dot
dot
เว็บภาพยนตร์ประวัติศาสตร์ ยินดีต้อนรับผู้สนใจทุกท่าน
dot
dot
สมาชิก Webboard/Blog
ชื่อผู้ใช้ :
รหัสผ่าน :
เข้าสู่ระบบอัตโนมัติ :
bullet ลืมรหัสผ่าน
dot
bulletข้อตกลงการเป็นสมาชิก
bulletเว็บบอร์ด-คุยกันหลังฉาก
bulletเว็บบอร์ด-Games ย้อนยุค
bulletเว็บบอร์ด-ชุดจำลองประวัติศาสตร์
bulletเว็บบอร์ด-หนังสือประวัติศาสตร์
bulletเว็บบอร์ด-เพลงประวัติศาสตร์
bulletคำถาม/คำตอบ ล่าสุด
bulletแนวทางการร่วมเขียนบทความ
dot
สงครามโลกครั้งที่ 2
dot
bulletสมรภูมิยุโรป (สัมพันธมิตรVSเยอรมัน-อิตาลี)
bulletสมรภูมิแปซิฟิก-เอเชีย (สัมพันธมิตรVSญี่ปุ่น)
dot
ภาพยนตร์ประวัติศาสตร์อื่นๆ
dot
bulletสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง
bulletประวัติศาสตร์ไทย
bulletประวัติศาสตร์อเมริกันยุคเริ่มแรก
bulletสงครามเวียดนามและอินโดจีน
bulletตะวันตกโบราณ (กรีก โรมัน ฯลฯ)
bulletประวัติศาสตร์ร่วมสมัย
bulletเอเชียโบราณ
bulletประวัติศาสตร์อื่นๆ (ยังไม่แยกหมวดหมู่)
bulletคลิปความรู้จาก YouTube
dot
บทความโดย วิวันดา
dot
bulletฮิตเล่อร์...และเหล่าขุนพลแห่งอาณาจักรไรค์ซที่สาม
bulletลอดลายรั้ว.....วินด์เซอร์
bulletเลิศเลอวงศา...โรมานอฟ
bulletเชลย
bulletซูคอฟ...ยอดขุนพลผู้ดับฝันของฮิตเล่อร์
dot
บทความโดย สัมพันธ์
dot
bulletคนไทยในกองทัพพระราชอาณาจักรลาว
bulletประวัติศาสตร์สงคราม กรีก
bulletกรณีพิพาทอินโดจีนและสงครามมหาเอเชียบูรพา
bulletอยุธยายศล่มแล้ว ลอยสวรรค์ ลงฤา
bulletฮานนิบาล
bulletพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบรมวงศานุวงศ์
bulletไทยกับมหาสงคราม
bulletสงครามเวียดนาม
bulletห้วยโก๋น ๒๕๑๘
bulletการทัพในมลายา
bulletประวัติศาสตร์อื่น ๆ
dot
เรื่องอื่นๆ
dot
bulletบทความเสริมความรู้ทั่วไป
bulletเกร็ดเล็กเกร็ดน้อย
bulletผู้จัดทำ
bulletผังเว็บไซต์ (Site Map)
bulletแนวทางการร่วมเขียนบทความ
bulletถาม-ตอบ (FAQs) (โปรดอ่านก่อนตั้งกระทู้หรือสมัครสมาชิก)
bulletร้านค้าออนไลน์
bulletแบ่งปัน Album
dot
ลิงค์ต่างๆ
dot
bulletHistory on Film
bulletกองบิน 21 กองพลบิน 2
bulletIELTS British Council
bulletIELTS IDP
bulletMUIC




โหราศาสตร์ยุคไอที



แนะนำบทความประวัติศาสตร์ที่ simple.wikipedia.org article
วันที่ 21/04/2012   10:44:07

ครั้งก่อนได้เคยเชิญชวนให้ท่านผู้สนใจประวัติศาสตร์ได้พยายามศึกษาจากแหล่งความรู้ภาษาต่างประเทศกันบ้าง   รวมทั้งพาดพิงถึงวิกิพีเดีย (www.wikipedia.org) เวอร์ชันภาษาอังกฤษอย่างง่าย (Simple English) ไว้ในบทความเรื่อง ประวัติศาสตร์กับภาษาต่างประเทศ  ไม่ทราบว่าได้ผลประการใดกันบ้าง  ในครั้งนี้จะได้มาขยายผลกันต่อว่าเราจะได้ประโยชน์อะไรจากการอ่านวิกิพีเดียในเวอร์ชัน Simple English กันบ้าง


