dot
dot
เว็บภาพยนตร์ประวัติศาสตร์ ยินดีต้อนรับผู้สนใจทุกท่าน
dot
dot
สมาชิก Webboard/Blog
ชื่อผู้ใช้ :
รหัสผ่าน :
เข้าสู่ระบบอัตโนมัติ :
bullet ลืมรหัสผ่าน
dot
bulletข้อตกลงการเป็นสมาชิก
bulletเว็บบอร์ด-คุยกันหลังฉาก
bulletเว็บบอร์ด-Games ย้อนยุค
bulletเว็บบอร์ด-ชุดจำลองประวัติศาสตร์
bulletเว็บบอร์ด-หนังสือประวัติศาสตร์
bulletเว็บบอร์ด-เพลงประวัติศาสตร์
bulletคำถาม/คำตอบ ล่าสุด
bulletแนวทางการร่วมเขียนบทความ
dot
สงครามโลกครั้งที่ 2
dot
bulletสมรภูมิยุโรป (สัมพันธมิตรVSเยอรมัน-อิตาลี)
bulletสมรภูมิแปซิฟิก-เอเชีย (สัมพันธมิตรVSญี่ปุ่น)
dot
ภาพยนตร์ประวัติศาสตร์อื่นๆ
dot
bulletสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง
bulletประวัติศาสตร์ไทย
bulletประวัติศาสตร์อเมริกันยุคเริ่มแรก
bulletสงครามเวียดนามและอินโดจีน
bulletตะวันตกโบราณ (กรีก โรมัน ฯลฯ)
bulletประวัติศาสตร์ร่วมสมัย
bulletเอเชียโบราณ
bulletประวัติศาสตร์อื่นๆ (ยังไม่แยกหมวดหมู่)
bulletคลิปความรู้จาก YouTube
dot
บทความโดย วิวันดา
dot
bulletฮิตเล่อร์...และเหล่าขุนพลแห่งอาณาจักรไรค์ซที่สาม
bulletลอดลายรั้ว.....วินด์เซอร์
bulletเลิศเลอวงศา...โรมานอฟ
bulletเชลย
bulletซูคอฟ...ยอดขุนพลผู้ดับฝันของฮิตเล่อร์
dot
บทความโดย สัมพันธ์
dot
bulletคนไทยในกองทัพพระราชอาณาจักรลาว
bulletประวัติศาสตร์สงคราม กรีก
bulletกรณีพิพาทอินโดจีนและสงครามมหาเอเชียบูรพา
bulletอยุธยายศล่มแล้ว ลอยสวรรค์ ลงฤา
bulletฮานนิบาล
bulletพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบรมวงศานุวงศ์
bulletไทยกับมหาสงคราม
bulletสงครามเวียดนาม
bulletห้วยโก๋น ๒๕๑๘
bulletการทัพในมลายา
bulletประวัติศาสตร์อื่น ๆ
dot
เรื่องอื่นๆ
dot
bulletบทความเสริมความรู้ทั่วไป
bulletเกร็ดเล็กเกร็ดน้อย
bulletผู้จัดทำ
bulletผังเว็บไซต์ (Site Map)
bulletแนวทางการร่วมเขียนบทความ
bulletถาม-ตอบ (FAQs) (โปรดอ่านก่อนตั้งกระทู้หรือสมัครสมาชิก)
bulletร้านค้าออนไลน์
bulletแบ่งปัน Album
dot
ลิงค์ต่างๆ
dot
bulletHistory on Film
bulletกองบิน 21 กองพลบิน 2
bulletIELTS British Council
bulletIELTS IDP
bulletMUIC




โหราศาสตร์ยุคไอที



เลิศเลอวงศา...โรมานอฟ ตอนสาม


   
 

    ต้องเรียนกันตรงๆว่า ตัวเองนั้น อ่านหนังสือเกี่ยวกับเรื่องโรมานอฟนี้มานานมาก บางทีก็ต้องพักวางไปนานพอสมควร เพราะกว่าจะเข้าใจเล่นเอาเหนื่อย
    หนังสือส่วนใหญ่ เขียนชื่อต่างๆกัน เรียกต่างๆกัน เพราะบางเล่มแปลมาจากภาษารัสเซีย บางเล่มมาจากภาษาเยอรมัน บางเล่มมาจากภาษาฝรั่งเศส
    บางเล่มทำสายครอบครัว คนไหนที่เสียชีวิตไปตอนเด็ก ก็ทำหายไปเฉยๆไม่โยงให้ พอในข้อความบางส่วนที่สำคัญเอ่ยถึง..เราก็ต้องไปพลิกหาว่า..เอ..แล้ว เป็นคนไหนเนี่ย..แถมนิยมตั้งชื่อซ้ำๆกันอีก
    เล่นเอาต้องหันไปคว้าพารา..กรอกปากสองเม็ด..

    กว่าจะตั้งหลักอ่านให้ครบทุกเล่ม เรียบเรียงเขียนชาร์ตสายสกุลหลักๆสามสี่สายในยุโรปและโยงให้ตัวเอง เข้าใจดีได้ ก็ต้องใช้เวลานานพอสมควร

    ส่วนชื่อ..พยายามใช้ชื่อเดียวและตำแหน่งที่ดำรงตามกาลเวลาให้คนอ่านเข้าใจไปตามเนื่อเรื่อง..ไม่เอาอย่างในหนังสือต้นแบบ เพราะ เขาใช้ชื่อเดียวแบบดุ้นๆ..ไม่มีตำแหน่งหรือยศฐาพ่วงมาด้วยเลยยากที่จะเข้าใจ
    บางเล่มใช้ชื่อเล่นล้วนๆ อย่างพระนาง Maria Feodorovna หรือ ซารินา มารี(มาเรีย) หรือ ซารินาพระมารดา นั้น...มีพระนามเล่มในหมู่พระประยูรญาติว่า Minnie เขาก็ใช้ Minnie ทั้งเล่ม
    ซึ่งดิฉันเลี่ยงไม่ใช้ เพราะ ดูจะเป็นการตีสนิทและอาจเอื้อมไป..

    แต่เนื่องจาก ความเป็นไปในหมู่พระราชวงค์โรมานอฟ ทุกพระองค์ใช้ภาษาฝรั่งเศสเป็นหลัก อังกฤษเป็นรองในการสื่อสารระหว่างกัน การเรียกพระนาม อลิกซ์ และ นิคกี้ จึงเป็นเรื่องธรรมดา(จากบันทึกส่วนพระองค์ต่างๆ ทั้งจากเหล่าแกรนด์ดุ๊ค และ แกรนด์ดัชเชส)
    ดิฉันจึงเรียกตามนั้น แต่เมื่อในยามดำรงพระยศ ก็จะใช้ ซาร์ และ ซารินา แทน

    ถ้าเมื่อไหร่ท่านผู้อ่านข้องใจ หรือ สงสัยตรงไหน ถามได้นะคะ เพราะดิฉันเชื่อว่าข้อมูลเสริมหรือเพิ่มเติมทุกชิ้นมีประโยชน์ทั้งนั้น ......

V

V



    เพราะความที่เป็นคนอ่อนนี้เอง..ทำให้ซาร์ยึดพระมารดาเป็น หลักเกาะในทุกเรื่อง อาณาจักรอำนาจของซารินาพระมารดานั้นมีขอบเขตกว้างไกลมาแต่ไหนแต่ไร จนควบคุมได้ในทุกเรื่องทั้งในและนอกราชสำนัก
    นั่นหมายถึง ชีวิตคู่ของซาร์และเอมเปรสคู่พระทัยด้วย..
    เพราะพระองค์เป็นผู้ตัดสินพระทัยว่า คู่อภิเษกจะประทับที่ไหน และอย่างไร
    รวมไปถึงการจัดแต่งห้อง และคัดเลือกทีมคุณพนักงาน
    กฏเหล็กที่ต้องปฏิบัติ คือ ต้องร่วมโต๊ะเสวยด้วยกันทุกมื้อ และต้องได้รับอนุญาตและเห็นชอบในการเสด็จหรือรับเชิญเสด็จไปไหน

    ในส่วนที่ประทับของซาร์และซารินาตามที่พระมารดาจัดให้นั้น เล็กและคับแคบ มีด้วยกันอยู่ไม่กี่ห้อง ขนาดยามที่ซารินามีอาคันตุกะมาเยี่ยมเยียน
    ก็ต้องไปขอยืมใช้ห้องรับแขกของพระนางมารี
    ดัง ที่กล่าวมาแล้วว่า พระนางมารียังอยู่ในระหว่างการสูญเสีย ..อำนาจคือสิ่งสุดท้ายที่พระองค์ยังถือครองอยู่ ครั้นจะปล่อยสายป่านผ่อนยาวไปเลยก็กระไรอยู่ อีกทั้งพระองค์รู้จักพระโอรสองค์โตดีกว่าใครๆ ว่าเป็นคนอย่างไร
    ดังนั้นจึงเป็นการยากที่จะมอบความรับผิดชอบทั้งหมดให้..

    พระ นางมารีได้จัดปีกหนึ่งของพระตำหนักให้คู่อภิเษกประทับ อันกอร์ปด้วยห้องเล็กๆหกห้อง หนึ่งห้องในนั้น คืออดีตห้องนอนของนิคกี้สมัยเด็กๆที่อยู่รวมกับพระอนุชาจอร์จิ ห้องเหล่านั้นอุดอู้ คับแคบ เสียจนไม่พอบรรจุเสื้อผ้าของอลิกซ์ แม้เธอจะร้องขอ..
    พระสวามีก็ขอผลัดผ่อนอยู่ตลอดเวลา ด้วยความเกรงพระทัยพระมารดา**

    ** ถ้าใครได้อ่านเรื่องรักร้าวของเจ้านาย ที่เคยเขียนไว้ ก็จะรู้สึกได้ทันทีว่า ช่วงนี้ช่างเหมือนกับคู่ของเจ้าฟ้าชายชารลส์ กับไดอะน่า เหลือเกิน
    เหมือนทุกอย่างทั้งๆเวลาที่ผ่านมากว่าร้อยปี เริ่มจาก หลังอภิเษกทั้งสองพระองค์ก็ยังไม่มีที่อยู่ ต้องไปใช้พระตำหนักเล็กๆที่เคยเป็นที่ประทับเก่าของพระองค์ และ เจ้าชายแอนดรูว์
    เล็กจนไม่พอเก็บเสื้อผ้าของไดอะน่า แถมจำกัดให้เปิดฮีตเตอร์ตามเวลาของฤดูกาล เพราะควีนทรงมัธยัสถ์อย่างหาตัวจับยาก

   

    ในยามแรกๆ สะใภ้ใหม่อย่างซารินาก็ต้องยอมกล้ำกลืนทน แน่นอนที่มีคำถามนานาชนิดผุดขึ้นมาในสมอง ว่า ในฐานะซาร์ หรือ ประมุขเหนือหัวแห่งรัสเซีย..ทำไมต้องมาอยู่ซอมซ่อ กระเบียดกระเสียนขนาดนี้..
    แต่..เธอก็ได้แต่นิ่ง..
    จนกระทั่ง..อลิกซ์ มาทราบในทีหลังว่า เหล่าคุณพนักงานที่พระนางมารีส่งมาให้รับใช้นั้น ไม่ได้เป็นคุณพนักงานธรรมดาๆ แต่ทั้งหมดได้ทำหน้าที่เป็น"สายลับ" ที่คอยรายงานความเคลื่อนไหวของเธอให้ทรงทราบในทุกฝีก้าว ไม่ว่าจะเป็นการสวมใส่เสื้อผ้าชุดธรรมดาจนดูซอมซ่อสำหรับตำแหน่งพระชายา หรือ สุนัขพันธ์เทอเรีย สัตว์เลี้ยงของเธอหย่อนการอบรมไปหน่อย
    เรียกว่า พระนางมารีได้รับทราบเรื่องราวส่วนตัวของเธอทั้งหมด..

    สิ่งแรก..ที่อลิกซ์พยายามแก้ไขเพื่อตัวเอง คือเปลี่ยนสไตล์การแต่งตัวใหม่หมด..ตรงนี้ มาร์ธาได้บันทึกไว้ว่า..
    "เอมเปรสใช้เวลาวันละหลายๆชั่วโมง นั่งออกแบบวาดแบบเสื้อเพื่อที่จะส่งให้ช่างพระภูษาตัดเย็บ"

    ที่ต้องทำเช่นนั้น เพราะซารินาคิดเอาเองว่า ถ้าเปลี่ยนสไตล์การแต่งตัวใหม่
    ให้หรูหราและดูดีสมนางกษัตริย์ ..พระองค์ก็จะได้รับการยอมรับจากหมู่ชาวราชสำนักในฐานะ"เอมเปรส" เจ้านายฝ่ายหญิงพระองค์ใหม่..

    แต่ ผลที่ออกมา..กลับเอนไปในทางลบ..เรียกเสียงเฮฮา ชวนขำขันจากหมู่ชาวชั้นใน เพราะกลายเป็นว่าอลิกซ์กำลังทำตัวเลียนแบบพระนางมารี ผู้ซึ่งใครต่อใครยกย่องว่าเป็นหญิงที่แต่งกายได้เลิศที่สุด
    เท่านั้นไม่ พอ เหล่าช่างพระภูษาพากันไปจีบปากจีบคอฟ้องอีกว่า ต้องคอยแต่ตัดเสื้อผ้าให้ซารินาองค์เดียวหลายต่อหลายชุด และมีพระประสงค์จะให้ได้ดั่งใจวันละสามสี่ชุด..ไหนจะต้องมีพระมาลา ฉลองพระหัตถ์ รองพระบาทโอ๊ย..ใครจะไปทำให้ทัน
    นอกจากช่างพระภูษาแล้ว เหล่าคุณพนักงานพากันบังคมทูลฟ้องอีกเช่นกัน
    ว่า แต่งตัวแต่ละที วิ่งกันวุ่น..เพราะเปลี่ยนแล้วเปลี่ยนอีก..

    ทุกคนต่างช่วยกันสรุปว่า..
    "นี่เป็นเพราะเมื่อก่อนเป็นแค่เจ้าหญิงจนๆคนหนึ่งเท่านั้น..พอมีอำนาจราชศักดิ์เข้าหน่อยก็ลืมกำพืด.."

    วาจา และข้อความเหล่านี้..แม้ซารินาจะไม่ได้ยิน..แต่ก็ทรงทราบด้วยจากอากัปกิริยา ของคนรอบข้าง..เพราะนับวันมันยิ่งขยายออกไปเป็นวงกว้าง..
    จนยอมตัดสินพระทัยว่า ในเมื่อพระสวามีมัวแต่เกรงพระทัยคนโน้นคนนี้ ไม่สามารถปกป้องศักดิ์ศรีให้กับเธอผู้เป็นพระราชินีได้
    ดังนั้น..พระองค์ก็จะทำทุกอย่างด้วยองค์เอง เป็นไรก็เป็นกัน..

