dot
dot
เว็บภาพยนตร์ประวัติศาสตร์ ยินดีต้อนรับผู้สนใจทุกท่าน
dot
dot
สมาชิก Webboard/Blog
ชื่อผู้ใช้ :
รหัสผ่าน :
เข้าสู่ระบบอัตโนมัติ :
bullet ลืมรหัสผ่าน
dot
bulletข้อตกลงการเป็นสมาชิก
bulletเว็บบอร์ด-คุยกันหลังฉาก
bulletเว็บบอร์ด-Games ย้อนยุค
bulletเว็บบอร์ด-ชุดจำลองประวัติศาสตร์
bulletเว็บบอร์ด-หนังสือประวัติศาสตร์
bulletเว็บบอร์ด-เพลงประวัติศาสตร์
bulletคำถาม/คำตอบ ล่าสุด
bulletแนวทางการร่วมเขียนบทความ
dot
สงครามโลกครั้งที่ 2
dot
bulletสมรภูมิยุโรป (สัมพันธมิตรVSเยอรมัน-อิตาลี)
bulletสมรภูมิแปซิฟิก-เอเชีย (สัมพันธมิตรVSญี่ปุ่น)
dot
ภาพยนตร์ประวัติศาสตร์อื่นๆ
dot
bulletสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง
bulletประวัติศาสตร์ไทย
bulletประวัติศาสตร์อเมริกันยุคเริ่มแรก
bulletสงครามเวียดนามและอินโดจีน
bulletตะวันตกโบราณ (กรีก โรมัน ฯลฯ)
bulletประวัติศาสตร์ร่วมสมัย
bulletเอเชียโบราณ
bulletประวัติศาสตร์อื่นๆ (ยังไม่แยกหมวดหมู่)
bulletคลิปความรู้จาก YouTube
dot
บทความโดย วิวันดา
dot
bulletฮิตเล่อร์...และเหล่าขุนพลแห่งอาณาจักรไรค์ซที่สาม
bulletลอดลายรั้ว.....วินด์เซอร์
bulletเลิศเลอวงศา...โรมานอฟ
bulletเชลย
bulletซูคอฟ...ยอดขุนพลผู้ดับฝันของฮิตเล่อร์
dot
บทความโดย สัมพันธ์
dot
bulletคนไทยในกองทัพพระราชอาณาจักรลาว
bulletประวัติศาสตร์สงคราม กรีก
bulletกรณีพิพาทอินโดจีนและสงครามมหาเอเชียบูรพา
bulletอยุธยายศล่มแล้ว ลอยสวรรค์ ลงฤา
bulletฮานนิบาล
bulletพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบรมวงศานุวงศ์
bulletไทยกับมหาสงคราม
bulletสงครามเวียดนาม
bulletห้วยโก๋น ๒๕๑๘
bulletการทัพในมลายา
bulletประวัติศาสตร์อื่น ๆ
dot
เรื่องอื่นๆ
dot
bulletบทความเสริมความรู้ทั่วไป
bulletเกร็ดเล็กเกร็ดน้อย
bulletผู้จัดทำ
bulletผังเว็บไซต์ (Site Map)
bulletแนวทางการร่วมเขียนบทความ
bulletถาม-ตอบ (FAQs) (โปรดอ่านก่อนตั้งกระทู้หรือสมัครสมาชิก)
bulletร้านค้าออนไลน์
bulletแบ่งปัน Album
dot
ลิงค์ต่างๆ
dot
bulletHistory on Film
bulletกองบิน 21 กองพลบิน 2
bulletIELTS British Council
bulletIELTS IDP
bulletMUIC




โหราศาสตร์ยุคไอที



เลิศเลอวงศา...โรมานอฟ ตอนสอง


   

    การไปรัสเซียครั้งนี้ มิตรภาพระหว่างเด็กสาวและหนุ่มน้อยรัชทายาทเริ่มมีความชิดเชื้อเพิ่มขึ้น ทั้งคู่คุยกันถูกคอ เป็นคู่ขาเล่นสเก็ตที่มีฝีมือพอกัน สัญญาณบางประการเริ่มฉายแววที่ทำให้ทุกคนในรัสเซียเริ่มประหวั่นใจ

    เอลล่าพาอลิกซ์และครอบครัวออกงานพร้อมพาไปแนะนำให้บรรดาญาติฝ่ายสามีได้รู้จัก ซึ่งเป็นที่แน่นอนว่าเมื่อเทียบเจ้าหญิงจากแคว้นเล็กๆกับเหล่าบรรดาพระราช วงค์ในรัสเซียที่โปะเครื่องเพชรขนาดมหึมาทั้งยามหลับยามตื่นนั้น อลิกซ์ได้ดูซอมซ่อไปอย่างช่วยไม่ได้ นอกเหนือจากนั้นทุกคนลงความเห็นพ้องต้องกันว่าอลิกซ์ยังไม่สง่างามเท่าที่ ควร รวมทั้งซาร์ และ ซารินา เองที่ดูเหมือนจะมองเธอในด้านลบไปเสียหมดในทุกเรื่อง

    ส่วนทาง อังกฤษ สมเด็จพระอัยยิกาพระนางวิคตอเรียก็เริ่มเป็นห่วงเช่นกัน พระองค์ได้ทรงมีพระอักษรไปหาอลิกซ์เองและพระประยูรญาติอื่นๆ ในเรื่องที่พระองค์มีพระประสงค์ให้อลิกซ์แต่งงานกับเอ็ดดี้
    เมื่อข่าวนี้ กระจายไปทั่ว..ทางรัสเซียก็ทราบเช่นกันจากพระนางอเล็กซานดราแห่งเดนมาร์ก (พระราชินีของพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่เจ็ด)ผู้ซึ่งเป็นพระภคินีของซารินา
    และทางซารินาก็ได้ตอบไปว่า..ถึงแม้ว่าอลิกซ์จะเหมาะสมที่จะเป็นราชินีแห่งอังกฤษในอนาคตก็ตาม
    แต่สำหรับในรัสเซียแล้ว อลิกซ์ไม่เหมาะที่จะเป็นคู่ครองของซาเรวิช เพราะไม่เคยมีธรรมเนียมปฏิบัติ
    ที่เจ้าหญิงจากแคว้นเล็กๆจะถูกเลือกให้มาเป็นซารินาองค์ต่อไป นอกเหนือๆไปว่าทรงเชื่อว่าอลิกซ์คงไม่มีวันชนะใจประชาชนชาวรัสเซียไปได้

    ข้อความนี้ได้ถูกส่งไปให้สมเด็จพระนางวิคตอเรียได้ทอดพระเนตรเพื่อความสบายพระทัยว่า เอ็ดดี้พระนัดดาสุดเลิฟน่าจะไร้คู่แข่งหัวใจ..แถมมีการเพิ่มข้อความไปด้วย ว่า ซารินาเองก็ไม่โปรดที่จะเห็นเด็กสองคนสนิทสนมกัน อีกทั้งได้ทรงมอง"ที่หมาย"อื่นไว้ให้กับซาเรวิชแล้ว..นั่นคือ เฮเลนแห่งฝรั่งเศส

    ระหว่างที่ผู้ใหญ่ทั้งสองฝ่ายกำลังเป็นกังวลอยู่นั้น อลิกซ์และซาเรวิชกลับยังสนุกสนานร่าเริงด้วยกัน
    ด้วยการแอบสนับสนุนรู้เห็นเป็นใจของเอลล่าและเซอเก

    นั่นคือบ่อเกิดแห่งความรักของคนทั้งสอง เป็นความรักที่แน่นแฟ้นและมั่นคงเพราะมันเกิดขึ้นมาบนท่ามกลางของความขัด แย้งด้วยเหตุผลของผู้ใหญ่ที่มีมากมายนานานับประการ

    ภาพ เหล่าพระราชวงค์รัสเซีย ถ่ายเมื่อ 1890s

 
 

 
 
 

   
    ทันที่ที่กลับถึงบ้านเกิดที่เฮสส์ ในเดือน พฤษภาคม 1890 อลิกซ์ได้ตัดสินใจเด็ดขาดที่จะดำเนินชีวิตต่อไปข้างหน้าในเส้นทางที่เลือก ทั้งๆที่ไม่รู้ว่าจะลงเอยอย่างไร แต่ที่แน่ๆ..ก็คือ เธอไม่ได้รักเอ็ดดี้
    เธอจึงได้ลงมือเขียนจดหมายไปหาพร้อมขยายความอย่างนุ่มนวล ว่า ไม่ปลงใจ ขอรักกันอย่างญาติจะดีกว่า..
    ส่วน จดหมายถึงพระอัยยิกานั้น เธอได้ขยายความเพิ่มเติมไปว่า ถ้าจะฝืนใจหรือถูกบังคับให้แต่งงานกันก็คงไม่มีความสุขเพราะเธอไม่สามารถมี จิตเสน่หากับญาติสนิทไปได้ เมื่อชีวิตไม่มีความสุขแล้วเธอจะดูแลบ้านเมืองอันเป็นภาระที่แสนหนักอึ้ง นั้นได้อย่างไร

    เอ็ดดี้..เสียอกเสียใจและผิดหวังจนแทบเสียผู้เสียคนไปพักหนึ่ง..

    ส่วน สมเด็จพระนางเจ้าพระนางวิคตอเรีย..กลับรับความผิดหวังนั้นได้ดีกว่าใครๆ เพราะพระองค์รู้สึกเข้าใจในการตัดสินของพระนัดดา อีกทั้งได้ชื่นชมในความกล้าหาญและเก่งกาจผิดพี่ผิดน้อง
    ใครเล่าจะเชื่อว่าเด็กสาวอายุเพียงสิบเจ็ดจะบังอาจขัดพระประสงค์ของพระองค์ผู้ยิ่งใหญ่ได้

    เอลล่ารีบฉวยโอกาสตึงเครียดนี้ชักชวนให้อลิกซ์ไปเยี่ยมเยียนรัสเซียในฤดูร้อน ที่พระตำหนักในชนบทเมือง Illinsky ซึ่งเป็นโอกาสเหมาะเจาะเพราะเจ้าชายหลุยส์พระบิดาที่กำลังปวดหัวกับชีวิต ส่วนตัวที่มีหญิงพัวพันให้วุ่นวายนั้น กำลังอยากจะไปพักผ่อน หาที่สงบๆพักผ่อนอยู่พอดี จึงตกลงใจที่จะไปกันไปรัสเซียอีกครั้ง..
    ส่วนเอลล่าก็แอบกระซิบบอกอลิกซ์ด้วยว่า ซาเรวิชจะเสด็จมาหา มาเยี่ยมที่พระตำหนักที่อิลลิงสกี้ด้วย
    เพราะในวันที่ 18 กันยายนที่จะถึงนั้นเป็นงานใหญ่ที่เหล่าพระราชวงค์จะมีการเฉลิมฉลองที่นั่น

    แต่ เมื่อถึงวันนั้นเข้าจริงๆ ซาเรวิชกลับถูกส่งตัวไปที่อื่นด้วยภาระกิจทางทหาร เหมือนกับเป็นการกลั่นแกล้งจากผู้ใหญ่ที่ไม่ต้องการให้สองคนนั้นได้พบกันอีก ซึ่งซาเรวิชได้แอบมารำพันในสมุดบันทึกไว้ว่า
    "ถ้าเราไม่ได้พบกันคราวนี้ ก็ต้องรอไปถึงปีหน้า เห็นท่าจะรอไม่ไหวแล้วเรา"

    แต่ชีวิตของรัชทายาทนั้น ซาเรวิชไม่สามารถกำหนดอะไรด้วยตัวเองได้ ทุกอย่างขึ้นอยู่กับซาร์และ
    ซารินาที่เฝ้ามองอย่างใกล้ชิดทุกระยะ ทั้งคู่พยายามผลักดันให้พระโอรสเลือกเจ้าหญิงเฮเลนแห่งฝรั่ง
    เศส ให้ได้ ระหว่างที่รอหาคู่ครองนั้น ซาร์ได้จัดหาหญิงมาเป็นสนมของพระโอรสวัยยี่สิบสองชันษาก่อนไปพลางๆ หญิงคนนั้น คือ Matilda Kchessinsky นักเต้นบัลเลต์จากราชสำนักวัยสิบแปดปีที่มีความสวยสดงดงามที่เล่นเอาซาเรวิ ชลุ่มหลงไปพักหนึ่ง..


    ภาพ Matilda Kchessinsky  

        

    ตามพื้นนิสัยของซาเรวิชจริงๆแล้ว ค่อนข้างสับสนเพราะภาระหน้าที่ที่แบ่งแยกออกไปหลายหน้าที่ แต่ไม่มีส่วนไหนที่เป็นการ"ติวเข้ม" อีกทั้งการศึกษาทางด้านตำรับตำราที่ไม่ได้เน้นหนักไปในทางด้านหนึ่งด้านใน ที่จริงจังหน่อยก็เห็นจะเป็นทางด้านทหารที่เน้นไปในทางด้านฝึกและเฮฮาไปตาม ประสาหนุ่มๆที่อยู่รวมกัน

    การไปเยี่ยมเอลล่าครั้งนี้ แม้อลิกซ์จะรู้สึกผิดหวังที่ไม่ได้พบกับนิโคลาสผู้เป็นที่รัก แต่เธอก็ได้รู้เห็นในชีวิตสมรสของเอลล่าว่ามิได้มีความสุขอย่างที่ทุกคนคิด แกรนด์ดุ๊คเซอเกพระสวามี เป็นคนขี้หึงแบบแปลกๆ บังคับดูแลไปในทุกเรื่องแม้กระทั่งหนังสือที่อ่าน เขาก็จะต้องเป็นคนเลือก อะไรที่หวือหวาไปนักก็ห้าม ทั้งคู่แต่งงานกันมาหลายปีแต่ก็ไม่มีลูกด้วยกัน เอลล่าไม่ได้ถือว่าทุกอย่างที่กล่าวมานี้เป็นความทุกข์เพราะเธอหันไป สนใจในพระศาสนามากขึ้น เนื่องจากนิกายออโธดอกซ์ที่เข้ารีตตามเซอเกนั้น หนักไปในทางสงเคราะห์ชุมชน ช่วยเหลือผู้ยากไร้ เออล่าจึงใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ เช่นหัดเย็บเสื้อผ้า ทำครีมทาหน้าใช้เองด้วยแตงกวาและนมเปรี้ยว
    แต่เอลล่าก็ยังหวังที่จะเห็นน้องสาวของตัวเองก้าวขึ้นมาเป็นซารินาแห่งรัสเซียในอนาคต

    เมื่อ งานพิธีในวันที่สิบแปดกันยายน ปราศจากเงาของซาเรวิช..ข่าวซุบซิบก็มีมาเป็นระยะว่า เป็นความประสงค์ของซาร์และซารินาที่อยากจะส่งพระองค์ไปให้ไกลๆ..เป็นการตัด ไฟแต่ต้นลมเพราะความสัมพันธ์ระหว่างอลิกซ์และพระโอรสนั้นเริ่มหนาหู และทางเดินทางไกลของซาเรวิชก็ถูกจัดขึ้นในต่อมา..นั่นคือ ให้เสด็จไปเที่ยวรอบโลก..พร้อมกับพระอนุชาจอร์จิ และ พระญาติ George of Greece พร้อมกับมหาดเล็กข้าราชบริพารอีกกลุ่มหนึ่ง..ภายใต้การนำของ Prince Bariatinsky

    ซาเรวิชและคณะได้เริ่มเดินทางจุดแรกที่ท่าเรือ Trieste โดยเรือพระที่นั่ง Memory of Azov
    ใน เดือนพฤศจิกายน 1890 นับว่าเป็นประสบการณ์ใหม่ๆที่น่าตื่นเต้นของรัชทายาทแห่งรัสเซีย ที่ได้ขี่ลาเลียบแม่น้ำไนล์ในอียิปต์ ได้ดูระบำหน้าท้องที่พระองค์ให้ความสนใจยิ่ง..ได้นั่งเรือเที่ยวในคลองสุเอซ ได้ดูการจับจรเข้ในชะวา..นอกเหนือไปจากการเลี้ยงรับรองในทุกที่ที่เสด็จ..
    ทุกคนสนุกสนานกันเต็มที่ เรื่องเหล้ายาปลาปิ้ง..เต็มคราบ
    จนเกิดเรื่องขึ้นจนได้..ที่ญี่ปุ่น..ที่สาเหตุเกิดขึ้นเพราะมีการกล่าวหาว่า เจ้าชายยอร์จแห่งกรีซนั้นเป็น
    เกย์และได้ทำการล่วงละเมิดหนุ่มพื้นเมือง..(โดยที่ไม่มีใครทราบว่าผู้ที่ถูกกล่าวหาและคณะนั้นเป็นใคร มาจากไหน)

    แผนการปฏิบัตินั่นคือ การลอบทำร้าย เนื่องจากตอนนั้นญี่ปุ่นได้มีการต่อต้านชาวผิวขาวกันอยู่แล้ว
    ซาเรวิชได้เสด็จบนรถลาก..บนถนนในเมือง Otsu จู่ๆก็มีตำรวจนายหนึ่งพุ่งชาร์จเข้ามาด้วยซามูไร
    และ ฟันไปที่พระเศียรอย่างแรง โชคดีที่ทรงพระมาลาที่หนาพอสมควร แต่ก็โชกไปด้วยพระโลหิตเพราะบาดแผลนั้นฉกรรจ์ลึก..ซาเรวิชพาองค์ออกจากรถ ลากอย่างทุลักทุเล
    เจ้าชายยอร์จที่ตามเสด็จมาด้วยรถลากอีกคัน จึงพุ่งเข้าใส่ตำรวจคนนั้นจนล้มลงไป และใช้คานพระกร
    (ไม้เท้า)ฟาดไปหลายที คนลากรถก็ลงมาช่วยกันไปเรีกขอความช่วยเหลือคนเจ็บนิรนามนั่น..

