dot
dot
เว็บภาพยนตร์ประวัติศาสตร์ ยินดีต้อนรับผู้สนใจทุกท่าน
dot
dot
สมาชิก Webboard/Blog
ชื่อผู้ใช้ :
รหัสผ่าน :
เข้าสู่ระบบอัตโนมัติ :
bullet ลืมรหัสผ่าน
dot
bulletข้อตกลงการเป็นสมาชิก
bulletเว็บบอร์ด-คุยกันหลังฉาก
bulletเว็บบอร์ด-Games ย้อนยุค
bulletเว็บบอร์ด-ชุดจำลองประวัติศาสตร์
bulletเว็บบอร์ด-หนังสือประวัติศาสตร์
bulletเว็บบอร์ด-เพลงประวัติศาสตร์
bulletคำถาม/คำตอบ ล่าสุด
bulletแนวทางการร่วมเขียนบทความ
dot
สงครามโลกครั้งที่ 2
dot
bulletสมรภูมิยุโรป (สัมพันธมิตรVSเยอรมัน-อิตาลี)
bulletสมรภูมิแปซิฟิก-เอเชีย (สัมพันธมิตรVSญี่ปุ่น)
dot
ภาพยนตร์ประวัติศาสตร์อื่นๆ
dot
bulletสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง
bulletประวัติศาสตร์ไทย
bulletประวัติศาสตร์อเมริกันยุคเริ่มแรก
bulletสงครามเวียดนามและอินโดจีน
bulletตะวันตกโบราณ (กรีก โรมัน ฯลฯ)
bulletประวัติศาสตร์ร่วมสมัย
bulletเอเชียโบราณ
bulletประวัติศาสตร์อื่นๆ (ยังไม่แยกหมวดหมู่)
bulletคลิปความรู้จาก YouTube
dot
บทความโดย วิวันดา
dot
bulletฮิตเล่อร์...และเหล่าขุนพลแห่งอาณาจักรไรค์ซที่สาม
bulletลอดลายรั้ว.....วินด์เซอร์
bulletเลิศเลอวงศา...โรมานอฟ
bulletเชลย
bulletซูคอฟ...ยอดขุนพลผู้ดับฝันของฮิตเล่อร์
dot
บทความโดย สัมพันธ์
dot
bulletคนไทยในกองทัพพระราชอาณาจักรลาว
bulletประวัติศาสตร์สงคราม กรีก
bulletกรณีพิพาทอินโดจีนและสงครามมหาเอเชียบูรพา
bulletอยุธยายศล่มแล้ว ลอยสวรรค์ ลงฤา
bulletฮานนิบาล
bulletพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบรมวงศานุวงศ์
bulletไทยกับมหาสงคราม
bulletสงครามเวียดนาม
bulletห้วยโก๋น ๒๕๑๘
bulletการทัพในมลายา
bulletประวัติศาสตร์อื่น ๆ
dot
เรื่องอื่นๆ
dot
bulletบทความเสริมความรู้ทั่วไป
bulletเกร็ดเล็กเกร็ดน้อย
bulletผู้จัดทำ
bulletผังเว็บไซต์ (Site Map)
bulletแนวทางการร่วมเขียนบทความ
bulletถาม-ตอบ (FAQs) (โปรดอ่านก่อนตั้งกระทู้หรือสมัครสมาชิก)
bulletร้านค้าออนไลน์
bulletแบ่งปัน Album
dot
ลิงค์ต่างๆ
dot
bulletHistory on Film
bulletกองบิน 21 กองพลบิน 2
bulletIELTS British Council
bulletIELTS IDP
bulletMUIC




โหราศาสตร์ยุคไอที



การทัพในมลายา (๒) - ก่อนถึงสิงคโปร์

*  *  *

การทัพในมลายา (๒) - ก่อนถึงสิงคโปร์

สถานการณ์เดิม

          ๘  ธันวาคม  ๒๔๘๔    กองทัพที่ ๒๕  ญี่ปุ่น  ขึ้นบกที่สงขลา  ปัตตานี  และโกตาบารู  ได้สำเร็จ  เพื่อทำการรบในมลายาต่อไป

สถานการณ์ต่อไป    

          ฝ่ายญี่ปุ่น  จัดแยกเดินทัพเป็น  ๒ แนวทางเคลื่อนที่  และรุกต่อไป  ดังนี้

แนวทางที่ ๑.  กองพลที่ ๕  (ยกพลขึ้นบกที่สงขลา  และปัตตานี)

          แนวทางที่ ๑.๑    จากสงขลา  รุกเข้าไทรบุรี  (รัฐเคดาห์)  เมื่อทำลายกองพลที่ ๑๑ (อินเดีย)  ได้แล้ว  ก็รุกเข้าทำลาย  กองบัญชาการกองทัพน้อยที่ ๓  ที่เกาะปีนัง

          แนวทางที่ ๑.๒    จากปัตตานี - เบตง - โกร๊ะ  ทำลายกองพลน้อยที่ ๒๘ (อินเดีย) ที่อิโปห์    แล้วมุ่งสู่กรุงกัวลาลัมเปอร์

