dot
dot
เว็บภาพยนตร์ประวัติศาสตร์ ยินดีต้อนรับผู้สนใจทุกท่าน
dot
dot
สมาชิก Webboard/Blog
ชื่อผู้ใช้ :
รหัสผ่าน :
เข้าสู่ระบบอัตโนมัติ :
bullet ลืมรหัสผ่าน
dot
bulletข้อตกลงการเป็นสมาชิก
bulletเว็บบอร์ด-คุยกันหลังฉาก
bulletเว็บบอร์ด-Games ย้อนยุค
bulletเว็บบอร์ด-ชุดจำลองประวัติศาสตร์
bulletเว็บบอร์ด-หนังสือประวัติศาสตร์
bulletเว็บบอร์ด-เพลงประวัติศาสตร์
bulletคำถาม/คำตอบ ล่าสุด
bulletแนวทางการร่วมเขียนบทความ
dot
สงครามโลกครั้งที่ 2
dot
bulletสมรภูมิยุโรป (สัมพันธมิตรVSเยอรมัน-อิตาลี)
bulletสมรภูมิแปซิฟิก-เอเชีย (สัมพันธมิตรVSญี่ปุ่น)
dot
ภาพยนตร์ประวัติศาสตร์อื่นๆ
dot
bulletสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง
bulletประวัติศาสตร์ไทย
bulletประวัติศาสตร์อเมริกันยุคเริ่มแรก
bulletสงครามเวียดนามและอินโดจีน
bulletตะวันตกโบราณ (กรีก โรมัน ฯลฯ)
bulletประวัติศาสตร์ร่วมสมัย
bulletเอเชียโบราณ
bulletประวัติศาสตร์อื่นๆ (ยังไม่แยกหมวดหมู่)
bulletคลิปความรู้จาก YouTube
dot
บทความโดย วิวันดา
dot
bulletฮิตเล่อร์...และเหล่าขุนพลแห่งอาณาจักรไรค์ซที่สาม
bulletลอดลายรั้ว.....วินด์เซอร์
bulletเลิศเลอวงศา...โรมานอฟ
bulletเชลย
bulletซูคอฟ...ยอดขุนพลผู้ดับฝันของฮิตเล่อร์
dot
บทความโดย สัมพันธ์
dot
bulletคนไทยในกองทัพพระราชอาณาจักรลาว
bulletประวัติศาสตร์สงคราม กรีก
bulletกรณีพิพาทอินโดจีนและสงครามมหาเอเชียบูรพา
bulletอยุธยายศล่มแล้ว ลอยสวรรค์ ลงฤา
bulletฮานนิบาล
bulletพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบรมวงศานุวงศ์
bulletไทยกับมหาสงคราม
bulletสงครามเวียดนาม
bulletห้วยโก๋น ๒๕๑๘
bulletการทัพในมลายา
bulletประวัติศาสตร์อื่น ๆ
dot
เรื่องอื่นๆ
dot
bulletบทความเสริมความรู้ทั่วไป
bulletเกร็ดเล็กเกร็ดน้อย
bulletผู้จัดทำ
bulletผังเว็บไซต์ (Site Map)
bulletแนวทางการร่วมเขียนบทความ
bulletถาม-ตอบ (FAQs) (โปรดอ่านก่อนตั้งกระทู้หรือสมัครสมาชิก)
bulletร้านค้าออนไลน์
bulletแบ่งปัน Album
dot
ลิงค์ต่างๆ
dot
bulletHistory on Film
bulletกองบิน 21 กองพลบิน 2
bulletIELTS British Council
bulletIELTS IDP
bulletMUIC




โหราศาสตร์ยุคไอที



แล้วผมต้องทำอะไรกับประวัติโรงเรียนเทพศิรินทร์? article
วันที่ 21/04/2012   10:53:38

