dot
dot
เว็บภาพยนตร์ประวัติศาสตร์ ยินดีต้อนรับผู้สนใจทุกท่าน
dot
dot
สมาชิก Webboard/Blog
ชื่อผู้ใช้ :
รหัสผ่าน :
เข้าสู่ระบบอัตโนมัติ :
bullet ลืมรหัสผ่าน
dot
bulletข้อตกลงการเป็นสมาชิก
bulletเว็บบอร์ด-คุยกันหลังฉาก
bulletเว็บบอร์ด-Games ย้อนยุค
bulletเว็บบอร์ด-ชุดจำลองประวัติศาสตร์
bulletเว็บบอร์ด-หนังสือประวัติศาสตร์
bulletเว็บบอร์ด-เพลงประวัติศาสตร์
bulletคำถาม/คำตอบ ล่าสุด
bulletแนวทางการร่วมเขียนบทความ
dot
สงครามโลกครั้งที่ 2
dot
bulletสมรภูมิยุโรป (สัมพันธมิตรVSเยอรมัน-อิตาลี)
bulletสมรภูมิแปซิฟิก-เอเชีย (สัมพันธมิตรVSญี่ปุ่น)
dot
ภาพยนตร์ประวัติศาสตร์อื่นๆ
dot
bulletสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง
bulletประวัติศาสตร์ไทย
bulletประวัติศาสตร์อเมริกันยุคเริ่มแรก
bulletสงครามเวียดนามและอินโดจีน
bulletตะวันตกโบราณ (กรีก โรมัน ฯลฯ)
bulletประวัติศาสตร์ร่วมสมัย
bulletเอเชียโบราณ
bulletประวัติศาสตร์อื่นๆ (ยังไม่แยกหมวดหมู่)
bulletคลิปความรู้จาก YouTube
dot
บทความโดย วิวันดา
dot
bulletฮิตเล่อร์...และเหล่าขุนพลแห่งอาณาจักรไรค์ซที่สาม
bulletลอดลายรั้ว.....วินด์เซอร์
bulletเลิศเลอวงศา...โรมานอฟ
bulletเชลย
bulletซูคอฟ...ยอดขุนพลผู้ดับฝันของฮิตเล่อร์
dot
บทความโดย สัมพันธ์
dot
bulletคนไทยในกองทัพพระราชอาณาจักรลาว
bulletประวัติศาสตร์สงคราม กรีก
bulletกรณีพิพาทอินโดจีนและสงครามมหาเอเชียบูรพา
bulletอยุธยายศล่มแล้ว ลอยสวรรค์ ลงฤา
bulletฮานนิบาล
bulletพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบรมวงศานุวงศ์
bulletไทยกับมหาสงคราม
bulletสงครามเวียดนาม
bulletห้วยโก๋น ๒๕๑๘
bulletการทัพในมลายา
bulletประวัติศาสตร์อื่น ๆ
dot
เรื่องอื่นๆ
dot
bulletบทความเสริมความรู้ทั่วไป
bulletเกร็ดเล็กเกร็ดน้อย
bulletผู้จัดทำ
bulletผังเว็บไซต์ (Site Map)
bulletแนวทางการร่วมเขียนบทความ
bulletถาม-ตอบ (FAQs) (โปรดอ่านก่อนตั้งกระทู้หรือสมัครสมาชิก)
bulletร้านค้าออนไลน์
bulletแบ่งปัน Album
dot
ลิงค์ต่างๆ
dot
bulletHistory on Film
bulletกองบิน 21 กองพลบิน 2
bulletIELTS British Council
bulletIELTS IDP
bulletMUIC




โหราศาสตร์ยุคไอที



ซูคอฟ...ยอดขุนพลผู้ดับฝันของฮิตเล่อร์ ๗
วันที่ 16/02/2020   18:21:48


กองบัญชาการใหม่ที่เพิ่งย้ายมาที่อะลาบิโน ยังอยู่ในลักษณะกางเต้นท์กันแบบชั่วคราว
แต่เราก็ไม่ได้เสียเวลาตรงนั้น เรียกทุกคนเข้าประชุมกันด่วน
เพราะยังมีอีกหลายเรื่องที่ต้องกระทำอย่างเร่งรีบในเรื่องของการป้องกันและต่อต้านในแนว Volokolamsk-Mozhaisk-Maloyaroslavets-Kaluga ที่ต้องหนาแน่น

เราได้จัดการปรับเปลี่ยนตำแหน่งใหม่ เอามือเก่งๆไปประจำอยู่เขตที่มีความเสี่ยงสูง...จัดระเบียบและความพร้อมของทหารทั้งบกและอากาศ
จัดการในเรื่องระบบป้องการของการลำเลียงอาวุธ และที่สำคัญคือ
การให้ความรู้และชัดเจนในนโยบายในการปลุกขวัญและกำลังใจแก่ทหารและกับกลุ่มของประชาชนที่เข้ามาร่วมในเรื่องความแข็งแกร่งของกองทัพเราที่จะนำชัยชนะเหนือข้าศึกที่หวังจะเข้ามายึดครองเมืองหลวงของเรา

การทำงานของพวกเราเป็นไปแบบไม่มีหยุด..ทั้งวันทั้งคืน..จนแทบจะล้มทั้งยืน
แต่ความรับผิดชอบในหน้าที่...ทุกคนยังยืนหยัดอย่างไม่มีถอย
ในช่วงของฤดูร้อนต่อด้วยฤดูใบไม้ร่วง 1941 ทหารและประชาชนต่่างร่วมมือร่วมใจกันช่วยกันสร้างเครื่องกีดขวาง ขุดคูเพลาะ ทำผนังกำแพงกั้น
ไปโดยรอบเมืองหลวง

ด้านตะวันตกของ Vyazma ทหารของเราเข้าโจมตีข้าศึกจากทางด้านหลัง
อย่างกล้าหาญ หมายที่จะตัดวงล้อมให้ขาด เข้ากระหน่ำทั้งทางอากาศและ
ถล่มด้วยปืนใหญ่ แต่ยังไม่ประสบผลสำเร็จเพราะกำลังและอาวุธไม่พอ
กลางเดือนตุลาคม...การต่อสู้เป็นไปอย่างดุเดือดทุกวัน
ทุกวันจะมีรายงานข่าวเข้ามาถึงการสูญเสียนายทหารมือดีๆและกำลังพลที่ร่วงไปราวกับใบไม้

วันที่ 13 ตุลาคม คือวันที่มีการปะทะกันอย่างใหญ่หลวง ในทุกจุดของแนวป้องกันมอสควาที่สำคัญ  ฝ่ายสภาและกลาโหมเริ่มทำการโยกย้ายเอกสารสำคัญและสิ่งที่มีค่าควรเมืองออกไปเก็บในที่ปลอดภัย ที่ Kuibyshev
เสียงสัญญาณเตือนภัยทางอากาศดังสนั่นทั้งวัน ทั้งคืน
แต่ในช่วงนั้น หมายถึงตั้งแต่เดือนกรกฏาคมเป็นต้นมา ทางสภาและกลาโหมได้มีการเตรียมในการฝึกประชาชนกว่าสามล้านคนให้รู้จักวิธีหลบภัยทางอากาศ
และรู้วิธีรักษาความปลอดภัยให้ตัวเอง
จนชาวมอสควาเริ่มรู้สึกชิน..และไม่แตกตื่น ตระหนกกันต่อไป

วันที่ 20 ตุลาคม คือวันที่กลาโหมได้ออกประกาศเป็นทางการเกี่ยวกับการถูกปิดล้อม และนโยบายเดียวที่จะชนะข้าศึกคือให้ประชาชนทุกคนลุกร่วมใจ ร่วมแรงขึ้นสู้
จากนั้น..ประชาชนชายในทุกเกณฑ์อายุได้ถูกเข้ารับการฝึกการใช้อาวุธ
ผู้หญิงและเด็กช่วยกันคนละไม้ละมือสร้างสิ่งกีดขวาง และขุดคูเพลาะดักรถถัง จนเมืองมอสควาได้เปลี่ยนไปเป็นค่ายมอสควาในเวลาไม่นาน..
ส่วนรอบนอก กองทัพของเราได้เข้าต่อสู้สกัดกั้นกันแบบถวายชีวิต เพื่ออย่างน้อยให้การเคลื่อนตัวของข้าศึกช้าลง...จำนวนพลน้อยลง..
เยอรมันต้องการที่จะยึดมอสควาให้ได้ภายในเดือนตุลาคม

แต่ในสิ้นเดือนตุลาคม..ทัพของเยอรมันนำโดย แม่ทัพ Gugerian ได้หยุดลงที่ ชายขอบทางใต้ของมอสควา ที่เมือง Tula เพราะฝ่ากระแสของการตอบรับอย่างหนาแน่นของการผนึกกำลังของกองทัพโซเวียตได้ยากยิ่ง ทั้งๆที่เหลืออีกเพียง 200 กิโลเมตรเท่านั้น
เพราะกำลังพล รถถัง อาวุธ เหลือน้อยเต็มที
แม่ทัพคูเดอเรียน ได้เขียนรายงานไว้ว่า
"ช่างหนักหนาสาหัสสำหรับทหารของเรานัก เป็นการสูญเสียอย่างมหันต์
เพราะกองทัพแดงได้ประสบความสำเร็จในการซื้อเวลาจนถึงฤดูหนาวอันโหดร้าย โอกาสที่คิดว่าจะชนะนั้นได้ลอยหลุดมือไปแล้ว ซ้ำไม่รู้ว่าจะมีโอกาสอย่างนี้กลับมาอีกไหม.."

แม้แต่ฮิตเล่อร์เอง..ก็ได้กล่าวกับเกลอรัก ท่านเค้านท์ จีอาโน ว่า.
"ถ้ารู้ว่าไปแล้วจะเจออะไรยากๆอย่างนี้...ก็คงไม่ริทำหรอก"

 

        สตาลินได้โทรศัพท์ถึงแม่ทัพซูคอฟ..ถามว่า
        "นายแน่ใจนะว่า..จะป้องกันมอสควาไว้ได้..นี่ถามเราจากใจเลยนะ..
        เราขอให้นายตอบอย่างตรงไปตรงมาตามความเป็นจริง..อย่างชายชาติทหารคอมมิวนิสต์"
        "เรายันไว้ได้แน่นอนขอรับ..ถ้าหากว่าเรามีทหารอีกสองกองทัพ และ รถถังอีกสองร้อยคัน"
        แม่ทัพซูคอฟตอบกลับไปอย่างหนักแน่น

        และผลคือ..การเตรียมตัวรุกขับไล่กองทัพนาซีได้เริ่มต้นขึ้นในเดือนพฤศจิกายน ภายใต้การนำของแม่ทัพซูคอฟ
        เป้าหมายคือ ที่แนวหน้าเมือง Kalinin  โดยผบ. Ivan Konev
        ที่มีการสู้รบยืดเยื้อไปถึงสิบกว่าวัน เพราะในช่วงก่อนหน้านั้น โรงงานต่างๆในมอสควากว่าเจ็ดร้อยแห่งได้ย้ายตัวเองไปทางเทือกเขา Ural จึงทำให้เกิดการขาดแคลนอาวุธ กระสุนปืน
        แต่ก็ได้ทำให้กองทัพเยอรมันต้องถอยร่นอกไป..
        เดือนพฤศจิกายน...หิมะได้กองสูงท่วมหัว..ขาวโพลนไปหมด แม่ทัพซูคอฟ
        ได้เริ่มทำการโจมตีอีกครั้ง...ทางชายแดนของ Kalinin โดยการผนวกกำลังเข้าด้วยกันทั้งหมด คือหน่วยสกีเคลื่อนที่เร็ว ทหารราบ ทหารท้า และหน่วยอากาศโยธิน ที่ปฏิบัติการอย่างฉับไว ในช่วงของการประทะอย่างควันตลบนั้น..ฝ่ายนาซีได้สูญเสียรถถังไปถึง 70 คัน จนแม่ทัพคูเดอเรียน
        ต้องสั่งถอยทัพออกไปอีกถึงสามร้อยกิโลเมตร
        และได้เขียนในรายงานว่า.."เป็นการบุกที่รวดเร็วและไม่ได้คาดคิด"
        นายพล Tippelskirch (เยอรมัน) ได้บันทึกไว้ว่า
        "กองทัพของเรา ไม่ได้เตรียมตัวเตรียมใจ เตรีมการต่อการทำสงครามฤดูหนาวเยี่ยงนี้..ซ้ำยังโดนโจมตีด้วยกำลังที่มีมากมหาศาล เรียกได้ว่าเข้าขั้นวิกฤติเลยทีเดียว"
        และเขาได้เขียนต่อไว้ในตอนท้ายว่า
        "ดาบนั้นได้กำลังจะคืนสนองเราแล้ว.." ***

        (*** ไม่ได่อ้างสำนวนเลยนะคะ แต่เขาเขียนไว้ว่า
        "The sword of retribution was drawn." จริงๆ ซึ่งมันตรงกับสำนวนไทยเป๊ะ..และที่การให้การที่ศาลนูเรมเบอร์์คหลังจากสงคราม
        จอมพลวิลเฮล์ม ไกเทล (จำเลย) ได้ถูกถามว่า "ท่านได้เริ่มรู้ว่าแผนเผด็จศึกบาร์บารอสซ่านั้นผิดพลาดในตอนไหนของสงคราม" ท่านจอมพลตอบเบาๆแบบอ้ำอึ้งว่า..."ที่มอสควา")

        เพราะเหตุการณ์ตรงนี้ที่ทำให้ฮิตเล่อร์ได้ตระหนักแทบในทันทีว่า..สงครามในฝั่งตะวันออกนั้น...ไม่หมูอย่างที่คิด ท่านเค้านท์ จีอาโน รมต.ต่างประเทศ อิตาลี ได้บันทึกไว้ว่า..
        "การเปลี่ยนแปลงในการศึกของทางรัสเซีย แผ่นดินที่กว้างใหญ่ราวกับมหาสมุทรนั้น..ยังมีความประหลาดใจที่จะให้กับเยอรมันอีกมากมาย.."

