dot
dot
เว็บภาพยนตร์ประวัติศาสตร์ ยินดีต้อนรับผู้สนใจทุกท่าน
dot
dot
สมาชิก Webboard/Blog
ชื่อผู้ใช้ :
รหัสผ่าน :
เข้าสู่ระบบอัตโนมัติ :
bullet ลืมรหัสผ่าน
dot
bulletข้อตกลงการเป็นสมาชิก
bulletเว็บบอร์ด-คุยกันหลังฉาก
bulletเว็บบอร์ด-Games ย้อนยุค
bulletเว็บบอร์ด-ชุดจำลองประวัติศาสตร์
bulletเว็บบอร์ด-หนังสือประวัติศาสตร์
bulletเว็บบอร์ด-เพลงประวัติศาสตร์
bulletคำถาม/คำตอบ ล่าสุด
bulletแนวทางการร่วมเขียนบทความ
dot
สงครามโลกครั้งที่ 2
dot
bulletสมรภูมิยุโรป (สัมพันธมิตรVSเยอรมัน-อิตาลี)
bulletสมรภูมิแปซิฟิก-เอเชีย (สัมพันธมิตรVSญี่ปุ่น)
dot
ภาพยนตร์ประวัติศาสตร์อื่นๆ
dot
bulletสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง
bulletประวัติศาสตร์ไทย
bulletประวัติศาสตร์อเมริกันยุคเริ่มแรก
bulletสงครามเวียดนามและอินโดจีน
bulletตะวันตกโบราณ (กรีก โรมัน ฯลฯ)
bulletประวัติศาสตร์ร่วมสมัย
bulletเอเชียโบราณ
bulletประวัติศาสตร์อื่นๆ (ยังไม่แยกหมวดหมู่)
bulletคลิปความรู้จาก YouTube
dot
บทความโดย วิวันดา
dot
bulletฮิตเล่อร์...และเหล่าขุนพลแห่งอาณาจักรไรค์ซที่สาม
bulletลอดลายรั้ว.....วินด์เซอร์
bulletเลิศเลอวงศา...โรมานอฟ
bulletเชลย
bulletซูคอฟ...ยอดขุนพลผู้ดับฝันของฮิตเล่อร์
dot
บทความโดย สัมพันธ์
dot
bulletคนไทยในกองทัพพระราชอาณาจักรลาว
bulletประวัติศาสตร์สงคราม กรีก
bulletกรณีพิพาทอินโดจีนและสงครามมหาเอเชียบูรพา
bulletอยุธยายศล่มแล้ว ลอยสวรรค์ ลงฤา
bulletฮานนิบาล
bulletพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบรมวงศานุวงศ์
bulletไทยกับมหาสงคราม
bulletสงครามเวียดนาม
bulletห้วยโก๋น ๒๕๑๘
bulletการทัพในมลายา
bulletประวัติศาสตร์อื่น ๆ
dot
เรื่องอื่นๆ
dot
bulletบทความเสริมความรู้ทั่วไป
bulletเกร็ดเล็กเกร็ดน้อย
bulletผู้จัดทำ
bulletผังเว็บไซต์ (Site Map)
bulletแนวทางการร่วมเขียนบทความ
bulletถาม-ตอบ (FAQs) (โปรดอ่านก่อนตั้งกระทู้หรือสมัครสมาชิก)
bulletร้านค้าออนไลน์
bulletแบ่งปัน Album
dot
ลิงค์ต่างๆ
dot
bulletHistory on Film
bulletกองบิน 21 กองพลบิน 2
bulletIELTS British Council
bulletIELTS IDP
bulletMUIC




โหราศาสตร์ยุคไอที



หลักฐานประวัติศาสตร์และการวิเคราะห์หลักฐานประวัติศาสตร์ article
วันที่ 21/04/2012   10:51:49

