dot
dot
เว็บภาพยนตร์ประวัติศาสตร์ ยินดีต้อนรับผู้สนใจทุกท่าน
dot
dot
สมาชิก Webboard/Blog
ชื่อผู้ใช้ :
รหัสผ่าน :
เข้าสู่ระบบอัตโนมัติ :
bullet ลืมรหัสผ่าน
dot
bulletข้อตกลงการเป็นสมาชิก
bulletเว็บบอร์ด-คุยกันหลังฉาก
bulletเว็บบอร์ด-Games ย้อนยุค
bulletเว็บบอร์ด-ชุดจำลองประวัติศาสตร์
bulletเว็บบอร์ด-หนังสือประวัติศาสตร์
bulletเว็บบอร์ด-เพลงประวัติศาสตร์
bulletคำถาม/คำตอบ ล่าสุด
bulletแนวทางการร่วมเขียนบทความ
dot
สงครามโลกครั้งที่ 2
dot
bulletสมรภูมิยุโรป (สัมพันธมิตรVSเยอรมัน-อิตาลี)
bulletสมรภูมิแปซิฟิก-เอเชีย (สัมพันธมิตรVSญี่ปุ่น)
dot
ภาพยนตร์ประวัติศาสตร์อื่นๆ
dot
bulletสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง
bulletประวัติศาสตร์ไทย
bulletประวัติศาสตร์อเมริกันยุคเริ่มแรก
bulletสงครามเวียดนามและอินโดจีน
bulletตะวันตกโบราณ (กรีก โรมัน ฯลฯ)
bulletประวัติศาสตร์ร่วมสมัย
bulletเอเชียโบราณ
bulletประวัติศาสตร์อื่นๆ (ยังไม่แยกหมวดหมู่)
bulletคลิปความรู้จาก YouTube
dot
บทความโดย วิวันดา
dot
bulletฮิตเล่อร์...และเหล่าขุนพลแห่งอาณาจักรไรค์ซที่สาม
bulletลอดลายรั้ว.....วินด์เซอร์
bulletเลิศเลอวงศา...โรมานอฟ
bulletเชลย
bulletซูคอฟ...ยอดขุนพลผู้ดับฝันของฮิตเล่อร์
dot
บทความโดย สัมพันธ์
dot
bulletคนไทยในกองทัพพระราชอาณาจักรลาว
bulletประวัติศาสตร์สงคราม กรีก
bulletกรณีพิพาทอินโดจีนและสงครามมหาเอเชียบูรพา
bulletอยุธยายศล่มแล้ว ลอยสวรรค์ ลงฤา
bulletฮานนิบาล
bulletพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบรมวงศานุวงศ์
bulletไทยกับมหาสงคราม
bulletสงครามเวียดนาม
bulletห้วยโก๋น ๒๕๑๘
bulletการทัพในมลายา
bulletประวัติศาสตร์อื่น ๆ
dot
เรื่องอื่นๆ
dot
bulletบทความเสริมความรู้ทั่วไป
bulletเกร็ดเล็กเกร็ดน้อย
bulletผู้จัดทำ
bulletผังเว็บไซต์ (Site Map)
bulletแนวทางการร่วมเขียนบทความ
bulletถาม-ตอบ (FAQs) (โปรดอ่านก่อนตั้งกระทู้หรือสมัครสมาชิก)
bulletร้านค้าออนไลน์
bulletแบ่งปัน Album
dot
ลิงค์ต่างๆ
dot
bulletHistory on Film
bulletกองบิน 21 กองพลบิน 2
bulletIELTS British Council
bulletIELTS IDP
bulletMUIC




โหราศาสตร์ยุคไอที



สงครามฝรั่งเศส - เวียดมินห์ (๑๒) - ๕๗ วันใน . . . เดียน เบียน ฟู (๒) - เกเบรียล ๑๔ มีนาคม ๒๔๙๗
วันที่ 16/02/2020   20:43:42

*  *  *

สงครามฝรั่งเศส - เวียดมินห์ (๑๒)  -  ๕๗ วันใน  .  .  .  เดียน  เบียน  ฟู (๒) - เกเบรียล    ๑๔  มีนาคม  ๒๔๙๗ 
     
 

สถานการณ์เดิม  .  .  .  จาก  เวียดมินห์ (๑๑)  -  ๕๗ วันใน  .  .  .  เดียน เบียน ฟู (๑)

 

 

 

สถานการณ์ที่เดียนเบียนฟู     ๑๒  มีนาคม  ๒๔๙๗   (เฉพาะที่มั่นเขตเหนือ และที่มั่นเขตกลาง)   

 

          ๑๓  มีนาคม  ๒๔๙๗    เวียดมินห์เริ่มโจมตี   ที่มั่นต้านทานบีทริซ  ที่มั่นต้านทานแห่งแรกบนเส้นทางสาย อาร์พี ๔๑

          ๑๔  มีนาคม  ๒๔๙๗    เวลาประมาณ  ๐๐๑๕    ที่มั่นตั้งรับบีทริซไม่สามารถต้านทานได้    ฝ่ายเวียดมินห์เข้ายึดได้ทั้งหมด   

          ฝรั่งเศสส่งกองหนุนตีโต้ตอบ    แต่ไม่ได้ผล       ที่มั่นบีทริซ    ก็  .  .  .

 

การตีโต้ตอบครั้งที่ ๒ 

          พันเอก  เดอ คาสตรีส์ และฝ่ายอำนวยการ  ต้องประมาณสถานการณ์ว่า  จะตีโต้ตอบgrnjvยึดที่มั่นบีทริซคืนมา    หรือจะสงวนกำลังไว้รับการเข้าตีระลอกต่อไปของเวียดมินห์     และ  .  .  .  ทุกคนต่างก็รู้ว่าที่หมายต่อไปของเวียดมินห์คือ  .  .  .  เกเบรียล

          ฝ่ายฝรั่งเศสเลือก   เตรียมป้องกันเกเบรียล  .  .  .      

 

สถานการณ์ต่อไป  .  .  .