แนวทางที่ ๒.  กรมทหารราบที่ ๕๖ (+)  (ส่วนแยกทากูมิของกองพลที่ ๑๘ - ยกพลขึ้นบกที่โกตาบารู)

          แนวทางที่ ๒.๑    ตามเส้นทางรถไฟ  โกตาบารู - กัวลาไกร - กัวลาลิปิส

          แนวทางที่ ๒.๒    ตามฝั่งทะเลตะวันออกโกตาบารู - กัวลาตรังกานู - กวนตัน  ทำลายกองพลน้อยที่ ๒๒ (อินเดีย) - เมอร์ซิง  ทำลายกองพลน้อยที่ ๒๒ (ออสเตรเลีย) - สิงคโปร์

 

๑๐  ธันวาคม  ๒๔๘๔    เครื่องบินญี่ปุ่นจมเรือรีพัลส์  และเรือปรินส์ ออฟ เวลส์  ของอังกฤษ  ที่นอกฝั่งกวนตัน

 

 

 

 เครื่องบินญี่ปุ่นจมเรือรีพัลส์  และเรือปรินส์ ออฟ เวลส์  ของอังกฤษ  ที่นอกฝั่งกวนตัน

 

การรบทางด้านตะวันตก

สงขลา - จิตรา  อลอร์สตาร์

 

ธันวาคม  ๒๔๘๔

 

          ทางใต้ของจิตรา  แนวรบอังกฤษ  (กองพลที่ ๑๑  อินเดีย) เพิ่งจะพร้อมรบได้เพียง  ๒ วัน    ผู้บัญชาการกองพลที่ ๑๑  อินเดีย  ได้สั่งการ กองพลน้อยที่ ๑๕  ซึ่งเป็นกรมทหารที่ตั้งรับในแนวหน้า  ให้ตรึงกำลังญี่ปุ่นไว้ด้านเหนือของจิตราให้ได้ถึงวันที่  ๑๒  ธันวาคม   

          ญี่ปุ่นโจมตีปีกขวาของแนวรบอังกฤษ  (กองพลที่ ๑๑  อินเดีย)  ที่จิตรา  (Jitra)  โดยมีรถถังสนับสนุน    ฝ่ายอังกฤษต้องขยายแนวออกไปในความมืด  อย่างยาวเหยียด     

 

รถถังญี่ปุ่น  ในการเข้าตี  จิตรา  เมื่อ  ๑๑  ธันวาคม  ๒๔๘๔  >

From  1942Malaya.blogspot.com

 

๑๒  ธันวาคม   

          - ฝ่ายญี่ปุ่นก็เข้าตีตรงหน้าอย่างรุนแรง  ตั้งแต่รุ่งสว่าง    ฝ่ายอังกฤษไม่สามารถยึดที่มั่นต่อไปได้  ต้องถอยลงมา 

          - แต่ฝ่ายอังกฤษ  ก็ได้ส่งกองหนุนไปช่วยทางปีกขวา  และสามารถยับยั้งฝ่ายญี่ปุ่นไม่ให้โอบปีกขวาได้

          - ฝ่ายญี่ปุ่นถ่ายน้ำหนักการโจมตีเป็นทางปีกซ้ายของอังกฤษ    ปีกซ้ายของอังกฤษต้องหลบปีก  จึงเกิดช่องว่างในตอนกลาง  ยื่นล้ำออกไป 

          - เวลาประมาณ  ๒๑๐๐    กองพลที่ ๑๑ อินเดีย  ต้องถอย  โดยกองพลน้อยที่ ๑๕  กำบังการถอนตัวให้กองพล    กองพลที่ ๑๕  ถอนตัวอย่างสับสนอลหม่าน เพราะการติดต่อสื่อสารขาดสะบั้น    หน่วยรองได้รับคำสั่งล่าช้า  และไม่ทั่วถึง  หลายหน่วยติดพันการรบไม่สามารถผละจากการรบได้  บางหน่วยไม่สามารถถอยลงมาทางถนน หรือทางรถไฟได้  ต้องถอยลงมาในภูมิประเทศ    บางหน่วยถอยผิดทิศทางไปยังฝั่งทะเล  ต้องลำเลียงทางเรือต่อไป   บางส่วนต้องติดอยู่ในที่มั่น

          กองพลน้อยที่ ๑๕  เหลือกำลังเพียง  ๖๐๐ นาย    ไม่เหมาะที่จะจัดเข้าทำการรบอีก   

          กองพลน้อยที่ ๖  ได้รับความเสียหายมาก  สูญเสีย  ปืนใหญ่  อาวุธประจำหน่วย  ยานพาหนะ  และเครื่องมือสื่อสาร  เกือบทั้งหมด

          อย่างไรก็ตาม    กองพลที่ ๑๑ อินเดีย  ก็ยังสามารถทำลายสะพานได้  ๓ แห่ง

  

