dot
dot
เว็บภาพยนตร์ประวัติศาสตร์ ยินดีต้อนรับผู้สนใจทุกท่าน
dot
dot
สมาชิก Webboard/Blog
ชื่อผู้ใช้ :
รหัสผ่าน :
เข้าสู่ระบบอัตโนมัติ :
bullet ลืมรหัสผ่าน
dot
bulletข้อตกลงการเป็นสมาชิก
bulletเว็บบอร์ด-คุยกันหลังฉาก
bulletเว็บบอร์ด-Games ย้อนยุค
bulletเว็บบอร์ด-ชุดจำลองประวัติศาสตร์
bulletเว็บบอร์ด-หนังสือประวัติศาสตร์
bulletเว็บบอร์ด-เพลงประวัติศาสตร์
bulletคำถาม/คำตอบ ล่าสุด
bulletแนวทางการร่วมเขียนบทความ
dot
สงครามโลกครั้งที่ 2
dot
bulletสมรภูมิยุโรป (สัมพันธมิตรVSเยอรมัน-อิตาลี)
bulletสมรภูมิแปซิฟิก-เอเชีย (สัมพันธมิตรVSญี่ปุ่น)
dot
ภาพยนตร์ประวัติศาสตร์อื่นๆ
dot
bulletสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง
bulletประวัติศาสตร์ไทย
bulletประวัติศาสตร์อเมริกันยุคเริ่มแรก
bulletสงครามเวียดนามและอินโดจีน
bulletตะวันตกโบราณ (กรีก โรมัน ฯลฯ)
bulletประวัติศาสตร์ร่วมสมัย
bulletเอเชียโบราณ
bulletประวัติศาสตร์อื่นๆ (ยังไม่แยกหมวดหมู่)
bulletคลิปความรู้จาก YouTube
dot
บทความโดย วิวันดา
dot
bulletฮิตเล่อร์...และเหล่าขุนพลแห่งอาณาจักรไรค์ซที่สาม
bulletลอดลายรั้ว.....วินด์เซอร์
bulletเลิศเลอวงศา...โรมานอฟ
bulletเชลย
bulletซูคอฟ...ยอดขุนพลผู้ดับฝันของฮิตเล่อร์
dot
บทความโดย สัมพันธ์
dot
bulletคนไทยในกองทัพพระราชอาณาจักรลาว
bulletประวัติศาสตร์สงคราม กรีก
bulletกรณีพิพาทอินโดจีนและสงครามมหาเอเชียบูรพา
bulletอยุธยายศล่มแล้ว ลอยสวรรค์ ลงฤา
bulletฮานนิบาล
bulletพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบรมวงศานุวงศ์
bulletไทยกับมหาสงคราม
bulletสงครามเวียดนาม
bulletห้วยโก๋น ๒๕๑๘
bulletการทัพในมลายา
bulletประวัติศาสตร์อื่น ๆ
dot
เรื่องอื่นๆ
dot
bulletบทความเสริมความรู้ทั่วไป
bulletเกร็ดเล็กเกร็ดน้อย
bulletผู้จัดทำ
bulletผังเว็บไซต์ (Site Map)
bulletแนวทางการร่วมเขียนบทความ
bulletถาม-ตอบ (FAQs) (โปรดอ่านก่อนตั้งกระทู้หรือสมัครสมาชิก)
bulletร้านค้าออนไลน์
bulletแบ่งปัน Album
dot
ลิงค์ต่างๆ
dot
bulletHistory on Film
bulletกองบิน 21 กองพลบิน 2
bulletIELTS British Council
bulletIELTS IDP
bulletMUIC




โหราศาสตร์ยุคไอที



ลอดลายรั้ว.....วินด์เซอร์ ตอนสาม
วันที่ 16/02/2020   18:52:54

ขอเรียนให้ทราบอีกครั้งว่า เรื่องลอดลายฯ..นี้จะยาวมาก..เพราะจะเล่าเรื่องที่เกี่ยวกับการเริ่มต้นของราชวงค์
    วินด์เซอร์ พระราชประวัติของสมเด็จพระนางเจ้าอลิซาเบธ จนถึงเรื่องส่วนพระองค์ในครอบครัวกับพระสวามี พระโอรส พระธิดา ตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์ จนกระทั่ง...ถึงปัจจุบัน

    ที่สำคัญคือ หลังจากที่น้องๆหลานๆได้อ่านเรื่องราวของชาววินด์เซอร์ทั้งหมดแล้ว ก็จะโยง..เล่าเกี่ยวกับเจ้าฟ้าชาย
    ชารลส์และเจ้าหญิงไดอะน่าอีกมุมหนึ่งอีกครั้ง..
    คราวนี้..ทุกคนก็จะเข้าใจดีขึ้นว่า..กำแพงประเพณีและมณเฑียรบาลที่เจ้าหญิงไดอะน่าคิดอยากจะทะลายลงเพื่อให้เหลือแต่ครอบครัวเล็กๆของพระองค์ที่มีแค่ สามีที่รักและคอยพะเน้าพะนอเอาอกเอาใจภรรยาเด็กสาว
    อย่างชี้นกเป็นไม้ ชี้ไม้เป็นนก และมีลูกๆที่นึกจะพาไปเที่ยวตามดิสนี่ย์แลนด์หรือสวนสนุกเหมือนอย่างชาวบ้านชาวช่องนั้น ...เป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้
    อีกทั้งภาพของกลุ่ม"คณะสูทสีเทา" ที่คอยเป็นตัวสกัดความรุ่งของสองศรีสะใภ้วินเซอร์ เจ้าหญิงไดอะน่า กับ เฟอร์กี้ ดัชเชส ออฟ ยอร์ค จะเด่นชัดนั้น จนรู้ว่าพวกเขาคือใครเชียว..   



    ในการเรียบเรียงประกอบเข้าด้วยกันครั้งนี้..ตัวเองมองเห็นผลหลายทางที่จะเกิดขึ้นกับกลุ่มผู้ที่สนใจเรื่องการอ่าน กับกลุ่มผู้ที่สนใจเรื่องเจ้าๆนายๆ
    สำหรับกลุ่มแรกนั้น..จะได้เข้าใจภาพโดยรวมดีขึ้น ไม่ปล่อยให้"สื่อ" พาเข้ารกเข้าพง
    และ สำหรับกลุ่มที่สอง..ก็มีผลพลอยได้ที่จะได้รู้เรื่องความเป็นไปในบ้านเมืองและเจ้านายของอังกฤษหลังสงครามโลกจะได้ลองเอามาเปรียบเทียบกับบ้านเราดู..

    อ้อ ขอเล่าแถมนิด ถึงเรื่องความหยิ่งในศักดิ์ศรีแห่งตัวเองของนักการเมืองอังกฤษอย่าง วินสตัน เชอร์ชิลล์ ..
    คือเมื่อตอนที่หลังสงครามหมาดๆ อังกฤษก็ได้ถึงวาระการเลือกตั้งใหม่ ปี 1945 คราวนี้..เกิดการพลิกล๊อคอย่างจัง ที่เชอร์ชิลล์ ผู้ที่สามารถเอาชนะฮิตเล่อร์ได้นั้น..กลับไม่ได้แรงใจจากชาวประชาบริตัน...เขาไม่ได้รับเลือกตั้ง
    นายคละเม้นต์ แอททลี (Clement Attlee) พรรคกรรมกรได้มาเป็นนายกรัฐมนตรีแทน
    พระเจ้ายอร์จที่หกจึงได้ทำการปลอบขวัญโดยการที่จะประทานแต่งตั้งให้เป็นอัศวิน พร้อมกับจะมอบเครื่อง
    ราชอิสสริยาภรณ์สูงสุด คือ the Order of the Garter แต่..วินสตัน เชอร์ชิลล์ ปฏิเสธอย่างไม่ใยดี เขากราบบังคมทูลว่า
    "ในเมื่อประชาชนได้สิ้นศรัทธาในตัวหม่อมฉัน..หม่อมฉันจึงไม่อาจคู่ควรกับเกียรติยศสูงสุดในครั้งนี้พะยะค่ะ"
    เจ้าฟ้าหญิงอลิซาเบ็ธจึงได้ตรัสขึ้นว่า..
    "ถ้าคุณเชอร์ชิลล์ได้เป็นนายกรัฐมนตรีอีกครั้งในยามที่ฉันเป็นพระราชินี..ฉันจะแต่งตั้งให้คุณเป็นอัศวินคนแรก.."
    พระองค์ได้ทรงทำตามสัญญาดังที่ได้ตรัสไว้ ในเดือน เมษายน 1953 ที่เชอร์ชิลล์ได้กลับมาดำรงตำแหน่งนายกอีกครั้ง..เขาได้รับการสถาปนาให้เป็นอัศวินคนแรกของพระองค์จริงๆ

    และก็เพราะมันยาวหนักหนานี่แหละ..คนเขียนจึงพยายามเขียนให้ตัวเองสนุกในสำนวนที่ตัวเองถนัด..ไม่สามารถที่จะเขียนอย่างรายงานวิชาการได้ เพราะมันน่าเบื่อ
    หวังว่าคงเข้าใจและอย่าถือสานะคะ ถ้าเจอกับภาษาที่ออกแนวโจ๋ๆหน่อย

   
     

   

            

            เมื่อเทียบพื้นฐานที่มาของคนสองคนนี้แล้ว จะเห็นได้ว่ามีความแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง
            เจ้าฟ้าหญิงอลิซาเบธ ทรงเป็นสาวพรหมจารี เป็นพระธิดาของพระมหากษัตริย์ที่ได้รับการเลี้ยงดูมาอย่างประคบประหงม
            ไม่เคยได้รับรู้โลกภายนอกมากนัก ไม่มีเพื่อน ไม่เคยไปโรงเรียนเยี่ยงเด็กธรรมดาสามัญ การรอบรู้ของพระองค์นั้นจัดอยู่ในแวดวงจำกัด ที่เชี่ยวชาญก็เห็นจะเป็นเรื่องของการสืบสายสันตติวงค์ กับการโยงญาติสายตระกูล
            ไม่ทรงสนพระทัยในเรื่องของวิทยาศาสตร์หรือการคำนวนมากนัก แต่ก็ทรงใช้ภาษาฝรั่งเศสได้อย่างแคล่วคล่อง
            ไม่ทรงโปรดเรื่องการใช้ภาษาเวียนวนของกวีต่างๆ
            และไม่ปลื้มกับผลงานของจิตรกรชื่อดังไม่ว่าคนไหนทั้งสิ้น อย่างเช่น..ครั้งหนึ่ง พระองค์ทรงเคยถามกับคนใกล้ชิดว่า..
            "ดังเต้นี่..เป็นชื่อม้าพันธ์ไหนกันนะ {Dante คือ นักประพันธ์อิตาเลี่ยนชื่อดังในสมัยกลางที่ใครๆก็ต้องรู้จัก จากวรรณคดีชิ้นเอก The Divine Comedy}"
            และเมื่อมีคนทูลว่า ไม่ใช่ม้า พระองค์จึงถามต่อว่า
            "ไม่ใช่ม้า..งั้นก็คงเป็นจ๊อคกี้ซินะ"
            เพราะโลกของพระองค์นั้น..ถ้าต่างไปจากเรื่องม้าแล้ว..ทรงไม่สนพระทัยเลย..ไม่เคยเดินทางออกนอกประเทศมาก่อน นอกจากครั้งที่ไปอาฟริกาใต้นั้นคือ ครั้งแรก..

            เจ้าฟ้าหญิงมักหวาดพระทัยเสมอยามที่ต้องต้อนรับแขกบ้านแขกเมือง เพราะพระองค์ไม่รู้ว่าจะต้องสานต่อการสนทนาไปได้อย่างไร ถึงกับเคยออกพระโอษฐ์กับครอว์ฟี่ พระพี่เลี่ยงว่า
            "ฉันกลัวจริงๆนะ เวลาที่ต้องนั่งติดกับใครก็ไม่รู้เวลาดินเนอร์งานเลี้ยงเนี่ย..กลัวว่าจะไม่รู้เรื่องว่าเขาพูดกันถึงเรื่องอะไร"

            ส่วนเจ้าชายฟิลิป..นั้นไม่ต้องพูดถึง พระองค์ได้รอนแรมเดินทางไปทั่วเจ็ดคาบสมุทร ด้วยกระเป๋าเก่าๆเพียงใบเดียว พูดจาโผงผาง ลื่นไหลไปได้กับทุกสถานะการณ์
            การเล่าเรียนก็ผ่านมาหลายต่อหลายโรงเรียนจนมาจบโรงเรียนายเรือ
            เพราะความพูดจาตรงไปตรงมาของเจ้าชายฟิลิปนี่แหละ ที่เคยทรงยอมรับอย่างตรงๆ (ในตอนไม่กี่ปีมานี่) ว่า ความจริงพระองค์ก็มีความรู้แค่หางอึ่ง เมื่อคราวที่ทรงได้เสด็จไปรับปริญญาดุษฏีบัญฑิตกิติมศักดิ์ ที่มหาวิทยาลัยนิวเดลลี ประเทศอินเดีย ว่า
            "ถ้าจะว่ากันจริงๆนะ ปริญญาที่มีอยู่ทั้งหลายแหล่ในบ้าน...ล้วนแล้วแต่เป็นปริญญารับแจกทั้งนั้น"
            พระองค์ได้มาขยายความต่อมา..ต่อหน้าเหล่านักศึกษาของมหาวิทยาลัย แห่ง เวลส์ ว่า..
            "ในสมัยฉัน..บ้านเมืองไม่เคยสงบ มีสงครามติดพันมาตลอด การศึกษาได้หยุดชะงักไปในปี 1939 จนถึง ปี 1945 มันก็เลยขาดๆหายๆไป ฉันก็เป็นส่วนหนึ่งของพวกที่
            อยากเรียนแต่ไม่มีโอกาสเพราะภาวะดังที่กล่าวมานี่แหละ"

            (และเมื่อสองพระองค์ทรงเสด็จไปรับปริญญากิติมศักดิ์อีกครั้งที่มหาวิทยาลัย แห่ง ลอนดอน ไม่นานมานี้.. สมเด็จพระราชินีได้ทรงสุนทรพจน์ว่า..นี่คือรางวัลที่แสนมีค่า..ที่เราได้มาอย่างไม่คาดหวัง เพราะเราทั้งสองไม่เคยได้มีโอกาสได้สัมผัสกับชีวิตของการเป็นนักศึกษาในรั้วมหาวิทยาลัยเลย)