เว็บภาพยนตร์ประวัติศาสตร์แห่งนี้ได้พูดคุยเรื่องประวัติศาสตร์กันแบบสบายๆ ผ่านการวิจารณ์ภาพยนตร์เป็นส่วนใหญ่  แต่ก็ไม่ละเลยที่จะพูดเรื่องประวัติศาสตร์ในแนววิชาการบ้าง  วันนี้รื้อโต๊ะเจอเอกสาร “แนวสอนวิชาประวัติศาสตร์ทหาร” ที่นายทหารท่านหนึ่งเคยให้ไว้เมื่อตอนไปเยี่ยมเยียนท่าน  เนื้อหาบางส่วนของเอกสารนี้ก็กล่าวถึงพื้นฐานการวิจัยทางประวัติศาสตร์เช่นเดียวกับที่ผมเคยเรียนในระดับปริญญามานั่นเอง  แต่หากอธิบายกันดีๆ ก็ไม่ได้ยากเกินกว่าที่ชาวบ้านอย่างเราๆ ท่านๆ จะเข้าใจได้  จึงคิดว่าถึงเวลาแล้วที่จะได้นำสาระสำคัญส่วนหนึ่งของเอกสารดังกล่าวมาพูดคุยกันให้เห็นว่า  เนื้อหาของประวัติศาสตร์ที่เราได้อ่านได้ดูกันตั้งแต่ตำราและงานวิจัยต่างๆ มาจนถึงหนังสือที่วางขายทั่วไปและภาพยนตร์ประวัติศาสตร์ต่างๆ ที่เว็บแห่งนี้นำมาพูดคุยกันนั้น  มันมีเบื้องหลังบางอย่างที่จะบ่งชี้ถึงความน่าเชื่อถืออย่างไรกันบ้าง

ก่อนจะเข้าเรื่องขอทำความเข้าใจกันอีกนิดว่า  หลักฐานทางประวัติศาสตร์นั้น  ไม่ได้หมายความแต่เพียงแคบๆ เฉพาะเอกสารหลักฐานที่เป็นตัวอักษรเท่านั้น  แต่ยังรวมถึงอะไรก็ตามแต่ที่ใช้บันทึกเรื่องราวได้ทั้งโดยตรงและโดยอ้อม  ไม่ว่าวัสดุใดๆ ที่ใช้บันทึกเสียง ภาพถ่าย ภาพยนตร์ รวมถึงศิลปวัตถุและโบราณวัตถุต่างๆ  จนถึงขณะนี้ในต่างประเทศเริ่มมีการใช้การตรวจ DNA เป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ด้วย  เสียดายว่าผมไม่มีความรู้ด้านการสืบสวนสอบสวนของตำรวจ  เลยไม่อาจเปรียบเทียบกันได้ชัดๆ ว่าการใช้หลักฐานของนักประวัติศาสตร์และตำรวจมีอะไรที่เหมือนและแตกต่างกันบ้าง  อีกอย่างหนึ่งคือข้อความอธิบายที่เป็นสีแดงนั้น  ผมคัดมาจากเอกสาร “แนวสอนวิชาประวัติศาสตร์ทหาร” ดังที่กล่าวครับ

แหล่งข้อมูลทางประวัติศาสตร์  ในชีวิตประจำวันเมื่อมีใครบอกเล่าอะไรเราสักอย่างเราคงไม่ถึงกับจะเชื่อในทันทีทันใดเสมอไป  บ่อยครั้งที่เราย่อมจะตั้งคำถามกลับไปว่า  จริงหรือ? รู้ได้ยังไง? ใครบอก? มีหลักฐานอะไร? ฯลฯ ในทางวิชาการประวัติศาสตร์ก็เช่นเดียวกัน  เขาได้มีการจำแนกแหล่งข้อมูลต่างๆ ทางประวัติศาสตร์ออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่

  • ข้อมูลปฐมภูมิ (Primary Sources) บางครั้งเรียกเป็นภาษาไทยง่ายๆ ว่า “หลักฐานชั้นต้น” ในการวิจัยทางประวัติศาสตร์เขาได้ให้คำจำกัดความไว้ว่า หมายถึง ข้อมูลที่ได้จากผู้ให้ข้อมูลที่มีประสบการณ์โดยตรง  ซึ่งสามารถใช้เป็นพยานหลักฐานยืนยันต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นได้จริง  โดยข้อมูลประเภทนี้ได้แก่  บันทึกเหตุการณ์ที่ถูกบันทึกจากผู้ที่อยู่ในเหตุการณ์จริง หรือ จดหมาย, จดหมายเหตุ และ รายงานต่างๆ รวมทั้งการบันทึกภาพและเสียงจากเหตุการณ์จริง
  • ข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary Sources) บางครั้งเรียกว่า “หลักฐานชั้นรอง” หมายถึงข้อมูลที่มาจากการเขียนหรือการบรรยายที่ได้มาจากข้อมูลปฐมภูมิ  แล้วนำมาเรียบเรียงใหม่ โดยข้อมูลประเภทนี้ได้แก่ เอกสาร, หนังสือ, วารสาร, ตำรา ตลอดจน ภาพยนตร์ หรือหนังสารคดีต่างๆ

