dot
dot
เว็บภาพยนตร์ประวัติศาสตร์ ยินดีต้อนรับผู้สนใจทุกท่าน
dot
dot
สมาชิก Webboard/Blog
ชื่อผู้ใช้ :
รหัสผ่าน :
เข้าสู่ระบบอัตโนมัติ :
bullet ลืมรหัสผ่าน
dot
bulletข้อตกลงการเป็นสมาชิก
bulletเว็บบอร์ด-คุยกันหลังฉาก
bulletเว็บบอร์ด-Games ย้อนยุค
bulletเว็บบอร์ด-ชุดจำลองประวัติศาสตร์
bulletเว็บบอร์ด-หนังสือประวัติศาสตร์
bulletเว็บบอร์ด-เพลงประวัติศาสตร์
bulletคำถาม/คำตอบ ล่าสุด
bulletแนวทางการร่วมเขียนบทความ
dot
สงครามโลกครั้งที่ 2
dot
bulletสมรภูมิยุโรป (สัมพันธมิตรVSเยอรมัน-อิตาลี)
bulletสมรภูมิแปซิฟิก-เอเชีย (สัมพันธมิตรVSญี่ปุ่น)
dot
ภาพยนตร์ประวัติศาสตร์อื่นๆ
dot
bulletสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง
bulletประวัติศาสตร์ไทย
bulletประวัติศาสตร์อเมริกันยุคเริ่มแรก
bulletสงครามเวียดนามและอินโดจีน
bulletตะวันตกโบราณ (กรีก โรมัน ฯลฯ)
bulletประวัติศาสตร์ร่วมสมัย
bulletเอเชียโบราณ
bulletประวัติศาสตร์อื่นๆ (ยังไม่แยกหมวดหมู่)
bulletคลิปความรู้จาก YouTube
dot
บทความโดย วิวันดา
dot
bulletฮิตเล่อร์...และเหล่าขุนพลแห่งอาณาจักรไรค์ซที่สาม
bulletลอดลายรั้ว.....วินด์เซอร์
bulletเลิศเลอวงศา...โรมานอฟ
bulletเชลย
bulletซูคอฟ...ยอดขุนพลผู้ดับฝันของฮิตเล่อร์
dot
บทความโดย สัมพันธ์
dot
bulletคนไทยในกองทัพพระราชอาณาจักรลาว
bulletประวัติศาสตร์สงคราม กรีก
bulletกรณีพิพาทอินโดจีนและสงครามมหาเอเชียบูรพา
bulletอยุธยายศล่มแล้ว ลอยสวรรค์ ลงฤา
bulletฮานนิบาล
bulletพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบรมวงศานุวงศ์
bulletไทยกับมหาสงคราม
bulletสงครามเวียดนาม
bulletห้วยโก๋น ๒๕๑๘
bulletการทัพในมลายา
bulletประวัติศาสตร์อื่น ๆ
dot
เรื่องอื่นๆ
dot
bulletบทความเสริมความรู้ทั่วไป
bulletเกร็ดเล็กเกร็ดน้อย
bulletผู้จัดทำ
bulletผังเว็บไซต์ (Site Map)
bulletแนวทางการร่วมเขียนบทความ
bulletถาม-ตอบ (FAQs) (โปรดอ่านก่อนตั้งกระทู้หรือสมัครสมาชิก)
bulletร้านค้าออนไลน์
bulletแบ่งปัน Album
dot
ลิงค์ต่างๆ
dot
bulletHistory on Film
bulletกองบิน 21 กองพลบิน 2
bulletIELTS British Council
bulletIELTS IDP
bulletMUIC




โหราศาสตร์ยุคไอที



The Marriage of Figaro วิวาห์ฟิกาโร
วันที่ 24/09/2015   22:36:10

วิวาห์ฟิกาโร (The Marriage of Figaro) เป็นอุปรากรชวนหัวซึ่ง โมซาร์ท (W.A.Mozart) ประพันธ์ขึ้นจากบทละครไตรภาคของ ปิแอร์ บัวมาเช่ (Pierre Beaumarchais) อุปรากรนี้แสดงรอบปฐมทัศน์เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม ปี1786 ณ กรุงเวียนนา

 