        ส่วนความเห็นที่ว่าของฮิตเล่อร์และคณะ..ที่ว่าจะเข้าไปครองมอสควาอย่างง่ายๆในช่วงฤดูร้อนของปี 1941 นั้น..Averell Harriman ทำหน้าที่สื่อจากสหรัฐอเมริกาประจำกรุงมอสควาในช่วงนั้น(ยังไม่มีสถานทูต)ได้มีโอกาสได้เข้าพบกับสตาลินมากกว่าใคร ได้บันทึกไว้ว่า...
        " สตาลินได้บอกว่า ฮิตเล่อร์ได้ทำการผิดพลาดในการที่แบ่งออกเป็นสามทัพ  หวังว่าเหนือจะไปยึดเลนินกราด กลาง..จะมาเอามอสควา ใต้..หวังจะไปเอาท่าที่ทะเลดำ ถ้าหากว่าฮิตเล่อร์มุ่งมาทัพเดียว ลุยตรงๆมามอสควาเลย..ก็อาจจะได้ไปนานแล้ว และมอสควาคือหัวใจของโซเวียต เมื่อได้ที่มอสควาแล้ว..ที่อื่นก็ง่ายแบบไม่ต้องออกแรงด้วยซ้ำ เพราะประชาชนคงไม่มีจิตใจที่จะสู้ เพราะศูนย์กลางของเศรษฐกิจได้หมดสิ้นไปแล้ว
        เยอรมันได้ทำผิดพลาดแบบนี้มาครั้งหนึ่งแล้ว..ในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง..ที่ไม่ได้ยึดปารีส ....ในครั้งนี้ก็อย่าหวังว่าจะได้มอสควาไปง่ายๆเพราะเราจะสู้แบบยอมถวายหัว..และเชื่อว่าเราทำได้..หวังว่าท่านคงจะเรียนให้ท่านปธน.รูสเวลต์ให้ทราบตามนั้น  เหล่าแม่ทัพของเราเชื่อว่าเยอรมันน่าจะบุกเข้ามาในเขตเมืองมอสควาในไม่กี่วันนี้ และเตรียมรับมืออยู่"

        ยี่สิบปีหลังจากสงคราม นายพล Adolf Heusinger อันเป็นผู้หนึ่งในทีมเสนาธิการของฮิตเล่อร์ ได้ให้สัมภาษณ์อย่างเปิดอกในปี 1966 ว่า
        "เยอรมันชนะศึกแน่ๆ ถ้าฮิตเล่อร์ไม่เสียเวลาไปเปิดศึกที่โน่นที่นี่..ตรงเข้าไปที่มอสควาเลย...ทุกอย่างก็จะเรียบร้อยในฤดูร้อนนั่น"


        Ivan Konev    



        วันที่ 1 พฤศจิกายน 1941 เราได้ถูกเรียกให้เข้าพบท่านผู้นำ...
        สตาลินถามว่า
        "เราอยากจะทำการสวนสนามกองทัพครั้งใหญ่ แสดงแสนยานุภาพของกองทัพเพื่อขวัญและกำลังใจของประชาชน จากนั้นก็จะให้ทหารเดินมาร์ชออกสู่แนวหน้าป้องกันและต่อสู้เพื่อ
        มอสควาไปเลย นายคิดว่ายังไง สถานะการณ์ข้างนอกมันจะเป็นอุปสรรคต่อแผนการนี้หรือไม่..อย่างไร?"

        เราได้ตอบไปว่า...ข้าศึกคงยังไม่ขยับทำการใหญ่ในวันสองวันนี้ เพราะ
        บาดเจ็บล้มตายไปมากมาย และยังต้องใช้เวลาที่จัดทัพใหม่ รอการเสริมกำลังและอาวุธใหม่ จะมีทางเดียวที่จะโจมตีเราได้ก็ทางอากาศเท่านั้น และถ้าเรามีระบบป้องกันน่านฟ้าที่เข้มแข็ง หนาแน่น..ก็ไม่มีอะไรน่าเป็นห่วง

        กำหนดการคือ วันที่ 7 กันยายน คือวันสวนสนามเป็นการเฉลิมฉลองชัยชนะของประชาชนเดือนตุลาคม โดยกองทัพจะมาร์ชผ่านจตุรัสแดง
        และรับฟังการปราศรัยของท่านผู้นำ จากนั้นก็เดินเรียงแถวออกไปสนามรบเลย
        นี่คือการออกสื่อที่สำคัญไปยังทั่วโลก..เพื่อให้เห็นว่า โซเวียตของเรานั้น
        มีกองทัพที่ทรงอานุภาพ และไม่เกรงกลัวต่อภัยที่กำลังรุกราน..
        จากการปราศรัยของท่านผู้นำได้สร้างขวัญและกำลังใจทหารและประชาชนให้ตื่นตัวพร้อมสู้ต่อผู้รุกรานในทุกรูปแบบ

        ดูภาพเคลื่อนไหวที่นี่ค่ะ... http://youtu.be/nfVpwrF3j8w


        ในขณะเดียวกัน..เราก็ต้องเตรียมพร้อมต่อการรับมืออย่างเต็มขีดพิกัด
        ปืนพิฆาตรถถังได้ออกมาวางเรียงซ้อนกันในทุกจุด แนวกำแพงกันกระสุนได้ปิดผนึกแน่นทั่วบริเวณ
        ทหารกองหนุนได้ถูกส่งเข้ามาจากทุกสารทิศ ในช่วงของวันที่ 1-15 พฤศจิกายน เรามีกำลังพลในมือถีงหนึ่งล้านคน รถถังสามร้อย และปืนใหญ่กว่าสองพัน
        แต่ก็มีช่วงที่การสนทนาทางโทรศัพท์ระหว่างเรากับท่านผู้นำที่ไม่ค่อยจะหอมหูนัก
        คือ..
        "ทางข้าศึกเป็นไง?"
        "มันได้รวบรวมกำลังกันเสร็จแล้ว..คงจะบุกเราเร็วๆนี้"
        "นายคิดว่า..มันจะมาทางไหน?"
        "ทัพใหญ่จะเข้าทาง Volokolamsk  ส่วนทัพของคูเดอเรียนคงจะผ่านทาง Tula และเข้ามาทาง Kashira"
        " แม่ทัพชาโปชนิคอฟ และเรา มีความเห็นพ้องกันว่า..เราควรจะเข้าขยี้มันให้กระจุย ตรงเขตโวโลโคแลมสค์ และตีขนาบกองทัพนาซีที่ 4 ตรงเขต Serpukhov เพราะตรงนั้นมันเป็นทัพใหญ่ที่จะบุกเข้ามาในมอสควา"
        "แล้วไอ้การบุกขยี้ที่ท่านว่ามานี่...จะทำด้วยอะไรหรือขอรับ?...จะเอามาจากแนวหน้าตะวันตกก็คงไม่ได้ เพราะต้องเอาไว้ป้องกันเมือง"
        "นายเอากำลังพลปีกขวาของนายพล โรโคซอฟสกี้ แล้วก้อกองพลรถถัง...อ้อ รวมเข้ากับกองทัพของโดวาเตอร์ ที่ อยู่ที่โวโลโคแลมสค์ แล้วก็ยังมี กองทัพทหารม้าของเบลอฟ"
        "เห็นจะไม่ได้ขอรับ เพราะ เราไม่สามารถที่จะใช้กองหนุนที่มีเหลือเป็นกองสุดท้ายให้ไปทำการใหญ่ขนาดนั้นได้ มันเสี่ยงเกินไป"
        "แนวหน้าของนายมีด้วยกันถึงหกกองทัพ...มันไม่พอหรือ?"
        "ท่านครับ..เรามีแนวหน้าที่เป็นพื้นที่ที่กว้างใหญ่มหาศาล ถึง 600 กิโลเมตร แนวหน้าของเราจึงเป็นแถวที่บางมาก จะเอากำลังที่ไหนไปขยี้ข้าศึกเล่าขอรับ"
        "งั้นนายก็เก็บเอาไปคิด..ว่าจะทำอย่างไรให้สำเร็จ คิดได้แล้วก็ทำรายงานมาด้วย ภายในคืนนี้"  สตาลินมีเสียงที่ไม่พอใจ ก่อนที่จะวางสายไป..

        สิบห้านาทีต่อมา..นายพลบุลกานินได้มาเคาะที่ประตู และถามว่า
        "นี่ผมกำลังโดนตำหนิหรือเนี่ยย?"
        "เรื่องอะไรหรือ?"
        "ท่านผู้นำสตาลินเพิ่งโทรมาโวยกับผมว่า..เราสองคนนี่ยะโสจัด แต่ฝากไว้ก่อน..จะยังไม่จัดการอะไรตอนนี้ มีการคาดโทษเอาไว้ แล้วสั่งให้ผมเข้ามาหาท่านเพื่อช่วยกันทำแผนเข้าบุก"
        "งั้นก็ไปเรียก Vasily Danilovich, Rokossovsky และ Zakharkin มาร่วมประชุมกันด้วย.."
        สองชั่วโมงต่อมา..เราได้ออกคำสั่งให้ กองทัพที่16 และ 49 เข้าปฏิบัติการ..
        แต่ไม่ได้ผลอย่างที่สตาลินต้องการ..เพราะ..ดังที่ได้บอกไปแล้วว่า..
        กำลังพลแค่นี้..ทำอะไรข้าศึกไม่ได้

        การจัดทัพใหม่ได้เร่งทำอย่างเร่งด่วน เพื่อคอยดักโจมตีไปตามเส้นทางอย่างไม่หยุดยั้ง..
        ซึ่ง..ตลอดเว้นทางนั้น เราได้มีควาสูญเสียไปจำนวนไม่น้อย เพราะเทียบอัตราส่วนแล้ว กองทัพนาซีมีรถถังสามร้อย ในขณะที่เรามี เพียง 150

        ที่เมืองมอสควา..ประชาชนต่างช่วยกันสร้างแนวป้องกันทั้งวันทั้งคืน
        ในขณะที่เรากำลังซื้อเวลากับกองทัพนาซีด้วยชีวิตของทหารโซเวียต
        ในที่สุด กองทัพข้าศึกได้ตีผ่านฝ่ากองทัพที่ 30 ของเราไปได้ที่ Kalinin
        สตาลินโทรมาโวย..
        "นายยังแน่ใจอยู่หรือ กับการที่จะรักษามอสควาให้อยู่รอดเนี่ยย?"
        "เราจะรักษามอสควาอย่างสุดความสามารถไม่ว่าจะต้องเสียอะไรไปบ้าง..
        แต่ตอนนี้..กระผมต้องการทหารอีกสองกองทัพ รถถังอีกสองร้อย.."
        "งั้นก็ดี..ที่นายยังมั่นใจ..กำลังพลนั้นโทรไปหาฝ่ายกลาโหมได้เลย แต่ของที่ต้องการจะจัดการให้ได้ตอนช่วงปลายเดือน...ตอนนี้ยังไม่มี "
        ครึ่งชั่วโมงต่อมา..เราและ A.M. Vasilevsky ได้ตกลงกันในเรื่องจัดกองทัพจู่โจมที่จะเข้าปฏิบัติการในเขต Yakhroma และที่ Ryazan
        และเรียงหน้า...เข้าขวางมันทุกทัพ...

 
 
  
       
        สงครามโลกครั้งที่สองนี้..เป็นการสูญเสียครั้งยิ่งใหญ่ที่สุดของโลก..ทั้งชีวิตคน  ทั้งทรัพยากร
        สมควรที่พวกเราต้องจำไว้เป็นบทเรียน..อย่าปล่อยให้คนบ้ามีอำนาจ..อย่าให้เผด็จการครองเมือง

        เม่ทัพซูคอฟไม่ได้เก่งคนเดียวในการกอบกู้ป้องกันรัสเซียให้พ้นจากภัยคุกคามนาซี นายทหารร่วมรบหลายคนต่างก็มีบทบาทที่สำคัญทั้งนั้น เพราะต้องคุมกำลังออกไปรบ..
        เพียงแค่ต้องรับนโยบายจากแม่ทัพใหญ่ซูคอฟมาว่า..."เป็นทหารต้องสละชีพเพื่อชาติ..ออกไปรบกับข้าศึกที่บังอาจมาเหยียบแผ่นดินเกิด..บังอาจมาฆ่าพ่อแม่ลูกเมีย..มันก็ต้องตายกันไปข้างหนึ่งทหารโซเวียตทุกคนจะต้องบุกไปข้างหน้า..ไม่มีการถอยแม้แต่ก้าวเดียว  ใครถอย..กรูยิง"

        นั่นเป็นคำสั่งเด็ดขาด..เพราะในช่วงที่แม่ทัพซูคอฟเข้าไปรับงานที่เลนินกราดใหม่ๆ ตอนที่เข้าไปนั้น..ข้าศึกได้เข้าประชิดเมืองและทำการล้อมแล้ว โดยมีกองทัพฟินแลนด์มาช่วยล้อมตอนเหนือให้..
        ขนาดตอนที่สตาลินโทรไปสั่งให้เข้ามาด่วนนั้น...ยังบอกว่า..น่านฟ้าของเลนินกราดไม่ปลอดภัย เพราะฝูงเมสเซ่อร์ชมิตต์ ของเยอรมันคุมไว้หมดแล้ว..
        นักบินพาซูคอฟมาถึงได้อย่างชนิดเฉียดตาย..ต้องบินต่ำเฉียดผิวน้ำ
        เมื่อไปถึงที่กองบัญชาการ..แม่ทัพได้เช๊คบัญชีกับทุกคนที่ละทิ้งหน้าที่..หน่วยไหนหัวหน้าสั่งถอยก่อนสู้...โดนเชิอดรายตัว..

        ทางสตาลินได้ใช้นโยบายกระตุ้นการรักชาติอย่างแยบยล..โดยการทำโปรประกันดาที่ฟังแล้วซาบซึ้ง..เช่น..
        "บัดนี้..หน้าที่รักษาผืนมาตุุภูมิเป็นของพวกเราทุกคน..จงทำให้เต็มที่..และสุดกำลัง..
        พวกท่านจงช่วยกันปกป้องมรดกของ  Alexander Nevsky (ทำศึกขับไล่พวกสวีดิชออกไปได้สำเร็จ) Dimitry Donskoy ( รบชนะพวกตาร์ตาร์) Kurma Minin และ Dimitry Pozharsky (ได้ไล่พวกโปล์ออกไปจากมอสควาจนหมดสิ้น) Alexander Suvorov และ  Mikhail Kutuzov (สองวีรบุรุษในสงครามนโปเลียน)  ผู้เป็นบรรพบุรุษของเรา ที่ได้หลั่งเลือดทาแผ่นดินให้พวกเรามีวันนี้..วันที่เราจักมีชัยชนะต่อศัตรูผู้รุกราน..
        ขอให้..ท่านจงถือเอาความมุ่งมั่นและความวิริยะของท่านเลนินเป็นประหนึ่งพรชัย.."