อย่างไรก็ตาม  การแบ่งข้อมูลออกเป็น ปฐมภูมิ-ทุติยภูมิ หรือ หลักฐานชั้นต้น-ชั้นรอง นี้  เคยมีความเข้าใจแบบตายตัวประมาณว่า  ถ้าเป็นหลักฐานประเภทพงศาวดารหรือเอกสารจดหมายเหตุแล้วจะต้องเป็นหลักฐานชั้นต้น  เอกสารอย่างอื่นเป็นหลักฐานชั้นรอง  แต่เมื่อศึกษากันอย่างลึกซึ้งแล้ว  ความเป็นหลักฐานชั้นต้น-ชั้นรองกลับขึ้นอยู่กับเนื้อหาของเอกสารหลักฐานนั้นเอง  หรือขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ในการศึกษาวิจัย

ตัวอย่างเช่นพระราชพงศาวดารที่นักประวัติศาสตร์สมัยก่อนยึดถือเป็นเอกสารชั้นต้นนั้น  แท้ที่จริงพระราชพงศาวดารแต่ละฉบับได้มีการเขียนหรือชำระขึ้นในสมัยใดสมัยหนึ่งและมีความน่าเชื่อถือสูงเฉพาะเนื้อหาส่วนที่บันทึกเหตุการณ์ร่วมสมัยเท่านั้น  เหตุการณ์ก่อนหน้านั้นขึ้นไปก็ย่อมเรียบเรียงจากเอกสารอื่นเป็นลำดับ  สมมติว่ามีการค้นพบพงศาวดารฉบับใหม่ขึ้นมาที่เขียนขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 1  พงศาวดารฉบับนั้นก็จะใช้เป็นหลักฐานชั้นต้นในช่วงย้อนขึ้นไปไม่น่าจะเกินสมัยอยุธยาตอนปลาย  เป็นต้น

อีกสักตัวอย่างหนึ่ง  พอดีช่วงนี้ภาพยนตร์ตำนานสมเด็จพระนเรศวรภาค 3-4 ที่เรารอคอยกันมานานพึ่งได้ออกฉาย  ก็ขอนำมายกประกอบการอธิบายกันหน่อย  แน่นอนครับว่าคงไม่มีใครคิดว่าภาพยนตร์อิงประวัติศาสตร์ของท่านมุ้ย (มจ.ชาตรีเฉลิม ยุคล) จะเป็นหลักฐานชั้นต้นในการศึกษาประวัติศาสตร์กรุงศรีอยุธยา  เพราะท่านและทีมงานทั้งหลายไม่มีใครเกิดทันยุคนั้น  เหตุการณ์ภาพยนตร์ล้วนเป็นการแสดงและถ่ายทำตามกระบวนการภาพยนตร์บันเทิงทั้งสิ้น  แต่ถ้าวันดีคืนดีมีใครอยากศึกษาแนวคิดทางประวัติศาสตร์ของท่านมุ้ย  หรืออยากศึกษาพัฒนาการของภาพยนตร์ไทยแล้ว  ภาพยนตร์ของท่านก็กลายเป็นหลักฐานชั้นต้นขึ้นมาทันที

การตรวจสอบวิเคราะห์ของนักประวัติศาสตร์  นอกจากเรื่องการจำแนกประเภทหลักฐานแล้ว  นักประวัติศาสตร์ยังมีกรรมวิธีในการที่จะตรวจสอบหลักฐานนั้นๆ  ซึ่งโดยทั่วไปประกอบด้วยขั้นตอนพื้นฐาน 2 ประการ ได้แก่