 

เกเบรียล  ที่มั่นด้านเหนือสุด - ที่มั่นดัดแปลงแข็งแรงที่สุด  .  .  .  ในเดียนเบียนฟู

๑๔  มีนาคม  ๒๔๙๗  (ค.ศ.๑๙๕๔)

เตรียมรับมือ                                                  

          ที่มั่นเกเบรียล เป็นที่มั่นตั้งรับที่มีการดัดแปลงที่เรียกได้ว่าแข็งแรงที่สุดในบรรดาที่มั่นดัดแปลงแข็งแรงของแนวตั้งรับหลักทั้ง   ๙ แห่ง    แข็งแรงมากจนกระทั่งผู้บังคับหน่วยปืนใหญ่ที่เดียนเบียนฟูกล่าวว่า   ไม่มีทางที่ปืนใหญ่ฝ่ายเวียดมินห์จะทำลายที่มั่นเกเบรียลได้   

           กองพันที่  ๕  กรมทหารราบที่  ๗  อัลจีเรีย  (ร.๗  พัน.๕ อจ. - 5th Battalion 7th Algerian  Rifles)    เป็นหน่วยรับผิดชอบที่มั่นเกเบรียล    พันตรี  เดอ แมคควีเนม  (De Mecquenem)  เป็นผู้บังคับกองพัน    ได้ตรวจความพร้อมรบของกำลังพล เพื่อเตรียมรับมือฝ่ายเวียดมินห์  ที่คาดว่าจะเข้าตีในคืนนี้    ได้เตรียมการดังนี้

           พันตรี  เดอ  แมคควีเนม  และ พันตรี  กาห์  (Kah)  ผู้ที่มาผลัดเปลี่ยนตำแหน่ง ได้ประสานกับนายทหารติดต่อปืนใหญ่  (นตต.ป.สนาม)  ในเรื่องเส้นทางที่ฝ่ายเวียดมินห์น่าที่จะใช้เป็นเส้นทางเข้าตี   และให้ทำบัญชีเป้าหมายไว้ล่วงหน้าเพื่อความสะดวก และรวดเร็วในการขอปืนใหญ่ยิงสนับสนุน   

          การส่งกำลังอาวุธกระสุน  และเสบียงอาหาร  ก็ได้ร้องขอไปยังหน่วยเหนือก็ได้รับอาวุธกระสุน  และเสบียงอาหารเพิ่มเติมให้สามารถทำการรบได้ถึง  ๔ วันต่อเนื่อง       

          พันตรี  เดอ แมคควีเนม   และ พันตรี  กาห์  ได้สั่งการแจกจ่ายอาหารร้อน   และ ปริมาณมากให้กับกำลังพลในที่มั่นเกเบรียล    ส่วนนายทหารก็รับประทานอาหารร่วมกัน  (น่าจะเป็นการต้อนรับ และให้ข่าวสารแก่  พันตรี  กาห์  ซึ่งมารับตำแหน่งต่อจาก พันตรี  เดอ แมคควีเนม)    และยังร้องขอให้หน่วยเหนือจัดเตรียมเครื่องบิน  C - 47  ดาโกต้า   สำหรับปล่อยพลุส่องแสงเพื่อส่องสว่างสนามรบในเวลากลางคืน  ได้ทันทีเมื่อร้องขอ    และกำหนดที่บังคับการสำรองไว้   ในกรณีที่ที่บังคับการหลักไม่สามารถใช้อำนวยการรบได้   (เช่นที่บีทรีซ)

          เวลาประมาณ  ๑๕๐๐    ได้อพยพผู้ที่ไม่เกี่ยวข้องออกจากที่มั่นเกเบรียล 

 

          ครับ  .  .  .  นับว่าผู้บังคับบัญชาที่ที่มั่นเกเบรียลได้เตรียมการสู้รบอย่างรอบคอบเหมือนกันนะครับ

 

            เวลา  ๑๘๐๐    ฝ่ายเวียดมินห์ก็เริ่มโจมตีที่มั่นเกเบรียลด้วยอาวุธหนัก  ทั้งปืนใหญ่ขนาด  ๑๐๕ มิลลิเมตร และ เครื่องยิงลูกระเบิดขนาด  ๑๒๐  มม.

 

 

           เวลา  ๒๐๐๐    กรมที่  ๘๘  และกรมที่  ๑๐๒  กองพลที่  ๓๐๘  เริ่มเข้าตี  

          คลังเก็บกระสุนของกองร้อยที่ ๔  ได้ยุบตัวลง 

     แม้ว่าที่มั่นเกเบรียลจะมีความแข็งแรงสามารถทนทานต่อการโจมตีจากปืนใหญ่ได้ก็ตาม   แต่เมื่อถูกระดมยิงอย่างหนักและเป็นเวลานานถึง  ๔ ชั่วโมง  ก็ไม่สามารถทานทนได้    

          และ ไม่ปรากฏหลักฐานว่าเครื่องบินส่องสว่างสนามรบมาสนับสนุนให้ตามที่ได้ประสานไว้หรือไม่       
 
          เวลา  ๒๒๐๐   ที่บังคับการกองร้อยที่ ๔  (4 th.Co.)  ถูกทำลาย    ร้อยโท  โมรู  (Lt. Moreau)  ผู้บังคับกองร้อย  เสียชีวิตในที่บังคับการ    (ภรรยาของ ร้อยโท  โมรู  เพิ่งเดินทางมาถึงฮานอยก่อนหน้านี้เพียงไม่กี่วันในฐานะสมาชิกคนหนึ่งของ  French Women's Army Corps)

          นอกจากนี้  เครื่องยิงลูกระเบิดขนาด  ๘๑ มิลลิเมตร  (81 mm. Mortars)  จำนวน  ๒ เครื่อง ได้ถูกทำลาย   และ เครื่องยิงลูกระเบิดขนาด  ๑๒๐ มิลลิเมตร  (120 mm. Mortars) ซึ่ง กรมที่  ๕  ต่างด้าว  จัดมาสนับสนุนภายใต้การควบคุมของ ร้อยโท  เคลิร์จ  (Lt. Clerge)  ก็ถูกยิงอย่างหนัก    ร้อยโท  เคลิร์จ  ได้พบว่าวิทยุสื่อสารของตนถูกทำลาย จึงได้วิ่งไปที่โรงอาหาร  (Mess)  เพื่อใช้วิทยุร้องขอปืนใหญ่สนับสนุนเพิ่มเติม

