dot
dot
เว็บภาพยนตร์ประวัติศาสตร์ ยินดีต้อนรับผู้สนใจทุกท่าน
dot
dot
สมาชิก Webboard/Blog
ชื่อผู้ใช้ :
รหัสผ่าน :
เข้าสู่ระบบอัตโนมัติ :
bullet ลืมรหัสผ่าน
dot
bulletข้อตกลงการเป็นสมาชิก
bulletเว็บบอร์ด-คุยกันหลังฉาก
bulletเว็บบอร์ด-Games ย้อนยุค
bulletเว็บบอร์ด-ชุดจำลองประวัติศาสตร์
bulletเว็บบอร์ด-หนังสือประวัติศาสตร์
bulletเว็บบอร์ด-เพลงประวัติศาสตร์
bulletคำถาม/คำตอบ ล่าสุด
bulletแนวทางการร่วมเขียนบทความ
dot
สงครามโลกครั้งที่ 2
dot
bulletสมรภูมิยุโรป (สัมพันธมิตรVSเยอรมัน-อิตาลี)
bulletสมรภูมิแปซิฟิก-เอเชีย (สัมพันธมิตรVSญี่ปุ่น)
dot
ภาพยนตร์ประวัติศาสตร์อื่นๆ
dot
bulletสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง
bulletประวัติศาสตร์ไทย
bulletประวัติศาสตร์อเมริกันยุคเริ่มแรก
bulletสงครามเวียดนามและอินโดจีน
bulletตะวันตกโบราณ (กรีก โรมัน ฯลฯ)
bulletประวัติศาสตร์ร่วมสมัย
bulletเอเชียโบราณ
bulletประวัติศาสตร์อื่นๆ (ยังไม่แยกหมวดหมู่)
bulletคลิปความรู้จาก YouTube
dot
บทความโดย วิวันดา
dot
bulletฮิตเล่อร์...และเหล่าขุนพลแห่งอาณาจักรไรค์ซที่สาม
bulletลอดลายรั้ว.....วินด์เซอร์
bulletเลิศเลอวงศา...โรมานอฟ
bulletเชลย
bulletซูคอฟ...ยอดขุนพลผู้ดับฝันของฮิตเล่อร์
dot
บทความโดย สัมพันธ์
dot
bulletคนไทยในกองทัพพระราชอาณาจักรลาว
bulletประวัติศาสตร์สงคราม กรีก
bulletกรณีพิพาทอินโดจีนและสงครามมหาเอเชียบูรพา
bulletอยุธยายศล่มแล้ว ลอยสวรรค์ ลงฤา
bulletฮานนิบาล
bulletพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบรมวงศานุวงศ์
bulletไทยกับมหาสงคราม
bulletสงครามเวียดนาม
bulletห้วยโก๋น ๒๕๑๘
bulletการทัพในมลายา
bulletประวัติศาสตร์อื่น ๆ
dot
เรื่องอื่นๆ
dot
bulletบทความเสริมความรู้ทั่วไป
bulletเกร็ดเล็กเกร็ดน้อย
bulletผู้จัดทำ
bulletผังเว็บไซต์ (Site Map)
bulletแนวทางการร่วมเขียนบทความ
bulletถาม-ตอบ (FAQs) (โปรดอ่านก่อนตั้งกระทู้หรือสมัครสมาชิก)
bulletร้านค้าออนไลน์
bulletแบ่งปัน Album
dot
ลิงค์ต่างๆ
dot
bulletHistory on Film
bulletกองบิน 21 กองพลบิน 2
bulletIELTS British Council
bulletIELTS IDP
bulletMUIC




โหราศาสตร์ยุคไอที



สงครามฝรั่งเศส - เวียดมินห์ (๙) - ยึดเดียนเบียนฟู (๑) - ยุทธการคาสเตอร์
วันที่ 16/02/2020   20:45:02

*  *  *

สงครามฝรั่งเศส - เวียดมินห์ (๙)  -  ยึดเดียนเบียนฟู (๑) - ยุทธการคาสเตอร์   

สถานการณ์เดิม  .  .  .  จาก  .  .  .  นายพล  อองรี  นาแวร์
 
สถานการณ์ในฤดูร้อน  ๒๔๙๖

          ๗  พฤษภาคม  ๒๔๙๖     พลเอก  อองรี  นาแวร์  เป็นผู้บัญชาการทหารในอินโดจีนต่อจากพลเอก  ราอูล  ซาลัง

          นายพล  นาแวรร์  ได้ตกลงใจ  .  .  .  "ยึด และรบ ที่เดียนเบียนฟู"

          แผนนาแวรร์  Navarre Plan    เป็นแผนยุทธศาสตร์ในการดำเนินการต่อฝ่ายเวียดมินห์  โดยแบ่งการปฏิบัติออกเป็น  ๒ ขั้น   ดังนี้ 

          ขั้นที่ ๑    รวมกำลังทำตอนใต้ให้มั่นคง  ออมกำลังตอนเหนือ  (mentalite' de'fensive - defensive mentality)

                    ขั้นที่ ๑  นี้  จะดำเนินการไปจนถึงกลางปี พ.ศ.๒๔๙๗

          ขั้นที่ ๒    รวมกำลังรุกใหญ่ในตอนเหนือ  (la bataille ge'ne'rale - offensive)

                     ขั้นที่ ๒  นี้  จะเริ่มดำเนินการตั้งแต่กลางปี พ.ศ.๒๔๙๗  ไปจนถึง  พ.ศ.๒๔๙๙

         เมื่อนายพล  นาแวรร์ตกลงใจเข้ายึดเดียนเบียนฟูนั้น   กองพันที่ ๙๑๐  กรมที่ ๑๔๘  กองพลที่ ๓๑๖  ของเวียดมินห์ยึดอยู่แล้วตั้งแต่เดือนตุลาคม  ๒๔๙๕ 
 