  • การตรวจสอบวิเคราะห์ภายนอก (External Criticism) บางครั้งเรียกสั้นๆ ว่า “การวิเคราะห์ภายนอก” หมายถึง การตรวจสอบวิเคราะห์ที่เกี่ยวข้องกับความพยายามในการค้นหาแหล่งที่มาที่แน่นอนของข้อมูลหรือหลักฐานทางประวัติศาสตร์ รวมถึง การตรวจสอบความแท้จริงหรือความผิดพลาดและเอกสารที่ไม่ปรากฏที่มา  ในการรวบรวมและบันทึกข้อมูลทางประวัติศาสตร์ โดยในการนำความพยายามในการค้นหาคำตอบตามหัวข้อ ใคร,ที่ไหน,เมื่อใด และ อย่างไร ที่ข้อมูลประวัติศาสตร์ได้ถูกบันทึกขึ้น หรือว่าข้อมูลนี้มีความสำคัญต่อประวัติศาสตร์อย่างไร
  • การตรวจสอบวิเคราะห์ภายใน (Internal Criticism) หรือเรียกสั้นๆ ว่า “การวิเคราะห์ภายใน” หมายถึง การตรวจสอบวิเคราะห์ในการวิเคราะห์ประเมินค่าและตีความต่อข้อมูลและหลักฐานประวัติศาสตร์ที่ได้นำมาศึกษา เพื่อให้ทราบถึงความหมาย, ความแน่นอน, ความเชื่อถือได้ และความจริง  ซึ่งจะเป็นการสร้างให้เกิดความน่าเชื่อถือต่อผลการตรวจสอบวิเคราะห์ภายนอกว่าสามารถที่จะเป็นหลักฐานที่เชื่อถือได้  และใช้ยืนยันเป็นข้อเท็จจริงได้

เรื่องของการตรวจสอบภายนอก-ภายในนี้ถ้าจะอธิบายให้เข้าใจง่ายไปอีกก็ประมาณว่า การตรวจสอบวิเคราะห์ภายในคือการวิเคราะห์ว่าตัวหลักฐานเองนั้นให้ข้อมูลอะไร  การตรวจสอบวิเคราะห์ภายนอกคือการเปรียบเทียบหลักฐานนั้นๆ กับหลักฐานและข้อมูลประกอบอื่นๆ  ในเมื่อเว็บภาพยนตร์ประวัติศาสตร์นี้พูดถึงเรื่องการวิเคราะห์วิจารณ์ภาพยนตร์ในเชิงประวัติศาสตร์ก็ขอยกตัวอย่างกันใกล้ๆ ตัว  คือ ในการบอกว่าภาพยนตร์เรื่องนั้นเรื่องนี้  เล่าเรื่องราวประวัติศาสตร์ไว้อย่างไร  เนื้อเรื่องสมจริงแค่ไหน  ฯลฯ อันนี้เป็นแค่การวิเคราะห์ภายใน  สิ่งที่ต้องทำต่อไปคือไปตรวจสอบกับเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับเนื้อเรื่องว่ามีความสอดคล้องต้องกันหรือไม่  ตัวผู้สร้าง ผู้กำกับ ผู้เขียนบท มีพื้นเพเป็นอย่างไร  อันนี้เป็นการตรวจสอบวิเคราะห์ภายนอก  ซึ่งอาจจะยังไม่ลึกเท่ากับงานวิจัยทางประวัติศาสตร์  ทั้งนี้ก็เพื่อประหยัดเวลาและเพื่อให้ผู้อ่านทั่วไปเข้าใจได้ง่ายครับ