        เรื่องการรักษาวินัยทหารนั้น..แม่ทัพซูคอฟยึดมั่นอย่างตรงเผง...ไม่มีการละเว้นแม้แต่ผู้ที่รบกันแบบเคียงบ่าเคียงไหล่...อย่างเช่น..กรณีของ Rokossovsky (แม่ทัพกองทัพที่ 16)
        ในวันที่ 16 ตุลาคม...

        แม่ทัพโรโคซอฟสกี้ ทำการรับมือกับเยอรมันที่ Istra  ซึ่งได้ส่งรายงานกลับมาตลอดว่า
        ข้าศึกนั้นมีกำลังหนักหนานัก..เห็นทีว่าจะทานกำลังไม่ไหว..
        แม่ทัพซูคอฟ..ได้ส่งตอบกลับไปว่า..
        "ไม่มีประโยชน์อะไรที่จะมานั่งบ่น..เพราะทางเรารู้ดีว่า นายมีกำลังเท่าไหร่..ข้าศึกมีกำลังเท่าไหร่ และมีความต่างเท่าไหร่..นายไม่มีสิทธิที่จะกลัวหรือมัวพะวงเพราะเรามีนโยบายเดียวในการทำสงคราม..คือ..รบ.."
        ทางโรโคซอฟสกี้..อยากจะถอยทัพไปทางฝั่งแม่น้้ำ..จึงเลี่ยงไปเสนอไอเดียกับจอมพล Shaposhnikov  เสนาธิการใหญ่กองทัพ..และได้รับอนุญาต..
        ทันทีที่ แม่ทัพซูคอฟรู้เรื่อง..ถึงกับประกาศลั่นว่า..
        "เราเป็นแม่ทัพและผู้บัญชาการของแนวหน้าทั้งหมด..มีอำนาจเด็ดขาดในการปฏิบัติงาน..
        และขอสั่งให้นายอยู่สู้รบตรงที่เดิม..ไม่มีการย้ายไปไหนทั้งสิ้น..หรือแม่แต่ถอยเพียงก้าวเดียว"

        และด้วยวินัยของทหาร...ทั้งคู่ก็ยังทำงานกันได้..และช่วยกันกอบกู้ประเทศชาติจนสำเร็จ..


        Konstantin Rokossovsky   

  

        คู่กรณี...แม่ทัพซูคอฟ

 


   
        กองทัพโซเวียตไม่ได้มีแค่พวกผู้ชายหรอกค่ะ  ผู้หญิงที่เป็นทหารนั้นมีมากกว่าแปดแสน..
        ไม่รวมเหล่าพยาบาลเคลื่อนที่อีกนับล้านๆ...

        ผู้หญิงเก่งๆ ก็เข่น กลุ่มนักบิน ที่เรียกตัวเองว่า..แม่มดราตรี  นำโดย Marina Raskova เธอคนนี้คนเดียวได้ทำเที่ยวบินกราดใส่ข้าศึกกว่า 30,000 เที่ยว จนมาประสบกับอุบัติเหตุตอนนำเครื่องลง
        เสียชีวิตไปในปี 1943 และได้รับการยกย่องว่าเป็นวีรสตรีแห่งโซเวียต
        เถ้าของเธอได้นำมาไว้ที่กำแพงเครมลิน เช่นเดียวกับวีรบุรุษ/สตรี คนอื่นๆ

        เธอ..งามขนาดนี้เชียว...

        Marina Raskova   

            
      
        ทหารหญิง

            
  


        แต่เราไม่ได้คอยคำตอบให้เสียเวลา...ในวันเดียวกันนั้น เราได้ติดต่อไปยัง V.D.Sokolovsky  ผบ. แนวหน้า เพื่อปรึกษาในความคิด ท่านโซโคลอฟสกี้ เห็นด้วยว่า..มันสมควรแก่เวลาที่จะผนึกกำลังโจมตี ยิ่งเร็วเท่าไหร่ ยิ่งดีเท่านั้น แผนการปฏิบัติการจึงได้เริ่มร่างขึ้นเพื่อเสนอรายละเอียดกับกลาโหม
        และเราได้ถูกสตาลินเรียกให้ไปพบในวันที่ 4 ธันวาคม  เพื่อถามว่า
        "นอกจากแผนที่วางมานี้...เราจะทำช่วยอะไรกับแนวหน้าของเราได้อีก"
        เรารีบตอบว่า
        "เครื่องบิน และรถถังอีกสองร้อยคัน ทางแนวหน้าต้องการรถถังจำนวนมาก เพราะการขับไล่นั้นต้องเคลื่อนตัวได้อย่างรวดเร็ว"
        "รถถังเรายังไม่มี..แต่เครื่องบินนั้นไม่มีปัญหา นายไปจัดการปรึกษากับกลาโหม เราอยากให้เริ่มโจมตีที่ Kalinin และที่ Yelets ในวันสองวันนี้"

        การปฏิบัติการได้เริ่มขึ้นในวันที่ 6 ธันวาคม หน่วยแนวหน้าตะวันตกได้เริ่มลงมือโจมตีทั้งทางเหนือและใต้ของมอสควา และหน่วยแนวหน้าอื่นได้เข้ามาขนาบในเขตของ Kalinin นับว่าเป็นการบุกครั้งสำคัญในสเกลขนาดใหญ่
        ในวันที่ 15 ธันวาคม กองทัพของนายพลคูเดอเรียนเริ่มทานแรงไม่ไหว
        เพราะโดนไล่ล่าทุกด้าน..เริ่มถอยออกไปจนถึง Sukhinichi โดยทิ้งอาวุธ
        รถถัง และอุปกรณ์ไว้ให้ดูต่างหน้าเป็นกองพะเนิน
        เพราะการถูกล่าไล่อย่างไม่หยุดยั้งนั้น ทำให้กองทัพนาซีที่ล้อมมอสควาเริ่มถอยออกอย่างไม่เป็นขบวน

        สตาลินเริ่มยิ้มออก...มองเห็นทางที่เปิดฉากขับไล่เยอรมันแบบไล่ล่าเป็นแนวยาว ตั้งแต่ทางเหนือทะเลสาบ ลาโดกา  (เลนินกราด) ไปจนถึงทางใต้ คือทะเลดำ

   
        Female Russian Sniper  



        การไล่ตีนาซีคราวนี้..เริ่มโดยทัพของแม่ทัพโคเนฟ ที่แนวคาลินิน ในวันที่
        5 ธันวาคม และจะเข้าสำทับโดยแม่ทัพซูคอฟในวันต่อไป..
        ตามด้วยทัพของ แม่ทัพทิโมเชงโก จาก แนวหน้าตะวันตกตอนใต้
        กองทัพของเรามี 388,000 กองกำลังปืนใหญ่ 5,600 รถถัง 550 คัน
        ทางฝ่ายนาซี มี กำลัง 240,000 กองกำลังปืนใหญ่ 5,350 รถถัง
        600 คัน
        ในตอนปะทะแรกๆ ยังเป็นการอุ่นเครื่อง...
        แต่ในวันที่ 9 ธันวาคม..แม่ทัพซูคอฟสั่งลุยเต็มตัว..นโยบายและเป้าหมาย
        ที่ทุกกองทัพรับไปถือปฏิบัติ คือ..
        "ตีให้แตกหักโดยจู่โจมและทุ่มกำลังอย่างไม่ให้ข้าศึกมีการตั้งตัว เริ่มจากการตีขนาบ แล้วลุยทำลายแนวหน้าข้าศึกให้หมดออกไปจากเขตมอสควาให้จงได้"

        นับว่าป็นการสู้รบที่นองลือดของทั้งสองฝ่าย เพราะทางฝั่งกองทัพแดง
        ยังทำการโจมตีได้ไม่ดีเท่าที่ควร ทำให้ล่าช้าไม่ทันใจ
        เสียเวลาไปถึงสองวัน..แต่ผลนั้นน่าพอใจ..
        ในวันที่ 12 ธันวาคม...แม่ทัพซูคอฟได้รายงานต่อสตาลินว่า..
        นับศพทหารเยอรมันได้ 30,000 ทางเราได้ยึดหมู่บ้านคืนมากว่า 400 หมู่บ้าน
        (รวมไปถึงบ้านเกิดของแม่ทัพซูคอฟด้วย บ้านมารดาของท่านได้ถูกเผาวอดวายเป็นเถ้าถ่านไปด้วย โชคดีที่ย้ายกันไปอยู่กับท่านแม่ทัพแล้ว มารดาของท่านได้เสียชีวิตไปในปี 1944 ด้วยโรคภัย...วิวันดา)

        ความสำเร็จในการไล่นาซีครั้งนี้..ได้สร้างขวัญและกำลังใจให้กับประชาชน
        อย่างดียิ่ง..
        ไม่ใช่แค่นั้น..ชาวโลกฝั่งตะวันตกที่เอาใจช่วยโซเวียตต่างก็ไชโยโห่ฮิ้วไปด้วย
        ในวันที่ 13 ธันวาคม หนังสือพิมพ์โซเวียต รวมไปถึงภาพยนตร์ข่าว
        ต่างประโคมเรื่องเกี่ยวกับแม่ทัพซูคอฟผู้กล้าอย่างเอิกเกริก..
        นี่คือการเปิดตัว คนดีศรีโซเวียต จอร์จิ ซูคอฟ เป็นทางการต่อชาวโลกครั้งแรก..

        ในเดือนมกราคม 1942  หนังสือพิมพ์ London Illustrated News
        ได้ลงภาพของแม่ทัพซูคอฟเต็มหน้า และมีคำบรรยายว่า..
        แม่ทัพโซเวียต ผู้บัญชาการทัพแนวหน้าผู้ยิ่งใหญ่
        รวมไปถึงหนังสือพิมพ์ยักษ์ใหญ่อย่าง Sunday Times ที่ร่วมด้วยในการสดุดี

       

 

 

จากนั้นมา..ชื่อของแม่ทัพซูคอฟมักจะถูกกล่าวถึงเคียงคู่กับชื่อของสตาลินในข่าวโลกรายวัน

  
        ตกปลายเดือนธันวาคม กองทัพโซเวียตได้ยึดคืนพื้นที่ออกไปถึงสองร้อยไมล์ และการเอาชัยกลับคืนมาได้ในครั้งนี้ ได้สร้างชื่อให้กับแม่ทัพซูคอฟแบบกับเป็นเทพเจ้าก็ไม่ปาน จนเชื่อกันว่า ถ้ามีซูคอฟ..จะไม่มีวันแพ้
        ซึ่งนั้นมันเป็นดาบสองคมให้กับเจ้าตัวเป็นอย่างยิ่ง เพราะสงครามมันก็ต้องมีแพ้มีชนะ มีปัจจัยอื่นๆอีกมากมาย ที่จะส่งผลให้ออกหัวหรือก้อย...
        โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในยามที่สตาลินกระหายต่อการ"เอาคืน" จนเร่งรีบกองทัพให้ออกปฏิบัติการทั้งๆที่กำลังพลและอาวุธยังไม่พร้อม
        แต่..ในความที่เป็นคนมีวินัย..ใจสู้ นายสั่งอย่างไรก็ต้องถือปฏิบัติ..
        แม้กระทั่ง..มีโศกนาฏกรรมเกิดขึ้นจนได้ที่แนวหน้า เมือง Rzhev และ เมือง Viazma ที่เชื่อมต่อกัน เรียกว่า Rzhev-Viazma
        ที่สตาลินต้องการให้ถล่มนาซีให้สิ้นซาก ซึ่ง..
        ทางกองทัพโซเวียตได้มีทหาร 688,000 หน่วย...ปืนใหญ่ 10,900 และรถถัง 474
        ทางฝ่ายข้าศึก มี 625,000 หน่วย ปืนใหญ่ 11,000 รถถัง 354
        วันปฏิบัติการเริ่มขึ้นในวันที่ 8 มกราคม 1942  โดยเริ่มจาก Kalinin
        มุ่งไปทาง Rzhev
        สองวันต่อมา..ทัพตะวันตกได้เข้าผสมโรง โดยมุ่งเข้า ยุคนอฟ เข้า เวียสมา
        ในขณะที่กองทัพที่หนึ่ง..ที่สิบหก และ ที่ยี่สิบ ของแม่ทัพซูคอฟ เข้าโจมตีที่
        Gzhatsk
        สิ้นเดือนมกราคม..แม่ทัพซูคอฟและกองบัญชาการสูงสุดได้มอบหมายและจัดเหล่าผบ.ทัพในการเข้าควบคุมการปฏิบัติงานที่ เรฟ-เวียสมา ให้แน่นหนา เพราะสตาลินหมายมุ่งเป็นอย่างมากในการที่จะให้ล้างกองทัพนาซีให้ออกไป...เพราะถ้าโซเวียตสามารถเอาชัยในสงครามในช่วงแนวหน้าตะวันตกนี้ได้...นั่นหมายถึง เป็นการพับฐานของแผนบาร์บารอสซ่าของฮิตเล่อร์
        อย่างหมดจด...
        สตาลินได้แจ้งความประสงค์มาว่า..
        "แผนของเรา..คือการที่จะไม่ให้โอกาสเยอรมันได้มีพื้นที่หายใจอีกต่อไปแค่นั้น..แต่มันหมายถึงเราต้องเอามันออกจากแผ่นดินไปให้หมดก่อนฤดูใบไม้ผลิที่จะมาถึง ในยามนั้นกองทัพเราจะมีพร้อมทั้งเสบียง กำลังพลและอาวุธ ในขณะที่พวกมันจะไม่มีและไม่เหลืออะไรเลย..นั่นคือ การชนะต่อสงครามครั้งนี้อย่างเด็ดขาด"

         
         

    แม่ทัพ  Konstantin Rokossovsky   สมัยเป็นนักเรียนนายร้อย...หล่อซ้าาาาา...
จะได้ยินชื่อของท่านบ่อยค่ะ เพราะรบเคียงคู่กับแม่ทัพซูคอฟ  

 

 

 

แม่ทัพโรโคซอฟสกี้ได้เขียนหนังสือขึ้นมาเล่มหนึ่ง..ทุกวันนี้กำลังตามหาหนังสือเล่มนี้อยู่..อยากได้มาก แต่ราคาแพงเหลือใจ..กำลังหาในเว๊บหนังสือที่อินเดีย..
ถ้ายังไม่ได้จริงๆ...ตั้งใจว่าจะขอยืมจากห้องสมุด แล้วเอามาถ่ายรูปเป็นหน้าๆไป..