    นี่คือจุดเริ่มต้นของความบาดหมางระหว่างแม่ผัวและลูกสะใภ้แห่งโรมานอฟ

 

    เสียงซุบซิบชองเหล่าคุณพนักงานได้กระจายออกไปในทุกหมู่พระตำหนัก
    บิลค่าฉลองพระองค์ของซารินาจากห้องเสื้อ Worth และ Paquin นั้นจำนวนมหาศาลน่าตกใจ (แต่ก็ยังน้อยกว่าพระนางมารีมากมายนัก)

    พระนางมาเรีย ปาฟลอฟนา (Maria Pavlovna หรือ Michen
    พระชายาของท่านอาวลาดิเมียร์) เป็นคนที่ตรัสตรงไปตรงมา ถึงกับเตือน
    อลิกซ์ว่า..ฉลองพระองค์ของซารินาแพง และมีราคาก็จริง หากแต่นำมาประกอบกันอย่างขาดรสนิยม..เลยดูเป็นการสิ้นเปลืองโดยใช่เหตุ"

    รอยร้าวนั้นมันไม่ได้อยู่เรื่องค่าใช้จ่ายของซารินาเพียงอย่างเดียว
    หากแต่มีการโหมกระพือใส่ไฟรายวันจากฝูงชาวคุณข้างในที่ลือกันไปต่างๆ
    นาๆ เช่น..
    ถ้าวันไหนเธอไม่ค่อยสบาย...ต้องนอนพัก
    ก็จะลือกันว่า..ถูกพระนางมารีตำหนิจนป่วย..
    ถ้าวันไหนเธอดูดี สดใส มีความสุข
    ก็จะลือกันว่า..ได้แก้แค้น เอาคืนไปแล้วละซิ..
    ถ้าวันไหนเธอเงียบขรึมไป
    ก็จะลือกันว่า..เจ้าคิดเจ้าแค้นนักนะ
    ถ้าวันไหน เธอต้องการพระกระยาหารเช้าแบบอังกฤษ เช่น ใข่ดาว หมูแฮม
    ก็จะค่อนขอดว่า..เกลียดและดูถูกอาหารรัสเซีย
    ถ้าวันไหนเจ้าสุนัขพันธ์เทอเรียของเธอไปงับส้นพระบาทใครเข้า..
    ไม่มีใครตำหนิสุนัข..หากแต่ว่า พากันหันมาที่เธอ และลงความเห็นว่า เพราะเจ้าของมันไม่ดี ไม่รู้จักอบรม..

    จนอลิกซ์รู้สึกว่าสมองช่างตึงเครียดจนแทบจะขาดผึงอยู่รอมร่อ..
    จึง ได้ขอพระสวามี ขอให้พาเธอออกไปพักผ่อนนอกเมืองอย่างเงียบๆสักอาทิตย์หนึ่ง..เป้าหมายคือ พระราชวัง Tsarskoe Selo ที่อยู่ทางทิศใต้ของเซนต์ ปีเตอร์สเบอร์กไปประมาณยี่สิบกว่าไมล์..


    ภาพพระราชวัง Tsarskoe Selo อันเป็นที่ประสูติของซาร์ นิโคลาสด้วย   

    

    การแปรพระราชฐานในครั้งนี้ นอกจากจะขอเวลานอกให้สลัดหลุดไปจากอำนาจพระนางมารีแล้ว..อลิกซ์ได้ตั้ง พระทัยไว้ว่า จะขอใช้เวลาหนึ่งอาทิตย์นี้เพื่อรวบรวมความกล้าทั้งหมดให้มีพลัง..เพื่อที่ จะกลับไปปฏิวัติตัวเองใหม่
    จะไม่ยอมอยู่เป็นเบี้ยล่างของใครอีกต่อไป..

    หลังจากที่รวบรวมความกล้านั้นได้ตามความตั้งใจแล้ว..เพียงสองวันแรกที่
    กลับมา..มาร์ธาได้บันทึกไว้ว่า..
    "ซารินาเปลี่ยนไปมาก..ท่าทางเอาจริงขึ้นมาเยอะ ไม่สงบเงียบอย่างแต่ก่อน"
    สิ่งที่เปลี่ยนไปอย่างกระทันหัน นั่นคือ ซารินาได้เรียกมาร์ธาเข้าพบ
    และบัญชาว่า..
    "ฟังให้ดีนะ จากนี้ต่อไป ทุกคนจะต้องปฏิบัติตามกฏที่ฉันวางไว้..คือ หนึ่ง
    ห้ามนำเรื่องของฉัน และทุกเรื่องในที่นี้ออกพูดไปข้างนอกอีก"
    เมื่อมาร์ธาพยายามจะแก้ตัว..ซารินาได้สั่งให้หยุด..เพราะบอกต่อว่า
    "ข้อสอง..ห้ามเถียง หรือ พูดขึ้นมา ถ้าฉันยังไม่ได้อนุญาต"

    มาร์ ธาถึงกับมึนงงต่อความเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญครั้งนี้ ประหนึ่งจากลูกนกที่กลายเป็นพญาอินทรีย์ในช่วงเวลาแค่อาทิตย์เดียวที่จากไป และกังวลว่า
    ถ้าเมื่อไหร่ คนอื่นๆได้รู้เข้าก็คงจะเป็น"ข่าวใหญ่" อีกแน่นอน

    ซา รินาเองก็ทรงทราบเช่นกันว่า การเปลี่ยนในครั้งนี้จะต้องมีผลกระทบอย่างหนักหนาสาหัส แต่จะทำอย่างไรได้ ในเมื่อพระสวามีช่วยอะไรเธอไม่ได้
    ก็จำเป็นที่ต้องทำตัวให้กล้าหาญและแข็งแรงกว่าเดิมเป็นสองเท่า

    แต่ เรื่องนี้ มิใช่ว่าซาร์จะไม่ใส่พระทัย ช่วยเหลือ หากแต่พระองค์เองก็ทรงมีปัญหาที่แทบจะเอาองค์ไม่รอด นั่นคือ การว่าราชการงานแผ่นดินกับเหล่าเสนาบดีและประชาชนในภาคต่างๆ ที่สำคัญคือการแสดงสุนทรพจน์ในวาระต่างๆ อันหมายถึงการแสดงบารมี ที่ซาร์เองไม่เคยมีความมั่นพระทัยในตัวเอง รวมไปถึงการโต้ตอบกับเหล่าเสนาบดีที่พระองค์รู้ดีว่า จะต้องถูกซักถามจนเข้าตาจนอย่างแน่นอน

    จากบันทึกของเสนาบดี..ที่มีว่า
    "ซาร์คนใหม่มีสภาพอะไรไม่ต่างกับตัวสฟิงซ์ ไม่มีบุคลิกของผู้นำ ไม่เคยทำงานส่วนรวม ส่วนงานสังคมก็อ่อนหัดจนน่าสงสาร"

    มัน ก็จริงตามนั้น..เพราะซาร์พระองค์นี้ไม่เคยออกงาน หรือออกพบปะกับใครๆ เนื่องจากตั้งแต่เด็กมา โชคไม่ดีที่บ้านเมืองในสมัยพระอัยกีเต็มไปด้วยความขัดแย้งและผู้ก่อการร้าย จนต้องสวรรคตไปเพราะการลอบสังหาร
    ฉากที่โหดร้ายนั้น ซาร์ได้เป็นพยานรู้เห็นทั้งหมด
    ดังนั้นการรักษาความปลอดภัยของพระองค์จึงเต็มพิกัด เสด็จไปไหนมาไหน
    ไม่ใช่เรื่องง่ายๆ


    นโยบายที่ซาร์จะต้องรับสานต่อนั้น ก็เป็นการสืบเนื่องราชการบริหารงานแผ่นดินมาจากพระบิดา ซาร์อเล็กซานเดอร์ที่สาม ที่ทรงเข้มแข็งและทรงเป็นศูนย์กลางทุกอย่าง ยิ่งทำให้ซาร์นิโคลาสยิ่งพระทัยฝ่อไปอีกหลายเท่า
    ไฉน..จะมีพระปรีชาไปเทียบได้เล่า..ไม่เคยเตรียมตัวหรือเตรียมใจมาก่อน
    ใครจะนึกว่า พระบิดาจะสวรรคตไปเร็วเพียงนี้ พระชนมายุแค่สี่สิบเก้าเอง..

    คนที่ซาร์พอหวังพึ่งได้นั่นคือ พระอาจารย์ที่สอนกฏหมาย คอนสแตนติน
    โปเบโดนอสต์เซฟ ( Constantine Pobedonostsev) อันเป็นหัวหน้าคณะ Synod (หมายถึงกลุ่มพระเถระผู้ใหญ่ของนิกายออโธดอกซ์) ด้วย
    พระ เถระผู้นี้ ยึดมั่นในระบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์อย่างเด็ดขาด เนื่องจากในรัสเซียช่วงนั้นเริ่มมีผู้เรียกร้องขอการเมืองใหม่ นั่นคือ ให้ซาร์ลดบทบาทในการบริหารแผ่นดินลงมาบ้าง
    แต่..เป็นเพราะซาร์อเล็กซานเดอร์ที่สามทรงเด็ดเดี่ยวและทรงพระปรีชาสามารถจึงได้บริหารจัดการในระบบ"เจ้าองค์เดียว"ได้
    แต่..ข้อเรียกร้องนี้กำลังจะมีกระแสกลับมาใหม่ เพราะประชาชนเหลืออด
    กับการขูดรีดภาษี ทั้งๆที่ปีก่อนๆนั้นเกิดข้าวยากหมากแพง ตามด้วยโรคระบาดซบเซากันมาตลอดสี่ปีที่ผ่านมา
    ถึงแม้ว่าปีมหามงคลนี้ คือ 1894 พืชพันธ์ธัญญาหารจะให้ผลผลิตดีกว่าเก่า
    แต่ประชาชนต้องการความหวังสำหรับการเป็นอยู่ที่ดีขึ้น
    จึงรวมตัวกันถวายฏีกา...ขอในพระกรุณาให้ช่วยเรื่องภาษี ที่ทำกิน..และการขายผลผลิตในราคาที่เหมาะสม

    ซาร์มีความจำเป็นที่จะต้องให้คำตอบกับประชาชน..คำตอบนั้นถูกร่างโดยพระอาจารย์คอนสแตนติน ซึ่งซาร์ได้เหน็บมันไว้ที่พระมาลา..
    เมื่อเวลาสำคัญมาถึง พระองค์ได้ดึงกระดาษโพยสำคัญนั้นออกมาอ่าน..
    ข้อความดังนี้ว่า..

    " เราขอยืนยันต่อท่านว่า เราจะดำรงนโยบายเก่าๆของเสด็จพ่อให้ลุล่วงไปด้วยดี เพื่อเป็นการเถลิงไว้ซึ่งพระเกียรติยศที่ยากแก่การลืมเลือน..อะไรที่ไม่ใช่ เพราะไม่เคยทรงปฏิบัติ ในยามนี้ขอให้ถือว่าเป็นนโยบายที่นอกคอก
    เป็นความฝันที่ไร้สติ"

    ทุกคนที่ได้ฟังอ้าปากค้าง..แทบไม่เชื่อหูตัวเองว่าซาร์ของเขาจะตัดรอนประชาชนของตัวเองได้อย่างเลือดเย็นปานนั้น
    เสียง ฮือฮาด้วยความผิดหวังดังกระหึ่มไปทั่ว..และได้กระจายออกไปเป็นวงกว้างอย่าง รวดเร็ว..เสียงนั้นเต็มไปด้วยความเจ็บปวด ชาวรัสเชี่ยนเชื่อกันว่า
    ซาร์คนใหม่ของเขานั้น ใจดำ ใจร้าย ไม่ดูดำดูดีกับความเดือดร้อนของประชาชนคนยากคนจนเลย..

    แต่.. เบื้องหลังของสุนทรพจน์ในวันนั้น คือ พระอาจารย์คอนสแตนตินได้เขียนไว้ในประโยคสุดท้ายว่า.."ในยามนี้ขอให้ถือว่า เป็นนโยบายที่นอกเหนือกว่าที่เราจะฝันถึง"
    แต่..ซาร์ประหม่าเกินไป..ไม่ได้ตรองให้ถ้วนถี่ก่อนตรัสกับประชาชน..
    ผลสะท้อนในด้านลบจึงประดังไปที่พระองค์แบบเต็มๆ


    สงครามจิตวิทยาระหว่างแม่ผัวและลูกสะใภ้ได้เปิดฉากขึ้น เมื่อซารินาในฐานะหัวเดียวกระเทียมลีบ มาอยู่ในบ้านเมืองของเขา ไม่มีพวกไม่มีพ้อง
    เธอจึงใช้ความสามารถส่วนตัวให้เป็นประโยชน์ นั่นคือ การวาดการ์ตูนล้อเลียน ใครต่อใครที่ไม่ทรงโปรด เช่น การทำภาพพระสวามีเป็นเด็กน้อย ที่มีแม่คอยไล่ป้อนพระกระยาหาร
    ภาพนั้น สร้างความตื่นตะลึงให้กับผู้พบเห็น เพราะไม่คิดว่าจะมีใครกล้าบังอาจ และยิ่งตกใจกันเข้าไปใหญ่เมื่อทราบว่า ผู้วาดนั้นคือใคร..

    มาร์ธาได้ เตือนสติให้ทรงทราบว่า..อย่าสนุกนักเลยเพคะ เพราะภัยนั้นจะมาถึงตัวเมื่อไหร่ก็ไม่ทราบได้ อีกทั้งการนำพระสวามีมาล้อเล่นเช่นนั้น มิเป็นการบังควร ผู้คนจะติฉินเอาได้
    แต่ซารินาหาฟังไม่..กลับวาดภาพล้อต่อไปอย่างสนุกมือ ไม่ว่าจะเป็น
    ท่านอาวลาดิเมียร์ เจ้าหญิงมาเรีย (มิเช่น) พระชายา พระนางมารี
    หรือเหล่านายทหารชั้นผู้ใหญ่ที่ไม่ถูกชะตา..
    เพราะ..คนที่ดูแล้วขำ ก็มีอยู่คนเดียว คือพระสวามี..
    นอกนั้น..ต่างเป็นเดือดเป็นแค้น..ที่ตัวเองกลายเป็นตัวตลกให้คนหัวเราะ

    คืนวันหนึ่ง..ที่ซาร์และซารินาเสด็จไปในงานเลี้ยงของกรมทหารฮัสซาร์ที่ได้จัด ขึ้น มีคนนำความไปทูลพระนางมารีว่า ซารินาได้ตรัสกับซาร์ในทำนองสั่งว่า "นี่พ่อหนู ถึงเวลาที่เราต้องกลับบ้านไปนอนกันแล้วนะ"
    (ความจริงมันเป็นคำพูดธรรมดาแบบพี่เลี้ยงชาวอังกฤษที่มักพูดกับเด็กๆ)
    แต่..เมื่อพระนางมารีได้ทรงสดับดังนั้น..ถึงกับกลั้นพระอารมณ์ไม่อยู่
    สั่งให้ซารืนามาพบในวันรุ่งขึ้นทันที และพระองค์ได้สั่งสอนเทศนาชุดใหญ่
    พร้อมทั้งมีพระบัญชาว่า..ต่อไปจะต้องเรียกขานซาร์ ว่า.."Sir" หรือ "Your Majesty" เท่านั้น..

    อลิกซ์กลับมาด้วยความคั่งแค้น..เพราะนี่มันเป็นเรื่องของผัวๆเมียๆ
    ใครจะเรียกอะไรกันก็ช่าง ตราบใดที่ผัวไม่บ่นหรือตำหนิแล้ว คนอื่นย่อมไม่มีหน้าที่มาตัดสิน..

