dot
dot
เว็บภาพยนตร์ประวัติศาสตร์ ยินดีต้อนรับผู้สนใจทุกท่าน
dot
dot
สมาชิก Webboard/Blog
ชื่อผู้ใช้ :
รหัสผ่าน :
เข้าสู่ระบบอัตโนมัติ :
bullet ลืมรหัสผ่าน
dot
bulletข้อตกลงการเป็นสมาชิก
bulletเว็บบอร์ด-คุยกันหลังฉาก
bulletเว็บบอร์ด-Games ย้อนยุค
bulletเว็บบอร์ด-ชุดจำลองประวัติศาสตร์
bulletเว็บบอร์ด-หนังสือประวัติศาสตร์
bulletเว็บบอร์ด-เพลงประวัติศาสตร์
bulletคำถาม/คำตอบ ล่าสุด
bulletแนวทางการร่วมเขียนบทความ
dot
สงครามโลกครั้งที่ 2
dot
bulletสมรภูมิยุโรป (สัมพันธมิตรVSเยอรมัน-อิตาลี)
bulletสมรภูมิแปซิฟิก-เอเชีย (สัมพันธมิตรVSญี่ปุ่น)
dot
ภาพยนตร์ประวัติศาสตร์อื่นๆ
dot
bulletสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง
bulletประวัติศาสตร์ไทย
bulletประวัติศาสตร์อเมริกันยุคเริ่มแรก
bulletสงครามเวียดนามและอินโดจีน
bulletตะวันตกโบราณ (กรีก โรมัน ฯลฯ)
bulletประวัติศาสตร์ร่วมสมัย
bulletเอเชียโบราณ
bulletประวัติศาสตร์อื่นๆ (ยังไม่แยกหมวดหมู่)
bulletคลิปความรู้จาก YouTube
dot
บทความโดย วิวันดา
dot
bulletฮิตเล่อร์...และเหล่าขุนพลแห่งอาณาจักรไรค์ซที่สาม
bulletลอดลายรั้ว.....วินด์เซอร์
bulletเลิศเลอวงศา...โรมานอฟ
bulletเชลย
bulletซูคอฟ...ยอดขุนพลผู้ดับฝันของฮิตเล่อร์
dot
บทความโดย สัมพันธ์
dot
bulletคนไทยในกองทัพพระราชอาณาจักรลาว
bulletประวัติศาสตร์สงคราม กรีก
bulletกรณีพิพาทอินโดจีนและสงครามมหาเอเชียบูรพา
bulletอยุธยายศล่มแล้ว ลอยสวรรค์ ลงฤา
bulletฮานนิบาล
bulletพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบรมวงศานุวงศ์
bulletไทยกับมหาสงคราม
bulletสงครามเวียดนาม
bulletห้วยโก๋น ๒๕๑๘
bulletการทัพในมลายา
bulletประวัติศาสตร์อื่น ๆ
dot
เรื่องอื่นๆ
dot
bulletบทความเสริมความรู้ทั่วไป
bulletเกร็ดเล็กเกร็ดน้อย
bulletผู้จัดทำ
bulletผังเว็บไซต์ (Site Map)
bulletแนวทางการร่วมเขียนบทความ
bulletถาม-ตอบ (FAQs) (โปรดอ่านก่อนตั้งกระทู้หรือสมัครสมาชิก)
bulletร้านค้าออนไลน์
bulletแบ่งปัน Album
dot
ลิงค์ต่างๆ
dot
bulletHistory on Film
bulletกองบิน 21 กองพลบิน 2
bulletIELTS British Council
bulletIELTS IDP
bulletMUIC




โหราศาสตร์ยุคไอที



ซูคอฟ...ยอดขุนพลผู้ดับฝันของฮิตเล่อร์ ๙
วันที่ 16/02/2020   18:21:10



ขอเล่าย้อนไปนิดนะคะ..ก่อนที่จะแม่ทัพซูคอฟจะเดินทางไปถึงโปแลนด์ เพราะประวัติศาสตร์ช่วงรอยต่อนี้น่าสนใจพอสมควร..

คือแม่ทัพซูคอฟและเม่ทัพวาสิเลฟกี้ที่ต้องประสานงานกันไล่บี้กองทัพเยอรมันในช่วงของสงคราม

เบเกรชั่น (Bagration)  ที่ยูเครนนั้น..คือช่วงเดียวที่สัมพันธมิตรได้ยกพลขึ้นบกที่นอร์มังดีพอดี..คือวันที่ 6 มิถุนายน 1944
ทหารต่างมีกำลังใจ เต็มที่กับการรบ ทุกคนมองเห็นแล้วว่าต่างกำลังช่วยกันหยิบยื่นความหายนะให้กับนาซี

ในวันที่ 27 มิถุนายน สองทัพใหญ่ของโซเวียตได้เข้าปิดล้อม กองทัพที่
35 และกองพลรถถังที่ 41 ของข้าศึกเอาไว้ได้.. ทหารทั้งหมดที่ตกอยู่ในวงล้อมมีด้วยกันกว่าสี่หมื่น..
แม่ทัพซูคอฟ..ส่งงานต่อไปให้แม่ทัพอากาศ Rudenko (Sergei Ignatevich Rudenko ) บอกว่า..
จะทำอะไรก็ทำ..เราขอแค่นั่งดู...

ส่วนนี้ท่านได้เขียนไว้ในบันทึกว่า..
"เสียงระเบิดดังขึ้นลูกแล้ว..ลูกเล่า..ลูกไฟโชติช่วงในแทบทุกจุด  ทหารนาซีวิ่งกันพล่านไปในทุกทิศทาง..คนไหนยอมแพ้ออกมาก็รอด..ไม่ออกมาก็ตาย..
อนิจจา...เหล่าทหารนาซีที่ครั้งหนึ่งฮิตเล่อร์เคยให้คำมั่นสัญญากับพวกเขาว่า จะเอาผืนแผ่นดินนี้มาไว้ในใต้อุ้งเท้าให้ได้นั้่น..บัดนี้กลับต้องเอาชีวิตมาทิ้งไว้ที่นี่แทนเสียนี่.."

ภายในวันที่ 11 กรกฏาคม สภาพกองทัพเยอรมันที่ถูกปิดล้อมนั้น  หมดพิษสงลงไป ได้เชลยสงครามกว่าสามหมื่นห้า..เป็นนายพลสิบสองนาย
และเหล่าผบ. ตำแหน่งปลีกย่อยนับนวนนับสิบ
งานสะสางและแยกหมวดหมู่ของเชลยนั้น..ได้รับการช่วยเหลือเป็นอย่างดีจากกองทัพกองโจรที่กลายมาเป็นฝ่ายอบต. ประสานงานในเรื่องทำเอกสารต่างๆ
ซึ่งกองทัพ Partisan Army นี้...แม่ทัพซูคอฟถือว่ามีบทบาทสำคัญในการช่วยเหลืองานสงครามของเบโลรุสเซียให้ลุล่วงไปด้วยดี..

