dot
dot
เว็บภาพยนตร์ประวัติศาสตร์ ยินดีต้อนรับผู้สนใจทุกท่าน
dot
dot
สมาชิก Webboard/Blog
ชื่อผู้ใช้ :
รหัสผ่าน :
เข้าสู่ระบบอัตโนมัติ :
bullet ลืมรหัสผ่าน
dot
bulletข้อตกลงการเป็นสมาชิก
bulletเว็บบอร์ด-คุยกันหลังฉาก
bulletเว็บบอร์ด-Games ย้อนยุค
bulletเว็บบอร์ด-ชุดจำลองประวัติศาสตร์
bulletเว็บบอร์ด-หนังสือประวัติศาสตร์
bulletเว็บบอร์ด-เพลงประวัติศาสตร์
bulletคำถาม/คำตอบ ล่าสุด
bulletแนวทางการร่วมเขียนบทความ
dot
สงครามโลกครั้งที่ 2
dot
bulletสมรภูมิยุโรป (สัมพันธมิตรVSเยอรมัน-อิตาลี)
bulletสมรภูมิแปซิฟิก-เอเชีย (สัมพันธมิตรVSญี่ปุ่น)
dot
ภาพยนตร์ประวัติศาสตร์อื่นๆ
dot
bulletสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง
bulletประวัติศาสตร์ไทย
bulletประวัติศาสตร์อเมริกันยุคเริ่มแรก
bulletสงครามเวียดนามและอินโดจีน
bulletตะวันตกโบราณ (กรีก โรมัน ฯลฯ)
bulletประวัติศาสตร์ร่วมสมัย
bulletเอเชียโบราณ
bulletประวัติศาสตร์อื่นๆ (ยังไม่แยกหมวดหมู่)
bulletคลิปความรู้จาก YouTube
dot
บทความโดย วิวันดา
dot
bulletฮิตเล่อร์...และเหล่าขุนพลแห่งอาณาจักรไรค์ซที่สาม
bulletลอดลายรั้ว.....วินด์เซอร์
bulletเลิศเลอวงศา...โรมานอฟ
bulletเชลย
bulletซูคอฟ...ยอดขุนพลผู้ดับฝันของฮิตเล่อร์
dot
บทความโดย สัมพันธ์
dot
bulletคนไทยในกองทัพพระราชอาณาจักรลาว
bulletประวัติศาสตร์สงคราม กรีก
bulletกรณีพิพาทอินโดจีนและสงครามมหาเอเชียบูรพา
bulletอยุธยายศล่มแล้ว ลอยสวรรค์ ลงฤา
bulletฮานนิบาล
bulletพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบรมวงศานุวงศ์
bulletไทยกับมหาสงคราม
bulletสงครามเวียดนาม
bulletห้วยโก๋น ๒๕๑๘
bulletการทัพในมลายา
bulletประวัติศาสตร์อื่น ๆ
dot
เรื่องอื่นๆ
dot
bulletบทความเสริมความรู้ทั่วไป
bulletเกร็ดเล็กเกร็ดน้อย
bulletผู้จัดทำ
bulletผังเว็บไซต์ (Site Map)
bulletแนวทางการร่วมเขียนบทความ
bulletถาม-ตอบ (FAQs) (โปรดอ่านก่อนตั้งกระทู้หรือสมัครสมาชิก)
bulletร้านค้าออนไลน์
bulletแบ่งปัน Album
dot
ลิงค์ต่างๆ
dot
bulletHistory on Film
bulletกองบิน 21 กองพลบิน 2
bulletIELTS British Council
bulletIELTS IDP
bulletMUIC




โหราศาสตร์ยุคไอที



บางประเด็นจากการไปฟังบรรยายเรื่องพิพิธภัณฑ์โรงเรียนเทพศิรินทร์ article
วันที่ 21/04/2012   10:52:53

webmaster@iseehistory.com

รักเปรียบแจกัน จัดสรรวางเบื้องหน้า
องค์พระปฏิมา แท่นบูชามนุษย์กราบไหว้
ดอกดินดอกฟ้าจะมาเข้ากัน ณ ที่นั้นได้
หากเรารักและเข้าใจ มารร้ายใดใดก็พ่ายไปเอง