เป็นที่แน่นอนครับว่าข้อมูลจากการตรวจสอบวิเคราะห์ภายในและภายนอกหรือกระทั่งจากการตรวจสอบวิเคราะห์ภายนอกจากแหล่งที่ต่างกันย่อมจะได้ข้อมูลที่แย้งกัน  การตรวจสอบภายในเพียงอย่างเดียวย่อมทำให้เราหลงเชื่อข้อมูลจากเอกสารหลักฐานนั้นแต่เพียงด้านเดียว  ในทางกลับกัน  การตรวจสอบวิเคราะห์ภายนอกที่ยังไม่รอบด้านพอก็อาจทำให้เกิดการด่วนสรุปต่อหลักฐานแบบออกทะเล  เช่นที่เมื่อไม่นานมานี้  ในเว็บภาพยนตร์ประวัติศาสตร์นี้แหละ  มีสมาชิกตั้งคำถามว่าเมื่อเรื่องราวของชาวบ้านบางระจันมีอยู่แต่ในพระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขาแต่ไม่มีในหลักฐานอื่น  จะหมายความว่าผู้ชำระพระราชพงศาวดารนั้นแต่งเติมเรื่องชาวบ้านบางระจันขึ้นมาหรือไม่  คำตอบของผมคือความเห็นดังกล่าวกระโดดข้ามขั้น  คือยังเห็นแค่หลักฐานมันพูดไม่ตรงกัน  ยังไม่มีหลักฐานว่ามีการแต่งเติมอะไรขึ้นมานอกจากการ “สันนิษฐาน” จากความรู้ที่ว่าช่วงที่ชำระพระราชพงศาวดารฉบับนั้นมันมีเหตุการณ์อย่างนั้นอย่างนี้  ซึ่งในการวิจัยทางประวัติศาสตร์ยังมีกระบวนการอีกมากในอันที่จะจัดการกับเรื่องของหลักฐานที่ไม่ค่อยจะตรงกันเหล่านี้  ซึ่งถ้าอธิบายต่อในที่นี้คงจะยืดยาวเกินไป  เอาไว้คราวหน้าถ้าเจอตำราหรือเอกสารที่อธิบายเรื่องนี้ค่อยมาคุยกันต่อครับ