            
            ส่วนพระเจ้ายอร์จที่หกพระองค์เองก็มิได้ตระหนักในความด้อยของพระธิดาในสิ่งเหล่านี้นัก เพราะจากข้อความด้วยลายพระหัตถ์ในสมุดไดอะรี่ส่วนพระองค์ ได้ทรงรำพันไว้ว่า
            "ถ้าลูกหญิงใหญ่ออกเรือนไป..ใครเล่าจะเล่นเกมส์เป็นเพื่อนกับพ่อ และวงดนตรี"เราทั้งสี่" ก้ต้องขาดนักร้องไปอย่างน่าเสียดาย"

            ในงานวันอภิเษก..พระองค์ได้ทรงขยับลุกขึ้นเพื่อดื่มถวายพระพร โดยสายพระเนตรได้จ้องจับไปที่พระธิดาแต่เพียงจุดเดียว มิได้สนพระทัยในตัวเจ้าบ่าวเลย ทรงตรัสสั้นๆว่า
            "เพื่อความสุขของลูกหญิงใหญ่ที่รักของพ่อ"
            และในสองสามวันต่อมา..ได้ทรงพระราชเลขาไปถึงใจความว่า..
            "ขณะที่พ่อพาลูกเดินไปในพิธีที่พระวิหารเวสต์มินสเตอร์นั้น..พ่อรู้สึกใจหายอย่างบอกไม่ถูก แต่ก็มีความภาคภูมิใจนักที่ลูกของพ่อสวยและวางองค์ได้สง่างามอย่างเหลือเกิน
            ตลอดเวลาในการทำพิธี..ลูกได้ปฏิบัติตามอย่างถูกต้องมิมีอะไรได้ขาดหายตกหล่น..ทำให้พ่อรู้สึกสบายใจขึ้นที่ได้เห็นลูกหญิงของพ่อเป็นผู้ใหญ่เต็มตัวในคราวนี้
            พ่อและแม่ดีใจยิ่งนักที่ลูกได้เข้าใจว่า การที่เราต้องให้ระยะเวลาพิสูจน์ความรักให้เนิ่นนานอย่างที่เป็นอยู่นั้นเป็นสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับตัวลูกเอง ไม่ใช่เป็นเพราะพ่อหวงลูกสาวอย่างไม่มีเหตุผล
            อีกทั้งเป็นเพราะพ่ออยากให้ลูกได้ไปปฏิบัติภาระกิจที่พึงกระทำที่อาฟริกาใต้ก่อน..ตามที่เราได้เคยคุยกันไว้
            ครอบครัว"เราทั้งสี่"ของเรา ต้องรักกันให้เหนียวแน่นเข้าไว้นะลูก
            พ่อเฝ้ามองดูการเจริญเติบโตของลูกในความดูแลอย่างใกล้ชิดของแม่ผู้ซึ่งเป็นคนที่วิเศษสุดในสายตาของพ่อ
            และพ่อมั่นใจเสมอว่า..ลูกหญิงใหญ่ของพ่อต้องรักษา
            ราชบัลลังค์ให้มั่นคงสถาพรได้เป็นอย่างดี โดยมีฟิลิปอยู่เคียงข้างคอยให้กำลังใจ
            การแยกออกเรือนของลูกครั้งนี้..เราทั้งหมดได้รู้สึกเหมือนส่วนหนึ่งของชีวิตได้ขาดหายไป อย่าไปแล้วไปลับนะลูก คิดถึงและกลับมาเยี่ยมเยียนพวกเราบ้าง .."

            จากพ่อที่รักและยอมทำทุกอย่างเพื่อลูก

            ปาปา

           

            ฉากงานอภิเษกขอข้ามไปนะคะ เพราะไปหาดูเอาได้จากช่อง History ที่บางทีก็นำเอามาฉายให้ชมกัน...

 



            หลังจากการอภิเษกได้สองสามเดือน เจ้าชายฟิลิปได้บ่นพึมกับเพื่อนๆว่า เจ้าหญิงทรงติดใจในรสเสน่หาที่ไม่เคยได้ลิ้มรสมาก่อน ถึงกับไม่ยอมห่างไปจากพระที่
            เรื่องการกินในที่ลับแล้วมาไขในที่แจ้งนี้ง..เกิดขึ้นในปี 1948 ที่เจ้าชายฟิลิปได้เสด็จไปฝรั่งเศสแต่ลำพังกับพระญาติสนิท เดวิด (ที่เป็นเพื่อนเจ้าบ่าว) ส่วนเจ้าฟ้าหญิงยังคงประทับอยู่ที่อังกฤษ
            เจ้าชายและเดวิดได้เดินทางต่อไปถึงโมนาโคและพำนักกับเพื่อนไฮโซชาวอังกฤษที่อพาร์ตเม้นท์กลางกรุง
            และจากการที่บ่นออกมาดังๆจนใครต่อใครได้ยินนั้น ทำให้ทุกคนเกิดอาการตกใจแบบคาดไม่ถึง แม้แต่เดวิด ญาติสนิทยังต้องปรามออกมาว่า
            "ลูกผู้ชายชาตินักรบจริงๆน่ะ ต้องไม่นินทาคู่ต่อสู้นะ..อย่าลืมซิ"
            พยานที่ได้ยินข้อความนี้อีกคนหนึ่งคือ ดยุค ออฟ ลีดส์ (Duke of Leeds) ถึงกับโวยว่าเป็นสิ่งที่ไม่สมควรพูดอย่างยิ่ง และ..ดยุคได้บอกว่า
            "ใครต่อใครต่างก็รู้กันทั้งนั้นแหละ ว่า ฟิลิปน่ะปากไม่ดี ไม่ค่อยมีมารยาทเท่าไหร่" ส่วนลูกเขยของท่านดยุค คือนาย นิเกล เดมปสเตอร์ ที่มีอาชีพเป็นนักเขียนบทความประจำสำนักพิมพ์ เดลี่ เมล์
            ได้เล่าขยายความต่อมาในที่หลังว่า..
            "ไม่ใช่ว่า เจ้าชายฟิลิปพูดจาโกหกพกลมหรอกนะ ..หากแต่เป็นคนพูดตรงเกินไปต่างหาก แม่ยายผมน่ะ ท่านทนฟังไม่ได้เชียว ที่ว่าเจ้าหญิงที่สุดเคารพและสุดบูชาของท่านถูกกล่าวหาว่าเป็นหญิงเซ๊กซ์จัด"

            แต่ความปากโป้งแบบห่ามๆของเจ้าชายก็ถูกประชาชนพร้อมใจกันยกโทษให้ในฤดูร้อนของปีนั้นเอง ทันทีที่มีแถลงการจากสำนักพระราชวังลงวันที่ 4 มิถุนายน 1948 ออกมาว่า เจ้าฟ้าหญิงอลิซาเบธ มกุฏราชกุมารี งดเสด็จออกงานไปถึงหกเดือนจากนี้ ...
            ตามใจความถึงแม้จะไม่บอกถึงสาเหตุอย่างโจ่งแจ้ง
            แต่ทุกคนก็ทราบกันดีว่ากำลังทรงครรภ์ ซึ่งเป็นข่าวที่น่า
            ปิติยินดีเสียหนักหนา
            ยิ่งเมื่อถึงกำหนดคลอด ทารกคือ พระกุมาร ในวันที่ 14 พฤศจิกายน 1948 เวลา สามทุ่ม สิบสี่นาที ประชาชนถึงกับโห่ร้องยินดี และ เจ้าชายฟิลิป พระสวามี ก็ได้รับการยอมรับนับถือเพิ่มมากขึ้น
            "อะไร"ที่ถือว่าเป็นความบกพร่องเล็กๆน้อยๆที่เคยมีมา.. ประชาชนก็พากันมองข้ามไป..ไม่ถือไม่สา..
            เรียกว่า ทั้ง Forgive และ Forget เลยทีเดียว !!

         

            พระกุมารนั้น ได้ประสูติที่พระราชวังบั๊คกิ้งแฮมตามพระประสงค์ของเจ้าฟ้าหญิง มีน้ำหนักยามแรกประสูติโดยการผ่าออกนั้น คือ เจ็ดปอนด์ หก ออนซ์
            และได้รับพระนามว่า
            Charles Philip Arthur George

            คนที่ดีใจจนเนื้อเต้นนั้นก็คือ พระเจ้ายอร์จที่หก นั่นเอง เพราะพระองค์ไม่เคยกล้าคาดหวังว่าทารกจะเป็นเพศชาย เนื่องจากประวัติของสองครอบครัวนั้น มีลูกผู้หญิงกันเป็นส่วนใหญ่
            อย่างทางฝั่งเจ้าชายฟิลิป พระองค์ก็เป็นพระโอรสองค์เดียว ในหมู่พระเชษฐภคินีถึง สี่คน..

            เพราะความเกรงในเรื่องนี้นี่เอง ทำให้พระองค์ถึงกับต้องเปลี่ยนกฏมณเฑียรบาลวินเซอร์ที่มีมาตั้งแต่ดั้งเดิม
            ในข้อที่ว่า การใช้ HRH {His Royal Highness} นั้นจะใช้ได้กับพระกุมารเท่านั้น
            พระองค์จึงเกรงว่า พระนัดดาที่จะประสูติกับเจ้าฟ้าหญิง
            อลิซาเบธอาจเป็นเพศหญิง และพระกุมารีจะไม่ได้รับการเคารพเยี่ยงเจ้านาย...ไม่มีสิทธิได้ใช้พระอิสริยยศใช้นำหน้าพระนาม
            พระองค์จึงไม่รีรอเลยสักนิดที่จะเปลี่ยนแปลงแก้ไขในกฏข้อนี้ก่อนที่จะมีพระประสูติกาลเพียงแค่อาทิตย์เดียว..ให้มาเป็นว่า
            "ไม่ว่าพระหน่อที่จะประสูติขึ้นมากับเจ้าฟ้าหญิงอลิซาเบธเป็นพระโอรส หรือ พระธิดา ก็ตาม จะต้องได้รับ
            พระอิสสริยยศ HRH {His /Her Royal Highness}นำหน้าพระนาม"

            ข้อความดังกล่าวถูกแก้ไขขึ้นมาอย่างปัจจุบันทันด่วน..
            เพื่อที่พระราชนัดดาจะได้เป็นเจ้านายโดยสมบูรณ์แบบทุกประการไม่ว่าจะเป็นเพศใด

      
            พระเจ้ายอร์จที่หกได้ทรงประทานพระตำหนักให้ใหม่ทันที เพราะส่วนปีกหนึ่งในพระราชวังวินด์เซอร์ออกจะคับแคบไปสำหรับครอบครัวใหม่นี้
            พระตำหนักที่ว่านี้คือ พระตำหนักคลาแร้นซ์ ที่อยู่ในสภาพย่อยยับพอสมควร เนื่องจากพระองค์ได้ปล่อยให้สภากาชาดเช่า..ใช้ในการดูแลผู้บาดเจ็บจากสงคราม
            ดังนั้น การระดมซ่อมสร้างจึงต้องมีการเร่งมืออย่างเร่งด่วน
            รัฐบาลอนุมัติเงินงบประมาณให้ถึง ห้าหมื่นปอนด์
            แต่เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจหลังสงครามยังฝืดเคือง การปล่อยเงินจึงออกมาล่าช้าไปถึงปีครึ่ง..จนค่าซ่อมสร้างนั้นบานปลายเตลิดเปิดเปิงไปจนถึงหนึ่งล้านเหรียญ
            เพราะรวมค่าตกแต่งอื่นๆ
            เช่น โคมไฟระย้าห้อยจากเพดาน ผ้าม่านไหม ก๊อกน้ำเคลือบทอง แต่ประชาชนต่างพร้อมใจ..พากันโหวตสมยอมอย่างให้ไม่อั้นราคา เพื่อความสุขของพระธิดา มกุฏราชกุมารีที่พวกเขาชื่นชมรักใคร่

            หากแต่..หนังสือพิมพ์ฝ่ายซ้ายได้ลงข้อความจิกกัดบ้าง เช่นว่า..เหมาะสมแล้วหรือ..ในเมื่อรายได้ของประชาชนส่วนใหญ่ยังอยู่ในระหว่าง ห้าสิบ หกสิบ ปอนด์ต่ออาทิตย์ อีกทั้งจำนวนคนที่ไร้ที่อยู่ที่ต้องไปอาศัยนอนในโรงทหารเก่าๆก็ยังมีอีกมากมาย
            ข้อความนี้คงกินใจพอสมควร..พระราชินีถึงกับต้องทรงออกโรงแทน ในวันฉลองราชสมภพ Silver Jubilee 1948 พระองค์ได้ตรัสออกวิทยุว่า..
            "สำหรับผู้ที่อยู่ในระหว่างการตกทุกข์ได้ยาก และไร้ที่อยู่อยู่ในขณะนี้ ข้าพเจ้าเข้าใจและตระหนักในปัญหาเป็นอย่างดี แต่ขอให้พวกท่านจงอดทน เข้มแข็ง และ ความรักสามัคคีที่พวกเรามีต่อกันนั้น จะทำให้พวกเราได้พบกับความสำเร็จ สมปรารถนาในเร็ววัน"

            ส่วนพระเจ้ายอร์จที่หก ทรงลงมาบัญชาการเองในเรื่องของการตกแต่งพระตำหนัก ถึงขนาดทรงสั่งห้ามมิให้พวกคนงาน"อู้" ในการพักดื่มน้ำชาแล้ว น้ำชาเล่าอย่างที่เคยชอบปฏิบัติกัน
            สุขภาพของพระองค์เริ่มทรุดโทรม ด้วยพระชนมายุเพียงแค่ 53 พระองค์เริ่มป่วยด้วยอาการของมะเร็งในปอด เนื่องจากการที่ทรงพระโอสถมวนจัด ที่ไม่มีแพทย์หลวงคนใดกล้าตักเตือน

