dot
dot
เว็บภาพยนตร์ประวัติศาสตร์ ยินดีต้อนรับผู้สนใจทุกท่าน
dot
dot
สมาชิก Webboard/Blog
ชื่อผู้ใช้ :
รหัสผ่าน :
เข้าสู่ระบบอัตโนมัติ :
bullet ลืมรหัสผ่าน
dot
bulletข้อตกลงการเป็นสมาชิก
bulletเว็บบอร์ด-คุยกันหลังฉาก
bulletเว็บบอร์ด-Games ย้อนยุค
bulletเว็บบอร์ด-ชุดจำลองประวัติศาสตร์
bulletเว็บบอร์ด-หนังสือประวัติศาสตร์
bulletเว็บบอร์ด-เพลงประวัติศาสตร์
bulletคำถาม/คำตอบ ล่าสุด
bulletแนวทางการร่วมเขียนบทความ
dot
สงครามโลกครั้งที่ 2
dot
bulletสมรภูมิยุโรป (สัมพันธมิตรVSเยอรมัน-อิตาลี)
bulletสมรภูมิแปซิฟิก-เอเชีย (สัมพันธมิตรVSญี่ปุ่น)
dot
ภาพยนตร์ประวัติศาสตร์อื่นๆ
dot
bulletสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง
bulletประวัติศาสตร์ไทย
bulletประวัติศาสตร์อเมริกันยุคเริ่มแรก
bulletสงครามเวียดนามและอินโดจีน
bulletตะวันตกโบราณ (กรีก โรมัน ฯลฯ)
bulletประวัติศาสตร์ร่วมสมัย
bulletเอเชียโบราณ
bulletประวัติศาสตร์อื่นๆ (ยังไม่แยกหมวดหมู่)
bulletคลิปความรู้จาก YouTube
dot
บทความโดย วิวันดา
dot
bulletฮิตเล่อร์...และเหล่าขุนพลแห่งอาณาจักรไรค์ซที่สาม
bulletลอดลายรั้ว.....วินด์เซอร์
bulletเลิศเลอวงศา...โรมานอฟ
bulletเชลย
bulletซูคอฟ...ยอดขุนพลผู้ดับฝันของฮิตเล่อร์
dot
บทความโดย สัมพันธ์
dot
bulletคนไทยในกองทัพพระราชอาณาจักรลาว
bulletประวัติศาสตร์สงคราม กรีก
bulletกรณีพิพาทอินโดจีนและสงครามมหาเอเชียบูรพา
bulletอยุธยายศล่มแล้ว ลอยสวรรค์ ลงฤา
bulletฮานนิบาล
bulletพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบรมวงศานุวงศ์
bulletไทยกับมหาสงคราม
bulletสงครามเวียดนาม
bulletห้วยโก๋น ๒๕๑๘
bulletการทัพในมลายา
bulletประวัติศาสตร์อื่น ๆ
dot
เรื่องอื่นๆ
dot
bulletบทความเสริมความรู้ทั่วไป
bulletเกร็ดเล็กเกร็ดน้อย
bulletผู้จัดทำ
bulletผังเว็บไซต์ (Site Map)
bulletแนวทางการร่วมเขียนบทความ
bulletถาม-ตอบ (FAQs) (โปรดอ่านก่อนตั้งกระทู้หรือสมัครสมาชิก)
bulletร้านค้าออนไลน์
bulletแบ่งปัน Album
dot
ลิงค์ต่างๆ
dot
bulletHistory on Film
bulletกองบิน 21 กองพลบิน 2
bulletIELTS British Council
bulletIELTS IDP
bulletMUIC




โหราศาสตร์ยุคไอที



เลิศเลอวงศา...โรมานอฟ ตอนหนึ่ง
วันที่ 16/02/2020   18:52:00


  

    เคยตั้งใจไว้นานแล้วว่าจะเรียบเรียงงานนี้ขึ้นมาให้สอดคล้องกับชิ้นงานเก่าๆที่เคยทำไว้ในอดีต นั่นคือ
    รักร้าวของเจ้านาย
    ลอดลายรั้ววินด์เซอร์
    อันนี้ก็ต่อด้วย..เลิศเลอวงศา..โรมานอฟ
    ฟังๆ แล้วก็ออกแนวยี่เกนิดหน่อย แต่บอกตรงๆว่า ตั้งใจทำจริงๆ เพราะเห็นว่ามีผู้อ่านบางท่านเคยตั้งกระทู้ถามเรื่องของราชวงค์โรมานอฟแบบ เป็นจุดๆเท่าที่อยากจะทราบ
    ซึ่งมันเป็นไปไม่ได้ เรื่องของโรมานอฟนั้นมีมากกว่าครอบครัวของซาร์นิโคลาสที่สอง มีมากกว่าโศกนาฏกรรมสังหารหมู่
    และมีมากกว่าเรื่องราวของรัสปูติน
    มี คนถามว่า ซารินา อเล็กซานดรา มี"อะไรๆ"ในเชิงชู้สาวกับรัสปูตินหรือไม่..อันนี้ฟังแล้วสยอง เพราะถ้าอ่านเรื่องราวของโรมานอฟอย่างละเอียดในหนังสือหลายๆเล่มแล้ว
    จะทราบว่า ทั้งสองพระองค์ คือ ซาร์ และ ซารินา นั้น ทรงสนิทสิเน่หากันอย่างมั่นคงและล้นเหลือ ทรงมีจิตสิเน่หาต่อกันตั้งแต่ย่างเข้าวัยรุ่น พัฒนามาจาก puppy love ตอนนั้น พระองค์มีพระะชนมายุได้ สิบหก เจ้าหญิงอลิกซ์ (อันเป็นพระนามเล่น เรียกย่อ ของ อเล็กซานดรา) ทรงย่างเข้าสิบสอง และ ทรงอภิเษกในปี 1894
    อันเป็นปีเดียวกันกับที่เอมเปอเรอ อเล็กซานเดอร์ ที่สาม (พระบิดา) ได้สิ้นพระชนม์ นั่นหมายถึง มกุฏราชกุมารนิโคลาสก้าวขึ้นมาครองราชสมบัติเป็นซาร์องค์ต่อไป เจ้าสาวหมาดๆก็กลายมาเป็นซารินา
    แบบกระทันหัน จนตั้งพระองค์แทบไม่ทัน

    อันนี้ไปหาอ่านได้จากหนังสือ A Lifelong Passion ทั้งเล่มคือการรวบรวมพระราชหัตถเลขา
    ของทั้งสองพระองค์ที่มีต่อกันในยามที่อยู่ห่างไกล
    ทุกฉบับ..หวานจ๋อย และ โรแมนติกมาก..เป็นการเขียนที่สม่ำเสมอ แทบทุกวัน แม้กระทั่งในยามที่ทรงเจริญพระชันษามากๆด้วยกันแล้ว
    เอา ไปอ่านเป็นตัวอย่างสักหนึ่งฉบับแล้วกัน นี่คือจดหมายโต้ตอบ ที่ทรงเขียนในปี 1916 (ก่อนสิ้นพระชนม์จากการสังหารหมู่เพียงหนึ่งปี)

    จากซาร์ถึงซารินา

    3 August

    My own beloved Angel,


    How do I hate when you leave and to see the train taking you and the girlies away!
    I have such calm in the soul when you are near me. I want to send all worries and nuisances far away and enjoy your presence without speaking-of course when we are alone......
    .............................

    Sleep well,my precious Sunny.


    4 August

    A Glorious day and very warm. I hope you slept well and are travelling comfortably!
    Baby and I feel lonely at lunch and during our expedition-in fact all day till night.
    God bless you,my beloved Wify,my Treasure. I cover you with burning tender kisses. Much love to the girlies. Ever your very own

    Nick

    จดหมายตอบจากซารินา ถึง ซาร์ (อาทิตย์เดียวเอง)

    11 August

    Tsarskoe Selo (พระตำหนัก)

    My own Sweetheart,

    Have not seen Dmitri,yes, I suppose his nerves are again,alas,good for nothing, it's indeed a great pity.
    Don't let him go to that lady so often-such society is his
    ruin-nothing but flattery and he likes it and then of course service becomes dull.
    You must keep him firmer and don't let him be too free with his tongue either.

    Tender blessing and 1000 kisses from your old

    Wify




    หนังสือเล่มนี้ ถ้าใครสามารถอ่านได้จบโดยที่น้ำตาไม่ร่วงเผาะๆซะก่อนละก้อ..นับว่ามีจิตใจที่แข็งแกร่งมาก


    ภาพ ซาร์นิโคลาส เมื่อมีพระชนมายุได้ สิบเก้าชันษา

        
     
     

 
 
 

  

    ก่อนอื่น..เรามาดูกันก่อนว่าวงศาคณาญาตินั้น มีใครกันบ้างตามพงศ์สาลี

        
     
     
    จะเห็นได้ว่า ในสายของเอมเปอเรออเล็กซานเดอร์ที่สามและพระนาง มาเรีย เฟโอโดรอฟนา นั้น มีพระโอรสและพระธิดาทั้งหมดหกพระองค์
    เจ้าชายนิโคลาส เป็นพระโอรสองค์โต ดำรงตำแหน่งมกุฏราชกุมาร (ซาเรวิช)ต่อมาคือ
    พระ อนุชา อเล็กซานเดอร์ ที่สิ้นพระชนม์ตั้งแต่มีพระชนมายุเพียงขวบเดียว และพระอนุชา จอร์จิ สิ้นพระชนม์ไปด้วยพระชนมายุเพียงยี่สิบแปดชันษา
    พระขนิษฐา เจ้าหญิงซีเนีย
    พระอนุชามิเกล
    พระขนิษฐาองค์สุดท้าย คือ เจ้าหญิงออลกา

    ตามภาพ..

    จากซ้าย จอร์จิ, นิโคลาส, ซีเนีย, ออลกา, พระมารดาพระนางมาเรีย เฟโอโดรอฟนา และ

มิเกล        

        
     
     


 
 

   (ภาพมีมากค่ะ นับร้อยทีเดียว แต่ต้องถ่ายรูปกันจากหนังสือเลย เพราะไม่กล้าเอาไปกางขึงพืดทำสแกน เพราะเกรงว่าหนังสือจะยับ กลัวว่าจะหลุดลุ่ย เพราะถนอมมาก..ถ้าบางภาพไม่ชัด..ก็ต้องขออภัยค่ะ)

    พระ นาง Maria Feodorovna (Dagmar of Denmark) พระมารดานั้น นับว่าเป็นหญิงแกร่งโดยแท้ เป็นเจ้าหญิงจากเดนมาร์ก ที่มีเชื้อสายกษัตริย์อยู่เต็มตัวและโยงใยไปทั่วยุโรป พระนามเดิมคือ Princess Marie Sophie Fredrica Dagmar of Denmark มาเปลี่ยนเป็น Maria Feodorovna
    หลังจากที่ทรงอภิเษกกับเอมเปอเรอแห่งรัสเซีย เพราะต้องทรงเข้ารีตในนิกายออโธดอค ส่วน คำว่า Dagmar of Denmark นั้นตำแหน่งของเจ้านายฝ่ายหญิง

    เนื่องจากในครั้งแรกนั้น เจ้าหญิงได้เป็นพระคู่หมายคู่หมั้นของมกุฏราชกุมารนิโคไลแห่งรัสเซีย (Nikolai 1843-1865) แต่เจ้าชายทรงประชวรและสิ้นพระชนม์ไปเสียก่อน หากแต่ทรงพระสิริโฉมสง่างาม จึงเป็นที่ต้องตาของเจ้าชายอเล็กซานเดอร์ (เอมเปอเรออล็กซานเดอร์ที่สาม..ในต่อมา) พระอนุชาของเจ้าชายนิโคไล พระองค์จึงใช้ความพยายามอยู่หลายปี จึงได้ชนะใจและได้อภิเษกกับเจ้าหญิงในที่สุด  

    
 
 

    เจ้าหญิงมาเรีย เมื่อเสด็จถึงรัสเซียใหม่ๆในฐานะสะใภ้ พระองค์ทรงทำทุกอย่างที่จะเป็นชาวรัสเซียให้มากที่สุด ไม่ว่าการเรียนภาษา และการเข้าถึงประชาชน จนในที่สุดทรงได้รับความนิยมชื่นชอบจากประชาชนอย่างหมดใจ

    เมื่อเอมเปอเรออเล็กซานเดอร์ที่สอง พระบิดาของพระสวามีได้ต้องระเบิด
    จาก การลอบทำร้าย จนพระวรกายฉีกขาดเป็นชิ้น ทหารได้นำพระวรกายเข้าไปในวัง เจ้าหญิงได้ทรงเข้าช่วยดูแลและพยายามเช็ดพระโลหิตให้ เพราะตอนนั้นเอมเปอเรอยังทรงหายใจรวยรินอยู่ แต่ก็เพียงไม่กี่ชั่วโมงก็สิ้นพระชนม์ ( ปี 1881)

    ต่อมามกุฏราชกุมารอเล็กซานเดอร์ ได้ทรงขึ้นครองราชย์ เป็น เอมเปอเรออเล็กซานเดอร์ที่สาม ซึ่งเจ้าหญิงก็ได้เป็นเอมเปรส ในปี 1883

 
 

 
    จากภาพก็คงเห็นกันแล้วว่า เอมเปอเรอนั้นค่อนข้างจะเจริญพระวรกาย (สมบูรณ์)จนเกินไป
    พระพลานามัยไม่แข็งแรง ทรงมีหลายโรครุมเร้า เรื่องนี้เอมเปรสทรงรู้ดี
    จึงหันมาทำนุบำรุงเอาใจใส่พระโอรสองค์โตเพิ่มขึ้น เพราะนั่นหมายถึงว่า
    ซาเรวิชนิโคลาสจะต้องพร้อมเสมอในการขึ้นครองราชย์องค์ต่อไป

    แต่ ที่เอมเปรสทรงขัดเคืองพระทัยนั่นก็คือ พระโอรสได้ทรงปักพระทัยหลงรักกับเจ้าหญิงอลิกซ์ (Princess Alix of Hesse-Darmstadt) เรื่องนี้แม้แต่เอมเปอเรอเองก็ไม่ชอบพระทัยนัก เพราะทรงหมายตาหญิงอื่นให้แล้ว แต่พระโอรสได้ทรงยื่นคำขาดว่า
    "ลูกจะอภิเษกกับอลิกซ์เท่านั้น..มันเป็นความฝันของเราทั้งสองคนมาตั้งนานแล้ว"
    สาเหตุ ที่เอมเปอเรอและเอมเปรสไม่ชอบพระทรงเห็นว่า อลิกซ์นุ่มนิ่ม ต้วมเตี้ยมจนเกินไปไม่เหมาะกับตำแหน่งของซารินาแห่งรัสเซียในวันข้างหน้า

    แต่..ในที่สุด ก็ต้องยอมตามพระทัยพระโอรส..

    หมายเหตุ..หญิงที่ทรงหมายตาไว้ให้กับพระโอรส นั่นคือ Princess Helene
    of Orleane (France)   

        
ซาเรวิชนิโคลาสก็เป็นชายหนุ่มธรรมดาที่ย่อมต้องมีเขวบ้าง เพราะโลกนี้ยังมีสิ่งที่สวยๆงามๆอีกมาก ดังเช่นพระองค์ได้หลงรักเจ้าหญิงอลิกซ์จนถอนองค์แทบไม่ขึ้นนั้น แต่เมื่อยามที่ได้เสด็จออกภาคสนามในเดือนมิถุนายน ๑๘๙๐
    พระองค์ได้ทรงพบปะกับนางละครคนหนึ่ง นามว่า Kshessinskaya
    จากนั้นต่อมาสองปีติดๆกันที่พระองค์ได้ไปมาหาสู่กับหญิงคนนี้อย่างสม่ำเสมอ ถึงกับทรงบันทึกไว้ในไดอะรี่ ในวันที่ ๑ เมษายน ๑๘๙๒ ว่า..

