dot
dot
เว็บภาพยนตร์ประวัติศาสตร์ ยินดีต้อนรับผู้สนใจทุกท่าน
dot
dot
สมาชิก Webboard/Blog
ชื่อผู้ใช้ :
รหัสผ่าน :
เข้าสู่ระบบอัตโนมัติ :
bullet ลืมรหัสผ่าน
dot
bulletข้อตกลงการเป็นสมาชิก
bulletเว็บบอร์ด-คุยกันหลังฉาก
bulletเว็บบอร์ด-Games ย้อนยุค
bulletเว็บบอร์ด-ชุดจำลองประวัติศาสตร์
bulletเว็บบอร์ด-หนังสือประวัติศาสตร์
bulletเว็บบอร์ด-เพลงประวัติศาสตร์
bulletคำถาม/คำตอบ ล่าสุด
bulletแนวทางการร่วมเขียนบทความ
dot
สงครามโลกครั้งที่ 2
dot
bulletสมรภูมิยุโรป (สัมพันธมิตรVSเยอรมัน-อิตาลี)
bulletสมรภูมิแปซิฟิก-เอเชีย (สัมพันธมิตรVSญี่ปุ่น)
dot
ภาพยนตร์ประวัติศาสตร์อื่นๆ
dot
bulletสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง
bulletประวัติศาสตร์ไทย
bulletประวัติศาสตร์อเมริกันยุคเริ่มแรก
bulletสงครามเวียดนามและอินโดจีน
bulletตะวันตกโบราณ (กรีก โรมัน ฯลฯ)
bulletประวัติศาสตร์ร่วมสมัย
bulletเอเชียโบราณ
bulletประวัติศาสตร์อื่นๆ (ยังไม่แยกหมวดหมู่)
bulletคลิปความรู้จาก YouTube
dot
บทความโดย วิวันดา
dot
bulletฮิตเล่อร์...และเหล่าขุนพลแห่งอาณาจักรไรค์ซที่สาม
bulletลอดลายรั้ว.....วินด์เซอร์
bulletเลิศเลอวงศา...โรมานอฟ
bulletเชลย
bulletซูคอฟ...ยอดขุนพลผู้ดับฝันของฮิตเล่อร์
dot
บทความโดย สัมพันธ์
dot
bulletคนไทยในกองทัพพระราชอาณาจักรลาว
bulletประวัติศาสตร์สงคราม กรีก
bulletกรณีพิพาทอินโดจีนและสงครามมหาเอเชียบูรพา
bulletอยุธยายศล่มแล้ว ลอยสวรรค์ ลงฤา
bulletฮานนิบาล
bulletพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบรมวงศานุวงศ์
bulletไทยกับมหาสงคราม
bulletสงครามเวียดนาม
bulletห้วยโก๋น ๒๕๑๘
bulletการทัพในมลายา
bulletประวัติศาสตร์อื่น ๆ
dot
เรื่องอื่นๆ
dot
bulletบทความเสริมความรู้ทั่วไป
bulletเกร็ดเล็กเกร็ดน้อย
bulletผู้จัดทำ
bulletผังเว็บไซต์ (Site Map)
bulletแนวทางการร่วมเขียนบทความ
bulletถาม-ตอบ (FAQs) (โปรดอ่านก่อนตั้งกระทู้หรือสมัครสมาชิก)
bulletร้านค้าออนไลน์
bulletแบ่งปัน Album
dot
ลิงค์ต่างๆ
dot
bulletHistory on Film
bulletกองบิน 21 กองพลบิน 2
bulletIELTS British Council
bulletIELTS IDP
bulletMUIC




โหราศาสตร์ยุคไอที



การทัพในมลายา (๓). . . เกาะสิงคโปร์ . . . ยิบรอลตาแห่งตะวันออกไกล

*  *  *

การทัพในมลายา (๓).  .  .  เกาะสิงคโปร์  .  .  .  ยิบรอลตาแห่งตะวันออกไกล

สถานการณ์เดิม

          ฝ่ายญี่ปุ่น  จัดแยกเดินทัพเป็น  ๒ แนวทางเคลื่อนที่  และรุกต่อไป  ดังนี้

แนวทางที่ ๑    กองพลที่ ๕  (ยกพลขึ้นบกที่สงขลา  และปัตตานี)