แต่หนังสือเรื่องนี้จะออกแนวดราม่านิดหน่อย เนื่องจาก ท่านแม่ทัพโรโคซอฟสกี้มีเชื้อสายเป็นรัสเซียก็จริง แต่ไปเติบโตในโปแลนด์ เพราะบิดาไปทำงานรถไฟอยู่ที่นั่น..
ในช่วงที่โซเวียตกำลังจะขับไล่เยอรมันออกไปหมดแผ่นดินอยู่แล้ว..ก็เกิดเหตุการณ์ Warsaw Uprising ขึ้นมา..เพราะชาวโปล์ถือโอกาสที่นาซีกำลังยับเยินมาจากโซเวียต เลยรีบก่อหวอดกันขึ้นมาก่อน..ก็เป็นการนองเลือดอีกตามเคย (ดูได้ในภาพยนตร์ The Pianist)
สตาลินได้ส่งแม่ทัพโรโคซอฟสกี้ไปคุมเชิงอยู่ชายแดน..และห้ามไม่ให้ช่วยชาวโปล์ เนื่องจาก นโยบายไม่ต้องกัน คือ พวกเขาไม่ต้องการระบบคอมมิวนิสต์..

ท่านแม่ทัพจึงชอกช้ำใจหนักหนา..ที่เห็นประชาชนชาวโปล์ที่เปรียบเสมือนญาติโยมได้ถูกพวก SS ฆ่าและทารุณอย่างโหดเหี้ยม ไหนจะมองเห็นบ้านเมืองที่เคยอยู่เคยนอนต้องถูกทำลาย..

แต่เนื่องจากท่านเป็นทหาร..ต้องเชื่อฟังคำสั่งผู้บังคับบัญชา....
ท่านจึงได้เขียนหนังสือเล่มนี้เอาไว้...." A Soldier's Duty" ที่ได้ออกมาตีพิมพ์ใน 1985 (หลังจากท่านถึงแก่กรรมไปหลายปี)

   

 

 

ขอเล่าย้อนไปหน่อย..ในช่วงแรกของสงคราม เรฟ-เวียสมา นี้..กองทัพที่ 33 นำโดย นายพล
M.G. Efremov เป็นแม่ทัพ ขนาบข้างด้วยกองพลทหารม้าที่หนึ่งของ นายพล P.A. Belov และ
กองพันทหารม้าที่ 11 จาก Kalinin  
การเข้าพันตูนั้น..กองทัพที่กล่าวมา..ทำการผิดพลาดตกไปอยู่ในวงล้อมของข้าศึก..แต่นายพลเบลอฟตีฝ่าออกมาได้..ส่วนแม่ทัพเอเฟรมอฟและกองทัพที่สามสิบสามยังติดอยู่
ซึ่งทั้งหมดได้ต่อสู้อย่างกล้าหาญ..และในที่สุดก็กลายเป็นน้ำน้อย เพราะขาดการติดต่อและถูกตัดการส่งกำลังบำรุง แต่ทหารแดงได้ต่อสู้จนกระสุนเกือบนัดสุดท้าย..
ที่ว่าเกือบ..นั้นเป็นเพราะ แม่ทัพเอเฟรมอฟได้ตัดสินใจระเบิดขมับตัวเอง..เพราะไม่ยอมที่จะถูกจับไปเป็นเชลยเยอรมัน..เรื่องนี้เป็นเหมือนนโยบายที่แม่ทัพโซเวียตถือปฏิบัติ นั่นคือ ยอมตายแต่ไม่ยอมเป็นเชลย  เช่นแม่ทัพเอเฟรมอฟ เป็นต้น..

ขอเล่าเสริมนิ๊ดดนึง..ตอนที่แม่ทัพพอลลัสของนาซียอมยกธงขาวให้กับกองทัพโซเวียตที่
สตาลินกราด ถูกควบคุมตัวเป็นเชลย ที่มีการออกข่าวไปทั่วโลกในการนำตัวไปสอบสวนนั้น..
ฮิตเล่อร์ถึงกับคลั่ง..เพราะไม่เคยมีในประวัติว่าระดับจอมพลของเยอรมันไปแพ้ศึกจนถูกจับตัวที่ไหน..เขาถึงกับตะโกนออกลั่นว่า..ทำไมมันไม่ยิงตัวตายไปให้สิ้นเรื่องสิ้นราวไปวะ.....วิวันดา

แต่..ในเรื่องของแม่ทัพเอเฟรมอฟนี้..มีการนำเอามาประวัติศาสตร์ส่วนนี้ไปทำเป็นซีรีย์ ในชื่อว่า
Rzhev: Unknown Battle of Georgy Zhukov (มี English Subtitles)
ดูได้ค่ะ ที่นี่...http://youtu.be/NaKnN0CHhDU

แต่ในเนื้อเรื่องนั้น..คือ
แม่ทัพเอเฟรมอฟ ตกอยู่ในวงล้อม (อันนี้จริง..)
และพยายามติดต่อแม่ทัพซูคอฟเพื่อขอความช่วยเหลือ แต่ถูกปฏิเสธ  แถมยังสั่งกลับมาด้วยว่า ให้ตีฝ่าและบุกข้าศึกให้รู้ดำรู้แดง (ก็อาจจะจริง)
จนเมื่อเห็นทีจะไม่ไหว..แม่ทัพซูคอฟได้ส่งเครื่องบินมารับแม่ทัพเอเฟรมอฟ ให้ออกจากวงล้อมคนเดียว  ให้ทิ้งทหารไว้ข้างหลัง..เพราะอยากได้ตัวแม่ทัพเอเฟรมอฟไปช่วยศึกทางด้านอื่น..
(อันนี้..ดิฉันไม่เชื่อเด็ดขาด)
แม่ทัพเอเฟรมอฟ ปฏิเสธ เพราะชายชาติทหารย่อมไม่ทิ้งลูกน้อง..ตายก็ตายด้วยกัน  (ออกจะดราม่าไปหน่อย)
สุดท้าย..เขาก็ยิงตัวตาย..ก่อนที่จะไปเป็นเชลย..

เมื่อซีรีย์ชุดนี้ออกมา.. รัฐบาลโซเวียตเต้นเป็นเจ้าเข้า..เพราะมันเป็นการสร้างเรื่องขึ้นมาเพื่อดิสเครดิตศักดิ์ศรีของกองทัพ และได้ออกประกาศจับชาวโซเวียตทุกคนที่มีส่วนในทีมงานสร้างงานชิ้นนี้..


M.G. Efremov     
 
 

 

เรื่องการที่กำจัดเยอรมัน(ยัง)ไม่สำเร็จในแนว เรฟ-เวียสมา นี้..และการสูญเสียของกองทัพที่สามสิบสามนี้ได้สร้างสำนึกให้สตาลิน..ที่ต้องหันมาวิเคราะห์ศึกใหม่..
แม่ทัพซูคอฟได้บันทึกไว้ว่า..
"โศกนาฏกรรมในช่วงนี้..คือการผิดพลาดของการคำนวนค่าที่ผิดพลาด  เราคิดว่ากองทัพของเรามีแสนยานุภาพเหนือข้าศึก แต่..กลายเป็นว่า..พวกเขาแข็งแรงกว่าที่เราคิดไว้มาก"

แม่ทัพซูคอฟไม่ได้นิ่งนอนใจในเรื่องแนวหน้าเรฟนี้เลย..ได้พยายามเสนอความคิดไปกับ
สตาลินว่า
ยกทัพใหญ่ไปบดขยี้กันก็มีแต่จะเสีย..สู้ไว้รอรับมือมันจะดีกว่า..มาเมื่อไหร่ก็ตอบแทนไปในน้ำหนักที่เท่าๆกัน...ส่วนสตาลินอยากจะแยกเป็นทัพเล็กๆแบ่งกำลังออกไปโจมตี..
แต่..แม่ทัพ Shaposhnikov เห็นด้วยกับซูคอฟ ซึ่งมีความเห็นตรงกันในที่สุดว่า..
กองทัพขนาดใหญ่ต้องพร้อมที่จะรับมือ เมื่อข้าศึกมา..
แต่แม่ทัพซูคอฟยังมีความปรารถนาอย่างแรงกล้าในการที่จะสลายกำลังของข้าศึกที่
เรฟ -เวียสมา โดยมีความเห็นว่า..
"ถ้ามีการรวมกำลัง อีกสองกองทัพ กับ ส่วนแนวหน้าของแม่ทัพโคเนฟ เข้าบุกพร้อมกันก็น่าจะสำเร็จ..ถ้าไม่ถูกขัดคอเสียก่อน"
การ"ขัดคอ" นั้นมาจาก การที่สตาลินหันไปสนใจเปิดศึกทางด้านใต้ของตะวันตก ที่ Kharkov
เพราะแม่ทัพทิโมเชงโกได้ล๊อบบี้มา..

ศึกที่ คาร์คอฟ นั้นเริ่มขึ้นในวันที่ 12 พฤษภาคม ด้วยเป้าหมายที่ต้องการจะเข้ายึดพื้นที่ของ
คาร์คอฟ กลับคืนมา ซึ่ง..ผลคือ นอกจากจะยึดไม่ได้แล้ว..ยังโดนข้าศึกปิดล้อม
เสียไพร่พลไปอีกสามกองทัพ ...รถถัง 650 ปืนใหญ่อีก 5000
ตอนนั้น..ผู้ว่าราชการยูเครน คือ Nikita Khrushchev ที่ทำหน้าที่ที่ปรึกษากองทัพตะวันตกส่วนใต้ด้วย...มีส่วนรู้เห็นในเหตุการณ์ทั้งหมด...เขาได้กล่าวถึงเรื่องนี้ในงานครบรอบยี่สิบปีของสภา (ปี 1956) ว่า
"เรื่องการสูญเสียที่คาร์คอฟนี้..ต้องตำหนิสตาลินแต่ผู้เดียว เพราะกระผมและแม่ทัพทิโมเชงโก
ได้ขอร้องให้ท่านสตาลินสั่งถอยทัพก่อนที่จะถูกปิดล้อม..แต่ท่านไม่ยอม"

แม่ทัพซูคอฟ..ได้ออกมาโต้แย้งในความเห็นนี้ (ในหนังสือบันทึกของท่าน) โดยเล่าว่า
ความผิดพลาดของคาร์คอฟ คือการที่แม่ทัพได้ทำการส่งรายงานที่ผิดๆในระหว่างรบไปให้
สตาลิน ซึ่งแม่ทัพนายกองหลายนายได้เขขียนบันทึกไว้ตรงกับกันกับข้อความของแม่ทัพ
ซูคอฟ..ในเรื่องที่ทัพของตะวันตกตอนใต้นั้น..คิดว่าตัวเองแข็งแรงพอในการต่อกรกับเยอรมัน
อีกทั้งคิดว่า..ข้าศึกไม่มีน้ำยา..

จากการยับเยินมาทั้งที่ เรฟ-เวียสมา และ ที่คาร์คอฟ...สตาลินเริ่มสำนึกแล้วว่า..ข้าศึกนั้นแข็งแรงขึ้นทุกวัน..สิ่งที่สตาลินและเหล่าขุนพลไม่ทราบ..ก็คือ ฮิตเล่อร์เริ่มที่จะบุกใน
แผนบาร์บารอสซ่าอีกครั้ง โดยเริ่มจากทางใต้ขึ้นมา...

และคราวนี้เอง..ที่สตาลินต้องเรียกใช้บริการของ"ซูคอฟเซอร์วิส"อีกแล้ว..
 

 

 

จะว่าไป..ก็น่าเห็นใจเหล่าแม่ทัพนายกองของโซเวียตเหมือนกัน..เพราะโชคดูเหมือนจะเข้าข้างฝ่ายข้าศึกมาโดยตลอด..ไม่ว่าจะทุ่มเทขนาดไหน
อย่างเช่น กองทัพโซเวียตได้สามารถเข้าปิดล้อมกองทัพที่หกของเยอรมันได้ในตอนใต้ของ
เลนินกราด ในเดือนกุมภาพันธ์ - พฤษภาคม 1942

กองทัพที่หกที่มีทหารมากกว่าเก้าหมื่นนาย..อาวุธและรถถังอีกนับไม่ถ้วน..ถูกปิดประตูตายในวงล้อมของกองทัพแดง..
ในช่วงนี้เอง..ที่พระเอกเกอริง แห่ง ลุฟท์วัฟฟ์ ได้เป็นฮีโร่จริงๆ เพราะสามารถส่งกำลังบำรุงทั้งเสบียงและอาวุธทางอากาศได้อย่างต่อเนื่อง แถมยังรับทหารที่บาดเจ็บกลับไปรักษาด้วย
ในที่สุด..กองทัพนาซีก็แข็งแรงพอในการผ่าวงล้อมออกไปได้อย่างสวยงาม..
ถึงแม้ว่าจะมีการสูญเสียบ้าง...แต่ก็ได้ขวัญและกำลังใจจากทหารกลับมาอย่างเต็มๆ..
เกอริงเลยได้หน้าไปบานโข...และได้ให้คำมั่นสัญญากับท่านฟิวเร่อร์ ฮิตเล่อร์ว่า..ไม่ต้องกังวลเรื่องการปิดล้อมอีกต่อไป..เพราะลุฟท์วัฟฟ์สามารถแก้ไขปัญหาทุกอย่างได้


และนั่นคือ ข้อผิดพลาดครั้งยิ่งใหญ่ของกองทัพเยอรมันในสงครามสตาลินกราดในต่อมา...