    "I never thought that two identicle feelings,two loves could co-exist
    within the heart. I have loved Alix H for three years already and constantly cherish the hope that, God willing,one day I will marry her!...And since the summer camp of 1890 I have been passionately in love with little K. The heart is a surprising thing!"



    "little K" นางละคร และนักเต้นบัลเล่ต์..คนที่ทรงตรัสถึง.. 

        
     
     
ซาเรวิชนิโคลาสทรงอยู่ในชุดทหารคอสแซครักษาพระองค์ ในปี 1889


        
     
     


 
 
 

  
   
 
 

   
    ดิฉัน พยายามจะนำเสนอในส่วนที่ผู้คนมองข้ามไป อย่างต่อไปนี้จะเริ่มด้วยชีวประวัติของเจ้าหญิงอเล็กซานดรา (อลิกซ์)ก่อน เพราะสายของพระองค์นั้น ช่างแน่นปึ้กไปด้วยวงค์พระประยูรญาติที่สำคัญๆทั้งนั้น
    เพราะพระองค์คือพระนัดดา (หลานยาย)ของควีนวิคตอเรียแท้ๆด้วย

    อีกทั้ง..ในหนังสือหลายเล่มได้อ้างว่า ในการล่มสลายของโรมานอฟนั้น
    เป็น เพราะซารินามีส่วนช่วยในกระพือกระแสเกลียดชังในหมู่ประชาชน ให้ลุกฮือขึ้นมากก่อนเวลาอันควร..เพราะพระองค์มีเชื้อสายเป็นเยอรมันที่ใคร ต่อใครไม่ค่อย"ปลื้ม"

  มาย้อนถึงต้นสายสาแหรก..คือ สมเด็จพระราชินีวิคตอเรีย แห่งอังกฤษและพระสวามีเจ้าชายอัลเบิร์ต แห่ง Saxe-Coburg Gotha ทรงมีพระโอรสและพระธิดารวมทั้งหมดเก้าพระองค์ คือ

    ๑. เจ้าหญิง Victoria Adelaide Mary ที่ทรงประสูติ เมื่อปี 1840. มีพระนามเล่นว่า..Vicky และได้ทรงอภิเษกกับเจ้าชาย Friedrich Wilhelm แห่งPrussia มีพระโอรสและพระธิดาด้วยกันเจ็ดพระองค์ ซึ่งต่อมาคือ เอมเปอเรอแห่งเยอรมัน แต่เป็นได้แค่สามเดือนก็สิ้นพระชนม์ด้วยโรคมะเร็งในลำคอ แต่เอมเปอเรอองค์ต่อไป ก็คือ พระโอรสองค์โต ทรงพระนามว่า Wilhelm II ส่วนพระธิดาอีกองค์หนึ่งได้อภิเษกกับเจ้าชายกรีก ต่อมาก็ได้เป็นพระราชินีแห่งกรีก (นี่คือสายบรรพบุรุษของ เจ้าชายฟีลีป ดยุคเอดินเบอร์ค พระสวามีของสมเด็จพระราชินีอลิซาเบทที่สองแห่งอังกฤษ)

    ๒. เจ้าชาย Albert Edward ประสูติเมื่อ 1841 มีพระนามเล่นว่า Bertie ทรงอภิเษกกับเจ้าหญิง Alexandra แห่ง Denmark มีพระโอรสและพระธิดาด้วยกันหกพระองค์ หนึ่งในนั้นคือเจ้าหญิง Maud ที่ต่อมาคือพระราชินีของนอร์เวย์ เมื่อหลังจากสมเด็จพระนางวิคตอเรียได้สิ้นพระชนม์ไป เจ้าชายเบอร์ตี้ได้ทรงขึ้นครองราชย์แทน ด้วยพระนามว่า พระเจ้า Edward VII เมื่อสิ้นพระชนม์ไป ในปี 1910 พระโอรสก็ทรงขึ้นครองราชย์แทน ในพระนามของ พระเจ้า George V


    ๓. เจ้าหญิง Alice Maud Mary ทรงประสูติเมื่อปี 1843 ทรงอภิเษกเมื่อมีพระชนมายุเพียง 18 กับ เจ้าชาย Louis, Ludwig of Hesse ( ต่อมาคือGrand Duke Louis XIV) ทรงมีพระโอรสและพระธิดาด้วยกันถึงเจ็ดพระองค์ หนึ่งในนั้นคือ เจ้าหญิง Alix ที่อภิเษกกับซาร์ Nicholas II
    และเจ้าหญิงอลิซ เป็นพระธิดาองค์แรกของพระนางวิคตอเรียที่ทรงสวรรคตไปก่อนด้วยพระชนมายุเพียงสามสิบหก ด้วยโรคคอตีบ


    ๔. เจ้าชาย Alfred Ernest Albert ประสูติปี 1844 มีพระนามเล่นว่า Affie. ทรงอภิเษกกับ Grand Duchess Marie พระธิดาของ Tsar Alexander II แห่ง Russia ต่อมาเจ้าชายอัลเบิร์ต หรือ อาฟฟรี่ นี้ครองตำแหน่ง duke of Saxe-Coburg หนึ่งในพระธิดาของพระองค์ มีพระนามว่า Marie ได้ทรงอภิเษกกับมกุฏราชกุมารแห่ง Romania ที่ต่อมาคือ King Ferdinand I

    ๕. เจ้าหญิง Helena Augusta Victoria ประสูติเมื่อ 1846 พระนามเล่นว่า Lenchen อภิเษกในปี 1866 กับ เจ้าชาย Christian แห่ง Schleswig-Holstein พระพระโอรสและพระธิดาด้วยกัน ห้าพระองค์


    ๖. เจ้าหญิง Louise Caroline Alberta ประสูติเมื่อ 1848 อภิเษกกับ John Campbell, Marquis of Lorne (ต่อมาคือ Duke of Argyll) ไม่มีพระโอรสพระธิดาด้วยกัน


    ๗. เจ้าชาย Arthur William Patrick ประสูติเมื่อ 1850 ทรงอภิเษกกับเจ้าหญิง Luise Margarete แห่ง ปรัสเซีย


    ๘. เจ้าชาย Leopold George Duncan ประสูติเมื่อ 1853 อภิเษกกับ เจ้าหญิง Helena Frederica of Waldeck เจ้าชาย Leopold ทรงเป็นโรค hemophiliac สิ้นพระชนม์ด้วยพระชนมายุเพียงสามสิบชันษา หลังจากที่อภิเษกได้เพียงสองปี แต่ก็ยังมีพระโอรส คือเจ้าชาย Charles Edward ที่ต่อมาคือ duke of Saxe-Coburg

    ๙. เจ้าหญิง Beatrice Mary Victoria ประสูติเมื่อ 1857 พระนามเล่นว่า Baby ทรงอภิเษกกับเจ้าชาย Henry of Battenberg ในปี 1885
    มีพระโอรสพร ระธิดาด้วยกันสี่พระองค์ หนึ่งในนั้น คือ Victoria Eugenie, ที่ต่อมาคือพระราชินีของสเปนย Spain (สายนี้คือ บรรพบุรุษของท่านลอร์ดหลุยส์ เมาท์แบตเตน)


    นี่ละค่ะ ที่ต้องเล่าให้ฟัง เพราะอีกหน่อยพระประยูรญาติเหล่านี้จะมีบทบาทในละครชีวิตโรงใหญ่แห่งพระราชวงค์โรมานอฟ

 
    
 
เจ้าหญิงอลีซทรงเป็นพระธิดาองค์ที่สามของสมเด็จพระนางเจ้าวิคตอเรีย ที่ได้ทรงอภิเษกไปกับเจ้าชาย Louis ( Ludwig of Hesse) ตั้งแต่มีพระชนมายุได้เพียงสิบแปดชันษา เมื่อก่อนการอภิเษก เจ้าหญิงได้เป็นที่ไว้วางพระราชหฤทัยให้กับพระมารดา ตั้งแต่การช่วยเป็นหัวเรี่ยวหัวแรงในอภิบาลรักษา
    พระอัยยิกา Victoria, Duchess of Kent (พระมารดาของสมเด็จพระนางเจ้าวิคตอเรีย) และ เจ้าชายอัลเบิร์ต (พระบิดา) ที่ทั้งสองพระองค์ได้ถึงแก่กาลสวรรคตไปในปีเดียวกัน คือ 1861 ในระยะเวลาที่ห่างกันไปเพียงไม่กี่เดือน
    ซึ่งทั้งหมดน้ได้ความโทมนัสให้กับพระราชินีอย่างที่สุด
    เจ้าหญิงอลีซ จึงต้องรับทำหน้าที่เป็นราชเลขาส่วนพระองค์ไปโดยปริยาย

 


     ปีรุ่งขึ้นต่อมา คือ 1862 เจ้าหญิงอลีซจึงได้อภิเษกกับเจ้าชาย Louis แห่ง Hesse และประทับเป็นการถาวรอยู่ที่เมืองดาร์มสตัดต์ (Darmstadt, Hesse) ทั้งคู่มีพระโอรสธิดาด้วยกันถึงเจ็ดพระองค์ ที่ต้องมาสูญเสียไปสอง
    นั่นคือ

    เจ้าชาย Friedrich (1870-1873) มีพระนามเล่นว่า Frittie ที่มีอาการของโรค haemophilia และสิ้นพระชนม์เพราะอุบัติเหตุจากการตกลงมาจากหน้าต่าง (ซึ่งเหล่าแพทย์ได้มาทำการวิเคราะห์ในภายหลัง จึงทราบว่า โรคฮีโมฟีเลียนี้แพร่กระจายไปในพระราชวงค์ของสมเด็จพระนางเจ้าวิคตอเรีย ขึ้นอยู่กับว่า จะออกมาปรากฏอยู่ในสายเลือดของชั้นลูก,หลาน หรือ เหลน)

    ต่อ มาคือ เจ้าหญิง Marie น้องนุชสุดท้อง มีพระนามเล่นว่า May (1874 - 1878) ด้วยโรคคอตีบ อันเป็นโรคติดต่ออันเป็นที่แพร่หลายในยุคนั้น
    จนเกือบจะล้างครอบครัวนี้ให้หมดไป


    ภาพเจ้าหญิงมารี..หรือ เมย์ พระธิดาองค์น้อยที่มีวันประสูติวันเดียวกันกับพระอัยยิกาควีนวิคตอเรีย  

        
     
     


   

    เหล่าพระโอรสและพระธิดาทั้งหมดของเจ้าหญิงอลีซ ที่มีด้วยกันเจ็ดพระองค์คือ

    1. Victoria Alberta Elizabeth Mathilde Marie

    2. Elizabeth Alexandra Louise Alice

    3. Irene Luise Marie Anna

    4. Ernest Louis Charles Albert William

    5. Frederick William Augustus Victor Leopold Louis (Frittie)

    6. Victoria Alice Helena Louise Beatrice

    7. Marie Victoria Feodore Leopoldine (May)


    และโศกนาฎกรรมที่เหลือเพียงห้า อีกทั้งเฉี่ยวฉิวว่าจะไม่เหลือเลยนั้น เพราะ
    เรื่องมีอยู่ว่า..

    เมื่อวันที่ 5 เดือนพฤศจิกายน ปี 1878 ระหว่างที่ทุกคนในครอบครัวกำลัง
    คุย สนุกสนานกันอย่างพร้อมหน้าพร้อมตานั้น เจ้าหญิงวิคตอเรีย หรือ วิคกี้ เพราะธิดาองค์โตเริ่มบ่นๆว่าเจ็บคอ ซึ่งพระมารดาได้คิดว่าอาจเป็นแค่คางทูม
    จึงเย้าเล่น ว่าอาจจะติดต่อถึงกันหมดก็คงตลกดีพิลึก ที่เป็นเช่นนั้นเพราะ
    เจ้าหญิงวิคกี้ ไม่มีทีท่าว่าเจ็บป่วยอะไร ซ้ำยังนั่งอ่านนิทานให้น้องๆฟังอย่างสบายพระทัย
    เจ้า หญิงองค์น้อย มารี หรือ เมย์ ยังมาอ้อนขอขนมเค้ก และยังขอร้องให้พระพี่เลี้ยงเล่นเปียโนถวาย เด็กๆเต้นรำกันไปตามจังหวะเพลงอยู่นานถึงครึ่งชั่วโมงก่อนที่ถูกส่ง ขึ้นเข้าบรรทม

    วันรุ่งขึ้น เจ้าหญิงวิคกี้ทรงมีอาการประชวรมากขึ้น แพทย์หลวงได้เข้ามารักษา และวินิจฉัยอาการว่าติดโรคคอตีบเข้าไปแล้ว..

    ไม่ กี่วันต่อมา เจ้าหญิงอลิกซ์ ซึ่งตอนนั้นมีพระชนมายุเพียงหกชันษาก็ล้มป่วยไปเช่นกัน ทั้งคู่เริ่มหายใจติดขัด..เจ้าหญิงอลีซ..รีบทำการปฐมพยาบาลในชั้นแรก ด้วยการทำไอน้ำบำบัดให้พระธิดาทั้งสองโดยด่วน
    เจ้าหญิงมารี ได้เข้ามาคลุกคลีอยู่ในห้องกับพระมารดาตามปรกติ
    แต่พอตกบ่าย เจ้าหญิงองค์น้อยก็มีพระอาการหนักหนาสาหัส ใข้ขึ้นสูง
    ในลำคอมีฝ้าขาว และตุ่มขาวๆขึ้นเต็ม นั่นคือสมุฏฐานสำคัญที่แสดงว่า
    เป็นโรคคอตีบอย่างแน่นอน

    วันที่ 14 พฤศจิกายน เจ้าชายเออร์เนสต์ และ เจ้าชายหลุยส์ (พระบิดา)
    ก็ล้มป่วยไปด้วยเช่นกัน

    เจ้า หญิงอลีซทรงวุ่นอยู่กับการที่ต้องมาดูแลทุกคนในครอบครัวจนไม่มีเวลาพักผ่อน วันที่ สิบหก คือวันที่พระธิดาองค์น้อย เริ่มหายใจไม่ออก สิ้นพระชนม์ ไปต่อหน้าต่อตา
    เจ้าหญิงอลีซ เสียพระทัยจนหยิบจับอะไรไม่ถูก อีกทั้งยังต้องเก็บเป็นความลับ ไม่อยากบอกให้คนอื่นๆได้ทราบ เพราะทุกคนก็ป่วยด้วยโรคเดียวกันทั้งนั้น พิธีปลงพระศพจึงต้องทำอย่างเงียบเชียบ..

    ไม่มีใครทราบว่าได้สูญเสียเจ้าหญิงองค์น้อยไป เพระเหล่าสมาชิกในครอบครัวที่ติดเชื้อ ต่างถูกส่งแยกออกไปรักษาตามสถานที่ต่างๆ
    ส่วนเจ้าหญิง Elisabeth ไปอยู่กับปู่และย่าล่วงหน้าก่อนนั้น (เป็นคนเดียวที่ไม่ได้ติดเชื้อ)

    กว่าเจ้าหญิงจะทรงเปิดพระโอษฐ์เกี่ยวกับเจ้าหญิงเมย์ให้ทุกคนได้ทราบได้ ก็ล่วงเข้ามาในเดือนธันวาคม..
    เจ้า ชายเออร์เนสต์ที่ทรงรักพระขนิษฐาองค์นี้มาก ถึงกับทรงกรรแสงไปตามประสาเด็กอายุเพียงสิบขวบ พระมารดาเจ้าหญิงอลีซจึงเข้าไปสวมกอด
    และจุมพิตปลอบประโลม โดยลืมไปสนิทว่า ไม่สมควร เพราะอาจติดเชื้อ..


