dot
dot
เว็บภาพยนตร์ประวัติศาสตร์ ยินดีต้อนรับผู้สนใจทุกท่าน
dot
dot
สมาชิก Webboard/Blog
ชื่อผู้ใช้ :
รหัสผ่าน :
เข้าสู่ระบบอัตโนมัติ :
bullet ลืมรหัสผ่าน
dot
bulletข้อตกลงการเป็นสมาชิก
bulletเว็บบอร์ด-คุยกันหลังฉาก
bulletเว็บบอร์ด-Games ย้อนยุค
bulletเว็บบอร์ด-ชุดจำลองประวัติศาสตร์
bulletเว็บบอร์ด-หนังสือประวัติศาสตร์
bulletเว็บบอร์ด-เพลงประวัติศาสตร์
bulletคำถาม/คำตอบ ล่าสุด
bulletแนวทางการร่วมเขียนบทความ
dot
สงครามโลกครั้งที่ 2
dot
bulletสมรภูมิยุโรป (สัมพันธมิตรVSเยอรมัน-อิตาลี)
bulletสมรภูมิแปซิฟิก-เอเชีย (สัมพันธมิตรVSญี่ปุ่น)
dot
ภาพยนตร์ประวัติศาสตร์อื่นๆ
dot
bulletสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง
bulletประวัติศาสตร์ไทย
bulletประวัติศาสตร์อเมริกันยุคเริ่มแรก
bulletสงครามเวียดนามและอินโดจีน
bulletตะวันตกโบราณ (กรีก โรมัน ฯลฯ)
bulletประวัติศาสตร์ร่วมสมัย
bulletเอเชียโบราณ
bulletประวัติศาสตร์อื่นๆ (ยังไม่แยกหมวดหมู่)
bulletคลิปความรู้จาก YouTube
dot
บทความโดย วิวันดา
dot
bulletฮิตเล่อร์...และเหล่าขุนพลแห่งอาณาจักรไรค์ซที่สาม
bulletลอดลายรั้ว.....วินด์เซอร์
bulletเลิศเลอวงศา...โรมานอฟ
bulletเชลย
bulletซูคอฟ...ยอดขุนพลผู้ดับฝันของฮิตเล่อร์
dot
บทความโดย สัมพันธ์
dot
bulletคนไทยในกองทัพพระราชอาณาจักรลาว
bulletประวัติศาสตร์สงคราม กรีก
bulletกรณีพิพาทอินโดจีนและสงครามมหาเอเชียบูรพา
bulletอยุธยายศล่มแล้ว ลอยสวรรค์ ลงฤา
bulletฮานนิบาล
bulletพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบรมวงศานุวงศ์
bulletไทยกับมหาสงคราม
bulletสงครามเวียดนาม
bulletห้วยโก๋น ๒๕๑๘
bulletการทัพในมลายา
bulletประวัติศาสตร์อื่น ๆ
dot
เรื่องอื่นๆ
dot
bulletบทความเสริมความรู้ทั่วไป
bulletเกร็ดเล็กเกร็ดน้อย
bulletผู้จัดทำ
bulletผังเว็บไซต์ (Site Map)
bulletแนวทางการร่วมเขียนบทความ
bulletถาม-ตอบ (FAQs) (โปรดอ่านก่อนตั้งกระทู้หรือสมัครสมาชิก)
bulletร้านค้าออนไลน์
bulletแบ่งปัน Album
dot
ลิงค์ต่างๆ
dot
bulletHistory on Film
bulletกองบิน 21 กองพลบิน 2
bulletIELTS British Council
bulletIELTS IDP
bulletMUIC




โหราศาสตร์ยุคไอที



มิติของเวลาในประวัติศาสตร์
วันที่ 27/02/2009   22:33:10

บทนำจากเรื่อง "On History" โดย Fernand Braudel
(แปลโดย ดร.ชัยวัฒน์ บุนนาค - จากเอกสารประกอบการเรียนประวัติศาสตร์สมัยผมเรียนปริญญาโท ราวๆ ปี 2527)

