dot
dot
เว็บภาพยนตร์ประวัติศาสตร์ ยินดีต้อนรับผู้สนใจทุกท่าน
dot
dot
สมาชิก Webboard/Blog
ชื่อผู้ใช้ :
รหัสผ่าน :
เข้าสู่ระบบอัตโนมัติ :
bullet ลืมรหัสผ่าน
dot
bulletข้อตกลงการเป็นสมาชิก
bulletเว็บบอร์ด-คุยกันหลังฉาก
bulletเว็บบอร์ด-Games ย้อนยุค
bulletเว็บบอร์ด-ชุดจำลองประวัติศาสตร์
bulletเว็บบอร์ด-หนังสือประวัติศาสตร์
bulletเว็บบอร์ด-เพลงประวัติศาสตร์
bulletคำถาม/คำตอบ ล่าสุด
bulletแนวทางการร่วมเขียนบทความ
dot
สงครามโลกครั้งที่ 2
dot
bulletสมรภูมิยุโรป (สัมพันธมิตรVSเยอรมัน-อิตาลี)
bulletสมรภูมิแปซิฟิก-เอเชีย (สัมพันธมิตรVSญี่ปุ่น)
dot
ภาพยนตร์ประวัติศาสตร์อื่นๆ
dot
bulletสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง
bulletประวัติศาสตร์ไทย
bulletประวัติศาสตร์อเมริกันยุคเริ่มแรก
bulletสงครามเวียดนามและอินโดจีน
bulletตะวันตกโบราณ (กรีก โรมัน ฯลฯ)
bulletประวัติศาสตร์ร่วมสมัย
bulletเอเชียโบราณ
bulletประวัติศาสตร์อื่นๆ (ยังไม่แยกหมวดหมู่)
bulletคลิปความรู้จาก YouTube
dot
บทความโดย วิวันดา
dot
bulletฮิตเล่อร์...และเหล่าขุนพลแห่งอาณาจักรไรค์ซที่สาม
bulletลอดลายรั้ว.....วินด์เซอร์
bulletเลิศเลอวงศา...โรมานอฟ
bulletเชลย
bulletซูคอฟ...ยอดขุนพลผู้ดับฝันของฮิตเล่อร์
dot
บทความโดย สัมพันธ์
dot
bulletคนไทยในกองทัพพระราชอาณาจักรลาว
bulletประวัติศาสตร์สงคราม กรีก
bulletกรณีพิพาทอินโดจีนและสงครามมหาเอเชียบูรพา
bulletอยุธยายศล่มแล้ว ลอยสวรรค์ ลงฤา
bulletฮานนิบาล
bulletพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบรมวงศานุวงศ์
bulletไทยกับมหาสงคราม
bulletสงครามเวียดนาม
bulletห้วยโก๋น ๒๕๑๘
bulletการทัพในมลายา
bulletประวัติศาสตร์อื่น ๆ
dot
เรื่องอื่นๆ
dot
bulletบทความเสริมความรู้ทั่วไป
bulletเกร็ดเล็กเกร็ดน้อย
bulletผู้จัดทำ
bulletผังเว็บไซต์ (Site Map)
bulletแนวทางการร่วมเขียนบทความ
bulletถาม-ตอบ (FAQs) (โปรดอ่านก่อนตั้งกระทู้หรือสมัครสมาชิก)
bulletร้านค้าออนไลน์
bulletแบ่งปัน Album
dot
ลิงค์ต่างๆ
dot
bulletHistory on Film
bulletกองบิน 21 กองพลบิน 2
bulletIELTS British Council
bulletIELTS IDP
bulletMUIC




โหราศาสตร์ยุคไอที



ซูคอฟ...ยอดขุนพลผู้ดับฝันของฮิตเล่อร์ ๘




ท่านเชอร์ชิลล์ได้เขียนเล่าว่า...

เรื่องแผนการที่จะรับและต่อต้านกับข้าศึกนั้น เราได้พูดคุยกันได้หมดในทุกเรื่องหมายถึงทางทหารฝ่ายเราฝ่ายเดียว แต่ฝ่ายของโซเวียตนั้น ทหารสั่งไม่ให้คำตอบใดๆทั้งสิ้น...ทุกคนถามเป็นได้อย่างเดียว คือ
"เมื่อไหร่เราจะเปิดฉากรบกับเยอรมัน?"

ในช่วงตอนเย็นของวันที่ 16 สิงหาคม ประมาณหนึ่งทุ่ม ที่เราได้แวะไปลาสตาลินที่ทำงาน..และสนทนากันตามปรกติถึงเรื่องการบ้านการเมือง เราได้ถามสตาลิน
ว่า..
"ท่านจะรับมือกับศึกทางคอเคซัสอย่างไร..ท่าทางจะหนักหนาเอาการ เพราะถ้าข้าศึกเข้าไปถึงทะเลแคสเปี้ยน ไปสู่ฐานน้ำมันที่ Baku ได้...เราจะอยู่ในฐานะลำบาก เพราะมันจะเชื่อมไปต่อได้ถึงตุรกีและเปอร์เซียเชียวนะ"
สตาลินกางแผนที่ลงบนโต๊ะ..บอกว่า
"เรารับมือกับพวกมันได้แน่นอน มันไม่มีทางข้ามเทือกเขาไปได้หรอก แต่ก็มีข่าวลือมาว่า..พวกเติร์กจะมาสมทบร่วมตีเราที่ Turkestan แต่ถ้ามันแหยมเข้ามา..รับรองว่ามันต้องได้รับบทเรียนกลับไปอย่างสาสม"
เรารีบรับรองให้ว่า..
"ท่านไม่ต้องห่วงในเรื่องเติร์ก เพราะไม่กล้าเข้ามาแทรกแซงแน่ๆ อีกทั้ง จะมากล้าหืออังกฤษก็ให้มันรู้ไป"

หลังจากเวลาผ่านไปหนึ่งชั่วโมง เราได้ลุกขึ้นเตรียมตัวลา..สตาลินคงจะเริ่มรู้สึกเขินๆ(ในการที่จะพูดจาดีๆ) เพราะเขาอึกๆอักๆบอกมาว่า..
"ท่านจะกลับอะไรกันแต่วันอย่างนี้.. เอางี้..เราไปแวะที่บ้าน ไปหาอะไรดื่มกันก่อนดีกว่าไหม?"
"อ้ะ..เรื่องหยั่งงี้...ได้เลย..ของชอบเชียว.."

สตาลินพาเราเดินผ่านตามทางเล็กทางน้อย ห้องนั้นห้องนี้
จนเรามาถึงถนนหนึ่ง(อยู่ในเขตเครมลิน) ซึ่งเดินต่อมาอีกประมาณไม่เท่าไหร่ ก็ถึงอพาร์ตเม้นต์ที่เขาพำนักอยู่ ซึ่งเขาได้พาเราไปเยี่ยมชม
ที่มีอยู่ด้วยกันสี่ห้อง ขนาดพอเหมาะ เป็นห้องอาหาร ห้องทำงาน ห้องนอน และ ห้องน้ำ
คนที่ปรากฏตัวคนแรกคือ แม่บ้านที่ค่อนข้างมีอายุ ตามมาด้วย เด็กหญิงผมแดง หน้าตาน่าเอ็นดู ที่เข้ามาจุมพิตบิดาแบบอายๆ สตาลินมองมาที่เราด้วยแววตาระยิบระยับ ในทำนองว่า..
"เห็นม๊ะ..พวกบอลเชวิคอย่างเราก็มีครอบครัวที่อบอุ่นเหมือนกัน..."
Svetlana ลูกสาวตัวน้อยของสตาลินรีบเข้าทำการจัดโต๊ะ..แม่บ้านได้นำอาหารเข้ามาสองสามอย่าง เจ้าของบ้านจัดการเปิดไวน์ขวดโน้นขวดนี้ วางเรียงเป็นแถว พร้อมพูดว่า
"เออ..เราน่าจะเชิญโมโลตอฟมาด้วยนะ เพราะตอนนี้เขาพะวงกับเรื่องนโยบายร่วมเราจะได้มาคุยกันให้เรียบร้อยไป อ้อ..และอีกอย่างหนึ่ง เรื่องไวน์เนี่ย..ของชอบเขาด้วย"

เผอิญนึกขึ้่นได้ว่า..มีงานเลี้ยงดินเนอร์ด้วยจัดในที่พักของเราเอง ที่
State Villa #7 ที่นายพล Anders (จากโปแลนด์) จะมาพบ
ดังนั้น..เราจึงรีบให้นายทหารคนสนิทรีบโทรไปเลื่อนงานเลี้ยง บอกว่า
คงจะไม่กลับไปถึงจนกว่าจะหลังเที่ยงคืน..

โมโลตอฟมาถึงในเวลาไม่นาน..เราทั้งห้า (รวมล่ามสองคน) ได้นั่งลงเสวนาเรื่องบ้านเมืองไปตั้งแต่สองทุ่มครึ่ง จนล่วงไปถึง ตีสองครึ่ง..
เรื่องคุยกัน..มันก็เป็นการขยายเรื่องที่เราคุยกันมาแล้วให้กระจ่างขึ้น
อาหารถูกส่งมาจานแล้วจานเล่า..โมโลตอฟนั่งคุยแบบเกร็งๆ คอยระวังกิริยาจนเกินไปนิด แต่สตาลินคุยอย่างสบายๆและออกรส..
เรามาคุยกันถึงเรื่องขบวน"คอนวอย" ที่ส่งของให้โซเวียตข้ามฝั่งทะเลอาร์คติค ที่ถูกทำลายไปมากมายในเดือนมิถุนายน
ล่ามของสตาลินได้แปลคำพูดออกมาว่า..
"กองทัพเรือของอังกฤษที่ว่าแน่ๆ...ไม่มีทางแก้ไขอย่างไรให้ดีขึ้นหรอกหรือ?"
"ที่เราลงมือทำไปนั้น..มันเป็นทางที่ดีที่สุดแล้ว..ในเรื่องของสงครามทางทะเล..จงปล่อยให้เป็นหน้าที่ของเรา"
"งั้นก็หมายความว่า...เราไม่รู้เรื่องทะเลเลยงั้นซิ?"  คำพูดมาจากสตาลิน
"ปล๊าววว...แต่อยากจะบอกว่า..ทางใครทางมัน..เรื่องรบทางบกต้องยกให้โซเวียต แต่ทางทะเล..ต้องยกให้อังกฤษเท่านั้น.."
สตาลินมีสีหน้าดีขึ้น..
เราเลยหันไปคุยกับโมโลตอฟ..สัพยอกเขาว่า
"ไม่ทราบว่าท่านรมต. ไปเที่ยวที่นิวยอร์ค ตอนที่ไปอเมริกาในครั้งที่แล้ว..
สนุกไหมขอรับ?"
(เนื่องจาก โมโลตอฟไปราชการที่วอชิงตัน และเดินทางกลับโซเวียตล่ากว่ากำหนดเพราะแอบไปเที่ยวนิวยอร์คด้วยตัวเอง ไม่ได้อยู่ในงานราชการ)
สตาลินรีบชิงตอบให้ว่า..
"อ๋อ..เค้าไม่ได้ไปนิวยอร์คหรอก..ดันไปผิดทาง ไปโผล่เอาที่กลางดงอันธพาลในชิคาโกแทนน่ะซิ รอดกลับมาได้ก็บุญแล้ว.."
แค่นั้นเอง..เรียกเสียงฮาได้จากทุกคน..
และมิตรภาพระหว่างอังกฤษกับโซเวียตได้ประสานกันขึ้นมาอย่างแน่นแฟ้น
เพราะท่านเชอร์ชิลล์ได้กลับไปรายงานที่รัฐบาลว่า..
"รู้สึกยินดีและดีใจที่ได้รู้จักกับบุรุษผู้ยิ่งใหญ่อย่างสตาลิน"

กว่าท่านจะกลับไปถึงงานเลี้ยงที่จัดรอได้ก็ตอนตีสาม และอยู่ไปจนถึงตีห้า..
ขึ้นเครื่องเดินทางกลับช่วงเช้านั้น...

หลังจากที่ท่านเชอร์ชิลล์กลับไปได้ไม่กี่วัน...
สงครามสตาลินกราดก็ได้เริ่มขึ้น


       ( ในความเห็นส่วนตัวของดิฉันเหมือนกัน..ว่า..
        นายทหารของเยอรมันนั้น..มีภาระและความรับผิดชอบต่างกับนายทหารของโซเวียต..
        เพราะฝ่ายเยอรมัน..ทำได้แค่ไหนก็แค่นั้น...ไม่ถูกใจ ฮิตเล่อร์ก็สั่งย้ายหรือสลับเปลี่ยนตำแหน่งหรือเจ้าตัวขอลาออกได้ ..ถ้าไม่ชอบใจ..อย่าง..Field Marshal Walter von Brauchitsch  ลาออกในปี 1941 เพราะถูกกดดันเรื่องยึดมอสควาไม่สำเร็จ..
Beck, Ludwig  เพราะไม่เห็นด้วยกับการเข้าบุกเชคโกสโลวาเกีย ลาออกตั้งแต่เริ่มสงคราม...วิวันดา)


        Dietrich,  Josef "Sepp."  คนนี้คือคนที่ใกล้ชิดและเป็นที่วางใจของฮิตเล่อร์ ทำงานให้สารพัด แม้กระทั่ง ใน "คืนดาบยาวพิฆาต" ที่ฮิตเล่อร์ส่งให้ไปเป็นฆาตกรกลุ่มนักการเมือง
        และทหารฝ่ายตรงข้าม..เขาก็ทำ..ทั้งๆที่กลุ่มคนที่จะถูกฆ่านั้นคือเพื่อนฝูงกันทั้งนั้น..จนในปี 1945 ที่ฮิตเล่อร์ส่งให้คุมกองทัพรถถังไปดักคอยรับมือโซเวียตที่กำลังมุ่งหน้ามาบุกเบอร์ลิน
        ที่เวียนนา ตอนนั้นเยอรมันก็ง่อยเปลี้ยเต็มที..ไม่มีทางทานกำลังของกองทัพแดงได้..
        ฮิตเล่อร์ด่ากระจาย..สั่งถอดยศทุกคน ผู้การเซปป์ จึงถอดพวกปลอกแขนและเครื่องหมายต่างๆจากของตัวเองและจากทหารในกอง
        จัดใส่กล่องส่งไปให้ฮิตเล่อร์ และเขียนข้อความใส่ฝากไปว่า.."kiss my a..."



        แต่นายทหารของโซเวียต มีทางเลือกอยู่แค่ทางเดียว คือ ต้องเดิมพันด้วยชีวิต ถ้าไม่ใช่จากข้าศึกก็จาก firing squad ที่เตรียมพร้อมอยู่...

   
    

        ภายในวันที่ 23 สิงหาคม หลังจากที่ท่านเชอร์ชิลล์กลับไปได้อาทิตย์เดียว...
        กองทัพนาซีได้มาจ่ออยู่ที่ในเขตของสตาลินกราดเข้าไปแล้ว..การบุกเข้ามาได้ในครั้งนี้
        นับว่าเป็นยิ่งกว่ามหาโศกนาฏกรรม เพราะชีวิตของชาวบ้านชาวเมืองร่วมสามหมื่นต้อสูญสิ้นไป..
        เพราะด้วยเหตุนี้เอง...สตาลินจึงเรียกหาซูคอฟให้มาจากแนวรบตะวันตกเป็นการด่วน..ในวันที่ 26 ..เท่านั้นไม่พอ..สตาลินรีบแจกตำแหน่งรองผู้บัญชาการสูงสุดให้แทบไม่ทัน
        จัดแจงสั่งให้แม่ทัพโคเนฟไปแทนที่ในตำแหน่งที่เพิ่งจากมา
        ประวัติศาสตร๋ซ้ำรอยเช่นเดียวกับ เลนินกราด และ มอสควา
        ที่สตาลินรอให้เข้าข่ายวิกฤติแล้วจึงรีบหามือดีมาช่วยแก้สถานะการณ์  "มือดี" ที่ว่านี้คือ
        คนที่สามารถรับคำสั่งไปรบในแบบฉบับที่สตาลินต้องการ...
        และการเลื่อนยศครั้งนี้...เรียกได้ว่าแบบกระโจนขึ้นลิฟท์เลยทีเดียว เท่ากับว่า นอกเหนือจากสตาลินแล้ว..รองลงมาคือ แม่ทัพซูคอฟ แต่ผู้เดียว และไม่ใช่แต่ทางทหารเท่านั้น
        หมายถึงว่า..มีตำแน่งรองจากสตาลินในการบริหารส่วนพลเรือนด้วย นั่นคือ
        First Deputy to People Commissar of Defense

        แม่ทัพซูคอฟ..เข้ามานั่งประจำตำแหน่งในวันรุ่งขึ้นแบบรวดเร็วทันใจ
        พร้อมทั้งเริ่มการทำงานในเชิงวิเคราะห์สถานะสงครามโดยไม่ให้การเสียเวลาแม้แต่นาทีเดียว..เขาเดินทางไปที่แนวหน้าประสานงานกับ แม่ทัพ Gordov (กองบัญชาการศึกแนวสตาลินกราด) และแม่ทัพ Yeremenko (กองบัญชาการแนวหน้าตะวันตกตอนใต้)  และ การวางแผนงานทั้งหมด ยังคงต้องเสนอต่อสตาลิน

        อันเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์เช่นกัน ที่สตาลินได้ให้ความเกรงใจแก่แม่ทัพ
        ซูคอฟอย่างไม่เคยเป็นมาก่อน ในหลักฐานของการติดต่อ..ที่มักจะเป็นการขอคำปรึกษามากกว่าการออกคำสั่ง..เช่น
        "ไม่ทราบว่าแผนการจะออกมาในรูปไหนหรือ?"
        "ช่วยกรุณาแจ้งให้ทราบด้วย"
        อย่างเช่นในวันที่ 16 กันยายน..ที่สตาลินได้ส่งข้อความไปหาแม่ทัพซูคอฟ เขียนว่า..
        "การที่จะช่วยกู้สถานะการณ์ในเมือง เราคิดว่า อยากจะส่งหน่วยแม่นปื่นเข้าไปสักสองกองพัน นายจะว่าอย่างไร ทุกอย่างขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของนาย..เอาอย่างไรก็เอากัน"

        แต่กับแม่ทัพเอียเมงโก..ในข้อความลงวันที่ 5 ตุลาคม นั้น..เป็นคนละแนวไปเลย
        "เราคิดว่า..นายไม่สำนึกเลยว่า มันเป็นเรื่องคอขาดบาดตายของสตาลินกราดขนาดไหน ที่เรายังกู้เมืองคืนมาจากข้าศึกไม่ได้..นั่นคือผลงานที่ล้มเหลวของนาย ทั้งๆที่กำลังของเราในเมืองมีมากกว่าของข้าศึกแท้ๆ..มันยังไล่บี้ฝ่ายเราจนแทบแหลกเหลว
        คำสั่งจากเราคือ..จงรีบกอบกู้เอาเมืองคืนมาโดยด่วน..และทำลายศัตรูออกไปให้สิ้นซากโดยเร็วที่สุด.."


