dot
dot
เว็บภาพยนตร์ประวัติศาสตร์ ยินดีต้อนรับผู้สนใจทุกท่าน
dot
dot
สมาชิก Webboard/Blog
ชื่อผู้ใช้ :
รหัสผ่าน :
เข้าสู่ระบบอัตโนมัติ :
bullet ลืมรหัสผ่าน
dot
bulletข้อตกลงการเป็นสมาชิก
bulletเว็บบอร์ด-คุยกันหลังฉาก
bulletเว็บบอร์ด-Games ย้อนยุค
bulletเว็บบอร์ด-ชุดจำลองประวัติศาสตร์
bulletเว็บบอร์ด-หนังสือประวัติศาสตร์
bulletเว็บบอร์ด-เพลงประวัติศาสตร์
bulletคำถาม/คำตอบ ล่าสุด
bulletแนวทางการร่วมเขียนบทความ
dot
สงครามโลกครั้งที่ 2
dot
bulletสมรภูมิยุโรป (สัมพันธมิตรVSเยอรมัน-อิตาลี)
bulletสมรภูมิแปซิฟิก-เอเชีย (สัมพันธมิตรVSญี่ปุ่น)
dot
ภาพยนตร์ประวัติศาสตร์อื่นๆ
dot
bulletสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง
bulletประวัติศาสตร์ไทย
bulletประวัติศาสตร์อเมริกันยุคเริ่มแรก
bulletสงครามเวียดนามและอินโดจีน
bulletตะวันตกโบราณ (กรีก โรมัน ฯลฯ)
bulletประวัติศาสตร์ร่วมสมัย
bulletเอเชียโบราณ
bulletประวัติศาสตร์อื่นๆ (ยังไม่แยกหมวดหมู่)
bulletคลิปความรู้จาก YouTube
dot
บทความโดย วิวันดา
dot
bulletฮิตเล่อร์...และเหล่าขุนพลแห่งอาณาจักรไรค์ซที่สาม
bulletลอดลายรั้ว.....วินด์เซอร์
bulletเลิศเลอวงศา...โรมานอฟ
bulletเชลย
bulletซูคอฟ...ยอดขุนพลผู้ดับฝันของฮิตเล่อร์
dot
บทความโดย สัมพันธ์
dot
bulletคนไทยในกองทัพพระราชอาณาจักรลาว
bulletประวัติศาสตร์สงคราม กรีก
bulletกรณีพิพาทอินโดจีนและสงครามมหาเอเชียบูรพา
bulletอยุธยายศล่มแล้ว ลอยสวรรค์ ลงฤา
bulletฮานนิบาล
bulletพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบรมวงศานุวงศ์
bulletไทยกับมหาสงคราม
bulletสงครามเวียดนาม
bulletห้วยโก๋น ๒๕๑๘
bulletการทัพในมลายา
bulletประวัติศาสตร์อื่น ๆ
dot
เรื่องอื่นๆ
dot
bulletบทความเสริมความรู้ทั่วไป
bulletเกร็ดเล็กเกร็ดน้อย
bulletผู้จัดทำ
bulletผังเว็บไซต์ (Site Map)
bulletแนวทางการร่วมเขียนบทความ
bulletถาม-ตอบ (FAQs) (โปรดอ่านก่อนตั้งกระทู้หรือสมัครสมาชิก)
bulletร้านค้าออนไลน์
bulletแบ่งปัน Album
dot
ลิงค์ต่างๆ
dot
bulletHistory on Film
bulletกองบิน 21 กองพลบิน 2
bulletIELTS British Council
bulletIELTS IDP
bulletMUIC




โหราศาสตร์ยุคไอที



ฮิตเล่อร์...และเหล่าขุนพลแห่งอาณาจักร์ที่ไรค์ซที่สาม ตอนแปด

ในเดือนพฤศจิกายน 1937 คือเวลาแห่งการประชุมใหญ่ ที่ฮิตเล่อร์ได้เรียกประชุมเหล่าบรรดาขุนพลถึงเรื่องการเข้ายึดครองออสเตรียอย่างเอาจริงเอาจัง
 เพราะ ก่อนหน้านี้ นาย Franz von Papen (นักการเมืองรุ่นเก๋าจากครั้งสมัย นาย Ebert ที่เป็นมาหมดแล้วตั้งแต่นายกรัฐมนตรี จนมาถึงรัฐมนตรีธรรมดา ซึ่งแล้วแต่กระแสการเมืองจะพาไป
ในรัฐบาลนาซีนี้ ได้เป็นแค่ทูตออสเตรีย) ที่ฮิตเล่อร์ส่งไปประจำ
ได้รายงานมาให้ทราบว่าหัวหน้าพรรคนาซีในออสเตรีย ได้ก่อการวุ่นวายแทรกแซง สร้างความปั่นป่วนในทุกรูปแบบ ตั้งแต่ เผากระท่อม..เอ๊ย โทษที เผาที่ทำการ, ระเบิดสะพาน
ในขณะเดียวกันกับที่ นาย von Papen ได้พยายามเจรจาโน้มน้าวทางการทูตถึงการรวมประเทศเข้าด้วยกันกับรัฐบาลออสเตรีย ที่มี Dr. Kurt von Schuschnigg เป็นนายกรัฐมนตรี

Dr. Kurt von Schuschnigg

 

ซึ่งทั่นนายก ก็ได้แต่ทำหูทวนลม
แม้ว่า ผลดีในการรวมประเทศครั้งนี้ เท่ากับว่า ออสเตรียไม่ต้องจ่ายค่าปฏิกรรมสงครามต่อไปก็ตาม
แถมหน่วยสายลับยังได้หลักฐานมาอีกในต้นปี 1938 ว่าขบวนการนาซีออสเตรีย กำลังคิดกระทำการเดินขบวนก่อการจลาจล เพื่อที่จะให้ ฝ่ายรัฐบาลยกกำลังเข้าปราบปราม มีการยิงกันสักนัดสองนัด
และฮิตเล่อร์จะใช้ข้ออ้างนี้หาเหตุทำการยกกองทัพเข้ามาสรวมรอยเข้าห้ามทัพ โดยใช้เหตุผลว่าไม่อยากให้คนเยอรมันต้องมาฆ่ากันตาย..
และที่สำคัญ..คือข่าวลือว่า..มีการวางแผนสังหารนาย von Papen (โดยนาซี) อีกด้วย เพื่อเป็นการสร้างสถานการณ์โกรธแค้นแบบสมจริงสมจัง
พร้อมยัดเยียดข้อหาว่าเป็นการกระทำของคนที่ต่อต้านเยอรมัน และจะใช้ถือเป็นสาเหตุการที่จะเคลื่อนทัพเข้าบุกยึดประเทศ
เอกสารที่หน่วยสายลับได้มานั้น ลงชื่อโดย นาย Rudolf Hess เลขาต้นห้องของฮิตเล่อร์นั่นเอง !!

นาย von Papen ได้ทราบดังนั้น ก็รีบแจ้นเข้าพบฮิตเล่อร์ที่ Berchtesgaden ทันที เพื่อไต่ถามเรื่องราวว่า เป็นจริงประการใดในวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 1938
หลังจากที่ได้รับการปลอบอกปลอบใจจากฮิตเล่อร์ ว่า ไม่เป็นความจริงแม้แต่นิด.. พร้อมทั้งเสนอไอเดีย ว่า ควรเชิญท่านนายกฯออสเตรียเข้ามาพบปะหารือ
เผื่อว่าจะมีทางเจรจาตกลงกันได้ แบบไม่ต้องเสียเลือดเนื้อ
นาย von Papen ได้ตกลงรีบนำความกลับไปบอกตามนั้น..
วันที่ 11 กุมภาพันธ์ คือวันที่ Dr. Kurt von Schuschnigg เข้าพบกับฮิตเล่อร์อย่างลับๆพร้อมทั้งนาย von Papen
โดยทางรถไฟจาก Salzburg ต่อด้วยรถยนต์ไปยังเบอร์เทสการ์เดน ขึ้นไปจนถึง รังพญานกอินทรีย์
( Eagle's nest ) ซึ่ง ตามระยะทางที่ท่านนายกฯได้ผ่านมา ก็ได้พบกับขบวนทหารกระจายไประยะจุดต่างๆใกล้ชายแดนกว่าแสนคน..
(ซึ่งเป็นแผนของฮิตเล่อร์ที่ได้จัดฉากไว้..แผนแบบนี้เขาได้ทำอีกหลายครั้งในระยะต่อๆมากับแขกเมืองประเทศอื่นๆเช่นกัน)
ซึ่งภาพที่เห็น ก็จัดว่าน่าประหวั่นพรั่นใจ เพราะ จำนวนทหารที่มากมายนั้น
มันเกินกว่ากำลังของกองทัพออสเตรียทั้งประเทศเกือบเท่าตัว
จากการสนทนาในชั้นแรก..ฮิตเล่อร์ได้สั่งให้ von Schuschnigg ไปจัดการพังทลายสิ่งกีดขวางที่ถือว่าเป็นการกั้นระหว่างประเทศตามแนวชายแดนออกให้หมด
ไม่งั้นเขาจะสั่งทหารเยอรมันให้ไปทลายลงเสียเอง..
จากนั้น..การสนทนาก็ได้เปลี่ยนไปในรูปแบบของการเลคเชอร์ โดยผู้บรรยายคือ ฮิตเล่อร์ ส่วน อีกฝ่ายได้แต่ฟังอย่างเดียวไม่มีโอกาสพูดแต่อย่างใด จนถึงเวลาอาหารกลางวัน ฮิตเล่อร์เป็นเจ้าภาพ..ซึ่งจู่ๆก็มีนายทหารระดับนายพลต่างพากันตบเท้าเดินพึ่บพั่บเข้ามานั่งร่วมโต๊ะ ซึ่ง Dr. Von Schuschnigg ได้แต่นั่งงง ทำตาปริบๆนึกในใจว่า ..
อ้าว..ไหนว่าการพบปะครั้งนี้เป็นความลับยังไงล่ะฟะ แล้วพวกทหารเหล่านี้มันมาจากไหนกันเนี่ย..?