ก่อนอื่นขอทำความเข้าใจก่อนครับว่าเมื่อผมเอ่ยถึงชื่อโรงเรียนมัธยมอย่าง “เทพศิรินทร์”  “สวนกุหลาบ” ฯลฯ อย่างลอยๆ  ผมกำลังหมายถึงโรงเรียนที่ใช้ชื่อนั้นๆ  มาแต่แรก ไม่ได้หมายความรวมไปถึงโรงเรียนอื่นๆ ที่กระทรวงศึกษาธิการนำชื่อเหล่านี้ไปให้เขาใช้ด้วยเหตุผลทางนโยบายอะไรสักอย่าง  ทั้งนี้ผมไม่ได้รังเกียจโรงเรียนที่ได้รับชื่อนั้นๆ ไปใช้ในภายหลัง  เพียงแต่ขอทำความเข้าใจเพื่อกันไม่ให้ผู้อ่านและตัวผมเองสับสน  อีกประการหนึ่ง ผมรำลึกเสมอว่าโดยปกติคนเราย่อมรักสถาบันการศึกษาของตนเช่นเดียวกับที่ผมรัก  อีกทั้งคนที่มีโอกาสทางการศึกษาน้อยกว่าผมก็มิได้มีศักดิ์ศรีด้อยกว่าแต่ประการใด  หากวิธีคิดวิธีเขียนของผมมันดูแปลกๆหรือมีอะไรขัดความรู้สึกของท่านไปบ้าง  กรุณาอ่านทบทวนให้ดีก่อนที่จะด่วนสรุปไปในทางลบครับ

ก่อนจะเขียนบทความนี้ไม่นานนัก  ผมได้รับการติดต่อจาก “รุ่นพี่” เทพศิรินทร์ท่านหนึ่งซึ่งเคยดำรงตำแหน่งสำคัญระดับชาติมาแล้ว  เนื่องจากท่านกำลังมีโครงการสำคัญๆ หลายโครงการเกี่ยวกับโรงเรียนของเรา  ประเด็นที่เกี่ยวกับคนเคยเรียนประวัติศาสตร์อย่างผมคือเรื่องการชำระประวัติศาสตร์ของโรงเรียนในหลายๆ ประเด็นที่พวกเราชาวเทพศิรินทร์เคยเชื่อว่าเป็นอย่างหนึ่ง  แต่จากการศึกษาค้นคว้าของท่านจากหลักฐานข้อเท็จจริงต่างๆ และแหล่งอื่นๆ เช่น ประวัติของโรงเรียนสวนกุหลาบ พบว่าเป็นอีกอย่าง  เท่าที่ท่านเล่าให้ฟัง  เหตุหนึ่งแห่งความเข้าใจสับสนเนื่องจากมีอยู่ช่วงหนึ่งที่ทางสวนกุหลาบประสบปัญหาด้านสถานที่  ทำให้นักเรียนของเขาได้มาเรียนร่วมกับชาวเทพศิรินทร์  จนทำให้คนรุ่นต่อมาเกิดความสับสนว่าบุคคลที่มีชื่อเสียงในรุ่นนั้นท่านเป็นศิษย์สวนกุหลาบหรือเทพศิรินทร์กันแน่  ดังนี้เป็นต้น

แม้ว่าฟังแล้วจะรู้สึกสนใจอยู่ไม่น้อย  แต่จากการประเมินตนเองในเบื้องต้น  ได้เรียนท่านไปว่า  ผมได้โอนย้ายจากหอจดหมายเหตุแห่งชาติมาเป็นเวลาร่วม 8-9 ปีแล้ว  ในปัจจุบันผมยังมีความสนใจในด้านประวัติศาสตร์อยู่  แต่ไม่ได้สัมผัสความรู้ด้านนี้ในระดับเอกสารชั้นต้นมาเป็นเวลาพอสมควรแล้ว  ประกอบกับภาระการงานและอะไรอื่นๆ  จึงยังไม่แน่ใจว่าจะช่วยงานของท่านได้มากน้อยเพียงใด  ซึ่งท่านก็พอจะเข้าใจแต่ยังได้ส่งไฟล์เอกสารข้อมูลบางส่วนมาให้ศึกษาดูเป็นตัวอย่างก่อน

นี่จึงเป็นที่มาของการบ้านข้อใหญ่ให้กลับมาขบคิดทบทวนดูอีกทีว่า  แล้วเราจะทำอะไรเกี่ยวกับประวัติศาสตร์โรงเรียนเทพศิรินทร์ได้มากน้อยเพียงใด  ถ้าทำได้แล้วจะเป็นประโยชน์ต่อคนทั่วไปทั้งต่อชาวเทพศิรินทร์เองและคนในสังคมวงกว้างออกไปได้อย่างไรบ้าง