หนังสือเล่มนี้แบ่งออกเป็นสามส่วน แต่ละส่วนคือ บทเรียงความเสนอที่พยายามอธิบายประวัติศาสตร์ในแง่มุมและมิติที่ต่างกัน

มิติที่หนึ่งหรือส่วนที่หนึ่ง มองประวัติศาสตร์ในแง่ของความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ ธรรมชาติซึ่งดูเกือบจะไม่เคลื่อนไหวเสียเลย ในแง่นี้ ถ้าเราจะเปรียบวิถีประวัติศาสตร์กับกระแสร์ธาร  ก็ดูเหมือนว่ากระแสร์ธารอันนี้จะไหลและเปลี่ยนแปลงช้ามาก  ถ้าไม่ไหลทวนกระแสร์กลับไปกลับมาก็ไหลเป็นวัฏฏะจักร์ซ้ำแล้วซ้ำเล่ามิรู้สิ้น  ข้าพเจ้าไม่ปฏิเสธโดยสิ้นเชิงในการมองประวัติศาสตร์ด้วยทัศนะดังกล่าว  ซึ่งเป็นเรื่องของความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติ  เมื่อเทียบกับมนุษย์ซึ่งอายุสั้นและเปลี่ยนแปลงรวดเร็วมากอายุของธรรมชาติย่อมยาวยืนมาก  และความเปลี่ยนแปลงซึ่งแม้จะเกิดขึ้นก็ตาม  แต่ตามสายตาของมนุษย์แล้ว สิ่งเหล่านี้ก็ดูราวกับว่าอยู่นิ่งคงที่ไม่ยอมเคลื่อนไหว  ต่อธรรมชาติแล้วไซร้เวลาในฐานะของผู้ก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงดูจะมีอิทธิพลสำคัญน้อยลงมาก

แต่ในขณะเดียวกัน  ข้าพเจ้าก็มิได้พอใจทัศนะทางประวัติศาสตร์แบบนี้ซึ่งยังทรงอิทธิพลในปัจจุบัน  นั่นคือถึงแม้จะเริ่มมีการให้ความเข้าใจกับปัจจัยทางภูมิศาสตร์มากขึ้นก็ตามแต่นั่นก็ดูเป็นการผิวเผิน  งานเขียนของนักประวัติศาสตร์แนวนี้  ในภาคบทนำมักจะมีการเริ่มต้นด้วยการกล่าวถึงพอเป็นพิธีถึงปัจจัยสภาวะแวดล้อมทางภูมิศาสตร์  โดยพูดอย่างลวกๆ ถึงภูมิศาสตร์โลหะธาตุ  ภูมิศาสตร์มนุษย์ หรือถึงภูมิศาสตร์มาลีชาติ (fleurs) หนเดียวในตอนต้น  แล้วในบทอื่นๆ ก็ไม่กล่าวถึงปัจจัยทางธรรมชาตินี้อีกเลย  สำหรับนักประวัติศาสตร์แนวนี้ถ้าพูดถึงดอกไม้  ก็พูดราวกับว่ามันบานหนเดียวแล้วสูญไปกับเวลา  ไม่กลับมาบานอีกครั้งในฤดูใบไม้ผลิครั้งหน้า  ถ้าเป็นฝูงสัตว์ถ้าหยุดกินหญ้าที่ไหนแล้วก็ติดอยู่กับทุ่งนั้นไม่เคลื่อนไหวไปทุ่งอื่น  หรือถ้าพูดเรือ เรือของเขาก็เป็นเรือที่ไหลวนในน้ำนิ่ง  ไม่ต้องเผชิญกับสภาพความเป็นจริง  คือคลื่นและพายุที่เปลี่ยนไปตามฤดูกาล

มิติที่สองของประวัติศาสตร์อยู่เหนือประวัติศาสตร์แนวมนุษย์ - ธรรมชาติที่เคลื่อนไหวช้าในแบบที่หนึ่ง ขึ้นมาอีกชั้นหนึ่ง ในมิติที่สองนี้ ประวัติศาสตร์คือเรื่องราวความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสังคม ระหว่างคนกลุ่มต่างๆ ในสังคม