          ครับ  .  .  .  เมื่อผู้บังคับบัญชาตกลงใจอย่างไรแล้ว  ฝ่ายเสนาธิการ  และผู้บังคับหน่วยชั้นรองลงไปก็ต้องปฏิบัติตาม  เพราะผู้บังคับบัญชาก็มีการประมาณสถานการณ์เหมือนกัน  และเป็นผู้รับผิดชอบในความสำเร็จหรือล้มเหลวของการปฏิบัติ    ทุกคนจะพยายามปฏิบัติให้ข้อตกลงใจของผู้บังคับบัญชาดำเนินไปสู่ความสำเร็จให้จงได้  (แม้ว่าจะไม่ตรงกับความคิดของตน)

          นายพล  กีลล์ส  ผู้บัญชาการกองกำลังส่งทางอากาศ  ได้รับภารกิจนำกำลังส่งทางอากาศโดดร่มลง  ณ   หมู่บ้านเมืองทันห์     ในเดียนเบียนฟู   ตามแผนยุทธการคาสเตอร์   

 

สถานการณ์ต่อไป  .  .  . 

การเตรียมสนามรบของฝรั่งเศส 

ยุทธการคาสเตอร์    ๒๐ - ๒๒  พฤศจิกายน  ๒๔๙๖    (Operation "Castor" - NOVEMBER 20 - 22, 1953)

๒๐  พฤศจิกายน  ๒๔๙๖

          เวลา  ๐๕๐๐  เครื่องบินดาโคต้า  C-47 (Dakota)  ที่ติดตั้งอุปกรณ์จัดเป็นที่บังคับการในอากาศบินขึ้นจากกรุงฮานอย  นายพล  ฌอง  กีลส์  (General Jean GILLES)  ผู้บัญชาการหน่วยส่งทางอากาศ    นายพล  ฌอง เดอชูซ์  (General  Jean  DECHAUX)  ผู้บัญชาการกำลังทางอากาศยุทธวิธีภาคเหนือ ในอินโดจีน  (The Northern Tactical Air Group)  และ  นายพล  ปิแอร์  โบเดท์  (General Pierre Bodet)  ผู้ช่วยของนายพล  นาแวรร์   ผู้บัญชาการกองกำลังผสม

          ภารกิจ    ลาดตระเวณบริเวณเหนือเหนือที่ราบหมู่บ้านเมืองทันห์  (Moung Thanh) ในเมืองเดียนเบียนฟู  (Dien Bien Phu) จังหวัดไลเจา  (Lai Chau)  และพิจารณาตกลงใจตามสภาพอากาศว่าจะปฏิบัติตามแผนยุทธการคัสเตอร์  หรือเลื่อนการปฏิบัติออกไป

          สภาพอากาศเหนือที่ราบเดียนเบียนฟูในเช้าวันนั้น  มีหมอกบางซึ่งจะกระจายไปในตอนเช้า    


 
การส่งลงพลร่มครั้งสำคัญที่สุดในประวัติศาสตร์การสงครามอินโดจิน

 

 

          เวลา  ๐๗๒๐  ที่บังคับการในอากาศส่งสัญญาณไฟเขียวเพื่อให้ปฏิบัติการ    เป็นการส่งลงพลร่มครั้งสำคัญที่สุดในประวัติศาสตร์การสงครามอินโดจิน  

          เวลา  ๐๘๔๕  กองทหารคอยพร้อมที่ท่าอากาศยานสองแห่งในกรุงฮานอยเพื่อขึ้นเครื่องดาโคต้า  ๖๕ เครื่อง

          อีก  ๒ ชั่วโมงต่อมา  ก็ได้เทสองกองพันแรกลงสู่หมู่บ้านเมืองทันห์ ในเมืองเดียนเบียนฟู จังหวัดไลเจา 

            - พันตรี  มาร์เซล  บิเกียร์ด  (Major Marcel Bigeard)  นำกองพันพลร่มอาณานิคมที่ ๖  (the Colonial parachutists 6th battalion - 6th BPC)  ลงที่พื้นที่ส่งลง "นาตาชา - Natacha"  ทางตะวันตกเฉียงเหนือของเดียนเบียนฟู

           - พันตรี  ฌอง  เบรฌิญญาซ์  (Major Jean Brechignac)  นำกองพันที่ ๒  กรมทหารพลร่มเบาที่ ๑  (the 2nd battalion of the lst regiment of Light Riflemen parachutists)  ลงที่พื้นที่ส่งลง  "ไซมอน - Simone"  ทางใต้ของเดียนเบียนฟู  รวมทั้ง  กองร้อยทหารช่างหย่อนกำลังและ  the CAP.1' HQ.

           บางส่วนของกองพันพลร่มอาณานิคมที่ ๖  (6th BPC)   และทหารช่างลงไกลจากที่หมายมาก  จนเข้าไปใกล้หน่วยของเวียดมินห์  มีการปะทะกัน

           ร้อยเอก  ฌอง  เรย์มอนด์  (Captain Jean Raymond)  ศัลยแพทย์ซึ่งโดดร่มเป็นครั้งแรกได้เสียชีวิตในการโดดครั้งนี้  เป็นการสูญเสียรายแรกในเดียนเบียนฟู

  

 

 

Major Marcel Bigeard 

 the Colonial parachutists 6th battalion  Commander - 6th BPC  Cmdr

 

  

 


The first drop on Dien Bien Phu, operation "Castor", 20th November 1953.

