dot
dot
เว็บภาพยนตร์ประวัติศาสตร์ ยินดีต้อนรับผู้สนใจทุกท่าน
dot
dot
สมาชิก Webboard/Blog
ชื่อผู้ใช้ :
รหัสผ่าน :
เข้าสู่ระบบอัตโนมัติ :
bullet ลืมรหัสผ่าน
dot
bulletข้อตกลงการเป็นสมาชิก
bulletเว็บบอร์ด-คุยกันหลังฉาก
bulletเว็บบอร์ด-Games ย้อนยุค
bulletเว็บบอร์ด-ชุดจำลองประวัติศาสตร์
bulletเว็บบอร์ด-หนังสือประวัติศาสตร์
bulletเว็บบอร์ด-เพลงประวัติศาสตร์
bulletคำถาม/คำตอบ ล่าสุด
bulletแนวทางการร่วมเขียนบทความ
dot
สงครามโลกครั้งที่ 2
dot
bulletสมรภูมิยุโรป (สัมพันธมิตรVSเยอรมัน-อิตาลี)
bulletสมรภูมิแปซิฟิก-เอเชีย (สัมพันธมิตรVSญี่ปุ่น)
dot
ภาพยนตร์ประวัติศาสตร์อื่นๆ
dot
bulletสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง
bulletประวัติศาสตร์ไทย
bulletประวัติศาสตร์อเมริกันยุคเริ่มแรก
bulletสงครามเวียดนามและอินโดจีน
bulletตะวันตกโบราณ (กรีก โรมัน ฯลฯ)
bulletประวัติศาสตร์ร่วมสมัย
bulletเอเชียโบราณ
bulletประวัติศาสตร์อื่นๆ (ยังไม่แยกหมวดหมู่)
bulletคลิปความรู้จาก YouTube
dot
บทความโดย วิวันดา
dot
bulletฮิตเล่อร์...และเหล่าขุนพลแห่งอาณาจักรไรค์ซที่สาม
bulletลอดลายรั้ว.....วินด์เซอร์
bulletเลิศเลอวงศา...โรมานอฟ
bulletเชลย
bulletซูคอฟ...ยอดขุนพลผู้ดับฝันของฮิตเล่อร์
dot
บทความโดย สัมพันธ์
dot
bulletคนไทยในกองทัพพระราชอาณาจักรลาว
bulletประวัติศาสตร์สงคราม กรีก
bulletกรณีพิพาทอินโดจีนและสงครามมหาเอเชียบูรพา
bulletอยุธยายศล่มแล้ว ลอยสวรรค์ ลงฤา
bulletฮานนิบาล
bulletพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบรมวงศานุวงศ์
bulletไทยกับมหาสงคราม
bulletสงครามเวียดนาม
bulletห้วยโก๋น ๒๕๑๘
bulletการทัพในมลายา
bulletประวัติศาสตร์อื่น ๆ
dot
เรื่องอื่นๆ
dot
bulletบทความเสริมความรู้ทั่วไป
bulletเกร็ดเล็กเกร็ดน้อย
bulletผู้จัดทำ
bulletผังเว็บไซต์ (Site Map)
bulletแนวทางการร่วมเขียนบทความ
bulletถาม-ตอบ (FAQs) (โปรดอ่านก่อนตั้งกระทู้หรือสมัครสมาชิก)
bulletร้านค้าออนไลน์
bulletแบ่งปัน Album
dot
ลิงค์ต่างๆ
dot
bulletHistory on Film
bulletกองบิน 21 กองพลบิน 2
bulletIELTS British Council
bulletIELTS IDP
bulletMUIC




โหราศาสตร์ยุคไอที



ห้วยโก๋น ๒๕๑๘ (๒) . . . เมืองน่าน

*  *  *

เมืองน่าน

          นครรัฐเล็กๆ ก่อตัวขึ้นราวกลางพุทธศตวรรษที่ ๑๘ บริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำน่าน และแม่น้ำสาขา ในหุบเขา ทางตะวันออกของภาคเหนือ

 

ประวัติศาสตร์

          เมืองน่าน มีที่มาของชื่อปรากฏในตำนานพระอัมภาคว่า "นันทสุวรรณนคร" ส่วนในหนังสือชินกาลมาลีปกรณ์  เรียกเมืองน่านว่า "กาวราชนคร"  นัยว่าเป็นแค้วนของกาว อันหมายถึง ชนชาติที่อาศัยอยู่ในแค้วนน่านแต่ดึกดำบรรพ์ และในตำนานเก่าๆ เรียกเมืองน่านอีกคำหนึ่งว่า "กาวน่าน"