    ใน วันที่ 7 ธันวาคม เจ้าหญิงอลีซก็เริ่มมีอาการของโรคร้ายที่ลุกลามไปอย่างรวดเร็ว พระอาการทรุดหนักจนสิ้นพระชนม์ไปในหนึ่งอาทิตย์ต่อมา


    ภาพ เจ้าหญิงอลีซ   

        
     
     เมื่อครั้งที่เจ้าหญิงอลีซได้เข้ามาเป็นแม่เมืองนั้น
    พระองค์ ได้ทรงเปลี่ยนแบบแผนที่เคยหละหลวมของฝ่ายราชสำนักให้เป็นระเบียบขึ้น เพราะโดยบุคลิกแล้ว เจ้าหญิงเป็นคนเอาจริง ยอมหักแต่ไม่ยอมงอ อีกทั้งเป็นคนที่ขยันทำงานสาธารณกิจ งานสงเคราะห์ชุมชน
    ในทางศาสนา..เจ้าหญิงทรงรอบรู้ถึงพระคัมภีร์ไบเบิ้ลอย่างถ่องแท้ หลายครั้งที่ทรงซักถามและมีข้อปาฐกขัดแย้งกับพระอย่างเคร่งเครียด
    จนพระมารดาของพระสวามีค่อนขอดเอาบ่อยๆ

    ที่ เจ้าหญิงอลีซต้องออกมาทรงงานอย่างหนัก เพราะ พระองค์คือพระธิดาของมหาราชินีพระนางวิคตอเรีย และ เพราะพระสวามีที่ไม่ค่อยจะทรง"เอาไหน"
    เจ้าหญิงอลีซ..ไม่ทรงสนใจ กับความเป็น"เจ้า"ขององค์เองมากนัก เพราะไม่โปรดเครื่องอาภรณ์วับแวมรวมไปถึงเพชรนิลจินดา เครื่องทรงที่ใช้ประจำ
    มักจะมีสีเข้ม สีดำเป็นหลัก เครื่องประดับก็จะมีเพียงสร้อยพระศอที่ใช้ห้อยจี้พระกางเขน(ทองคำ) และเข็มกลัดล๊อกเก็ตที่เป็นภาพของพระบิดา เจ้าชายอัลเบิร์ต ข้างในบรรจุเส้นพระเกศาของพระธิดาและพระโอรสที่ล่วงลับไป
    (เมย์กับฟริตตี้)

    เมื่อ เจ้าหญิงอลีซได้สิ้นพระชนม์ไป ชาวเมืองเริ่มรู้สึกถึงการสูญเสียที่ใหญ่หลวงทุกคนได้เข้ามาร่วมในพิธีจน เนืองแน่ งานพระศพก็เป็นไปอย่างไม่หวือหวาอะไร เพราะว่าอาณาจักร Darmstadt แห่งมณฑล Hesse (ในเขตเยอรมัน) นั้นก็ไม่ใช่ว่าใหญ่โตอะไรมากมาย

    สมเด็จพระนางเจ้าวิคตอเรียได้ส่งพระราชสาสน์มาถึงเหล่าพระนัดดา
    ใจความว่า..

    "หลานๆที่น่าสงสารของยาย..

    แม่ อันเป็นสุดที่รัก..เขาได้จากไปแล้วด้วยโรคร้ายโรคเดียวกับที่พรากเมย์หลาน น้อยไปจนทำให้ยายทุกข์ระทมอยู่ทุกวันนี้ แต่ยายก็ยังเป็นยายที่ยังแข็งแกร่งพอที่คุ้มครองหลานๆต่อไปให้เหมือน กับแม่ของพวกเจ้า"

    และ ส่วนที่ทรงเขียนถึงเออร์เนสต์ เป็นการส่วนพระองค์..เพราะทรงทราบว่าพระนัดดาองค์นี้เป็นเด็กที่ติดแม่มากที่สุด

    "เออร์นี่หลานรัก..

    ทุกอย่างเกิดขึ้นเพราะเป็นไปตามพระประสงค์ของพระผู้เป็นเจ้า อย่าเศร้าโศกเสียใจไปเลย

    ขอให้พระองค์จงคุ้มครองหลานของยายตลอดไป

    ลงพระนาม

    VRI [Victoria Regina Imperatrix, Victoria Queen Empress]."





    ภาพ..Darmstadt , Hesse ในศตวรรษที่สิบเก้า  

        
     
    ยุโรปในช่วง 1870s ปลายๆ อันเป็นที่ทราบกันว่าอังกฤษภายใต้การปกครองของควีนวิคตอเรียนั้นมี แสนยานุภาพกว้างไกลออกไปถึงดินแดนนับได้หนึ่งในสามของโลก
    ในทางทะเลยิ่งกว้างไกลออกไปในทุกน่านน้ำ สินค้าได้ถูกส่งออกไปในทุกมุมโลก
    นอกเหนือไปจากนั้น..คือ..การขยายวัฒนธรรมที่เต็มไปด้วยระเบียบแบบแผน และฐานันดรนิยม

    แต่ แล้ว..อังกฤษเริ่มสะเทือน หวั่นไหวไปพอสมควร เมื่อเยอรมันภายใต้บารมีของไกเซอร์ วิลเฮล์ม ที่หนึ่งแห่งปรัสเซีย ที่มีขุนพลคู่ใจคือ บิสมาร์คได้เรืองแสงขึ้น การอุตสาหกรรมของปรัสเซียๆได้ผุดโรงงานออกมาเป็นดอกเห็ด และการขายนั้นมันหมายถึงการ"แย่งตลาด"
    นั่นเป็นการทำให้ควีนวิคตอเรีย เริ่มหงุดหงิดในพระทัย เพราะ พระองค์ไม่อยากให้เยอรมันมาเป็นคู่แข่ง(ในการค้า) อีกทั้งไม่อยากให้ตลาดโลก
    พากันเข้าใจผิด คิดว่า อังกฤษนั้นไม่แกร่งดังแต่ก่อน

    ชาวโลกในยามนั้นก็รู้จักแต่มหาอำนาจอย่างอังกฤษ หรือ เยอรมันเท่านั้น
    ส่วน แคว้นเล็กๆอย่าง อันว่าอาณาจักร Darmstadt, Hesse แทบไม่มีใครรู้จักหรือสนใจ นอกเสียจากจะพอรู้ว่า เจ้าหญิงแม่เมืองผู้ล่วงลับไปนั้นคือพระธิดาของควีนวิคตอเรีย..แต่พระโอรส และพระธิดาของเจ้าหญิง
    อลีซจากแคว้นเล็กๆอย่างดาร์มสตัดต์นี้แหละ หมายไว้ได้เลยว่าที่จะมีเชื้อสายไปเป็นใหญ่เป็นโตไปทั่วยุโรป อย่าง
    เจ้าหญิงวิคกี้ (แต่งงานไปกับ มกุฏราชกุมาร Frederick {Fritz} ที่วันหนึ่งข้างหน้าก็จะสืบสันตติวงค์เป็นพระเจ้าแผ่นดิน)
    เจ้าชายเบอร์ตี้..(ในกาลข้างหน้าก็จะเป็นพระเจ้าแผ่นดินอังกฤษ)
    เจ้าชายอาฟฟรี่ย์ (แต่งงานกับเจ้าหญิงจากรัสเซีย)

    ทั้ง หมดนี่อยู่ในสายพระเนตรและการจัดวางหาคู่ให้โดยพระอัยยิกาเจ้า พระนางวิคตอเรียไว้อย่างเรียบร้อย เหล่าพระนัดดาที่เป็นเจ้าหญิงนั้น พระองค์แทบบจะเริ่มคิดถึงการหาคู่ให้ตั้งแต่แรกเริ่มแบเบาะ
    อย่างเจ้า หญิง Elizabeth (หรือพระนามเล่นว่า Ella) ที่ฉายแววสิริโฉมจนพระอัยยิกาทรงเรียกว่า "แม่แสนสวย" ส่วน เจ้าหญิงอลิกซ์ ก็ทรงเรียกว่า "แม่สุดสวย" และทรงพิถีพิถันในการจัดหาคู่ให้กับพระนัดดาทั้งสองนี้อย่างตั้งพระทัยเฟ้น หาเป็นพิเศษ


    ภาพ..เจ้าหญิงเอลล่า ปี 1880s

        
     
     


    จากคุณ : WIWANDA - [ วันแม่แห่งชาติ 12:12:49 ]

    
หลังจากที่เจ้าหญิงอลีซได้จากไปเพียงหนึ่งเดือน ก็ย่างเข้าปีใหม่ ซึ่งเจ้าชายหลุยส์ได้ทรงพาพระโอรสและพระธิดาไปเยี่ยมพระอัยยิกาควีนวิคตอเรียที่อังกฤษ ซึ่งฝ่ายราชสำนักอังกฤษก็ได้คอยเตรียมต้อนรับปลอบขวัญเหล่าพระนัดดา
    ส่วน พระอัยยิกานั้น..มิเพียงแต่รอรับขวัญหลานรักอย่างเดียว พระองค์ทรงพร้อมที่จะตรวจตรา"คุณภาพ"ของเด็กๆด้วย ว่ากิริยามารยาท และ การศึกษานั้นไปถึงไหนแล้ว..ทรงทราบดีว่า เจ้าชายหลุยส์นั้นไม่ทรงจะเอาไหนสักเท่าไร ก็จริงอยู่ที่เมื่อครั้งอดีตที่พระองค์ก็โปรดปรานเจ้าชายหลุยส์อยู่ ไม่ใช่น้อย จนถึงขนาดยอมยกพระธิดาให้ เพราะอย่างน้อยๆก็ทรงทราบดีว่า ความเป็นผู้นำของเจ้าหญิงอลีซนั้นมีมากพอที่จะเป็นช้างเท้าหน้าให้กับพระ สวามีได้

    แต่เมื่อเจ้าชายหลุยส์ได้ตกพุ่มม่ายเสียอย่างนี้..นิสัยอ่อนๆของเจ้าชายนี่แหละ ที่ทำให้พระองค์เริ่มกริ่งเกรงว่า อาจจะไป"ตกร่องปล่องชิ้น" กับใครที่ไม่เหมาะสมต่อการเป็นพระมารดาเลี้ยงให้กับพระนัดดาได้
    สมเด็จ พระนางเจ้าวิคตอเรีย จึงเริ่มมีความคิดที่จะ"จับคู่" ให้กับพระธิดาองค์เล็ก เจ้าหญิง Beatrice ที่มีพระชนมายุเพียงยี่สิบเอ็ด และยังเป็นโสด เพราะทรงเล็งเห็นว่าไม่มีใครอื่นอีกแล้วที่จะเหมาะสมในตำแหน่งพระมารดา เลี้ยงให้กับหลานๆเท่ากับน้าแท้ๆของเด็กๆเอง..

    เมื่อเด็กๆมาถึงอังกฤษในช่วงกลางเดือนมกรานั้น ทำเอาพระราชวังคึกคัก
    ขึ้น มาทันที เหล่าพระญาติ ท่านลุง ท่านอา ท่านป้า ต่างพาไปเที่ยวกันอย่างหนำพระทัย เหล่าเด็กๆที่มาจากแคว้นดรามสตัดต์เริ่มตื่นตาตื่นใจ เพราะพระราชวังวินด์เซอร์นั้นช่างใหญ่โต หรูหรา มองไปทางไหนมีแค่สิ่งสวยงาม
    โต๊ะพระกระยาหารก็มีแต่แสงวาววับไปด้วยเครื่องเงิน
    และ ที่สำคัญ..นั่นคืองานใหญ่ที่กำลังจะมาถึง นั่นคือ งานอภิเษกสมรสของเจ้าชายอาร์เธอร์ ( Arthur William Patrick พระโอรสองค์ที่เจ็ดของควีน
    วิคตอเรีย) กับเจ้าหญิง Luise Margarete แห่ง ปรัสเซีย
    นับว่าจะเป็นงานใหญ่ที่รวมญาติพร้อมหน้าพร้อมตาทุกพระองค์

    ถึงแม้ว่าเจ้าชายอาร์เธอร์จะออกพระองค์กับใครๆว่า ทรงเสียพระทัยมากที่
    พระภคินีเจ้าหญิงอลีซเพิ่งสิ้นพระชนม์ไป..แต่งานที่จัดขึ้นมานั้นช่างอลังการ
    งานสร้างที่ยิ่งใหญ่เป็นงานแรกตั้งแต่เจ้าชายอัลเบิร์ตพระบิดาได้จากไป
    เนื่อง จาก เจ้าชายอาร์เธอร์นั้นนับว่าเป็นพระโอรส"องค์โปรด" ของพระมารดา เพราะ เมื่อเทียบกับพระโอรสองค์อื่นๆอีกสามพระองค์แล้วทรงมีภาษีมากกว่าใครเพื่อน อย่าง
    พระโอรส เบอร์ตี้ ก็เจ้าชู้ เหลวไหล
    พระโอรสอัลเฟรด (Alfred Ernest Albert) ไปอภิเษกสมรสกับพระธิดาของ
    ซาร์อเล็กซานเดอร์ที่สอง ที่พระองค์ไม่ค่อยทรงปลื้มกับก๊กทางรัสเซียมากนัก
    พระโอรสลีโอโปลด์ (Leopold George Duncan) ดีทุกอย่าง เสียอย่างเดียวคือ ทรงเป็นโรคฮีโมฟีเลีย ที่ป่วยกะเสาะกะแสะอยู่เสมอๆ

    ฉะนั้น พระโอรสอาร์เธอร์จึงเป็นที่หวังอยู่เพียงองค์เดียว ที่พระองค์ยอมพระทัยอ่อนจัดงานฉลองให้
เท่าที่จำความได้ในวัยเด็ก อลิกซ์มีเวลาอยู่กับพระอัยยิกาน้อยมาก เธอขานพระนามท่านว่า "Gangan" (เป็นภาษาเด็กๆที่เรียกแกรนด์มาเธอร์แบบน่ารักๆ) จำได้ว่าพระองค์อ่อนโยน พระสรวลง่าย เอ็นดูเธอพิเศษกว่าหลานๆคนอื่นที่มีรวมกันถึง ๒๗ องค์ และมักชอบพาพวกหลานๆไปเดินดูสถานที่สำคัญต่างๆในพระราชวัง รวมทั้งต้องไปแสดงความเคารพอาลัยที่ฝังพระศพของเจ้าชายอัลเบิร์ตอันที่ขาด เสียไม่ได้

    พระอภิเษกของเจ้าชายอาร์เธอร์ได้มาถึง พิธีได้ทำที่พระวิหาร St. George
    เด็กๆตื่นเต้นกับขบวนริ้วแห่แหน รถม้าประดับสวยงาม ทุกอย่างช่างสวยสดงดงามอย่างไม่มีที่ติ..
    แต่..สำหรับสมเด็จพระราชินีวิคตอเรียผู้เคร่งครัดแล้ว..พระองค์ก็ทรงหาที่ติ
    เอาจนได้...ว่า..เจ้าสาวมีฟันเสียหลายซี่..ซ้ำมีจมูกที่น่าเกลียดพิลึก เท่านั้นไม่พอ ยังทรงค่อนขอดไปถึงพ่อแม่ของฝ่ายหญิงว่า ฝ่ายพ่อก็เป็นคนเจ้าอารมณ์
    พระองค์ทรงขัดพระทัยที่แผนของการ"จับ คู่"เจ้าหญิงเบียทริซพระธิดาองค์เล็กให้กับเจ้าชายหลุยส์นั้น ..ไม่สำเร็จ เนื่องจากกฏหมายของอังกฤษมีข้อห้ามชัดเจนในเรื่องการแต่งงานใหม่ระหว่างพี่เขยม่ายและน้องภรรยา

    กลางเดือนมีนาคม ถึงเวลาที่เหล่าเด็กๆต้องเดินทางกลับภูมิลำเนา พระอัยยิกาได้จัดให้เจ้าชายลีโอโปลด์ (น้าชาย) เดินทางไปช่วยดูแลหลานๆด้วย
    พร้อม ทั้งรับปากว่าเมื่อเสด็จกลับมา ก็จะส่งเจ้าหญิงเฮเลน่า (น้าสะใภ้) ไปช่วยดูแลแบบผลัดเวรกัน พระองค์ทรงมีพระบัญชาต่อเจ้าชายหลุยส์ว่า ทุกปีต่อจากนี้พวกเด็กๆจะต้องมาพำนักอยู่ที่อังกฤษในช่วงฤดูร้อน และทรงกำชับกับนาง Margaret Jackson พระอภิบาลและครูสอนภาษาอังกฤษให้ถวายรายงานการคืบหน้าการเรียนของพระนัดดา อย่างสม่ำเสมอ ขาดไม่ได้ และถ้ามีอะไรที่ผิดเพี้ยนไป ก็ต้องรายงานพระองค์ให้ทรงทราบโดยด่วน..



