dot
dot
เว็บภาพยนตร์ประวัติศาสตร์ ยินดีต้อนรับผู้สนใจทุกท่าน
dot
dot
สมาชิก Webboard/Blog
ชื่อผู้ใช้ :
รหัสผ่าน :
เข้าสู่ระบบอัตโนมัติ :
bullet ลืมรหัสผ่าน
dot
bulletข้อตกลงการเป็นสมาชิก
bulletเว็บบอร์ด-คุยกันหลังฉาก
bulletเว็บบอร์ด-Games ย้อนยุค
bulletเว็บบอร์ด-ชุดจำลองประวัติศาสตร์
bulletเว็บบอร์ด-หนังสือประวัติศาสตร์
bulletเว็บบอร์ด-เพลงประวัติศาสตร์
bulletคำถาม/คำตอบ ล่าสุด
bulletแนวทางการร่วมเขียนบทความ
dot
สงครามโลกครั้งที่ 2
dot
bulletสมรภูมิยุโรป (สัมพันธมิตรVSเยอรมัน-อิตาลี)
bulletสมรภูมิแปซิฟิก-เอเชีย (สัมพันธมิตรVSญี่ปุ่น)
dot
ภาพยนตร์ประวัติศาสตร์อื่นๆ
dot
bulletสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง
bulletประวัติศาสตร์ไทย
bulletประวัติศาสตร์อเมริกันยุคเริ่มแรก
bulletสงครามเวียดนามและอินโดจีน
bulletตะวันตกโบราณ (กรีก โรมัน ฯลฯ)
bulletประวัติศาสตร์ร่วมสมัย
bulletเอเชียโบราณ
bulletประวัติศาสตร์อื่นๆ (ยังไม่แยกหมวดหมู่)
bulletคลิปความรู้จาก YouTube
dot
บทความโดย วิวันดา
dot
bulletฮิตเล่อร์...และเหล่าขุนพลแห่งอาณาจักรไรค์ซที่สาม
bulletลอดลายรั้ว.....วินด์เซอร์
bulletเลิศเลอวงศา...โรมานอฟ
bulletเชลย
bulletซูคอฟ...ยอดขุนพลผู้ดับฝันของฮิตเล่อร์
dot
บทความโดย สัมพันธ์
dot
bulletคนไทยในกองทัพพระราชอาณาจักรลาว
bulletประวัติศาสตร์สงคราม กรีก
bulletกรณีพิพาทอินโดจีนและสงครามมหาเอเชียบูรพา
bulletอยุธยายศล่มแล้ว ลอยสวรรค์ ลงฤา
bulletฮานนิบาล
bulletพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบรมวงศานุวงศ์
bulletไทยกับมหาสงคราม
bulletสงครามเวียดนาม
bulletห้วยโก๋น ๒๕๑๘
bulletการทัพในมลายา
bulletประวัติศาสตร์อื่น ๆ
dot
เรื่องอื่นๆ
dot
bulletบทความเสริมความรู้ทั่วไป
bulletเกร็ดเล็กเกร็ดน้อย
bulletผู้จัดทำ
bulletผังเว็บไซต์ (Site Map)
bulletแนวทางการร่วมเขียนบทความ
bulletถาม-ตอบ (FAQs) (โปรดอ่านก่อนตั้งกระทู้หรือสมัครสมาชิก)
bulletร้านค้าออนไลน์
bulletแบ่งปัน Album
dot
ลิงค์ต่างๆ
dot
bulletHistory on Film
bulletกองบิน 21 กองพลบิน 2
bulletIELTS British Council
bulletIELTS IDP
bulletMUIC




โหราศาสตร์ยุคไอที



ฮิตเล่อร์...และเหล่าขุนพลแห่งอาณาจักร์ที่ไรค์ซที่สาม ตอนสิบเก้า

ฝ่ายสพม. หลังจากที่จดๆจ้องๆอยู่นั่นแล้ว ก็ได้ฤกษ์ลุยทางตะวันออกเฉียงใต้ของหาดนอร์มังดี ในวันที่ 6 มิถุนายน 1944 หรือ วันนั้นคือ D-Day ที่เรารู้จักกัน
            ส่วนทัพของเยอรมันทัพใหญ่นั้นยังอยู่สะเปะสะปะไกลลิบ ฉะนั้น การรับมือการบุกของสพม.ที่ส่งมาทางอากาศโยธินแบบมือฟ้ามัวดินจึงไม่ทันการ
            แต่ก็เพราะไอ้มืดฟ้ามัวดินที่แหละ ที่สร้างความอลหม่านภายในกองทัพลลูกผสมกันเองแบบเละเทะ เพราะ ทัศนวิสัยการบินที่ค่อนข้างสับสน ปล่อยพลร่มไม่ตรงจุด
            แต่ส่วนดีนั่นก็ คือ เพราะความโกลาหลที่เกิดขึ้น ทำให้เยอรมันอ่านเกมส์ไม่ออก ว่าจะเอายังไงกันแน่ จนในที่สุด ฝ่ายสพม. ก็ยึดหัวหาดได้เกือบสำเร็จแบบเด็ดขาด
            ในสามหาดคือ Gold และ Juno โดยกองทัพอังกฤษ ส่วนหาด Omaha และ Utah นั้นการรับมือจากเยอรมันแข็งแรงเกินคาด
            จากการสู้รบในวันแรก เล่นเอาสพม.ย่ำแย่ไปทีเดียว กว่าจะฝ่าแนวกระสุนและแนวระเบิดไปได้ ก็ นับว่าเสียหายไม่น้อย แต่เป็นโชคดีของ สพม.ที่กองทัพใหญ่พร้อมอาวุธสำคัญของ เยอรมัน นั้น ฮิตเล่อร์ได้ส่งไปปราบพวกหนูทะเลทราย แถวเขตเมือง Caen
          
 ฉะนั้น กองทัพสพม. จึงรวบรัดตัดตอนได้ในวันต่อมา   จึงควรต้องยกความดีทั้งหมดให้แก่ฝ่ายข่าวสารลวงๆของสพม.ที่นับว่าได้ทำงาน สำเร็จในครั้งนี้ เพราะ ฮิตเล่อร์ยังคงเชื่อว่า การบุกขึ้นฝั่งนั้น น่าจะเป็นวันอื่น และที่อื่น....ที่ไม่ใช่ นอร์มังดีนี่
           
พอ..ข่าวขึ้นฝั่งได้กระจายไป แม่ทัพ ฟอน รุนสเตดท์ ถึงกับเข้าประจำที่..เพื่อบัญชาการรบทันที..และ เคยเล่ามาแล้วว่า ฮิตเล่อร์มีกองทัพใหญ่ๆสำรองในมือที่อยู่ในฝรั่งเศสอีกสองกอง นั่นคือ SS Hitlerjugend Panzer Division และ Panzer Lehr Division
            ที่เขาเคยประกาศห้ามใครแตะต้องมาแล้ว..นอกจากจะได้รับอนุมัติจากเขาคนเดียว
            แต่มาคราวนี้ แม่ทัพ ฟอน รุนสเตดท์ สั่งให้สองกองทัพนี่ออกเข้าปฏิบัติการ..บัดเดี๋ยวนี้ ......................แต่..ช้าก่อน
            ฮิตเล่อร์ได้ข่าวนี้ภายในสองชั่วโมงต่อมา เขาโมโหโกรธาจนเส้นขมับโปน สั่งหยุดทัพบัดเดี๋ยวนั้นเช่นกัน และประกาศก้องว่า
            "ยังไม่ไปไหนทั้งนั้น จนกว่าจะรู้ว่าข้าศึกจะเข้าตรงไหนแน่ๆ"
            ฉะนั้น วันที่ 6 มิถุนายน ฝ่ายสพม.จึงยึดหัวหาดทั้งหมดอย่างสำเร็จเด็ดขาด เพราะความโลเลไม่แน่นอนของท่านผู้นำฮิตเล่อร์

            และ ความโชคดีอีกอย่างหนึ่ง..นั่นคือ การคำนวนที่ผิดพลาดของท่านแม่ทัพรอมเมลคนเก่ง ที่ฮิตเล่อร์หวังใจว่าจะให้โยนข้าศึกกลับลงทะเลนั้น..เชื่อว่าทัศนวิสัยเลว ร้ายอย่างในวันนั้น คงไม่น่าจะมีอะไรเกิดขึ้น จึงเดินทางกลับไปเยี่ยมครอบครัวสองสามวัน
            และทันทีที่ทราบข่าว รอมเมลจึงรีบเดินทางกลับฐาน แต่ไม่ทันซะแล้ว เพราะในวันที่ 7 ฝ่ายสพม.ก็คุมพื้นที่ไปทั่วทั้งหาด
            แต่ขนาดคุมอย่างแข็งขัน กองทัพและอาวุธพร้อมมือเพัยบขนาดนั้น ยังใช้เวลาตั้ง 59 วัน กว่าจะรุกเข้าไปทำศึกในพื้นที่ของยุโรปจากนอร์มังดีได้

 

ภาพ..เมื่อแม่ทัพรอมเมลมาถึงนอร์มังดี             

 