ประเด็นหนึ่งที่ผมสงสัยมาก่อนหน้านี้เป็นเวลานานแล้ว  คือ การเป็น “เทพศิรินทร์” นั้น ตกลงมันมีความแตกต่างในด้านของ “อุดมการณ์” จากการเป็น “สวนกุหลาบ” “อัสสัมชัญ” “กรุงเทพคริสเตียน” “เตรียมอุดม” “สตรีวิทย์” “สายปัญญา” “บดินทร์เดชา” และอื่นๆ ที่คงเอ่ยชื่อกันไม่หวาดไม่ไหวอย่างไรบ้าง

ในระดับถัดขึ้นไปคือมหาวิทยาลัยนั้น  ผู้ที่ศึกษาประวัติศาสตร์คงเข้าใจดีว่ามหาวิทยาลัยแต่ละแห่งเกิดขึ้นมาแบบมีวัตถุประสงค์ที่ค่อนข้างชัดเจน เช่น  “จุฬาลงกรณ์” นั้นเกิดขึ้นเพื่อผลิตคนเข้าสู่ระบบราชการที่พึ่งได้รับการปฏิรูปมาในช่วงรัชกาลที่ 5  “ธรรมศาสตร์” เกิดขึ้นเพื่อสืบทอดแนวคิดของการอภิวัฒน์ในปี พ.ศ. 2475 ฯลฯ  ซึ่งวัตถุประสงค์ของสถาบันอุดมศึกษาแต่ละแห่งได้มีส่วนหล่อหลอมให้นิสิตนักศึกษาแต่ละแห่งมี “อะไรบางอย่าง” ที่แตกต่างกันอย่างชัดเจน  และเป็นความแตกต่างในด้านอุดมการณ์ที่ส่งผลต่อแนวคิดและบุคลิกบางอย่างยิ่งกว่าความแตกต่างของสถานที่ที่ธรรมศาสตร์อยู่ตรงริมน้ำเจ้าพระยาท่าพระจันทร์  มีตึกโดมอะไรประมาณนั้น

กลับมาที่สถาบันระดับมัธยม  ดูเหมือนจะมีแต่ “เตรียมอุดม” ที่มีความแตกต่างชัดเจนขึ้นมาหน่อยว่าเป็นโรงเรียนมัธยมปลายที่ตั้งขึ้นมาเพื่อรวบรวมเด็กเก่งระดับประเทศอะไรประมาณนั้น  แต่นักเรียนที่นั่นก็ย่อมจบมัธยมต้นจากโรงเรียนอื่นมาก่อน  แล้วอะไรคือสิ่งที่ทำให้ “เทพศิรินทร์” แตกต่างจากที่อื่น  การมีตึกเก่าๆ ที่มีเอกลักษณ์อย่างตึกแม้นนฤมิตร ตึกเยาวมาลย์อุทิศฯ ตึกนิภานภดล ฯลฯ  น่ะหรือ  โรงเรียนอื่นเขาน่าจะมีตึกเก่าชื่อหรูประมาณนี้อยู่บ้าง  การมีดอกรำเพยเป็นดอกไม้ประจำโรงเรียนมันทำให้เราคิดอะไรต่างจากโรงเรียนที่มีดอกกุหลาบหรือดอกไม้อื่นๆ    การที่โรงเรียนเทพศิรินทร์อยู่ติดกับวัดเทพศิรินทร์มันทำให้เราใกล้ธรรมะมากกว่า “สวนกุหลาบ” ละหรือ  แล้วโรงเรียนอื่นที่อยู่ติดกับวัดหรืออยู่ภายในวัดอื่นๆ ล่ะ  ถนนกรุงเกษมกับคลองผดุงกรุงเกษมทำให้เราต่างจาก “สวนกุหลาบ” ที่อยู่ไปทางสะพานพุทธฯ ตรงไหน  ชุมชนที่อยู่ใกล้เคียง  ฮวงจุ้ย หรือ แลตติจูด-ลองกิจูดที่ต่างกันทำให้เกิดความแตกต่างจากโรงเรียนอื่นในด้าน “อุดมการณ์” แบบเดียวกับที่ธรรมศาสตร์ต่างจากจุฬาฯ อย่างไร ฯลฯ  หรือว่าผมเองยังไม่ได้จับประวัติของแต่ละโรงเรียนอย่างจริงจัง เลยคิดอะไรเรื่อยเปื่อยไม่เป็นระบบ???