สองสามวันจากนั้นมา..เสียงเรียกจากมอสความาถึง ให้ ซูคอฟและอันโตนอฟให้เข้าไปพบด่วน..

บ่ายสองโมง..แม่ทัพทั้งสองก็ถึงมอสควาอย่างรวดเร็วทันใจ..ไปพบกับท่านผู้นำที่บ้านพักฤดูร้อน
สตาลินมีอารมณ์ดีเป็นพิเศษ..อาจเป็นเพราะแม่ทัพวาสิเลฟสกี้เพิ่งจะส่งรายงานมาถึงว่า..สถานะการณ์ทางฝั่งบอลติค..ราบรื่นเป็นไปด้วยดี...
สตาลินรีบชวนว่า..
"เรายังไม่ได้กินอาหารเช้าเลย..มาร่วมโต๊ะกันเลยซิ"
สองแม่ทัพ..บอกว่า เรียบร้อยมาแล้ว...แต่ก็ไม่ปฏิเสธในคำชวนนั้น..

ในช่วงของการรับประทานอาหาร..ทั้งหมดได้สนทนากันถึงเรื่องสงครามที่เปิดฉากทั้งสองด้าน..เยอรมันจะเอาอะไรมารับมือได้..
ฝ่ายสัมพันธมิตรได้เหยียบย่างขึ้นฝั่งมาแล้ว..
แต่..สตาลินได้มีความเห็นว่า..
"เฉพาะกองทัพโซเวียตอย่างเดียว..เรามั่นใจว่าจะสยบเยอรมันได้อย่างแน่นอน แต่..การช่วยของสัมพันธมิตรนั้นก็ดี จะทำให้งานของเราเร็วขึ้น และง่ายขึ้น..เพราะกองทัพของเราจะได้พักเสียบ้าง กรำศึกกันมาหลายปีแล้ว.."

ทุกคนมีความเห็นตรงกันว่า..เยอรมันไม่มีทางรอดอีกแล้ว..จะช้าหรือเร็วก็เท่านั้น..
มาถึงตอนนี้..ผู้ที่เข้ามาร่วมในการสนทนา..คือ โมโลตอฟและเหล่าพวกผู้แทนในสภา..ที่มีส่วนจะต้องรับรู้ด้วยว่า..
ฮิตเล่อร์ และ เหล่าขุนพลนาซีนั้น..มีทางเลือกอื่นหรือไม่..เช่นขอทำสัญญาสงบศึกแยกส่วน..กับ อเมริกา หรือ อังกฤษ??

ซึ่งสตาลินได้ตอบอย่างมั่นคงว่า..
"ฮิตเล่อร์อาจจะขอ....แต่..ทั้งรูสเวลต์..เชอร์ชิลล์ กับเรา..ได้ตกลงกันเป็นสัญญาของลูกผู้ชายแล้วว่า..ไม่มีทาง..นอกจากเยอรมันจะต้องยอมแพ้อย่างไม่มีเงื่อนไขกับฝ่ายเราเท่านั้น..อีกทั้งเมื่อจะมีรัฐบาลใหม่..ก็จะต้องเป็นรัฐบาลภายในอาณัติ..ไม่ใช่ลัทธินาซีอย่างแน่นอน"

สตาลินหันมาถามแม่ทัพซูคอฟว่า..
"แล้วเรื่องโปแลนด์..ว่าไง..จะไปไล่เยอรมันให้ออกไปไห้หรือยัง..ความจริงเราเคลื่อนพลไปให้ถึงแม่น้ำ Vistula ได้เลย...เพราะเรามีกองทัพโปลิช ที่หนึ่งคุมอยู่ที่แนวนั้นแล้วนี่..

แม่ทัพได้ตอบว่า
"ตอนนี้ไม่ใช่แค่ถึงแม่น้ำแค่กองทัพเดียวหรอกขอรับ..แต่เราได้ไปตั้งฐานทัพไว้หลายจุดเตรียมพร้อมต่อการที่จะเข้าเบอร์ลิน..ส่วนกองทัพโปลิชที่หนึ่ง..ก็พร้อมที่จะเข้าสู่วอร์ซอว์"

แม่ทัพอันโตนอฟได้สนับสนุนการเคลื่อนพลสู่เบอร์ลิน เพราะแนวหน้าของเยอรมันในแถบยูเครเนียนนั้น..ไม่มีพิษสงเหลืออยู่แล้ว..

สตาลินจึงให้นโยบายกับแม่ทัพซูคอฟว่า..
"งั้นนายก็ไปคุมทัพฝั่งแนวหน้า 1st Ukrainian กับ 1st Belorussian แล้วกัน
ส่วนการคุมแนวขนาบและเทคนิคต่างๆ..นายก็รู้อยู่แล้ว..เอาว่าเป็นไปตามนี้ ส่วนงานสต๊าฟทั้งหลาย..นายก็ไปจัดการ คัดเลือกเอา"

ตามแผนนี้..หมายถึงแม่ทัพซูคอฟจะต้องประสานกับแม่ทัพวาสิเลฟสกี้ ซึ่งได้รับการมอบหมายให้เข้าโจมตีกองทัพเยอรมันที่คุมที่ฝั่งเหนือและตะวันออกของปรัสเซีย..
แม่ทัพซูคอฟจึงขอทำการปรับทัพใหม่..เพราะแนวฝั่งนี้..เชื่อได้ว่าทางเยอรมันได้เตรียมตัวไว้อย่างแน่นหนา..
สตาลินถึงกับถามว่า..
"เอ๊ะ...นายกับวาสิเลฟสกี้นัดกันไว้หรือเปล่า..เพราะเขาก็เพิ่งขอปรับทัพกับเราเหมือนกัน.."
"เปล่าขอรับ..ไม่ได้นัดกัน...แต่..มันเป็นเรื่องจริง..ที่เราต้องทำถ้าต้องการจะหักด่านทางปรัสเซีย.."
"เออ..ใช่..เพราะเยอรมันต้องสู้อย่างถวายหัวแน่นอน เพราะมันจ่อถึงหน้าประตูบ้านแล้วนี่..เราอาจจะต้องติดพันตรงนั้นอีกระยะหนึ่ง..แต่..ก่อนอื่นเราต้องกวาดข้าศึกให้ออกไปจากเขต Lvov และตะวันออกของโปแลนด์ให้หมดก่อน"

นั่นหมายถึง..กองทัพโซเวียตจะต้องไล่ทำศึกในแนวยาวถึง สองพันสามร้อยกิโลเมตร และในแนวลึกถึงหกร้อยกิโลเมตร..
กับกองทัพของนาซีที่มีอยู่ด้วยกันมากกว่า ร้อยห้าสิบกองพล อย่างถึงพริกถึงขิง..ทุกคนได้ยอมรับสภาพของการที่จะต้องสู้จนถึงชีวิตของทหารคนสุดท้าย (ตามคำสั่งของฮิตเล่อร์ )
อีกทั้งก็เพื่อรักษาผืนแผ่นดินและชีวิตของครอบครัวที่อยู่ข้างหลัง..

