน้ำโค

          หุบเขาสีเขียวด้วยนาข้าว  พืชผัก  ต้นไม้  ป่าไม้บนลาดเนินเขา  และล้อมรอบด้วยภูเขา   บนพื้นราบมีบ้านใต้ถุนสูงตั้งกระจายเป็นจุดๆ   ภูมิทัศน์สงบ  ปลอดโปร่ง  แบบชนบท  น่าเพลิดเพลิน    มีหมู่บ้านเล็กๆ  อยู่กลางที่ราบ    ประชาชนเป็นชาวไทยดำ

          มีสนามบินขนาดเล็ก  สร้างมาตั้งแต่  พ.ศ.๒๔๖๓  (ค.ศ.๑๙๒๐) และยังใช้ได้อยู่   จำเป็นต้องบูรณะขยายเพื่อให้รองรับเครื่องบินขนาดใหญ่ได้

          ชุมทางถนนไปสู่  พระราชอาณาจักรลาว  ประเทศไทย  สหภาพพม่า  และสาธารณรัฐประชาชนจีน

          สายตะวันออกเฉียงเหนือ    ไปสู่  ไลเจา

          สายตะวันออกและตะวันออกเฉียงใต้    ไปสู่  ตวนเกียว    ซอนลา    นาซาน  และฮ้วบินห์

          สายตะวันตก    ไปสู่  เมืองหลวงพระบาง

          สายใต้    ไปสู่  ซำเหนือ

 

 

 

 

 

 


 

          ในช่วงปลายปี ๒๔๙๖    ฝ่ายฝรั่งเศสเห็นว่าเดียนเบียนฟู  อยู่ห่างจากฮานอยถึง  ๒๘๐ กิโลเมตร   ควรวางกำลังไว้  ๒ กองพล  และวาดภาพการรบว่า    ฝ่ายเวียดมินห์สามารถทำการสู้รบได้เพียงขนาดเล็กเท่านั้น  มีปืนใหญ่จำกัด   และจะถูกทำลายอย่างง่ายดาย

 

แนวความคิดของฝ่ายฝรั่งเศส

แผนนาแวรร์  - Navarre Plan

            ฝ่ายฝรั่งเศสได้กำหนดแผนนาแวรร์  Navarre Plan    เป็นแผนยุทธศาสตร์ในการดำเนินการต่อฝ่ายเวียดมินห์  โดยแบ่งการปฏิบัติออกเป็น  ๒ ขั้น   ดังนี้ 
                   
ขั้นที่ ๑    รวมกำลังทำตอนใต้ให้มั่นคง  ออมกำลังตอนเหนือ  (mentalite' de'fensive - defensive mentality)

          จากเส้นขนานที่  ๑๘    ขั้นนี้มุ่งสถาปนาพื้นที่ส่วนใต้เส้นขนานที่ ๑๘  ให้มั่นคงเสียก่อน    และออมกำลัง  (พยายามไม่ใช้กำลังกำลังขนาดใหญ่)  ในพื้นที่ส่วนเหนือเส้นขนานที่ ๑๘  เนื่องจากส่วนใหญ่เป็นพื้นที่อิทธิพลของฝ่ายเวียดมินห์

          ขั้นที่ ๑  นี้  จะดำเนินการไปจนถึงกลางปี พ.ศ.๒๔๙๗

ขั้นที่ ๒    รวมกำลังรุกใหญ่ในตอนเหนือ  (la bataille ge'ne'rale - offensive)

          เมื่อพื้นที่ส่วนใต้เส้นขนานที่ ๑๘  มั่นคงแล้ว    จึงรวมกำลังขนาดใหญ่ทำการรุก และกวาดล้างในพื้นที่ส่วนเหนือเส้นขนานที่ ๑๘ 

          ขั้นที่ ๒  นี้  จะเริ่มดำเนินการตั้งแต่กลางปี พ.ศ.๒๔๙๗  ไปจนถึง  พ.ศ.๒๔๙๙

 