    บาดแผลที่พระเศียรของซาเรวิชนั้นหนาหนานัก.ลึกจนถึงกระโหลก..โชคดีที่พลาดจุดสำคัญไปอย่าง
    เฉียดฉิว พระองค์ได้ทรงพระอักษรถึงพระมารดาในเหตุการณ์ช่วงนี้ไว้ว่า..
    "ลูกเองก็รู้สึกสงสารชาวญี่ปุ่นนะแม่..พวกเขานั่งคุกเข่า ขอลุกะโทษบนพื้นถนนด้วยท่าทางที่เสียใจอย่างสุดซึ้ง"

    ก็จะไม่เสียใจได้อย่างไร ใครจะไปรู้ว่าคนที่ถูกฟันหัวเกือบแบะนั้นคือ รัชทายาทแห่งอาณาจักรรัสเซียที่ยิ่งใหญ่ ใหญ่จนแทบจะกลืนกินญี่ปุ่นได้ทุกเมื่อ..

    องค์จักรพรรดิ์เมจิเสด็จเข้าเยี่ยมเป็นการส่วนพระองค์ และดูแลพระอาการอย่างใกล้ชิด ทรงตรัสขอโทษแล้วขอโทษอีก..
    โทรเลขแสดงความเป็นห่วงใยถูกส่งมาถวายนับเป็นพันๆฉบับจากทุกมุมของทุกประเทศ


    ส่วนองค์ซาเรวิชผู้บาดเจ็บ..มิได้ทรงถือโกรธแต่อย่างใด กลับรู้สึกสงสารชาวญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นอีกต่างหาก

    

    และในหนังสือทุกเล่มที่อ่านเรื่องเสด็จญี่ปุ่น เขียนไว้ตรงกันหมด คือ ออกจากรัสเซียปลายปี 1890
    โดย เรือพระที่นั่ง Pamiat Azova ( หรือ Memory of Azov ในภาคภาษาอังกฤษ)หลังจากประพาสที่โน่นที่นี่แล้ว เสด็จถึงญี่ปุ่น ประมาณเมษายน 1891 และเรื่องที่ถูกลอบทำร้ายนั้น ข้อความตรงกันหมด..เพียงแต่ทางรัสเซียบอกว่าอาการนั้นหนักหนาสาหัสเอาการ แต่ทางญี่ปุ่นบันทึกไว้ว่า บาดเจ็บเล็กน้อย..

    เอาจากหนังสือบันทึกของญี่ปุ่นมาเล่าต่อนะคะ ว่า..


    ซาเรวิชเสด็จญี่ปุ่น และไปเที่ยวอยู่ในหลายเมือง มีสาวเกอิชาประจำองค์ในทุกเมืองที่เสด็จ
    หลังจากที่เกิดเหตุการณ์ลอบทำร้ายขึ้น เมื่อพระองค์ได้ส่งรายงานไปทูลให้ซาร์และซารินาทรงทราบ
    หมายกำหนดการที่จะต้องเสด็จต่อไปยังกรุงโตเกียว จึงต้องชะลอไปก่อน จนกว่าจะได้รับการตอบกลับจากพระบิดา..
    ปรากฏว่า..การตอบกลับนั้น คือ ให้เสด็จออกจากที่นั่นไปที่เรือพระที่นั่งที่จอดอยู่ที่ท่าเรือเมืองโกเบโดย ด่วน หมายกำหนดการทั้งหมดยกเลิก

    จักรพรรดิ์เมจิถึงกับตกพระทัย เพราะนั่นอาจหมายถึงสงครามเพราะจะว่าไปแล้ว ประเทศชาติอยู่ในสถานะที่น่ากลัวเป็นที่สุด เพราะแค่เรือของรัสเซียที่จอดอยู่ในโกเบก็มากกว่าเรือญี่ปุ่นอยู่แล้ว
    ดังนั้น พระองค์จึงต้องเข้ามาบัญชาการในการเดินทางของซาเรวิชและคณะด้วยองค์เอง โดยการจัดขบวนรถไฟที่มีการ์ดคุ้มกันแน่นหนาให้ไปส่งถึงท่าเรือ..ทั้งขบวน รถไฟล้วนแต่มีเจ้านายฝ่ายญี่ปุ่นโดยเสด็จไปส่งด้วย อีกทั้งพยายามอ้อนวอนให้ทรงอยู่ต่อเพื่อเสด็จโตเกียว
    โดยส่วนพระองค์ ซาเรวิช ยังไม่อยากกลับ อยากประทับอยู่ต่อ แต่ไม่อาจขัด"คำสั่ง" ได้
    ทางทูตรัสเซียได้พยายามทูลอธิบายให้จักรพรรดิเมจิทรงทราบว่า ถ้าเป็นพระโอรสของพระองค์ถูกทำร้ายในบ้านคนอื่น พระองค์จะให้ประทับอยู่ต่อหรือ?

    ในที่สุดก็ถึงท่าเรือโดยปลอดภัย.. และจะต้องประทับอยู่แต่เฉพาะบนเรือจนกว่าจะถึงเวลาออกเดินทางคือ วันที่ 19 พฤษภาคม ตอนนี้มีเรื่องเล่าต่ออีกแล้วว่า กุลีคนลากรถสองคนที่ช่วยเหลือในวันที่เกิดเหตุนั้นเกิดอาการ"ส้มหล่น" เพราะก่อนเสด็จกลับซาเรวิชได้สั่งให้จัดเงิน"ทิป" ไปคนละ 2,500.00 เยน และให้รับเบี้ยบำนาญไปจนตลอดชีวิตอีกคนละหนึ่งพันเยนต่อเดือน
    เล่นเอา จักรพรรดิ์เมจิผู้มัธยัสถ์แทบประชวรพระวาโย (เชื่อว่าคงต้องเป็นเงินจากรัฐบาลญี่ปุ่น) ถึงกับทรงสั่งให้กระทรวงการคลังเข้ามาดูแลจัดการเรียกกุลีของคนนั่นเข้ามา รับการอบรมเรื่องการบริหารจัดการในเรื่องการใช้เงินให้ถูกทาง..

    เมื่อ จักรพรรดิ์เมจิได้ไปส่งเสด็จที่ท่าเรือเมื่อต้นเดือนพฤษภาคมนั้น น่าจะเป็นการพบกันครั้งสุดท้ายของสองผู้ยิ่งใหญ่..แต่ พอวันที่ 16 พระองค์ได้รับเทียบเชิญจากซาเรวิชให้เสด็จไปร่วมพระกระยาหารกลางวันบนเรือ พระที่นั่ง..
    ซึ่งผู้ถูกรับเชิญยินดีเสด็จด้วยความเต็มพระทัย หากแต่ชาวญี่ปุ่นแทบลุกฮือขึ้นมาก่อหวอด เพราะ
    ทุกคนเป็นห่วงความปลอดภัยของพระองค์ ต่างคิดว่าเป็นแผนแก้แค้นของรัสเซียที่จะล่อเสือขึ้นเรือ
    แล้วพาออกไปทำมิดีมิร้าย..เรียกว่าแทบเกิดการจราจลขึ้นมาเชียว

    แต่..องค์จักรพรรดิ์เองที่หยุดทุกอย่างด้วยองค์เอง ทรงแถลงการณ์ให้ประชาชนทราบว่ารัสเซียนั้นคือ
    "มิตรแท้"**** ที่ไม่มีวันจะทำร้ายพระองค์ และเสด็จไปร่วมพระกระยาหารมื้อนั้น

    ว่ากันว่าบรรยากาศของอาหารมื้อนั้นเต็มไปด้วยความชื่นมื่น เสนาบดีญี่ปุ่นบอกว่าไม่เคยเห็นองค์จักรพรรดิ์ทรงสรวลดังสนั่นอย่างนั้นมา ก่อน

Emperor  Meji 


    **** หมายเหตุ ไม่รู้ว่าเป็นมิตรแท้ชนิดไหน เพราะแค่สิบกว่าปีต่อมา(ในปี 1904)รัสเซียและญี่ปุ่นได้เปิดฉากทำสงครามกัน

ท่านผู้อ่านอาจจะสงสัยว่า ทำไมซาเรวิชที่เป็นเด็กกว่าจึงบังอาจเชิญจักรพรรดิ์แห่งญี่ปุ่นไปเสวยพระกระยาหารที่เรือ เป็นการผิดมารยาท

    เลยจะต้องแก้สงสัยให้ว่า ความจริงจักรพรรดิ์เมจิเป็นผู้เชิญก่อน ขอให้ซาเรวิชมาร่วมเสวยด้วยกัน
    แต่..ด้วยคำสั่งจากรัสเซียมีมาว่า ห้ามมิให้ซาเรวิชเสด็จลงจากเรือไปไหนทั้งสิ้น
    ทางฝ่ายผู้อ่อนเยาว์กว่าจึงได้เป็นฝ่ายเชิญเสียเองเพราะสถานะการณ์บังคับ ซึ่งจักรพรรดิ์เองก็เข้าพระทัยดี จึงได้เสด็จไป

    
    ขณะที่ซาเรวิชได้เสด็จไปไหนต่อไหนนั้น..อลิกซ์ก็เดินทางเช่นกันเป็นการไปเยี่ยม Vicky พี่สาว
    ที่ Malta ที่มีบ้านตากอากาศอยู่ที่นั่น ทั้งวิคกี้และสมเด็จพระอัยยิกาก็คงแอบหวังว่า อลิกซ์อาจจะ
    พบ เนื้อคู่ในบรรดาชายหนุ่มผู้สูงศักดิ์คนใดคนหนึ่งทางสายเพื่อนหรือญาติของพี่เขย (Louis of Battenberg) แต่..ทุกคนก็ต้องผิดหวัง เพราะเธอไม่ได้เหลียวแลหรือมีใจให้กับใครเลย

    จากนั้นอลิกซ์ก็เดินทาง ต่อไปยังเมือง Kiel เพื่อเยี่ยม Irene พี่สาวอีกคนหนึ่ง ที่แต่งงานไปกับ Henry of Prussia พระอนุชาของ Emperor William และเดินทางต่อไปพบกับขบวนเสด็จประพาสของสมเด็จพระนางเจ้าวิคตอเรียที่อิตาลี เพื่อเยี่ยมชมเมืองต่างๆเช่น เวนีซ และ ฟลอเรนซ์

    นอกเหนือจากการเดิน ทางดังกล่าวแล้ว เธอใช้ชีวิตอยู่ในเฮสส์ช่วยพระบิดาปฏิบัติภาระกิจของบ้านเมืองในฐานะ เลขานุการิณี เช่นการร่างสุนทรพจน์ในงานต่างๆ งานสงคมสงเคราะห์พบปะประชาชน จวบจนย่างเข้าฤดูใบไม้ผลิ 1891 อลิกซ์อายุ 19 และยังไม่มีที่หมายปอง
    ทุก คนเริ่มเป็นห่วงว่าเธอกำลังจะกลายเป็นสาวทึมทึก เพราะอายุเริ่มมากขึ้นขนาดนี้ยังไม่มีคู่หมั้นคู่หมาย นับว่าเป็นการผิดธรรมเนียมเจ้านายเป็นอย่างยิ่ง
    ฝ่ายพระอัยยิกาก็เกรงเหลือเกินว่า เอลล่าอาจจะทำตัวเป็นแม่สื่อแม่ชักให้กับทางรัสเซีย
    พระองค์ จึงต้องเข้ามาบงการชีวิตของพระนัดดาอีกครั้ง พระองค์ได้เล็งไปที่เจ้าชาย Maximilian of Baden ที่น่าจะเหมาะสมกับอลิกซ์ที่สุด อีกทั้งจัดการให้เจ้าชายหลุยส์ให้ทำการเชิญเป้าหมายที่ว่านี้มาเยี่ยมเยียน ที่เฮสส์อย่างไม่รอช้า..

    อลิกซ์ได้ทราบข่าวนี้ด้วยความรันทดใจ.. เพราะนี่ก็คืออีกครั้งที่เธอจะต้องปฏิเสธความรักและการขอแต่งงานอีกแล้ว.. และไม่รู้ว่าเมื่อไหร่จะจบสิ้นกันเสียที เพราะคนนี้ไป อีกคนก็ต้องถูกเสนอมา
    หรือไม่ก็ต้องเดินทางไปที่บัลมอรัลเพื่อพบกับใครต่อใครตามพระบัญชาของสมเด็จพระอัยยิกาอีก
    เธอ รู้สึกสับสนและกลุ้มใจอย่างที่สุด เนื่องจาก รู้ดีว่าไม่สามารถทำใจให้รักใครได้เลยนอกจากนิโคลาส ผู้ซึ่งอยู่ห่างไกลแถมยังโดนกีดกันอย่างเห็นชัดๆได้อีก การติดต่อระหว่างเธอและนิคกี้นั้น
    เป็นเพียงทางจดหมายหวานๆและของขวัญที่ถูกส่งถึงกันอย่างสม่ำเสมอก็เท่านั้น
    ในด้านการครองรักครองคู่ดังที่หวัง..แทบมองไม่เห็นทาง..

    ส่วนนิคกี้ หรือ ซาเรวิช ได้เสด็จกลับถึงรัสเซียอย่างปลอดภัย แต่บาดเแผลที่ได้รับมานั้นทำให้
    เกิดการวิงเวียนพระเศียรบ่อยๆ ในบันทึกส่วนพระองค์ได้บรรยายถึงความรักและความฝันที่จะได้อยู่กับอลิกซ์ แต่ก็ยังสองจิตสองใจเพราะนางสนมนักเต้นรำคนนั้นก็มีเสน่ห์รัดรึงใจไม่น้อย
    บันทึกในเดือนธันวาคม 1891 ที่พระองค์ได้เขียนไว้ว่า
    " นอกเหนือจากระยะทางที่เราทั้งสองห่างไกลกันเหลือเกินแล้ว..ยังมีศาสนาเข้ามา คั่นเราอีก" พระองค์คงลืมไปว่าศาสนาน่ะไม่เท่าไหร่ เพราะเจ้าหญิงในนิกายโปรเตสแต้นส์นั้นเปลี่ยนมาเป็นออโธด๊อกซ์กันบ่อยๆ อุปสรรคจริงๆแล้วคือ ซาร์ และ ซารินา ที่ไม่ยอมลดราวาศอกต่างหาก

    แต่เมื่ออลิกซ์ยังไม่ยอมรับรักใคร หรือ ไม่มีคู่หมายที่ไหน ซาเรวิชจึงเชื่อมั่นว่า หนทางข้างหน้า
    นั้นยังมีหวัง และเชื่อว่าพระเจ้าเป็นผู้ลิขิตความรักครั้งนี้ให้ ฉะนั้นพระองค์จะต้องเป็นผู้ดูแลรักษาให้ความรักครั้งนี้สมหวัง

 

    ขึ้นปีใหม่ของ 1892 เดือนมกราคมที่ตรงกับฤดูหนาว หิมะตกจัด อลิกซ์เริ่มมองเห็นสุขภาพที่ทรุดโทรมของเจ้าชายหลุยส์พระบิดา ที่มีอาการแน่นหน้าอก หายใจขัดได้เกิดขึ้นบ่อยๆ บ่อยครั้งที่ไม่เสด็จออกจากห้องบรรทมเลย เพราะสู้อากาศหนาวไม่ไหว อีกทั้งพระวรกายก็เจริญขึ้นทุกปีจนต้องเปลี่ยนเครื่องทรงให้มีขนาดใหญ่ขึ้น ใหญ่ขึ้น โดยเฉพาะเครื่องแบบที่มีเหรียญตรามากมายที่ทรงโปรดหนักหนา
    จน วันหนึ่งในเดือนมีนาคม ที่กำลังนั่งเสวยกลางวันอยู่ดี ก็ล้มวูบลงไป อลิกซ์และเออร์นี่รีบเข้าพยาบาลจัดการเรียกหมอ และโทรเลขเรียกพี่สาวทั้งหมดให้มาด่วน
    วิคกี้ ไอรีน มาถึงทันที ขาดแต่เอลล่า

    ไม่มีใครคาดว่าการเจ็บป่วยครั้งนี้ของเจ้าชายหลุยส์จะหนักหนาสาหัส เพราะเคยเป็นคนที่แข็งแรง ไม่มีอาการเจ็บป่วยใดๆมาก่อน แต่..สิบวันต่อมา..เจ้าชายหลุยส์ก็สิ้นพระชนม์ไปอย่างสงบ

    อลิกซ์ รู้สึกอ้างว้างไปหมด เพราะตอนนี้เธอเปรียบเหมือนตัวคนเดียวจริงๆ พี่สาวทั้งหมดแต่งงานออกเรือนไปหมดแล้ว เหลือพี่ชายคนเดียว เออร์นี่ ก็กำลังจะเป็นผู้ครองนคร รับภาระที่แสนหนักอึ้งต่อไปจากพระบิดาที่ล่วงลับ
    เดือน มิถุนายนมาถึง ในวันเกิด..ที่เธอยังรู้สึกโศกเศร้าไม่หาย แม้พระพี่เลี้ยงทั้งหมดได้พยายามชี้ชวน ชักนำให้เธอตกลงปลงใจไปกับเจ้าชายแม๊ก แห่ง บาเดน ทั้งปลอบทั้งเตือนให้รู้ว่า เป้าหมายในตำแหน่งเจ้าชายนั้นเริ่มชักจะหายากเข้าทุกทีแล้วนะ..