หลังจากอาหารกลางวันผ่านไป..ฮิตเล่อร์ปล่อยให้นายกฯออสเตรีย นั่งคอยต่อไปถึงสองชั่วโมง
จากนั้น ก็มีการจัดให้พบกับรมต.ต่างประเทศ คือนาย von Rippentrop ที่ได้ยื่นกระดาษมาตรงหน้าให้สองแผ่น พร้อมกับว่า..
"นี่คือข้อเสนอสุดท้ายที่ท่านผู้นำฮิตเลอร์บัญชาลงมา และท่านจะไม่ตกลงอะไรที่นอกเหนือไปจากนี่อีกแล้ว ..
กรุณาเซ็นชื่อรับทราบซะด้วย"
ซึ่งในนั้น..มีใจความว่า..
ขอให้ส่งมอบรัฐบาลออสเตรียให้กับเยอรมันอย่างโดยดี , ยกเลิกกฎข้อห้ามจำกัดสิทธินาซีในทุกประเภท, ปล่อยนักโทษการเมืองพรรคนาซีให้หมดทุกคนไม่ว่าจะโทษเล็กหรือใหญ่,
 แต่งตั้งคนของนาซีในการควบคุมบริหารประเทศและกระทรวงกลาโหม, และโอนกิจการคลังเข้ากับรัฐบาลของเยอรมัน,
แน่นอนว่า..ข้อเสนอนี้รับไม่ได้..
ฉะนั้นการโต้แย้งก็เกิดตามขึ้นมา  นาย von Ribbentrop ทำเสียงแข็ง จนทั้งหมดเข้าพบต่อฮิตเล่อร์

ฮิตเล่อร์ บอกแค่ว่า ทุกอย่างนั้นต้องเป็นไปที่เขาได้กำหนดไว้ จากนั้น..เขาขอให้นาย ฟอน ซูสนิคค์ ออกไปคอยข้างนอก และ (ทำเป็น)ให้คนไปตามนายพลทั้งหมดเข้ามาพบในห้องด้วยท่าทางขึงขัง หนึ่งในนั้น คือ นายพล Keitel

(ที่มาเขียนเล่าให้ฟังทีหลังว่า ฮิตเล่อร์ให้เข้าไปนั่งเฉยๆเกือบครึ่งชั่วโมง ไม่ได้พูดหรือสั่งงานอะไร..เพราะ นี่คือฉากหนึ่งของการเกทับออสเตรีย ว่า จะบุกจริงนะเฟ้ย)
    Wilhelm Keitel

 

 

ในที่สุด..กระดาษสองแผ่นนั้น..ก็ถูกท่านนายก von Schuschnigg เซ็น "ขายชาติ" ไปแล้วอย่างง่ายดาย
ขากลับ..ขณะที่ลงมาจากรังพญานกอินทรีย์นั้น สิ่งเดียวคือความหวังของนายกออสเตรีย นั่นก็คือ รีบกลับมายังประเทศ
เพื่อที่จะปรึกษากับประธานาธิบดี Wilhem Miklas ในการที่จะพึ่งทางเลือกสุดท้าย นั่นก็คือ จัดตั้งการลงเสียงโหวตจากประชาชน ว่า พวกเขามีทางเลือกอยู่สามทาง คือ รักษาเอกราช, เข้าสู่รัฐบาลสังคมนิยม หรือ จะไปรวมกับเยอรมัน
หลังจากการหารือในหมู่พวกพ้องร่วมรัฐบาลแล้ว..วันที่จะจัดให้มีการลงคะแนนโหวต คือ วันอาทิตย์ที่ 13 มีนาคม

 

Wilhem Miklas

 

 

ซึ่งเกมส์แบบนี้ ฮิตเล่อร์รู้เท่าทันแบบอ่านได้อย่างปรุโปร่ง..เพราะทันทีที่ท่านนายกลับหลังกลับลงไป ฮิตเล่อร์ก็เรียกประชุมทัพอย่างเป็นการด่วน
เพื่อเตรียมพร้อมต่อการเดินมาร์ชเข้าไปในออสเตรียก่อนวันเลือกตั้ง..
ตอนนี้ สองสิ่งเท่านั้น ที่เขากริ่งเกรง นั่นคือ
หนึ่ง..เขาเกรงว่า มุสโสลินีอาจเกิดบ้าจี้ขึ้นมา ไม่พอใจในการที่ออสเตรียจะต้องตกเป็นของเยอรมัน อาจยกทัพเข้ามาปะทะเกิดการนองเลือดขึ้นได้
เพราะจะว่ากันจริงๆแล้ว เยอรมันยังไม่พร้อมต่อการสู้รบครั้งใหญ่..แต่เขาได้ประมาณสถานะการณ์ไว้ล่วงหน้าแล้วว่า มุสโสลินีไม่มีกำลังพล และอานุภาพมากมาย
นอกจากจะได้รับการส่งเสริมสนับสนุนจากอังกฤษและฝรั่งเศส แต่ข้อนี้ก็ตัดไปได้ เพราะจากการที่อิตาลีเข้าไปยึดครองในเอธิโอเปียนั้น ความสัมพันธ์ของอิตาลีและ LON ได้ถูกตัดขาดไปอย่างไม่มีใครจะมาสนใจใยดีกับ iL Duce ( อิล ดูซ คือชื่อที่ชาวอิตาเลี่ยนใช้เรียกผู้นำมุสโสลินี) อีกต่อไป

แต่..ทุกอย่างอาจมีการเกิดขึ้นได้ทั้งนั้น
สอง..เขาเกรงว่า กองทัพเยอรมันที่ประกอบด้วยเหล่าบิ๊กๆ ที่คุมกำลังพลทั้งหลาย อาจเปลี่ยนใจจากการบุกออสเตรียมาล้มรัฐบาลแทน เพราะ ความหมองหมางในกรณีของนายพล von Fritsch นั้น
 ทุกคนยังไม่ค่อยไว้ใจในตัวเขาเท่าไหร่นัก
หากแต่ความสำเร็จในการเกทับความสามารถของพวกบิ๊กทหารตอนที่บุก Rhineland มาได้อย่างง่ายดายนั้นนับว่ายังเป็นเครดิตที่มากมายสำหรับตัวเขาอยู่

แต่อย่างไรก็ตาม.. ทั้งจอมพลเกอริง จัดเตรียมเสืออากาศฝูงใหญ่ และนายพล Keitel แม่ทัพฝ่ายคอมมานโดทหารราบ.. พร้อม
เตรียมตัวนำขบวนทัพมุ่งสู่ออสเตรียในวันที่ 12 มีนาคม
ก่อนการลงคะแนนโหวตเพียงวันเดียว

แต่สิ่งที่ไม่มีใครรู้นั่นก็คือในช่วงกันการหน้าแหกในข้อที่หนึ่งนั้น ฮิตเล่อร์ได้ส่งสายบรรดาศักดิ์คนหนึ่งไปกรุงโรม
เขาคือ Prince Phillip of Hesse เพื่อไปพบกับ รัฐมนตรีต่างประเทศของอิตาลี ท่าน Count Ciano และ มุสโสลินี
เพื่อ "เรียน" ให้ทราบถึงแผนการว่า
เยอรมันประสงค์ที่จะรวมขอบขัณฑสีมากับออสเตรีย ไม่ทราบว่า ท่าน Duce ผู้ยิ่งใหญ่ จะมีอะไรขัดข้องหรือเปล่า?
มุสโสลินี รู้ดีว่า ตอนนี้กำลังกองทัพของตัวก็อ่อนเปลี้ย แถมปัญหาภายในประเทศอีกตั้งมากมาย จึงตอบกลับ
แบบวางฟอร์มนิดๆว่า
"เชิญเลย ยินดีด้วยเป็นอย่างยิ่ง เพราะระหว่างเยอรมันและออสเตรีย ก็เป็นบ้านพี่เมืองน้องอยู่แต่ดึกดำบรรพ์มาแล้ว.."
ท่าวน้านนนนแหละ โทรเลขตามข้อความนี้ก็ถึงมือฮิตเล่อร์ในชั่วข้ามคืน
ฮิตเล่อร์ จึงตอบกลับไปด้วยไมตรี ด้วยข้อความว่า
"ขอบพระคุณเป็นอย่างยิ่งในความเข้าใจอันดีของท่านผู้นำมุสโสลินี และขอให้ระลึกไว้เสมอว่า ตราบใดที่อิตาลีต้องการความช่วยเหลือจากเยอรมันแล้วละก้อ ขออย่างได้เกรงใจ กระผมจะยืนเคียงข้างท่านเสมอไม่ว่าจะทุกข์
ยากประการใด"
พอได้ความมั่นใจว่า..อิตาลีไม่บุกแน่นอน ฮิตเล่อร์ก็กลับมาเกทับเหล่าทหารถึงความยิ่งใหญ่และออกแนวดุเดือดของแผนการเดินทัพครั้งนี้

 

Ludwig Beck 

 



นายพล Beck แห่งกองทัพบก ไม่เห็นด้วย ถึงกับบอกว่า "ผมไม่ขอรับผิดชอบในการเข้าย่ำยีออสเตรียในครั้งนี้"
(เพราะทหารยังเข้าใจว่า LON หรือ อิตาลี อาจยกทัพมาปะทะ)
ฮิตเล่อร์ จึงตอบแบบเย้ยหยันว่า อ๋อ..ไม่เป็นไรหรอก ท่านนายพล ท่านไม่ต้องรับผิดชอบใดๆ ผมจะให้หน่วย SS
สักสามกองพันเข้าไปดูแลเรื่องนี้เอง
ส่วนกองทัพก็แค่เตรียมเครื่องดนตรี บรรเลงเพลงมาร์ชก็คงพอกระมัง ผมจะเป็นผู้บัญชาการรบในครั้งนี้ด้วยตัวเอง !!
นายพล Beck ได้แต่สะบัดหน้า เดินออกไปด้วยความขุ่นเคือง !!