กล่าวโดยสิ้นประวัติศาสตร์ก็คือประวัติศาสตร์ของสังคมนั่นเอง  จึงมีความเคลื่อนไหวมีชีวิตและโลดเต้นเป็นจังหวะ  แต่ก็ยังเป็นจังหวะช้าๆ  เพราะฉะนั้นในภาคที่สองของหนังสือเล่มนี้จึงเป็นการศึกษาความเคลื่อนไหวคลื่นสังคมลูกต่างๆ ที่มีส่วนกำหนดวิถีประวัติศาสตร์ของดินแดนเมดิเตอร์เรเนียนแถบนี้  เราจะทำการศึกษาระบบเศรษฐกิจ นครรัฐต่างๆ ในสังคมใหญ่น้อยและอารยธรรมต่างๆ ของดินแดนแถบนี้  วิธีการศึกษาแบบนี้บ่งให้เห็นว่าข้าพเจ้ามีโลกทัศน์อย่างไรในการมองและการศึกษาประวัติศาสตร์  ข้าพเจ้าต้องการชี้ให้เห็นว่าปัจจัยใหญ่น้อยหรือต่างระดับ  ตั้งแต่ระดับหน่วยสังคมเล็กจนถึงหน่วยภูมิภาคที่ได้กล่าวมานี้  ล้วนเปรียบเสมือนพลังคลื่นใต้น้ำที่มีส่วนกำหนดเหตุการณ์ประวัติศาสตร์สำคัญๆ เช่น การเกิดสงครามระหว่างรัฐต่างๆ ในภูมิภาคนี้  ข้าพเจ้ามีความเชื่อว่า สาเหตุของสงครามย่อมมีความซับซ้อนมากกว่าการพูดง่ายๆ ว่าเกิดขึ้นจากคนคนเดียวหรือกลุ่มคนกลุ่มเดียว

มิติที่สาม คือประวัติศาสตร์แนวจารีตนิยม ที่เราถือเป็นแนวศึกษาในปัจจุบัน (หมายถึง ปี 1946) กล่าวโดยสรุปโลกทัศน์ประวัติศาสตร์แบบนี้ ประวัติศาสตร์คือเรื่องของความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ในระดับปัจเจกบุคคลกับปัจเจกบุคคล (แทนที่จะเป็นความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ในระดับสังคมในแบบที่สอง  หรือระหว่างมนุษย์กับสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติแบบที่หนึ่ง)  เป็นประวัติศาสตร์เหตุการณ์สไตล์ ฟรังซัวส์ ซีมีออง นั่นคือ การให้ความสำคัญต่อปรากฏการณ์เคลื่อนไหวในระดับผิวน้ำของกระแสร์ธารประวัติศาสตร์แทนที่จะสนใจปัจจัยโครงสร้างต่างๆ ซึ่งเป็นคลื่นใต้น้ำอันทรงพลังที่อยู่ในระดับลึก

ประวัติศาสตร์ในมิติที่สามนี้จึงมีลักษณะแกว่งไกว รวดเร็ว อ่อนไหวต่อการถูกกระทบราวกับอารมณ์มนุษย์  ปรากฏการณ์การเคลื่อนไหวอันใดก็ตามที่เกิดขึ้น (ในระดับผิวน้ำ)  แม้จะเป็นเพียงน้อยนิด  ก็ทำให้นักประวัติศาสตร์แนวนี้ตื่นตระหนก  ประเมินผลคาดการณ์กันไปต่างๆนานา  เราไม่ปฏิเสธการศึกษาประวัติศาสตร์แนวเหตุการณ์  เพราะการศึกษาประสบการณ์และอารมณ์อันหลากหลายของมนุษยชาติ ย่อมเป็นสิ่งที่น่าตื่นเต้นพิศวงที่สุด