            ในสมัยนั้น การสูบบุหรี่ในวินเซอร์คือเรื่องปรกติ จะมากจะน้อยก็สูบกันแทบทุกองค์ อย่างพระนางแมรี่ อย่างดยุค ออฟ วินด์เซอร์ อย่างเจ้าฟ้าหญิงมาร์กาเร็ต
            หรือแม้แต่องค์สมเด็จพระราชินีก็ทรงวันละแปดมวน..
            เพียงแต่..ทุกพระองค์ระมัดระวังที่จะไม่ทรงสูบในที่สาธารณชน

            
            นอกจากมะเร็งในปอดแล้ว พระเจ้ายอร์จที่หกยังทรงมีปัญหาในเรื่องของเส้นโลหิตขอดที่พระชงค์ ที่ทำให้เกิดอาการเป็นตะคริวบ่อยๆ..ซึ่งต้องรับการรักษาอย่างใกล้ชิด
            พระองค์จึงต้องเลื่อนหมายกำหนดการเยือนประเทศออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ออกไปอย่างไม่มีกำหนด

            จากการซูบเซียวของการป่วยใข้ในครั้งนี้ ทำให้พระเจ้าอยู่หัวต้องทรงได้รับการ"เมคอัฟ" บนพระพักต์ก่อนเสด็จออกงานทุกครั้ง ส่วนอาร์ติสต์ นั่นก็ไม่ใช่ใครที่ไหน สมเด็จพระราชินี นั่นเอง
            ที่ต้องช่วยทรงลงแป้ง ลงรู๊ธ พรางรอยย่นยับตรงนั้นตรงนี้ แต่งไปพระองค์ก็ทรงกริ้วไป..ว่า
            "ถ้าไม่ใช่ความเห็นแก่ตัวพี่ชายของพระองค์แล้ว..เราก็ไม่ต้องมาทนทุกข์ยาก ทรมานสังขารอย่างนี้ " พระองค์หมายถึง ดยุค ออฟ วินด์เซอร์ ผู้เห็นสตรีดีกว่าราชบัลลังค์
            บางทีก็ทรงว่า
            "ถ้าแม่คนนั้นไม่ถ่อสังขารมาจากบัลติมอร์..เรื่องร้ายๆจะไม่เกิดขึ้น"
            พระราชินีได้ทรงเป็นกลไกชิ้นสำคัญของของ
            พระเจ้ายอร์จที่หกและมีบทบาทในแทบทุกเรื่องภายในพระราชวังนับตั้งแต่ยามที่ได้ขึ้นครองราชย์เมื่อปี 1936 เป็นต้นมา และ ตั้งพระองค์เป็นปรปักษ์กับฝ่ายดยุค และ หม่อมวอลลิสอย่างไม่มีวันเลิกรา..
            พร้อมที่จะกล่าวโทษให้ได้ทุกเรื่อง ที่มักทรงเปรยให้ใครต่อใครฟังบ่อยๆเสมอว่า
            "ถ้าเบอร์ตี้ไม่ต้องมาทรงงานแทนอย่างหนักหนาสาหัสแทน ..พระองค์ก็จะไม่ทรงทรุดโทรมไปจนถึงขนาดนี้"
            พระนางแมรี่..ก็ทรงเห็นด้วยเป็นปี่เป็นขลุ่ย ....ต่างพร้อมพระทัยลงความเห็นต้องกันว่า..
            "ก็เพราะ..นางซิมปสันคนนั้นคนเดียว"


            เป็นเพราะพระราชินีมัวแต่ทรงเป็นห่วงในสุขภาพของพระสวามีจนไม่ได้มีเวลามาสนพระทัยอ่านจดหมายที่มีมาถึงพระองค์จากหนังสือนิตยสารสตรี ที่มีชื่อว่า Ladies' Home Journal
            ที่กราบบังคมทูลมาว่า..ขอให้พระองค์ทรงพระกรุณาช่วยตรวจสอบข้อความที่เขียนขึ้นมาโดยพระพี่เลี้ยง ครอว์ฟี่
            (Marion Crawford) ว่าเห็นสมควรหรือไม่ประการใด
            ซึ่งพระราชินีไม่ได้สนพระทัยที่จะอ่านหรือตอบกลับ..   

            มาทรงรู้อีกที ก็เมื่อข้อความได้ลงตีพิมพ์ไปแล้วอย่างเรียบร้อย ในชื่อว่า The Little Princess ที่ได้เรียบเรียงเขียนมาได้อย่างละเอียดละออเกี่ยวกับเจ้าฟ้าหญิงอลิซาเบธ โดยพระพี่เลี้ยงคนใกล้ชิดที่คอยถวายพระอภิบาลมาตั้งแต่ครั้งยังทรงพระเยาว์จนรวมเวลาที่ได้ถวายงานมาถึงสิบเจ็ดปี..จนขอลาเกษียณไปเมื่อปี 1949
            ในข้อความนั้น คนเขียนได้เล่าว่า..
            ตัวเธอได้ทำหน้าที่อย่างจงรักภักดี และเฝ้ารอจนเจ้าฟ้าหญิงทั้งสองพระองค์ทรงเจริญวัยขึ้น งดงามไปด้วยพระจริยาวัตร เธอจึงได้มาสนใจตัวเอง และมาแต่งงานเมื่ออายุได้สี่สิบปี
            ซึ่งทางพระราชวงค์ก็ไม่มีใครมาร่วมแสดงความยินดีกับเธอสักนิด มิหนำซ้ำ พระนางแมรี่ ยังทรงแย้งว่า..
            เธอจะตัดช่องน้อยแต่พอตัวได้อย่างไร..แล้วเด็กๆล่ะ..
            แม้แต่พระราชินีเอง..ก็ทรงขัดพระทัยที่ทรงทราบว่าเธอจะลาไปแต่งงานตั้งครอบครัว ทั้งๆที่เธอได้ทูลไว้ล่วงหน้าก่อนที่เจ้าฟ้าหญิงอลิซาเบธจะเข้าพิธีอภิเษกถึงสามเดือน
            พระองค์ได้กรีดเสียงใส่เธอว่า..
            "ก็แล้วทำไมจะต้องมาคิดเรื่องมีผั..กันตอนนี้ล่ะยะ.."
            พระเจ้าอยู่หัวก็พลอยเป็นไปด้วย พระองค์กราดเกรี้ยวใส่ จนในที่สุด..เธอต้องยอมอยู่ถวายงานไปจนถึงวันอภิเษกเพื่อความสุขของคนทุกฝ่าย (ยกเว้นของตัวเอง)
            พระเจ้ายอร์จที่หกจึงได้สัญญาว่าถ้าอยู่ทำงานต่อไปเรื่อยๆ ยังไม่ต้องออกเรือน..จะให้ตำแหน่ง Commander of the Royal Victorian Order
            ซึ่งถ้าเทียบก็คล้ายๆกับตำแหน่งท่านผู้หญิงที่ได้รับตราของสมเด็จพระนางวิคตอเรีย..อันเป็นเครื่องราชย์ฯ
            (ที่มาการเริ่มต้นให้กันมาโดยพระนางวิคตอเรียแก่ผู้ที่อยู่รับใช้ใกล้ชิดด้วยความซื่อสัตย์ ตั้งแต่ปี 1896)
            แต่..เธอก็ยังลาออกอยู่ดี..


            เมื่ออ่านข้อความจนจบ..สมเด็จพระราชินีทรงกริ้วจนองค์สะท้าน..และแย้งให้ฟังความจริงว่า..
            "นังครอว์ฟี่ มันเหิมเกริม ตำแหน่งท่านผู้หญิงน่ะ..ไม่อยากได้ ใจคอมันจะขอตำแหน่ง..Dame Commander of the Royal Victorian Order แน่ะ..แต่มันไม่ได้...มันเลยลาออก"
            (Dame Commander of the Royal Victorian Order อันนี้..คือสูงสุดในกระบวนข้าราชบริพารที่มีสิทธิได้ใช้คำว่า เดม นำหน้าชื่อ และ มีการจัดแต่งสถานะกันใหม่มีที่อยู่บนชั้นบนของพระราชวังพร้อมมีข้าทาสบริวารส่วนตัว...วิวันดา )

            ไม่ว่าพระราชินีจะว่าอย่างไร..หนังสือของครอว์ฟี่ก็ขายดิบขายดี จนต้องเขียนบันทึกจากความทรงจำขึ้นมาอีกสองเล่ม..จัดจำหน่ายรับทรัพย์อู้ฟู่...

            พระราชินีประกาศความเป็นศัตรูต่อข้าเก่าเต่าเลี้ยงอย่างครอว์ฟี่แบบชนิดไม่มีการเผาผี และถือว่าเธอคือ พวกทรยศ ที่ไม่ต้องมีการคบค้าสมาคมอีกด้วยต่อไป..
            (ไม่เผาผีจริงๆนะ ไม่ใช่พูดเล่น...เพราะตอนที่เธอได้ถึงแก่กรรมไปในปี 1988 ไม่มีใครในพระราชวงค์ไปร่วมงาน หรือ แม้แต่ส่งการ์ดแสดงความเสียใจ อย่าว่าแต่ดอกไม้..เพราะ พระองค์ถือว่า เธอได้ตายจากไปตั้งแต่วันที่หนังสือได้ออกวางจำหน่าย)


            จากบทเรียนในครั้งนั้น ทำให้พระราชินีได้ทรงทราบและถ่องแท้ดีกว่าใครๆว่า ข้อเขียนของคนใกล้ชิดนั้น..สามารถสร้างกระแสได้อย่างปั่นป่วนยิ่ง
            เพราะมันจะกลายเป็นการบันทึกของประวัติศาสตร์ที่ไม่มีวันลบรา
            เป็นพยานของร่องรอยอดีตที่ทำให้คนสามารถมองเห็นต่างมุม เช่น..บัดนี้ได้มีผู้รู้ว่า..
            พระองค์เป็นแม่ที่ไม่ได้ให้ความสนใจในเรื่องการศึกษาของพระธิดา..มากไปกว่าการร้องรำทำเพลง..และสำหรับเจ้าฟ้าหญิงมาร์กาเร็ตที่แสนดื้อรั้นนั้น การเลี้ยงดูใกล้ชิดพระองค์ปล่อยให้เป็นหน้าที่ของพระพี่เลี้ยง..
            แม้ว่าในหนังสือจะมีแต่คำสรรเสริญถึงพระองค์ในด้านดีๆ..เช่น เป็นผู้หญิงที่อ่อนหวาน หรือจะเป็นคำชมที่มีต่อ ดัชเชส แห่ง เค้นท์ ว่า..เป็นหญิงที่งดงามอย่างหาตัวจับได้ยาก และโชคดีที่สุดในโลกที่ได้ทรงอภิเษก
            กับเจ้าชายที่หล่อที่สุด..ก็ไม่ได้ช่วยอะไรให้ดีขึ้นมา..เพราะข้อความที่เกี่ยวกับเรื่องส่วนพระองค์ในด้านอื่นๆยังปรากฏหราอยู่บนหน้ากระดาษ เช่น
            ในห้องพระบรรทมได้ใช้ผ้าคลุมพระที่สี ฟ้า-เขียว หรือ ทั้งสองพระองค์ต่างแยกห้อง...มิได้ประทับอยู่รวมกัน..
            หรือ คำบรรยายที่ว่า เจ้าฟ้าหญิงมาร์กาเร็ตทรงน่ารักน่าเอ็นดูเหมือนปลาวาฬตัวน้อยๆในชุดว่ายน้ำ..
            หรือ เจ้าฟ้าหญิงลิลิเบธเป็นพระนัดดาองค์โปรดของ คุณลุงเดวิด (พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่แปด หรือ ดยุค ออฟ วินด์เซอร์)

            ที่สำคัญคือ..ครอว์ฟี่ได้นำเรื่องส่วนพระองค์มาขยาย เช่น..ในยามที่เสด็จประพาสอเมริกาในปี 1939 นั้น ทั้งสองพระองค์ได้โทรศัพท์มาคุยกับเจ้าฟ้าหญิงจากในเรือเดินสมุทร การสนทนาแบบเด็กๆที่เต็มไปด้วยคำถามมากมายนั้น พระราชินีทรงแกล้งตัดบทด้วยการแกล้งหยิกพวกคุณสุนัขให้ส่งเสียงขรม จนคุยกันไม่รู้เรื่องและต้องวางสายไป

            เท่านั้นไม่พอ..ที่ทรงกริ้วจัด..นั่นคือเรื่องนำความในส่วนพระองค์ของเจ้าฟ้าหญิงมกุฏราขกุมารีมาขยายว่า..
            ทรงเจ้าระเบียบอย่างเกินมนุษย์ ขนาดทรงกำลังบรรทมสนิทแท้ๆ ยังต้องตื่นขึ้นมาเพื่อจัดเสื้อผ้าให้เรียบร้อย เพราะกลัวยับ"

            ทั้งหมดนี้..ยิ่งมาจากปากคำของพระพี่เลี้ยงอย่างครอว์ฟี่..ใครอ่านก็ต้องเชื่อ..เพราะใครเล่าจะรู้ดีไปกว่าเธอ..
            และจากนั้นว่า..ศัพท์แสลงคำว่า.."ทำแบบครอว์ฟี่" {to do a Crawfie} ได้นำมาใช้อย่างกว้างขวางในกลุ่มชาววัง สำหรับคนที่คิดคดทรยศต่อพระราชวงค์

          
            พิษสงของ to do a Crawfie นั้น...ทั้งสองพระองค์ถึงกับต้องรีบล้อมคอก ด้วยการนำความไปปรึกษาฝ่ายกฏหมายให้รีบออกพระราชบัญญัติว่าด้วยการจัดตั้งการป้องกันความเสื่อมเสียที่จะมีขึ้นต่อพระราชวงค์ อันมาจากคนใน..
            ถ้าจะว่ากันตรงๆนั่นคือ เหล่าบรรดาข้าราชบริพารต้องปิดปากให้สนิท ความในไม่ให้ออก..และถ้าฝ่าฝืน..ก็ต้องได้รับโทษทัณฑ์ที่ชัดเจน

            หรือในกรณีถ้ามีอย่าง to do a Crawfie ได้เกิดขึ้นอีก สำนักพระราชวังมีสิทธิใช้อำนาจศาลที่จะระงับการจัดพิมพ์การจัดจำหน่ายก่อนออกสู่ท้องตลาด..
            และการตีพิมพืเรื่องราวเกี่ยวกับพระราชวงค์ใด..ต้องได้รับการกลั่นกรองและได้รับการพิจารณาความเห็นชอบเสียก่อน..
            ทั้งนี้ทั้งนั้น เพื่อความศักสิทธิ์ของสถาบันที่สูงสุดของประเทศที่ไม่สมควรได้รับการล่วงละเมิด..