 

            อีก สองสามชั่วโมงต่อมา    กำลังที่สดชื่นก็มาถึงอีก  ด้วยเครื่องบิน  ๔๑ เครื่อง

         - กองพันพลร่มอาณานิคมที่ ๑    จำนวน  ๗๕๐ นาย    (the Colonial parachutists lst battalion)   

          - ปืนไร้แรงสะท้อนถอยหลัง  (ปรส.)  ขนาด  ๕๗ มิลลิเมตร  ๒ กองร้อย จาก  กรมทหารปืนใหญ่สนามส่งทางอากาศที่ ๓๕  (35th Airborne Artillery Rigiment: 35 RALP)  

          - กองร้อยเครื่องยิงลูกระเบิดขนาด  ๑๒๐ มิลลิเมตร

          - หน่วยเสนารักษ์สนาม
 


 

The French 1st Colonial Parachute Battalion (1st BPC) lands at Dien Bien Phu on Nov. 20, 1953. From Pierre Langlais, Dien Bien Phu.

 

            เวลา  ๑๖๑๕    นายพล  นาแวรร์  ได้ส่งโทรเลขกึงรัฐมนตรีต่างประเทศฝรั่งเศสแจ้งให้ทราบถึงข้อตกลงใจในการที่จะเข้ายึดเดียนเบียนฟู

 

การสูญเสียในวันที่  ๒๐  พฤศจิกายน  ๒๔๙๖    วันแรกของยุทธการคาสเตอร์

 ฝ่ายฝรั่งเศส    สูญเสีย  ดังนี้

           จากการรบ  เสียชีวิต  ๑๕    บาดเจ็บ  ๓๔    และ

           จากการโดดร่ม  เสียชีวิต  ๑    บาดเจ็บ  ๑๓

 ฝ่ายเวียดมินห์    เสียชีวิต  ๑๑๕    บาดเจ็บ  ๔  (ถูกจับได้)

 

          ครับ  .  .  .  คืนแรกในเดียนเบียนฟู  ก็ผ่านไป    รุ่งขึ้น  .  .  .

 

๒๑  พฤศจิกายน  ๒๔๙๖   

          กองพันทหารพลร่ม  ๒ กองพัน  ลงที่พื้นที่ส่งลง "นาตาชา" ด้วยเครื่องดาโคต้า  อีก  ๒ เที่ยว  เที่ยวแรก  ๒๙ เครื่อง  เที่ยวหลัง  ๒๘ เที่ยว

          - กองพันพลร่มต่างด้าวที่ ๑  (1st Foreign Legion Parachute: 1st BEP)    จำนวน  ๖๗๕ นาย 

          - กองพันพลร่มจู่โจมที่ ๘   (8th Parachute Assult: 8th BPC)    จำนวน  ๗๐๐ นาย

          - บางส่วนของหน่วยทหารช่าง  และกองบังคับการของ  นายพล  กีลล์ส   จำนวน  ๒๕ นาย
 
          - รถถากถาง  คันแรก  ลงสู่พื้นด้วยร่ม  (๕ หลัง)  โดยไม่เสียหาย  เพื่อใช้ปรับพื้นที่    และรถถากถางคันที่สอง  พร้อมกับอุปกรณ์ที่จำเป็นก็ได้ลงพื้นในชั่วโมงต่อมา

 

นายทหารอาวุโส

          นายพล  กิลล์ส    อายุ ๔๙  เป็นโรคหัวใจ  กับ พันโท  ปิแอร์  ชาร์ลส  แลงกลายส์  (Lieutenant-Colonel  Pierre Charles Langlais)  อายุ  ๔๔  เป็นนายทหารอาสุโสที่โดดร่มในยุทธการนี้  พันโท  แลงกลายส์  บาดเจ็บขณะลงพื้น - ข้อเท้าเคล็ด
 
 

๒๒  พฤศจิกายน  ๒๔๙๖

          ในเช้าตรู่วันที่  ๒๒  พฤศจิกายน    ทางวิ่งก็พอที่จะรองรับเครื่องบินตรวจการณ์    Morane 500   ลำแรกได้    และ    กองพันพลร่มเวียดนามที่ ๕   ซึ่งมีสมญาว่า "Bawouan"  (เดิมเป็นหน่วย  3rd BPC "yellowed")  ก็ได้ลงสู่เดียนเบียนฟู  
 
 

           เมื่อปิดแผนยุทธการคัสเตอร์ในเย็นวันที่  ๒๒  พฤศจิกายน    ฝ่ายฝรั่งเศสมีรี้พลสกลไกรที่เดียนเบียนฟูรวม  ๔,๑๙๕

 

ขั้นต่อไป  -  การเสริมสร้างความมั่นคง

          เมื่อเคลื่อนย้ายกำลังพลและยุทโธปกรณ์ที่จำเป็นสู่เดียนเบียนฟูตามยุทธการคัสเตอร์ได้เรียบร้อยแล้ว  ขั้นต่อไปเป็นการเสริมสร้างความมั่นคง    เชิญครับ  ว่าฝ่ายฝรั่งเศสได้เสริมสร้างความมั่นคงที่เดียนเบียนฟูอย่างไรบ้าง  .  .  .         

          ๒๓  พฤศจิกายน    นายพล  โคญี  ผู้บัญชาการกองกำลังแคว้นตังเกี๋ย  (Tonkin Forces Commander)  เดินทางมาด้วยเครื่อง  Beaver    และในวันนี้  ก็ได้นำวัสดุอุปกรณ์จำนวน  ๒๔๐ ตัน  ส่งลงด้วยร่ม  โดยเครื่องบินจำนวน  ๒๔๘ เที่ยว  (เทียวขน)
 
          ๒๕  พฤศจิกายน    สนามบินก็พร้อมที่รองรับเครื่องบินดาโคต้า   ลำแรกร่อนลงเมื่อเวลา  ๑๑๔๕  ซึ่งเร็วกว่ากำหนดสำหรับเครื่องบินชนิดนี้  ไม่มีใครคิดว่าจะสามารถซ่อมทางวิ่งให้ใช้ได้ก่อนเดือนธันวาคม 