ในช่วงเวลา 2-3 ปีก่อนหน้าที่โมซาร์ทจะประพันธ์โอเปร่าเรื่องนี้ โมซาร์ทได้อุทิศเวลาให้กับการประพันธ์โอเปร่าภาษาเยอรมัน (Singspiel) ด้วยความตั้งใจที่จะเชิดชูศิลปะและวัฒนธรรมของชาติตน แต่พระจักรพรรดิ์โจเซฟที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ปกครองออสเตรียและจักรวรรดิ์โรมันอันศักดิ์สิทธิ์ (Holy Roman Empire) ไม่ได้ให้ความสำคัญต่อความคิดของโมซาร์ทในแง่การสร้างความเป็นเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมมากเท่าความเป็นคงและความเป็นหนึ่งเดียวทางการเมือง ดังนั้นโอเปร่าภาษาเยอมันที่องค์จักรพรรดิ์ต้องการจึงเป็นโอเปร่าที่ช่วยส่งเสริมความนิยมต่อราชวงศ์มากกว่าโอเปร่าในแบบที่โมซร์ทต้องการ นอกจากนี้ปัญหาการขาดแคลนโรงละครที่จะรองรับโอเปร่าภาษาเยอรมันนั้นก็นับว่าเป็นปัญหาใหญ่อีกข้อหนึ่ง ด้วยความยุ่งยากเหล่านี้ โมซาร์ทจึงหันกลับมาประพันธ์โอเปร่าชวนหัว ภาษาอิตาเลียนอีกครั้ง

 

หลังจากที่ละทิ้ง Lo sposo deluso ซึ่งประพันธ์ไม่เสร็จสมบูรณ์ โมซาร์ทก็ได้เริ่มประพันธ์ วิวาห์ฟิกาโร แต่อุปรากรเรื่องใหม่ที่สร้่างขึ้นจากบทประพันธ์ซึี่งกำลังเป็นที่กล่าวขานถึงในหลายประเทศในยุโรปว่าเป็นบทประพันธ์อันตรายที่มีเนื้อหาเสียดสีความเหลื่อมล้ำในฐานะทางสังคมในยุคนั้น ก็ทำให้โมซาร์ทถูกจับตามองจากราชสำนัก ถึงแม้ว่า ลอเรนโซ่ ดา ปอนเต้ (Lorenzo Da Ponte) ผู้เรียบเรียงเรียงคำร้องอุปรากร จะได้ตัดเนื้อหาในเชิงวิพากษ์วิจารณ์ต่อความไม่เสมอภาคออกไป แต่ วิวาห์ฟิกาโร ก็ยังจัดว่าผิดแผกไปจากอุปรากรเรื่องอื่นๆในเวลานั้น

 

นับตั้งแตอุปรากรก่อตัวขึ้นในราวคริสศรรตวรรษที่ 16 กระทั่งถึงยุคที่โมซาร์ทประพันธ์โอเปร่าเรื่องนี้ เนื้อหาของบทละครที่นำมาประพันธ์อุปรากรนั้นล้วนแต่เป็นเรื่องของเทพเจ้า วีรบุรุษ กษัตริย์ และชนชั้นสูง และถึงแม้ว่าอุปรากรชวนหัวในศตวรรษที่ 18 นั้นจะมีตัวละครที่เป็นสามัญชนและข้ารับใช้รวมอยู่ด้วย แต่ตัวละครเหล่านั้นก็ไม่ได้มีบทบาทโดดเด่น และเป็นไปได้ยากที่จะมีบทร้องในเพลงเดียวกันกับตัวละครหลักซึ่งเป็นชนชั้นสูง ในทางกลับกัน ตัวละครเอกซึ่งได้รับบทร้องที่สำคัญและไพเราะในอุปราการเรื่อง วิวาห์ ฟิกาโรนี้กลับเป็นเพียงคนรับใช้ และตัวละครเหล่านี้ยังมีบทร้องร่วมกับผู้เป็นนายโดยเท่าเทียมอีกด้วย นอกจากนี้เนื้อเรื่องของอุปรากรยังเป็นการนำเสนอความเฉลียวฉลาด มีปฏิภาของคนรับใช้ ในขณะที่ขุนนาง ผู้เป็นนาย ถูกนำเสนอในภาพของภิสิทธิชนที่ใช้อำนาจเอารัดเอาเปรียบผู้อื่น

 