        แม่ทัพซูคอฟและกองบัญชาการได้วางแผนรับมือศึกในครั้งนี้ ในชื่อโค้ดว่า
        "Operation Urenus"  ซึ่งแม่ทัพได้เลือกผู้ช่วยขึ้นมา คือ..นายพล Vasilevsky
        ในวันที่ 12 กันยายน..จึงได้บินไปเข้ารายงานต่อสตาลิน  โดยเสนอว่า..

        การที่เยอรมันจะยึดสตาลินกราดได้..หมายถึงว่า จะต้องยึดพื้นที่ทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำ Volga ให้ได้หมดจดเสียก่อน..นั่นหมายถึงการตัดกำลังการลำเลียงอาวุธของกองทัพโซเวียตที่ส่งมาจากทางฝั่งตะวันออก ซึ่งในช่วงนี้..การการทำศึกชิงพื้นที่กันระหว่าง กองทัพนาซีที่หก บัญชาการโดย แม่ทัพ Friedrich Paulus  กับ กองทัพที่ 62 ของโซเวียต บัญชาการโดย แม่ทัพ Vasily Chuikov (ที่รบสไตล์เดียวกันกับซูคอฟ)
        ที่รบพุ่งอย่างสุดความสามารถเพื่อที่จะเอาเมืองสตาลินกราดกลับคืนมา..
        ในช่วงของเดือนกันยายน (และยาวนานไปอีกสามเดือน) การรบภายในเมืองปะทุอย่างดุเดือด เยอรมันได้ครอบครองพื้นที่ไปได้เกือบทั้งหมด แต่...
        เยอรมันยังไม่สามารถประกาศชัยชนะได้ เพราะ..กองทัพของแม่ทัพชิวคอฟได้จ่อคอหอยอยู่ในทุกขณะจิต และใกล้กันในระยะหายใจรด เพราะ คุมเชิงอยู่แค่สิบไมล์และตลอดแนวตะวันตกของแม่น้ำ...
        ซึ่ง..มันหมายความว่า..การที่เยอรมันคิดว่าเป็นต่อในสถานะการณ์ในเมือง รวมไปถึง ฝั่งแม่น้ำ ..อาจพลิกผันได้ในชั่วพริบตา...
        และภายในเดือนพฤศจิกายน...การปิดล้อมปนะสบผลสำเร็จจะทำให้กองทัพเยอรมันอ่อนแรงลง...นั่นคือ โอกาสกองทัพของโซเวียตจะเข้าทำการบุกตี"

        สตาลินเห็นด้วยทุกประการกับแผนการนี้..และขอให้ส่วนสุดท้ายของแผนการคือการเข้าบุกคงเปิดเป็นความลับอย่างเด็ดขาด****


        **** เพราะว่ามันเป็น"ความลับ"ที่ล่วงรู้กันแค่สามคน คือ สตาลิน, แม่ทัพซูคอฟ และ แม่ทัพ วาสิเลฟสกี้ จึงไม่ได้ทำการบันทึกเอาไว้เป็นหลักฐาน..ดังนั้น..เมื่อหลังสงครามผ่านไป..เรื่องนี้ถูกยกขึ้นมาสรรเสริญไปทั่วโลก..ในปี 1957 นาย Nikita Khrushchev นายกรัฐมนตรี ถึงกับสั่งปลดซูคอฟ ที่ดำรงตำแหน่งรมต. กลาโหม ในข้อหาว่า บิดเบือนความจริง...ตัวเองอ้างว่าแผนการโจมตีนี้เป็นการตัดสินใจของเขาเอง..(ซึ่งดำรงตำแหน่งเป็นประธานสภาของสตาลินกราดในตอนนั้น)  ผ่านทางแม่ทัพ Yeremenko
        ซึ่งซูคอฟ..ก็ไม่ได้โต้แย้งอะไร ..นิ่งและรับสภาพการกล่าวหานั้น..อย่างไม่มีปากมีเสียงอะไร
        จนปี 1964 ที่ครุสเชฟหลุดจากอำนาจไป...หลักฐานจึงได้ปรากฏว่า..ทั้งนายครุสเชฟและ แม่ทัพเอียเมงโก...ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องอะไรกับการสั่งการเข้าเผด็จศึกในสตาลิน
        กราด..
        มันเป็นการประสานงานกันระหว่างซูคอฟและวาสิเลฟสกี้ สองแม่ทัพที่เข้าผนึกกำลังกัน

Nikita Khrushchev    

 



 
        Operation Urenus


        การบัญชาการกองทัพขนาดใหญ่นี้...ไม่ใช่แค่ศึกเดียวที่สตาลินกราดที่แม่ทัพซูคอฟต้องดูแล..เขายังมี Operation Mars ทางฝั่ง Rzhev-Viazma ที่ต้องดูแลและควบคุมไปพร้อมกันด้วย เพราะออกแบบการรบไว้แล้ว..
        เมื่อแผนปฏิบัติการยูเรนัสได้เริ่มต้นขึ้นเมื่อกลางเดือนกันยายน..
        ในตอนนั้น..แม่ทัพซูคอฟได้ทำหน้าที่เป็นวาทยากรแห่งดนตรีสงคราม เพราะต้องเข้าควบคุมการทำงานของสามทัพ..คือ ที่ลุ่มแม่น้ำดอน..ที่สตาลินกราด...และที่เรฟ-เวียสมา
        ให้ประสานกันไป..
        ที่สตาลินกราด..แม่ทัพวาสิเลฟสกี้..รับไปปฏิบ้ติการ มีกำลังในมือ สามสิบสี่กองพล

        ส่วนทางแผนปฏิบัติการมาร์ และลุ่มแม่น้ำดอน  อยู่ในมือของแม่ทัพซูคอฟ ได้เริ่มการบุกเมื่อ วันที่ 25 พฤศจิกายน...ที่มีด้วยกัน
        สามสิบหกกองพล
        อาวุธรวมกันทั้งหมด ปืนใหญ่ 24,682  ปืนครก 3,375 เครื่องบิน 1.170  รถถัง 1,463
        สงครามในแผนนี้..เป็นการรบประหนึ่งขัดแข้งขัดขาไม่ให้กองทัพเยอรมันขยายตัวออกไปได้ในวงกว้าง..และสร้างความเสียหายให้อย่างมากมายจนข้าศึกต้องถอนตัวออกไปเองในช่วงฤดูใบไม้้ผลิของปี 1943

        ส่วนแผนยูเรนัส..เปิดฉากในช่วงกลางเดือนพฤศจิกายน..โดยการรวมกันของสามทัพ
        คือ จากลุ่มแม่น้ำดอน..แนวหน้าสตาลินกราด และ แนวหน้าตะวันตกตอนใต้..เข้าทำงานในแผนการตีวงล้อมวงนอกของสตาลินกราดให้ถอยร่นเข้าไป..
        และเข้าทำการควบคุมพื้นที่ทั้งหมด..เริ่มจากทางทิศตะวันตกที่ เขต Kalach

        การเข้าบุก..เริ่มขึ้นด้วยหน่วยปืนใหญ่และปืนครก กว่าสามพันห้าร้อยกระบอก...ระดมยิงเข้าพร้อมกัน  จากนั้น...ทัพของกองพันที่ 21 และ กองพันรถถังที่ 5  (จากฐานตะวันตกตอนใต้)เข้าลุยทางทางเหนือของเมืองสตาลินกราด นำโดยแม่ทัพ Valutin

        ทางด้านใต้..กองทัพที่ 51 และ ที่ 57 ของแม่ทัพ Yeremenko  นัดกันบุกเข้ามา..

        ทัพสนับสนุนกลาง..จาก ลุ่มแม่น้ำดอน นำโดย แม่ทัพ โวโรซอฟสกี้  คุสเชิงอยู่อย่างใกล้ชิด...

        แผนคือ การเข้าลุยและปิดล้อมกองทัพที่หก และ กองพันรถถังที่สี่ของนาซี รวมไปถึงการไล่ต้อนหน่วยที่คุมอยู่ที่ฝั่งแม่น้ำดอนให้ไปรวมกัน..

        แผนการยูเรนัสนี้..เป็นการปฏิบัติการที่ลับลวงพรางอย่างที่สุด  การบุกนั้นเริ่มขึ้นแทบในทันทีหลังจากที่แนวหน้าเข้าเคลียร์พื้นที่เสร็จ.
        นับว่าเป็นสิ่งที่เหลือเชื่อสำหรับการทำงานในสเกลใหญ่ขนาดนี้...อันเป็นที่มาของความสำเร็จในแผนยูเรนัส
        เพราะเพียงในวันที่ 23 พฤศจิกายน..การปิดล้อมกองทัพนาซีของแม่ทัพพอลลัส
        เป็นอันว่าเบ็ดเสร็จ แม้แต่นกหนูก็แทบไม่สามารถหลุดลอดออกมาได้..

        กองบัญชาการในแม่ทัพซูตอฟ ได้ประมาณการณ์ไว้ว่า..มีทหารตกอยู่ในวงล้อมไม่ต่ำกว่าแสนนาย
        ฮิตเล่อร์..มีท่าทีไม่หวั่นไหวต่อการปิดล้อมนี้ในระยะแรกๆ เพราะเชื่อว่า..แม่ทัพเกอริง
        จะต้องทำการส่งส่วยให้จนแข็งแรงและจะตีฝ่าวงล้อมออกมาได้อย่างที่เคยทำมาสำเร็จในการรบที่ Bryansk  

        โดยที่ฮิตเล่อร์ลืมไปว่า.. คนประมาณแสนคน...ลุฟท์วัฟฟ์จะต้องบินส่งส่วยวันละสามร้อยตัน  จะต้องใช้เครื่องบินจำนวนมหาศาล..ซึ่งเยอรมันกำลังจาดแคลนอย่างหนัก เพราะจากการปะทะมาหมาดๆกับอังกฤษและอเมริกาที่เพิ่งเข้าบุกในอาฟริกาเหนือ
        (ใน Operation Torch)
        แล้วไหนจะต้องส่งกำลังบำรุงให้กับแม่ทัพรอมเมลที่กำลังรบอย่างดุเดือด ใน
        Afrika Korps นั่นอีกเล่า..???

            
         
         

        แผนการปิดล้อมนาซีนี้..ไม่ใช่วางมาแค่ ยูเรนัส หรือ มาร์ เท่านั้น..หากแต่มาเป็นทั้งระบบสุริยจักรวาล..คือจะตามมาด้วย Operation Jupiter (ที่เรฟ -เวียสมา...แต่ไม่สำเร็จ) และ Operation Saturn (ทางคอเคซัส...ที่เปลี่ยนชื่อมาเป็น Operation Little Saturn เพราะความสำเร็จที่สตาลินกราด สตาลินจึงมองไม่เห็นความจำเป็นที่จะทุ่มกำลังมากมายไปทางนั้น..จึงลดขนาดลง...เก็บเอาไว้ก่อน)
        หมายใจที่จะลากออกมาเป็นอวน เข้ากวาดล้อมกองทัพนาซีตั้งแต่ เรฟ-เวียสมา ไปจนถึง คอเคซัส..

        จากการปิดล้อมที่สตาลินกราด เยอรมันได้สูญเสียกำลังพลไปกว่า 1.5 ล้านนาย
        พอเริ่มขึ้นต้นปี 1943  กองทัพเยอรมันและแนวร่วมที่อยู่ในพื้นที่ของโซเวียตได้ถอยร่นไปยังจุดเริ่มต้นที่เข้ามาในครั้งแรกของ Operation Blau (เมื่อเดือนมิถุนายน  42)
        หากแต่ทางกองทัพโซเวียตนั้นยับเยินมากกว่า ในช่วงของสตาลินกราด นั้น..ได้สูญเสียกำลังพลไปถึง 2.5 ล้านนาย

        ในสิ้นเดือนมกราคม...ทหารนาซีที่เหลือในเมือง..รวมทั้งแม่ทัพพอลลัส (ยศจอมพล) และอีกยี่สิบสี่นายพล ต่างยอมมอบตัวและยอมแพ้ให้กับกองทัพโซเวียต..

   

        แผนต่อมา..ที่จะเริ่ม..นั่นก็คือ ทางกองบัญชาการหมายที่จะใช้ฤดูหนาวนี้..เปิดฉากสงครามเอาคืนขึ้นอีกครั้ง..
        เริ่มโดยการรุกเข้าพิ้นที่ ในเขต Voronezh และได้ยึดกลับคืนมา..ในเดือนมกราคมนั้น..
        ต่อด้วย Kharkov  ในเดือนกุมภาพันธ์ต่อมา...ที่ไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะเยอรมันยังไม่หมดพิษสง ทำให้กองทัพโซเวียตต้องกลับไปตั้งหลักใหม่ เพราะมันจะเข้าสู่ฤดู
        Rasputitsa  อันหมายถึง ถนนทักสายจะกลายเป็นโคลนแฉะ (เพราะหิมะละลาย)
        ที่ทำให้การเดินทัพลำบากไปอีกหลายเท่าตัว..

        ดังนั้น..แม่ทัพซูคอฟจึงหันกลับไปเช๊คบัญชีที่เลนินกราด...เพื่อที่จะทำการตัดวงล้อมของข้าศึกให้สำเร็จ..ในแผนปฏิบัติการที่ชื่อว่า..Operation Iskra  (แปลว่า
        แผนจุด (ไฟ)ติด (ขึ้นมาใหม่) โดยแม่ทัพได้เริ่มลงมือในวันที่ 12 มกราคม
        และได้ประสบความสำเร็จในการเปิดถนนและเส้นทางรถไฟสู่เลนินกราดตอนใต้ได้ในวันที่ 18
        ซึ่ง..ในช่วงเวลานั้น..แม่ทัพซูคอฟได้รับการเลื่อนยศเป็น "จอมพล"
        ในวันที่ 28 มกราคม..จอมพลซูคอฟได้รับเหรียญกล้าหาญสูงสุดแห่งกองทัพโซเวียต

        จอมพลซูคอฟเดินทางกลับเข้ามอสควาในตอนสิ้นเดือนนั้น..เพื่อที่จะไปเริ่มทำแผนสงครามในนามว่า..Operation Polar Star ที่จะเริ่มสลายกองทัพเยอรมันทางตะวันตกตอนเหนือของเลนินกราดให้หมดสิ้น ..
        โดยมอบหมายให้ แม่ทัพทิโมเชงโก จัดการทางด้าน Pskov และ Narva
        ตามด้วย แม่ทัพ Khozin จะเข้าทำการไล่ล้อมมาจากตอนเหนือจาก Lake Ilman และ Staraya Russa  

 
        Operation Polar Star     

 

       
 
  ทหารเยอรมันนั้น..มียุทธวิธีการรบที่ออกแบบมาอย่างเหนือในปฐพีจริงๆ เพราะขนาดแม่ทัพซูคอฟได้ทุ่มกำลังมหาศาลหมายที่จะเข้าหักแนวแหนือ
คือ เรฟ-เวียสมา ในแผนของ Operation Mars ก็ยังไม่สามารถเผด็จศึกได้อย่างง่ายๆ ทางแม่ทัพ Gunter Von Kluge ของเยอรมันรับมือได้ในทุกเม็ด...
        จนกระทั่ง..สภาพกองทัพเริ่มเปลี้ย..แม่ทัพ ฟอน คลุค จึงได้ถอนทัพออกจากฐานที่มั่น เพื่อไปตั้งหลักใหม่...แต่ฮิตเล่อร์ก็รั้นอย่างเช่นเคย..ไม่มีคำสั่งให้ถอยไปไหนทั้งทิ้ง เพราะต้องการให้ตั้งมั่นไว้เพื่อที่จะหาโอกาสโจมตีมอสควาต่อไป..
        แต่พอกรณีที่เยอรมันพ่ายในสตาลินกราดทำให้เกิดการหวั่นไหวขึ้นมาทั้งขบวน..จึงได้สั่งให้สู้ไปถอยไปในเดือนมีนาคม 1943  สละฐานที่ตั้งออกไปได้...(ซึ่งจะกลับมาใหม่ ใน Operation Citadel หรือ The Battle of Kursk ในช่วงกลางปี 1943)

        แต่ในระหว่างต้นปี จอมพล(ใหม่)ซูคอฟต้องการอย่างที่สุด ในการที่จะต้องยึดพื้นที่ทางเหนือคืนในแผนของ Operation Polar Star เพื่อให้เลนินกราดหมดเสี้ยนหนามไป...
        สงครามในครั้งนี้ดุเดือดเลือดพล่านอีกเช่นเคย...ท่านจอมพลสามารถยึดพื้นที่ที่ฐานเดมยังสค์
        (Demyansk) กลับคืนมาได้  แต่ทำการปิดล้อมไม่สำเร็จ เพราะทัพทางเหนือไม่สามารถตีทัพเยอรมันให้แตกลงไปได้...
        ในการนี้..กองทัพโซเวียตได้สูญเสียทหารไปสองแสนนาย..