          แผ่นเหล็ก  ๒๒,๘๐๐ แผ่น    หลักหมุด  ๑๕,๔๕๐ หลัก  (ใช้ตรึงแผ่นเหล็ก)  รวมน้ำหนัก  ๕๑๐ ตัน  เพื่อซ่อมสร้างทางวิ่งให้รองรับเครื่องบินได้ทุกแบบ    

          ลวดหนามหีบเพลง  น้ำหนัก  ๑๔๕ ตัน    กำลังพล  ๕,๑๐๐ นาย    จะสร้างเสริมที่มั่นนี้ให้แข็งแกร่งดังเช่นที่นาซาน
 
          ช่วงระยะโดดเดี่ยวผ่านพ้นแล้ว    การปฏิบัติการส่งทางอากาศเสร็จสิ้นลงแล้ว

          ๒๖  พฤศจิกายน    เดียนเบียนฟูก็สามารถติดต่อกับฮานอยได้    ฐานพื้นดิน - อากาศ  ก็เป็นรูปร่าง    สนามบินสามารถใช้ขนส่งหน่วยทหารได้โดยไม่ต้องใช้ร่ม

          ทหารอาฟริกัน  ชาวอัลจีเรีย  มอร็อคโค  กองทหารต่างด้าว  ทหารราบ  ทหารปืนใหญ่  เจ้าหน้าที่บริการ  พนักงานวิทยุ  ทหารช่าง  ยานเกราะ  เจ้าหน้าที่การบินประจำภาคพื้น    ก็หลั่งไหลเข้าสู่ที่มั่นที่   .  .  .  เดียนเบียนฟู

 

          ๒๙  พฤศจิกายน    นายพล  นาแวรร์  และนายพล  โคญ๊  ผู้บัญชาการทหารภาคตังเกี๋ย  ได้ตรวจเยี่ยมค่ายที่เดียนเบียนฟู   พอใจในการปฏิบัติตามแผนขั้นที่ ๑  ได้สำเร็จ

 

 

 

  นายพล  นาแวร์ร  และนายพล  โคญี  ตรวจเยี่ยมแนวรบที่ไลเจา

(Photo forum du site La Bataille de Dien Bien Phu

 

Operational Northwestern Group - GONO 

          ๓๐  พฤศจิกายน    ค่ายทหารที่เดียนเบียนฟูได้ชื่อว่า  Operational Northwestern Group - GONO    นายพล  ฌอง  กีลส์  (General Jean Gilles)  ผู้บัญชาการหน่วยส่งทางอากาศ     เป็นผู้บัญชาการ

           นายพล  กีลส์  ต้องเป็นผู้บัญชาการที่เดียนเบียนฟูเนื่องจากมีประสบการณ์จากการรบที่นาซาน  แต่ตำแหน่งหลักคือ  ผู้บัญชาการหน่วยส่งทางอากาศในอินโดจีน  ซึ่งมีกองบัญชาการในกรุงฮานอย    ดังนั้น  เมื่อการสร้างค่ายเสร็จแล้ว  นายพล  กีลส์  จึงต้องกลับไปปฏิบัติหน้าที่ตามตำแหน่ง    ผู้ที่นายพล  นาแวรร์  ส่งมาเป็นผู้บังคับบัญชา แทนนายพล  กีลส์ คือ  พันเอก  คริสเตียน  เดอ ลา ครัวกซ์ เดอ คาสตรีส์   (Christian de la CROIX de CASTRIES)

 

          พันเอก  เดอ คาสตรีส์  เดืนทางมาถึงเดียนเบียนฟูใน  ๘  ธันวาคม    

          พันเอก  เดอ คาสตรีส์  เป็นทหารม้า  เคยเป็นผู้บังคับหน่วยรถถังในบังคับบัญชาของนายพล  นาแวรร์  และแสดงความสามารถให้ปรากฏเป็นที่ประทับใจมาแล้วครั้งการทัพในเยอรมนี  เมื่อสงครามโลกคร้งที่ ๒   นับเป็น "ขุนพล" คนหนึ่งของนายพล เดอ แลทเทอร์ ด้วย  

          ๔  ธันวาคม    ทหารฝรั่งเศสได้ปะทะกับทหารเวียดมินห์ที่บ้านฮิมแลม  (Ban Him Lam)    ตอนเหนือของทุ่งราบเดียนเบียนฟู

          ๕  ธันวาคม     8th BPC, 1st BPC and 2/1 CCP  โดดร่มลงที่ถนน  RP 41 ห่างจากเดียนเบียนฟูไปทางตะวันออกเฉียงเหนือไม่ถึง  ๕  กิโลเมตร    ได้ปะทะกับฝ่ายเวียดมินห์    เสียชีวิต  ๑๔    บาดเจ็บ  ๒๖    ไม่ทราบการสูญเสียของฝ่ายเวียดมินห์

 

 

President Ho Chi Minh and Party leaders at a meeting on December 6, 1953 in Viet Bac
resistance zone to decide the start of Dien Bien Phu Campaign

 

          ๗  ธันวาคม    พันเอก  ชาร์ลส พิโรท์  (Charles Piroth)   เข้ารับตำแหน่งผู้บังคับทหารปืนใหญ่ของค่ายฯ  มั่นใจในปืนใหญ่ของตนว่าสามารถจะทำลายปืนใหญ่ของฝ่ายเวียดมินห์ได้อย่างรวดเร็ว  ได้ยืนยันกับนายพล  นาแวร์ว่า 

          Mon General, no Viet Minh cannon will be able to fire three rounds without being destroyed by my artillery.