Fedor von Bock

 


วันเสาร์เช้าที่ 12 มีนาคม ฮิตเล่อร์ขึ้นเครื่องบินจากเบอร์ลิน แวะที่มิวนิค เพื่อพบกับนายพล Fedor von Bock
ผบ.กองพลทหารที่ 8 ที่เตรียมกำลังพร้อมสำหรับการบุกรุกจู่โจม..ออสเตรีย!!
คำว่าบุกรุกจู่โจม..นั้นคงใช้ไม่ถูกนัก เพราะภาพลักษณ์ของมันนั้นไม่ใช่ ......มันเป็นการเดินพาเหรดผ่านข้ามเขตแดนมากกว่า
เพราะรัฐบาลของประธานาธิบดี Milklas ได้ยุบตัว..คอยผู้นำคนใหม่มาเสียบแทนไว้อย่างเรียบร้อย
อีกทั้งได้มีการสั่งให้ทหารออสเตรียไม่ต้องทำการขัดขืนใดๆ
ผู้คนต่างพากันมาพร้อมช่อดอกไม้ที่หยิบยื่นชื่นชมบารมีฮิตเล่อร์กันอย่างล้นหลาม เพราะ ใครเล่าจะไม่มีดีใจ ที่
จะได้เห็นชาวออสเตรียนด้วยกันเป็นใหญ่
ฮิตเล่อร์ยืนอยู่อย่างสง่าผ่าเผยบนรถเบ๊นซ์เปิดประทุนสีน้ำเงินเข้ม คอยโบกมือทักทายกลุ่มโน้นกลุ่มนี้
พวกทหารผ่านศึกออสเตรียนเมื่อครั้งสงครามโลกครั้งที่หนึ่งต่างก็พากันแต่งเครื่องแบบเต็มยศมาคอยรับพร้อมทำความ
เคารพอย่างพร้อมเพรียง

 

 

 

 

 

 

 

จนเข้าเวลาบ่ายสี่โมงที่ฮิตเล่อร์ได้ผ่านเมืองชายแดน Braunau และกำลังมุ่งหน้าไปยังเมือง Linz อันเป็นจุดนัด
พบกับ นาย Seyss-Inquart หัวหน้านาซีออสเตรียน ที่ได้รับการแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีที่คอยเป็นหูเป็นตาแทน
ตลอดทางที่ผ่านมา ประชาชนนับล้านๆคนต่างคลาคล่ำ ส่งเสียงไชโยโห่ร้องด้วยความยินดีปรีดา ซึ่ง ฮิตเล่อร์ได้ขี้นไปยังที่ทำการสภาเมือง พร้อมออกไปยืนรับการต้อนรับบนระเบียงชั้นบน ที่เขาเห็นคลื่นทะเลคนอย่างสุด
สายตา อีกทั้งธงของนาซีที่สวัดไสวไปทั่วทุกซอกทุกมุม
และนี่คือ ครั้งแรกในรอบยี่สิบปีที่เขาได้กลับมาเยือนบ้านเกิดอีกครั้ง..เขาค้างหนึ่งคืนที่นั่น เพื่อที่จะเดินทางไปเคารพหลุมฝังศพของพ่อแม่ ที่เมือง Leonding ในวันรุ่งขึ้น

แน่นอนเป็นอย่างยิ่งว่า..ผลของความสำเร็จในครั้งนี้ ยิ่งทำให้ฮิตเล่อร์นึกย่ามใจอีกทั้งฮึกเหิมต่อบุญบารมีของตัวเองอย่างหยุดไม่อยู่
เชคโกสโลวาเกีย..คือเป้าหมายต่อไป..!!

(ตอนนี้ คือตอนหนึ่งในหนังเรื่อง The sound of music คือตอนที่นาซีเอาธงไปแปะไว้ที่หน้าบ้านพระเอก Captain von Trapp....วิวันดา)

 

Neville Chamberlain


การรวมประเทศในครั้งนี้ หรือที่เรียกว่า อันชลุสส์  (Anschluss)  ทำให้เยอรมันแกร่งขึ้นมาอย่างทันตาเห็น เพราะ ประชากรเพิ่มขึ้นมาอีก 7 ล้านคน รวมทั้งอาวุธและทรัพยากรอีกมากมายที่ทุกคนที่เกี่ยวข้องกลับนิ่งดูดาย เช่น อังกฤษ ฝรั่งเศส
ที่สำคัญคือ มุสโสลินีได้รับเรียนรู้ถึงความอ่อนแอของ สพม.ในครั้งนี้มากมายจากเหตุการณ์นี้เช่นกัน
นาย Neville Chamberlain นายกรัฐมนตรีอังกฤษ ได้พูดแก้เกี้ยวว่า..มันก็ยากที่จะช่วยออสเตรีย เพราะผู้คนออกเต็มอกเต็มใจปานนั้น แต่ถ้ามีการนองเลือดขึ้นมาซิ เราก็ต้องช่วยอยู่แล้ว !! (ว่าเข้านั่น)

ทั้งๆที่..ความจริงคือเหล่านักการเมืองของรัฐบาลเก่า ต่างถูกจับตัวเข้าคุกมั่ง ยิงเป้ามั่ง รวมทั้งนายกฯ von Schuschnigg ถูก
ส่งเข้าค่ายมรณะและไปตายที่นั่น

 

ส่วนทางอเมริกา รัฐบาลจากวอชิงตัน..ไม่สนใจเรื่องราวยุ่งเหยิงทางฟากนี้เลย เพราะจะว่าไปแล้ว มันเป็นเรื่องที่ไกลตัวมากโข
และไม่มีใครได้หยิบหนังสือ Mein Kampf ขึ้นมาอ่านอีกซะด้วยซ้ำ ทั้งๆที่ฮิตเล่อร์ได้เขียนประกาศแจ้งไว้โต้งๆว่า
หลังจากเสร็จสิ้นจากออสเตรีย กรุงปร๊าก..เชคโกฯ นี่แหละ คือ ดินแดนที่ทหารนาซีจะเข้ายึดครองเป็นอันดับต่อไป ในนโยบายของการขยายขอบขัณฑสีมาของเยอรมัน
ทั้งๆที่ตอนที่เดินพาเหรดเข้าออสเตรียนั้น ทั้งฮิตเล่อร์และเกอริงยังเสียวสันหลังวาบๆอยู่พอสมควร แม้จะไม่มีขวากหนามอิตาเลี่ยนมาให้รำคาญใจแล้วก็ตาม
แต่กองทัพของเชคโกฯอาจเข้าแทรกแซงได้ทุกเมื่อ และ ถ้าเกิดเหตุการณ์เช่นนั้น นับว่าเยอรมันต้องพบจุดจบแน่นอน
เนื่องจาก..ฝรั่งเศสและอังกฤษต้องเข้ามาร่วมสังฆกรรมสงครามในครั้งนี้ด้วย และ..กองทัพเยอรมันยังไม่มี
ความพร้อมสำหรับศึกใหญ่ size L ดังกล่าว



ปัญหาต่อไปคือ เชคโกฯนั้นไม่ "หมู" เหมือนกับออสเตรีย
เพราะเป็นพันธมิตรกับฝรั่งเศสและรัสเซียอยู่ขืนบุ่มบ่ามเข้าไปอาจเจอของแข็งต่างหาก
ดังนั้น สองเกลอคือ ฮิตเล่อร์และเกอริง..จึงจัดการเข้าพบปะเพื่อขอความช่วยเหลือจากมุสโสลินีแบบเร่งด่วน
นั่นคือ เขาทั้งสองพร้อม เกิบเบิล, ริบเบนทรอป, เฮสส์, กับหมู่คณะคนวงใน สมุนคู่ใจร่วม 500 นายได้เดินทางไปอิตาลีในวันที่ 3 พฤษภาคม เพื่อพบกับ The Duce นักเลงโตแบบเร่งด่วนในด้านกำลังพล และกำลังอาวุธ
ผลสรุป..คือ หน้าแตกกลับมายับเยิน
เพราะ มุสโสลินีไม่ได้ให้ความสนใจที่จะช่วยเหลือเลยแม้แต่นิด
ฮิตเล่อร์จึงได้แต่เก็บความเจ็บใจและผิดหวังกลับมา และ เกิดความมานะอย่างแรงกล้าที่จะเอาชนะเพื่อประกาศศักดิ์ศรี
เขาสั่งสร้างผลิตอาวุธอย่างครั้งยิ่งใหญ่
เรือดำน้ำ ทุกรุ่นใหญ่หรือเล็ก สร้างกับแบบตลอด 24 ชั่วโมงไม่มีหยุด เขาเรียกประชุมนายทหารชั้นผู้ใหญ่ทั้งหมด เพื่อให้รับรู้ว่า
แผนการบุก เชคโกนั้น..ต้องปฏิบัติกันอย่างเร่งด่วนภายใน 4 วัน โดยการจู่โจมแบบไม่ให้ตั้งตัว

ครั้งนี้ เป็นครั้งแรกที่ฮิตเล่อร์ได้แสดงถึงอัจฉริยะในด้านสงครามต่อหน้านายทหารทั้งหลาย เพราะ เขาและ Speer ได้นำเทคนิคการต่อสู้แบบรถถัง (ขนาดเล็ก) เข้าประจัญบาน
เรียกได้ว่าสามารถชอนไชไปได้ทุกซอกทุกซอย และ ปืนกลที่มีขนาดปากกระบอกเล็กลง แต่สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่ใช่ชนิดอุ้ยอ้ายแบบเก่า

ในขณะเดียวกัน เหมือนกับทางฝ่ายรัฐบาลเชคโกจะมีลางสังหรณ์ ได้สั่งเตรียมพลกว่าสองแสนนาย คอยรับมือแนวชายแดนรอย Silesia, Saxony, Austria ที่ฮิตเล่อร์ได้มีทหารนาซีประจำไว้อย่างหนาแน่น
แถมในวันที่ 21 พฤษภาคม มีเหตุการณ์ตึงเครียดเกิดขึ้น นั่นคือ ตำรวจเชค ได้ยิง กสิกรชาว Sudeten ตายไปสองคน

(Sudeten คือ ชาวเยอรมันที่ถูกกันไปอยู่ในประเทศเชคโกฯ ในตอนที่แพ้สงครามโลกครั้งที่ 1 ตามรอยแบ่งประเทศของสัญญาแวร์ซายย์ โดยใช้เทือกเขาเป็นหลัก พวกเยอรมันชนส่วนนั้น..ที่อยู่หลังเขา ก็เลยต้องเรียกว่า Sudeten ซึ่งมีจำนวนไม่น้อย)
คืนนั้นเอง..ฮิตเล่อร์จึงเตรียมการบุกเชคโกให้ราบเป็นหน้ากลอง เมื่อไหร่นั้น..ยังไม่ได้กำหนดให้เป็นที่แน่นอน !!