        กลางเดือนมีนาคม..สตาลินได้ส่งให้จอใพลซูคอฟไปที่ Voronezh เพื่อไปดูสถานะการณ์สำหรับการที่จะชิงพื้นที่ Kharkov คืนมาจากข้าศึก
        และจากตรงนี้เอง..ที่จอมพลซูคอฟได้มองเห็นทันทีว่า..เยอรมันจะกลับมาอีกแน่...ดังที่เขาได้เขียนรายงานฉบับยาวและละเอียดยิบให้กับสตาลินในวันที่ 8 เมษายนถึง..การคำนวนระยะเวลาของการจัดทัพครั้งต่อไปของเยอรมัน..และ การเตรียมรับมือของกองทัพโซเวียต..
        แม่ทัพซูคอฟค่อนช้างมั่นใจว่า ข้าศึกคงไม่สามารถหากองหนุนมาเสริมทางด้านใต้ได้ในอนาคตอันใกล้นี้..หรือ การที่จะดาหน้าเข้ามาแบบปีกนก อย่างที่เคยทำ...
        แต่...คราวนี้จะมาทางแนวที่เป็นช่อง...ที่มีฐานกำลังตั้งอยู่ในบริเวณใกล้เคียง และ...มาเพื่อจะ
        เอามอสควาให้อยู่ในกำมือให้ได้...แบบจู่โจมและรวดเร็วตามสไตล์ Blitzkrieg ที่ถนัด

        และแม่ทัพซูคอฟ..สามารถฟันธงได้เลยว่า...จะเข้ามาทาง Kursk อย่างแน่นอน...เพราะมันจะเชื่อมกับฐานกำลังที่ Voronezh และ ฐานที่แนวตะวันตกตอนใต้ ซึ่งทางข้าศึกจะต้องใช้กองทัพรถถังจำนวนมหาศาลไม่ต่ำกว่าสองพันห้าร้อยคัน  และแม่ทัพได้เสนอแผนการรับมือทางฝ่ายโซเวียต โดยการสร้างเครื่องขีดขวางให้หนาแน่น และ จัดกองทัพอากาศมาเตรียมรอรับมือที่ศูนย์กองบัญชาการในแนวนี้แบบไม่อั้น
        ซึ่งท่านคิดว่า...จะรอรับมือให้มาบุกถึงรังก่อน..แล้วจะออกไปต้อนรับ..
        พอข้าศึกเริ่มเหนื่อย...นั่นคือเวลาที่จะสั่งเคลื่อนทัพใหญ่โจมตีแบบเก็บกวาดให้สิ้น

        และนี่คือ...การ"ดับฝัน"ให้ฮิตเล่อร์อย่างสนิท...เพราะการณ์ได้ปรากฏขึ้นมาเช่นที่ทำนายไว้จริงๆ..

        ในคราวสงครามมอสควา 1941 เยอรมันได้บุกเข้ามาแบบสายฟ้าแลบ ซึ่งทางกองทัพแดงต้องรับมือแบบสู้ไปถอยไปกว่าจะตั้งหลักได้
        แต่พอมาถึงสตาลินกราด 1942 กองทัพแดงสามารถตลบหลังกองทัพสายฟ้าแลบของข้าศึกและต้อนจนให้ตกอยู่ในวงล้อมได้..
        ทั้งสองรายการรบ..เริ่มจากเยอรมันบุกก่อน แล้วต้องมาตกที่นั่งเป็นฝ่ายรับทีหลัง..
        และคราวนี้ก็เช่นกัน...ที่แม่ทัพซูคอฟจะใช้วิธีเดียวกัน..ด้วยสติปัญญาอันเป็นเลิศในการอ่านเกมส์สงคราม
        รวมไปถึงการที่สตาลินได้มอบความไว้วางใจในการทำงานให้อย่างเต็มที่ แม้ว่า
        ยุทธการมาร์ หรือยุทธการโพล่าร์ สตาร์ ยังไม่ได้ผลเท่าที่หวัง..แต่..สตาลินไม่เคยคลายศรัทธาในตัวของแม่ทัพคนนี้เลย..
        ดังเช่น..ในหน้าปกของ Time Magazine 1942 ฉบับเดือนธันวาคม..ได้ลงภาพจอมพลซูคอฟ
        พร้อมกับบรรยายว่า...แม่ทัพคนเก่งของสตาลิน

            
 
        Battle of Kursk (Operation Citadel)

        ตรงพื้นที่โป่งออกมาเหมือนลูกโป่งสองลูกสีชมพูนั้นเรียกว่า เซเลียงต์ หรือ ประมาณว่าเป็นพื้นที่อันเป็นฐานทัพของเยอรมัน..และโปรดสังเกตุว่า Kursk จะอยู่ตรงกลางพอดี..

 



 
       
 
        (ดิฉันรอให้มีคนเปิดประเด็นเรื่อง Myth ของสงคราม เยอรมัน-รัสเซีย ที่ว่า...
        เยอรมันแพ้เพราะสภาพของอากาศ ..เพราะทะเลโคลน...และเพราะการส่งกำลังบำรุง
        เพราะจากที่อ่านในหนังสือต่างๆมักจะสรุปตรงกันเช่นนั้น..

        แต่เมื่อมาอ่านหนังสือของฝ่ายโซเวียต..โดยเฉพาะที่ท่านแม่ทัพซูคอฟได้เขียนเรื่องนี้แบบขยายให้เห็นชัดเจน...ดิฉันจึงต้องกลับมาคิดใหม่..และอยากจะแชร์ข้อมูลนี้กับเพื่อนๆที่สนใจด้วยค่ะ  
        (กว่าจะหาเจอก็นานโขอยู่ เพราะ มีเป็นร้อยๆหน้า..จำไม่ได้ว่าท่านเขียนไว้ตรงบทไหน...)

        V
        V
        V
        V


        ในหนังสือ The Memoirs of Marshal Zhukov  หน้าที่ 344 ท่านได้่เขียนว่าดังนี้...

        "แม่ทัพ Guderian, แม่ทัพ Hoth และเหล่านายพลอื่นๆ ที่ได้สรุปว่า การที่เข้าชิง
        มอสควาไม่สำเร็จ เพราะว่าสภาพอากาศที่เลวร้ายของรัสเซีย กับ การคำนวนที่ผิดพลาดของฮิตเล่อร์ จึงเป็นสาเหตุหลักในการปฏิบัติงานที่ไม่สัมฤทธิผล..
        อากาศที่แสนโหด..นั้นก็มีส่วน...แต่มันส่งผลร้ายมาให้เราทั้งสองฝ่าย ไม่ใช่ว่าเยอรมันจะรู้หนาวแต่เพียงฝ่ายเดียว..
        อีกทั้งมันเป็นเรื่องจริง..ที่ว่า..ทหารเยอรมันขาดการเตรียมตัวมารับกับสภาพ เพราะในช่วงนั้น  ทหารนาซีอยู่ในสภาพที่ต้องไปหาเอาเสื่อมาห่มร่าง หรือต้องไปลอกคราบเสื้อผ้ามาจากประชาชน.. เพราะผู้นำของเขาคงคิดไม่ถึงว่าเครื่องนุ่งห่ม  อาหารคือยุทธปัจจัยที่สำคัญอีกชิ้นหนึ่งที่ต้องเตรียมตัวมาให้พร้อม..
        ผิดกับทางเราได้ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้เป็นอย่างยิ่ง..
        ผู้นำของเยอรมัน..ได้คิดเอาเองว่า..แค่ยกทัพเดินผ่านเข้ามาในแผ่นดินของเราในช่วงไม่กี่อาทิตย์ ก็จะถือครองเอาได้ง่ายๆ
        ทั้งนี้ทั้งนั้น..ความผิดพลาดที่เกิดขึ้น..คือการอ่านกลศึกไม่ขาด และ การประเมินสถานะการณ์ที่ผิดพลาดมาจากฝ่ายกลาโหมของนาซีเป็นหลัก

        ส่วนพวกนายพลและนักประวัติศาสตร์ระดับพื้นๆ จึงต่างพากันสรุปกันเอาเองว่า..เพราะ
        สภาพโคลนแฉะ เพราะสภาพไร้ถนนของเรา..ที่ทำให้เกิดความยากลำบากในการเคลื่อนพล...
        แต่เรานี่แหละ..เป็นคนที่อยู่ในเหตุการณ์ในทุกขั้นตอน  เราเห็นเหล่าผู้หญิงมอสควาของเรานับพันนับหมื่น ต่างออกมาช่วยกันขุดคูเพลาะ ช่วยกันตั้งสิ่งกีดขวาง  ช่วยกันขนและแบกถุงทรายกันทั้งวันทั้งคืน..พวกเขาต้องย่ำโคลน ต้องช่วยกันเข็นรถในหลุมโคลนที่ลึกเท่าเอว คิดดูว่าน้ำหนักมันจะขนาดไหน..
        แต่ทุกอย่างก็ได้สำเร็จลงด้วยน้ำมือของสตรีที่ร่วมใจกัน..
        เราอยากจะอธิบายเพิ่มเติมในเรื่องของคนที่ชอบแก้ตัวง่ายๆ..โดยใช้สาเหตุของสภาพดินฟ้าอากาศทำให้เยอรมันแพ้สงครามในแนวหน้ามอสควา..ว่า..
        ในเดือนตุลาคม 1941 (ที่บุกเข้ามา)  ปีนั้น..ช่วงที่เป็นสภาพโคลนมีระยะสั้นมาก เพราะ  ฤดูหนาวเข้ามาเร็วกว่าปรกติ หิมะตกตั้งแต่ต้นเดือนพฤศจิกายน ทำให้พื้นที่ทั้งหมดกลายเป็นน้ำแข็ง..ซึ่้งสะดวกต่อการเคลื่อนตัวไปได้ในทุกที่..
        และในช่วงที่เยอรมันได้ทำการโจมตี คือ เดือนพฤศจิกายน  ที่มีอุณหภูมิ ลบ เจ็ด ถึงลบสิบ องศา..
        ฉะนั้น เรื่องที่ว่ารบไม่ได้เพราะ"โคลน" นั้น...ไม่เป็นความจริง..เพราะเราไม่มีทั้งฝน หรือ สภาพโคลน..ในช่วงนั้นเลย"

 



        ทหารโซเวียตก็ไปหนาวตายที่สงครามฟินแลนด์เช่นกันค่ะ...เพราะประเมินสถานการณ์เครื่องนุ่งห่มผิดพลาดเช่นกัน เพราะทหารโซเวียตใช้ชุดพราง (camouflage)  เลยกลายเป็นเป้าเด่นกลางหิมะ...โดนทหารฟินน์สอยร่วงไปแทบไม่มีทางสู้..

        ที่ฟินแลนด์พอเป็นหิมะจะหนาวกว่าที่โซเวียต เพราะ
        น้ำในทะเลสาบกลายเป็นน้ำแข็งหมด..เรียกหนาวมาจากบนดินและใต้ดินรวมกันเลย..
        ทหารโซเวียตไม่มีรองเท้าแบบรับสภาพไอเย็นที่มาจากดิน..จึงทำให้นิ้วเท้าเกิดอาการ
        ตาย..เพราะเลือดไม่มาหล่อเลี้ยง..

        ถือเป็นบทเรียนราคาแพงเลยทีเดียว..


        ส่วนเรื่องการแพ้สภาพอากาศนั้น..จะว่าไป..เยอรมันก็โดนเข้าไปในปีแรกที่บุกเท่านั้น คือ 1941  ปี
        ต่อมา 1942 ที่ระดมพลกลับมาใหม่..คราวนี้เตรียมตัวมาดีเยี่ยม..แบบรบถึงไหนถึงกัน..ฤดูหนาวไม่ใช่ปัญหาอีกแล้ว..กองทัพอากาศของแม่ทัพเกอริงอยู่ในสภาพที่จุนเจือได้อย่างทั่วถึง..
        จนกระทั่ง..พลาดไปในเรื่องของสตาลินกราด ที่แม่ทัพพอลลัสยอมแพ้ เพราะ..
        สภาพกองทัพขนาดใหญ่ที่ถูกปิดล้อมนั้น..ถูกตัดขาดในการส่งกำลังบำรุง..ไม่มีกระสุน ไม่มีน้ำมัน ไม่มีอาหาร ไม่มีน้ำมันหล่อลื่นปืน..ไม่มีน้ำดื่ม...
        แล้วจะเอาอะไรไปสู้...

 
     
        (ส่วนที่ถามว่า เยอรมันสติเสียไปหรือปล่าว ที่จะยึดเอาโซเวียต....ไม่เสียหรอกค่ะ เพราะสภาพการณ์ของบ้านเมืองในยามนั้นของโซเวียต มันบอกใบ้ชัดเจนว่า..ไม่น่าจะอยู่รอด เพราะเพิ่งผลัดเปลี่ยนการปกครอง ยังมีประชาชนจำนวนมากที่ต่อต้านบอลเชวิค  สตาลินได้กำจัดนายทหารมือดี นักวิทยาศาสตร์  นักวิชาการเก่งๆไปเกือบหมด กองทัพยังล้าหลัง  เพราะในช่วงที่เยอรมันกำลังพันตูกับอังกฤษเมื่อต้นสงคราม  โซเวียตได้ส่งฝ่ายกองทัพอากาศมาดูงานที่เยอรมันและได้ซื้อเครื่องบิน(เก่าๆ)ไปจำนวนหนึ่ง
        เยอรมัน...จึงมีเหตุผลของตัวเองว่า..การที่จะได้โซเวียตมาประดับบารมีนั้น น่าจะะไม่ยากจนเกินไป อีกทั้ง..ฮิตเล่อร์เอาอิทธิพลในความคิดที่เกลียดชังระบบคอมิวนิสต์ของตัวเองมาเป็นเครื่องชี้วัด ว่า..คนอื่นจะไม่เข้ามายุ่ง (หมายถึง อเมริกา)  ซ้ำคงจะยินดีต่อการที่ฮิตเล่อร์จะมาช่วยล้มล้างระบบนี้ให้
        และถ้าได้มาจริงๆ...คงแทบไม่ต้องเดาเลยว่า..อาณาจักร์ไรคซ์ที่สามจะครองยุโรปได้ทั้งหมด ...ผลอันมหาศาลนี้เอง
        ที่ทำให้ฮิตเลอ่ร์ตัดสินใจหันหลังให้กับ The Battle of Britain แบบกระทันหัน แล้วสั่งทหารเตรียมตัวตบเท้ามุ่งหน้าสู่ตะวันออก...เพื่อเป้าหมายที่ใหญ่กว่า คือ..กะจะล้างอายให้กับเยอรมันด้วย เพราะดวลกับอังกฤษทางอากาศก็ไม่ชนะ แถมทางทัพเรือก็ยังไม่รู้ว่าใครเป็นหมู่เป็นจ่า)

 

        เรื่องภูมิรัฐศาสตร์ก็จริงอยู่ค่ะ  แต่เป็นภูมิรัฐศาสตร์ที่ Baltic States คือตรงฟินแลนด์ ที่ฮิตเล่อร์อยากได้
        แต่นั่นมันคือของหวงของโซเวียต เพราะมันครองน่านน้ำตรงบอลติกอยู่  ดังนั้น ฮิตเล่อร์จะทำอะไรไม่ได้เลยในการตั้งฐานทัพ หรือ การล่องเรือสินค้าโดยไม่ผ่านสายตาและการรับรู้ของโซเวียต (เพราะในใจนั้นอยากจะตีเอารัสเซ๊ยอยู่แล้วแหละ..)
        ก่อนเปิดฉากสงครามบาร์บารอสซ่าเพียงไม่กี่เดือน ฮิตเล่อร์ได้เชิญโมโลตอฟมาพบที่เบอร์ลินเมื่อปลายปี 40
        เพื่อหารือในเรื่องนี้
        โดยเสนอให้รัสเซียขยายอำนาจออกไปทางฝั่งตะวันออกม และไปเอาอินเดีย (โน่นนน...)
        ปล่อยให้ยุโรปเป็นหน้าที่ของเยอรมัน หมายถึงจรดฝั่งบอลติคทั้งหมด..โดยอ้างเหตุผลสารพัดว่า..อังกฤษจะบุกที่สวีเดนอย่างแน่นอน และอเมริกาก็จะมาร่วมด้วย ดังนั้น เยอรมันจะต้องเตรียมไปตั้งฐานทัพรับมือเอาไว้

        โมโลตอฟ..ตอบว่า..ยังไม่มีวี่แววนี่นา..ว่าอังกฤษจะมีท่าทีอย่างนั้น เพราะสวีเดนเป็นฝ่ายกลางไม่ได้ขึ้นกับใคร..ยังคงค้าขายปรกติ..อเมริกาก็ไม่ได้เข้ามาแทรกแซงอะไรในฝั่งนี้..เอาเป็นว่าเรารอดูกันไป..แต่จะให้โซเวียตปล่อยมือจากบอลติค..คงเป็นไปไม่ได้..