ปัตตานี - เบตง - โกร๊ะ

๑๒  ธันวาคม  ๒๔๘๔

          ฝ่ายญี่ปุ่นเข้าโจมตี  กองพันที่ ๑๖  กรมทหารราบที่ ๓ (อินเดีย)  จนต้องถอยผ่าน  กองพันที่ ๑๔  กรมทหารราบที่ ๕  ซึ่งตั้งรับในทางลึก  เพราะภูมิประเทศเป็นช่อาทางบังคับ  ไปตั้งรับทางตะวันตกของโกร๊ะ  ๓ ไมล์    ส่วนกองพันที่ ๑๔  กรมทหารราบที่ ๕  ต้องรั้งหน่วงลงมาเป็นขั้นๆ    แล้ว  อังกฤษก็ถอยต่อไปทางตะวันตกของโกร๊ะ  ๑๐ ไมล์    ปล่อยโกร๊ะให้แก่ฝ่ายญี่ปุ่น

 

จิตรา - กุรุบ

๑๓  ธันวาคม  ๒๔๘๔

          กองพลที่ ๑๑ อินเดีย  ส่วนหนึ่งถอยมาจากจิตรา ได่เข้าที่มั่นถัดลงมาข้างหลังที่กุรุบ  ซึ่งภูมิประเทศเป็นลอนคลื่น มีสวนยาวทึบ  นับว่าเกื้อกูลแก่การตั้งรับ    กองพลที่ ๑๑ อินเดีย  จัดวางกำลัง ให้กองพลน้อยที่ ๒๔  อยู่ทางขวา    กองพลน้อยที่ ๖  อยู่ทางซ้าย    และกองพลน้อยที่ ๑๕  เป็นกองหนุน  (เหลือกำลังพลประมาณ  ๒๐๐)

 

๑๔  ธันวาคม  ๒๔๘๔

           ฝ่ายญี่ปุ่นซึ่งไล่ติดตามจากจิตรา  ถึงกุรุบในเย็นวันที่  ๑๔  ธันวาคม    ใช้เครื่องบินโจมตีทางอากาศ  และรถถังเข้าตี    สามารถเจาะแนวตั้งรับของอังกฤษได้  แต่ถูกตีโต้ตอบอบ่างหนัก  .  .  .  การรบดำเนินต่อไปจนรุ่งเช้า  .  .  .  ๑๕  ธันวาคม  .  .  .  กองพลที่ ๑๑ อินเดีย สูญเสียมาก  เหลือทำการรบเพียงแต่ กองพลน้อยที่ ๒๔  เท่านั้น

          กองพลที่ ๑๑ อินเดีย  ต้องถอยต่อไป  ให้หน่วยที่มาจากเกาะปีนังกำบังการถอนตัว  แต่ได้ระเบิดทำลายสะพานเสียก่อนที่จะถอนตัวเสร็จเรียบร้อย  ทำให้ไม่สามารถนำยานพาหนะ  และอาวุธหนักไปได้ เป็นจำนวนมาก        

          ในที่สุด    กองพลที่ ๑๑ อินเดีย  ต้องสูญเสียทั้งกำลังพล  และอาวุธยุทโธปกรณ์เป็นอันมาก  เช่น  ปืนใหญ่  อาวุธหนัก  ยานพาหนะ  เครื่องมือสื่อสาร  หมดสภาพที่จะทำการรบต่อไปได้อีก  ต้องสับเปลี่ยนหน่วย  หรือได้รับกำลังทดแทน  แต่  .  .  .  อังกฤษก็ไม่มีกองหนุนที่จะทำเช่นนั้นได้       

กองทัพญี่ปุ่นยังคงรุกหน้าต่อไป

เกาะปีนัง

๑๖  ธันวาคม  ๒๔๘๔

          เมื่อกองพลที่ ๑๑ อินเดีย  ต้องร่นถอย และแตกพ่ายที่จิตรา - กุรุบ  และสถานการณ์ด้านโกร๊ะก็เลวร้าย    ฝ่ายอังกฤษจึงตกลงใจสละเกาะปีนัง  เคลื่อนย้ายหน่วยทหารออกจากเกาะปีนังในคืนวันที่  ๑๖  ธันวาคม    แต่ไม่ได้ทำลายสถานีวิทยุกระจายเสียง และเรือท้องแบนที่อยู่ตามท่าเรือ

๑๗  ธันวาคม  ๒๔๘๔    ญี่ปุ่นก็ยึดเกาะปีนังได้

          สถานการณ์โดยทั่วไป    ญี่ปุ่นครองความเป็นเจ้าอากาศเหนือน่านฟ้ามลายา  สามารถโจมตีทางอากาศอย่างหนักต่อสนามบิน  และที่หมายในการรบ    ฝ่ายอ้งกฤษต้องสร้างสนามบินใหม่ในรัฐยะโฮห์ และเกาะสิงคโปร์

 

กองบัญชาการร่วม  ABDACOM 

          ได้มีการจัดตั้งกองบัญชาการร่วม ระหว่าง  สหรัฐอเมริกา  อ้งกฤษ  เนเธอร์แลนด์  และออสเตรเลีย American - British - Dutch - Australian Command  ABDACOM    เมื่อ  ๒๔  ธันวาคม  ๒๔๘๔    พลเอก  อาร์ชิบาลด์  เวเวลล์  (General Archibald Wavell)  เป็นผู้บัญชาการ 

 