    สุขภาพ ของอลิกซ์เริ่มอ่อนแรง (สาวๆลูกหลานในสายของพระนางวิคตอเรียแทบทุกคนเป็นพาหะของโรคฮีโมฟีเลีย มากน้อยก็แล้วแต่..รวมทั้งอลิกซ์) พระเชษฐาเออร์นี่จึงพาไปเที่ยว ไปพักผ่อน เยี่ยมพระอัยยิกาที่อังกฤษ และปล่อยให้อลิกซ์อยู่ต่อไปอีกระยะหนึ่ง เพื่อเตรียมตัวโดยเสด็จไปในงานอภิเษกของพระญาติที่เบอร์ลิน
    ในงานนี้ อลิกซ์ได้มีโอกาสพบกับซาเรวิชเพียงเดี๋ยวเดียว แต่ไม่มีโอกาสได้คุยกันเป็นส่วนตัว
    ปี ต่อมา..อลิกซ์มีอายุยี่สิบเอ็ดปีที่แสนโดดเดี่ยว ญาติสาวทั้งหมดแม้แต่คนที่แสนขี้แหร่ก็ได้แต่งงานไปหมด ที่พึ่งเดียวที่เหลือ คือ พระเชษฐาเออร์นี่ ที่ยังไม่มีคู่ครองเช่นกันแม้ว่าจะมีภาระงานบ้านงานเมือง แต่เออร์นี่ได้ดูแลอลิกซ์เป็นอย่างดี ทั้งสองเป็นที่ปรึกษาของกันและกัน

    เดือน มกราคมของปี 1893 เออร์นี่ได้พาอลิกซ์หนีหนาวไปพักผ่อนที่ฟลอเร้นซ์ อิตาลี เพื่อไปรวมกลุ่มกับพระญาติสายอังกฤษเนื่องจากสมเด็จพระอัยยิกามีพระตำหนัก พักผ่อนที่นั่น ชื่อว่า Villa Palmieri
    อลิกซ์รู้สึกสดชื่นประทับใจกับ อากาศที่แสนดี อบอุ่นของอิตาลีตอนใต้อย่างฟลอเรนซ์ หรือที่เวนีซที่เธอได้ล่องไปในคลองกับเรือกอนโดล่าที่แสนสนุกสนาน..

    สิ่ง เดียวที่อลิกซ์ไม่สามารถล่วงรู้ได้เลยว่า ทางรัสเซียนั้นท่าทีของซาริน่าเริ่งเปลี่ยนไป พระองค์เริ่มถามพระโอรสถึงเรื่องการอภิเษก เพราะซาร์อเล็กซานเดอร์เริ่มออดแอด และเริ่มรู้สึกองค์ว่าจะโหดร้ายกับพระโอรสเกินไปในเรื่องของความรัก พระทัยเริ่มอ่อนลง..และในเดือนมกราคม1894 ที่ซารินาทรงออกโอษฐ์ประทานอนุญาตให้พระโอรสอภิเษกกับหญิงที่รักได้..
    เล่นเอาซาเรวิชแทบไม่เชื่อพระกรรณว่ามันจะเกิดขึ้นมาจริงๆ
    ทรงบันทึกไว้ว่า.."แทบไม่น่าเชื่อว่าแม่จะใจอ่อนได้ถึงขนาดนี้..ตื่นเต้นจริงๆ"
    อีกสองเดือนต่อมา พระองค์ก็รีบบอกเลิกกับนางสนมคนโปรดแบบตัดเยื่อใยกันไปเลย
    ทรงบันทึกไว้ว่า..
    "ต้องทำใจตัดขาดมาทิลดาอย่างยากเย็นที่สุด เพราะเราเองก็มีใจกับเธอไม่น้อย ขนาดเขียนๆอยู่นี่ มือยังสั่นด้วยความเสียดายเลยนะ"

    เออล่ารีบจดหมายไปบอกน้องสาวถึงข่าวดี..แต่..
    อลิกซ์ ในยามนี้ ในยามที่เจริญวัยขึ้น ผ่านการสูญเสีย ผ่านชีวิตมาพอสมควร ผิดแผกไปจากสาวน้อยอลิกซ์ที่บูชาในความรักดังเมื่อก่อน เพราะหลังจากที่เจ้าชายหลุยส์ได้จากไป อลิกซ์ได้หันเข้าหาพระผู้เป็นเจ้ามากขึ้น อุทิศตนให้กับกิจกรรมในพระศาสนามากขึ้น การที่จะต้องแต่งงานและต้องเปลี่ยนความเชื่อถือในนิกายอื่น ก็ยากที่จะทำใจ
    เพราะมันเหมือนกับเธอกำลังจะทำให้พระเจ้าของเธอผิดหวัง..

    เมื่อ ข่าวดีนั้นมาถึงเธอจากจดหมายของนิคกี้ เธอได้ตอบไปถึงอุปสรรคนี้เช่นกัน บอกว่า ยังทำใจไม่ได้ และจดหมายนั้นเต็มไปด้วยข้อความที่ความเศร้าสร้อย อาดูร..

    ซาเรวิช หรือ นิคกี้ของอลิกซ์ ได้รับจดหมายฉบับนั้นในขณะที่บ้านเมืองกำลังมีพายุแรง พระองค์
    เสียพระทัยถึงขนาดเดินต้านลมฝ่าพายุนั้นออกไปอย่างไม่มีจุดหมาย ทรงบันทึกไว้ว่า
    "เดินบ้ามันไปในพายุทั้งวัน ใครจะไปทนได้ที่ต้องมาเจอกับอุสรรคแล้ว อุปสรรคอีกอย่างนี้.."
    จากนั้นไปทั้งสี่วัน..ทรงเสวยวอดก้าจนเมาพับ..เละเทะ

    เอลล่าเป็นคนเดียวที่พยายามปลอบใจนิคกี้เสมอว่า อลิกซ์นั้นเป็นคนมั่นคงในความรัก และเป็นที่แน่ๆว่า เธอรักนิคกี้คนเดียวเสมอมา ดังนี้คงไม่มีวันเปลี่ยนใจเป็นอื่นไปได้ ขอให้รอสักนิด รอให้เวลานั้นมาถึง..

    รอ..นิคกี้รอไปจนถึงเดือนธันวาคม ที่พระองค์ได้ตอบจดหมายอลิกซ์เป็นครั้งแรกจากพระราชวัง
    กัทชินา..ว่า..

    " ขอโทษด้วยที่รัก ที่ไม่ได้ตอบจดหมายเร็วกว่านี้ เพราะยังทำใจไม่ได้จริงๆ เพราะเสียใจเหลือเกิน แต่ตอนนี้เริ่มรู้สึกดีขึ้น สงบขึ้น จึงเริ่มเขียนได้แล้ว ถึงแม้ว่าฉันจะเจ็บปวดปานใจ เหงาใจแค่ไหน แต่ก็อยากจะบอกเธอว่าจะไม่ยอมสิ้นหวังอย่างเด็ดขาด
    ที่รัก..ฉันอยากจะ ขอร้องอย่างหนึ่ง อยากให้อ่านพระคัมภีร์ออโธดอกซ์ให้ละเอียดอีกครั้ง และจะถ่องแท้ว่าในพระคำสอนนั้น เราไม่ได้ต่างกันตรงไหน การยึดถือปฏิบัตินั้นก็ไม่ได้ลดหย่อนในทางมุ่งกระทำความดีน้อยไปกว่ากัน ตลอดเวลาที่ฉันยึดมั่นในความรักที่มีต่อเธอ พระองค์ทรงเป็นที่พึ่งทางใจของฉันเสมอมาและจะเป็นอีกตลอดไป
    กรุณาอย่า ตอบปฏิเสธแบบตัดเยื่อใยอย่างนั้น..อย่าหักหาญหัวใจรักของฉันอีกเลยเพราะ ชีวิตของฉันตอนนี้มันอ้างว้างสิ้นดี ใครเลยจะคิดว่าหลังจากการรอคอยที่ยาวนานจะจบลงไปด้วยความผิดหวัง ฉันคนหนึ่งละที่ทนไม่ได้..."

    

    ปี 1894 นี้เองที่เฮสส์,ดาร์มสตัดท์ กำลังจะมีงานใหญ่ นั้นคืองานอภิเษกสมรสของเออร์นี่กับ Victoria Melita เจ้าสาววัยสิบเจ็ดมีพระนามเล่นว่า Ducky นี้เป็นญาติกันเป็นเจ้าหญิงพระธิดาของ Alfred, Duke of Edinburgh กับ Maria of Russia หรือ เป็นหลานย่าของพระนางวิคตอเรียนั่นเอง
    การแต่งงานครั้งของคนทั้งสองก็เป็นไปแบบตามแกน แบบเข้าใจกัน เพราะตัวเจ้าบ่าวเองก็ตามใจ
    ขัดพระอัยยิกาไม่ได้ ส่วนเจ้าสาวนั้นผิดหวังในความรักเพราะอุปสรรคทางศาสนา เนื่องจาก
    เธอ ได้รักกับ Cyril อันเป็นพระโอรสของแกรนด์ดุ๊ค Vladimir เป็นอาของซาเรวิช อันเป็นญาติข้างแม่ เท่ากับว่าเป็นลูกของลุง เพราะพระนางมาเรีย (หรือ มารี) แห่ง รัสเซีย คือ น้องสาวแท้ๆของแกรนด์ดุ๊ควลาดิเมียร์ ตามกฏของออโธดอกซ์นั้นห้ามลูกพี่ลูกน้องแต่งงานกันเอง
    ดั๊คกี้ก็เลยต้องผิดหวัง และ ทำใจตกลงแต่งงานกับเออร์นี่

    ในการเตรียมงานอภิเษกนั้น อลิกซ์ได้กลายมาเป็นแม่งานเต็มตัว ถึงเรื่องการเตรียมพร้อมต่างๆ
    หรือ แม้จดหมายโต้ตอบกับเจ้าสาวในเรื่องรายละเอียดอื่นๆ ในขณะที่ตัวเธอเองรู้สึกอ้างว้าง โดดเดี่ยวอย่างที่สุด เพราะที่พึ่งทางใจที่เหลืออยู่คนเดียวคือเออร์นี่ก็กำลังจะจากไป มีครอบครัวของตัวเอง อลิกซ์คิดถึงเมย์น้องสาวผู้น่ารักที่จากไปตั้งแต่เด็กขึ้นมาอย่างช่วยไม่ได้ เพราะถ้าเมย์ยังอยู่ ป่านนี้ก็จะมีอายุยี่สิบเต็มในปีนี้
    ความรู้สึกเหงา นั้นมันทารุณถึงขนาดที่เธอได้ส่งจดหมายไปกราบทูลพระอัยยิกา เพื่อขอประทานอนุญาตไปพำนักอยู่ในอังกฤษหลังจากพิธีอภิเษกผ่านไปแล้ว เพราะอยากให้บ่าวสาวเขาอยู่กันตามลำพัง อีกหน่อยงานภาระกิจต่างๆที่เธอเคยทำก็ต้องถ่ายโอนไปให้กับดัคกี้ทั้งหมด
    นั่นหมายถึงว่าสิ่งเดียวที่เธอมีก็คือ ตำแหน่งเจ้านายลอยๆ ไม่มีอำนาจราชสิทธิ์ใดๆ ไม่มีแม้กระทั่งบ้านที่อยู่ของตัวเองด้วยซ้ำ

    ผู้ คนเริ่มสนใจที่ซุบซิบในอนาคตของเธอ หญิงสาวที่ครั้งหนึ่งคือเจ้าหญิงที่สวยสด มีชายหมายปองมากมาย อหังการ์ถึงขนาดกล้าปฏิเสธถึงสองบัลลังก์ คือ เอ็ดดี้ (อังกฤษ ซึ่งเอ็ดดี้ได้สิ้นพระชนม์ในปี 1891) และ นิคกี้ ซาเรวิชแห่งรัสเซีย
    แต่ ตอนนี้..เธอไม่เหลืออะไรเลย ยิ่งถ้าสิ้นพระอัยยิกาไปอีกคนก็จะนับว่าเหลือแต่ตัวจริงๆ จากนั้นไปชีวิตก็คงตกอยู่ในอีหรอบเดิมของเจ้านายที่หมดหนทาง คือไปช่วยเลี้ยงหลานคนโน้นคนนี้ ทำงานฝีมือเย็ยปักถักร้อยให้ชีวิตหมดไปวันๆ ไปเที่ยวอาศัยคนโน้นคนนี้อยู่ตามฤดูกาล



    ภาพ งานอภิเษกของ เออร์นี่กับดั๊คกี้ 

        
 

    ก่อนงานอภิเษกสี่ห้าวัน เหล่าบรรดาพระประยูรญาติจากประเทศต่างๆได้ทะยอยกันเดินทางมาถึงยัง Coburg (เป็นเมืองบ้านเกิดของบรรพบุรุษที่เลือกใช้เป็นสถานที่ทำพิธี)
    ซาเรวิช เสด็จมาถึงก่อนเช่นกัน ทั้งๆที่ครั้งแรกทรงน้อยพระทัยในอลิกซ์จนไม่คิดที่จะเสด็จ เนื่องจากพระขนิษฐาเซเนียแอบเอาเรื่องที่ติดต่อกันทางจดหมายกับอลิกซ์มาเล่า ให้ฟังว่า อย่างไรเสียก็คงไม่มีวันได้ลงเอยกัน เพราะอลิกซ์ได้ตัดสินใจแน่นอนแล้วว่า คงทรยศกับพระเจ้าไม่ได้..

    ขอ อธิบายเพิ่มเติมนิดในตรงนี้ว่า..ผู้หญิงในสมัยก่อนที่ใจเด็ดๆอย่างอลิกซ์นี้ นับว่ามีไม่มาก ชีวิตขึ้นตรงแน่วแน่อยู่กับพระธรรมคำสั่งสอน สวดมนต์ขอพรพระเจ้า อะไรที่จะเกิดขึ้นไม่ว่าร้ายหรือดี ก็เชื่อว่าเป็นพระประสงค์ และลงท้ายมักจะสัญญากับพระเจ้าเสมอว่าจะไม่มีวันทอดทิ้งพระองค์
    เมื่อคนเราได้สร้างกำหนดกฏเกณฑ์กับตัวเองมานานขนาดนั้น จึงยากที่จะเปลี่ยนใจ และที่สำคัญ..คือ..รู้สึกผิด..