            ในสองสามวันแรก ของการบุกที่นอร์มังดี ฮิตเล่อร์ได้สั่งการไปยังเหล่าแม่ทัพว่า ไม่มีการยอมแพ้ใดๆ ขอให้ทหารสู้ตาย
            ประโยคนี้ ฟังดูดี..แต่ทหารที่ไหนล่ะ ..เพราะสองกองทัพใหญ่ที่กล่าวมา เพียงแต่เอารถถังวิ่งมาสองชั่วโมง ถูกฮิตเล่อร์สั่งหยุด..
            พอจวนตัวเข้า..ฮิตเล่อร์สั่งเดินหน้าออกรบอีกที แต่..ในยามนั้น น่านฟ้าของฝรั่งเศสถูกควบคุมโดยกองทัพอากาศของสพม.แล้ว..ขืนวิ่งออกมาสุ่ม สี่สุ่มห้า   รับรองว่า ถูกหย่อนระเบิดรับกันไม่หวัดไม่ไหว..ฉะนั้น..กองทัพรถถังของเยอรมันจึงได้แค่เสี่ยงคืบคลานในยามค่ำคืนเท่านั้น..
            รถไฟสำหรับส่งเสบียง ลำเลียงอาวุธนั้น..ลืมไปได้เลย..ไม่มีการวิ่งใดๆ
            ศึกครั้งนี้จึงใหญ่หลวงนัก สำหรับ ฟอน รุนสเตดท์ และ รอมเมล..สองแม่ทัพจึงหันหน้าเข้าปรึกษากัน โดยคิดว่า ท่านผู้นำน่าจะทำอะไรลงไปสักอย่างหนึ่ง ในขณะที่ยังมีโอกาส
            เช่น หนุนกำลังทั้งหมดที่ ชายหาดอ่าว Cotentin และจากตรงนั้น คือการกั้นการรุกของสพม.อย่างแข็งขันในชั้นหนึ่ง..
            แต่ต้องได้รับการอนุมัติจากฮิตเล่อร์เสียก่อน..คิดได้ดังนั้น สองแม่ทัพขึงขอเข้าพบกับฮิตเล่อร์เป็นการด่วน
            ในตอนนั้น ฮิตเล่อร์ได้เข้ามาประจำอยู่ที่ศูนย์บัญชาการ Margival ..
            คน ทั้งสามได้เข้าปรึกษากันอย่างเคร่งเครียด..ท่านแม่ทัพทั้งสองต่างอธิบาย เหตุผลของการสงครามครั้งนี้ ว่าอะไรควรทำ ไม่ควรทำ จนน้ำลายแห้งไปหลายปี๊บ..
            ในที่สุด ฮิตเล่อร์ได้สัญญาว่า จะจัดกำลังพลและอาวุธตามมี่ต้องการ แต่ รอมเมล บอกด้วยสีหน้าเครียดว่า
            "ทำไมเราไม่ขอทำการสงบศึกล่ะ เพราะ โอกาสที่จะเจรจายังพอมี"
            ฮิตเล่อร์..ได้ยินเข้าถึงกับสติแตก โกรธจนหนวดกระดิก..บอกว่า
            " อย่าเจือกในเรื่องของการเมือง ไอ้พวกสพม. มันไม่ยอมเจรจากับพวกเราอยู่ดี..ไม่ได้ยินรึงัย..ที่พวกมันว่า เราต้องยอมแพ้อย่างไม่มีเงื่อนใขเท่านั้น.."



            และจากคำพูดประโยคนี้ที่หลุดไปจากปากของท่านแม่ทัพรอมเมล..ที่เปรียบเสมือนยาพิษที่ถุกส่งเข้าปากของเขาเองในไม่กี่เดือนต่อมา เพราะ
            ฮิตเล่อร์ได้เชื่อสนิทว่า เขาคือหนึ่งในตัวการของขบวนการวางระเบิดลอบสังหาร (วันที่ 20 กรกฏาคม)
            เพราะ ในยามที่สพม.ได้มาถึงฝั่งยุโรปด้านฝรั่งเศสแล้ว..ฝ่ายที่คิดกำจัดฮิตเล่อร์ ได้เริ่มตื่นตัว ก่อหวอดขึ้นมาอีกครั้ง..มีผู้คนได้มาชักชวนท่านแม่ทัพรอมเมล
            มานานนับเดือนก่อนหน้านี้แล้ว..แต่..เขาไม่เคยสนใจคิดเข้าร่วม
            จนกระทั่ง ในวันนั้น ..วันที่ฮิตเล่อร์ขาดสติ ไม่ได้คิดถึงเรื่องการได้เปรียบเสียเปรียบของการศึก คิดแต่เอาชนะ ทั้งๆที่ไม่มีทางใดๆ ทำให้รอมเมลได้เริ่มรู้สึกตัว
            แล้วว่า..อนาคตของประเทศเยอรมันอันเป็นที่รักของเขา กำลังอยู่ในเงื้อมมือของคนบ้าอำนาจ..
            ทั้งสองแม่ทัพ มองเห็นชะตากรรมการล้มครืนของประเทศอย่างชัดเจน ในครานี้..
            ส่วน ฮิตเล่อร์ หลังจากสั่งการเสร็จก็กลับไปอยู่ที่รังพญานกอินทรีย์ {Berchtesgaden} บนภูเขาทันที จากนั้นการสั่งงานต่างๆก็หลั่งไหลมาจากทางโทรเลข
            และโทรศัพท์ ซึ่งข้อความก็ซ้ำซากแบบเดิมๆ นั่นคือ ทหารเยอรมัน ต้องไม่ถอยแม้แต่ก้าวเดียว !!

            ใน วันที่ 29 มิถุนายน Cherbourg ก็ตกอยู่ในมือของสพม. ที่สามารถยึดท่าสำคัญๆไว้ได้หมด นั่นหมายความว่า การยกพลขึ้นฝั่งโดยท่าเรือ(จริงๆ ที่ไม่ใช่แบบในรูปของน้องดอนนี่)
            นั้นได้มาถึงแล้ว..
            มา ถึงตอนนี้ เหล่าขุนพลอาชีพ เริ่มสับสนต่อการทำศึกสงครามครั้งนี้ นายพล von Schweppenburg แม่ทัพกองพลรถถังได้พยายามที่จะรายงานให้ทางศูนย์บัญชาการทราบ
            ถึงสมรรถนะของการศึกว่า ไม่มีทางที่อาวุธของเยอรมันจะสู้กับฝ่ายสพม.ได้ ไม่ว่าจะเป็นทั้งประสิทธิภาพและจำนวน
            นั่นหมายถึง สู้ต่อไป..ก็คือการฆ่าตัวตายแบบไม่มีการสั่งลา..

 



            วันที่ 1 กรกฏาคม ทั้งสองแม่ทัพ ฟอน รุนสเตดท์ และ รอมเมล ได้เดินทางอย่างเร่งด่วนไปพบกับฮิตเล่อร์ถึงบนยอดเขา
            เบอร์เทสสกาเดน
            ฮิตเล่อร์ไม่มีความประสงค์ที่จะพบกับผู้มาเยือน แกล้งปล่อยให้คอยนานนับหลายชั่วโมง..
            แต่ แม่ทัพทั้งสอง ก็ยอมคอย..และ คอย..เพราะไม่มีทางเลือกอื่นใดดีกว่านั้น เพราะ การพบครั้งนี้ คือ การสานต่อชีวิตให้กับประเทศเยอรมัน.. ในที่สุด...ฮิตเล่อร์ก็อนุญาตให้เข้าพบ..
            การประชุมนั้น..สองแม่ทัพเสียน้ำลายไปอย่างปล่าวประโยชน์ตามเคย..เหมือนอย่างครั้งก่อน คือ กลับไปมือเปล่า..
            แม่ทัพ ฟอน รุนสเตดท์ ได้โทรไปยังศูนย์ ขอพูดกับ แม่ทัพ ไกเทล..และบอกอย่างหมดแรงว่า..
            "เราไม่ไหวแล้วว่ะ..สงสัยแก่เกินกว่าจะทำศึกต่อไปแล้ว นายหาคนมาแทนเราทางฝั่งนี้หน่อยละกัน.."
            แม่ทัพไกเทล..ถามสหายรักกลับไปว่า
            "นายว่า เราจะทำอย่างไรดีวะ ที่จะให้สถานะการณ์มันดีขึ้นกว่านี้"
            "ก็เลิกรบ...แล้ววางอาวุธยอมเขาซะซิวะ ไอ้งั่ง..!!" นั่นคือคำตอบของอีกฝ่ายหนึ่ง ก่อนที่จะวางหูโทรศัพท์ไปดังโครม..
            สอง สามชั่วโมงต่อมา คนที่มารับจ๊อบต่อจาก แม่ทัพ ฟอน รุนสเตดท์ คือ แม่ทัพ ฟอน เชวปเปนเบอร์ค และ ตามมาด้วยแม่ทัพ ฟอน คลุค ที่ฮิตเล่อร์เพิ่งดึงตัวออกมจากสงครามฝั่งรัสเซีย
            ทั้งสองถูกฮิตเล่อร์ กล่อมมาว่า..ทั้งฟอน รุนสเตดท์ และ รอมเมล ทำงานไม่เป็น จะยอมแพ้ลูกเดียว ดังนั้น สองแม่ทัพนี้ จงอย่าทำให้เขาต้องผิดหวัง จงจำไว้เสมอว่า เยอรมันจะแพ้ไม่ได้..
            และ จากนั้น ฮิตเล่อร์ก็ได้ให้สัญยิง สัญญา สารพัดถึงอาวุธแบบแปลกใหม่ที่กำลังจะเข็นออกมาให้ใช้แบบป้ายแดงกำลังหมาดๆ..



