dot
dot
เว็บภาพยนตร์ประวัติศาสตร์ ยินดีต้อนรับผู้สนใจทุกท่าน
dot
dot
สมาชิก Webboard/Blog
ชื่อผู้ใช้ :
รหัสผ่าน :
เข้าสู่ระบบอัตโนมัติ :
bullet ลืมรหัสผ่าน
dot
bulletข้อตกลงการเป็นสมาชิก
bulletเว็บบอร์ด-คุยกันหลังฉาก
bulletเว็บบอร์ด-Games ย้อนยุค
bulletเว็บบอร์ด-ชุดจำลองประวัติศาสตร์
bulletเว็บบอร์ด-หนังสือประวัติศาสตร์
bulletเว็บบอร์ด-เพลงประวัติศาสตร์
bulletคำถาม/คำตอบ ล่าสุด
bulletแนวทางการร่วมเขียนบทความ
dot
สงครามโลกครั้งที่ 2
dot
bulletสมรภูมิยุโรป (สัมพันธมิตรVSเยอรมัน-อิตาลี)
bulletสมรภูมิแปซิฟิก-เอเชีย (สัมพันธมิตรVSญี่ปุ่น)
dot
ภาพยนตร์ประวัติศาสตร์อื่นๆ
dot
bulletสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง
bulletประวัติศาสตร์ไทย
bulletประวัติศาสตร์อเมริกันยุคเริ่มแรก
bulletสงครามเวียดนามและอินโดจีน
bulletตะวันตกโบราณ (กรีก โรมัน ฯลฯ)
bulletประวัติศาสตร์ร่วมสมัย
bulletเอเชียโบราณ
bulletประวัติศาสตร์อื่นๆ (ยังไม่แยกหมวดหมู่)
bulletคลิปความรู้จาก YouTube
dot
บทความโดย วิวันดา
dot
bulletฮิตเล่อร์...และเหล่าขุนพลแห่งอาณาจักรไรค์ซที่สาม
bulletลอดลายรั้ว.....วินด์เซอร์
bulletเลิศเลอวงศา...โรมานอฟ
bulletเชลย
bulletซูคอฟ...ยอดขุนพลผู้ดับฝันของฮิตเล่อร์
dot
บทความโดย สัมพันธ์
dot
bulletคนไทยในกองทัพพระราชอาณาจักรลาว
bulletประวัติศาสตร์สงคราม กรีก
bulletกรณีพิพาทอินโดจีนและสงครามมหาเอเชียบูรพา
bulletอยุธยายศล่มแล้ว ลอยสวรรค์ ลงฤา
bulletฮานนิบาล
bulletพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบรมวงศานุวงศ์
bulletไทยกับมหาสงคราม
bulletสงครามเวียดนาม
bulletห้วยโก๋น ๒๕๑๘
bulletการทัพในมลายา
bulletประวัติศาสตร์อื่น ๆ
dot
เรื่องอื่นๆ
dot
bulletบทความเสริมความรู้ทั่วไป
bulletเกร็ดเล็กเกร็ดน้อย
bulletผู้จัดทำ
bulletผังเว็บไซต์ (Site Map)
bulletแนวทางการร่วมเขียนบทความ
bulletถาม-ตอบ (FAQs) (โปรดอ่านก่อนตั้งกระทู้หรือสมัครสมาชิก)
bulletร้านค้าออนไลน์
bulletแบ่งปัน Album
dot
ลิงค์ต่างๆ
dot
bulletHistory on Film
bulletกองบิน 21 กองพลบิน 2
bulletIELTS British Council
bulletIELTS IDP
bulletMUIC




โหราศาสตร์ยุคไอที



การทัพในมลายา (MALAYAN CAMPAIGN)

*  *  *

         ครับ  .  .  .  พ.ศ.๒๕๕๔  นับเป็นปีที่  ๗๐  ของ "วันวีรไทย"  ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ"สงครามมหาเอเซียบูรพา"  ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ "สงครามภาคพื้นแปซิฟิค"  ใน "สงครามโลกครั้งที่สอง"

          กองทัพญี่ปุ่น ผ่านเข้ามาในประเทศไทย  แล้วก็ผ่านไปพม่า  และสหพันธรัฐมลายา   เราติดตามกองทัพญี่ปุ่นไปดู  "การทัพในมลายา"  กันนะครับ  .  .  .  เชิญครับ  .  .  .      