          แนวทางที่ ๑.๑  จากสงขลา  รุกเข้าไทรบุรี  (รัฐเคดาห์)  เมื่อทำลายกองพลที่ ๑๑ (อินเดีย)  ได้แล้ว  ก็รุกเข้าทำลาย  กองบัญชาการกองทัพน้อยที่ ๓  ที่เกาะปีนัง

          แนวทางที่ ๑.๒  จากปัตตานี - เบตง - โกร๊ะ  ทำลายกองพลน้อยที่ ๒๘ (อินเดีย) ที่อิโปห์     แล้วมุ่งสู่กรุงกัวลาลัมเปอร์

แนวทางที่ ๒    กรมทหารราบที่ ๕๖ (+)  (ส่วนแยกทากูมิของกองพลที่ ๑๘ - ยกพลขึ้นบกที่โกตาบารู)

          แนวทางที่ ๒.๑    ตามเส้นทางรถไฟ  โกตาบารู - กัวลาไกร - กัวลาลิปิส

          แนวทางที่ ๒.๒    ตามฝั่งทะเลตะวันออกโกตาบารู - กัวลาตรังกานู - กวนตัน  ทำลายกองพลน้อยที่ ๒๒ (อินเดีย) - เมอร์ซิง  ทำลายกองพลน้อยที่ ๒๒ (ออสเตรเลีย) - สิงคโปร์

ฯลฯ

          ฝ่ายอังกฤษได้รับคำสั่งให้ถอนตัวไปยังเกาะสิงคโปร์ในวันที่  ๓๐  มกราคม  ๒๔๘๕

 

 

 

 

การทัพในมลายา    ๘  ธันวาคม  ๒๔๘๔  ถึง  ๑๕  กุมภาพันธ์  ๒๔๘๕ 

 

สถานการณ์ต่อไป  .  .  .

เกาะสิงคโปร์  .  .  .  ยิบรอลตาแห่งตะวันออกไกล

 

 

 

 

 

 

.  .  .  เกาะสิงคโปร์  .  .  .  ก่อนการรบใหญ่

          ระหว่างนี้  ญี่ปุ่นใช้การโจมตีทางอากาศต่อสนามบิน  และฐานทัพเรือบนเกาะสิงคโปร์ในเวลากลางวัน    ฝ่ายอังกฤษใช้เครื่องบินเฮอร์ริเคน  แต่นักบินไม่มีความรู้เกี่ยวกับสภาพภูมิอากาศ  และลักษณะภูมิประเทศ    เสียหายวันละหลายๆ เครื่อง    จนในที่สุด  อังกฤษต้องถอนกำลังทางอากาศไปไว้บนเกาะของเนเธอร์แลนด์  (คืออินโดนีเซีย ในปัจจุบัน)  ทั้งหมด    บนเกาะสิงคโปร์คงเหลือเครื่องบินขับไล่เพียงอย่างเดียว

          และ  .  .  .  ในที่สุด    กระทรวงกลาโหมอังกฤษจึงให้คำสั่งนโยบายว่า  .  .  .  หากจะต้องยอมจำนน  ก็ให้ทำลายทุกสิ่งอันมีคุณต่าทางทหารบนเกาะสิงคโปร์  ให้หมดสิ้น

เกาะสิงคโปร์  .  .  .  ยิบรอลตาแห่งตะวันออกไกล

          เกาะสิงคโปร์นั้น  อังกฤษได้ประกาศถึงอานุภาพอย่างมั่นอกมั่นใจว่า  .  .  .  แต่การกลับไม่เป็นดังว่า  เพราะมีแต่การป้องกันภัยจากทางทะเลเท่านั้น    ส่วนการป้องภัยทางบกจากด้านเหนือเรียกได้ว่า  .  .  . ไม่มีเลย  ไม่ว่าจะเป็นกำลังทางบก  หรือทางอากาศ    กำลังที่มีอยู่ในสหพันธรัฐมลายูนั้น  มีไว้เพื่อป้องกันฐานทัพเรือ  และฐานทัพอากาศ  เท่านั้น  ไม่ได้มีไว้ป้องกันสหพันธรัฐมลายู  ดังที่ได้ว่ามาแล้ว