ในช่วงเวลาเดียวกันนั้น ฮิตเล่อร์ก็ได้สร้างแผนแนวกั้นเขตแดนทางด้านฝั่งตะวันตกอีกด้วย..เขาเรียกโครงการนี้ว่า
west wall ที่จะวางตลอดแนว ตั้งแต่ Karlsruhe และ Aix-la-Chapelle โดยที่จะมีป้อมอันแข็งแรงวางกระจายอยู่เป็นระยะ
ป้อมพวกนี้เอง ที่ฮิตเล่อร์ตั้งใจออกแบบมาอย่างเนี๊ยบ..ความแข็งแรงไม่ต้องห่วงเพราะทดลองเอาปืนใหญ่ขนาด
เส้นผ่าศูนย์กลาง 21 ซม. (Howitzer) ยิงมาแล้ว
นั่นคือเรื่องใหญ่
ส่วนเรื่องเล็กๆน้อยๆเช่นความสะดวกสะบายอื่นๆ ฮิตเล่อร์ใช้เวลาเป็นวันๆ วาดแพลนที่ละเอียดตั้งแต่ ส้วมขับถ่าย ก๊อกน้ำ ไปจนถึง ตะขอแขวนปืนและเสื้อผ้า
แผนการทั้งหมดนี้ เหล่านายพลได้ฟังก็ได้แต่ส่ายหน้า เพราะ สรุปว่า ฮิตเล่อร์ต้องการสงครามนองเลือด มากกว่า
เพียงแค่ขยายเอาดินแดนเก่าๆคืนมา
ปืนใหญ่ขนาดกระทัดรัด ขนาด 15 ซม. ที่ว่าทรงอานุภาพ นั้นก็ยังสร้างไม่เสร็จ
ทั้งประเทศ มีปืนใหญ่ขนาด 21 ซม. อยู่แค่ 23 กระบอก
ใน 23 นี้ 8 กระบอกได้ทิ้งไว้อยู่ในปรัสเซียตะวันออกโน่น

ฮิตเล่อร์ได้สั่งการให้ผู้ที่รับผิดชอบ เช่น ผบ.กองทัพเรือ Raeder เร่งมือสร้างเรือรบพิฆาต Tirpitz และ Bismarck ให้เสร็จภายในปี 1940
(ทั้งที่กำหนดคือ 1943)
และเพิ่มอาวุธในเรือลาดตระเวณ Gnuisenau และ Scharnhorst ให้อย่างหนักหน่วง ที่สำคัญคือ U-Boat รุ่น VII 500 ตัน สำหรับศึกในแอตแลนติค ให้สร้างอย่างไม่ต้องนับ

battleship-tirpitz

 

 

battleship-bismarck


นายพล Keitel ได้รับสนองบัญชา ว่า แผนนี้ (ชื่อว่า Case Green) จะเริ่มปฏิบัติได้ในวันที่ 1 ตุลาคม
หลังจากที่ได้สั่งงานเรียบร้อย..ฮิตเล่อร์ก็กลับไปใช้ชีวิตอย่างแสนสงบที่บ้านพักบนภูเขา Berghof (หรือที่เรียกว่า รังพญานกอินทรีย์) ตลอดภาคฤดูร้อนที่ชีวิตประจำวันนั่นก็คือ
ตื่น 10 โมงเช้า อ่านหนังสือพิมพ์ เดินเล่น ทานมื้อกลางวัน ไปดูหนัง ทานมื้อเย็น เข้า
นอนตอนสี่ทุ่ม หรือเที่ยงคืนโดยประมาณ
หรือบางทีเหงาๆ ก็จะลงมาที่ร้านอาหารร้านโปรด นั่นคือ Osteria Restaurant ที่อยู่ไม่ห่างไปจากกองบัญชาการนาซี บนถนน Schelling  (ปัจจุบัน ก็ดำเนินกิจการอยู่ค่ะ)
ฮิตเล่อร์จะมีโต๊ะประจำตัว ที่ตั้งอยู่ข้างนอกในสวน ติดกับน้ำพุ
และห้ามทุกคนเข้าไปรบกวน !!


ขอคุยเรื่องนี้นอกเรื่องสักนิด..คือ จากการที่อ่านมา มีผู้วิเคราะห์ธรรมชาติของฮิตเล่อร์ได้อย่างน่าฟังว่า เขามักให้ความสนใจมากกับสิ่งที่ยิ่งใหญ่สุดๆ (แบบเกินตัว) เช่น บุกรัสเซีย และสิ่งที่เล็กสุดๆ เช่น ตะขอแขวนปืนใน
บังเกอร์ ว่าต้องตรงไหน สูงเท่าไหร่
ส่วนเรื่องที่สำคัญในระดับกลางๆนั้น เขาไม่สนใจเลย..
เช่น การศึกษาเรื่องภูมิอากาศ การส่งสัมภาระ และเครื่องนุ่งห่มของทหารที่ส่งออกไปยังศึกรัสเซีย
ตัวอย่างในประวัติศาสตร์กรณีการเดินทัพของนโปเลียนที่ได้รับความล้มเหลวกลับมา ก็มีให้ศึกษาอย่างชัดเจน
แต่..เขายังไม่ใส่ใจ เพราะการรีบร้อนทำศึกจนขาดความรอบคอบเช่นนี้ คือที่มาของการล้มคว่ำอย่างไม่เป็นท่า
ทั้งๆที่เยอรมันจวนเจียนจะครองโลกอยู่รอมร่อแล้วเชียว !!

ที่เล่าทิ้งค้างไว้ข้างบน ตอนที่ นายพล Beck
( General Ludwig Beck) แห่งกองทัพบก เดินสะบัดหน้าออกไป
จากที่ประชุมน่ะ..
เพราะทนฟังฮิตเล่อร์เสียดสีทหารที่โต้แย้งเรื่องสงครามว่าเป็น พวกขี้ขลาด ตาขาวต่อไปไม่ไหว ถึงกับลาออกจากราชการในเวลาต่อมาคือ เดือนสิงหาคม 1938
และนั่นคือขวากหนามเส้นสุดท้ายในกองทัพที่คอยทิ่มแทงท่านผู้นำได้หมดไป สำหรับความคิดของฮิตเล่อร์
แต่ที่จริงแล้ว...นายพล Beck ได้ออกมาจัดขบวนการต่อต้านนาซีอยู่อย่างลับๆ โดยมีนายทหารชั้นผู้ใหญ่อื่นๆที่
ไม่ชอบความคิดของฮิตเล่อร์ร่วมอยู่ด้วย ขบวนการนี้มีชื่อเรียกว่า Schwarze Kapelle หรือเป็นภาษาปะกิดว่า The Black Opera

แผนการในขั้นแรกที่ช่วยกันวางเอาไว้คือ ก่อการปฏิวัติในกรุงเบอร์ลิน และควบคุมตัวฮิตเล่อร์ แต่ไม่มีการฆ่าทิ้งแต่อย่างใด เพียงแต่เอาตัวไปจองจำไว้ในโรงพยาบาลโรคจิต โดยอ้างต่อประชาชนว่า ฮิตเล่อร์ได้คลั่งจนเป็นบ้า
เพราะ เหตุการณ์ที่โดนระเบิดแก๊สในสงครามคราวที่แล้วตามมาหลอกหลอน โดยจะใช้การรายงานจากแพทย์ในครั้งนั้นมาเป็นหลักฐานสำคัญต่อประชาชน
แผนจะเริ่มจาก นายพล Erich Felliebel เจ้ากรมสื่อสารจะเป็นผู้ตัดไฟ ตัดสายโทรศัพท์การติดต่อ ทำให้เมือง
เบอร์ลินกลายเป็นอัมพาตไปชั่วขณะ จากนั้น นายพล Erwin von Witzleben ผบ.พล หน่วยทหารราบจะนำกำลังเข้าบุกจับกุมตัว ตัวสำคัญๆในนาซีทั้งหมด โดยเฉพาะ ฮิมม์เล่อร์ นี่ต้องยิงทิ้งสถานเดียว

แผนนั้นค่อยข้างสวยหรู..หากแต่เมื่อไหร่ล่ะ จึงจะได้ฤกษ์ปฏิบัติ ทั้งๆที่ผู้ร่วมขบวนการทั้งหมดล้วนแล้วแต่เป็นนายพลระดับบิ๊กๆ ที่มีกำลังทหารในมือ กะอีแค่จะจับ อดีตสิบโทกระจอกๆคนเดียว ยังต้องเรื่องมาก..คิดแล้วคิด
อีกขนาดนี้

ที่เป็นอย่างนี้ก็เพราะว่า ทุกคนปล่อยปละให้เวลาเนิ่นนานออกไปมากจนสายไปเสียแล้ว
ฮิตเล่อร์ได้สร้างบารมีเป็นที่ครองใจของประชาชนหลายสิบล้านคน อีกทั้ง กลุ่มนายทุนที่ร่ำรวยจากการสั่งเพิ่มผล
ผลิตอาวุธทุกชนิดนั้น ได้ให้การหนุนหลังอย่างเต็มที่
ในที่สุด กลุ่ม The Black Opera ก็ต้องพับแผนการเก็บไว้บนหิ้งต่อไป..ได้แต่ร้องเพลงคอยไปพลางๆก่อน..คอย
จนกว่าจังหวะเหมาะๆ รอให้เกิดการผิดพลาดของฮิตเล่อร์อย่างใดอย่างหนึ่งที่รุนแรง หรือ ร้ายแรง หรือ จนกว่าประชาชนเริ่มเกิดความแคลงใจจนลุกขึ้นต่อต้านกลุ่มนาซีกันเอง