เอาเป็นว่าเมื่อยังคิดปัญหานี้ไม่ออกก็ขอพักมันไว้ก่อน

ลองมาทบทวนกันใหม่ว่า  ชีวิตการเรียนในโรงเรียนมัธยมมันต่างจากชีวิตการเรียนในช่วงอื่นๆ อย่างไร

คำตอบที่กำปั้นทุบดินหน่อยก็คือมันเป็นการเรียนคนละระดับกันอายุก็คนละช่วงกัน  ไม่เป็นไรเดี๋ยวเราจะค่อยๆ ขยายความเรื่องนี้กัน

ตามปกติชีวิตคนเราตั้งแต่เด็กย่อมมีจุดหมายชีวิต (จะเกิดจากการคิดฝันเองหรือจากความคาดหวังของคนรอบข้างก็แล้วแต่) ว่าโตขึ้นจะต้องมีงานทำดีๆ มีเงินเยอะๆ จุดหมายนี้จะบรรลุได้ก็จะต้อง “ได้เรียนสูงๆ” คือเรียนจบมหาวิทยาลัยในระดับปริญญาตรีเป็นอย่างน้อย  จะเข้ามหาวิทยาลัยได้ก็ต้องผ่านการศึกษาระดับมัธยม  ก่อนจะมัธยมก็ต้องเรียนชั้นประถม ก่อนประถมก็อนุบาลมาเป็นลำดับ

การเรียนชั้นมัธยมนั้น  มันเป็นอะไรที่กลางๆ สมกับคำว่า “มัธยม” หรือ “มัธยมศึกษา” จริงๆ โดยเนื้อหาวิชานั้นยังคงเป็นเรื่องทางวิชาการมากกว่าวิชาชีพ  และโดยอายุของผู้เรียนน่าจะเรียกว่าอยู่ในช่วงเด็กโตจนถึงวัยรุ่นตอนต้น  ไม่ใช่เด็กเล็กแล้ว  และพึ่งจะเป็นก้าวแรกสู่ความเป็นผู้ใหญ่

สิ่งที่นอกเหนือจากการเรียนตามหลักสูตรคือการได้เริ่ม “ซึ้ง” กับสังคมที่นอกเหนือจากตัวเองและกว้างออกไปกว่ากลุ่มเพื่อนในห้อง
ในระดับประถมศึกษา  ตัวเราเองอาจจะมีเพื่อนนอกห้องรู้จักรุ่นพี่รุ่นน้องบ้างแล้ว ครูอาจจะเริ่มสอนให้เรารักโรงเรียน  เริ่มมีสัญลักษณ์มีสีมีธงมีตรามีเพลงเชียร์และเพลงประจำโรงเรียนกันแล้ว  แต่นั่นก็ยังเป็นช่วงเวลาที่เรา “ยังเด็ก” กันอยู่มาก  และสังคมก็ยังมองโรงเรียนประถมศึกษาเป็นแค่ทางผ่านเสียด้วย

จนกระทั่งโตขึ้นมาอีกหน่อยในโรงเรียนมัธยมนั่นแหละ  ที่การปลูกฝังความเป็นเอกลักษณ์ของหมู่คณะในระดับสถาบันการศึกษาด้วย สัญลักษณ์-สี-ธง-เพลง จะได้ก่อตัวเป็นเรื่องเป็นราว  โดยโรงเรียนที่มีชื่อเสียงหน่อยก็จะมีเรื่องของชื่อเสียงเดิมๆ  และศิษย์เก่าที่มีชื่อเสียงเข้ามาเสริม