ฝีมือของจอมพลเกอริง ที่ส่งลุฟท์วัฟฟ์ ไปช่วยทหารร่วมแสนในวงล้อมของกองทัพโซเวียต...ที่ Demyansk Kessel



 

ที่ฮิตเล่อร์กลับไปนั่งคิดหาแผนที่จะเอาชนะโซเวียตมาใหม่..นั่นคือ การทุ่มกำลังเข้าโจมตีแบบทัพเดียวใหญ่ๆ (ไม่ใช่สามทัพอย่างคราวที่แล้ว)
เพราะทางเยอรมันเองก็บากเจ็บไปไม่น้อย..ภายในเดือนมีนาคม 1942  ได้สูญเสียกำลังพลไป หนึ่งล้านหนึ่งแสนนาย..เท่ากับเป็น 35% ของกำลังพลทั้งหมด
รถบรรทุก สี่หมื่นคัน..รถมอเตอร์ไซค์แบบมีพ่วง ห้าหมื่นคัน รถยนตร์ สามหมื่น คัน..ไม่นับรถถังอีกนับไม่ถ้วน ซึ่งมาถึงตอนนี้ กองทัพนาซีต้องหันไปใช้บริการของม้า วัว
ที่ไปเกณฑ์มาจากประเทศอื่นๆในใต้อาณัติ
ฮิตเล่อร์เพิ่งจะมามองเห็นทางสว่าง (ที่สตาลินเคยพูดเอาไว้) ว่าถ้ามาทัพเดียวแบบเต็มๆก็อาจจะชนะ..แต่ทางไหนจึงจะได้ผลที่สุดเล่า...
เขาจึงวาดแผนไปทางตอนใต้ของคอเคซัส..ที่มีแหล่งน้ำมันที่ Baku อันเป็นแหล่งผลิตเชื้อเพลิงให้กับโซเวียตแทบทั้งหมด อีกทั้งเส้นทางนั้น..ทั้งยูเครนและ ทรานคอเคเซีย
มีทั้งพวกเหมืองแร่ต่างๆมากมาย รวยมไปถึงทุ่งธัญญพืชที่กำลังงอกงามอีกด้วย..นับว่าเป็นการตัดแขนและขาของโซเวียตให้หมดสิ้นเลยในคราวเดียว
ฮิตเล่อร์ไม่ได้หวังว่าจะชนะอย่างเด็ดขาดในคราวเดียวกันนี้ แต่..เขาต้องการทรัพยากรที่จะมาสร้างเสริมความแข็งแกร่งค่ืนมาให้กับกองทัพ...เพราะ..
ตอนนี้..อเมริกาได้ประกาศเข้าร่วมในสงครามโลกครั้งนี้แล้ว..จากความหวังดีของมหามิตรญี่ปุ่น..ที่ไปช่วยถล่มเพิรล์ ฮาร์เบอร์  ให้ในเดือนธันวาที่ผ่านมาอย่างสดๆร้อนๆ

ดังนั้น..จึงไม่ต้องสงสัยเลยว่า..บรรดาอาวุธและอุปกรณ์สงครามต่างๆจะหลั่งไหลไปช่วยโซเวียตอย่างเต็มที่ ตอนนั้นไม่มีใครแคร์แล้วว่าใครจะเป็นคอมมิวนิสต์
ทุกคนในฝ่ายสัมพันธมิตรถือว่า..ศัตรูของเยอรมัน..คือสหายของเรา...

นโยบายการบุกในฤดูร้อนครั้งนี้..ฮิตเล่อร์ได้ลงเป็นลายลักษณ์อักษรหนังสือราชการ หมายเลขที่ 41 ลงวันที่ 5 เมษายน 1942 ...ว่า
"ทัพใหญ่ทั้งหมดจะผนึกกำลังกัน มุ่งสู่เป้าหมายเดียว คือตอนใต้ (ของโซเวียต) ในวัตถุประสงค์ที่ต้องล้มล้างและทำลายทัพของข้าศึกให้หมดไปจากแนวแม่น่้ำดอน เพื่อที่เราจะได้เข้ายึดครองฐานผลิตน้ำมัน..รวมไปถึงการเดินทัพผ่านสะดวกในแนวฝั่งเขาของคอเคซัส  
ในการปฏิบัติการครั้งนี้..ใช้ชื่อว่า..Operation Blue "

 

 

แผน Operation Blue นี้...เป็นการผนวกด้วยกันกับกองทัพต่างชาติที่เกณฑ์มา คือ อิตาลี  ฮังการี และ โรเมเนีย ได้ประสบความสำเร็จอย่างรวดเร็ว...
เพราะกองทัพโซเวียตนั้นต้านทานไม่อยู่..สู้ไปถอยไป ภายในสิ้นเดือนกรกฏาคม  นาซีได้ยึดครองลุ่มแม่น้ำดอนได้และกำลังจะลุยไปที่ สตาลินกราด และ พื้นที่ของคอเคซัส
ในเดือนสิงหาคม..เยอรมันได้เข้าควบคุมฝั่ง Volga และ Stalingrad ได้อย่างง่ายดาย..ใต้ลงไปอีกนิด กองทัพนาซีก็ได้ไปถึงที่คอเคซัสและยึดเอาฐานน้ำมัน
Maikop และกำลังจะคืบไปที่ ฐานน้ำมันที่ Grozny ที่ Chechnya

ในวันที่ 21 สิงหาคม 1942  ธงนาซีได้ปักปลิวไสวบนยอดเขา Elbruz อันเป็นส่วนที่สูงที่สุดของคอเคซัส
ซึ่งในช่วงเดือนกรกฏาคมและสิงหาคมนี้..เยอรมันได้เชลยถึง หกแสนกว่าคน..ปืนใหญ่กว่าหกพัน และ รถถังกว่าเจ็ดพัน  เครื่องบินกว่าสี่ร้อย
ส่วนเยอรมันก็เสียหายไม่น้อย..
แม้ว่าการเสียหายของโซเวียตจะเป็นจำนวนมาก แต่ก็น้อยกว่าช่วงสงครามในฤดูร้อนของปี 1941
ในชัยชนะที่ได้มาอย่างรวดเร็วนี้..ทำให้ฮิตเล่อร์เกิดความมั่นใจว่า..จะได้โซเวียตมาอยู่ในความครอบครองในอนาคตอันใกล้นี้เอง
ดังนั้น..ในวันที่ 23 กรกฏาคม ได้ออกประกาศมาอีกฉบับ หมายเลขที่ 45  ว่า..
"ในการปฏิบัติงานของเราเพียงแค่สามอาทิตย์ผ่านไป..นับว่าได้ผลสำเร็จที่น่าพอใจ ทั้งทางใต้และตะวันออก..."

กองทัพนาซีที่สิบเอ็ด..ที่เขตไครเมีย..ได้รับคำสั่งให้ทำลายกองทัพโซเวียตที่ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของ Rostov เพื่อที่จะครอบครองตลอดแนวฝั่งทะเลตะวันออกของทะเลดำ
และต่อด้วยเขต Baku
จากนั้น ฮิตเล่อร์ได้สั่งให้กองทัพเยอรมันแยกสายออกมาอีกกองทัพหนึ่ง เพื่อที่จะมุ่งไปที่สตาลินกราด ด้วยจุดประสงค์ที่จะลุยกองทัพแดงที่ตั้งรับอยู่ที่นั่น..และ
เพื่อจะได้ยึดเมือง และตัดเส้นทางเชื่อมระหว่างแม่น่้ำ Don และแม่น้ำ Volga  

การที่สั่งแยกกองทัพออกเป็นสองกองนี้....เป็นผลดีกับกองทัพแดง..ในการที่จะเอาคืน..
สตาลิน..ยังมัวมึนอยู่กับความคิดที่ว่า..เยอรมันต้องการที่จะยึดเอามอสควาเป็นสำคัญ..เพราะการทุ่มกำลังของนาซีที่เข้ามาทางเมือง Voronezh (อันอยู่ใกล้กับมอสความมากกว่าสตาลินกราด)
อีกทั้งเมืองโวโรเนซ ได้ถูกยึดครองไปในวันที่ 7 กรกฏาคม ซึ่งกองทัพแดงได้ทุ่มกำลังเต็มที่ในการที่จะกู้เมืองกลับคืน ภายใต้การบัญชาการของแม่ทัพ Nikolai Vatutin
ส่วนทางใต้ลงมา..คาร์คอฟที่อยู่ในภาวะวิกฤติเพราะแม่ทัพทิโมเชงโก  ไม่ทำการต่อต้านที่เข้มแข็งเท่าที่ควร..กองบัญชาการสูงสุดจึงสั่งจำเป็นต้องสั่งให้ถอยไปทางแม่น้ำดอน
พอทัพนาซีเปลี่ยนเส้นทางมาที่สตาลินกราด...

ในวันที่ สิบสอง กรกฏาคม รีบสั่งให้ให้มีกองทัพมาตรึงกำลังรักษาแนวหน้าของสตาลินกราดแบบด่วนจี๋...กองทัพที่ว่านั้น คือ กองทัพของแม่ทัพทิโมเชงโก ที่ต้องมาจัดทัพกันใหม่ เพราะเพิ่ใถอยออกมาอย่างไม่มีระเบียบเท่าไหร่
การจัดทัพใหม่ เป็นการนำเอากองทัพกองหนุนที่ 62, 63 และ 64 เท่ากับว่า แม่ทัพทิโมเชงโก มีกำลังพลถึงสามสิบแปดกองพล เท่ากับมีทหารมากกว่าห้าแสนนาย
รถถังอีกนับพัน เครื่องบินกว่าแปดร้อย.. แต่..แม่ทัพทิโมเชงโก..ทำงานไม่ได้ผลอีกเช่นเคย..
ในวันที่ 22 กรกฏาคม  เขาถูกเปลี่ยนตัว..โดยนายพล V.N. Gordov มาทำหน้าที่บัญชาการแทน..
ต้นเดือนสิงหาคม..กองทัพแดงได้แยกออกเป็นสองกอง เข้าประจำทางแนวหน้าสตาลินกราด และ แนวหน้าที่ตะวันออกตอนใต้
และมีผู้บัญชาการใหม่...คือ..นายพล A.I. Yeremenko ที่ต้องดูแลและบัญชาการทั้งสองกองทัพ...
จะต้องกล่าวได้ว่า..นี่คือประวัติศาสตร์ตอนสำคัญของโซเวียต เริ่มจากวันที่ 17 กรกฏาคม ที่นับต่อไปอีกสองร้อยวัน..ว่า..เป็นการยิงต่อสู้กับข้าศึกอย่างหูดับตับไหม้ทั้งวันทั้งคืน
ติดต่อกันไป..เพื่อชัยชนะเหนือสตาลินกราด

ในวันที่ 17 นั้นเอง..ที่ กองทัพที่หกของนาซี ได้ปะกับ กองพลที่ 62  และ 64 ที่ฝั่งแม่น่้ำ Chir การปะทะเป็นไปอย่างดุเดือดถึงสามวัน..ยังสกัดไม่อยู่
เยอรมันสามารถข้ามแม่น้ำดอนมุ่งหน้าไปยังคอเคซัส และสตาลินกราดได้
เท่านั้นไม่พอ...เยอรมันได้ยึดเอา Rostov คืนไปได้อีกครั้ง ( เมื่อปี 1941 หลังจากที่โซเวียตได้เอาคืนมาครั้งหนึ่งแล้ว อีกทั้งเป็นเมืองแรกที่โซเวียตเอาคืนมาได้ มีการเฉลิมฉลองใหญ่ด้วย...)
ซึ่งมันมีผลในด้านลบทางขวัญกำลังใจของทหารและประชาชน

ในวันที่ 28 กรกฏาคม สตาลินได้ออกคำสั่ง (ฉบับที่ 227) มาอย่างเฉียบขาดและดุดันว่า...
"Ni Shagu Nazad!!!!"  แปลว่า...ห้ามถอย..แม้แต่ก้าวเดียว...

 

 

 

ก่อนที่จะเล่าเลยไปถึงสงคราม..ต้องเล่าถึงเบื้องหลังฉากก่อน..เพราะเครดิตในการชนะสงครามของรัสเซียนั้นไม่ได้มาจากทหารใจเพชร หรือ การรักชาติจนยอมสละชีพเพียงเท่านั้น
แต่เพราะมีผู้ช่วยพระเอกที่ควรได้รับเกียรติในการที่จะต้องกล่าวถึง..เพราะท่านยิ่งใหญ่จริงๆ...
ท่านนั้นคือ เซอร์ วินสตัน เชอร์ชิลล์ ที่ได้ช่วยโซเวียตมาตั้งแต่ตอนที่ถูกบุกใหม่ๆในฐานะที่เป็นสัมพันธมิตรกัน..
แต่ท่านต้องทนกับการเร่งรัดแกมขู่ของฝ่ายโซเวียตที่ต้องการให้อังกฤษเปิดศึกกับเยอรมันอีกทางแบบทันทีทันใด..เพื่อที่จะได้แบ่งเบาภาระกันไป

ท่านนายกฯ ได้ตอกกลับทูตรัสเซียไปอย่างฉุนๆ (ในเดือนสิงหาคม 1941) ว่า..
"ท่านคงจำไม่ได้..ว่า..เมื่อสี่เดือนก่อน เรา(อังกฤษ) ได้สู้รบกับเยอรมันอย่างยิบตา..เรือสินค้าของเราถูกเรืออูของเยอรมันล่มไปนักต่อนัก..และในตอนนั้น เราไม่รู้ด้วยซ้ำว่า ท่าน(โซเวียต) อยู่ข้างไหน
ท่านอาจจะผนึกกำลังกับเยอรมันมาตีเราก็เป็นได้ แต่เราก็ไม่ได้เกรงกลัว ยังคงยืนหยัดสู้ต่อไป...จนทำให้ฮิตเล่อร์ต้องเปลี่ยนแผน..แต่เอาเถอะ..เราจะช่วยในเรื่องยุทโธปกรณ์และสิ่งของใช้ในการสงครามอื่นๆ
แต่เรื่องเปิดศึกกับเยอรมันอีกด้านหนึ่ง..ไม่ใช่ความคิดที่ดี..เพราะตอนนี้เยอรมันคือใข่แดงในยุโรป..ท่านจะให้เราส่งกำลังไปรบทางไหนหรือ?"