ท่อนสุดท้ายของเพลง “แจกันรัก” คำร้อง-ทำนอง พยงค์ มุกดา คัดลอกจาก
  http://www.oknation.net/blog/chai/2009/05/18/entry-1
 


ดร.ชัยวัฒน์ วิบูลย์สวัสดิ์ อดีตผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย
นักเขียนนามปากกา "วินนี่ เดอะ ปุ๊"
และอะไรอื่นๆ อีกมากมาย มาบรรยายในฐานะประธานโครงการเงินบริจาคเพื่อการศึกษาโรงเรียนเทพศิรินทร์
และในฐานะศิษย์เก่าคนหนึ่ง

ครั้งก่อนในบทความเรื่อง “แล้วผมต้องทำอะไรกับประวัติโรงเรียนเทพศิรินทร์?”   ผมได้เขียนในแบบกึ่งๆ สารภาพความไม่รู้ของตัวเองว่าความเป็น “เทพศิรินทร์” ต่างจากความเป็นศิษย์โรงเรียนอื่นอย่างไร  และกึ่งๆ ยั่วให้ท่านผู้รู้ได้มาแลกเปลี่ยนความเห็นกันว่า  ความเป็นมาและความเป็นสถาบันของแต่ละโรงเรียนนั้นจะศึกษาและทำความเข้าใจได้อย่างไร  น่าเสียดายว่าไม่ได้รับการตอบสนอง (Feedback) เท่าที่ควร

หลังจากการเขียนและเผยแพร่บทความดังกล่าวแล้ว  ผมได้พยายามครุ่นคิดหาคำตอบในเรื่องดังกล่าวอยู่เสมอ  โดยเฉพาะเมื่อได้รับคำเชิญจากท่าน ดร.ชัยวัฒน์ วิบูลย์สวัสดิ์  (ผู้เป็น “รุ่นพี่” ที่ผมกล่าวถึงในบทความที่แล้ว) ให้ไปฟังท่านบรรยายเรื่อง “โครงการพิพิธภัณฑ์โรงเรียนเทพศิรินทร์และกรณีศึกษาเชิงประวัติศาสตร์” ในวันที่ 9 มิถุนายน 2554  ยิ่งทำให้ผมรู้สึกตัวว่าต้องหาข้อมูลเป็นการบ้านไว้สักหน่อย  ความที่ไม่มีเวลาจะไปห้องสมุดอื่นใดนอกจากการนั่งหน้าจอคอมพิวเตอร์ไปวันๆ  จึงต้องอาศัยที่พึ่งอันประเสริฐ (?) คือ วิกิพีเดีย  ซึ่งมีผู้เขียนประวัติโรงเรียนเทพศิรินทร์ไว้ที่ http://th.wikipedia.org/wiki/โรงเรียนเทพศิรินทร์  แถมด้วยประวัติโรงเรียนสวนกุหลาบฯ ซึ่งอยู่ที่หน้า http://th.wikipedia.org/wiki/โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย เนื่องจากมีอยู่ช่วงหนึ่งที่ทางสวนกุหลาบฯ ประสบปัญหาด้านสถานที่เรียนจนนักเรียนของเขาส่วนหนึ่งต้องมาเรียนกัน ณ อาคารของโรงเรียนเทพศิรินทร์ ดังที่ผมได้ทราบและเคยเกริ่นไว้ในบทความที่แล้วครับ

ขอนำข้อความที่ใช้ประชาสัมพันธ์การบรรยายในวันดังกล่าวมาลงประกอบไว้ ดังนี้ครับ


การบรรยายพิเศษเนื่องในโอกาสวันเทพศิรินทร์
หัวข้อ  โครงการพิพิธภัณฑ์โรงเรียนเทพศิรินทร์
และกรณีศึกษาเชิงประวัติศาสตร์
โดย ดร.ชัยวัฒน์ วิบูลย์สวัสดิ์  ท.ศ. ๐๔-๐๖
วันที่ ๙ มิถุนายน ๒๔๕๔ เวลา ๑๓.๓๐ น.
ณ.ห้องประชุมเทอดพระเกียรติ ร.ร. เทพศิรินทร์


