dot
dot
เว็บภาพยนตร์ประวัติศาสตร์ ยินดีต้อนรับผู้สนใจทุกท่าน
dot
dot
สมาชิก Webboard/Blog
ชื่อผู้ใช้ :
รหัสผ่าน :
เข้าสู่ระบบอัตโนมัติ :
bullet ลืมรหัสผ่าน
dot
bulletข้อตกลงการเป็นสมาชิก
bulletเว็บบอร์ด-คุยกันหลังฉาก
bulletเว็บบอร์ด-Games ย้อนยุค
bulletเว็บบอร์ด-ชุดจำลองประวัติศาสตร์
bulletเว็บบอร์ด-หนังสือประวัติศาสตร์
bulletเว็บบอร์ด-เพลงประวัติศาสตร์
bulletคำถาม/คำตอบ ล่าสุด
bulletแนวทางการร่วมเขียนบทความ
dot
สงครามโลกครั้งที่ 2
dot
bulletสมรภูมิยุโรป (สัมพันธมิตรVSเยอรมัน-อิตาลี)
bulletสมรภูมิแปซิฟิก-เอเชีย (สัมพันธมิตรVSญี่ปุ่น)
dot
ภาพยนตร์ประวัติศาสตร์อื่นๆ
dot
bulletสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง
bulletประวัติศาสตร์ไทย
bulletประวัติศาสตร์อเมริกันยุคเริ่มแรก
bulletสงครามเวียดนามและอินโดจีน
bulletตะวันตกโบราณ (กรีก โรมัน ฯลฯ)
bulletประวัติศาสตร์ร่วมสมัย
bulletเอเชียโบราณ
bulletประวัติศาสตร์อื่นๆ (ยังไม่แยกหมวดหมู่)
bulletคลิปความรู้จาก YouTube
dot
บทความโดย วิวันดา
dot
bulletฮิตเล่อร์...และเหล่าขุนพลแห่งอาณาจักรไรค์ซที่สาม
bulletลอดลายรั้ว.....วินด์เซอร์
bulletเลิศเลอวงศา...โรมานอฟ
bulletเชลย
bulletซูคอฟ...ยอดขุนพลผู้ดับฝันของฮิตเล่อร์
dot
บทความโดย สัมพันธ์
dot
bulletคนไทยในกองทัพพระราชอาณาจักรลาว
bulletประวัติศาสตร์สงคราม กรีก
bulletกรณีพิพาทอินโดจีนและสงครามมหาเอเชียบูรพา
bulletอยุธยายศล่มแล้ว ลอยสวรรค์ ลงฤา
bulletฮานนิบาล
bulletพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบรมวงศานุวงศ์
bulletไทยกับมหาสงคราม
bulletสงครามเวียดนาม
bulletห้วยโก๋น ๒๕๑๘
bulletการทัพในมลายา
bulletประวัติศาสตร์อื่น ๆ
dot
เรื่องอื่นๆ
dot
bulletบทความเสริมความรู้ทั่วไป
bulletเกร็ดเล็กเกร็ดน้อย
bulletผู้จัดทำ
bulletผังเว็บไซต์ (Site Map)
bulletแนวทางการร่วมเขียนบทความ
bulletถาม-ตอบ (FAQs) (โปรดอ่านก่อนตั้งกระทู้หรือสมัครสมาชิก)
bulletร้านค้าออนไลน์
bulletแบ่งปัน Album
dot
ลิงค์ต่างๆ
dot
bulletHistory on Film
bulletกองบิน 21 กองพลบิน 2
bulletIELTS British Council
bulletIELTS IDP
bulletMUIC




โหราศาสตร์ยุคไอที



บทสัมภาษณ์ Webmaster ในนิตยสารสกุลไทย มกราคม 2553 article
วันที่ 21/11/2011   11:54:47

บทสัมภาษณ์ Webmaster ของ IseeHistory.com ที่เคยลงในนิตยสารสกุลไทย ฉบับที่ 2884 ปีที 54 ประจำวันอังคารที่ 26 มกราคม 2553 คอลัมน์ "สุขที่ใจรัก" หน้า 58-59  สัมภาษณ์โดย อรุณี ภาพประกอบโดย สุทธิพันธ์