ความหวังของนายกรัฐมนตรีอังกฤษ

          นายกรัฐมนตรีอังกฤษ    หวังให้พื้นที่ทุกตารางนิ้ว  มีการป้องกันวัสดุต่างๆ    ยุทโธปกรณ์ที่จะทิ้ง  ต้องทำลายให้หมดเพื่อป้องกันไม่ให้ฝ่ายญี่ปุ่นนำไปใช้ประโยชน์    และจะไม่มีการยอมแพ้  จนกว่าหลังจากที่ได้มีการต่อสู้อันยาวนาน  ท่ามกลางความหายนะของเมืองสิงคโปร์  เท่านั้น    (บ้านเมืองสิงคโปร์ และประชาชนพลเมืองจะเสียหายอย่างไร  อังกฤษไม่สนใจ)

 

 สมมติฐานของอังกฤษ

          อังกฤษกำหนดสมมติฐานว่า  ญี่ปุ่นจะโจมตีทางด้านตะวันออกเฉียงเหนือ   

แนวความคิดในการป้องกันเกาะสิงคโปร์ของอังกฤษ

          - ป้องกันไม่ให้ฝ่ายญี่ปุ่นขึ้นบกได้

          - หากขึ้นเกาะได้ต้องหยุดไว้ให้ได้ที่ชายฝั่ง  แล้วตีโต้ตอบเพื่อทำลาย  หรือผลักดันออกไป

แผนการป้องกัน    แบ่งพื้นที่ทางบกออกเป็น  ๓ พื้นที่    และ  พื้นที่ทางอากาศ  ๑ พื้นที่

          ๑. พื้นที่รอบตัวเมืองและฝั่ง  ออกไปจนถึงชางกี  (Changi)  ทางตะวันออก

          ๒. พื้นที่ด้านเหนือ    สนามบินเซเลตา  (Seletar)    และฐานทัพเรือ

          ๓. พิ้นที่ด้านตะวันตก 

 

กำลังของทั้งสองฝ่าย

ฝ่ายญี่ปุ่น

          ฝ่ายญี่ปุ่นใช้กำลัง  ๓ กองพล  (ประมาณ  ๖๐,๐๐๐)  สนับสนุนด้วยรถถัง  และกำลังทางอากาศที่ทันสมัย    สามารถเพิ่มเติมกำลังทางบกได้อีกเกือบเท่าตัว

          จากการรบในคาบสมุทรมลายาที่ผ่านมา  ญี่ปุ่นเน้นน้ำหนักการรบทางด้านตะวันตกของคาบสมุทร   แต่การที่อังกฤษกำหนดสมมติฐานว่า   ญี่ปุ่นจะโจมตีทางด้านตะวันออกเฉียงเหนือ  อาจจะพิจารณาว่า  ทางด้านตะวันออกมีแนวทางการเคลื่อนที่ทั้งทางบก  ทางน้ำจึงสะดวกกว่า  และญี่ปุ่นสามารถเพิ่มเติมกำลังได้ง่ายกว่าทางตะวันตก  (หรือ  หลงกลญี่ปุ่น  ซึ่งได้แสดงลวง  ก็เป็นได้ - ผู้เขียน)  

ฝ่ายอังกฤษ

            - กำลังทางบก    ประมาณ  ๗๐,๐๐๐   แต่ขาดแคลนอาวุธยุทธภัณฑ์  และการฝึก    

            - กำลังทางอากาศ    เครื่องบินขับไล่แบบเฮอร์ริเคน เท่านั้น    กำลังทางอากาศอื่นๆ  ได้ถอนไปก่อนแล้ว   

การที่อังกฤษได้ถอนกำลังทางอากาศอื่นๆ ไปก่อนแล้วนี้ เป็นการทำลายขวัญและกำลังใจฝ่ายเดียวกันเองเป็นอย่างยิ่ง

 

          จากสมมติฐาน  และแนวความคิดในการป้องกัน  ฝ่ายอังกฤษพยายามกระจายกำลังออกไปเพื่อให้ควบคุมพื้นที่ไว้ให้ได้ทั้งหมด  ดังนี้