    จากนั้นมา..ดูเหมือนว่า ความขัดแย้งระหว่างซารินากับทีมพระบรมวงศานุวงค์
    ชั้นผู้ใหญ่เริ่มแตกออกไปเป็นมากขึ้น..เกินกว่าที่จะประสานติดได้ดังเดิม


    ชาวฝ่ายในต่างมองเห็นกันเป็นจุดเดียวว่า นอกจากจะเป็นเจ้าหญิงจนๆต่างบ้านต่างเมืองมาแล้ว..ซารินายังบังอาจแข็งข้อ กับพระนางมารี โดยไม่ดูเลยว่า พระนางมารีนั้นคือนอกจากจะเป็นพระมารดาของซาร์แล้ว..ยังเป็นพระราชธิดาของ กษัตริย์แห่งเดนมาร์ก ไม่มีอะไรเทียบกันได้เลยแม้แต่นิด
    พระนางมารีเป็นหญิงสวยงาม อ่อนหวาน ยิ้มง่าย สังคมคล่อง..
    อลิกซ์ สวยดุ หน้าบึ้ง ไม่มีอารมณ์ขัน และ ไม่รู้จักการเข้าสังคมระดับงานบ้านงานเมือง

    แน่นอนว่า ซารินาไม่ค่อยโปรดการเข้าสังคมที่ว่านั่นนัก เพราะ ชาววังชั้นใน
    เล่นใช้กันแต่ภาษาฝรั่งเศสในการสื่อสารหลักประจำราชสำนัก ซึ่งซารินามีความรู้ในเรื่องภาษานี้น้อยเต็มที ถึงแม้จะพยายาม..แต่ก็กลายเป็นตัวตลกสำหรับคนอื่นๆ เพราะสำเนียงออกเข้มไปในทางเยอรมัน
    พระสวามีเคยช่วยสอนให้ โดยการอ่านหนังสือนิยายฝรั่งเศสให้ฟัง แต่ภาษาฝรั่งเศสที่มีสำบัดสำนวนจัดนั้น เกินความสามารถของเธอไปหลายขุม
    ในที่สุด..เธอก็เลิกความพยายามนั้น เพราะไหนๆการสื่อสารระหว่างเธอกับพระสวามี ก็ใช้ภาษาอังกฤษกันอยู่แล้ว..
    จะไปแคร์ทำไมกับภาษาอื่น..
    แต่.. ในเวลาเดียวกันนั้น ซารินาก็มิได้ท้อถอย หันมามุมานะศึกษาอ่านเขียนภาษารัสเซียอย่างเอาจริงเอาจัง..จนต่อมาไม่นาน สามารถอ่านหนังสือของ Tolstoy อวดพระสวามีได้
    แต่กระนั้นก็หาใช่ว่าจะมีคนเห็นความดี เพราะ
    ในหมู่พระราชวงค์นั้น ล้วนแต่เก่งกาจ เป็นชนชั้นระดับมันสมองหลายองค์
    อย่าง ท่านลุง Bembo (Grand Duke Nicholai Mikhaillovich ) เป็นนักวิชาการเชี่ยวชาญทางประวัติศาตร์การเมือง หรือ ท่านลุง KR (Grand Duke
    Konstantin) ที่เป็นผู้เชี่ยวชาญทางศิลปศาสตร์และภาษาศาสตร์
    และ..ท่านลุงทั้งสองนี้..ไม่โปรดซารินาอย่างออกหน้าออกตา..

    ใครจะว่าอย่างไรก็ตาม แต่นั่นคือลักษณะภายนอกของซารินาที่คนพบเห็น
    แต่ จริงๆแล้ว เหล่าข้าราชบริพารส่วนพระองค์ทราบดีว่า เธอเป็นคนใจดีมีเมตตา ทุกครั้งที่มีคนเจ็บป่วย หรือทุกข์ร้อนซารินาจะรีบเข้าดูแลและให้ความช่วยเหลืออย่างทันที

 
 
 

 
    เผอิญว่า..เหตุการณ์ที่เล่ามานี้ มันเกิดขึ้นแค่ไม่กี่เดือนหลังอภิเษก
    และ คงไม่ทันที่พี่น้องสองสาวจะได้รวมตัวกัน..สิ่งที่บ่งบอกว่าวาระแห่งความมงคล ได้ฉายแววขึ้น..นั่นคือเริ่มเข้าช่วงกลางเดือนมกราคม (1895) ซารินามีอาการแพ้ในตอนเช้าๆ..ประชวรพระวาโยครั้งหนึ่งที่ทำให้ทุกคนตกอกตกใจ กันไปหมด..แพทย์ได้เข้าถวายการตรวจรักษา พบว่า..ซารินากำลังทรงครรภ์

    ใครต่อใครเริ่มเซ็งแซ่กันไปทั่วว่า...สวรรค์กำลังจะประทานรัชทายาทองค์ต่อไปให้กับรัสเซีย..

    ทุกอย่าง ที่กำลังตึงเครียดก็คลายตัวลงไปราวอัตโนมัติ คำติฉินนินทาว่าลับหลังได้แผ่วหายไป..แถมของขวัญที่พระนางมารีที่เสนอให้มา นั้นถูกใจนักหนา นั่นคือ พระตำหนัก Alexander ในพระราชวัง Tsarskoe Selo ที่ใหญ่โตสวยงาม มีห้องหับมากมายนับร้อยๆห้อง..แถมด้วยเฟอร์นิเจอร์ชั้นดีจากอังกฤษไม่อั้น โดยตามพระทัยซารินาพระสุณิสาให้เลือกสั่งเอาเอง..
    เพราะเป็นความประสงค์ของซารินาด้วย ที่ต้องการจัดแต่งสถานที่ประทับ
    ใหม่ให้เหมือนกันพระราชวังวินด์เซอร์ของสมเด็จพระอัยกา

    อลิกซ์ตื่นเต้นมากในการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ เพราะการที่ได้ย้ายที่อยู่ใหม่
    นั่น เท่ากับเป็นการตัดปัญหาเรื่องการขัดแย้งไปกลายๆ ไม่ต้องมีพวกสายลับพวกปากหอยปากปู หรือพวกช่างฟ้องมาคอยติดตามสอดส่องอีกต่อไป
    เธอจึงใช้เวลาว่างๆในแต่ละวัน ตัดเย็บเสื้อผ้า เตรียมเครื่องใช้เด็กอ่อน
    ด้วยความสุข

    ตามที่ว่ามาว่า แพทย์ได้มีวินิจฉัยตั้งแต่เมื่อกลางเดือนมกราคม นั่นหมายว่ากำหนดคลอด ต้องเป็นเดือนตุลาคม หากแต่เริ่มเข้าพฤศจิกายนเข้าไปแล้ว
    ซารินายังไม่มีอาการเจ็บพระครรภ์เสียที..
    ทุกคนเริ่มนับวัน..พร้อมกับการซุบซิบที่กำลังจะเริ่มขึ้นมาอีก..


    ภาพพระตำหนัก Alexander ใน เขตพระราชฐาน Tsarskoe Selo (ซาร์สโก
    เซโล แปลว่า เมืองแห่งซาร์)

    จาก ในภาพ จะเห็นว่าทรุดโทรมมาก..แต่รัสเซียเพิ่งมีนโยบายที่จะทุ่มทุนมหาศาล ปรับปรุงใหม่ให้หรูหราเช่นเดิม โดยเริ่มมาเมื่อปี 2009 นี้ละค่ะ


    ถ้าถามถึงเหตุผล..ว่าทำไมเพิ่งมาคิดทำตอนนี้..หลังจากเวลาผ่านมาเกือบร้อยปีเข้านี่แล้ว..

    คำตอบ..จะเล่าให้ฟังในตอนจบของเรื่อง และขอแย้มว่า..รัฐบาลยอมลงทุนในเรื่องอื่นอีกด้วย..

 


 

    เมื่อพระประสูติกาลที่ทุกคนตั้งหน้า ตั้งตาคอย กลับเงียบหาย เงียบหาย
    เสียงติฉินก็เกิดขึ้นอีก คราวนี้ ข่าวลือได้สะพัดออกมาว่า
    บางคนก็ว่า..ไม่ได้ท้องจริงละม้างงง...
    บางคนก็ว่า..ท้องจิง..จิ๊งงง..แต่คลอดเองไม่ได้ เห็นว่าจะต้องผ่าเอา"พระโอรส" ออก..

    ข่าวที่ออกมา..ไม่ว่าจะใส่สีตีใข่อย่างไรก็ตาม..ทุกคนเชื่อว่า..พระหน่อในครรภ์ซารินานั้นจะต้องเป็นพระโอรสอย่างแน่นอน

    ที่ พระราชวัง..ทีมแพทย์ได้เตรียมพร้อม เข้ามาปักหลักพักค้างกันเป็นเรื่องเป็นราว ทุกคนเป็นกังวลว่า เวลาที่เนิ่นนานออกมา ทารกจะมีขนาดใหญ่ขึ้น
    ซารินาคงจะคลอดยาก เพราะเป็นคนที่มีรูปร่างสูงโปร่ง กระดูกเชิงกรานออกแคบกว่าปรกติ

    ในเช้ามืดของวันที่ 15 พฤศจิกายน 1895 อลิกซ์เริ่มมีอาการเจ็บเตือน และถี่ขึ้น เจ็บมากขึ้นจนต้องนอนนิ่งๆ..
    ซาร์บันทึกไว้ในช่วงนี้ว่า.." เสียดายจริง ที่เจ็บกันแทนไม่ได้.."

    เอลล่าได้เข้ามาอยู่ดูแล นั่งข้างพระที่อยู่ตลอดเวลา ทีมแพทย์และพยาบาลต่างผลัดกันเข้ามาตรวจอาการเป็นระยะ
    บ่าย สองโมง..พระนางมารีเสด็จเข้ามาดูอาการ แต่ตอนนั้นอลิกซ์ได้ทนทรมานมากว่าสิบชั่วโมงแล้ว..ปวดร้าวไปหมดทั้งตัว เป็นความเจ็บปวดที่ไม่เคยพานพบมาก่อน
    หลายชั่วโมงต่อมา..หัวหน้าทีมแพทย์ Dr. Ott เห็นว่าอาจจะต้องใช้เครื่องคีบทารก เพราะเด็กตัวใหญ่จริงตามคาด
    แต่พอเวลาสามทุ่ม..ตามบันทึกของซาร์ ที่มีว่า..
    "เสียงเด็กร้องจ้าออกมาจากห้องคลอด โอย..โล่งใจจริงๆที่การรอคอยสุดแสนทรมานได้จบลง มีแต่ความปิติยินดีเข้ามาแทนที่"

    ทีม แพทย์ก็พากันถอยหายใจแบบโล่งอก ซารินานอนแบบสิ้นเรี่ยวแรงแต่ก็เต็มตื้น ข้าราชบริพารก็รีบนำข่าวไปส่งให้กับทหารพลปืนใหญ่ที่ค่าย Peter and Paul เมื่อข่าวนั้นไปถึง ทุกคนมีสีหน้าไม่ค่อยดี..
    ประชาชนชาวเซนต์ปีเตอร์สเบอร์ก ต่างก็เงี่ยหูฟังและคอยนับจำนวนกระสุน..ว่า..จะเป็นกี่นัด..ทุกคนหวังว่าจะเป็นสามร้อยนัด

    ผลคือ..ไม่ต้องนับกันนาน..เพราะสลุตนั้นมีเพียง หนึ่งร้อยหนึ่งนัด..อันหมายถึงว่าเป็นพระธิดา เมื่อสิ้นเสียงสลุต..ทุกถนนในเมืองเซนต์ ปีเตอร์สเบอร์ก ก็ตกอยู่ในความเงียบเหงาเศร้าสร้อย มัวซัว เช่นเดียวกับความรู้สึกของประชาชน

   

    พระธิดาองค์น้อย มีพระนามว่า Olga ที่ซาร์และซารินาทรงเลี้ยงดู ประคบประหงมด้วยองค์เอง แต่พอเมื่อมีพระชนมายุได้หกเดือน หน้าที่ของการถวายพระอภิบาลนั้น ได้ถูกเปลี่ยนไปให้กับ พระพี่เลี้ยงจากอังกฤษที่สมเด็จพระนางเจ้าวิคตอเรียจัดการส่งประทานมาให้
    ซาร์แอบทำพระพักต์ย่นบ่อย เพราะ ไม่ทรงโปรดพระพี่เลี้ยงคนนี้เท่าไรนัก
    ทรงว่า..หน้าตาไม่เป็นมิตรเอาซะเลย..เคร่งครัดจนน่าเบื่อ..
    สมเด็จพระนางเจ้าฯ ทรงเตือนมาบ่อยๆว่า "อย่าเห่อลูกนักเลย..พวกเธอน่ะ"
    เพราะ ทรงทราบว่า พ่อแม่มือใหม่ทั้งสองนี้ใช้เวลาส่วนใหญ่ขลุกอยู่กับพระธิดาจนเกินเหตุ แม้กระทั่งการให้พระกษิรธารา อลิกซ์ก็ป้อนตั้งแต่ประสูติจนชันษาหกเดือน หรือ การลงสรง..ที่ซาร์ถือเอาเป็นภาระและหน้าที่ส่วนพระองค์
    นี่คือสาเหตุที่พระองค์ต้องส่งพระพี่เลี้ยงให้เข้ามาดูแลเป็นการด่วน


    ภาพ..พระธิดา ออลกา    

 
    ปีรุ่งขึ้นต่อมา..ในเดือนพฤษภาคม..เป็นเดือนที่เริ่มมี อากาศสดใส อบอุ่น ถนนหนทางเริ่มประดับธงริ้ว..เสียงคนงานที่กำลังตกแต่ง ตอกโน่น เคาะนี่ สลับกับเสียงระฆังประจำเมืองที่หง่างเหง่งดังกังวานมาเป็นระยะ
    อันเป็นความหมายของพิธีมหามงคลงานใหญ่ที่กำลังจะมีขึ้นในไม่นานนี้
    นั่นคือ พิธีราชาภิเษกที่จะจัดขึ้นที่สวนชายเมืองมอสควา ชื่อว่า Khodynka Field
    พิธี สมโภชนี้จะจัดขึ้นกลางแจ้ง..ที่ประชาชนสามารถมาร่วมชมได้ในวงนอก เนื่องจากพระอุทธยาน โคดิงกา นี้ มีภูมิประเทศที่เหมาะสม เพราะมีร่องคูน้ำล้อมไว้ สามารถเอาที่กั้นมาวางตามขอบคู เป็นการกันคนไว้ได้ในชั้นหนึ่ง..
    เพราะรัฐบาลเชื่อว่า..ประชาชนต้องแห่แหนกันมารอชมพระราชพิธีนี้อย่างล้นหลาม..
    เนื่อง จาก..จะมีการทำโรงทานเลี้ยงเบียร์และอาหารให้กับประชาชนแบบบุฟเฟ่ต์..นอก เหนือจากนั้นมีการแจกของชำร่วยให้ติดไม้ติดมือกลับบ้านเอาไปเป็นที่ระลึก ด้วย..
    ข่าวนี้ได้สร้างความปิติให้กับชาวบ้านชาวเมืองทุกหัวระแหง..ทุกคนหมายมั่นปั้นมือที่จะต้องมาร่วมงานให้ได้..

    ซารินาเตรียมตัวเต็มที่...เพราะต้องเตรียมเครื่องแต่งองค์หลายชุด เพราะพระราชพิธีนี้จะต้องใช้เวลาเฉลิมฉลองติดต่อกันนานหลายวัน เหล่าพระราชวงค์รวมทั้งคณะทูตานุทูตจากทุกประเทศได้เดินทางมาร่วมกันอย่าง พร้อมเพรียง..

    แต่ในช่วงของการวุ่นๆนี้..ซารินารู้สึกผิดปรกติในตัว เองอีกครั้ง..นั่นคือการวิงเวียน คลื่นเหียนในตอนเช้า..แต่ครั้งนี้ เธอได้บอกกับตัวเองว่า จะไม่ให้ข่าวเอิกเกริกไปอย่างคราวที่แล้ว จะรอจนกว่าพระราชพิธีที่สำคัญนี้จะลุล่วงไป..
    ซึ่งไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะพิธีสมโภชน์นั้นยาวนานนัก เริ่มจาก
    การเลี้ยงพระกระยาหารเช้าให้กับแขกกว่าสองร้อยคน
    ต่อด้วยการรับรองแขกจากประเทศต่างที่ต้องเที่ยวพาชมการแสดงต่างๆ
    เริ่ม จาก วงออร์เคสตรา และ ชมบัลเลต์ The Pearl จากคณะบอลชอย ที่ ดาราดวงเด่นนำแสดงคือ Matilda Kchessinsky "กิ๊กเก่า" ของซาร์นั่นเอง..


    บรรยากาศในวันนั้น..ช่างน่าปลื้มใจ เสียงประชาชนโห่ร้องถวายพระพรดังกระหึ่มไปทั้งเมือง วงดนตรีวงใหญ่เล่นเพลงสดุดี ต่อด้วยเพลงชาติ..
    ที่ผู้คนต่างเปล่งเสียงร้องตามด้วยจิตใจที่อิ่มเอิบเทิดทูน

    แต่ ในอีกด้านหนึ่งเซนต์ ปีเตอร์สเบอร์กที่ยาวต่อไปถึงมอสควา..ก็เกิดภาพที่ไม่น่าดูขึ้นมาอีกภาพ หนึ่ง นั่นคือ กรรมกรในโรงงานพากันก่อหวอด สไตรค์ ไม่ยอมเข้าทำงาน จนกว่านายจ้างจะมาเจรจาด้วย พวกเขาขอลดเวลาทำงานให้เหลือเพียงวันละสิบชั่วโมงครึ่ง..(จากสิบห้าสิบหก ชั่วโมง)
    ซึ่งรัฐบาลก็กลัวว่า การก่อหวอดนี้จะลามมาถึงพระราชพิธี..จึงเริ่มอ่อนข้อให้
    ด้วยการปากพล่อย รับปากบอกไปว่าจะให้โน่นให้นี่..แจกเงิน ลดภาษี อภัยโทษผู้ถูกคุมขัง..