        ดังนั้น..เมื่อพูดจากันไม่รู้เรื่อง...การบุกโซเวียตจึงได้เกิดขึ้นแบบกระทันหัน จนญี่ปุ่นที่ร่วมภาคีกับเยอรมันยังไม่รู้เรื่องด้วยซ้ำ..

 




       
        ฮิตเลอร์ได้เชิญนาย Matsuoka รมต. ต่างประเทศของญี่ปุ่นให้มาพบที่เบอร์ลิน ในเดือนมีนาคม 1941 (ก่อนบุกโซเวียตเพียงสี่เดือน) ให้มาทำการตกลงในเรื่องทำสงครามแบ่งโลกกัน..อันหมายถึงให้ญี่ปุ่นเข้าตัดกำลังของอาณานิคมของอังกฤษทั้งหมดทางฝั่งเอเซีย (ตามภาพค่ะ) เพื่อที่จะเบี่ยงเบนอังกฤษให้ออกไปให้พ้นจากยุโรป..

        ในตอนนั้น..ฮิตเล่อร์ไม่ได้พูดถึงเรื่องการบุกโซเวียตทั้งๆที่แผนปฏิบัติการบาร์บารอสซ่าได้ออกแบบมาเสร็จเรียบร้อยตั้งแต่เดือนมกราคม คือหลังจากที่โมโลตอฟกลับไปเพียงไม่กี่อาทิตย์

        พอเยอรมันบุกโซเวียตจริงๆโดยไม่กล่าวบอกใคร..ทำให้ญี่ปุ่นมีอาการ"ไม่ไว้วางใจ"ในคู่ภาคีอย่างเยอรมันขึ้นมาทันที..แต่นาย Oshima ทูตประจำเบอร์ลินได้รับรองเป็นมั่นเป็นเหมาะถึงกับส่งโทรเลขด่วนไปยังรัฐบาลในสมเด็จพระจักรพรรดิ์ว่า.."เยอรมันมั่นใจว่าสามารถสยบโซเวียตได้ในเวลาไม่นานนี้แน่ๆ.."
        รมต.ต่างประเทศ นาย Konoe ก็พลอยตื่นเต้นตามโทรเลขไปด้วย ถึงกับหารือกับเหล่าทหารในการเตรียมตัวเพื่อเข้าขนาบช่วยทางไซบีเรีย..
        แต่เหล่านายทหาร..ไม่ค่อยเชื่อคำพูดของนายโอชิมานัก เพราะมีประวัติเป็นคนที่โปรนาซีอย่างสุดลิ่ม..
        และย้อนถามว่า..จะเอาอะไรไปต่อกรกับโซเวียตอีก..จำสงครามคาลคินกอลไม่ได้รึไง..ว่ารถถังของเรามันต่างขนาดกับของโซเวียตราวกับพ่อกับลูก..ถ้าไปตอนนี้ก็มีแต่พังกับพัง..รอดูสถานะการณ์ต่อไปจะดีกว่า..

        พอมาถึงเดือนกันยายน (1941) ที่เยอรมันได้ล่วงล้ำเข้าไปในโซเวียต และยึดได้หลายๆเมือง..
        พอดีกับญี่ปุ่นได้มีการเปลี่ยนรัฐบาลใหม่..นำโดย นายพลโตโจ ซึ่งไม่สนใจในการ"บุกเหนือ"
        แต่..เตรียมพร้อมในการที่จะบุกใต้มาทางฝั่งแปซิฟิคและเอเซีย (อันเป็นที่มาของ Pacific War)
        ญี่ปุ่นก็เลยเกี่ยงว่า..
        รอให้ยึดได้มอสควาอย่างแน่ๆก่อน..รอให้กองทัพญี่ปุ่นรวบรวมได้กำลังพลให้มากกว่ากองทัพของโซเวียตที่ไซบีเรียสักสามเท่าก่อน...รอให้เกิดไซบีเรียเริ่มมีประเด็นของการแตกแยกหรือเกิดการจราจลก่อน ญี่ปุ่นจึงจะถือโอกาสเข้าไปเปิดสงครามทางฝั่งตะวันออกของโซเวียต..เพื่อเป็นการช่วยเหลือเยอรมันอีกทาง

 

 


        แผนสังหารผู้นำนั้น..มีเสมอ แต่มักจะมาจากฝ่ายเดียวกัน..อย่างสตาลิน หรือ เหล่าขุนพลโซเวียต เป็นเป้าหมายของพวกต่อต้านบอลเชวิค ซึ่งในที่สุด (จากหลักฐานที่ปรากฏในทีหลังว่า) สตาลินก็ได้จบชีวิตไปด้วยสาเหตุมาจากการวางยาพิษ(สารหนู) ด้วยฝีมือของนายเบเรียที่เป็นคนกันเองแท้ๆ

        ฮิตเล่อร์ ก็รอดมาจากการลอบสังหารได้อย่างหวุดหวิดดังที่ทราบกัน..

        ซูคอฟ..คนสนิทคือคนขับรถ..ที่เล่าว่า กล้าหาญบ้าบิ่นมาก ขณะที่เกิดการโจมตีทางอากาศ ใครๆก็จะหลบรถเข้าข้างทาง และหาที่กำบัง..ท่านแม่ทัพกลับให้ขับต่อไป..เสี่ยงดวงเอา..หรือในแนวหน้าในจุดที่ยิงกันตูมๆ ก็ยังไปอยู่ในจุดอันตราย..
        ส่วนแม่ทัพ Nikolai Vatutin มือดีอีกคนหนึ่งของสตาลิน โชคไม่ดี..โดนซุ่มโจมตีในต้นปี 1944 โดยกลุ่มยูเครเนี่ยนต่อต้านบอลเชวิค..บาดเจ็บสาหัสและเสียชีวิตหลังจากเข้าโรงพยาบาลได้ไม่กี่วัน
        แม่ทัพวาตูตินคนนี้..มีบทบาทพอสมควร..จะเล่าให้ฟังต่อไปค่ะ..

 
        ญี่ปุ่นไม่มีทางเลือกอื่นแล้วค่ะ..เพราะ ทุกคนรู้อยู่เต็มอกว่าอเมริกานั้นอยู่ข้างอังกฤษและโซเวียต แต่ยังกั๊กท่าทีอยู่..ญี่ปุ่นยังจำเป็นต้องพึ่งพาคบหาค้าขายกับอเมริกาเพราะเรื่องของ"น้ำมัน"

        หากว่า..นายกฯโตโจตัดสินใจไปร่วมรบทางไซบีเรีย..แล้วถูกอเมริกาตัดหางปล่อยวัดเข้าจะทำอย่างไร...ทางที่ดี..คือออกไปรบทางฝั่งเอเซีย ขยายอาณาเขตในน่านน้ำและกวาดต้อนเอาทรัพยากรมาให้ได้มากที่สุด
        นับว่าเป็นการยิงกระสุนนัดเดียวได้นกมาทั้งฝูง..
        และได้หยามน้ำหน้าอังกฤษด้วย..

        ที่ต้องโจมตีที่เพิร์ล ฮาร์เบอร์ เพราะตอนนั้นอเมริกาได้ตัดหางปล่อยวัดแล้วจริงๆ..คือในเดือนกรกฏาคม 1941 ที่วอชิงตันได้สั่งปิดน่านน้ำสู่ญี่ปุ่น..เรือน้ำมันเข้าออกไม่ได้ และ อายัดการลงทุนของญี่ปุ่นทั้งภาคเอกชนและภาคร่วมกันสองรัฐบาล
        (ในอเมริกา) ทั้งหมด นั่นหมายถึง น้ำมันจาก Dutch East Indies*** กว่า สี่ล้านบาร์เรล ต้องหันเรือกลับ ...จึงเป็นเหตุจำเป็นให้ญี่ปุ่นต้องถล่มฐานทัพเรือที่เพิร์ล ฮาร์เบอร์
        โดยหมายใจว่า..ถ้าอเมริกาไม่มีกองทัพเรือแล้ว..จะเอาอะไรมาขวางทางน้ำมันของญี่ปุ่นอีก....(โดยลืมไปว่า..กองทัพอากาศ และ กองเรือดำน้ำ ยังมีอีกเพียบ..)
        คีย์แมนคนวำคัญของญี่ปุ่นในการณ์นี้คือ แม่ทัพเรือ Yamamoto

        เมื่อมีการเปิดประเด็นการ"จัดเก็บ" คีย์แมนสำคัญๆในระดับที่เป็นเสี้ยนหนามแล้วละก้อ...ใครต่อใครเขาก็ทำกัน แต่ไม่มีประเทศไหนที่จะโจ่งแจ้ง ประกาศไล่ล่าราวกับเกมส์โชว์อย่างอเมริกาอีกแล้ว
        ดูอย่าง ซัดดัม หรือ บินลาเดน ประมาณว่าเอามันส์ราวกับหนังคาวบอย  เลยต้องยกเรื่องนี้มาเล่าให้ฟังเผื่อว่าบางคนอาจจะไม่ทราบมาก่อน
        พวกคุณคงรู้จักแม่ทัพเรือ ยามาโมโต เป็นอย่างดีแล้ว..อย่างน้อยก็จากภาพยนตร์เรื่อง Tora, Tora, Tora!! หรือ เรื่อง Midway  ตามมาด้วย The Pearl Harbor
        เพราะแม่ทัพเรือยามาโมโตคนนี้..คือบุคคลที่ออกแบบการเปิดฉากทำสงครามกับอเมริกา

        การขับเคี่ยวระหว่างอเมริกาและญี่ปุ่นนั้นเป็นระหว่างหมัดต่อหมัด..อเมริกาไม่มีทางอื่นนอกจากจะต้องเป็นฮีโร่ให้ได้เพราะประชาชนยังมีอาการขวัญผวาจากการโดนถล่ม..
        ทีนี้..ในเดือนมิถุนายน 1943 ที่ทางกองทัพเรือยูเอสได้สามารถถอดรหัสโค๊ด "Magic"ของญี่ปุ่นได้ ใจความว่า..
        แม่ทัพยามาโมโต กำลังจะเดินทางไปเยี่ยมฐานทัพที่ South Pacific อีกทั้งเป็นการถอดรหัสที่หมดจดมาก เพราะได้ทั้งเวลาขาไป-กลับ  ชื่อผู้เดินทาง และ ชนิดของเครื่องบินว่า..
        แม่ทัพจะบินจาก Rabaul สู่ Ballalae Airfield  บน Solomon Islands ในวันที่ 18 มิถุนายน..

        ข้อความนี้ได้จัดส่งไปยัง ปธน. รูสเวลต์ ที่อ่านเสร็จก็ส่งต่อไปให้ผบ. กองทัพเรือ Frank Knox พร้อมกับพูดสั้นๆว่า.."เก็บยามาโมโตซะ"
        ผบ. น๊อกซ์ รีบจัดให้แบบจัดเต็ม โดยมอบงานส่งไปให้่ Admiral Chester W. Nimitz แม่ทัพเรือที่ฐานแปซิฟิคตอนใต้  ว่า.."น่าจะรู้นะ..ว่าภาระกิจนี้คืออะไร"
        แม่ทัพเรือ นิมิทซ์ ได้ออกแบบการถล่มเครื่องบินของแม่ทัพยามาโมโตแบบไม่ให้มีพลาด คือ ใช้ฝูงบินจู่โจม (เคลื่อนที่เร็วหรือที่เรียกว่าไอพ่น) Lockheed P-38 รวมฝูงคุ้มกันเป็นแนวที่สองจำนวนนับสิบ
        และนักบินที่เลือกมาทำการ ล้วนแต่เป็นมือคัดสรร...

        วันที่ 18 ที่แม่ทัพเรือยามาโมโตจะออกเดินทาง..หลายฝ่ายได้ขอให้ยกเลิกเพราะเป็นห่วงในเรื่องของความปลอดภัย แต่...เปลี่ยนใจท่านไม่ได้
        ดังนั้น ในช่วงเช้าวันนั้น หลังจากที่มีการโบกมืออำลาทหารแล้ว..ท่านและคณะออกเดินทางโดยเครื่องบิน  Mitsubishi G4M จาก Rabaul ไปยังจุดหมายที่มีระยะทางห่างไปเพียง
        ห้าร้อยกว่ากิโลเมตร..และ..การจู่โจมได้เกิดขึ้น..จากฝูงบินของอเมริกาสิบหกลำ กับ ฝูงคุ้มกันแม่ทัพญี่ปุ่น  Mitsubishi A6M หกลำ แบบ dogfight กันกลางอากาศ
        เรืออากาศโท Rex T. Barber ได้จับคู่กับเครื่องบินโดยสารลำหนึ่ง..ที่เขาไล่ยิงใส่ไม่ยั้ง..จนเกิดไฟลุกท่วมทางเครื่องยนตร์ปีกซ้าย..และร่วงหล่นสู่พื้นดินที่เป็นป่าดงดิบในเขตของโบเกนวิลล์ (Bougainville)
        นั้นคือ เครื่องของแม่ทัพเรือยามาโมโต..

        การออกค้นหาซากได้กระทำในวันต่อมา..และ ได้พบโดย Lieutenant Hamasuna ที่ได้เขียนรายงานไว้ว่า..ท่านแม่ทัพกระเด็นออกมาในสภาพที่ตัวอยู่ติดกับที่นั่ง..
        มือยังแตะอยู่ที่ด้ามกระบี่..ศรีษะตก บาดแผลที่ทำให้เสียชีวิตคือ จากกระสุนสองนัด ที่บ่าซ้าย และ อีกนัดตรงกรามซ้ายที่ทะลุออกไปที่เบ้าตาขวา..



        *** Dutch East Indies   

     
 

        Admiral Isoroku Yamamoto

            
         
         


    
        (อเมริกาประกาศสงครามกับญี่ปุ่นก่อน..หลังจากวันที่โจมตีเพิร์ล ฮาร์เบอร์ไปเพียงไม่กี่ชั่วโมง  คือวันที่ 8 ธันวาคม 1941  ส่วนกับเยอรมัน, อิตาลี ได้มาประกาศพร้อมกันทั้งสองฝั่งในสามวันต่อมา ในวันที่ 11  ธันวาคม
ส่วนพวกอักษะตามดูแห่ อย่าง..บุลเกเรีย ฮังการี และ โรเมเนีย นั้น..แบบว่าให้เวลาคิด..มาประกาศก็ตอนกลางปี  1942 ค่ะ......วิวันดา)


        กลับมาเรื่องโซเวียตซะทีนะคะ  เพราะเถไถไปเรื่องโน้นเรื่องนี้จนจะต่อไม่ติดแล้ว..

        ก่อนที่จะเล่าเรื่องของสงคราม Kursk ที่นับศพทหารทั้งสองฝ่ายได้นับแสนนับล้านนั้น มาเล่าเรื่องกระจุ๋มกระจิ๋มของแม่ทัพซูคอฟหน่อยดีกว่า..
        ตามที่เล่ามาในกระทู้ก่อนที่ว่า..ครอบครัวของท่าน คือ Alexandra ภริยา ,Era และ Ella  ธิดาสาวทั้งสองรวมทั้งยกครอบครัวของพี่สาวพร้อมลูกๆกับมารดา
        ไปอยู่รวมกันที่ Kuibyshev (นอกเมืองมอสควา) ในช่วงของปี 1941 และได้ย้ายกลับมาที่มอสควาในปี 1943  
        ในช่วงนี้เอง..ที่ท่านแม่ทัพได้มีโอกาสอยู่พร้อมหน้าพร้อมตากับครอบครัวเพียงครั้งเดียว คือวันปีใหม่ของปี 1942  โดยที่ครอบครัวบินมาหาที่ฐานแนวหน้าตะวันตก ที่ท่านบัญชาการอยู่

        เอลล่า ได้เขียนเล่าว่า..."ในบ้านเล็กๆที่พ่ออยู่..มีต้นคริสมาสต์เล็กด้วย..บนโต๊ะมีขนมหวานอยู่เยอะแยะ ความจริงก็ไม่ได้มากมายขนาดนั้นแต่ว่าสำหรับเราแล้วมันเหมือนเยอะ
        เพราะไม่ได้ลิ้มรสขนมมานานแล้ว ที่สำคัญที่สุดคือ..บรรยากาศของความเป็นครอบครัว พ่อดูมีความสุขมากเพราะความสำเร็จที่เรารักษามอสควาเอาไว้ได้"

        หลังจากที่ทุกคนกลับไปแล้ว..การติดต่อมีถึงกันได้ทางโทรศัพท์ หรือ รอโอกาสที่แม่ทัพถูกเรียกเข้าเมืองหลวง แต่ในช่วง 1943-44 ท่านไม่ได้เข้าไปบ่อยนัก
        เพราะอยู่แต่แนวหน้าเป็นส่วนใหญ่..
        Era เขียนไว้ว่า..." ถึงพ่อจะไม่ได้อยู่ใกล้เพราะต้องทำงานที่สำคัญสำหรับประเทศชาติแต่พวกเราก็รู้สึกถึงความอบอุ่นเสมอ พ่อไม่ค่อยมีโอกาสเขียนจดหมายถึงได้บ่อยนัก หรือถึงจะเขียนก็เป็นได้แค่โน๊ตสั้นๆ
        เท่านั้น"

        จดหมายของท่าน..ที่เขียนถึงภริยานั้น..ก็เป็นจดหมายจากชายที่รักครอบครัวอย่างธรรมดาๆ ไม่ใช่จอมทัพที่สามารถสั่งเป็นสั่งตายให้กับทหารนับล้านๆคนไม่..
        ดังเช่น ฉบับที่ลงวันที่ 8 มกราคม 1943 ที่มีใจความว่า

        "เมียจ๋า!!