เดือนสิงหาคม กองทัพโซเวียตได้กำลังจะ...ย่างเท้าพร้อมที่จะเข้าสู่เขตทางตะวันออกของโปแลนด์..

แต่แล้ว...เกิดเหตุการณ์ที่ทุกคนไม่คาดฝันขึ้น...นั่นคือ เกิดการลุกฮือของชาวโปล์ที่รวมตัวกันก่อการขับไล่นาซี และเป็นการประกาศตัวว่า..ไม่เอาคอมมิวนิสต์..หรือที่เรียกว่า...The Warsaw Uprising 1944



        ก่อนอื่นต้องแยกประเด็นให้ผู้อ่านไม่สับสนก่อน..ว่า..โปแลนด์มีการลุกฮือขึ้นมาสองครั้ง..
        ครั้งแรก เรียกว่า..Warsaw Ghetto Uprising  (อย่างที่เห็นในภาพยนตร์ The Pianist)
        นั่นคือ พวกเชลยยิวในค่ายกักกัน ต่างลุกขึ้นมาต่อต้านนาซี ในวันที่ 4 เมษายน 1943
        น้ำน้อยย่อมแพ้ไฟ..เพราะกำลังจำนวนหมื่นและไม่มีอาวุธ ย่อมไปคัดง้างอะไรกับกองทัพ SS ไม่ได้..สรุปว่า..งานนี้ยิวถูกฆ่าตายไปนับแสนๆ  อีกทั้งในค่ายนรกอีกจำนวนล้านๆ..
        ในเวลาไม่ถึงเดือน

        ส่วน The Warsaw Uprising นี้...จะว่าไปก็น่าสงสารมาก...เพราะกองทัพโซเวียตมายืนอยู่ที่ชายแดนแล้ว..กำลังจะเข้าไปไล่นาซีออกให้..แต่ชาวโปล์กลับมีความคิดที่สวนทางกัน
        นั่นคือ อยากจะไล่นาซีเอง..และกอบกู้บ้านเมืองเอง ก่อนที่กองทัพโซเวียตจะเข้ามา..
        เนื่องจากเชื่อว่า จะทำการได้สำเร็จ..
        เพราะ...มีรัฐบาลลี้ภัยอยู่ที่ลอนดอน..เลยเชื่อว่าทางอังกฤษจะต้องช่วย
        อีกทั้งข่าวว่าทัพเยอรมันนั้นถูกโซเวียตทำลายไปมาก รวมไปถึงข่าวที่ว่าฮิตเล่อร์ถูกลอบสังหารด้วยระเบิด ถึงแม้จะรอดมาได้ แต่ก็หมายถึงกองทัพมีการแตกแยกอย่างหนัก
        การกระทำครั้งนี้..เป็นไปโดนพละการ..ไม่มีการปรึกษาฝ่ายไหนเลยในกลุ่มสัมพันธมิตร..เพราะกองทัพกู้ชาติโปแลนด์ นำโดย..นายพล Tadeusz Komorowski ไม่ต้องการให้โปแลนด์ต้องมากลายเป็นลูกหม้อของโซเวียต

        แต่หารู้ไม่..ว่า..ทางเชอร์ชิลล์ รูสเวลต์  ต่างก็จับมือกันกับโซเวียตแล้วว่า..
        จะไม่มายุ่งและแทรกแซงทางการเมืองในเขตของโปแลนด์ ซึ่งถือว่า..เป็นประหนึ่ง
        "ไข่จงอาง" ของสตาลิน..

 


        พอมีการต่อต้านขึ้นมาในกรุงวอร์ซอว์ โดยกลุ่มกองทัพกู้ชาติโปล์ ซึ่งสตาลินถือว่านั่นคือการต่อต้านโซเวียต พอๆกับการต่อต้านนาซี..
        ดังนั้น..สตาลินจึงสั่งให้กองทัพที่กำลังจะย่างบู๊ทเข้าไปนั้น..หยุดไว้ก่อน..
        ปล่อยให้มันฆ่ากันตายไปข้างหนึ่งก่อน...แบบสไตล์นั่งบนภู...
        และไม่มีนโยบายที่จะช่วยเหลืออะไรพวกโปล์เลยแม้แต่นิด..
        จนกระทั่ง..ข่าวได้ออกไปทั่วโลกว่า..กองทัพกู้ชาติโปล์นั้น..ทำงานประสานให้กับกองทัพแดงต่างหาก..ขนาดช่วยเอาชีวิตเข้าแลกแล้ว..กองทัพโปล์ยังไม่ได้รับความช่วยเหลืออะไรจากสตาลินเลยแม้แต่นิด..

        ดังนั้น..ทั้งเชอร์ชิลล์ และรูสเวลต์ ต่างก็พร้อมใจจะส่งเครื่องบินลำเลียงอาวุธและสัมภาระไปให้กองทัพกู้ชาติ  จึงขอร้องให้สตาลินช่วยสนับสนุนในเรื่องสนามบินและการเติมน้ำมัน
        แต่สตาลินก็ยังปฏิเสธ..ดังจดหมายฉบับบนี้ที่เขาเขียนถึงเชอร์ชิลล์..ว่า..