แต่ขณะเดียวกันการศึกษาประวัติศาสตร์แนวนี้ก็เป็นสิ่งที่อันตรายและอาจทำให้เราห่างจากความจริงทางประวัติศาสตร์ซึ่งซ่อนเร้นอยู่ได้  ข้าพเจ้าขอเตือนให้พวกเรานักประวัติศาสตร์ จงระมัดระวังประวัติศาสตร์แนวเหตุการณ์แบบที่ว่า  เพราะเรื่องที่เราศึกษามักจะเป็นเรื่องที่ "ร้อนคุกรุ่น" และเรามักจะเอาประสบการณ์ความรู้สึกส่วนตัวหรือคนร่วมสมัยเดียวกับเรา เข้าไปใส่ให้คนในอีกยุคประวัติศาสตร์หนึ่ง  เพราะฉะนั้นแทนที่เราจะศึกษาเรื่องราวของยุคอื่น ของคนอื่น จึงกลายเป็นการศึกษาประวัติศาสตร์ของยุคเราเอง  หรือเรื่องของอารมณ์ความรู้สึกนึกคิด ความโกรธ ความใฝ่ฝันปรารถนา หรือมายาคติของตัวเราที่มีต่อเหตุการณ์ประวัติศาสตร์นั้นๆ นั่นเอง

นับตั้งแต่ศตวรรษที่ 17 ภายหลังที่ยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาการที่แท้จริงได้เกิดขึ้นแล้วกล่าวได้ว่ายุโรปได้เข้าสู่ยุค "ฟื้นฟูศิลปวิทยาการของคนจำนวนมาก"  คนซึ่งส่วนใหญ่ยากไร้ ถ่อมตัวแต่มีความขยันขันแข็งในการผลิตงานประวัติศาสตร์นิพนธ์ขึ้นมากมาย  เอกสารประวัติศาสตร์เหล่านี้ค่อนข้างจะผิดข้อเท็จจริงและมีจำนวนเหลือคณะนับแทบไม่น่าเชื่อ  ในขณะที่เราทำการค้นคว้าเรื่องของพระเจ้าฟิลลิปที่สอง เราต้องเผชิญกับเอกสารเหล่านี้จำนวนมากและมีความรู้สึกว่ากำลังเข้าไปในดินแดนประหลาด  ดินแดนซึ่งแม้จะเต็มไปด้วยอารมณ์และสีสันอันน่าพิศวง  แต่ก็เป็นโลกที่มัวซัวซึ่งความจริงกับความเท็จทับกันอยู่ไม่แยกอกจากกันอย่างกระจ่างชัด  เป็นโลกซึ่งนักประวัติศาสตร์ของยุคนั้นและยุคของเราก็เช่นกันสนใจแต่กระแสร์เหตุการณ์ "ผิวน้ำ" แทนที่จะสนใจกระแสร์ธารของโครงสร้างความจริงซึ่งซ่อนเร้นอยู่ในระดับลึก  กระแสร์ธารระดับลึกที่ "นาวาประวัติศาสตร์ของมนุษย์" ต้องล่องลอยโต้คลื่นอย่างโดดเดี่ยวโดยที่นักประวัติศาสตร์เหล่านั้นไม่ให้ความสนใจ

เมื่อเราจำเป็นต้องแล่นนาวาแห่งความรู้บนมหาสมุทรแห่งกาลเวลา ซึ่งการแสวงหาความจริงกระทำได้ลำบากเช่นนี้  สิ่งที่เราพึงกระทำคือ  แทนที่จะพิจารณาแต่เพียงปรากฏการณ์ผิวน้ำและหยิบมาเป็น "หลักฐานอ้างอิง" ในการเขียนประวัติศาสตร์  เราควรจะสำรวจกระแสร์น้ำที่ไหลในระดับลึกเสียก่อน  นั่นคือการมองประวัติศาสตร์ในแง่มิติที่หนึ่งและมิติที่สองซึ่งได้กล่าวมาแล้ว  อีกประการหนึ่ง  ถ้ามองในแง่ระเบียบวิธีวิจัยทางประวัติศาสตร์  เราควรจะกำหนดช่วงระยะเวลาของยุคประวัติศาสตร์ที่เราสนใจจะศึกษา  ให้มีความยาวพอที่จะทำให้เราเห็นการเปลี่ยนแปลงคลี่คลายของปัจจัยต่างๆ ทางประวัติศาสตร์ได้  วิธีการศึกษาประวัติศาสตร์แบบนี้ย่อมทำให้เราสามารถแทรก "เหตุการณ์ธรรมดาที่น่าตื่นเต้นเพียงชั่วครู่ และชวนให้คิดว่าเป็นเหตุการณ์ประวัติศาสตร์" ให้ออกจากเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ในความหมายที่แท้จริง นั่นคือ เหตุการณ์ที่สามารถมีอิทธิพลกำหนดวิถีวิวัฒน์ของประวัติศาสตร์ให้ออกจากกันได้