    คำต่อรองนี้ พอสยบชาวกรรมกรไปได้บ้าง..แต่ทุกคนก็ยังไม่เชื่อใจนัก
    แต่ก็พากันเข้ามาชมพระราชพิธีด้วยความหวังว่าจะได้ลิ้มรสอาหารดีๆ และ ดื่มเบียร์ ให้สมใจอยาก..และยกโขยงพากันมาทั้งหมู่บ้าน..

    ทุกคนได้เห็นขบวนยาตราของซาร์ที่ประทับมาในรถม้าพระที่นั่ง ตามด้วย
    ขบวน ของซารินา และ ต่อด้วยพระนางมารีพระมารดา ขบวนรถม้าพระที่นั่งทุกคันจะทิ้งระยะห่างพอสมควร ที่สามารถประเมินความป๊อบปูล่าร์ได้จากเสียงถวายพระพรจากประชาชน ซาร์นั้นไม่ต้องสงสัย..เซ็งแซ่
    แต่พอมาถึงซารินา..เสียงนั้นเงียบกริบ..
    มาดังอีกที ก็เมื่อขบวนของพระนางมารีเสด็จผ่าน..

    ซารินารู้สึกน้อยพระทัย กรรแสงออกมาเบาๆ..อย่างห้ามไม่อยู่



    เชิญชมพระราชพิธีส่วนหนึ่งที่นี่ค่ะ...


    http://www.youtube.com/watch?v=2b-Cfe7fPok

   
    นี่คือเหตุผลที่ต้องเล่าให้ฟัง เพื่อที่ผู้อ่านจะนำไปเปรียบเทียบเองแล้วจะได้ทราบว่า กงกรรม กงเกวียน นั้นมีจริง
    ส่วนที่บางท่านได้ถามถึงเรื่องการปรับตัวของราชสำนักนั้น เป็นไปไม่ได้หรอกค่ะ เพราะ

    ประการ ที่หนึ่ง..เริ่มจากเหล่าพระประยูรญาติของซาร์นั้นมีมาก แต่ละองค์ล้วนกุมอำนาจในด้านใดด้านหนึ่ง กระจายหน้าที่กันไป..จริงค่ะที่ซารินาไม่โปรดคนในมอสควาและเซนต์ ปีเตอร์เบอร์ก เพราะ เล่ามาแล้วว่า ชาวเมืองที่นี่อยู่ใกล้วัง รู้ข่าวซุบซิบเกี่ยวกับพระองค์ในด้านลบจากพวกปากหอยปากปูก่อนใครเพื่อน และ เห็นว่าซารินาคือนางต่างเมืองที่มีหน้าที่จะต้องผลิตพระโอรสให้กับรัสเซีย.. แต่..ไฉน..


    ประการที่สอง ซาร์เอง..เป็นคนอ่อน..ประนีประนอม ขี้เกรงใจ..เด็ดขาดไม่เป็น(ด้วยตัวเอง)

    ประการ ที่สาม ที่สำคัญสุด คือ การที่ไม่มีรัชทายาท(รอนานตั้งเกือบสิบปี)..ทำให้กระแสการเมืองไม่แน่นอน เพราะตำแหน่งมกุฏราชกุมารนั้น ตกไปอยู่ที่พระอนุชาจอร์จิ
    และ เมื่อแกรนด์ ดุ๊ค จอร์จิ สวรรคตไปก่อนด้วยวัณโรค ตำแหน่งจึงตกมาที่พระอนุชามิเกล ซึ่งทุกคนไม่รู้ว่าอะไรจะเกิดขึ้นต่อใคร ใครจะมาเป็นซาร์ ทำให้มีการสั่นคลอน
    อีกทั้ง..ซาร์นิโคลาสได้ดำเนิน นโยบายผิดพลาดในการปกครองประเทศ จนทำให้บ้านเมืองต้องอับอายต่อชาวโลก อีกทั้งต้องสูญเสียชีวิตของทหารและประชาชนจำนวนนับแสนๆ

    คร่าวๆแค่นี้นะคะ เดี๋ยวจะสปอยล์ไปก่อน
    
 
 
 
 

    สิ่งที่ซารินาได้รับจากชาวเมืองนั้น มันช่างบีบคั้นเสียจริงๆ
    ไม่ เคยมีใครเห็นความพยายามของเธอ ทั้งในเรื่องการตั้งใจเรียนภาษารัสเซีย หรือ การที่จะพยายามเข้าถึงประชาชน แต่ไม่เคยมีโอกาส..ไม่มีผู้ชักนำ
    หรือเป็นพี่เลี้ยงในเรื่องนี้ให้ (ซึ่งน่าจะเป็นพระนางมารี)

    ในวันพระราชพิธี..แต่เช้าตรู่เสียงปืนใหญ่สลับเสียงระฆังดังขึ้นเป็นการเอา ฤกษ์เอาชัย เหล่าเสนาบดีรวมทั้งคณะทู๖จากประเทศต่างๆได้ทะยอยกันไปที่พระวิหารเพื่อเป็น สักขีพยานที่พระราชาคณะจะทำพิธีมอบมงกุฏและเครื่องอิสสริยาภรณ์ตามธรรมเนียม ประเพณีให้แก่ซาร์
    อลิกซ์ยอมอดทน กล้ำกลืนอาการวิงเวียนไว้อย่างเต็มที่ เพราะเธอจะต้องรับมอบมงกุฏซารินาจากพระสวามีหลังจากนั้น..

    เมื่อ เวลาของเธอมาถึง ขณะที่กำลังย่อเข่าเพื่อรอรับมงกุฏ..สายตาได้เหลือบไปเห็นว่าสายสร้อยเพชร ที่พาดพระอังสะพระสวามีอยู่นั้นไหลเลื่อนหลุดมากองกับพื้น ..ทุกคนที่เห็นรู้สึกใจหายแว๊บ..เพราะนั่นโบราณถือว่าเป็นลางร้าย
    บอกเหตุ
    พิธีทางศาสนาในพระวิหารได้กินเวลายาวนานถึงห้าชั่วโมง..กว่าจะ
    ได้เวลาพระกระยาหารกลางวันที่จัดไว้อย่างมากมายมโหฬาร
    ต่อด้วยดินเนอร์..กว่าจะเสร็จก็ค่ำมืดดึกดื่น..

    สามวันหลังจากนั้นก็ถึงคิวเลี้ยงประชาชนที่โฆษณาไว้ล่วงหน้าหลายวันก่อน
    ใน คืนก่อนจะถึงวันนั้น ประชาชนได้หลั่งไหลเข้าเมืองจากทุกสารทิศ..จำนวนนับหมื่นๆ ทุกคนต่างอยากที่จะได้มีโอกาสลิ้มรสอาหารจากพระราชวังสักครั้งในชีวิต พร้อมทั้งของชำร่วย อันเป็นเหยือกกระเบื้องสีชมพู มีพระฉายาลักษณ์ของซาร์และซารินา บนตราประจำพระองค์ อีกทั้ง เขียนว่า
    "In memory of the Holy Coronation"
    คำป่าวประกาศโฆษณาที่กระจายออกไปนั้นมีว่า มีเบียร์และอาหารแจกไม่อั้น..พร้อมกับการแสดงมหรสพหลายชนิด

    ผู้คนจึงต่างพากันมาด้วยความหวัง..เมื่อเวลาเลี้ยงได้ใกล้เข้ามา..
    เสียงข่าวลือก็มีว่า อาหารอาจไม่พอ จึงจะมีการปล่อยให้เข้าได้แค่ไหนก็แค่นั้น..มาก่อนเข้าก่อน..
    ทำ ให้ประชาชนที่รอนแรมกันมาเริ่มผลักดันกันไปข้างหน้าเพื่อจะได้เป็นพวกที่มา ก่อน กระแสคลื่นมหาชนนับหมื่นๆนั้น ไม่มีอะไรจะมาตรึงหรือต้านได้
    การที่จะเข้าไปสู่อุทยาน Khodynka ได้นั้น..ต้องข้ามร่องคูที่เป็นโคลนแฉะๆกันไป
    หากแต่การผลักและถาโถมจากข้างหลัง..คนข้างหน้าที่ล้มลงไป ไม่มีโอกาสลุกขึ้นมาได้ ทำให้เกิดการเหยียบทับกัน..ตายอย่างทารุณ

    นี่คือ ภาพโศกนาฏกรรมเฉลิมฉลองพิธีราชาภิเษกด้วยเลือดและน้ำตาของประชาชน
    ผลคือ..มีการบาดเจ็บล้มตายกันนับพัน บาดเจ็บหลายพัน..

 

 


    

    เสียงร่ำไห้ของประชาชน พร้อมทั้งการสาบแช่งก็ตามมา แต่ผู้ที่ถูกสาบแช่งนั้น หาใช่ซาร์ไม่ (ในชั้นแรก) เพราะทุกคนเชื่อว่าซาร์มิได้ทรงทราบในเรื่องนี้ คนที่ทำหน้าที่ดูแลต่างหากที่สมควรต้องรับผิดชอบ

    จริงอยู่..ที่ซาร์ไม่ได้ทรงทราบ..เพราะหลังจากเหตุการณ์นั้น ผู้ที่มีหน้าที่ดูแล
    แม่ทัพนายกองทั้งหลาย ต่างช่วยกันหมกเม็ดโดยการรีบหาเกวียนมาบรรทุกศพออกไปจากพื้นที่โดยเร็ว..นำไปส่งที่สุสาน
    แต่ เนื่องจากมีศพเป็นจำนวนมาก สุสานเต็ม..เขาก็นำร่างของผู้เคราะห์ร้ายไปทิ้งน้ำบ้าง เอาไปซุกในป่าบ้าง..เอาไปทุกที่ให้ไกลพระเนตรพระกรรณ
    พวกที่บาดเจ็บไม่มาก ต่างก็พากันเดินโขยกเขยกเดินทางกลับบ้านใครบ้านมัน

    เช้าของวันรุ่งขึ้น ข่าวนี้ได้แพร่สะพัดไปทั่วเมือง แม้แต่ในพระราชวัง
    ซาร์ได้รับทราบแล้วว่า ประชาชนของพระองค์ต้องมาล้มตายอย่างไม่ควรจะเป็น ที่จำนวนที่ได้รับรายงานนั้นน้อยกว่าจำนวนจริงมากมาย
    ซึ่ง ตามความเป็นจริง..พระองค์สมควรที่จะงดเสด็จงานรื่นเริงของโปรแกรมในค่ำคืน วันนั้นที่เจ้าภาพคือสถานทูตฝรั่งเศส เพื่อเป็นการไว้อาลัยให้กับเหล่าผู้เสียชีวิต..
    แต่ฝ่ายเสนาบดีใกล้ชิด ..เห็นว่าไม่สมควรงด เพราะจะทำให้สายสัมพันธ์กับฝรั่งเศสนั้นจะแหว่งๆวิ่นๆไป เพราะเตรียมการกันมานานเต็มที
    ในที่สุด..ก็ทรงเชื่อฝ่ายเสนาบดี..

    อลิกซ์ ก็ทราบข่าวนี้เช่นกัน เธอรู้สึกเสียใจ ในความเป็นจริง ซารินาสมควรที่จะงดงานทุกชนิด และต้องออกเยี่ยมประชาชนที่บาดเจ็บให้ทั่วถึง..
    แต่เธอไม่อาจทำอะไรที่ เกินหน้าพระสวามีได้ ..หรือถ้าเธอจะงดไปในงานของสถานทูตฝรั่งเศส ก็ยิ่งไม่เหมาะ เพราะจะกลายเป็นว่า เธอมีอคติต่อฝรั่งเศสเป็นส่วนตัว เพราะว่าเธอเป็นเยอรมัน


    ในงานคืนนั้น เมื่อซาร์และซารินาเสด็จถึงงาน ดนตรีได้บรรเลงเพลงชาติเป็นถวายการต้อนรับ พระองค์ได้ตรัสสุนทรพจน์และเลี่ยงไม่ตรัสถึงเรื่องการสูญเสียชีวิตของ ประชาชนเลย เหมือนกับว่าไม่มีอะไรเกิดขึ้น
    วันรุ่งขึ้นต่อมา..โปรแกรม ต่างๆก็ยังดำเนินไปตามปรกติ มีการประกวดขบวนแต่งรถสวยงาม มีงานรื่นเริงในอุทยานโคดิงกา ผู้คนออกมานั่งเล่น ชมการละเล่นอย่างสบายใจ
    แต่ อีกภาพหนึ่งที่ไม่ใกล้ไม่ไกลไปจากนั้น คือ พวกทหารพากันช่วยนำศพของผู้เคราะห์ร้ายที่เมื่อวันก่อนแอบเอาไปซุกตรงนั้น ตรงนี้ ขึ้นไปฌาปนกิจให้
    ส่วนขบวนพาเหรดประกวดรถสวยงามนั่นก็ต่างพยายามเลี่ยงไม่บุกเข้าไปในที่"ต้องสงสัย" เพราะไม่อยากให้รถเลอะเทอะเปรอะเปื้อน..

    ตอน นี้ประชาชนต่างพยายามหาตัวผู้ที่รับผิดชอบให้มาถูกลงโทษ..แต่ใครจะไปทำอะไร ได้ เพราะเขาคนนั้น คือ แกรนด์ ดุ๊ค เซอเก ที่อย่างไรเสีย ซาร์ก็ต้องไม่เอาเรื่องอะไรอยู่แล้ว เพราะเป็น"อา"แท้ๆ..
    หากแต่ประชาชนกลับไม่มองเช่นนั้น หาว่า ซาร์เห็นแก่"เมีย" เพราะ เซอเก
    นั่นเป็น "พี่เขย" ของซารินาต่างหาก..
    ความ คิดเช่นนี้ทำให้ความรักและเลื่อมใสในตัวของเจ้าเหนือกหัวได้ถูกยบั่นทอนลงไป ถึงกับมีคนเรียกซาร์ว่า.."Bloody Nicholas" และ เซอเก ก็ได้ตำแหน่งใหม่ นั่นคือ "The Prince of Khodynka"
    แน่นอน..อลิกซ์ก็ต้องมีสมญานามกับเขาด้วย..นั่นคือ
    "The German Bitch" ที่ข่าวลือออกไปว่า ในวันที่เกิดเหตุหลังจากที่เธอได้ทราบเรื่อง ก็ยังหัวเราะรื่นเริง ออกไปเต้นรำต่อหน้าตาเฉย..

    แต่หามีใครรู้ไม่ว่า..เพราะเรื่องนี้นี่เองที่ทำให้ซารินาทั้งเครียดและอ่อนละโหยโรยแรงจนตกพระโลหิตไปในที่สุด



    ภาพ คือถ้วยที่แจกเป็นของที่ระลึก..ที่ทำให้ประชาชนต้องมาล้มตาย เพราะอยากจะได้ไว้ในครอบครองเพื่อเป็นสิริมงคล....