-----

โรจน์ จินตมาศ
ประวัติศาสตร์ออนไลน์


    เพราะมีความสนใจในประวัติศาสตร์ แถมยังชอบดูภาพยนตร์ประวัติศาสตร์ โดยเฉพาะภาพยนตร์ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับเหตุการณ์ในช่วงสงครามโลกเป็นชีวิตจิตใจ โรจน์ จินตมาศ ข้าราชการในสำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ จึงนำเรื่องราวและมุมมองที่ได้พบเห็นผ่านหนังสงครามมาเล่าสู่กันฟังผ่านทางเว็บไซด์ www.iseehistory.com ของเขา ด้วยจุดหมายเพื่อทบทวนความรู้ทางประวัติศาสตร์ของตนเอง และให้เป็นเวทีแลกเปลี่ยนความรู้กับคนอื่นๆ ที่มีความสนใจในเรื่องเดียวกัน

ย้อนอดีต หาปัจจุบัน

    “จุดเริ่มต้นความสนใจ จริงๆ มาจากหลายเหตุด้วยกัน เท่าที่นึกออกคงจะมาจากการได้ดูหนังสงครามเรื่องแรกๆ ที่มาฉายทางทีวีเมื่อ ๓๐ กว่าปีก่อนโน้น ยังเป็นภาพขาวดำอยู่เลยชื่อเรื่อง Combat แม้ว่าเนื้อหายังไม่ถึงกับเป็นประวัติศาสตร์ที่ลึกอะไรมาก แต่ก็อิงกับประวัติศาสตร์สงครามโลกครั้งที่ ๒ เป็นเรื่องของทหารอเมริกันหน่วยหนึ่งที่ต้องไปผจญภัยต่อสู้กับข้าศึกคือ ทหารฝ่ายเยอรมัน ซึ่งนอกจากจะยิงกันมันส์ๆ แล้ว ก็ยังมีข้อคิดดีๆ ด้วย เช่น เรื่องของความเป็นเพื่อนระหว่างทหารฝ่ายเดียวกัน และการมีเมตตาระหว่างศัตรู จากหนังสงครามเรื่องแรกที่ได้ดูทางทีวี พอโตก็เริ่มติดตามดูเรื่องอื่นต่อตั้งแต่เป็นวีดิโอจนตอนนี้เป็นวีซีดีกับดีวีดี แต่ก็ดูแบบยังไม่ได้คิดว่าจะรวบรวมให้เป็นชิ้นเป็นอัน แล้วช่วงแรกผมยังไม่รู้ตัวด้วยซ้ำว่าเราชอบ ก็แค่หาหนังดูไปเรื่อยๆ ไม่ได้เจาะจงว่าต้องเป็นหนังประวัติศาสตร์ เพียงแต่ด้วยสัญชาตญาณที่อาจจะชอบอะไรที่อิงความจริงมากกว่าก็เลยมักจะหยิบจะซื้อหนังแนวนี้มากกว่าแนวอื่น จนกระทั่งเมื่อประมาณ เดือนมีนาคม ๒๕๔๙ ได้เริ่มเขียนบล็อค แต่ก็ยังไม่ใช่เรื่องที่เกี่ยวกับหนังสงครามโดยตรงอยู่ดี จะมีหลายๆ คอลัมน์จับฉ่ายกันอยู่ หนังสงครามประวัติศาสตร์ก็เป็นคอลัมน์หนึ่งในจำนวนนั้น จนตอนหลังถึงเริ่มสังเกตว่า มีคนให้ความสนใจเยอะ ในเดือนธันวาคมปีเดียวกันนั้นถึงได้แยกออกมาตั้งเป็นเว็บไซด์โดยเฉพาะ นอกจากหนังสงครามโลกแล้วยังมีหนังอีกแนวที่เพิ่งรู้ตัวเมื่อไม่นานว่าชอบอยู่ไม่น้อยคือ พวกหนังกำลังภายในที่อิงประวัติศาสตร์ อย่างเรื่องดาบมังกรหยก ที่เนื้อหาส่วนหนึ่งอาจจะมีเรื่องอภินิหารกำลังภายในอยู่เยอะ แต่ก็เป็นเหตุการณ์ในช่วงที่ประเทศจีนกำลังจะปลดแอกตนเองจากการปกครองของมองโกล เป็นต้น