การกำหนดช่วงยุคของประวัติศาสตร์ที่เราสนใจศึกษาให้กว้างในแง่ของเวลา ย่อมเปิดโอกาสให้ความจริงถอยตัวออกมาจากความเท็จ  และเปิดช่องให้กระแสร์ประวัติศาสตร์ในระดับลึก นั่นคือวิวัฒนาการของโครงสร้างของสังคมและของจิตใจมนุษย์  ซึ่งเป็นพลังตัวจริงในการกำหนดวิถีประวัติศาสตร์แทรกตัวออกจากเหตุการณ์ผิวเผิน  เพื่อให้เราประจักษ์ความจริงได้

มีผู้กล่าวว่า ปรัชญาวิธีการศึกษาประวัติศาสตร์คือ การแยกขบวนการทางประวัติศาสตร์ทั้งมวลออกเป้น 3 ส่วนหรือ 3 มิติ  ซึ่งซ้อนกันเป็นชั้นๆ ประวัติศาสตร์ในมิติของเวลา 3 มิติซึ่งมีอิทธิพลกำหนดขอบเขตความสามารถของมนุษย์ในฐานะ "ตัวแสดงทางประวัติศาสตร์" (Social Actors หรือ Actors in History) นี้ได้แก่

ก. มิติของเวลาทางประวัติศาสตร์มองในแง่ความเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงของปัจจัยทางธรรมชาติหรือทางสภาพแวดล้อมทางภูมิศาสตร์หรือเทคโนโลยีที่มีอิทธิพลต่อมนุษย์

ข. มิติของเวลาทางประวัติศาสตร์มองในแง่ของความเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงของสังคม

ค. มิติของเวลาทางประวัติศาสตร์มองในแง่ความเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมหรือเจตจำนงค์ของปัจเจกบุคคล หรือกลุ่มปัจเจกบุคคล ซึ่งเป็นปัจจัยที่สำคัญอีกอันหนึ่งที่มีส่วนกำหนดวิถีประวัติศาสตร์

ถ้าจะกล่าวอีกนัยหนึ่ง  ปรัชญาการศึกษาประวัติศาสตร์ของเราคือ การแยกวิเคราะห์มนุษย์ มองทั้งในแง่กลุ่มหรือแง่ปัจเจกบุคคล ซึ่งเป็นศูนย์กลางหรือตัวแสดงทางประวัติศาสตร์ออกเป็นหลายบุคคลิกหลายบทบาท เศรษฐกิจ การเมือง วัฒนธรรม จิตวิทยา สังคมวิทยา ฯลฯ ทั้งนี้เพื่อให้เราสามารถเข้าใจพฤติกรรมมนุษย์ในฐานะการดำรงชีวิตทุกๆ ด้านของเขา  และเพื่อให้เราเข้าใจปัจจัยโครงสร้างต่างๆ ทางภูมิศาสตร์ ทางสังคม หรือภายในความนึกคิดของมนุษย์เอง  ซึ่งสิ่งที่กล่าวมานี้ล้วนเป็นพลังสำคัญในการกำหนดวิถีประวัติศาสตร์ทั้งสิ้น

ผู้ที่อาจจะไม่พอใจวิธีการศึกษาประวัติศาสตร์โดยการแบ่งแยก วิเคราะห์โครงสร้างทางสังคมและโครงสร้างภายในตัวมนุษย์  ก็อาจจะเป็นพวกนักประวัติศาสตร์แนวจารีตนิยมนั่นเอง  นักประวัติศาสตร์แนวนี้พอใจที่จะศึกษาเรื่องราวของมนุษย์ในระดับผิวเผิน  โดยคุมมนุษย์ในฐานะผู้สร้างหรือผู้มีปฏิกิริยาต่อเหตุการณ์ประวัติศาสตร์หนึ่งๆ โดยไม่ใฝ่ใจที่จะศึกษาแยกวิเคราะห์องค์ประกอบปัจจัยอันซับซ้อนทั้งภายในและภายนอกตัวมนุษย์  ซึ่งตามความคิดของข้าพเจ้ามีส่วนกำหนดพฤติกรรมของมนุษย์ - องค์รวม - ให้มีการแสดงออกแบบหนึ่งในสภาพการณ์แบบหนึ่ง