    

        
     
ภาพ พระสุนิสาที่ไม่ค่อยทรงโปรด Grand Duchess Maria of Russia..

        
     
อลิกซ์ชอบมาทางทางศิลปะ ชอบวาดภาพ เย็บปักถักร้อย เล่นเปียโน และสนใจในวรรณกรรมต่างๆ
    ทรงเชี่ยวชาญทั้งภาษาอังกฤษ เยอรมัน และ ฝรั่งเศส (ถึงแม้จะหนักไปในสำเนียงเยอรมันก็เถอะ)

    ในความเป็นเจ้าหญิงที่มีเชื้อสายเยอรมันนั้น อลิกซ์ไม่ได้มีชีวิตที่สุขสบายอย่างในเทพนิยาย เพราะเหล่าพระพี่เลี้ยงที่ได้รับประกาสิตมาจากพระอัยยิกา ที่มีทั้งครูสอนภาษาอังกฤษ ครูการเรือนที่เข้มงวดที่ถือว่าถึงเป็นเจ้าหญิงก็ต้องหัดขัดหัดถู หัดทำความสะอาด และ อีกคนหนึ่งคือ
    พระพี่เลี้ยง Wilhelmine Grancy ที่เคร่งครัดในการฝึกหัดวินัย สอนเรื่องการปฏิบัติภาระกิจ การรักษาสัจจะ การอดทน การตรงต่อเวลา และเชื่อในพระเจ้า
    พระพี่เลี้ยงวิลเฮล์มีนจะบอกเสมอว่า ทั้งหมดที่ทรงเรียนนั้น เขาเรียกกันว่า "ขัตติยะมานะ" ที่จะต้องสถิตย์อยู่ในพระองค์อย่างสนิทแน่นไม่ว่าทั้งยามหลับหรือตื่น

    อลิกซ์ได้ซึมซับในคำสอนนั้นมาทั้งหมด พร้อมที่จะออกงานใหญ่
    นั่นคือ งานรวมญาติครั้งต่อไป ฤดูใบไม้ผลิของปี ๑๘๘๔ ที่อลิกซ์มีอายุย่างเข้าสิบสองปี กำลังเข้าสู่วัยรุ่นที่มีหน้าตาสะสวย เรือนร่างออกสูงเพรียว
    เมื่อเทียบกันกับพระภคินี เอลล่า แล้ว เรียกว่าสวยสมกันราวกับเดือนและดาว เพียงแต่ฝ่ายที่เยาว์วัยกว่ายังมิได้ฉายแววที่สุกปลั่งเท่า.งานนั้นคืองานอภิเษกระหว่าง เจ้าหญิงวิคตอเรีย พระเชษฐภคินี กับเจ้าชายหลุยส์ แห่ง แบตเตนเบอร์ค (Prince Louis of Battenberg อันมีศักดิ์เป็นญาติลูกพี่ลูกน้องสายเยอรมันด้วยกัน)
    งานนี้สมเด็จพระนางวิคตอเรียไม่ค่อบชอบพระทัยนัก เพราะไม่ค่อยโปรดบิดาของฝ่ายเจ้าบ่าว เนื่องจากไปคว้าหญิงที่ไม่คู่ควรมาเป็นภรรยา
    แต่ก็นั่นแหละ ว่ากันว่า เจ้าชายหลุยส์ นั้นมีเสน่ห์นัก ใครเห็นใครรัก อีกทั้งได้เข้ามารับราชการในราชนาวีอังกฤษจนเป็นที่โปรดปราน ทำให้พระองค์โอนอ่อนยอมยกพระนัดดา เจ้าหญิงวิคตอเรียให้..

    หมายเหตุ..ถ้าคนที่อ่านเรื่องรักร้าวของเจ้านาย และ ลอดลายรั้ววินเซอร์
    จะคุ้นหูมากสำหรับเจ้าชายหลุยส์องค์นี้ เพราะต่อมาได้ทรงย้ายเข้ามาเป็น
    สัปเยกของอังกฤษ ได้รับการแต่งพระยศให้เป็น Marquess of Milford Haven และพระโอรสองค์สุดท้องของเจ้าชายหลุยส์ กับเจ้าหญิง วิคตอเรียก็คือ ลอร์ด หลุยส์ เมาท์เบตเตน (Lord Louis Mountbatten)
    ส่วนสาเหตุที่ต้องทรงเปลี่ยนจาก แบตเตนเบอร์ค มาเป็น เมาท์แบตเตน นั้น
    กลับไปหาอ่านเอานะคะ



    ภาพ Princess Victoria of Hesse ในวันงานอภิเษก

        
     
     ที่สมเด็จพระนางเจ้าวิคตอเรียทรงขัดพระทัยบ้างในการอภิเษกของพระนัดดาในครั้งนี้ เพราะทรงคิดเสมอว่า ในฐานะที่เจ้าหญิงวิคตอเรียผู้เป็นพระนัดดาและเป็นเชษฐภคินี (ของสายเฮสส์-ดาร์มสตัทต์) นี้..ควรที่จะมีคู่ครองที่เชิดหน้าชูตากว่านี้ แต่เมื่อการณ์ต้องเป็นไปเช่นนั้น พระองค์ก็ผ่อนปรน แต่ก็เหลืออีกสามสาว เจ้าหญิงไอรีน เจ้าหญิงเอลล่า และ เจ้าหญิงอลิกซ์ สามศรีพี่น้องเถาถัดลงไป เพียงแต่พระองค์ไม่ค่อยเข้มงวด เคร่งครัดกับเจ้าหญิงไอรีนมากนัก
    เพราะออดแอด ไม่แข็งแรง (hemophilia)
    แต่กับสองเถาเล็กนั่นคือ เอลล่า กับ อลิกซ์ พระองค์ทรงหมายพระทัยไว้อย่างแน่วแน่ว่า
    เอลล่า จะต้องอภิเษกกับพระนัดดา มกุฏราชกุมารเจ้าชาย Willy (หลานยาย
    ต่อมาคือ ไกเซอร์ Wilhelm II แห่งเยอรมัน)
    อลิกซ์ จะต้องอภิเษกกับ เจ้าชายเอ็ดดี้ (หลานย่าเพราะเป็นพระโอรสของ
    มกุฏ ราชกุมารเจ้าชายเบอร์ตี้ ต่อมาคือ พระเจ้า Edward VII) ซึ่งในอนาคตจะต้องเป็นพระเจ้าแผ่นดินอังกฤษอย่างแน่นอน (คือพระเจ้า George V ในต่อมา)

    เมื่อทรงหมายมั่นเช่นนั้น ในงานอภิเษกของเจ้าหญิงวิคตอเรีย พระองค์ได้เสด็จไปเมืองดาร์มสตัดท์เพื่อทรงเป็นประธานในพิธี อีกทั้งจะได้ทรงเป็นธุระในเรื่องการจับคู่นี้ด้วย อย่างน้อยจะทรงกำชับกับเจ้าชายหลุยส์พระบิดาของพวกเจ้าหญิงพระนัดดาให้รับทราบและปฏิบัติตามพระประสงค์

    แต่..ทันที่ทรงออกโอษฐ์ออกไป พระองค์ต้องพบกับความผิดหวังอีกครั้งที่ต้องมารับทราบข่าวว่า เอลล่าเจ้าหญิงพระนัดดาผู้งามพร้อมได้หมายมั่น ผูกสมัครรักใคร่อยู่กับเจ้าชายเซอเก อเล็กซานโดรวิช แห่ง ราชวงค์โรมานอฟ
    (Serge Alexandrovich Romanov) ผู้ซึ่งเป็นพระอนุชาของ ซาร์ อเล็กซานเดอร์ที่สามจักรพรรดิ์แห่งรัสเซีย


    ภาพ..เจ้าหญิง Irene of Hesse and by Rhine ซ้ายสุด กับพระอัยยิกา Queen Victoria, เจ้าหญิงเอลล่า (Elizabeth) นั่งคุกเข่าซ้ายล่าง, พระอนุชา Ernst-Ludwig ถัดมาพระเชษฐภคินี เจ้าหญิง Victoria (ยืนขวาสุด)
    ที่นั่งพับเพียบ คือ เจ้าหญิง Alix
    ภาพนี้ถ่ายเมื่อปี 1879 สองเดือนหลังจากที่เจ้าหญิงอลีซพระมารดาได้จากไป

        
     
     


 

    เรื่องความรักระหว่างเอลล่ากับเซอเกนั้นอยู่ในสายตาและ ความสนับสนุนของเจ้าชายหลุยส์ (พระบิดาฝ่ายหญิง) อย่างเต็มที่ เพราะคงทรงทราบเหมือนกันว่า สมเด็จพระนางเจ้าวิคตอเรียคงจะต้องมาจัดการเรื่องคู่ครองให้อีกเป็นแม่นมั่น ดังเช่นคู่อื่นๆ ที่มักจะผิดฝาผิดตัว ทำให้ชีวิตอับเฉามานักต่อนัก

    อีกทั้งเหล่าเจ้าหญิงในสาย Hesse นั้นเป็นที่โปรดปรานของราชวงค์สาย St.Peterberg มาแต่ไหนแต่ไร เพราะเหตุผลหลักคือ ศาสนาในนิกายที่ใกล้เคียงกัน เปลี่ยนเข้ารีตได้ง่าย
    (ทางเฮสส์ คือนิกายโปเตสเเต้นท์ ทางรัสเซียเป็นนิการออโธดอคซ์) และทางสายบรรพบุรุษก็เกี่ยวพันมา
    นั่นคือ ซาร์ อเล็กซานเดอร์ที่สอง ได้ทรงมีพระราชินี คือเจ้าหญิงแมกซิมิเลียน วิลเฮล์มีน (จากเฮสส์) หลังจากอภิเษกและเปลี่ยนนิกายแล้ว
    ก็ทรงเปลี่ยนพระนามเป็นพระนาง Maria Alexandrova..

    และ เจ้าชายเซอเก คู่หมายของเจ้าหญิงเอลล่า ก็มิใช่ใครอื่น..เป็นพระโอรส
    องค์ที่ห้าของซาร์และพระนางมาเรีย อเล็กซานโดรวา นี่เอง
    เท่ากับว่า ทั้งสองเป็นทั้งคู่รักและลูกพี่ลูกน้องกันด้วย


    ภาพ พระนาง Maria Alexandrova..กับพระโอรสองค์ที่ห้า และ หก
    เจ้าชายเซอเก (Serge), เจ้าชายปาเวล (Pavel)

        
     
     


 สมเด็จพระนางวิคตอเรียไม่ทรงลดละต่อการค่อนขอดในการตัดสินใจของเจ้าหญิงเอลล่า เพราะทรงไม่ค่อยเชื่อในน้ำมนต์ของเจ้านายฝ่ายรัสเซียมาแต่ไหนแต่ไร เพราะว่า ซาร์อเล็กซานเดอร์เองก็มีพระสนมมากมายทั้งที่เปิดเผยและซุกซ่อน อีกทั้งมีพระโอรสและพระธิดากับนางเหล่านั้นมากมายหลายองค์ ตัวพระนางมาเรีย อเล็กซานโดรวิชเองก็แสนระกำช้ำใจจนต้องกลับไปเฮสส์อยู่เนืองๆ
    และคราวละนานๆ นี่คือสาเหตุุที่พระนางมาเรียและพระโอรสจึงได้สนิทสนมชิดเชิ้อกับญาติทางเยอรมัน
    จนเป็นที่มาของการผูกสมัครรักใคร่ระหว่างเอลล่าและเซอเก
    พระองค์ยังติติงต่อไปถึงเรื่องดินฟ้าอากาศที่สุดแสนหนาวเย็นของรัสเซียที่คงทนอยู่นานนับหลายเดือน เจ้าหญิงเยอรมันอย่างเอลล่า
    จะไปทนอยู่ได้อย่างไร ซ้ำยังทรงยกตัวอย่างคู่ของพระโอรสของพระองค์เอง เจ้าชาย Alfred (= Duke of Edinburgh of Saxe-Coburg-Cotha) ที่อภิเษกกับเจ้าหญิง Maria (รัสเซีย) ผู้ซึ่งเป็นพระภคินีของเจ้าชายเซอเก..ที่ต่างก็ทนอยู่กันไปหามีความสุขไม่..

    ไม่ใช่แต่พระองค์จะไม่ชอบฝั่งรัสเซียมากนักเพียงฝ่ายเดียว ฝ่ายเจ้านายทางรัสเซียก็ย้อนศรกลับมาเช่นกัน ดังเช่นบันทึกของ
    ซาร์อเล็กซานเดอร์ที่สาม ทรงเขียนบรรยายไว้ว่า "พระนางช่างเป็นคนที่เห็นแก่ตัวที่สุด พวกที่ใกล้ชิดก็ตามพระทัยจนเสียผู้เสียคน
    เอาแต่ใจตัวเองเป็นใหญ่"

    เรื่องการสาดโคลนใส่กันนี้มันมีสาเหตุุ เอาเรื่องใหญ่ๆ ก็คือ หลังจากที่ทรงผิดหวังในเรื่องการจับคู่ให้กับเอลล่าแล้ว..สิ่งที่เกิดขึ้นต่อมาที่ได้ทรงแสดงอิทธิฤทธิ์
    นั่นก็คือ เจ้าชายหลุยส์ (แห่งเฮสส์) ที่ตกพุ่มม่ายเพราะเจ้าหญิงอลีซพระมเหสีได้สิ้นพระชนม์ไป ก็ได้เริ่มมี "กิ๊ก"
    Alexandrine von Kolemine สาวงามที่มีวัยต่างกันถึงยี่สิบปี ซ้ำทั้งคู่ยังเหิมเกริมถึงขนาดแอบจัดงานอภิเษกโดยที่ผู้ใหญ่อย่าง พระองค์ไม่ได้รับรู้รับทราบ...
    ส่วนแขกผู้มีเกียรติทั้งหลาย รวมทั้งเจ้าหญิงพระธิดาก็ช่วยกันปกปิด เนื่องด้วยทุกคนรู้สึกสงสารเจ้าชายหลุยส์
    ทันที่ที่พระองค์ได้ทรงล่วงรู้..ธรณีแทบแยกออกเป็นส่วนๆ ถึงขนาดที่ Empress of German (Augusta of Saxe-Weimar) ทรงทราบข่าว (จากสมเด็จพระนางวิคตอเรีย) ว่า องค์มกุฏราชกุมาร Prince Frederick William of Prussia พระโอรสและพระสุณิสา เจ้าหญิงวิคตอเรีย (=Vicky เป็น พระธิดาองค์โตของสมเด็จพระนางเจ้าวิคตอเรียที่ทรงตั้งให้เป็น Princess Royal อันเป็นพระยศเดียวกันกับที่สมเด็จพระนางเจ้าอลิซาเบทที่สองแห่งสหราชอาณา จักร์ในปัจจุบัน ทรงประทานให้กับเจ้าฟ้าหญิงแอนน์) ได้มาร่วมงานในฐานะประธานในพิธีอภิเษกครั้งนี้ ถึงกับกริ้วและเรียกทั้งสองกลับเยอรมันโดยด่วน..