          ต่อมามีการเรียกชื่อเมืองน่านว่า "นันทบุรี" หรือ "นันทบุรีศรีนครน่าน" เข้าใจว่า เป็นยุคสมัยที่พระพุทธศาสนา และภาษาบาลีเฟื่องฟูในล้านนา   

          ที่มาของชื่อเมืองน่าน  มาจากชื่อแม่น้ำน่าน อันเป็นที่ตั้งของเมืองที่อยู่บนสองฟากฝั่งแม่น้ำน่าน ชื่อของเมืองน่าน ได้ปรากฏในศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหง เรียกว่า เมืองน่าน  คือ ตั้งแต่แรกตั้งเมืองใหม่ ณ ฝั่งตะวันออกของแม่น้ำน่าน

          เมืองน่าน แม้จะมีการเรียกชื่อใหม่ว่า "นันทบุรี" หรือ "นันทบุรีศรีนครน่าน" ซึ่งใช้กันในทางราชการในสมัยโบราณและศุภอักษรนามนันทบุรี เป็นนามที่ไพเราะ และมีความหมายเป็นมงคลนาม แต่ก็มีหลายพยางค์และเรียกยาก    จึงกลับมานิยมเรียกนามเมืองตามเดิมว่า "เมืองน่าน"  ตลอดจนถึงปัจจุบัน

          เมืองน่าน  เริ่มปรากฏขึ้นราว พ.ศ.๑๘๒๕   ภายใต้การนำของพญาภูคา ศูนย์การปกครองอยู่ที่เมืองย่าง (เชื่อกันว่าคือบริเวณริมฝั่งด้านใต้ ของแม่น้ำย่าง ใกล้เทือกเขาดอยภูคาในเขตบ้านเสี้ยว ตำบลยม อำเภอท่าวังผา)   เพราะปรากฏร่องรอย ชุมชนในสภาพที่เป็นคูน้ำ คันดิน กำแพงเมืองซ้อนกันอยู่

          ต่อมาพญาภูคา ได้ขยายอาณาเขตปกครองของตนออกไปให้กว้างขวางยิ่งขึ้น โดยส่งราชบุตรบุญธรรม  ๒ คน ไปสร้างเมืองใหม่ โดย

            ขุนนุ่น ผู้พี่ไปสร้าง เมืองจันทบุรี (เมืองพระบาง) และ 

            ขุนฟอง ผู้น้องสร้าง เมืองวรนคร หรือ เมืองปัว

          ภายหลังขุนฟองถึงแก่พิราลัย   เจ้าเก้าเถื่อนราชบุตรจึงได้ขึ้นครองเมืองปัวแทน     ด้านพญาภูคา ครองเมืองย่างมานานและมีอายุมากขึ้น มีความประสงค์จะให้เจ้าเก้าเถื่อนผู้หลานมาครองเมืองย่างแทน  จึงให้เสนาอำมาตย์ไปเชิญ เจ้าเก้าเถื่อนเกรงใจปู่จึงยอมไปอยู่เมืองย่าง  และมอบให้ชายา  คือ นางพญาแม่ท้าวคำปิน ดูแลรักษาเมืองปัวแทน

          เมื่อพญาภูคาถึงแก่พิราลัย เจ้าเก้าเถื่อนจึงครองเมืองย่างแทน ในช่วงที่เมืองปัวว่างจากผู้นำ เนื่องจากเจ้าเก้าเถื่อนไปครองเมืองย่างแทนปู่คือพญาภูคา    พญางำเมืองเจ้าผู้ ครองเมืองพะเยา จึงได้ขยายอิทธิพล เข้าครอบครองบ้านเมืองในเขตเมืองน่านทั้งหมด    นางพญาแม่เท้าคำปิน พร้อมด้วยบุตรในครรภ์ ได้หลบหนี ไปอยู่บ้านห้วยแร้ง จนคลอดได้บุตรชายชื่อว่าเจ้าขุนใส เติบใหญ่ได้เป็นขุนนางรับใช้พญางำเมืองจนเป็นที่โปรดปราน    พญางำเมือง จึงสถาปนาให้เป็น เจ้าขุนใสยศ  ครองเมืองปราด    ภายหลังมีกำลังพลมากขึ้นจึงยกทัพมาต่อสู้จนหลุดพ้นจากอำนาจเมืองพะเยา    และได้รับการสถาปนาเป็นพญาผานอง ขึ้นครองเมืองปัวอย่างอิสระระหว่างปี พ.ศ.๑๘๖๕-๑๘๙๔  รวม  ๓๐ ปี  จึงพิราลัย 