Bookmark and Share




บทความเสริมความรู้ทั่วไป

ร้อยตำรวจเอกธรณิศ ศรีสุข ยอดวีรบุรุษ ตชด. วันที่ 02/07/2010   21:44:35
Robinson Crusoe 1997 - ความเป็นมนุษย์ วันที่ 26/05/2012   10:55:36
พงศาวดารมอญพม่า จาก ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ ๑ วันที่ 21/04/2012   10:42:18 article
พระนเรศวรฯ กับเมืองละแวก ใน พงศาวดารละแวก ฉะบับแปล จ.ศ. ๑๑๗๐ วันที่ 21/04/2012   10:43:01 article
Beau Brummell: The Charming Man 2006 หนุ่มเจ้าสำอาง วันที่ 24/09/2015   22:37:44
เรื่องของฮิตเลอร์ และ เอวา บราวน์ วันที่ 24/09/2015   22:37:10
Fanny Hill การผจญภัยในโลกีย์ วันที่ 24/09/2015   22:36:45
The Marriage of Figaro วิวาห์ฟิกาโร วันที่ 24/09/2015   22:36:10
แนะนำบทความประวัติศาสตร์ที่ simple.wikipedia.org วันที่ 21/04/2012   10:44:07 article
ยศและเครื่องหมายยศทหารเยอรมันสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 (Wehrmact Heer & Waffen SS) วันที่ 21/04/2012   10:47:26 article
ประวัติศาสตร์กับภาษาต่างประเทศ วันที่ 21/04/2012   10:50:53 article
บางประเด็นจากการไปฟังบรรยายเรื่องพิพิธภัณฑ์โรงเรียนเทพศิรินทร์ วันที่ 21/04/2012   10:52:53 article
MP40 กับ PPSh-41 และปืนกลมืออื่นๆ อีก 3 แบบ วันที่ 21/04/2012   10:54:27 article
คลีโอพัตรา ตอนที่ 4 : ฟาโรห์องค์สุดท้ายของอียิปต์ - ผู้หญิงที่โลกไม่มีวันลืม (สรุป) วันที่ 09/01/2011   19:31:10
มิติของเวลาในประวัติศาสตร์ วันที่ 27/02/2009   22:33:10
แล้วผมต้องทำอะไรกับประวัติโรงเรียนเทพศิรินทร์? วันที่ 21/04/2012   10:53:38 article
นางเอกอมตะตลอดกาล 25 คนแรก ของฮอลลีวู้ด (1) วันที่ 14/05/2012   21:45:30
เมื่อ Don Quixote de Lamancha ปะทะ เล่าปัง (2) วันที่ 14/05/2012   21:44:31
เมื่อ Don Quixote de Lamancha ปะทะ เล่าปัง วันที่ 14/05/2012   21:43:48
ภาพยนตร์รัสเซีย "Battle of Kursk" ศึกรถถังที่ใหญ่กว่า "Battle of the Bulge" วันที่ 21/04/2012   11:00:38 article
อธิบายเบื้องต้นเกี่ยวกับคำศัพท์หน่วยทหาร วันที่ 21/04/2012   11:01:41 article
"บางระจัน่" จากพระราชพงศาวดาร 2 ฉบับ วันที่ 05/05/2012   09:30:38 article
ราชทูตปรัสเซียเยือนสยามสมัยร.๔ ก้าวแรกสัมพันธ์ไทย-เยอรมัน วันที่ 21/04/2012   11:08:02 article
พระราชดำรัสเนื่องในเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ 20 พฤษภาคม 2535 วันที่ 05/05/2012   09:40:33 article
ทดสอบการแปลยศทหารบกจากภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทยด้วยโปรแกรมพจนานุกรมดิจิตอล วันที่ 05/05/2012   10:17:45 article
ตำราพิชัยสงครามของไทย วันที่ 10/05/2012   11:22:47
ภาพตัวอย่างเครื่องแบบทหารเยอรมันสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 วันที่ 05/05/2012   10:16:51 article
"ไทยรบเขมร" ใน "ไทยรบพม่า" วันที่ 05/05/2012   10:13:48 article
อวสาน บิสมาร์ค วันที่ 10/05/2012   11:26:55
ชีวประวัติกับประวัติศาสตร์ วันที่ 05/05/2012   10:04:25 article
สืบเนื่องจาก "ELSID" วันที่ 14/05/2012   21:41:48
เจงกิสข่าน ผู้ยิ่งใหญ่ (2) วันที่ 14/05/2012   21:40:37
เจงกิสข่าน ผู้ยิ่งใหญ่ วันที่ 14/05/2012   21:39:44
เจ้าพ่อเซี่ยงไฮ้ วันที่ 14/05/2012   21:38:54
การรบแห่งสตาลินกราด วันที่ 10/05/2012   11:28:24
Bangkok mean time เวลามาตรฐานชาติแรกของโลก ณ พระที่นั่งภูวดลทัศไนย วันที่ 10/05/2012   11:30:18
เครื่องบินรบไทยในสงครามอินโดจีน วันที่ 10/05/2012   11:37:11
Little Boyและfatman คู่หูมหาปลัย วันที่ 10/05/2012   11:34:40
BATTEL OF MIDWAY ยุทธนาวีทางอากาศที่เกาะมิดเวย์ จุดเปลี่ยนสงครามแปซิฟิค วันที่ 21/08/2010   22:07:52
พลูโตในยุคสมัยต่างๆ (www.horauranian.com) วันที่ 29/09/2008   21:37:10
กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ ผู้ตั้งชื่อ "เดือน" ของไทย วันที่ 00/00/0000   00:00:00
ความเป็นมา วันสตรีสากล ๘ มีนาคม และ ผู้ให้กำเนิดวันสตรีสากล วันที่ 08/03/2014   08:50:05
คลีโอพัตรา ตอนที่ 1: ราชินีสาว นางพญาแห่งลุ่มแม่น้ำไนล์ ฟาโรห์องค์สุดท้ายของอิยิปต์ และผู้หญิงที่สวยที่สุดในประวัติศาสตร์ วันที่ 09/01/2011   19:31:53
ร้อยเอกวัฒนชัย คุ้มครองเหรียญกล้าหาญสมรภูมิบ้านร่มเกล้า วันที่ 21/08/2010   22:08:31
พันโททวี ปูรณโชติ ขุนศึกแห่งลุ่มน้ำซุยคา วันที่ 21/08/2010   22:09:01
พันโทเจริญ ทองนิ่ม วีรบุรุษพลร่ม วันที่ 21/08/2010   22:09:29
เรือเอกประทีป อนุมณี "ประดู่เหล็กแห่งดูซงญอ" วันที่ 21/08/2010   22:09:57
วีรกรรมดอนแตง วันที่ 21/08/2010   22:10:41



Copyright © 2010 All Rights Reserved.
| WW II Europe | WW II Asia | WW I | Vietnam War | ประวัติศาสตร์ไทย | บทความจากสมาชิก | คุยกันหลังฉาก | บทความทั้งหมด |

สนใจร่วมเขียนบทความในเว็บไซต์ เชิญอ่าน แนวทางการร่วมเขียนบทความ ภาพยนตร์ประวัติศาสตร์

Custom Search



eXTReMe Tracker