 

*****นอกเรื่องหน่อยนะคะ...ดิฉันได้ไปยืนมองถ้วยของจริงนี้อย่างใกล้ชิดในพิพิทธภัณฑ์ St. Remy ก็รู้สึกขนลุกบอกไม่ถูกค่ะ..ที่นี่ได้บรรจุเรื่องราวของการสู้รบระหว่างฝรั่งเศสกับประเทศเพื่อนบ้านไว้อย่างมากมายเพราะพื้นที่ส่วน Marne, Champagne คือดินแดนหน้าด่าน..
    เรื่องของรัสเซียก็มีเยอะมาก..อีกทั้งซาร์ปีเตอร์มหาราชได้เคยเสด็จมาประทับที่นี่.. ซาร์นืโคลาสก็ได้ทรงประทานพระมาลาสมัยเมื่อยังเป็นนักเรียนนายร้อยให้กับที่นี่ด้วย.......และขอนำภาพบางส่วนที่ถ่ายมา..ลงให้ชม...เพราะในส่วนของประวัติศาสตร์สงครามนั้น มีให้ดูครบหมดตั้งแต่นโปเลียนมาจนถึงสงครามโลกทั้งสองครั้ง..ตั้งแต่อาวุธ. เครื่องแบบ..ดิฉันเดินดูได้เป็นวันๆเลย..ที่ปารีสก็มี คือที่  Les Invalides แต่ที่นั่นห้ามใช้กล้องที่มีแฟลช เลยถ่ายออกมาไม่ได้ดีเท่าที่นี่...

 


 

 

 

 



    สถานะการณ์กดดัน เสียงลือเริ่มหนาหูถึงการ"ไม่เอาไหน" ในซารินา
    อีกทั้งยังไม่นำพาต่อการสูญเสียชีวิตของประชาชน..
    อลิกซ์จึงอยากจะคิดทำอะไรขึ้นมาสักอย่างหนึ่งเพื่อเป็นสาธารณประโยชน์
    เพื่อให้ประชาชนได้เห็นว่า..อย่างน้อยเธอก็ไม่ใช่อย่างที่พวกเขาคิด
    ดังนั้น..โปรเจคในนามว่า "Help Through Hand Work" จึงเริ่มก่อตัวขึ้นมา..
    เริ่ม จากการรวบรวมหญิงทุกสาขาอาชีพเข้ามาร่วมในกิจกรรมงานฝีมือ ในด้านเย็บปัก ใครเก่งก็เข้ามาสอน ใครไม่เก่งก็เข้ามาเรียน โดยที่อลิกซ์เป็นประธาน..เพราะตัวเธอเองมีความสามารถในด้านนี้พอตัว.
    จุดประสงค์ เพื่อที่จะหาทุนเข้าช่วยเหลือผู้ยากไร้..

    ในวันที่แถลงนโยบายของซารินา..เสียงตอบรับเซ็งแซ่จากพวกหญิงไฮโซ กลุ่มผู้ดีมีอันจะกินที่พากันแย่งกันเข้ามาสมัคร..ตามด้วยกลุ่มแม่บ้านกลุ่ม ใหญ่จากซาร์โก เซโล..
    เสียงจักรเย็บผ้า เสียงหัวเราะสดใส..เสียงการทำงานที่มีความสุขของเหล่าหญิงๆได้ดังขึ้นใน ศูนย์หัตถกรรมของซารินา..ซึ่งเธอได้หวังถึงการก้าวต่อไป
    ของโครงการข้างหน้าที่จะขยายไปถึงโรงเรียน โรงพยาบาล ตามอย่างที่
    โครงการแบบนี้ได้ประสบความสำเร็จในอังกฤษ..

    แต่ความฝันของซารินาเกิดสะดุดหยุดอยู่ที่นั้น เพราะ เธอเพิ่งทราบว่า..
    งานสาธารณกุศลทุกชนิดในรัสเซียต้องขึ้นอยู่กับรัฐบาล ไม่มีการทำส่วนตัว
    และทุกโครงการ หรือถ้าจะมีการทำส่วนตัวก็ต้องผ่านการรับรองและเห็นชอบจากพระนางมารีแต่ผู้เดียว

    ฉะนั้น..ไม่ว่าซารินาจะคิดหรือหยิบจับอะไรก็ตาม..ไม่มีสิทธิกระทำทั้งสิ้น..

    

    เมื่อการณ์เป็นเช่นนี้..พระนางมารีไม่ได้สนใจหรือรับรู้ในงานของซารินา..
    สิ่งที่ตามมานั่นคือ..เหล่านายทุนและกลุ่มไฮโซต่างก็พากันหายหน้าหายตากันไปทีละ คนสองคน..เพราะ ทุกคนต่างหวังที่จะได้ความดีความชอบ อยากได้เหรียญได้ตรา..อยากให้สามียกระดับในหน้าที่การงาน..
    เมื่อ..ไม่ได้ผลดังว่า พวกเขาเหล่านั้นจึงถอนตัว..
    งานที่เริ่มต้นทำท่าจะไปได้สวยนั้น..ล่มลงกลางคัน..

    อลิกซ์เริ่มรู้ตัวว่าถูกต่อต้านหนัก จากทั้งในวังและนอกวัง หรือแม้แต่คนรับใช้ส่วนตัวที่มักจะเอาเรื่องภายในไปขยายต่อข้างนอก..
    ในงานพิธี..ที่(แกล้ง)แจ้งมาให้เธอแต่งชุดขาว..ปรากฏว่าคนอื่นๆแต่งชุดดำ..
    หนักเข้า..สังคมรอบตัวเริ่มรวมตัวกันต่อต้านกันโดยทั่ว เช่น..ไม่สนใจ ไม่ช่วยเหลือและไม่ปฏิสังขารด้วย

    ต่อมาในเดือนสิงหาคม ..เป็นช่วงที่ซาร์และซารินาจะต้องเสด็จประพาสยุโรป
    ใน ฐานะทูตสันถวไมตรี ทุกคนในฐบาลต่างก็ทราบดีว่า ซารินายังมีความรู้และประสบการณ์เกี่ยวกับรัสเซียเพียงน้อยนิด แต่ก็ไม่มีใครสนใจที่จะเข้ามาดูแลและช่วยติว..สิ่งเดียวที่กระทรวงการต่าง ประเทศได้แจ้งมาให้ทราบ
    นั่นคือ
    "ให้เตรียมเอาเครื่องเพชรชุดใหญ่ๆไปใส่โชว์ให้มากเท่าที่จะมากได้"

    เนื่องจาก..ในตอนนั้นรัสเซียเริ่มเสียรังวัดในการที่เป็นประเทศมหาอำนาจ
    เพราะการเติบโตของเยอรมัน เอมไพร์ อีกทั้งใครต่อใครเริ่มรู้ถึง"กึ๋น" ว่า
    แม้จะมีรายได้ดีจากโรงงานสารพัด..แต่ความเป็นไปของประชาชนในประเทศยังต่ำต้อย ยากจน ด้อยพัฒนา ประชาชนลำบากเหลือแสน
    ชนชั้นปกครองต่างร่ำรวย..โดยเฉพาะคนที่ใกล้ชิดกับซาร์ที่ปกครองประเทศแบบเจ้าชีวิต..

    ดัง นั้นการเสด็จของซาร์และซารินา ก็เป็นการประกาศให้โลกรู้ในทางอ้อมว่า ถึงแม้จะปกครองแบบเจ้าชีวิต แต่ประเทศก็ประสบความสำเร็จ ร่ำรวย
    ดูเอาได้จากเครื่องเพชร (เทียบเท่ากับทุนสำรองของประเทศ) และเครื่องประดับที่มีราคามากมายมหาศาล


    ภาพ..เครื่องเพชร..แค่ส่วนหนึ่ง (ที่เหลือ)    

        
   

    เพราะการเติบโตไปอย่างรวดเร็วของเยอรมัน เอมไพร์ นั้น ทำให้สถานะภาพการเป็นสัมพันธมิตรที่เหนียวแน่นของรัสเซีย-ฝรั่งเศส (ที่มีสัญญาเซ็นกันไว้ล่าสุด 1892) นั้น ทำให้เยอรมันไม่ใคร่พอใจ ดังนั้น เยอรมันจึงขึ้นภาษีขาเข้าสินค้ารัสเซีย อีกทั้งขู่ว่าจะตรึงกำลังชานแดนให้เข้มข้นขึ้น..

    ดังนั้นการกระชับ ไมตรีระหว่าง รัสเซีย-ฝรั่งเศส-อังกฤษ จึงต้องรีบกระทำโดยด่วน เพราะเกิดผิดพลาดอะไรขึ้นมา ฝรั่งเศส อังกฤษ จะได้ช่วยทัน
    และที่สำคัญ.. ความร่ำรวยของรัสเซียนั้นมาจากเงินลงทุนที่ไหลมาจากฝรั่งเศสทั้งสิ้น เพราะนักลงทุนเหล่านั้นต่างดีดลูกคิดในรางแก้วไว้แล้วว่า..
    มีรัสเซียเอาไว้..ประตูตลาดขายสู่เอเซียและประเทศในบอลข่านก็เปิดโล่งสะดวก
    เมื่อ.. เงินฟรังซ์จุกอกรัสเซียขนาดนั้น..สิ่งเดียวที่จะสมานไมตรีกับเยอรมันได้ ก็คือ ซารินา..ที่มีเลือดเนื้อของเยอรมันอยู่..หาใช่คนอื่นคนไกลไม่..
    ไปกราบไหว้ผู้ใหญ่ซะ..เรื่องราวทั้งหลายก็จะเป็นปรกติสุข..
    นี่คือ..ความคิดของรัฐบาลรัสเซียที่จะใช้ซารินาให้เป็นประโยชน์..

    แต่ สิ่งที่รัฐบาลไม่รู้..นั่นคือ ไกเซอร์ Wilhem II ไม่ค่อยทรงโปรดอลิกซ์นัก ( หรือ Willy ซึ่งเป็นญาติกันแท้ เพราะเป็นลูกของลุงเขยที่อภิเษกกับเจ้าหญิงวิคตอเรีย ซึ่งเป็นป้า เป็นพี่สาวของเจ้าหญิงอลีซ พระมารดาของเธอ) ส่วนอลิกซ์ก็ไม่ถูกชะตากับวิลลี่เช่นกัน
    สายสัมพันธ์ทางเยอรมันอีกส่วนหนึ่งของซารินา คือ ไอรีน พี่สาว..อภิเษกกับ Henry of Prussia (พระอนุชา)

    อลิกซ์ได้ใช้บริการของห้องเสื้อ Worth ในกรุงปารีส ซึ่งทางเสื้อได้จัดการส่งทีมช่างไปถึงพระราชวังในการวัดสัดส่วนพระวรกาย เพราะว่าจะต้องแม่นเป๊ะๆไปหมด ไม่ใช่ภูษาอาภรณ์อย่างเดียว แต่ยุคนั้นเป็นยุคของการฟู่ฟ่า ที่มีทั้งพระมาลา ฉลองพระหัตถ์ ขนนก ดอกไม้ประดิษฐ์ ลูกไม้ประดับ โบว์ เลื่อมปัก และเฟอร์ขนสัตว์

    สำหรับ ซารินาแล้ว..ทุกอย่างที่กล่าวมานี้คือจุดอ่อนทั้งหมด เพราะแต่งฟู่ฟ่าดังกล่าว ไม่ได้ทำให้ดูดี เพราะพระวรกายที่สูงใหญ่ (สูงกว่าซาร์) ดังนั้น
    ฉลองพระบาทส้นสูงนั้นหมดสิทธิทรง..
    ดังนั้น..เหล่าทีมช่างจึงต้องทำงานหนักสุดเหวี่ยง..

    อลิกซ์ได้เตรียมข้าวของเครื่องใช้มากมายนับร้อยๆหีบ ลำเลียงขึ้นรถไฟ
    ว่ากันว่า เฉพาะชุดใส่เครื่องสำอางค์***ที่เป็นทองคำนั้น มีนับสิบๆหีบ..
    ของเหล่านั้น เตรียมเอาไปหมดแม้กระทั่งผ้าปูพระที่ ผ้าปูโต๊ะที่ต้องเป็นลูกไม้ชุดเดียวกัน..และมีหลายชุด

    ขบวนผู้รับใช้ที่ติดตามเสด็จก็มีนับร้อย เพราะต้องมีทีมพระพี่เลี้ยงของพระธิดา ออลกา ที่กอร์ปไปด้วย แพทย์และพยาบาลตามไปด้วย

    *** ชุดใส่เครื่องสำอาง หรือ หวีนานาชนิดในสมัยก่อนนั้น เครื่องแป้ง เครื่องหอม ไม่ได้ขายเป็นขวดสำเร็จอย่างปัจจุบัน หรือถึงจะมี..เหล่าชาวกษัตริย์เขาก็ต้องมีชุดสำหรับใส่พิเศษ ที่ทำด้วยเงินหรือทองคำจะมีตราหรือสัญญลักษณ์ประจำพระองค์ประทับไว้

    ภาพ..จะเห็นว่า ซารินานั้นมีพระวรกายที่สูงใหญ่กว่าซาร์  


    เมื่อคนไม่ถูกชะตากัน มาถึงก็"เป็นเรื่อง" นั่นคือ เมื่อมาถึงเมือง Breslau
    ในเยอรมัน อันเป็นจุดเริ่มต้นของการเสด็จประพาสนั้น
    ซารินาที่เคร่งเครียดมาตลอดการเดินทาง ที่ว่ากันว่า เล่นงาน ตำหนิแรงๆกับหน่วยข้าราชบริพารไม่เว้นแต่ละวัน อาจเป็นเพราะอารมณ์ไม่ดีเพราะเรื่องงานสาธารณกุศลที่ต้องล้มเลิกไป หรือ เรื่องที่ทุกคนหมางเมิน หรือเสียงนินทาร้ายแรงจากประชาชน..
    ทุกอย่างนั้น สร้างอารมณ์กดดันอย่างรุนแรงไว้ทั้งนั้น แม้แต่มาร์ธา ต้นห้องคนสำคัญก็เข้าพระพักต์ไม่ติด

    ซารินาอยู่ในอารมณ์ที่เห็นช้างเท่าหมู ลืมไปหมดว่าตัวเองจะต้องมา
    โปรโมตภาพลักษณ์ให้กับรัสเซีย ด่านแรกเลย นั่นก็คือ การหาญหักน้ำพระทัยของไกเซอร์..
    เพราะ เมื่อมาถึงใหม่ๆ ไกเซอร์วิลเฮล์มได้มอบชุดเครื่องสำอางที่ทำด้วยเงิน ที่ครั้งหนึ่งเป็นของ Queen Louise of Prussia ให้เป็นการต้อนรับ..

    ซารินาถือว่าเป็นการดูถูก เพราะในฐานะอย่างเธอที่ใช้ชุดเครื่องสำอางที่เป็นทองคำอยู่แล้ว..จะไปใช้ของที่ทำด้วยเงินได้อย่างไรเล่า..
    เธอจึงปฏิเสธ..ไม่ขอรับ..

    ไกเซอร์มีความรู้สึกเหมือนโดนตบที่พระพักต์ เพราะพระองค์ได้คิดว่า..
    ที่ให้นั้น..ก็เป็นของดีที่สุดแล้ว (สำหรับอลิกซ์)
    ซึ่งซารินาเองก็คิดเช่นเดียวกันว่า..
    "ใช่ซิ..ดีที่สุด เพราะคงคิดว่าฉันเป็นแค่เจ้าหญิงจนๆคนหนึ่งอย่าง
    เมื่อก่อนละซิ..แต่เดี๋ยวนี้น่ะ..ไม่ใช่.."

    การขัดแย้งนี้ได้พาเอา Empress Augusta (Augusta Marie Luise Katharina von Sachsen-Weimar-Eisenach 1811-1890) ย่าของไกเซอร์ ที่เป็นพระสหายสนิทของสมเด็จพระนางเจ้าวิคตอเรีย ไม่ชอบซารินาไปด้วย
    ถึงกับมีพระอักษรไปเล่าสู่กันฟัง..ว่า
    "หลานเธอคนนี้ กิริยาไม่ดี ไม่ค่อยมีความคิดเท่าไหร่ "
    ส่วน ชาววังเยอรมันอื่นๆ ก็มีความคิดเห็นอย่างเดียวกัน ยามที่มีการเลี้ยงดินเนอร์ ทุกคนมองเครื่องแต่งองค์ของซารินาด้วยสายตาตลกขบขัน เพราะมันถูกกระหน่ำไปด้วยเครื่องเพชรจนเกินความจำเป็น และบ่งบอกชัดเจนว่า
    ต้องการที่จะอวด..มากกว่าการแสดงรสนิยม

 


    *****นอกเรื่องอีกทีค่ะ...เคยคิดเสมอว่าสักวันหนึ่งคงจะต้องมีคนถามเรื่อง เยอรมัน ปรัสเซีย ความจริงดิฉันเคยเขียนอธิบายไว้ตอนที่เขียนเรื่องฮิตเล่อร์แล้ว แต่จำไม่ได้ว่าตอนไหน เพราะมีร่วมยี่สิบห้าตอนด้วยกัน..