    แต่ถ้าย้อนไปสมัยประถมมัธยม เรื่องประวัติศาสตร์ก็ยังไม่ถึงขนาดเป็นวิชาโปรดที่สุดนะครับ ช่วงนั้นผมจะชอบพวกภาษาและวรรณคดีมากกว่า ส่วนประวัติศาสตร์จะสนใจในเชิงกึ่งๆ บันเทิงจากหนังหรือหนังสือที่อ่านนอกเวลาเรียน ตอนเรียนปริญญาตรีเลยเลือกสาขาภาษาและวรรณคดีเป็นวิชาเอกก่อน พอเรียนจบพอดีเป็นจังหวะที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เพิ่งเปิดปริญญาโทสาขาประวัติศาสตร์เป็นรุ่นแรกเมื่อปีพ.ศ.๒๕๒๗ ก็เลยไปเรียน ซึ่งก็ทำให้ได้เห็นประวัติศาสตร์ในมุมมองที่แตกต่างออกไป คือเดิมเราอาจจะมองว่าเป็นแค่ความบันเทิง แต่การเรียนปริญญาโทจะเป็นระเบียบวิธีการที่ต้องมีการอิงหลักทางวิทยาศาสตร์บ้าง ต้องมีการวิเคราะห์พยานหลักฐานเพิ่มเติม มีทฤษฎีเข้ามาประกอบค่อนข้างมากกว่าประวัติศาสตร์แบบที่เราอ่านเท็จบ้างจริงบ้างในหนังสือหรือที่เห็นในหนัง ดังนั้นแนวการเขียนของผมเลยจะกึ่งๆ ระหว่างชาวบ้านคือการเล่าเรื่อง กับการหาข้อมูลข้อเท็จจริงที่ควรทราบมาประกอบเพิ่มเติมไปกับการชม เพราะว่าหนังแต่ละเรื่องต้องมีกระบวนการผลิตที่อาจจะทำให้ไม่ได้เล่าประวัติศาสตร์แบบตรงไปตรงมา โดยอาจเป็นความจงใจเพื่อจะเน้นความบันเทิง หรือด้วยข้อจำกัดเรื่องเวลาของหนังที่ทำได้แค่สองถึงสามชั่วโมง ซึ่งแหล่งข้อมูลที่ผมใช้มากคือ วิกิพีเดีย ทั้งภาษาไทยและอังกฤษ แต่ตอนหลังพอมีเว็บไซด์เป็นเรื่องเป็นราวก็อยากจะให้การเช็คข้อมูลละเอียดขึ้นเลยพยายามใช้หนังสือให้มากขึ้น ทั้งที่สะสมไว้แต่เดิม กับซื้อเพิ่มเติมในภายหลัง