            แต่..พระเจ้ายอร์จและพระราชินีไม่สามารถมองเห็นอนาคตได้เลยว่า..ของพรรค์นี้ยิ่งห้าม..ก็เหมือนยิ่งยุ
            เพราะ ในปัจจุบัน โลกวัตถุได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างมากมาย ข่าวทุกชิ้นของเจ้านายสามารถ"ขายได้ราคา" ทั้งสิ้น
            จัดจำหน่ายไม่ได้ในอังกฤษ...ก็พากันไปพิมพ์ที่อื่น ออกขายกันนอกประเทศให้ลึ่ม..

            ยิ่งมาในปี 1994 ยิ่งแล้วหนัก เพราะเจ้าฟ้าชายชารลส์ ว่าที่พระมหากษัตริย์ เล่นออกรายการโทรทัศน์เอง..ยอมรับสารภาพกับฝูงชนอย่างพระพักต์พระเนตรเฉย..ว่า..
            ทรงเป็นชู้กับเมียชาวบ้านมาตั้งนานแล้วละ...
            จะไม่สารภาพให้สิ้นเรื่องสิ้นราวได้อย่างไร..เพราะ มหาดเล็กคนใช้ตัวดี..เล่นให้ข่าวว่า..
            "พระองค์แอบไปเล่นจ้ำจี้ ขลุกกันอยู่ในบ่อสองคนกับนางคามิลล่า จนเปรอะเปื้อนโคลนไปหมด แบบไม่อายผีอายสาง...ผมเป็นคนนำฉลองพระองค์ปิยาม่าชุดนั้นไปซักเองกับมือ"
            ผลคือ..นายนั่นได้ถูกไล่ออกจากงานมหาดเล็กที่มีรายได้ปีละ 18,000 ปอนด์..หมอก็ไม่ยี่หระ..เพราะ ขายข่าวเจ้านายให้กับสำนักพิมพ์แค่ชิ้นสองชิ้นก็ได้เงินมาเป็นกอบเป็นกำ
            ไม่ต้องไปทำงานรับใช้ให้หน้าแก่..

            
      Camilla Parker Bowls
          

            
            ราชการแผ่นดินของพระเจ้ายอร์จที่หกนั้น..จะว่าไปก็หนักหนานัก เพราะถูกรุมเร้าไปด้วยสภาพการผันแปรของสถานะการณ์ร้ายๆทั้งก่อนและหลังสงคราม สภาพภายในประเทศที่มีปัญหาเศรษฐกิจ
            ปัญหาคนว่างงาน ปัญหาการหยุดประท้วงงาน ไหนยังจะต้องรักษาความศักดิ์สิทธิของราชบัลลังค์ให้อยู่คู่ฟ้าดิน
            (ในยามนั้นหลายประเทศในยุโรปต่างเริ่มหันมาเปลี่ยนการปกครองไปในระบบสังคมนิยม)
            พระองค์ได้ทรงฟันฝ่ามาจนถึงเฮือกสุดท้าย..
            คือการที่ต่อสู้จนฝ่ายสัมพันธมิตรได้รับชัยชนะสงคราม..

            วีรบุรุษของอังกฤษหลายคนเป็นที่กล่าวขวัญถึงไปทั่วโลกถึงความเก่งกล้า..เช่น นายพลมอนต์คอมเมอรี่ (Bernard Montgomery, 1st Viscount Montgomery of Alamein)   
            ฝูงบิน RAF ที่ห้าวหาญ, นายวินสตัน เชอร์ชิลล์ ผู้นำที่ใครๆหาว่าเขาดื่มสุราจนเมาตลอดวัน, ฝูงเรือรบหลวงที่ต่างกันผลัดแลกหมัดกับเยอรมันแบบลำต่อลำ ศักดิ์ศรีต่อศักดิ์ศรี ขนาดฮิตเล่อร์ยังต้องรีบเปลี่ยนชื่อเรือเพื่อเลี่ยงความอัปมงคลมาสู่แทบไม่ทัน
            (ก็เล่นตั้งชื่อ เรือว่า Deutschland ขืนถูกล่มไป อายเขาแย่..)
            และไหนยังต้องมาเจอกับปัญหาที่ต้องทรงเร่งแก้..กู้ภาพลักษณ์ของพระราชวงค์จากหนังสือของครอว์ฟี่อีก..
            พระองค์ก็ทรงเหน็้ดเหนื่อยพระทัยเสียเหลือเกิน..
            เจ้าฟ้าหญิงมกุฏราชกุมารีก็อยู่ในระหว่างการตั้งครอบครัวใหม่ ห่างเหินไปจากการรับใช้ใกล้ชิดเช่นแต่ก่อน

            ต่อมา..เจ้าชายฟิลิปก็มาเซ้าซี้ขอกลับออกไปทำงานในเรืออีกเช่นเดิม
            เพราะหลังจากอภิเษกแล้วนั้น พระองค์ได้ถูกส่งไปทำงานนั่งโต๊ะที่กองทัพเรือ วันวันไม่ต้องทำอะไรมาก..แค่สั่งย้ายเรือให้ไปประจำที่นั่นที่นี่...สลับไปสลับมา
            ทรงว่า..เซ็ง...ขอออกทะเลเช่นเดิมเหมือนกับนายทหารระดับผู้นำอื่นๆ
            พระเจ้ายอร์จที่หก..ไม่เห็นด้วยอย่างที่สุด เพราะเหตุผลที่ว่า..หากเจ้าชายฟิลิปย้ายหน่วยออกทะเล ก็หมายความว่า..จะต้องออกไปประจำการยังท่าต่างๆถึงสองปี
            และนั่นหมายความว่า..เจ้าฟ้าหญิงอลิซาเบธจะต้องตามเสด็จออกไปในฐานะภรรยานายทหารอย่างแน่นอน
            นี่คือสิ่งที่พระองค์ไม่ต้องการให้เกิดขึ้น..ไม่ต้องการให้พระธิดาอยู่ไกลพระกรรณไกลพระเนตร

            แต่..เจ้าฟ้าหญิงทรงยอมทำทุกอย่างตามความประสงค์ของพระสวามี ทรงยอมช่วยอ้อนวอนกับพระบิดา แม้กระทั่งถึงที่สุด ที่พระองค์ได้ยอมสัญญาว่าจะกลับเข้ามา
            พำนักอยู่ในลอนดอนด้วยทุกสองเดือน

            พระเจ้ายอร์จที่หกจึงจำต้องตัดพระทัย..ยอมแพ้แต่โดยดี ออกคำสั่งย้ายให้พระราชบุตรเขยจากโต๊ะทำงานในกองทัพเรือ ไปประจำการเป็นผู้บังคับการเรือรบหลวง HMS Magpie ในเดือน ตุลาคม 1949 ในฐานทัพ ที่ มอลต้า ฝั่งทะเลเมดิเตอเรเนียน

            (ผู้การเรือ เจ้าชายฟิลิป ดยุค แห่ง เอดินเบอร์ค ถูกพวกทหารเรือลูกน้องเรียกลับหลังกันอย่างครื้นเครงว่า..ดุ๊คกี้ = Dukey)                      

            
            เจ้าฟ้าหญิงอลิซาเบธได้ทรงอยู่เลี้ยงดูพระโอรสเพียงแค่สองสามอาทิตย์ที่พระสวามีได้จากไป..
            จากนั้นก็ทรงปล่อยให้พระโอรสวัยสิบเอ็ดเดือนให้อยู่ในความดูแลของพระพี่เลี้ยง
            และพระอัยยิกา
            โดยที่พระองค์ได้ติดตามพระสวามีไปอย่างไม่ลดละ
            เนื่องจากทรงว่าจะต้องไปอยู่ฉลองวันคริสมาสต์ และวันครบรอบอภิเษกอันเป็นปีที่สองกับพระสวามี..
            แต่..ไม่ได้ใส่พระทัยสักนิดว่า..พระองค์ทรงละทิ้งการอยู่ร่วมฉลองวันคริสมาสต์ และคล้ายวันประสูติเป็นครั้งแรกของพระโอรส..เจ้าชายชารลส์
            และนี่คือข้อความจุดด่างอีกจุดหนึ่งในหนังสือของครอว์ฟี่..ที่เขียนไว้ชัดเจนว่า..
            "เจ้าฟ้าหญิงไม่ทรงเข้าพระทัยในความรู้สึกของประชาชนที่มองมาจากภายนอก ที่เห็นว่าเป็นการไม่เหมาะสม (ที่แม่จะทิ้งลูกน้อยให้อยู่กับคนอื่น)
            พระองค์ไม่เคยรู้จักและสัมผัสกับชีวิตของผู้หญิงธรรมดาสามัญอย่างเราๆ..
            จนกระทั่งพระองค์ได้ไปใช้ชีวิตอยู่ที่มอลต้านั่นแหละ..คือประสบการณ์ครั้งแรกที่ได้ทรงพบและเห็นว่า
            ชาวบ้านเขาเป็นอยู่กันอย่างไร"

            และที่ฐานทัพที่มอลต้านั้น ผู้บัญชาการกองเรือ ก็หาใช่ใครอื่นไม่..เขาคือ ท่านลอร์ด หลุยส์ เมาท์แบตเทน ท่านลุงสุดเลิฟของเจ้าชายพระสวามีนั่นเอง
            ทั้งท่านลุงและท่านผู้หญิงป้าเอดวินน่า ได้เตรียมจัดที่พักไว้รอรับเสด็จกันอย่างเต็มที่ โดยยกคฤหาสน์ของตัวเองให้เป็นที่ประทับ มีการสั่งการย้ายเครื่องเรือนชั้นดีลงเรือมาเพื่อให้สมพระเกียรติ

            เจ้าฟ้าหญิงอลิซาเบธทรงใช้ชีวิตอยู่กับพระสวามีดังเช่นภริยานายทหารที่ดี หากแต่ยังคงต้องออกงานบ้าง เช่นการรับเชิญให้ไปเป็นองค์ประธานในงานการกุศลต่างๆ
            และทุกครั้งที่พระสวามีต้องเสด็จออกภาคสนาม (ในทะเล) พระองค์จึงใช้โอกาสนี้เสด็จกลับเข้ากรุงลอนดอน
            ท่านผู้หญิงเอดวินน่าได้ไปส่งเสด็จที่สนามบินและได้บันทึกไว้ว่า
            "พระองค์ทรงกรรแสงเบาๆ ก่อนที่จะเสด็จขึ้นเครื่องบินไปด้วยท่าทางที่เศร้าและเหงาหงอย ราวกับกำลังจะถูกนำองค์ไปเข้าที่คุมขังอย่างไรอย่างนั้น"

            และเมื่อเสด็จกลับมาที่กรุงลอนลอน พระองค์ก็ได้พบว่า ทรงครรภ์เป็นครั้งที่สอง
            ซึ่งเมื่อทราบความแน่นอนเจ้าฟ้าหญิงได้เสด็จกลับไป
            มอลต้าทันที..เมื่อเดือนมีนาคม 1950 เพื่อที่จะนำข่าวไปบอกกับพระสวามีด้วยพระองค์เอง
            การประทับอยู่ด้วยครั้งนี้เป็นไปเพียงแค่เดือนเศษ จึงได้เสด็จกลับอังกฤษและประทับอยู่จนมีพระประสูติกาล คือ เดือน สิงหาคม 1950
            เจ้าชายฟิลิปได้เสด็จเข้ามาประทับเพื่อชื่นชมพระธิดาองค์น้อย..และคราวนี้ประทับอยู่ด้วยเพียงแค่สี่อาทิตย์จึงได้กลับไปยังฐานทัพมอลต้า    

           

            เจ้าฟ้าหญิงอลิซาเบธก็หาได้ลดละในเรื่องการติดตามไม่...
            เพียงแค่สามเดือน พระองค์ก็เสด็จไปประทับอยู่กับพระสวามีที่ฐานทัพ ทรงปล่อยให้พระโอรส และพระธิดาที่ยังแบเบาะอยู่กับพระอัยยิกาและพระพี่เลี้ยงตามเดิม

            ในการเสด็จมองต้าครั้งนี้ ทรงไปแบบขบวนคาราวานใหญ่ เปรียบราวกับยกทัพไปเพราะพร้อมมูลไปด้วยข้าทาสบริวาร หน่วยอารักขา
            อีกทั้งรถยนตร์สปอร์ต หีบฉลองพระองค์จำนวนสี่สิบหีบ ลูกม้าพันธ์ดีสำหรับพระสวามี
            เจ้าฟ้าหญิงได้ทรงใช้เวลากลางวันเหมือนดังเช่นสุภาพสตรีที่มีอันจะกินอื่นๆ นั่นคือ การไปช้อปปิ้ง ว่ายน้ำ อาบแดด ตกแต่งพระเกศา
            หรือทรงรับเชิญเสด็จงานดินเน่อร์ ลีลาศ รวมไปถึงงานตัดริบบิ้นเปิดกิจการ
            ยามที่นักข่าวชาวมอลตีสได้ขอประทานสัมภาษณ์ ถึงเรื่องที่เสด็จไปเยี่ยมเยียนสถานเลี้ยงเด็กกลางวัน Under Five (หมายถึงสถานเลี้ยงเด็กที่อายุไม่เกินห้าขวบ
            ที่พ่อแม่ไม่มีเวลาอยู่ดูแล เพราะเป็นข้าราชการในกองทัพเรือทั้งคู่) ว่า..ทรงมีความคิดเห็นอย่างไร ที่พ่อแม่ไม่มีเวลาให้กับลูกๆเช่นนี้
            คำถามนั้น..ทำให้ประชาชนชาวอังกฤษถึงกับสะอึกกันเป็นแถวๆ เพราะ เจ้าฟ้าหญิงเอง ก็คือ หนึ่งในบรรดาพ่อแม่ที่ปล่อยให้ลูกๆที่มีอายุต่ำกว่าห้าขวบไว้กับคนอื่นให้ดูแลเช่นกัน..
            ข่าวในอังกฤษนั้น..เนื้อหาใจความค่อนข้าง"เบา" แต่ข่าวในหนังสือพิมพ์ประเทศอื่น..ได้นำเรื่องนี้มาตีกันเป็นประเด็นเอิกเกริก
            เพราะในตอนนั้น เจ้าชายชารลส์พระโอรส ได้ทรงประชวรด้วยโรคต่อมทอลซินอักเสบ
            แต่เจ้าฟ้าหญิงกลับทรงเป็นห่วงเรื่องน้ำหนัก
            กับฉลองพระองค์มากกว่า โดยเฉพาะถ้าการค่อนแคะในสองเรื่องนั้นมาจากพระสวามี..มีการเล่าว่า
            เจ้าฟ้าหญิงอลิซาเบธได้ทรงฉลองพระองค์ชุดใหม่
            ทันที่ที่เจ้าชายฟิลิปได้ทรงหันมาเห็นเข้า พระองค์ถึงกับเอ็ดเสียงเขียวว่า
            "ไอ้ชุดนี้นี่ใช้ไม่ได้เลยนะ..ไปเปลี่ยนเดี๋ยวนี้.."
            นาย เจฟฟรี่ย์ โบค์กา ผู้เขียนบันมึกชีวประวัติของพระองค์รุ่นแรกๆ ได้บันทึกไว้ว่า..
            "น่าเสียดายเหลือเกิน ที่ อาณาจักรที่ยิ่งใหญ่ของเราต้องตกไปอยู่ในกำมือของเจ้าหญิงที่ห่วงสวย ห่วงฉลองพระองค์จนเกินการ ถึงแม้พระองค์จะไม่ทรงโอสถมวนก็จริงอยู่ หากแต่ทรงลดความอยากเสวยด้วยการใช้ยาลดความอ้วนหลายขนาน เม็ดสีฟ้าใช้ในตอนเช้า
            สีเขียวในตอนกลางวัน สีช๊อคโกแล๊ตตอนพระกระยาหารค่ำ"