        แย่จัง..ผมอยากจะแวะบ้านหาคุณสัก 30-40 นาที  แต่คุณไปดูละครซะนี่..แน่นอนว่าคุณจะต้องโทษผมที่ไม่บอกมาล่วงหน้าก่อน แต่เผอิญว่า..ผมมีเวลาในช่วงของการเปลี่ยนขบวนรถไฟที่
        เลื่อนล่าออกไปน่ะซิ..เอาเถอะ..เป็นอันว่า..เราผิดด้วยกันทั้งคู่ละกัน
        คุณเป็นอย่างไรบ้าง..? ผมสบายดี แข็งแรงดี นอกจากไอ้โรครูมาติซั่มนี่แหละ ที่น่ารำคาญมาก ผมว่า..ถ้าได้นอนแช่น้ำเกลือ หรือ ออกไปตากแดดซะบ้าง คงจะดีขึ้น

        แค่นี้ก่อนนะจ๊ะ

        ซอซของคุณ (Zhorzh  เป็นชื่อที่เรียกกันเล่นๆระหว่างสามีภรรยา)"


        จากนั้นท่านแม่ทัพก็ได้่บ่นถึงแต่เรื่องสุขภาพกับภริยาทางจดหมาย อย่างเช่นฉบับที่เป็นงานเป็นการหน่อย คือ วันที่ 23 ตุลาคม 1943 ที่ท่านว่า..


        "ผมได้รับจดหมายของคุณแล้ว..ต้องขอส่งจูบไปให้อีกสองสามที เพราะพัสดุที่บรรจุชุดนอนที่ส่งมาให้..เล่นเอาผมต้องหัวเราะจนงอหาย ที่มองเห็นสภาพตัวเองในเสื้อนอนตัวโคร่งนั่น..
        สถานะการณ์แนวหน้าตอนนี้ดีขึ้น..บางจุดก็ยังมีปัญหาอยู่แต่..คงไม่นาน เพราะหลังจากที่เราบุกหนักๆมันก็จะเรียบร้อย...ผมอยากจะตีเอาเคียฟมาให้ได้โดยเร็วที่สุด และจะได้กลับไปมอสควาซะที..แต่ตอนนี้อะไรมันก็ล่าช้าไปหมด..
        สุขภาพผมดีขึ้นนะ..ปวดเท้านิดหน่อยในบางที อยากจะกลับไปรักษาจริงๆจังๆที่มอสควาเสียจริงๆ..
        ส่วนเรื่องอาการหูดับ ก็ยังเหมือนเดิม เสียงอู้ยังไม่หายไป  
        ยิ่งแก่ตัวลง..อาการเป็นโน่นเป็นนี่ก็ตามมาเป็นขบวน..
        หากว่าทุกอย่างเป็นไปตามคาด..ผมคงจะได้กลับไปเยี่ยมบ้านในแปดวันข้างหน้า..หมายถึงว่าถ้าได้รับอนุญาตนะ (จากสตาลิน)
        คุณบ่นมาว่าผมไม่ค่อยเขียนจดหมาย..นี่เห็นม๊ะล่ะ..พอเขียนขึ้นมาก็ต้องรีบจนตัวหนังสือหยุกหยิกอย่างนี้..

        ฝากจูบมาให้คุณและลูกๆอีกครั้ง..

        Zhorzh ของคุณ..

      

        (ความจริงแล้ว...ฮิตเล่อร์ไม่จำเป็นต้องประกาศสงครามกับอเมริกาก็ได้ เพราะในสัญญาไตรภาคีร่วมรบกับ ญี่ปุ่นและอิตาลี นั้น...มีกล่าวไว้ว่า...
        หากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง"ถูกโจมตี"...สหายร่วมรบก็จะเข้าร่วมประกาศสงครามด้วย...
        แต่ในกรณีนี้...ญี่ปุ่นไม่ใช่ฝ่ายถูกโจมตี...กลับกลายเป็นฝ่ายไปโจมตีเขาก่อน..
        ถ้าฮิตเล่อร์จะทำเฉยหรือทำทองไม่รู้ร้อนก็ได้....
        อีกทั้ง..ญี่ปุ่นไม่ได้มาปรึกษากับเยอรมันก่อนในเรื่องของการบินไปถล่มเพิร์ล ฮาร์เบอร์
         แต่ที่ฮิตเล่อร์ประกาศสงครามกับอเมริกา เพราะรู้อยู่เต็มอกแล้วว่าอเมริกานั้นสนับสนุนอังกฤษและโซเวียตอย่างไม่อั้นอยู่หลังฉาก..จะประกาศตอนนี้หรือตอนไหน มันก็ย่อมเกิดขึ้นอยู่ดี
        แต่ที่รีบชิงประกาศก่อน..เพื่อซื้อใจญี่ปุ่น (ที่สู้อุตส่าห์ดิ่งคามิกาเซ่เพื่อทำลายเรือรบของศัตรู) .....  วิวันดา


        การประกาศสงครามของฮิตเล่อร์นั้น...เท่ากับเป็นการไปติดกับดักของ ปธน. รูสเวลต์ ที่วางล่อเอาไว้..เหลือแค่คอยเวลาที่จะเป่านกหวีด..เพราะทุกอย่างเตรียมพร้อมเอาไว้แล้ว..
        ฮิตเล่อร์ประกาศสงครามกับอเมริกา เพราะเชื่อในศักยภาพของญี่ปุ่นที่เป็นเด็กในคาถา..ว่าการถล่มเพิร์ล ฮาร์เบอร์ จมเรือไปทั้งแถบนั้นอเมริกาคงจะง่อยเปลี้ยเสียขา และ น่าจะเปลี่ยนเข็มทิศหันไปจัดการกับญี่ปุ่นก่อนที่จะมายุ่งกับยุโรป

        ที่ไหนได้..เดือนมกราคม 1942 (ไม่ถึงเดือนหลังจากที่ถูกถล่มที่เพิร์ล ฮาร์เบอร์) กองทัพแยงกี้ขนาดยักษ์ได้ยกพลขึ้นบกที่เกาะอังกฤษเตรียมขึ้นเวทียุโรปกันแล้ว..

 

   (มีผู้ถามว่า....     สงสัยผมจะจำมาผิด..ว่าอเมริกาประกาศสงครามกับเยอรมันนีก่อนซะอีก

        เท่าที่จำได้สหรัฐได้ประกาศสงครามกับญี่ปุ่นหลังการโจมตีอ่างเพิร์ล แล้วก็ได้ประกาศสงครามกับเยอรมันและอิตาลี และในอีก 4 วันต่อมา ฝ่ายเยอรมันและอิตาลีจึงได้ประกาศสงครามตอบโต้

        จากคุณ     : Mikoyan
     
            
ตอบ....@ คุณ  Mikoyan

        เพราะประธานาธิบดีของอเมริกาไม่สามารถประกาศสงครามกับใครต่อใครได้ด้วยตัวเองไงคะ..
        ขนาดญี่ปุ่นเข้ามาโจมตีจนยับเยินไปทั้งเกาะ ยังต้องเอาเรื่องเข้าสภาไปถกและโหวตกันก่อนเพื่อลงมติ..ผลออกมาคือ สภาสูง 82–0 ส่วนสภาผู้แทน 388–1
        ถึงจะประกาศสงครามได้...
        กับเยอรมัน...ไม่ได้เกี่ยวอะไรด้วย..ยังไม่มีในญัตติ..นอกจากจะรอให้เยอรมันมาช่วยญี่ปุ่นและทำให้อเมริกามีการสูญเสีย ถึงจะนำเรื่องไปขยายผลไปเข้าสภาเพื่อขอมติอีก..(ไม่รู้ว่าจะอีกนานเท่าไหร่)

        แต่ฮิตเล่อร์เป็นเผด็จการ...จะประกาศสงครามกับใครที่ไหนก็ได้ ไม่ต้องรอถามสภาที่ไหน..
        เมื่อประกาศตูมออกไปว่าจะเปิดศึก แถมประกาศเผื่อเพื่อนมุสโสลินีด้วย...อเมริกาก็ไม่มีทางเลือก..
        ท่านรูสเวลต์ก็ยิ้มหวานรับ....แบบว่า...ดีจัง..ตรูไม่ต้องเสียเวลาคอยให้เมื่อย

        เมื่อเยอรมันและอิตาลีประกาศสงครามกับอเมริกาในวันที่ 11 ธันวาคม 1941
        ห่างกันในไม่กี่ชั่วโมงต่อมา..ปธน. รูสเวลต์ได้ลงนามเข้าร่วมเป็นพันธมิตรในการทำสงคราม ในวันเดียวกัน เวลา บ่ายสามโมงห้านาที.......................วิวันดา

      

        นอกจากโซเวียตจะมีกองทัพและกำลังพลจำนวนมหึมามหาศาลแล้ว..ยังต้องล่าถอยไม่เป็นขบวนให้แก่กองทัพปันเซอร์ที่บุกทะลวงเข้ามาในระยะแรกๆ  แถมยังไล่กวาดยึดพื้นที่ได้ในวงกว้างดังที่ทราบกันอยู่แล้ว..
        แต่งานรักษาพื้นที่ของเยอรมันนั้นไม่ง่ายอย่างที่คิด  เพราะ..ต้องมาเจอดับอุปสรรคที่เกิดขึ้นจากการต่อต้านของกองทัพกองโจร (Partisan Army) ทีมาในทุกรูปแบบ ไม่จำกัดวัย ไม่จำกัดเพศ แต่ละคนสามารถเชือดนาซีได้ทุกเมื่อ..

        กองทัพกองโจรนี้..ได้ก่อตัวขึ้นเมื่อตอนที่เยอรมันเข้ามาในปี  1941  ที่ยูเครน เป็นการก่อตัวขึ้นมาอย่างไม่ตั้งใจ..ทั้งๆที่ชาวบ้านเหล่านั้นไม่ได้ชื่นชอบในระบอบคอมมิวนิสต์นัก แต่เมื่อมาเจอกับความโหดร้ายของนาซีเข้า..ต่างก็เลยกลับใจมาทุ่มชีวิตปกป้องประเทศของตัวเองแทน...ทั้งๆที่ไม่ได้รับการช่วยเหลืออะไรจากกองทัพ

        ในปีต่อมา 1942 ..ทางกองทัพโซเวียตเริ่มมองเห็นความสำคัญของการทำงานในระบบใต้ดิน และ เหล่านักแม่นปืนชาวบ้าน จึงจัดให้การสนับสนุนแบบเป็นเรื่องเป็นราว...มีการตั้งศูนย์บัญชาการ และมอบหมายให้ขึ้นตรงกับแม่ทัพ Kliment Voroshilov ที่มีการจัดสร้างระบบสายงาน การฝึกฝนในการใช้อาวุธ  การต่อสู้  การโดดร่ม การใช้โค้ดวิทยุ ซึ่งนับจำนวนแล้วมีมากกว่าเจ็ดแสน  มีการส่งกระจายออกไปในทุกพิ้นที่ที่เยอรมันยึดครองอยู่  เพื่อที่จะทำงานใต้ดินอย่างเต็มความสามารถ
        แต่ละหน่วยจะมีหัวหน้าที่คอยดูแลขึ้นไปเป็นลำดับชั้น...

        ผู้นำของกองทัพกองโจร.....ที่ได้รับการสถาปนาเป็รวีรบุรุษแห่งโซเวียต คือ
        Dmitry Nikolaevich Medvedev    

 

 

        อาการหูอื้อๆดับๆของแม่ทัพซูคอฟยังไม่ได้รับการรักษาอย่างจริงจัง เพราะติดธุระเรื่อง"สงคราม" ที่ไม่มีเวลาแม่แต่จะได้พักผ่อน..จนมาถึงฤดูใบไม้ผลิของปี 1943
        ที่ถนนหนทางเริ่มจะใช้การได้ เพราะโคลนแห่งฤดู Rasputitsa  นั้นเริ่มจะแห้งและแข็งตัว
        มันหมายถึง..การปฏิบัติการรบที่จะเกิดขึ้น..ซึ่งเป็นที่มาของการวางแผนว่าจะเป็นช่วงใด
        และอย่างไร...
        แม่ทัพซูคอฟได้เขียนรายงานไปยังสตาลิน เสนอว่า..รอให้กองทัพข้าศึกกระจายกำลังเข้ามาให้หมดก่อน ..ซึ่งมั่นใจว่าจะเป็นที่เคิสค์ แล้วค่อยเก็บกวาดกันครั้งใหญ่..
        พอสตาลินได้อ่าน...จึงเปิดการประชุมกับหน่วยกลาโหม พร้อมทั้งทำการประเมินสถานะการณ์ว่า...เยอรมัน"น่าจะ"บุกเข้ามาเมื่อไหร่ และ ที่ไหนแน่?
        ฝ่ายกลาโหมทั้งหมดเห็นด้วยกับเรื่องเส้นทางว่า..จะเป็นที่เคิสค์แน่นอน..เพราะถ้าเข้ามาทางนั้น หมายถึงว่า เยอรมันจะย่นระยะทางเข้าสู่มอสควาได้กว่าสองร้อยไมล์ อีกทั้งมีฐานกองกำลังกว่ายี่สิบกองพลที่ตั้งหนุนรับอยู่แล้ว..ทั้งซ้ายและขวา
        อีกทั้ง..งานนี้เยอรมันจะต้องเอาชนะให้ได้ เพราะต้องเอาคืนที่เสียหน้ามามากโขที่ล้มเหลวในสตาลินกราด

        ดังนั้นในช่วงเดือนเมษายน การประชุมระหว่าง แม่ทัพซูคอฟ แม่ทัพวาสิเลฟสกี้  และสตาลิน จึงสรุปได้ว่า..กองทัพแดงจะตั้งอยู่ในที่มั่นเฉยๆก่อน  รอจนกว่ากองทัพเยอรมันเปิดฉากการรบ
        ซึ่งแม่ทัพซูคอฟได้เขียนไว้ว่า..
        "ในช่วงเมษายนนี้..เหล่าแม่ทัพทั้งหลายต่างได้รับคำสั่งในชั้นต้นไปแล้วว่า..ให้ใจเย็นไว้ก่อน..รอรับมืออย่างเดียว" ****


        ****ในช่วงนี้เช่นกัน ถ้าหาอ่านในหนังสือที่พิมพ์ในสมัยที่นายครุสเชฟมีอำนาจเป็นนายกฯอยู่ ประวัติศาสตร์ตรงนั้นจะเปลี่ยนไปเป้นว่า..ฝีมือการออกแบบรบในเคิสค์ ทางแนวหน้าของ Voronezh นั้นเป็นฝีมือการวางแผนของนายครุสเชฟ (อีกตามเคย)

        ต่อมา..ได้มีการแต่งตั้งให้ นายพล A.I. Antonov ให้มาดำรงตำแหน่งรองแม่ทัพ รองจากแม่ทัพวาสิเลฟสกี้ ซึงนายพลอันโตนอฟนี้..เป็นคนที่แม่ทัพซูคอฟชื่นชมในบุคลิก ที่มีส่วนละม้าย แม่ทัพชาโปชนิคอฟ และ แม่ทัพวาสิเลฟสกี้ เพราะเป็นคนที่มีหลักการในการพูดจา และสามารถอธิบายเรื่องยากให้เข้าใจได้ง่าย เพราะความที่เป็นคนฉลาด เฉียบแหลม  
        ซึ่งนั่นคือบุคลิกอันเป็นที่ชื่นชอบของสตาลินเช่นกัน
        ในขณะที่ตัวแม่ทัพวาสิเลฟสกี้ต้องไปอยู่ประจำที่ฐานแนวหน้านายๆ  
        รองแม่ทัพอันโตนอฟจึงทำการปฏิบัติงานแทนในฐานะเสนาธิการ...
        ดังนั้น..การทำแผนศึกในครั้งนี้..จึงเป็นการประสานระหว่าง...สตาลิน, แม่ทัพซูคอฟ,
        แม่ทัพวาสิเลฟสกี้  และ รองแม่ทัพ อันโตนอฟ ในแผนนามว่า Na Zapad  หมายถึง
        "สู่ตะวันตก"   คือ...