        "จากที่เห็นการเป็นไปในวอร์ซอว์..เราได้ตระหนักว่า..การที่ท่านขอมานั้น..ไม่ใช่เรื่องที่จะทำง่ายๆ..และทางเราไม่ได้มีการเตรียมตัวต่อเรื่องนี้เพราะทุกอย่างที่โปล์ทำไปก็ด้วยพลการ  ไม่ได้ปรึกษาใคร..ไม่ได้ต้องการความช่วยเหลือจากใคร..ฉะนั้น ก็ต้องปล่อยให้เป็นไปตามที่พวกเขาต้องการ"

        เมื่อสตาลินว่ามาดังนั้น..เชอร์ชิลล์และรูสเวลต์จึงร่วมมือกันส่งสัมภาระทางอากาศให้กับกองทัพโปล์ เพื่อลดกระแสกดดันจากโลกภายนอก..
        สตาลินจึงต้องพูดขึ้นมาบ้าง..ว่า..
        "ไม่ต้องห่วงนะ..ทางเราได้เตรียมกองทัพใหญ่ที่จะเข้าสู่โปแลนด์ไปช่วยบดขยี้กองทัพของฮิตเล่อร์ให้สิ้นซากไป..เพื่อเป็นการช่วยเหลือชาวโปล์ที่กำลังต่อต้านนาซีอยู่"

        แต่..เดือนกันยายนเข้าไปแล้ว..กองทัพโซเวียตก็ยังไม่ได้รับคำสั่งให้เคลื่อนพล  
        หากแต่ทนการกดดันจากกระแสข่าวโลกไม่ได้..สภาในโซเวียตจึงได้ทำหนังสือถึง
        สถานทูตอังกฤษในกรุงมอสควา..
        ว่า..รัฐบาลโซเวียตได้จัดตั้งกรรมมาธิการในการตรวจสอบการกระทำของ
        กองทัพกู้ชาติโปล์ขึ้นมา....เนื่องจากข้อพิรุธหลายอย่างที่น่าสงสัย..
        ว่า..อะไร หรือ ใคร ที่อยู่เบื้องหลังการณ์นี้..ทำไมจู่ๆถึงได้เกิดการรักชาติขึ้นมา..ทั้งๆที่อยู่ภายใต้อำนาจของนาซีมาตั้งหลายปี
        และทำไมถึงไม่มีการประสานงานหรือให้ข้อมูลกับทางรัฐบาลโซเวียตเลยถ้ามีความบริสุทธิ์ใจจริง..แต่อย่างไรก็ตาม..ทางโซเวียตจะร่วมมือกับฝ่ายสัมพันธมิตรในการจัดส่งสัมภาระและอาวุธให้กับกองทัพโปล์เช่นกัน

        กลางเดือนกันยายน..โซเวียตจึงได้ดำเนินการในเรื่องจัดส่งทางอากาศ ซึ่ีงก็เป็นจำนวนที่ไม่น้อยหน้าไปกว่าของอังกฤษและอเมริกา นั่นคือ ปืนครก 156, ปืนใหญ่ถล่มรถถัง 505, ปืนกล 2,667, ระเบิดมือ 42,000, ยารักษาโรค 500 กิโล และอาหารกว่า  113 ตัน

        แต่กองทัพกู้ชาติก็หาได้ประสบผลสำเร็จไม่...
        ต้นเดือนตุลาคม..ได้สูญเสียกำลังพลไปกว่าสองหมื่น บาดเจ็บไปกว่าห้าพัน..แต่ประชาชนที่ต้องมารับเคราะห์ในการปะทะนั้น ตายไปกว่าสองแสน เพราะเยอรมันเล่นระเบิดตึกไปเป็นแถบๆ และลากเอาตัวประชาชนไปส่งค่ายนรก..
        ซึ่งผลกรรมนี้..ยังตัดสินไม่ได้ว่าเป็นเพราะความผิดของใคร..
        จากความโง่เขลาของกองทัพกู้ชาติที่ดันปฏิบัติการขึ้นมาแบบไม่ดูตาม้าตาเรือ?
        หรือเป็นเพราะสตาลิน..ที่ยืนดูดายไม่ได้ยื่นกองทัพเข้ามาช่วยเหลือ..?
        หรือ อังกฤษและอเมริกา...ไม่ได้ช่วยอย่างเต็มที่จริงๆ..?

        

       

 

ดิฉันจำได้ว่า..ไม่นานมานี้มีกระทู้ถามถึงสาเหตุเรื่องการทะเลาะวิวาทชกต่อยกันหลังจากการแข่งขันฟุตบอลระหว่าง โปแลนด์กับรัสเซีย จบลงไป..
        ไม่ว่าใครจะชนะหรือแพ้..รับรองว่าเจอกันเมื่อไหร่..ต่อยกันเมื่อนั้น..เลยจะเล่าเสียหน่อย..

        โปแลนด์ในกาลก่อนนั้นอาภัพหนักหนา...ไม่ว่าใครจะทะเลาะกับใคร หรือ สงครามกับใคร..โปแลนด์มักจะโดนหางเลขไปด้วย หรือไม่ก็ต้องตกเป็นลูกจ๊อกของรัสเซียวันยังค่ำ
        แม้ตอนต้นสงครามโลกครั้งที่สอง..สตาลินก็ได้ทำการสังหารหมู่เหล่านายทหารโปล์ไปกว่าหมื่นห้าพันคนที่  Katyn  พอนาซีเข้ามา..ก็ไล่ฆ่าประชาชนเป็นผักเป็นปลา..
        หลังจากสงครามโลกได้สิ้นสุดเมื่อปี 1945 ใครๆเขาก็ได้ชื่นมื่นฉลองชัยชนะ..ยกเว้นโปแลนด์ เพราะสตาลินได้เอาไว้เป็นเมืองหน้าด่าน..ปกครองด้วยลัทธิคอมมิวนิสต์
        และ..ห้ามไม่ให้ใครเอ่ยถึงกองทัพกู้ชาติ หรือ เรื่องราวของนักรบผู้กล้า หรือ ประชาชนผู้สละชีวิตทั้งนั้น..
        (อนุสรณ์สถาน และพิพิทธภัณฑ์เพิ่งจะมีก่อตั้งเมื่อ 1989 นี้เอง..)  
        มิหนำซ้ำ..ยังเอาตัวพวกแกนนำกู้ชาติทั้งหลายไปที่ค่ายนรกไซบีเรียอีกต่างหาก..
        เพราะสตาลินถือว่า..การกอบกู้สู้เพื่อชาติของชาวโปล์นั้น..เป็นเรื่องของการกบฏเพื่ออยากปลดแอก..
        หลังจากที่คอมมิวนิสต์ได้ล่มสลายไป..โปแลนด์ถึงเริ่มมีอิสรภาพ และได้เริ่มรื้อฟื้นทำการสดุดีเหล่าวีรบุรุษของพวกเขาขึ้นมา..
        งานใหญ่ที่ผ่านมาคือครบรอบหกสิบปี เมื่อ 2004

        ถ้าถามว่าทำไมสตาลินถึงไม่ช่วย..ในเมื่อพร้อมทั้งกำลังพลและอาวุธ..