            กว่าแม่ทัพใหม่ทั้งสอง จะทำการสำรวจเส้นทางรบก็ปาเข้าไปอาทิตย์นึง ยิ่งสำรวจไป ก็เริ่มรู้ตัวว่า สิ่งที่แม่ทัพ รอมเมลพูดไว้นั่นคือความจริงทั้งสิ้น
            ฝ่ายสพม. นั้น มีกำลังและอาวุธแน่นหนานัก ซึ่งการรับมือของเยอรมันนั้นก็เปราะบางเสียเหลือเกิน
            แถม ข่าวร้ายสำหรับแม่ทัพใหม่หมาดๆที่ได้รับในกลางเดือนกรกฏาคมนั้น ก็คือ เขาทั้งสองต้องรบกับฝ่ายสพม.อย่างเดียวดาย เพราะ เสนาธิการที่แสนชาญฉลาดและคล่องงาน
            อย่างแม่ทัพ รอมเมล ได้ประสบอุบัติเหตุทางรถยนตร์ (ที่ถูกโจมตีทางอากาศขณะขับอยู่บนถนน) รอมเมลเจ็บหนัก..จนต้องเข้าโรงพยาบาลเข้ารับการรักษา
            ทางเหลือให้เลือกอื่นใดไม่มีอีกแล้ว..ฮิตเล่อร์สั่งให้แม่ทัพ ฟอน คลุค ทำงานควบทั้งหมด รวมไปถึง บัญชาการแทน
            ท่านแม่ทัพ รอมเมลด้วย
            และ..จากนั้น ก็มาถึง วันแห่งลางร้ายของแม่ทัพ รอมเมล,,นั่นคือ วันที่ 20 กรกฏาคม 1944 อันเป็นวันลอบสังหารฮิตเล่อร์..
            อย่าง ที่เล่ามาแล้ว..ที่ว่า กลุ่มขบวนการใต้ดินที่จ้องกำจัดฮิตเล่อร์นั้น กำลังเริ่มวางแผนกันอย่างขมักเขม้น กลุ่มคนพวกนี้ไม่ใช่ใครอื่น พวกเขาคือพวกนายทหารรักชาติ
            คนใกล้ชิดสนิทสนมแทบทั้งนั้น
            แผนนั้น หมายจะเก็บ ฮิตเล่อร์ ฮิมม์เล่อร์ และคนสำคัญระดับแนวหน้าของนาซี ให้หมดไปพร้อมๆกันในทีเดียวเลย อะไรก็ไม่เจ๋งเท่ากับการวางระเบิดให้รู้แล้วรู้รอด

            เพราะ ในคำแถลงการณ์ของฝ่ายสพม.ได้ป่าวประกาศอยู่โต้งๆว่า เยอรมันต้องยอมแพ้อย่างไม่มีเงื่อนใขเท่านั้น..จึงจะยอมเจรจาด้วย
            แต่ ถ้า..ไม่มีฮิตเล่อร์ซะคน..การเจรจาอาจออมชอมกันได้..อย่างน้อยๆ ทางสพม.ก็ไม่น่ากลัวเหมือนยักษ์เหมือนมารอย่างพวกรัสเซีย..ที่กำลังจะบุกมา ถึงชายแดนในเวลาไม่ช้านี้แล้ว
            ฉะนั้น แผนการที่ต้องส่งฮิตเล่อร์ลงนรก ต้องถูกกำหนด
            อย่างเร่งด่วน
            คนที่ถูกกำหนดให้ทำงานแบบวันแมนโชว์นี้คือ Colonel Claus von Stauffenberg

 



            วันนั้น วันที่ 20 นั่น พันเอก ฟอน สเตาเฟนเบอร์ค ได้ไปประชุมที่ Wolfsschanze และแอบเอกระเป๋าที่บรรจุระเบิดเวลาไว้ในใต้โต๊ะประชุมที่เป็นไม้ขนาดใหญ่ ยักษ์
            รอเวลาที่ท่านผู้นำเข้ามา จากนั้น ทุกอย่างก็จะเรียบร้อย..
            เขาวางเสร็จก็เดินออกมาคอยดูความหายนะ และ..นับนาทีคอย..
            เสียง ระเบิดดังขึ้นมา ตูม...ผนังและหลังคาหอประชุมเฉพาะกิจนั้น ถูกระเบิดปลิวว่อนไปในอากาศ..พันเอกมือระเบิดรีบสงโทรศัพท์รายงานพรรคพวกที่ รอคอยฟังข่าวดี
            ว่า..ฮิตเล่อร์ได้สิ้นชีวิตเพราะระเบิดทำงานตามเป้าหมายแล้ว..
            หาก แต่เพียงถ้าเขามีตาทิพย์ เขาจะไม่ด่วนทำเช่นนั้นก่อนเวลาเลย เพราะ สิ้นเสียงระเบิด โต๊ะไม้ขนาดยักษ์นั้นก็พลิกหงายไปบังตัวฮิตเล่อร์ไว้อย่างเป็นเกราะกำบังที่ แสนอบอุ่นและปลอดภัย
            เขาไม่ได้รับบาดเจ็บแต่อย่างใด นอกจาก ลูกไฟจากระเบิดที่กระเด็นมาโดนกางเกงเขาจนลุกใหม้ในหลายแห่ง
            จากนั้น..การไล่ล่าหาตัวผู้ร่วมขบวนการถูกนำตัวมาสังหารอย่างทารุณนั้น..มีมากนับพันคน..
            คนหนึ่งได้เอ่ยชื่อของ รอมเมล ออกมาก่อนที่จะถูกทรมานก่อนสิ้นใจ..
            และ..เพียงแค่นั้น..ฮิตเล่อร์ก็ได้ส่งคนไปหารอมเมลที่บ้านพักทันที...
     
             
           
  
                
            USS Tide เรือกวาดทุ่นระเบิด (ตรงกลาง) โดนทุ่นระเบิดของเยอรมันจมลงใน 7 June เวลา 9.40am.
                
             
             


          

            ปืนใหญ่จาก USS Nevada กำลังยิงเข้าสู่บังเกอร์ของเยอรมันบนหาดนอร์มังดี
                
             
             


         
            ทหารอเมริกันชุดแรกที่ขึ้นหาดโอมาฮ่า
                
             
             



        


            ส่วนรูปนี้เป็นชุดที่สองที่ขึ้นหาดโอมาฮ่า เขาบอกว่าสัดส่วนการเสียชีวิตของทหารอเมริกันบนหาดโอมาฮ่าเป็น หนึ่งในสิบแปด
                
             
             


            

       