     ด้วยโรงเรียนเทพศิรินทร์ร่วมกับโครงการเงินบริจาคเพื่อพัฒนาการศึกษาโรงเรียนเทพศิรินทร์ และสมาคมนักเรียนเก่าเทพศิรินทร์กำลังดำเนินการจัดทำพิพิธภัณฑ์เพื่อการศึกษาของโรงเรียนเทพศิรินทร์ขึ้น เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ และเผยแพร่เกียรติภูมิของโรงเรียนที่ยาวนานมาถึง ๑๒๕ ปีแล้ว  โดยจะสร้างขึ้นให้เป็นพิพิธภัณฑ์ยุคใหม่ที่ใช้สื่อหลากหลายชนิดในการเล่าเรื่อง และมีกำหนดจะเสร็จและเปิดให้ชมได้ในช่วงปลายปี ๒๕๕๕

     ดร.ชัยวัฒน์ วิบูลย์สวัสดิ์ หัวหน้าโครงการจัดทำพิพิธภัณฑ์เทพศิรินทร์จะบรรยายให้ทราบถึงโครงร่างเนื้อหาและแนวทางนำเสนอเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ของโรงเรียนในพิพิธภัณฑ์โดยแบ่งเป็นหัวข้อ ดังนี้ จุดกำเนิดจิตวิญญาณ  การปลูกฝังความรู้และจริยธรรม  การสร้างสรรค์ความสามารถ  Hall of Fame ความผูกพันกตัญญู และแรงบันดาลใจสู่อนาคต

      นอกจากนี้ดร.ชัยวัฒน์จะได้แสดงตัวอย่างของการศึกษาเชิงประวัติศาสตร์ของประวัติความเป็นมาของโรงเรียน อาทิ วิวัฒนาการระบบการศึกษาของโรงเรียน ความสัมพันธ์ของโรงเรียนเทพศิรินทร์กับสถาบันการศึกษาเก่าแก่ซึ่งจัดตั้งโดยรัชกาลที่ ๕ โดยเฉพาะโรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ และปัญหาข้อบกพร่องของทะเบียนรายชื่อนักเรียนเทพศิรินทร์ เป็นต้น   อันจะเป็นตัวอย่างให้เห็นถึงวิธีการที่จะนำเรื่องราวในพิพิธภัณฑ์มาใช้ประโยชน์ในการเรียนรู้

การบรรยายในวันนั้น เริ่มตั้งแต่เวลา 13.30 น. จนถึงราวๆ 16.30 น. แม้จะเป็นการบรรยายหลังอาหารกลางวัน แต่ผมฟังแล้วโรคเก่า (หนังท้องตึงหนังตาหย่อน) ก็มิได้กำเริบแต่ประการใด  ด้วยตัวท่าน ดร.ชัยวัฒน์ฯ ผู้บรรยาย ตลอดจนทีมงานที่สนับสนุนด้านข้อมูลได้ทำการบ้านกันมาอย่างละเอียดถี่ถ้วนเป็นอย่างดี  แม้กระนั้นก็ยังมีทีมงานบางท่านแอบกระซิบว่ายังมีการบ้านบางข้อที่ได้รับแจกมาแล้วยังหาคำตอบไม่ได้  ตัวผมเองก็เริ่มได้รับ “การบ้าน” มาบ้างเหมือนกัน แต่ยังไม่มีเวลาได้ช่วยอะไรท่าน  เนื้อหาการบรรยายทั้งหมดผมคงจำมาเล่ากันไม่หวาดไม่ไหว  (ขี้เกียจจดเองด้วยแหละครับ)  ขอเล่าเฉพาะบางประเด็นก็แล้วกันครับ