            ถึงแม้เป็นแผนทางการทหาร  แต่จุดประสงค์นั้นไม่ใช่เพื่อจะทำลายกองกำลังฝ่ายเวียดมินห์    แต่เป็นการหาทางออกในการรักษาผลประโยชน์ร่วมกันในคาบสมุทรอินโดจีน ระหว่างฝรั่งเศสกับเวียดนามและ  .  .  .  ฝรั่งเศสน่าจะพยายามทำการรบให้ได้ชัยชนะ  หรือได้เปรียบในสถานการณ์สงครามเพื่อประโยชน์ในการเจรจา  และ  .  .  .  หาทางออกจากเวียดนามอย่างสง่างาม

แผนนี้สอดคล้องกับยุทธศาตร์ของรัฐบาลฝรั่งเศส       

 

แผนนาแวรร์  - มุมมองของฝ่ายเวียดมินห์

          ฝ่ายเวียดมินห์มองแผนนาแวรร์ว่า    มีความมุ่งหมายที่จะกวาดล้างกองกำลังฝ่ายเวียดมินห์และยึดครองดินแดนเวียดนามทั้งหมด

 

แนวความคิดของฝ่ายเวียดมินห์

แผนยุทธศาตร์ของฝ่ายเวียดมินห์

          ๑. ระดมกำลังไว้ในเขตที่มั่นเปิดของฝ่ายฝรั่งเศส

          ๒. ทำลายกำลังฝรั่งเศสและยึดดินแดนบางส่วนคืน

          ๓. กดดันให้ฝรั่งเศสต้องกระจายกำลังออกไปเป็นหน่วยขนาดเล็ก

 

           เมื่อนายพล  นาแวรร์ตกลงใจเข้ายึดเดียนเบียนฟูนั้น   กองพันที่ ๙๑๐  กรมที่ ๑๔๘  กองพลที่ ๓๑๖  ของเวียดมินห์ยึดอยู่แล้วตั้งแต่เดือนตุลาคม  ๒๔๙๕ 
 
          ครับ  .  .  .  เมื่อผู้บังคับบัญชาตกลงใจอย่างไรแล้ว  ฝ่ายเสนาธิการ  และผู้บังคับหน่วยชั้นรองลงไปก็ต้องปฏิบัติตาม  เพราะผู้บังคับบัญชาก็มีการประมาณสถานการณ์เหมือนกัน  และเป็นผู้รับผิดชอบในความสำเร็จหรือล้มเหลวของการปฏิบัติ    ทุกคนจะพยายามปฏิบัติให้ข้อตกลงใจของผู้บังคับบัญชาดำเนินไปสู่ความสำเร็จให้จงได้  (แม้ว่าจะไม่ตรงกับความคิดของตน)

          นายพล  กีลล์ส  ผู้บัญชาการกองกำลังส่งทางอากาศ  ได้รับภารกิจนำกำลังส่งทางอากาศโดดร่มลง  ณ   หมู่บ้านเมืองทันห์     ในเดียนเบียนฟู   ตามแผนยุทธการคาสเตอร์   

          ครับ  เราจะได้ติดตามยุทธการคาสเตอร์ในสถานการณ์ต่อไป  .  .  .  ยุทธการคาสเตอร์  ยึดเดียนเบียนฟู    

 

สถานการณ์ต่อไป  .  .  .  ยึดเดียนเบียนฟู (๑)  ยุทธการคาสเตอร์ 

สถานการณ์ต่อไป  .  .  .  ยึดเดียนเบียนฟู (๑)  ยุทธการคาสเตอร์ 

สถานการณ์ต่อไป  .  .  .  ยึดเดียนเบียนฟู (๑)  ยุทธการคาสเตอร์  




ประวัติศาสตร์สงคราม กรีก โดย สัมพันธ์

อเล็กซานเดอร์มหาราช : สู่ตะวันออก
อเล็กซานเดอร์มหาราช : เริ่มลมเหนือ
สงคราม กรีก - กรีก
สงคราม กรีก - เปอร์เซีย



แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.
| WW II Europe | WW II Asia | WW I | Vietnam War | ประวัติศาสตร์ไทย | บทความจากสมาชิก | คุยกันหลังฉาก | บทความทั้งหมด |

สนใจร่วมเขียนบทความในเว็บไซต์ เชิญอ่าน แนวทางการร่วมเขียนบทความ ภาพยนตร์ประวัติศาสตร์

Custom Search



eXTReMe Tracker