 

การทัพในมลายา  (MALAYAN CAMPAIGN)

           การทัพในมลายา    เป็นการทัพหนึ่งในสงครามโลกครั้งที่สอง ซึ่งญี่ปุ่นส่งกองทัพเข้าโจมตี  เพิร์ล ฮาเบอร์  ในเช้าตรู่  ๗  ธันวาคม  ๒๔๘๔  (๑๙๔๑)  พร้อมกับกรีฑาทัพและยกพลขึ้นบกหลายแห่งในประเทศไทย  เพื่อเดินทัพต่อไปยังพม่า และสหพันธรัฐมลายา    และยกพลขึ้นบกทางตอนเหนือของสหพันธรัฐมลายาในเช้าตรู่ ๘  ธันวาคม  ๒๔๘๔  (๑๙๔๑)  (เวลาเดียวกับการโจมตี  เพิร์ล ฮาเบอร์ แต่อยู่คนละฟากของเส้นแบ่งวัน  จึงเป็นคนละวัน) 

          เป็นสถานการณ์คาบเกี่ยวและต่อเนื่องกับ "วันวีรไทย"

          สหรัฐอเมริกาเรียกสงครามนี้ว่า  สงครามกับญี่ปุ่น  (THR WAR WITH JAPAN)  และแบ่งเป็น การทัพ  การยุทธ  และการรบต่างๆ  คือ  การทัพในฮ่องกง    การทัพในมลายา    การทัพในฟิลิปปินส์    การทัพที่กัวดาลคาแนล   การทัพที่นิวกีนี    การทัพที่ปาปวน    การยุทธในเกาะโซโลมอน    การทัพในพม่า    การทัพที่เลย์เต    การรบที่อิโวจิมา    การทัพที่โอกินาวา

 

ความเป็นมา

          พ.ศ.๒๔๗๒  (ค.ศ.๑๙๓๗)          - ญึ่ปุ่นยึดแมนจูเรีย

          ๗  กรกฎาคม  ๒๔๘๐  (๑๙๓๗)  - ญี่ปุ่นโจมตีจีน

          ตุลาคม  ๒๔๘๓  (๑๙๔๐)          - อังกฤษกำหนดแผนมาธาร์ดอร์  เพื่อป้องกันสหพันธรัฐมลายา  โดยรุกเข้าประเทศไทย

          พ.ศ.๒๔๘๔  (ค.ศ.๑๙๔๑)      กองทัพบกญี่ปุ่นจัดตั้งหน่วยวิจัยเพื่อการวางแผนยุทธศาสตร์ทหาร  เพื่อการวางแผนการทัพ  (Campaign Plan)  ในภูมิภาค หรือยุทธบริเวณเอเซียตะวันออกเฉียงใต้  ที่เกาะไต้หวัน   (Taiwan Army No.82 Unit - Taiwan Army Reserch Section)

               กุมภาพันธ์    - กองทัพบกญี่ปุ่นจัดการฝึกประลองยุทธยกพลขึ้นบกที่ชายฝั่งเกาะกิวชิว เพื่อทดสอบการประสานงานระหว่างกองทัพบก กับ กองทัพเรือ

               มิถุนายน    - กองทัพบกญี่ปุ่นจัดการฝึกประลองยุทธยกพลขึ้นบกเป็นครั้งที่สอง  ที่เกาะไหหลำ  โดยให้กองทัพที่ ๒๕  เป็นหน่วยอำนวยการฝึก  ซึ่งได้บทเรียนที่เป็นประโยชน์ในการปฏิบัติการยุทธเป็นอย่างมาก    นอกจากนั้น  ยังได้จัดทำคู่มือในการศึกษาพื้นที่  (Area Study)  ก่อนเข้าสู่พื้นที่ปฏิบัติการจริง

          ๒๔  กรกฎาคม

               - ญี่ปุ่นขึ้นบกที่อ่าวคัมรานห์  ท่าเรือไซง่อน  ในอินโดจีน  เพื่อตั้งเป็นฐานทัพใหม่

               - สหรัฐอเมริกาตอบโต้ญี่ปุ่นด้วยการออกคำสั่งยึดทรัพย์สินของญี่ปุ่นในต่างประเทศทั้งหมด   ทำให้ญี่ปุ่นมีปัญหา  เพราะถูกปิดล้อมทางเศรษฐกิจ    และอาจจะเป็นเหตุสำคัญที่เร่งให้ญี่ปุ่นต้องทำสงครามเร็วขึ้น   เพราะหากเลื่อนออกไป  โอกาสที่จะได้ชัยชนะก็น้อยลง  โดยเฉพาะอย่างยิ่ง  ปัญหาที่สำคัญยิ่งต่อการอยู่รอดของญี่ปุ่น  คือ  .  .  .  น้ำมันเชื้อเพลิง

          การที่ญี่ปุ่นเข้ายึดอินโดจีนใน  พ.ศ.๒๔๘๔  (ค.ศ.๑๙๔๑)  เป็นการก้าวทางยุทธศาสตร์ที่สำคัญที่จะก้าวรุกเข้าในภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ต่อไป  ทำให้สามารถสถาปนาฐานทัพเรือ  และฐานทัพอากาศใกล้สหพันธรัฐมลายูได้

          ๓๑  กรกฎาคม      - ญี่ปุ่นแจ้งให้เยอรมันทราบว่า  จะขยายตัวลงใต้สู่มหาสมุทรแปซิฟิค  ไม่ได้สู่ตะวันตกเพื่อสู้รบกับสหภาพโซเวียต