            เล่ามาถึงรอมเมลแล้วก็เล่าต่อตรงนี้ซะเลย เดี๋ยวค่อยวกกลับไปเล่าประวัติของ เคล้าส์ ฟอน สเตาเฟนเบอร์ค ทีหลัง เพราะน่าสนใจเช่นกัน..
            เรื่อง ของรอมเล..ขอเล่าโดยลอกมาจากปากคำของ ลูซี่รอมเมล ที่มาให้การอย่างละเอียดในเรื่องราวของการตายของสามีหลังจากที่สงครามผ่านไป แล้วหลายปี..ว่า..
            ในวันที่ 13 ตุลาคม 1944 แม่ทัพไกเทลได้โทรศัพท์มาหา ขอพูดกับรอมเมล ใจความว่า ในวันรุ่งขึ้นจะส่งนายทหารชั้นนายพลมาพบสองคน เพื่อที่จะปรึกษาหารือในเรื่อง
            ของตำแหน่งใหม่ที่กำลังจะมอบให้แก่ขุนศึกฉายาจิ้งจอกทะเลทรายผู้เกียงไกร..
            เที่ยง ของวันที่ 14 ก็ปรากฏร่างของนายพลที่ว่านั่นจริงๆ เขาคือ นายพล Bergdorf และ นายพล Maisel และคนหลังนี้มีทส. ตามมาด้วยหนึ่งคน คือ พันตรี
            Anton Ehrnsperger ลูซี่และ มานเฟรด (ลูกชายคนเดียวของรอมเมล) ไปต้อนรับคณะบุคคลดังกล่าวที่ประตูด้วยมารยาทของเจ้าของบ้านที่ดี
            และ เมื่อนายพลทั้งหมดได้เข้าไปในห้องทำงาน ลูซี่รู้สึกสังหรณ์ใจขึ้นมาวาบหนึ่ง ทันทีที่เห็นทส. คนนั้นเดินออกมาจากห้อง และออกไปเดินเกร่คอยข้างนอก
            เพราะนี่คือ สิ่งผิดปรกติ นายทหารคนสนิทมีหน้าที่บันทึกข้อความที่จะไปไหนไม่ได้ทั้งสิ้น..ต้องอยู่ติดกับนาย
            จากนั้น เพื่อนบ้านต่างก็โทรศัพท์เข้ามาหาเป็นระยะ สอบถามว่า มีอะไรเกิดขึ้น เนื่องจากเขาเหล่านั้น เห็นว่า มีหน่วย SS และ รถของเกสตาโปอยู่ในละแวกนั้นเป็นจำนวนมากมายอย่างไม่เคยเป็นมาก่อน
            ซึ่ง ลูซี่ก็ไม่มีคำตอบให้เช่นกัน
            จากนั้น..การประชุมได้จบลง นายพลสองนายนั่น เดินออกมาจากห้อง และกลับออกไปอย่างเงียบๆ นี่ยิ่งผิดปรกติมากกว่าอะไรอื่นใด เพราะ ลูซี่รู้จักสามีของตัวเองดีว่า
            เขาต้อง"ส่งแขก"ที่หน้าประตูด้วยตัวเองทุกครั้ง..
            รอมเมล..เดินขึ้นมาพบกับเธอที่ห้องนอน..ด้วยสีหน้าระทมทุกข์อย่างชนิดที่เธอไม่สามารถบรรยายได้
            "การประชุมเสร็จสิ้นแล้วเหรอ...มีเรื่องอะไรกันคะ?"
            "ในสิบห้านาทีจากนี้ไป..ผมจะต้องจากคุณไปอย่างชั่วนิรันดร์.." เขากล่าวขึ้นด้วยเสียงที่แหบแห้ง..และพูดต่อไปว่า..
            " ท่านผู้นำให้ทางเลือกกับผมสองทาง..คือ กลืนยาพิษด้วยตัวเอง..หรือ จะไปขึ้นศาลสู้คดี เพราะว่า ผมคือผู้ต้องสงสัยในการลอบสังหาร มีการพบว่า ชื่อของผมอยู่ใน
            ตำแหน่งที่ถูกเลือกที่จะก้าวขึ้นมาแทนที่ท่านผู้นำ"
            เพียงแค่นั้น..ลูซี่ก็ปล่อยโฮอย่างห้ามไม่อยู่..
            รอมเมล..ได้ปลอบเธอ และกล่าวต่อไปว่า "ผมเลือกที่จะกินยาพิษ เพราะ เรามีข้อตกลงกันว่า พิธีศพจะมีการจัดการอย่างสมเกียรติ และ เงินบำเน็จบำนาญทั้งหลายคุณก็จะได้อย่างครบถ้วน แต่ถ้าผมขืนดึงดันจะสู้ในชั้นศาล เชื่อเถอะว่า ผมไม่มีชีวิตอยู่ถึงวันตัดสินหรอกนะ..ถึงอาจจะโชคดีรอดถึงวันนั้น..คุณคิดหรือว่าจะหาความยุติธรรมได้จาก ไอ้ศาลเฉพาะกิจบ้าๆนั่น" เขาอธิบายต่อไปว่า
            " ระหว่างที่ผมขึ้นไปในรถกับพวกเขา ขับออกไปสักพัก เขาจะให้ผมกินยาพิษ ที่จะออกฤทธิ์ในสามวินาที จากนั้นเขาก็จะนำร่างของผมไปยังโรงพยาบาล Wagnerschule เพื่อการชันสูตร และพวกเขาจะโทรแจ้งข่าวร้ายให้คุณทราบจากตรงจุดนั้น.."
            มานเฟรด เดินเข้ามาในห้องอย่างไม่รู้อิโหน่อิเหน่ รอมเมลกอดบ่าลูกชายและเดินลับออกไปจากประตูด้วยกัน
            ปล่อยให้ลูซี่ ..นั่งสะอื้นฮักๆ อย่างหมดเรี่ยวแรงแม้แต่จะลุกขึ้นยืน..



            รอมเมลเข้าไปเปลี่ยนเครื่องแต่งตัว..เขาเปลี่ยนเป็นชุดเครื่องแบบสงครามอาฟริกา และ เดิน ออกไปพร้อมกับคทาแม่ทัพในมือ
            ข้างนอก บุคคลที่กำลังจะได้ชื่อว่าเป็นเพชฆาตได้ยืนคอยเขาอยู่ พร้อมกับรถที่เตรียมไว้
            รอมเมลหันมาจับมือกับลูกชาย ก่อนที่จะก้าวขึ้นรถ ซึ่งเหล่า SS สองสามนายได้ทำความเคารพด้วย " Heil Hitler!"
           

            ขณะที่รถได้แล่นออกช้าๆนั้น รอมเมลล้วงไปในกระเป๋า และ หยิบกุญแจบ้านส่งออกมาทางหน้าต่างให้กับลูกชาย..
            ยี่สิบนาทีต่อมา..รถคันนั้นก็ได้เคลื่อนตัวเข้าโรงพยาบาล พร้อมกับร่างที่ไร้วิญญานของท่านนายพลผู้เกรียงไกร..
            นายพลสองคนนั่น..ได้ทำท่าเหมือนกับว่าต้องการความช่วยเหลือจากคณะแพทย์ในการกู้ชีวิตของรอมเมล
            คุณหมอ Meyer ได้บันทึกไว้ว่า.."แค่ชำเลืองมองก็รู้แล้วว่า..การเสียชีวิตนั้นไม่ใช่ธรรมดา"
            ส่วนนายพันตรี ทส. นั่น ก็ได้โทรศัพท์ถึง มาดาม รอมเมลเพื่อแจ้งข่าวร้าย เขาว่า..
            ขณะที่นั่งไปด้วยกันดีๆ ท่านนายพลเกิดหน้ามืด จึงต้องนำตัวส่งโรงพยาบาล และ ไม่นานท่านก็เสียชีวิต เนื่องจากการอุดตันของโลหิตในหัวใจ
            พอคณะแพทย์ได้ลงความเห็นเป็นหลักฐานว่า แม่ทัพรอมเมลได้เสียชีวิตแล้ว..
            นายพล Burgdorf ได้โทรศัพท์ไปหาท่านผู้นำฮิตเล่อร์ และ บอกว่า " Aufrag erledigt" หมายถึง ภารกิจได้สำเร็จลงเรียงร้อยแล้ว
            คณะแพทย์..ต้องการการผ่าศพชันสูตร เพราะ อยากจะรู้ว่าสาเหตุการตายที่แน่ๆนั้นคืออะไร..
            สองนายพลก็จัดการห้ามอย่างเด็ดขาดว่า..ห้ามแตะต้องศพ..ศูนย์ที่เบอร์ลินจะจัดการทุกอย่างเอง..


           

            จากปากคำของ ลูซี่ รอมเมล ได้ให้ไว้ว่า..
            เพราะ สาเหตุว่า มานเฟรด ลูกชายคนเดียวของเธอยังอยู่ในเงื้อมมือของนาซี ทำให้เธอพูดอะไรไม่ได้มากในตอนนั้น แต่ ตอนหลังสงครามเธอให้ปากคำว่า...

            สามีของฉัน(แม่ทัพรอมเมล)ได้เขียนรายงานส่งไปยังท่านผู้นำโดยตรง ในวันเดียวก่อนที่จะเกิดอุบัติเหตุทางรถยนตร์จนต้องเข้าโรงพยาบาล ในข้อความของรายงานนั้น
            ท่านได้ระบุชัดแจ้งว่า ฝ่ายสพม.นั้นมีกำลังทั้งทางบก เรือ อากาศ มากมายเกินกว่าที่เยอรมันจะต้านทานไหว และได้ให้ข้อสรุปว่า ท่านผู้นำฮิตเล่อร์ควรจะหยุดการนองเลือดของทหาร และหันหน้าเจรจาเพื่อสันติได้แล้ว
            หลังจากนั้น ท่านก็ประสบอุบัติเหตุ..แต่นั่นก็ไม่ได้หมายความว่า ท่านผู้นำจะไม่ได้อ่านรายงานที่นำเสนอขึ้นไป..
            และ ท่านได้ถูกฆ่าตายอย่างเลือดเย็น มิใช่ตามข่าวที่ออกมาว่า หัวใจวายตายเอง..สาเหตุก็ไม่ใช่มาจากรายงานนั่น ..เป็นเพราะคดีลอบสังหารวันที่ 20 นั่นต่างหาก
            คุณรู้ไหม..ว่า ท่านไม่รู้เรื่องด้วยจริงๆ แต่พวกขบวนการผู้กระทำได้หมายมั่นให้ท่านก้าวมาเป็นหัวหน้าต่อไป เพราะใครๆก็รู้ดีว่า ท่านเป็นคนอย่างไร...ซื่อตรงแค่ไหน..และเป็นคนเดียว ที่จะสามารถออมชอมกับพวกสัมพันธมิตรได้เป็นอย่างดี แต่ข่าวนี้มันได้รั่วออกไปจนถึงหูใครต่อใคร หลังจากที่ท่านบาดเจ็บออกมาจากฝรั่งเศส ท่านถูกติดตามตลอดเวลา พวกนั้นไม่ต้องการให้ออกมาซะด้วยซ้ำ แต่ท่านก็ยังดื้อดึงที่จะกลับมาบ้านโดยการหลอกล่อหมอให้ตายใจ จนเชื่อว่าหายดีแล้ว ท่านบอกฉันว่า ฝรั่งเศสจะตกอยู่ในมือของสพม.ในเร็วๆนี้อย่างแน่นอน คุณคิดดูซิ ว่า ถ้าท่านรู้ตัวว่าเป็นเป้าหมายการสังหารของนาซี ท่านก็ไม่น่าที่จะกลับมาบ้าน ให้ตกเป็นเหยื่อ (เพราะ อย่างไรเสีย ฝ่ายสพม.ก็ต้องไม่ทำร้ายวีรบุรษอย่างรอมเมลแน่นอน)
            ทันทีที่ท่านกลับถึงบ้าน  เหล่าสายลับติดตามท่านแจ จนไม่กล้าที่จะออกจากบ้านไปไหนคนเดียว ท่านว่า ไม่รู้ว่ากระสุนจะลอยมาปะทะข้างหลังเมื่อไหร่..
            ส่วนนาซี ก็ได้ออกข่าวทุกวันว่า เกลือได้กลายเป็นหนอน และจะจัดการกวาดล้างให้สิ้นในเร็ววัน..