แนวตั้งรับต่อไป  .  .  .  แม่น้ำเปรัค

          กองพลที่ ๑๑ อินเดียได้รับหน้าที่ให้บังคับบัญชาหน่วยทหารในเปรัค  และกริ๊ก    กองพลฯ ทำการตั้งรับหลังแม่น้ำเปรัค    แต่สถานการณ์ก็ไม่ดีขึ้น   

          เมื่อต้องถอย  กองทหารอังกฤษก็ทำลายทุกสิ่งทุกอย่างที่ถอยผ่านไปเพื่อเป็นการขัดขวางการเคลื่อนที่ของฝ่ายญี่ปุ่น  แต่เมื่อกองทหารไม่สามารถทำลายได้ทัน  จึงออกคำสั่งให้เจ้าของอาคารเป็นผู้ทำลายเอง  ซึ่งเสียผลทางจิตวิทยาต่อประชาชาวมลายูมาก

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 ความก้าวหน้า / การขยายตัวของญี่ปุ่น   ๒๕  ธันวาคม  ๒๔๘๔ 


 

๒๖  ธันวาคม  ๒๔๘๔    ญี่ปุ่นยึดฮ่องกง

๒๗  ธันวาคม  ๒๔๘๔    อิโปห์  .  .  .  แตก    ที่มั่นตั้งรับต่อไป  .  .  .  คัมปาร์

 

คัมปาร์ - ที่มั่นดัดแปลงแข็งแรงที่สุดในแหลมมลายู

ที่มั่นที่คัมปาร์  เหมาะแก่การตั้งรับ  มีการดัดแปลงภูมิประเทศอย่างดี        

          คืน  ๒๗  ธันวาคม    กรมที่ ๒๘  เข้าที่มั่นในคัมปาร์

          กองพลน้อยที่ ๖  และกองพลน้อยที่ ๑๕    เป็นหน่วยตั้งรับ

          กองพลน้อยที่ ๑๒  และกองพลน้อยที่ ๑๘    รบหน่วงเวลาทางด้านเหนือ

          กองพลน้อยที่ ๑๒  ทำหน้าที่รั้งหน่วงการรุกของญี่ปุ่น  แล้วถอนตัวผ่านคัมปาร์เข้าสู่บิดอร์  (Bidor)  โดยได้รับการสนับสนุนรถหุ้มเกราะเข้าที่มั่นกองหนุน

 

๒๙  ธันวาคม  ๒๔๘๔  

          ฝ่ายญี่ปุ่นไล่ติดตามอย่างในทันที  เข้าประชิดด้วยหน่วยรถถัง    และเข้าตีกองพลน้อยที่ ๑๒  ในที่มั่นกองหนุน    

          กองพลน้อยที่ ๑๒  ถูกตีแตกเสียหายยับเยิน    สูญเสียกำลังพลจำนวนมาก  และรถหุ้มเกราะเกือบทั้งหมด

          ฝ่ายอังกฤษส่ง กองพลน้อยที่ ๕  (อินเดีย)  และกองพลน้อยที่ ๑๘  (อังกฤษ)  เข้าไปเพิ่มเติมกำลังที่คัมปาร์  


          
 

  ๑  มกราคม  ๒๔๘๕    

          ญี่ปุ่นโจมตีที่มั่นสำคัญในคัมปาร์  โดยมีกำลังทางอากาศและรถถังสนับสนุนทั้งวัน    มีกำลังส่วนหนึ่งจากกวนตัน  (ทางตะวันออกของคาบสมุทร)  มุ่งเข้าตัดเส้นทางถอยของฝ่ายอังกฤษที่คัมปาร์

 ๒  มกราคม  ๒๔๘๕

          กองพลน้อยที่ ๖  และกองพลน้อยที่ ๑๕    เริ่มถอย     

          ญี่ปุ่นเคลื่อนย้ายกำลังมาทางเรือตามแม่น้ำเปรัค ประมาณ  ๑ กองพัน  เตรียมขึ้นฝั่งที่  Telok Anson    แต่ฝ่ายอังกฤษได้รับรายงานว่า  ฝ่ายญี่ปุ่นมีกำลังประมาณ  ๑ กรม  ผลของการรายงานนี้ คือ  .  .  .  มีคำสั่งให้ถอนจากคัมปาร์

    
การรบทางด้านตะวันออก

กวนตัน  KUANTAN

          กรมทหารราบที่ ๕๖ (+)  (ส่วนแยกทากูมิของกองพลที่ ๑๘)   ยกพลขึ้นบกที่โกตาบารู    ในกลางดึกคืน  ๗ - ๘  ธันวาคม

          กองทหารญี่ปุ่นจากโกตาบารู  เคลื่อนที่เป็นสองแนวทางคือ

               แนวทางที่ ๑    ตามเส้นทางรถไฟ  โกตาบารู - กัวลาไกร - กัวลาลิปิส

               แนวทางที่ ๒    ตามฝั่งทะเลตะวันออก  โกตาบารู - กัวลาตรังกานู - กวนตัน

          ต่อมา  ญี่ปุ่นได้ยกพลขึ้นบกที่กวนตันอีก   และพยายามยึดสนามบินให้ได้เพื่อใช้เป็นฐานทัพที่ใกล้ที่สุดในการโจมตีเกาะสิงคโปร์ 