ไม่ว่านายทหารระดับบิ๊กจะพยายามโน้มน้าวให้ท่านผู้นำเลิกคิดการ"ฮุบ" เชคโก จนน้ำลายหมดไปหลายปี๊บก็ไม่มีผลแต่อย่างไร
กลับซ้ำทำให้ฮิตเล่อร์ยิ่งเดือดดาลมากขึ้นไปอีก
ยิ่งด้วยเพราะเหตุผลหลักๆจากเหล่าเสธ.ที่ว่า
ฝรั่งเศสและอังกฤษคงต้องเปิดศึกกับเราแน่ๆ และถ้ารัสเซียเข้ามาร่วมด้วยก็จะยุ่งเข้าไปใหญ่
ฮิตเล่อร์เลยต้องสอนมวยให้แก่เหล่าขุนศึกว่า..
อังกฤษไม่กล้าแน่ๆ ตราบใดที่เยอรมันยังคงท่าทีที่แข็งกร้าว
ฝรั่งเศส จะเอาอาวุธที่ไหนมาสู้ เท่าที่มีอยู่ในคลังแสงยามนี้ก็เก่ามาตั้งแต่ครั้งสงครามโลกครั้งที่หนึ่งโน่นนน..
รัสเซีย..คงไม่เดินทัพมานับพันไมล์เพื่อที่จะรักษาประเทศเชคโกกระจอกๆนี่แน่นอน

และด้วยสมองกลของฮิตเล่อร์บวกกับความเก๋าของเกิบเบิลส์ เยอรมันได้มีการเชิญฝ่ายสัมพันธมิตรเช่นนายพลฝรั่งเศสให้มาเที่ยวชมดูงาน
โดยที่พาไปขึ้นเครื่องบินที่สนามบินที่มีฝูงบินขับไล่ Messerschmitt {ME-109, ME-110} จอดโชว์อยู่นับร้อยๆลำ
(ก็มีอยู่แค่นั้น)
หากแต่ จอมพลเกอริง ได้จัดการให้นักบินรีบนำเครื่องบินเหล่านี้ ไปจอดโชว์คอยในสนามบินก่อนที่นายพลฝรั่งเศสจะไปถึง ทำทีเป็นว่ามีแสนยานุภาพนับพันๆลำ

 

เรื่องการหลอกนี้ อาจหลอกได้แต่กับฝรั่งเศส แต่กับฮังการี ที่ฮิตเล่อร์อุตส่าห์เชิญท่านแม่ทัพเรือ Nicholas von Horthy พร้อมทั้งมาดามคุณนายมาเที่ยวชม ถึงขนาดพาไปลงเรือยอชท์
พร้อมทั้งขอเชิญให้เข้าร่วมช่วยเหลือทางการทหารในการที่จะขยายดินแดนไปทางฝั่งตะวันออก
ท่านแม่ทัพเรือฮังการี เอ็นจอยกับอาหารอร่อยๆ เหล้าดีๆ และมีฮิตเล่อร์และสมุนคอยประจบประแจง ก็จริง..
แต่..ไม่ตกลง โดยเหตุผลว่า ไม่อยากทำสงครามง่ะ เบื่อแล้ว
สรุปว่า..ขากลับก็ต่างคนต่างไปขึ้นรถไฟคนละขบวน แทบไม่ต้องมองหน้ากัน ไม่กระซี้กระซิกเหมือนตอนขามา

เหล่าพวกเสธ.ก็พยายามที่จะติดต่อกับอังกฤษโดย นายพล von Kleist-Schmenzin แอบเอาความไปขยายให้กับ
หน่วยกลาโหมของเมืองผู้ดีถึงเรื่องการเข้าบุกเชคโกของฮิตเล่อร์ และหวังว่า อังกฤษจะลุกขึ้นมาต่อต้านเพื่อให้เกิดสงครามย่อยๆ
และเหล่าเสธ.กลุ่มต่อต้านนาซีจะได้ถือเป็นโอกาสตลบหลังกำจัดฮิตเล่อร์ไปในคราวเดียวกัน
แต่ไม่มีใครสนใจที่จะฟังและอยากยื่นมือมาช่วยแต่อย่างใด แม้กระทั่ง ท่านวินสตัน เชอร์ชิลล์ เพราะทุกคนต่างเข้าใจว่า น่าจะมีการเจรจาตกลงในเรื่องของการทูตได้ เพราะ ในท่าทีของการป่าวร้องประชาสัมพันธ์ของเกิบเบิลส์นั้น
ทำให้ทุกคนเข้าใจว่าฮิตเล่อร์ต้องการความเป็นธรรมให้กับ กลุ่มเยอรมัน Sudeten ในเชคโก (เพราะว่า ได้มีการปลุกปั่นยุยงให้คนเหล่านี้ลุกฮือขึ้นมาถือสิทธิจากพวกนาซี)
ต้องการพื้นที่ที่ถูกแบ่งแยกออกไปเมื่อสงครามคราวที่แล้วกลับคืนมาดังเดิม
ฉะนั้น..น่าจะตกลงกันได้ทางสันติ
ซึ่งทางรัฐบาลเชคโกเห็นท่าไม่ดี จึงรีบออกมาประกาศไปยังเหล่าเยอรมัน Sudeten ให้ได้เฮ.. ว่า
"ไม่ว่าพวกท่านจะต้องการอะไร โปรดเขียนรายงานแจ้งมายังรัฐบาล เราจะให้ในทุกสิ่งที่ท่านขอโดยไม่ต่อรอง"
แต่คนที่ไม่เฮ..คือ ฮิตเล่อร์
เพราะพวก Sudeten มันจะได้อะไรไปก็ช่างมัน เขาไม่สน..เพราะนั่นคือแค่ข้ออ้างบังหน้า สิ่งที่เขาต้องการจริงๆ นั่นคือ "สงคราม"

สงคราม...ที่เยอรมันจะได้แสดงแสนยานุภาพความเป็นปึกแผ่น..ว่า ชาวแอเรี่ยน(ภาษาไทยเรียกว่า อารยัน)นั้นเหนือว่าชาติไหนๆในโลก
สงคราม...ที่เขาคอยวันที่จะสยบ ฝรั่งเศส อังกฤษ รัสเซีย ไอ้พวกตัวการเบิ้มๆทั้งหลาย ให้มันมาอยู่แทบเท้าเขา อย่างไม่มีวันที่จะให้โงหัวขึ้นมาได้อีกนับพันปีจากนี้ !!

 วันที่ 7 กันยายน การปลุกปั่นยุยงในหมู่ Sudeten ก็ดำเนินจนถึงขั้นปะทะกับตำรวจเชค โดยที่ฮิตเล่อร์ถือเป็นสาเหตุใหญ่หลวงทันที
ซึ่งมันช่างลงล๊อคอย่างเหมาะเจาะ
เพราะในสามวันต่อมาคือวันที่ 10 กันยายนนั้น คือวันการชุมนุมพบปะครั้งยิ่งใหญ่ประจำปีที่เมืองนูเรมเบอร์คที่มีผู้คนมาชุมนุมนับแสนๆคน

 

 


Sudetan Germans and Nazi

 

 

ฮิตเล่อร์ได้ขึ้นปราศัยถึงเรื่องการไม่ได้รับความเป็นธรรมของพี่น้องเยอรมัน Sudeten และ ด่ากราดไปยังประธานาธิบดี Benes แห่งรัฐบาลเชคฯแถมยังบอกใบ้ผ่านไปด้วยว่า เขาต้องจัดการกับเรื่องนี้ในขั้นเด็ดขาด (แต่ไม่ได้พูดถึงสงคราม ที่เขาได้กำหนดวัน
เคลื่อนทัพไว้แล้วคือ 1 ตุลาคม)
เสียงขู่นี้ดังสะท้อนข้ามช่องแคบไปจนถึงหูนายกรัฐมนตรีอังกฤษ นาย Neville Chamberlain ที่เริ่มรู้สึกตัวว่า น่าจะต้องทำอะไรลงไปสักอย่างเพื่อที่จะหลีกเลี่ยงการสู้รบให้ได้มากที่สุด เขาจึงได้มีการติดต่อกันกับ นาย Daladier นายกรัฐมนตรีของฝรั่งเศสเพื่อปรึกษาหารือ ว่าจะเอายังไงกันดี
ในเมื่อถ้าเยอรมันบุกเชคโก นั่นก็เท่ากับว่า เป็นหยามข้อตกลงในสัญญาแวร์ซายย์แบบไม่มีความกลัวเกรงแม้แต่นิด
แต่ถ้าต้องมายกทัพจับศึกกับเยอรมันที่มีประชากรหลายสิบล้านคน นี่ก็เห็นจะไม่ไหว..เพราะจากสภาพเศรษฐกิจ
ที่ทำเอาย่ำแย่ตั้งแต่ครั้งหลังสงครามที่แล้ว ไพร่พลก็ล้มตายกันอย่างมากมายที่ยุทธภูมิ Verdun
ขวัญและกำลังใจของประชาชนก็กระปลกกระเปลี้ยเต็มที
สรุปว่ามีทางเดียว คือต้องทำตัวเป็นไผ่ลู่ลม..แบบไม่ให้เสียฟอร์ม
โดย..นาย Chamberlain จะยอมกล้ำกลืน แสร้งทำเป็นว่า..ไปเจรจาตกลงหารือฮิตเล่อร์ที่เยอรมัน เพื่อสันติแห่งยุโรป !!

ข้อความกำหนดการของการมาเยือน ในโทรเลขจากลอนดอนไปถึงเบอร์ลินนั้น ทำให้ ฮิตเล่อร์ถึงหัวเราะก๊ากด้วยความปรีดิ์เปรม
มันน่าสะใจหยอกอยู่ซะเมื่อไหร่กันล่ะ ที่ มหาอำนาจอย่างอังกฤษจะอุตส่าห์ "ถ่อ" สังขารมาหาประเทศแพ้สงครามอย่างเยอรมันเพื่อ
คุกเข่าขอร้อง..