          ๖  พฤศจิกายน

                    - ญี่ปุ่นได้ออกคำสั่งจัดตั้งหมู่กองทัพภาคใต้  (Southern Army Command)  ขึ้นที่กรุงไซง่อน  มีจอมพล  เคานท์  อิเซซิ  เทราอุชิ  เป็นผู้บัญชาการหมู่กองทัพ    ประกอบด้วยกำลังหลัก  ๔ กองทัพ  คือ  กองทัพที่ ๑๔    กองทัพที่ ๑๕    กองทัพที่ ๑๖  และ  กองทัพที่ ๒๕  (แต่ละกองทัพของญี่ปุ่นมีกำลังเทียบเท่ากับกองทัพน้อยของอังกฤษ)  พร้อมทั้งแต่งตั้ง พลโท  โทโมโยกิ  ยามาชิตา  (Lt.Gen. Tomoyoki  Yamashita)  เป็นแม่ทัพกองทัพที่ ๒๕

 

          ๑๕  พฤศจิกายน  ๒๔๘๔    ญี่ปุ่นจัดการประชุมผู้บังคับหน่วยกำลังทางบก  ทางเรือ  และทางอากาศ  เพื่อจัดเตรียมแผนการทัพในมลายา  


 

 

ผังการจัดหมู่กองทัพภาคใต้  (Southern Army Command)  > 

 

 

 

แผนการทัพในมลายา  (MALAYAN CAMPAIGN PLAN)

 

 


สมมติฐาน

          จากการประมาณสถานการณ์เกี่ยวกับการวางกำลังของฝ่ายอังกฤษแล้ว  ฝ่ายญี่ปุ่นอาจจะกำหนดสมมติฐานเพื่อกำหนดแผนการทัพในมลายา  ดังนี้

          ๑. อังกฤษวางกำลังป้องกันสิงคโปร์อย่างเต็มที่ด้านชายทะเลข้างหน้าเกาะ  ทางด้านหลังเป็นจุดอ่อนซึ่งต้องรอหน่วยที่ป้องกันด้านอื่น  และรบหน่วงเวลามาเพิ่มเติมกำลังให้

          ๒. อังกฤษวางกำลังทางบกส่วนใหญ่ไว้ทางตอนเหนือของสหพันธรัฐมลายา  โดยเฉพาะรัฐเคดาห์  และรอบเมืองโกตาบารู    แสดงว่าอังกฤษจะต้านทานการรุกของญี่ปุ่นใกล้ชายแดนไทย  หรือตีโต้ตอบภายหลัง

          ๓. กำลังทางอากาศของอังกฤษเสียเปรียบฝ่ายญี่ปุ่นมาก    และอังกฤษอาจจะเชื่อว่าญี่ปุ่นจะยังไม่ทำการรุกในช่วงเดือนพฤศจิกายน  ๒๔๘๔  ถึง  เดือนมีนาคม  ๒๔๘๕  เพราะสภาพอากาศไม่เอื้ออำนวย เนื่องจากเป็นฤดูมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ

          และจากสมมติฐาน  ฝ่ายญี่ปุ่นสรุปผลการประชุมเป็นแผนการทัพในมลายาได้ดังนี้

แผนการทัพ

          ๑. กองกำลังทางบก  ทางเรือ  และทางอากาศ  ยกพลขึ้นบกบริเวณตอนใต้ของคอคอดกระ  (Kra Isthmus)  ข้ามแม่น้ำเปรัค  เข้ายึดกรุงกัวลา ลัมเปอร์    เตรียมการรุกต่อไปยังแหลมยะโฮห์บารู    เมื่อยึดยะโฮห์บรูได้แล้ว  เตรียมเข้าตีสิงคโปร์  ต่อไป

          - กองพลที่ยกพลขึ้นบกที่โกตาบารู  ให้รุกต่อไปตามชายฝั่งด้านตะวันออก

          ๒. กองพลที่ ๕  เป็นส่วนเข้าตีหลัก    ยกพลขึ้นบกที่สงขลา  และปัตตานี 

               ๒.๑ จากสงขลา    เคลื่อนย้ายต่อไปยังแนวชายแดน ไทย - มลายา  เข้าตีที่มั่นที่อลอสตาร์

               ๒.๒ จากปัตตานี    เคลื่อนย้ายต่อไปยังเบตง    เข้ายึดแม่น้ำเปรัค  และสะพานข้ามแม่น้ำเปรัค

          ๓. กรมทหารราบที่ ๕๖  (ส่วนแยกทากูมิของกองพลที่ ๑๘)  ยกพลขึ้นบกที่โกตาบารู  ยึดสนามบิน  เคลื่อนย้ายผ่านกัวลาตรังกานู  ไปกวนตัน  ยึดสนามบินทุกแห่งตามเสันทาง  แล้วเข้ารวมกับส่วนเข้าตีหลัก  (กองพลที่ ๕)  เพื่อเตรียมเข้าตีสิงคโปร์  ต่อไป