     แต่ช่วงแรกๆ ผมก็เคยมีความรู้สึกว่าหนังบางเรื่องค่อนข้างบิดเบือน ผิดเพี้ยนเลยมีบางบทความที่วิจารณ์ไปแรงๆ เช่นเรื่องเพิร์ลฮาเบอร์ ประเด็นที่แย้งคือ ในช่วงที่ถูกโจมตี มีวีรบุรุษตัวจริงที่เอาเครื่องบินขึ้นไปสู้กับญี่ปุ่นอยู่ ๒ คน แต่ในหนังกลายเป็นว่าคนที่เอาเครื่องขึ้นเป็นแค่ตัวละครสมมติ ตอนแรกผมเขียนด้วยความรู้สึกเสียดายว่าเขาน่าจะเอาวีรบุรุษตัวจริงขึ้นมายกย่องมากกว่า กับอีกประเด็นคือ ตัวละครที่มาเป็นพยาบาลทหารที่ในเรื่องบอกว่าโกงอายุเพื่อจะได้มาทำหน้าที่นี้ แต่ตามข้อมูลที่ได้มา คนที่เป็นพยาบาลทหารจะมีอายุ ๒๐ กว่าขึ้นไปทั้งนั้น เรียกว่าไม่สามารถจะโกงอายุได้แบบทหาร คือในสงครามโลกครั้งที่ ๒ จะมีผู้ชายบางคนที่อายุยังไม่ถึง ๑๘ ปี แต่โกงอายุเพื่อให้ได้เป็นทหาร แต่ในกรณีของพยาบาลทหารกว่าจะฝึกจนเป็นต้องใช้เวลา ซึ่งอายุของพยาบาลก็จะ ๒๐ ปีขึ้นไปแล้ว เพราะฉะนั้นจะไม่สามารถโกงอายุแบบในหนังนั้นได้ แต่หลังจากที่แย้งไปก็มีคนที่พูดคุยกันทางเว็บฯ เตือนว่า อย่าเพิ่งไปด่วนสรุปขนาดนั้น เพราะหนังประวัติศาสตร์ก็มีทั้งที่ทำตามข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์เป๊ะๆ กับบางเรื่องที่เป็นเหมือนกับนิยายอิงประวัติศาสตร์ คือหยิบเอาเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์มาส่วนหนึ่งมาใส่จินตนาการเพิ่มเข้าไป บางทีการที่เราแย้งแรงเกินไปก็อาจจะขัดความรู้สึกของคนที่ชอบหนังเรื่องนั้นได้ ตอนหลังผมเลยพยายามใช้ภาษาให้เพลาๆ ลง ในส่วนของเว็บบอร์ดก็เช่นกัน คนที่เข้ามาดูในเว็บฯ มีตั้งแต่ระดับมัธยมจนถึงหลังเกษียณ ซึ่งผมยังกังวลถึงการรับรู้ที่ผิดเพี้ยนอยู่บ้าง เพราะขึ้นชื่อว่าความเชื่อแล้ว บางทีก็ไม่ได้จำกัดรุ่นว่าต้องเป็นแต่เฉพาะกับเด็ก เคยมีคนมาโพสต์ข้อความ ซึ่งเราเห็นอยู่ว่าข้อมูลมันผิด เช่นบางคนไปนึกว่าอิตาลีในสมัยสงครามโลกครั้งที่ ๒ ไม่มีเครื่องบินรบเลย หรือคนพูดเรื่องสงครามโดยลำดับเหตุการณ์ผิด อย่างนี้เราก็จำเป็นต้องแย้งบ้าง แต่ก็จะพยายามแย้งแบบไม่ให้เสียน้ำใจ”


แหล่งรวมคนชอบดู (หนังสงคราม)

     “ช่วงแรกที่เปิดก็เป็นไปตามธรรมชาติของเว็บไซด์ที่มีคนเข้ามาดูวันละร้อยสองร้อย แต่จากที่เราค่อยๆ เขียนสะสมไปเรื่อยๆ ทำให้มีคนเข้ามาดูเพิ่มขึ้นจนตอนนี้เป็นวันละพันกว่าคนแล้ว ในด้านคุณภาพก็มีคนที่เป็นแฟนเว็บไซด์มาช่วยเขียนบ้าง แต่ก็ยังมีไม่กี่คน เช่นคนที่ใช้นามปากกาว่า countryboy นายพลไอเซนฮาวน์ ลีโอ53(คุณชาญชัย) และ คนเล่าเรื่อง ส่วนในเว็บบอร์ดก็มีการพูดคุยบ้าง แต่ส่วนใหญ่ยังหนักไปในเรื่องการถามหาแหล่งซื้อหนัง (หัวเราะ) เรื่องในเชิงวิชาการหรือประวัติศาสตร์ก็มีบ้าง แต่ยังน้อยกว่าที่อยากจะเห็น การร่วมเขียนบทความส่วนใหญ่ผมจะปล่อยฟรีสไตล์แล้วแต่ว่าเขาอยากเขียนเรื่องอะไร แต่จะขอร่วมมือนิดหนึ่งว่า ให้ช่วยตั้งกระทู้หรือติดต่อบอกล่วงหน้าสักนิดจะได้ไม่เขียนเรื่องชนกัน เพราะเคยมีว่าบางเรื่องผมหยิบมาเขียนแล้วมีอีกคนบอกว่าเขาก็ตั้งใจจะเขียนอยู่เหมือนกัน คือตัดหน้ากันโดยไม่ตั้งใจ

