dot
dot
เว็บภาพยนตร์ประวัติศาสตร์ ยินดีต้อนรับผู้สนใจทุกท่าน
dot
dot
สมาชิก Webboard/Blog
ชื่อผู้ใช้ :
รหัสผ่าน :
เข้าสู่ระบบอัตโนมัติ :
bullet ลืมรหัสผ่าน
dot
bulletข้อตกลงการเป็นสมาชิก
bulletเว็บบอร์ด-คุยกันหลังฉาก
bulletเว็บบอร์ด-Games ย้อนยุค
bulletเว็บบอร์ด-ชุดจำลองประวัติศาสตร์
bulletเว็บบอร์ด-หนังสือประวัติศาสตร์
bulletเว็บบอร์ด-เพลงประวัติศาสตร์
bulletคำถาม/คำตอบ ล่าสุด
bulletแนวทางการร่วมเขียนบทความ
dot
สงครามโลกครั้งที่ 2
dot
bulletสมรภูมิยุโรป (สัมพันธมิตรVSเยอรมัน-อิตาลี)
bulletสมรภูมิแปซิฟิก-เอเชีย (สัมพันธมิตรVSญี่ปุ่น)
dot
ภาพยนตร์ประวัติศาสตร์อื่นๆ
dot
bulletสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง
bulletประวัติศาสตร์ไทย
bulletประวัติศาสตร์อเมริกันยุคเริ่มแรก
bulletสงครามเวียดนามและอินโดจีน
bulletตะวันตกโบราณ (กรีก โรมัน ฯลฯ)
bulletประวัติศาสตร์ร่วมสมัย
bulletเอเชียโบราณ
bulletประวัติศาสตร์อื่นๆ (ยังไม่แยกหมวดหมู่)
bulletคลิปความรู้จาก YouTube
dot
บทความโดย วิวันดา
dot
bulletฮิตเล่อร์...และเหล่าขุนพลแห่งอาณาจักรไรค์ซที่สาม
bulletลอดลายรั้ว.....วินด์เซอร์
bulletเลิศเลอวงศา...โรมานอฟ
bulletเชลย
bulletซูคอฟ...ยอดขุนพลผู้ดับฝันของฮิตเล่อร์
dot
บทความโดย สัมพันธ์
dot
bulletคนไทยในกองทัพพระราชอาณาจักรลาว
bulletประวัติศาสตร์สงคราม กรีก
bulletกรณีพิพาทอินโดจีนและสงครามมหาเอเชียบูรพา
bulletอยุธยายศล่มแล้ว ลอยสวรรค์ ลงฤา
bulletฮานนิบาล
bulletพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบรมวงศานุวงศ์
bulletไทยกับมหาสงคราม
bulletสงครามเวียดนาม
bulletห้วยโก๋น ๒๕๑๘
bulletการทัพในมลายา
bulletประวัติศาสตร์อื่น ๆ
dot
เรื่องอื่นๆ
dot
bulletบทความเสริมความรู้ทั่วไป
bulletเกร็ดเล็กเกร็ดน้อย
bulletผู้จัดทำ
bulletผังเว็บไซต์ (Site Map)
bulletแนวทางการร่วมเขียนบทความ
bulletถาม-ตอบ (FAQs) (โปรดอ่านก่อนตั้งกระทู้หรือสมัครสมาชิก)
bulletร้านค้าออนไลน์
bulletแบ่งปัน Album
dot
ลิงค์ต่างๆ
dot
bulletHistory on Film
bulletกองบิน 21 กองพลบิน 2
bulletIELTS British Council
bulletIELTS IDP
bulletMUIC




โหราศาสตร์ยุคไอที



ประวัติศาสตร์กับภาษาต่างประเทศ article
วันที่ 21/04/2012   10:50:53

webmaster@iseehistory.com

เมื่อไม่กี่วันมานี้รู้สึกผิดคาดและผิดหวังกับนักคิดนักเขียนท่านหนึ่งซึ่งจะเรียกว่านักประวัติศาสตร์ด้วยหรือไม่ก็ตามแต่  ความจริงแล้วท่านเป็นบุคคลสำคัญที่กระตุ้นให้เกิดการค้นคว้าทางประวัติศาสตร์ไทยในแง่มุมใหม่ๆ อย่างมากมาย  เชื่อว่าท่านมีอิทธิพลทางความคิดทั้งโดยตรงและโดยอ้อมต่อคนในวงการประวัติศาสตร์หลายรายรวมถึงตัวผมเองด้วย  แต่บทความหนึ่งของท่านที่พึ่งเผยแพร่เมื่อเร็วๆ นี้  พูดถึงงานแปลวรรณกรรมไทยเป็นภาษาอังกฤษเรื่องหนึ่งที่เป็นผลงานของฝรั่งร่วมกันคนไทย  ประมาณว่าทำไมไม่เห็นใจคนที่อ่านได้แต่ภาษาไทยบ้าง