อย่างไรก็ตาม ในเดือน กันยายน ท่านเชอร์ชิลล์ได้ทำตัวเป็นแกนนำในการประสานกับอเมริกา (แบบลับๆ) ในการที่จะช่วยเหลือทางด้านอุปกรณ์รบให้กับโซเวียต
เป็นการดำเนินงานโดยตัวแทนอังกฤษ Lord Beaverbrook กับนาย Averell Harriman (อเมริกา) โดยการส่งอาวุธล๊อตใหญ่ไปให้ทางเรือ จาก Scapa Flow
ผ่านทะเลอาร์คติก ไปสู่ Archangel เมืองท่าทางฝั่งบอลติคของโซเวียต  
แล้วก็ผ่องถ่ายใส่เครื่องบินต่อไปมอสควา
ซึ่งเรื่องนี้ท่านนายกฯ ต้องทำเรื่องฟันฝ่ากว่าจะผ่านด่านกลาโหมไปได้จนสำเร็จ
และท่านได้มีจดหมายไปถึงสตาลิน ผ่านท่านลอร์ดบีเวอร์บรุ๊ค ไปว่า;

เรียนท่านผู้นำสตาลิน, 21 กันยายน 41


บัดนี้..ภาระกิจ บริติช-อเมริกัน ได้เริ่มต้นขึ้นแล้ว..และจดหมายฉบับนี้ได้ถึงมือท่านโดยท่านลอร์ด บีเวอร์บรู๊ค ผู้ซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบดูแลโดยตรงในกิจกรรมนี้
และเป็นเพื่อนสนิทกันมานานแสนนาน ท่านลอร์ดได้ทำการประสานงานกับมิสเตอร์ ฮาร์ริมัน ตัวแทนของฝ่ายอเมริกาที่เป็นฝ่ายเราอย่างเต็มตัว
ประธานาธิบดีรูสเวลต์ ได้ตกลงใจที่จะส่งของที่ท่านต้องการในล๊อตแรกให้ทั้งหมดในเวลาเก้าเดือน นับจากตุลาคม ไปจนถึง มิถุนายน 1942
และทางจะส่งรายละเอียดให้ท่านทราบในเดือนต่อเดือน
ว่า..ของที่ส่งไปมีอะไรบ้าง ซึ่งทางท่านจะได้ตระเตรียมการวางแผนสู้รบได้ล่วงหน้า
ส่วนเรื่องที่เสนอไปทางอเมริกานั้น*..เราคงยังไม่ทราบแน่นอนจนกว่าจะถึงสิ้นเดือนมิถุนายน 1942..
แต่เรื่องการช่วยเหลือทางด้านอุปกรณ์นั้นจะกระทำอย่างเต็มที่จากทางเราและอเมริกา
เพื่อทดแทนให้เพียงพอกับโรงงานในโซเวียตต้องเสียหายไปอย่างมากมายเพราะฝีมือของนาซี
หวังว่าท่านคงเข้าใจว่าโควต้าที่จะส่งให้ในล๊อตแรกนั้น..มันหมายถึงผลิตผลแทบทั้งหมดที่เราผลิตได้ในอังกฤษ หรือ ของที่จะได้จากอเมริกา คือสิ่งที่ทางเราอุดหนุนสั่งซื้อ รวมไปถึงจากการเช่าซื้อ
(Lend-Lease program) ที่อเมริกามีน้ำใจให้กับพวกเรา ซึ่งก็ยังไม่เต็มที่สักเท่าใดในตอนนี้ 

แต่เชื่อว่าภายในปี 1943 ทางอเมริกาจะเดินหน้าได้อย่างเต็มตัวทางการผลิต
ส่วนทางเรา..ได้เริ่มเพิ่มการผลิตอย่างเต็มที่แล้ว..ต้องรับความจริงว่า..กองทัพของเรานั้นมีขนาดเพียง หนึ่งในหกของกองทัพของเยอรมัน หรือ ของโซเวียตเท่านั้น กำลังในการผลิตจึงจำกัด...
แต่เราก็จะพยายามที่จะช่วยอย่างเต็มที่
นายพล อิสเมย์ (General Ismay) ตัวแทนทางกองทัพอังกฤษ ผู้เป็นสหายสนิทของเราได้รับการอนุมัติให้ไปทำร่วมมือและแลกเปลี่ยนวิสัยทัศน์ทางการศึกกับฝ่ายเสนาธิการของโซเวียต

ถ้าหากเราสามารถปัดเป่าอุปสรรคทางลิเบียกับกองทัพนาซีไปได้ในอนาคตอันใกล้นี้..หมายถึงเราจะมีกำลังพลทั้งทางบกและทางอากาศที่จะได้ส่งไปช่วงโซเวียตทางแนวหน้าตอนใต้
อันหมายความว่า..ถ้าตุรกีจะเข้ามาร่วมช่วยนำทัพเข้ามาสกัดกั้นกับนาซี หรือ มาร่วมเข้ากับทางฝั่งเรา..เชื่อว่าท่านสามารถช่วยทำการผลักดันได้ในเรื่องนี้ **
เรามีความเห็นใจโซเวียต เฉกเช่นเดียวกันกับเห็นใจชาวจีนที่ต้องมาปกป้องตัวเองจากการรุกรานของญี่ปุ่น  เราไม่ต้องการรวมญี่ปุ่นให้มาเป็นศัตรูกับเราด้วย
แต่..จากอากัปกิริยาของท่านประธานาธิบดีรูสเวลต์แล้ว..ท่านคิดตรงกันข้าม ซึ่่งเราได้ประกาศออกไปแล้วว่า..หากเมื่อไหร่ที่อเมริกาประกาศสงครามกับญี่ปุ่น..เราก็จะร่วมด้วยช่วยกัน
ซึ่ง..เราสามประเทศสมควรที่จะต้องเป็นน้ำหนึ่งเดียวกันในการณ์นี้***
อย่างไรก็ตาม..ท่านทำถูกต้องแล้ว..ในการที่ช่วยเหลือจีนให้มีแรงต่อต้านกับญี่ปุ่น เพราะมันเป็นการตัดกำลังไม่ให้ญี่ปุ่นไปก่อสงครามที่อื่น..****
เราเข้าใจในความทุกข์ยากของประชาชนที่ต้องได้รับในระหว่างนี้..อย่างไรก็ตาม เราเชื่อว่าอเมริกาจะกระโดดเข้ามาร่วมอย่างเต็มตัวแน่นอน และเมื่อนั้น..โอกาสจะเป็นของเรา

แม้ว่าสงครามยังคงดำเนินต่อไปในอย่างดุเดือด  แต่อังกฤษ โซเวียต จีน อเมริกา..ที่มีประชาชนรวมกันได้กว่าสองในสามของประชากรโลก  เราจะเดินทางรวมกันไปถนนแห่งความสำเร็จ
ไปสู่ชัยชนะ

เราเชื่อว่ากองทัพรัสเซียจักมีชัยเหนือศัตรูในเร็ววัน..


จากใจจริง

Winston S. Churchill

*คือการที่อเมริกาจะเข้ามาร่วมรบในสงครามโลกอย่างเต็มตัว..ตอนนั้น สภาคองเกรสไม่เห็นด้วย...ปธน.รูสเวลต์ได้กำลังพยายามล๊อบบี้ทุกวิถีทาง..

** ตุรกี วางตัวเป็นกลาง..ซึ่งทางสพม. ก็เห็นดีด้วย เพราะกองทัพนาซีจะผ่านข้ามไปไม่ได้ง่ายๆ แต่ พอเยอรมันรบอย่างแข็งแรงขนาดกวาดเกือบหมดในตะวันออกกลาง
เชอร์ชิลล์จึงอยากให้ตุรกีมาเป็นพวกและจัดทัพเข้าขนาบเยอรมัน..ซึ่งกว่าทางตุรกีจะตัดสินใจเข้ามาร่วมได้ก็ตกไปในปี 1943 ซึ่งต้องใช้แรงดันทั้งจากสตาลิน เชอร์ชิลล์ และ รูสเวลต์

*** เป็นการบอกกลายๆว่า..อเมริกาเขาช่วยเรามาแล้ว..ถ้าหากว่าเขาเดือดร้อนเพราะญี่ปุ่น เราต้องช่วยเขาเป็นการตอบแทน...

**** สตาลินได้ให้การสนับสนุนกับกองทัพประชาชนของเมาเซตุงในจีน ในการต่อสู้และต่อต้านญี่ปุ่น..

ในที่สุดอุปกรณ์ทั้งหมดที่ส่งมานั้น..ได้ไปถึงโวเวียตอย่างปลอดภัยในวันที่ 28 กันยายน ซึ่งการต้อนรับและการตอบรับจากฝ่ายโซเวียตเป็นไปอย่างไม่ค่อยเป็นมิตรนัก  ทั้งๆที่เป้นผู้รับของจำนวน
มหาศาลนั่นแท้ๆ วันสุดท้ายก่อนที่คณะจะเดินทางกลับนั่นแหละ  ถึงได้มีการเชิญให้ไปร่วมดินเน่อร์ในเครมลิน
ท่านลอร์ด อิสเมย์ ได้กลับมาเล่าแบบขำๆว่า..ทส.ของท่านได้ไปเที่ยวชมเมืองมอสควาที่มีไกด์เฉพาะกิจ นำทางไป..
หมอนั่นได้ชี้ชวนให้ดูสถานที่ต่างๆและบอกว่า..
"นั่น โรงแรม Eden (หมายถึง Anthony Eden รมต.กระทรวงต่างประเทศอังกฤษ)  แต่เมื่อก่อนถูก เรียกว่า โรงแรม Ribbentrop...
และ นั่น ถนน Churchill เมื่อก่อนถูก เรียกว่า ถนน Hitler ..นั่นก็สถานีรถไฟ
Beaverbrook เมื่อก่อนถูกเรียกว่า สถานี Goering ..เอ่อ..นายมีบุหรี่สักซองไหม คอมราด..?"
ทส. ได้ตอบไปอย่างทันควันว่า..
"มีซิ..นายคอมราด ที่เมื่อก่อน ถูกเรียกว่า ไอ้ปากหม..."


Max Aitken, Lord Beaverbrook

 


 

 

ดิฉันคิดว่า น่าจะเป็นสาระที่ดี เพราะผู้คนส่วนใหญ่ไม่ค่อยได้ทราบในความสัมพันธ์ของพวกท่านผู้นำที่มีวิสัยทัศน์ต่างกัน
แต่ต้องมา(ทน)ประจันหน้ากัน..พูดคุยกัน...มันไม่ใช่เรื่องง่าย..ถ้าใจไม่ถึงจริงอย่างท่านเชอร์ชิลล์คงไม่สำเร็จ..
เนื่องจากสตาลินมีความคลางแคลงใจหนักหนา..ว่า ฝ่านสพม. นั้น"จงใจ" และ "ออมแรง"ที่จะให้โซเวียตสู้รบจนหมดแรง แล้วจะมาชุบมือเปิบในทีหลัง..
เพราะอยากจะกำจัดคอมมิวนิสต์อยู่แล้ว..จึงเป็นหน้าที่ท่านเชอร์ชิลล์ต้องไปพบเพื่อแสดงความจริงใจ และอธิบายในแผนงานที่ได้เริ่มประสานกับอเมริกาอย่างเต็มตัว
เนื่องจากทางอเมริกาเองก็เพิ่งได้รับไฟเขียวและแรงสนับสนุนจากประชาชนในการประกาศสงครามกับฝ่ายอักษะมาหมาดๆ จากการถล่มเพิร์ล ฮาร์เบอร์เมื่อปลายปีที่ผ่านมา

ท่านเชอร์ชิลล์ต้องบินไปโซเวียตในฤดูร้อน 1942 จากเตห์ราน ผ่านทะเลสาบแคสเปียนแบบเสี่ยงกระสุนของนาซี ไปลงทางตอนใต้
และต่อด้วยเครื่องบินของกองทัพอากาศโซเวียตเข้าไปในมอสควา
ส่วนคณะผู้ติดตามนั้น ยังมาไม่ถึงเพราะเครื่องขัดข้องต้องกลับไปเปลี่ยนเครื่องใหม่
จุดประสงค์ในการมาของท่านคราวนี้..เพื่อมาเคลียร์ใจกับสตาลินให้เข้าใจในสถานะการณ์สงครามว่า.."แนวร่วมยังไม่สามารถเปิดสงครามอีกด้านกับเยอรมันได้ในช่วงปี 1942 นี้อย่างแน่นอน"
ดังที่สตาลินต้องการและเร้าเร่ง...ท่านต้องการที่จะอธิบายถึงเหตุผลและโน้มน้าวจิตใจให้
สตาลินลดระดับความร้อนรุ่มลง..

ท่านเดินทางถึงในเวลาตอนตีห้า  รมต.ต่างประเทศ โมโลตอฟ ได้ทำหน้าที่เป็นสารถีขับรถไปส่งที่ที่พักรับรอง "State Villa N0.7" ที่ห่างไปจากมอสโคว์แปดไมล์
ระหว่างที่นั่งไปในรถ ได้สังเกตว่าถนนหนทางช่างเงียบเหงา อ้างว้าง ไร้ผู้คนเอาเสียจริงๆ  จึงได้เปิดกระจกเพื่อให้รับอากาศ..และได้พบว่า..กระจกนั้นมีความหนาถึงสองนิ้ว
ท่านรมต.บอกผ่านล่ามมาว่า.."เพื่อความปลอดภัย.."