    เรื่อง เยอรมัน ปรัสเซีย..ขอเล่าแบบให้เข้าใจง่ายๆนะคะ ว่า ทั้งหมด เราเรียกว่า German Empire ที่กินอาณาเขตเกือบหมดยุโรป (ดูตามแผนที่นะคะ)
    ทั้งหมดนี้ได้แบ่งออกเป็นแคว้นเล็กแคว้นน้อย ที่มีเจ้านายปกครองกันเอง
    ต่อ มาเป็นยุคของแคว้นปรัสเซียที่รุ่งเรืองและยิ่งใหญ่ขึ้นมา รวบรวมแคว้นต่างๆเข้ามารวมไว้ด้วยกันขยายอาณาเขตออกไปจนกลายเป็นพี่เอื้อย..

    ส่วนที่เป็นสีอื่นๆ นั่นหมายถึง แคว้นและส่วนที่เป็นเอกเทศ..ไม่ได้ขึ้นอยู่กับปรัสเซียโดยตรง แต่ก็ถือว่าเป็นบ้านพี่เมืองน้อง..

    German Empire ที่ปรัสเซียรุ่งเรืองเริ่มจาก ปี 1871 จนถึง 1918 คือสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง เยอรมันแพ้
    จากนั้นก็เปลี่ยนเป็น Weimar Republic (1919–1933)
    ต่อ จากนั้นก็มีบุรุษหนึ่งที่รวบรวมแคว้นต่างๆในเยอรมันทั้งหมดเข้าด้วยกัน เขาคือ ฮิตเล่อร์ที่เปลี่ยนเรียกใหม่ว่า..Third Reich (1933–1945 คือการจบสิ้นของสงครามโลกครั้งที่สอง)

    เมื่อแพ้สงคราม..ประเทศถูก แบ่งออกเป็นสองส่วน ส่วนของสัมพันธมิตร ฝรั่งเศส อังกฤษ อเมริกา เปลี่ยนใหม่เป็น Federal Republic of Germany ส่วนที่อยู่ในความคุ้มครองของโซเวียต ได้เปลี่ยนเป็น German Democratic Republic เมื่อปี 1949 และแบ่งเมืองหลวงเบอร์ลินออกเป็นสองฟาก เอากำแพงมากั้นเป็นฝั่นตะวันตกกับตะวันออก..
    เมื่อปี 1989 เป็นปีที่กำแพงเบอร์ลินถูกทุบไป..โซเวียตเริ่มคลายตัวจากคอมมิวนิสต์ มาเป็นสังคมนิยมและนิยมสนับสนุนประชาธิปไตย
    ดังนั้นในปี 1990 จึงมีการโหวตให้ประชาชนเยอรมันในฝั่งที่ปกครองอยู่ว่า อยากจะอยู่กับโซเวียต หรือ จะไปอยู่ในฝั่งกระโน้น..
    ปรากฏว่า ผู้คนโหวตถล่มทะลาย ว่าจะเป็นอยู่กับฝั่งบ้านเกิดเมืองนอน
    จึงเป็นอันว่า..ฝั่ง German Democratic Republic ได้ปิดฉากลงไปแค่นั้น..
    และเยอรมันได้มาเป็น Germany ในปัจจุบันนี้ค่ะ



    
ส่วนเรื่องแกรนด์ ดุ๊ค เซอเก กับเรื่องโศกนาฎกรรมโคดิงกา นั้น มีหนังสือหลายเล่มที่ให้ข้อความต่างกันค่ะ บางเล่มว่า แกรนด์ ดุ๊ค ขอลาออกเพราะมีความรับผิดชอบจริงๆ แต่ ซาร์ทรงระงับไว้
    แต่..บาง เล่มบอกว่า กว่าแกรนด์ ดุ๊คจะทราบ..ศพส่วนใหญ่ถูกลูกน้องนำไปทิ้งหมดแล้ว ดิฉันมีภาพศพนอนตายเกลื่อน น่าอนาถ แต่ไม่อยากนำมาโพสต์
    และมีภาพที่มีแค่สองศพที่ค่อนข้างนอนเรียบร้อย (โพสต์ไปแล้ว)

    ก็ เลยเป็นไปได้สองอย่างว่า..ที่ตายแล้วก็แล้วไป ที่เหลือมัวแต่ฉลองกัน เพราะมีประชาชนหลั่งไหลเข้ามอสควา เพราะงานพระราชพิธีนี้นับล้านๆคน
    และที่สำคัญคือ "การปิดข่าว" ปิดหูปิดตาประชาชน

    แต่ กระแสคลื่นที่ตามมา นั่นคือ ความเกลียดชังในหมู่พระราชวงค์ทุกพระองค์ เริ่มจาก เซอเก..ที่ต้องรับเคราะห์กรรมไปในต่อมา..(ไม่ขอเล่าในตอนนี้นะคะ เดี๋ยวจะสปอยล์)  

 

ภาพ...Grand Duke Sergei Alexandrovich of Russia

 

 

 
    ต่อมา..ในทริปล่องเรือพระที่นั่ง Standart จากโคเปนเฮเกนสู่สก๊อตแลนด์ ที่ซารินาก็ยังคงอารมณ์ที่ขุ่นมัว และการเข้าเฝ้าสมเด็จพระอัยยิกาที่พระราชวัง
    บัลมอรัลโดยที่อลิกซ์ไม่ได้สังหรณ์ใจเลยว่านั่นจะเป็นครั้งสุดท้ายของการที่ได้เข้าเฝ้าเบื้องพระพักตร์ สิบวันเต็มที่ประทับอยู่ที่นั่น อากาศช่างเลวร้ายสิ้นดี ฝนกระหน่ำไม่หยุดตามด้วยลมแรงเลยทำให้บรรยากาศของพระราชวังบัลมอรัลทึมไปกว่าเดิม
    ในการพบกันครั้งนั้น เจ้าหญิงวิคตอเรีย พระภคินี ก็ได้พบว่า อลิกซ์นั้นเปลี่ยนไปมาก ออกห่างเหิน และสมเด็จพระอัยยิกาได้ไต่ถามถึง"ปัญหา" ที่เกิดขึ้นที่เยอรมัน รวมไปถึงการขัดแย้ง"ส่วนตัว"ในรัสเซีย
    แต่..อลิกซ์กับมีท่าทีที่ไม่ค่อยแคร์ หรือใส่ใจ

    และในสก๊อตแลนด์นี่ก็เช่นกัน..ที่เสียงสะท้อนตอบรับการมาของซารินาออกในทางด้านลบเช่นเดียวกับที่เยอรมัน ว่า..ใช้เสื้อผ้าแพงๆเกินความจำเป็น
    และ ลืม"กำพืด" เพราะไม่ได้ใช้ผ้าสักหลาด หรือ tweed ของชาวบริติช

    ส่วน ที่กรุงปารีส..นั้นแตกต่างอย่างสิ้นเชิง เมื่อเสด็จมาถึงใหม่ๆ ชาวปาริเซียงต่างไชโยโห่ร้อง และชื่นชม ที่เห็นซารินาแต่งองค์ล้ำแฟชั่น พระพักต์สวยงาม
    ทำให้ซารินาค่อยชื่นพระทัย และ ชื่นชอบทุกอย่างในฝรั่งเศส ทรงชมว่ามองไปไหนก็สวยไปหมด นางสนองพระโอษฐ์คนสนิทมาร์ธาบันทึกไว้ว่า..
    "ซารินาออกเขินไปกับคำชมของชาวฝรั่งเศสที่มีให้ พระองค์ว่า ช่างเยินยอกันจนเกินไป"

    แต่ แล้วความผิดพลาดก็ได้เกิดขึ้นจนได้ เพราะความเลินเล่อและการไม่ชินกับสังคมรัฐบาลรีพับลิคอย่างฝรั่งเศส ที่ในงานเลี้ยงระหว่างรัฐบาลที่สถาน
    ทูตรัสเซียเป็นเจ้าภาพ ซารินาไม่ใด้ให้ความสนใจหรือทำองค์เป็นกันเองกับ
    เหล่าแขกสุภาพสตรีชั้นแนวหน้า เลยทำให้พระองค์กลายเป็นคนที่ดูหยิ่งยะโส
    เหล่าสื่อปากจัดจึงโจมตีเสียไม่มีชิ้นดี ว่า ไม่ได้สวยเสยอะไรตรงไหน
    ไม่มีเสน่ห์ซะกะหน่อย ไม่ได้มีเกียรติสมกับที่รัฐบาลจัดห้องที่เคยเป็นห้องส่วนพระองค์ของ พระนางมารี อังตัวเน็ตต์ในพระราชวังแวร์ซายส์ให้เป็นที่ประทับเลย

   

    สาเหตุของอาการเหล่านี้ในซารินามาทราบทีหลังว่า พระองค์ได้กำลังทรงครรภ์(อีกแล้ว) และในช่วงที่ทำองค์เหนื่อยหน่ายนั้นคือช่วงของการแพ้(อีกชนิดหนึ่ง) ซึ่งสัณนิษฐานได้ว่าทรงเริ่มตั้งครรภ์ตั้งแต่ระยะต้นของการเริ่มเดิน ทาง มาถึงที่ปารีสนั้นคือช่วงที่แพ้จัด..
    ทันที่ที่เสด็จกลับถึงรัสเซีย ซารินาต้องประทับนิ่งอยู่แต่ในพระที่นานถึงสองเดือน เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้เกิดการตกพระโลหิตอย่างคราวก่อน..

    ในราชสำนัก..ต่างก็ตื่นเต้นกันอีกแล้ว ทุกคนหวังที่จะได้เห็นพระโอรสกันในคราวนี้ แม้แต่อลิกซ์เองก็หวังอย่างเต็มเปี่ยม
    เจ้า หญิงไอรีน พระภคินีที่อภิเษกไปกับ เจ้าชายเฮนรี่ แห่ง ปรัสเซียได้เสด็จมาเยี่ยม เพราะเป็นห่วงที่ซารินาได้ผ่าน"อะไรต่อมิอะไร" มามาก จึงอยากมาช่วยปลอบประโลมและเป็นกำลังใจให้ ว่ากันว่า ในหมู่พี่น้องทั้งหมด ไอรีน เป็นคนที่ใจเย็นมีเหตุมีผลมากที่สุด

    นอกราชสำนัก..สถานะการณ์บ้านเมืองเริ่มร้อนระอุ การก่อการร้ายหมายมุ่งทำลาย ทำร้ายพระราชวงค์ได้เริ่มขึ้นอีกแล้ว
    ใน สองปีแรกที่ซาร์ได้ขึ้นครองราชย์นั้น ทุกอย่างก็เรียบร้อยดี เพียงแต่ไม่มีใครวางใจ เพราะสิ่งที่เกิดขึ้นกับซาร์อเล็กซานเดอร์ที่สองที่ถูกระเบิดจนแหลกเหลวนั้น ..ยังเป็นภาพที่ตามหลอกหลอน
    แม้กระทั่งการเดินทางยังยุโรปที่ผ่านมา ก็ยังต้องมีการตามอารักขากันอย่างเหนียวแน่น ทั้งที่อังกฤษที่ใช้สก๊อตแลนด์ยาร์ดจำนวนนับร้อยๆคอยเคลียร์เส้นทาง เพราะการก่อการร้ายนั้นมันได้ขยายในระดับอินเตอร์
    ไม่ว่าจะเป็นการก่อการร้ายของฝรั่งเศส เบลเยี่ยม ไอร์แลนด์ ต่างก็มาใช้บริการของห้องแลบนิรนามแถวๆ Antwerp นี่เอง

    หรือยามที่จะเสด็จทางรถไฟ ก็ต้องมีขบวนสำรอง ขบวนคุ้มกัน ที่มีการตรวจเช๊คในทุกขั้นตอน

    โศกนาฏกรรมของ Khodynka ในปีที่ผ่านมาที่ได้จุดประกายความโกรธแค้น ชิงชังเพิ่มขึ้น จนทำให้การต่อต้านเริ่มก่อหวอดขึ้นมาอีกครั้ง
    ช่วงขึ้นปี 1897 การลอบทำร้ายเจ้าหน้าที่ได้เกิดขึ้น และการตอบสนองคือการจับกุมและประหารผุ้ต้องสงสัยจำนวนนับร้อย นับพัน..
    และ ที่สะเทือนใจชาวประชาเซนต์ ปีเตอส์เบอร์กที่สุด นั่นคือ กรณีของผู้นำนักศึกษาสาว นามว่า Maria Vetrova ที่ถูกจับไปคุมขังในค่ายทหาร ในข้อหาต่อต้านรัฐบาลให้หยุดการกระทำอันโหดร้ายต่อประชาชน
    ซึ่งเธอได้ถูกผู้คุมขังกระทำชำเรา..
    และการเรียกร้องของความเป็นธรรมของเธอ คือ การเอาน้ำมันมาราด จุดไฟเผาตัวเองประท้วง..

    นักศึกษาเริ่มลุกฮือ..แต่ก็ถูกเหล่าทหารคอสแซคเข้าไปจัดการปิดปากไปหลายศพ..เหตุเกิดที่เมือง Kiev


    ลางร้ายได้บ่งบอกมาว่า..ยังไงรัสเซียก็ต้องมีปฏิวัติ
    แต่เบื้องหน้า เบื้องหลัง..ใครๆก็อยากทราบใช่ไหมคะ?

    นี่คือสิ่งที่ดิฉันอยากจะนำเสนอในหลายๆมิติ เพราะคิดว่า มี"ของดี" อยู่กับตัว
    ก็น่าจะนำมาเผยแพร่

    "ของดี"ที่ว่านั่น ..คือหนังสือเก่าชุดหนึ่งที่มีอยู่ในครอบครอง ที่เขียนบันทึกโดย Grand Duke Alexander Mikhailovich (หรือ Sandro ที่อภิเษกกับ เซเนีย พระขนิษฐาของซาร์) Romanov ชื่อหนังสือคือ Once a Grand Duke ต่อด้วย Always a Grand Duke ที่ตีพิมพ์เมื่อปี 1931
    อ่านแล้วจะเหมือนว่าเรากำลังดูภาพยนตร์ที่ฉายเกี่ยวกับความเป็นไปในราชสำนักของโรมานอฟเลยค่ะ
    แต่ถ้าจะนำหนังสือเล่มนี้มาถอดความก่อน ผู้อ่านจะเข้าใจยาก หรือจะไม่สนใจเพราะพื้นฐานความเข้าใจในโรมานอฟ หรือ รัสเซียอาจยังไม่แน่น
    จึงต้องนำเรื่องของซารินามาเสนอก่อน
    และตั้งใจไว้ว่า ถ้ามีคนติดตามสนใจอย่างจริงจัง ก็จะต่อด้วยหนังสือของ
    Grand Duke Alexander Mikhailovich (Sandro)
    อันเป็นบันทึกจากเรื่องจริงของภายใน...

    ภาพ..