          ๔. กองพลรักษาพระองค์  (Imperrial Guard Division)  รุกไปยังแนวชายแดน ไทย - มลายา  เพื่อสนับสนุนกองพลที่ ๕    และเมื่อสถานการณ์เอื้ออำนวยให้ทำการยุทธแบบก้าวกระโดด  (Leapfrog Tactics)  คือ  รุกไปข้างหน้ากองพลที่ ๕    โดยจัดกำลัง  ๓ กองพันทหารราบเป็นหน่วยนำเคลื่อนที่ตามส่วนหลังของกองพลที่ ๕

          ๕. เมื่อสถาปนาที่มั่นตามแนวแม่น้ำเปรัค แล้ว    กำลังหลักรุกต่อไปกรุงกัวลาลัมเปอร์  เมื่อยึดได้แล้ว  เคลื่อนที่ต่อไปยังยะโฮห์บารู    ให้เตรียมเรือขนาดเล็กเพื่อใช้ข้ามลำน้ำ

          ๖. กองพลที่ ๑๘    ปฏิบัติการทางฝั่งตะวันออกของคาบสมุทรมลายา   เตรียมการเข้าตีเกาะสุมาตรา  ต่อไป

          ๗. กองพลที่ ๑๘ 

               ๗.๑ กรมทหารราบที่ ๕๖  (ส่วนแยกทากูมิของกองพลที่ ๑๘)  ซึ่งยกพลขึ้นบกที่โกตาบารู เมื่อยึดเมืองและสนามบินได้แล้ว  ให้รุกต่อไปทางใต้ตามเส้นทางฝั่งด้านตะวันออก  รักษาความเร็วในการเคลื่อนที่ให้สอดคล้องกับส่วนเข้าตีหลักทางด้านตะวันตก  (กองพลที่ ๕)

               ๗.๒ กำลังส่วนใหญ่ของกองพลที่ ๑๘  ให้ยกพลขึ้นบกตามไป  ระหว่างกวนตัน และเมอร์สซิง  รุกเข้ายะโฮห์บารู   และช่องแคบยะโฮห์ ต่อไป

          ๘. กำลังภาคพื้นดินทั้งหมด  รุกเข้าช่องแคบยะโฮห์    เมื่อยึดได้แล้ว  ให้เข้าตีเกาะสิงคโปร์จากทางตะวันตก  โดยใช้เรือเล็กข้ามช่องแคบยะโฮห์     

          ตุลาคม  ๒๔๘๔    - นายกรัฐมนตรีเชอร์ชิล  แห่งสหราชอาณาจักรสงสัยว่า  ญี่ปุ่นจะบุกมลายา

          ๒  ธันวาคม    - เรือรีพัลส์  (Repulse)  และเรือปรินส์ ออฟ เวลส์  (Prince of Wales)  ได้มาถึงสิงคโปร์เพื่อร่วมในกองเรือภาคตะวันออกไกล  (Far Easern Fleet)  และได้รับคำสั่งให้ขึ้นไปทางทิศเหนือเพื่อป้องกันไม่ให้ญี่ปุ่นยกพลขึ้นบก  โดยไม่มีเครื่องบินคุ้มกันอย่างเพียงพอ 

         ๖  ธันวาคม  - เครื่องบินลาดตระเวนอังกฤษครวจพบกองเรือญี่ปุ่น

                         - สถานึวิทยุ บี.บี.ซี.  ของอังกฤษออกข่าวว่า  กองเรือญี่ปุ่นราว  ๒๐๐  ลำ  กำลังเคลื่อนที่ลงมาในทะเลจีนใต้

          ๗  ธันวาคม         

               - ในทะเลจีนใต้  เวลาประมาณ  ๐๙๕๐    เครื่องบินลาดตระเวนตรวจการณ์ของญี่ปุ่นพบกับเครื่องบินลาดตระเวนของอังกฤษ  ที่บริเวณ  ๓๐  กิโลเมตร  ทางตะวันตกเฉียงเหนือของเกาะบันจัง     ฝ่ายญี่ปุ่นเข้าโจมตีและมีเครื่องบินขับไล่ของกองทัพบกมาช่วย  เครื่องบินลาดตระเวนอังกฤษถูกยิงตก ในอ่าวไทย

               - ในมหาสมุทรแปซิฟิค  เวลา  ๐๗๔๐  (ข้ามเส้นแบ่งวันไปทางตะวันออก  เป็นวันที่ ๗   แต่หากข้ามมาอีกด้านหนึ่งเป็นวันที่ ๘)  ญี่ปุ่นโจมตีเพิร์ล ฮาเบอร์

          ๘  ธันวาคม         - ญี่ปุ่นกรีฑาทัพเข้าประเทศไทยและยกพลขึ้นบกหลายแห่งในประเทศไทย  พร้อมทั้งและยกพลขึ้นบกทางตอนเหนือของสหพันธรัฐมลายา