และฮิตเล่อร์ก็ได้จัดการให้การเดินทางของท่านายกรัฐมนตรีเมืองผู้ดียุ่งยากลำบากลำบนให้สมกับคำที่ว่า "ถ่อสังขาร" ให้อย่างไม่มีขาดตกบกพร่อง
นั่นคือการที่ผู้มาเยือนต้องขึ้นเครื่องบินข้ามประเทศมาลงที่สนามบินมิวนิค จากนั้น ต้องนั่งรถอีกสามชั่วโมงมายังรังพญานกอินทรีย์ เบอร์เทสการ์เดนที่แสนจะคดเคี้ยว อีกทั้งสูงชัน

และไม่ใช่แค่นั้น ฮิตเล่อร์ได้จัดฉากให้มีรถเกราะ รถถัง ทหารนับหมื่น นับแสน แต่งเครื่องแบบอย่างเตรียมพร้อมการศึก อยู่ในจุดระยะทางผ่านต่างๆ
ทำเป็นว่า ทุกคนกำลังวุ่นวาย อยู่กับการเตรียมพร้อมแห่งสงครามที่จะมีขึ้นในเร็ววัน

และ..กว่า นาย Chamberlain จะไปถึงยังสถานที่ต้อนรับซึ่งฮิตเล่อร์ยืนคอยอยู่ที่บันไดชั้นกลางๆ ที่เขาต้องเดิน
ขึ้นไปสองสามก้าว เพื่อที่จะได้จับมือทักทายกับอดีตนายสิบโท ฮิตเล่อร์
การสนทนาในวันนั้น เป็นไปตามหัวข้อ ที่ฮิตเล่อร์โวยวายว่า เขาต้องลุกขึ้นมาจัดการขั้นเด็ดขาด เพราะห่วงใยในปากท้องของพี่น้องชาวเยอรมัน Sudeten พลัดถิ่นที่มีจำนวนร่วมสามล้านคน ที่ต้องการจะกลับเข้าในความดูแล
ของเยอรมัน
และอีกทั้งนั่นคือ พื้นที่เหล่านั้น ที่ถูกเฉือนไปก็คือสมบัติของชาวเยอรมันเช่นกัน
ยังไง ยังไง ผ๊ม..ก็ต้องทำสงครามเพื่อแย่งเอาดินแดนของกระผ๊มคืนมา !! นี่คือ คำพูดของฮิตเล่อร์
ส่วนนาย Chamberlain ก็คงฉุนจัด ยิ่งเดินทางมาเหนื่อยๆอยู่ จึงสวนไปว่า
"งั้นก็คงป่วยการที่จะพูด ผมคงเสียเวลามาที่นี่จริงๆ" และทำท่าจะกลับ
ตอนนี้ ฮิตเล่อร์เพิ่งสำนึกได้ว่า พูดแรงไป เดี๋ยวอังกฤษเกิดบ้าขึ้นมาโกรธขึ้นจริงๆ จะทำยังไง (ตอนนี้ยังคงอยู่ในช่วงลักไก่)
จึงเสียงอ่อนลง แกล้งทำเป็นว่า
"ก็ โผมมมไม่ได้หมายความอย่างน้านนน เพียงแต่ให้ดินแดนเชื่อมกันดังเดิม พี่ๆน้องๆจะได้ไม่พลัดพรากแตกแยก ท่านเห็นว่า ผมผิดตรงไหนล่ะ หรือ ท่านเห็นเป็นอย่างไร งั้นผ๊มก็ขอคำปรึกษาเลยก็แล้วกัน "
ทั่นนายกเมืองผู้ดี เชื่อในวาจานั้นอย่างหมดใจ เข้าใจตามนั้นจริงๆ ว่า เยอรมันหาได้ใฝ่สงครามแต่อย่างใด กะอีแค่ขอรวมตัวดังเดิม จะไปยากอาร๊ายยย !!
และ จึงสำทับกลับไปว่า ถ้างั้นก็อย่างเพิ่งดำเนินการอะไร จนกว่าเราจะได้ทำความตกลงกันอีกครั้ง ขอนำความนี้ไปปรึกษาฝรั่งเศสดูก่อน
ฮิตเล่อร์ ก็พยักหน้าหงึกหงัก เห็นด้วยเป็นอย่างดี เพราะนั่นคือ วันที่ 17 กันยายนเอง..
แผนการเดินทัพยึดครองนั่นคือ วันที่ 1 ตุลาคม ยังอีกตั้งหลายวัน จะไปพูดจาอะไรกันก็เชิ๊ญญญญ !!

Édouard Daladier (เอดวารด์  ดาลาดิเยร์  นายกรัฐมนตรีฝรั่งเศส)

 



วันที่ 18 กันยายน ทั่นนายกก็เดินทางถึงบ้าน จัดการเตรียมเอกสารเพื่อจะเจรจาในรายละเอียดของเรื่องนี้ จึงได้เชิญนายกฝรั่งเศสนายดาลาดิเยร์ ได้บินจากปารีสไปพบที่ลอนดอน สรุปกันไปมา ตามประสาคนไม่อยากทำสงครามให้แตกหัก แต่ไม่ต้องการเสียหน้าด้วยเช่นกัน มาถึงจุดลงตัวได้ที่ว่า งั้นแบ่งประเทศเชคโกเป็นส่วนๆละกัน ฮิตเล่อร์มันอยากได้ส่วนของมันคืน ก็ให้มันไป..

แล้วทั้งคู่ก็เห็นพ้องต้องกัน โดยที่ไม่ได้ปรึกษารัฐบาลเชคโกเจ้าของประเทศเลยแม้แต่นิด ว่า พวกเขาจะเห็นด้วยหรือไม่อย่างไร?
นั่นเท่ากับว่า..อะไรที่สพม. ได้ให้กับประเทศเชคโกชดเชยในฐานะช่วยการศึกจนชนะสงครามคราวก่อน
แต่..มาถึงตอนนี้กลับเรียกคืนกลับไปจนหมด
ซึ่งแน่นอนว่า..ทันที่ที่ได้รับการบอกข่าว..รัฐบาลของเชคโกเดือดดาลจนรับข้อเสนอแบบ "หักคอ" นี้ไม่ได้
แต่..อังกฤษได้สำทับไปตอนท้ายว่า
"ไม่เป็นไรนะ ไม่ทำตามนี้ก็ได้ แต่นั่นหมายว่าถ้าเยอรมันยกทัพมาจริง พวกยูก็รบต่อสู้ป้องกันกันเอาเองละกัน ไอไม่ช่วย"
ฝรั่งเศส ก็พูดแบบเดียวกันเปี๊ยบ แถมผสมโรงว่า เอาน่า..นะ..นะ เพื่อความสงบสุขของยุโรป
ประธานาธิบดี Benes ถึงกับสะอึกต่อข้อความทั้งหมด..นี่มันหักหลังกันอย่างชัดๆ มันเท่ากับว่า โยนชาวเชคทั้งประเทศลงไปในบ่อจรเข้ทีเดียว
ทางเลือกสุดท้าย นั่นคือ วิ่งเข้าหารัสเซีย..ไปขอความช่วยเหลือ (โดยไม่ได้บอกใจความให้ละเอียดว่า ได้ถูกปฏิเสธมาจากสองมหาอำนาจแล้ว)
ทางรัสเซีย ได้ตอบมาอย่างวางเชิงว่า ด๊ายย..ช่วยก็ได้ แต่ต้องไปเอาฝรั่งเศสมาร่วมเป็นพันธมิตรด้วยนะ ถ้าฝรั่งเศสโอเค ทางเราก็โอเช !!
นั่นเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ เพราะ ฝรั่งเศสเพิ่งปิดประตูใส่หน้าไปหยกๆ
เชคโกมีทางเลือกอยู่สองทาง คือ จะยกธงขาว หรือ จะสู้ ประการหลังนั้นคือ ถ้าสู้..ก็ต้องสู้อย่างโดดเดี่ยว หันหน้าไปพึ่งใครไม่ได้จริงๆ !!

จากวันนั้นมา ฮิตเล่อร์ก็เล่นแผนโยกโย้จะเอาโน่นเอานี่ ที่ทำให้นายกอังกฤษต้องวิ่งกลับไปมาถึงสองสามครั้งในการที่จะต้องยื่นเสนอแผนที่ใหม่ของเชคโก ที่ตกลงกันว่าจะแบ่งออกเป็นสามส่วนของดินแดนชายแดน Sudeten
คือ หนึ่งให้กับ Sudeten แท้ (คืนสู่เยอรมัน) ให้เชคโกปกครองหนึ่งส่วน และอีกหนึ่งส่วนคือพวกที่ทำตัวเป็นกลางคือปกครองกันเอง

ฮิตเล่อร์ ตอบอย่างแข็งกร้าว ว่า ไม่มีทาง ไม่มีการแบ่ง Sudeten ต้องมาเป็นของเยอรมันทั้งหมด ไม่มีข้อแม้ใดๆ ไม่งั้น จะรบ !!
นายกอังกฤษ ก็วิ่งปุเลงๆข้ามไปใช้โทรศัพท์ในสวิสเซอร์แลนด์ ติดต่อ ลอนดอน และ อังกฤษ รายงานถึง มาตรการเด็ดขาดที่ฮิตเล่อร์ต้องการ

สรุปว่า ในวันที่ 23 กันยายน นาย Chamberlain ก็นำแผนที่ของเชคโกฉบับร่างใหม่มานำเสนอต่อฮิตเล่อร์อย่างรวดเร็วทันใจ

แต่แล้ว..ข่าวทางชายแดนก็ส่งมาว่า ทหารของเชคโกได้เคลื่อนกำลังมาประชิดชายแดน อันเป็นเหตุให้ การเจรจาต้องชะงักงันเพราะฮิตเล่อร์มีอาการ "ของขึ้น" แบบเฉียบพลัน โดยที่ประกาศว่า ถ้าไม่ถอยกำลังออกไป ตูจะบุก
ถล่มให้ราบบัดเดี๋ยวนี้ !!
แชมเบอร์เลน ถึงกับสะดุ้งโหยง บอกว่า ไม่น่าที่ยื่นคำขาดขนาดนั้นเล๊ยย...พูดจากันดีๆก็ได้ น่า น่า !!
และมิหนำซ้ำ ยังรีบจัดการนัดประชุมสันติภาพระหว่าง อังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมัน อิตาลี และ เชคโกฯ ในวันที่ 29 กันยายน ที่เมือง มิวนิค
ฮิตเล่อร์ ประกาศก้องว่า ห้ามไม่ให้ตัวแทนของเชคโกเข้าร่วมประชุมในครั้งนี้
ทุกคนก็รีบรับคำงกๆ และปฏิบัติตามอย่างเชื่อฟัง