วิกิพีเดีย คือ สารานุกรมเสรี ที่จัดทำแบบออนไลน์  ครอบคลุมความรู้ในสาขาวิชาการต่างๆ รวมถึงเหตุการณ์ปัจจุบัน  และเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยต่างๆ มากมาย   บันทึกไว้ด้วยภาษาต่างๆ ไม่ทราบว่ากี่ภาษา  แต่เอาเป็นว่าคงเกือบจะทุกภาษาทั่วโลกแล้ว  และที่ต่างจากสารานุกรมที่จัดจำหน่ายเป็นเล่ม  คือ ผู้เขียนบทความต่างๆ ไม่จำเป็นต้องเป็นผู้รู้ผู้มีการศึกษาระดับบิ๊กๆ  แต่เป็นอาสาสมัครจากผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตทั่วไปนั้นเอง

ในเมื่อผู้เขียบทความเหล่านี้อาจจะไม่ใช่ผู้ทรงคุณวุฒิเสมอไปแล้ววิกิพีเดียมีความน่าเชื่อถือมากน้อยแค่ไหน? เทียบกับสารานุกรมทั่วไปได้เพียงใด? เป็นเรื่องที่หลายคนอาจจะยังข้องใจ  ไม่ว่าอย่างไรก็ตาม นักค้นคว้าที่ดีย่อมจะต้องเลือกใช้แหล่งความรู้ต่างๆ อย่างพินิจพิเคราะห์อยู่แล้ว  ไม่ว่าจะเป็นหนังสือเล่มใด เว็บไซต์แห่งใด หรือสื่อความรู้ใดๆ ก็ตาม

จากประสบการณ์และความรู้สึกส่วนตัวแล้ว  ผมเห็นว่าบทความในเวอร์ชันภาษาอังกฤษส่วนใหญ่จัดว่าอยู่ในเกณฑ์ที่ดี  มีรายละเอียดและความน่าเชื่อถือเพียงพอที่จะใช้ในการอ้างอิงได้  สำหรับเวอร์ชันภาษาไทยนั้น  หลายๆ บทความก็นับว่าใช้ได้  แต่น่าเสียดายว่ามีอีกหลายบทความยังไม่ได้มาตรฐาน  เนื่องจากยังมีผู้เขียนในวิกิพีเดียอีกหลายคนคิดเพียงแค่จะต้องมีบทความภาษาไทยมากๆ เข้าไว้  หลายคนมักง่ายเที่ยวไป copy บทความจากเว็บหลายๆ แห่งมา Paste ปะติดปะต่อกันไว้  โดยไม่ดูความเข้ากันได้ของเนื้อหา  หลังๆ เริ่มมีการใช้วิธีแปลจากวิกิเวอร์ชันภาษาอังกฤษมา  ก็ดูเหมือนจะดีกว่าการลอก  แต่บางทีแปลเป็นภาษาไทยที่ไม่ค่อยเป็นภาษาคนบ้าง  หรือยังติดสำนวนฝรั่งมาแบบที่อาจารย์การแปลชอบล้อว่า "กลิ่นนมเนยหึ่ง" บ้าง  บางทีเอาเขามาแปลแต่ตอนบทนำเรื่อง  ส่วนที่เหลือจะแปลต่อหรือเปล่าก็ไม่ทราบ ฯลฯ

ประเด็นที่น่าสนใจคือวิกิพีเดียเคยตกเป็นข่าวว่า  ได้มีคนที่สักแต่ว่ามีอาชีพเป็นครูอาจารย์ทั้งที่เมืองนอกและในเมืองไทยเองสั่งให้ลูกศิษย์ทำการบ้านส่งทางวิกิพีเดีย  ซึ่งส่งผลกระทบต่อความน่าเชื่อถือของวิกิพีเดียอยู่ไม่น้อย  อันที่จริง ทางวิกิพีเดียเองมีระบบในการที่จะตรวจสอบและรับเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับบทความที่ไม่ได้คุณภาพหรือละเมิดลิขสิทธิ์ ฯลฯ อยู่เหมือนกัน  บทความที่มีปัญหาเหล่านี้จะถูกแก้ไขหรือลบทิ้ง  แล้วแต่อาการหนักเบาแค่ไหน