    เมื่อประธานในพิธีต้องขอองค์..รีบเสด็จกลับไปตามคำบัญชาแล้ว..แขกเหรื่อทั้งหมดก็พากันกลับหมด บ้านใครบ้านมัน เมืองใครเมืองมัน
    เพราะไม่มีใครกล้าที่จะเสนอหน้าอยู่ให้สมเด็จพระนางเจ้าแห่งสหราชอาณาจักรต้องขัดเคืองพระทัย..เดี๋ยวจะเดือดร้อนกันไปหมด
    นั่นก็หมายถึงพิธีแต่งงานเป็นไปอย่างแกนๆ ..ไร้แขกเหรื่อ..ซ้ำร้ายเจ้าชายหลุยส์เลยกลายเป็นคนที่ไม่มีใครอยากคบหาสมาคมด้วย
    จากนั้น..สมเด็จฯก็ได้ส่งพระโอรส เจ้าชายเบอร์ตี้ไปเจรจายื่นคำขาดกับอดีตพระราชบุตรเขย เจ้าชายหลุยส์ว่า ต้องประกาศการแต่งงานนั้นเป็นโมฆะ
    อยู่ไปก็ไม่มีประโยชน์อันใด เพราะพระนางได้ทรงมีพระบัญชาไปยัง Alexandrine von Kolemine ให้เก็บข้าวของออกไปจากเฮสส์แล้ว..ไปอย่างชนิดที่ชาตินี้ไม่ต้องเสนอหน้ากลับมาอีก..!!

    เหตุการณ์วุ่นวายที่น่าสะเทือนใจแบบนี้ เกิดขึ้นบ่อยๆ รอบตัวของอลิกซ์
    หลายครั้งที่เธอต้องเห็นความร้าวรานในชีวิตแต่งงานของเหล่าพระวงศานุวงค์
    หรือความไม่สมหวังในชีวิตรัก ทำให้เจ้าหญิงองค์น้อยเริ่มเป็นห่วงชะตากรรมของตัวเอง เพราะทราบดีว่า พระอัยยิกาหมายมั่นเธอให้กับเอ็ดดี้
    ที่ยิ่งคิดก็ยิ่งอีดอัด เพราะใครๆ ก็ทราบดีว่า อลิกซ์นั้นเป็นคนที่มีอารมณ์อ่อนไหวดังเช่นศิลปิน เธอนิยมเสียงเพลง ชื่นชอบอุปรากรแนวโรแมนติกผสมโศกนาฏกรรม

    แต่เธอก็ยังเด็กนัก ยังมีเวลาที่จะค้นหาตัวเองไปได้อีกระยะหนึ่ง..

    สิ่งที่น่าตื่นเต้นและน่าสนใจมากกว่านั่นคือ การเดินทางไกลไปถึงพระราชวังเซนต์ ปีเตอร์เบอร์ค เพื่อที่จะร่วมในงานอภิเษกของเอลล่าพร้อมหน้าพร้อมตากันหมดทั้งครอบครัว

    การเดินทางครั้งนี้จะเป็นการเดินทางที่ไกลที่สุดในชีวิตของเธอ ไกลกว่าที่เคยไปไกลสุดก็ที่พระราชวังบัลเมอรัล
    คราวนี้เธอจะต้องเดินทางอย่างต่อเนื่องถึงสามวันสามคืนทางรถไฟเลียบฝั่งทะเลบอลติค ที่ทุกคนจะต้องเตรียมเสื้อผ้าฤดูหนาวติดตัวกันไปมากมาย ทั้งๆ ที่เป็นเดือนมิถุนายน มีบางช่วงที่ต้องผ่านทุ่งหญ้ารกชัฏหรือแอ่งหนองน้ำที่มีขนาดใหญ่โตมหาศาล มีแนวภูเขาเป็นฉากยาวสุดลูกหูลูกตา
    นับว่าเป็นทิวทัศน์ที่งดงามยิ่ง เพียงแต่อลิกซ์รู้สึกใจหายตลอดการเดินทางนั่นเพราะมันเป็นการไปส่งพี่สาวสุดที่รัก..ไม่รู้ว่าเมื่อไหร่จึงจะได้พบกันอีก

    งานพิธีอภิเษกของเอลล่าและเซอเกนั้น ถูกจัดที่พระวิหารในพระราชวังฤดูหนาว สถานที่นั้นงดงามอย่างที่อลิกซ์ไม่เคยเห็นมาก่อน แม้แต่พระราชวังวินด์เซอร์ที่ว่างามก็ยังไม่โอฬารเท่า

    เอลล่างดงามราวกับเทพธิดา เครื่องประดับและเครื่องแต่งองค์นั้นมลังเมลืองวูบวาบไปด้วยเพชรนิลจินดา บางชิ้นว่ากันว่าแทบไม่มีใครเคยเห็นมาก่อน สร้อยพระศอเพชรเบ้ง น้ำงามนั้นเคยเป็นของพระนางแคทเธอรีน มหาราชินี

        
     
     


  

    
 
 
กับพระสวามี แกรนด์ ดุ๊ก เซอเก ในภาพสุดสวีท นับว่าเป็นภาพที่โพสท่าที่จัดว่าแปลกมากในสมัยนั้น เพราะอิงซบอย่างนี้..แทบไม่เคยเห็น 

        
     เห็นภาพที่แสนหวานขนาดนั้น ใครเล่าจะรู้...??

    หลังจากพิธีเปลี่ยนนิกายเข้ารีตเป็นออโธดอกซ์แล้ว..เจ้าหญิงเอลล่าก็ต้องถูกเปลี่ยนพระนามไปตามประเพณีทางศาสนา เป็น Elizaveta Feodorovna

    เรื่องของเจ้าหญิงเอลล่านั้น จะเล่าต่อไปในทีหลังถึงชีวิตที่ระทมทุกข์ของพระองค์ จนต้องหันเข้าวัดเข้าวาทำสาธารณกุศลไปจนตลอด
    ก่อนที่จะสิ้นสุดพระชนม์ชีพด้วยเคราะห์กรรม


    หลังจากพิธีอภิเษกผ่านพ้นไปเพียงไม่กี่วัน อลิกซ์และพระอนุชาเจ้าชายเออเนสต์ (พระนามเล่น..เออร์นี่) ได้เข้าไปพำนักในฐานะราชอาคันตุกะในพระราชวังหลวงปีเตอร์ฮอฟที่ตั้งอยู๋ริมอ่าวฟินแลนด์กับซาร์ อเล็กซานเดอร์และครอบครัว

    ในอาณาบริเวณพระราชวังที่เต็มไปด้วยสวนดอกไม้ สนามหญ้าที่กว้างขวางใหญ่โต วิ่งเล่นได้อย่างสบายใจ เพื่อนเล่นก็คือ พระโอรส พระธิดาของซาร์ที่มีวัยไล่เลี่ยกัน เจ้าชายจอร์จิ เจ้าหญิงเซเนีย และเจ้าชายมิเกล
    พระชนมายุ ๑๔, ๙ และ ๖ ตามลำดับ
    หรือมกุฏราชกุมารเจ้าชายนิโคลาส ซึ่งย่างเข้ารุ่นหนุ่ม พระชนมายุ ๑๖ ก็มาผสมโรงเล่นด้วยในบางครั้ง ดังที่ได้ทรงบันทึกในสมุดไดอะรี่ว่า..

    "วันนี้อากาศดี..พวกเราทานอาหารกลางวันกับพวกเด็กๆ จากเฮสส์เหมือนเคย
    พอบ่ายสามโมงเราก็ไปวิ่งกระโดดโลดเต้นและไปขึ้นรถม้าเที่ยวเล่น..พระบิดาเสด็จนำหน้าไปพร้อมกับท่านอามารี (Maria Pavlova มเหสีของเจ้าชายVladimir พระอนุชาองค์รองไปจากซาร์อเล็กซานเดอร์ที่สาม) และ
    วิคตอเรีย (หรือ วิคกี้ พระเชษฐภคินีของอลิกซ์) เราพาพวกเขาไปดูการเป็นอยู่ของประชาชนตามหมู่บ้านชานเมือง
    พักกินขนมปังกับนมเป็นของว่างตอนบ่ายจัด"

    และมีข้อความที่แอบเม้มจดติ่งท้ายแถมไว้ว่า..
    "น้องอลิกซ์คนสวยมาร่วมโต๊ะกับเราด้วย"


    ภาพ มกุฏราชกุมารนิโคลาส เมื่อตอนสิบหกชันษา ถ่ายคู่กับพระอนุชาจอร์จิ

        
     
     

    
 อลิกซ์ (ขวาสุด) และเหล่าพระภคินี ในช่วงอายุสิบสอง

        
     
     


   
 

   อลิกซ์เป็นเด็กสาวแรกรุ่นที่งดงาม ยังเอียงอายแบบเด็กๆ ในบางครั้ง แต่ในบางขณะก็ซนแบบแก่นๆ ซึ่งนิโคลาสรู้สึกประทับใจตั้งแต่แรกพบ ทั้งคู่คุยกันอย่างถูกคอในแทบทุกเรื่อง
    ความสนิทสนมเป็นไปอย่างรวดเร็ว ครั้งหนึ่งที่อลิกซ์เล่นซนโดยเอาหัวแหวนที่ใส่ติดนิ้วไปขูดกับกระจกหน้าต่าง เขียนว่า Nicholas ทำให้นิโคลาสรู้สึกสนุกไปด้วยจึงทำตามโดยเขียนใกล้ๆ กันว่า Alix
    ก่อนที่อลิกซ์จะเดินทางกลับเฮสส์ มกุฏราชกุมารหนุ่มน้อยได้มอบของขวัญที่ระลึกให้กับเจ้าหญิงองค์โปรด เป็นเข็มกลัดเพชรเม็ดโต ด้วยความเป็นเด็กทำให้อลิกซ์รับมาด้วยความดีใจ
    พร้อมขอบคุณ จนวันต่อมา..ถึงได้ทราบว่ามันมีราคามหาศาล
    ในงานเลี้ยงดินเนอร์ ขณะที่กำลังเต้นรำอยู่ เธอจึงได้ถือโอกาสหยิบคืนใส่ไปในอุ้งพระหัตถ์...ทูลว่ารับไว้ไม่ได้ ไม่เป็นการบังควร
    นิโคลาสหงุดหงิดพระทัยที่สุด พระองค์พาลพาโล ประชดโดยหันไปทางพระขนิษฐาเจ้าหญิงเซเนีย และยื่นเข็มกลัดเพชรนั้นให้
    เจ้าหญิงเซเนียไม่รู้อิโหน่อิเหน่ รับมาด้วยความดีพระทัย คิดว่าพี่ชายให้เพราะเอ็นดูน้อง...

    เมื่ออลิกซ์และครอบครัวกลับไปแล้ว..เจ้าชายนิโคลาสเริ่มรู้สึกว่า..หัวใจของพระองค์ได้ลอยล่องตามไปกับเรือลำนั้นด้วย
    ส่วนอลิกซ์ก็เช่นเดียวกัน เธอรู้สึกว่า รัสเซียนั้น ช่างเป็นดินแดนที่มีสเน่ห์
    สวยงาม ..และ..มีเจ้าชายผู้ครองแคว้นที่แสนสง่างามราวกับในเทพนิยาย ..


    ภาพ มกุฏราชกุมารนิโคลาสวัยละอ่อน ในเครื่องแบบนายทหาร


    
 

 
   ****** ส่วนที่คุณผู้อ่านถามเรื่อง ซาเรวิช นิโคลาส เสด็จสยาม

    คือเสด็จมาในเดือนมีนาคม 1891 (ยังไม่ได้อภิเษกในตอนนั้น)
    เป็นราชอาคันตุกะของสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง นั้น เป็นการเยี่ยมเยือนหลังจากเสด็จอินเดีย ผู้ร่วมทางคือ พระอนุชา เจ้าชายจอร์จิ และข้าราชบริพารที่ติดตามเสด็จ

    สมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงเสด็จไปรับที่พระที่นั่งบางประอินพร้อมกับ สมเด็จเจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ พระบรมโอรสาธิราช ตามภาพค่ะ   

        
     
     


   
    

    สาเหตุุหนึ่งที่ทรงแวะมาเมืองสยาม เพราะพระองค์จะตรวจงานก่อสร้างทางรถไฟสายไซบีเรีย ที่พาดข้ามประเทศรัสเซีย

    สมัยนั้นการเดินทางโดยเรืออ้อมลงมาแล้ววกกลับขึ้นไป ง่ายกว่าเดินทางไปทางบกตรงๆ ครับ

    แต่การเสด็จมาของพระองค์ท่าน ก็สร้างความตื่นเจ้นยินดีกับสยามมาก เพราะเป็นการเปิดประเทศในช่วงที่เรากำลังอยากได้รับการยอมรับจากประเทศที่เจริญแล้ว เพื่อสู้กับลัทธิล่าอาณานิคม

    ความสัมพันธ์ครั้งนั้น เป็นประตูเชื่อมให้สยามเข้าไปในยุโรปได้อย่างสง่างาม

    การต้อนรับของสยามยิ่งใหญ่มาก ถึงขนาดเกิดคำอุปมาอุปมัยต่อมาอีกหลายปีว่า ราวกับซาเรวิชทีเดียว

    หมายถึงจัดงานได้ใหญ่โต ราวกับงานต้อนรับพระเจ้าซาร์ สมัยยังเป็นมงกุฎราชกุมารนั่นเลยทีเดียว


 
 

   

    เราจะมาเริ่มต้นกันที่ พระเจ้า Alexander II ทรงขึ้นครองราชย์ ตั้งแต่1855-1881 พระองค์ทรงเป็นพระโอรสของ จักรพรรดิ์ Nicholas I (เป็นพระโอรสพระเจ้า ปอล ที่หนึ่ง เท่ากับว่า พระเจ้าอเล็กซานเดอร์ที่สองนี้ มีย่าทวด ปู่ทวด คือ พระเจ้าปีเตอร์ที่สองและพระนางแคทเธอรีน มหาราชินี)

    พระเจ้าอเล็ก ซานเดอร์หลังจากที่ขึ้นครองราชย์ ก็ทรงปรับระเบียบแบบแผนให้กับรัสเซียใหม่ แต่ซาร์ยังคงมีอำนาจเด็ดขาดในการบริหารบ้านเมือง หรือสมบูรณาญาสิทธิราชย์เหมือนเช่นเคย
    เพียงแต่
    พระองค์เริ่มมองเห็นแล้วว่า การปกครองนั้นจะเป็นไปไม่ราบรื่น เพราะกระดูกสันหลังหรือเกษตรกรส่วนใหญ่เป็นชาวเชอร์ฟส์ที่ยากจนมีอยู่มากมาย มีความเป็นอยู่โดยการขายแรงงงานเยี่ยงทาสให้กับเจ้าของที่ดิน
    ดังนั้นพระองค์จึงได้จัดระบบใหม่ กึ่งๆ การประกาศเลิกทาส ว่า..จะให้พวกเกษตรกรยากจนไม่ว่าพวกเซอร์ฟส์ หรือรัสเชี่ยนเองนี้มีสิทธิซื้อที่ดินจากเจ้าของโดยการผ่อนส่งในการหักค่าแรงงานไปจนกว่าจะหมด และในระหว่างที่เจ้าของที่ดินเดือดร้อนเพราะต้องขายที่ดินให้กับทาสแบบเบี้ยหัวแตกนี้..ทางรัฐบาลของพระองค์จะให้ทุนอุดหนุน..ถ้อยทีถ้อยอาศัยไปก่อน..