อย่างไรก็ตาม ชนชั้นสูงทั้งหมดในเรื่องนี้ก็ไม่ได้รับการนำเสนอในแง่ของผู้ร้ายเสมอไป เพราะในขณะที่ เคาต์ อัลมาวิว่า (Count Almaviva) ถูกนำเสนอในภาพของอภิสิทธิ์ชนนอกศีลธรรมที่น่าขัน เคาน์เตส อัลมาวิว่า ผู้เป็นภรรยากลับถูกเปลี่ยนแปลงบุคลิกลักษณะจากบทละครดั้งเดิมใหกลายเป็นสตรีที่อ่อนหวาน สง่างาม และไร้เดียงสามากกว่าตัวละครจากต้นฉบับ  

 

เนื้อเรื่องของ วิวาห์ฟิกาโร ซึ่งเป็นภาคที่สองของบทละครฟิกาโร ไตรภาค เป็นเวลาสามปี นับจากที่โรซีนน่า สมรสกับ เคาน์อัลมาวิว่า ในตอนจบของ กัลบกแห่งเมืองเซวิล (The Barber of Seville) โรซีนน่าซึ่งในภาคนี้คือ เคาน์เตส อัลาวิว่ากำลังทุกข์ใจจากการถูกหมางเมินโดยผู้เป็นสามี  ไม่ได้มีบทบาทในเนื้อเรื่องอันสับสนอลหม่านในองก์แรกของอุปรากร บทของเคาร์เตสนั้นเริ่มขึ้นในตอนเริ่มแรกขององก์ที่สองหลังจากที่ม่านเปิดขึ้น ด้วยการขับร้องบทร้องรำรำพึงรำพันที่มีเนื้อหาว่าด้วยการวิงวินต่อเทพแห่งความรักให้ช่วยนำความรักของผู้เป็นสามีกลับคืนมา หรือมิฉนั้นก็โปรดประทานความตายให้แก่เธอเสีย

 

http://www.youtube.com/embed/PPbMDLo7JFY" frameborder="0" allowfullscreen>

http://www.youtube.com/watch?v=PPbMDLo7JFY

 

(บทร้อง Porgi amor ขับร้องโดย เรอเน่ เฟลมิ่ง ที่โรงละครกลินเดอบอร์น ปี 1994)

บทร้อง ‘Porgi amor’ อยู่ในบันไดเสียง E flat Major ซึ่งในบางครั้งมีความหมายถึงความโศกเศร้า โมซาร์ทใช้บันไดเสียงนี้ในบทประพันธ์หลายชิ้น โดยเฉพาะในบทร้อง ‘In quali eccessi, o Numi,’  จากอุปรากรเรื่อง Don Giovanni ซึ่งมีเนื้อหาพรรณนาถึงความรักของ Donna Elvira ที่ทำให้เธอสามารถอุทิศตนเพื่อ Don Giovanni ได้ ถึงแม้ว่าจะไม่เคยได้ความรักตอบกับมา 

 

อัตราจังหวะที่ระบุไว้ในบทประพันธ์สำหรับบทร้องนี้คือ Larghetto (จังหวะช้า) แต่ในเชิงปฏิบัติมักอยู่ในอัตราจังหวะปานกลาง (Andante) ดนตรีบรรเลงช่วงต้นก่อนเข้าเนื้อร้องมีความยาวมากกว่าบทร้องอื่นๆในองก์แรก ประการแรกเป็นเพราะบทร้องนี้เป็นบทเพลงแรกขององก์ที่สอง และ อาจเป็นไปได้ว่าโมซาร์ทมีวัตถุประสงค์ที่จะให้ผู้ชมผ่อนคลายจากความสับสนวุ่นวายในองก์แรกเพื่อที่จะสร้างอารมณ์ร่วมต่อความเศร้าโศกของตัวละครใหม่ซึ่งปรากฏอยู่บนเวที บทนำนี้เริ่มขึ้นด้วยท่วงทำนองล่องลอยของเครื่องสาย และ เครื่องลมไม้ซึ่งบรรยายถึงเช้าอันเงียบสงบ ลักษณะช้าเนิบของดนตรีเป็นตัวแทนของอาการครุ่นคิด และ ความว้าเหว่ของเคาน์เตสที่ตื่นขึ้นเพียงลำพังภายในห้องนอน หลังจากที่บาซูนและ คลาริเน็ทเร่งจังหวะขึ้นในช่วงปลายบทนำ กระแสเสียงซึ่งแสดงท่วงทำนองอันโศกเศร้าของเคาน์เตสก็ปรากฏขึ้นโดยมีเครื่องสายบรรเลงคลออยู่ในแนวล่าง และรับช่วงโดยคลาริเน็ทและบาซูนอีกครั้งในตอนจบของแทบทุกๆววรคเพลง แต่สิ่งที่น่าสังเกตในบทเพลงนี้คือ ในขณะที่คลาริเน็ท และ บาซูน มีบทบาทสำคัญ ฟลุทกลับปราศจากบทบาทใดๆทั้งในทำนองและเสียงประสาน และที่น่าสนใจไปว่านั้นคือ ในบทร้อง ‘Dove sono’ ของเคาน์เตสในองก์ที่ 3 บทบาทของฟลุทก็ไม่เป็นที่ปรากฏเช่นกัน หากแต่ในบทร้องของ ‘Deh vieni non tardar’ โซซานน่า และ ‘Voi che sapete’ ของเชอรูบิโน่นั้นกลับมีเสียงฟลุทตามปกติ ดังนั้นจึงอาจกล่าวได้ว่าโมซาร์ทจงใจที่จะตัดฟลุท ซึ่งมีลักษณะเสียงสดใสออกไปจากบทร้องของเคาน์เตสผู้เศร้าโศก