คนระดับนั้นทำไมถึงมีความคิดราวกับว่าถ้าเป็นภาษาอังกฤษแล้วไม่ขอรับรู้อะไรเกินกว่าชื่อเรื่อง ชื่อคนแต่ง กับภาพประกอบ  หรือว่าจริงๆ พออ่านได้บ้างแต่แกล้งๆ บ่นให้เกินๆ ไว้ก่อน  ช่างเหมือนกับใครอีกบางคนหรือหลายๆ คน หรืออีกกี่คนก็ไม่ทราบได้ที่เคยไปโพสต์ตามเว็บตามบอร์ดต่างๆ ประมาณนี้ว่า  ฉันอ่านภาษาอังกฤษไม่ออกนะเฟ้ย  แต่ฉันอยากจะรู้เรื่องอะไรแปลกๆ ลึกๆ ที่ไม่เคยรู้มาก่อน  ใครรู้ภาษาอังกฤษแล้วมีหน้าที่ต้องแปลเป็นภาษาไทยให้ฉันได้เสพย์นาเฟ้ย

นับเป็นความล้มเหลวอันใหญ่หลวงของการศึกษาไทยที่ทำให้คนไทยเห็นภาษาอังกฤษเป็นวิชาหนึ่งที่มีหน้าที่เรียนๆ สอบๆ ให้จบๆ กันไปโดยไม่เห็นคุณค่าว่ามันเป็นภาษาสากลที่จะไขความรู้อะไรต่างๆ ได้อีกมากมาย  นิสิตนักศึกษาจำนวนไม่น้อยตัดสินใจเลือกเรียนบางสาขาวิชา (คงรวมทั้งประวัติศาสตร์ด้วย) โดยหวังว่าจะได้ไม่ต้องเจอภาษาอังกฤษ  ทั้งที่ความรู้ระดับสูงของแทบจะทุกวิชาเป็นภาษาอังกฤษทั้งนั้น

อันว่าตัวผมเองนั้นก็ใช่ว่าจะเก่งกาจภาษาอังกฤษอะไรนักหนา  ไม่ใช่นักเรียนเมืองนอกเมืองนา  ไม่ได้มีเพื่อนฝูงหรือติดต่อชาวต่างประเทศที่ไหนเป็นประจำ  อายุป่านฉะนี้พึ่งจะได้ไปดูงานต่างประเทศหนเดียว  ฯลฯ  ครั้งแรกที่รู้สึกเอาจริงเอาจังกับภาษาอังกฤษค่อนข้างมากเป็นช่วงเรียน ม.ศ.ต้น  ตอนนั้นริอ่านไปสนใจการประกอบชุดพลาสติคจำลองพวกตัวทหาร และรถถังยานยนต์ต่างๆ ของกองทัพเยอรมันเข้า  แม้จะเป็นสินค้าจากญี่ปุ่น  แต่ผู้ผลิตที่น่ารักอย่าง Tamiya นอกจากจะทำคู่มือที่มีภาพประกอบเข้าใจง่ายแล้ว  ยังได้มีคำอธิบายภาษาอังกฤษพร้อมด้วยประวัติเรื่องราวความเป็นมาของสิ่งที่จำลองมา  ด้วยความอยากรู้ทำให้ดิคชันนารีที่เด็กอื่นอาจจะซื้อหามาเพื่อเรียนภาษาอังกฤษพอผ่านๆ  ได้ถูกใช้งานอย่างแทบจะคุ้มราคาเลยทีเดียว

เริ่มเรื่องด้วยการบ่นคนอื่น  แล้วมาเขียนเรื่องของตัวเอง  เกรงว่าจะสรุปไม่ลง  มาเข้าเรื่องกันซะทีดีกว่าว่าถ้ารักถ้าสนใจประวัติศาสตร์  ควรจะรู้ภาษาต่างประเทศแค่ไหน