 

          ๘  ธันวาคม    พันเอก  เดอ  คาสตรีส์เดินทางถึงเดียนเบียนฟู    

 

     

 แนวความคิดในการปฏิบัติ    (ในการรบที่เดียนเบียนฟู)

 

          กลยุทธ์   

            ลาดตระเวนบริเวณโดยรอบ  เพื่อทราบที่ตั้งของฝ่ายเวียดมินห์  และจัดกำลังออกทำลาย

            ตั้งรับอย่างเหนียวแน่นในที่มั่นแข็งแรง  ล่อให้เวียดมินห์เป็นฝ่ายเข้าตี  แล้วจึงทำลายโดยอาวุธหนักและการโจมตีทางอากาศ

 

         การยิง    ปืนใหญ่สนาม  และการโจมตีทางอากาศ     

 

 ข้อพิจารณาของฝ่ายเวียดมินห์ต่อที่มั่นเดียนเบียนฟู
 
          และความแข็งแรงมั่นคงของป้อมปราการที่เดียนเบียนฟูนี้เป็นการตั้งรับรูปใหม่  เป็นป้อมปราการที่แข็งแกร่งที่สุดในอินโดจีน  ซึ่งฝ่ายเวียดมินห์ไม่มีประสบการณ์มาก่อน  (ฝ่ายเวียดมินห์มีประสบการณ์ในการเข้าตีค่ายขนาดกองพันเท่านั้น)  จึงยังความยำเกรงแก่ฝ่ายเวียดมินห์  ถึงขั้นเป็นปัญหาต้องพิจารณา  ๒ ประการ  คือ

          ๑. จะโจมตีเดียนเบียนฟู  หรือไม่

          ๒. หากจะโจมตี  จะต้องดำเนินการอย่างไร 

 

การจะโจมตีเดียนเบียนฟู  หรือไม่          ฝ่ายเวียดมินห์พิจารณาว่า  

          ๑. เดียนเบียนฟูเป็นกุญแจสำคัญ  เป็นกำลังหลักของฝรั่งเศส    หากทำลายเสียได้จะเป็นการทำลายแผนการรวมกำลังขนาดใหญ่ทำการรุก และกวาดล้างในพื้นที่ส่วนเหนือเส้นขนานที่ ๑๘  (ตามแผนนาแวรร์ขั้นที่ ๒)

          ๒. เดียนเบียนฟูอยู่ในดินแดนป่าเขา  ซึ่งฝ่ายเวียดมินห์ได้เปรียบกว่า

          ๓. เดียนเบียนฟูตั้งอยู่โดดเดี่ยว  ห่างไกลจากฐานที่มั่นทุกแห่ง

          ๔. เดียนเบียนฟูมีข้อจำกัดทางคมนาคม  เนื่องจากติดต่อภายนอกได้เฉพาะทางอากาศเท่านั้น  ซึ่งเป็นข้อจำกัดอย่างยิ่ง  

               ๔.๑ ทางยุทธการ  ไม่สามารถเคลื่อนย้ายกำลังมาแก้ปัญหาได้ทันท่วงที

               ๔.๒ ทางการส่งกำลังบำรุง  ไม่สามารถสนับสนุนหรือแก้ปัญหาได้ทันท่วงทีเช่นกัน

          หลังจากได้พิจารณาอย่างรอบคอบแล้ว  จึงได้ข้อยุติว่า  .  .  . 

"จะต้องกวาดล้างกำลังฝรั่งเศสที่ค่ายเดียนเบียนฟูให้ได้  ไม่ว่าจะสูญเสียสักเท่าใด"   

 

การจะโจมตีอย่างไร          ฝ่ายเวียดมินห์พิจารณาว่า
 

          เมื่อพิจารณาได้ว่า "จะต้องกวาดล้างกำลังฝรั่งเศสที่ค่ายเดียนเบียนฟูให้ได้" แล้ว  ก็พิจารณาขั้นต่อไปคือ  จะโจมตีอย่างไร  (เมื่อไร)

          ฝ่ายเวียดมินห์พิจารณาเลือกหนทางปฏิบัติ  ๒ หนทาง    คือ  ๑. โจมตีทันทีให้ได้ชัยชนะอย่างรวดเร็ว  หรือ  ๒. รอโจมตีและรุกอย่างมั่นใจ

หนทางปฏิบัติที่ ๑    โจมตีทันทีให้ได้ชัยชนะอย่างรวดเร็ว

          ข้อดี    

               - กองทหารยังสดชื่น  เนื่องจากไม่ต้องทำการรบยืดเยื้อ

               - การส่งกำลังบำรุงกระทำได้ง่ายกว่า  เพราะเวลาทำการสั้น

          ข้อเสีย 

               - ไม่มีประสบการณ์ในการเข้าตีป้อมปราการขนาดใหญ่    จึงไม่สามารถประกันความสำเร็จได้

          ข้อสรุป    อาจจะไม่ได้รับชัยชนะ

 

หนทางปฏิบัติที่ ๒    รอโจมตีและรุกอย่างมั่นใจ 

          ข้อดี    

               - มีเวลาเตรียมการมากขึ้น    

              - เป็นไปตามหลักสงครามปฏิวัติที่ว่า   "จงโจมตีเพื่อชัยชนะ  จงโจมตีเมื่อมั่นใจในความสำเร็จ    มิฉะนั้น  อย่าโจมตีเป็นอัยขาด"

          ข้อเสีย 

              - การส่งกำลังบำรุงมีอุปสรรคมากขึ้น

              - ทหารจะมีการอ่อนล้า และท้อถอยมากขึ้น

              - หากการรบยืดเยื้อเข้าถึงฤดูฝน  ยิ่งเป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติการและการดำรงชีพในป่า ทหารจะเจ็บไข้ได้ป่วยเนื่องจากสภาพอากาศมากขึ้น

          ฝ่ายเวียดมินห์ตกลงใจเลือกหนทางปฏิบัติที่ ๒  .  .  . รอโจมตีและรุกอย่างมั่นใจ

 