มาตรการที่ว่าจะได้ผลแค่ไหนก็แล้วแต่มุมมองของผู้ชมเว็บแต่ละท่าน  โดยส่วนตัวยืนยันอีกครั้งว่า บทความภาษาอังกฤษส่วนใหญ่พอใช้ได้จนถึงดีมาก  แต่ก็ถือว่าอ่านยาก  ส่วนภาษาไทยยังต้องใช้วิจารณญาณในการอ่านมากหน่อย

แล้ว Simple English ล่ะเป็นอย่างไร  แล้วทำไมต้องมี Simple English แยกออกมาต่างหากจาก Normal English หรือ Standard English ด้วยเล่า

ขอตอบประเด็นหลังก่อนก็แล้วกันครับ  ย้อนอดีตกันนิดหน่อย  เมื่อมนุษย์จากแทบทุกมุมโลกมีการพบปะกันมากขึ้น ไม่ว่าโดยการค้า การรบ การทูต การกีฬา ฯลฯ แล้วพบว่าภาษาที่แต่ละชาติแต่ละเผ่าพันธุ์ต่างคนต่างใช้นั้น  มันช่างเป็นอุปสรรคเหลือเกิน  จึงได้มีความพยายามว่าจะใช้ภาษาอะไรเป็นภาษากลาง  แนวทางหนึ่งคือการสร้างภาษาขึ้นมาใหม่ให้ทุกชาติทุกเผ่าพันธุ์เริ่มต้นเรียนกันใหม่เหมือนกันแต่มีคำศัพท์และไวยากรณ์ที่ง่ายๆ เก็บเล็กผสมน้อยมาจากภาษาต่างๆ นั่นก็คือภาษา Esperanto แต่ก็ยังไม่สามารถเผยแพร่ออกไปได้กว้างขวางเท่าที่ควร  อีกทางเลือกหนึ่งก็คือในเมื่อท่านผู้ดีอังกฤษได้เคยอุตสาหะในการล่าเมืองขึ้นไปทั่วโลกจนเคยได้รับฉายาว่าเป็นจักรวรรดิที่พระอาทิตย์ไม่เคยตกดิน  ทำให้ภาษาอังกฤษได้เผยแพร่ไปทั่วโลกด้วยไม่ว่าประเทศไหนๆ จะเคยเป็นเมืองขึ้นอังกฤษหรือไม่ก็ตาม  ย่อมรู้ภาษาอังกฤษกันมากบ้างน้อยบ้าง  ครั้นพออังกฤษเริ่มลดบทบาทลง  ผู้ที่ก้าวขึ้นมาเป็นพี่เบิ้มแทนก็เป็นสหรัฐอเมริกาซึ่งก็เป็นประเทศที่ใช้ภาษาอังกฤษเช่นกัน  ภาษาอังกฤษจะแทนจะกลายเป็นภาษากลางของโลกโดยปริยาย  แต่ครั้นจะใช้ภาษาอังกฤษตามมาตรฐานของคนประเทศอังกฤษ/อเมริกาซะเลย  คนในหลายๆ ประเทศที่ภาษาอังกฤษไม่ค่อยแข็งแรง (อาจจะด้วยเหตุว่ายังหยิ่งทะนงกับการไม่เคยตกเป็นเมืองขึ้นของใคร  หรือเรียนกันแบบเอาแต่ท่องศัพท์จำแกรมม่ากันเป็นสิบๆ ปี ไม่เคยเจอฝรั่งจริงๆ หรือจะด้วยเหตุใดก็แล้วแต่) ย่อมจะเสียเปรียบ  จึงต้องมีการ "ย่อย" ให้ภาษาอังกฤษนี้มันง่ายขึ้นมาอีกหน่อย  โดยมีการวางหลักเกณฑ์กันไว้ว่าจะใช้คำศัพท์ใช้ไวยากรณ์กันอย่างไรถึงจะไม่ยากเกินไปแต่ยังสื่อกันรู้เรื่องและคงหลักการเดิมของภาษาอังกฤษไว้ได้   ทั้งเรื่องของภาษา Esperanto และ Simple English นี้  ต่างก็มีรายละเอียดและความเป็นมาที่ค่อนข้างมากก่อนจะมาถึงกำเนิดของวิกิพีเดีย  แต่เพื่อไม่ให้ยืดยาวจนนอกเรื่องก็ขอเล่าย่อๆ กันเท่านี้  เอาเป็นว่าสารานุกรมออนไลน์วิกิพีเดียนี้ได้กำหนดให้มีเวอร์ชันเป็นภาษา Esperanto และ Simple English เช่นเดียวกับภาษาอื่นๆ