          - กองทัพน้อยที่ ๓ (อินเดีย)  (กองพลที่ ๙   กองพลที่ ๑๑   และกองพลน้อยที่ ๒๒)  ซึ่งได้ทำการรบมาตั้งแต่เริ่มการรบในมลายา  ได้รับกำลังเพิ่มเติมรับผิดชอบพื้นที่ด้านเหนือ

          - หน่วยทหารออสเตรเลีย   ซึ่งเสียหายมากในการรบที่มัวร์  ก็ได้รับกำลังเพิ่มเติม    รับผิดชอบพื้นที่ด้านตะวันตก    

          แต่กำลังที่เพิ่มเติมให้หน่วยทหารของอินเดีย และของออสเตรเลียนี้  เป็นทหารใหม่ได้รับการฝึกไม่สมบูรณ์  หรืออาจจะยังไม่ได้รับการฝึกเลย

          - หน่วยพลพรรคจีน    (มีอาวุธไม่ครบมือ)    มีภารกิจลาดตระเวนในพื้นที่ซึ่งคาดว่าฝ่ายญี่ปุ่นจะบุก

การวางกำลังของหน่วยทหารออสเตรเลีย  ทางด้านตะวันตก  (ปีกซ้าย)

          - กองพันออสเตรเลียที่ ๒/๒๐  กับ  ๑ กองร้อยพลพรรคจีน    ตั้งรับทางปีกขวา  ระหว่างลำน้ำกรันจี - เกาะซาริปบุน    กว้างด้านหน้า  ๘,๐๐๐ หลา

          - กองพันออสเตรเลียที่ ๒/๑๘    ตั้งรับด้านกลาง  ระหว่างกาะซาริปบุน - แหลมมูไร    กว้างด้านหน้า  ๔,๐๐๐ หลา

          - กองพันออสเตรเลียที่ ๒/๑๙    ตั้งรับทางปีกซ้าย  ระหว่างแหลมมูไร - ลำน้ำเบรีห์

การดำเนินกลยุทธ

          - ฝ่ายญี่ปุ่นได้ยิงรบกวนอยู่ตลอดเวลา  การดัดแปลงที่มั่นของฝ่ายอังกฤษต้องกระทำในเวลากลางคืน  เวลากลางวันต้องถอยออกไปให้พ้นระยะยิงของปืนใหญ่ญี่ปุ่น  เหลือไว้แต่ผู้ตรวจการณ์

          - ญี่ปุ่นมีการแสดงลวง  ทางด้านตะวันออก  เพื่อให้ฝ่ายอังกฤษเข้าใจว่า ญี่ปุ่นจะโจมตีทางด้านตะวันออก  

          - หน่วยพลพรรคจีน    นอกจากภารกิจลาดตระเวน และแนะนำประชาชนไม่ให้ตื่นตระหนก  แต่กลับจับกุมโจรผู้ร้าย  แจกจ่ายอาหาร
            
 

 ๕  กุมภาพันธ์  ๒๔๘๕

         เครื่องบินญี่ปุ่นโจมตีขบวนเรือลำเลียงกองพลที่ ๑๘    อาวุธยุทโธปกรณ์เสียหายเกือบทั้งหมด

 

เริ่มบุก

 ๘  กุมภาพันธ์  ๒๔๘๕

          เวลา  ๒๓๐๐    ญี่ปุ่นใช้ปืนใหญ่ระดมยิงตลอดความยาวของช่องแคบ    ใช้ปืนใหญ่รวม  ๔๔๐ กระบอก  กระบอกละ  ๒๐๐ นัด   ทำให้สายโทรศัพท์ใต้ดินเสียหายหมด  รวมทั้งไฟฉาย  และเครื่องมืออื่นๆ อีกมาก

          เวลา  ๒๔๐๐    ญี่ปุ่นส่ง  กองพลที่ ๕  และ กองพลที่ ๑๘  ข้ามช่องแคบยะโฮร์  จากทิศตะวันตกเฉียงเหนือ  โดยเรือหุ้มเกราะลำเลียงข้าม   ระลอกแรกกำลังพล  จำนวน  ๔,๐๐๐    ระลอกแรก  ๔๐ - ๕๐ ลำ  (ลำละประมาณ ๔๐ - ๕๐ นาย)  ระลอกต่อไปใช้เรือยนตร์ธรรมดา