การตกลงใจดังกล่าวนับเป็นประวัติการณ์แห่งการรบของกองทัพเวียดมินห์ทีเดียว

 

แนวความคิดในการปฏิบัติ

          กลยุทธ์   โจมตีด้วยกำลังมากอย่างรุนแรงและต่อเนื่องเป็นระลอก  ต่อที่มั่นต้านทานของฝ่ายฝรั่งเศสทีละแห่งๆ

          การยิง

            ปืนใหญ่ยิงทำลายทางขึ้น ลงของสนามบิน

            ปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยาน    ยิงทำลายเครื่องบินของฝ่ายฝรั่งเศส

 

การเตรียมสนามรบของเวียดมินห์

          ในช่วงเตรียมการ

          สาธารณรัฐประชาชนจีน    ระดมแรงงานถึง  ๗๕,๐๐๐   เพื่อซ่อมแซมถนนเป็นระยะทาง  ๒๐๐ กิโลเมตร  และสร้างเพิ่มอีก  ๑๐๐ กิโลเมตร  ให้ถึงพรมแดน จีน - เวียดนาม  

          สาธารณรัฐประชาธิปไตยแห่งเวียดนาม    ต้องสร้างถนนเพิ่มอีก  ๓๕๐ กิโลเมตร  จากพรมแดนฯ  ถึงตวนเกียว  (Tuan Giao)  ซึ่งอยู่ห่างจากเดียนเบียนฟูไปทางตะวันออกเฉียงเหนือประมาณ  ๕๕ กิโลเมตร   เพื่อเปินเส้นหลักการส่งกำลังบำรุงจากสาธารณรัฐประชาชนจีน  สู่  .  .  .  เดียนเบียนฟู  

 

 

         

 

 Viet-Minh logistical potential against Dien Bien Phu as of December 9, 1953.

 

          จากตวนเกียว    เวียดมินห์ต้องสร้างถนนผ่านป่าเขาเพื่อให้รถบรรทุกลำเลียงชิ้นส่วนปืนใหญ่    ที่ใดตัดถนนไม่ได้  ต้องลำเลียงชิ้นส่วนปืนใหญ่ด้วยกำลังทหาร  ไปยังจุดที่ได้ลาดตระเวน  เลือก  และสร้างที่ตั้งยิงปืนใหญ่  ไว้แล้ว   

          ขุดหลุมและคู  จากป่าเขาลงสู่พื้นที่ราบ  .  .  .  สู่  .  .  .  เดียนเบียนฟู

          ประชาชน  เป็นธุระในการส่งกำลังบำรุงแก่กองทัพ    จัดส่งอาหาร  และอาวุธกระสุนให้แนวหน้าซึ่งห่างไกลออกไป  ๕๐๐ - ๗๐๐  กิโลเมตร

          รถจักรยาน  นับพันๆ คันจากตัวเมือง    ลำเลียงอาหารและอาวุธยุทโธปกรณ์ไปสู่แนวหน้า

          เรือสำปั้น  ขนาดต่างๆ  นับร้อยๆ ลำ    ลำเลียงอาหารและอาวุธยุทโธปกรณ์ไปสู่แนวหน้า    

          แพไม้ไผ่  นับพันนับหมื่น  ล่องผ่านเกาะแก่ง    ลำเลียงอาหารและอาวุธยุทโธปกรณ์ไปสู่แนวหน้า    

          ขบวนม้าต่าง  ยาวเหยียดจากถิ่นแม้ว    ลำเลียงอาหารและอาวุธยุทโธปกรณ์ไปสู่แนวหน้า

          รถบรรทุก  แล่นข้ามลำธารและป่าเขา  ลำเลียงอาหารและอาวุธยุทโธปกรณ์ไปสู่แนวหน้า

          อาสาสมัครหนุ่มสาว  นับหมื่น  เดินผ่านช่องเขาและแม่น้ำตื้นๆ    ลำเลียงอาหารและอาวุธยุทโธปกรณ์ไปสู่แนวหน้า

          และ  .  .  .  การส่งกำลังบำรุงส่วนหนึ่ง    ได้รับการสนับสนุนจากต่างประเทศ

 

 

การผสมผสานการขนส่งด้วยเครื่องมือ  และวิธีการต่างๆ  ของฝ่ายเวียดมินห์

เพื่อลำเลียงอาหารและอาวุธยุทโธปกรณ์ไปสู่แนวหน้า

 

 

รถบรรทุก  แล่นข้ามลำธารและป่าเขา  ลำเลียงอาหารและอาวุธยุทโธปกรณ์ไปสู่แนวหน้า

 

  

 

^   การเคลื่อนย้ายปืนใหญ่ขนาด ๑๐๕ มิลลิเมตร  สู่  เดียนเบียนฟู   v

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 บางช่วงของเส้นทางสายยุทธศาสตร์โฮจิมินห์    

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

  

 

 ประชาชน  เป็นธุระในการส่งกำลังบำรุงแก่กองทัพ    จัดส่งอาหาร  และอาวุธกระสุนให้แนวหน้าซึ่งห่างไกลออกไป  ๕๐๐ - ๗๐๐  กิโลเมตร

อาสาสมัครหนุ่มสาว  นับหมื่น  เดินผ่านช่องเขาและแม่น้ำตื้นๆ    ลำเลียงอาหารและอาวุธยุทโธปกรณ์ไปสู่แนวหน้า

แรงงานลูกหาบพลเรือนอาสาสมัครนับพันๆ  ดำเนินการส่งกำลังบำรุงที่ช้า แต่มีประสิทธิภาพสนับสนุนการยุทธของเวียดมินห์  

 

  

 

 

 

 

 

 

 

 

 

รถจักรยาน  นับพันๆ คันจากตัวเมือง    ลำเลียงอาหารและอาวุธยุทโธปกรณ์ไปสู่แนวหน้า

 