ก่อนอื่นภาษาไทยเราเองนั้น  ต้องรู้จริงใช้ได้ถูกต้องนะครับ  เพื่อประโยชน์ในการค้นคว้าเบื้องต้น  และการถ่ายทอดแลกเปลี่ยนความรู้กับคนไทยด้วยกัน  อย่าประมาทว่าภาษาของเราเอง  การเขียนผิดๆ กลายเป็นภาพลักษณ์ที่ไม่ดีได้  สมัยผมเรียนปริญญาโทประวัติศาสตร์ ได้ยินอาจารย์ชาญวิทย์ เกษตรศิริ พูดนับครั้งไม่ถ้วนว่า “สังเกต” ต้องไม่มีสระอุนะ  จนทุกวันนี้นี่ไม่สามารถที่จะเขียนคำนี้ให้ผิดได้เลยครับ

จากนั้นก็ต้องรู้ภาษาอังกฤษในระดับที่ “อ่านรู้เรื่อง” เป็นอย่างน้อย  เพื่อให้สามารถเข้าถึงแหล่งข้อมูลที่กว้างขวางใหญ่โตที่สุดในโลกได้  สมัยก่อนจะอ่านตำรับตำราหรือหนังสือทั่วไปที่เป็นภาษาอังกฤษจะต้องเข้าห้องสมุดหรือร้านหนังสือบางร้าน  แต่เดี๋ยวนี้เรามีอินเทอร์เน็ตใช้กันแล้ว  มีข้อความเรื่องราวภาษาอังกฤษให้เลือกอ่านมากมาย  ตั้งแต่เรื่องสั้นๆ ง่ายๆ ให้เลือกอ่านได้มากก่อนจะไปถึงบทความยากๆ ยาวๆ  ตอนรู้จัก Facebook ใหม่ๆ ผมเคยนำบทความจาก http://www.suite101.com/history มาโพสต์ลิงค์เอาไว้  กลับมีคนบ่นว่าทำไมไม่แปลให้ด้วย  พอดีหลังๆ บริหารเวลาไม่ถูกเลยเลิกโพสต์ไปโดยปริยาย  ทั้งที่บทความจากแหล่งดังกล่าวเป็นบทความที่ไม่ได้ยาวเกินความสามารถของคนที่เคยเรียนภาษาอังกฤษกันมาบ้าง  แล้วเดี๋ยวนี้เราก็มีโปรแกรมดิคชันนารีให้ใช้กันทั้งออนไลน์ออฟไลน์ด้วย  บทความประวัติศาสตร์ภาษาอังกฤษอีกแหล่งคือ Wikipedia นั้น  มันก็ไม่ได้ยาวๆ ยากๆ ไปซะทุกบทความ  และที่บางคนอาจจะไม่เคยรู้  กระทั่งตัวผมเองรู้แล้วยังลืม  คือ Wikipedia นั้นยังมีกลุ่มบทความที่ใช้ภาษอังกฤษอย่างง่ายๆ ที่ http://simple.wikipedia.org/ อีกด้วย

แต่ถ้าจะเรียนรู้อย่างจริงจังแล้วอย่าคอยหวังพึ่งคนใจดีที่จะมาเขียนบนเว็บเลยครับ  หนังสือเป็นเล่มๆ ก็ยังเป็นแหล่งข้อมูลสำคัญและลึกซึ้งกว่า  และนอกจากจะรอซื้อตามร้านในเมืองไทยแล้ว  ยังสามารถเลือกซื้อตามเว็บไซต์อย่าง Amazon.com ได้อีกต่างหาก  ยิ่งถ้าใช้ Amazon Kindle อย่างผมแล้ว  สามารถเลือกซื้อหนังสือที่เป็น e-book ได้โดยพริบตา  ก่อนจ่ายเงินซื้อเล่มจริงยังสามารถขอดู Sample ก่อนได้ด้วย  เรื่องนี้คงต้องว่ากันในรายละเอียดในโอกาสหลัง

เกือบลืมไปว่าถ้ายังต้องการพัฒนาการฟังแล้ว  ใน Youtube.com ยังมีคลิปความรู้ด้านประวัติศาสตร์ตั้งแต่เกร็ดเล็กเกร็ดน้อยไปจนถึงที่ค่อนข้างเป็นชิ้นเป็นอัน  ให้เลือกชมเลือกฟังได้ในระยะเวลาที่พอเหมาะ