ประเด็นแรก เกี่ยวกับเอกลักษณ์ อุดมการณ์ หรือจิตวิญญาณของ “เทพศิรินทร์” ดังได้กล่าวในบทความที่แล้วและในตอนต้นของบทความนี้ว่า  ทีแรกผมยังนึกไม่ออกจริงๆ  ว่าความเป็น “เทพศิรินทร์” มันมีอะไรแตกต่างจากความเป็น “สวนกุหลาบ” หรืออะไรอื่นๆ  ในแบบที่แต่ละมหาวิทยาลัยเขามีกำเนิด ความมุ่งหมาย และอุดมการณ์บางอย่างแตกต่างกันหรือไม่  จากการที่ผมได้ย้อนกลับไปศึกษาประวัติของโรงเรียนเทพศิรินทร์เปรียบเทียบกับสวนกุหลาบโดยคร่าวๆ จากวิกิพีเดียแล้วมาฟังการบรรยายของ ดร.ชัยวัฒน์ฯ แม้โรงเรียนทั้งสองและโรงเรียนอื่นๆ ในรุ่นแรกๆ จะกำเนิดขึ้นจากการปฏิรูปการศึกษาในสมัยรัชกาลที่ 5 เช่นเดียวกัน  ทางสวนกุหลาบนั้น  แนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวฯ ในการพระราชทานกำเนิดในปีพ.ศ.2425 นั้นเป็นเรื่องของการให้การศึกษาแก่ “ลูกผู้ดี” หรือบุตรหลานของ “คนในวัง”  ส่วนการพระราชทานกำเนิด “เทพศิรินทร์” นั้น  อาจจะเรียกว่าครบทั้ง “วัง-วัด-บ้าน” คือ เดิมที ในปี พ.ศ. 2419 ได้โปรดเกล้าให้สร้างวัดเทพศิรินทราวาสขึ้นเพื่ออุทิศแก่สมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชชนนี  ต่อมาเมื่อวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2428 ได้มีการจัดตั้งโรงเรียนปริยัติธรรมบาลี ขึ้นภายใน วัดเทพศิรินทราวาส โดยช่วงแรกได้อาศัยศาลาการเปรียญภายในวัดเทพศิรินทราวาสเป็นที่ทำการเรียนการสอน  ถัดมาได้มีเจ้านายพระองค์ต่างๆ ได้มาร่วมสร้างอาคารเรียนหลังต่างๆ ให้กับโรงเรียนเทพศิรินทร์เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่สมเด็จพระเทพศิรินทร์ฯ และอุทิศส่วนกุศลให้กับผู้มีพระคุณต่างๆ  รายละเอียดขออนุญาตไม่กล่าวถึงเพื่อไม่ให้บทความนี้ยาวเกินไป  และอยากให้ท่านที่สนใจข้อมูลเพิ่มเติมได้ค้นคว้าต่อด้วยตนเอง  มากกว่าที่จะเขียนอะไรที่สำเร็จรูปแล้วก็ลอกกันไปลอกกันมาตามเว็บตามบล็อกต่างๆ จนไม่รู้ใครเป็นต้นฉบับ  กลับมาเรื่องประวัติโรงเรียนเทพศิรินทร์กันดีกว่าครับ  ไม่ว่าการที่พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 ท่านทรงสร้างวัดเทพศิรินทราวาสและโรงเรียนเทพศิรินทร์ หรือการที่เจ้านายต่างๆ ท่านทรงมาร่วมบริจาคเงินสร้างอาคารให้ลูกหลานประชาชนทั่วไปได้มีที่เล่าเรียนเพื่อเป็นบุญกุศลแก่บุคคลที่ท่านเคารพรักนั้น  ดร.ชัยวัฒน์ฯ ถือว่านี่คือจิตวิญญาณของเทพศิรินทร์ที่เรียกได้ว่า “จากความรักและความกตัญญูสู่การสร้างประโยชน์ต่อสังคม” ครับ