ข้าพเจ้าขอยืนยันอีกครั้งหนึ่งว่า  ถ้านักประวัติศาสตร์จารีตนิยมจะกล่าวหาว่าข้าพเจ้าศึกษาประวัติศาสตร์ และศึกษามนุษย์โดยแยกส่วนเป็นชิ้นๆ แล้ว  ก็น่าจะกล่าวว่าวิธีการเลือกหรือแบ่งยุคช่วงเวลาเพื่อการศึกษาประวัติศาสตร์ของพวกเขาเองนั่นแหละ  ที่ทำให้การศึกษาวิถีและเหตุการณ์ประวัติศาสตร์แตกแยกออกเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย  จนเราไม่สามารถเห็นภาพรวมของเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ทั้งหมดทั้งในแง่มิติของเวลาและของสถานที่  โดยเฉพาะอย่างยิ่งไม่สามารถทำให้เราเห็นปฏิสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยต่างๆ ที่อยู่ในโครงสร้างระดับลึกของวิถีประวัติศาสตร์ได้

และเช่นเดียวกัน  ถึงแม้ว่าจะเป็นการต้องคัดค้านปรมาจารย์ทางประวัติศาสตร์นิพนธ์ เช่น Ranke หรือ Karl Brandi ก็ตาม  ข้าพเจ้าขอยืนยันว่า วิธีการศึกษาประวัติศาสตร์แนวพรรณนาเชิงตระหนักแน่นของเขา ก็มิได้มีความเป็น "สภาวะวิสัย" หรือ "สอดคล้องกับความเป็นจริงที่เกิดขึ้นในประวัติศาสตร์"  มากเท่าที่พวกเขาคิดว่ามันควรจะเป็น  ข้าพเจ้าคิดว่าวิธีการศึกษาของเขานั้นจำกัดตัวอยู่แค่ในระดับปรัชญาประวัติศาสตร์เท่านั้น

อนึ่ง ข้าพเจ้าขอกล่าวว่า วิธีการที่ข้าพเจ้าศึกษาประวัติศาสตร์โดยแบ่งอกเป็น 3 มิตินั้น ก็มิได้มีลักษณะตายตัวแยกขาดจากกันโดยสิ้นเชิง  การนำเสนอเรื่องซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ตอน 3 มิตินั้น ก็เพื่อความสะดวกในความเข้าใจปรัชญาการศึกษาประวัติศาสตร์ของข้าพเจ้า  เพราะในสภาพความเป็นจริงแล้ว  มิติทั้งสามย่อมเป็นองค์ประกอบของกันและกันและแบ่งแยกออกมิได้

ข้าพเจ้าหวังเช่นกันด้วยว่า ผู้อ่านคงจะไม่ตำหนิในความทะเยอทะยาน ความปรารถนา และความจำเป็นของข้าพเจ้าในการกำหนดขอบเขตในการศึกษาประวัติศาสตร์ไว้ให้กว้างและสูง  โดยไม่จำกัดตัวอยู่แค่ในดินแดนของวิชาประวัติศาสตร์ (ตามความหมายเดิม) เท่านั้น ประวัติศาสตร์ในความหมายของข้าพเจ้าน่าจะเป็นศาสตร์ที่ขังตัวเองอยู่ในสวนสี่เหลี่ยมกำแพงสูงอย่างที่เป็นมา  วิชานี้โดยลักษณะเนื้อหาของตัวเองแล้วน่าจะต้องพึ่งพาเกี่ยวกันกับศาสตร์แขนงอื่นๆ เป็นอย่างมากที่เพิ่งเริ่มก่อตัวและพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ทางสาขามนุษย์ศาสตร์