          ในสมัยของพญาการเมือง (กรานเมือง) โอรสของพญาผานอง    เมืองปัว ได้มีการขยายตัวมากขึ้น ตลอดจน มีความสัมพันธ์กับเมืองสุโขทัยอย่างใกล้ชิด  พงศาวดารเมืองน่านกล่าวถึงพญาการเมืองว่า ได้รับเชิญจากพระมหาธรรมราชาลิไท เจ้าเมืองสุโขทัย  ไปร่วมสร้างวัดหลวงอภัย (วัดอัมพวนาราม)   ขากลับ  พระมหาธรรมราชาลิไท เจ้าเมืองสุโขทัย ได้พระราชทานพระธาตุ  ๗ องค์    พระพิมพ์ทองคำ  ๒๐ องค์    พระพิมพ์เงิน  ๒๐ องค์ ให้กับพญาการเมืองมาบูชา ณ เมืองปัวด้วย   

          พญาการเมือง ได้ปรึกษาพระมหาเถรธรรมบาล จึงได้ก่อสร้างพระธาตุแช่แห้งขึ้นที่บนภูเพียงแช่แห้ง พร้อมทั้งได้อพยพผู้คนจากเมืองปัวลงมาสร้างเมืองใหม่ที่บริเวณพระธาตุแช่แห้ง เรียกว่า ภูเพียงแช่แห้ง  ในปี พ.ศ.๑๙๐๒   โดยมี พระธาตุแช่แห้ง เป็นศูนย์กลางเมือง

 

 

 

พระธาตุแช่แห้ง  บนภูเพียงแช่แห้ง

 

           หลังจากพญาการเมืองถึงแก่พิราลัย  โอรสคือ พญาผากองขึ้นครองแทน    อยู่มาเกิดปัญหาความแห้งแล้ง จึงย้ายเมืองมาสร้างใหม่ที่ริมแม่น้ำน่านด้านตะวันตก  บริเวณบ้านห้วยไคร้ คือบริเวณที่ตั้งของจังหวัดน่านในปัจจุบัน   

          เมื่อปี พ.ศ.๑๙๑๑    ในสมัยเจ้าปู่เข่ง    ครองเมืองระหว่างปี พ.ศ.๑๙๕๐-๑๙๖๐  ได้สร้างวัดพระธาตุช้างค้ำวรวิหาร  วัดพระธาตุเขาน้อย  วัดพญาภู    แต่สร้างไม่ทันเสร็จก็ถึงแก่พิราลัยเสียก่อน    พญางั่วฬารผาสุมผู้เป็นหลาน ได้สร้างต่อจนแล้วเสร็จและได้สร้าง พระพุทธรูปทองคำปางลีลา ปัจจุบันคือ พระพุทธนันทบุรีศรีศากยมุนี ประดิษฐานอยู่ในวิหารวัดพระธาตุช้างค้ำวรวิหาร

           ในปี พ.ศ.๑๙๙๓    พระเจ้าติโลกราชกษัตริย์นครเชียงใหม่ มีความประสงค์จะครอบครองเมืองน่าน และแหล่งเกลือบ่อมาง  (ต.บ่อเกลือใต้ อ.บ่อเกลือ) ที่มีอย่างอุดมสมบูรณ์และหาได้ยากทางภาคเหนือ จึงได้จัดกองทัพเข้ายึดเมืองน่าน    พญาอินต๊ะแก่นท้าว ไม่อาจต้านทาน ได้จึงอพยพหนีไปอาศัยอยู่ที่เมืองเชลียง (ศรีสัชนาลัย)    เมืองน่านจึงถูกผนวกเข้าไว้ในอาณาจักรล้านนาตั้งแต่นั้นมา
 