        ตอบได้ง่ายๆเลยว่า..เพราะสตาลินไม่เคยชอบพวกโปล์ (ไม่ว่าจะเป็นสตาลิน หรือ ทั้งซาร์อเล็กซานเดอร์ ที่สองและที่สาม..) เพราะในอดีต..บอลเชวิคก็ได้เสียดินแดน
        ไปให้พวกโปล์ไป นั่นคือ Lwow (ปัจจุบันคือ Lviv ในยูเครน) และ Wilno (ปัจจุบันคือ Vilnius ใน ลิธัวเนีย)
        ดังนั้น..เรื่องอะไรจะไปช่วย..ปล่อยให้นาซีฆ่าให้ตายให้หมด..สตาลินจะได้เบาแรงไป..เพราะเขาต้องการพื้นที่..แต่ไม่ต้องการประชาชนชาวโปล์
        บ้านเมืองเสียหายก็ช่างมันประไร..สร้างใหม่ได้..
        การต่อสู้ของกองทัพกู้ชาติชาวโปล์นั้น..เป็นไปได้แค่ 63 วันเท่านั้น..ที่ต้องยอมแพ้ให้กับกองทัพนาซี..ที่เข้าทำการทำลายตึกรามบ้านช่องทั้งหมดเป็นการแก้แค้นเอาคืนกับประชาชนที่ให้ความร่วมมือ
        พอกองทัพโซเวียตเข้่ามา..ก็เหลือไว้แต่ซากให้ดูต่างหน้า..


        เมื่อถามว่า..พวกกองทัพกู้ชาตินึกอะไรขึ้นมา..ถึงได้ก่อการ..

        นี่คือเครื่องหมายคำถามในใจของทุกคน..เพราะรู้ทั้งรู้ว่า..เยอรมันกำลังที่จะถอนทัพออกไปอยู่แล้ว..เพราะกองทัพโซเวียตไล่เข้ามาทุกที..
        แต่หลายคนเชื่อว่า..ชาวโปล์สิ้นสุดความอดทนต่อการกระทำจากทั้งสองฝั่ง..จากนาซีที่มาอย่างโหดเหี้ยมทารุณ
        จากโซเวียต..ที่ก็ร้ายกาจไม่แพ้กัน..จากประวัติศาสตร์สมัยที่ฮิตเล่อร์กับสตาลินลงนามในสัญญาต่างคนต่างอยู่นั้น..สองเกลอได้ทำการตกลงกันถึงเรื่อง
        การแบ่งโปแลนด์กันเป็นเรื่องเป็นราว..ทำให้สตาลินถึงเข้ามาฆ่าฟันนายทหารจนล้มตายไปเป็นพันเป็นหมื่น..
        และก็เพราะพื้นที่โปแลนด์นี่แหละ..ที่ฮิตเล่อร์ได้ทำผิดสัญญากับโซเวียตโดยการบุกเข้ามา..จนทำให้สตาลินต้องหันไปจับมือกับสัมพันธมิตร
        กองทัพกู้ชาติโปล์จึงคิดว่า..ถ้าจะปลดแอกให้กับตัวเองโดยที่ไม่ต้องรอโซเวียตเข้ามาปลดให้..อย่างน้อยก็อาจจะมีทางต่อรองขอมีรัฐบาลเป็นของตัวเอง
        ที่ไม่ใช่คอมมิวนิสต์ และ คงเชื่อว่า..อังกฤษและ อเมริกาน่าจะสนับสนุนหรือช่วยเจรจาให้ได้..
        สิ่งเดียวที่ชาวโปล์ไม่ทราบ..นั่นก็คือ..พวกเขาไม่รู้ว่า..สตาลินต่างหากที่เป็นคนถือไพ่เหนือกว่าอังกฤษและอเมริกา..
        เนื่องจากการรบในยุโรปจนมีชัยเหนือนาซีนั้น คือ ฝีมือของทหารโซเวียตที่ต่อสู้จนล้มตายไปมากกว่ายี่สิบสามล้านคน...
        ในการประชุมที่เตห์ราน..พวกเขาทั้งสามได้ตกลงกันเรียบร้อยแล้วในเรื่องการจัดสรรปันเขต..อะไรที่สตาลินต้องการก็ย่อมได้
        นั่นคือ ทั้งโปแลนด์, เอสโตเนีย, ลิธัวเนีย และ ลัทเวีย..จะตกเป็นเครือข่ายของโซเวียตจนหมด เพราะ
        ทุกคนรู้ดีว่า..ชัยชนะที่จะมีเหนือเยอรมันนี้..โซเวียตคือพระเอกคนเดียว  ที่เหลือนั้นคือแค่พระรอง..
        เชอร์ชิลล์เองต้องการแต่ให้ยูโรปตอนกลางนั้นปลอดภัยจากนาซี..
        รูสเวลต์ต้องการให้โซเวียตเปิดสงครามกับญี่ปุ่นทางฝั่งตะวันออก..
        ส่วนรัฐบาลโปล์ลี้ภัยที่ไปตั้งสถานีประกาศอยู่ปาวๆที่อังกฤษ..สตาลินได้บอกกับเชอร์ชิลล์ว่า..เก็บไว้ที่ลอนดอนนั่นแหละ ไม่ต้องส่งกลับมา..

 
            


        มีผู้สนใจถามว่า... ว่าฟินแลนด์นี่ทำยังไง หลังสงครามถึงไม่ต้องตกอยู่ภายใต้อานัติของโซเวียตครับ  ทั้งๆ ที่โซเวียตจ้องตาเป็นมันมาตั้งแต่ก่อนสงครามแล้ว
        อะไรทำให้ฟินแลดน์รอดพ้นเงื้อมมือมาได้ ไม่ต้องกลายเป็นคอมมูนิสต์ไป?

       
            
คำตอบคือ...
      

        เรื่องฟินแลนด์นี่ ดิฉันว่าต้องยกให้กับความแข็งแกร่งของกองทัพ ผนวกกับนโยบายที่ชาญฉลาดของนักการเมือง ที่ได้สร้างความถ่วงดุลย์ไว้ดี...
        ความแข็งแกร่งของกองทัพ ก็คือ แสดงฝีมือจนโซเวียตขยาดไปเมื่อตอน
        สงครามฤดูหนาวที่เล่นเอาสตาลินแทบเสียศูนย์
        ส่วนทีมการเมืองที่นำโดยประธานาธิบดี Risto Ryti

        เมื่อฟินแลนด์ต้องมาเสียทีให้กับเยอรมัน โดยการต้องยอมให้นาซีใช้พื้นที่เป็นฐานทัพ และต้องส่งกองทัพเข้าร่วมในการปิดล้อมเลนินกราด
        แต่ก็ยังรักษาเอกราชในการปกครองเอาไว้ได้ นั่นคือ ฟินแลนด์ไม่ยอมให้นาซีแตะต้องชาวยิวอีกทั้งยังรับชาวยิวที่หนีภัยนาซีมาจากที่อื่นด้วย ด้วยเหตุผลว่า..ก็คือประชาชนที่ได้สร้างประโยชน์ให้กับประเทศ อีกทั้งเป็นทหารที่ร่วมรบในกองทัพอีกจำนวนมาก
        นี่คือเหตุผลหนึ่งที่รูสเวลต์ไม่ได้ประกาศสงครามกับฟินแลนด์ (แต่เชอร์ชิลล์
        ไม่เว้นให้)