          เนื่องจากเป็นสถานการณ์คาบเกี่ยวและต่อเนื่องกับ "วันวีรไทย" จึงขอทบทวนสถานการณ์ในวันวีรไทย เสียก่อน  

 

สถานการณ์เดิมในวันวีรไทย

๘  ธันวาคม  ๒๔๘๔

วันวีรไทย - สงขลา

         เนื่องจากจังหวัดสงขลา มีเส้นทางที่จะเคลื่อนย้ายกองทหารขนาดใหญ่ไปยังสหพันธรัฐมลายาของอังกฤษทางรัฐไทรบุรี  (เคดาห์)  ปะลิส  และปีนัง ได้หลายเส้นทาง   ใกล้ และสะดวกที่สุด

          จากสงขลายังมีทางรถไฟแยกที่ชุมทางหาดใหญ่ ผ่านจังหวัดปัตตานี  จังหวัดยะลา  และจังหวัดนราธิวาส   เข้าสู่มลายูทาง อำเภอสุไหงโก-ลก  กับ เมืองโกตาบารู  รัฐกลันตัน   ได้อีกด้วย   

          เส้นทางดังกล่าวเป็นเส้นทางที่เหมาะจะใช้เป็นแนวทางการเคลื่อนที่ของหน่วยทหารขนาดใหญ่ได้

          กองพลที่  ๕  กองทัพที่  ๒๕  ญี่ปุ่น   เป็นส่วนเข้าตีหลัก  ยกพลขึ้นบกที่สงขลา และปัตตานีเพื่อเคลื่อนย้ายต่อไปชายแดนไทย - มลายู  เข้าตีที่มั่นข้าศึกที่อลอสตาร์   เข้ายึดแม่น้ำเปรัค  และรักษาสะพานข้ามแม่น้ำเปรัค

สรุปว่า   ร.พัน  ๔๑  ป.พัน  ๑๓  จากค่ายสวนตูล  และ ร.พัน ๕  จากค่ายคอหงส์    สามารถยันญี่ปุ่นไว้ได้   จนกระทั่งได้รับคำสั่งหยุดยิง

           เวลา  ๑๑๓๕    ได้รับคำสั่งทางวิทยุโทรเลขจากผู้บังคับบัญชามณฑล  ๖   นครศรีธรรมราช   ให้ทุกหน่วย หยุดรบและหลีกทางให้ทหารญี่ปุ่นผ่านไปตามคำสั่งรัฐบาล

           เวลาประมาณ  ๑๓๐๐    สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทยของกรมโฆษณาการ  (กรมประชาสัมพันธ์ในปัจจุบัน)  ได้ประกาศว่า   รัฐบาลไทยตกลงให้ทหารญี่ปุ่นเคลื่อนกำลังผ่านประเทศไทยได้

           เมื่อเลิกรบกันแล้ว    ญี่ปุ่นก็เร่งเดินทัพไปไทรบุรี (เคดาห์) ทันที    ขบวนทหารเดินกันทั้งวัน ทั้งคืน  ทั้งทางถนน และทางรถไฟ    ขบวนรถถังใช้เวลาร่วมชั่วโมง  จึงผ่านสามแยกสำโรงได้หมด  

อังกฤษ  .  .  .  เอาบ้าง

          ๘  ธันวาคม  ๒๔๘๔    กองทหารอังกฤษได้ข้ามพรมแดนเข้าสู่ประเทศไทยดังนี้

          เวลาประมาณ  ๑๗๓๐    ขบวนรถยนตร์    ประกอบด้วย    ทหารราบ  จาก  กองพันที่ ๘  กรมทหารราบที่ ๑  (ปันจาบ)  จำนวน  ๒ กองร้อย    ปืนต่อสู้รถถัง  และหน่วยทหารช่าง    มุ่งสู่จังหวัดสงขลา 

          เวลาค่ำ    ขนวนรถไฟหุ้มเกราะ  จากสถานีปาดังเบซาร์   ประกอบด้วย    ส่วยแยก  ของกองพันที่ ๑๖  กรมทหารราบที่ ๒  (ปันจาบ)    และหน่วยทหารช่าง    มุ่งสู่จังหวัดสงขลา  เช่นกัน

           เนื่องจาก  รัฐบาลไทยตกลงให้ทหารญี่ปุ่นเคลื่อนกำลังผ่านประเทศไทยได้    ตั้งแต่เวลา  ๑๓๐๐  นาฬิกา  แล้ว   

          ดังนั้น  การปฏิบัติของกองทหารอังกฤษถือว่าเป็นการรุกล้ำอธิปไตยของไทย
 
          ในระหว่างนี้  ญี่ปุ่นก็เร่งเดินทัพไปไทรบุรี (เคดาห์)

          ครับ  .  .  .  สถานการณ์ในวันวีรไทย  ๘  ธันวาคม  ๒๔๘๔  ที่จังหวัดสงขลา  คงมีเพียงเท่านี้    แต่ญี่ปุ่นยังคงเดินทัพต่อไป    เชิญติดตามกองทัพญี่ปุ่นต่อไป  ครับ   

          ก่อนจะติดตามกองทัพญี่ปุ่น    ขอทบทวนสถานการณ์ที่ปัตตานี เสียหน่อย  .  .  .