          การเข้าตีครั้งนี้  เวียดมินห์ไม่ได้ใช้คลื่นมนุษย์อย่างครั้งที่เข้าตีที่มั่นบีทรีซ    เมื่อกองบังคับการของกองร้อยที่ ๔  ถูกทำลายลง   ทหารกรมที่  ๘๘  และ  กรมที่ ๑๐๒  กองพล  ๓๐๘  ก็ค่อย ๆ  คลานเข้าไปใกล้ที่มั่นเกเบรียล     เมื่อรวมกำลังได้มากประมาณอัตราส่วน  ๘:๑   (หลักนิยมของสหรัฐฯ จะกำหนดว่าฝ่ายตั้งรับสามารถต้านทานกำลังที่เข้าตีได้   ๑:๓)   ก็เริ่มตีเจาะเข้าไปในพื้นที่การรบหลัก
 
 

 

ภาพแสดงการเข้าตีของฝ่ายเวียดมินห์ต่อที่มั่นต้านทานเกเบรียล ใน  ๑๔  มีนาคม  ๒๔๙๗

 

ภาพจากหนังสือ Hell in a very Small Place: The siege of Dien Bien Phu

 

            พันตรี  เดอ แมคควีเนม  และ พันตรี  กาห์  (ผู้บังคับกองพันท่านเดิม และท่านใหม่)  จึงพิจารณาและตัดสินใจร่วมกันใช้กำลังกองหนุน  (ของกองพัน)  จำนวน   ๒  หมวด  (ประมาณ  ๘๐ - ๑๐๐  นาย)  เข้าตีโต้ตอบ  

          กองหนุนก็ไปรวมกับกำลังพล ร้อย.๔  ส่วนที่เหลือ  และตีโต้ตอบกำลังเวียดมินห์ที่เจาะเข้ามา  ปืนใหญ่ของฝรั่งเศสก็ยิงสนับสนุนอย่างหนัก  ซึ่งได้สร้างความเสียหายอย่างหนักให้กับกำลังเข้าตีหลักของเวียดมินห์

 

๑๕  มีนาคม  ๒๔๙๗ 

          เวลา  ๐๒๓๐    ปืนใหญ่ของเวียดมินห์ก็หยุดยิงชั่วคราว

           ฝ่ายเวียดมินห์สามารถยึดด้านตะวันออกเฉียงเหนือไว้ได้   (ยึดกันคนละซีกเนิน - ?)

          หลังจากเวลา  ๐๒๓๐    เมื่อฝ่ายเวียดมินห์ได้ทำการหยุดยิงปืนใหญ่ลงบริเวณที่มั่นเกเบรียล  พันตรี  เดอ แมคควีเนม ได้รายงานความสูญเสียขั้นต้นกับ  พันเอก  เดอ คาสตรีส์  ผู้บังคับค่ายเดียนเบียนฟู   และได้ส่งมอบหน้าที่ ผู้บังคับกองพันให้กับ พันตรี  กาห์   ผู้ซึ่งมารับหน้าที่ใหม่   

          เวลา  ๐๓๐๐    ปืนใหญ่ฝ่ายเวียดมินห์เริ่มยิงอีกครั้ง   และเข้าตีในระลอกที่สอง    กำลังฝ่ายเวียดมินห์ก็สามารถเจาะผ่านแนวเดิม คือบริเวณ กองร้อยที่ ๔  (4 th.Co.)   และได้ตีผ่านเลยไปยัง พื้นที่ตั้งรับของ กองร้อยที่ ๑  (1st.Co.)  และ ที่บังคับการกองพันที่ ๕  กรมทหารราบที่  ๗   อัลจีเรีย  (ทก.ร.๗ พัน.๕ อจ.  Bn.Cp. - Battalion Command post)   (ดูภาพประกอบจะเห็นชัดขึ้นครับ) 
  
          ทางกองร้อยที่ ๑  ได้ต้านทานอย่างเหนียวแน่นด้วยปืนกลทำให้กำลังฝ่ายเวียดมินห์ ไม่สามารถรุกคืบหน้าไปได้     ฟาม วัน ถาย   (Pham Van Tuy)   ทหารเวียดมินห์นายหนึ่งตัดสินใจลากปืนไร้แรงสะท้อนถอยหลัง  (ปรส.) ขนาด  ๗๕  มม.ลากจูง  เข้าไปใกล้บริเวณรังปืนกล ในระยะ  ๑๕๐ หลา และ  ยิงปืนกล  ๓ แห่ง   เป็นผลให้ เสียงปืนกลสงบลง     (จากการปฏิบัติในครั้งนี้ ฟาม วัน ถาย ได้รับเหรียญ  Combat Star  ชั้นที่  ๑  และ ชั้นที่  ๓)  

             ทางกองร้อยที่ ๑   เมื่อปืนกลถูกทำลายเสียแล้ว ก็เริ่มเสียเปรียบ  ประกอบกำลังพลได้รับบาดเจ็บ และเสียชีวิตจำนวนมาก  เหลือกำลังที่พอจะสู้รบได้เพียง  ๒ หมวด    ทางตอนเหนือ  ภายใต้การบังคับบัญชาของ  สิบเอก  นูร์ดดีน  (Sgt. Nourddine)  และ  สิบเอก  แอบเดอราห์มาน  (Sgt. Abderrahman)  
 

           หลังจากที่รังปืนกลบริเวณกองร้อยที่ ๑  ถูกทำลายลง     ที่บริเวณที่บังคับการกองพัน   ที่ตั้งยิง เครื่องยิงลูกระเบิด ขนาด  ๘๑ มม. และ เครื่องยิงลูกระเบิดขนาด  ๑๒๐ มม.  ก็ถูกปืนใหญ่ฝ่ายเวียดมินห์ยิงทำลาย     ทางพันตรี  เดอ แมคควีเนม   ผู้บังคับกองพันท่านเก่าซึ่งนอนพักอยู่ในที่พัก  บริเวณที่บังคับการกองพัน ได้ตื่นขึ้น   และได้วิทยุติดต่อไปยัง พันเอก  เดอ คาสตรีส์   ร้องขอปืนใหญ่ ให้ช่วยยิงสนับสนุน และ ร้องขอรถถังเพื่อตีโต้ตอบ    จากนั้น   ก็เข้าไปในที่บังคับการกองพันเพื่อช่วย  พันตรี  กาห์  ผู้บังคับกองพันปัจจุบัน และฝ่ายอำนวยการของกองพันอำนวยการรบต่อไป