    แผนนี้เมื่อร่างในกระดาษมันก็ดูดี..สวยหรู แต่..ไม่สำเร็จ เนื่องจากการคอร์รัปชั่นนั้นได้เกาะกินไปในกมลนิสัยของพวกนายทุนมาช้านานแล้ว ดังนั้นจึงมีการเล่นกลเกิดขึ้น พวกนายทุนได้หลอกล่อเอาเงินจากรัฐบาล
    กันทุกสารพัดวิธี..ส่วนทาสก็ได้ที่ดินแค่กระแบะมือเดียวมาเพาะปลูกอะไรไม่ได้ แถมต้องทำงานผ่อนส่งกันนานนับหลายสิบปี บางรายเป็นหนี้ร่วมห้าสิบปี

    ประชาชนไม่รู้จะไปเรียกร้องกับหน่วยงานไหน เพราะพระองค์ไม่มีการจัดตั้งรัฐสภา แต่เลี่ยงเอาไปให้องค์กรบริหารจังหวัด หรือ เรียกว่า Zemstvo ให้ดูแลกันเอง ไม่ว่าเรื่องคมนาคม, โรงเรียน,
    หรือ โรงพยาบาล ซึ่งแน่นอนว่า ตำแหน่งสมาชิกในองค์กรนั้น...มันก็ย่อมตกไปอยู่ในมือของพวกนายทุนอยู่นั่นเอง

    ระบบนิติบัญญัติ ได้มาจัดตั้งในปี ๑๘๖๔ ที่ศาลได้แยกออกมาเป็นองค์กรอิสระ ไม่รวมกับรัฐบาล (แต่กฏหมายที่เอื้อนายทุนก็ยังมิได้ถูกยกเลิก)

    ระบบกลาโหม พระองค์ได้ปรับเปลี่ยนใหม่ จากการรับใช้ชาติยี่สิบห้าปีอย่างแต่ก่อน ถูกลดเหลือ หกปี และไม่ว่าจะเป็นลูกหลานใครก็มีสิทธิถูกเรียกตัว อีกทั้งทรงปรับการฝึกให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน เพื่อความสง่างามของกองทัพ

    แผนงานทั้งหมดนี้..เป็นแค่เสือกระดาษ เพราะว่ารัฐบาลไม่ได้มีคนทำงานที่มีประสิทธิภาพ ที่มีอยู่ก็คงไม่ได้เห็นแก่ประโยชน์ของประชาชน
    อีกทั้งเนื้อที่สำหรับการปกครองนั้นใหญ่โตเกินไปกว่าที่จะควบคุมดูแลได้ถึง ประชาชนส่วนใหญ่ต้องการประชาธิปไตยรูปแบบรัฐสภาอย่างประเทศอื่นๆ ในยุโรปที่เจริญแล้ว พูดง่ายๆ ว่าพวกเขาต้องการความเป็นธรรมที่ชัดเจน ไม่ใช่การปิดหู ปิดตา ปิดปาก ประชาชนอย่างที่เป็นอยู่ เนื่องจากกฏหมายเดิมนั้นห้ามไม่ให้ประชาชนวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาล โทษฐานถึงติดคุก

    ดังนั้นประชาชนจึงจัดกลุ่มพันธมิตรกันขึ้นเอง มีการประชุมลับกันที่นั่นที่นี่
    จนทุกอย่างเริ่มเข้มข้นจึงกลุ่มต่อต้านขึ้นมา ทุกคนลงความเห็นตรงกันว่า ซาร์คือกุญแจดอกสำคัญดอกเดียวในการที่จะเปลี่ยนการปกครอง
    ดังนั้นในเดือนตุลาคม ๑๘๗๙ กลุ่มประชนชนที่ต่อต้านจึงตัดสินใจเด็ดขาด ว่าจะทำทุกอย่างเพื่อที่จะกำจัดซาร์ให้ได้ รวมทั้งแผนสังหารในทุกรูปแบบ
    เชื่อหรือไม่ว่า ไม่ว่าจะเป็นการลอบยิง ระเบิดขบวนรถไฟ เหล่าทหารผู้ติดตามตายไปเป็นร้อย..ซาร์ก็ยังรอดมาได้ทุกครั้ง..
    แต่ มาพลาดเอาในเดือนมีนาคม ๑๘๘๑ ขณะที่ขบวนเสด็จผ่านไปทางถนนสายแคบ..ผู้ก่อการได้ขว้างระเบิดใส่ที่รถ ม้าที่ประทับ..ลูกแรกพลาดส่งเสียงดังสนั่นหวั่นไหว
    ซาร์กระเด็นออกมาตกลงไปจมอยู่ในหลุมข้างทาง..ผู้ก่อการจึงโยนใส่ไปในบริเวณนั้นอีกลูกหนึ่ง..ผลคือ พระชงฆ์ขาดกระเด็น
    ทหารได้นำร่างซาร์ที่รวยรินกลับไปยังพระราชวังเซนต์ ปีเตอร์เบอร์กเป็นการด่วน..
    ไม่กี่ชั่วโมงต่อมาก็สวรรคต..


    
 
 


    จากนั้น ซาร์ Alexander III ก็ขึ้นครองราชย์ (จาก 1881-1894) พระองค์ได้เห็นพระบิดาสิ้นพระชนม์ไปด้วยเหตุการณ์ที่แสนโหดร้ายเพราะการวางระเบิดนั่น
    นโยบายการปกครองในสมัยของพระองค์ จึงเน้นวางกฏเหล็ก เข้มงวดไปที่ ชาตินิยม เจ้าศาสนา ศาสนานิยม ทั้งสามนิยมที่ว่านั้น คือ ชาติเดียว (รัสเซีย) ศาสนาเดียว (ที่ใหญ่และมีอำนาจสุด คือ ออโธดอกซ์)
    และ เจ้าเดียว (คือซาร์เอง) อะไรก็ตามที่จะเกี่ยวพันไปถึงเรื่องสิทธิและเสรีภาพของประชาชน..ถูกปิดกั้นหมด

    เรื่องชาตินิยม เพราะพระองค์ได้ปิดกั้นเสรีภาพของประชาชนนั้น เป็นอันหมายถึงการคบหากับอังกฤษ ฝรั่งเศส หรือประเทศอื่นๆ ในยุโรปก็ได้แผ่วเบาไปด้วย ดังที่เคยเล่ามาแล้วว่า พระองค์ไม่ค่อยเลื่อมใสในสมเด็จพระนางเจ้าวิคตอเรียมากนัก ถึงกับมีบันทึกไว้ ส่วนทางฝ่ายสมเด็จพระนางเจ้าฯ ก็เช่นกัน ที่เคยตรัสว่า.."ในหมู่เจ้านายสายกษัตริย์ด้วยกัน ซาร์อเล็กซานเดอร์เป็นคนที่ไร้ความเป็นสุภาพบุรุษอย่างที่สุด"
    เท่านั้นไม่พอ ซาร์ได้เปลี่ยนระบบการศึกษาใหม่หมด ทุกเขตแคว้นจะต้องใช้แต่ภาษารัสเซียเท่านั้น รวมไปถึงตำรับตำราเรียนด้วย ซึ่งทำให้เป็นการวุ่นวายยิ่ง..เพราะขอบขัณฑสีมาของรัสเซียที่กว้างไกล รวมไปถึง
    โปแลนด์ และ ฟินแลนด์นั้น นักศึกษาต้องมาเรียนภาษารัสเซียกันใหม่
    การกีดกันทางการศึกษาได้เริ่มจากที่ซาร์กลัวว่าประชาชนจะฉลาดเกิน จึงสั่งให้ขึ้นค่าเล่าเรียน อย่างชนิดลูกคนจนนั้นหมดสิทธิ ทำให้รัสเซียเกิดปัญหาการไม่รู้หนังสือในประชากรเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก ในปี ๑๘๗๙
    ว่ากันว่า มีเพิ่มขึ้นถึง ๗๙ เปอร์เซ็นต์

    เรื่องศาสนา ซาร์ได้เพิ่มอำนาจให้กับวัดวาอารามในนิกายของออโธดอกซ์เหนือนิกายอื่นๆ อย่าง เด็ดขาด โรงเรียนและการสอนจะต้องขึ้นอยู่กับสายออโธดอกซ์ทั้งหมด ห้ามประชาชนกันไปเข้ารีตกับศาสนาอื่น
    โดยเฉพาะกับพวก "ยิว" ที่เจอกับกฏเหล็กสารพัด เพราะซาร์เชื่อว่า ยิวนั้นคือมือที่มองไม่เห็น เป็นตัวการบงการสังหารพระบิดา ดังนั้นในยุคสมัยของพระองค์นั้น ยิวถูกกระทำการทารุณในทุกรูปแบบ ตั้งแต่
    ห้ามจำกัดจำนวนเรียนในมหาวิทยาลัย ห้ามค้าขายในวันหยุดทางศาสนา และมีการไล่ทุบตีในบางกรณี เนื่องจากพระองค์ได้ตั้งหน่วยตำรวจเฉพาะกิจขึ้นมา เรียกว่า Okhrana
    ทำให้ยิวส่วนใหญ่จึงหลั่งไหลออกไปยังประเทศอื่นๆ ในยุโรป และสหรัฐอเมริกา ผลสะท้อนกลับ คือ ยิวเหล่านั้นเมื่อตั้งตัวได้ก็รวมตัวกันจัดตั้งองค์กรต่อต้านเพื่อโค่นล้มรัสเซีย

    เรื่องเจ้า..พระองค์ยังดำเนินรอยตามพระบิดา คือไม่สนใจในเรื่องของระบบรัฐสภา หรือเลือกตั้ง เพราะพระองค์ได้ประกาศว่า..คำสั่งจากรัฐบาลของพระองค์คือประกาศิต..


    ส่วนดีของซาร์ก็คือ พระองค์ได้บริหารประเทศให้เป็นดินแดนอุตสาหกรรม โรงงานทุกขนาดได้เกิดขึ้นในรัสเซีย มีการนำทรัพยากรทุกชนิดออกมาใช้ มาผลิตเป็นสินค้าเช่น น้ำมัน ถ่านหิน เหล็ก สิ่งทอ ขนสัตว์
    และนี่คือที่มาของการสร้างสายรถไฟแห่งประวัติศาสตร์ที่คุณสื่อศิลปเอ่ยถึง นั่นคือ เส้นทาง Trans Siberian Railway ในปี ๑๘๙๑ อันเป็นรับช่วงนโยบาลมาทำต่อจากรัชกาลที่แล้ว..
    ที่เริ่มจาก เซนต์ ปีเตอร์เบอ์กข้ามประเทศไปจนถึงสุดชายฝั่งตะวันออก ถึง
    ท่าวลาดิวอสตอค (Vladivostok) ที่จ่อเกือบถึงญี่ปุ่น (ข้ามน้ำไปอีกอีกนิดเดียว) สายรถไฟนี้ยาวถึง ๕๗๘๕ ไมล์ ได้เสร็จสิ้นเมื่อปี ๑๙๐๕
    การเติบโตของภาคอุตสาหกรรมนี้เอง ประชากรจึงหลั่งไหลเข้าโรงงาน แต่การเป็นอยู่ยังเหมือนเดิม ที่ยากจนก็ยังคงอยู่เช่นเดิม รัฐบาลก็พยายามจะยื่นมือเข้าช่วยเหลือแต่ก็ต้องแพ้ให้กับกลุ่มนายทุนไปเสียทุกครั้ง
    การก่อหวอดเรียกร้องการปลดแอกได้เกิดขึ้นในหมู่ชนชั้นกรรมกร เริ่มจากจุดเล็กๆ ไปจนถึงการเปลี่ยนการปกครอง..
    และนี่คือที่มาของเคราะห์กรรมที่รัชกาลต่อมาต้องประสบ..

 
  
  
    
 
    ในหมู่พระโอรสและพระธิดาของซาร์อเล็กซานเดอร์ (ที่สาม) นั้นมีดังนี้..

    ๑. Nicholas = ซาเรวิช นิโคลาส ประสูติ ๑๘๖๘

    ๒. Georgi = เจ้าชายจอร์จิ ประสูติ ๑๘๗๑ (สิ้นพระชนม์ไปเมื่อมีกีชนมายุเพียง ยี่สิบแปดชันษา ในปี ๑๘๙๙)

    ๓. Xenia = เจ้าหญิงเซเนีย ประสูติ ๑๘๗๕

    ๔. Mikhail = เจ้าชายมิเกล หรือ พระนามเล่นว่า มิช่า (Misha) ประสูติ ๑๘๗๘


    ๕. Olga = เจ้าหญิงออลกา ประสูติ ๑๘๘๒


    ในภาพมีครบทุกพระองค์ กับพระมารดา ถ่ายเมื่อปี ๑๘๘๔

        
   
    เมื่อยามที่นิโคลาสถือกำเนิดขึ้นมานั้น มีเรื่องเล่าขานกันว่า พระองค์มีพระวรกายเล็กจนผิดปรกติ ผิดกับพระบิดาที่มีพระวรกายสูงใหญ่ (หกฟุต หกนิ้ว)
    บึกบึนราวกับยักษ์ปักหลั่น แน่นอนว่า พระโอรสนั้นคงจะผิดปรกติเป็นแน่แท้
    พระองค์จึงเรียกหาแพทย์ให้เข้ามาทำการดูแลวินิจฉัย
    แพทย์ตรวจดูแล้ว ได้ลงความเห็นที่พระองค์ไม่อยากสดับว่า
    "พระโอรสองค์นี้เห็นท่าจะไม่รอดพะยะค่ะ"

    ที่ว่า "ไม่รอด" นั้นกลับไม่ใช่พระโอรส หากแต่เป็นหมอที่ถูกเฉดหัวออกไปแทบไม่ทัน ที่บังอาจไปลงความเห็นในด้านลบให้กับพระโอรสองค์แรก..

    จากนั้นมา..ไม่มีใครกล้าปริปากเกี่ยวกับพระพลานามัยของพระโอรส
    นิโคลาสอีกเลย แต่เหล่าทหารและข้าราชบริพารต่างพากันเป็นห่วงในอนาคตของชาติบ้านเมืองกันอยู่ในใจ เพราะมองไม่เห็นว่า มกุฏราชกุมารที่ผ่ายผอม บ่าลีบ แขนขาเล็ก ท่าทางอมโรคอย่างนี้จะมาเป็นซาร์ได้อย่างไร ขนาดเมื่อยามที่มีพระชนมายุได้สิบหกแล้วยังดูเล็กกว่าปรกติของเด็กชายในวัยเดียวกัน
    ยิ่งต้องมาประทับเคียงข้างกับพระบิดาแล้ว..ยิ่งดูน่าเป็นห่วง

    นอกจากร่างบอบบางที่ว่านี้แล้ว..ยังมีพระอุปนิสัยผิดแผกไปจากพระราชบิดาผิดไปจากพระอัยกาอย่างไกลโต่ง ใครๆ ก็รู้ว่า ทั้งพระเจ้าอเล็กซานเดอร์ที่สาม
    และที่สองนั้น ล้วนแต่เป็นชายชาตินักรบ เด็ดเดี่ยว ดุดัน เสียงดังฟังชัด
    แต่ซาเรวิชนี้กลับนุ่มนิ่ม อ่อนโยน ค่อนข้างขี้อายราวกับหญิง..
    แล้วจะครองรัสเซียที่ใหญ่โตคับทวีปได้อย่างไร..??

    ภาพ ซาเรวิช เมื่อ ปี ๑๘๗๐        

        
     
     


 

    ถ่ายในปีเดียวกัน พระกุมารแต่งชุดตุ๊กตาอย่างนี้สำหรับในรั้วในวังเป็นเรื่องธรรมดา.. 

ปี ๑๘๗๑ กับพระมารดา พระนาง Maria Feodorovna

        
 
 
 

   

    เจ้าชาย Alexander Mahkailovich (หรือ ซานโดร อันเป็นพระนามเล่น) มีศักดิ์เป็นลุง แต่ต่อมาได้กลายมาเป็นเพื่อนสนิทของซาเรวิช เนื่องจากมีอายุห่างกันแค่สองปี บันทึกไว้ว่า..
    พบกับนิโคลาสครั้งแรกที่พระราชวังริมทะเล Livadia, .ที่แคว้นไครเมีย (Crimea)
    ว่าเป็นเด็กชายที่รื่นเริง ใส่เสื้อสีชมพู ยืนอยู่บนบันไดหินอ่อนชี้ชวนให้ใครต่อใครดูเรือที่แล่นไปมา..