         
            พวกนั้น..ได้ส่งโทรเลขมาให้ท่านไปพบในเบอร์ลิน สำหรับเรื่องการเข้ารับตำแหน่งใหม่ ฟังแล้วทุเรศสิ้นดี เพราะฉันเชื่อว่า ระหว่างที่เดินทางนั้น ต้องมีเหตุร้ายๆเกิดขึ้นแน่นอน
            ไม่รถไฟระเบิด หรืออะไรก็ต้องเกิดขึ้นสักอย่างหนึ่ง เพื่อเป็นฆาตกรรมอำพราง..
            พอท่านไม่ตกหลุมพราง..ปฏิเสธการเดินทางโยอ้างว่าสุขภาพยังไม่ดี มันก็ส่งนายพลมาสองคน..มันตามมาฆ่าท่านถึงบ้าน..
            ที่น่าเสียใจอย่างที่สุด คือ จนกระทั่งวินามีสุดท้าย..ท่านไม่เคยเชื่อว่า ท่านผู้นำมีส่วนรู้เห็นใดๆกับการกล่าวหาในครั้งนี้ ฉันเองก็เชื่อเช่นนั้นด้วย
            แต่จากวันเวลาที่ผ่านไป..ทำให้ฉันได้รู้ว่า ผู้ที่อยู่เบื้องหลังทั้งหมด ก็คือ ฮิตเล่อร์นั่นเอง..
            ฉันทำอะไรไม่ได้มาก นอกจากสวดมนต์ให้พวกฆาตกรทั้งหมดทุกคืน !!
            ลูกชายของฉันโตขึ้นมาด้วยความเลื่อมใสในตัวท่านผู้นำเหมือนกับคนอื่นๆ ซึ่ง..มันเป็นการยากที่จะบอกเขาว่า ไอ้นั่นน่ะ คือ ฆาตกรตัวจริง..
            นายพลคนอื่นๆ..ก็ไม่มีทางเลือกอะไร คุณคิดดูซิว่า แม่ทัพ ฟอน รุนสเตดท์ อยากจะพาทหารไปล้มตายกันเป็นเบือที่สงคราม
            ในแนวอาร์เดนส์ (Battle of the Bulge) นักหรือไง?
            คุณคิดหรือ ว่าท่านแม่ทัพจะไม่รู้ว่าสงครามครั้งนั้นจะไม่มีวันชนะ..แต่..ทหารอาชีพน่ะคุณ..นายสั่งไปไหนก็ต้องไปตามคำสั่ง
            อย่างแนวหน้าฝั่งรัสเซีย ถ้ามันทำกับตัวไม่ได้ มันก็หันมาเอาเรื่องกับครอบครัวที่อยู่ข้างหลัง อย่างแม่ทัพ ฟอน พอลัส ฉันรู้จักกับครอบครัวของเขาดี
            ท่านแม่ทัพเป็นคนตรง เป็นชายชาติทหาร และถ้ามีทางเลือกได้ ท่านคงไม่ยกมือยอมแพ้แก่ข้าศึกอย่างแน่นอน ทางนี้มันจับครอบครัวของท่านเข้าคุกในข้อหาอาชญากรสงคราม
            ฉันเองก็เหมือนกับน้ำท่วมปาก พูดไปออก เล่าไม่ได้มากถึงเหตุการณ์ต่างๆเพราะ ลูกชายของฉันยังต้องมีชีวิตอยู่ต่อไป..

            ส่วน ฆาตกรที่ได้รับมอบหมายให้มาทำหน้าที่ นายพล Burgdorf ชะตาชีวิตของเขาหกเดือนหลังจากนั้น..เขามีส่วนช่วยในงานฉลองพิธีแต่งงานของ ฮิตเล่อร์กับเอวา ในบังเกอร์ช่อนตัว..ขณะที่กองทัพรัสเซียกำลังเดินหน้าเข้ามา..และในที่สุด กรรมก็มาถึงอย่างดาบนั้นคืนสนอง..เพราะ เขาเองก็กลืนยาพิษตายไปพร้อมๆกับเกิบเบิลและครอบครัว
            ส่วนนายพล Maisel ได้ตกไปเป็นนักโทษสงครามที่ค่ายในเมือง
            มิวนิค และตายในที่นั่น..

 

       General  Burgdorf
        

                General  Ernst  Maisel 

 

 

Nazi Cyanide Capsule  

 

นายพล Maisel ได้บันทึกไว้ว่า ขณะที่แจ้งข้อหาให้กับแม่ทัพรอมเมลนั้น..แม่ทัพมีอาการประหลาดใจ แต่ไม่โต้แย้งใดๆ..และหลังจากที่พาตัวขึ้นรถขับไปได้แค่สองสามร้อยเมตร
            ยาพิษ(หรือไซยาไนท์ ที่ถูกเรียกว่า ยา L ในหมู่ SS ) ก็ถูกส่งให้เข้าปาก..เพียงสองสามวิ เขาก็พบว่า รอมเมลกระตุกนิดๆก่อนที่ล้มตัวไปข้างหน้า..หมวกและคทา ร่วงหล่นสู่พื้น
            สิ้นใจไปอย่างเงียบๆ..ไม่มีอาการทุรนทุรายใดๆ..

            การ สู้รบที่นอร์มังดี ยังคงต่อเนื่อง เพียงแต่ว่าเยอรมันไม่สามารถปกป้องได้อย่างแข็งขัน เพราะ ข่าวสารกลลวงของสพม.ที่ออกมาทำให้เชื่อว่า การบุกจะต้องมาจากช่องแคบ
            อังกฤษ ด้าน ปาส์ เดอ คาเลส์ อย่างแน่นอน เพราะ ฮิตเล่อร์เชื่อว่าเช่นนั้น และจากการเชื่อมั่นนี้ ทำให้เขายังคงดื้อดึงเชื่อต่อไปว่า อย่างไรเสีย ข้าศึกขึ้นที่นอร์มังดีก็คงต้องเป็นส่วนน้อย
            ทัพใหญ่ต่างหากที่จะมาทางด้านที่เขาปักใจ..ฉะนั้น ทหารส่วนใหญ่จึงต้องตรึงกำลังไว้ตรงนั้นอย่างไม่มีการขยับเขยื้อน
            และ หลังจากการลอบสังหาร ฮิตเล่อร์ตัดตัวเองออกจากกลุ่มนายทหารคนสนิทอย่างทันที เพราะเขาไม่สามารถเชื่อใจใครได้อีกแล้ว การสั่งฆ่าผู้ที่ต้องสงสัยได้ถูกกระทำขึ้นอย่างต่อเนื่อง
            คนที่เขาไว้ใจอยู่ใกล้ นั่นคือ เกิบเบิล ฮิมม์เล่อร์ บอร์แมนน์ และฝ่ายเลขานุการที่จงรักภักดี
            ส่วน อัลเบิร์ต สเปียร์ คนที่เขาเคยไว้เนื้อเชื่อใจ ก็รอดข้อกล่าวหาไปได้อย่างหวุดหวิดเพราะในรายชื่อของขบวนการที่ถูกจัดส่งไป ให้ท่านผู้นำได้พิพากษานั้น มีชื่อของอัลเบิร์ต
            อยู่ด้วย หากแต่ ชื่อของเขามีเครื่องหมายคำถามตามมาอยู่ข้างหลัง และเป็นคนเดียวที่มีเช่นนั้น..จึงถือได้ว่า เขาคงบริสุทธิ์
            แต่กระนั้น ฮิตเล่อร์ก็ยังทำท่าเย็นชากับเขาอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน
            แต่ ในขณะที่ข้างในประเทศยังยุ่งเหยิงนั้น เยอรมันยังคงทำการสู้รบอย่างแข็งขัน สเปียร์ ในฐานะรัฐมนตรีกระทรวงอาวุธยังสามารถผลิตอาวุธออกมาได้อย่างต่อเนื่อง
            เพียงแต่การขนส่งที่จะนำไปใช้ตามหน่วยที่ต้องการนั้น ยังมีอุปสรรคมากมาย
            ฮิต เล่อร์รู้ดีว่า ในหน่วยรัฐบาลของเขานั้นกำลังแตกออกเป็นหลายฝักหลายฝ่าย เขาจึงบพยายามเกาะติดแน่นอยู่กับมวลหมู่เกสตาโป และ เหล่า SS ที่เขาสร้างมากับมือ
            เขาพยายามพบปะกับเหล่าหัวหอกของเขาทั้งหลาย และ ได้ประกาศให้ทราบโดยทั่วกันว่า ความล้มเหลวทั้งหลายที่เกิดขึ้น มาจากเหล่านายทหารที่คิดคดทรยศ
            ซึ่งต่อไปนี้เขาจะไม่เชื่อใจใครทั้งนั้น นอกจาก พรรคพวกเลือดเนื้อนาซีด้วยกัน