          แต่  .  .  .  กระสุนปืนใหญ่ได้ตกลงยังที่บังคับการกองพันทำให้ พันตรี  กาห์  ผู้เพิ่งมารับตำแหน่งผู้บังคับกองพันขาขาดทันที   ๑ ข้าง    (ต่อมาถูกจับเป็นเชลย  และเสียชีวิตเมื่อวันที่  ๒๗  มีนาคม     ด้วยฝีมือทหารเวียดมินห์)    พันตรี  เดอ แมคควีเนม    หมดสติจากแรงระเบิด   ฝ่ายอำนวยการที่เหลือต่างก็บาดเจ็บสาหัส     และชุดวิทยุสื่อสารก็ถูกทำลาย

          ครับ  .  .  .  ที่มั่นเกเบรียล  ไม่มีผู้บังคับกองพัน  ไม่มีฝ่ายอำนวยการที่จะอำนวยการรบแทนผู้บังคับบัญชา  ไม่มีเครื่องมือสื่อสารที่จะติดต่อใคร หรือที่มั่นใดได้เลย 

          เวลา  ๐๕๐๐    ฝ่ายเวียดมินห์ก็สามารถรุกเข้าบดขยี้   ที่มั่นเกเบรียลได้   

          ร้อยเอก  เยนเดอร์  (Capt. Gendre) ผู้บังคับกองร้อยที่ ๓  (3 rd.Co.)    ต้องทำการแทน ผู้บังคับกองพันต่อไป  ตั้งแต่บัดนั้น  (เวลาประมาณ  ๐๕๐๐)    และร้อยโท  เคลิร์จ  ผู้บังคับกองร้อยเครื่องยิงลูกระเบิด ที่รอดชีวิตจากการโจมตีครั้งแรกต้องทำหน้าที่ นายทหารติดต่อปืนใหญ่สนาม แทน ร้อยโท  คอลิน  (Lt. Colin)  ที่ได้รับบาดเจ็บ   ได้ร้องขอกองหนุนจากหน่วยเหนือเพื่อตีโต้ตอบ 

          หน่วยเหนือรับว่า  จะส่งกำลังกองหนุนมาช่วยแก้สถานการณ์ พร้อมด้วยรถถัง และสั่งการให้ กำลังพลที่อยู่ที่ที่มั่นเกเบรียล ทำการต้านทานให้นานที่สุด ไม่ว่าจะสูญเสียมากแค่ไหนก็ตาม

          เวลา  ๐๕๓๐     พันตรี  เซอแกง - ปาซ์ซีส์  (Seguin - Pazzis)  ได้นำกองหนุนเคลื่อนย้ายจากส่วนกลางของเดียนเบียนฟู 

          เวลา  ๐๗๐๐    กองหนุนเคลื่อนที่มาถึง  Ban ke Phai   ทางใต้ห่างจากที่มั่นเกเบรียล เพียงเล็กน้อย   ก็ถูกระดมยิงด้วยปืนใหญ่จากฝ่ายเวียดมินห์อย่างหนัก  ไม่สามารถเข้าแก้สถานการณ์ให้เกเบรียลได้   

ความหวังของเกเบรียล  .  .  .  ดูเลือนลางลงไป

 

 "จงเด็ดเดี่ยวมั่นคงที่จะรบ  และช่วงชิงชัยชนะ" 

          ว่ากันว่า ทหารที่เข้าตีที่มั่นเกเบรียล   ต่างก็ให้คำมั่นกับ โฮจิมินห์ ว่าจะตีเกเบรียลให้แตกให้จงได้   โฮจิมินห์ได้มอบธงสีแดงจารึกคำขวัญเป็นภาษาเวียดนาม ว่า 

"จงเด็ดเดี่ยวมั่นคงที่จะรบ  และช่วงชิงชัยชนะ"

 ๑๕  มีนาคม  ๒๔๙๗, ๐๗๐๐   

          สิบเอก  ตรัน ง็อก ดอน  (Tran Ngoc Doan)  อายุ  ๒๕  ปี สังกัด กรมที่  ๘๘  กองพลที่ ๓๐๘   ได้นำธงผืนนี้ปักเหนือที่มั่นเกเบรียล  บนที่บังคับการกองพัน  ของ พันตรี  เดอ แมคควีเนม     แต่ก่อนที่จะปักธงได้   ทหารใต้บังคับบัญชาของ สิบเอก  ตรัน ง็อก ดอน  ก็บาดเจ็บไป  ๔ นาย

 

 

 

 

 


   
 

"จงเด็ดเดี่ยวมั่นคงที่จะรบ  และช่วงชิงชัยชนะ"            เกเบรียล   ๑๕  มีนาคม  ๒๔๙๗, ๐๗๐๐

 

          เวลา  ๐๗๓๐  ปรากฏว่า กองหนุน  (ที่ตีโต้ตอบเมื่อคืน)  มีกำลังพลรอดชีวิตมาเพียง  ๗  นาย 

          สถานการณ์ทางด้านที่บังคับการกองพัน   

          เวลา  ๐๗๓๐   หลังจาก พันตรี  เดอ แมคควีเนม ได้สติ พยายามช่วย  พันตรี  กาห์  ซึ่งบาดเจ็บขาขาด    จึงตัดสินใจจะไปหาคนมาช่วย   ก่อนไปก็บอกกับ  พันตรี  กาห์ ว่าเขาจะไปที่บริเวณกองร้อยที่ ๒   เพื่อหาคนมาช่วย    จากนั้นเขาก็ออกวิ่งไปทางใต้  แต่วิ่งไปไม่ได้ไกลสักเท่าไหร่  ก็ถูกทหารเวียดมินห์ที่ซุ่มอยู่กระโดดตะครุบตัว และถูกจับเป็นเชลยศึกไป 

          ด้วยความสับสนจากการสั่งการของหน่วยเหนือ และระบบการติดต่อสื่อสาร  ทำให้เกิดความเข้าใจผิด    ร้อยเอก  เยนเดอร์  ผู้บังคับกองร้อยที่ ๓  ทำการแทนผู้บังคับกองพัน  จึงได้สั่งการให้ กำลังในที่มั่นเกเบรียลถอนตัวจากที่มั่นเกเบรียลในเวลา  ๐๘๐๐   กำลังส่วนต่าง ๆ ก็เริ่มทะยอยถอนตัว ไปสมทบกับกองหนุนของพันตรี  เซอแกง - ปาซ์ซีส์    Seguin - Pazzis  ที่  Ban ke Phai 