ที่พักนั้น..สอาดหมดจดจนเป็นเงาวับไปทุกสิ่ง..รวมไปถึงนายทหารที่ส่งมาอำนวยความสะดวกที่ท่าทีมีสกุล สง่างามดูราวกับเป็นเจ้าชายในแวดวงของซาร์ทีเดียว นายทหารคนนี้มีหน้าที่ดูแลทุกอย่างให้เรียบร้อย..
รวมทั้งเหล่าพนักงานรับใช้ที่อยู่ในชุดขาวสอาดเอี่ยม..ทุกคนพร้อมต่อการรับคำสั่งไปปฏิบัติด้วยหน้าตาที่ยิ้มแย้มแจ่มใส
ห้องอาหารโต๊ะที่เป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้ายาว ตั้งอยู่กลางห้อง รอบห้องมีตู้และชั้นที่วางพร้อมไปด้วยเครื่องดื่ม ของขบเคี้ยว และ ถาดผลไม้
ห้องนอน..กับ ห้องน้ำ แทบจะมีขนาดเดียวกัน..มีก๊อกน้ำร้อนและน้ำเย็น
เมื่อเราได้มีโอกาสแช่น้ำอุ่น..ชำระร่างกายที่ตรากตรำมาจากการเดินทาง..จึงสังเกตได้ว่า..ที่อ่างน้ำไม่มีก๊อกแยกสำหรับน้ำร้อน น้ำเย็น หากแต่มีก๊อกเดียว ที่เปิดมาจะมีทั้งน้ำร้อนและน้ำเย็น
ผสมมาให้เสร็จเลย..แล้วแต่ผู้ใช้ว่าจะต้องการอุณหภูมิขนาดไหน..
ส่วนอ่างล้างมือ..เราสังเกตว่า..เขาไม่ใช้การล้างแบบใช้น้ำขังในอ่าง..หากแต่เป็นการใช้แบบเปิดล้างมือกันจากก๊อกเลย..ซึ่งถ้าไม่มีปัญหาเรื่องขาดแคลนน้ำ
การล้างแบบนี้..ถือว่าดีที่สุด  (เราได้ใช้วิธีนี้ที่บ้านต่อมา..)

อาบน้ำเสร็จ..ไปที่ห้องอาหาร..ที่มีการเตรียมไว้ให้พร้อมทั้งวอดก้าและคาร์เวียร์  ไวน์จากฝรั่งเศสและเยอรมัน อาหารนับชนิดไม่ถ้วน
แต่เราไม่มีอารมณ์ในการบริโภคในยามนั้น..และได้เรียนท่านรมต. โมโลตอฟ ไปว่า..อยากจะพบท่านผู้นำมากกว่า
ซึ่งท่านได้ตอบมาว่า..จะเป็นเวลาหนึ่งทุ่มตรงของคืนนี้..


เราไปถึงเครมลินและได้พบกับท่านผู้นำสตาลินเป็นครั้งแรก (ผู้ซึ่งสามปีต่อมา เราต้องมากลายเป็นเกลอกัน ถูกคอต้องอัธยาศัยกันบ้าง ทะเลาะกันบ้างในบางโอกาส)
การพบกันครั้งแรกนี้..กินเวลาไปสี่ชั่วโมง..
และเนื่องจากเหล่านายทหารผู้ติดตามยังมาไม่ถึง จึงมีแค่เรา , ฮาริมันน์ และ ทูตของเราประจำโซเวียต ส่วนทางกลุ่มโน้น มี สตาลิน, โมโลตอฟ และแม่ทัพโวโรชิลอฟ กับเหล่าล่าม..

สองชั่วโมงแรกของการเข้าพบพูดคุย เรียกได้ว่า ฝืดสิ้นดี
เพราะการที่ทางเราได้ยืนยันอย่างเด็ดขาดและเป็นการเปิดอกคุยกันตรงๆว่า..ไม่มีทางที่จะเปิดศึกขนาบเยอรมันได้ภายในปีนี้อย่างแน่นอน
และการที่เรามาถึงที่นี่..ก็หมายที่จะให้สตาลินได้เปิดใจรับฟังความจริง
ที่ไม่มีเจตนาอื่นแอบแฝง
จริงอยู่..ที่เราเคยพูดกับโมโลตอฟว่า จะพยายามเปิดสนามรบกับเยอรมันในฝรั่งเศส แต่ไม่ได้สัญญาว่าจะเป็นในเร็ววันนี้ หรือภายในปีนี้..เพราะทั้งเราและอเมริกายังไม่มีความพร้อมภายในเดือนกันยายนนี้แน่ (เพราะหลังจากนั้นไปสภาพอากาศจะไม่อำนวยให้ทำการใดๆ) แต่..ทางโซเวียตได้ทราบดีอยู่แล้วว่า..อเมรืกาได้จัดเตรียมทัพ
มีการเกณฑ์ทหารเป็นจำนวนนับล้านๆนาย บางส่วนได้กำลังเตรียมการมาประจำอยู่ที่อังกฤษภายในเดือนเมษาหน้าที่จะถึง รวมไปถึงอาวุธรุ่นล้ำสมัย  และกองทัพใหญ่จะเคลื่อนตัวเข้ามาภายในเดือนตุลาคม
เราได่บอกสตาลินไปว่า จริงอยู่..ที่มันเป็นแผนการในอนาคต ไม่ใช่ในตอนนี้ที่
สตาลินกำลังต้องการอย่างที่สุด
แต่อย่าลืมว่า..มันก็จะช่วยได้มาก เพราะภายในปีหน้า ทัพเยอรมันทางตะวันตกอาจจะยิ่งแข็งแรงขึ้น
สตาลินนิ่งเงียบ..รับฟังด้วยสีหน้าไม่สู้ดี...
เราจึงพูดต่อว่า..อังกฤษมีเหตุผลที่ดีในการที่ไม่ยกทัพไปปะทะกับเยอรมันที่ฝรั่งเศสในปีนี้ เพราะเรามีเรือขนพลขึ้นบกไม่พอ อย่างเก่งก็แค่หกกองพล..กว่าหกกองพลที่ว่านี้จะฝ่าด่านกั้นไปได้ ก็คงต้องใช้เวลา
และการที่จะส่งกำลังพลไปเพิ่มก็ยังเป็นอุปสรรค อาจจะไม่ทันการ
ซึ่งตอนนี้..ทางเรากำลังเร่งสร้างเรือขนส่งกำลังพลอยู่อย่างมากเท่ามาก
เพราะมันเป็นวิธีเดียวที่จะขนทัพขนาดใหญ่ข้ามช่องแคบไปได้
ไม่ใช่เราเท่านั้น..อเมริกาก็กำลังเร่งมือสร้างด้วยเช่นกัน ซึ่งจะเป็นแปดถึงสิบเท่ามากกว่าทางอังกฤษจะสร้างขึ้นมาได้

สตาลิน..ก็ยังถามย้ำอยู่เช่นเดิมว่า..ทางเราจะส่งกำลังไปโจมตีเยอรมันทางฝรั่งเศสตรงส่วนไหนได้บ้าง แบบว่า..นิดๆหน่อยๆก็ยังดีในตอนนี้
เราจึงต้องรีบกางแผนที่ให้ดู..เพราะมันๆไม่ช่องว่างตรงไหนเลย
สตาบินถามถึง เครื่องบินประจันบาน ที่น่าจะเอามาใช้ได้...แบบว่าบินไปบอมบ์ แล้วบินกลับ..
เราก็ตอบไปว่า..ระยะทางที่ห่างขนาดนี้..แค่บินไปกลับน้ำมันก็หมดแล้ว..ไม่ทันได้ไล่ต้อนหรือสู้รบ..
สตาลินเถียงว่า..ทัพนาซีที่ฝรั่งเศสเป็นทัพที่ไม่มีน้ำยาอะไร..ไม่น่าจะมีปัญหา
ซึ่งตรงนี้เราได้โต้กลับไปว่า..กองทัพนาซีที่ฝรั่งเศสมีด้วยกันหนาแน่นถึงยี่สิบห้ากองพล เฉพาะที่แนวหน้า กลาโหมของเรายืนยันได้
สีหน้าสตาลินที่มีแววสลดอยู่แล้ว..ยิ่งสลดเข้าไปใหญ่ บอกว่า..
เข้าใจแล้วว่า..หมดหวังต่อการที่จะได้แนวร่วมมาเปิดศึกให้อีกด้านหนึ่ง..หรือแม้แต่แค่จะช่วยยกทัพมาสักหกกองพล..
เราจึงแก้ว่า...ไม่ใช่เช่นนั้น แค่หกกองพลยกมานั่นไม่มีปัญหา แต่การขนส่งนั่นคือปัญหาใหญ่ เพราะมันจะกลายเป็นการส่งเขามาเข้าปากเสือตั้งแต่ยังไม่ได้แสดงฝีมือสู้รบด้วยซ้ำ และการเสียหายนี้มันจะมีผลต่อการยกทัพใหญ่ในอนาคต
เพราะข้าศึกจะไหวตัวเสียก่อน และแค่กำลังพลแสนห้าหรือสองแสนมันไม่ได้ช่วยให้เยอรมันจะต้องกะเกณฑ์ทัพจากแนวหน้าโซเวียตไปช่วยรบด้วยซ้ำ

สตาลินเริ่มงอแง..เริ่มเหวี่ยง บอกว่า..เขามองสถานะการณ์ศึกแตกต่างไปจากพวกเรา คนที่ไม่กล้า..ยอมไม่มีวันชนะสงคราม..และทำไมเราต้องกลัวเยอรมันด้วย?
เพราะการศึกที่โซเวียตทำอยู่นั้น.คือการทุ่มกำลังเข้ารบด้วยชีวิตทหารแบบเลือดทาแผ่นดิน
เราเลยถามเขาว่า..ลองนึกดูเอานะว่า....ทำไมฮิตเล่อร์ถึงไม่บุกขึ้นเกาะอังกฤษในปี 1940 ในขณะที่มีกำลังและอำนาจมหาศาล แล้วอาวุธอีกเหลือคณานับ  
คำตอบคือ..ก็เพราะฮิตเล่อร์กลัวการข้ามช่องแคบมาไง...มันง่ายเสียทีไหนในการที่จะส่งกำลังพลข้ามมาน่ะ..
สตาลินบอกว่า..มันไม่เหมือนกัน เพราะถ้าฮิตเล่อร์บุกเกาะ ประชาชนก็จะต่อต้านอย่างสุดกำลัง แต่ถ้าอังกฤษขนพลขึ้นฝั่งฝรั่งเศส ประชาชนจะเข้ามาร่วมช่วยต่อต้่านนาซีด้วย
เราได้ชี้ให้เห็นว่า...อย่าไปหวังในประชาชนเลย..เพราะถ้าไม่สำเร็จ..พวกเขาจะมาล้มตายไปเสียเปล่า..

ในที่สุด..สตาลินประชดให้ว่า..งั้นก็ตามใจ..เพราะโซเวียตคงไม่หวังในการช่วยเหลือจากคนอื่นแล้ว

 

  

 

 

ก่อนที่สตาลินจะหมองหม่นไปกว่านี้..เราจึงรีบกางแผนที่ยุโรปตอนใต้ ต่อด้วยฝั่งเมดิเตอเรเนี่ยน และ อาฟริกาเหนือให้ดู...และชี้ให้ดูว่า อะไรกำลังจะเกิดขึ้น...ทำไมเราต้องมุ่งแต่รบจากฝั่งอังกฤษขึ้นฝรั่งเศสเท่านั้นเล่า?
ในเมื่อการตัดกำลังทางฝั่งฟากนี้ของเยอรมัน มีความสำคัญพอกัน..
และนั่นคือที่มาของการคุยกันในช่วงสองชั่วโมงหลัง ที่สตาลินมีีความสดชื่นขึ้นมาก เพราะแผนงานนี้..มันหมายถึงการที่พวกเรา"เอาจริง" จนเป็นที่เชื่อใจว่าจะเป็นเกลอกันได้..
นั่นคือ การบุกร่วมกันระหว่าง อังกฤษ-อเมริกา ในแผนปฏิบัติการที่เรียกว่า
Operation Torch ที่จะมีขึ้นในไม่กี่เดือนข้างหน้า ข้างหน้า เริ่มจากการบุกที่อาฟริกาเหนือ (และจากนั้นก็จะได้ให้แม่ทัพมองต์คอมเมอรี่ไปปะทะกับ
รอมเมล)
สตาลินนั่งฟังอย่างตั้งอกตั้งใจ...ถามว่า..แล้วจะทำอย่างไรกับสเปน และ
ฝรั่งเศส(รัฐบาลวิชี่ที่เป็นหุ่นเชิดของเยอรมันอยู่)
เราตอบไปว่า..อะไรจะเกิดก็ต้องเกิด..
สตาลินถามต่อไปว่า..จะเริ่มบุกเมื่อไหร่?
คำตอบคือ...ประมาณสิ้นเดือนตุลาคม หรืออาจจะล่ากว่านั้นนิด ขึ้นอยู่กับการเตรียมการ แต่ท่านปธน. รูสเวลต์ ใจร้อนกว่านั้น ท่านต้องการให้เร็วที่สุด
จากนั้นเราได้อธิบายให้ฟังถึงการที่บุกเมติเตอเรเนียน นั้นเป็นโอกาสที่เหมาะที่สุด เพราะถ้าเราครอบคลุมได้หมดทั้งในอียิปต์ ต่อด้วยอาฟริกาเหนือแล้ว..เท่ากับว่า ฮิตเล่อร์เริ่มตกอยู่ในฐานะลำบาก
และนี่คือสิ่งที่สพม. กำลังจะเริ่มดำเนินการ
เพื่อให้สตาลินเข้าใจมากขึ้น...เราได้วาดภาพของจรเข้ และวงให้ดูตรงช่วงท้อง บอกว่า...สมมุติ..จรเข้าคือฮิตเล่อร์  เราจะทุบตรงนี้..ตรงที่ท้องนิ่มๆนี่...ไม่ใช่ที่จมูกแข็งๆ แต่ทุบมันให้เต็มแรงจนพุงแตกไปเลย...
สตาลินหัวเราะกิ๊ก...บอกว่า..."ขอให้เป็นเช่นนั้นเถิด..."
เราย้ำให้เขาเข้าใจว่า...พวกเราต้องการที่จะช่วยแบ่งเบาภาระจากบ่าของโซเวียตจริงๆ และได้ตรองกันดูแล้ว ว่า การบุกฝรั่งเศสเป็นการสิ้นเปลืองแรงและเสียเวลา แต่ถ้าในแนวอาฟริกาเหนือแล้ว...เรามีโอกาสชนะร้อยเปอร์เซ็นในระยะเวลาอันสั้นด้วย..จากนั้น เราจะมีฐานทัพเอาไว้เตรียมการบุกยุโรป แน่นอนว่า..ฮิตเล่อร์จะต้องรีบเรียกกองทัพอากาศกลับ
แต่เรามีเป้าหมายที่จะถล่มทางอากาศด้วย แม้กระทั่งอิตาลี ที่เป็นแนวร่วมของฮิตเล่อร์ ก็จะไม่เว้น เมื่อเราได้ยึดอาฟริกาเหนือได้ในปีนี้แล้ว
ปีหน้า...ฮิตเล่อร์เตรียมรับศึกใหญ่จากเราได้เลย
ตรงนี้เอง..ที่ทำให้สตาลินหน้าบาน...ยิ้มแย้มแจ่มใส สดชื่นทันตาเห็น
จากคนที่ประหยัดคำพูด และช่างต่อว่าเสียดสี กลายเป็นคนช่างคุย
และมีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นทางการเมือง ในเรื่องของการเมืองในฝรั่งเศส...ว่าจะทำอย่างไรกับนายพลเดอ โกลล์?
เราตอบว่า..ในตอนนี้ เราไม่ต้องการให้เดอ โกลล์มามีส่วนร่วมหรือบทบาทใดๆ เพราะรัฐบาลวิชี่คงไม่ปลื้มกับเดอ โกลล์ เท่าไหร่นัก ถ้าเป็นอังกฤษ หรือ อเมริกา นั่นอีกเรื่องหนึ่ง..