ตัวผู้เรียนเองจากที่เคยใช้ชีวิตผ่านๆไปในชั้นประถมจากวันเป็นเดือน จากเดือนเป็นเทอม จากเทอมเป็นปีแล้วก็เลื่อนชั้น  พอจะจบชั้นประถมปีสุดท้ายจะไปชั้นมัธยม  คราวนี้มันไม่ได้เลื่อนชั้นอัตโนมัติอย่างเดิมแล้ว  ตัวเราและครอบครัวเราเริ่มจะต้องวุ่นวายกับเรื่องของ “ทางเลือก” และ “การแข่งขัน”  ตามค่านิยมของสังคม  คือต้องเข้าเรียนโรงเรียนที่ดีตามที่พ่อแม่คาดหวัง  ตัวเราเองจะเข้าใจด้วยหรือไม่ก็ตาม  ในสมัยก่อนดังเช่นรุ่นผมต้องสอบแข่งขันกัน  ระหว่างเตรียมตัวสอบบ้านที่มีเส้นมีสายก็ต้องเตรียมการ “ฝาก” สำรองไว้เผื่อสอบไม่ได้ขึ้นมา  มาในสมัยหลังๆ จนปัจจุบันก็หันมาใช้การจับสลากแทน  ไม่ว่าจะเป็นการสอบ การฝาก  การย้ายทะเบียนบ้านเข้าไปในเขตเดียวกับโรงเรียน  หรือการจับสลาก  ดูมันช่างวุ่นวายไปซะหมด

พอเข้าเรียนได้ 3 ปี คราวนี้เอาอีกแล้ว  มีปัญหาให้เลือกอีกว่าถ้าอยู่โรงเรียนเดิมต่อไปจะเรียนสายวิทย์ สายศิลป์ หรือคณิตศิลป์ จะอัพเกรดตัวเองไปเรียนโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา  หรือจะไปเรียนสายอาชีพอย่างอาชีวศึกษา หรือโรงเรียนเตรียมทหาร ฯลฯ และทางเลือกที่สังคมให้ความสำคัญกับมันก็จะต้องสอบแข่งขันกันอีกแล้ว

ผ่านไปได้ 2-3 ปีจะจบมัธยมปลายก็เจอปัญหาเข้าอีก  คราวนี้คือเรื่องจะสอบเข้ามหาวิทยาลัยแห่งไหนคณะไหน

สมัยผมใช้การสอบรวมที่เรียกว่าเอ็นทรานส์ (Entrance) จนเกิดสำนวนว่า “เอ็นติด” “เอ็นไม่ติด” “เอ็นติดคณะ ...”  แล้วต่อมามีการเปลี่ยนระบบเป็นอะไรที่อธิบายไม่ถูกซะแล้ว  ความที่ผมไม่มีลูกมีเมียมันเสียเปรียบเขาอย่างนี้  เห็นมีคำว่า GAT กับ PAT แต่ชาวบ้านบางคนเรียกเป็น “สอบแกะ-แพะ” อะไรไปนู่น

ชั้นมัธยมศึกษาจึงดูเหมือนจะมีอะไรให้เราจดจำมากกว่าชั้นอนุบาลและประถมที่เรายังเด็กเกินไป  และมากกว่ามหาวิทยาลัยที่เราใกล้จะเป็นผู้ใหญ่เต็มตัวและใกล้จะได้พ้นภาระการเรียนไปรับภาระที่ใหญ่กว่าคือการทำงานหาเลี้ยงตัวเองและคนอื่นซะที  (ไม่นับกรณียกเว้นที่บางคนเรียนไปด้วยทำงานไปด้วย)

แล้วการที่จะศึกษาประวัติความเป็นมาของโรงเรียนมัธยมศึกษาแต่ละแห่งอย่างโรงเรียนเทพศิรินทร์ของผมนั้นจะมีประโยชน์ต่อสังคมโดยรวมทั้งศิษย์เก่าที่นี่ ที่อื่นๆ และคนที่อาจจะไม่ได้จบชั้นมัธยม (ถ้ายังมีหลงเหลืออยู่ในยุค “เรียนฟรี” 12 ปี 15 ปี อย่างเวลานี้) อย่างไรบ้าง

อย่างแรกคงเป็นเรื่องของการศึกษาประวัติศาสตร์ของศึกษาของชาติไทยเรา  เช่นว่า  การที่โรงเรียนบางแห่งมีชื่อเสียงมาแต่เดิมนั้นด้วยเหตุอันใดแน่  พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ด้านอื่นๆ มีผลต่อพัฒนาการของโรงเรียนแต่ละแห่งอย่างไร  และการที่พยายามปรับเปลี่ยนการรับสมัครนักเรียนจากการสอบแข่งขันมาเป็นการจำกัดพื้นที่และการจับสลาก  รวมถึงการเอาชื่อของโรงเรียนที่มีชื่อเสียงมาแต่เดิมไปแจกตามโรงเรียนต่างๆ นั้น  มันแก้ปัญหาการศึกษาได้ถูกจุดหรือไม่