          (กองหนุนของพันตรี  เซอแกง - ปาซ์ซีส์   มาถึง Ban ke Phai  ทางใต้ห่างจากที่มั่นเกเบรียล ก็ถูกระดมยิงด้วยปืนใหญ่จากฝ่ายเวียดมินห์อย่างหนัก  ไม่สามารถเข้าแก้สถานการณ์ให้เกเบรียลได้)   

          จากนั้นกำลังพลที่รอดชีวิตทั้งหมดก็เคลื่อนย้ายไปยังที่มั่นแอน - มารี  และที่มั่นฮิวโกต์

 

           พันเอก  เดอ คาสตรีส์ สั่งการให้โจมตีเพื่อยึดที่ที่มั่นเกเบรียลคืน    โดยทหารฝรั่งเศสภายใต้การนำของ พันเอก  ปิแอร์ แลงกลายส์  (Colonel Pierre Langlais)  กับกองพันทหารพลร่มที่  ๕  เวียดนาม  (5th Vietnamese Parachute battalion)  ที่เพิ่งโดดร่มลงมาในตอนกลางวันวันนั้น   เป็นหน่วยตีตอบโต้  แต่  .  .  .     

          การตีตอบโต้เป็นไปอย่างยากลำบากเพราะเวียดมินห์ใช้ปืนใหญ่ระดมยิงอย่างหนาแน่น    กำลังตีตอบโต้บางส่วนสามารถรุกไปถึงที่มั่นเกเบรียลได้   แต่ก็ถูกปืนใหญ่ของเวียดมินห์ยิงเสียจนเสียหายอย่างหนัก    ตีโต้ตอบ ไม่สำเร็จ 

 

ฝ่ายฝรั่งเศสพยายามแก้สถานการณ์

          ทางฝ่ายฝรั่งเศสนั้นมีความได้เปรียบในเรื่องของอาวุธยุทโธปกรณ์เป็นอย่างมาก    ในวันนั้น  (๑๕ - ๑๖  มีนาคม  )  ที่เดียนเบียนฟู   มีเครื่องบินรบจอดอยู่สองเครื่อง  (Savart Blue)  กำลังจอดซ่อมแซม  (น่าจะเป็นการซ่อมเล็กๆ  น้อยๆ)    สภาพอากาศที่เดียนเบียนฟู   ฐานเมฆอยู่ในระดับต่ำ   ทัศนวิสัยไม่ดี   นักบินก็ได้พยายามนำเครื่องขึ้น เพื่อไปสนับสนุนการรบที่ ที่มั่นเกเบรียล 

          เครื่องแรกขึ้นได้  ไปทิ้งระเบิดทางเหนือของสนามบินประมาณ  ๖.๕ กิโลเมตร  แต่ถูกปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยาน  ยิง   นักบินเสียชีวิตทันที     

          เครื่องที่สองทิ้งระเบิดทางเหนือของสนามบิน   ประมาณ  ๕  กิโลเมตร   รอดพ้นจากการยิงของ ปตอ.  แต่ขณะนำเครื่องร่อนลง  ได้ประสบอุบัติเหตุ  เพราะหอบังคับการบินถูกทำลาย    สนามบินชำรุดมาก   แต่นักบินก็สามารถรอดชีวิต

 

          ครับ  .  .  .  ฝ่ายฝรั่งเศสต้องเสียเกเบรียล  ที่มั่นในเดียนเบียนฟูด้านเหนือสุด - ที่มั่นดัดแปลงแข็งแรงที่สุด   ๑๕  มีนาคม  ๒๔๙๗  เวลา  ๐๘๐๐ 

 

           พันเอก  เดอ คัสตรีส์ รู้แล้วว่าแผนการป้องกันเดียนเบียนฟูล้มเหลว

          เมื่อฐานด้านเหนือถูกยึด  พันเอก  เดอ คัสตรีส์ ปลีกตัวอยู่แต่ในบังเกอร์ ไม่ยอมออกมาบัญชาการรบ 

 

            ฝรั่งเศสสูญเสียที่มั่นบีทรีซ และที่มั่นเกเบรียล  ไปพร้อมด้วยความเสียหายอย่างหนักของทั้งสองฝ่าย

 

ความสูญเสีย

          ฝรั่งเศส    (กองพันที่ ๕  กรมทหารราบที่  ๗   อัลจีเรีย)      

               เสียชีวิต    ๘๐ นาย

               บาดเจ็บ    ไม่มีข้อมูลที่ชัดเจน           

               ถูกจับเป็นเชลยศึก  และสูญหายจากการรบ    ประมาณ  ๑,๐๐๐    รวมทั้งผู้บังคับกองพันทั้งคนเก่าและใหม่ถูกจับเป็นเชลยศึก

                                    รวมสูญเสียทั้งสิ้น กว่า  ๑,๐๐๐  นาย

 

          เวียดมินห์    (กองพลที่  ๓๐๘)                           

               เสียชีวิต    ประมาณ   ๑,๐๐๐  นาย

               บาดเจ็บ    ประมาณ  ๑,๐๐๐ - ๒,๐๐๐  นาย 

 

หลังการสูญเสียที่มั่นเกเบรียล

           เมื่อฝ่ายฝรั่งเศสสูญเสียที่มั่นเกเบรียล ผู้บังคับบัญชาในทุกระดับชั้นของฝรั่งเศสตื่นตระหนกอีกครั้ง 

           จากการดักฟังวิทยุฝ่ายเวียดมินห์     ฝรั่งเศสได้ทราบความว่า นายพล เกี๊ยบ ได้สั่งการให้เสริมกำลังอย่างเร่งด่วนให้กับ  กรมที่  ๘๘  และ กรมที่  ๑๐๒  กองพลที่  ๓๐๘   พร้อมทั้งส่งกำลังอาวุธ - กระสุน เพิ่มเติมให้อย่างต่อเนื่อง

 

          สถานการณ์ที่เดียนเบียนฟูเริ่มเลวร้ายลงทุกขณะ    นายพล  เรอเน่  โคญี    ผู้บัญชาการแคว้นตังเกี๋ย    กล่าวกับฝ่ายเสนาธิการ และนักหนังสือพิมพ์ที่ไปทำข่าวในอินโดจีนว่า  

          ผมเคยบอกกับ พลเอก   นาแวร์   ว่าที่เดียนเบียนฟูไม่มีอะไร แต่ตอนนี้มันไม่ใช่   มันเป็นกับดักหนูชัด ๆ เลย