 

 

ถึงแม้จะมีข้อสันนิษฐาณว่าโมซาร์ทนั้นเป็นหนึ่งในสมาชิกขององกรณ์ ฟรีเมสัน (Freemason) แต่ก็ไม่มีหลักฐานปรากฏเป็นที่แน่ชัด อย่างไรก็ตาม ในผลงานหลายชิ้นของโมซาร์ทนั้นก็ได้แสดงให้เห็นถึงแนวคิดในยุคแห่งความเรืองปัญญา (The Age of Enlightenment) เช่น เสรีภาพ, ความเหลื่อมล้ำทางสังคม และ ศีลธรรม ปรากฏอยู่ ซึ่ง วิวาห์ฟิกาโรเองก็เป็นหนึ่งในผลงานที่สามารถเห็นได้ชัด

 

ถึงแม้ว่าวิวาห์ฟิกาโรจะสร้างขึ้นจากบทประพันธ์ของปิแอร์ บัวมาร์เช่ แต่ก็มีรายละเอียดบางประการที่ถูกปรับเปลี่ยนไป โมซาร์ทนั้นเห็นพ้องกับบัวร์มาเช่ในแง่ของความเหลื่อมลำ้ทางสังคม แต่ดูคล้ายว่าเขาจะมีความคิดเห็นขัดแย้งในเชิงของความรัก เพราะ โมซาร์ทไม่ได้นำเสนอเคาท์ และ เคาน์เตส อัลมาวิว่าในแง่ของอภิสิทธิชนที่ผิดศีลธรรม แต่เลือกที่จะนำเสนอในแง่ของคู่สมรสทั่วไปที่เกิดความผิดพลาดทางความสัมพันธ์ โดยโมซาร์ทคล้ายจะแยก วิวาห์ฟิกาโรออกจาก ภาคที่เหลือในไตรภาค และ เพิกเฉยต่อความประพฤติอันน่าอับอายของเคาน์เตสในภาคสุดท้าย  โมซาร์ทได้นำเสนอความรักอันลึกซึ้งที่เคาน์เตสมีต่อสามีผ่านท่วงทำนองอันโศกเศร้า สะเทือนอารมณ์ในบทร้องทั้งสองของเธอ โดยเฉพาะ ‘Porgi Amor’ ที่เธอแสดงให้เห็นว่าไม่มีสิ่งใดในโลกที่จะสำคัญต่อเธอมากไปว่าความรักของผู้เป็นสามี

 

จอร์จ ดังตง (Georges Danton) นักปฏิวัติที่มีบทบาทสำคัญในการปฏิวัติฝรั่งเศสได้กล่าวไว้ว่า ฟิกาโร นั้นเป็นมือสังหารอภิสิทธิชนชั้นดี ทว่าดนตรีของโมซาร์ทนั้นไม่เคยทำร้ายผู้ใด เพราะในขณะที่บทละคร ฟิกาโร ไตรภาค ได้จุดชนวนการปฏิวัตินองเลือดขึ้น ดนตรีของโมซาร์ทนั้นกลับเป็นตัวแทนแห่งความรัก และนำสันติสุขมาสู่มนุษยชาติ

 

 

บรรณานุกรม

 

Grabsky, P. (Director). (2006). In Search of Mozart [DVD]. Brighton: Seventh Art

            Productions.