อีกประการหนึ่งคงจะเป็นเรื่องที่จะมาเสริมการศึกษาชีวประวัติบุคคลสำคัญๆ ว่าในช่วงเวลาที่เขาหรือเธอเรียนอยู่ที่โรงเรียนใดในช่วงเวลานั้น  บรรยากาศการเรียน  ชื่อเสียงโรงเรียน  เพื่อนร่วมรุ่น ฯลฯ  มีผลอะไรต่อความคิดอ่านของเขาหรือเธอบ้าง

อย่างน้อยก็สองประการนี้

เป็นอันว่าความเป็นมาและพัฒนาการของโรงเรียนต่างๆ นั้นคงจะต้องศึกษาให้กว้างขวางและลึกซึ้งยิ่งขึ้น  ในบทความก่อนตอนที่ผมรายงานสถิติการเข้าชมเว็บ IseeHistory ได้กล่าวถึงเรื่อง “ประวัติศาสตร์และวีรกรรมที่ถูกลืม” ว่าได้กลายเป็นความท้าทายเชิงบวกเอาไว้  คราวนี้เจอการบ้านจากรุ่นพี่เทพศิรินทร์เข้ามาร่วมท้าทายอีก  แล้วผมต้องทำอะไรกับประวัติโรงเรียนเทพศิรินทร์หรือไม่อย่างไร  เมื่อตัดสินใจแล้วจะได้มาคุยกันในโอกาสต่อไปครับ

Bookmark and Share




บทความจากสมาชิก




1

ความคิดเห็นที่ 1 (801)
avatar
สัมพันธ์

          เห็นภาพตึก "แม้นศึกษาสถาน"  แล้วให้นึกถึง "เยาวมาลย์อุทิศ" และ "ปิยราชบพิตรปดิวรัดา"  น่าเสียดายมาก  ผู้บริหารระดับที่มีส่วนคิด และอำนาจในการตกลงใจ เปลี่ยนให้เป็นดังปัจจุบันคงมีเหตุผล ความจำเป็นอันยิ่งยวด ที่ไม่อาจเปิดเผยได้นานัปการ นอกเนือไปจาก "เก่า ชำรุดทรุดโทรมมาก"  จนต้องสร้าง "ตึกใหม่"  แทน ตึกอันมีประวัติศาสตร์ยาวนานทั้งสองนั้น    ส่วน "แม้นนฤมิตร" นั้น  เป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงไม่ได้  ก็ต้องเป็นไปตามที่ต้องเป็น

          ผมจำได้ว่า เมื่อประมาณ พ.ศ.๒๕๐๕  ผมจบ ม.๖ รุ่นสุดท้าย (ม.๓ ปัจจุบัน) อยู๋ ม.ศ.๔ รุ่นแรก  มีงานฉลอง ๖๐/๖๕ ปี ?    โรงเรียนฯ ได้รวบรวมประว้ติไว้อย่างละเอียด (ตามตวามคิดของคนอายุ ๑๖-๑๗ ปี)   เพราะ ได้ช่วย อาจารย์สายสวาท  รัตนทัศนีย์   บรรณารักษ์ ทำงานที่ชั้นบนตึก "ปิยราชบพิตรปดิวรัดา" ซึ่งชั้นล่างเป็นห้องพิพิธภัณฑ์ และ ห้องเรียนวิชาวาดเขียน    จำโคลงสีสุภาพ  ได้  บาทหนึ่งว่า 

                              "สองสี่สามแปดแล้ว        เริ่มมี  โรงเรียน

                                                        ฯลฯ

            หลังจากคุยไม่ได้เรื่องมาแล้ว  ก็ขอแสดงความเห็นว่า  ประวัติโรงเรียนเทพศิรินทร์ นั้น   ใครจะมีข้อมูลดีไปกว่า โรงเรียนเทพศิรินทร์   อย่างน้อยก็เริ่มที่ประวัติซึ่งโรงเรียนฯ ได้รวบรวมไว้แล้ว  หรือไรครับ ท่าน