         นอกจากนี้ นายพล โคญี  รายงานกองบัญชาการกองทัพบกที่ฝรั่งเศสว่า  

          การรบที่เดียนเบียนฟูยังคงมีต่อไปเรื่อย ๆ   เพราะการรบที่ผ่านมาเป็นเพียงแค่เริ่มต้น     เป็นการเริ่มต้นที่สร้างความสูญเสียอย่างหนักต่อกองกำลังทั้งสองฝ่าย   และเป็นการบั่นทอนขวัญและกำลังใจของกองกำลังฝรั่งเศสให้ตกต่ำลงไปทุกขณะ 

 

๑๖  มีนาคม  ๒๔๙๗

            เวลา  ๐๑๐๙    ฝ่ายเวียดมินห์ใช้ปืนใหญ่โจมตีที่มั่นตั้งรับและสนามบินอย่างหนัก    ฝรั่งเศสตอบโต้ด้วยการโจมตีทางอากาศอย่างหนัก ต่อที่ตั้งยิงปืนใหญ่ฝ่ายเวียดมินห์ซึ่งมี ปตอ.คุ้มกัน   ทำให้เครื่องบินถูกยิงเสียหายหลายลำ

          แม้ว่าจะเป็นฤดูร้อน  แต่เป็นช่วงที่มีฝน    และในเวลาเช้า  ความชื้นในอากาศสูง    เมื่อฝ่ายฝรั่งเศสใช้ระเบิดนาปาล์ม  จึงเกิดควันอย่างหนาแน่น  ทำให้จำกัดการตรวจการณ์ของฝ่ายฝรั่งเศส  และกลับเป็นฉากกำบังอย่างดีให้ฝ่ายเวียดมินห์

          ทางเดียนเบียนฟูได้ร้องขอการเพิ่มเติมกำลัง ให้กับกองร้อยปืนใหญ่สนาม เนื่องจาก ปืนใหญ่ขนาด  ๑๐๕ มม.  ชำรุดจนไม่สามารถใช้งานได้  จำนวน  ๕ กระบอก    นอกจากนี้   พลประจำปืนได้รับบาดเจ็บ จำนวน  ๘ นาย   จากการรบที่ผ่านมา  ๔๘ ชั่วโมง

          ทางเดียนเบียนฟูแจ้งกลับไปว่า พื้นที่ที่ใช้เป็นตำบลส่งลง   คือบริเวณสนามบินทางตอนใต้ของเดียนเบียนฟู 

 

ฝรั่งเศสเพิ่มเติมกำลัง

          เวลา  ๐๖๓๐    การเพิ่มเติมกำลังทางอากาศได้เริ่มขึ้น ตามลำดับความเร่งด่วนคือ  ชุดวิทยุสื่อสารและเสาอากาศ ย่านความถี่ VHF    ส่วนชิ้นส่วนซ่อมปืนใหญ่สนาม  กระสุนปืนใหญ่  กระสุนปืนประจำกาย  และอาหาร  ได้ถูกส่งยังตำบลส่งลงออคเทเวีย  ที่อยู่ทางบริเวณตะวันตกของอิสซาเบลล์

          เวลา  ๐๙๐๐     ฝ่ายเวียดมินห์เข้ายึดตำบลส่งลงออคเทเวียได้     ทางฝรั่งเศสก็ระดมยิงปืนใหญ่ลงยังออคเทเวียบ้าง

          เวลา  ๑๑๐๕  เครื่องบินได้ขนทหารเที่ยวแรกมาส่งลงยังเดียนเบียนฟู  ซึ่งเป็นกำลังพลจาก กองพันพลร่มที่  ๖  (พัน.พร.๖)  ภายใต้การบังคับบัญชาของ พันตรี  มาร์เซล  บิเกียร์ด  (Marcel Bigeard)    จำนวน  ๖๑๓ นาย  (เวียดนาม  ๓๓๒  นาย)    ตามมาด้วย กำลังจาก  กองพันพลร่มที่  ๑   (1st Foreign Legion Parachute: 1st BEP)   จำนวน  ๑๐๐  นาย  และพลประจำปืนใหญ่  ๓  กระบอก  จากกรมทหารปืนใหญ่สนามส่งทางอากาศที่  ๓๕  (35th Airborne Artillery Rigiment: 35 RALP) 

          นับว่าเป็นความโชคดีของฝรั่งเศสที่มีหมอกปกคลุมทั่วเดียนเบียนฟู  ทำให้จำกัดการตรวจการณ์ของฝ่ายเวียดมินห์  จึงไม่สามารถทำการยิงปืนใหญ่ได้อย่างแม่นยำ   

          การส่งลงครั้งนี้ กำลังพลบาดเจ็บ  ๒ นายจากการกระโดดร่ม    และในการรบ   เสียชีวิต  ๑  นาย  และ  บาดเจ็บ  ๑  นาย 

 

ผู้บังคับทหารปืนใหญ่เดียนเบียนฟู

           ผู้บังคับทหารปืนใหญ่  พันเอก  ชาร์ลส พิโรท์    ผู้มีแขนข้างเดียว  (ไม่ทราบสาเหตุ -- ตั้งแต่ก่อนมาประจำที่เดียนเบียนฟู)  ซึ่งได้เคยกล่าวไว้ว่า   ไม่มีทางที่ ที่มั่นเกเบรียล  จะถูกทำลายลงด้วยปืนใหญ่ได้    แต่เมื่อการรบที่ที่มั่นเกเบรียลเกิดขึ้น    ปรากฏว่ากำลังปืนใหญ่ของท่านไม่สามารถยิงตัดรอนกำลังปืนใหญ่ฝ่ายเวียดมินห์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ    นอกจากนั้น  ปืนใหญ่ฝ่ายฝรั่งเศสยังเสียหายจากการรบอีกด้วย  คือ  ปืนใหญ่ขนาด  ๑๐๕ มม. พร้อมพลประจำปืนถูกทำลาย   ๒  กระบอก    ปืนใหญ่ขนาด  ๑๕๕ มม.  ๑ ใน ๔ กระบอกเสียหายจนใช้งานไม่ได้   กองร้อยเครื่องยิงลูกระเบิดหนัก   (ร้อย.ค.หนัก)  ละลายทั้งกองร้อย 