    ตอนนี้บทความในเว็บไซด์ที่มีมากที่สุดคือ หนังเกี่ยวกับสงครามโลกครั้งที่ ๒ ในสมรภูมิยุโรป มี  ๔๐ เรื่องได้ รองลงมาเป็นหนังสงครามโลกครั้งที่ ๒ ฝั่งเอเชีย ส่วนหนังสงครามโลกครั้งที่ ๑ เท่าที่จำได้มีประมาณ ๒๐ เรื่อง และในฐานะที่เป็นคนไทยผมก็ทำหน้าประวัติศาสตร์ไทยไว้รองรับ นอกจากนั้นยังมีหน้าของประวัติศาสตร์ตะวันตกยุคแรกๆ เช่น กรีก โรมัน และประวัติศาสตร์อเมริกันยุคแรกๆ ได้แก่พวกเรื่องคาวบอย และสงครามกลางเมือง ประวัติศาสตร์สงครามเวียดนาม ที่เหลือนอกจากนี้จะอยู่ในหน้าประวัติศาสตร์อื่นๆ ที่รวมถึงหนังที่ไม่เกี่ยวกับสงคราม เช่น ไททานิค สารคดีตามรอยพระพุทธเจ้า ฯลฯ แต่เคยคิดเหมือนกันว่า อีกหน่อยอาจจะแยกส่วนที่เป็นประวัติศาสตร์จีนออกมาเป็นอีกกลุ่มต่างหาก

     สำหรับเป้าหมาย ถ้าช่วงแรกก็ยังไม่ได้มีความมุ่งหวังอะไรชัดเจนนัก ยังเป็นความชอบส่วนตัวล้วนๆ ที่อยากจะเอามาแชร์กับคนอื่น แต่พอผ่านมาก็อยากจะให้มีการแลกเปลี่ยนความรู้ทางประวัติศาสตร์กันมากขึ้น ในทุกระดับ ตั้งแต่เรื่องเล่าผ่านภาพยนตร์ไปจนกระทั่งถึงวิชาการหนักๆ ก็อยากจะให้มีให้เห็น ก็กำลังหาทางอยู่ครับว่า จะโปรโมทให้ได้ผลในเชิงคุณภาพแบบนี้ขึ้นมาได้ยังไงบ้าง”
   
เรียนรู้ผ่านหนัง

    “นอกจากความบันเทิง ถ้าจะสรุปให้สั้นที่สุดสิ่งที่ได้เรียนรู้จากหนังสงครามก็คือ ชีวิตต้องสู้ อย่างในหนังสงครามค่อนข้างจะเป็นรูปธรรมชัดหน่อยว่า มีข้าศึกที่เราต้องต่อสู้อยู่ข้างหน้า เรียกว่าต้องอาศัยทั้งความพยายามของเราเอง และความร่วมมือกับคนอื่น เคยมีคำกล่าวหนึ่งที่ว่า “ความพยายามทุกครั้งของเราอาจจะไม่ประสบความสำเร็จ แต่ไม่มีความสำเร็จครั้งไหนที่เกิดขึ้นโดยปราศจากความพยายาม” แต่ใจจริงผมก็ไม่ได้อยากให้เกิดสงคราม เพราะยิ่งวิวัฒนาการมากขึ้นก็ยิ่งทำลายล้างมากขึ้น จากเดิมที่อาจจะแค่รบกันโดยใช้หอกใช้ดาบก็เปลี่ยนมาเป็นธนู จากธนูมาเป็นปืนเล็ก ต่อด้วยปืนใหญ่จนมาถึงระเบิดปรมาณู 

    นอกจากนั้นบางทีผมรู้สึกว่า คนในสังคมเวลามองประวัติศาสตร์ หรือแม้กระทั่งการเมืองปัจจุบันยังไปเน้นที่ตัวบุคคลค่อนข้างจะมากเกินไป แต่ถ้าเป็นประวัติศาสตร์ในเชิงที่เป็นวิชาการขึ้นมาอีกนิด เราต้องมองถึงพัฒนาการของสังคมโดยรวมที่ให้ทุกคนมีส่วนร่วมทางการเมืองอย่างเป็นธรรมต่อทุกคนในสังคมมากที่สุด พูดง่ายๆว่า เวลามองประวัติศาสตร์อยากให้มองเกินกว่าตัววีรบุรุษจะเป็นคนเดียวหรือหลายคนก็ตาม เพราะเคยมีคนกล่าวว่า สังคมไหนที่ต้องการวีรบุรุษมากเกินไป แสดงว่าสังคมนั้นกำลังมีปัญหา โดยคนที่กล่าวนั้นเขาเน้นไปที่สังคมเยอรมันสมัยสงครามโลกครั้งที่ ๒ ที่ช่วงนั้นคนกำลังมองเหมือนฮิตเลอร์เป็นวีรบุรษ ซึ่งผลสุดท้ายฮิตเลอร์ก็ทำประเทศชาติพังไป ในส่วนหนึ่งก็อาจจะเป็นด้วยตัวฮิตเลอร์เอง แต่ในอีกหลายๆ ส่วนก็มาจากคนที่แวดล้อมฮิตเลอร์ รวมถึงคนที่อาจจะยังไม่เข้าใจถึงสังคมเวลานั้นดีพอ ก็เลยกลายเป็นโศกนาฏกรรมของชาติที่ต้องใช้เวลาฟื้นฟูกันนานกว่าจะกลับคืนสู่สภาพเดิม”