 

 ๙  กุมภาพันธ์  ๒๔๘๕    

          ทหารราบของกองพลที่ ๕  และ กองพลที่ ๑๘  ก็ขึ้นฝั่งได้หมด  พร้อมทั้งทหารปืนใหญ่ส่วนหนึ่ง    การรบเป็นไปอย่างทรหดถึงขั้นการรบประชิด  ใช้ดาบปลายปืน    การใช้ปืนใหญ่ของฝ่ายอังกฤษล่าช้า  เพราะสายโทรศัพท์ถูกทำลายใช้การไม่ได้  การใช้วิทยุก็ไม่สะดวก  ทหารราบกับทหารปืนใหญ่จึงต้องติดต่อสื่อสารกันด้วยแสงสัญญาณ  กว่าจะเข้าใจกันดี  .  .  .  ทหารญี่ปุ่นก็ขึ้นเกาะได้หลายแห่งเสียแล้ว

           และในคืนวันนี้  ฝ่ายญี่ปุ่นก็สามารถยึดสนามบินเต็งกาห์  (Tengah) ได้  และตั้งกองบัญชาการกองทัพที่ ๒๕  ที่สนามบินนั้น    ฝ่ายอังกฤษคงเหลือสนามบินซึ่งยังใช้การได้เพียงสนามบินกัลลัง  แห่งเดียวเท่านั้น  

          ญี่ปุ่นโจมตีอย่างรุนแรงในเวลากลางคืน  จนกองทหารออสเตรเลียไม่สามารถต้านทานได้  ต้องสั่งถอยลงมายึดแนวข้างหลังในคืนนั้นเอง    แต่การถอยเป็นไปอย่างไม่เป็นระเบียบ    ทหารต่างกระจัดกระจายกันไปไม่เป็นหมวดหมู่  เพราะภูมิประเทศรกทึบ  และเป็นคืนแรม  ๙ ค่ำ  เดือนมืด  (วันที่  ๙ กุมภาพันธ์  ๒๔๘๕  ตรงกับวันจันทร์  แรม   ๙ ค่ำ เดือน  ๓ ปีมะเส็ง - การตรวจสอบของ  http://www.payakorn.com/moondate.php)    แต่ส่วนใหญ่ก็ถอนตัวไปทางใต้  .  .  .  สู่เมืองสิงคโปร์

 

 

 

 

พลโท  โทโมโยกิ  ยามาชิตา   แม่ทัพกองทัพที่ ๒๕ ญี่ปุ่น    ในมลายา  >

 

๑๐  กุมภาพันธ์  ๒๔๘๕

          กองพลน้อยที่ ๒๗  ออสเตรเลีย    ถอยไปบูกิต มันได

๑๑  กุมภาพันธ์  ๒๔๘๕

          ญี่ปุ่นรุกมาทางบูกิต ดีมาห์  และยึดได้ในตอนเช้าตรู่    ทิ้งใบปลิวให้ฝ่ายอังกฤษยอมแพ้    ญี่ปุ่นเผาคลังเก็บน้ำมันเชื้อเพลิง

          อ้งกฤษเหลือเสบียงอาหารเพียง  ๒๔ วัน  และน้ำมันเชื้อเพลิงไม่มากนัก  จึงสั่งห้ามทำลายที่เก็บน้ำมัน  การที่ญี่ปุ่นเผาน้ำมันเชื้อเพลิงของอังกฤษโดยไม่นำไปใช้นี้  น่าจะเพื่อต้องการผลทางจิตวิทยา  และเป็นการทำลายขวัญฝ่ายอังกฤษ มากกว่า

 

 

 

 

๑๒  กุมภาพันธ์  ๒๔๘๕

          ญี่ปุ่นเข้าโจมตีพร้อมกันหลายแห่ง    อังกฤษปรับแผน  .  .  .  ตั้งรับรักษาเมืองสิงคโปร์  .  .  .  ทำลายสถานีวิทยุกระจายเสียง  ลดจำนวนธนบัตรที่คลังเก็บไว้เหลือแต่น้อย