แค่ภาษาไทยกับอังกฤษอาจจะเพียงพอแล้วสำหรับหลายๆ คน  แต่ในความเป็นจริงประวัติศาสตร์ไม่ใช่เรื่องของชนชาติใดภาษาใดโดยเฉพาะ  แม้กระทั่งประวัติศาสตร์ไทยเราเอง  ที่บางคนอาจหลงนึกว่าจะฟังความข้างเดียวจากหลักฐานฝ่ายเราก็เพียงพอ  โดยที่ความจริงเรารบกับพม่ามาเป็นร้อยๆ ปี และอยู่กับเพื่อนบ้านอื่นๆ อย่าง ลาว เขมร ญวน มลายู ฯลฯ มาเป็นเวลาพอๆ กัน  มีชนชาติอื่นๆ เดินทางเข้ามาทั้งแบบชั่วครั้งชั่วคราวและที่เข้ามาผสมกลมกลืนกับชาวไทยในสังคมไทย นับตั้งแต่สมัยโบราณมาจนถึงยุคเผชิญการล่าอาณานิคมและยุคสมัยใหม่  ไม่ว่าจีน ญี่ปุ่น โปรตุเกส ฮอลันดา ฝรั่งเศส เยอรมัน รัสเซีย ฯลฯ

การศึกษาประวัติศาสตร์ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับประเทศไหน  ก็ควรจะรู้ภาษาของประเทศนั้นและอาจรวมถึงความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับชาติอื่นๆ ในมุมมองของเจ้าของภาษา เช่น ภาษาเยอรมันนอกจากจะช่วยให้เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างไทยหรือสยามกับประเทศเยอรมนีแล้ว  ยังอาจสะท้อนความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับชาติอื่นในยุคเดียวกันตามมุมมองของเยอรมัน  เป็นต้น

หรืออย่างการศึกษาประวัติศาสตร์อื่นๆ เช่น ประวัติศาสตร์สงครามโลก  ที่หลายคนชอบพูดนักว่าประวัติศาสตร์เขียนโดยผู้ชนะ  ซึ่งจะหมายถึงชาติที่ใช้ภาษาอังกฤษอย่างอังกฤษกับอเมริกาหรืออย่างไรก็แล้วแต่  หากคุณรู้ภาษาของชาติอื่น  ไม่ว่าสัมพันธมิตรหรืออักษะ  ก็จะสามารถอ่านตำราหรือเอกสารของชาตินั้นๆ เพื่อให้ได้มุมมองที่แปลกออกไป  สำหรับประวัติศาสตร์ยุคสมัยอื่นก็เช่นเดียวกัน  การได้มุมมองจากเอกสารของชาติอื่นย่อมมีน้ำหนักกว่าการไปเถียงเรื่องในประวัติศาสตร์กระแสหลักอย่างข้างๆ คูๆ อย่างที่พบเห็นกันอยู่บ่อยๆ

ถึงตรงนี้หลายคนจะมองเป็นยาหม้อใหญ่หรือไม่ก็ตาม  เมื่อสักปีสองปีมานี้  ในเว็บบอร์ด “คุยกันหลังฉาก” ของ IseeHistory.com เอง  เคยมีรุ่นน้องปริญญาโทประวัติศาสตร์ธรรมศาสตร์ท่านหนึ่งมารายงานว่า  การเรียนที่นั่นเดี๋ยวนี้ต้องรู้ภาษาที่สามด้วย  ผลงานการค้นคว้าจะเป็นอย่างไรกันบ้างยังไม่ได้ข่าวโดยละเอียดเหมือนกันครับ

แนะนำกันมาพอสมควรแล้ว  ใครจะทำได้แค่ไหนก็ไม่ทราบ  แน่นอนว่าภาษาไทยยังคงเป็นพื้นฐานสำคัญในการค้นคว้าวิชาประวัติศาสตร์ดังเช่นวิชาการอื่นๆ  และความรู้ภาษาอังกฤษจะเป็นตัวต่อกิ่งก้านให้ความรู้กว้างขวาง  และภาษาต่างประเทศอื่นๆ เป็นภาษาทางเลือก (Option) ที่จะช่วยให้ได้เกร็ดความรู้ที่แปลกออกไปครับ