ในด้านจำนวนบทความ ถ้าเทียบกับวิกิพีเดียที่เป็น Simple English กับเวอร์ชันภาษาอื่นๆ ณ เวลาที่เขียนบทความนี้  โดยคร่าวๆ คือ ภาษาอังกฤษ ประมาณ 3 ล้าน 7 แสนกว่าบทความ ภาษาเยอรมันและฝรั่งเศส อย่างละประมาณ 1 ล้านกว่าบทความ ภาษาไทยประมาณ 6 หมื่น 8 พันกว่าบทความ ส่วน Simple English มีอยู่ประมาณ 7 หมื่น 3 พันกว่าบทความ  คือ มากกว่าภาษาไทยอยู่พอประมาณ  แต่ก็ยังถูกภาษาอื่นๆ อีกหลายภาษาทิ้งห่างอยู่หลายช่วงตัว  รวมถึง Esperanto ที่ผมกล่าวพาดพิงถึงในย่อหน้าที่แล้วนั้น  มีมากถึง 1 แสน 5 หมื่นกว่าบทความแล้วครับ

ในด้านคุณภาพ  พบว่ามีหลายบทความเหมือนกันครับที่เขียนไว้สั้นๆ ห้วนๆ ประมาณว่าเขียนแค่นี้ทำไมฟะ อ่านแล้วไม่ได้รู้อะไรเพิ่มขึ้นเลย  แต่ก็มีอีกหลายบทความที่เรียกว่ากำลังพอดี ไม่สั้นไม่ยาวเกิน  หรือที่ยาวหน่อย  แต่อ่านรวดเดียวจบแบบรู้เรื่อง  เรียกว่ายังพอพึ่งได้ในบางกรณีครับ

ดังนั้น  หากสิ่งที่เราต้องการรู้ในหัวข้อใดที่ไม่มีในวิกิเวอร์ชันภาษาไทย  หรือมีแต่สั้นเกินไป เขียนมั่ว ลอกเขามา  หรือไม่แน่ใจด้วยเหตุใดก็ตาม  ครั้นจะไปอ่านที่เวอร์ชัน English ก็ยากไปหน่อย  เวอร์ชัน Simple English ก็พอจะช่วยเราได้  ในกรณีที่เรื่องนั้นมีความละเอียดมากๆ ต้องการทำความเข้าใจกับเรื่องนั้นอย่างจริงจังแล้วไม่แนะนำให้ใช้เวอร์ชัน Simple English แทน English ปกติโดยสิ้นเชิงนะครับ  แต่ควรอ่านเวอร์ชัน Simple English เพื่อทำความเข้าใจเบื้องต้นก่อนก่อนที่จะไปทำความเข้าใจเพิ่มเติมในเวอร์ชันภาษาอังกฤษปกติ น่าจะได้ประโยชน์มากกว่า  

ทีนี้มาเข้าเรื่องกลุ่มบทความเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ที่จะแนะนำให้อ่านกันซะที  คัดเลือกมาสำหรับแฟนๆ เว็บไซต์ IseeHistory โดยเฉพาะ