        
     
     ส่วนการล่มสลายนั้น ต้องนำหนังสืออีกเล่มมาเสริมค่ะ คือ The Fall of The Romanovs
    เขียนโดย Mark D. Steinberg & Vladimir M. Khrustalev


    ตามภาพค่ะ

        
     
     


    
 
    
 
 

    แกรนด์ ดุ๊ค ซานโดร มีศักดิ์เป็นท่านอาของซาร์ เพราะเป็นลูกของปู่น้อย แต่อายุห่างกันแค่สองปี
    ในสายรัสเซีย ซาร์ไม่มีลุงนะคะ จะมีแต่ อา...
    สายที่เป็น "ลุง" จะมี..ก็จากทางสายพระมารดาของซาร์ที่มีสามสาย คือ

    หนึ่ง..สายอังกฤษ ลุงเขย King Edward VII พระสวามีของป้าแท้ๆ เจ้าหญิง อเล็กซานดรา แห่ง เดนมาร์ก ที่เป็นพี่สาวคนโตของแม่

    สอง.. สายเดนมาร์ก ลุงแท้ๆ King Frederick VIII of Denmark เป็นพี่ชายคนรองของแม่

    สาม.. สายกรีก ลุงแท้ๆ George I of Greece ซึ่งเป็นพี่ชายคนที่สามของแม่เช่นกัน
    ดั้งเดิมเป็นเจ้าชายเดนมาร์ก Prince Christian Wilhelm Ferdinand Adolf George of Schleswig-Holstein-Sonderburg-Glucksburg แห่ง Copenhagen แต่ถูกสภาสูงของกรีซเลือกให้ไปเป็นพระเจ้าแผ่นดินปกครองกรีซตั้งแต่อายุยัง ไม่ถึงยี่สิบ แถมพระมเหสี คือ Olga Constantinovna of Russia ญาติผู้น้องของซาร์ อันเป็นพระธิดาของท่านอา Grand Duke Constantine Nikolaevich of Russia หรือ ที่เขียนถึงและทรงเป็นที่รู้จักในพระนามย่อว่า "KR"


    แกรนด์ดุ๊ค ซานโดร ได้เขียนหนังสือชุดนี้มีด้วยกันสองเล่ม คือ
    Once a Grand Duke และ Always a Grand Duke ทั้งสองเล่มนี้ต่อกัน..เขียนได้ละเอียดเล่าเรื่องส่วนตัวจนเห็นเป็นภาพเคลื่อนไหว สามารถทำให้คนอ่านได้หัวเราะ และ ร้องไห้ เพราะการเขียนนั้นพระองค์เขียนเป็นภาษาอังกฤษล้วนๆ ทรงมีพระอารมณ์ขันเหลือเฟือ ไม่ได้แปลมาจากภาษาอื่นให้เสียอรรถรส

    หมายเหตุ หลายเล่มในตลาดแปลมาจากภาษารัสเซียบ้าง เยอรมันบ้าง ฝรั่งเศสบ้าง..บางทีคำบางคำอ่านแล้วเป็นงง..เช่น looking glass แทนที่จะใช้ว่า mirror ซะก็จะสิ้นเรื่อง..

    เล่มที่สอง Always a Grand Duke

    ส่วนอีกเล่มหนึ่งที่กว่าจะได้มาก็ต้องเรียกว่าพลิกแผ่นดิน คือ Twilight of Royalty (ของแกรนด์ ดุ๊ค เช่นกัน)
    แต่ก็มีจนครบหมดค่ะ
 
 V

V

V

   
    การทรงครรภ์ครั้งนี้ของซารินามีการแพ้แบบอ่อนเพลีย อ่อนแรง..จะทรงใช้เวลาส่วนใหญ่เย็บปักถักร้อย เตรียมพระภูษาให้กับพระหน่อองค์ใหม่ที่หวังอย่างยิ่งว่าจะเป็นพระกุมาร..

    แต่ถึงแม้จะเหนื่อยอ่อน ขาที่เคยปวดก็มีอาการกำเริบขึ้น แต่..ซารินาก็ยังต้องทำหน้าที่จัดงานการแสดงใหญ่ถึงสี่งานด้วยกันที่โรงละครหลวง Hermitage ในฐานะเอมเปรส..
    แต่ความร่วมมือที่ได้รับจากกลุ่มเศรษฐี ขุนนาง หรือ ฝ่ายใน นั้นเป็นไปอย่าง
    กระเหม็ดกระแหม่เต็มที่ เพราะทุกคนต้องการประจบซารินาพระมารดามากกว่า

    ในเดือนพฤษภาคม (1897) ที่ซารินาเริ่มมีอาการใกล้คลอด ผู้ที่อยู่ใกล้ชิดช่วยเหลือ
    ก็คือ เจ้าหญิงไอรีน, ควีนลูอีส (จากเดนมาร์ก เป็นยายของซาร์), และ ซาร์

    และความกังวลในเรื่องเพศหญิงหรือชายของพระหน่อ..ซารินาจึงขอร้องไว้ว่า ขอให้เงียบๆไว้ ไม่ต้องรีบประกาศออกไปไม่ว่าจะเป็นหญิงหรือชาย
    เพราะต้องการพักผ่อนหลังคลอด เพราะการผิดหวังแบบกระทันหันนั้น มันสุดที่จะทำใจ..

    พอการเจ็บเริ่มถี่ขึ้น ซารินาได้ถูกย้ายไปยังห้องบรรทมที่ประทับของควีนลูอีส เพื่อว่า พระหน่อจะได้ประสูติที่นั่น..ในห้องของพระมาตามหัยยิกา(ยายทวด)

    ในบันทึกของซาร์ ที่ได้ทรงเขียนไว้ว่า...

    "วันแห่งความสุขที่ยิ่งใหญ่ครั้งที่สองของครอบครัว ได้มาถึง ณ. เช้านี้..
    เวลา10:40 พระผู้เป็นเจ้าได้ประทาน ทาเทียน่า (Tatiana) ลูกสาวที่แข็งแรง คลอดง่าย ทุอย่างผ่านไปอย่างรวดเร็วและปลอดภัยดี เราเองก็ไม่ได้รู้สึกเหนื่อยอะไรเท่าไหร่ "

    ที่ทรงบันทึกไว้เช่นนี้ หวังว่าผู้อ่านยังคงจำได้ถึงการเล่าในพระประสูติกาลครั้งที่แล้ว..เจ้าหญิงออลกา ที่ทรงคลอดยากคลอดเย็น
    คราวนี้ แม้พระธิดาทาเทียน่า จะมีน้ำหนักเกือบเก้าปอนด์ แต่ก็ไม่มีปัญหา
    ซ้ำยังมีพระพักต์ละม้ายคล้ายคลึงกับพระมารดา ที่ซาร์ทรงดีพระหัยหนักหนา....แต่...
    บันทึกของนางสนองพระโอษฐ์ มาร์ธา ได้เขียนไว้ว่า..

    "ทันที่เห็นว่าเป็นพระธิดา..ทั้งห้องเงียบสงัด..ทุกคนมีสีหน้าผิดหวังจนพูดอะไรไม่ออก"

    สักครู่เดียว..พอซารินาเริ่มได้สติ ลืมพระเนตรเห็นสีพระพักต์ของพระภคินี เจ้าหญิงไอรีน พระองค์ก็ทราบได้ทันทีว่า..เป็นพระธิดา..
    ว่ากันว่า เสียงสะอื้นกรรแสงของซารินาดังกว่าเสียงหวีดร้องของทารก...
    อีกทั้งยาวนานไปตลอดของวันนั้น..

    หลังจากนั้นไม่นาน ทุกคนที่ใกล้ชิดเริ่มผิดสังเกตกับการขยันผิดปรกติของซารินา
    ที่เริ่มจากการจัดระเบียบข้าวของเครื่องใช้ส่วนพระองค์ใหม่ จัดการเปิดหีบทั้งหมด และนำฉลองพระองค์ต่างๆออกมาตรวจตรา เก็บเข้าที่ตามตำแหน่ง อีกทั้งจะทรงกริ้วเหล่านางพระกำนัลมาก ถ้าหากพบว่ามันถูกวางผิดที่ผิดทางไป หรือทำบัญชีตรวจนับเครื่องเพชรทุกชิ้น
    และเดือนละครั้งที่จะซารินาจะทำการตรวจตราของทุกชิ้น สิ่งที่ทรงเข้มงวดเป็นพิเศษคือตู้เก็บผ้าลูกไม้**...ที่พระองค์ถึงกับลอกลายเอามาจัดหมวดหมู่ไว้ดูแบบแค๊ทตาล๊อค (ถ้าเป็นผืน) ถ้าเป็นเส้น..อย่างที่ติดอยู่กับฉลองพระองค์ (ที่มีเป็นจำนวนมาก) ก็จะให้ช่างจัดการ"เลาะ" ออกมา ลอกลาย
    วัดความยาว..เก็บบันทึกลงในสมุด จากนั้นก็ให้ช่างเย็บกลับคืนเข้าไปใหม่

    ครั้งหนึ่ง..ที่พบว่าชุดเครื่องเขียนที่ทำด้วยทองคำและแก้วเจียรไนส่วนพระองค์ถูกเคลื่อนย้ายไปวางผิดที่ ซารินาถึงกับเรียกประชุมเหล่านางพระกำนัลทั้งหมดพร้อมทั้งสั่งสอนอบรมกันใหม่ บอกว่าต้องละเอียดกว่านี้..เพราะจะทรงขยันตรวจตรามให้ถี่ขึ้นไปอีก ระวังตัวกันเข้าไว้

    ไม่ใช่แค่ของใช้ส่วนพระองค์เท่านั้น ซารินาเข้มงวดกับเรื่องบัญชีของใช้และรายจ่ายในพระราชวังซาร์โก เซโลด้วย เล่นเอาพวกกรมวังถึงกับเบื่อหน่ายยิ่งนัก ที่ต้องรายงานว่า ใช้ไข่กี่ใบ มันฝรั่งกี่หัว..
    จะว่าไปจริงๆแล้ว..ซารินาไม่รู้ด้วยซ้ำว่า ทั้งใข่และมันฝรั่งที่ว่านี่ มันราคาเท่าไหร่ในท้องตลาด..

    ซารินาเริ่มจัดระเบียบตัวเองอย่างเคร่งครัด ดังบันทึกของมาร์ธาที่เขียนไว้ว่า
    "ทรงจัดรายการเวลาอย่างเป็นระเบียบ ว่า เวลาไหนถึงไหนต้องทำอะไร ถ้าไม่เสร็จก็ต้องมาต่อในตารางงานของวันรุ่งขึ้น เช่น ครั้งหนึ่งที่ทรงพระอักษรอยู่
    พอนาฬิกาตีหมดชั่วโมงเป๊ง..ก็ทรงวางปากกาทันที ทั้งๆที่ยังเขียนค้างอยู่แค่ครึ่งประโยค.."

    ทั้งหมดนี้คืออาการของความ"เครียด" ที่เกิดจากความผิดหวังของการประสูติ
    ซารินาคิดว่า..ถ้าตัวเองไม่มีทางที่จะควบคุม"เพศ"ของพระหน่อได้ อย่างน้อยพระองค์ก็สามารถควบคุมอย่างอื่นๆ ได้ในอำนาจที่มี
    เพราะการที่ไม่มีพระโอรสนั้น ความสัมพันธ์ระหว่างเธอกับซารินาพระมารดาที่ห่างออกไปทุกที จนแทบไม่มีการพูดกันเลย
    ซารินาคิดเสมอว่า ถึงแม้จะไม่มีการติดต่อกัน แต่..เธอรู้สึกเสมอว่าถูกเหยียดหยามอย่างไม่มีที่สิ้นสุด

    ส่วนซารินาพระมารดา ทรงแค้นไม่หายที่ครั้งหนึ่งพระองค์ได้แย้งว่า..ว่า..ในฐานะที่พระองค์เป็นแม่ เป็นลูกกษัตริย์ พระองค์ควรจะอยู่ในอันดับสองของการจัดอันดับของพิธีสวดในโบสถ์
    และอลิกซ์ ควรเป็นอันดับสาม...
    แต่..พระสังฆราชไม่เห็นด้วย..
    ทันที่พระสังฆราชได้ตรัสเช่นนั้น อลิกซ์ได้มีสีหน้าชื่นมื่นจนปิดไม่มิดที่ได้"เอาชนะ" แม่สามีไปในชั้นหนึ่ง..

    ตามบันทึกของมาร์ธาได้จำกัดความเรื่องนี้ไว้ว่า..
    "ไม่ทรงฉลาดเลยที่ทำเช่นนั้น.."

    **ลูกไม้ หรือ lace ในสมัยศตวรรษที่สิบเก้านั้นเป็นของหรูหรา เป็นงานฝีมือที่บ่งบอกถึงฐานะของผู้ใช้ และอาจบอกไปถึงสายตระกูลเพราะมีการออกแบบออกลายกันเฉพาะตัว..ใช้เป็นเครื่องประดับแต่งเติมเสื้อผ้าได้ในทุกส่วน
    หรือเป็นเครื่องใช้ เช่น ผ้าปูโต๊ะ ชายหมอน ชายผ้าปูที่นอน ผ้าม่าน

    ภาพตัวอย่างคือลูกไม้ของราชวงค์ฝรั่งเศสที่มักจะมีลายบ่งบอกถึงฐานันดรของผู้สวมใส่

        
 

    จากนั้นก็ต่อด้วยเรื่อง"เครื่องเพชร" ที่มีมากมาย ทั้งเพชรนิลจินดา ไข่มุก ที่รวมกันแล้วมีค่านับร้อยๆ ล้านรูเบิ้ล ที่ซารินาพระมารดาทรงยึดเอาไว้เพราะพระองค์ว่าเป็นของพระองค์ตามสิทธิโดยชอบธรรม
    ต่อมาเมื่อซาร์ได้ทรงเข้าครองราชย์ ก็จำเป็นต้องขอเพชรพวกนี้กลับคืนเพราะเป็นสมบัติของราชบัลลังค์ ซึ่ง..ฉากนี้ได้สร้างความร้าวฉานไว้พอควร..เพราะว่ากันว่าเจ้าหน้าที่ท้องพระคลังต้องไปขอคืนจนถึงพระตำหนัก และพระองค์ได้ออกมากั้นประตูไม่ให้เข้าไป
    ในที่สุด..ก็ต้องทรงยินยอม แต่ขมขื่นทุกครั้งที่ทรงทอดพระเนตรเห็นอลิกซ์แต่งองค์ด้วยเครื่องเพชรเหล่านั้น

    ส่วนซารินาไม่ได้รู้สึกยินดียินร้ายอะไรกับข้าวของพวกนั้นมากมาย..เพราะมันค่อนข้างโบราณ แต่กลับโปรดพวกใข่มุก พลอยม่วง พลอยฟ้า มากกว่า
    อีกทั้งพระสวามีก็จัดของใหม่ๆมาให้ตลอด จากฝีมือของ โบแลง และ แฟแบร์เช (Bolin and Faberge)
    เท่านั้นไม่พอ..อลิกซ์เปิดเผยให้ทุกคนได้ทราบด้วยซ้ำ ว่าไม่เคยโปรดมหามงกุฏซารินาแห่งรัสเซียเลย มงกุฏนี้เป็นพระศิราภรณ์ที่พระนางแคทเธอลีน
    มหาราชินีเคยทรงทำด้วย ไข่มุกและเพชรเม็ดโตที่มีน้ำหนักมากมาย
    ราคาไม่ต่ำกว่า ยี่สิบล้านรูเบิ้ล..

    และของชิ้นนี้ คือ..ของสุดโปรดของซารินาพระมารดา..