            มาถึงตอนนี้ ฮิตเล่อร์เหลือความหวังในอาวุธลับเพียงอย่างเดียว นั่นคือ เรืออู รุ่น XXlll ที่มีขนาดเล็กพอเหมาะกับการทำงานในช่องแคบอังกฤษ
            แต่ผลที่ออกมาไม่ได้ประทับใจนัก อาวุธที่ว่านั่นคือ ทอร์ปิโดที่แสวงหาเรือข้าศึกเองได้ โดยที่เรือดำน้ำกบดานอยู่กับที่ไม่ต้องแล่นไปไหนเป็นอาทิตย์ๆ
            แม่ทัพ โดนิทซ์ คือผู้ที่คิดค้นคว้าประดิษฐ์ แต่ไม่ว่าจะคิดอะไรออกมา ฝ่ายสพม.ก็สร้างเครื่องป้องกันไว้ได้หมด อย่างอังกฤษได้สร้างทุ่นระเบิดที่ชื่อว่า Squid ออกมา สามารถหย่อนไปคอยดักตามกระแสเรดาร์ได้เลยในทุกที่ อีกทั้ง ไฟฉายส่องใต้น้ำที่มีประสิทธิภาพมากขึ้นกว่าแต่ก่อน

           

 

Squid  

 

 

ส่วนทางด้านรัสเซีย ตั้งแต่คริสมาสต์ของปี 1943 เป็นต้นมา นายพลซูคอฟขวัญใจแม่ยก(ไทย) ได้บุกตีทัพเยอรมันเสียขบวน อีกทั้งได้จับนักโทษและยึดอาวุธได้อย่างมากมาย
            อย่างไหนที่เอามาใช้งานไม่ได้ เขาสั่งทำลายหมด..
            จนถึงเดือนกรกฏาคม 1944 รัสเซียไปบุกเข้ามาจนถึงชายแดนของกรุงวอซอร์ โปแลนด์
            ฮิตเล่อร์ เริ่มมองเห็นการล่มสลายของอาณาจักร ไรค์ซที่สามอย่างลางๆ..เพียงแต่วิธีแก้ปัญหาของเขาในยามนั้น คือ แกล้งทำตาบอดตาใส มองไปทางอื่นซะก็หมดเรื่อง..
            ปากก็ยังชักยนตร์บอกทหารไปปาวๆเหมือนเดิมว่า จะไม่มีการถอยแม้แต่ก้าวเดียว..
            ปลาย เดือนกรกฏาคม ฮิตเล่อรืได้สั่งการไปยังแม่ทัพ ฟอน เกสเซลริ่งว่า..กองทัพต้องเตรียมการปกป้องสู้รบในแนวชายแดนเทอกเขาอัลไพน์ โดยใช้แผนที่จะนำเอา
            ประชาชนมาร่วมสู้รบประเภทร่วมด้วยช่วยกัน..แม่ทัพเกสเซลริ่งจะดูแลแนวรบทางด้านชายแดนสวิส และ แอนเดรียติค
            จากนั้นเขาก็วาดแผนงานสู้รบในฝัน ถึงขนาดสมมุติตัวเองว่าเป็นประชาชนพื้นเมืองที่รักชาติที่อยู่ตามแนวนั้น
            คราวนี้ ฮิตเล่อร์ก็กลับมาเป็นฮิตเล่อร์คนเดิม ที่ เพ้อเจ้อในเรื่องที่ไม่เป็นเรื่อง อย่างคราวที่แม่ทัพต่างไปรบเย้วๆอยู่นั้น เขากลับมาเสียเวลาวาดแปลนภายในบังเกอร์ที่ละเอียดยิบถึงขนาดว่าต้องมีตะปูกี่ตัว..ทหารจึงจะใช้แขวนเสื้อผ้าและสัมภาระได้อย่างเพียงพอ..
            หรือ ครั้งที่เขาสั่งฆ่ายิวนับแสนนับล้าน แต่ก็ยังมาเสียเวลา เสียสมอง คิดวาดแปลนสร้างพิพิทธภัณฑ์
            แต่ ยามที่แม่ทัพ เกสเซลริ่งถามคำถามที่สุดสำคัญยิ่งนั้น..ว่า..จะเอาอย่างไรกับสงครามครั้ง นี้..เขากลับไม่ได้ใช้สมองมากมายอย่างกับสิ่งเล็กๆน้อยๆที่กล่าวมา
            เขาเพียงแต่ตอบว่า..สู้ให้สุดฤทธิ์..
            มาถึงตอนนี้..ศัตรูคนสำคัญของชาวเยอรมัน และทหารทั้งหมดนั้น ไม่ใช่ใครอื่นไกล..กลับเป็นผู้นำฮิตเล่อร์ของเขาคนนี้นี่เอง..
            ผู้ นำที่ไม่เคยแคร์กับชีวิตทหาร ว่ามันจะตายหรืออยู่กินเป็นอย่างไร..คำว่าสู้ให้สุดฤทธิ์ นั้น สู้อะไร และ สู้เพื่อใคร..ในเมื่อ อนาคตจะเป็นอย่างไรไม่มีใครรู้ได้..


           

            วันที่ 21 กรกฏาคม 1944 ฮิตเล่อร์ได้ประกาศแต่งตั้งแม่ทัพ
            คูเดอเรียน นายพลรถถังให้เป็นผู้บัญชาการรบทางด้านสงครามตะวันออก..
            ซึ่งขณะที่เขาเข้ามารับจ๊อบนั้น กองทัพเยอรมันก็อ่อนแอ..นับวันรอแต่ปาฏิหารย์บังเกิดเท่านั้น..อีกซ้ำยังโดน ตลบหลังจากกการลุกฮือของชาวโปล์ที่ก่อการปฏิวัติขึ้นมาภายในกรุงวอซอว์นำโดย นายพล Tadeusz ซึ่งการก่อการครั้งนี้ได้ทำลายศูนย์โทรคมนาคมของเยอรมันเสียหายมากมาย อีกทั้งการสู้รบปฏวัติในครั้งนี้
            ทำให้ชาวโรเมเนียได้ลุกขึ้นมาร่วมต่อต้านด้วยเช่นกัน แม่ทัพคูเดอเรียนจึงรีบส่งรายงานไปยังฮิตเล่อร์ เพื่อขออนุมัติการตั้งศาลทหารพิจารณาคดีพวกผู้ก่อการ
            แต่รายงานไปตกอยู่ที่ ฮิมม์เล่อร์ ที่ได้แปลงสาสน์ข้อความจนฮิตเล่อร์เห็นว่า สมควรที่จะต้องส่งกองทัพหน่วย SS เข้าไปจัดการให้เด็ดขาด โดยส่งฮิมม์เล่อร์ไปเป็นผู้บัญชาการปราบกบฏ
            นั่นก็หมายถึง เหล่า SS จะเข้าไปควบคุมดูแลพื้นที่ในกรุงวอซอว์ อย่างเด็ดขาด โดยที่แม่ทัพคูเดอเรียนไม่มีส่วนรู้เห็นแม้แต่นิดว่าอะไรได้กำลังจะเกิดขึ้น..
            และ ทันทีที่เขาได้ยินเสียงลือเล่าอ้างแว่วๆ เขาก็รีบไปเจรจากับท่านผู้นำว่า...กรุงวอซอว์นั้นถือว่าจุดยุทธศาสตร์สำคัญ สำหรับเยอรมัน..ที่สมควรต้องตั้งมั่นรักษาไว้
            ฮิตเล่อร์ไม่ได้ตกปากรับคำ แต่อย่างใดกับท่านแม่ทัพ เพราะเขาได้สั่งการไปให้หน่วย SS ทำหน้าที่นั้นแล้ว..โดย..สั่งฆ่ามันทุกผู้ที่ขวางหน้าอย่างอำมหิต
            ขณะที่ การสู้รบระหว่าง เยอรมันกับผู้ก่อการปฏิวัติดำเนินไปอย่างดุเดือดนั้น..กองทัพรัสเซียที่อยู่ ประชิดชายแดนโปแลนด์ก็หยุดชะงักกึก.. ฝ่ายเยอรมันดีอกดีใจ ต่างคิดว่า เพราะแรงต้านทานที่แข็งขันจึงสามารถหยุดกองทัพแดงไว้ได้..แต่ ป๊าวววว..
            ที่รัสเซียหยุดนั้น เพราะ นายพลซูคอฟ บอกว่า
            "จะบุกทำไมให้เหนื่อยวะ..ปล่อยให้มันฆ่ากันตายไปก่อน แล้วที่เหลือเราค่อยเข้าไปกวาดล้างทีหลัง.."