อันดับแรกความหมายของวิชาประวัติศาสตร์ครับ


ถัดมาก็เป็นบทความพื้นฐานความรู้เกี่ยวกับสงครามความขัดแย้งใหญ่ๆ ที่สำคัญต่างๆ


บทความที่เกี่ยวกับเรื่องราวของนาซีเยอรมัน


แล้วก็มาที่บทความชีวประวัติบุคคลที่เกี่ยวกับนาซีเยอรมัน


บุคคลสำคัญของชาติอื่นๆ ในสงครามโลกครั้งที่ 2


ถ้าสงครามโลกครั้งที่ 2 มันเฝือเกินไป  ลองมาดูชีวประวัติบุคคลสำคัญในยุคสมัยอื่นๆ กันบ้าง


ตัวอย่างบทความเกี่ยวกับลัทธิและขบวนการต่างๆ ในประวัติศาสตร์


เรื่องอื่นๆ นอกจากนี้ก็ค้นหากันตามชอบใจครับ  ขอให้ผู้อ่านทุกท่านได้พัฒนาความรู้ทั้งด้านประวัติศาสตร์และการอ่านภาษาอังกฤษโดยทั่วกันครับ

 ----------

หมายเหตุ : เปิดให้แสดงความคิดเห็นเฉพาะสมาชิกเว็บไซต์ที่ด้านล่างสุด 

Bookmark and Share




บทความเสริมความรู้ทั่วไป

ร้อยตำรวจเอกธรณิศ ศรีสุข ยอดวีรบุรุษ ตชด. วันที่ 02/07/2010   21:44:35
Robinson Crusoe 1997 - ความเป็นมนุษย์ วันที่ 26/05/2012   10:55:36
พงศาวดารมอญพม่า จาก ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ ๑ วันที่ 21/04/2012   10:42:18 article
พระนเรศวรฯ กับเมืองละแวก ใน พงศาวดารละแวก ฉะบับแปล จ.ศ. ๑๑๗๐ วันที่ 21/04/2012   10:43:01 article
Beau Brummell: The Charming Man 2006 หนุ่มเจ้าสำอาง วันที่ 24/09/2015   22:37:44
เรื่องของฮิตเลอร์ และ เอวา บราวน์ วันที่ 24/09/2015   22:37:10
Fanny Hill การผจญภัยในโลกีย์ วันที่ 24/09/2015   22:36:45
The Marriage of Figaro วิวาห์ฟิกาโร วันที่ 24/09/2015   22:36:10
ยศและเครื่องหมายยศทหารเยอรมันสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 (Wehrmact Heer & Waffen SS) วันที่ 21/04/2012   10:47:26 article
ประวัติศาสตร์กับภาษาต่างประเทศ วันที่ 21/04/2012   10:50:53 article
บางประเด็นจากการไปฟังบรรยายเรื่องพิพิธภัณฑ์โรงเรียนเทพศิรินทร์ วันที่ 21/04/2012   10:52:53 article
หลักฐานประวัติศาสตร์และการวิเคราะห์หลักฐานประวัติศาสตร์ วันที่ 21/04/2012   10:51:49 article
MP40 กับ PPSh-41 และปืนกลมืออื่นๆ อีก 3 แบบ วันที่ 21/04/2012   10:54:27 article
คลีโอพัตรา ตอนที่ 4 : ฟาโรห์องค์สุดท้ายของอียิปต์ - ผู้หญิงที่โลกไม่มีวันลืม (สรุป) วันที่ 09/01/2011   19:31:10
มิติของเวลาในประวัติศาสตร์ วันที่ 27/02/2009   22:33:10
แล้วผมต้องทำอะไรกับประวัติโรงเรียนเทพศิรินทร์? วันที่ 21/04/2012   10:53:38 article
นางเอกอมตะตลอดกาล 25 คนแรก ของฮอลลีวู้ด (1) วันที่ 14/05/2012   21:45:30
เมื่อ Don Quixote de Lamancha ปะทะ เล่าปัง (2) วันที่ 14/05/2012   21:44:31
เมื่อ Don Quixote de Lamancha ปะทะ เล่าปัง วันที่ 14/05/2012   21:43:48
ภาพยนตร์รัสเซีย "Battle of Kursk" ศึกรถถังที่ใหญ่กว่า "Battle of the Bulge" วันที่ 21/04/2012   11:00:38 article
อธิบายเบื้องต้นเกี่ยวกับคำศัพท์หน่วยทหาร วันที่ 21/04/2012   11:01:41 article