    แต่.. ซารินา เป็นคนที่ปลอบประโลมพระโอรสว่า อย่าเลิกล้มความตั้งใจง่ายๆอย่างนั้น ยังไงก็ต้องไปพูดคุยกันก่อน ดังนั้นพระองค์จึงเสด็จ พร้อมทั้งบาทหลวง Yanishev เพื่อที่จะได้ให้ท่านเตรียมอธิบายถึงการเป็นออโธดอกซ์
    ให้เข้าใจมากขึ้น และ Fraulein Schneider เพื่อที่จะช่วยเป็นครูสอนภาษารัสเซียให้

    วัน รุ่งขึ้นต่อมา..ซาเรวิชได้มีโอกาสพบกับอลิกซ์เป็นส่วนพระองค์ครั้งแรกในเวลา หลายๆปีที่รอคอย หากแต่การพบครั้งนี้เต็มไปด้วยความเศร้าสร้อย เพราะ ฝ่ายหญิงเฝ้าแต่กรรแสง และ พร่ำบอกว่า ความรักที่มีต่อกันนั้น
    ไม่มีวันลงเลย เพราะเป็นไปไม่ได้
    ไม่ว่านิคกี้จะลงทุนอ้อนวอนอย่างไร ก็ไม่มีผล

    สองชั่วโมงผ่านไป ซาเรวิชจึงเสด็จที่ประทับกลับด้วยความหม่นหมอง


    ส่วนอลิกซ์..เมื่อนิคกี้ได้จากไป..ความอ้างว้างเกิดขึ้นมากับเธออย่างเต็มที่
    มองหาทางออกไม่พบ..หนทางข้างหน้าช่างมืดมน..ทางเดินช่างมีหลายแพร่งให้เลือก แต่ไม่ว่าจะเดินไปทางไหนก็เหมือนกับเหวนรกรออยู่
    หรือ..เธอควรจะเลือกมุ่งไปทางพระศาสนาเพียงอย่างเดียว
    แต่..หัวใจรักเล่า..มันเจ็บปวดจนแทบจะขาดอยู่รอนๆ..
    นี่คือความคิดที่กลับไปกลับมา...วนเวียนหลอกหลอนเธออยู่ตลอดเวลา

    เอลล่า เซอเก และ เออร์นี่ เห็นท่าจะไม่ได้การ จึงเข้าปรึกษากันว่าเห็นทีจะต้องผนึกกำลังกันทำการกดดันอลิกซ์ให้เปลี่ยนใจ ตกลงอภิเษกให้ได้
    เพราะอย่างไรเสีย แค่เรื่องเปลี่ยนศาสนาแค่นี้ ไม่น่าจะยากเย็น..
    ทั้ง สามจึงรีบรุดไปปรึกษาของความช่วยเหลือจากเจ้าหญิงมารีอา (Maria Pavlovna) พระชายาของแกรนด์ดุ๊ค วลาดิเมียร์ ผู้ซึ่งดั้งเดิมคือเจ้าหญิงจากเยอรมันเช่นกัน ทรงเป็นที่รู้จักว่า "Meichen" ผู้ซึ่งมีประสบการณ์เช่นเดียวกับอลิกซ์ คือ รักกับเจ้าชายแห่งรัสเซีย ได้เปลี่ยนนิกายนับถือ และมีความสุขกับชีวิตอภิเษก
    อีกทั้งเจ้าหญิงมารีอานี้เป็นคนฉลาด ล้ำลึก อีกทั้งมีพรสวรรค์ในการชักจูง
    เป็นที่เคารพนับถือของเจ้านายทุกพระราชวงค์

    ดังนั้น..การนัดแนะที่จะให้อลิกซ์ไปพบจึงเกิดขึ้น

    สองวันก่อนพิธีอภิเษก เจ้านายชั้นผู้ใหญ่ก็เริ่มเสด็จเข้าสู่เมือง ขบวนของสมเด็จพระนางเจ้าวิคตอเรียได้มาถึงเช่นกัน

    พระองค์อยู่ในฉลองพระองค์ดำเช่นเดิม เพียงแต่
    แต่งด้วยผ้าขาวที่ชายกระโปรงให้ดูเป็นมงคลขึ้นมาหน่อย
    ฝ่ายรัสเซียได้มองขบวนนี้ด้วยความเห็นขำ..เพราะการต้อนรับของมหาชน
    เหล่าประยูรญาติที่มีมากมายนั้น ทำให้มีการจุมพิตกันไม่จบไม่สิ้น คนนั้นจูบคนนี้ คนนี้จูบคนนี้..เต็มถนนไปหมด
    ซาเรวิชแอบนินทาพระองค์ด้วยพระนามแปลกๆ เช่น "belly-woman"
    "round ball on shaky legs" อีกทั้งไหนพระองค์จะมีข้าทาสชาวอินดียนผิวดำมะเมื่อมเดินตามอีกมากมาย ทำให้พวกรัสเชี่ยนมองเป็นเรื่องตลก..

    แต่งานนี้..สมเด็จพระนางวิคตอเรียถือว่าเป็นองค์ขโมยซีน..เพราะเป็นทั้งย่าและยายของบ่าวสาว อีกทั้งเป็นผู้ประกาศิตในการจับคู่..
    ใครจะมาใหญ่เกิน..!!

    หากแต่ เรื่องเดียวที่ทรงเสียพระพักต์ นั่นคือ เรื่องของอลิกซ์ หลานยายอีกคนที่ใครๆต่างพากันถามด้วยความแปลกใจว่า..ไหนว่าจะอภิเษก ไหนว่าจะ
    ลงเอยกับเจ้าชายแม๊กซ์ ไหนว่าซาเรวิชจะมาสู่ขอ..อ้าว...ไม่ลงเอยแล้วหรือ
    แล้วจะทำอย่างไรต่อไปล่ะ จะปล่อยให้ทึนทึกหรือ แหม..เสียดายจริง

    เสียงเหล่านี้เซ็งแซ่ไปทั่ว..ไม่ว่ากับซาเรวิช หรือ อลิกซ์ ก็หลีกเลี่ยงไม่ได้เลย นับว่าสถานะการณ์น่าอึดอัดพอสมควร..

    การไปพบกับเจ้าหญิงมารีอานั้นได้เกิดขึ้นก่อนวันอภิเษกเพียงวันเดียว
    และนั่นเป็นปรากฏการณ์แห่งความมหัศจรรย์ ชนิดเส้นผมบังภูเขา เพราะ
    ฝ่ายผู้ใหญ่กว่าได้ต้อนรับอย่างดี และ ในช่วงสนทนาถึงปัญหาหลัก พระองค์ได้ทรงตรัสว่า..
    " ก็ไม่ต้องทอดทิ้งพระผู้เป็นเจ้าของเรานี่นา..หลานเอ๋ย เราเปลี่ยนไปเป็นออโธดอกซ์ก็จริง..เท่ากับว่าเราได้รับอีกภาคหนึ่งของพระผู้ เป็นเจ้าเข้ามาในชีวิต เพิ่มขึ้นกว่าที่มีอยู่แล้ว..ก็ไม่ได้เสียหายตรงไหน หลานเคยสวดอย่างไรก็สวดอย่างนั้น เคยบูชาอย่างไรก็บูชาอย่างนั้น พระองค์ไม่ได้จากหลานไปไหนนี่นา..เพียงแต่หลานจะโชคดีดีกว่าคนอื่นๆ ที่จะได้ปฏิบัติธรรมและมีแนวทางปฏิบัติได้ในถึงสองสถาน.."

    เมื่อถูกถามถึงพระองค์เอง ก็ตรัสตอบว่า

    " อาก็เช่นกัน เป็นโปรเตสแต้นท์ในสายของ Lutheran อย่างไรก็ยังคงอยู่เช่นนั้น แต่ก็เป็นออโธดอกซ์ที่ดีด้วย..ตราบใดที่เรายังมีความรักให้กับพระองค์ ไม่ว่าเราจะเป็นอะไรพระองค์ก็ไม่ทอดทิ้งเราหรอก..หลานเอ๋ย"

    นี่คือ ประกายสว่างที่จุดให้กับอลิกซ์..เธอได้เริ่มถ่องแท้ว่า..ในที่สุดแล้ว..เธอ ไม่ต้องตัดอะไรทิ้งไปเลย เพียงแต่เลือกทางเดินที่ถูกต้องให้กับตัวเองเท่านั้น..

    

    หลังจากงานอภิเษกผ่านไปเพียงวันเดียว..นิคกี้ได้กำลังปรับทุกข์อย่างกลัดกลุ้มกับเหล่าอาๆ..อลิกซ์ได้เดินเข้ามา..
    ต่อไปนี้จะเล่าถึงข้อความในจดหมายที่ซาเรวิชมีไปถึงพระมารดา ว่า..

    "ลูกกำลังอยู่กับท่านอา..จู่ๆอลิกซ์ก็เดินเข้ามา..เราเลยแยกไปคุยกันสองคน
    สิ่งแรกที่เธอบอก คือ เธอตกลงใจที่จะแต่งงานกับลูกแล้ว..โอ..พระเจ้า
    แทบ ไม่เชื่อหูเลยว่ามันได้เกิดขึ้นแล้วจริงๆ ลูกร้องไห้โฮออกมาเหมือนเด็กๆเลยแม่...อลิกซ์ก็ร้องไห้ด้วย แต่เป็นการร้องไห้ด้วยความดีใจ อลิกซ์เองก็มีหน้าตาผ่องใสเปล่งประกายขึ้นมาก"

    จากนั้นอลิกซ์ก็ขอโทษขอโพย และขอให้นิคกี้ยกโทษให้กับความดื้อ และความอับปัญญาของเธอทำให้ทุกอย่างยุ่งยากไปกว่าควรจะเป็น
    นิคกี้ได้สวมกอดเธอและยืนยันว่า ไม่มีวันโกรธ วันเกลียดเธอได้เลย เพราะรักเหลือเกิน เป็นความรักที่ทนรอคอยมาได้จนถึงวันนี้..
    ทรงบันทึกไว้ในไดอะรี่ว่า..
    "ไม่น่าเชื่อ มันจะเกิดขึ้นได้อย่างปาฏิหารย์ "

    อลิกซ์ได้เขียนจดหมายไปเล่าให้โทนี่ เพื่อนสาวฟังว่า..

    " ฉันมีความสุขอย่างบอกไม่ถูก..นิคกี้จูงมือเดินกลับไปที่ห้องที่ท่านอากำลัง ชุมนุมอยู่ และ ประกาศว่า เราจะแต่งงานกันให้เร็วที่สุด ใครต่อใครดีใจกันใหญ่.."


    และทั้งคู่ได้เข้าไปกราบบังคมทูลให้สมเด็จพระนางวิคตอ เรียได้รับทราบเป็นองค์ต่อไป..ซึ่งตอนนี้สมเด็จพระนางเจ้ารู้สึกยินดีและคง โล่งพระทัย..
    จากนั้นพระองค์จึงได้ประกาศให้หมู่พระญาติสายอังกฤษให้เข้ามารับทราบ
    ในข่าวดี ซึ่งบรรยากาศในตอนนั้น ซาเรวิชได้(แอบ)บันทึกไว้ว่า..
    "ปรากฏการณ์จุมพิตหมู่..ก็ได้เกิดขึ้นอีกแล้ว.."

    จากนั้นก็เป็นมหกรรมการส่งโทรเลข..ที่หลั่งไหลมาจากทุกสารทิศเพื่อแสดงความยินดี โทรเลขจากซาร์อเล็กซานเดอร์ มีว่า..

    "บอกคู่หมั้นของลูกนะว่า..พ่อขอขอบใจมากที่ตกลงใจจะมาเป็นสมาชิกในครอบครัวของเรา..และขออวยพรให้เธอมีแต่ความสันติสุข"

    เซเนีย พระขนิษฐาของซาเรวิช ที่ดีอกดีใจ โทรเลขมาแสดงความยินดีด้วย เพราะเท่ากับว่า จากเพื่อน..อลิกซ์กำลังจะมาเป็นพี่สะใภ้

    หลัง จากเมฆหมอกผ่านไป ท้องฟ้าที่สดใสก็ตามมา สองคู่หมั้นได้เดินเที่ยวเล่น เกี่ยวก้อยกันไปทั่วเมืองโคบรูกค์อย่างมีความสุข เหมือนกับในเมืองนั้นมีเขาเพียงสองคน ไม่ว่าจะเป็นการพายเรือเล่นในสระ หรือ ชี้ชวนกันดูนกดูไม้ หรือไปนั่งชมละครกันแบบกระจุ๋งกระจิ๋ง..
    อลิกซ์เขียนเล่าให้พระพี่เลี้ยงฟังว่า..
    "มีความสุขจนบรรยายไม่ถูกเลยค่ะ.."

    นิคกี้ได้บันทึกไว้ว่า..

    "ชีวิตของเรามันช่างเต็มไปด้วยความสุขจนอิ่มอกอิ่มใจไปหมด.."

    ความสุขทุกอย่างที่เกิดขึ้นในโคบรูกค์นั้น นิคกี้เรียกมันว่า "golden days"
    ไม่ว่าอะไรที่อลิกซ์ชอบ นิคกี้รักมันไปหมด..ไม่ว่าจะเป็นดอกไม้เล็กๆสีชมพูที่เธอชอบ ก็กลายมาเป็นดอกไม้ที่เขาแสนโปรดปราน..บ้านชนบทริมทางถนนระหว่างโคบรูกค์กับ เคชเช่นดอร์ฟ ที่ทั้งสองแอบหลบไปพลอดรักกันนั้น
    นิคกี้ก็รักมันมากเช่นกัน..
    วันไหนฝนตก..ออกไปหากันไม่ได้..ก็เขียนจดหมายฝากส่งถึงกัน..***


    ***เรื่องการเขียนจดหมายถึงกันนี้..ไม่ว่าอยู่ไกลหรือใกล้แค่ไหน..ทั้งสองพระองค์ได้ปฏิบัติต่อกันมาจนตลอดชีวิตของการครองคู่..

    ภาพ..สองคู่ชู้ชื่น..นิคกี้ กับ อลิกซ์ และ เออร์นี่ กับ ดั๊คกี้..

 
    

    แผนการในของอนาคตของคนทั้งสองเริ่มกำหนดขึ้น เพียงแต่ช่วงหลังจากงานอภิเษก..อลิกซ์ได้มีแผนที่จะไปอยู่อังกฤษพักหนึ่งตาม ที่ได้ขอกับสมเด็จพระอัยยิกาล่วงหน้าไว้แล้ว ส่วนซาเรวิชต้องเดินทางกลับรัสเซียไปทำาภาระกิจให้เรียบร้อย แล้วจะแวะไปหาอลิกซ์ที่อังกฤษ
    ส่วนงานหมั้นและงานอภิเษกนั้นคงต้องรอไปอีกนิดจนกว่าทุกอย่างจะลงตัว

    อลิกซ์มีโรคประจำตัว คือ อาการปวดที่ขาทั้งสองข้างเพราะอุบัติเหตุหกล้มที่เคยได้รับในครั้งเด็กๆ
    ถ้า โหมงานมากไป..บางครั้งก็จะมีอาการขึ้นมา..เธอได้รับคำแนะนำจากแพทย์ให้ไป ทดลองอาบน้ำแร่ที่เมือง Harrogate อันเป็นเมืองที่มีน้ำพุร้อนประทุขึ้นมากว่าแปดสิบแห่ง จนเกิดสปาขึ้นมาเป็นดอกเห็ด อลิกซ์เห็นดีในคำแนะนำนี้จึงชวนพระอาจารย์สอนภาษารัสเซีย มาดาม Schneider (ที่นิคกี้จัดหามาให้) ไปด้วย..

    การไปสปาของอลิกซ์และ อาจารย์ผู้ติดตามนี้ไปอย่างเงียบๆ ใช้นามแฝงว่า Baronness Starckenburg ตลอดเวลาเธอก็ได้ฝึกฝนภาษารัสเซียไปด้วย แม้กระทั่งยามที่แช่น้ำอยู่ด้วยกัน..ดังที่อลิกซ์ได้เขียนไปเล่าให้พระพี่ เลี้ยงฟังว่า..
    "ภาษานี้น่าขบขันจริงๆเลย แต่ยิ่งเรียนยิ่งยากชมัด.."

    แต่เพียงไม่นาน ประชาชนในละแวกก็เริ่มระแคะระคาย ว่า บารอนเนสคนนี้ไม่ใช่ธรรมดาซะแล้ว
    จากนั้นไปไม่นาน เหล่าบรรดาสื่อก็พากันมาที่สปากันราวกับผึ้งแตกรัง
    คำ ถามถูกยิงออกมาเป็นชุด ว่า งานอภิเษกจะมีขึ้นเมื่อไหร่ รู้สึกอย่างไรที่จะเป็นพระมเหสีของซาร์ในอนาคต แล้วจริงหรือไม่ว่า..ของขวัญที่จะได้รับคือเครื่องเพชรเป็นห้องๆ

    อลิกซ์เขียนจดหมายไปเล่าให้นิคกี้ฟังว่า..
    "ข่าวกระจายไปทั่วว่าน้องอยู่ที่นี่..พวกพ่อค้าวานิชมาตามตื้ออยู่ตลอดเวลาขอให้ช่วยซื้อสินค้า
    โน่นนี่..มีตั้งแต่เปียโนไปจนถึงชา..ผู้คนบางกลุ่มแสนไร้มารยาท ตามจ้อง ตามมุงจนน้องแทบทนไม่ไหวบางทีก็ต้องแอบแลบลิ้นใส่ให้บ้าง.."