วันวีรไทย - ปัตตานี

          ทหารญี่ปุ่นที่ขึ้นที่ปัตตานี    ประกอบด้วย  กองพลที่ ๕  (บางส่วน) และหนึ่งกองพลน้อย  (Brigade) สนับสนุน   เป็นส่วนของกองทัพที่  ๒๕  มีภารกิจ  ในพื้นที่มลายู  และเกาะสุมาตราตอนเหนือ 

          กองพันทหารราบที่  ๔๒  

           ผู้บังคับกองพันน่าจะได้รับข่าวจากข้าหลวงประจำจังหวัด ฯ   จึงสั่งการให้หน่วยปฏิบัติตามแผน

          เวลาประมาณ  ๑๓๐๐    สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทยของกรมโฆษณาการ  (กรมประชาสัมพันธ์ในปัจจุบัน)  ได้ประกาศว่า   รัฐบาลไทยตกลงให้ทหารญี่ปุ่นเคลื่อนกำลังผ่านประเทศไทยได้

อังกฤษ  .  .  .  ?  ?  ?

          กองพลที่ ๑๑  (อินเดีย) จากเกาะปีนัง  ได้รับภารกิจให้เข้ายึดที่มั่นบ่อแร่  ห่างจากพรมแดน  ๓๕ - ๔๐ ไมล์  (ในเขตประเทศไทย)  จึงส่ง  กองพันที่ ๑๔  กรมทหารราบที่ ๕  ไปทางโกร๊ะ  

          เวลาประมาณ  ๑๕๐๐ นาฬิกา    ฝ่ายไทยต่อต้านอย่างรุนแรง  ไม่สามารถเคลื่อนที่ผ่านไปได้  (รัฐบาลไทยประกาศยอมให้ญุ่ปุ่นเดินทัพผ่าน  ตั้งแต่เวลา  ๑๓๐๐  นาฬิกา)

           ครับ  .  .  .  สถานการณ์ในวันวีรไทย  ๘  ธันวาคม  ๒๔๘๔  ที่จังหวัดปัตตานี  คงมีเพียงเท่านี้    แต่ญี่ปุ่นยังคงเดินทัพต่อไป    เชิญติดตามกองทัพญี่ปุ่นต่อไป  นะครับ  .  .  .  การทัพในมลายา

          ขอท้าวความก่อนครับ

สิงคโปร์

          ฐานทัพเรือขนาดใหญ่    ใหญ่พอที่จะรองรับกองเรือขนาดใหญ่ได้

          พ.ศ.๒๔๖๓  (ค.ศ.๑๙๒๐)    อังกฤษตกลงใจจัดตั้งฐานทัพเรือที่เกาะสิงคโปร์  และได้เสริมสร้างความแข็งแกร่งให้สิงคโปร์มาโดยลำดับ  จนถึงระดับที่แทบจะกล่าวได้ว่า  "ไม่สามารถตีให้แตกได้"  และมีเป้าหมายจะให้สิงคโปร์เป็น "ยิบรอลตาแห่งตะวันออกไกล"   

          อังกฤษมีแนวความคิดในการป้องกันสิงคโปร์โดยการใช้กำลังทางบกป้องกันรักษาสิงคโปร์ไว้ชั่วคราว  รอกองเรือที่จะเดินทางมาจากน่านน้ำในยุโรปมา "จัดการ" ผู้รุกรานได้
     
          พ.ศ.๒๔๗๖  (ค.ศ.๑๙๓๓)  อังกฤษได้ตั้งฐานทัพอากาศ    กำลังทางบกก็ได้รับภารกิจป้องกันรักษาฐานทัพอากาศ  เพิ่มขึ้นอีกด้วย

          พ.ศ.๒๔๘๓  (ค.ศ.๑๙๔๐)  เมื่อเกิดลงครามในยุโรปแล้ว    อังกฤษมีแนวความคิดใช้กำลังทางอากาศเป็นหลักในการป้องกันสิงคโปร์  แต่สถานการณ์สงครามในยุโรป  และอาฟริกาเหนือ  ทำให้อังกฤษไม่สามารถจัดเครื่องบินที่ทันสมัย และมีประสิทธิภาพสูงมาประจำการที่สิงคโปร์เพื่อสนองแนวความคิดนี้ได้    กำลังทางบกจึงต้องกระจายกันเพื่อป้องกันฐานทัพอากาศในสิงคโปร์  และสหพันธรัฐมลายา

           ดังนั้น    กำลังทางบกของอังกฤษจึงมีภารกิจหลักในการป้องกันฐานทัพเรือ  และฐานทัพอากาศ