          ท่ามกลางวิกฤตการรบ   ก็เกิดวิกฤตการขาดแคลนน้ำ  ที่เก็บน้ำเขาเพิร์ลไม่มีน้ำ  ที่เก็บน้ำป้อมแคนนิงมีเหลือน้อย  ท่อน้ำประปาใหญ่ถูกทำลายแตก

๑๓  กุมภาพันธ์  ๒๔๘๕

          ญี่ปุ่นผลักดันด้านตะวันตกอย่างหนักที่สุด

          ในตอนกลางคืนอังกฤษส่งกองเรือรบไปเกาะชวา  พร้อมทั้งเจ้าหน้าที่สตรีของหน่วยพยาบาลทหาร  และหน่วยทหารช่าง    แต่กองเรือนี้เผชิญกับกองเรือรบญี่ปุ่นที่ปากช่องแคบมะละกา  .  .  .  ครับ    เรียบโร้ย      

 

ปัญหา  ข้อขัดข้อง

ขาดแคลนกระสุนปืนใหญ่

          ปืนใหญ่ขนาด  ๑๕ นิ้ว  และขนาด  ๕.๒ นิ้ว  ซึ่งเป็นอาวุธหลักในการป้องกันภัยจากทางทะเลนั้น   ก็มีข้อขัอข้องเรื่องการขาดแคลนกระสุน  (แต่ไม่เป็นปัญหาครับ  เพราะไม่มีภัยมาทางทะเลเลย)

ขาดแคลนอาหาร และน้ำ

          แต่ที่เป็นปัญหาสำคัญคือ  เมื่อรี้พลสกลไกรฝ่ายอังกฤษถอยเข้ามาบนเกาะสิงคโปร์มากขึ้น  ก็เกิดปัญหาการขาดแคลนอาหาร  และน้ำ

          เดิม  บนเกาะสิงคโปร์มีประชากรประมาณ  ๕๐๐,๐๐๐    แต่ในเดือนมกราคม  ๒๔๘๕  มีผู้อพยพ  และหน่วยต่างๆ  เคลื่อนย้ายเข้ามา  ทำให้มีประชากรเกือบ  ๑,๐๐๐,๐๐๐๐ คน    อาหารที่มีพอบริโภคได้ประมาณ  ๓ เดือน

 

๑๔  กุมภาพันธ์  ๒๔๘๕

          วิกฤตสิงคโปร์    ท่อประปาใหญ่แตกเสียหาย  กรรมกรหนีหมด  ไม่มีคนซ่อม    มีน้ำประปาเหลือใช้ได้ไม่เกิน  ๔๘ ชั่วโมง    โรงไฟฟ้าก็ใกล้อันตรายมาก

          วิกฤตกองทัพญี่ปุ่น    ขณะเดียวกันกองทัพญี่ปุ่นก็เริ่มขาดแคลนกระสุน    ปืนใหญ่เหลือกระสุนประมาณ  กระบอกละ  ๑๐๐ นัด  แต่ปืนใหญ่อังกฤษสามารถยิงได้อย่างไม่กลัวกระสุนหมด  ทำให้ตรึงญี่ปุ่นไว้ได้

              ฝ่ายญี่ปุ่นต้องพิจารณา    การยิงของปืนใหญ่อังกฤษ แสดงเจตนาของอังกฤษว่าพยายามรักษาเมืองสิงคโปร์อย่างเหนีบวแน่น    ฝ่ายญี่ปุ่นก็เกือบจะหมดกำลัง  ชัยชนะที่เห็นอยู่แค่เอื้อม  ดูเหมือนจะห่างออกไป

 

ท่ามกลางวิกฤตกองทัพญี่ปุ่น  .  .  .

๑๕  กุมภาพันธ์  ๒๔๘๕  .  .  .

          .  .  .  เมื่อธงขาวโบกอยู่หน้าแนวของกองพลที่ ๕  และข่าวดังกล่าวถูกส่งไปทางโทรศัพท์ถึงกองบัญชาการกองทัพที่ ๒๕  เมื่อเวลา  ๑๔๐๐    ทุกคนในกองบัญชาการฯ แทบจะไม่หายใจ    ในตอนแรก  ไม่มีใครเชื่อ    ต่อมา  เริ่มระแวงว่า  เป็นอุบายของอังกฤษที่จะรอเวลา  .  .  .