    จนถึงเดือนมิถุนายนที่อลิกซ์ต้องเดินทางกลับไปที่เมือง Walton อันเป็นที่พำนักของวิคกี้พี่สาว เพราะนิคกี้จะเดินทางมาพบที่นั่น จากนั้นทั้งสองจะต้องเดินเข้าลอนดอนด้วยกัน
    และที่พระราชวังวินด์เซอร์ นี่เอง ที่นิคกี้ยอมทำทุกอย่างเพื่อให้เป็นที่ถูกพระทัยของสมเด็จพระอัยยิกา แม้กระทั่งยอมแต่งองค์ด้วยกางเกงรัดเข่า ถุงเท้ายาว รองเท้าปลายแหลม เสื้อโค๊ทชายยาวแบบฉบับของวินด์เซอร์ที่มีปกแดง ขอบชายแขนก็แดงเดียวกันในงานพิธีขึ้นพระอู่ของเจ้าชายน้อยพระโอรสของเจ้าชาย เบอร์ตี้ (พระกุมารองค์นี้ต่อมาคือ พระเจ้า Edward VIII)
    และนิคกี้ได้รับเป็นพ่อทูนหัวให้กับพระกุมารองค์น้อยนี้ด้วย


    ตลอดเวลาหนึ่งเดือนที่นิคกี้อยู่ในลอนดอนนี้ ทั้งสองมีความเป็นส่วนตัวมากขึ้น การพุดคุยถึงเรื่องส่วนตัวต่างๆก็ได้มีการขยาย นิคกี้บอกให้อลิกซ์ทราบถึงไดอะรี่ส่วนตัวขยันเขียนทุกวัน มีการเปิดให้อ่านในบางหน้าด้วย ซึ่งอลิกซ์แอบเขียน..God bless you my angel, พร้องทั้งวาดรูปหัวใจทิ้งไว้ให้

    ในที่สุด นิคกี้ได้สารภาพให้ฟังถึงเรื่องสัมพันธ์สวาทระยะยาวกับพระสนมมาทิลดา..ที่เพิ่งบอกเลิกไป ซึ่งอลิกซ์ตอบไปว่า..
    " น้องเชื่อว่าเรื่องที่เกิดขึ้นในอดีต แม้จะเป็นเรื่องจริง เราก็ไปเปลี่ยนแปลงอะไรไม่ได้ ผ่านไปแล้ว ก็ผ่านไป..ในโลกใบนี้มีสิ่งยั่วยุมากมาย..ยิ่งเป็นความคึกคะนองสนุกสนาน เพราะเรายังอ่อนหัดต่อโลกนั้นอะไรก็เกิดขึ้นได้ทั้งนั้นชั่วครั้งชั่วคราว หากแต่ด้วยความเป็นขัตติยะมานะที่ทำให้พระองค์หันมาเลือกทางเดินที่เหมาะที่ ควร ยิ่งทำให้น้องยิ่งรักและบูชาพระองค์อย่างหมดใจ พระผู้เป็นเจ้าก็ย่อมต้องให้อภัยเพคะ.."

    และเป็นเช่นนั้นจริงๆ อลิกซ์ยิ่งเพิ่มความเลื่อมใสศรัทธาในตัวซาเรวิชขึ้นมาอีกมากมาย จากการที่ได้สารภาพถึงเรื่องส่วนตั๊ว ส่วนตัวขนาดนั้น เพราะโดยฐานะแล้วพระองค์ไม่จำเป็นต้องสารภาพผิด..(สมัยนั้น การมีสนมคือเรื่องธรรมดา) เธอได้เขียนบันทึกไว้เช่นกันถึงความปิติ..และสัญญาไว้กับตัวเองว่า จะไม่ทำให้ชายผู้เป็นที่รักผิดหวังในตัวเธอเป็นอันขาด..

    ในช่วงฤดู ร้อนนั้น งานสารพัดงานในกลุ่มพระราชวงค์ทีจัดกันไม่ได้ขาด จนสองคู่รักแทบไม่มีเวลาเป็นส่วนตัวให้กัน อาการปวดขาของอลิกซ์ก็กลับมา ส่วนนิคกี้ก็เกิดอาการเบื่อหน่ายสังคมญาติๆที่มีมากมายหลายวัยนั้นเป็น อย่างยิ่ง ต้องนั่งเก็บไม้เก็บมือนิ่งขึงตัวตรง ไหนจะต้องมาคอยกว่าจะเสด็จมาในแต่ละที ก็ใช้เวลานานแสนนาน
    ดัง นั้น นิคกี้จึงออกไปเดินเที่ยวเล่นเพื่อเป็นการคลายเครียด และ เครียดไปครียดมาก็ไปซื้อเพชรมาให้อลิกซ์ ซื้อไปซื้อมาเหล่าบรรดาเจ้าของร้านเพชรพากันยกหีบมาตื๊อให้ซื้อแทบทั้งวันจน ไม่เป็นอันพักพ่อน

 

   

    ซาเรวิชได้ประทานแหวนหมั้นเพชรสีชมพูให้กับพระคู่หมั้น นอกเหนือไปจากกล่องเครื่องเพชรสร้อยพระศอที่ล้วนมหึมา จนแสงแพรวพราวเจิดจ้านั้นส่องประกายจนอลิกซ์เป็นลม
    นอกนั้นก็ยังมีเครื่องกระจุกระจิกอื่นๆ ยังไม่รวมกับเครื่องเพชรชิ้นมหึมาที่
    ซารินาส่งมาประทานจากรัสเซียอีก..
    เมื่อได้นำไปให้สมเด็จพระนางเจ้าฯได้ทอดพระเนตร..พระองค์ถึงกับอึ้งไป
    และหันมาปรามพระนัดดาว่า
    "แล้วหล่อนก้อ...อย่าเหลิงสมบัติไปซะล่ะ แม่อลิกซ์"

    สมบัติที่ว่านั่น อลิกซ์แทบไม่ได้สนใจมากไปกว่าการที่จะได้อยู่ร่วมชีวิตกับชายผู้เป็นที่รัก แม้แต่นิคกี้เองก็เช่นกัน พระองค์ช่างรื่นเริง อารมณ์ดี
    ช่างกระเซ้าเย้าแหย่ในยามที่มีโอกาสอยู่ด้วยกันสองคนตามลำพัง..
    พระองค์ได้ทรงบันทึกไว้ว่า..
    " ความรักที่ฉันมีต่อเธอนั้น มันช่างล้ำลึก มั่นคงทรงอานุภาพเสียจนไม่สามารถบรรยายให้ออกมาเป็นตัวอักษรได้ และฉันเองก็ไม่อยากเขียนซะด้วยซิ เพราะยิ่งรำพันก็รู้สึกเขินในตัวเองพิลึก"

    เดือนกรกฏาคม คือ เวลาแห่งการจากพราก ซาเรวิชจะต้องเสด็จกลับรัสเซีย
    น้ำตาท่วมท่าเรือ..สองคู่หมั้นต่างอาลัยอาวรณ์กันเหลือเกินก่อนที่จะลาจาก
    ทั้งๆ ที่เป็นแค่ระยะเวลาเพียงสองเดือนเท่านั้น เพราะอลิกซ์จะต้องเดินทางไปเข้าทำการอบรมในเรื่องของการเปลี่ยนนิกายนับถือ ในเดือนกันยายน
    รวมทั้งการที่จะต้องเข้าคอร์สเรื่องการแต่งกาย ที่จะต้องปรับเปลี่ยนใหม่หมดทั้งชุดชั้นใน ชั้นนอก รวมไปถึงองค์ประกอบต่างๆ ทั้งหมดนี้จะถูกกำกับดูแลโดยนักออกแบบจากราชสำนัก



    ภาพ..อลิกซ์ ในตำแหน่งพระคู่หมั้น  

        
     
 
    
 ( มีผู้สงสัยเกี่ยวกับเรื่องของเจ้าหญิงเฮเลนแห่งฝรั่งเศส..เนื่องจากยศถาและตำแหน่ง)

  ตอบ...คืองี้ค่ะ การปฏิวัติในฝรั่งเศสนั้นเกิดขึ้นมาในปี 1789 เพราะการที่ชาวบ้านชาวไร่ไม่ได้รับความเป็นธรรม ไมีมีสิทธิเป็นเจ้าของที่ดิน จึงเกิดมีการลุกฮือขึ้นมา
    ก่อการจราจล..จับตัวพระเจ้าหลุยส์ที่สิบหกและพระราชินี พระนางมารีอังตัวเนตต์มาบั่นพระศอด้วยกิโยติน
    (แหม เสียดายจริงที่คุณไม่ได้อ่านเรื่องเส้นทางไวน์ ในสายประวัติศาสตร์ที่ดิฉันเคยเขียนไว้ เพราะจะมีเรื่องนี้อยู่ด้วย)

    นอก จากนั้นแล้วก็ยังจับเจ้าชายน้อยพระโอรสของพระเจ้าหลุยส์ที่สิบหก หรือ องค์ที่จะเป็นพระเจ้าหลุยส์ที่สิบเจ็ดนั้นไปจองจำไว้ จนสิ้นพระชนม์
    จาก นั้นราชวงค์บูร์บองสายที่จะครองราชย์ที่เหลือก็กระจัดกระจายออกไปอยู่นอก ประเทศ เพราะในยุโรปเขาเป็นญาติกันหมด..และพระญาติที่เป็นใหญ่ในประเทศเหล่านั้น ก็ยังยอมรับว่าบูร์บองยังเป็นกษัตริย์ของฝรั่งเศส
    เท่ากับว่าพวกเขาไม่ ได้ยอมรับรัฐบาลใหม่ที่รักษาการอยู่ จากนั้นนโปเลียนก็ก้าวขึ้นมาโดดเด่น ประกาศตัวว่าเป็นจักรพรรดิ์ ขึ้นครองราชย์
    แต่เนื่องจากนโปเลียนนั้นกระหายสงคราม เที่ยวไปต่อตีกับ อังกฤษ รัสเซีย จนพ่ายแพ้กลับมา..ทำให้ไพร่พลล้มตายไปมากอีกทั้งเสียหน้า อับอาย
    ประชาชน จึงถวิลหาระบบกษัตริย์ที่คุ้นเคยมาแต่ไหนแต่ไร..อีกทั้งราชวงค์บูร์บองก็ยัง ครองใจประชาชนอยู่ การกลับมาเคลมบัลลังก์ของพระอนุชาของพระเจ้าหลุยส์ที่สิบหก คือ เจ้าชาย Louis-Stanislas-Xavier หรือ ตำแหน่งทรงกรมคือ Comte de Provence ในการสนับสนุนของเสนาบดีในคาบิเนตของนโปเลียน และ พระประยุรญาติประเทศข้างเคียงให้ขึ้นครองบัลลังก์เป็น
    พระเจ้าหลุยส์ที่ สิบแปด..จนถึงปี 1824 เป็นปีที่สวรรคตและผู้ที่สืบทอดบัลลังก์ต่อมา คือ เจ้าชาย Charles-Philippe พระอนุชาองค์เล็ก ที่ขึ้นมาครองราชย์เป็นพระเจ้า Charles X ที่ครองราชย์อยู่แค่หกปี เพราะในปี 1830 ก็เกิดการปฏิวัติใหญ่โค่นล้มอำนาจอีกครั้งจากประชาชนจนต้องหนีออกนอก ประเทศ นับว่าเป็นการครองราชย์ครั้งสุดท้ายของราชวงค์บูร์บอง

    ส่วน เจ้าหญิง เฮเลน หรือ Princess Helene of Orleans แห่งราชวงค์ออร์ลีนส์ (ฝรั่งเศส) นั้นคือสายพระญาติใกล้ชิดของราชวงค์บูร์บอง
    เพราะ ถึงแม้ฝรั่งเศสจะไม่มีสถาบันกษัตริย์อยู่ แต่การนับเชื้อสายกษัตริย์ด้วยกันยังคงไว้ เพราะในประเทศที่ถือฐานันดรเขายังนับญาติ ยังให้เกียรติกันอยู่ค่ะ..


 

    เดือนกันยายน.. เพียงไม่กี่วันก่อนที่จะถึงเวลานัดหมายที่สองคู่รักจะมาพบกัน ซาร์อเล็กซานเดอร์เกิดล้มป่วยลงอย่างกระทันหัน แพทย์จึงลงความเห็นว่าสมควรที่จะให้พระองค์แปรพระราชฐานไปยังพระราชวังลิวา เดีย (อยู่ทางใต้ของไครเมีย) เพื่อจะได้พักผ่อนให้เต็มที่
    ดังนั้น ซาเรวิชจึงไม่สามารถไปหาอลิกซ์ที่เฮสส์ได้ เพราะต้องตามเสด็จไปช่วยดูแลด้วย(ตามหน้าที่)

    ซาร์เริ่มมีอาการทรุดลงไปเรื่อยๆทั้งๆที่มีพระชนมายุเพียงสี่สิบเก้า อีกทั้งเป็นคนที่เคยขึ้นชื่อว่ามีพระวรกายแข็งแรง สูงใหญ่ราวกับเทพเจ้าเฮอคิวลิส จึงไม่มีคาดคิดว่าพระอาการครั้งนี้จะหนักหนา

    เมื่อพระบิดาอาการไม่ดีขึ้น ถึงแม้คณะแพทย์จะไม่ได้ยืนยันในพระอาการ แต่นิคกี้รู้ดีว่า..กว่าจะหายเป็นปรกติก็คงใช้เวลานานนับเดือน
    จึงได้ขอประทานอนุญาตนำอลิกซ์ให้มาเข้าเฝ้าในฐานะพระคู่หมั้น
    ซารินาเห็นดีด้วย
    นิคกี้จึงได้ติดต่อไปยังพระคู่หมั้นให้เร่งเดินทางไปยังรัสเซียโดยด่วน..
    ใน เนิ้อความจดหมายนั้น ซาเรวิชได้อ้อนวอน ขอความเห็นใจมาอย่างน่าสงสาร ว่า..พระองค์แทบไม่มีที่พึ่งทางใจจากทางไหนเลย รอรับการปลอบประโลมจากที่รักเพียงคนเดียว..

    คำว่าไม่มีที่พึ่ง ทางไหนของนิคกี้นั้น..หมายถึงว่า แท้จริงๆแล้วซาเรวิชกลัวที่สุดกับการขึ้นครองราชย์เร็วกว่ากำหนด เพราะพระองค์ไม่มีความพร้อมในด้านไหนเลย..อีกทั้งไม่รู้องค์เลยว่า จะต้องบริหารบ้านเมืองอย่างไร เพราะไม่เคยทำ..ไม่เคยใช้ทั้งพระเดชและพระคุณ
    อีก ทั้ง ตัวซาเรวิชเองก็มีบุคลิกต่างกับพระบิดาอย่างสุดโต่ง...ผิดกันราวกับขาวกับดำ พระบิดานั้น ว่ากันว่าเคยโมโหใครบางคนถึงขนาดบิดเหล็กในมือให้งอเป็นตาขอได้ อีกทั้งเป็นซาร์ที่ตรัสโผงผาง ลุยได้ถึงไหนถึงกัน เสวยง่าย ประทับง่าย..

    แต่นิคกี้นั้น เปราะบาง อ่อนไหว เจ้าสำอาง ขี้เกรงใจ..ทั้งหมดนั้นเป็นตัวตนอันแท้จริงถูกซ่อนอยู่ในกรอบของความเป็นซา เรวิชแห่งอาณาจักรรัสเซียที่ยิ่งใหญ่

 

    ตลอดชีวิตของการเป็นซาเรวิชนั้น สิ่งที่คุ้นตาจากการทำงานของพระบิดาเท่าที่เห็นก็คือ การที่ซาร์ประทับนั่งนานนับหลายๆชั่วโมงบนโต๊ะทำงานขนาดใหญ่ที่มีกองเอกสาร สูงเป็นตั้งๆ พระบิดาจะทรงงานไป พระโอษฐ์ก็ผรุสวาทไป ตามแต่ข้อความในเอกสารนั้นว่าหนักหนาสาหัสมากน้อยแค่ไหน
    ถ้าเป็นเรื่องต่างประเทศ คนที่จะโดนมากทื่สุดก็เห็นจะเป็นสมเด็จพระนางเจ้า
    พระราชินีวิคตอเรีย ที่มักจะโดนว่า
    "ยายแก่คนนี้นี่วุ่นไปเสียทุกเรื่อง..น่ารำคาญจริงๆ"
    หรือ.. พวกรัฐมนตรีที่สมองเล็กเท่ามด เอกสารนำมาทูลเกล้าแบบชุ่ยๆ พระองค์ก็จะเขียนกำกับส่งกลับลงไปว่า.."ไอ้โง่"บ้าง "ไอ้บ้า" บ้าง..

    ถึง แม้ซาร์จะดูเหมือนเป็นคนที่เจ้าอำนาจ เอาแต่พระทัยก็จริง แต่ทรงเคารพในกฏระเบียบ ทั้งๆที่พระองค์นั้นทรงทราบดีว่า พระโอรสองค์ที่สาม เจ้าชายมิเกล (หรือพระนามเล่นว่า มิชา) ต่างหากที่เหมาะสมกับการที่จะขึ้นครองราชย์มากกว่าใครๆ
    หากแต่..กฏมณเฑียรบาลว่าด้วยเรื่องการสืบสันตติวงค์นั้นคือ พระโอรสองค์โต ก็ต้องเป็นไปตามนั้น..