          ตลอดระยะเวลาเกือบ  ๑๐๐ ปี ที่เมืองน่านอยู่ในครอบครองของ อาณาจักรล้านนา ได้ค่อย ๆ ซึมชับเอาศิลปวัฒนธรรมของล้านนา มาไว้ในวิถีชีวิต โดยเฉพาะการรับเอาศิลปกรรมทางด้านศาสนา ปรากฏศิลปกรรมแบบล้านนาเข้ามาแทนที่ศิลปกรรมแบบสุโขทัย อย่างชัดเจน ดังเช่น เจดีย์วัดพระธาตุแช่แห้ง   เจดีย์วัดสวนตาล    เจดีย์วัดพระธาตุช้างค้ำ    แม้จะเหลือส่วนฐานที่มีช้างล้อมรอบ ซึ่งเป็นลักษณะศิลปะแบบสุโขทัยอยู่ แต่ส่วนองค์เจดีย์ขึ้นไปถึงส่วนยอด เปลี่ยนเป็นศิลปกรรมแบบล้านนาไปจนหมดสิ้น

          ในระหว่างปี พ.ศ.๒๑๐๓ - ๒๓๒๘    เมืองน่านได้ตกเป็นเมืองขึ้นของพม่าอยู่หลายครั้งและต้องเป็นเมืองร้าง ไร้ผู้คนถึง  ๒ คราว   คือ  ครั้งแรก ปี พ.ศ.๒๒๔๗ - ๒๒๔๙   ครั้งที่ ๒   ปี พ.ศ.๒๓๒๑ -๒๓๔๔ 

 

ธนบุรีสมัย

          ขอฟื้นความจำเกี่ยวกับเมืองเชียงใหม่ว่า       ตั้งแต่ พ.ศ.๒๓๑๙   สมัยสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีพระเจ้าจิงกูจา หรือสินธู โอรสพระเจ้ามังระ  ส่งกองทัพจากพม่า  สมทบกับกองทัพเมืองเชียงแสนของโปมะยุง่วน ลงไปตีเมืองเชียงใหม่     พระยาจ่าบ้านเจ้าเมืองเชียงใหม่เห็นเหลือกำลัง  จึงถอนตัวไปเมืองสวรรคโลก

    สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีโปรดให้รับไปกรุงธนบุรี   และโปรดให้เจ้าพระยาสุรสีห์คุมกองทัพหัวเมืองเหนือ  (ขณะนั้นท่านเป็นเจ้าเมืองพิษณุโลก)  ขึ้นไปสมทบเจ้ากาวิละ  เจ้าเมืองลำปางยกไปตีเอาเมืองเชียงใหม่คืน   โปมะยุง่วนจึงถอนกำลังกลับไปเมืองเชียงแสน    

          เมื่อเสร็จศึกนี้แล้ว   สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงพระดำริว่า  เมืองเชียงใหม่นั้นไพร่บ้านพลเมืองระส่ำระสายมาก  จะรวบรวมผู้คนตั้งเป็นเมืองเช่นเดิมน่าจะไม่พอรักษาเมืองได้  หากไม่มีกองทัพไทยตั้งรักษาเมืองอยู่ และพม่ายกมา  ก็ต้องเสียให้พม่าอีก   จึงโปรดให้ทิ้งเมืองเชียงใหม่เสีย

 

รัตนโกสินทร์สมัย

          พ.ศ.๒๓๒๕    สถาปนากรุงเทพมหานครฯ

          พ.ศ.๒๓๒๘    สงครามเก้าทัพ

          พ.ศ.๒๓๒๙    สงครามท่าดินแดง

          พ.ศ.๒๓๓๐    พม่าตีนครลำปาง และป่าซาง - ไทยตีเมืองทวาย

          พ.ศ.๒๓๓๑  เจ้าอัตถวรปัญโญ ได้ลงมาเข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช  เพื่อขอเป็น ข้าขอบขันทสีมา เจ้าอัตถวรปัญโญ หลังจากขึ้นครองเมืองน่านยังมิได้เข้าไปอยู่เมืองน่านเสียทีเดียว เนื่องจากเมืองน่าน ยังรกร้างอยู่ ได้ย้ายไปอาศัยอยู่ตามที่ต่างๆ คือ บ้านตึ๊ดบุญเรือง  เมืองงั้ว (บริเวณอำเภอนาน้อย)  เมืองพ้อ (บริเวณอำเภอเวียงสา)   

          พ.ศ.๒๓๔๔    หลังจากได้บูรณะซ่อมแซมเมืองน่านแล้ว ได้ขอพระบรมราชานุญาตกลับเข้ามาอยู่ในเมืองน่าน