          ฝ่ายอังกฤษที่กวนตันได้พยายามต้านทานอย่างเต็มที่ 

๓  มกราคม  ๒๔๘๕    ฝ่ายอังกฤษค้อง  .  .  .   ถอนตัวจากกวนตัน

 

ยะโฮร์ - ด่านสุดท้ายก่อนถึงสิงคโปร์

แนวความติดของอังกฤษในการป้องกันยะโฮร์

            - รักษาแนวเอนเดา (Endau) - บาตู อนาม - บัวร์  ไว้อย่างเด็ดขาด    

            - รักษาสนามบินที่ปอร์ต สเวทเทนแฮม  และ  กัวลา ลัมเปอร์  ไว้ให้ได้ถึง  ๑๔  มกราคม  เพื่อให้  กองทัพน้อยที่ ๓ (อินเดีย)  และกองทหารออสเตรเลีย   วางกำลังเสียก่อน

แนวความติดของญี่ปุ่นในการโจมตียะโฮร์

            - จู่โจม  โดยการปกปิดและลวงให้ฝ่ายอังกฤษเข้าใจผิด

แม่น้ำเปรัค และป่าใหญ่  เครื่องกีดขวางจำกัดการเคลื่อนที่ของกองทหารขนาดใหญ่

          แม่น้ำเปรัค    เครื่องกีดขวางทางธรรมชาติ  ขัดขวางการรุกของญี่ปุ่น

          ป่าใหญ่ทางเหนือกรุงกัวลา ลัมเปอร์    ก็จำกัดการเคลื่อนที่  เพราะมีถนนเพียงสายเดียว  

             ทั้งสองอย่างเป็นอุปสรรคต่อการจู่โจมของญี่ปุ่น    ซึ่งญี่ปุ่นแก้ปัญหานี้โดยการเคลื่อนย้ายกำลังโดยทางรถไฟจากสงขลา - หาดใหญ่  เข้ารัฐปะลิส  (ปาดังเบซาร์)  และเคลื่อนย้ายทางเรือ  ไปขึ้นบกทางฝั่งตะวันตกของคาบสมุทรมลายา
        
 

แม่น้ำสลิม  (Slim River)  -  ก่อนเข้าสูรัฐยะโฮร์  ในตอนกลางของมลายา

          กองทหารอังกฤษดัดแปลงที่มั่นตั้งรับในเวลากลางคืน  ใช้ความมืดเป็นเครื่องกำบัง    ญี่ปุ่นโจมตีทางอากาศ

๕  มกราคม  ๒๔๘๕

          ญี่ปุ่นทิ้งระเบิดบริเวณที่ตั้งของกองพลน้อยที่ ๑๒    แต่กำลังทางบกก็ถูกผลักดันออกไป    

          ในตอนบ่าย  ฝ่ายญี่ปุ่นได้เคลื่อนที่ตามทางรถไฟ  และแนวถนน  แต่ไม่สำเร็จ

๖  มกราคม  ๒๔๘๕

          ญี่ปุ่นเริ่มโจมตีด้วยหน่วยรถถังตั้งแต่เช้า

๗  มกราคม  ๒๔๘๕      

          ญี่ปุ่นเข้าตีตลอดแนวในเวลากลางคืนโดยใช้แสงสว่างตามธรรมชาติ  (ตรงกับวันพุธ แรม  ๖ ค่ำ เดือนยี่ - การตรวจสอบของ  http://www.payakorn.com/moondate.php)

          ญี่ปุ่นใช้หน่วยรถถังเจาะแนว และทำลายระบบการสื่อสารของทหารอังกฤษได้    เมื่อระบบการสื่อสารถูกทำลาย หน่วยต่างๆ จึงไม่ทราบสถานการณ์ของหน่วยฝ่ายเดียวกัน    ฝ่ายอังกฤษจึงถูกรถถังญี่ปุ่นโจมตีแตกกระจัดกระจายเสียหายยับเยิน

          รถถังญี่ปุ่นรุกเข้าไปได้ถึง  ๑๕ ไมล์  (๒๔ กิโลเมตร)  และยึดสะพานข้ามแม่น้ำสลิมได้

          การรบที่แม่น้ำสลิม  เป็นการรบที่สำคัญ  เพราะเมื่อฝ่ายญี่ปุ่นเจาะผ่านไปได้  ก็สามารถควบคุมพื้นที่ตอนกลางของมลายา  และกรุงกัวลา ลัมเปอร์ ได้

          หลังจากการพ่ายแพ้ที่แม่น้ำสลิมแล้ว    ซึ่งฝ่ายอังกฤษต้องถอยหนีไปตามทางรถไฟ  ทิ้งปืนใหญ่ และยานยนตร์ไว้เป็นจำนวนมาก  และ  .  .  .  เข้าสู่ที่มั่นคั้งรับในรัฐยะโฮร์ตามแผนตามแผน   

 

บทเรียนจากการรบที่แม่น้ำสลิม

          ๑. ฝ่ายอังกฤษไม่มีการป้องกันภัยทางอากาศ  และการต่อต้านรถถังที่เพียงพอ  ซึ่งเป็นมาตั้งแต่เริ่มการทัพในมลายา