กำเนิดของเทพศิรินทร์แบบ “วัง-วัด-บ้าน” นี้  ทำให้โรงเรียนมีสถานที่ที่แน่นอนมาตลอด  ขณะที่ “สวนกุหลาบ” ที่ตั้งขึ้นมาเพื่อการศึกษาของชนชั้นสูงโดยเฉพาะกลับประสบปัญหาด้านสถานที่  ต้องเคลื่อนย้ายกระจัดกระจายไปตามที่ต่างๆ รวมถึงส่วนหนึ่งที่มาเรียนร่วมกับพวกเราชาวเทพศิรินทร์ด้วย  เทพศิรินทร์ได้กลายมาเป็นสถานศึกษาของชนทุกชั้น  ศิษย์เก่ามีตั้งแต่ระดับสูงสุด คือ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล  ผู้นำต่างประเทศอย่างตนกู อับดุล รามาน  มีศิษย์เก่าเป็นเชื้อพระวงศ์ตั้งแต่พระองค์เจ้ามาจนถึงหม่อมหลวง  บุคคลจากทุกสาขาอาชีพ  ในรุ่นผมมีเพื่อนทั้งที่เป็น หม่อมหลวง ลูกบุคคลระดับนักธุรกิจหรือคหบดียันพ่อค้าแม่ค้า  คนหนึ่งเป็นลูกแม่ค้าขายไข่ไก่  อีกคนพ่อเป็นคนมีฐานะในต่างจังหวัดส่งลูกมาเป็น “เด็กวัด” เพื่อความสะดวกในการเดินทางมาเรียน  รายหนึ่งมาจากสุพรรณ  เพื่อนฝูงล้อเรื่องสำเนียงเหน่อมาตลอด  อีกคนเป็นอิสลามที่เพื่อนฝูงล้อเลียนเรื่องไม่กินหมูมาตลอดโดยไม่เคยมีการตอบโต้ด้วย “คาร์บอมบ์” แต่ประการใด  ฯลฯ  โรงเรียนเทพศิรินทร์จึงเปรียบเสมือนแจกันดอกไม้บูชาพระที่เต็มไปด้วยดอกไม้หลากสีนานาพันธุ์  แม้กระทั่ง “ดอกกุหลาบ” ยังเคยปักอยู่ในแจกันเดียวกันนี้  แต่จะมี “ใบเฟิร์น” ด้วยหรือเปล่าก็สุดแล้วแต่การตีความ  ที่ใกล้เคียงกว่าคงจะเป็นเนื้อเพลงท่อนสุดท้ายของเพลง “แจกันรัก” ที่ผมนำมาเสนอไว้ในตอนต้นบทความ  ก็ได้เฉลยกันซะทีว่าทำไมผมถึงขึ้นต้นบทความด้วยกลอนเพลงดังกล่าว


ศิษย์เก่าท่านหนึ่งแสดงความคิดเห็นตอนท้าย

เรื่องของกระดานทอง  พูดถึงการที่นักเรียนสวนกุหลาบเคยมาเรียนร่วมกับโรงเรียนเทพศิรินทร์  มีประเด็นต่อเนื่องที่เคยเกริ่นไว้ในบทความคราวที่แล้ว  คือเรื่องบุคคลที่มีชื่อเสียงที่เกิดความสับสนว่าเป็นศิษย์สวนกุหลาบหรือเทพศิรินทร์กันแน่  ผมหมายถึงรายชื่อนักเรียนดีเด่นที่ได้รับการจารึกชื่อไว้ในกระดานทองของโรงเรียน  ซึ่งเราเคยเชื่อกันง่ายๆ ว่าเมื่อกระดานอยู่กับโรงเรียนเทพศิรินทร์ก็ต้องเป็นนักเรียนเทพศิรินทร์  แต่จากการศึกษาค้นคว้าของดร.ชัยวัฒน์และทีมงาน  พบหลักฐานค่อนข้างแน่ชัดว่า  กระดานทองนั้นเป็นสิ่งที่โรงเรียนสวนกุหลาบนำติดมาด้วยในช่วงประสบปัญหาสถานที่เรียน  และพิสูจน์ได้ว่าผู้มีชื่อในกระดานทองรุ่นแรกๆ นั้นเป็นนักเรียนสวนกุหลาบ  ความเห็นเช่นนี้ดร.ชัยวัฒน์ฯ กล่าวว่าเป็นผลให้ศิษย์เก่าเทพศิรินทร์บางท่านไม่ยอมรับและไม่ยอมมาร่วมสังฆกรรมกับท่าน  เรื่องนี้ผมได้แสดงความเห็นไว้ในตอนท้ายการบรรยายของท่านไว้แล้วว่า  เรื่องของหลักฐานประวัติศาสตร์แม้แต่ในประวัติศาสตร์ระดับประเทศที่เราเคยเชื่อถืออย่างพระราชพงศาวดารนั้น  เมื่อระยะเวลาผ่านไป  มีการค้นพบหลักฐานใหม่ๆ มีแนวคิดการวิเคราะห์ใหม่ๆ เพิ่มขึ้นมา  ความเชื่อหรือความรู้เดิมๆ ก็สามารถเปลี่ยนแปลงได้  และแม้ว่าจะมีความเห็นใดๆ ไม่ตรงกันจริงๆ  ก็ไม่น่าที่จะปล่อยให้เป็นอุปสรรคในการทำงานร่วมกัน  ซึ่งดร.ชัยวัฒน์ฯ เองกล่าวว่าในประเด็นที่ยังคงมีความเห็นไม่ตรงกันเช่นนี้  ก็จะไม่มีการบันทึกไว้ในพิพิธภัณฑ์แบบตามใจท่านแต่ฝ่ายเดียว  โดยจะให้เห็นว่าเป็นเรื่องที่ยังคลุมเครืออยู่