        พอนาซีหงายเงิบมาจากสงครามสตาลินกราด..ฟินแลนด์เริ่มรู้ชะตาของตัวเอง จึงพยายามขอตกลงทางสันติกับโซเวียต แต่ไม่เป็นผลสำเร็จ
        ในเดือน มิถุนายน 1944 (ช่วงดีเดย์) โซเวียตก็เริ่มบุกฟินแลนด์ทางติ่ง
        Karelian (ช่วงเล็กๆที่ต่อถึงกันได้ ตามแผนที่) ด้วยกองทัพขนาดใหญ่
        แต่ดังที่ทราบอยู่แล้วว่า..กองทัพฟินน์นั้นไม่ใช่หมูๆ ผนวกกับกองทัพนาซีที่มีฐานที่หนาแน่นอยู่ที่นั่น ทำให้ตรึงกำลังโซเวียตเอาไว้ได้ไปจนถึงเดือนกรกฏาคม แต่ก็เรียกว่าย่ำแย่

        ทางฝ่ายการเมืองรีบปรับเปลี่ยนแผนใหม่ โดยการเปลี่ยนตัวผู้นำ มาเป็นประธานาธิบดี Gustaf Mannerheim ที่ตัดสินใจบอกเลิกรบ..เลิกสงครามกับโซเวียต
        ซึ่งเป็นไปตามที่สตาลินกำลังจะหาทางออกจากฟินแลนด์อย่างไม่ให้เสียหน้าอยู่แล้ว เพราะว่าในช่วงนั้น คือช่วงของการนำทัพสู่เบอร์ลิน ที่ไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะต้องผ่านด่านนาซีที่ค่อนข้างแน่นหนาทางฝั่งปรัสเซียอีกด้วย
        เมื่อฟินแลนด์เปลี่ยนผู้นำใหม่ และแบะท่ามาอย่างนี้..สตาลินเลยได้ที
        เรียกร้องทุกอย่างตามที่ต้องการ นั่นคือ ให้มีพรรคคอมมิวนิสต์ในรัฐบาล,
        ยึดดินแดน Petsamo , ให้ทำสงครามขับไล่นาซีออกไปพื้นที่,
        และต้องเอาดินแดน Pokkala ทางฝั่งตะวันตกตอนใต้ของกรุงเฮลซิงกิมาให้โซเวียตเช่าห้าสิบปี, ให้กำจัดและเอาโทษกับนักการเมืองฝ่ายขวาจัด
        รวมไปถึงพวกต่อต้่านลัทธิคอมมิวนิวต์ทั้งหมด, กองทัพจะต้องมีการจำกัดอาวุธให้เป็นไปตามนโยบายของโซเวียต และ ต้องจ่ายค่าปฏิกรรมสงคราม

        นั่นหมายถึง..ทีมการเมืองเก่า ต่างต้องคดีกันมากมาย
        อดีตประธานาธิบดีต้องโทษติดคุกสิบปี (แต่เขาก็ช่วยกันเต็มที่ แบบว่า
        ให้อยู่ดีมีสุข และนิรโทษกรรมให้หลังจากที่ติดอยู่เพียงสองปี โดยอ้างว่า
        สุขภาพไม่ดี)

        นี่คือเรื่องของฟินแลนด์ที่ถึงจะไม่เสียเอกราช..แต่ก็ต้องรับเคราะห์กรรมไปพอสมควร...
        แต่จะว่าไปแล้วยังโชคดีที่สหรัฐเข้าข้างและให้ความช่วยเหลือเต็มที่ เนื่องจาก ฟินแลนด์เป็นลูกหนี้ชั้นเลิศ เพราะจ่ายหนี้ให้สหรัฐ (จากสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง) อย่างสม่ำเสมอแม้กระทั่งในยามที่บ้านเมืองถูกมรสุมทั้งจากนาซีและโซเวียต ก็ยังจ่าย..ซึ่งไม่มีประเทศไหนในโลกรักษามาตรฐานนี้ได้เลย



        แม่ทัพซูคอฟไม่ได้แสดงความคิดเห็นอะไรมากนักเกี่ยวกับเรื่องของโปแลนด์
        เพราะในช่วงปลายเดือนสิงหาคมนั้น สตาลินได้มอบหมายงานเพิ่มขึ้นมาให้อีก นั่นคือ
        ให้ไปจัดการกับบัลเกเรีย เพราะเพิ่งประกาศสงครามไปด้วยหมาดๆ
        ทั้งๆที่บัลเกเรียมิได้มีส่วนในการทำสงครามกับโซเวียต แต่เป็นภาคี (แบบจำใจยอม) กับกองทัพเยอรมัน ในการช่วยส่งเสริม ส่งส่วยกำลังบำรุง
        งานนี้ก็มาแบบเดียวกันกับฟินแลนด์ เพราะทันทีที่โซเวียตประกาศสงครามขึ้น บัลเกเรียก็คว่ำรัฐบาลเก่า (ที่เคยสวามิภักดิ์กับนาซี) และเปลี่ยนมาเป็นรัฐบาลใหม่ที่โปรโซเวียต
        เรียกว่าแม่ทัพซูคอฟยังจัดกระบวนทัพไม่เสร็จ
        บัลเกเรียได้ประกาศสงครามกับเยอรมันไปอย่างเรียบร้อย...ในวันที่ 9 กันยายน  
        เลยทำให้แม่ทัพซูคอฟต้องหันกลับมาคุมทัพกลางและเข้ามา
        บริหารจัดการเข้าสู่โปแลนด์เมื่อตอนกลางเดือนกันยายน

        สตาลินได้จัดการปรับเปลี่ยนรูปแบบและผังของทัพใหม่ เพราะนี่คือการเตรียมตัวเข้า
        สู่วอร์ซอว์และจะไปต่อถึงเบอร์ลิน..ผังออกมาเป็นดังนี้..