           ส่วนกองร้อยปืนใหญ่หนักที่ใช้ในการป้องกันสิงคโปร์   ได้ติดตั้งโดยหันปากกระบอกออกสู่ทะเล

 

           จากการจัดหมู่กองทัพภาคใต้  (Southern Army Command)  ของฝ่ายญี่ปุ่น

 

           กองทัพที่เข้าทำการรบในมลายา  และเกาะสุมาตรา  (ตอนเหนือ)  คือ  กองทัพที่  ๒๕    พลโท  โทโมโยกิ  ยามาชิตา     (Lt. Gen.Tomoyoki  Yamashita)  เป็นแม่ทัพ  ประกอบด้วย  ๔ กองพล  คือ   กองพลที่ ๕    กองพลที่ ๑๘    กองพลรักษาพระองค์    กองพลปืนใหญ่    และกองพลน้อยรถถังที่ ๓   

 

 

พลโท  โทโมโยกิ  ยามาชิตา  (Lt. Gen.Tomoyoki  Yamashita)  > 

 

 

 

 


 


          กำลังทางอากาศ  มี  เครื่องบินโจมตี  ๑๖๘ เครื่อง    เครื่องบินทิ้งระเบิดเบา  ๘๑ เครื่อง    เครื่องบินทิ้งระเบิดหนัก  ๙๙ เครื่อง    เครื่องบินลาดตระเวน  ๔๕ เครื่อง    รวม  ๓๙๓ เครื่อง

          กองเรือรบด้านใต้  พร้อมด้วยกองบินที่ ๒๒    (จำนวน  ๑๕๘ เครื่อง)    ทำหน้าที่คุ้มกันกองเรือ
 
 

ฝ่ายอังกฤษ

          กองกำลังของอังกฤษ  พลโท  อาร์เธอร์ อี. เพอร์ซิวาล  (Lt.Gen. Arthur E. Percival)  เป็นผู้บัญชาการกองกำลังภาคพื้นดินของอังกฤษ

          กองทัพน้อยที่ ๓    ตั้งกองบัญชาการที่เกาะปีนัง    มีหน่วยดังนี้

            - กรมทหารฮ่องกงรักษาฝั่งที่ ๑

            - หน่วยทหารปืนใหญ่สิงคโปร์

            - กองร้อยทหารช่างที่ ๓๖  (ไฟฉาย)

            - กองร้อยทหารราบที่ ๕/๑๔  (ปันจาบ)

            - กองร้อยอิสระ  ๑ กองร้อย

            - หน่วยแยกทหารม้าอินเดียที่ ๓

            - หน่วยทหารปืนใหญ่ยานยนตร์ที่ ๓

พลโท  อาร์เธอร์ อี. เพอร์ซิวาล  (Lt.Gen. Arthur E. Percival) 

 

          กำลังทางบก    ทหารราบ  ๑๗ กองพัน  กำลังพลประมาณ  ๘๐,๐๐๐  รถถัง  ๒ กรม  ซึ่งน้อยกว่าความต้องการที่ประมาณการไว้    และขาดแคลนปืนใหญ่  แต่กองกำลังทางบกของอังกฤษก็ได้ฝึกการรบในป่ามาแล้ว
 
          กำลังทางอากาศ    มีเครื่องบิน  ๑๕๘ เครื่อง  (ซึ่งเป็นเครื่องบินเก่าล้าสมัย)  แต่จากการประมาณการ  ควรมี  ๓๓๖ เครื่อง

         ผู้บัญชาการกองกำลังภาคพื้นดินของอังกฤษมอบภารกิจให้หน่วยรอง  ดังนี้

          - กองทัพน้อยที่ ๓ (อินเดีย)  ที่เกาะปีนัง  ประกอบด้วย  กองพลที่ ๙  ที่โกตาบารู     กองพลที่ ๑๑  ที่เคดาห์ (ไทรบุรี)    ป้องกันฐานทัพอากาศทางตอนเหนือ    และกองพลน้อยที่ ๒๒ (อินเดีย)  ที่กวนตัน

          - กองพลที่ ๘ (ออสเตรเลีย)  วางกำลังทางใต้ของมลายา  ประกอบด้วย  กองพลน้อยที่ ๒๒ (ออสเตรเลีย)  ที่เมืองเมอร์ซิงป้องกันเมืองยะโฮร์    กองพลน้อยที่ ๒๗  วางกำลังรักษาเมืองสิงคโปร์  ร่วมกับกองพลที่ ๑๘ (อังกฤษ)  และมีกองหนุนอีก  ๑ กองพลน้อย  อยู่ใกล้พอร์ต สเวทเทนแฮม  (Port Swettenham  )

       พลโท  เพอร์ซิวาล  ไม่คาดว่า  กองทัพญี่ปุ่นจะรุกมาจากทางเหนือ  เพราะภูมิประเทศเป็นป่าทึบ  ซึ่งเป็นเครื่องกีดขวางตามธรรมชาติขัดขวางการเคลื่อนที่        