            
                ความผิดพลาดของสงครามฝั่งรัสเซียของฮิตเล่อร์ที่ต่าง โผล่มาฟ้องตัวเอง ให้ชาวเยอรมันได้ประจักษ์ต่อสายตา ถึงการกระทำการรบแบบผิดแผกแหวกแนว
    เช่น ประเมินสถานะภาพศัตรูผิดอย่างไม่น่าให้อภัย..การกระทำการทารุณกรรมต่อศัตรู อย่างเหี้ยมโหดราวกับพวกบาเบเรียน ไม่ละเว้นแม้แต่ประชาชนที่ไม่รู้อิโหน่อิเหน่
    การเดียดฉันท์ดูถูกเหล่า สัมพันธมิตรบัลข่านที่มาร่วมรบ(ยูโกสวาเวีย,โรเมเนีย,อัลบาเนีย) ไม่รวมถึงการเข้าแทรกแซงในระบบของเสนาธิการหน่วยรบจนวุ่นวายยุ่งเหยิง
    ซึ่ง ในยามนั้น..เข้าข่ายที่ว่า ความวัวไม่ทันจะหาย ความควายก็ต้องรีบจัดการ นั่นคือ การที่ต้องโยกย้ายกำลังจากการปะทะยันรัสเซีย ให้มาสู้รบทางฝั่งตะวันตกกับฝ่ายสพม.ที่กำลังเดินหน้าล่วงล้ำเข้ามาทุกที..
    ฮิตเล่อร์..หันหน้าพึ่งใครไม่ได้แล้วจริงๆ นอกจากกลุ่มวงในนาซีของตัวเอง..
    นายพลคูเดอเรียน ที่ขออนุมัติการสร้างแนวกำแพงป้องกันการบุกรุก..แต่ไม่ได้รับสนับสนุนแบบเอาจริงเอาจัง..
    แถม ได้รับคำสั่งมาจากฮิตเล่อร์ให้เสริมกำลังโดยการใช้ทหารกองหนุนอาสาสมัคร เขาถึงกับส่ายหน้าอย่างอิดหนาระอาใจ ในความคิดที่ตื้นเขินของท่านผู้นำ
    มิใยที่เขาจะพยายามชี้ให้เห็นว่า การรบครั้งนี้ทหารต้องมีการคล่องตัวในการเคลื่อนทัพ มีประสบการณ์ ไม่ใช่พวกที่เกณฑ์มาจากท้องไร่ท้องนา กึ่งเด็ก กึ่งทุพพลภาพ กึ่งชรา อย่างที่เห็นๆอยู่
    จนน้ำลายแห้งไปหลายปี๊บ ในที่สุด ฮิตเล่อร์ก็ยอมให้มีการสร้างแนวกำแพงป้องกันทางฝั่งตะวันออก
    ทั้งๆ ที่..นั่นคือสิ่งที่ฮิตเล่อร์ไม่ต้องการเห็นเป็นอย่างยิ่ง เพราะ มันเท่ากับว่า เยอรมันต้องกลายเป็นฝ่ายที่มาป้องกันประเทศของตัวเองให้ปลอดจากการบุกรุกของ รัสเซีย
    มันช่างผิดไปจากความประสงค์เดิมเสียจริงๆ เพราะ เมื่อสามปีที่แล้วนั้น..สงครามฝั่งนี้ คือ สงครามที่กะจะไป kick ass ของรัสเชี่ยนแท้ๆ แต่ตอนนี้..มันกลายเป็นว่า..คนป่ามีปืน..!!

   

    แม่ทัพคูเดอเรียน นั้นคือทหารอาชีพ ไม่ได้เสียเวลาให้รอช้าโดยเปล่าประโยชน์แต่อย่างใด เขาเร่งมือสั่งการสร้างแนวป้องกันการรุกรานทันที
    เพราะถ้าช้าไป อาจไม่มีอะไรเหลือ
    ทาง ฝั่งตะวันตกก็เช่นกัน การสร้างแนวป้องกันการบุกรุกก็เร่งกระทำอย่างไม่หยุดยั้ง มีการเกณฑ์แรงงานทั้งผู้หญิงและเด็ก คนชรา ให้เข้ามาร่วมด้วยช่วยกัน
    ก็ นับว่าเป็นที่น่าอนาถใจ..ที่..ในช่วงฤดูร้อนที่ผ่านมานั้น..ฮิตเล่อร์ได้ สั่งฆ่ายิวไปนับจำนวนหลายล้านคน อีกทั้งทหารที่ไปตายและบาดเจ็บในสงครามตะวันออก
    ก็จำนวนนับไม่ถ้วน..แรงงานของเยอรมัน จึงแทบไม่มีเหลือติดประเทศ..
    ฉะนั้น ในเดือนสิงหาคม ฝ่ายสพม.อเมริกัน นำโดยแม่ทัพ แพตตัน ได้นำกองทัพรถถังไหลลื่นผ่านเข้ามาในฝรั่งเศส..จนจะถึงกรุงปารีส..อยู่ รอมร่อ..
    ในขณะที่ แม่ทัพคูเดอเรียน เพิ่งจะรวบรวมทหารเกณฑ์ที่จะเอาไปรบป้องกันแนวรัสเซียนั้นได้ถึง 100 กองพล..คำสั่งฮิตเล่อร์ได้สั่งการมาด่วนว่า
    ให้แบ่งทหารชาวบ้านที่รวบรวมมาได้นี้ประมาณว่า 80% ไปรบทางตะวันตกด่วน เพื่อยันทัพของสพม.ไว้ก่อน..
    ทุกอย่างจึงต้องเป็นไปตามนั้น..ผลคือ ทหารนับสิบๆกองพล กองพลที่ว่ามานี่..ตายราวกับใบไม้ร่วง..
    แม่ ทัพคูเดอเรียน ได้ขอเพิ่มอาวุธทางฝั่งตะวันออกให้มากกว่าเดิม แต่..ทั้งฮิตเล่อร์ แม่ทัพ ไกเทล แม่ทัพ โจลด์ ต่างก็ส่ายหน้า บอกว่า ..ไม่มี..ไม่ให้
    มาถึงในขั้นนี้ ทั้งสองแม่ทัพนั่นเริ่ม"มั่ว"ในข้อมูลอย่างเห็นได้ชัด เพราะ อาวุธในเยอรมันที่สร้างขึ้นมายังคงอยู่ในคลังแสงอีกยอะแยะ..

   

    และฮิตเล่อร์อ่านเกมส์สงครามครั้งนี้ไม่"แตก" เพียงถ้าเขาจะส่งกำลังไปยันทัพของรัสเซียทางตะวันออกให้แข็งขัน..ปล่อยให้ ทางสพม.คือ อังกฤษ และ อเมริกา
    เข้ามาในกรุงเบอร์ลินก่อน..ทางรอดของเยอรมัน(ในการเจรจายุติสงคราม) ยังคงอาจมีเหลือ..
    แต่ อย่างที่ได้เล่าๆมา ว่า เขาคงเสียสติไปแล้วจริงๆ..ที่ยังคงหวังว่า ปาฏิหารย์..ที่เยอรมันอาจจะชนะในยกสุดท้าย..เพียงถ้าเขาจะรวบรวมกำลังพลของ กองทัพทั้งหมด
    ลุกขึ้นมาสู้ตาย..ในสงครามทั้งสองด้าน(เนี่ยะนะ?)

    แม่ทัพคูเดอเรียน สู้อุตส่าห์ลงไปค้นอาวุธในคลังแสงด้วยตัวเอง และพบว่าอาวุธยังมีมากมาย จึงขอให้แม่ทัพไกเทล ส่งลำเลียงมาทางฝั่งตะวันออกด่วน..
    แต่..ทั้งไกเทล และ โจลด์ ได้สั่งระงับ..เพราะ พวกเขาว่า อาวุธพวกนี้ต้องส่งไปใช้ทางตะวันตก โดยเฉพาะ ปืนใหญ่ขนาด .50 มม.
    และ พออาวุธที่ถูกตัดออกจากโควต้าของแม่ทัพคูเดอเรียนถูกส่งไปยังทางตะวันตกเข้าจริงๆ มันก็ช้าเกินการ ..สพม.บุกเข้ามาถึงไหนๆแล้ว
    ซึ่ง แม่ทัพคูเดอเรียน..พ้อว่า..ถ้าส่งมาทางฝั่งนี้ อาจได้ใช้ประโยชน์มากกว่า..
    ใน ขณะที่การสู้รบของฝั่งตะวันออกยังลูกผีลูกคน..หน้าสิ่วผสมหน้าขวานอยู่นั้น ..ฮิตเล่อร์สลับคำสั่งไปมา เดี๋ยวดีเดี๋ยวร้าย เพราะเขาไม่เคยไว้วางใจในแม่ทัพฝ่ายทหารของเขา
    นับตั้งแต่มีการลอบสังหาร มา..เขาได้สั่งการทุกอย่างผ่านกองทัพลูกผสมของนาซีที่ทำงานควบคู่ไปกับกอง ทัพ(ที่สร้างความยุ่งเหยิงอย่างไม่มีอะไรปานเปรียบ)
    โดยตั้งเป็น กองทัพประชาชน (Volksstrum) มี Martin Bormann เป็นผู้บังคับบัญชา
    มาร์ติน บอร์มันน์ คนนี้ คือคนที่ฮิตเล่อร์ ต้องการให้เป็นท่านผู้นำคนต่อไป
    กองทัพประชาชนที่ว่านี้..คือกองทัพที่เข้มแข็ง ฝึกหัดเพียงแต่ วิธีทำการสลุต ไฮล์ ฮิตเล่อร์ ให้ดูแข็งขันเท่านั้น..เหมาะแก่การเดินสวนสนาม แต่ ไม่มีความรู้ในด้านสู้รบแม้แต่นิดเดียว
    ประเทศกำลังจะล่มสลายไปในอีกไม่ กี่วัน ไอ้กองทัพประชาชนนี่ กลับออกกฏขึ้นมาใหม่ ว่า ทหารทุกคนต้องกระทำการสลุตให้ถูกต้องตามแบบแผน และทุกหน่วยกรมกอง
    จะต้องปฏิบัติให้เหมือนกัน อันถือเป็นคำสั่งเด็ดขาด
    ส่วน ฮิมม์เล่อร์ ..หลังจากที่เกิดการลอบสังหาร..เขาได้มีอำนาจเพิ่มพูนขึ้นจบคับประเทศ เพราะผลงานที่หาตัวผู้บงการมาสังหารได้นับร้อยๆราย.. อันถือเป็นความดีความชอบ
    จนฮิตเล่อร์แต่งตั้งให้เป็นถึงผู้บัญชาการหน่วยทหารกองหนุนในกองทัพ และมีอำนาจแทรกแซงในทุกเหล่าทัพ รวมทั้งเรื่องการบริหารบ้านเมือง