        ทัพของแม่ทัพซูคอฟ คือ 1st Belorussian Front
        ทัพของแม่ทัพโรโคซอฟสกี้ คือ 2nd Belorussian Front
        ทัพของแม่ทัพโคเนฟ คือ 1st Ukrainian Front
        แม่ทัพโรโคซอฟสกี้ไม่ค่อยพอใจกับการที่หลุดไปคุมทัพที่สอง..จากที่เคยคุมทัพที่หนึ่ง ทั้งๆที่สตาลินเคยรับปากเอาไว้ว่า..จะไม่ให้ต้องเป็นรองใคร
        แต่สตาลินได้ปลอบใจเขาว่า
        "เอาเหอะน่า..ถ้านายกับโคเนฟฝ่าด่านนาซีไปไม่ได้ ทัพของซูคอฟก็ต้องติด
        ไปไหนไม่ได้เหมือนกัน.."***

        ***จากข้อความนี้..ทำให้เราได้รู้ว่าทหารโซเวียตในยามนั้น...ต่างก็เร่งทำสกอร์ให้กับตัวเองเช่นกัน เพราะงานที่จะบุกเข้าสู่เบอร์ลินนั้น เรียกว่าแข่งกันราวกับโอลิมปิกกันเลยทีเดียว ว่า...ใครจะเข้าประชิดเมืองก่อนกัน

        เพราะเรื่องการปรับเปลี่ยนทัพนี้..แม่ทัพโรโคซอฟสกี้ มีความหมางใจกับแม่ทัพซูคอฟอย่างปิดไม่มิด เพราะเขาเข้าใจว่า..มันเป็นการเสนอของซูคอฟ
        แม่ทัพได้เขียนในบันทึกไว้ว่า..หลังจากวันนั้นมาโรโคซอฟสกี้มีทีท่าไม่สนิทด้วยเช่นเดิม และน่าเสียใจที่เขาคิดอย่างนั้น เพราะมันไม่จริง
        ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว..เขาย่อมต้องรู้ดีว่า..สตาลินไม่เคยเชื่อใครนอกจากความคิดของตัวเอง

  
        แต่มันก็สมควรเหล่าแม่ทัพที่อยากจะนำทัพของตัวเองเข้าสู่เบอร์ลินก่อนคนอื่น
        ไม่มีใครรู้อนาคตว่าผลงานนั้นมันจะสร้างชื่อเสียงให้มากมายขนาดไหน..แต่...ในใจของแม่ทัพและทหารทุกคนมีเป้าหมายในใจของตัวเองต่างๆกัน เพราะความเสียหายของโซเวียตที่ได้รับนั้นหนักหนาสาหัสนัก
        อีกทั้งเชลยนับล้านๆคนที่เยอรมันได้กวาดต้อนเอาไปเป็นทาสแรงงาน
        ในโรงงานอุตสาหกรรมอีกเล่า..ในกลุ่มเชลยเหล่านั้นคือสายเลือดญาติพี่น้องพ่อแม่ของพวกเขาทั้งสิ้น..
        ทุกคนจึงอยากย่างเท้าเข้าไปลุยให้ถึงค่ายนรกเหล่านั้นเพื่อที่จะคืนอิสระและพาเชลยกลับบ้านก่อนที่จะสายไป..

        สตาลินและเหล่าอัศวินได้เริ่มวางแผนบุกเบอร์ลินในฤดูใบไม้ร่วง...ว่า
        จะต้องยึดเอาเมืองภายในสี่สิบห้าวัน หรือให้ได้ก่อนสิ้นเดือนกุมภาพันธ์ 1945  หมายถึงว่าจะต้องกวาดล้างนาซีให้หมดจนสิ้นซาก
        แผนของสตาลิน..ไม่ได้หวังว่าแค่ยึดเมืองได้แล้วสงครามจะจบง่ายๆ
        เพราะประเมินไว้แล้วว่าทางนาซีจะต้องต่อต้านอย่างสุดฤทธิ์ โดยเฉพาะ
        ทาง Bavaria อันเป็นประหนึ่งสถานที่ที่ก่อกำเนิดลัทธินาซีนั้น ย่อมมีศึกใหญ่อย่างแน่นอน..
        แต่ที่สำคัญ..สตาลินต้องการที่จะไปให้ถึงเป้าหมายก่อนอเมริกา และ อังกฤษ
        ความต้องการตรงนี้ของสตาลินจึงกลายเป็นนโยบายกลายๆว่า..ทุกทัพจะต้องเร่งฝีมือทำสกอร์ฝ่าด่านนาซีไปให้จนได้

        ต้นเดือนพฤศจิกายน 1944 สตาลินและเหล่าแม่ทัพ ทั้งซูคอฟ วาสิเลฟสกี้
        อันโตนอฟ และ เชเมงโก ได้เริ่มวางแผนบุกในช่วงฤดูหนาวที่กำลังมาถึง
        พอต้นปีทัพทั้งหมดควรจะคุมได้ทั้งสองแม่น้ำใหญ่ในโปแลนด์ จาก Vistula จนถึง Oder จากนั้นจึงเคลื่อนพลสู่เบอร์ลิน
        จากจุดนี้..ไปเป็นยุทธการที่เรียกว่า Vistula-Oder operation
        ที่สองทัพใหญ่ คือ ของแม่ทัพซูคอฟ และ ของแม่ทัพโคเนฟ นั้นมีกำลังพลและอาวุธรวมกันแล้วมากกว่าของฝ่ายเยอรมันห้าเท่า ไม่นับทัพรองและทัพที่เคลื่อนขนาน...รวมกันแล้วเป็นอีกหลายเท่า
        กองทัพของแม่ทัพซูคอฟ คือ เข้ายึดวอร์ซอว์ มุ่งหน้าสู่โปซ์นัน (Poznan)
        แล้วพร้อมสู่เบอร์ลิน
        กองทัพของแม่ทัพโคเนฟ คือ เข้าสู่ Breslau มุ่งหน้าไปเอาไซลีเซียอัสเป็นเมืองอุตสาหกรรมคืนมา
        กองทัพของแม่ทัพโรโคซอฟสกี้ คือ เข้าตีโปแลนด์ และมุ่งไปทางเหนือให้ถึง
        Danzig ที่มีทัพรอง 3rd Belorussian ที่มีแม่ทัพเป็นยิว I.D. Chernyakhovsky (คนเดียวในยุทธการนี้) ที่ได้รับมอบหมายให้เข้าโจมตีทางปรัสเซียตะวันออก ทาง Konigsberg และไปรวมกับแม่ทัพโรโคซอฟสกี้ที่ทางฝั่งบอลติค  แต่ก็น่าเสียดาย ที่แม่ทัพเชเนียคอฟสกี้
        ได้เสียชีวิตในระหว่างการสู้รบในเดือนกุมภาพันธ์ ทำให้สตาลินต้องดึง
        แม่ทัพวาสิเลฟสกี้ให้เข้ามาคุมทัพต่อไป

        จะสังเกตได้ว่า..ในแผนยุทธการ Vistula-Oder นี้ สตาลินเข้ามาคุมและวางแผนทั้งหมดด้วยตัวเอง
        ทั้งๆที่ในอดีต..งานเสนาธิการวางแผนสงครามเหล่านี้ ส่วนใหญ่จะมาจากกองบัญชาการสูงสุดที่แม่ทัพซูคอฟ และแม่ทัพวาสิเลฟสกี้ ร่วมกันวางและกรั่นกรอง
        แต่คราวนี้..สตาลินเข้ามาคุมเอง
        ในความเห็นของแม่ทัพซูคอฟ..ท่านว่าไว้ว่า...
        "เป็นเพราะสงครามครั้งนี้ คือการข้ามชาติไปสู่เบอร์ลิน ที่เราเคยทำเมื่อครั้ง
        ซาร์อเล็กซานเดอร์ (ที่หนึ่ง) ที่เคยบุกยึดไปถึงปารีสในปี 1814*** "

        *** และก็เป็นเช่นนั้นจริงๆ เพราะตอนที่ท่านทูต Averell Harriman ได้แสดงความยินดีกับสตาลินเมื่อตอนที่ยึดเบอร์ลินได้ สตาลินได้ตอบแบบถ่อมตนว่า
        เราก็แค่เบอร์ลินเอง...ซาร์อเล็กซานเดอร์เคยยึดได้ถึงปารีสเชียวนะ!!!