            (ยาลดความอ้วนหรือเอมเฟตามีนส์นั้น ก็เหมือนกับพระโอสถขนานอื่นๆที่พระองค์ได้ทรงให้มหาดเล็กคนสนิทเป็นคนสั่งซื้อ นายคนนั้นคือ นาย จอห์น ดีน ที่ได้เขียนไว้ว่า..เขาเป็นคนไปรับใบสั่งซื้อยานอนหลับจากแพทย์ โดยใช้ตัวของเขาเป็นคนใข้ แต่จริงๆแล้ว เขานำมาถวายให้เจ้าฟ้าหญิง)

         

            สุขภาพของพระเจ้ายอร์จที่หกเริ่มทรุดลงไปทุกวัน..
            เจ้าฟ้าหญิงจึงต้องเสด็จกลับไปยังลอนดอนเพื่ออยู่เข้าเฝ้าใกล้ชิดพระบิดา
            เจ้าชายพระสวามีได้เสด็จตามกลับมาในสองเดือนต่อมา และได้ทรงตัดสินพระทัยลาออกจากราชการทหารเรือเสียในคราวเดียวกัน
            เมื่อวันที่ 16 กรกฏาคม 1951 อันเป็นวันที่ได้มีการจัดเลี้ยงอำลาในหมู่ชาวทหารลูกน้อง พระองค์ได้ทรงประกาศว่า
            "สิบเอ็ดเดือนที่ผ่านมานั้น ข้าพเจ้าถือว่าเป็นระยะเวลาแห่งความสุขที่สุดในชีวิตของความเป็นทหาร"
            และห้าวันจากนั้น..พระองค์ได้เสด็จถึงอังกฤษ ที่มี พระพี่เลี้ยงได้นำพระโอรส และพระธิดาองค์น้อย มารับเสด็จที่สนามบิน
            ส่วนเจ้าฟ้าหญิง อลิซาเบธ นั้น ไม่ว่างมารับ...
            เพราะทรงติดพันอยู่ที่สนามม้า เนื่องจากวันนั้นคือวันแข่งม้าหลวง หรือ Royal Ascot

            สามเดือนต่อมา..ตุลาคม 1951 ทั้งเจ้าฟ้าหญิงและพระสวามีต้องเสด็จเยือนประเทศแคนาดา และถือโอกาสที่จะเยี่ยมเยียนสหรัฐอเมริกาในคราวเดียวกันเลย
            การเสด็จครั้งนี้จะใช้เวลาถึงห้าอาทิตย์ และนั่นหมายความว่า พระโอรสและพระธิดาก็ต้องอยู่ในความเลี้ยงดูของพระอัยยิกาอีกเช่นเดิม
            เป็นการพลาดวันประสูติครบสามชันษาของพระโอรส
            และ ครบชันษาแรกของพระธิดา แต่ก็ได้มีการเตรียมของขวัญกันไว้ให้ล่วงหน้า

            การเสด็จต่างประเทศห้าอาทิตย์ครั้งนี้ การจัดเตรียมข้าวของนับว่ายิ่งใหญ่มากกว่าทุกครั้ง แค่หีบเครื่องฉลองพระองค์นับได้ถึง 189 ใบ
            และพิเศษ คือกล่องหนึ่ง เป้นกล่องที่มีเอกสารพร้อมที่จะประกาศการเถลิงราชย์ของเจ้าฟ้าหญิง หากว่า พระเจ้ายอร์จเกิดมีอันเป็นไปกระทันหัน
            การประทับส่วนใหญ่นั้น คือ ที่แคนาดา ที่ทรงใช้เวลาทำความใกล้ชิดกับอาณาประชาราชอยู่ถึงเกือบเดือน เพราะ
            เพื่อเป็นการกระชับสัมพันธไมตรีให้แนบแน่นยิ่งขึ้น (ประชาชนในส่วนนี้มีถึง 14 ล้านคน)
            เจ้าฟ้าหญิงอลิซาเบธได้ทรงตรัสให้ทุกคนได้ทราบว่า..
            "ที่นี่เปรียบเสมือนบ้านที่ให้ความอบอุ่นแห่งที่สองของฉัน"

            ส่วนเจ้าชายฟิลิปก็ทรงอุบอิบตรัสว่า.."ถ้าจะพูดกันตรงๆ ก็..คือเป็นการลงทุนที่ได้รับผลคุ่มค่านั่นแหละ

        

            และเมื่อสองพระองค์ได้เสด็จถึง วอชิงตัน ดี.ซี. ในหมายกำหนดการของการเสด็จเยือนสองวันนั้น
            ประธานาธิบดีทรูแมน (Harry S. Truman) ได้เข้าถวายการต้อนรับถึงที่สนามบิน
            ซึ่งนี่ถือว่าเป็นการผิดระเบียบแบบแผนสำหรับประเทศที่ถือว่าเป็นมหาอำนาจอย่างสหรัฐอเมริกา
            แต่ตัวท่านปธน.เอง เป็นคนที่ตัดสินใจในเรื่องการรับเสด็จครั้งนี้ เนื่องจากว่า
            ท่านได้มีความเอื้อเอ็นดูต่อเจ้าฟ้าหญิง ที่ได้เห็นว่าทรงเปรียบเสมือนเป็นเทพธิดาน้อยๆในเทพนิยาย
            มักเรียกเจ้าฟ้าหญิงว่า แฟร์รี่ ปริ๊นเซส ลับหลังเสมอๆ
            และเป็นเพราะ ธิดาสาวคนเดียวของท่านปธน.เคยได้รับการต้อนรับอย่างเป็นกันเองจากเจ้าฟ้าหญิงในพระราชวังบั๊คกิ้งแฮมคราวที่ได้ไปเที่ยวอังกฤษ

            เมื่อสองพระองค์ได้เสด็จลงมาจากเครื่องบิน
            โปรโตคง โปรโตคอล ระเบียบ ระเบิบ อะไรท่านปธน.ไม่สนใจทั้งนั้น
            ท่านเดินอ้าแขนหราเข้าหา พร้อมทั้งเรียกว่า มายเดียร์ อีกต่างหาก
            ท่านปธน. ได้กางกั้นให้ทั้งสองพระองค์ได้ประทับเพื่อที่ช่างภาพถ่ายรูปประมาณสิบนาที
            (นาย จอห์น ดีน มหาดเล็กได้บันทึกตรงนี้ไว้ว่า..
            ตำรวจอเมริกันแห่กันมาอารักขาอย่างมากมาย แถมยังพากันงงอีกเมื่อเห็นว่าเจ้านายของเราแทบไม่มีหน่วยอารักขาตามเสด็จมาด้วย แค่ระยะทางจากสนามบินไปยังที่ประทับ Blair House อยู่ใกล้ๆกับทำเนียบขาว มีทั้งรถมอเตอร์
            ไซค์นำขบวน รถตำรวจจี้ตามติดหลังขบวนเสียงไซเรนดังไม่หยุด"         

            ส่วนตัวท่านปธน. เอง..ท่านได้ถูกห้อมล้อมด้วยฝูงตำรวจอย่างหนาแน่นกว่าปรกติ เพราะ เมื่อปีที่แล้วที่ผ่านมา
            ท่านได้ถูกชาวเปอร์โต ริกันหัวรุนแรงได้พยายามเข้าลอบสังหาร และท่านได้พูดติดตลกกับเจ้าฟ้าหญิงว่า
            "จะเตือนให้ทรงทราบไว้ก่อนว่า....ที่อเมริกานี้ คนบ้ามันเยอะพะยะค่ะ"
            เจ้าชายฟิลิปทรงถูกพระทัยกับความเป็นคนที่มีอารมณ์ขันอย่างท่านปธน. อย่างเช่นตอนที่เตรียมจัดแถวยืน เพื่อการปฏิสันถารจากกลุ่มแขกผู้มีเกียติที่ได้รับเชิญเข้ามาในงานเลี้ยง.. (ที่ต้องมีการจัดตำแหน่งการยืนกันก่อนที่จะมีการเปิดประตูรับอาคันตุกะ..)
            ทันทีที่จัดตำแหน่งลงตัว..ทุกคนพร้อม..
            ท่านปธน. ก็ตะโกนสั่งลูกน้องว่า
            "เอ้า..ไปเรียกลูกค้าให้เข้ามาได้"
            เจ้าฟ้าหญิงทรงพระสรวลกิ๊กอย่างกลั้นไม่อยู่..

            

          


            การเสด็จเยือนอเมริกานั้นนับว่าประสบความสำเร็จยิ่ง ท่านปธน. ทรูแมนได้ส่งจดหมายไปถวายแก่พระเจ้ายอร์จที่หก..ดังใจความว่า
            "ทั้งสองพระองค์ทรงได้ครองใจชาวอเมริกันอย่างหมดจด ..ไม่ว่าจะเสด็จไปไหนผู้คนต่างเฝ้าชื่นชมในพระบารมี ในฐานะที่หม่อมฉันก็เป็นพ่อคนหนึ่ง จึง
            อยากกราบบังคมทูลว่า พระองค์ทรงโชคดีอย่างมิมีอะไรปานเปรียบ และดีกว่าหม่อมฉันถึงเท่าตัว ที่ทรงมีพระธิดาให้ชื่นพระทัยถึงสองพระองค์ ในขณะที่หม่อมฉันมีลูกสาวอยู่เพียงหนึ่งเดียว"
            พระเจ้ายอร์จได้มีพระราชหัตถเลขาตอบกลับไปว่า..
            "สมเด็จพระราชินีและฉันมีความปิติยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้ทราบว่า ลูกสาวและลูกเขยของเราได้รับการต้อนรับที่เปี่ยมไปด้วยมิตรภาพที่วอชิงตัน เหมือนดังกับที่เราเคยได้รับในการเยือนอเมริกาเมื่อปี1939
            และต้องขอขอบใจท่านประธานาธิบดีต่อความกรุณาในครั้งนี้ที่มีให้กับลูกๆของเรา"

            ในตอนนั้น...ทำเนียบขาวยังอยู่ในระหว่างซ่อมแซมยกเครื่องใหม่ ท่านผู้หญิง เบสส์ ทรูแมนจึงได้จัดที่ประทับให้ขึ้นที่ตึกตรงข้าม เรียกว่า แบลร์ เฮ้าส์ ซึ่งขบวนการนั้นค่อนข้างยุ่งเหยิงอย่างที่สุด
            เพราะต้องถอดเครื่องปรับอากาศออกไปทั้งหมด เนื่องจากได้รับการขอร้องมาจากฝั่งอังกฤษ เนื่องจากเจ้าฟ้าหญิงไม่ทรงโปรด
            และ เป็นที่น่าประหลาดใจที่ทั้งสองพระองค์ขอแยกห้องนอน ส่วนห้องสรงนั้น เจ้าฟ้าหญิงทรงโปรดที่จะได้
            อ่างอาบน้ำที่เป็นคอนกรีตอย่างที่มีในพระราชวังวินเซอร์ โดยมีนางพระกำนัล "โบโบ" (Bobo Macdonald) เป็นผู้ที่เข้ามาตรวจตราทุกอย่างโดยละเอียด

            สำหรับองค์เจ้าฟ้าหญิงเองแล้ว พระองค์ไม่เคยบ่นหรือขอในเรื่องสิ่งของเครื่องใช้เลย เพราะทุกอย่างพระองค์ทรงปล่อยให้หน้าที่ของพระสวามี
            ในคืนแรกของการประทับที่แบลร์ เฮ้าส์ ทั้งสองพระองค์ไม่สามารถบรรทมได้สนิท เพราะหน่วยอารักขาและหน่วยคุ้มภัยอเมริกันต่างเดินเข้า เดินออก ปิดประตูกึงกังตลอดทั้งคืน
            พอเช้าขึ้น..เจ้าชายฟิลิปได้เข้าเจรจาแกมประชดกับ
            นาย เฮนรี่ คัทโต หัวหน้าฝ่ายรักษาความปลอดภัยทันที ว่า..
            "นี่..คุณคัทโต ถามจริงๅเถอะ..คุณว่าจ้างคนกระแทกประตูระดับมืออาชีพมาเลยใช่ไหม?"
            และได้ผลจริงๆ เพราะภายในเวลาต่อมาไม่นาน ขอบประตูทุกบานถูกหุ้มไปด้วยสักหลาดเพื่อการเก็บเสียงอย่างมิดชิด

            ส่วนมารดาชราของท่านปธน. ที่นอนแบบอยู่แต่ในห้อง มีความประสงค์ที่จะได้เข้าเฝ้าสักครั้งหนึ่ง..
            ทั้งสองพระองค์จึงเสด็จเข้าเยี่ยม ท่านปธน. ได้เข้าไปกระซิบใกล้ๆว่า
            "แม่ครับ..เจ้าฟ้าหญิงและพระสวามีเสด็จมาเยี่ยม"
            นางทรูแมน รีบกระวีกระวาดยันกายลุกขึ้นนั่ง และเจรจาว่า..
            "เหรอเจ้าคะ..แหม..ดีใจด้วยนะ ที่พ่อของท่านได้รับเลือกตั้งใหม่น่ะ"
            (นางทรูแมนค่อนข้างสับสนในข้อมูลเพราะความชรา เธอเข้าใจว่า เชอชิลล์คือพ่อของเจ้าฟ้าหญิง)
            และทันทีที่จบประโยค ทั้งสองพระองค์ถึงกับทรงพระสรวลเบาๆ
            แต่ตัวท่านปธน.เอง..หัวเราะจนแทบหงายท้องตกเก้าอี้..