 แต่ละคัน  สามารถบรรทุกสิ่งอุปกรณ์ได้ถึง  ๔๐๐ ปอนด์

  

 

 

 

 

  

 

 

 เวียดมินห์เคลื่อนทัพ

 

          ตั้งแต่  เดือนธันวาคม  ๒๔๙๖    ฝ่ายเวียดมินห์ได้เคลื่อนพลสู่ที่สูงข่มรอบๆ เดียนเบียนฟู  ดังนี้

 

          เริ่มด้วย  กองพลที่ ๓๑๖  เมื่อ  ๖  ธันวาคม        

 

 

 

ฝรั่งเศสเสียไลเจา  .  .  .  เดียนเบียนฟู โดดเดี่ยว  

๑๐  ธันวาคม  ๒๔๙๖   

 

          ฝ่ายเวียดมินห์เปิดฉากการยิงที่แนวรบด้านไลเจา  และสามารถยึดได้ในวันที่  ๑๒  ธันวาคม     ฝ่ายฝรั่งเศสพยายามยึดคืน    แต่ไม่สำเร็จ    เมื่อเสียไลเจาก็ทำให้เดียนเบียนฟูต้อง  .  .  .  โดดเดี่ยว   
 
 

๑๓  ธันวาคม     

          กองพันพลร่มที่ ๑  และกองพันพลรามเวียดนามที่ ๕   (lst BEP, 5th BPVN) ได้ปะทะอย่างหนักกับฝ่ายเวียดมินห์ซึ่ง  (ลาดตระเวน)  มาจากไลเจา    ฝ่ายฝรั่งเศสต้องเสียชีวิตและบาดเจ็บหลายสิบนาย    และพิสูจน์ทราบได้ว่า  กำลังฝ่ายเวียดมินห์ยึดหุบเขานี้อย่างมั่นคง  คือ  กองพลที่ ๓๕๘  และกองพลที่ ๓๑๖

The 1st CCPB remained at Dien Bien Phu until the 14th or 15th of December.

 

 

 

อิสซาเบล  (Isabelle)

๑๕  ธันวาคม  ๒๔๙๖   

          ฝ่ายฝรั่งเศสได้ตัดสินใจสถาปนาศูนย์การต้านทานขึ้นอีกแห่งหนึ่ง  ห่างลงไปทางใต้  ๖ กิโลเมตร  ด้วยเหตุผลทางยุทธวิธีและขีปนวิถีของปืนใหญ่  คือให้มีปืนใหญ่ที่จะสนับสนุนเดียนเบียนฟูได้    ที่ตั้งใหม่นี้อยู่ใกล้กับสนามบินสำรองบนฝั่งขวาลำน้ำยวม    เป็นค่ายที่มีขนาดย่อมกว่า   จัดให้มีปืนใหญ่ไว้ในส่วนกลาง  มี  ๒ กองพันทหารราบ  ๑ หมวดรถถัง  (๓ คัน)    ปืนใหญ่ขนาด  ๑๐๕ มม.  ๒ กระบอก    รวมกำลังพล  ๑,๘๐๙ นาย    คือ  .  .  . 

 

 อิสซาเบล    Isabelle      

 

 

          เดียนเบียนฟู กับที่มั่นอิสซาเบลติดต่อกันได้ด้วยถนนสองสาย   บนสองฝั่งแม่น้ำยวม   คือ RP 41 และเส้นทางปาวีซึ่งหน่วยทหารช่างได้สร้างขึ้น   

          แต่ข้อเสียของที่มั่นอิสซาเบล คือเป็นพื้นที่ราบ  ล่อแหลมต่อการถูกโจมตีด้วยปืนใหญ่

 

 

 

 

เดียนเบียนฟู - หลวงพระบาง 

 

๒๐  ธันวาคม  ๒๔๙๖

          กองรบฝรั่เศสประกอบด้วย  8th BPC and 1st BEP  เดินทางไปทางตะวันตกเฉียงใต้เพื่อช่วยเหลือ  หน่วยของพันตรี  (Maj. VAUDREY)  ซึ่งกำลังมาจากหลวงพระบาง    ถึงแม้ว่าเป็นการเดินทางที่ยาวไกล  และแทบหมดแรง  แต่หน่วยทั้งสองก็บรรจบกันได้ที่สบเนา  (Sop Nao)    แต่ในขากลับอาจจะถูกฝ่ายเวียดมินห์ซุ่มโจมตีได้  จึงต้องหลีกเลียงด้วยการเปลี่ยนเส้นทาง    แม้ว่าจะยากลำบากกว่า  แต่ก็  .  .  .  ปลอดภัยกว่า   

 

           ปฏิบัติการนี้  มีความมุ่งหมายที่จะพิสูจน์ว่า  ค่ายเดียนเบียนฟูมีเสรีในการปฏิบัติ  และหน่วยในค่ายก็สามารถปฏิบัติการหรือเคลื่อนย้ายไปได้ทุกแห่ง ทุกเวลาตามต้องการ

 

 

 ๒๒  ธันวาคม   

 

 

          ฝ่ายฝรั่งเศสได้เคลื่อนย้าย  รถถังเบา  แบบ เอ็ม ๒๔   (M 24 - Schaffee)  จำนวน  ๖ คัน  สู่เดียนเบียนฟู  โดยการถอดแยกชิ้นส่วนลำเลียงทางอากาศนำไปประกอบในพื้นที่

 

 

 

 

 

 

         

 

 

 

 

 รถถังเบา  แบบ เอ็ม ๒๔ เอ็ม ๒๔   (M 24 - Schaffee)

 