ข้าพเจ้าอยากจะตั้งคำถามว่า ปัจจุบันเราอยู่ในปี 1946  ถ้าเรานักประวัติศาสตร์ไม่มีความทะเยอทะยาน ความตระหนักในภาระหน้าที่และพลังของเราแล้ว  เราจะสามารถสถาปนาลัทธิมนุษยนิยมขึ้นได้หรือไม่ Edmond Flaval ได้กล่าวไว้ในปี 1942 ว่า "เพราะเรากลัวที่จะศึกษาประวัติศาสตร์อย่างในระดับกว้างและอย่างลึกซึ้งนี่เองที่งานประวัติศาสตร์นิพนธ์ชิ้นใหญ่และมีค่าจึงไม่ยอมเกิดขึ้นเสียที"

ประโยคนี้ยังคงเป็นความจริงอยู่เสมอ!!




บทความเสริมความรู้ทั่วไป

ร้อยตำรวจเอกธรณิศ ศรีสุข ยอดวีรบุรุษ ตชด. วันที่ 02/07/2010   21:44:35
Robinson Crusoe 1997 - ความเป็นมนุษย์ วันที่ 26/05/2012   10:55:36
พงศาวดารมอญพม่า จาก ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ ๑ วันที่ 21/04/2012   10:42:18 article
พระนเรศวรฯ กับเมืองละแวก ใน พงศาวดารละแวก ฉะบับแปล จ.ศ. ๑๑๗๐ วันที่ 21/04/2012   10:43:01 article
Beau Brummell: The Charming Man 2006 หนุ่มเจ้าสำอาง วันที่ 24/09/2015   22:37:44
เรื่องของฮิตเลอร์ และ เอวา บราวน์ วันที่ 24/09/2015   22:37:10
Fanny Hill การผจญภัยในโลกีย์ วันที่ 24/09/2015   22:36:45
The Marriage of Figaro วิวาห์ฟิกาโร วันที่ 24/09/2015   22:36:10
แนะนำบทความประวัติศาสตร์ที่ simple.wikipedia.org วันที่ 21/04/2012   10:44:07 article
ยศและเครื่องหมายยศทหารเยอรมันสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 (Wehrmact Heer & Waffen SS) วันที่ 21/04/2012   10:47:26 article
ประวัติศาสตร์กับภาษาต่างประเทศ วันที่ 21/04/2012   10:50:53 article
บางประเด็นจากการไปฟังบรรยายเรื่องพิพิธภัณฑ์โรงเรียนเทพศิรินทร์ วันที่ 21/04/2012   10:52:53 article
หลักฐานประวัติศาสตร์และการวิเคราะห์หลักฐานประวัติศาสตร์ วันที่ 21/04/2012   10:51:49 article
MP40 กับ PPSh-41 และปืนกลมืออื่นๆ อีก 3 แบบ วันที่ 21/04/2012   10:54:27 article
คลีโอพัตรา ตอนที่ 4 : ฟาโรห์องค์สุดท้ายของอียิปต์ - ผู้หญิงที่โลกไม่มีวันลืม (สรุป) วันที่ 09/01/2011   19:31:10
แล้วผมต้องทำอะไรกับประวัติโรงเรียนเทพศิรินทร์? วันที่ 21/04/2012   10:53:38 article
นางเอกอมตะตลอดกาล 25 คนแรก ของฮอลลีวู้ด (1) วันที่ 14/05/2012   21:45:30
เมื่อ Don Quixote de Lamancha ปะทะ เล่าปัง (2) วันที่ 14/05/2012   21:44:31
เมื่อ Don Quixote de Lamancha ปะทะ เล่าปัง วันที่ 14/05/2012   21:43:48
ภาพยนตร์รัสเซีย "Battle of Kursk" ศึกรถถังที่ใหญ่กว่า "Battle of the Bulge" วันที่ 21/04/2012   11:00:38 article
อธิบายเบื้องต้นเกี่ยวกับคำศัพท์หน่วยทหาร วันที่ 21/04/2012   11:01:41 article
"บางระจัน่" จากพระราชพงศาวดาร 2 ฉบับ วันที่ 05/05/2012   09:30:38 article