บทความเสริมความรู้ทั่วไป

ร้อยตำรวจเอกธรณิศ ศรีสุข ยอดวีรบุรุษ ตชด. วันที่ 02/07/2010   21:44:35
Robinson Crusoe 1997 - ความเป็นมนุษย์ วันที่ 26/05/2012   10:55:36
พงศาวดารมอญพม่า จาก ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ ๑ วันที่ 21/04/2012   10:42:18 article
พระนเรศวรฯ กับเมืองละแวก ใน พงศาวดารละแวก ฉะบับแปล จ.ศ. ๑๑๗๐ วันที่ 21/04/2012   10:43:01 article
Beau Brummell: The Charming Man 2006 หนุ่มเจ้าสำอาง วันที่ 24/09/2015   22:37:44
เรื่องของฮิตเลอร์ และ เอวา บราวน์ วันที่ 24/09/2015   22:37:10
Fanny Hill การผจญภัยในโลกีย์ วันที่ 24/09/2015   22:36:45
The Marriage of Figaro วิวาห์ฟิกาโร วันที่ 24/09/2015   22:36:10
แนะนำบทความประวัติศาสตร์ที่ simple.wikipedia.org วันที่ 21/04/2012   10:44:07 article
ยศและเครื่องหมายยศทหารเยอรมันสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 (Wehrmact Heer & Waffen SS) วันที่ 21/04/2012   10:47:26 article
บางประเด็นจากการไปฟังบรรยายเรื่องพิพิธภัณฑ์โรงเรียนเทพศิรินทร์ วันที่ 21/04/2012   10:52:53 article
หลักฐานประวัติศาสตร์และการวิเคราะห์หลักฐานประวัติศาสตร์ วันที่ 21/04/2012   10:51:49 article
MP40 กับ PPSh-41 และปืนกลมืออื่นๆ อีก 3 แบบ วันที่ 21/04/2012   10:54:27 article
คลีโอพัตรา ตอนที่ 4 : ฟาโรห์องค์สุดท้ายของอียิปต์ - ผู้หญิงที่โลกไม่มีวันลืม (สรุป) วันที่ 09/01/2011   19:31:10
มิติของเวลาในประวัติศาสตร์ วันที่ 27/02/2009   22:33:10
แล้วผมต้องทำอะไรกับประวัติโรงเรียนเทพศิรินทร์? วันที่ 21/04/2012   10:53:38 article
นางเอกอมตะตลอดกาล 25 คนแรก ของฮอลลีวู้ด (1) วันที่ 14/05/2012   21:45:30
เมื่อ Don Quixote de Lamancha ปะทะ เล่าปัง (2) วันที่ 14/05/2012   21:44:31
เมื่อ Don Quixote de Lamancha ปะทะ เล่าปัง วันที่ 14/05/2012   21:43:48
ภาพยนตร์รัสเซีย "Battle of Kursk" ศึกรถถังที่ใหญ่กว่า "Battle of the Bulge" วันที่ 21/04/2012   11:00:38 article
อธิบายเบื้องต้นเกี่ยวกับคำศัพท์หน่วยทหาร วันที่ 21/04/2012   11:01:41 article
"บางระจัน่" จากพระราชพงศาวดาร 2 ฉบับ วันที่ 05/05/2012   09:30:38 article
ราชทูตปรัสเซียเยือนสยามสมัยร.๔ ก้าวแรกสัมพันธ์ไทย-เยอรมัน วันที่ 21/04/2012   11:08:02 article
พระราชดำรัสเนื่องในเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ 20 พฤษภาคม 2535 วันที่ 05/05/2012   09:40:33 article
ทดสอบการแปลยศทหารบกจากภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทยด้วยโปรแกรมพจนานุกรมดิจิตอล วันที่ 05/05/2012   10:17:45 article
ตำราพิชัยสงครามของไทย วันที่ 10/05/2012   11:22:47
ภาพตัวอย่างเครื่องแบบทหารเยอรมันสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 วันที่ 05/05/2012   10:16:51 article
"ไทยรบเขมร" ใน "ไทยรบพม่า" วันที่ 05/05/2012   10:13:48 article
อวสาน บิสมาร์ค วันที่ 10/05/2012   11:26:55
ชีวประวัติกับประวัติศาสตร์ วันที่ 05/05/2012   10:04:25 article
สืบเนื่องจาก "ELSID" วันที่ 14/05/2012   21:41:48
เจงกิสข่าน ผู้ยิ่งใหญ่ (2) วันที่ 14/05/2012   21:40:37
เจงกิสข่าน ผู้ยิ่งใหญ่ วันที่ 14/05/2012   21:39:44
เจ้าพ่อเซี่ยงไฮ้ วันที่ 14/05/2012   21:38:54
การรบแห่งสตาลินกราด วันที่ 10/05/2012   11:28:24
Bangkok mean time เวลามาตรฐานชาติแรกของโลก ณ พระที่นั่งภูวดลทัศไนย วันที่ 10/05/2012   11:30:18
เครื่องบินรบไทยในสงครามอินโดจีน วันที่ 10/05/2012   11:37:11
Little Boyและfatman คู่หูมหาปลัย วันที่ 10/05/2012   11:34:40
BATTEL OF MIDWAY ยุทธนาวีทางอากาศที่เกาะมิดเวย์ จุดเปลี่ยนสงครามแปซิฟิค วันที่ 21/08/2010   22:07:52
พลูโตในยุคสมัยต่างๆ (www.horauranian.com) วันที่ 29/09/2008   21:37:10
กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ ผู้ตั้งชื่อ "เดือน" ของไทย วันที่ 00/00/0000   00:00:00
ความเป็นมา วันสตรีสากล ๘ มีนาคม และ ผู้ให้กำเนิดวันสตรีสากล วันที่ 08/03/2014   08:50:05
คลีโอพัตรา ตอนที่ 1: ราชินีสาว นางพญาแห่งลุ่มแม่น้ำไนล์ ฟาโรห์องค์สุดท้ายของอิยิปต์ และผู้หญิงที่สวยที่สุดในประวัติศาสตร์ วันที่ 09/01/2011   19:31:53
ร้อยเอกวัฒนชัย คุ้มครองเหรียญกล้าหาญสมรภูมิบ้านร่มเกล้า วันที่ 21/08/2010   22:08:31
พันโททวี ปูรณโชติ ขุนศึกแห่งลุ่มน้ำซุยคา วันที่ 21/08/2010   22:09:01
พันโทเจริญ ทองนิ่ม วีรบุรุษพลร่ม วันที่ 21/08/2010   22:09:29
เรือเอกประทีป อนุมณี "ประดู่เหล็กแห่งดูซงญอ" วันที่ 21/08/2010   22:09:57
วีรกรรมดอนแตง วันที่ 21/08/2010   22:10:41