          ๒. ฝ่ายอังกฤษกำลังพลอ่อนล้า  อิดโรย   ขวัญ กำลังใจตกต่ำ  ไม่มีจิตใจรุกรบ  เพราะถูกรุกไล่มาตลอดเวลาประมาณ  ๑ เดือน  โดยไม่มีหน่วยเข้าทดแทนสับเปลี่ยน    ส่วยฝ่ายญี่ปุ่น  แม้ว่าจะทำการรบมาพร้อมๆ กัน  แต่มีขวัญ กำลังใจ  และมีจิตใจรุกรบมาก  เนื่องจากเป็นฝ่ายได้ชัยชนะ และรุกไล่         

          ๓. การที่ฝ่ายญี่ปุ่นได้ยานพาหนะ  (รถยนตร์)  และเรือท้องแบน  ทำให้มีความคล่องแคล่วในการเคลื่อนที่มากขึ้น  สามารถรวมกำลังเข้าทำการรบได้รวดเร็วขึ้น

          ๔. การที่ฝ่ายญี่ปุ่นครองความเป็นเจ้าอากาศเหนือน่านฟ้ามลายา  ทำให้มีเสรีในการปฏิบัติได้ตามแผน

          ครับ  .  .  .  จากแม่น้ำสลิม    ฝ่ายอังกฤษพยายามป้องกันกรุงกัวลาลัมเปอร์   โดยตั้งรับตามลำดับขั้น  ขั้นต่อไปที่กัวลากูบู  (Kuala Kubu)  เหนือกรุงกัวลาลัมเปอร์  ในวันที่  ๖  มกราคม    แต่ไม่สำเร็จ    ฝ่ายญี่ปุ่นยังคงรุกไล่ต่อไป  .  .  .

 

กรุงกัวลา ลัมเปอร์  เมืองหลวงสหพันธรัฐมลายา 

 

๑๑  มกราคม  ๒๔๘๕   

          ญี่ปุ่นยึดได้กรุงกัวลาลัมเปอร์  เมืองหลวงสหพันธรัฐมลายา    โดยทิ้งสัมภาระต่างๆ  อาหาร  และกระสุนไว้ข้างหลัง

 

 

 

ทหารญี่ปุ่นเข้ากรุงกัวลา ลัมเปอร์  >

Source    Imperial War Meseum

Added by    C. Peter Chen at WW2db.com

 

          กองพลที่ ๕  หยุดรอที่ซาเร็มบัง    (Saremban)

          กองพลรักษาพระองค์

๑๒  มกราคม  ๒๔๘๕    ฝ่ายอังกฤษ  ตั้งรับต่อไปที่ซาเร็มบัง    (Saremban)

๑๓  มกราคม  ๒๔๘๕

          ฝ่ายอังกฤษเพิ่มเติมกำลังในเกาะสิงคโปร์  ดังนี้

          กองพลน้อยที่ ๕๓  ของกองพลที่ ๑๘  (อังกฤษ)

          กรมทหารปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยานขนาดหนัก

          กรมทหารปืนใหญ่ต่อสู้รถถัง

          เครื่องบินขับไล่แบบเฮอริเคน  ๕๐ เครื่อง

 

การรบในยะโฮห์  ตอนใต้ของมลายา

มัวร์  (Muar)  The last major battle of the Malayan campaign

          หลังจากการปราชะยที่อม่น้ำสลิม  นายพล  อาร์ชิบาลด์  เวเวลล์  ผู้บัญชาการร่วม ABDA  ตกลงใจให้  กองทัพน้อยที่ ๓ (อินเดีย)  ถอยลงมา 
๑๕๐ ไมล์  เพื่อปรับกำลังใหม่    ขณะที่  ให้กองพลที่ ๘ (ออสเตรเลีย)  ใช้ความพยายาม "หยุด" การรุกของญี่ปุ่น

          ฝ่ายอังกฤษต้องเข้าสู่ที่มั่นคั้งรับในรัฐยะโฮร์  ตามแนวตั้งรับหลังแม่น้ำมัวร์  (Muar River)    จากมัวร์ ถึง เกมาส   (Gemas)  โดยหวังว่า
จะสามารถ "หยุด" ฝ่ายญี่ปุ่นไว้ได้

          ฝ่ายอังกฤษต้องเข้าสู่ที่มั่นคั้งรับในรัฐยะโฮร์  ตามแนวตั้งรับหลังแม่น้ำมัวร์  (Muar River)    จากมัวร์ ถึง เกมาส   (Gemas)  โดยหวังว่าจะสามารถหยุดญี่ปุ่นไว้ได้

 

เกมาส   (Gemas)

๑๓  มกราคม  ๒๔๘๕

          ฝ่ายอังกฤษ    วางกำลัง  ดังนี้

               - กองพลน้อยที่ ๒๗  ออสเตรเลีย    กองพลน้อยที่ ๘  อินเดีย  บนถนนและทางรถไฟ    และวางกองพลน้อยที่ ๒๒  อินเดีย  ไว้ในทางลึก        