นอกจากประเด็นในการบรรยายแล้ว  เรื่องที่ควรจะถ่ายทอดเล่าสู่กันฟังหน่อยก็เป็นเรื่องของบรรยากาศในงานครับ  มีผู้เข้ามาร่วมฟังการบรรยายกันค่อนข้างจะพอดีห้อง  ไม่โหรงเหรงแต่ก็ไม่ถึงกับแน่น  มีทั้งนักเรียนปัจจุบัน  ศิษย์เก่าบางคนจากบางรุ่น  ผู้อำนวยการและคณาจารย์ปัจจุบัน  และที่สำคัญคืออาจารย์เก่าๆ อีกหลายท่านทั้งที่เคยสอนผมและที่สอนห้องอื่นแต่ยังได้ทันเห็นหน้ากัน  (หากเอ่ยชื่อไม่ครบหรือจำนามสกุลไม่ได้บ้างก็ขออภัย) ได้แก่ อาจารย์ยุพดี อาจารย์เกษมศรี กู้เกียรติ  อาจารย์ยุราภรณ์  อาจารย์สมใจ นุชนาง  อาจารย์บุญเลิศ เนียมสวัสดิ์ อาจารย์ดวงกมล  เป็นต้น  ซึ่งผมได้พยายามหาจังหวะไปยกมือไหว้ทักทายแทบจะทุกท่าน


ดร.ชัยวัฒน์ฯ รับดอกไม้แทนกำลังใจจากบรรดาผู้ฟัง

ด้านอาจารย์และศิษย์ปัจจุบันนั้น  มีอาจารย์สุภาพสตรีท่านหนึ่งที่ยังอยู่ในวัยสาว  บังเอิญผมได้ยินคำหนึ่งที่เธอพูดกับเพื่อนแบบขำๆโดยเรียกกลุ่มนักเรียนที่เธอคงจะเป็นครูประจำชั้นว่า “ลูกๆ เราทั้งนั้น”

ลองนึกถึงอนาคตในอีกหลายๆ ปีข้างหน้า  เมื่อ “ลูกๆ” ประสบความสำเร็จแล้วกลับมาไหว้เธอในยามที่เธออายุมากขึ้นเหมือนที่ผมและใครอีกหลายคนกลับมายกมือไหว้อาจารย์ในวันสำคัญของโรงเรียนเช่นนี้  ความเป็นสถาบันการศึกษามันขลังเช่นนี้เองครับ