    ภาพ..พระโอรส มิเกล Grand Duke Mikhail Alexandervich ตอนห้าหกขวบ 


    ทันที่ที่อลิกซ์ได้รับโทรเลข..เธอเข้าใจดีถึงความรู้สึก ของพระคู่หมั้น เพราะประสบการณ์นี้เพิ่งผ่านเข้าในชีวิตของเธอหมาดๆ..จึงตอบตกลงใจที่เดิน ทางไปเข้าเฝ้ายังพระราชวังลิวาเดียที่ไครเมียทันที
    อีกทั้งสถานะการณ์ที่ เฮสส์..อยู่ในสภาพที่เธอออกจะหนักใจ เพราะหลังจากที่เธอกลับมาจากอังกฤษ..ก็พบว่าคู่แต่งงานแบบข้าวใหม่ ปลามันอย่าง
    เออร์นี่และดั๊คกี้นั้น เริ่มมีอาการบาดหมาง ดั๊คกี้ได้ยึดเอาตัวเธอเป็นที่ระบายความในใจ อีกทั้งกล่าวให้ร้ายกับเออร์นี่ไปทั้งหมด อลิกซ์หนักใจอย่างที่สุด เพราะเออร์นี่คือพี่ชายแท้ๆประการหนึ่ง อีกประการหนึ่งคือ ความเป็นคนปากโป้ง พูดจาไม่คิดอย่างดั๊คกี้ จะสร้างความเสื่อมเสียไปหมด..

    ไม่เสียได้อย่างไร ในเมื่อดั๊คกี้เอาไปโพทะนาปาวๆว่า..อยู่ด้วยกันไม่ได้ เพราะฝ่ายชายเป็นพวกนิยมไม้ป่าเดียวกัน !!

    อลิกซ์ ออกเดินทางไปพร้อมกับพระพี่เลี้ยง และ วิคกี้ พระภคินีเดินทางไปส่งถึงที่กรุงวอซอว์ จากนั้นก็แยกกัน อลิกซ์และคณะเดินทางต่อไปยังรัสเซีย
    ที่วอซอว์ อลิกซ์ได้ข่าวว่า ทางอังกฤษกำลังจัดการส่งเจ้าชายเบอร์ตี้ องค์รัชทายาทไปยังรัสเซียเพื่อเยี่ยมเยียนซาร์ด้วย และทราบว่าที่พระราชวัง
    ลิวาเดียนั้น กำลังยุ่งเหยิงเพราะไม่มีใครที่เป็นผู้ใหญ่อยู่เลย

    เมื่ออลิกซ์ไปถึง ก็ได้รับการต้อนรับที่เป็นพิธีการในฐานะพระคู่หมั้น ซึ่ง
    ตามธรรมเนียมซาร์จะต้องออกมาต้อนรับด้วยองค์เอง หากแต่พระองค์อ่อนเปลี้ยมาก จึงได้แต่แต่งองค์เต็มยศประทับบนรถเข็นออกมาที่ระเบียง
    โบกพระหัตถ์ให้เท่านั้น
    วัน ต่อมา..เหล่าพระญาติก็เสด็จมาถึง เหล่าท่านอาทั้งหลายก็แข่งกันบัญชาการจนวุ่นวายไปหมด..ทั้งแกรนด์ ดุ๊ค วลาดิเมียร์ และ แกรนด์ ดุ๊ค
    เซอเก
    ซารินา..เกาะติดอยู่ข้างพระที่..ไม่ได้ขยับองค์ไปข้างไหน
    เหล่าข้าทาสบริวาร...วิตกในพระอาการจนไม่เป็นอันทำการทำงาน..

    ส่วนซาเรวิช..ทำอะไรไม่ถูก..นอกเหนือไปจากเกาะติดอลิกซ์แจ..ซึ่งเธอได้ให้ความแนะนำไปว่า..
    "พระองค์ต้องใกล้ชิดกับหมอให้มากกว่าใครๆเพคะ ถ้าพระอาการเป็นอย่างไร คนที่จะต้องทราบก่อนใครก็ต้องเป็นพระองค์..ไม่ใช่คนอื่น.."

    และ..

    "คิดอย่างไรก็ตรัสไปอย่างนั้น..อย่าเงียบเฉย อย่าลืมซิเพคะว่า..พระองค์คือใคร..และอย่าให้คนอื่น"ลืม"ความจริงในข้อนี้ด้วย"

 

    การที่จะเป็นซาร์ของนิโคลาสเริ่มใกล้เข้ามา เพราะซาร์พระบิดาเริ่มทรุดหนัก..จนวันที่ 1 พฤศจิกายน เป็นวันที่เปรียบเสมือนโลกสลายของซาเรวิช เพราะซาร์เล็กซานเดอร์ถึงแก่กาลสวรรคต
    ทุกคนต่างพากันตระหนกตกใจจนทำอะไรไม่ถูก นิคกี้เองได้แต่คร่ำครวญ
    มึนงงจนหยิบจับอะไรไม่ถูก พร่ำถามแต่อลิกซ์ว่า..
    " ฉันจะทำอย่างไรดี จากนี้ไปจะอยู่กันอย่างไร นี่ฉันจะต้องดูแลน้องๆ แล้วไหนจะประชาชนอีก..บอกตรงๆนะอลิกซ์ ฉันทำไม่เป็น..เวลามันมาถึงเร็วจนตั้งตัวไม่ทันเลย"

    แต่พิธีพระศพนั้น คอยไม่ได้ ไม่มีเวลาให้ซาเรวิชมานั่งคร่ำครวญ..
    ทุกคนรอฟังคำสั่งจากนิคกี้คนเดียว ..ส่วนท่านอาๆ อย่างวลาดิเมียร์ หรือ
    เซอเก ที่เอาแต่เอะเอะ โฉ่งฉ่าง ยิ่งทำให้วุ่นกันไปใหญ่..
    สิ่ง แรกที่นิคกี้ควรจะต้องรีบทำ นั่นคือ การจัดทำแผนงานโดยด่วน กระจายสั่งงานให้แต่ละแผนกรับผิดชอบ ต้องออกพระราชโองการประกาศให้โลกได้รับทราบถึงการสูญเสีย..
    แต่..เขาไม่ได้ทำอะไรสักอย่างเดียว..
    และเนื่องจากพระศพอยู่ที่พระราชวังลิวาเดีย
    ริมทะเล Black Sea ซึ่งจะต้องเคลื่อนย้ายกลับไปยังพระราชวังหลวงเซนต์ ปีเตอร์เบอร์กโดยด่วน
    การเคลื่อนย้ายนั้นมิใช่ทำได้ง่ายๆ เพราะต้องไปทั้งทางเรือ ต่อด้วยทางรถไฟ
    ซึ่งนิคกี้จะต้องเข้ามาจัดการในเรื่องพระราชพิธีขบวนรับพระศพทั้งทางบกและทางน้ำ..
    แต่ ความเชื่องช้าของซาเรวิชนั้นทำให้พระศพเริ่ม"ส่งกลิ่น" อันเป็นธรรมเนียมอีกเช่นกันที่ลูกและน้องจะต้องเป็นผู้ยกพระหีบไปยังมุมมืด ส่วนหนึ่งในพระราชวังเพื่อให้แพทย์ทำการชำระและอาบน้ำมันขจัดกลิ่น
    ว่ากันว่า พระพักต์ของพระศพของซาร์นั้น แม้จะเปลี่ยนไปเป็นสีคล้ำ แต่ก็เป็นใบหน้าที่ยิ้มแย้ม..

    อนาคต.. คือสิ่งที่ซาเรวิชกลัวที่สุด เพราะเขาไม่มีอะไรที่จะเทียบได้กับพระบิดาเลย ซาร์อเล็กซานเดอร์เป็นกษัตริย์ที่ยิ่งใหญ่ในหัวใจของประชาชน
    ถึงขนาดขนานพระนามให้พระองค์ว่า..พระผู้ประทานสันติภาพ..
    เนื่อง จากในรัชสมัยของพระองค์ บ้านเมืองสงบเรียบร้อย ทั้งๆที่รัชสมัยของพระบิดาของพระองค์นั้น (ซาร์อเล็กซานเดอร์ที่สอง) ที่บ้านเมืองคุกรุ่นขนาดลอบวางระเบิดที่โน่นที่นี่ ประชาชนก่อการจราจลไม่หยุดไม่หย่อน
    จนเมื่อพระองค์ได้ขึ้นครองราชย์..ถึงแม้จะมีพระนิสัยที่เอะเอะ มะเทิ่ง
    ดุดัน..แต่ก็สามารถพลิกฟื้นเศรษฐกิจของประเทศจนประชาชนอยู่ดีกินดี
    เมื่ออิ่มปาก อิ่มท้อง..บ้านเมืองก็เกิดความสงบ

    แล้ว..อ่อนๆอย่างซาเรวิช จะไปเทียบได้อย่างไร..ยิ่งคิด..พระองค์ก็ยิ่งหมดหนทาง ไม่รู้จะเริ่มต้นตรงไหน..

    ทั้ง หมดนี้ อลิกซ์เห็นและอยู่ในเหตุการณ์โดยตลอด..ถ้าเป็นหญิงอื่น..อาจจะได้ฉุกคิดว่า ..งานศพของพ่อตัวเองยังจัดการไม่ได้ นับประสาอะไรกับการที่จะครองรัสเซียที่อาณาเขตมหาศาล..
    แต่อลิกซ์..มีเลือดแม่ คือ เจ้าหญิงอลิซที่เข้มแข็ง และมีเลือดยายที่เป็นถึง
    ราชินี แห่งสหราชอาณาจักรและโพ้นทะเล แถมยังมีความรักให้กับซาเรวิชยิ่งชีวิต จึงเห็นว่า..ตัวเธอนี่แหละ คือคำตอบทั้งหมด..อะไรที่นิคกี้อ่อนไป เธอจะเสริมให้แข็งแกร่งขึ้น อะไรที่นิคกี้พร่องไป เธอก็จะเติมให้เต็ม..

    เมื่อเจ้าชายเบอร์ตี้ได้เสด็จมาถึง ความวุ่นๆทุกอย่างเริ่มคลี่คลายลงไป..
    เพราะด้วยความเกรงใจและกลัวอับอาย ขายหน้าต่อรัชทายาทแห่งอังกฤษ

    เจ้าชายเบอร์ตี้ได้เข้ามาบัญชาการงานพระราชพิธีเคลื่อนย้ายพระศพด้วยพระองค์เอง

    นิคกี้แสดงพระประสงค์ที่จะจัดพิธีอภิเษกอลิกซ์ให้เร็วที่สุด ก่อนพิธีซาร์ภิเษก แต่ท่านอาๆค้านกันสุดฤทธิ์ เนื่องจากถ้าจะมีในช่วงโศกเศร้านี้ก็จะต้องเป็นพิธีที่เรียบง่าย ซึ่งมันเป็นไปไม่ได้สำหรับซาร์แห่งรัสเซีย
    แต่ซารินา..เห็นดีและสนับสนุนพระโอรส
    สว่น อลิกซ์..มองเห็นเช่นเดียวกับท่านอา..แต่เธอต้องปิกปากเงียบ เพราะช่วงสั้นๆที่คลุกคลีกับครอบครัวนี้ ได้เห็นว่า..การทำอะไรไม่ถูกใจซารินานั้นจะเป็นอันตรายยิ่ง เพราะตัวอย่างมีให้เห็นคือ ซานโดร พระราชบุตรเขย พระสวามีของแกรนด์ ดัชเชส เซเนีย ที่ซารินาแทบไม่มองหน้า หรือ ตรัสด้วย

    ****หมายเหตุ ซานโดร คือ Grand Duke Alexander Mikhailovich พระโอรสของ Grand Duke Mikhail ผู้ซึ่งเป็นพระอนุชาของซาร์อเล็กซานเดอร์ที่สอง เท่ากับว่าเป็นลูกของปู่น้อยของซาเรวิช..มีศักดิ์เป็นอา..หากแต่อายุนั้นไล่ เลี่ยกัน จึงสนิทสนมกันมาก จากนั้นซานโดรได้มาแต่งงานกับซีเนีย
    (ที่มีศักดิ์เป็นหลาน) เท่ากับว่า สำหรับซาเรวิช..ซานโดรมีศักดิ์เป็นทั้งอา และ น้องเขย..


    ภาพ ซานโดร และ เซเนีย ในงานแฟนซี    

        
     
    
 
 

    

 *****   ดิฉันขอขยายเรื่องสัมพันธไมตรีระหว่างรัสเซียกับประเทศในภาคพื้นเอเซียในตอนนั้นนะคะ...
    
    จากช่วงของกลางศตวรรษที่ ๑๙ ที่อังกฤษได้ขยายอำนาจไปในจีนและตะวันออกนั้น ทำให้รัสเซียเริ่มมองมาทางเจริญสัมพันธไมตรีกับภูมิภาคแถบเอเซียบ้าง

    รัสเซียได้เข้ามามีสัมพันธ์กับสยามโดยตรงในปี ๑๘๖๓ ในรัชสมัยของพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อเรือรบสองลำภายใต้การนำของกัปตัน เปชชูรอฟ (Peshchurov) ได้เข้ามาสำรวจเส้นทางสายตะวันออกที่"แสนลี้ลับ" แห่งนี้
    และกัปตันก็ได้รับการต้อนรับเป็นอย่างดีจากสมเด็จพระจอมเกล้า
    แต่ก็ไม่มีการสานต่อทางการทูตแต่อย่างใด

    ตอนนั้น รัสเซียได้ติดต่อการค้ากับสิงคโปร์แล้ว..

    ต่อ มาในปี ๑๘๗๔ นายพลเรือ บรูเมอร์ (Brumer) ผู้บัญชาการกองเรือย่านแปซิฟิคของรัสเซียได้เดินทางมากรุงเทพ ด้วยเรือธงประจำตำแหน่ง ซึ่งรัฐบาลไทยก็ให้การต้อนรับเป็นอย่างดี ซึ่งเป็นรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
    ภายหลังจากการรับรองนายพลบรูเมอร์นี้ ท่าทีของรัสเซียได้หันมาสนใจสยามมากขึ้น

    เมื่อปี ๑๘๘๒ อันเป็นมหามงคลครบรอบหนึ่งร้อยปีแห่งราชวงค์จักรี..
    รัสเซียได้ส่งกองเรือรบสี่ลำภายใต้การนำของนายพลเรือแอสแลนเบกอฟ
    (Aslanbekov) มาร่วมในพิธีเฉลิมฉลองครั้งยิ่งใหญ่นี้ ในการเข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว..และเหล่าเสนาบดีชั้นผู้ใหญ่ นายพลเรือรัสเซียได้กลับไปบันทึกว่า..
    "เจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงค์*** ได้แสดงความเสียใจ บอกว่า รัสเซียเป็นมหาอำนาจประเทศเดียวที่ไม่มีสัญญาทางการค้ากับไทย"

    ซึ่งข้อความอันชาญฉลาดของเสนาบดีของไทยนั้น เล่นเอาท่านนายพลรีบส่งสาสน์ไปถึงเจ้าพระยาภาณุวงค์ เสนาบดีการท่าของไทย ข้อความว่าจะรีบเปิดความสัมพันธ์ทางการค้ากับไทยโดยด่วน


    (*** อดีตผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์..เป็นปู่ของเจ้าคุณแพ หรือ เจ้าคุณพระประยูรวงศ์ พระมเหสีเจ้าจอมองค์แรกของรัชกาลที่ห้า...วิวันดา)

   

    นโยบายการเจริญสัมพันธ์ทางด้านการค้ากับรัสเซียนี้ก็คือ การเสริมความมั่นคงทางการเมืองให้กับประเทศและเป็นกันป้องกันการรุกรานจาก มหาอำนาจอื่นๆด้วย..เพราะตอนนั้นอังกฤษและฝรั่งเศสได้สถาปนาอำนาจใน
    พม่าและเวียดนามแล้ว..

    ดังนั้นเมื่อข่าวมาถึงสยามว่า ซาเรวิชจะเสด็จออกจากรัสเซียโดยทางชลมารคเพื่อวางศิลาฤกษ์ของทางรถไฟสายไซบีเรียในปี "1891" หรือ พ.ศ.
    ๒๔๓๔ รัฐบาลไทยถึงเห็นเป็นโอกาสอันดีในการเชิญเสด็จสยามในเวลาเดียวกัน
    ใน คราวนั้น พระเจ้าอยู่หัวเกรงว่าทางรัสเซียจะลังเลต่อการรับคำเชิญ พระองค์จึงให้อุปทูตไทยที่เบอร์ลินไปเข้าเฝ้าพระเจ้าคริสเตียนที่ ๙*** แห่งเดนมาร์ก ซึ่งเป็นสหายสนิทของพระองค์ ให้ช่วยเจรจาสนับสนุนกับทางรัสเซียให้อีกทางหนึ่ง แต่ก่อนที่เดนมาร์กจะดำเนินการอย่างไรนั้น
    ทางรัสเซียได้ตอบกลับรับคำเชิญมาแล้ว..