"บางระจัน่" จากพระราชพงศาวดาร 2 ฉบับ วันที่ 05/05/2012   09:30:38 article
ราชทูตปรัสเซียเยือนสยามสมัยร.๔ ก้าวแรกสัมพันธ์ไทย-เยอรมัน วันที่ 21/04/2012   11:08:02 article
พระราชดำรัสเนื่องในเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ 20 พฤษภาคม 2535 วันที่ 05/05/2012   09:40:33 article
ทดสอบการแปลยศทหารบกจากภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทยด้วยโปรแกรมพจนานุกรมดิจิตอล วันที่ 05/05/2012   10:17:45 article
ตำราพิชัยสงครามของไทย วันที่ 10/05/2012   11:22:47
ภาพตัวอย่างเครื่องแบบทหารเยอรมันสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 วันที่ 05/05/2012   10:16:51 article
"ไทยรบเขมร" ใน "ไทยรบพม่า" วันที่ 05/05/2012   10:13:48 article
อวสาน บิสมาร์ค วันที่ 10/05/2012   11:26:55
ชีวประวัติกับประวัติศาสตร์ วันที่ 05/05/2012   10:04:25 article
สืบเนื่องจาก "ELSID" วันที่ 14/05/2012   21:41:48
เจงกิสข่าน ผู้ยิ่งใหญ่ (2) วันที่ 14/05/2012   21:40:37
เจงกิสข่าน ผู้ยิ่งใหญ่ วันที่ 14/05/2012   21:39:44
เจ้าพ่อเซี่ยงไฮ้ วันที่ 14/05/2012   21:38:54
การรบแห่งสตาลินกราด วันที่ 10/05/2012   11:28:24
Bangkok mean time เวลามาตรฐานชาติแรกของโลก ณ พระที่นั่งภูวดลทัศไนย วันที่ 10/05/2012   11:30:18
เครื่องบินรบไทยในสงครามอินโดจีน วันที่ 10/05/2012   11:37:11
Little Boyและfatman คู่หูมหาปลัย วันที่ 10/05/2012   11:34:40
BATTEL OF MIDWAY ยุทธนาวีทางอากาศที่เกาะมิดเวย์ จุดเปลี่ยนสงครามแปซิฟิค วันที่ 21/08/2010   22:07:52
พลูโตในยุคสมัยต่างๆ (www.horauranian.com) วันที่ 29/09/2008   21:37:10
กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ ผู้ตั้งชื่อ "เดือน" ของไทย วันที่ 00/00/0000   00:00:00
ความเป็นมา วันสตรีสากล ๘ มีนาคม และ ผู้ให้กำเนิดวันสตรีสากล วันที่ 08/03/2014   08:50:05
คลีโอพัตรา ตอนที่ 1: ราชินีสาว นางพญาแห่งลุ่มแม่น้ำไนล์ ฟาโรห์องค์สุดท้ายของอิยิปต์ และผู้หญิงที่สวยที่สุดในประวัติศาสตร์ วันที่ 09/01/2011   19:31:53
ร้อยเอกวัฒนชัย คุ้มครองเหรียญกล้าหาญสมรภูมิบ้านร่มเกล้า วันที่ 21/08/2010   22:08:31
พันโททวี ปูรณโชติ ขุนศึกแห่งลุ่มน้ำซุยคา วันที่ 21/08/2010   22:09:01
พันโทเจริญ ทองนิ่ม วีรบุรุษพลร่ม วันที่ 21/08/2010   22:09:29
เรือเอกประทีป อนุมณี "ประดู่เหล็กแห่งดูซงญอ" วันที่ 21/08/2010   22:09:57
วีรกรรมดอนแตง วันที่ 21/08/2010   22:10:41



Copyright © 2010 All Rights Reserved.
| WW II Europe | WW II Asia | WW I | Vietnam War | ประวัติศาสตร์ไทย | บทความจากสมาชิก | คุยกันหลังฉาก | บทความทั้งหมด |

สนใจร่วมเขียนบทความในเว็บไซต์ เชิญอ่าน แนวทางการร่วมเขียนบทความ ภาพยนตร์ประวัติศาสตร์

Custom Search



eXTReMe Tracker