            พันเอก  พิโรท์    รู้สึกเป็นทุกข์  ตึงเครียดและกดดันอย่างหนัก      เดินไปตามที่บังคับการหน่วยต่าง ๆ ภายใต้การยิงของข้าศึก เพื่อไปขอโทษ ที่ไม่สามารถยิงคุ้มครองให้ได้    และได้ไปหา พันเอก  ตรังการ์ท  (Trancart)  เพื่อนสนิท  ผู้ซึ่งเป็น ผู้บังคับการค่ายเดียนเบียนฟูทางตอนเหนือด้วยสภาพที่อิดโรย และมีน้ำตาคลอเบ้า และพูดกับเพื่อนว่า    "ผมไม่มีเกียรติอะไรเหลืออีกแล้ว ผมรับปาก ผู้บังคับการค่าย   (พันเอก เดอ คาสตรีส์)  ว่าจะไม่มีปืนใหญ่ของใครสามารถแตะฐานที่มั่นของเราได้  มาถึงตอนนี้เรากำลังจะแพ้สงคราม  ผมไปล่ะ"

             จากคำบอกเล่าของ พันเอก  ตรังการ์ท    ได้เล่าว่า   พันเอก  พิโรท์   ก็เดินออกจากบังเกอร์ของ พันเอก  ตรังการ์ท  ผู้เพื่อนด้วยสภาพที่หมดอาลัยตายอยาก  เดินกลับไปยังที่พัก   และ  .  .  .  พิจารณาตนเอง

 

           พันเอก เดอ คาสตรีส์  เกรงว่ากำลังพลจะเสียขวัญหากได้ทราบข่าวนี้  จึงได้จัดการฝังศพ  พันเอก พิโรท์  และรายงาน   นายพล  นาแวร์ทางโทรเลขว่า   พันเอก พิโรท์ ได้หายไปพร้อมกับรถจี๊บ

 

            ในตอนบ่ายวันเดียวกัน พันเอก เดอ คาสตรีส์  ได้ส่งข้อความปลุกปลอบขวัญ  และกำลังใจไปยังทหารในเดียนเบียนฟู  ใจความสำคัญว่า  ทางเดียนเบียนฟูได้รับการเพิ่มเติมกำลัง และจะได้รับชัยชนะในการรบครั้งนี้

          กำลังที่ส่งลงยังเดียนเบียนฟูสามารถรวมกำลังได้ เวลา  ๑๖๓๐   และกระจายกำลังเข้าสู่พื้นที่ต่าง ๆ  คือ
 
          พัน.พร.๖  จัด  ๑  กองร้อยเคลื่อนย้ายไปยังบริเวณแอนน์ - มารี     และอีก  ๒  กองร้อย   เคลื่อนที่ข้ามแม่น้ำยวม ไปยัง  เอลีน ๑ และ ๔

 

 

 

  

 

         การเพิ่มเติมกำลังดำเนินไปจนถึงเวลา  ๑๘๕๘  จึงยุติลง    และ  .  .  .

 

ยามหมดผลนกพร้อม    พรากสิ้นบินหนี

ที่มั่นแอน - มารี    ทหารภูเขา  ถอนตัว
 
          เวลา  ๒๐๐๐   ทหารกองร้อยอาวุธเบาที่  ๑๒  กองพันที่  ๓  ทหารภูเขา  (T'ai  Mountaineer  -  ทหารภูเขา   เป็นทหารชาวพื้นเมืองที่ฝรั่งเศสเกณฑ์มา จากซอนลา   และ  เงียโล   ซึ่งอยู่ทางตอนเหนือของเวียดนาม)    ภายใต้การบังคับบัญชาของ ร้อยเอก  กิลเลมิโนท์  (Capt. Guilleminot)  ซึ่งประจำที่มั่นแอน - มารี ๓   (ทางตะวันออกเฉียงใต้ของที่มั่นแอน - มารี) ได้เริ่มถอนตัวจากที่มั่น  พร้อมกับปลดลวดหนาม และถอดชนวนกับระเบิด  ตามคำโฆษณาชวนเชื่อฝ่ายเวียดมินห์         

           ทางฝ่ายเวียดมินห์ได้ใช้การปฏิบัติการจิตวิทยาต่อกลุ่มทหารภูเขาว่า   ได้ควบคุมครอบครัวของทหารภูเขาไว้ และบอกทหารภูเขา  ว่าสงครามครั้งนี้ไม่ใช่ สงครามของทหารภูเขา  แล้วทหารภูเขาจะรบไปเพื่ออะไร   และยังบอกให้ทหารภูเขา เปิดทำลายเครื่องกีดขวางเพื่อเปิดทางให้ฝ่ายเวียดมินห์     การปฏิบัติการจิตวิทยานี้ได้กระทำล่วงหน้าก่อนที่จะเข้าตีประมาณหนึ่งสัปดาห์  และนับว่าได้ผล

            ในที่สุด    เมื่อบีทรีซ  และ เกเบรียลแตก  ทหารภูเขาเริ่มคล้อยตามการปฏิบัติการจิตวิทยาของฝ่ายเวียดมินห์  .  .  .  ถอนตัวไปจากที่มั่นแอน - มารี ๓

          คืนนี้  ก็เป็นคืนที่เงียบสงบที่ปราศจากการโจมตีของฝ่ายเวียดกงเพราะทัศนวิสัยไม่ดี  แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า การรบที่เดียนเบียนฟูจะสงบลง  .  .  .

 

          ขณะที่สถานการณ์ในเดียนเบียนฟูเลวร้าย   ผู้บังคับบัญชาฝ่ายฝรั่งเศสในกองบัญชาการที่ฮานอยก็พยายามแก้ไขสถานการณ์ที่เดียนเบียนฟู    

 

๑๗  มีนาคม

          นายพล โคญี  พยายามบินไปเดียนเบียนฟูเพื่อเข้าบัญชาการด้วยตนเอง    แต่เครื่องบินของเขาถูกปืนต่อสู้อากาศยานของเวียดมินห์ยิงจนไม่สามารถนำเครื่องลงได้    เมื่อเครื่องบินลงจอดไม่ได้ นายพล โคญี  คิดว่าจะโดดร่มลงไป    แต่ฝ่ายเสนาธิการพูดท้วงติงและให้เหตุผลว่า  คงไม่ดีแน่หากเวียดมินห์จับตัวนายพลฝรั่งเศสเป็นเชลยได้

 

 

 