ราชทูตปรัสเซียเยือนสยามสมัยร.๔ ก้าวแรกสัมพันธ์ไทย-เยอรมัน วันที่ 21/04/2012   11:08:02 article
พระราชดำรัสเนื่องในเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ 20 พฤษภาคม 2535 วันที่ 05/05/2012   09:40:33 article
ทดสอบการแปลยศทหารบกจากภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทยด้วยโปรแกรมพจนานุกรมดิจิตอล วันที่ 05/05/2012   10:17:45 article
ตำราพิชัยสงครามของไทย วันที่ 10/05/2012   11:22:47
ภาพตัวอย่างเครื่องแบบทหารเยอรมันสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 วันที่ 05/05/2012   10:16:51 article
"ไทยรบเขมร" ใน "ไทยรบพม่า" วันที่ 05/05/2012   10:13:48 article
อวสาน บิสมาร์ค วันที่ 10/05/2012   11:26:55
ชีวประวัติกับประวัติศาสตร์ วันที่ 05/05/2012   10:04:25 article
สืบเนื่องจาก "ELSID" วันที่ 14/05/2012   21:41:48
เจงกิสข่าน ผู้ยิ่งใหญ่ (2) วันที่ 14/05/2012   21:40:37
เจงกิสข่าน ผู้ยิ่งใหญ่ วันที่ 14/05/2012   21:39:44
เจ้าพ่อเซี่ยงไฮ้ วันที่ 14/05/2012   21:38:54
การรบแห่งสตาลินกราด วันที่ 10/05/2012   11:28:24
Bangkok mean time เวลามาตรฐานชาติแรกของโลก ณ พระที่นั่งภูวดลทัศไนย วันที่ 10/05/2012   11:30:18
เครื่องบินรบไทยในสงครามอินโดจีน วันที่ 10/05/2012   11:37:11
Little Boyและfatman คู่หูมหาปลัย วันที่ 10/05/2012   11:34:40
BATTEL OF MIDWAY ยุทธนาวีทางอากาศที่เกาะมิดเวย์ จุดเปลี่ยนสงครามแปซิฟิค วันที่ 21/08/2010   22:07:52
พลูโตในยุคสมัยต่างๆ (www.horauranian.com) วันที่ 29/09/2008   21:37:10
กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ ผู้ตั้งชื่อ "เดือน" ของไทย วันที่ 00/00/0000   00:00:00
ความเป็นมา วันสตรีสากล ๘ มีนาคม และ ผู้ให้กำเนิดวันสตรีสากล วันที่ 08/03/2014   08:50:05
คลีโอพัตรา ตอนที่ 1: ราชินีสาว นางพญาแห่งลุ่มแม่น้ำไนล์ ฟาโรห์องค์สุดท้ายของอิยิปต์ และผู้หญิงที่สวยที่สุดในประวัติศาสตร์ วันที่ 09/01/2011   19:31:53
ร้อยเอกวัฒนชัย คุ้มครองเหรียญกล้าหาญสมรภูมิบ้านร่มเกล้า วันที่ 21/08/2010   22:08:31
พันโททวี ปูรณโชติ ขุนศึกแห่งลุ่มน้ำซุยคา วันที่ 21/08/2010   22:09:01
พันโทเจริญ ทองนิ่ม วีรบุรุษพลร่ม วันที่ 21/08/2010   22:09:29
เรือเอกประทีป อนุมณี "ประดู่เหล็กแห่งดูซงญอ" วันที่ 21/08/2010   22:09:57
วีรกรรมดอนแตง วันที่ 21/08/2010   22:10:41



Copyright © 2010 All Rights Reserved.
| WW II Europe | WW II Asia | WW I | Vietnam War | ประวัติศาสตร์ไทย | บทความจากสมาชิก | คุยกันหลังฉาก | บทความทั้งหมด |

สนใจร่วมเขียนบทความในเว็บไซต์ เชิญอ่าน แนวทางการร่วมเขียนบทความ ภาพยนตร์ประวัติศาสตร์

Custom Search



eXTReMe Tracker