          เวลา  ๑๔๐๐    กองบัญชาการกองทัพที่ ๒๕  ที่บูกิต ปันยัง    (ย้าย รุกหน้าเข้ามาจากสนามบินเต็งกาห์)  ได้รับรายงานทางโทรศัพท์จากกองพลที่ ๕  เรื่องการปรากฏตัวแทนเจรจาสงบศึกซึ่งเป็นนายพลจัตวา  พร้อมธงขาว  .  .  .

.  .  .  สงบศึก

 

 

 

          ต่อมาในวันเดียวกันนี้   พลโท  เอ.อี. เพอร์ซิวาล  (Lt.Gen. A.E. Percival)  ผู้บัญชาการกองกำลังภาคพื้นดินของอังกฤษ  และ  พลโท  โทโมโยกิ  ยามาชิตา  (Lt.Gen. Tomoyoki  Yamashita)  แม่ทัพกองทัพที่ ๒๕ ญี่ปุ่น  ก็ได้นั่งโต๊ะเจรจากันในโรงงานฟอร์ด  ที่บูกิต ติมาห์  (Bukit Timah)  .  .  .  อังกฤษยอมแพ้

 

 

 

 

British Surrender Arriving at Ford Motors.

 

 

 

 

 

 

 

Negotiating in the boardroom

From    spi.com.sg

 

           อังกฤษตกลงใจยอมวางอาวุธ    จัดการทำลายเครื่องมือรบ  ทั้งทางเทคนิค อาวุธลับ  รหัสตัวเลขและตัวอักษร  เอกสารลับ  และปืนใหญ่  แต่ไม่ทำลายอาวุธประจำกาย

 

สัญญาสงบศึก

          การทำสัญญาสงบศึกทำกันที่โรงงานฟอร์ด  บนเกาะสิงคโปร์    ทำเพียงฉบับเดียว    ญี่ปุ่นเป็นฝ่ายถือ    ใจความในสัญญาสรุปได้ว่า 

          ๑. กองทหารอังกฤษในสิงคโปร์ต้องยอมแพ้  โดยปราศจากเงื่อนไข    

          ๒. การสู้รบฝ่ายอังกฤษต้องสงบเวลา  ๒๐๓๐    และฝ่ายญี่ปุ่นจะสงบเวลา  ๒๒๐๐

          ๓. ทหารอังกฤษทุกหน่วยต้องอยู่ที่ตนยึดอยู่  เพื่อรอฟังคำสั่งต่อไป

          ๔. ฝ่ายอังกฤษจะต้องส่งมอบอาวุธ  เครื่องมือรบ  เครื่องบิน  และเอกสารลับทั้งปวงให้แก่กองทัพญี่ปุ่น

          ๕. อนุญาตให้ทหารอังกฤษ  ๑๐๐ คน  ถืออาวุธรักษาความสงบบริเวณเมืองสิงคโปร์เป็นการชั่วคราว  จนกว่าญี่ปุ่นจะสับเปลี่ยน

 

 

 

 

The British delegation with the Japanese delegation after signing the surrender terms.

From    spi.com.sg

 

          เวลา  ๒๐๓๐    หน่วยทหารอังกฤษทุกหน่วยบนเกาะสิงคโปร์  หยุดยิง

 

๑๖  กุมภาพันธ์  ๒๔๘๕

         ทหารญี่ปุ่นเดินเข้าเมืองสิงคโปร์  และสวนสนาม    มีรถถัง  ๑๗๕ คัน  เข้าร่วม    แต่กำลังทหารญี่ปุ่นส่วนใหญ่อยู่นอกตัวเมือง

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

The Fall of Singapore, Japanese Infantry of 41 Regiment, Februry  18, 1942.