    หมายกำหนดการเสด็จคือประมาณเดือนมีนาคม ดังนั้นในเดือนกุมภาพันธ์
    พระ บาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ห้าได้โปรดเกล้าให้พระเจ้าน้องยาเธอกรมหมื่นดำรงราชานุภาพ (พระยศในขณะนั้น) อัญเชิญพระราชหัตเลขาไปรับเสด็จ
    ที่สิงคโปร์

    หลังจากพระเจ้าน้องยาเธอได้เสด็จออกไปเพียงวันเดียว อุปทูตไทยในเบอร์ลินได้ส่งข่าวมาว่า ซาเรวิชไม่อาจเสด็จมาสยามได้ เนื่องจากตอนนั้นมีข่าวว่าอหิวาต์กำลังระบาด ระหว่างนั้น รัฐบาลไทยได้ดำเนินการทุกวิถีทางที่จะให้เสด็จตามหมายกำหนดการเดิม
    ในที่สุด ซาเรวิชได้ตกลงพระทัยที่จะเสด็จด้วยองค์เอง

    เสด็จมาถึงเมื่อในเดือนมีนาคม วันที่ ๒๐ ประทับอยู่ถึงวันที่ ๒๔ จึงเสด็จกลับ และตลอดเวลาที่ประทับอยู่..ทรงได้รับการต้อนรับเป็นอย่างดียิ่ง..
    ถึง ขนาดที่ ระหว่างที่ประทับอยู่ในเมืองไทยนั้น ซาร์อเล็กซานเดอร์ได้ส่งเครื่องราชอิสสริยาภรณ์เซนต์ แอนดรูว์ ชั้นหนึ่งอันเป็นชั้นสูงสุดแห่งรัสเซียมาถวายให้กับพระเจ้าอยู่หัว

    ซึ่ง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ห้าได้ตัดสินพระทัยส่งกรมหมื่นดำรงราชานุภาพให้เสด็จรัสเซียอย่าง เป็นทางการ ในเดือนกรกฏาคม เพื่อถวายเครื่องราชย์อิสริยาภรณ์มหาจักรีบรมราชวงค์ อันเป็นเครื่องราชย์สูงสุดของไทยไปถวายเช่นกัน..

    นี่คือการเปิดฉากความสัมพันธ์อันดีระหว่าง ไทย-รัสเซีย ด้วยพระปรีชาชาญของพระมหากษัตริย์ไทย..


    "*** พระเจ้าคริสเตียนที่ ๙ แห่งเดนมาร์ก พระสหายสนิทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่กล่าวมาข้างต้น คือ พระบิดา ของ ซารินา มารี พระมารดาของ
    ซาเรวิช...วิวันดา"   

   

    ฉะนั้น..สรุปได้ว่าหมายกำหนดการของซาเรวิช ในปี 1891 นั้นคือ

    20-24 มีนาคม เสด็จมาสยามก่อน...

    ต้นเดือนเมษายน ถึง ญี่ปุ่น ..และเกิดเหตุตามที่เล่ามา

    19 พฤษภาคม ที่ท่าเรือเมืองโกเบ..เสด็จกลับรัสเซีย

     พิธีทางศาสนา เปลี่ยนนิกายของอลิกซ์ได้รีบดำเนินการในเวลาต่อมาไม่นาน และได้พระนามใหม่ว่า Empress Alexandra Feodorovna เพื่อที่จะได้ทันจัดพิธีอภิเษกในวันที่ 26 พฤศจิกายน 1894 ที่ยิ่งใหญ่และอลังการ ในคืนวันอภิเษก อลิกซ์ได้เขียนบันทึกไว้ในไดอะรี่ของพระสวามีว่า..
    "Never did I believe there could be such utter happiness in this world, such a feeling of unity between two mortal beings. I love you -those three words have my life in them."

    สองสามเดือนต่อมา..ปัญหาก็เริ่มส่อ เค้าขึ้น..ก็คือ ปัญหาแม่ผัวลูกสะใภ้ เพราะทั้งนิคกี้และอลิกซ์ได้ประทับอยู่ที่พระราชวังเซนต์ ปีเตอร์สเบอร์ก และเป็นการร่วมที่ประทับกับซารินา Marie Feodorovna ที่เริ่มไม่ค่อยลงรอยกับลูกสะใภ้ เพราะกรณีที่พระองค์ไม่ยอมส่งมอบเครื่องเพชรชุดใหญ่ให้..นอกเหนือไปจากที่ ไม่ค่อยโปรดเป็นการส่วนตัวที่มีเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว
    อลิกซ์และซารินาแม่พระสวามีจึงพยายามเลี่ยงการพบปะ..
    อลิกซ์ ไม่ค่อยชอบสังคมในเซนต์ ปีเตอร์สเบอร์ก ที่เต็มไปด้วยผู้คนและพระญาติหลากหลาย แต่ละคนสังคมจัดด้วยกันทั้งนั้น เธอพยายามแยกตัวออกไปจนกลายเป็น "หยิ่ง" และ"ไว้ตัว"
    สิ่งเดียวที่อลิกซ์สนใจ ก็คือ การช่วยเหลืองานราชการของพระสวามี งานแรกที่เธอมีส่วนเข้าไปแทรก นั่นคือ งานที่คณะบริหารฝ่ายจังหวัดที่เรียกว่า zemstvos ได้ถวายรายงานขออำนาจมีส่วนในการบริหาร
    ท้องถิ่นของตัวเอง ซึ่งเป็นเรื่องเล็กน้อย อีกทั้งเป็นการแบ่งเบาภาระของรัฐบาลของซาร์ไป ทุกคนหวังดีในการที่จะช่วยบริหารบ้านเมืองให้กับซาร์พระองค์ใหม่ ไม่น่าจะมีปัญหา..
    เมื่อรายงานนี้ได้มาถึงซาร์..พระองค์ตัดสิน พระทัยไม่ถูก อลิกซ์จึงเข้ามาช่วยตัดสินใจให้ว่า พระองค์ไม่ควรแบ่งพระราชอำนาจออกไปให้ยุ่งยาก..เพราะ..ซาร์อเล็กซานเดอร์ก็ ไม่เคยให้สิทธินี้กับใคร

 

    บรรยากาศในฤดูหนาวของปีที่สูญเสียซาร์นั้นช่างอึมครึม ทุกแห่งหนในถนนหนทางถูกปกคลุมไปด้วยหิมะ ท้องฟ้าเต็มไปด้วยควันจากปล่องไฟที่มาจากหลังคาทุกบ้าน แต่ที่พระอารามหลวง Nevsky Prospekt (เมืองเซนต์ ปีเตอร์สเบอร์ก) กลับเต็มไปด้วยฝูงชนจำนวนมหาศาลที่รอชมพระราชพิธีอภิเษกของซาร์พระองค์ใหม่ กับเจ้าหญิงเยอรมันอย่างใจจดใจจ่อ ไม่ว่าจะหนาวเหน็บประการใด
    แค่รถม้าสี ทองระยิบระยับคันหรูๆที่เหล่าบรรดาแขกเหรื่อที่ผ่านไปแต่ละคันก็สร้างเสียง ฮือฮาได้อย่างอื้ออึง แต่ในอีกด้านหนึ่งก็ช่างเป็นภาพที่แตกต่างในบรรยากาศอย่างสิ้นเชิง นั่นคือ การชิงกันซื้อภาพของซาร์องค์ที่เพิ่งล่วงลับไป ที่มีมาวางขายในทุกพระอิริยาบท ประชาชนหลายกลุ่มยังร่ำไห้อาลัยในพระองค์อยู่ไม่คลาย ก็ต้องนับได้ว่าแทบทุกคนที่มาชุมนุมท่ามกลางหิมะนี้หวังใจที่จะได้ยล โฉมเจ้าหญิงคู่อภิเษก ที่ว่ากันว่า สวยงาม
    แต่ลึกแล้ว คือความรู้สึกที่ไม่ปลื้ม..ด้วยมีอคติที่ว่า เจ้าสาวอะไร ถึงจะมาแต่งงานในตอนที่กำลังโศกเศร้าอย่างนี้..อยากจะเป็นซารินาจนตัวสั่นละ ซิ..

    ความคิดแบบนี้..แม้จากในวังและแขกเหรื่อชั้นเจ้านายก็คิดเช่น กัน ด้วยทุกคนรู้ดีว่า ซาร์นิโคลาสนั้นเป็นคนอ่อน ไม่มีปากมีเสียง..ไม่ค่อยจะมีปากมีเสียงกับใครและขี้เกรงใจคน
    พิธีอภิเษกได้แบ่งแขกออกเป็นกลุ่ม และแบ่งให้อยู่เป็นที่เป็นทาง เช่น
    ใน ห้องโถง Armorial Bearing เป็นที่รวมของกลุ่มเจ้านายฝ่ายหญิงที่แต่งชุดประจำชาติ นั่นคือ ชุดเสื้อคลุมยาวที่ปักด้วยเลื่อม
    แพรวพราว และ สวมศิราภรณ์ทรงสูงที่ทำด้วยกำมะหยี่และมีผ้าบางสีขาวห้อยเป็นชายยาว

    ในห้องโถง Field Marshals เต็มไปด้วยข้าราชการระดับสูงที่แต่งชุดเต็มยศ อีกทั้ง ทูตทุกประเทศที่แต่งกายประจำชาติกันละลานตา

    ในห้องโถง Nicholas I เป็นที่สำหรับเหล่านายทหารชั้นผู้ใหญ่ฝ่ายชายทุกเหล่าทัพ

    ใน ห้องโถง Concert เป็นที่ชุมนุมของเหล่าข้าราชบริพารชั้นใน รวมทั้งกลุ่มนางกำนัลของเอมเปรสคนใหม่..ที่มีหัวหน้าที่เพิ่งได้รับการแต่ง ตั้งมาจากซารินา(พระมารดา)คือ
    Martha Mouchanow (ต่อไปจะเรียกเธอว่า มาร์ธา)
    มาร์ธา..ได้มีบันทึกเกี่ยวกับเอมเปรสองค์ใหม่ไว้ว่า..
    " เมื่อได้พบกันครั้งแรก จึงได้เห็นว่า ซารินามีพระวรกายสูง แต่ก็งดงาม พระเกศาเป็นสีออกเข้มนิดๆ แต่ยามเมื่อต้องแสงไฟ ก็ออกเป็นประกายทองได้ ไม่เคยพบใครที่สวยอย่างนี้มาก่อน..
    สวยสมกับการเป็นนางกษัตริย์ก็จริง แต่พระพักต์นั้นกลับดูไม่แจ่มใสเท่าที่ควร เป็นเพราะพระโอษฐ์ที่เป็นรูปเส้นตรงบางเฉียบนั้นตรึงตรงอยู่ตลอดเวลา "


    สาเหตุที่มาร์ธาได้กล่าวไว้เช่นนั้น มีที่มาเช่นกัน เพราะทางด้านของเอมเปรสองค์ใหม่นั้นมีความไม่พอพระทัยอยู่มาก เพราะเหล่าผู้ติดตามรับใช้ชาวเยอรมันที่มีมาด้วยนั้นถูกปลดออกหมด
    และนาง พระกำนัลรัสเซี่ยนกลุ่มใหม่จำนวนแปดนางได้ถูกส่งมาแทนที่ โดยการคัดเลือกของซารินาพระมารดา ซึ่งต่างไม่เคยรู้จักมักคุ้นกันมาก่อน และต้องมารับใช้กันในงานพระราชพิธีใหญ่ยิ่งเช่นนี้
    นับว่าเป็นเรื่องปวด หัวยิ่ง..เพราะแค่เรื่องแต่งองค์ที่แสนจะยุ่งยากแล้ว..ไหนจะเรื่องการรับของ ขวัญที่ส่งมาจำนวนมหาศาลจากทั้งในและนอกประเทศอีกเล่า..
    ส่วนใหญ่เป็นภาษารัสเซียอีกต่างหาก..
    การ เตรียมการของการแต่งองค์เจ้าสาวที่แสนยุ่งยากใช้เวลานานหลายชั่วโมงได้ผ่านไป เหลือด่านสุดท้าย..นั่นคือการสวมมงกุฏที่จะกระทำโดยซารินาพระมารดาที่จะต้อง เป็นคนที่สวมให้
    จากนั้นช่างพระเกศา(คนสำคัญ) ก็จะต้องทำพิธีการแต่งพระเกศา(ที่มีการรัดรึงด้วยหมุด) และเติมแต่งด้วยผ้าคลุมชายยาว
    เวลา นั้นได้มาถึง..ช่างพระเกศาคนนั้น กลับไม่ปรากฏตัว..ยังมาไม่ถึง เหล่านางพระกำนัลและมหาดเล็กต่างวิ่งกันวุ่น ส่งสายออกไปตามหา..
    เพราะถ้าไม่มีมงกุฏ เอมเปรสองค์ใหม่ก็ไม่สามารถปรากฏตัวได้..ฤกษ์ คือ สิบเอ็ดโมงครึ่ง..ซึ่งก็ผ่านไปแล้ว..ช่างยังไม่มา..
    อลิกซ์ เริ่มประหวั่นใจ ไม่ทราบว่าอะไรได้เกิดขึ้น หรือจะไม่มีการอภิเษก..หรือ..จะมีอะไรเปลี่ยนแปลง..หรือ ช่างคนนั้นกล้าดีอย่างไรถึงไม่โผล่หัวมา..

    ส่วนแขกเหรื่อบุคคลสำคัญนับพันในท้องพระโรงต่างๆ พากันประหลาดใจ ต่างไม่รู้ว่าอะไรเกิดขึ้น..ทุกคนเริ่มกระสับกระส่าย..
    ไม่มีใครล่วงรู้ความจริงที่ว่า..งานอภิเษกครั้งยิ่งใหญ่นี้ ต้องมาล่าช้าเพราะช่างพระเกศาเพียงคนเดียว..

    อลิกซ์ นั่งนิ่งขึงอยู่ที่หน้ากระจกบานใหญ่ พระพักต์เคร่งเครียด ดวงพระเนตรมีอัชชุชล..คลออยู่อย่างเห็นได้ชัด พระโอษฐ์ที่เป็นเส้นตรงอยู่แล้ว ยิ่งบางเฉียบไปกว่าเดิม..
    ซารินาพระ มารดาก็ช่วยเหลืออะไรมากไม่ได้ไปกว่านี้ เพราะพระองค์เองก็รู้สึกแย่อยู่แล้ว..ที่ต้องสูญเสียพระสวามีไปอย่างไม่มี วันกลับ..ไหนพระธิดา เซเนียที่เพิ่งอภิเษกออกเรือนไป
    ไหนพระโอรส..ที่กำลังจะอภิเษกไปอีก..ที่สำคัญ ไหนจะต้องทำพระทัยที่ต้องสูญเสียตำแหน่ง"พระราชินี"ไปอีกเล่า..
    นับว่ามันช่างหนักหนาสาหัสสำหรับพระองค์ที่ทั้งหมดนี้ได้เกิดขึ้นในระยะเวลาแค่ไม่ถึงปี..