    ภาพ...ซานโดร Grand Duke Alexander Mahkailovich  

  (หมายเหตุ...จำชื่อนี้ บุคคลนี้ไว้ให้ดีค่ะ  เพราะเขาคือผู้ที่จะมาเล่าเรื่องชีวิตและความเป็นไปในการเป็นแกรนด์ ดุ๊ค ของพระองค์เอง และความเป็นไปในรัชกาลของซาร์นิโคลาสอย่างละเอียด รวมทั้ง..ความผันแปรหลังการปกครอง..ในฐานะของญาติสนิทที่ต่อมาก็ทรงอภิเษกกับพระขนิษฐาของซาร์  แกรนด์ ดัชเชส เซเนีย เท่ากับว่า พระองค์นั้นเป็นทั้งลูกพี่ลูกน้องและน้องเขยของซาร์) 
     
    เรื่องพระกุมารแต่งตุ๊กตานั้น คงเป็นเรื่องของความสะดวกในการถวายพระอภิบาลที่ต้องเปลี่ยนผ้าอ้อมบ่อยๆ และรู้สึกว่าเป็นธรรมเนียมปฏิบัติของฝ่ายใน
    เพราะต่อมาในสมัยของพระกุมาร Alexei (พระโอรสของซาร์นิโคลาส) ก็แต่งตุ๊กตาเช่นกัน จะนำภาพมาให้ชมทีหลังค่ะ

    แต่เมื่อโตขึ้นมาหน่อย มักนิยมแต่งเป็นเครื่องแบบ ตามภาพนี้นะคะ 

    กลางคือ ซาเรวิช ถ่ายเมื่อ 1871 ยามที่เสด็จไปเดนมาร์ก ในการพบปะกลุ่มพระประยูรญาติ
    ญาติที่ว่านี้..ขอสืบสายไปให้หน่อยว่า..

    พระญาติสายอังกฤษทั้งสองพระองค์นี้ เป็นพี่น้องร่วมอุทรเดียวกัน องค์โตกว่า
    ทางขวาคือ Prince Albert Victor, Duke of Clarence and Avondale (ว่าที่มกุฏราชกุมาร แต่อายุสั้น 1864-1892) ซ้ายคือ Prince George (ต่อมา คือ King George V 1865-1936 ขึ้นครองราชย์หลังจากที่ พระเชษฐาสวรรคต และยังรับช่วงพระคู่หมั้น เจ้าหญิง Mary of Teck ของพี่ชายมาเสกสมรสด้วย)
    ทั้งสองพระองค์เป็นพระโอรสของพระเจ้า Edward VII เท่ากับว่าเป็นหลานย่าของสมเด็จพระนางเจ้าวิคตอเรีย..อีกทั้งพระมารดาคือพระนาง Alexandra of Denmark ก็เป็น พระภคินีของ Empress Marie หรือ พระนาง Maria Feodorovna พระมารดาของซาเรวิชนั่นเอง..

    งงไหมคะ ลองโยงดูนะคะ

        
     
     สองเจ้าชาย หนึ่งซาเรวิชในภาพทั้งสามเป็นลูกพี่ลูกน้องกันค่ะ ฝ่ายอังกฤษคือลูกป้า ฝ่ายรัสเซียคือลูกน้า..
    ลุงเขย คือ พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่เจ็ด น้าเขย คือ ซาร์อเล็กซานเดอร์ที่สามแห่งรัสเซีย

    เท่ากับว่า..สำหรับทางรัสเซีย ซาร์อเล็กซานเดอร์ที่สามมีส่วนเกี่ยวข้องกับพระนางเจ้าวิคตอเรียในหลายสถานะ

    หนึ่งคือ ..สมเด็จพระนางเจ้าฯเป็นแม่สามีของพี่เมีย.. (พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่เจ็ดกับ เจ้าหญิงอเล็กซานดราแห่งเดนมาร์ก)

    สองเป็น..แม่สามีของน้องสาว (พระขนิษฐามาเรีย กับ Alfred, Duke of Edinburgh)

    สามเป็น...ยายของน้องสะใภ้ (คู่เอลล่ากับเซอเก)

    สี่... คือในอนาคตที่ไม่ทรงล่วงรู้นั่นก็คือ ก็จะเป็นยายของลูกสะใภ้อีก (คู่ของ อลิกซ์กับนิโคลาส)
    นับว่าสมเด็จพระนางเจ้าวิคตอเรียนั้นคือ ศูนย์กลางของจักรวาลพระราชวงค์ในยุโรปจริงๆ

    เพราะฉะนั้นถ้าจะเล่าว่า ทั้งซาร์และพระราชินีไม่ค่อย"ลงรอย"กันนัก ผู้อ่านก็คงจะเข้าใจในสายสาแหรกนี้..

    นี่ยังไม่ได้ไล่เรียงไปทางเยอรมันนะเนี่ย..


    จากเหตุการณ์ร้ายที่เกิดขึ้นกับพระบิดา ซาร์อเล็กซานเดอร์ที่สามจึงเพิ่มความดูแลรักษาพระองค์และครอบครัวให้ แน่นหนาขึ้น ได้ทรงย้ายไปให้พระราชวัง Gatchina ที่มีป่าและน้ำล้อมรอบเป็นกำแพงเพิ่มอีกหนึ่งชั้น
    มีอาณาบริเวณกว้างขวาง มีหอคอยสูงสำหรับสังเกตุการณ์
    นอกเหนือไปจากความสะดวกสบายในพระราชวังที่มีมากกว่าเก้าร้อยห้อง

    ซาเรวิช พระอนุชา และ พระขนิษฐา จึงถูกดูแลอย่างใกล้ชิดชนิดก้าวต่อก้าว
    เพราะ ว่าข่าวของผู้ก่อการร้ายยังมีอย่างต่อเนื่อง อย่างพอมีข่าวว่าผู้ก่อการร้ายได้ขุดหลุมเป็นอุโมงค์ใต้ดินเป็นทางยาว ยาวจนจะถึงพระราชวังกัทชินา
    ซาร์จึงสั้งให้ขุดคูลึกรอบพระราชวังทุกที่อันเป็นที่ประทับ
    ส่วนเหล่าคุณพนักงานทุกแผนกที่มีนับพันๆ คน มีการตรวจตราเข้มทุกคน ด้วยเกรงว่าจะมีผู้ต่อการร้ายปลอมตัวเข้ามา
    นั่นคือความกลัวที่มาจากภายนอก..

    แต่ ความกลัว"ภายใน"ก็มีไม่น้อย เนื่องจากมีเสียงร่ำลือจากเหล่าคุณพนักงานกว่า วิญญาณของพระเจ้าปอลที่หนึ่ง มักมาปรากฏตัวให้ใครต่อใครเห็นบ่อยๆ


    พระราชวัง กัทชินา นี้อยู่ห่างไปจากพระราชวังเซนต์ ปีเตอร์เบอร์กไปทางใต้ประมาฯสี่สิบกว่าไมล์ พระเจ้าปอลที่หนึ่ง ที่เป็นปู่ของซาร์เอล็กซานเดอร์นี้ได้มาขยายเพิ่มเติมไปอีก เพราะทรงได้รับเป็นของขวัญจากพระมารดา คือ
    พระนางแคทเธอรีนมหาราชินี

    ซึ่ง ความจริงแล้ว พระนางได้สร้างให้กับนายทหารสุดที่รัก นามว่า Count Grigorievich Orlov และเชิดชูออกหน้าออกตา หลังจากที่พระสวามีพระเจ้าปีเตอร์สิ้นพระชนม์ไป พระนางได้หลงไหลออร์ลอฟมาก ถึงขั้นว่าจะอภิเษกด้วย หากแต่มีเสียงทัดทานจากองคมนตรีที่ใกล้ชิด อีกทั้ง ทรงมีที่หมายอื่นที่อีกสองสามคน..

    ท่านออร์ลอฟเสียอกเสียใจ ไม่รู้จะทำอย่างไรถึงจะกลับมาเป็นคนโปรดตามเติม เพราะเก่าๆ ย่อมเป็นสนิมไป ใหม่ๆ ก็เข้ามาเพราะจุ๋มจิ๋มกว่า
    ดัง นั้น..ในปี 1775 ท่านออร์ลอฟจึงรีบรุดเดินทางไปที่แอมสเตอร์ดัม เพราะได้ข่าวว่ามีเพชรเม็ดเป้งขนาดมหึมาจากอินเดียมาขาย..เขายอมควักเงินไม่ อั้น ว่ากันว่า หลายแสนปอนด์ (เทียบเท่า) ซื้อเพชรเม็ดนั้นเพื่อมาถวายให้กับ
    พระนางผู้ซึ่ง (เคย) เป็นที่รัก

    เพชร เม็ดนั้น ได้ถูกเรียกว่า Orlov diamond ที่ปัจจุบันอยู่ที่พิพิทธภัณฑ์พระราชวังเคลมลิน ใหญ่โตมาก และมีรูปลักษณ์ที่แปลกประหลาดเหมือนกับขุดมาจากก้นครก น้ำหนักเฉียดๆ สองร้อยกะรัต ใหญ่จนต้องนำมาประดับที่ยอดคธา

        
 

    เพชรมาถึงช้าไป..เพราะพระนางหมดเยื่อใยกับผู้ถวายอย่าง หมดจดแล้ว แต่ก็ทรงรับไว้ ..เมื่อท่านออร์ลอฟได้เสียชีวิตไป พระนางได้ขอซื้อปราสาทกัทชินากลับคืนมา และมอบให้กับพระโอรส ที่ต่อมาคือ พระเจ้าปอลที่หนึ่ง

    พระเจ้าปอลที่หนึ่งได้จัดการสร้างต่อเติมใหม่ ให้ใหญ่โตมโหฬารเข้าไปอีกทุกทิศใช้เป็นเขตพระราชฐานแบบทางการ แม้กระทั่งเมื่อวาระสุดท้ายของชีวิตที่ถูกลอบทำร้ายจนสวรรคตก็ทรง ประทับอยู่ในห้องบรรทมที่พระราชวังนี้

    เรื่องลอบทำร้ายนี้..ก็ด้วยฝีมือจากเหล่าทหารที่เคยเป็นที่โปรดปรานของพระมารดานั่นเอง..

    ผู้ที่ครองราชต่อมา คือพระโอรส พระเจ้าอเล็กซานเดอร์ที่หนึ่ง (Alexander I) ผู้ซึ่งสยบนโปเลียนนั่นไง..เคยเล่าแล้วนะคะ

    ภาพพระราชวัง กัทชินา ด้านเหนือ   

  ด้านใต้ 

    นี่คือที่มาของเรื่องความสะพรึงกลัวในหมู่คุณพนักงานที่ ต้องอยู่ถวายงานในพระราชวังกัทชินา ที่พากันสาบานว่าเห็นผีพระเจ้าปอลที่หนึ่งโผล่ตรงนั้น ตรงนี้..

    ในช่วงฤดูร้อนซาเรวิชทรงโปรดการออกไปเดินเล่นกับพระบิดาในรอบอาณาบริเวณ วิ่งเล่นบ้าง หรือไปเก็บผลไม้ในสวนบ้าง โดยเฉพาะที่ทรงจำได้ดี
    นั่น คือยามที่พระเจ้าแผ่นดินสวีเดนเสด็จมาเยี่ยมเยือน ซาร์อเล็กซานเดอร์ พระบิดาทรงหมั่นใส้ในท่าทางเจ้านายจัด..ถึงกับแกล้งหันสายยางพ่นน้ำไปรดราด ใส่..
    ก็เป็นที่ขบขันสำหรับเด็กๆ ไป..

    หรือกับพระอนุชาจอร์จิ..ที่ รวมกันแกล้งเลียนเสียงสำเนียงของครูอังกฤษที่มาสอนภาษา..แม้กระทั่งสอนให้นก แก้วตัวโปรดทำเสียงเลียนตามไปด้วย
    เล่นเอาครูถึงกับหัวฟัดหัวเหวี่ยง

    กับพระญาติสนิท "ซานโดร" ที่ชอบเล่นแบบเด็กผู้ชาย นั่นคือ ออกไปสร้าง
    ตุ๊กตาหิมะ ไปเลื่อยต้นไม้ทำเก็บทำฟืน หรือ ปลูกต้นไม้..

    แต่กิจกรรมทั้งหมดนี้..มิได้ครอบครองเวลาทั้งหมดของซาเรวิชน้อยนี้เลย เพราะส่วนใหญ่นั้น พระองค์กลังทรงคิดถึงสาวน้อยอลิกซ์ออกบ่อยๆ
    คิดถึงทั้งๆ ที่ไม่มีทางล่วงรู้ได้เลยว่า อีกฝ่ายหนึ่งซึ่งเริ่มย่างเข้าสิบสามนั้น
    ได้ มีใจตรงกัน เพราะ อลิกซ์ได้ปรับทุกข์กับ Toni Becker เพื่อนหญิงธิดาของข้าราชบริพารที่ตามมารับใช้เจ้าหญิงอลีซพระมารดาจากอังกฤษ และเมื่อสิ้นพระมารดาไปแล้ว ก็ยังอยู่ถวายการดูแลแก่พระธิดาต่อไป..
    อลิกซ์ได้เผยความลับในใจกับโทนี่ว่า..ทรงผูกจิตกับนิโคลาส
    และไม่ทรงโปรดในเรื่องการถูกจับคู่กับเจ้าชายเอ็ดดี้เลยแม้แต่นิด
    ทั้งๆ ที่ฝ่ายชายนั้นเป็นลูกชายองค์โตของลุงเบอร์ตี้ และเป็นหลานคนโปรดของสมเด็จยายที่หมายมั่นนัก แต่อลิกซ์เห็นว่าเอ็ดดี้นั้นช่างเป็นลูกแหง่ที่ไม่รู้จักโตเสียที ไปไหนก็ยังเกาะแม่แจ

    แต่นิโคลาสนั้น..ช่างสง่างาม เป็นชายชาตรีราวกับเจ้าชายในฝัน..


    จนอลิกซ์ได้ย่างเข้าสิบห้า สาวสะพรั่งสวยสดงดงาม และกำลังจะเตรียมตัวไปร่วมในงานอภิเษกสมรสในฐานะเป็นเพื่อนเจ้าสาวให้กับน้า เจ้าหญิงเบียทริซ พระธิดาองค์สุดท้องของพระอัยยิกา กับ เจ้าชาย Henry of Battenberg ซึ่งในตอนนั้นเริ่มมีหนุ่มๆ จากนานาราชวงค์และลูกผู้ดีจากทุกสายสาขา อาชีพ นายทหารหนุ่มๆ เริ่มมาพากันมองอย่างเหลียวหลัง

    แต่อลิกว์ก็ยัง มีจิตใจที่มั่นคงอยู่กับทางรัสเซีย ข่าวคราวที่ทั้งสองได้รับทราบต่อกันก็มักจะผ่านทางจดหมายของเอลล่า ที่มักจะเขียนเล่าสู่เสมอๆ มิได้ขาด

    เมื่ออลิกซ์อายุเริ่มย่างเข้าสิบ ห้านี้ ถือว่าเป็นสาวเต็มตัวแล้ว ตอนนั้นเป็นงานพระราชพิธีสำคัญใหญ่ของสมเด็จพระนางเจ้าวิคตอเรียพอดี นั่นคือ Golden Jubilee 1887 หรือ ครบรอบการครองราชย์ห้าสิบปี ที่อลิกซ์ต้องไปร่วมในงานเฉลิมฉลองนี้ ตลอดเวลาที่อยู่ในอังกฤษ สมเด็จพระนางเจ้าวิคตอเรียมิได้ปล่อยให้แผนการจับคู่นั้นเสียเวลาไปเปล่าๆ ทรงให้เอ็ดดี้ตามประกบจีบแบบไม่ให้หายใจ

    เอ็ดดี้นั้น หลงรักอลิกซ์แบบหมดใจ จึงพยายามทุกวิถีทาง ทั้งป้อยอ เอาอกเอาใจ ซึ่งสร้างแต่ความอึดอัดใจให้กับฝ่ายหญิงเป็นกำลัง

    ยิ่งเมื่อครบสิบหกปีเต็มเดือนพฤษภาคม 1888 ในงานวันเกิด ที่จัดให้เป็นงาน
    บอลล์ แบบราตรีสโมสรเต็มไปด้วยพิธีรีตองครั้งแรกในชีวิตของเธอที่จะได้แต่งตัวชุด ราตรีเปิดหลังเปิดไหล่อย่างสาวๆ เกล้าผมขึ้นสูงพร้อมปักเครื่องประดับ มีการเต้นรำและจิบแชมเปญ

    ทุก คนที่ได้ยลโฉมอลิกซ์ในคืนนั้น ต่างกลับมาบันทึกว่า สวยสดงดงามอย่างหาที่ติดไม่ได้ และเชื่อว่าอีกไม่นาน สาวสวยคนนี้จะต้องมีข่าวอภิเษกกับ
    มกุฏราชกุมารราชวงค์ใดราชวงค์หนึ่งอย่างแน่นอน

    สวยแค่ไหน...ก็ ดูกันเองค่ะ..          