        จาก Kursk   ไปสู่    Kiev
        จาก Viazma ไปสู่    Smolensk
        จาก Minsk    ไปสู่   Warsaw



        ภาพ  รองแม่ทัพ  Aleksei Antonov    

 

        หลังจากที่วางแผนงานกันเสร็จ  แม่ทัพซูคอฟได้ไปปฏิบัติภาระกิจ ที่แนวหน้าตอนเหนือของคอเคซัสโดนมีนายพล เชเมงโก (Shtemenko) ติดตามไปด้วย..
        นายพลเชมเมงโกได้เขียนเล่าว่า..แม่ทัพซูคอฟเป็นคนที่มีดนตรีในหัวใจ ..
        ชอบเล่นแอคคอเดียน...ไม่ค่อยเป็นเพลงสักเท่าไหร่  แต่เล่นด้วยอารมณ์สนุกเลยครึกครื้นดี..
        การไปปฎิบัติภาระกิจของแม่ทัพซูคอฟในครั้งนี้ คือการไปขับไล่โจมตีเยอรมันที่อยู่ในแนว Taman Penninsular (แนวเชื่อมต่อกับไครเมีย) ให้ออกไปจากพื้นที่..
        แต่..เนื่องจากภูมิประเทศไม่เอื้อสักเท่าไหร่ เป็นได้แค่การตรึงกำลังไว้ไม่ให้ออกมาสมทบกับแนวหน้าที่กำลังจะเปิดฉาก

        จากนั้นแม่ทัพซูคอฟได้เข้าไปประจำแนวหน้าที่ส่วนกลาง คือ Voronezh (ตามแผนสู่ตะวันตก) ตามนโยบายที่วางขึ้นมาในชั้นแรก คือ ล่อให้ข้าศึกเข้าลึก และ
        เปิดการโจมตีครั้งใหม่ พร้อมกันทุกทางเมื่อจังหวะเหมาะ  ซึ่งแม่ทัพได้วางแนป้องกันด้านหลัง ห่างไปประมาณ 200-250 ไมล์ของฐานที่ Kursk  เอาไว้แล้ว
        รวมทั้งคูเพลาะที่เป็นแนวยาว ลึกเหนือหัวคน...ติดต่อกันราวกับใยแมงมุม และ แผงกั้นคอนกรีตไว้คอยรับมือ  เพราะเชื่อได้ว่า..เยอรมันจะต้องใช้กองทัพรถถังขนาดใหญ่บุกเข้ามาอย่างแน่นอน

        ฝั่งโซเวียตได้เตรียทกำลังพลเอาไว้ ล้านสามแสน...ปืนใหญ่และปืนครก ร่วมสองหมื่นกระบอก รถถัง อีกสี่พัน...ปืนกลนับไม่ถ้วน เครื่องบินอีก สองพันเจ็ดร้อยลำ
        นั่นแค่ส่วนกลาง..
        แต่ส่วนของแม่ทัพโคเนฟทางฝั่งแนวหน้าที่ Steppe  ยังมีกำลังพลกว่าครึ่งแสน และรถถังอีกพันห้า รอเอาไว้เป็นกองหนุน

 
        ในการเตรียมสงครามที่เคิสค์ นี้...โซเวียตได้ใช้กลลวงเข้ามาเสริมในทุกรูปแบบ เพื่อเป็นการเบี่ยงเบนให้ข้าศึกไม่รู้ว่าจะมาทางไหน  ทั้งล่อ ลับ ลวง พราง มีการใช้หมดทุกขบวน
        การเคลื่อนกำลังพล..จะทำในเวลากลางคืน..การออกข่าววิทยุล้วนแล้วแต่เรื่องไม่จริง..

        ดังนั้น..ทางการข่าวของเยอรมันจึงได้แต่ข่าวที่ไม่ค่อยแน่นอนถึงจำนวนพล และ ปริมาตรอัตราความเข้มแข็งของกองทัพ จนค่อนข้างเชื่อได้ว่า กองทัพโซเวียตยังไม่พร้อมต่อการบุก  
        แต่ข่าวที่ทางกองทัพโซเวียตที่ได้มานั้น ค่อนข้างแน่นอน..จากเหล่านักรบกองโจร เพราะกลุ่มนี้คอยตั้งกำลังสกัด และทำลายขบวนคาราวานของนาซีตามแนวทางอย่างต่อเนื่อง
        งานของแม่ทัพซูคอฟในการเตรียมการใหญ่นี้..คือ แก้ไขในทุกปัญหาที่จะพึงมี พึงเกิด และรายงานไปทางสตาลินให้ทราบในทุกขั้นตอน
        แม่ทัพโรโคซอฟสกี้ ได้เขียนบันทึกไว้ว่า..
        "แม่ทัพซูคอฟ ใช้เวลาในการเตรียมการที่ศูนย์ทั้งวันทั้งคืน และต้องขอขอบคุณท่านที่
        ช่วยประสานกับทางมอสความ(สตาลิน) ให้งานของพวกเราง่ายเข้า"  
        ส่วนคนขับรถส่วนตัว นาย Buchin  ได้บันทึกไว้เช่นกันว่า..
        "วันแล้ววันเล่า อาทิตย์แล้วอาทิตย์เล่า..ท่านแม่ทัพเดินทางไปสำรวจพื้นที่ที่เคิสค์
        แบบละเอียดละออ..ท่านเตรียมการแบบไม่ให้มีช่องรอด ทั้งสกัดกั้น และ จู่โจม"

        ทางโซเวียตก็มีสายลับในหมู่กองทัพนาซีและที่อังกฤษเช่นกัน  สายลับโซเวียต
        ได้ถอดรหัสของทางฝั่งเยอรมันได้...ว่า..เข้าโจมตีแน่ๆ แต่เวลาและวันที่นั้น..ไม่ได้แจ้งมาในรายงาน
        ดังนั้น..ทุกคนจึงหมายมั่นว่า จะเป็นในเดือน พฤษภาคม หรือ มิถุนายน อย่างแน่ๆ..
        แต่..มันก็ยังเงียบเชียบ..ไม่มีอะไรเกิดขึ้น..
        เหล่านายทหารเลือดร้อนทั้งหลาย..แทบจะรอไม่ได้ เสนอว่า..เข้าบุกมันเลย
        โดยเฉพาะนายพล Vatutin  ที่ดูแลหน่วยหนึ่งในส่วนกลาง แนวหน้า โวโรเนซ ได้บ่นกับแม่ทัพวาสิเลฟสกี้ว่า  
        "ขืนรอกว่าถั่วจะสุก..งาก็ไหม้พอดี...เพราะถ้ามันไม่มาตอนนี้ แต่ดันมาตอนฤดูใบไม้ร่วงแผนของเราก็เสียหมด  ตอนนี้เรามีกำลังพออย่างเหลือเฟือ เอามันเลยดีกว่า.."

        สตาลินและฝ่ายกลาโหมต้องช่วยกันปลอบให้ใจร่มๆกันก่อน..

        ในที่สุด...เสียงหวูดแห่งสงครามได้ดังขึ้นจริงๆในวันที่ 2 กรกฏาคม ให้ทุกฝ่ายเตรียมตัวให้พร้อม เพราะเยอรมันได้เคลื่อนทัพออกมาแล้ว
        จะถึงไม่เกินภายในวันที่ 6 แน่นอน..

        แผนโจมตีโซเวียตของเยอรมัน ในนามว่า Operation Citadel ได้เปิดฉากขึ้นในวันที่
        4-5 ที่เยอรมันได้เตรียมตัวมาแบบตีกรอบสองชั้น..โดยรวมกันจากทัพกลาง และทัพจากทางใต้ และเข้ามาทาง Kursk จริงตามที่คาดการณ์กันเอาไว้...


        เรื่อง The Pianist นั่น นั่งดูไปขนลุกขนพองตามไปด้วย เพราะเข้าใจในความรู้สึกของผู้สร้างในทุกดีเทล...
        นายโรมัน โปลันสกี้ สร้างมาได้แบบที่ถอดออกมาจากที่อ่านในหนังสือเกือบหมดทุกบรรทัด  
        เขาสร้างภาพยนตร์เรื่องนี้มาจากส่วนหนึ่งของชีวิตจริง
        เขาเป็นยิวเกิดที่ฝรั่งเศส  ครอบครัวพาย้ายกลับไปอยู่ที่โปแลนด์ เมื่ออายุได้เพียงสามขวบ ในปี 1936  พอเจ็ดขวบ นาซีบุกโปแลนด์  พ่อถูกส่งไปเป็นทาสแรงงานในค่ายนรก
        แม่ถูกส่งเข้าห้องรมแก๊สทั้งๆที่มีครรภ์สี่เดือน...เขารอด เพราะพ่อจับยัดลอดช่องทางกำแพง ออกไปอาศัยอยู่กับครอบครัวผู้อารีที่ไม่ใช่ชาวยิว..
        จากนั้นก็ตีนถีบปากกัดมาเรื่อยมา..เรียกว่าแทบจะเป็นเด็กข้างถนนก็ว่าได้
        จนประสบช่องทางหากินในด้านภาพยนตร์...


        ดังที่โซเวียตคาดการณ์ไว้เช่นกันว่า ฮิตเล่อร์จะต้องมาในรูปของทัพใหญ่ เพราะคราวนี้เทกันหมดหน้าตัก ทัพของนาซีมาด้วย สิบแปดกองพลกำลังพล  สิบเจ็ดกองพลรถถัง ที่มีรถถังรุ่นใหม่หมาดๆออกมาด้วย นั่นคือ รุ่น Tiger และ Panther ที่มีปืนที่ทรงอานุภาพมากกว่าของโซเวียตทุกรุ่น

        แม่ทัพซูคอฟได้ออกไปบัญชาการอยู่ที่แนวหน้าส่วนกลางเชื่อมแนวตะวันตก (Briansk)  ที่จะทำการบัญชาการรบในแนวที่เชื่อว่า จะเป็นจุดปะทะแตกหัก โดยมีแม่ทัพโรโคซอฟสกี้ทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยอยู่ข้างๆ
        แม่ทัพวาสิเลฟสกี้ ตั้งมั่นอยู่ที่แนว Voronezh

        กองทัพเยอรมันมุ่งหน้ามาด้วยความเร็ว ไม่ได้ระวังระไวเลยว่า จะต้องมาเจอกับอะไรที่คอยรับอยู่...
        แม่ทัพซูคอฟได้รอเวลาเหมาะ จึงส่งสัญญาณเปิดฉากการรบที่เป็นการจารึกแห่งประวัติศาสตร์ของสงครามรถถัง.. นั่นคือ การต้อนรับเหล่านาซีด้วย
        เสียงดนตรี หรือ ที่เรียกว่า The Symphony from Hell ที่เป็น
        เสียงจากระเบิดของ M-31 และ จาก Katyushas ( rocket launcher) รวมไปถึงฝูงบินของโซเวียตที่โผออกสู่น่านฟ้าจนดำมืดไปหมด
        ภาพที่ปรากฏข้างหน้าคงแทบไม่ต้องเดากันเลยว่า...เป็นความพินาศขนาด
        ใหญ่หลวง ทัพของเยอรมันไปไหนไม่ได้ไกล เมื่อมาเจอกับการรับแขกที่
        คาดไม่ถึง
        รถถังที่ทรงอานุภาพของเยอรมันไม่ว่าจะเป็นรุ่นไหนเมื่อเร่งสปีดมาเจอกับหลุมดักที่เป็นแนวยาวแบบไม่ได้ระวังตัว  หน้าจะทิ่มลง ส่วนท้ายจะยกขึ้น
        หมดทางที่จะถอยหลังกลับไปไหนได้ จะติดแหงกอยู่อย่างนั้น
        ซึ่ง..โซเวียตได้ส่งปืนใหญ่ไปช่วยให้กลายเป็นชิ้นส่วนเล็กๆ ลอยกระจายในอากาศ นอกเหนือจากนั้น..ยังมีกับดักระเบิดรถถังที่วางรอไว้อีกจำนวนกว่าสี่หมื่นชิ้น
        หรือที่ข้ามคูเพลาะไปได้...ทหารโซเวียตที่เตรียมตัวอยู่ในร่องคูก็จะทำการแปะระเบิดไว้ให้ใต้ท้องรถถัง

        นี่คือเหตุผลที่แม่ทัพซูคอฟได้บอกให้ทุกคนร้องเพลง"รอ"

        หากแต่..ในระยะชั่วโมงแรกๆของการปะทะ..แม่ทัพซูคอฟเริ่มมองเห็นอานุภาพของปืนใหญ่ที่ติดมาบนรถถังขนาด 64 ตัน ที่เรียกว่า Tiger นั้นใช้ปืนขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 110 mm  (ที่จัดว่าเหนือกว่าโซเวียต)
        มีระยะยิงได้ไกลถึงสองกิโลเมตร
        แต่ส่วนเสียของรถถังรุ่นไฮเทคนี้..คือมีการใช้งานที่ค่อนข้างเปราะ และ
        เสียจังหวะในการเคลื่อนตัว..ต้องหยุดซ่อมบ่อยๆ
        อีกทั้งจะต้องมีทีมทหารช่างเครื่องที่ต้องคอยจี้ตาประกบติด ผิดกับ T-34 ของโซเวียตที่เล็กกว่าก็จริง แต่ทนทาน ซ่อมได้ง่ายไม่ต้องมีช่างคอยตาม พวกพลขับซ่อมกันเองได้


        Tiger Tank    

     
        มาถึง...ไคลแมกซ์ของสงครามครั้งนี้..คือการปะทะที่ Prokhorovka ในวันที่ 12 กรกฏาคม ที่กองทัพรถถังที่ห้าของโซเวียต ภายใต้การนำของนายพล P.A.Rotmistrov ที่เจอกับสองหน่วยปันเซอร์แบบบังเอิญพอดี
        การพันตูจึงเกิดขึ้นแบบระยะเผาขนของรถถังทั้งสองฝ่ายที่รวมกันแล้วร่วมพันคัน...ต่อให้เป็นรถถังรุ่น Tiger หรือ Panther ก็ตาม
        แม่ทัพซูคอฟไม่รอให้มีการแลกหมัดกันด้วยระยะปืน (เพราะรู้แล้วว่าเป็นรองในเรื่องของระยะการยิงเนื่องจากเยอรมันได้เพิ่มขนาดมา)
        จึงสั่งให้ใช้ T-34 ที่มีการสร้างเปลือกหุ้มมาหนาและมีความลาด
        (กระสุนปืนโดนแล้วจะเด้งออกมา)....ให้เข้าชาร์จปะทะแบบเผาขน หรือ พุ่งเข้าชนให้ยับไป
        (เพราะมีในสต๊อคอีกเยอะ)
        งานนี้แม้แต่ฝูงบินของสองฝ่ายก็ต้องถอยกลับออกไป เพราะปะทะกันฝุ่นตลบ ควันโขมง ไม่รู้ว่าฝ่ายไหนเป็นฝ่ายไหน เดี๋ยวจะกลายเป็นบอมบ์พวกเดียวกันเอง..เหลือไว้แต่การดวลของรถถังแบบล้วนๆ
        การไล่บี้กันเป็นไปอย่างเต็มสตีมทั้งวัน..จนค่ำมืด...จึงซาไป..
        รอวันใหม่ที่จะมาลุยกันต่อ..

 

        แต่..วันใหม่นั้น..ทุกอย่างสงบ...เพราะฮิตเล่อร์สั่งชลอ ทันทีที่ได้รับรายงานถึงผลของความเสียหายขนาดหนักในช่วงของการปะทะแค่วันเดียว

        อีกทั้ง ข่าวร้ายตามมาติดๆ...ที่ฮิตเล่อร์ได้รับโทรเลขในกลางดึกโดยการเข้าไปปลุกถึงในห้องนอนโดยเลขาส่วนตัว...ที่เขาอ่านแล้วถึงกับมือตก โทรเลขฉบับนั้นร่วงสู่พื้น ก่อนที่เขาจะทรุดตัวลงนั่งยกมือขึ้นกุมขมับอย่างสิ้นหวัง
        ใจความว่า...
        "กองทัพฝ่ายสัมพันธมิตร อเมริกา อังกฤษ ออสเตรเลีย แคนาดา และ นิวซีแลนด์ ได้บุกขึ้นที่ตอนใต้ของอิตาลีแล้ว..."