 





    ภาพ..จากที่กล่าวในคคห.ข้างบนว่า..
    เจ้านายฝ่ายหญิงที่แต่งชุดประจำชาติ นั่นคือ ชุดเสื้อคลุมยาวที่ปักด้วยเลื่อม
    แพรวพราว และ สวมศิราภรณ์ทรงสูงที่ทำด้วยกำมะหยี่และมีผ้าบางสีขาวห้อยเป็นชายยาว    


    ในที่สุด..อลิกซ์ก็ต้องถอนพระทัย เมื่อช่างคนนั้นได้โผล่เข้าประตูมา..สาเหตุที่ล่าช้าเพราะเขาตำรวจกั้นไม่ ให้เข้ามา ต้องเสียเวลาอธิบายกันนานกว่าจะอนุญาตกันได้
    (นี่คือฉาก หนึ่งของความบกพร่องในการบริหารจัดการพระราชพิธี) ในที่สุด..กว่าจะเสร็จสิ้นได้ก็เป็นเวลาเที่ยงครึ่ง..ที่ประตูของท้องพระโรง Concert ได้เปิดออกสู่สายตาของบรรดาแขกเหรื่อ
    แถวแรกที่นำขบวนคือ เหล่ามหาดเล็กที่แต่งตัวครบเครื่อง..ทีดำเนินกันอย่างช้าๆใต้ซุ้มดาบของ เหล่าทหารรักษาพระองค์ ในเวลาเดียวกัน ก็มีการยิงสลุตจากค่ายทหาร Peter and Paul ที่อยู่อีกฝั่งหนึ่งของแม่น้ำ
    จาหนั้นก็ตามมาด้วยขบวนของซารินาพระมารดา ที่เคียงมาพร้อมกับพระบิดาของพระองค์คือ พระเจ้าแผ่นดินแห่งเดนมาร์ก
    ตาม หลังมาด้วย ซาร์องค์ใหม่ นิโคลาส ที่ทรงเครื่องนแบบนายทหารฮัสสาร์อย่างเต็มยศ เคียงข้างพระองค์ คือ อลิกซ์ ที่สวยสดงดงามเต็มไปด้วยประกายแห่งบารมีของซารินาองค์ใหม่ที่ควรจะเป็น
    ชุดสีทองเป็นประกายนั้น ใช้นางพระกำนัลถึงสี่คนในการถือชายเฟือย เครื่องเพชรแย่งกันส่งประกายจนเจิดจ้า..
    ตลอด ทางที่ผ่าน เจ้านายและแขกเหรื่อต่างโค้งคำนับ ถอนสายบัวกันเป็นคลื่น..ทุกสายตาจับจ้องไปที่เอมเปรสองค์ใหม่อย่างพินิจ พิเคราะห์ และแทบไม่น่าเชื่อว่า หลังจากนั้น สายตาทุกคู่ดังกล่าวก็หันไปมองที่
    พระนางมารี ซารินาพระมารดา เพราะอดใจเปรียบเทียบไม่ได้ เพราะช่วงนั้นคือ เป็นวันใกล้วันเฉลิมพระชนพรรษาของพระองค์ (26 พฤศจิกายน ) ที่เคยมีความหมายสำหรับประชาชนมานานนับสิบๆปี
    แต่ปีนี้..กลายเป็นปีที่โศกเศร้าที่สุดของพระองค์ก็ว่าได้..
    ทุก คนต่างรู้สึกอย่างเดียวกัน คือ สงสารพระองค์ เพราะตลอดเวลามา ซารินาพระมารดาเป็นที่รักของคนทั่วไป..อีกทั้งสง่างามและสวยสดอย่างหาตัวจับ ยาก พระองค์มีพระชนมายุเพียงสี่สิบเจ็ดชันษา(ในตอนนั้น)
    โฟกัสในวันอภิเษกนั้น จึงเป็นไปในทางสงสารพระนางมารี มากกว่าที่จะชื่นชมกับบารมีของเอมเปรสองค์ใหม่ที่ทุกคนแทบไม่รู้จัก..
    ส่วนอลิกซ์ก็ไม่ได้มีความรู้สึกที่จะแยกแยะไปว่า ใครจะสนใจใคร เพราะตอนนั้น สิ่งเดียวที่เธอตั้งใจ คือการที่ได้แต่งงานกับคนรัก..
    เมื่อ พิธีรับศีลผ่านพ้นไป..ฝูงชนนับพันๆที่คอยอยู่ภายนอกท่ามกลางความหนาวเหน็บ นั้น ได้พากันเฮละโลเข้ามากลุ้มรุมจนชิดรถม้าพระที่นั่งของคู่บ่าวสาว ขณะที่เสด็จออกมาเพื่อที่จะกลับไปยังพระราชวังหลวง
    จนขยับเขยื้อนไม่ได้ เหล่าทหารเข้ามากางกั้น แต่ก็เกิดเป็นภาพที่ไม่น่าดู เพราะประชาชนต่างพร่ำร้องเรียกหาเจ้าเหนือหัวพระองค์ใหม่ และสอดส่ายตาจับจ้องไปที่เจ้าหญิงเอมเปรสหมาดๆ
    จนอลิกซ์รู้สึกกลัว และ แปลกใจว่า เหล่าหน่วยรักษาความปลอดภัยหายไปไหนกันหมด..
    ในที่สุด เหล่าสารถีจึงต้องใช้แส้..หวดปัดป่ายไปมา เพื่อไล่ฝูงชน กว่าจะนำขบวนออกไปได้ก็เล่นเอาใจหายใจคว่ำ..
    จุด หมายคือ พระราชวัง Anichkov อันเป็นที่ประทับของซารินาพระมารดา ที่คู่บ่าวสาวคู่ใหม่นี้จะต้องไปอาศัยอยู่ในส่วนหนึ่งในชั้นล่างของ พระราชวัง..


    ภาพ Anichkov Palace
 


        
    

    ซารินาพระมารดาเตรียมรอรับบ่าวสาวตามธรรมเนียมคือ ของรับขวัญด้วยขนมปังและเกลือ

    สองคู่อภิเษก ซึ่งบัดนี้คือ ซาร์ และ ซารินา องค์ใหม่ (ต่อไปจะเรียกตามนี้
    ซาร์หมายถึง นิโคลาส และ ซารินา คือ อลิกซ์) หาได้พักผ่อนต่อไม่ ต่างต้องรีบช่วยกันตอบโทรเลขไปยังพระบรมวงศานุวงค์ชั้นผู้ใหญ่
    ซึ่งกว่าจะเสร็จสิ้นก็ล่วงเลยไปถึงสองทุ่ม..ดังที่ซาร์บันทึกไว้ว่า

    "เราเริ่มทานอาหารค่ำตอนสองทุ่ม และเข้านอนเลย.."

    ต่อ นี้ไป เขาทั้งสองต่างเป็นของกันและกัน จะไม่มีวันพรากจากกัน ไม่ว่าหนทางในวันนี้ และวันหน้าเป็นอย่างไร ก็จะเคียงคู่กัน ไม่หวั่นไหวต่ออุปสรรคใดๆอีกต่อไป..

    ภาพ พระมารดามารีกับ เซเนีย ในพระราชวังอานิชคอฟ

    

 

        
     
    อุปสรรคนั้น..หมู่นักวิชาการและชนชั้นปกครองต่างทราบดี ว่า มันกำลังจะมีผลต่อประเทศ แต่ทุกคนดูเหมือนจะจงใจ และเต็มใจที่จะกวาดเอาฝุ่นไปซุกไว้ใต้พรม นั่นคือ ปีก่อนการอภิเษก
    นั้น มันเป็นปีที่โหดร้ายสำหรับประชาชนชาวรัสเซียระดับล่างอย่างแสนสาหัส เพราะเกิดการแล้ง จนเกิดข้าวยากหมากแพง ประชาชนอดอยาก เด็กเล็กล้มตายไปราวกับใบไม้ร่วง..
    การบรรเทาทุกข์ได้จัดทำอย่างไม่ทั่ว ถึง อีกทั้ง เหล่ารัฐมนตรีไม่ว่าสายพานิชย์ หรือ สายเศรษฐกิจ พากันกระหน่ำซ้ำเติมเคราะห์กรรมให้กับชาวบ้านจนจมดิน..
    เช่น นาย Sergei Witte รมต.พานิชย์ และผู้ช่วย ออกกฏหมายมาบังคับให้กสิกรนำผลิตผลออกมาขายก่อนเวลา ซ้ำกดราคาต่ำสุด
    จากนั้นก็ออกกฏหมายบังคับให้กสิกรซื้อเครื่องมือ และ ปุ๋ยนำเข้าจากต่างประเทศ ทั้งๆที่พวกชาวไร่ชาวนายังไม่ฟื้นตัวจากการบอบช้ำ
    ซึ่ง ในขณะเดียวกัน ทางอุตสาหกรรมต่างๆที่เจริญขึ้นในเขตมอสควา และ เซนต์ ปีเตอร์สเบอร์ก ทำให้ชาวไร่ชาวนาละทิ้งถิ่นฐาน ยอมตัวไปเป็นทาสในโรงงงาน ที่ต้องทำงานกันวันละ สิบหกสิบเจ็ดชั่วโมง ต่อค่าจ้างรายวันที่น้อยนิด เพียงเวลาไม่นาน ทั้งสองเมืองได้เกิดสลัมขึ้นเต็มเมือง การอาศัยปนเปอยู่อย่างแออัด ขยะทิ้งเกลื่อน ระบบท่อน้ำระบายโสโครก..เหม็นหึ่ง..
    ใครต่อใครที่ มาพบกับสภาพในตอนนั้น ถึงกับไม่เชื่อสายตา อย่างท่านป้า เจ้าหญิงวิคตอเรีย เอมเปรสแห่งเยอรมัน (พระธิดาองค์โตของสมเด็จพระนางเจ้าวิคตอเรีย) ได้ทรงบันทึกไว้ว่า
    "เหมือนอยู่คนละโลก..ช่างอยู่กันยากจนค่นแค้นอย่างน่าเศร้าใจ"
    ความต่างอย่างสุดโต่งระหว่างความรวยกับความจนนั้น ในยุโรปทั้งงหมด รัสเซียมีช่องว่างกว้างสุดลูกหูลูกตามากกว่าใครๆ..
    ราช วงค์โรมานอฟ ว่ากันว่า มีเงินนอนในท้องพระคลังส่วนตัวนับล้านๆรูเบิ้ล ทั้งใช้จ่ายแบบฟุ่ยเฟือย..ในขณะที่ผู้ขายแรงงานชนิดสายตัวแทบขาดในโรง งาน..ได้รับค่าจ้างเพียงสิบรูเบิ้ลต่อเดือน
    โรงงานพวกนั้นได้กำไรมหาศาล ..แต่มันไม่ได้ไหลเวียนในประเทศอย่างที่ควรจะเป็น เพราะ..เจ้าของพวกนั้นล้วนแล้วแต่เป็นนักลงทุนชาวต่างชาติที่พากันหอบเงิน ทองกลับไปยังประเทศของตัว

    ภาพของผู้ยากไร้ที่อยู่ ไร้งานทำชาวรัสเชี่ยนที่หลั่งไหลเข้ามาอยู่เต็มเมืองนั้น สุดแสนบรรยาย ทุกร่างอยู่ในสภาพโสมม ด้วยเสื้อคลุมเก่าๆขาดวิ่น หนวดเคราเฟิ้ม เท้าห่อหุ้มด้วยผ้าเก่าๆยัดพื้นด้วยขี้เลื่อย
    ใช้งานแทนรองเท้า..
    หันไปอีกทางก็อาจเจอข้าราชการที่แต่งกายโก้หรู วาววับ..ขี่ม้าไปทำงานด้วยท่าทางโก้สมาร์ท
    ใคร ที่พบภาพนี้..ต่างพากันไม่เชื่อว่า..ในวันอภิเษกท่ามกลางความขัดแย้งของความ เป็นอยู่ของชาวประชานั้น..กลับมีแต่ความปิติในมวลชน..ไม่มีใครมองเห็นความ ต่างในฐานะ
    ชาวบ้านที่ยากจนเข็ญใจก็ยังชื่นชมในความเป็นอภิมหามงคลของคู่อภิเษก จนชาวอเมริกันคนหนึ่งได้จดหมายไปเล่าให้เพื่อนฟังว่า..
    " ความสำคัญของซาร์สำหรับพวกเขา เปรียบได้ราวกับความสำคัญของดวงอาทิตย์ที่มีต่อโลกทีเดียว ถ้าไม่เห็นด้วยตาตัวเอง รับรองว่าไม่เชื่อเด็ด"

    น่าเป็นที่แปลกใจ..เพราะสภาพแร้นแค้นในช่วงเวลาเดียวกันนี้ของประชาชน
    ไม่ได้ปรากฏเป็นตัวอักษรอยู่ในบันทึกประจำวันของซาร์เลย..
    มีแต่..ไปเที่ยวปิคนิคที่นั่นที่นี่ ไปทรงจักรยานในสวน หรือ ทรงพระอักษร
    หรือ เรื่องหวานๆกับซารินา แถมมีบางช่วงที่ทรงบันทึกไว้ว่า
    "แย่จัง..ที่งานได้แย่งเวลาเราไปหลายชั่วโมง แทนที่จะได้อยู่กันสองคนผัวๆเมียๆ"
    เพราะไม่มีอะไรที่จะทรงโปรดไปกว่า"วันหยุด" ที่จะได้อยู่กันสองคน
    ในขณะที่ซารินาทรงงานปัก..และ พระองค์มีเวลาอ่านหนังสือเล่มโปรด

    ซาร์ ไม่มีวันได้รับทราบถึงความเจ็บปวด และทุกข์ระทมของประชาชน เพราะรายงานที่มีมาถวายก็เขียนไว้สองสามบรรทัด หรือ หนังสือพิมพ์ก็ลงแต่ข่าวของอหิวาต์ที่กำลังระบาด (นั่นคือผลพวงจากการเกิดข้าวยากหมากแพง)
    อีกทั้งพระองค์ก็ไม่ได้เสด็จไปไหน หรือพบปะกับใคร..

    เพราะครั้งหนึ่งหลังจากที่ครองราชย์ใหม่ๆ พระองค์ได้ทรงม้าออกไปเที่ยวชมบ้านเมืองเป็นการส่วนพระองค์ไม่มีผู้ติดตาม..
    แค่ออกมาแป๊บเดียว ก็สวนกับรถม้าของเสนาบดี นายพล Von Val ที่นายพลรีบลงมา..ถวายคำนับ พร้อมกับทูลด้วยเสียงกร้าวว่า...
    "มิเป็นการบังควรพระเจ้าข้า.."

    ซาร์ตอบไปว่า..
    "ไม่เห็นเป็นไรนี่..ไม่มีใครรู้จักฉัน หรือจำฉันได้สักหน่อย"

    "ไม่เป็นการบังควร..พระองค์ควรเสด็จกลับเดี๋ยวนี้พระเจ้าข้า"

    มาถึงตอนนี้ประชาชนที่ผ่านไปมาเริ่มสังเกตเห็น และรุมล้อมเข้ามา
    หลายคนจำได้ว่าเป็นพระเจ้าเหนือหัว..เริ่มเซ็งแซ่ ขยายวง..
    ซาร์จึงรีบพาองค์เข้าไปเก๋งรถม้าของท่านนายพลและกลับพระราชวังทันที

    เมื่อกลับไปถึงพระราชวัง..อย่างแรกคือทรงได้รับการตำหนิอย่างหนักจากพระมารดาอย่างที่ไม่เคยมาก่อน..เพราะมาเป็นชุด..
    " ไม่รู้หรือไง..ว่า เธอแบกเสถียรภาพของประเทศไว้บนบ่าทั้งสองข้าง..ทำไมต้องไปเสี่ยงอยู่บนกลาง ถนนคนเดียว ลูกเต้าสืบสายก็ยังไม่มี ถ้าเป็นอะไรขึ้นมา ตำแหน่งก็ต้องตกไปอยู่ที่จอร์จิ และ จอร์จิก็ไม่ค่อยสบายอยู่ด้วย ไม่รู้จักคิดเลยนะเรา.."

    จากนั้น พระมารดามารีทรงยื่นคำขาดว่า ซาร์จะเสด็จที่ไหนโดยลำพังไม่ได้อีกต่อไป..คำสั่งของพระมารดานั้น ถือเป็นเด็ดขาด เพราะตลอดชีวิตของซาร์นั้น อยู่ใต้อิทธิพลของพระมารดาเสมอ
    มีพยานชัดเจนว่า ในการหารือกับคณะเสนาบดีในหลายๆครั้ง ที่ซาร์ต้องขอ
    ให้คำตอบทีหลัง..เพราะต้องขอไปปรึกษาแม่ก่อน"

   




เลิศเลอวงศา...โรมานอฟ โดย วิวันดา

เลิศเลอวงศา...โรมานอฟ ตอนสิบหก
เลิศเลอวงศา...โรมานอฟ ตอนสิบห้า
เลิศเลอวงศา...โรมานอฟ ตอนสิบสี่
เลิศเลอวงศา...โรมานอฟ ตอนสิบสาม
เลิศเลอวงศา...โรมานอฟ ตอนสิบสอง
เลิศเลอวงศา...โรมานอฟ ตอนสิบเอ็ด
เลิศเลอวงศา...โรมานอฟ ตอนสิบ
เลิศเลอวงศา...โรมานอฟ ตอนเก้า
เลิศเลอวงศา...โรมานอฟ ตอนแปด
เลิศเลอวงศา...โรมานอฟ ตอนเจ็ด
เลิศเลอวงศา...โรมานอฟ ตอนหก
เลิศเลอวงศา...โรมานอฟ ตอนห้า
เลิศเลอวงศา...โรมานอฟ ตอนสี่
เลิศเลอวงศา...โรมานอฟ ตอนสาม
เลิศเลอวงศา...โรมานอฟ ตอนหนึ่ง



แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.
| WW II Europe | WW II Asia | WW I | Vietnam War | ประวัติศาสตร์ไทย | บทความจากสมาชิก | คุยกันหลังฉาก | บทความทั้งหมด |

สนใจร่วมเขียนบทความในเว็บไซต์ เชิญอ่าน แนวทางการร่วมเขียนบทความ ภาพยนตร์ประวัติศาสตร์

Custom Search



eXTReMe Tracker