          ในยุคสมัยกรุงรัตนโกสินทร์เมืองน่านมีฐานะเป็นหัวเมืองประเทศราช เจ้าผู้ครองนครน่านในชั้นหลังทุกองค์ ต่างปฏิบัติหน้าที่ราชการด้วยความเที่ยงธรรม มีความซื่อสัตย์ จงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์ราชวงศ์จักรี ได้ช่วยราชการบ้านเมืองสำคัญหลายครั้งหลายคราด้วยกัน    นอกจากนี้  เจ้าผู้ครองนครน่าน ต่างได้ทำนุบำรุงกิจการพุทธศาสนาในเมืองน่าน และอุปถัมภ์ค้ำจูนพระพุทธศาสนาเป็นสำคัญ ได้สร้างธรรมนิทานชาดก การจารพระไตรปิฎกลงในคัมภีร์ใบลาน นับเป็นคัมภีร์ได้  ๓๓๕ คัมภีร์    นับเป็นผูกได้  ๒,๖๐๖ ผูก    ได้นำไปมอบให้ เมืองต่างๆ มีเมืองลำปาง เมืองลำพูน เมืองเชียงใหม่ เมืองเชียงราย และเมืองหลางพระบาง

          พ.ศ.๒๔๔๖  พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงมีพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาให้ เจ้าสุริยพงษ์ผลิตเดชฯ เลื่อนยศฐานันดรศักดิ์ขึ้นเป็น "พระเจ้านครน่าน" มีพระนามปรากฏตามสุพรรณปัฏว่า

"พระเจ้าสุริยพงษ์ผลิตเดช กุลเชษฐมหันต์ ไชยนันทบุรีมหาราชวงศาธิบดี

สุริตจารีราชนุภาวรักษ์ วิบูลยศักดิ์กิติไพศาล ภูบาลบพิตรสถิตย์ ณ นันทราชวงษ์"

เป็นพระเจ้านครน่านองค์แรก และองค์เดียวในประวัติศาสตร์น่าน

  

 

 

 

พระเจ้าสุริยพงษ์ผลิตเดช กุลเชษฐมหันต์ ไชยนันทบุรีมหาราชวงศาธิบดี สุริตจารีราชนุภาวรักษ์

วิบูลยศักดิ์กิติไพศาล ภูบาลบพิตรสถิตย์ ณ นันทราชวงษ์

 

          ภายหลังได้รับการสถาปนาเป็นพระเจ้าน่าน พระเจ้าสุริยพงษ์ผลิตเดชฯ จึงได้สร้าง หอคำ (คุ้มหลวง) ขึ้นแทนหลังเดิมซึ่งสร้างในสมัยของ เจ้าอนันตวรฤทธิเดชฯ  และด้านหน้าหอคำ มีข่วงไว้ทำหน้าที่คล้ายสนามหลวง สำหรับจัดงานพิธีต่างๆ ตลอดจนเป็นที่จัดขบวนทัพออกสู้ศึก จัดขบวนนำเสด็จหรือขบวน
รับแขกเมืองสำคัญ

         พ.ศ.๒๔๗๔    เจ้ามหาพรหมสุรธาดา เจ้าผู้ครองนครน่าน ถึงแก่พิราลัย ตำแหน่งเจ้าผู้ครองนครก็ถูกยุบเลิกตั้งแต่นั้นมา

 

 

 


  

เจ้ามหาพรหมสุรธาดา เจ้าผู้ครองนครน่านองค์สุดท้าย


 หอคำ 

          ส่วนหอคำได้ใช้เป็น ศาลากลางจังหวัดน่าน จนปี  พ.ศ.๒๕๑๑  จังหวัดน่าน ได้มอบหอคำให้กรมศิลปากร ใช้เป็นสถานที่จัดตั้ง พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติน่าน จนกระทั่งปัจจุบัน
 
          เมื่อมีการจัดสร้างพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติในจังหวัดน่าน   ประชาชนชาวน่านจึงพร้อมใจกันสร้างพระราชานุสาวรีย์  พระเจ้าสุริยพงษ์ผลิตเดชฯ  เพิ่อเทิดพระเกียรติพระองค์ท่านไว้ที่หน้าหอคำอัน นั้น

 

 

พระราชานุสาวรีย์พระเจ้าสุริยพงษ์ผลิตเดชฯ

ประดิษฐาน  ณ  หน้าหอคำ    พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติน่าน

 

 