บทความเสริมความรู้ทั่วไป

ร้อยตำรวจเอกธรณิศ ศรีสุข ยอดวีรบุรุษ ตชด. วันที่ 02/07/2010   21:44:35
Robinson Crusoe 1997 - ความเป็นมนุษย์ วันที่ 26/05/2012   10:55:36
พงศาวดารมอญพม่า จาก ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ ๑ วันที่ 21/04/2012   10:42:18 article
พระนเรศวรฯ กับเมืองละแวก ใน พงศาวดารละแวก ฉะบับแปล จ.ศ. ๑๑๗๐ วันที่ 21/04/2012   10:43:01 article
Beau Brummell: The Charming Man 2006 หนุ่มเจ้าสำอาง วันที่ 24/09/2015   22:37:44
เรื่องของฮิตเลอร์ และ เอวา บราวน์ วันที่ 24/09/2015   22:37:10
Fanny Hill การผจญภัยในโลกีย์ วันที่ 24/09/2015   22:36:45
The Marriage of Figaro วิวาห์ฟิกาโร วันที่ 24/09/2015   22:36:10
แนะนำบทความประวัติศาสตร์ที่ simple.wikipedia.org วันที่ 21/04/2012   10:44:07 article
ยศและเครื่องหมายยศทหารเยอรมันสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 (Wehrmact Heer & Waffen SS) วันที่ 21/04/2012   10:47:26 article
ประวัติศาสตร์กับภาษาต่างประเทศ วันที่ 21/04/2012   10:50:53 article
หลักฐานประวัติศาสตร์และการวิเคราะห์หลักฐานประวัติศาสตร์ วันที่ 21/04/2012   10:51:49 article
MP40 กับ PPSh-41 และปืนกลมืออื่นๆ อีก 3 แบบ วันที่ 21/04/2012   10:54:27 article
คลีโอพัตรา ตอนที่ 4 : ฟาโรห์องค์สุดท้ายของอียิปต์ - ผู้หญิงที่โลกไม่มีวันลืม (สรุป) วันที่ 09/01/2011   19:31:10
มิติของเวลาในประวัติศาสตร์ วันที่ 27/02/2009   22:33:10
แล้วผมต้องทำอะไรกับประวัติโรงเรียนเทพศิรินทร์? วันที่ 21/04/2012   10:53:38 article
นางเอกอมตะตลอดกาล 25 คนแรก ของฮอลลีวู้ด (1) วันที่ 14/05/2012   21:45:30
เมื่อ Don Quixote de Lamancha ปะทะ เล่าปัง (2) วันที่ 14/05/2012   21:44:31
เมื่อ Don Quixote de Lamancha ปะทะ เล่าปัง วันที่ 14/05/2012   21:43:48
ภาพยนตร์รัสเซีย "Battle of Kursk" ศึกรถถังที่ใหญ่กว่า "Battle of the Bulge" วันที่ 21/04/2012   11:00:38 article
อธิบายเบื้องต้นเกี่ยวกับคำศัพท์หน่วยทหาร วันที่ 21/04/2012   11:01:41 article
"บางระจัน่" จากพระราชพงศาวดาร 2 ฉบับ วันที่ 05/05/2012   09:30:38 article
ราชทูตปรัสเซียเยือนสยามสมัยร.๔ ก้าวแรกสัมพันธ์ไทย-เยอรมัน วันที่ 21/04/2012   11:08:02 article
พระราชดำรัสเนื่องในเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ 20 พฤษภาคม 2535 วันที่ 05/05/2012   09:40:33 article
ทดสอบการแปลยศทหารบกจากภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทยด้วยโปรแกรมพจนานุกรมดิจิตอล วันที่ 05/05/2012   10:17:45 article
ตำราพิชัยสงครามของไทย วันที่ 10/05/2012   11:22:47
ภาพตัวอย่างเครื่องแบบทหารเยอรมันสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 วันที่ 05/05/2012   10:16:51 article
"ไทยรบเขมร" ใน "ไทยรบพม่า" วันที่ 05/05/2012   10:13:48 article
อวสาน บิสมาร์ค วันที่ 10/05/2012   11:26:55
ชีวประวัติกับประวัติศาสตร์ วันที่ 05/05/2012   10:04:25 article
สืบเนื่องจาก "ELSID" วันที่ 14/05/2012   21:41:48
เจงกิสข่าน ผู้ยิ่งใหญ่ (2) วันที่ 14/05/2012   21:40:37
เจงกิสข่าน ผู้ยิ่งใหญ่ วันที่ 14/05/2012   21:39:44
เจ้าพ่อเซี่ยงไฮ้ วันที่ 14/05/2012   21:38:54
การรบแห่งสตาลินกราด วันที่ 10/05/2012   11:28:24
Bangkok mean time เวลามาตรฐานชาติแรกของโลก ณ พระที่นั่งภูวดลทัศไนย วันที่ 10/05/2012   11:30:18
เครื่องบินรบไทยในสงครามอินโดจีน วันที่ 10/05/2012   11:37:11
Little Boyและfatman คู่หูมหาปลัย วันที่ 10/05/2012   11:34:40
BATTEL OF MIDWAY ยุทธนาวีทางอากาศที่เกาะมิดเวย์ จุดเปลี่ยนสงครามแปซิฟิค วันที่ 21/08/2010   22:07:52
พลูโตในยุคสมัยต่างๆ (www.horauranian.com) วันที่ 29/09/2008   21:37:10
กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ ผู้ตั้งชื่อ "เดือน" ของไทย วันที่ 00/00/0000   00:00:00
ความเป็นมา วันสตรีสากล ๘ มีนาคม และ ผู้ให้กำเนิดวันสตรีสากล วันที่ 08/03/2014   08:50:05
คลีโอพัตรา ตอนที่ 1: ราชินีสาว นางพญาแห่งลุ่มแม่น้ำไนล์ ฟาโรห์องค์สุดท้ายของอิยิปต์ และผู้หญิงที่สวยที่สุดในประวัติศาสตร์ วันที่ 09/01/2011   19:31:53
ร้อยเอกวัฒนชัย คุ้มครองเหรียญกล้าหาญสมรภูมิบ้านร่มเกล้า วันที่ 21/08/2010   22:08:31
พันโททวี ปูรณโชติ ขุนศึกแห่งลุ่มน้ำซุยคา วันที่ 21/08/2010   22:09:01
พันโทเจริญ ทองนิ่ม วีรบุรุษพลร่ม วันที่ 21/08/2010   22:09:29
เรือเอกประทีป อนุมณี "ประดู่เหล็กแห่งดูซงญอ" วันที่ 21/08/2010   22:09:57
วีรกรรมดอนแตง วันที่ 21/08/2010   22:10:41