               - ส่ง  กองร้อยที่ ๒  กองพันทหารราบที่ ๓๐  กองพลน้อยที่ ๒๗  ออสเตรเลีย  ออกไปข้างหน้า  ประมาณ  ๔ - ๕ ไมล์  แฝงตัวซุ่มยึดที่มั่นในป่าทึบ    มีปืนใหญ่สนับสนุน  ๑ กองร้อย

๑๔  มกราคม  ๒๔๘๕

          เวลาประมาณ  ๑๖๐๐    หน่วยนำของทหารญี่ปุ่น  เคลื่อนที่ผ่านกองร้อยที่ ๒ฯ  ที่แฝงตัวซุ่มยึดที่มั่นในป่าทึบ  และผ่านเลยไปยังที่มั่นตั้งรับใหญ่ของฝ่ายอังกฤษ    กองร้อยที่ ๒ฯ  ที่ซุ่มอยู่ก็เริ่มยิง  และระเบิดทำลายสะพานในขณะที่ฝ่ายญี่ปุ่นกำลังข้ามสะพาน    ทำให้ฝ่ายญี่ปุ่นเสียหายมาก

๑๕  มกราคม  ๒๔๘๕

          - ฝ่ายญี่ปุ่นพยายามส่งกำลังเข้าตี    แต่  กองร้อยที่ ๒ฯ  ได้ถอนตัวไปก่อนแล้ว

          - กองพลน้อยที่ ๔๕ ออสเตรเลีย  วางกำลังตั้งรับทางใต้แม่น้ำมัวร์  (ตั้งรับหลังลำน้ำ)

          - กองทหารมาร์โซเซส์ของฮอลันดา  เดินทางถึงเกาะสิงคโปร์
         

มัวร์  (Muar)

๑๕  มกราคม  ๒๔๘๕    - กองพลน้อยที่ ๔๕ ออสเตรเลีย  วางกำลังตั้งรับทางใต้แม่น้ำมัวร์  (ตั้งรับหลังลำน้ำ)

๑๖  มกราคม  ๒๔๘๕    - ฝ่ายญี่ปุ่นส่งกองพลรักษาพระองค์ญี่ปุ่นยกพลขึ้นบกที่มัวร์  ด้านหลังที่มั่นของกองพลน้อยที่ ๔๕    และกองพลที่ ๖  รุกมาทางถนน

          ฝ่ายญี่ปุ่นเข้าตีทุกทิศทุกทาง  ในวันที่  ๑๙  มกราคม  ๒๔๘๕    กองพลน้อยที่ ๔๕  ออสเตรเลีย  ต้องถอนตัวต่อไปเป็นช่วงๆ  โดยฝ่ายญี่ปุ่นไล่ติดตามอย่างกระชั้นชิดและทำการรบติดพัน  ผู้บัญชาการกองพลน้อย  เสียชีวิตในการรบ    ผู้รับหน้าที่ต่อต้องสั่งการทำลายอาวุธ  และยานพาหนะ  ส่วนกำลังพลต้องหลบหนีเข้าป่า    กำลังพลกองพลน้อยที่ ๔๕  ออสเตรเลีย  ที่มัวร์  ประมาณ  ๔ พัน  สูญเสียจนเหลืออยู่  ไม่ถึง  ๑ พัน    และกองพลน้อยที่ ๘  อินเดีย  ก็ถูกทำลาย

          อย่างไรก็ตาม    กองพลที่ ๘ (ออสเตรเลีย)  ก็ใช้ยุทธวิธีซุ่มโจมตีด้วยหน่วยทหารขนาดใหญ่  ทำให้ฝ่ายญี่ปุ่นสูญเสียมาก  สามารถรั้งหน่วงการรุกของกองพลรักษาพระองค์ญี่ปุ่นให้ล่าช้าออกไปประมาณ  ๑ สัปดาห์   ทำให้ทหารอังกฤษที่เซกามัทถอนตัวได้อย่างปลอดภัย 
 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 การรบที่มัวร์

From  1942Malaya.blogspot.com

 แนวตั้งรับต่อไป  .  .  .

เมอร์ซิง - กลวง - บาตู บาฮัท    Mersing - Kluang - Batu Pahat

          เมอร์ซิง - อยู่ห่างจากเกาะสิงคโปร์  ๑๐๐ ไมล์  (๑๖๐ กิโลเมตร)  มีชายหาดเหมาะแก่การยกพลขึ้นบก    ฝ่ายอังกฤษวางการป้องกันไว้อย่างแข็งแรง  มีทั้งปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยาน  ปืนใหญ่ต่อสู้รถถัง  และทุ่นระเบิด  

          กำลังทหารที่เมอร์ซิง  ได้แก่

          - กองพลน้อยที่ ๒๒  ออสเตรเลีย

          - หน่วยโคกราส  ๒/๑๗

          - หน่วยแยกยะโฮร์

          ญี่ปุ่นส่งกำลังหนุนจากสงขลาโดยขบวนเรือ    ญี่ปุ่นใช้กำลังทางอากาศจากกวนตันคุ้มครองขบวนเรือ    อังกฤษไม่มีเครื่องบินเข้าสกัดกั้นกองเรือได้  จึงส่งเรือพิฆาตออสเตรเลีย  แวมไพร์  และธาเนท  โดยมุ่งหมายจะกวาดล้างกองกำลังญี่ปุ่นตามชายฝั่ง  แต่ไปเผชิญกองเรือญี่ปุ่นที่เอนเดา  (Endau)  จึงถูกยิงจมลงทางชายฝั่งด้านตะวันออกของแหลมมลายู