        สิ่งแรกที่ฮิตเล่อร์ทำ..นั่นคือการถอนกำลังพลส่วนใหญ่ออกจากโซเวียตเพราะเห็นว่าอยู่ไปก็รังแต่จะเสียเวลาและเสียหายมากขึ้น..
        ซึ่งการระงับศึกด่วนของฮิตเลอร์นี้...เป็นที่ขัดใจของแม่ทัพ Erich von Manstien*** อย่างที่สุด เพราะในเชิงการรบชิงดำระหว่างสองแม่ทัพ คือ
        เขาและ แม่ทัพซูคอฟ ที่ยังไม่รู้แพ้รู้ชนะ แต่มาถูกสั่งให้ถอย..
        มันก็เหมือนกับเป็นการแพ้ที่ไม่มีศักดิ์ศรีเหลืออยู่เลย
        (*** แม่ทัพ ฟอน มันสไตนน์ ได้เขียนหนังสือถึงเรื่องสงครามกับโซเวียตในช่วงนี้ในชื่อว่า...Verlorene Siege แปลว่า..Lost Victory  ท่านได้เขียนบรรยายไว้ถึงว่า...ถ้าฮิตเลอ่ร์ไม่เข้ามาแทรกแซงบริหารเรื่องสงครามอย่างที่เป็นอยู่ ผลของสงครามจะออกมาในรูปที่ตรงกันข้าม)

        แม่ทัพซูคอฟได้ออกไปยังพื้นที่ที่เป็นสมรภูมิรบ ได้บันทึกไว้ว่า..
        "ช่างเป็นภาพที่เลวร้าย ที่ต้องมาเห็นซากรถถัง รถบรรทุก อาวุธ ชิ้นส่วนมนุษย์ที่ถูกเผาดำเป็นถ่าน ทั้งบริเวณที่เคยเป็นทุ่งทานตะวันที่สวยงามและกว้างใหญ่นั้น บัดนี้ไม่มีสีเขียวให้เห็น แม้แต่ต้นหญ้าสักต้นเดียวก็ไม่รอด...ควันไฟยังไม่ขาดสาย.."
        ท่านแม่ทัพเดินตรวจตราเหล่าบรรดาซากรถถังอย่างพินิจพิเคราะห์
        และได้เปิดหมวกแสดงความคารวะให้กับเหล่าพลรถถังที่ได้สละชีวิตรักษาไว้ซึ่งมาตุภูมิด้วยความกล้าหาญ


        อนุสรณ์สถานที่ Prokhorovka ในปัจจุบัน  

            
   ข้างๆ        
         


        ยุทธภูมิที่เคิสค์นี้...เป็นการโยนเต๋าชุดสุดท้ายของฮิตเล่อร์ในการที่คิดจะยึดโซเวียต..
        ซึ่ง..โอกาสนี้ได้หลุดลอยไปแล้ว...
        เพราะถึงแม้ว่าโซเวียตจะนับศพทหารได้ หนึ่งหมื่นหนึ่งพันนาย รถถังพังไปอีกแปดร้อยคัน..มากกว่าฝ่ายเยอรมันที่เสียรถถังไปจำนวนเกือบห้าร้อย
        เสียกำลังพลไปอีกเกือบห้าพันนาย...
        แต่โซเวียตยังมีเหลืออยู่ในสต๊อคอีกมาก ทั้งอาวุธและกำลังพล
        ฝ่ายเยอรมัน...แทบหมดตัว...

        หลังจากนี้ไป...ฮิตเล่อร์รู้ดีว่าจะต้องรอรับแขกบ้านแขกเมืองบ้าง..
        จึงต้องหันกลับไปเป็นฝ่ายรวบรวมกำลังเพื่อเตรียมตัวรอ...
        นี่คือเหตุผลหนึ่งที่ทางฝ่ายโซเวียตได้มีการเตรียมการไว้ล่วงหน้าเช่นกัน
        คือ นั่นคือ การขยายผลของแผนสู่ตะวันตก ที่ก่อนอื่นใดจะต้องกวาดล้างกองทัพนาซีให้ออกไปจากแผ่นดินให้หมดซึ่งนั่นหมายถึงการต้องเข้ากระจายกำลังไปแทบในทุกจุดบนพื้นที่อันกว้างใหญ่ไพศาล
        นับว่าไม่ใช่เรื่องง่าย..อีกทั้งเสี่ยงต่อการถูกซุ่มโจมตี
        ทางฝ่ายแม่ทัพทั้งหลาย รวมทั้งสตาลิน ได้ดำริแผนการกวาดล้างขึ้นมา..ดังนี้...
        แผน Kutuzov  เข้าจัดการที่ Briansk ,Orel และ Central Front
        แผน Rumiantsev เข้าจัดการที่ Voronezh, Steppe และต่อไปทางใต้
        แผน Suvorov  เข้าไปจัดการที่ Smolensk

        แผนทั้งหมดนี้...การเข้าบุกเอาคืนในทุกพื้นที่ที่เยอรมันได้เหยียบย่างเข้ามาเมื่อสองปีที่แล้ว..
        ซึ่งนับว่าเป็นง่ายมาก เหมือนกับเป็นการพาทหารไปออกกำลัง เพราะเยอรมันได้สู้ไปถอยไป..อย่างไม่ค่อยเป็นระเบียบนัก
        หากแต่ในช่วงนี้..คือช่วงการไล่ข้าศึกที่ยูเครน..ที่แม่ทัพซูคอฟต้องการที่จะเอาคืนเพราะในแถบนี้คือพื้นที่ที่ถูกกระทำอย่างชอกช้ำโดยทหารนาซี
        จะไล่ให้ถอยออกไปง่ายๆ ก็จะกลายเป็นการไปสะสมกำลังพลไว้เป็นเสี้ยนหนามต่อไปในข้างหน้า..
        แม่ทัพถึงเสนอต่อสตาลินว่า..อยากจะเข้าทำศึกใหญ่อีกครั้ง โดยทำการปิดล้อมอย่างที่สตาลินกราด แล้วจัดการกับกองทัพเยอรมันขนาดใหญ่ที่เหลือให้หมดจด รวมทั้งการยึดเอาอาวุธจำนวนมหาศาลนั้นไว้เป็นการตัดกำลังไปด้วย...
        สตาลินไม่เห็นด้วย เพราะมองว่า..การทำศึกใหญ่อีกอาจจะมีอ้ตราเสี่ยง ในกรณีที่ปิดล้อมไม่สำเร็จ (อย่างที่เคยเกิดมาก่อน)
        ซึ่งแม่ทัพไม่ค่อยพอใจนัก แต่ก็ต้องรับทราบและถือปฏิบัติ
        ฉะนั้น..จึงทำได้แค่จับมือกับแม่ทัพโรโคซอฟสกี้ ต้อนกองทัพเยอรมันให้มา
        อยู่ในแนวชายแดนที่เคียฟ ซึ่งกว่าจะมาถึงตรงนี้กันได้นั้น นับว่าเป็นความลำบากยิ่ง เนื่องจากพื้นที่การรบนั้นเอื้อให้กับข้าศึก จึงขอกำลังพลร่มมาเสริม อีกทั้งกำลังพลและรถถัง..
        ซึ่งสตาลินไม่ค่อยพอใจนัก เพราะตัวเองใจร้อน..เลยเห็นว่าการทำงาน
        ขับไล่นี้ ช้าไปกว่าปรกติ...
        ในตอนนั้น..นายครุสเชฟได้มาดำรงตำแหน่งเป็นประธานสภาแดงอยู่ที่ยูเครน ที่ควบคุมดูแลเคียฟอยู่ด้วย ครุสเชฟจึงรีบเสนอสตาลินว่า..
        งานไล่ตีเยอรมันที่เคียฟ..ควรจะเป็นหน้าที่ของแม่ทัพ Vatutin (เกลอกัน)
        เพราะแม่ทัพวาตูตินดูและแนวหน้าฝั่งนี้อยู่..
        ซึ่งสตาลินได้อนุญาตตามนั้น...
        เลยกลายเป็นว่า..นายครุสเชฟและแม่ทัพวาตูตินเป็นฮีโร่ในการขับไล่ข้าศึกให้พ้นไปจากเขตเคียฟไปซะงั้น...



        แต่...งานใหญ่ที่รออยู่ข้างหน้ายังมีอีกมาก...เพราะขึ้นชื่อว่าเยอรมันที่มีแม่ทัพระดับมันสมองชั้นเลิศ...จะหมดพิษสงง่ายๆได้อย่างไรกัน


        

        T-34 ของโซเวียต   

            
         
         

 

        สภาพของเมืองเคียฟที่ได้กลับคืนมา..ก็ไม่ต่างอะไรกับ Kharkov เพราะมันคือกองเศษอิฐ หิน ดิน ทรายดีๆนี่เอง..นอกเมืองออกไปคือทุ่ง Babi Yar ที่นาซีได้สังหารชาวยิวกว่าสามหมื่นคน เพราะโทษฐานที่ทหารนาซีไปโดนเอากับดักระเบิดที่กองทัพโซเวียตวางเอาไว้..ตอนที่ต้องถอยออกจากเมืองในเดือนกันยายน 1941
        แต่ประชาชนที่ไม่รู้อิโหน่อิเหน่ต้องมารับกรรม

        จากเคียฟ...กองทัพโซเวียตเตรียมพร้อมที่จะเข้าสู่ยูเครน ซึ่งภายในปลายปี ลุ่มแม่น้ำ Dnepr ตลอดแนวตะวันตกได้กลายเป็นพื้นที่ปลอดนาซีไปได้อย่างเรียบร้อย..

        ในเดือนธันวาคม แม่ทัพซูคอฟได้ถูกเรียกตัวเข้าไปประชุมที่มอสควากับสตาลินและกลาโหม เข้าไปรับฟังนโยบายถึงเรื่องที่สตาลินเพิ่งกลับมาจากการประชุม Tehran Conference กับผู้นำกลุ่มสัมพันธมิตร คือ นายกรัฐมนตรีอังกฤษ นายวินสตัน เชอร์ชิลล์ ประธานาธิบดีแห่งสหรัฐอเมริกา นายแฟรงคลิน รูสเวลต์ ที่อิหร่าน..มาหมาดๆ..

        ซึ่งได้มีเรื่องที่น่าหวาดเสียวที่ต้องนำมาเล่าสู่กันฟัง..
        เพราะทางเยอรมันได้ทราบเรื่องการพบปะของสามยักษ์ใหญ่นี่เช่นกัน..แผนการลอบสังหารจึงได้เกิดขึ้น..ในโค้ดที่ชื่อว่า..Operation Long Jump


        โดยผู้ที่วางแผนคือหัวหน้า หน่วย SS Otto Skorzeny (ฉายาว่า The most dangerous man in Europe เพราะเคยใช้เพียงเครื่องร่อนลงไปช่วยมุสโสลินีให้ออกจากคุกได้ ดิฉันเคยเล่าเรื่องของเขาแล้วในชุดของฮิตเล่อร์)
        แต่สายลับของโซเวียตได้แกะรอยได้ก่อน จึงทำการไม่สำเร็จ
        เรื่องมีอยู่ว่า..สายลับของโซเวียตคนหนึ่ง คือ Nikolai Kuznetsov แฝงตัวทำงานอยู่ในหน่วยลุฟท์วัฟฟ์ โดยใช้ชื่อว่า..Paul Siebert
        ได้ไปดื่มเหล้ากับเพื่อนในหน่วย SS นามว่า von Ortel ซึ่งนายนี่พอเหล้าเข้าปากไปก็เริ่มคุยเรื่องลับที่เกี่ยวเนื่องกับการสังหารผู้นำในเตห์ราน
        ข่าวจึงถูกส่งไปยังหน่วย NKVD (KGB ในปัจจุบัน) ที่ได้รีบติดต่อไปยังหน่วยสายสืบที่ทำงานในอิหร่าน นั่นคือ Gevork Vartanian ที่มีอายุเพียงสิบเก้าปี
        บิดาของเขาก็คือสายลับโซเวียตเช่นกัน แต่ทำมาค้าขายในอิหร่านขั้นระดับเศรษฐี  เมื่อหน้าที่ได้ส่งไปให้กับ
        วาร์ตาเนียน ซึ่งได้ติดตามการเคลื่อนไหวของหน่วยพลร่มสื่อสารของนาซีหกคนที่เพิ่งมาถึงเตห์ราน เพื่อวางระบบวิทยุลับติดต่อกับเบอร์ลิน..โดยที่ไม่รู้ตัวเลยว่า ระบบวิทยุนั้นได้ถูกดักโดย NKVD ไว้หมดแล้ว
        การถอดโค้ด..ได้ใจความว่า กลุ่มพลร่มชุดที่สองจะนำโดย สกอร์เซนี จะมาถึงอิหร่านในกลางเดือนตุลาคม เพื่อปฏิบัติการสังหารหมู่ผู้นำ..
        แต่ภายในเดือนตุลาคมนั้น..ทางเบอร์ลินได้รับข่าวจากเตห์รานว่า..แผนนั้นไม่ได้เป็นความลับอีกแล้ว..เพราะเหล่าสายลับทั้งหลายได้ถูกจับกุมไปเรียบร้อย

        แต่พอสตาลินไปเล่าให้เชอร์ชิลล์และ รูสเวลต์ฟัง...พวกหน่วยสายลับทั้งของอังกฤษและอเมริกาต่างไม่มีใครเชื่อ..ต่างหาว่าเป็นการกุข่าว สร้างกระแสฮีโร่ของโซเวียต
        (แน่นอนว่า..ทุกคนย่อมต้องไม่เชื่อ..เพราะมันจะกลายเป็นหน่วยใต้ดินของตัวเองไปหลับกันอยู่ที่ไหน...ถึงไม่รู้เรื่อง)

        แต่...Gevork Vartanian ได้รับเหรียญกล้าหาญและการสดุดีว่าเป็นวีรบุรุษของโซเวียต ในปี 1984 จากการทำงานในครั้งนั้น...


        จากการประชุมที่เตห์ราน จุดใหญ่ใจความที่สำคัญคือ..ฝ่ายสัมพันธมิตรจะบุกขึ้นฝั่ง
        มาแซนวิชเยอรมันกับโซเวียตได้เมื่อไหร่..เพราะสตาลินนั้นพกไว้แต่ความใจร้อน
        ต้องการให้วันนั้นมาถึงเร็วๆ...

        ทั้งเชอร์ชิลล์และรูสเวลต์ ต่างบอกได้แค่ว่า..น่าจะเป็นช่วงฤดูร้อนแน่ๆ (1944)..แต่ไม่แน่ใจว่าจะเป็นวันใด เวลาใด หากแต่เป็นสัญญามั่นเหมาะที่ทำให้สตาลินสบายใจได้
        จึงได้กลับมาเรียกประชุมเหล่าแม่ทัพ บอกให้ทราบถึงแผนการเตรียมทัพใหญ่..
        หมายบุกขยี้นาซีให้ถึงรังในเบอร์ลิน..

        ในช่วงปลายปี 1943 นั้น..โซเวียตได้ชิงดินแดนกลับคืนมากว่าครึ่งแล้ว..
        เพราะจากสงครามสตาลินกราด เยอรมันได้เสียหายไปมากมาย..มาผนวกกับที่เคิสค์อีก..
        แทบไม่มีแรงที่จะมาหาญบุกโซเวียตที่ไหนอีก..

        แต่..ภายนอกขอบขัณฑสีมา...จากการประเมินแล้ว..เยอรมันและกลุ่มอักษะยังมีกำลังพลอีกรวมกันอีกประมาณ กว่าล้าน อาวุธปืนใหญ่อีก ห้าหมื่นเศษ ปืนครกอีกหกพัน เครื่องบินอีกกว่าสามพัน
        ซึ่ง..ไม่ใช่ตัวเลขที่น่าตกใจ เพราะโซเวียตมีกำลังพลมากกว่านั้นเกือบสองเท่าตัว.. โดยเฉพาะ อาวุธทั้งปืน รถถัง และ เครื่องบิน มีมากกว่าร่วมสามเท่าตัว (เพราะอเมริกาส่งมาช่วย)

        ในช่วงปลายปี ต่อต้นปีนั้น..เหล่าแม่ทัพ ทั้ง ซูคอฟ, โคเนฟ และ วาตูติน ต้องไปเปิดฉากไล่เยอรมันให้ออกไปให้พ้นเคียฟและยูเครนให้หมด..เป็นการบีบเข้าหากันทั้งสองข้าง ข้างหน้าจากจากกองทัพโซเวียต
        ข้างหลัง...จากการตลบหลังของกลุ่มกองทัพกองโจรที่ดักรออยู่ที่ชายแดนยูเครน..

        ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์นั้นเอง..ที่แม่ทัพวาตูติน**ได้ถูกซุ่มทำร้ายโดยกลุ่มต่อต้านคอมมิสนิสต์ จนเสียชีวิตในไม่กี่วันต่อมา..



        ** ในหนังสือบางเล่มได้เขียนว่า เป็นการประทะกับกลุ่มเยอรมันที่สู้อย่างสุนัขจนตรอก และทางฝ่ายแม่ทัพเกิดพลาดท่าโดนยิงเข้า...


        ในที่สุด..มาถึงเดือนเมษายน 1944 ที่เหล่าแม่ทัพทั้งหลายภายใต้การนำของจอมพลซูคอฟ..ได้กลาดต้อนไล่นาซีออกไปจากยูเครนได้จนหมด..
        นับว่าเป็นชัยชนะที่สตาลินถึงกับสั่งยิงสลุตคารวะต่อทหารหาญในกรุงมอสควาเป็นครั้งที่สอง..
        ครั้งแรกคือ..ชัยชนะในสตาลินกราด..
        วิทยุในกรุงลอนดอนได้ออกอากาศทั้งวันว่า..ชัยชนะของกองทัพโซเวียตในยูเครนนั้น
        คือลางสังหรณ์ต่อหายนะที่กำลังจะเกิดต่อเยอรมันในไม่ช้านี้..