เดียนเบียนฟู  ๑๓ - ๑๗  มีนาคม  ๒๔๙๗

 

 

          ผมมีข้อมูลเกี่ยวกับการใช้กระสุนปืนใหญ่ของฝ่ายฝรั่งเศส  ในช่วง  ๑๓ -๑๗  มีนาคม  ลองดูกันนะครับ

ช่วง  ๑๓ - ๑๗  มีนาคม    ฝ่ายฝรั่งเศสได้ใช้กระสุนปืนใหญ่เป็นจำนวนมาก ดังนี้

          กระสุนปืนใหญ่ขนาด  ๑๐๕ มิลลิเมตร    ยอดเดิม  ๒๖,๐๐๐ นัด    ใช้ไป    จำนวน  ๑๒,๐๐๐ นัด

         กระสุนปืนใหญ่ขนาด  ๑๕๕ มิลลิเมตร    ยอดเดิม   ไม่ทราบข้อมูล    ใช้ไป    จำนวน  ๓,๐๐๐ นัด           

          ลูกระเบิดยิง  ขนาด  ๑๒๐ มิลลิเมตร    ยอดเดิม  ๒๐,๐๐๐ ลูก    ใช้ไป  ๑๐,๐๐๐ ลูก

          การส่งสิ่งอุปกรณ์ต่าง ๆ  ไปยังเดียนเบียนฟู ก็เป็นปัญหา   เพราะว่า นอกจากอากาศยานที่ขนส่งไปจะถูกยิงด้วยปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยานแล้ว  หน่วยทางภาคพื้นต้องคุ้มครอง บริเวณตำบลส่งลง  และพื้นที่ร่อนลง  ซึ่งฝ่ายเวียดมินห์ยิงด้วยปืนใหญ่อยู่เสมอ    หากใช้วิธีทิ้งลง  (free fall)  หรือใช้ร่มจากระยะสูงมาก  สิ่งอุปกรณ์ต่าง ๆ  ที่ส่งลงมาอาจจะไปตกในเขตของเวียดมินห์  หรืออาจถูกฝ่ายเวียดมินห์ช่วงชิงเอาก็ได้    และความเร่งด่วนสูงสุดในการส่งกำลังเพิ่มเติม  ก็คือ  กระสุนปืนใหญ่ และกระสุนปืนเล็ก

          ก็นับว่า  ในสถานการณ์นี้  การส่งกำลังบำรุงมีข้อขัดข้องถึงระดับที่เป็นปัญหาต่อการรบ

 

แอนน์ - มารี
 
๑๘  มีนาคม  ๒๔๙๗ 

          กองพันที่  ๓  วางกำลังในที่มั่นด้านเหนือที่แอนน์ - มารี ๑  และ  ๒   ซึ่งคุ้มครองสนามบินและเส้นทางเข้าสู่เดียนเบียนฟู  ได้ถูกปืนใหญ่ระดมยิงอย่างหนัก  ต้องถอนตัว    ทำให้ฝ่ายฝรั่งเศสไม่สามารถใช้สนามบินได้    (กองพันทหารภูเขาบางส่วน ที่ แอนน์ - มารี ๓  ได้ถอนตัวไปก่อนแล้ว)

 

"หักด่าน"  .  .  .  อันการนี้มิทำก็จำทำ  ด้วยเป็นการจวนตัวอยู่

          สถานการณ์ฝ่ายฝรั่งเศสอยู่ในระดับเลวร้ายมาก    แต่จะอย่างไรก็ตามผู้บังคับบัญชาได้พิจารณาแล้วเห็นว่า  การเสี่ยงหักด่านตีฝ่าวงล้อมออกไปดูจะเป็นหนทางปฏิบัติที่เป็นไปได้มากที่สุด   จึงได้กำหนดแผนการหักด่านที่เดียนเบียนฟู  ใช้ชื่อรหัสคอนดอร์  (CONDOR)   

          ปรากฏว่า  ปฏิบัติการคอนดอร์  ออกไปเผชิญกับกองกำลังขนาดใหญ่ของฝ่ายเวียดมินห์  จึงต้องสูญเสียอย่างหนัก   

 

          ครับ  .  .  .  รบกันหนักมาหลายวันแล้ว    พักกันก่อนนะครับ  และติดตาม    สถานการณ์ต่อไป  .  .  .    แต่ก่อนจะถึง  สถานการณ์ต่อไป  ขอเชิญพบกับ  .  .  .

 

 

Command staff at Dien Bien Phu. Men facing death.

Heroes, every one of them.

 

          


 

Photo: Command staff at Dien Bien Phu. Men facing death.

From left:   

          - Maj. Maurice Guirad  (1st Bataillon Etranger de Parachutistes/ BEP),

          - Capt. Andre Botella  (5th Bataillon de Parachutistes Vietnamiens/ BPVN), 

           - Maj. Marcel Bigeard  (6th Bataillon de Parachutistes Colonial,

           - Capt. Pierre Tourret  (8th Assault),  

           - Lt.Col. Pierre C. Langlais, Commander at Dien Bien Phu (Groupement Aeroport 2)

           - Maj. Hubert de Seguin - Pazzis  (Chief of Staff).

 

Heroes, every one of them.

 

bearspace.baylor.edu/.http://widetalks.multiply.com/www/personal.htm

 

 


สถานการณ์ต่อไป  .  .  .  ๕๗ วันใน  .  .  .  เดียน  เบียน  ฟู (๓)ล่มสลาย  .  .  .  ไม่ยอมแพ้ 

สถานการณ์ต่อไป  .  .  .  ๕๗ วันใน  .  .  .  เดียน  เบียน  ฟู (๓)ล่มสลาย  .  .  .  ไม่ยอมแพ้ 

สถานการณ์ต่อไป  .  .  .  ๕๗ วันใน  .  .  .  เดียน  เบียน  ฟู (๓)ล่มสลาย  .  .  .  ไม่ยอมแพ้ 




บทความจากสมาชิก




แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.
| WW II Europe | WW II Asia | WW I | Vietnam War | ประวัติศาสตร์ไทย | บทความจากสมาชิก | คุยกันหลังฉาก | บทความทั้งหมด |

สนใจร่วมเขียนบทความในเว็บไซต์ เชิญอ่าน แนวทางการร่วมเขียนบทความ ภาพยนตร์ประวัติศาสตร์

Custom Search



eXTReMe Tracker