แผนอนาคตของเชคโกในวันนั้น จึงถูกกำหนดด้วยประเทศอื่นๆตามความพอใจ
ในวันที่ 30 กันยายน จึงมีการร่วมลงนามทำสัญญาตกลง ซึ่ง ฮิตเล่อร์ได้สมใจในทุกอย่างตามที่ต้องการ
คือ จะเคลื่อนขบวนทัพเข้าสู่ดินแดนเพื่อครอบครองดินแดนอันมหาศาลในแนวตะเข็บกั้นชายแดนของเชคโก ใน
วันที่ 1 ตุลาคม ให้เป็นมหาฤกษ์ มหาชัย
ซึ่ง ประธานาธิบดี Benes รู้ตัวและซึ้งแก่ใจทันทีว่า จะขืนสู้ต่อไปก็ไม่ประโยชน์อันใด จึงสั่งทหารวางอาวุธทั้งหมด ไม่มีการต่อสู้ใดๆทั้งสิ้น..
เพราะ มหามิตรที่เคยมีนั้น ต่างก็ได้แปรพักตร์กันไปหมดแล้ว
ไม่นานต่อมา..เขาจึงลาออกจากตำแหน่ง และอพยพลี้ภัยไปอยู่ที่ ณ. ประเทศอังกฤษ
Edvard Benes



คนคนเดียวที่ลุกขึ้นมากล่าวในสภาอังกฤษด้วยถ้อยคำเผ็ดร้อน นั่นก็คือนักการเมืองเก่า
วินสตัน เชอร์ชิล ที่ไม่เห็นด้วยต่อการอ่อนข้อให้กับเยอรมันของอังกฤษและฝรั่งเศสในครั้งนี้ อีกทั้ง เขาได้พยากรณ์การเมืองไว้อย่าง
แม่นยำว่า..
ต่อไปนี้ นานาประเทศลุ่มแม่น้ำดานูปจะถูกกลืนหายไปในรัศมีของนาซีในเร็วๆวัน ถ้าพวกเรามัวแต่งอมืองอเท้ากันอยู่
แต่ท่านก็ไม่ได้พูดจนจบ เพราะ เหล่าบรรดาพวกพรรครักสงบทั้งหลายก็รีบชิงตัดบทไปเสียก่อน
หาว่า ท่านเชอร์ชิลล์ ระแวงระไวเกินกว่าเหตุ เพ้อเจ้อไปเรื่อย..เรื่องของชาวบ้านเขา อย่าไปยุ่งเลย มันอยู่ตั้งไกลโพ้นทะเลจะทำอะไรก็เรื่องของมัน ไม่เกี่ยวกะเราซักกะหน่อย..

ส่วน ตัวแทนของเชคโก นักการเมืองหนุ่ม นาย J. Masaryk ได้ลุกขึ้นกล่าวอย่างอาจหาญ แต่เต็มไปด้วยความชอกช้ำใจว่า
"ถ้าพวกท่านเห็นว่า การที่พวกท่านจะเอาประเทศของกระผมโยนให้หมาจิ้งจอกนาซีแทะทึ้ง แล้วพวกมันพอใจหยุดการไปกัดใครต่อใครเขาได้ กระผมก็จะถือว่าเป็นกุศลกรรม แต่หากการณ์กลับกลายเป็นว่า จิ้งจอกเหล่านั้น
ได้กินกันอิ่มหมีพีมัน มีพละกำลังมากมาย แล้วแว้งมากัดพวกท่านเข้าบ้าง ผมก็จะถือโอกาสนี้..หัวเราะสมน้ำหน้าพวกท่านให้ดังไปอีกนานเท่านาน จนกว่าชีวิตของกระผมและชาวเชคโกจะหาไม่ !! "

Jan Masaryk

 

ไหนๆก็พูดถึงเขาแล้ว มารู้จักนาย ยัน มาซาร์ค ( หรือ..มาซาร์อิค) ดีกว่า
นายยัน เป็นลูกชายนักการเมืองระดับบิ๊กที่มีมารดาถือสัญชาติอเมริกัน ได้มารับราชการเป็นหนึ่งในคณะทูตเชคโกประจำกรุงลอนดอน
และหลังจากที่เยอรมันหาเรื่องฮุบเอาดินแดนทั้งหมดประเทศ(กวาดเอาแคว้น โบฮีเมีย, โมราเวีย, สโลวาเกีย,ในตอนต่อมาเมื่อปี 1939 )
เขาและอดีตประธานาธิบดีเบเนสอีกทั้งชาวเชคนอกประเทศกลุ่มอื่นๆ จึงรวมตัวกันตั้งรัฐบาลเชคอิสระที่กรุงลอนดอน
เพื่อปฏิบัติการใต้ดินต่อต้านผู้รุกราน
ผลงานที่ถือว่าสำเร็จแต่เป็นโศกนาฏกรรมครั้งยิ่งใหญ่นั่นก็คือ การลอบสังหาร ผบ. SS ตัวเอ้ Reinhard Heydrich ในปี 1942 อันเป็นผลให้นาซีเข้าทำการสังหารหมู่ชาวเชคนับพันศพอย่างน่าสังเวชใจเพื่อเป็นการแก้แค้นให้อย่างสาสม ตามคำของ ฮิมม์เล่อร์ ที่ส่งฝากไปยังรัฐบาลอิสระเชคในอังกฤษ ว่า
หนึ่งศพของ SS ต้องแลกกับชีวิตอื่นๆนับพัน นับหมื่น อยากจะลองอีกก็เชิญ !!
นี่คือสาเหตุที่มา..ของการเก็บหมู่บ้าน Lidice  ไว้ในสภาพเดิมพร้อมทั้งข้อความเตือนความจำให้กับลูกหลานถึงความเหี้ยมโหดที่
บรรพบุรุษเคยได้รับจากนาซีในประวัติศาสตร์

ภาพ การสังหารหมู่ที่หมู่บ้าน Lidice, Poland  ด้วยฝีมือของนาซี

 

คนที่ผิดหวังในเรื่องการจัดสรรปันส่วนของเชคโกครั้งนี้ คือ ฮิตเล่อร์ นั่นเอง ผิดหวังเพราะมันคือการทำงานผิดแผน
ฮิตเล่อร์คิดเสมอว่า ฝ่ายสพม. หรืออย่างน้อยๆก็ต้องเป็นฝรั่งเศสที่จะลุกขึ้นมาต่อต้านบ้างพอหอมปากหอมคอ
จะได้มีการสาดกระสุน โยนระเบิดใส่กันสักตูมสองตูม และ..ผลคือเขาต้องชนะแน่นอน(จากจำนวนกำลังพลที่มากกว่ามหาศาล)
และจะได้เชคโกทั้งประเทศ..โดยไม่ต้องมาแบ่งปันกันให้วุ่นวาย หรืออีกนัยหนึ่งก็คือ ต้องมาเสียเวลาไปช่วงหนึ่งกว่าจะฮุบที่เหลือ
ใครจะคิดว่า..ทั้งอังกฤษและฝรั่งเศส จะพากันเจรจาแบบสันติอย่างง่ายดายแบบนี้ ..
ว๊าาา..แย่จัง !!!
และเขาก็รู้ดีอีกด้วยว่า แผนในการที่จะเข้ายึดครองประเทศต่อไปจะใช้วิธีนี้ไม่ได้แล้ว มันต้องรุกด้วยกองทัพอย่างเดียว
จะเอาเหตุอะไรมาอ้าง เดี๋ยวค่อยส่งไปเป็นหน้าที่ของเกิบเบิลส์ หน่วยโคสะนาและประชาสัมพันธ์ตัวยง

ดังนั้น ในเดือน ตุลาคม นายพลทุกเหล่าทัพถูกเรียกตัวเข้าประชุมด่วน ถึงการศึกต่อไป
เป้าหมายคือ โปแลนด์ ผู้รับปฏิบัติการคือนายพล Keitel ที่รีบรุดส่งทีมงานไปลาดตะเวณชายแดนแนว Memel และ Danzig อย่างเป็นการด่วน

โปแลนด์ เป็นอะไรที่ "คาใจ" ฮิตเล่อร์ตลอดมาตั้งแต่การขยายดินแดนเข้ามาในเยอรมันอย่างมากมายเมื่อครั้งสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง
รวมทั้งได้กวาดต้อนเอาชาวเยอรมันเข้าไปไม่ใช่น้อย
และ ถ้าเขาได้กองทัพอีกทั้งทรัพยากรของสองประเทศรวมกัน(เชคโก และโปแลนด์) นั่นหมายถึง แผนการที่เข้าบุกทำสงครามกับอังกฤษในปี 1942 (ตามแผน) ก็น่าจะเป็นไปได้

พูดถึงทรัพยากรและสถานะการด้านเศรษฐกิจของเยอรมันที่ดีวันดีคืนภายใต้การบริหารแผนพัฒนาสี่ปี ของเกอริงนั้น ถึงขนาด สั่งสร้าง Heinkel 177 ฝูงบินทิ้งระเบิดกว่า 500 ลำ
กองทัพเรือ ได้สร้างเรือพิฆาตประจันบาญ ขนาด 35,000 ตัน ติดปืนใหญ่ขนาด 420 มม. อีก หกลำ เรือดำน้ำได้มีการสั่งสร้างอีกหลายฝูงในขนาดเล็กไปจนถึงใหญ่สุด

ไหนจะหน่วยรถถัง Panzer นับพันที่กำลังสร้างอย่างเร่งรีบในโรงงานนั้นอีกเล่า
แน่อนว่า..นี่คือสิ่งที่ฝ่าฝืนข้อตกลงในสนธิสัญญาแวร์ซายย์
ทั้งหมด แต่..ฮิตเล่อร์ถือคติที่ว่า
"ผู้ชนะ ย่อมไม่ต้องมีคำแก้ตัวใดๆ"