 ๒๕  ธันวาคม   

          พันเอก  ชาร์ลส  ปิโรธ์  ผู้บังคับทหารปืนใหญ่ฝรั่งเศสที่เดียนเบียนฟู  พบว่า  ปืนใหญ่ขนาด  ๑๐๕  มิลลิเมตร  จำนวน  ๒๕ กระบอก    ปืนใหญ่ขนาด  ๑๕๕  มิลลิเมตร  จำนวน  ๔ กระบอก    และเครื่องยิงลูกระเบิดขนาด  ๑๒๐ มิลลิเมตร  จำนวน  ๑๖ เครื่อง  ใช้การไม่ได้  แต่ก็ยังมั่นใจว่าฝ่ายเวียดมินห์ไม่สามารถเคลื่อนย้ายปืนใหญ่เข้ามาใช้ในสนามรบที่เดียนเบียนฟูได้

 

          พันเอก  ชาร์ลส  ปิโรธ์  ผู้บังคับทหารปืนใหญ่ที่เดียนเบียนฟูวางแผนการใช้ปืนใหญ่ในการสนับสนุนทหารฝรั่งเศสเมื่อทำการรุกออกนอกบริเวณตั้งรับ  และสนับสนุนการตั้งรับเท่านั้น  ไม่ได้วางแผนการยิงต่อต้านปืนใหญ่ไว้เลย  เพราะมั่นใจว่าฝ่ายเวียดมินห์ไม่สามารถเคลื่อนย้ายปืนใหญ่เข้ามาใช้ในสนามรบที่เดียนเบียนฟูได้

 

กองพลเวียดมินห์ยังมีมาอีก

๒๔ - ๒๘  ธันวาคม   

          กองพลที่ ๓๐๘  กองพลที่ ๓๑๒  และกองพลที่ ๓๕๑  (กองพลทหารปืนใหญ่)  เข้าที่ตั้ง  

 

          ในเดือนธันวาคม  ๒๔๙๖    ค่ายที่เดียนเบียนฟูเป็นพื้นที่ซึ่งมีการก่อสร้างอย่างมโหฬาร  มีการสร้างเพิ่มเติมตามคำแนะนำอย่างต่อเนื่องเพื่อจะให้ดีขึ้น    นักรบ แปรสภาพเป็น  คนตัดไม้  เป็นนักขุดคูติดต่อ  สนามเพลาะในที่ตั้ง  และ  ทำลายป่า  ถากถางพุ่มไม้  ปรับพื้นที่ให้ราบเสมอกัน  วางลวดหนามหีบเพลง  สร้างเครื่องกีดขวางต่างๆ  และเสริมให้แข็งแรง    การเสริมสร้างความมั่นคงดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง ไม่มีการหยุดยั้ง    อากาศยานขึ้น ลงขวักไขว่จนท้องฟ้าเหนือเดียนเบียนฟูแทบจะเป็นเวทีแสดงอากาศยานทีเดียว

 

          เมื่อเวลาผ่านไป    สถานการณ์ของค่ายที่เดียนเบียนฟูก็เปลี่ยนไป    ชีวิตในค่ายดีขึ้นเป็นลำดับ    แต่ก็มีงานด้านยุทธการที่ต้องคิด  และปฏิบัติควบคู่กันไปด้วยได้แก่
 
          ๑. การจัด  การเตรียมการเพิ่มเติมกำลัง  และการจัดวางหน่วยไว้ที่ศูนย์การต้านทานที่แบ่งเป็นส่วนย่อยๆ   (ดังจะได้กล่าวต่อไป)

          ๒. การจัดการลาดตระเวนรอบค่าย เพื่อค้นหาและกำหนดที่ตั้งฝ่ายเวียดมินห์  เพื่อประเมินค่าหน่วย (เวียดมินห์) ในเรื่องกำลัง  จิตใจในการรุกรบและ พิสูจน์ทราบหน่วย    ซึ่งการลาดตระเวนนี้เริ่มปะทะกับฝ่ายเวียดมินห์

           ครับ  .  .  .  ตั้งแต่ฝรั่งเศสเริ่มส่งกำลังลงที่เดียนเบียนฟู  ตามแผนยุทธการคาสเตอร์  เมื่อ  ๒๐  พฤศจิกายน  ถึง  สิ้นเดือนธันวาคม  ๒๔๙๖    นับเวลาได้  ๔๒ วัน    ต่างฝ่ายต่างก็เตรียมสนามรบตามขีดความสามารถ  และศักยภาพของตน    ต่างฝ่ายต่าง  รอ  .  .  .  รอ  .  .  .  และ  รอ

 

 

               ฝ่ายเวียดมินห์  .  .  .  รอโจมตีและรุกอย่างมั่นใจ

               ฝ่ายฝรั่งเศส  .  .  .  รอให้ฝ่ายเวียดมินห์เข้าตี  เพื่อจะทำลายเสียด้วยความชำนาญ

 

          เป็นเรื่องที่น่าติดตาม    และขอเชิญติดตามสถานการณ์ต่อไปใน  ยึดเดียนเบียนฟู (๒)   "it is impregnable" - "It is Verdun!"   ครับ  

       

 

สถานการณ์ต่อไป  .  .  .  ยึดเดียนเบียนฟู (๒)  "it is impregnable" - "It is Verdun!"

สถานการณ์ต่อไป  .  .  .  ยึดเดียนเบียนฟู (๒)  "it is impregnable" - "It is Verdun!"

สถานการณ์ต่อไป  .  .  .  ยึดเดียนเบียนฟู (๒)  "it is impregnable" - "It is Verdun!"

  

 

 

 

 




บทความจากสมาชิก




แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.
| WW II Europe | WW II Asia | WW I | Vietnam War | ประวัติศาสตร์ไทย | บทความจากสมาชิก | คุยกันหลังฉาก | บทความทั้งหมด |

สนใจร่วมเขียนบทความในเว็บไซต์ เชิญอ่าน แนวทางการร่วมเขียนบทความ ภาพยนตร์ประวัติศาสตร์

Custom Search



eXTReMe Tracker