 

Kaiser, J. (1984)Who’s  who in Mozart’s operas: from Alfonso to Zerlina (C.

            Kessler,Trans.). London:  George Weidenfeld & Nicolson Limited.

 

Landon, H.C.R. (Eds.). (1990). The Mozart Compendium A Guide to Mozart’s Life and

            Music. London: Butler & Tanner Ltd.

 

Mann, W. (1977). The Operas of Mozart. London: Cassell & Company LTD.

 

Mozart, W.A. (1994). Le Nozze Di Figaro [Produced by Derek Baily] [DVD]. West Long

            Branch, NJ: Kultur.

 

Rice, J.A. (2009). Mozart on the Stage. Cambridge: Cambridge University Press.

 

Sadie, S. (Eds.). (2000). Mozart and his Operas. New York: St.Martin’s Press,Inc.

 

Till, N. (1992). Mozart and The Enlightenment : Truth, virtue and beauty in Mozart’s operas.

            London: W.W.Norton & Company Ltd.

 

Todorovic, N. (1987). An Examination of Social Values and Context in The Marriage of

            Figaro and The Magic Flute. Unpublished Diploma Thesis, Griffith University,

            Brisbane.

 

Tommasini, A. (2010). Opera translation : A puzzle of words, wit and rhythms. International

            Herald Tribune. Retrieved March 28, 2011,from ProQuest database.

 