1

ความคิดเห็นที่ 1 (101618)
avatar
๘๙๓๑

อ่านตอนท้านแล้วขนลุก  ด้วยความตื้นตันใจ

เมื่อผมลาอาจารย์สายสวาท  รัตนทัศนีย์  อาจารย์วิชาภาษาไทย  เพื่อไปเรียนทหาร  ได้แต่งวสันตดิลก ลาท่าน  ยาวอยู่  น่าเสียดายว่าไม่ได้บันทึกไว้  แต่จำได้บทหนึ่งว่า

      อาจารย์ประดุจชนนี        ณ สรีดนูเป็น

ดั่งนี้เพราะอาจริยเข็น            ดนุฤๅจะรู้เอง                            ครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น ๘๙๓๑ (samphan_chaeng-at-hotmail-dot-com)วันที่ตอบ 2011-06-13 09:49:20


ความคิดเห็นที่ 2 (101641)
avatar
โรจน์ (Webmaster)

พูดถึง "เทพศิรินทร์" โรงเรียนตัวเองมาเยอะแล้ว  พอดีช่วงนี้เห็นข่าวทาง Facebook มาว่า เพื่อนๆ และพี่น้องชาวสวนกุหลาบกำลังจะจัดงาน “มหัศจรรย์รำลึก ตึกยาว ๑๐๐ ปี คนสร้างตึก ตึกสร้างคน คนสร้างชาติ” ขึ้น ในวันเสาร์ที่ 25 มิถุนายน 2554 นี้  ก็ขออาสาประชาสัมพันธ์ด้วยอีกแรง  รายละเอียดชมได้ที่ http://www.facebook.com/ilovelongbuilding?sk=app_4949752878 ครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น โรจน์ (Webmaster) (webmaster-at-iseehistory-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2011-06-21 20:21:36



1


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.
| WW II Europe | WW II Asia | WW I | Vietnam War | ประวัติศาสตร์ไทย | บทความจากสมาชิก | คุยกันหลังฉาก | บทความทั้งหมด |

สนใจร่วมเขียนบทความในเว็บไซต์ เชิญอ่าน แนวทางการร่วมเขียนบทความ ภาพยนตร์ประวัติศาสตร์

Custom Search



eXTReMe Tracker