คลิกเพื่อดูภาพขนาดเต็ม 4,098X2,794 Pixels
ภาพถ่ายจากนิตยสารฉบับจริง (คลิกเพื่อดูภาพขนาดเต็ม 4,098X2,794 Pixels)




รู้จักเรา

ผู้จัดทำเว็บไซต์ วันที่ 25/04/2022   13:30:22 article
นายพลไอเซนฮาวน์ ผู้ร่วมเขียนบทความ วันที่ 26/12/2009   13:08:56 article
ชาญชัย (Leo53) ผู้ร่วมเขียนบทความ วันที่ 16/07/2011   14:41:56
"พันทิวา" ผู้ให้ความรู้ด้านวีรกรรมนักรบไทย วันที่ 26/12/2009   13:09:27 article
"คนเล่าเรื่อง" ผู้ร่วมเขียนบทความ วันที่ 05/04/2012   22:31:37
countryboy ผู้ร่วมเขียนบทความ วันที่ 26/12/2009   13:09:42 article
ถาม-ตอบ (FAQs) เว็บภาพยนตร์ประวัติศาสตร์ วันที่ 24/06/2011   10:28:12
ข้อตกลงการเป็นสมาชิกเว็บบอร์ดและบล็อก วันที่ 25/06/2010   13:38:31
แนวทางการร่วมเขียนบทความ ภาพยนตร์ประวัติศาสตร์ วันที่ 04/04/2010   10:01:40
สถิติ IseeHistory.com ในรอบปี 2554 วันที่ 21/04/2012   10:41:12 article
สถิติของ IseeHistory ในช่วงครึ่งแรกของปี 2554 วันที่ 21/04/2012   10:48:44 article
สถิติ IseeHistory.com ในรอบปี 2553 วันที่ 21/04/2012   10:55:38 article
สถิติของ IseeHistory ในช่วงครึ่งแรกของปี 2553 วันที่ 21/04/2012   10:58:27 article
สถิติ IseeHistory.com ในรอบปี 2552 เทียบกับปี 2551 วันที่ 05/05/2012   09:32:45 article
สัมพันธ์ วันที่ 03/07/2013   22:18:28
สถิติของ IseeHistory ในช่วงครึ่งแรกของปี 2552 วันที่ 05/05/2012   10:12:43 article
ข้อเสนอเรื่องการจำแนกประเภทภาพยนตร์ประวัติศาสตร์ วันที่ 05/05/2012   10:02:50 article
สถิติ IseeHistory.com ในรอบปี 2551 วันที่ 05/05/2012   10:00:33 article
ประวัติตระกูล "จินตมาศ" วันที่ 05/05/2012   09:16:06 article
20 เดือนของ IseeHistory วันที่ 05/05/2012   09:15:01 article
สัมภาษณ์ Webmaster โดย oxygen.readyplanet.com วันที่ 10/12/2009   07:57:37 article
ผังเว็บไซต์ (Site Map) วันที่ 24/03/2013   20:56:04



Copyright © 2010 All Rights Reserved.
| WW II Europe | WW II Asia | WW I | Vietnam War | ประวัติศาสตร์ไทย | บทความจากสมาชิก | คุยกันหลังฉาก | บทความทั้งหมด |

สนใจร่วมเขียนบทความในเว็บไซต์ เชิญอ่าน แนวทางการร่วมเขียนบทความ ภาพยนตร์ประวัติศาสตร์

Custom Search



eXTReMe Tracker