    แม่ทัพคูเดอเรียน..ที่ต้องก้มหน้าก้มตาสู้รบทางฝั่งรัส เซีย และยังต้องสู้กับคลื่นใต้น้ำภายในรัฐบาล..เขาพยายามส่งรายงานมาทางเบอร์ลิน ว่า..
    สถานะการณ์ของกองทัพอักษะสัมพันธมิตร เช่น โรเมเนีย บัลเกเรีย นั้น เริ่มย่ำแย่ เพราะการขาดอาวุธและกำลังบำรุง ทหารที่เข้ามาร่วมรบได้ละทิ้งฐาน..หนีออกไปจากแนวชายแดนป้องกัน จนเป็นรอยโหว่ไปหมดแล้ว..ขอให้เบอร์ลินส่งกำลังและอาวุะมาเสริมด่วน
    ซึ่ง.ทั้งไกเทล และ โจลด์ ได้ปฏิเสธเสียงแข็งตามเคย..
    จนในเดือน สิงหาคม กองทัพรัสเซีย..ได้ตลุยมาตามทางช่องโหว่ด้านใต้ของยูเครน ตามที่คาดไว้
    แถมมิหนำซ้ำ กองทัพของโรเมเนีย ก็ได้หันหน้าเข้ามาต่อต้านกองทัพเยอรมันที่กำลังอ่อนแอเข้าไปอีก
    แม่ ทัพคูเดอเรียน ..สั่งทหารถอย..ถอยไปทางสะพานที่จะข้ามแม่น้ำดานูปไปตั้งหลักใหม่..แต่ ช้าไป เพราะ กองทัพของโรเมเนียนั้นได้ตลบหลังเข้ายึดสะพานไว้เสียก่อน
    เท่ากับว่า กองทัพเยอรมันต้องหันมาเผชิญหน้ากับรัสเซียอย่างไม่มีทางเลือก
    กองทัพของบัลเกเรีย ก็ได้หันมาร่วมด้วยกับรัสเซียเช่นกัน..ซึ่งในเดือนกันยายน ประเทศในดินแดนบอลข่าน ต่างก็ตกอยู่ในความคุ้มครองของกองทัพแดงไว้ทั้งหมด
    ฟินแลนด์ได้ถือโอกาสนี้ ประกาศตัวเป็นเอกราช..และ เปิดประเทศให้กองทัพรัสเซียเดินผ่านอย่างมิ่งมิตรไมตรี..
    ที่เดียวที่พอเหลือให้แม่ทัพคูเดอเรียนถอยไปหลบตั้งหลักได้ นั่นก็คือ ฮังการี..ที่ยังคงเหนียวแน่นอยู่กับเยอรมันในยามนั้น..
    แต่..กองทัพรัสเซียก็ยังจ่อคอหอยอยู่ไม่ไกล้ไม่ไกล.
    แค่ชายแดนเอ๊งงง..!!

      

         
         

                                




ฮิตเล่อร์...และเหล่าขุนพลแห่งอาณาจักร์ที่ไรค์ซที่สาม โดย "วิวันดา"

ฮิตเล่อร์...และเหล่าขุนพลแห่งอาณาจักร์ที่ไรค์ซที่สาม ตอนยี่สิบสาม (สมบูรณ์)
ฮิตเล่อร์...และเหล่าขุนพลแห่งอาณาจักร์ที่ไรค์ซที่สาม ตอนยี่สิบสอง
ฮิตเล่อร์...และเหล่าขุนพลแห่งอาณาจักร์ที่ไรค์ซที่สาม ตอนยี่สิบเอ็ด
ฮิตเล่อร์...และเหล่าขุนพลแห่งอาณาจักร์ที่ไรค์ซที่สาม ตอนยี่สิบ
ฮิตเล่อร์...และเหล่าขุนพลแห่งอาณาจักร์ที่ไรค์ซที่สาม ตอนสิบแปด
ฮิตเล่อร์...และเหล่าขุนพลแห่งอาณาจักร์ที่ไรค์ซที่สาม ตอนสิบเจ็ด
ฮิตเล่อร์...และเหล่าขุนพลแห่งอาณาจักร์ที่ไรค์ซที่สาม ตอนสิบหก
ฮิตเล่อร์...และเหล่าขุนพลแห่งอาณาจักร์ที่ไรค์ซที่สาม ตอนสิบห้า
ฮิตเล่อร์...และเหล่าขุนพลแห่งอาณาจักร์ที่ไรค์ซที่สาม ตอนสิบสี่
ฮิตเล่อร์...และเหล่าขุนพลแห่งอาณาจักร์ที่ไรค์ซที่สาม ตอนสิบสาม
ฮิตเล่อร์...และเหล่าขุนพลแห่งอาณาจักร์ที่ไรค์ซที่สาม ตอนสิบสอง
ฮิตเล่อร์...และเหล่าขุนพลแห่งอาณาจักร์ที่ไรค์ซที่สาม ตอนสิบเอ็ด
ฮิตเล่อร์...และเหล่าขุนพลแห่งอาณาจักร์ที่ไรค์ซที่สาม ตอนเก้า และตอนสิบ
ฮิตเล่อร์...และเหล่าขุนพลแห่งอาณาจักร์ที่ไรค์ซที่สาม ตอนแปด
ฮิตเล่อร์...และเหล่าขุนพลแห่งอาณาจักร์ที่ไรค์ซที่สาม ตอนเจ็ด
ฮิตเล่อร์...และเหล่าขุนพลแห่งอาณาจักร์ที่ไรค์ซที่สาม ตอนหก
ฮิตเล่อร์...และเหล่าขุนพลแห่งอาณาจักร์ที่ไรค์ซที่สาม ตอนห้า
ฮิตเล่อร์...และเหล่าขุนพลแห่งอาณาจักร์ที่ไรค์ซที่สาม ตอนสี่
ฮิต เล่อร์...และเหล่าขุนพลแห่งอาณาจักร์ที่ไรค์ซที่สาม ตอนสาม
ฮิตเล่อร์...และเหล่าขุนพลแห่งอาณาจักร์ที่ไรค์ซที่สาม ตอนสอง
ฮิตเล่อร์...และเหล่าขุนพลแห่งอาณาจักร์ที่ไรค์ซที่สาม



1

ความคิดเห็นที่ 1 (101811)
avatar
นอนเช้า

เหอๆ กำลังจินตนาการถึงว่าถ้าการลอบสังหารครั้งนั้นสำเร็จ และรอมเมลก้าวเข้ามาเป็นผู้นำของเยอรมันแทนในการยอมรับจากเหล่าสัมพันธมิตร และได้เจรจาขอยอมแพ้เพื่อรักษาชีวิตผู้คนและประเทศชาติเอาไว้ เยอรมันคงไม่ต้องล้มลุกคลุกคลานหลังสงครามอย่างที่เป็น

ผู้แสดงความคิดเห็น นอนเช้า วันที่ตอบ 2011-09-08 19:37:22 IP : 58.9.96.69


ความคิดเห็นที่ 2 (101815)
avatar
poann

พึงจะได้ทราบเหมือนกันว่า สุดท้ายแล้วท่านแม่ทัพ รอเมล เสียชีวิตแบบนี้ น่าเสียใจและเสียด้าย ครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น poann วันที่ตอบ 2011-09-12 12:20:48 IP : 58.10.189.92



1


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.
| WW II Europe | WW II Asia | WW I | Vietnam War | ประวัติศาสตร์ไทย | บทความจากสมาชิก | คุยกันหลังฉาก | บทความทั้งหมด |

สนใจร่วมเขียนบทความในเว็บไซต์ เชิญอ่าน แนวทางการร่วมเขียนบทความ ภาพยนตร์ประวัติศาสตร์

Custom Search



eXTReMe Tracker