    เครื่องเพชรพวกนี้เป็นของพระคลังหลวง ที่มีการจัดเก็บแบบเป็นระเบียบ พระราชวงค์องค์ไหนจะมาขอยืมใช้ก็ย่อมได้ แต่นั่นหมายความว่าจะต้องกรอกแบบฟอร์มไม่ต่ำกว่าสิบแผ่น และจะมีนายทหารประกบอยู่ด้วยตลอดเวลา ทั้งขาเข้าและออก
    อีกทั้งติดตามไปส่ง..ซึ่งนับว่าเป็นขั้นตอนที่ค่อนข้างยุ่งยาก..
    แต่ซารินาพระมารดาไม่เคยย่อท้อในการเข้าๆ ออกๆ ขอยืมชิ้นนั้น ชิ้นนี้ ไปแต่งทรงเสมอ

    สิ่งที่ช้ำใจไปยิ่งกว่า นอกเหนือไปจากแม่สามีไม่รักแล้ว..ซารินายังกลายเป็นข้อเปรียบเทียบกับแกรนด์ ดัชเชส เซเนีย ที่หลังจากอภิเษกกับซานโดร
    ในเวลาที่ไล่เลี่ยกันไม่เท่าไหร่ แต่เซเนียกลับมีแต่ลูกชายที่แทบจะเรียงกันเป็นนิ้วมือ ซึ่งทำให้ซารินาพระมารดาทั้งรักทั้งหลงและ"โอ๋"พระนัดดาฝ่ายนั้นตลอดเวลา
    เรื่องนี้..ซาร์ค่อนขอดเสมอว่า..ในฐานะเอมเปรสอพระมารดา ไม่สมควรที่จะต้องไปเลี้ยงหลานให้วุ่นวายไปปล่าวๆ...
    ทางด้านพระมารดาก็เถียงว่า..ถ้าอดีตเอมเปรสอย่างฉันยอมลงเลี้ยงหลานก็เพราะพวกเขาเป็นหลานชายสืบตระกูล..ไม่ใช่อย่างเมียเธอนี่..ที่วันๆ วุ่นวาย
    ชุลมุนเลี้ยงแต่ลูกสาว..แทนที่จะไปทำหน้าที่ของซารินาที่สำคัญกว่าเรื่องเลี้ยงลูก ฝากไปบอกเมียเธอด้วยแล้วกันว่า..ถ้ามีลูกชายไม่ได้ ก็หันไปสนใจเรื่องบ้านเรื่องเมืองเถอะ..อย่าทำตัวเป็นยายเพิ้งที่เอาแต่ทำงานบ้านเลย..

    ความจริงพื้นที่ที่ใช้เป็นที่อภิบาลเจ้าหญิงเล็กๆ ทั้งสองนั้น ถูกตกแต่งเป็นด้วยเฟอร์นิเจอร์ไม้เมเปิ้ลอย่างดี แต่ซารินาพระมารดาก็ยังค่อนขอดจนได้ว่า
    ก็เพราะอลิกซ์มีความสามารถอยู่แค่นั้น อีกทั้งพระองค์ไม่เคยปกปิดความรู้สึกว่า..ทรงอยากให้พระโอรสมิเกลขึ้นครองราชย์มากกว่านิโคลาส
    ตอนนั้น แกรนด์ ดุ๊ค มิเกล มีพระชนมายุเพียงแค่สิบเก้า มีพระวรกายสูงใหญ่ กำยำสมเป็นรัสเชี่ยน กล้าหาญ เก่งทุกอย่าง ยิงปืน ฟันดาบ แถมยังเป็นนักกีฬาตัวยง และเป็นที่หมายปองของเหล่าสาวๆ
    ในขณะที่ซาร์เป็นคนเงียบๆ ชอบอ่านหนังสือ หรือ ปิคนิค..
    ในขณะที่เอมเปรสยังไม่มีพระโอรส..ความหวังของซารินาพระมารดาก็ยังคงเรืองแสงอยู่ เพราะ ตอนนี้ แกรนด์ ดุ๊ค จอร์จิ อยู่อันดับสอง และ
    ต่อด้วย มิเกล..

    ซึ่งใครๆก็ทราบว่า จอร์จิ นั้นอ่อนแรงเต็มที เพราะโรคปอดที่รุมเร้า..
    (ตอนนั้น วัณโรคเป็นโรคร้ายแรงที่ยังไม่สามารถรักษาได้..)

    

    ภาพ.. "จอร์จิ" Grand Duke George Alexandrovich of Russia

 

    ภาพ..พระมาตามหัยยิกา Queen Louise of Denmark

        
 
 

 

    ภาพ...Grand Duke Mikhail Alexandrovich (พระบิดาของซานโดร)

        
     
 

    ปี 1897 ที่สายสัมพันธ์ระหว่างสองเอมเปรสกำลังปีนเกลียวนั้น..สถานะการณ์ยิ่งแย่เข้าไปอีกเมื่อข่าวการแตกแยกระหว่าง ดั๊คกี้ และ เออร์นี่ ในเฮสส์ที่ค่อนข้างอื้อฉาว เนื่องจากดั๊คกี้ไม่ได้ประหยัดถ้อยคำในการโจมตีแม้แต่นิด เนื่องจากเธอได้พบว่าเออร์นี่พระสวามีกำลังระเริงรื่นอยู่กับเด็กหนุ่มคนครัว และมารู้ทีหลังว่าเด็กหนุ่มจากคอกม้า หรือ เด็กรับใช้หนุ่มก็โดนหมด...
    ทำให้ชาวโรมานอฟก็เลยพาลดูถูกอลิกซ์ไปด้วย ในฐานะที่เป็นพี่เป็นน้องกับเออร์นี่..

    ในช่วงฤดูหนาว ระหว่างที่ซารินากำลังเลี้ยงรับรองต้อนรับเพื่อนเก่า Helena Victoria ที่แวะเวียนมาเยี่ยม แต่..ไม่ทันไร เธอก็มีอาการออกหัดเป็นไข้
    จึงต้องหยุดการเป็นเจ้าภาพแต่กลางคัน เข้าพักรักษาตัวนานนับหลายเดือน..
    ยังไม่ทันหายขาด..
    ต่อมา..พระธิดาออลกาก็ล้มเจ็บด้วยอาการของอีสุกอีใส
    ซึ่งซารินาเฝ้าไข้พระธิดาอยู่ทั้งวันและทั้งคืน..หลับพับที่ข้างพระที่ทุกคืน..

    แต่ความตึงเครียดจากฝั่งซารินาพระมารดาหาได้หยุดยั้งไม่..เพราะพระองค์ได้กล่าวหาอลิกซ์ว่าไม่รู้จักดูแลตัวเอง..ปล่อยให้ตัวเองไปคลุกคลีอยู่กับลูกสาวที่เป็นอีสุกอีใส อีกทั้งตัวเองก็เพิ่งออกหัด ถ้าเกิดกำลังท้องอยู่..จะทำอย่างไร ลูกออกมามิพิการรึ..แล้วถ้าเป็นลูกชายเล่า..
    ทุกคนรุมบริภาษ..โดยไม่ได้มีใครใส่ใจเลยว่า..ออลกาซึ่งก็เป็นพระนัดดา
    จะอยู่หรือรอด..
    ใจคอทุกคนต้องการให้เธอทิ้งภาระอาการเจ็บป่วยของลูกสาวให้อยู่ในความดูแลของพยาบาลเท่านั้น..

    และนี่คือครั้งแรกที่ซารินาถึงกับกรรแสงและปรับทุกข์กับมาร์ธาอย่างหมดใจ
    "ถ้าฉันตาย..ซาร์ก็คงไม่กระไร ทรงหาซารินาองค์ใหม่ได้ คนที่อาจจะโชคดีกว่าฉัน คนที่จะมีลูกชายให้พระองค์ได้ ส่วนฉันก็คงล่วงลับไปโดยที่ไม่มีใครคิดถึง ถ้าจะมี..ก็ไม่ใช่ใครที่ไหน นอกจากลูกๆของฉันเท่านั้น"

    "แต่ซาร์ทรงรักพระองค์มาก..มากชนิดที่ไม่เคยมีผู้หญิงคนไหนจะถูกรักได้มากขนาดนั้นนะเพคะ" มาร์ธาปลอบประโลม

    "ก็แล้วจะมีประโยชน์อะไรล่ะ ที่สามีรักหนักหนา แต่คนอื่นทั้งโลกเขาเกลียดฉัน.."

    เมื่อหลังจากที่พระธิดาออลกาหายดี..ซาร์จึงพาครอบครัวไปแปรพระราชฐานที่พระราชวังลิวาเดีย ที่ไครเมีย..เป็นการพักผ่อน

    แต่การพักผ่อนที่มีความสุขนั้นมีระยะเวลาสั้นนัก เพราะไม่กี่วันต่อมา..
    ซาร์ก็ได้รับโทรเลขด่วนจากเดนมาร์ก..แจ้งข่าวว่า ควีนลูอีสได้สิ้นพระชนม์
    ซึ่งซาร์จำเป็นต้องรีบเดินทางด่วนโดยลำพังเพื่อร่วมในพระราชพิธีงานศพ

    เพียงวันเดียวที่เพิ่งเสด็จจากไป จดหมายของซารินาก็ส่งตามหลัง..
    "สุดที่รักของน้อง..พระองค์จะได้อ่านจดหมายฉบับนี้บนขบวนรถไฟที่กำลังพรากพระองค์ให้ออกห่างน้องและลูกๆออกไปทุกที..นี่เป็นครั้งแรกที่เราต้อง
    จากกันไกล น้องประหวั่นใจเหลือเกิน ไม่กล้าคิดเลยว่า ชีวิตนี้น้องจะอยู่ได้อย่างไรถ้าปราศจากพระองค์ผู้เป็นพระสวามีสุดที่รัก.."

    จดหมายนั้นรำพันด้วยข้อความที่ซ้ำไปซ้ำมาหลายหน้า ซารินาได้สัญญาว่าจะไปบรรทมให้ห้องเคบินในเรือพระที่นั่ง สแตนดาร์ทที่จอดอยู่ที่ท่าน้ำ
    ริมพระตำหนัก เพราะทรงมีความรู้สึกว่าจะได้ใกล้พระสวามีเข้าไปอีกหน่อย..
    ข้อความท้ายๆ ของจดหมาย ซารินาได้แนบข่าวให้ทรงทราบไว้ว่า..
    พระองค์อาจจะตั้งครรภ์อีกครั้ง..ครั้งนี้ถือว่าเป็นพระประสงค์ของพระผู้เป็นเจ้า ซึ่งคงจะประทานพระโอรสมาให้อย่างแน่แท้..

    ซารินาเชื่อเสมอว่า..พระโอรสเท่านั้นคือคำตอบสำหรับเสถียรภาพแห่งบัลลังก์ของรัสเซีย และจะเป็นประหนึ่งน้ำทิพย์ที่สามารถเยียวยาแก้ไขสถานะการณ์ที่เลวร้ายทั้งหลายให้หายไปได้..
    อย่างน้อยก็จะได้"ชนะใจ" ซารินาพระมารดาและพระประยูรญาติทั้งหลาย

    เจ้าหญิงไอรีน..ได้เสด็จมาดูแลอลิกซ์อีกครั้ง นอกเหนือไปจากมาร์ธา
    ก็ยังมีนางสนองพระโอษฐ์คนใหม่ คือ Marie Bariatinsky ซึ่งซารินารู้สึกถูกชะตาด้วยเป็นพิเศษ
    ซาร์ได้เสด็จกลับจากเดนมาร์ก..ทรงได้รับข่าวดีว่าซารินาทรงครรภ์แน่นอน
    ซึ่งตอนนั้นคือ ปลายปี 1898 การแพ้ครั้งนี้ผิดแผกไปกว่าทุกครั้ง..ที่เริ่มต้น
    ด้วยการอาเจียนหนักตั้งแต่ช่วงแรกๆ ของการตั้งครรภ์ สลับกับการปวดที่ขาทั้งสองข้างอย่างหนักหน่วง ปวดจนเดินไม่ได้ถึงขนาดที่ต้องประทับบนรถเข็นทั้งวัน..ซึ่งซาร์ได้ทำหน้าที่เข็นพาไปสูดอากาศชมสวนตอนบ่ายๆ ทุกวัน

    

    เดือน มิถุนายน 1899 หลังจากที่การรอคอยที่แสนเคร่งเครียดของซารินามาถึงกำหนด..เวลานั้นก็มาถึง ...ปลายเดือนซารินาได้มีอาการเจ็บ..อันหมายถึงพร้อมต่อประสูติกาล..
    คราวนี้..ช่างแสนทรมาน..นานหลายชั่วโมงที่คณะหมอที่ทำคลอดเริ่มจะหมดหวัง..ทุกคนเริ่มประหวั่นใจว่า..ถ้าซารินาหมดแรงเบ่ง..ก็คงจะถึงคราวที่เขาว่า
    ซาร์อาจจะต้องเลือกเอาอย่างใดอย่างหนึ่ง..แม่หรือลูก หรือ อาจจะทรงสั่งให้แพทย์เตรียมการผ่า..นั่นหมายความว่า..การเดิมพันนั้นสูงนัก

    ในที่สุด..ซารินาก็สามารถข้ามเส้นเสี่ยงไปได้..พระองค์คลอดออกได้ตามปรกติ และครั้งนี้ก็เช่นเดิมที่เคยสัญญากันไว้ว่าขอให้ทุกคนเงียบ..ไม่ส่งสัญญาณใดๆในเรื่องเพศของพระหน่อ จนกว่าพระองค์จะได้พักผ่อนและพร้อมที่จะรับฟังข่าว..
    และครั้งนี้ก็เช่นกัน..ที่ใครได้ทราบข่าวก็ต่างพากันส่ายศรีษะ..เพราะ
    เป็นพระธิดาอีกแล้ว..
    พวกทหารที่ค่าย ปีเตอร์ แอนด์ พอล ต่างก็แทบไม่เชื่อหูตัวเองว่าจะต้องมายิงสลุตร้อยหนึ่งนัดติดๆกันสามหนเข้านี่อีก..

    ประชาชนชาวเมือง..ที่พอได้ยินเสียงปืน..สิ้นเสียงนับ ก็ต่างลงความเห็นพ้อง
    ต้องกันว่า..นังผู้หญิงเยอรมันคนนั้นช่างไร้สมรรถภาพเอาเสียจริงๆ..
    พระธิดาองค์ใหม่นี้ ทรงพระนามว่า มารี (Marie) ที่นับว่ามีพระพลานามัยที่แข็งแรงที่สุด
    โทรเลขแสดงความยินดีหลั่งไหลมาจากทุกมุมโลกเช่นเคย..แม้ซารินาจะต้องทรงตอบเองทุกฉบับ แต่พระองค์ทรงทราบดีว่าในทุกข้อความที่ส่งมาต่างแฝงไว้ด้วยความเสียดาย และหวั่นไหวต่ออนาคตของบัลลังก์ในกาลข้างหน้าว่าจะตกไปเป็นของผู้ใด..

    สองอาทิตย์ต่อมา..กระแสนั้นยิ่งหวั่นไหวเข้าไปอีก เพราะพระอนุชาองค์รอง แกรนด์ ดุ๊ค จอร์จิ
    ได้ถึงแก่กาลสวรรคต ทำให้พระอนุชาองค์เล็ก  แกรนด์ ดุ๊ค มิเกลขึ้นมาในการสืบสายสันตะติวงค์
    องค์ต่อไป..

 

Grand Duke Michael Alexandrovich of Russia   

 




เลิศเลอวงศา...โรมานอฟ โดย วิวันดา

เลิศเลอวงศา...โรมานอฟ ตอนสิบหก
เลิศเลอวงศา...โรมานอฟ ตอนสิบห้า
เลิศเลอวงศา...โรมานอฟ ตอนสิบสี่
เลิศเลอวงศา...โรมานอฟ ตอนสิบสาม
เลิศเลอวงศา...โรมานอฟ ตอนสิบสอง
เลิศเลอวงศา...โรมานอฟ ตอนสิบเอ็ด
เลิศเลอวงศา...โรมานอฟ ตอนสิบ
เลิศเลอวงศา...โรมานอฟ ตอนเก้า
เลิศเลอวงศา...โรมานอฟ ตอนแปด
เลิศเลอวงศา...โรมานอฟ ตอนเจ็ด
เลิศเลอวงศา...โรมานอฟ ตอนหก
เลิศเลอวงศา...โรมานอฟ ตอนห้า
เลิศเลอวงศา...โรมานอฟ ตอนสี่
เลิศเลอวงศา...โรมานอฟ ตอนสอง
เลิศเลอวงศา...โรมานอฟ ตอนหนึ่ง



แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.
| WW II Europe | WW II Asia | WW I | Vietnam War | ประวัติศาสตร์ไทย | บทความจากสมาชิก | คุยกันหลังฉาก | บทความทั้งหมด |

สนใจร่วมเขียนบทความในเว็บไซต์ เชิญอ่าน แนวทางการร่วมเขียนบทความ ภาพยนตร์ประวัติศาสตร์

Custom Search



eXTReMe Tracker