บทความเสริมความรู้ทั่วไป

ร้อยตำรวจเอกธรณิศ ศรีสุข ยอดวีรบุรุษ ตชด. วันที่ 02/07/2010   21:44:35
Robinson Crusoe 1997 - ความเป็นมนุษย์ วันที่ 26/05/2012   10:55:36
พงศาวดารมอญพม่า จาก ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ ๑ วันที่ 21/04/2012   10:42:18 article
พระนเรศวรฯ กับเมืองละแวก ใน พงศาวดารละแวก ฉะบับแปล จ.ศ. ๑๑๗๐ วันที่ 21/04/2012   10:43:01 article
Beau Brummell: The Charming Man 2006 หนุ่มเจ้าสำอาง วันที่ 24/09/2015   22:37:44
เรื่องของฮิตเลอร์ และ เอวา บราวน์ วันที่ 24/09/2015   22:37:10
Fanny Hill การผจญภัยในโลกีย์ วันที่ 24/09/2015   22:36:45
แนะนำบทความประวัติศาสตร์ที่ simple.wikipedia.org วันที่ 21/04/2012   10:44:07 article
ยศและเครื่องหมายยศทหารเยอรมันสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 (Wehrmact Heer & Waffen SS) วันที่ 21/04/2012   10:47:26 article
ประวัติศาสตร์กับภาษาต่างประเทศ วันที่ 21/04/2012   10:50:53 article
บางประเด็นจากการไปฟังบรรยายเรื่องพิพิธภัณฑ์โรงเรียนเทพศิรินทร์ วันที่ 21/04/2012   10:52:53 article
หลักฐานประวัติศาสตร์และการวิเคราะห์หลักฐานประวัติศาสตร์ วันที่ 21/04/2012   10:51:49 article
MP40 กับ PPSh-41 และปืนกลมืออื่นๆ อีก 3 แบบ วันที่ 21/04/2012   10:54:27 article
คลีโอพัตรา ตอนที่ 4 : ฟาโรห์องค์สุดท้ายของอียิปต์ - ผู้หญิงที่โลกไม่มีวันลืม (สรุป) วันที่ 09/01/2011   19:31:10
มิติของเวลาในประวัติศาสตร์ วันที่ 27/02/2009   22:33:10
แล้วผมต้องทำอะไรกับประวัติโรงเรียนเทพศิรินทร์? วันที่ 21/04/2012   10:53:38 article
นางเอกอมตะตลอดกาล 25 คนแรก ของฮอลลีวู้ด (1) วันที่ 14/05/2012   21:45:30
เมื่อ Don Quixote de Lamancha ปะทะ เล่าปัง (2) วันที่ 14/05/2012   21:44:31
เมื่อ Don Quixote de Lamancha ปะทะ เล่าปัง วันที่ 14/05/2012   21:43:48
ภาพยนตร์รัสเซีย "Battle of Kursk" ศึกรถถังที่ใหญ่กว่า "Battle of the Bulge" วันที่ 21/04/2012   11:00:38 article
อธิบายเบื้องต้นเกี่ยวกับคำศัพท์หน่วยทหาร วันที่ 21/04/2012   11:01:41 article
"บางระจัน่" จากพระราชพงศาวดาร 2 ฉบับ วันที่ 05/05/2012   09:30:38 article
ราชทูตปรัสเซียเยือนสยามสมัยร.๔ ก้าวแรกสัมพันธ์ไทย-เยอรมัน วันที่ 21/04/2012   11:08:02 article
พระราชดำรัสเนื่องในเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ 20 พฤษภาคม 2535 วันที่ 05/05/2012   09:40:33 article
ทดสอบการแปลยศทหารบกจากภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทยด้วยโปรแกรมพจนานุกรมดิจิตอล วันที่ 05/05/2012   10:17:45 article
ตำราพิชัยสงครามของไทย วันที่ 10/05/2012   11:22:47
ภาพตัวอย่างเครื่องแบบทหารเยอรมันสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 วันที่ 05/05/2012   10:16:51 article
"ไทยรบเขมร" ใน "ไทยรบพม่า" วันที่ 05/05/2012   10:13:48 article
อวสาน บิสมาร์ค วันที่ 10/05/2012   11:26:55
ชีวประวัติกับประวัติศาสตร์ วันที่ 05/05/2012   10:04:25 article
สืบเนื่องจาก "ELSID" วันที่ 14/05/2012   21:41:48
เจงกิสข่าน ผู้ยิ่งใหญ่ (2) วันที่ 14/05/2012   21:40:37
เจงกิสข่าน ผู้ยิ่งใหญ่ วันที่ 14/05/2012   21:39:44
เจ้าพ่อเซี่ยงไฮ้ วันที่ 14/05/2012   21:38:54
การรบแห่งสตาลินกราด วันที่ 10/05/2012   11:28:24
Bangkok mean time เวลามาตรฐานชาติแรกของโลก ณ พระที่นั่งภูวดลทัศไนย วันที่ 10/05/2012   11:30:18
เครื่องบินรบไทยในสงครามอินโดจีน วันที่ 10/05/2012   11:37:11
Little Boyและfatman คู่หูมหาปลัย วันที่ 10/05/2012   11:34:40
BATTEL OF MIDWAY ยุทธนาวีทางอากาศที่เกาะมิดเวย์ จุดเปลี่ยนสงครามแปซิฟิค วันที่ 21/08/2010   22:07:52
พลูโตในยุคสมัยต่างๆ (www.horauranian.com) วันที่ 29/09/2008   21:37:10
กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ ผู้ตั้งชื่อ "เดือน" ของไทย วันที่ 00/00/0000   00:00:00
ความเป็นมา วันสตรีสากล ๘ มีนาคม และ ผู้ให้กำเนิดวันสตรีสากล วันที่ 08/03/2014   08:50:05
คลีโอพัตรา ตอนที่ 1: ราชินีสาว นางพญาแห่งลุ่มแม่น้ำไนล์ ฟาโรห์องค์สุดท้ายของอิยิปต์ และผู้หญิงที่สวยที่สุดในประวัติศาสตร์ วันที่ 09/01/2011   19:31:53
ร้อยเอกวัฒนชัย คุ้มครองเหรียญกล้าหาญสมรภูมิบ้านร่มเกล้า วันที่ 21/08/2010   22:08:31
พันโททวี ปูรณโชติ ขุนศึกแห่งลุ่มน้ำซุยคา วันที่ 21/08/2010   22:09:01
พันโทเจริญ ทองนิ่ม วีรบุรุษพลร่ม วันที่ 21/08/2010   22:09:29
เรือเอกประทีป อนุมณี "ประดู่เหล็กแห่งดูซงญอ" วันที่ 21/08/2010   22:09:57
วีรกรรมดอนแตง วันที่ 21/08/2010   22:10:41



Copyright © 2010 All Rights Reserved.
| WW II Europe | WW II Asia | WW I | Vietnam War | ประวัติศาสตร์ไทย | บทความจากสมาชิก | คุยกันหลังฉาก | บทความทั้งหมด |

สนใจร่วมเขียนบทความในเว็บไซต์ เชิญอ่าน แนวทางการร่วมเขียนบทความ ภาพยนตร์ประวัติศาสตร์

Custom Search



eXTReMe Tracker