ส่วนเงินทองที่ได้มาเพื่อการพัฒนาสร้างเสริมนั้น มีเงื่อนงำอย่างที่สุด ซึ่งจะเล่าในทีหลัง


ตั้งแต่ต้นปี 1938 เป็นต้นมา เกิบเบิลส์มักเข้าหน้าท่านผู้นำไม่ติด เนื่องจากความประพฤติส่วนตัวที่อื้อฉาวคาวกาม เกิดขึ้นออกบ่อยครั้ง
ครั้งล่าสุด ไปยุ่งกับดารานักแสดง จนมีการร้องเรียนมาว่าหล่อนเข้าขั้นถูกข่มขืน
และ นี่ไม่ใช่การร้องเรียนเป็นครั้งแรก มันเคยเกิดขึ้นมาแล้วนับสิบครั้งก่อนนั้น
ฮิตเล่อร์..ไม่ชอบใจเอาเสียเลย
ประการที่หนึ่ง เขาไม่ใช่คนเหลวไหลในเรื่องนี้
ประการที่สอง เมคดา ภรรยาของเกิบเบิลส์ก็คือคนที่ใกล้ชิดสนิทสนมวงในคนหนึ่ง(แถม..ยังเคยจีบมาก่อนซะด้วย)
จึงทำให้..เกิดการมองหน้ากันไม่ค่อยติด

แต่..ต่อมาในวันที่ 9 เดือนพฤศจิกายน ได้เกิดเหตุการณ์ของ Kristalnacht (ที่ได้เล่ามาเมื่อกระทู้ก่อน) ซึ่งเกิบเบิลส์ถือเป็นสาเหตุใหญ่เพื่อเอาใจจ้าวนายทันที โดยการรีบป่าวประกาศปลุกระดมพลให้เกิดการต่อต้านยิว อีกทั้ง ยุยงปลุกปั่นทั้งหน่วย SS และ เกสตาโป ให้ออกอาละวาด ทุบตีทำร้าย เผาโรงสวด อีกทั้งทำลายร้านค้าของชาวยิวแทบทั้งหมด
เพื่อเป็นการแก้แค้นให้กับ กงศุล von Rath ที่ถูกยิงจนเสียชีวิตไปจากฝีมือของเด็กหนุ่มชาวยิว

เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในคืนวันนั้น เล่นเอาคนทั้งโลกช๊อคต่อการกระทำที่แสนโหดเหี้ยมของเหล่านาซี
อย่าว่าแต่ใครเลย..แม้แต่ตัวฮิตเล่อร์เอง ก็ยังอึ้งไปเหมือนกัน เขาไม่รู้เรื่องนี้เลย..และแถมยังลืมเรื่อง"ยิว"ไปแล้วด้วยซ้ำ เพราะ เขามัวแต่ยุ่งเรื่อง บุกรุกยึดครองที่โน่นที่นี่จนสมองแทบไม่ว่าง
แต่ คราวนี้ เกิบเบิลส์ ถือเป็นโอกาสช่วยเตือนความจำให้ แถมยังลอยหน้าลอยตาบอกซะอีกว่า
"ก็ที่ท่านผู้นำเขียนไว้ใน Mein Kampf ไงล่ะ เรื่องที่จะจัดการพวกยิวให้พ้นไปจากยุโรปน่ะ กระผมก็ช่วยอย่างเต็มที่แล้วไง ลืมแล้วเหรอ ??"
เจอเอาลูกนี้เข้า ฮิตเล่อร์ถึงกับอึ้งไปอีกครั้ง..แต่ เขาก็มองเห็นช่องทางหาเงินทันที โดยการเห็นด้วยกับเกิบเบิลส์..เล่นแผนเดือดดาลผสมล้มกระดาน โดยการ สั่งยึดทรัพย์ และกิจการทั้งหมด โดยอ้างว่า ต้องการเรียกค่าเสียหายจากกระกระทำครั้ง
นี้ของชาวยิวถึงหนึ่งพันล้านมาร์ค
อีกทั้ง..ประกาศให้ชาวโลกได้รับรู้ว่า..ต่อไปนี้ ภายใต้อำนาจของนาซี...ชาวยิวจะต้องพบกับอนาคตที่มืดมนอย่างชนิดไม่มีวันได้ผุดได้เกิด !!

 




ฮิตเล่อร์...และเหล่าขุนพลแห่งอาณาจักร์ที่ไรค์ซที่สาม โดย "วิวันดา"

ฮิตเล่อร์...และเหล่าขุนพลแห่งอาณาจักร์ที่ไรค์ซที่สาม ตอนยี่สิบสาม (สมบูรณ์)
ฮิตเล่อร์...และเหล่าขุนพลแห่งอาณาจักร์ที่ไรค์ซที่สาม ตอนยี่สิบสอง
ฮิตเล่อร์...และเหล่าขุนพลแห่งอาณาจักร์ที่ไรค์ซที่สาม ตอนยี่สิบเอ็ด
ฮิตเล่อร์...และเหล่าขุนพลแห่งอาณาจักร์ที่ไรค์ซที่สาม ตอนยี่สิบ
ฮิตเล่อร์...และเหล่าขุนพลแห่งอาณาจักร์ที่ไรค์ซที่สาม ตอนสิบเก้า
ฮิตเล่อร์...และเหล่าขุนพลแห่งอาณาจักร์ที่ไรค์ซที่สาม ตอนสิบแปด
ฮิตเล่อร์...และเหล่าขุนพลแห่งอาณาจักร์ที่ไรค์ซที่สาม ตอนสิบเจ็ด
ฮิตเล่อร์...และเหล่าขุนพลแห่งอาณาจักร์ที่ไรค์ซที่สาม ตอนสิบหก
ฮิตเล่อร์...และเหล่าขุนพลแห่งอาณาจักร์ที่ไรค์ซที่สาม ตอนสิบห้า
ฮิตเล่อร์...และเหล่าขุนพลแห่งอาณาจักร์ที่ไรค์ซที่สาม ตอนสิบสี่
ฮิตเล่อร์...และเหล่าขุนพลแห่งอาณาจักร์ที่ไรค์ซที่สาม ตอนสิบสาม
ฮิตเล่อร์...และเหล่าขุนพลแห่งอาณาจักร์ที่ไรค์ซที่สาม ตอนสิบสอง
ฮิตเล่อร์...และเหล่าขุนพลแห่งอาณาจักร์ที่ไรค์ซที่สาม ตอนสิบเอ็ด
ฮิตเล่อร์...และเหล่าขุนพลแห่งอาณาจักร์ที่ไรค์ซที่สาม ตอนเก้า และตอนสิบ
ฮิตเล่อร์...และเหล่าขุนพลแห่งอาณาจักร์ที่ไรค์ซที่สาม ตอนเจ็ด
ฮิตเล่อร์...และเหล่าขุนพลแห่งอาณาจักร์ที่ไรค์ซที่สาม ตอนหก
ฮิตเล่อร์...และเหล่าขุนพลแห่งอาณาจักร์ที่ไรค์ซที่สาม ตอนห้า
ฮิตเล่อร์...และเหล่าขุนพลแห่งอาณาจักร์ที่ไรค์ซที่สาม ตอนสี่
ฮิต เล่อร์...และเหล่าขุนพลแห่งอาณาจักร์ที่ไรค์ซที่สาม ตอนสาม
ฮิตเล่อร์...และเหล่าขุนพลแห่งอาณาจักร์ที่ไรค์ซที่สาม ตอนสอง
ฮิตเล่อร์...และเหล่าขุนพลแห่งอาณาจักร์ที่ไรค์ซที่สาม



1

ความคิดเห็นที่ 1 (101544)
avatar
poann

ขอบคุณครับสำหรับ บทความดีดี และอ่านสนุก ครับ

จะรอติดตาม อ่านนะครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น poann วันที่ตอบ 2011-05-11 11:39:10 IP : 58.10.189.92


ความคิดเห็นที่ 2 (101545)
avatar
wiwanda

สวัสดีค่ะ คุณ poann

 

ขอบคุณค่ะที่ชม..ยังกริ่งๆใจเหมือนกันว่า ผู้อ่านจะมีความเห็นเช่นไร..อันสืบเนื่องมาจากพื้นฐานในความรู้เรื่องของประวัติศาสตร์สงครามโลกของผู้อ่านแต่ละท่านด้วย..ดิฉันพยายามลงรายละเอียดในบางเรื่อง  ในบางบุคคลที่กล่าวถึงด้วย เพราะสงครามในครั้งนั้นไม่ได้เกิดขึ้นมาจาก"ฮิตเล่อร์" เพียงคนเดียว หากแต่สถานะบ้านเมืองในยามนั้นมีหลายองค์ประกอบที่เป็นชนวน..ที่เปรียบเสมือนการถักไหมพรมที่ต่อทอดกันไปเป็นผืน..

ในช่วงต่อๆไป..ดิฉันอาจจะนำเรื่อง "เชลยยิว" มาลงอีกกระทู้..เป็นการอ่านที่ประกอบกันไปเพื่อให้ภาพของจิ๊กซอว์นี้ต่อได้ครบสมบูรณ์

ผู้แสดงความคิดเห็น wiwanda (wwiwanda-at-yahoo-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2011-05-12 01:04:57 IP : 99.107.99.170


ความคิดเห็นที่ 3 (101554)
avatar
mee-sua-man

 ติดตามคุณวิวันดา มาตลอดครับตั้งแต่พันทิพแล้วครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น mee-sua-man (mmonthien-at-gmail-dot-com)วันที่ตอบ 2011-05-16 20:04:38 IP : 58.11.56.205



1


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.
| WW II Europe | WW II Asia | WW I | Vietnam War | ประวัติศาสตร์ไทย | บทความจากสมาชิก | คุยกันหลังฉาก | บทความทั้งหมด |

สนใจร่วมเขียนบทความในเว็บไซต์ เชิญอ่าน แนวทางการร่วมเขียนบทความ ภาพยนตร์ประวัติศาสตร์

Custom Search



eXTReMe Tracker