1

ความคิดเห็นที่ 1 (101738)
avatar
Amorn@invethailand.com

คำแนะนำ เชิงสอนนี้ ผมชอบมาก ๆครับ หากจะมีไว้ตลาดกาล น่าจะเกิดประโยชน์กับคนไฝ่รู้ ทุกวัยครับ  ผมอายู74ปี เริ่มเรียน หลายสิ่งหลังเกษียณอายุราชการ ไม่ทราบหรอกครับว่าแต่ละเรื่อง แต่ละสิ่งนั้น ควรจะเริ่มที่ไหน แม้แต่คอมพิวเตอร์ เป็นของที่มีแต่เข้ามาในสำนักงานผม เมื่อผมไกล้จะเกษียณอายุ พอดีวิทยาลัยสาระพัดช่าง ที่พิษณุโลกเปิดสอนรอบพิเศษ ผมจึงได้พื้นฐานมาสู่ อินเทอร์เน็ต

หากมีคนใจดีที่คิดช่วยเพื่อนร่วมชาติอย่างคุณมากกว่านี้ ชาติไทยจะเจริญก้าวหน้าทางความคิดไม่ด้อยกว่าชาติใดแน่นอนครับ...........ลุง-อมร / พิษณุโลก

ผู้แสดงความคิดเห็น Amorn@invethailand.com (amorn-at-invethailand-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2011-08-06 09:08:46



1


Copyright © 2010 All Rights Reserved.
| WW II Europe | WW II Asia | WW I | Vietnam War | ประวัติศาสตร์ไทย | บทความจากสมาชิก | คุยกันหลังฉาก | บทความทั้งหมด |

สนใจร่วมเขียนบทความในเว็บไซต์ เชิญอ่าน แนวทางการร่วมเขียนบทความ ภาพยนตร์ประวัติศาสตร์

Custom Search



eXTReMe Tracker