            ตั้งแต่นั้นมา..สัมพันธภาพทางการทูตระหว่าง อังกฤษ-อเมริกา ก็แสนแน่นแฟ้นยิ่งขึ้นไปกว่าเดิม ชาวอังกฤษต่างชื่นชมทหารอเมริกันที่เคยเข้ามาร่วมรบในสงครามจนได้รับชัยชนะเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว
            มาครั้งนี้...ทุกคนยิ่งแสนปลาบปลื้มถึงขนาดพากันไปชมหนังข่าวการเสด็จประพาสอเมริกาในโรงภาพยนตร์อย่างแน่นขนัด
            เมื่อเสด็จนิวัตถึงลอนดอน พระเจ้ายอร์จที่หกและพระราชินีได้ไปรับพร้อมทั้งเจ้าชายชารลส์ที่มีพระชนมายุได้แค่สามชันษา อีกทั้งทรงประหม่า ขัดเขินในการที่จะพบกับพระบิดา พระมารดา
            เพราะถ้าจะเปรียบไปแล้ว..ทั้งสองพระองค์เหมือนกับคนแปลกหน้าแก่พระโอรส
            (ซึ่งในช่วงเวลานั้น..นับว่าเป็นบาดแผลฉกรรจ์ในพระทัยของเจ้าฟ้าชายชารลส์มาจนทุกวันนี้ ดังในข้อความบันทึกชีวประวัติของพระองค์ว่า..มิได้ทรงลืมเลยสักนิด ว่า..ในการพบกันครั้งนั้น
            การทักทายที่ได้รับจากพระมารดาคือการลูบที่หลังสองสามที...ช่างชาเย็นเสียเหลือเกิน)


            พระเจ้ายอร์จที่หก..หลังจากที่ได้เลื่อนการประพาสออสเตรเลีย และ นิวซีแลนด์ ครั้งแล้วครั้งเล่ามาได้ถึงสามปี
            คราวนี้พระองค์ทรงมีพระดำริที่จะเสด็จจริงๆเสียที ทุกอย่างจึงต้องถูกวางแผนใหม่
            แต่หลังจากที่มีการเตรียมการอย่างมั่นเหมาะแล้ว..แพทย์ประจำพระองค์กลับลงความเห็นว่า ไม่สมควรเสด็จไปไหนทั้งสิ้น..
            ก็เลยเป็นอันว่า..เจ้าฟ้าหญิงและพระสวามีต้องเสด็จแทน..คราวนี้ ต้องนานถึงห้าเดือน ซึ่งสองพระองค์มีพระประสงค์ที่จะแวะที่เคนย่า ไปด้วย..
            เนื่องจากอยากจะแวะทอดพระเนตรและประทับที่
            วัง Sagana Royal Lodge ที่ Nyeri ที่ได้รับเป็นของขวัญในวันอภิเษกจากรัฐบาลอาฟริกาใต้

            วันเดินทาง คือ วันที่ 31 มกราคม 1952 ที่มีการส่งเสด็จที่สนามบิน ..พระเจ้ายอร์จที่หก และพระราชินีได้สั่งนักสั่งหนากับ "โบโบ" นางพระกำนัลคนสนิทว่า
            "ดูแลพระองค์ให้ดีนะ..ขอฝากด้วย"
            พระองค์ได้ประทับส่งเสด็จ พร้อมโบกพระหัตถ์อำลา จนกระทั่งเครื่องบินได้ลับหายเข้ากลีบเมฆ ราวกับจะล่วงรู้ว่า..นั่นคือ การลาครั้งสุดท้าย..!!

            ห้าวันต่อมา ที่พระราชวัง แซนดริงแฮม คือวันที่ 6 กุมภาพันธ์ พระเจ้ายอร์จที่หกได้เสด็จสวรรคตไปอย่างเงียบๆบนพระที่ในเวลาเช้าตรู่
            เซอร์ ฮาโรลด์ แคมป์เบล ได้เป็นผู้เข้าไปกราบทูลให้พระราชินีได้ทรงทราบในขณะที่กำลังเสวยพระกระยาหารเช้า ซึ่งพระองค์ได้รีบเสด็จไปอย่างทันที
            เมื่อไปถึงยังพระที่ พระองค์ได้ทรงจุมพิตลาพระสวามีที่พระนลาฏ และสั่งให้มหาดเล็กยืนเฝ้าพระศพอย่างเต็มอัตรา ทรงตรัสว่า
            "อยู่เป็นเพื่อนพระเจ้าอยู่หัวด้วย" และต่อด้วยว่า..
            "ส่งข่าวให้ลิลิเบธทราบเดี๋ยวนี้.."
            ทันทีที่ตรัสออกไป ทรงนึกขึ้นได้ จึงรีบแก้ใหม่ว่า
            "ส่งข่าวไปกราบบังคมทูลให้สมเด็จพระราชินีทรงทราบเดี๋ยวนี้"

            ท่านเซอร์ แคมป์เบลได้พยายามติดต่อไปที่เคนย่า แต่ไม่สามารถติดต่อได้ เนื่องจากมีมรสุมเข้า โทรศัพท์ใช้การไม่ได้ ท่านเซอร์จึงใช้ติดต่อผ่านไปทางสำนักข่าวรอยเตอร์
            แต่ในตอนนั้น สองพระองค์ได้เสด็จออกป่าไปส่องสัตว์ กว่าจะรู้เรื่องก็ล่วงไปอีกวันหนึ่ง..
            เจ้าฟ้าหญิงทรงรับทราบข่าวด้วยความสงบ ทรงดำเนินกลับไปยังที่ประทับอย่างช้าๆ
            ที่นั่น..โบโบกำลังทำความสะอาดฉลองพระบาทสีดำ
            ซึ่งทันที่เสด็จเข้ามา..นางพระกำนัลโบโบ รีบลุกขึ้นถอนสายบัวถวายความเคารพอย่างนอบน้อมต่อสมเด็จพระราชินีองค์ใหม่
            "ไม่ต้องทำอย่างนั้นหรอก โบโบ..ฉันเสียใจกับพวกเธอนะ ที่ต้องเดินทางกลับกันอย่างกระทันหันแบบนี้"

            ท่านขุนนาง มาร์ติน ชาร์เตอริส ได้ถวายเอกสารการเถลิงราชย์มาให้ทอดพระเนตร พร้อมทั้งถามความเห็นชอบจากพระองค์ว่าจะเลือกใช้พระนามใด (เพื่อที่จะเติมในช่องว่างในเอกสาร)
            "ก็ต้องเป็นชื่อฉันซิ..อลิซาเบธ "
            "ถ้าเช่นนั้น ก็ต้องเป็น อลิซาเบธที่สองพระยะค่ะ"

            มาร์ติน ชาร์เตอริส ได้บันทึกข้อความถึงวินาทีนั้นว่า..พระราชินีองค์ใหม่ไม่ได้มีท่าทางตื่นเต้น หรือตื่นตระหนกเลยแม้แต่นิด ทรงมีพระพักต์ที่แน่วแน่ กล้าหาญราวกับทรงเตรียมพร้อมต่อการณ์นี้มานานแสนนาน
            ผิดกับเจ้าชายพระสวามีที่มีท่าทางหงุดหงิดอย่างเห็นได้จากอากัปกิริยาที่โยนหนังสือพิมพ์ไทม์ลงดังโครม..
            เพราะมันหมายถึงชีวิตแห่งความสนุกสนานได้หมดลงแต่เพียงเท่านี้..ชีวิตต่อไปที่เหลือ คือ
            ภาระหน้าที่ต่อราชบัลลังค์ล้วนๆ

         

            การเสด็จกลับของพระองค์ที่มีท่านเชอร์ชิลล์ไปรอรับเสด็จที่สนามบินพร้อมทั้งคณะบุคคลในรัฐบาล
            และได้นำเสด็จพระราชดำเนินไปยังพระตำหนักคลาแร้นซ์ที่ซึ่งสมเด็จพระนางแมรี่ได้ทรงคอยอยู่
            ในฉลองพระองค์ชุดดำ
            (สมเด็จพระนางแมรี่ พระอัยยิกาเจ้า..ผู้ซึ่งมีพระชนมายุได้แปดสิบห้าในตอนนั้น ได้เสด็จสวรรคตในเวลาสิบสามเดือนต่อมา แต่ในขระที่ทรงมีพระชนมายุอยู่นั้น พระองค์ได้ทรงสูญเสียพระสวามีพระเจ้ายอร์จที่ห้า..และต้องมาปลงพระศพพระโอรสอีกสองพระองค์
            จนพระองค์ได้ออกกฏว่า..ชุดดำ เป็นสัญญลักษณ์แห่งความโศกเศร้า ที่ต้องใช้ในพิธีงานศพเท่านั้น
            และชาววินด์เซอร์จะไม่ใส่ชุดดำไปไหนทั้งสิ้นถ้าไม่ใช่เพื่องานแห่งความสูญเสีย
            และสมเด็จพระราชินีที่ต้องเสด็จเข้ามาหาพระนางแมรี่ก่อน นั่นคือธรรมเนียมปฏิบัติในพระราชวงค์ที่ต้องให้พระญาติที่เจริญพระชันษาที่สุดได้จุมพิตพระหัตถ์และถวายความเคารพก่อนเป็นองค์แรก)

            นายจอห์น ดีน ได้บันทึกไว้ว่า เพราะพระประสงค์ของพระนางแมรี่ดังนี้..ชาววังจึงถือเป็นระเบียบปฏิบัติที่ไม่ว่าจะไปไหนต่อไหน ต้องมีชุดดำเตรียมพร้อมเสมออยู่ในกระเป๋าเดินทาง เผื่อฉุกเฉิน
            อย่างครั้งนี้ ที่..สมเด็จพระราชินี (องค์ใหม่) จึงได้เสด็จลงจากเครื่องบินด้วยชุดดำที่พร้อมไปทั้งหมด ทั้งพระมาลา และฉลองพระหัตถ์

            เมื่อได้เสด็จถึงพระตำหนักคลาแร้นซ์..พระนางแมรี่ พระอัยยิกาได้รีบชิงถอนสายบัวถวายความเคารพพระราชินีที่มีพระชนมายุเพียง ยี่สิบห้าก่อน แต่เมื่อทรงพระวรกายขึ้นมาได้ พระนางรีบเข้าไปกระซิบกับพระนัดดาว่า..
            "นี่..ลิลิเบธจ๋า..กระโปรงที่ทรงอยู่นั่น...สั้นไปหน่อยนะจ๊ะ"

       
      

            

      

             หลังจากที่ได้เสด็จกลับจากที่ประทับของพระนางแมรี่ สมเด็จฯ (ต่อไปจะเรียกอย่างนี้ เพื่อไม่ให้สับสน) ได้เสด็จไปที่พระราชวังเซนต์ เจมส์ และได้ทรงประกาศต่อประชาชนว่า
            "ในใจของฉันเต็มไปด้วยความรู้สึกหลายอย่างและอยากจะกล่าวอะไรให้มากกว่านี้ แต่..ในวันนี้ ขอบอกแค่ว่า ฉันจะทำงานเพื่อชาติให้มากเท่ากับที่พ่อเคยทำไว้"

            ที่พระราชวังเซนดริงแฮม พระราชินี (ม่าย) และ พระขนิษฐา เจ้าฟ้าหญิงมาร์กาเร็ตรอรับเสด็จอยู่ที่นั่น ด้วยทีท่าที่โศกเศร้า พระราชินียังทรงทำพระทัยไม่ได้ต่อการจากไปอย่างกระทันหันของพระสวามีในครั้งนี้
            ยังมิได้ทรงฉลองพระองค์ชุดดำ
            และสิ่งแรกที่พระองค์ทรงทำนั่นคือ แต่งตั้งตำแหน่งใหม่ให้ตัวเองโดยไม่สนพระทัยว่ากฏระเบียบฐานันดรจะว่าอย่างไร เพียงแต่ทราบว่า พระองค์ทรงทนไม่ได้ต่อตำแหน่งอื่นๆ
            ที่ฟังแล้วเหมือนกับเป็นการลดพระเกียรติ เช่น Queen Dowager
            ฉะนั้น..พระองค์จึงได้ประดิษฐ์พระยศขึ้นมาใหม่ นั่นคือ
            Queen Elizabeth the Queen Mother เพราะในพระนามนี้ อย่างไรเสีย ตำแหน่งควีนก็ไม่ได้สูญหายไปไหน ซ้ำยังเป็นควีนถึงสองครั้งสองหนซะอีก..
            (ต่อไปในการเขียน..จะเรียกพระองค์ว่า ควีนมัม)
            ทีนี้หันมาดูเจ้าชายชารลส์..พระโอรสวัย สามชันษาบ้าง ขณะที่เกิดเหตุการณ์นั้น พระองค์กำลังทรงพระสำราญกับของเล่นอยู่ในพระตำหนักที่พระราชวังแซนดริงแฮม และทรงถามพระพี่เลี้ยงว่า
            "คุณตาไปไหน..?"
            พระพี่เลี้ยงรีบถอนสายบัวถวายบังคมและตอบว่า
            "พระอัยกาทรงหลับไปชั่วนิรันดร์แล้วเพคะ"
            เพราะว่าเพียงแค่ไม่กี่ชั่วโมง เจ้าชายพระองค์น้อยได้ถูกเลื่อนพระยศขึ้นเป็น Duke of Cornwall, Duke of Rothesay, Earl of Carrick , Baron of Renfrew, Lord of Isles, Great Steward of Scotland
            และที่สำคัญคือ พระองค์ได้เป็น เจ้าฟ้าชายชารลส์ มกุฏราชกุมาร ซึ่งมีพระยศเหนือกว่าพระบิดา..