 งาช้างดำ

          ตำนานงาช้างดำ เล่าต่อกันมาในหมู่เจ้านายเชื้อสายเจ้าผู้ครองนครว่า ได้มาจากเมืองเชียงตุงแต่ครั้งโบราณ เดิมเก็บรักษาไว้ที่ "หอคำ"   เมื่อเจ้ามหาพรหมสุรธาดา  เจ้าผู้ครองนครน่านองค์สุดท้ายถึงแก่พิราลัยใน พ.ศ.๒๔๗๔    เจ้านาย  บุตรหลาน ได้มอบให้เป็นสมบัติของแผ่นดินพร้อมกับหอคำ ในปี พ.ศ.๒๔๗๖

 

 

 

 ปัจจุบัน  (พ.ศ.๒๕๕๓)

            จังหวัดน่าน  ตั้งอยู่ติดกับชายแดนทางด้านทิศตะวันออกของภาคเหนือตอนบน ติดกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว)    ห่างจากกรุงเทพมหานครโดยทางรถยนต์ ประมาณ  ๖๖๘ กิโลเมตร   บริเวณเส้นรุ้งที่  ๑๘ องศา  ๔๖ ลิปดา  ๓๐ ฟิลิปดาเหนือ    เส้นแวงที่  ๑๘ องศา  ๔๖ ลิปดา  ๔๔ ฟิลิปดาตะวันออก    ระดับความสูงของพื้นที่อยู่สูง  ๒,๑๑๒ เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง มีพื้นที่  ๑๑,๔๗๒,๐๗๖ ตารางกิโลเมตร  หรือประมาณ  ๗,๑๗๐,๐๔๕ ไร่

 

 

 

 จังหวัดน่าน  แสดงอำเภอและเขตติดต่อจังหวัดต่างๆ  (ปัจจุบัน)  

 

อาณาเขตโดยรอบของจังหวัดน่าน

          ทิศเหนือ    ประกอบด้วย อำเภอเชียงกลาง อำเภอปัว มีอำเภอทุ่งช้าง อำเภอเฉลิมพระเกียรติิ อำเภอบ่อเกลือ    มีพื้นที่ติดต่อกับเขตเศรษฐกิจพิเศษ เชียงฮ่อน - หงสา (สปป.ลาว)

          ทิศตะวันออก    ประกอบด้วย อำเภอภูเพียง อำเภอสันติสุข โดยมีอำเภอแม่จริม  อำเภอเวียงสา  มีพื้นที่ติดต่อกับแขวงไชยบุรี  (สปป.ลาว)

          ทิศใต้    ประกอบด้วย อำเภอนาน้อย อำเภอนาหมื่น    มีพื้นที่ติดต่อกับจังหวัดอุตรดิตต์    อำเภอนาน้อย  และ   อำเภอเวียงสา  มีพื้นที่ติดต่อกับจังหวัดแพร่

          ทิศตะวันตก    ประกอบด้วย อำเภอบ้านหลวง มีพื้นที่ติดต่อกับอำเภอเชียงม่วน  จังหวัดพะเยา    อำเภอท่าวังผา มีพื้นที่ติดต่อกับอำเภอปง จังหวัดพะเยา    อำเภอสองแคว มีพื้นที่ติดต่อกับอำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา


          ทิศเหนือ และทิศตะวันออก มีอาณาเขตติดต่อกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว  (สปป.ลาว)  เป็นระยะทางยาวประมาณ  ๒๒๗ กม.

 

ภูมิประเทศ     

 

          จังหวัดน่าน  มีทิวเขาหลวงพระบางและทิวเขาผีปันน้ำ  ซึ่งเป็นทิวเขาหินแกรนิต ที่มีความสูง  ๖๐๐ - ๑,๒๐๐ เมตร เหนือระดับน้ำทะเล  ทอดผ่านทั่วจังหวัด   คิดเป็นพื้นที่ประมาณร้อยละ  ๔๐ ของพื้นที่ทั้งจังหวัด

          พื้นที่ของจังหวัดน่านโดยทั่วไป มีสภาพพื้นที่เป็นลูกคลื่น ลอนชันเกิน  ๓๐ องศา ประมาณร้อยละ  ๘๕ ของพื้นที่จังหวัด    ส่วนลูกคลื่นลอนลาดตามลุ่มน้ำ จะเป็นที่ราบแคบๆ ระหว่างหุบเขาตามแนวยาวของลุ่มน้ำ น่าน  สา  ว้า  ปัว  และกอน