From:    kokoda.commemoration.gov.au 

 

สะพานเครื่องหนุนลอย  แบบ ๙๙ - Type 99 Pontoon Bridge


 
          ปัจจัยสำคัญที่ทำให้การทัพในมลายาของญี่ปุ่นประสบความสำเร็จ  น่าจะเป็นความสามารถของทหารช่างสนามญี่ปุ่นที่สร้างสะพานเครื่องหนุนลอย แบบ ๙๙  เป็นเตรื่องมือลำเลียงข้ามลำน้ำ  โดยเฉพาะอย่างยิ่งรถถัง  และปืนใหญ่หนักเข้าโจมตีทางด้านปีกของฝ่ายอังกฤษ ที่เป็นลำน้ำ  หรือชายหาด 

          สะพานแบบนี้  ได้เคยใช้ทั่วไปในการรบในจีน และในสงครามแปซิฟิค   แต่มีบทบาทโดดเด่นมากในการยุทธในมลายา

 

 

Type 99 Pontoon Bridge  >

 

 

การพิชิตสหพันธรัฐมลายาได้  ทำให้ญี่ปุ่นควบคุมยางพารา  ซึ่งมีปริมาณถึง  ร้อยละ  ๔๒    และตะกั่วอีกร้อยละ  ๒๗  ของโลก

และการยึดสิงคโปร์ท่าเรือดีที่สุดแห่งหนึ่งในโลก  เป็นการเปิดประตูสู่  .  .  .  มหาสมุทรอินเดีย

 

           ครับ  .  .  .  ๘ - ๑๕  กุมภาพันธ์  ๒๔๘๕    เจ็ดวันบนเกาะสิงคโปร์  ฝ่ายอังกฤษสูญเสียกำลังพลทั้งสิ้น  ๑๓๘,๗๐๘    ฝ่ายญี่ปุ่น  สูญเสีย  ๙,๘๒๔    และ  .  .  .

ทำลายความยื่งใหญ่ของจักรวรรดิอังกฤษในดินแดนตะวันออกไปตลอดกาล 

 

 

ถึงกระนี้กระนั้นกระไรก็ตาม

ขอท่านผู้สละชีวิตใน "การทัพในมลายา" โปรดเป็นสุข สงบในสัมปรายภพโน้น  เทอญ  
 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

บรรณานุกรม

 

          - การทัพในแปซิฟิคตอนใต้  ปี ๑๙๔๐    การยุทธในไทย  และมลายู    เอกสารอัดสำเนา  ประกอบคำบรรยายวิชาประวัติศาสตร์การสงคราม    กองวิชาการสรรพาวุธและประวัติศาสตร์การสงคราม    โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า    พ.ศ.๒๕๐๘ 

          - ๕๐ ปี  วีรไทย    กองทัพภาคที่ ๔  จัดพิมพ์เนื่องในวาระครบ  ๕๐ ปี  แห่งสงครามมหาเอเซียบุรพา  ๘  ธันวาคม  ๒๕๓๔  

          - สงครามในมาลายา  การศึกษาเฉพาะกรณีด้านการยุทธ    เอกสารอัดสำเนา  ประกอบคำบรรยายวิชายุทธศิลป์    วิทยาลัยการทัพบก  ปีการศึกษา  ๒๕๔๐

          - THE WEST POINT ATLAS OF AMERICAN WARS  VolumeII  1900 - 1953    THE DEPARTMENT OF MILITARY ART AND ENGINEERING, THE UNITED MILITARY ACADEMY, WEST POINT. NEW YORK

          - ATLAS OF WORLD WAR II,  DAVID JORDAN AND ANDREW WIEST

 

 

 




ประวัติศาสตร์สงคราม กรีก โดย สัมพันธ์

อเล็กซานเดอร์มหาราช : สู่ตะวันออก
อเล็กซานเดอร์มหาราช : เริ่มลมเหนือ
สงคราม กรีก - กรีก
สงคราม กรีก - เปอร์เซีย



แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.
| WW II Europe | WW II Asia | WW I | Vietnam War | ประวัติศาสตร์ไทย | บทความจากสมาชิก | คุยกันหลังฉาก | บทความทั้งหมด |

สนใจร่วมเขียนบทความในเว็บไซต์ เชิญอ่าน แนวทางการร่วมเขียนบทความ ภาพยนตร์ประวัติศาสตร์

Custom Search



eXTReMe Tracker