            พระราชพิธีงานศพได้ถูกจัดขึ้นอย่างสมพระเกียรติ ประชาชนร่ำไห้กันระงมไปทั่วเมืองด้วยความอาลัย พระเจ้ายอร์จที่หก ถึงแม้ว่าจะไม่งดงาม สวยสง่า แต่พระองค์ก็ทรงเป็นวีรบุรุษพระองค์หนึ่งที่สามารถพาชาติให้พ้นภัย
            แม้ว่าในรัชสมัยของพระองค์ มหาอาณาจักรแห่งบริเตน ได้หดลดเหลือลงแค่ สหราชอาณาจักรก็ตามที
            แต่บัลลังค์ที่ตกมาเป็นมรดกของพระธิดาก็หนาแน่นมั่นคงกว่าครั้งไหนๆ
            สมเด็จฯทรงวางช่อพระมาลาประดับลงบนพระหีบ ด้วยข้อความที่ติดมาว่า
            "To darling Papa from your sorrowing Lilibet"
            จากนั้นก็ทรงถอยสายบัวถวายบังคมแก่พระศพ..
            และนั่นคือ การถอนสายบัวครั้งสุดท้ายของสมเด็จ..ที่จะไม่มีใครได้เห็นการกระทำเยี่ยงนั้นอีกต่อไป..

            
            จากวินาทีที่สมเด็จได้เสด็จกลับมาสู่ผืนแผ่นดินอังกฤษนั้น พระองค์ได้ถูกห้อมล้อมไปด้วยเหล่ากรมวังที่ต้องทำหน้าที่ถวายรายงานถึงเรื่องต่างๆอันที่จะเป็นพระราชกรณียกิจต่อไปในข้างหน้า..
            อีกทั้งเรื่องการรับรองแขกบ้านแขกเมืองที่จะเข้าร่วมในงานพระราชพิธีที่มีมาในยศถาแตกต่างกัน ทั้งพระมหากษัตริย์ ประธานาธิบดี จากหลายๆประเทศ
            และ..รวมทั้งการรับรองพระปิตุลา ดยุค แห่ง วินด์เซอร์ ผู้ซึ่งเริ่มก่อการไม่สงบด้วยการทวงถามถึงเรื่องเบี้ยหวัดรายปี จำนวนกว่าห้าหมื่นปอนด์ที่ทรงเคยได้รับจากพระเจ้ายอร์จที่หก พระอนุชามาตั้งแต่ปี 1936
            ซึ่งบัดนี้ เงินทั้งหมดนั่นได้ตกมาเป็นสมบัติของสมเด็จฯ ซึ่งเป็นพระราชอำนาจจะประทานก็ได้ ไม่ประทานก็ได้
            ท่านดยุค..ได้เตือนมาว่า เงินจำนวนนี้ต้องยังคงจ่ายต่อไป..และทนายความของท่านได้กำกับข้อความมาว่า เพราะเป็นเงินจากกองมรดกอันเป็นสิทธิชอบธรรมของท่านดยุคตั้งแต่ครั้งที่สละราชสมบัติและได้โอนไปให้
            ในความดุแลของพระอนุชา

            ท่านดยุค..ได้ทราบดีว่า..สมเด็จฯจะต้องนำความนี้ไปปรึกษากับพระอัยยิกา พระนางแมรี่ ผู้ซึ่งเป็นพระมารดาของพระองค์แท้ๆ และ ควีนมัม ที่ต้องมีส่วนออกความเห็นด้วย ถึงกับคาดการณ์ล่วงหน้าได้
            ดังที่ได้เขียนจดหมายไปหาหม่อมวอลลิสจากอังกฤษว่า..
            "It's hell to be even that much dependent on these ice-veined bitches, I'm afraid they've got the fine excuse of national economy if they want to use it."

            (หมายเหตุ..ตรงนี้ไม่อยากแปลเลย เพราะเป็นภาษาไทยไม่ว่าจะพลิกแพลงขนาดไหน ฟังแล้วก็ยังปวดใจ ที่ลูกจะเรียกแม่ หรือ ลุงจะเรียกหลาน..ว่า บิช เนี่ยนะ"

            และที่แน่ๆคือ ทางฝ่ายสมเด็จฯไม่ต้องใช้ข้ออ้างถึงเรื่องเศรษฐกิจเลยสักนิด เพราะ ควีนมัมออกโรงเองเลยว่า..
            สมบัติที่ท่านดยุคได้หอบไปก็มีล้นฟ้า แถมเอาไปให้เมียชั้นต่ำเอาไปผลาญเล่นอย่างไม่เสียดมเสียดาย
            ผลการตกลงคือ ไม่จ่ายเบี้ยหวัดให้อีกต่อไป..
            (ข่าวได้มีถึงพระกรรณบ่อยๆว่า หม่อมวอลลิสได้ใช้เงินซื้อรองเท้าครั้งเดียวถึงห้าสิบหกคู่ ในการช๊อปปิ้งบ้าเลือด ใช้น้ำหอมดิออริสสิโมฉีดใส่ดอกไม้ในกระถาง เพื่อจะได้หอมไปทั่วทั้งบ้าน และสุนัขของหล่อนต้องนอนในหมอนผ้าซาตินอย่างดี)
            หลังจากที่พิธีศพพระเจ้ายอร์จที่หกได้ผ่านพ้นไป การรับมรดกได้เริ่มทำการกระทำกัน นั่นคือ พระราชสมบัติทั้งหมดของพระองค์ได้ตกมาเป็นของสมเด็จพระราชินีองค์ใหม่ อันกอร์ปไปด้วย
            เหล่าปราสาทพระราชวัง แม่ม้าพันธ์ดีหลายต่อหลายคอก เหล่าข้าราชบริพาร กรมวัง มหาดเล็ก จางวาง พนักงานรับใช้ และ พระราชเลขาธิการส่วนพระองค์ คือ เซอร์ อลัน (ทอมมี่) ลาส์เซลเลส

            ซึ่งโดยความจริงแล้ว..นั่นหมายถึง ควีนมัมและพระขนิษฐา เจ้าฟ้าหญิงมาร์กาเร็ตได้ลดเหลือเป็นเพียงผู้อาศัยเท่านั้น และที่แย่ไปกว่านั้น นั่นคือ ทั้งสองต้องย้ายออกไปจากพระราชวังบั๊คกิ้งแฮมซะด้วย
            เนื่องจาก สมเด็จฯและพระสวามีต้องย้ายจากพระตำหนักคลาแร้นซ์เข้ามาประทับอยู่ในพระราชวังบั๊คกิ้งแฮม (หรือที่เรียกกันเล่นๆว่า บั๊คเอ้าส์) ที่ไม่มีใครอยากมา..
            สมเด็จถึงกับทรงอุทานว่า
            "ตายจริง เราต้องย้ายไปอยู่หลังสถานีรถไฟอีกแล้วหรือนี่"
            เจ้าชายฟิลิป พระสวามีออกอาการเซ็งสุดขีด ถึงกับสบถว่า
            "ให้ตายห่ะซิ..." ไม่มีใครอยากไปอยู่ที่นั่น เพราะมันช่างทึกทึม หนาวเย็น และ เชยสุดขีด
            พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่แปด หรือ ดยุค ออฟ วินด์เซอร์ เคยว่า..ทั้งชื้น.. ทั้งเหม็น..
            พระเจ้ายอร์จที่หก เคยว่า หนาวยังกะอยู่ในตู้เย็น
            เจ้าชายฟิลิป ทรงว่า เหมือนอยู่ในโรงเตี๊ยม
            พระองค์ไม่อยากย้าย เพราะพระตำหนักคลาแร้นซ์เพิ่งตกแต่งสร้างไปอย่างทันสมัย โอ่อ่า หรูหรา (ที่หมดงบประมาณไปล้านกว่าๆนั่น)
            สมเด็จได้นำความไปปรึกษากับท่านนายกฯเชอร์ชิลล์ ว่า ไม่ย้ายจะได้ไหม?
            ท่านนายกฯ.ตอบกลับมาอย่างหนักแน่นว่า..
            "เห็นจะไม่ได้พะยะค่ะ เพราะสมเด็จพระราชินีต้องประทับและทรงงานอยู่ในพระราชวังอันเป็นธรรมเนียมแต่โบราณของความเป็นกษัตริย์"

            ในที่สุดก็ต้องทรงยอมแพ้แก่ท่านนายกไปแต่โดยดี ส่วนเจ้าชายฟิลิปได้รื้อฉากไม้เมเปิ้ลสีขาวลงมาจากผนังเพื่อนำไปติดในห้องบรรทมในพระราชวัง
            ท่านายกเชอร์ชิลล์ได้เสนอความเห็นให้ทรงเปลี่ยนสลับที่ประทับกับพระมารดาและพระขนิษฐา โดยให้คนทั้งสองย้ายออกไปใช้พระตำหนักคลาแร้นซ์แทน เพราะในตอนนั้นควีนมัมทรงเริ่มมีพระอาการแปลก
            กล่าวคือ เริ่มมาสนใจในเรื่องการเข้าทรง เรื่องจิตวิญญาณ และทรงเชื่อว่า วิธีนี้อาจติดต่อสื่อสารกับพระสวามีที่ล่วงลับได้

          
            สมเด็จฯทรงเห็นชอบด้วยในการนี้...ก็หมายถึงว่า ท่านนายกได้ทำหน้าที่เป็นทูตไปเจรจา เพราะอาจต้องใช้จิตวิทยาทางการทูตให้มากกว่าธรรมดาที่จะโน้มน้าวให้อดีตพระราชินีทรงยินยอมย้ายจากพระราชวัง
            มาประทับอยู่พระตำหนัก..
            โดยท่านเชอร์ชิลล์ได้อ้างว่า..เมื่อสิ้นสูญพระเจ้ายอร์จไปแล้วประเทศชาติได้กำลังต้องการพระปรีชาสามารถของพระองค์ให้มาช่วยค้ำจุนมากกว่าแต่ก่อน เห็นทีจะยังยอมให้ทรงเกษียณยังไม่ได้

            ควีนมัม..ทรงเกี่ยงเล็กๆว่า..ไม่อยากจากห้องพระบรรทมในพระราชวังไป เพราะชอบเตาผิงไฟหินอ่อนที่มีติดตั้งอยู่ในห้อง
            ท่านนายก ก็ว่า..กระหม่อมจะจัดการเคลื่อนย้ายไปให้..

            ควีนมัม ทรงเกี่ยงต่อไปว่า..พระองค์ไม่อยากสิ้นเปลืองไปกับการย้ายไปอยู่ในสถานที่หรูหราอย่างนั้น...
            ท่านนายกก็ว่า..กระหม่อมจะเพิ่มเงินงบประมาณการใช้จ่ายส่วนพระองค์จาก สองแสนสอง ต่อปี ไปเป็น สามแสนหก รวมทั้งค่าใช้จ่ายของคุณพนักงานอีกสิบห้า

            ควีนมัมก็ทรงเกี่ยงต่อไปว่า..แล้วบ้านที่นอกเมืองล่ะ.. (ทั้งๆที่พระองค์เพิ่งทรงซื้อ Castle of Mey ที่ Scotland ไปหมาดๆไม่นานมานี้)
            ท่านายกก็ว่า..กระหม่อมได้จัดมอบพระตำหนัก รอยัล ลอดจ์ ที่ วินเซอร์ ปาร์ค ใกล้กับพระราชวังวินเซอร์ไว้ถวายแล้ว

            ท่านนายกเชอร์ชิลล์ ร่ำๆจะหมดความอดทน เกือบหลุดปากไปว่า..ถ้าพระองค์อยากจะได้บิ๊ก เบน กระหม่อมก็จะรื้อมาถวาย...
            แต่..เผอิญว่า..ควีนมัมได้ทรงหยุดการเกี่ยงงอนไปแต่แค่นั้น...ท่ามกลางความโล่งใจของทุกๆฝ่าย
            ส่วนองค์สมเด็จฯ ทรงตามพระทัยพระมารดาในแทบทุกเรื่อง เนื่องจากทรงเห็นพระทัยในความสูญเสียความหลังแห่ง สิบหกปีของความยิ่งใหญ่ ที่เคยทรงมีทุกอย่าง
            เพชรนิลจินดา มหามงกุฏ ปราสาทราชวัง ข้าราชบริพาร เพียงแต่สมเด็จฯไม่เคยทรงทราบว่า สิ่งที่พระมารดารู้สึกว่าขาดหายไปนั้น ไม่ใช่สิ่งของ หรือ มหาสมบัติ
            หากแต่เป็น..การมีส่วนในความคิดเห็นของการบริหารราชบัลลังค์ต่างหาก ดังพระราชหัตถเลขาที่ได้ส่งให้กับท่านผู้หญิงแอร์ลี่ย์ พระสหายสนิทว่า
            "เมเบลที่รัก..ฉันรู้สึกขัดอกขัดใจจริงๆนะ..เพราะเมื่อก่อน..ไม่ว่าเรื่องอะไร พระเจ้าอยู่หัวเป็นต้องมาบอกให้ฉันรู้ก่อนใครๆ"
            และยังไม่ทันที่จะย้ายที่ประทับ..ควีนมัมก็ได้จัดการสั่งทำกล่องหนังสีแดง (สำหรับหนังสือราชการ) ที่มีตัวอักษรสีทองเขียนไว้เด่นชัดว่า
            "HM Queen Elizabeth the Queen Mother"
       Castle of May

            สมเด็จพระราชินี..ได้ทรงแสดงความเป็นผู้นำในพระองค์เอง โดยการที่มิได้ยกพระสวามีขึ้นเทียบเท่า
            มิหนำซ้ำ ในกล่องหนังสือราชการส่วนพระองค์ก็มิได้ทรงอนุญาตให้พระสวามีร่วมเกี่ยวข้อง
            และในข้อนี้ พระองค์ได้ผิดแผกไปจากพระบุรพกษัตริย์องค์ก่อนๆ
            เช่น สมเด็จพระราชินีวิคตอเรียได้ให้พระราชอำนาจแก่เจ้าชายอัลเบิร์ตพระสวามีในเรื่องการร่วมมีส่วนในกล่องหนังสือราชการ
            พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่เจ็ด ได้ทรงอนุญาตให้แก่พระสุนิสา (พระนางแมรี่ พระมเหสีของพระเจ้ายอร์จที่ห้า)
            พระเจ้ายอร์จที่หกและควีนมัมก็ต่างช่วยกันว่าราชการ...