          จังหวัดน่านมีพื้นที่รวมทั้งสิ้น  ๗,๑๗๐,๐๔๕ ไร่  หรือ  ๑๑,๔๗๒.๐๗ ตารางกิโลเมตร   จำแนกเป็น

          ๑. พื้นที่ป่าไม้และภูเขา  ๓,๔๓๗,๕๐๐ ไร่   คิดเป็นร้อยละ  ๔๗.๙๔ 

          ๒. พื้นที่ป่าเสื่อมโทรม  ๒,๘๑๓,๙๘๐ ไร่   คิดเป็นร้อยละ  ๓๙.๒๔  

          ๓. พื้นที่ทำการเกษตร  ๘๗๖,๐๔๓ ไร่   คิดเป็นร้อยละ  ๑๒.๒๒

          ๔. พื้นที่อยู่อาศัยและอื่นๆ

 

ภูมิอากาศ

            ลักษณะภูมิอากาศของจังหวัดน่าน มีความแตกต่างกันของฤดูกาล โดยอากาศจะร้อนอบอ้าวในฤดูร้อน และหนาวเย็นในฤดูหนาว     โดยได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ พัดพาเอาความชุ่มชื้นมาสู่ภูมิภาค ทำให้มีฝนตกชุก ในเดือนพฤษภาคมถึงเดือนกันยายน ซึ่งเป็นช่วงฤดูฝน   และจะได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ พัดพาเอาความหนาวเย็นสู่ภูมิภาค    ในเดือนตุลาคมถึงกุมภาพันธ์ และในช่วงเดือนมีนาคมถึงเมษายน จะได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันออกเฉียงใต้ ทำให้มีสภาพอากาศร้อน

 

 

            นอกจากนี้จังหวัดน่าน ยังมีสภาพภูมิประเทศโดยรอบ เป็นหุบเขาและภุเขาสูงชันมาก ทิวเขาวางตัวในแนวเหนือใต้ ทำให้บริเวณยอดเขา สามารถรับความกดอากาศสูงที่แผ่มาจากประเทศจีนในฤดูหนาว ได้อย่างทั่วถึงและเต็มที่   ขณะเดียวกันที่ทิวเขาวางตัวเหนือใต้ ทำให้เสมือนกำแพงปิดกั้นลมมรสุมทางทิศตะวันออก   รวมทั้งยังมีระดับความสูงเฉลี่ยบนยอดเขา กับความสูงเฉลี่ยที่ผิวแตกต่างกันมาก และยังมีระดับความสูงเหนือระดับน้ำทะเล จากปัจจัยทั้งหลายเหล่านี้ ในตอนกลางวัน ถูกอิทธิพลของแสงแดดเผา ทำให้อุณหภูมิร้อนมาก และในตอนกลางคืนจะได้รับอิทธิพลของลมภูเขา พัดลงสู่หุบเขา ทำให้อากาศเย็นในตอนกลางคืน

 

 

 

 

แผนที่แสดงเส้นทาง และอุทยานแห่งชาติในจังหวัดน่าน  (ปัจจุบัน)

 

 

ครับ  รู้จักเมืองน่านกันพอหอมปากหอมคอ  แล้ว   ลงไปดูบ้านห้วยโก๋นกัน  นะครับ

 

 

 

ตอนต่อไป  .  .  .  การรบที่ฐานปฏิบัติการบ้านห้วยโก๋น

ตอนต่อไป  .  .  .  การรบที่ฐานปฏิบัติการบ้านห้วยโก๋น

ตอนต่อไป  .  .  .  การรบที่ฐานปฏิบัติการบ้านห้วยโก๋น




ประวัติศาสตร์สงคราม กรีก โดย สัมพันธ์

อเล็กซานเดอร์มหาราช : สู่ตะวันออก
อเล็กซานเดอร์มหาราช : เริ่มลมเหนือ
สงคราม กรีก - กรีก
สงคราม กรีก - เปอร์เซีย



แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.
| WW II Europe | WW II Asia | WW I | Vietnam War | ประวัติศาสตร์ไทย | บทความจากสมาชิก | คุยกันหลังฉาก | บทความทั้งหมด |

สนใจร่วมเขียนบทความในเว็บไซต์ เชิญอ่าน แนวทางการร่วมเขียนบทความ ภาพยนตร์ประวัติศาสตร์

Custom Search



eXTReMe Tracker