        ซึ่งการทำนายนั้นไม่ได้ผิดไปจากความเป้นจริง..เพราะทั้งสตาลินและแม่ทัพซูคอฟ..
        ได้กำลังวางแผนงานการบุกตะวันออก ในนามว่า Operation Bagration
        (มาจากชื่อของวีรบุรุษชาวจอร์เจียนเมื่อครั้งทำสงครามนโปเลียน)

        แผนโจมตีหมายถึง การเข้าทำลายกองทัพเยอรมันที่มีฐานอยู่ที่เบโลรุสเซีย
        ซึ่งรองแม่ทัพที่จะเข้ามารับแบ่งสายทัพออกไปคือ แม่ทัพ Shtemenko แม่ทัพ  Rokossovsky  แม่ทัพ Vasilevsky  และแม่ทัพ Antonov
        ซึ่งตามแผนของแม่ทัพซูคอฟ..คือการเข้าปิดล้อม ทำลายกองทัพใหญ่ของเยอรมันที่เบโลรุสเซีย  
        จากนั้น...ให้
        ทัพ Belorussian 1st .... เคลื่อนพลไปสู่ Baronnovichi , Brest และมุ่งหน้าสู่ Warsaw
        ทัพ Belorussian 2nd....  มุ่งหน้าสู่ Minsk
        ทัพ Belorussian 3rd...  ไปที่ Vilnius  เมืองหลวงของลิธัวเนีย ซึ่งทัพยูเครเนี่ยนที่หนึ่ง ของแม่ทัพโคเนฟจะคอยช่วยเสริมให้ทางฝั่งบอลติค ( โยกย้ายได้จากแนวหน้าที่เลนินกราด)  
        โดยจะเริ่มทางฝั่งฟินแลนด์ ในเดือนมิถุนายน..

        ทั้งสี่แนวทัพหน้านี้..รวมกำลังพลได้ สองล้านสี่...รถถัง ห้าพันสอง ปืนใหญ่ สามหมื่นหก เครื่องบิน ห้าพันห้า  ซึ่งเท่ากับว่า..ด้านอาวุธยุทโธปกรณ์มากกว่าเยอรมันสองถึงสามเท่าตัว..

 

        งานของแม่ทัพซูคอฟในยุทธการเบเกรชั่นนี้..คือ ผู้บัญชาการของสองทัพ คือ ทัพเบโลรัสเซึ่ยนหนึ่งและสอง
        ที่ท่านได้มอบหมายให้แม่ทัพเชเมงโกรับทัพเบอร์สองไปดูแล เพราะแม่ทัพซูคอฟต้องการที่จะดูแลทัพที่หนึ่งให้เต็มที่ เนื่องจากท่านเคยประจำการที่เขตที่หนึ่งนั้นมานานกว่าหกปี จนรู้จักพื้นที่ทั่วทุกตารางนิ้ว
        เพื่อการวางแผนการในเครือข่ายของการส่งกำลังบำรุง ไม่ว่าจะเป็นอาหาร..น้ำมัน..ยุทโธปกรณ์ จะต้องเป็นไปโดยสะดวก รวดเร็ว และปลอดภัย

        ในขณะเดียวกัน..นี่คือเวลาที่เหล่าแม่ทัพและทหารภายใต้บังคับบัญชา เริ่มหายใจสะดวกขึ้น..และเริ่มมีเวลาหหันหน้าเข้าหากัน พูดจากันภาษาดอกไม้บ้าง..แม่ทัพซูคอฟได้บันทึกไว้ว่า
        "ตอนนี้่เราเริ่มมีสัมพันธภาพที่ดีในระหว่างหมู่เหล่าทัพ ทุกคนเริ่มมีใจและตื่นเต้นต่อความรับผิดชอบในงานใหม่นี่อย่างเห็นได้ชัด หลังจากที่เราได่ร่วมใจ ร่วมมือกันขจัดเสี้ยนหนามออกไปจากแผ่นดินจนหมด.."

        ในยามว่าง...แม่ทัพซูคอฟได้พาทหารออกไปล่าสัตว์อันเป้นสิ่งที่ท่านมีความชำนาญเก่าก่อน
        ทหารบางคนก็ไม่ถนัดนักในเรื่องของการล่า..แต่แม่ทัพก็เอาตัวออกไปด้วยจนได้  เมื่อมีคนถามว่า
        "แล้วจะเอาไปทำไม..ล่าอะไรก็ไม่เป็น"  
        ท่านตอบว่า..
        "เอาไป..เพื่อให้รู้ว่า..ในพื้นที่ของเรานั้น..เป็นเขตปลอดศัตรูแบบร้อยเปอร์เซ็นต์น่ะซิ..จะทำอะไรก็ได้ ไม่ต้องระวังหน้าระวังหลัง"

        แต่มีทหารคนหนึ่ง คือ นายพล B.I. Batov ได้เขียนเล่าว่า..(ตีพิมพ์ในปี 1962)
        เขาได้ถูกแม่ทัพได้สั่งให้ปีนไปบนต้นไม้เพื่อสังเกตุการณ์ข้าศึก..และพลาดตกลงมา..รู้สึกตัวอีกทีว่าถูกแม่ทัพซูคอฟมายืนด่าแบบกราดเกรี้ยว ว่าแค่ปีนต้นไม้ยังปืนไม่ได้ แล้วจะมาคุมทัพได้อย่างไร..ว่าแล้วก็สั่งย้ายเขาไปหน่วยอื่น..

        แต่..มีผู้สังเกตว่า..การเขียนนั้น เป็นไปเมื่อสมัยนายครุสเชฟกำลังเรืองอำนาจ ข้อความทั้งหมดที่เกี่ยวกับแม่ทัพซูคอฟจึงเป็นไปในด้านลบเหมือนๆกันหมด

        ซึ่งเรื่องของการอิจฉาริษยาในระหว่างกองทัพ ในหมู่ทหารวงในของสตาลินนั้น..เป็นเรื่องปรกติ เพราะแต่ละคนย่อมมีอีโก้ด้วยกันทั้งนั้น
        อย่างแม่ทัพโคเนฟ..ซึ่งรอจังหวะ"งับ" แม่ทัพซูคอฟทุกเมื่อ..แต่ในงานก็ย่อมเป็นงาน..(รอให้สงครามจบก่อนละกัน)
        แต่..มีคนชัง..ก็ย่อมมีคนรัก  อย่าง แม่ทัพวาสิเลฟสกี้ ที่พร้อมจะออกโรงปกป้องแม่ทัพซูคอฟได้ทุกเมื่อเช่นกัน


        ยุทธการเบเกรชั่น ได้เปิดฉากเริ่มจากกองทัพกองโจรที่มีกำลังพลกว่าแสนสี่ ได้รับสัญญาณจากกองทัพใหญ่ให้เข้าโจมตีกองทัพนาซีที่ถอยออกมาอย่างไม่เป็นขบวนที่ฝั่งเลโลรุสเซีย
        ในวันที่ 19-20 มิถุนายน โจมตีหน่วยสื่อสาร กองบัญชาการนาซี และ สนามบิน
        วันที่ 22-23 เข้าโจมตีแบบประจันบานภาคพื้นดินล้วนๆ
        จนกองทัพกองโจรสามารถยึด Minsk ได้กลับคืนมา..ในสภาพที่แม่ทัพซูคอฟเองก็ยังจำแทบไม่ได้ เพราะ
        ทุกอย่างได้ถูกทำลายไปจนสิ้น..เหลือไว้แต่ซากปรักหักพังให้ดูเล่นด้วยฝีมือของนาซีที่เข้ามาในปี 1941 ภายใต้การนำของแม่ทัพพอลลัสแห่วกองทัพที่หก

        ในวันที่ 13 กรกฏาคม..ทัพของแม่ทัพซูคอฟ และแม่ทัพโคเนฟ ได้เข้ายึด Vilnius ได้สำเร็จ

        สองอาทิตย์ต่อมา..ในวันที่ 27 แม่ทัพซูคอฟได้ีับการสถาปนาให้เป็น วีรบุรุษแห่งโซเวียต (เป็นครั้งที่สอง)
        ซึ่งสตาลินได้มอบอำนาจเด็ดขาดของการทำยุทธการเบเกรชั่นในทุกสายทัพให้ขึ้นตรงกับแม่ทัพซูคอฟแต่ผู้เดียว..

            
         
         


        ชัยชนะที่ได้มานั้น..ฟังเหมือนง่าย..แต่ไม่ใช่เลย เพราะกองทัพนาซีไม่ได้หมดพิษสงอย่างที่ว่า..การสู้รบเป็นไปอย่างดุเดือดในช่วงของ วันที่ 22 มิถุนายน จนถึง วันที่ 4 กรกฏาคม
        กองทัพนาซีได้สูญเสียกำลังพลไปยี่สิบห้ากองพล
        หลังจากวันที่ 4 กรกฏาคม..ไปอีกอาทิตย์หนึ่ง..เสียไปอีก จำนวนแสน

        ฝ่ายกองทัพโซเวียต..ในการเอาเบโลรุสเซียคืนนั้น ต้องสูญเสียกำลังพลไปประมาณเจ็ดแสนห้า..กว่าจะได้เบลโลรุสเซีย และยูเครนกลับคีนมา..
        ฟินแลนด์ก็แทบเละเทะ เพราะต้องเข้าไปขับไล่ฐานของเยอรมันที่ตั้งคุมที่ฝั่งทะเลบอล
        ติค ทางรัฐบาลฟินแลนด์ที่เคยฝักใฝ่กับนาซี เริ่มไหวตัว เพราะรู้ดีว่าเยอรมันคงจะมาปกป้องอะไรไม่ได้..จึงเปลี่ยนผู้นำรัฐบาลใหม่..และพยายามขอทำสัญญาสงบศึกกับโซเวียต
        แต่สตาลินไม่ให้ทางเลือกอื่นใด..นอกจากต้องยอมแพ้อย่างไม่มีเงื่อนไขเท่านั้น..
        ระหว่างที่ยังลังเล..พยายามจะยื้อเวลาดูสถานะการณ์ สตาลินใจร้อนกว่า..
        เลยส่งกองทัพเข้าไปบุกไล่นาซีซะเลย..
        สงครามกับฟินแลนด์นี้..ยืดเยื้อมาจนหลังจากวันดี เดย์ ก็ยังไม่เรียบร้อย..

        นักประวัติศาสตร์คนสำคัญ นาย John Erickson ได้แสดงความเห็นว่า..
        "ในช่วงที่กองทัพแดงไล่บี้กองทัพกลางของเยอรมันในนโยบายสู่ตะวันออกนี้..มันเป็นหายนะที่ใหญ่หลวงมากกว่าเมื่อครั้งสตาลินกราดอีก"

        หากแต่จุดประสงค์ในยุทธการเบเกรชั่นนี้คือ การยึดพื้นที่ในเบโลรุสเซียกลับคืนมา..
        แต่..เมื่อไล่กันจนมาถึงจุดหมาย..ยึดพื้นที่คืนได้...เท่ากับว่ากองทัพแดงได้จ่ออยู่ที่ชายแดนของปรัสเซียตะวันออกอย่างเรียบร้อย..แถมเดินข้ามเข้าโปแลนด์ได้อย่างสบายจากใจกลางและจากทางตอนใต้  

        สิ้นเดือนกรกฏาคม...กองทัพโซเวียตจ่อเข้ากรุงวอร์ซอว์เพียงแค่เอื้อมเอง...!!!

     

            

        แผนที่..Eastern Europe   

 

        Katyusha (rocket launcher)      

       

 

คาทุสช่า..หรือ  คาทีอุสช่า  เป็นชื่อของผู้หญิงค่ะ เหมือนกันชื่อ Kathy หรือ Katherine
ที่ทางโรงงานตั้งมาอย่างนั้น..แต่ทางฝ่ายอักษะเรียกว่า..Stalin's organ  เพราะเวลามันมาเป็นสายฝนจะมีเสียงคล้ายๆกับเสียงออร์แกนใหญ่ๆในโบสถ์
เยอรมันยอมรับว่าเป็นอาวุธที่ทรงประสิทธิภาพและน่ากลัวมากของโซเวียต

      ลองมาไปชมและฟังเสียงได้ในยูทูปค่ะ...

 




ฮิตเล่อร์...และเหล่าขุนพลแห่งอาณาจักร์ที่ไรค์ซที่สาม โดย "วิวันดา"

ฮิตเล่อร์...และเหล่าขุนพลแห่งอาณาจักร์ที่ไรค์ซที่สาม ตอนยี่สิบสาม (สมบูรณ์)
ฮิตเล่อร์...และเหล่าขุนพลแห่งอาณาจักร์ที่ไรค์ซที่สาม ตอนยี่สิบสอง
ฮิตเล่อร์...และเหล่าขุนพลแห่งอาณาจักร์ที่ไรค์ซที่สาม ตอนยี่สิบเอ็ด
ฮิตเล่อร์...และเหล่าขุนพลแห่งอาณาจักร์ที่ไรค์ซที่สาม ตอนยี่สิบ
ฮิตเล่อร์...และเหล่าขุนพลแห่งอาณาจักร์ที่ไรค์ซที่สาม ตอนสิบเก้า
ฮิตเล่อร์...และเหล่าขุนพลแห่งอาณาจักร์ที่ไรค์ซที่สาม ตอนสิบแปด
ฮิตเล่อร์...และเหล่าขุนพลแห่งอาณาจักร์ที่ไรค์ซที่สาม ตอนสิบเจ็ด
ฮิตเล่อร์...และเหล่าขุนพลแห่งอาณาจักร์ที่ไรค์ซที่สาม ตอนสิบหก
ฮิตเล่อร์...และเหล่าขุนพลแห่งอาณาจักร์ที่ไรค์ซที่สาม ตอนสิบห้า
ฮิตเล่อร์...และเหล่าขุนพลแห่งอาณาจักร์ที่ไรค์ซที่สาม ตอนสิบสี่
ฮิตเล่อร์...และเหล่าขุนพลแห่งอาณาจักร์ที่ไรค์ซที่สาม ตอนสิบสาม
ฮิตเล่อร์...และเหล่าขุนพลแห่งอาณาจักร์ที่ไรค์ซที่สาม ตอนสิบสอง
ฮิตเล่อร์...และเหล่าขุนพลแห่งอาณาจักร์ที่ไรค์ซที่สาม ตอนสิบเอ็ด
ฮิตเล่อร์...และเหล่าขุนพลแห่งอาณาจักร์ที่ไรค์ซที่สาม ตอนเก้า และตอนสิบ
ฮิตเล่อร์...และเหล่าขุนพลแห่งอาณาจักร์ที่ไรค์ซที่สาม ตอนแปด
ฮิตเล่อร์...และเหล่าขุนพลแห่งอาณาจักร์ที่ไรค์ซที่สาม ตอนเจ็ด
ฮิตเล่อร์...และเหล่าขุนพลแห่งอาณาจักร์ที่ไรค์ซที่สาม ตอนหก
ฮิตเล่อร์...และเหล่าขุนพลแห่งอาณาจักร์ที่ไรค์ซที่สาม ตอนห้า
ฮิตเล่อร์...และเหล่าขุนพลแห่งอาณาจักร์ที่ไรค์ซที่สาม ตอนสี่
ฮิต เล่อร์...และเหล่าขุนพลแห่งอาณาจักร์ที่ไรค์ซที่สาม ตอนสาม
ฮิตเล่อร์...และเหล่าขุนพลแห่งอาณาจักร์ที่ไรค์ซที่สาม ตอนสอง
ฮิตเล่อร์...และเหล่าขุนพลแห่งอาณาจักร์ที่ไรค์ซที่สาม



1

ความคิดเห็นที่ 1 (102141)
avatar
หมาป่าดำ

 ได้รายละเอียดเกี่ยวสมรภูมิทางตะวันออกมากเลยครับ ที่ผ่านมาก็จะรู้แค่สมรภูมิสตาลินกราด ที่อื่นๆ ไม่ค่อยมีใครเขียนถึงในภาคภาษาไทย

 

จะมีรวมเล่มไหมครับ 

ผู้แสดงความคิดเห็น หมาป่าดำ (mistiest-at-hotmail-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2012-08-17 22:27:35 IP : 223.206.26.178


ความคิดเห็นที่ 2 (102142)
avatar
Demetorius

 ขอบคุณมากครับ

 

ถ้าสตาลินยังไม่ถูกสังหาร สงครามเย็นจะเกิดไหมครับ?

ผู้แสดงความคิดเห็น Demetorius (maceus-at-hotmail-dot-co-dot-th) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2012-08-22 16:52:24 IP : 110.168.87.13


ความคิดเห็นที่ 3 (102144)
avatar
Demetorius

 แหะๆ ไม่มีความรู้เรื่องสงครามเย็นเลย คิดไปเองว่า สตาร์ลินกับเชอชิล สนิทกันขนาดนี้ จะไปเกิดสงครามเย็นได้ไง คิดต่อไปอีกว่าต้องเกิดหลังยุคสตาร์ลินแน่ๆ

ที่ไหนได้ผิดหมด

 

 

พอดีอยากทราบรายระเอียดของการเกิดสงครามเย็น หลังสงครามโลกครั้งที่2ครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น Demetorius (maceus-at-hotmail-dot-co-dot-th) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2012-08-23 20:50:23 IP : 124.120.20.203



1


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.
| WW II Europe | WW II Asia | WW I | Vietnam War | ประวัติศาสตร์ไทย | บทความจากสมาชิก | คุยกันหลังฉาก | บทความทั้งหมด |

สนใจร่วมเขียนบทความในเว็บไซต์ เชิญอ่าน แนวทางการร่วมเขียนบทความ ภาพยนตร์ประวัติศาสตร์

Custom Search



eXTReMe Tracker