 

 ๘  ธันวาคม  ๒๔๘๔ 

 

  

 

การวางกำลังของฝ่ายอังกฤษ  และการยกพลขึ้นบกของฝ่ายญี่ปุ่น  ๘  ธันวาคม  ๒๔๘๔

 

ในมลายา 

โกตาบารู  รัฐกลันตัน 

          เวลา ๐๔๓๐    ญี่ปุ่นเริ่มด้วยการทิ้งระเบิดสนามบินทางตอนเหนือสหพันธรัฐมลายู  และเกาะสิงคโปร์           
   
          กรมทหารราบที่ ๕๖ (+)  (ส่วนแยกทากูมิของกองพลที่ ๑๘)   ยกพลขึ้นบกที่โกตาบารู    ในกลางดึกคืน  ๗ - ๘  ธันวาคม

          อังกฤษส่งเครื่องบินเข้าโจมตี    และสู้รบทางพื้นดินอย่างทรหด    กองพลที่ ๙  (อินเดีย)  ต้องปรับแนวใหม่  และใช้หน่วยรักษาชายแดนเข้าตีโต้ตอบจากทางฝั่งใต้ของแม่น้ำกลันตัน    แต่ในที่สุดก็ต้องถอย  และอพยพพลเรือนด้วย     กรมทหารราบที่ ๕๖ (+)  ยึดสนามบินได้ภายใน  ๒ - ๓ ชั่วโมง

          การปฏิบัติการทางอากาศด้านนี้  ดำเนินไปอย่างรุนแรง    อังกฤษส่งเครื่องบินจากเคดาห์  กวนตัน  และเต็งดาห์  เข้าปฏิบัติการโจมตีกองเรือญี่ปุ่น  ที่นอกฝั่งโกตาบารู  แต่เครื่องบินญี่ปุ่นเข้าสกัดกั้น   ฝ่ายอังกฤษไม่มีเครื่องบินขับไล่คอยคุ้มกัน  จึงเสียหายมาก

          ญี่ปุ่นส่งเครื่องบินขับไล่เข้าสกัดกั้นเครื่องบินอังกฤษ  และยังส่งเครื่องบินทิ้งระเบิดไปโจมตีสนามบินในมลายาหลายแห่ง  เช่น  อลอร์สตาร์  สุไหงปัตตานี  ปีนัง  โกตาบารู  และเคดาห์    สนามบิน และเครื่องบินอังกฤษเสียหายมาก  .  .  .  ญี่ปุ่นสามารถครองความเป็นเจ้าอากาศเหนือน่านฟ้ามลายาได้  .  .  . 

          ทางกองเรือญี่ปุ่น  ก็มีการเคลื่อนไหวมาก    กองเรือญี่ปุ่นมุ่งลงใต้  สู่กวนตัน    ฝ่ายอังกฤษประมาณสถานการณ์ว่า  ญี่ปุ่นอาจจะยกพลขึ้นบกในไม่ช้า  จึงส่งเรือรีพัลส์ และ เรือปรินส์ ออฟ เวลส์   ขึ้นไปทางทิศเหนือเพื่อป้องกันไม่ให้ญี่ปุ่นยกพลขึ้นบก  โดยไม่มีเครื่องบินคุ้มกันอย่างพอเพียง

          ครับ  .  .  .  ๘  ธันวาคม  ๒๔๘๔    กองทัพที่ ๒๕  ญี่ปุ่น  ขึ้นบกที่สงขลา  ปัตตานี  และโกตาบารู  ได้สำเร็จเพื่อทำการรบในมลายา    เชิญติดตามสถานการณ์ต่อไป  ,  ,  ,  การทัพในมลายา (๒) - ก่อนถึงสิงคโปร์  .  .  .  ครับ

 

สถานการณ์ต่อไป  ,  ,  ,  การทัพในมลายา (๒) - ก่อนถึงสิงคโปร์

สถานการณ์ต่อไป  ,  ,  ,  การทัพในมลายา (๒) - ก่อนถึงสิงคโปร์

สถานการณ์ต่อไป  ,  ,  ,  การทัพในมลายา (๒) - ก่อนถึงสิงคโปร์

 

 

 




ประวัติศาสตร์สงคราม กรีก โดย สัมพันธ์

อเล็กซานเดอร์มหาราช : สู่ตะวันออก
อเล็กซานเดอร์มหาราช : เริ่มลมเหนือ
สงคราม กรีก - กรีก
สงคราม กรีก - เปอร์เซีย



แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.
| WW II Europe | WW II Asia | WW I | Vietnam War | ประวัติศาสตร์ไทย | บทความจากสมาชิก | คุยกันหลังฉาก | บทความทั้งหมด |

สนใจร่วมเขียนบทความในเว็บไซต์ เชิญอ่าน แนวทางการร่วมเขียนบทความ ภาพยนตร์ประวัติศาสตร์

Custom Search



eXTReMe Tracker