    ล่วงมาถึงปีรุ่งขึ้น 1889 ที่ทุกคนก็ยังไม่ได้วี่แววของข่าวคราวว่าจะมีพิธีหมั้นหมายเกิดขึ้น คราวนี้เสด็จพระอัยยิกาจึง"รุกหนัก" โดยการให้อลิกซ์ไปหาที่อังกฤษ และจัดทริปให้ไปเที่ยวกันกับกลุ่มหนุ่มๆ สาวๆ ที่พระราชวังบัลมอรัล (สก๊อตแลนด์) โดยหวังว่าความเป็นบ้านป่าแสนโรแมนติกที่พระราชวังบัลมอรัลนั้น อาจจะให้ความรักงอกเงยขึ้นมาบ้าง..

    ทุกคนต่างลงความเห็นว่า อลิกซ์กับเอ็ดดี้นั้นเหมาะสมกันอย่างที่สุด
    คน เดียว..ที่ไม่เห็นด้วยกับข้อนี้..คือ..เอลล่า..ที่มองไม่เห็นเลยว่าจะสวยสม กันตรงไหน เอ็ดดี้มีดีอย่างเดียว คือ อีกหน่อยก็จะครองอังกฤษแถมด้วยตำแหน่งจักพรรดิ์แห่งอินเดียก็เท่านั้น..

    ส่วนอลิกซ์ยิ่งอึดอัดไปกว่าเดิม เพราะเอ็ดดี้ติดตามในทุกฝีก้าว..ตามจีบแบบไม่เว้นช่องไฟ ซ้ำขอความรักอีกต่างหาก..
    ซึ่งเธอได้ปฏิเสธไปอย่างบัวไม่ให้ช้ำ..เล่นเอาเอ็ดดี้ถึงกับต้องถึงแก่กาลอกหัก

    แต่ สมเด็จพระอัยยิกา..ยังไม่ได้ถอดพระทัย ยังหวังว่า อีกหน่อยอลิกซ์ก็ต้องเปลี่ยนใจ เพราะจะไปหาใครเล่ามาเป็นคู่ครองได้เหมาะสมกว่า..ดีกว่า..
    ดังในพระราชหัตถเลขาถึงเจ้าหญิงวิคตอเรีย พระธิดาองค์โต ว่า..พระองค์ยังมีความหวังในการให้สองคนนี้อภิเษกกัน..

    เพียง แต่ที่ทุกคนไม่ได้ล่วงรู้เลยว่า ตลอดเวลามานั่น อลิกซ์ได้ใช้เวลาว่างฝึกฝนภาษารัสเซียอย่างขมักเขม้น เพราะกำลังวางแผนที่จะเตรียมตัวไปเยี่ยมเอลล่า และหวังใจว่าจะได้พบกับใครคนหนึ่ง..ที่เฝ้าคิดถึงอยู่ในทุกขณะจิต

  

    ในเดือนมกราคม 1890 ที่อลิกซ์และครอบครัวได้มาเยี่ยมเยียนเอลล่านั้น..แม่น้ำเนวา (Neva) แห่งรัสเซียได้กลายเป็นน้ำแข็งแผ่นหนา..ถนนหนทางปกคลุมไปด้วยหิมะจนขาวโพลน มุมหนึ่งของวัง Anitchkov ที่พำนักของเซอเกกับเอลล่า อยู่บนมุมถนน Nevsky ห่างจากริมแม่น้ำไปไม่เท่าไหร่ ตรงข้ามก็คือ ก็คือ เซนต์ ปีเตอร์สเบอร์กพระราชวังหลวงที่ซาร์และครอบครัวประทับอยู่..

    เนื่อง จากฤดูหนาวของรัสเซียนั้นยาวนานนัก และไม่ว่ามองไปทางไหนก็มืดมิดไปหมด ท้องฟ้าจะสว่างแค่ช่วงเช้ายามพระอาทิตย์ขึ้นแค่ขอบฟ้าเพียงไม่นาน พอให้เห็นแสงสว่างชั่วประเดี๋ยวประด๋าว..แล้วก็กลับเข้าสู่หมอกมืดเช่นเดิม ดังนั้นพระราชวังจึงได้จัดงานให้เหล่าไฮโซ และสมาชิกในพระราชวงค์ได้พบปะแบบหรูหราราตรีสโมสรแทบทุกคืน
    ช่างเป็นภาพที่อลังการงานสร้างยิ่งนัก พระราชวังถูกประดับด้วยไฟส่องสว่าง
    รถม้าประดับด้วยเก๋งที่นั่งงดงาม วิบวับ เรียงแถวเข้าสู่พระราชวัง
    เสียงกระดิ่งจากรถม้าดังกุ๊งกิ๊ง มาไม่ขาดระยะ
    เหล่าผู้ร่วมงานก็แต่งกายกันอย่างเต็มยศ โอ่อ่า..
    เสียงเพลงจากเครื่องดนตรีนับร้อยๆ ชิ้นดังกระหึ่ม ยาวนานแทบตลอดทั้งคืน..


   
    แต่ถ้าอยากจะเข้าใจจริงๆ ไปหาหนังสือประวัติของ
    Victoria Mary of Teck ต่อมาคือ Queen Mary พระราชินีของพระเจ้า George V
    หรือ เว้ากันซื่อๆ ก็คือ ย่ากับปู่ของสมเด็จพระนางเจ้าอลิซาเิบทที่สองแห่งสหราชอาณาจักร
    จะได้รู้ว่า พระนางแมรี่มีอิทธิพลต่อการบริหารประเทศ ต่อระบบฝ่ายใน ต่อประชาชนอย่างไร
    พระองค์"ใจเด็ด"ถึงขนาดตัดญาติขาดมิตรที่มีความเสี่ยงต่อความสงบสุขของอังกฤษได้

    เพื่อ ให้ประชาชนเกิดความรักชาติอย่างหมดข้อสงสัย พระองค์สามารถโน้มน้าวพระสวามีให้เปลี่ยนพระนามของพระราชวงค์อันเก่าแก่ จาก Saxe-Coburg and Gotha (โดยไม่แคร์ว่า สมเด็จพระนางวิคตอเรียเป็นคนที่ทำให้พระราชวงค์นี้นามกระเดื่องไปทั่วโลก) เพราะในชื่อนั้น
    เป็นการป่าวประกาศว่ามีสามสายสาแหรกปนอยู่ จะเป็นการผูกพันตัวเองกับต่างด้าวและคนโน้นคนนี้จนเกินไป พอหลังจากที่เยอรมันแพ้สงคราม (โลกครั้งที่หนึ่ง) รัสเซียล่มสลาย
    พระเจ้ายอร์จที่ห้าภายใต้การชักนำของพระนางแมรี่ จึงได้เปลี่ยนพระนามแห่งพระราชวงค์มาเป็น วินด์เซอร์

    ไม่เป็นญาติกับใครอีก..


    ทั้งๆ ที่พระนางแมรี่นั้น..เชื้อสายเป็นเจ้าหญิงจากแคว้น Teck ซึ่งเป็นเยอรมันแต้ๆ เชียว


    ภาพ เป็นการ์ตูนล้อ เป็นภาพพระเจ้ายอร์จที่ห้ากำลังกวาดตำแหน่งต่างๆ ของพระองค์ที่มีส่วนทรงเกี่ยวพันกับเยอรมันทิ้งไป


 

 

สำหรับคุณผู้อ่านที่สนใจในควีนวิคตอเรีย
   
    พระนางวิคตอเรียเป็นเจ้านายที่ครองราชย์องค์สุดท้ายของราชวงค์ Hanover
    แต่มีความสับสนตรงนี้นิดหนึ่ง คือ กฏมณเฑียรบาลดั้งเดิมนั้นมีว่า เจ้านายหญิง (ที่ไร้ทายาทชายสืบสกุล) ไม่สามารถครองราชย์ได้
    ดัง นั้นในเมื่อไม่มีรัชทายาทองค์อื่นๆ จึงต้องมีการเล่นซิกแซก นั่นคือ ผ่านบัลลังค์ไปให้กับสมเด็จอา (King Ernest Augustus I of Hanover) ให้ทำหน้าที่เป็นผู้พิทักษ์บัลลังก์แทน..จนกระทั่งปี 1840 ที่..พระนางวิคตอเรียมีพระโอรสรัชทายาทนั่นแหละ สมเด็จอาก็หมดภาระกิจส่งบัลลังก์คืนให้กับพระนางวิคตอเรียปกครองดูแลต่อไป

    พระ สวามี เจ้าชายอัลเบิร์ต ในราชวงค์ Saxe-Coburg and Gotha ที่ทรงอภิเษกและมีพระโอรสพระธิดาด้วยกันถึงเก้าพระองค์ ก็ถือว่าเป็นอังกฤษภายใต้การปกครองของพระองค์อยู่ในยุคของ Hanover/ Saxe-Coburg and Gotha
    (นี่คือความหมายที่พี่บอกว่า ทรงทำให้พระราชวงค์เล็กๆ จากเยอรมันนี้เป็นที่รู้จักและศักดิ์สิทธิขึ้นมาทัน ตาเห็น เพราะ ฮันโนเวอร์กำลังจะจางหายไป)
    เมื่อพระโอรส (Edward) ได้ขึ้นครองราชย์ ก็มาเป็น
    King Edward VII of Saxe-Coburg and Gotha


    ตัวอย่างอย่างในปัจจุบัน..ที่เจ้าฟ้าชายชารลส์ ที่ทรงพระนามเต็มยศว่า..The Prince of Wales, Charles Philip Arthur George Mountbatten-Windsor เพราะสมเด็จพระราชินีอลิซาเบทได้ทรงเพิ่ม พระนาม (สกุล) ต่อท้ายให้กับพระโอรสทุกพระองค์ เป็น Mountbatten-Windsor ตั้งแต่ปี 1960 เป็นการเถลิงพระเกียรติให้กับพระสวามี
    แต่พระราชวงค์ ก็คงเป็น Windsor เช่นเดิม

    Saxe-Coburg and Gotha มีกษัตริย์ปกครองเพียงพระองค์เดียว คือพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 7 ทรงปกครองอยู่ประมาณ 9 ปี (ค.ศ 1901-1910)

    หลังจากนั้น พระเจ้ายอร์ชที่ 5 ซึ่งเป็นผู้ครองบัลลังค์ต่อมา ก็เปลี่ยนเป็นราชวงศ์วินเซอร์ ตั้งแต่ ค.ศ 1910 ถึงปัจจุบัน เป็นยุคสมัยของพระราชินี เอลิซาเบธที่ 2 รวมแล้วราชวงศ์วินเซอร์ครองราชย์ถึงปัจจุบัน ประมาณ 98 ปี

    เฉพาะสมัยของพระราชินีเอลิซาเบธที่2 พระองค์เดียว ก็ปาเข้าไป 56 ปีแล้ว


 

    
    
 
 

    
    
 
 


   
    
 
 

 

    
 
 




บทความจากสมาชิก




1

ความคิดเห็นที่ 1 (101742)
avatar
wiwanda

ภาพลงครบหมดแล้วค่ะ....เรื่องนี้อาจจะเข้าใจยากสักนิด เพราะ "ญาติเยอะ"  แต่ถ้าไม่เข้าใจหรือสงสัยตรงไหน...ถามได้ค่ะ..

ดิฉันชอบให้มีการถามถึงรายละเอียด..เพราะนั่นหมายความว่า..ผู้อ่านกำลังสนใจ...และจะเป็นประโยชน์กับคุณผู้อ่านท่านอื่นๆด้วย..

ผู้แสดงความคิดเห็น wiwanda (wwiwanda-at-yahoo-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2011-08-08 23:16:44


ความคิดเห็นที่ 2 (101749)
avatar
wiwanda

ดิฉันตั้งใจไว้ว่า..จบเรื่องของโรนานอฟ (หวังว่าในไม่นานนี้)  แล้ว...ดิฉันเขียนเรื่อง.."ซูคอฟ.....จอมทัพผู้ยิ่งใหญ่ " ต่อไปถ้าหากว่า..สังขารยังอำนวย

เพราะตอนนี้อ่านหนังสือของท่านแล้วเกิดอาการ "อิน" ขึ้นมา     เรื่องอาการ "อิน" นี่ถ้าจะเล่าแล้วมันแปลกมากค่ะ..ดิฉันอ่านหนังสือมาก..เพราะเป็นคนที่ติดหนังสือมาตั้งแต่เด็ก  จะมีหนังสือบางเล่มเท่านั้น ที่อ่านแล้วเกิดอาการอยากจะเล่าต่อให้ผู้อื่นได้รับรู้รับทราบบ้าง..จนถึงขั้นลงมือแปล และค้นคว้าหาข้อมูลมารองรับจากหนังสืออื่นๆที่เกี่ยวข้อง..เพื่อให้แน่ใจว่ามันจะต้องเป็นผลงานที่มีคุณภาพพอสมควร   อาการแบบนี้เกิดขึ้นไม่บ่อยหรอกค่ะ โดยเฉพาะในช่วงปีสองปีที่ผ่านมานี้แทบไม่ได้เขียน (เรื่องใหม่) เลย..เพราะแค่เรื่องโรมานอฟนี่..ก็แทบหืดจับแล้ว..

แต่เรื่องของนายพลซูคอฟ...นี่..อาการ"อิน" ได้เกิดขึ้นอีกแล้วค่ะ...ตอนนี้หนังสือกองรอบตัวเลย..ทั้งรูปเล่มและคินเดิล..หวังอย่างเดียวว่า..ไฟคงจะไม่มอดไปเสียก่อน...ก็เท่านั้น...

 

ผู้แสดงความคิดเห็น wiwanda (wwiwanda-at-yahoo-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2011-08-08 23:33:57


ความคิดเห็นที่ 3 (101751)
avatar
โรจน์ (Webmaster)

มาลงชื่อสนับสนุนการเขียนประวัติท่านนายพลซูคอฟเป็นรายแรกครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น โรจน์ (Webmaster) (webmaster-at-iseehistory-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2011-08-09 15:56:40


ความคิดเห็นที่ 4 (174978)
avatar
์Venice

 สนุกมากค่ะ

ผู้แสดงความคิดเห็น ์Venice วันที่ตอบ 2017-11-12 00:18:13


ความคิดเห็นที่ 5 (176437)
avatar
damaneek

 ตามจาก Facebook ค่ะ อ่านสนุกมากนึกว่าอ่านนวนิยาย 

ผู้แสดงความคิดเห็น damaneek (damanee-dot-didadi-at-gmail-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2020-02-22 23:54:41



1


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.
| WW II Europe | WW II Asia | WW I | Vietnam War | ประวัติศาสตร์ไทย | บทความจากสมาชิก | คุยกันหลังฉาก | บทความทั้งหมด |

สนใจร่วมเขียนบทความในเว็บไซต์ เชิญอ่าน แนวทางการร่วมเขียนบทความ ภาพยนตร์ประวัติศาสตร์

Custom Search



eXTReMe Tracker