สี่ชั่วโมงของการเจรจา..กว่าจะเดินทางกลบอีกร่วมครึ่งชั่วโมง...
เราทั้งเหนื่อยทั้งง่วง แต่ก็ยังเจียดเวลาส่งโทรเลขไปยังทางกลาโหมและท่านปธน. เสร็จสิ้นภาระในวันนี้เหมือนยกภูเขาออกจากอก...จากนั้นเราก็หลับยาว..


Operation Torch ( หรือ Operation Gymnast)  ได้เปิดฉากขึ้นในวันที่ 8 พฤศจิกายน 1942

 

 

 

เรื่องการไปเยือนมอสควาของท่านเชอร์ชิลล์นั้น...ไม่ใช่แค่ไปเจรจาการการทูตเท่่านั้น แต่เป็นการไปเสนอแผนงานให้หุ้้นส่วนสงครามสตาลินทรงและสบายใจไปเปลาะหนึ่งว่า...
อเมริกาเอาอยู่แน่ๆ และไม่ได้ละเลยในความทุกข์ร้อนของโซเวียต...

แต่มาดูกันจริง..จากบันทึกสงครามของท่านเชอร์ชิลล์ถึงการเยี่ยมเยือน
สตาลินในคราวนั้น..เหมือนเด็กสองคนไม่มีผิด ที่พื้นฐานเคยทะเลาะกันมาก่อน..แต่กำลังจะหันหน้ามาคุยกัน...เพียงแต่คนหนึ่งงอแงและเกเรมาก
อีกคนหนึ่งก็พยายามเอาใจแต่หมั่นไส้เต็มประดา  มีการเหวี่ยงใส่กันเป็นระยะ ระยะ..
อย่างที่ท่านเขียนไว้ด้วยความหงุดหงิดว่า..
"ทำไมพวกรัสเซี่ยนถึงได้คิดว่า มันเป็นบุญเป็นคุณกับเราหนักหนาในการที่พวกเขารบและต่อสู้ป้องกันประเทศชาติของตัวเอง..."

หลังจากที่ได้พบกันครั้งแรกแล้ว มีการนัดพบกันอีกครั้งในสองวันต่อมา..ที่ท่านเชอร์ชิลล์ได้บอกว่า..พบกันคราวนี้เสร็จแล้วท่านจะบินกลับ
ในเช้าวันต่อไปเลย..สจาลินกลับถามหน้าตาเฉยว่า..
"อ้าว..ทำไมไม่อยู่ต่ออีกหน่อยล่ะ?"
"ถ้าหากว่า มันจะทำให้อะไรอะไรมันดีขึ้นมา..ก็อาจจะอยู่ต่อได้อีกวันสองวัน..แต่นี่ไม่เห็นมีอะไรดีขึ้น ท่่านเองก็ท่ามากซะจนไม่อยากจะพูดด้วย"
ท่านเชอร์ชิลล์ยิงใส่ตรงๆแบบไม่เกรงใจ และต่อด้วยว่า..
"ที่มานี่เพราะเห็นว่าเราเป็นสัมพันธมิตร กอดคอกันสู้เยอรมัน และเราได้ทำอย่างเต็มที่ในการช่วยอุดหนุนจุนเจือ อีกทั้งยังจะทำต่อไปอีก ทั้งๆที่เวลาเราเดือดร้อน ต้องสู้รบกับเยอรมันและอิตาลี เราก็กัดฟันสู้ ไม่ไปตีโพยตีพายโทษคนนั้นคนนี้  แต่ในกรณีของท่าน ที่ตอนนี้มีทั้งเราและอเมริกาหนุนหลังอยู่ ยังไงก็ต้องชนะแน่ๆ อย่างน้อย เราก็ไม่ได้เสียทีให้กับมันเหมือน
ประเทศอื่นๆ"

ทั้งหมดที่เราพูดไปนั้น..ก่อนที่ล่ามจะแปล..สตาลินกลับบอกว่า..ชอบในน้ำเสียงและท่าท่าง
ที่เฉียบขาดเอาจริงของเรา
พอเราเริ่มเดือดปุดขึ้นมา.....เขาก็เริ่มเย็นลง...
จากนั้นถึงเริ่มคุยกันได้ แต่เรื่องขัดคอนั้นย่อมมีเป็นธรรมดา
ส่วนเรื่องที่ทะเลาะกันต่อ....ในเรื่องที่ว่า..ฮาริมันได้ถามถึง
แผนที่จะประสานงานในการนำเครื่องบินของอเมริกันข้ามไซบีเรียมา..ทางอเมริการอฟังอยู่ว่าทางโซเวียตจะมีมาตรการอย่างไร?
สตาลิน..สบัดเสียงใส่ว่า...
"สงครามเอาชนะไม่ได้ด้วยเครื่องบินหรอก"
แค่นั้น...เราก็เปิดฉากเถียงกันแบบเอาเป็นเอาตาย..หาข้อโต้แย้งมาเฉือดเฉือนกันในทุกเม็ด...ร้อนฉ่าไปด้วยกันทุกฝ่าย...

พอถึงเวลาอาหารค่ำ...สตาลินก็กลับมาคุยเป็นผู้เป็นคนขึ้นมาอีก..
ผ่านนาย Palov ผู้เป็นล่ามมาว่า..
"หลายปีก่อน..เราได้ต้อนรับแขกบ้านแขกเมืองจากอังกฤษด้วยนะ..
Mr. George Bernard Shaw * กับ  Lady Aster**
เลดี้แอสเตอร์ได้แนะนำเราว่า น่าจะเชิญ Mr. Lloyd George*** มาเที่ยวที่รัสเซียบ้าง เราก็เลยบอกไปว่า..จะไปเชิญทำไมกัน นาย ลอยด์ จอร์จ นี่แหละตัวดี
เป็นตัวการในเรื่องการแทรกแซง (ทางการเมืองระหว่างประเทศ) ตัวสำคัญเลย...เลดี้แอสเตอร์รีบบอกเราว่า..ไม่จริงหรอก...เป็นเพราะเชอร์ชิลล์จอมยุ่งที่คอยเป็นมาสเตอร์ มายด์ให้กับนายจอร์จนั่นต่างหาก เราก็เลยบอกไปว่า...อย่างไรก็ตาม..นาย ลอยด์ จอร์จเป็นหัวหน้ารัฐบาล ก็ต้องถือเป็นความรับผิดชอบ เราชอบศัตรูที่มาในคราบของศัตรูมากกว่าพวกที่ชอบปากปราศรัย น้ำใจเชือดคอ  เลดี้แอสเตอร์ก็ยังบอกว่า ตอนนี้เชอร์ชิลล์ไม่มีบารมีอะไรอีกแล้ว...เรายังบอกไปว่า...เชื่อเหอะ..ว่าถ้าเมื่อไหร่พวกอังกฤษเดือนร้อนขึ้นมา..ก็ต้องเรียกหาเขามาใช้งานอีก........."
มาถึงตรงนี้...ท่านเชอร์ชิลล์รีบขัดจังหวะ...บอกว่า..
"ยัยเลดี้นั่นพูดมาก็ถูกหมดแหละ...เออ...ใช่ เราเอง...ที่ชอบแทรกแซงมันได้ทุกเรื่อง เพราะเราขยันจัดไง.."
สตาลินยิ้มกริ่ม..ท่านเชอร์ชิลล์เลยถามว่า
"แล้วพอจะให้อภัยกันได้หรือเปล่าล่ะ"
นายปาลอฟ ล่ามรีบแปลให้ฟังว่า
"ท่านผู้นำสตาลินบอกว่า...อดีตก็คืออดีต...ที่กลับคืนไปสู่พระเจ้าแล้ว.."

ทีนี้มาถึงคราวท่านเชอร์ชิลล์คุยบ้่าง...
"ท่านลอร์ด บีเวอร์บรุ๊ค ได้เล่าให้ฟังว่า..ตอนที่มาที่นี่ใน ตุลาคม 41
ท่านได้ถามท่านลอร์ดว่า..ที่เราไปพูดในสภาว่าได้เตือนท่านเรื่องที่เยอรมันจะบุก หมายความว่าอย่างไร ....ก็ใช่น่ะซิ..เราพูดเอง...ซ้ำยังได้โทรเลขมาเตือนท่านเลย
จำได้ไหม ในเดือนเมษายนน่ะ (ว่าแล้ว..เชอร์ชิลล์ใด้ให้นายทหารผู้ติดตาม
นำสำเนาโทรเลขมาอ่านให้ฟังอีกครั้ง)
พอสตาลินได้ฟังจากล่าม เขายักไหล่นิดๆ บอกว่า.."จำได้..แต่ถึงไม่เตือน..เราก็รู้ตัวอยู่แล้วว่าเยอรมันจะเปิดฉากทำสงครามกับเราแน่ๆ เพียงแต่เราไม่คิดว่าจะไวถึงขนาดนี้...คิดว่าน่าจะเป็นอีกสักหกเดือน......

มาถึงตอนนี้...ท่านเชอร์ชิลล์ต้องสะกดปากตัวเองเอาไว้....เพราะไม่อยากจะหลุดเป็นคำพูดออกไปว่า...
"ก้อเอ็งขยันส่งให้มันนักไม่ใช่เหรอ..ทั้งแร่ ทั้งเหล็ก และน้ำมันไปให้เยอรมันออกโครมๆ มันถึงได้มีแรง มีกำลังยกทัพมาเชือดเอ็งแต่หัววันไง..."



* Mr. George Bernard Shaw  เป็นปราชญ์ นักเขียน กวีชาวอังกฤษ...ที่มีชื่อเสียงที่สุดคนหนึ่งของศตวรรษที่ยี่สิบ ได้รับรางวัลโนเบลด้วย

**  Lady Aster (Nancy Witcher Astor, Viscountess Astor) เป็นสมาชิกสภาผู้แทนของอังกฤษหญิงคนแรก...

*** Mr. Lloyd George (David Lloyd George) เป็นนายกรัฐมนตรีอังกฤษในช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง..และเป็นคนที่มีนโยบายเดียวกันกับเชอร์ชิลล์ คือ ต่อต้านบอลเชวิคในทุกรูปแบบ
แม้กระทั่งการสนับสนุน White Army ในรัสเซียในช่วงของสงครามกลางเมือง

ตอนนี้พอเข้าใจกันยังคะ..ว่าทำไมสองคนนี้ถึงต้องงัดข้อกันบ่อยๆ...



Lady Aster

 

 

 

การสนับสนุนโซเวียตแบบลับๆ จากอเมริกาก่อนที่จะร่วมในสงครามนั้น..ทำโดยการผ่านตัวแทน
คือ ท่านเชอร์ชิลล์..เพราะกับอังกฤษ อเมริกาได้มีการสนับสนุนทางสงครามอยู่แล้วในโปรแกรม
"เช่าซื้อ" โดยสภาเห็นชอบ..

ดังนั้น..เชอร์ชิลล์จึงทำการผ่องถ่ายพวกอาวุธและสิ่งของผ่านไปให้กับโซเวียตทางเรือ ในระยะ
ทางจากเกาะอังกฤษอ้อมอาร์คติคไปลงที่ ท่าเรือ Murmansk ของโซเวียต ที่ต้องมีขบวนคุ้มกันกันแบบดุเดือดเลือดพล่าน  เพราะเยอรมันครองน่านน้ำนอร์เวย์  
ซึ่งเรื่องของนอร์เวย์นี้..ประชาชนกล้าหาญมาก ถึงแม้จะตกอยู่ในอาณัติของนาซี แต่ขบวนการกู้ชาตินั้นแข็งแรงไม่แพ้ที่ฝรั่งเศสเลย..

 

 

 




บทความจากสมาชิก




1

ความคิดเห็นที่ 1 (102125)
avatar
Demetorius

 ขอบคุณครับ

 

แล้วตอนทำสงครามกับเยอรมัน แม่ทัพชูคอฟ มีความเครียดขนาดไหนหรอครับ?

หรือว่าท่านเป็นคนที่มีEQ สูงมากเลยดูไม่เป็นคนใช้อารมณ์ครับ?

ผู้แสดงความคิดเห็น Demetorius (maceus-at-hotmail-dot-co-dot-th) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2012-07-22 20:29:12


ความคิดเห็นที่ 2 (102140)
avatar
หมาป่าดำ

 เบื้องหลังการเมืองระหว่างชาติ

ผู้แสดงความคิดเห็น หมาป่าดำ (mistiest-at-hotmail-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2012-08-09 00:47:26



1


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.
| WW II Europe | WW II Asia | WW I | Vietnam War | ประวัติศาสตร์ไทย | บทความจากสมาชิก | คุยกันหลังฉาก | บทความทั้งหมด |

สนใจร่วมเขียนบทความในเว็บไซต์ เชิญอ่าน แนวทางการร่วมเขียนบทความ ภาพยนตร์ประวัติศาสตร์

Custom Search



eXTReMe Tracker