          ญี่ปุ่นเร่งส่งกำลังหนุนเนื่องอย่างคึกคัก  เพื่อเตรียมการเข้าตีเกาะสิงคโปร์  ต่อไป

 

๒๕  มกราคม  ๒๔๘๕

          หน่วยทหารฝ่ายอังกฤษที่บาตู บาฮัท  รายงานว่า  ไม่สามารถรักษาที่มั่นได้ต่อไป  และถอนตัวโดยไม่มีการคุ้มครอง    ผลคือ  ถูกจับเป็นเชลยเสียครึ่งหน่วยอีกครึ่งหนึ่ง  (ประมาณ  ๒,๗๐๐ นาย)  หลบหนีไปทางทะเล   

          ฝ่ายอังกฤษได้รับคำสั่งให้ถอนตัวไปยังเกาะสิงคโปร์ในวันที่  ๓๐  มกราคม  ๒๔๘๕ 

 

.  .  .  สู่เกาะสิงคโปร์

ทางด้านตะวันตก

          จากบาตู บาฮัท  ซึ่งฝ่ายอังกฤษไม่สามารถรักษาที่มั่นได้ต่อไปได้  ต้องสละถนนและถอยไปสิงคโปร์  โดยไม่มีการรบหน่วงเวลา  (หากรบหน่วงเวลาอาจจะต้องสูญเสียกำลังพลทั้งหมด  ก่อนที่จะไปถึงเกาะสิคโปร์ก็ได้)

          การลำเลียงทหารดำเนินไปอย่างเรียบร้อย

ส่วนทางถนนใหญ่  และทางรถไฟ

          กองพลที่ ๙  อินเดีย  จากทางตะวันออก    ถอนตัวลงมาตามแนวทางรถไฟ  ส่วนอาวุธเคลื่อนย้ายไปทางถนน  (น่าจะเป็นอาวุธหนักประจำหน่วย)

          กองพลน้อยที่ ๒๒  ออสเตรเลีย    ถอนตัวตามถนน  (ถนนและทางรถไฟอยู่ห่างกัน  ประมาณ  ๒๐ ไมล์ - ๓๒ กิโลเมตร)

          การลำเลียงทหารไปสู่เกาะสิงคโปร์ไม่ได้ผลดีนัก    ต้องตกเป็นเชลยศึกอยู่ในรัฐยะโฮร์เสียเป็นจำนวนมาก

๓๑  มกราคม  ๒๔๘๕    กองกำลังหน่วยสุดท้ายของอังกฤษในมลายา  ข้ามไปเกาะสิงคโปร์  และระเบิดทำลายสะพานข้ามช่องแคบ  เป็นระยะ  ๗๐ ฟุต   

ญี่ปุ่นเข้ายึดคาบสมุทรมลายาไว้ได้ทั้งหมด  เหลือแต่  .  .  .  เกาะสิงคโปร์

 

 

 

 

 

สถานการณ์  ๘  ธันวาคม  ๒๔๘๔  -  ๓๑  มกราคม  ๒๔๘๕

 

 

ครับ  .  .  .  ในที่สุดกองทัพญี่ปุ่นก็สามารถเข้ายึดคาบสมุทรมลายาไว้ได้ทั้งหมด  เหลือแต่  .  .  .  เกาะสิงคโปร์  เท่านั้น   

                  เชิญติดตามกองทัพญี่ปุ่นใน  .  .  .  เกาะสิงคโปร์  .  .  .  ยิบรอลตาแห่งตะวันออกไกล  ครับ

 

 

สถานการณ์ต่อไป  .  .  .  เกาะสิงคโปร์  .  .  .  ยิบรอลตาแห่งตะวันออกไกล

สถานการณ์ต่อไป  .  .  .  เกาะสิงคโปร์  .  .  .  ยิบรอลตาแห่งตะวันออกไกล

สถานการณ์ต่อไป  .  .  .  เกาะสิงคโปร์  .  .  .  ยิบรอลตาแห่งตะวันออกไกล 

 

 




การทัพในมลายา โดย สัมพันธ์

การทัพในมลายา (๓). . . เกาะสิงคโปร์ . . . ยิบรอลตาแห่งตะวันออกไกล
การทัพในมลายา (MALAYAN CAMPAIGN)



แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.
| WW II Europe | WW II Asia | WW I | Vietnam War | ประวัติศาสตร์ไทย | บทความจากสมาชิก | คุยกันหลังฉาก | บทความทั้งหมด |

สนใจร่วมเขียนบทความในเว็บไซต์ เชิญอ่าน แนวทางการร่วมเขียนบทความ ภาพยนตร์ประวัติศาสตร์

Custom Search



eXTReMe Tracker