                                                                                                             ๘๙๓๑            

ผู้แสดงความคิดเห็น สัมพันธ์ (samphan_chaeng-at-hotmail-dot-com)วันที่ตอบ 2011-03-30 06:13:51


ความคิดเห็นที่ 2 (101470)
avatar
โรจน์ (Webmaster)

แน่นอนครับว่าประวัติโรงเรียนเทพศิรินทร์ ข้อมูลหลักฐานหลักๆ ย่อมอยู่ที่โรงเรียนเราเอง  เปรียบเทียบกับการศึกษาประวัติศาสตร์ประเทศไทย  ก็ต้องอาศัยเอกสารหลักฐานของไทยเป็นหลัก  แต่เพื่อความรอบด้านเราจะต้องไม่ละเลยเอกสารหลักฐานของประเทศอื่นที่เกี่ยวโยงกัน  ซึ่งอาจจะยืนยันกันได้ในบางประเด็น  และขัดแย้งกันในบางประเด็น  การศึกษาประวัติโรงเรียนเทพศิรินทร์ก็ย่อมจะต้องตรวจสอบร่วมกับประวัติโรงเรียนอื่นบ้าง เหมือนกันที่ประวัติโรงเรียนอื่นก็จะต้องมาตรวจสอบกับประวัติโรงเรียนเรา  แต่ไม่ใช่เอาข้อมูลของโรงเรียนหนึ่งมาหักล้างข้อมูลของอีกโรงเรียนหนึ่งแบบด่วนสรุป  ในการวิจัยทางประวัติศาสตร์ที่เป็นวิชาการเขามีกรรมวิธีที่จะจัดการกับความขัดแย้งของหลักฐานทำนองนี้  พูดไปก็คงยาวครับ  และผมก็ห่างเหินจากการวิจัยทางประวัติศาสตร์มาพอสมควร  คงต้องค่อยๆ รื้อฟื้นกันไป

ปัญหาที่ "รุ่นพี่" ท่านนั้นเกริ่นไว้ผมยังไม่มีโอกาสได้คุยในรายละเอียดเพิ่มเติม  ที่จริงผมได้เคยแนะนำให้ "รุ่นพี่" ท่านนั้นอ่านบทความของพี่สัมพันธ์รวมถึงให้อีเมล์ไว้เพื่อจะได้รู้จักกันด้วยครับ ปรากฏว่าจุดไต้ตำตอ  ท่านบอกว่าเป็นเพื่อนรุ่นเดียวกัน  เคยเรียนห้องเดียวกันมา 2 ปี   ยังนึกว่าป่านฉะนี้คงได้คุยกันแล้ว

ผู้แสดงความคิดเห็น โรจน์ (Webmaster) (webmaster-at-iseehistory-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2011-03-30 17:29:06


ความคิดเห็นที่ 3 (101471)
avatar
สัมพันธ์

ขอบคุณครับ 

ยังไม่ได้ติดต่อกันเลยครับ     ใครครับ  ติดต่อด้วยครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น สัมพันธ์ วันที่ตอบ 2011-03-30 20:56:18


ความคิดเห็นที่ 4 (101472)
avatar
โรจน์ (Webmaster)

งั้นผมส่งข้อมูลให้ทางอีเมล์นะครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น โรจน์ (Webmaster) (webmaster-at-iseehistory-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2011-03-30 22:44:53


ความคิดเห็นที่ 5 (101474)
avatar
สัมพันธ์

ครับ    ได้รับ  และติดต่อท่าน  เรียบโร้ย  แล้วครับ  .  .  .  ขอบคุณครับ

                                                                                                                 

ผู้แสดงความคิดเห็น สัมพันธ์ (samphan_chaeng-at-hotmail-dot-com)วันที่ตอบ 2011-03-31 09:40:58



1


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.
| WW II Europe | WW II Asia | WW I | Vietnam War | ประวัติศาสตร์ไทย | บทความจากสมาชิก | คุยกันหลังฉาก | บทความทั้งหมด |

สนใจร่วมเขียนบทความในเว็บไซต์ เชิญอ่าน แนวทางการร่วมเขียนบทความ ภาพยนตร์ประวัติศาสตร์

Custom Search



eXTReMe Tracker