            ครั้งนี้คือครั้งแรก..ที่..เจ้าชายพระสวามีไม่มีสิทธิดังที่เคยปฏิบัติมาในครั้งอดีต..
            คณะรัฐบาลและเหล่าเสนาบดีได้ทวนถามครั้งแล้วครั้งเล่าเพื่อความแน่ใจ..คำตอบจากสมเด็จพระราชินีคือ..
            "No to the boxes."
            แต่กับพระสวามี..พระองค์ทรงโบ้ยไปว่า..เป็นความเห็นชอบของเสนาบดี..
            พระสหายสนิทของสมเด็จ..ท่านลอร์ด คินรอสส์ บารอน แห่ง กลาสคลุน ได้เขียนคอลัมน์ลงในหนังสือ นิวยอร์ค ไทม์ ถึงเรื่องเกี่ยวกับเทคนิคการบริหารพระสวามีของพระองค์ว่า
            สมเด็จฯได้ทรงเคยปรึกษากับพระสหายว่า.."ถ้าสามีของเธออยากได้อะไร ที่เธอไม่อยากให้ เธอจะทำอย่างไร?"
            พระสหายตอบว่า.."เราก็จะพูดคุยกัน และพยายามหาทางออกด้วยการอลุ้มอล่วยซึ่งกันและกันน่ะซิ"
            แต่พระองค์ตอบว่า.."งั้นเหรอ นั่นไม่ใช่วิธีการของฉันเลย เพราะฉันจะบอกเขาไปว่า..ได้ซิ..ตามใจ..แต่..เบื้องหลังแล้วฉันจะพยายามทุกอย่างที่จะไม่ให้เขาได้ไปอย่างที่ต้องการ
            เท่านั้นไม่พอ...สมเด็จทรงเคร่งครัดในเรื่องระเบียบแบบแผนมาก ถึงขนาดไม่ทรงอนุญาติให้พระสวามีเข้ามาในห้องสีฟ้า (Wedgwood blue room) ในขณะที่ใช้เป็นการประชุมราชการกับคณะรัฐมนตรี
            (อาทิตย์ละครั้ง)
            เจ้าชายฟิลิปได้ทรงบ่นน้อยพระทัยบ่อยๆว่า..เมื่อก่อน..เราเป็นน้ำหนึ่งอันเดียวกัน..แต่เดี๋ยวนี้ไม่เหมือนเดิมแล้ว...
            เอเวลีน เพรเบนเซน พระสหายและแขกที่ได้รับเชิญไปร่วมโต๊ะเสวยได้เขียนไว้ว่า..
            "อนิจจา เจ้าชายฟิลิปที่เคยโอ่อ่า อลังการ์ ตอนนี้แทบไม่เหลือราศรีอะไร ในงานดินเนอร์ครั้งนั้น เจ้าชายไม่สามารถนั่งได้ถ้าสมเด็จยังไม่ประทับ..และถ้าโผล่เข้ามาล่าช้ากว่าสมเด็จ ต้องโค้งถวายบังคม
            และต้องบอกว่า..ขอพระราชประทานอภัยในความล่าช้าของกระหม่อมพะยะค่ะ"

          

            พระเจ้าปีเตอร์..อดีตพระมหากษัตริย์แห่งยูโกสลาเวีย ได้ตรัสว่า..สงสารฟิลิปเสียจริง จะทนไปได้สักแค่ไหน

            ไอลีน..ภริยาของพระสหายสนิท ไมเคิล ปาร์คเกอร์ เคยได้ยินเจ้าชายฟิลิปทรงปรารภว่า..
            ไอ้นั่นก็ไม่ใช่ ไอ้นี่ก็ไม่ใช่ เลยไม่รู้ว่าตัวเราเป็นอะไร...

            ไม่นานต่อมา..เจ้าชายได้ทรงแยกพระองค์อย่างโดดเดี่ยวแต่ในห้องที่ประทับ ติดต่อแต่กับพระภคินี เจ้าหญิงมาการิต้า สาเหตุที่มาของเรื่องก็มีอยู่ว่า..
            เมื่อหลังจากการสิ้นสวรรคตของพระเจ้ายอร์ที่หก ..ฝ่ายตระกูลเมาท์แบตเทน ที่มีหัวหอกคือ ท่านลุง ลอร์ด หลุยส์ ได้ป่าวร้องเรียกประชุมญาติมิตรเชื้อสายเยอรมันแต่เก่าก่อน ให้มาร่วมดื่มแชมเปญ จัดปาร์ตี้ฉลองการกลับมาสู่ความยิ่งใหญ่ของ เชื้อสาย แบตเตนเบอร์ค หรือ
            เมาท์แบตเทน...
            เนื่องจาก สมเด็จพระราชินีของอังกฤษในปัจจุบันคือ ศรีสะใภ้ของตระกูลที่ต้องพ่วงท้ายนามสกุลของพระสวามี นั่นคือ วินด์เซอร์/เมาท์แบตเทน
            อะหา..พวกเราจงดื่มให้แก่..สายเลือดแห่งเจ้านายลุ่มแม่น้ำไรน์ที่จะกลับมาผงาดอีกครั้ง..
            ข้อความนี้ได้ล่วงรู้ไปถึงพระกรรณของพระนางแมรี่..ที่ทรงกริ้วจนแทบระงับไม่อยู่..
            หนอย..ชิชะ..พระสวามีที่ล่วงลับ พระเจ้ายอร์จที่ห้าได้ทรงพยายามทุกอย่างที่จะตัดขาดจากสายเลือดเยอรมัน..ทรงยอมตัดพี่ตัดน้องเพื่อความมั่นคงของราชบัลลังค์
            มาบัดนี้..
            ราชบัลลังค์ที่ได้ทรงสร้างมากำลังจะตกเป็นเครื่องมือของเจ้าคนเหิมเกริมอย่างลอร์ดหลุยส์ เห็นทีจะยอมไม่ได้..
            พระนางแมรี่รีบทรงแก้ใจความค่อใครๆทันที ว่า
            ฟิลิปไม่ใช่เลือดเนื้อโดยตรงของเมาท์แบตเทน เขาเป็น..ชเลวิค-ฮอลสไตน์-ซอนเดอร์เบอร์ค-กลัคเบอร์ค-เบค
            และถ้าจะนับว่าอยู่ในสายสกุลกันจริงๆแล้ว เขาคือ กลัคเบอร์ค (Glucksburg) ต่างหาก

            พระนางได้ทรงเรียกท่านนายกเชอร์ชิลล์ให้หาทันที..ได้ทรงเล่าข้อความทั้งหมดให้ฟัง พร้อมกับย้ำว่า พระองค์ไม่ต้องการเห็นความเห่อเหิมของอาการที่อยากจะกลับมาดังของท่านลอร์ดหลุยส์
            และไม่ทรงต้องการเห็นลอร์ดหลุยส์ได้เข้ามามีบทบาทใดๆกับพระราชวงค์วินด์เซอร์ของพระองค์
            ท่านนายกเชอร์ชิลล์เห็นพ้องในพระกระแสรับสั่งทุกประการ...และในใจยิ่งนึกชื่นชอบและศรัทธาในอดีตพระราชินีองค์นี้อีกอักโข เพราะ พระองค์นั้นคือเจ้าหญิงแห่งเยอรมันแท้ๆที่ได้กลายมาเป็นอังกฤษอย่างเต็มตัว..
            และทรงรังเกียจฮิตเล่อร์อย่างจับใจ ทรงตรัสเสมอว่า..
            "ฮิตเล่อร์ยังพูดภาษาเยอรมันเหน่อด้วยซ้ำ เพราะ มันไม่ใช่เยอรมันสักนิด..."


            (หมายเหตุ ฮิตเล่อร์ คือ ออสเตรียนที่แปลงสัญชาติมาเป็นเยอรมัน อยากรู้ให้กลับไปอ่านเรื่องอิตเล่อร์ที่เคยเขียนไว้..)


            ท่านนายกรีบขานรับนโยบายพระนางแมรี่ กลับมาตั้งโต๊ะกลมประชุมด่วน..
            เหล่าคณะรัฐมนตรีในรัฐบาลล้วนแต่เป็นพวกกรำศึกมาแต่ครั้งสงครามโลกสองสมัยนั่น
            ทุกคนเข้าใจในพระประสงค์ของพระนางเป็นอย่างดี เพราะความจงชังเยอรมันยังอยู่ครบ..ไม่ได้เหือดหายไปไหน
            ดังนั้น ผลสรุปคือ สมเด็จพระราชินีต้องเป็นผู้ที่ต้องแจกแจงโดยละเอียดว่า..พระราชวงค์ของพระองค์คือ วินด์เซอร์ เท่านั้น (อย่างอื่นไม่เกี่ยว)
            และเหล่าพระโอรสและพระธิดาก็ต้องเป็นวินเซอร์..
            จึงได้ร่างรายงานทูลเกล้าถวาย..จากความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีใจความว่า
            "คณะรัฐบาลได้มีความเห็นพ้องต้องกันว่า พระองค์ควรที่จะยกเลิกการใช้พระนาม เมาท์แบตเทน ของพระสวามี และขอให้ทรงประกาศใช้ วินเซอร์เพียงอย่างเดียว
            อันเป็นพระประสงค์ของพระเจ้ายอร์จที่ห้าและที่หกที่จะผดุงสายราชสกุลของพระองค์ให้รุ่งเรืองสืบไป.. "

            สมเด็จฯ ทรงเห็นชอบด้วย..
            แต่คนที่รุ่มร้อนคือเจ้าชายฟิลิป ที่พยายามขอต่อรองจาก House of Mountbatten and Windsor ให้มาใช้ House of Windsor and Edinburgh
            ก็ไม่สำเร็จ..เพราะพระองค์ทรงปฏิบัติตามความต้องการของคณะรัฐมนตรีโดยไม่สนพระทัยในความรู้สึกของพระสวามี...

            เจ้าชายฟิลิป..ทรงน้อยพระทัยอย่างที่สุด ที่เพิ่งทรงรู้องค์ว่า..แทบไม่มีความสำคัญใดๆเลย..

            หลังจากที่ได้ประกาศใช้ เฮ้าส์ ออฟ วินด์เซอร์ ในวันที่ 9 เมษายน 1952 ไปแล้ว..ประชาชนเริ่มมองเห็นเด่นชัดได้ว่า สมเด็จฯนั้นมิใช่นางกษัตริย์ธรรมดา พระองค์มีความเป็นผู้นำอย่างเต็มเปี่ยมที่ไม่ยอมใช้นามสกุลของพระสวามี (เป็นของแปลกในยุคนั้น)

            และทุกคนก็ทราบอีกเช่นกันว่า..เมื่อเจ้าชายฟิลิปได้เข้ามาในฐานะพระสวามีนั้น พระองค์ไม่มีทรัพย์สมบัติสิ่งใดที่เป็นของตนเองเลยมีแค่ชาติตระกูลอย่างเดียวเท่านั้น
            แต่บัดนี้..แม้แต่ชาติตระกูลของพระองค์ก็ไม่มีใครมองเห็นความสำคัญใดๆ
            เจ้าชายเริ่มอึดอัดต่อสถานะการณ์ของตัวเองที่ช่างกลับตาลปัตรอย่างไม่น่าเชื่อ
            ถ้าผู้หญิงได้อภิเษกกับกษัตริย์ หล่อนก็จะได้เป็นพระราชินีคู่พระบัลลังค์
            แต่ถ้าเป็นชายที่ได้อภิเษกกับพระราชินี..เขาคนนั้นหาได้ถูกเทียบเท่าให้เป็นกษัตริย์ไม่..ยังคงเป็น เจ้าชายพระสวามีอยู่เช่นเดิม..

            แต่สมเด็จฯได้เข้าพระทัยในข้อนี้..จึงได้แต่งตั้งให้พระสวามีขึ้นมาเป็น His Royal Highness, Philip Duke of Edinburgh เป็นผู้ที่จะได้รับพระเกียรติยศรองลงไปจากสมเด็จพระราชินี
            และการประกาศยกระดับครั้งนี้ ทำให้ เจ้าชายพระสวามีได้ขึ้นมาอยู่เหนือกว่าใครๆในพื้นดินอังกฤษ เหนือกว่า อดีตกษัติย์ คือ ดยุค ออฟ วินด์เซอร์ และ เหนือกว่ากษัตริย์ในอนาคต เจ้าฟ้าชาย ชารลส์

            นอกจากนั้นก็มีการแต่งตั้งยศทางทหารแบบกราวรูด
            นั่นคือ จากเรือโททหารเรือ มาเป็น จอมพลทุกเหล่าทัพ
            ที่มีเรื่องขำ..นั่นคือ ครั้งหนึ่งที่มีงานเลี้ยงดินเนอร์ ท่านลอร์ด หลุยส์ก็เพิ่งได้รับการเลื่อนยศให้เป็นจอมพลแม่ทัพเรือ ได้แต่งชุดเครื่องแบบเต็มยศมาในงาน..ก็จ๊ะกันกับเจ้าชายฟิลิปพระสวามีที่แต่งชุดด้วยเครื่องแบบเดียวกัน ยศเท่ากัน..
            เลยเป็นปัญหาว่า..ใครจะตะเบ๊ะทำความเคารพใครก่อน..
            คำตอบจากเจ้าชายฟิลิปคือ ..ทำความเคารพพร้อมกัน..แต่..ในใจนั้นรู้กันดีว่า..ใครควรทำความเคารพใครก่อน !!

            
         
        
         
 




บทความจากสมาชิก




แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.
| WW II Europe | WW II Asia | WW I | Vietnam War | ประวัติศาสตร์ไทย | บทความจากสมาชิก | คุยกันหลังฉาก | บทความทั้งหมด |

สนใจร่วมเขียนบทความในเว็บไซต์ เชิญอ่าน แนวทางการร่วมเขียนบทความ ภาพยนตร์ประวัติศาสตร์

Custom Search



eXTReMe Tracker