        I.D. Chernyakhovsky ( Ivan Danilovich Chernyakhovsky )

            

      

         มีผู้ข้องใจกับคำว่า...ถ่อมตน...ของสตาลิน....!!!

        ค่ะ..สตาลินเป็นคนที่พูดน้อย เก็บความรู้สึกได้ดี และมักจะถ่อมตนเสมอกับรูสเวลต์ และ เชอร์ชิลล์..
        อย่าลืมว่า...ทั้งสองประเทศนี้เปรียบเสมือนกับเจ้าหนี้รายใหญ่ของโซเวียตเชียวนะคะ...

        งั้นดิฉันจะเล่าออกนอกเรื่องนิด..แต่เผอิญว่าเวลานั้นคาบเกี่ยวกันพอดี...
        ในช่วงต้นปี 1945 ที่ทางกองทัพกำลังจัดแต่งสายออกไปสู่ตะวันตกกันอย่างเอิกเกริกนั้น...
        ในเดือนกุมภาพันธ์..ทั้งสามยักษ์ใหญ่ได้มีการพบปะ ปรึกษาหารือกันอีก
        ที่ Yalta (ไครเมีย) ตอนนั้นกองทัพของโซเวียตได้ย่างเท้าเข้าสู่ยุโรปแล้ว
        สตาลินจึงถือไพ่เหนือคนอื่นอีกเช่นเคย..

        การประชุมครั้งนี้ คือการมาคุยกันถึงเรื่องบริหารจัดการยุโรปหลังสงครามให้ชัดเจน..ว่า..
        ส่วนไหนประเทศไหนควรจะให้วางตัวกันอย่างไร จะประชาธิปไตย หรือ สังคมนิยม หรือ คอมมิวนิสต์
        แน่นอนว่่า...ทั้งเชอร์ชิลล์และรูสเวลต์ไม่อยากเห็นพื้นที่สีแดงเป็นวงกว้างมากนัก
        เชอร์ชิลล์ยังพยายามที่จะเสนอความตั้งใจเดิม คือ ให้โรเมเนีย และ
        บัลเกเรีย นั้นปกครองภายใต้การนำของโซเวียต
        แต่ ยูโกสลาเวีย และ ฮังการี ควรจะให้มีการปกครองแบบผสมผสาน
        เรื่องโปแลนด์นั้นไม่ต้องพูดกัน เพราะสตาลินปิดประตูตายในเรื่องของการให้มีรัฐบาลเป็นของตัวเอง..สตาลินได้ยกเรื่องราวครั้งเก่าในประวัติศาสตร์มาเป็นอุทธาหรณ์ว่า..ไม่ว่ากี่ศึก กี่สงครามที่ผ่านมา
        โปแลนด์เปรียบเสมือนบ้านหลังหน้า..ที่คอยเปิดรับโจรให้ผ่านเข้ามาปล้นบ้านหลังติดกันเสมอ...ต่อไปนี้เราจะยึดบ้านมันให้หมดเรื่องหมดราวไป..

        ฉะนั้น..การเจรจาในการประชุมนี้..ไม่ได้ผลอะไรมากนัก เพราะทุกอย่างขึ้นกับว่า..เบอร์ลินจะแตกเมื่อไหร่..
        แต่อย่างไรก็ตาม สตาลินก็ได้ให้สัญญาลูกผู้ชายว่า..ถึงแม้ประเทศที่โซเวียตเอามาไว้เป็นรัฐกันชนต่างๆนี้..อย่างไรเสียก็จะให้มีการเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตย
        และสัญญาอีกข้อหนึ่งที่สตาลินได้ให้ไว้ ก็คือ สนองในเจตนาของอเมริกาในการเปิดฉากทำสงครามกับญี่ปุ่นในสามเดือนหลังจากที่เสร็จธุระกับเยอรมัน...
        เพื่อเป็นการช่วยอเมริกาคิดบัญชีกับญี่ปุ่น...
        และคิดบัญชีให้กับตัวเอง คือการเอาผืนแผ่นดินของโซเวียตคืนมาจากญี่ปุ่นที่ยึดเอาไปในสงครามเมื่อ 1904-05 (สมัยซาร์นิโคลัสที่สอง..)

        ช่วงของการหารือนั้น..ทัพของสัมพันธมิตรได้เคลื่อนตัวเข้าหาเยอรมันจากทั้งสองฝั่งแล้ว...
        เรื่องการแบ่งเค้กเยอรมันเลยต้องถูกหยิบยกมาคุยกัน..
        ซึ่งเป็นเรื่องธรรมดาว่า..คนที่จะมีสิทธิที่จะเข้ามาจัดการดูแล..สมควรที่จะเป็นฝ่ายที่มีศักยภาพสูงสุดในดินแดนแถบนั้น
        เชอร์ชิลล์และสตาลินมีเป้าหมายเดียวกันคือรีบเข้าคุมเบอร์ลินอันเป็นเมืองหลวง แต่..รูสเวลต์ (และท่านแม่ทัพไอเซ่นฮาวร์) ไม่ได้สนใจในเรื่องเบอร์ลินเท่าไหร่นัก ไม่อยากมาแข่งขันด้วย เป้าหมายคือการเบนทัพไปทาง Dresden
        โซเวียตอยากจะเข้าเบอร์ลินก่อน..ก็เชิญตามสบาย..

        จนดูเหมือนว่า..ทุกคนโอ๋และเอาใจโซเวียตเป็นพิเศษ...


        หลังจากที่เสร็จศึกกับเยอรมัน...ผู้ชนะทั้งสามได้ทำการพบปะหารือกันอีกครั้ง ที่ Potsdam (เยอรมัน) ในเดือนกรกฏาคม 1945 หากแต่ตอนนี้ไม่มีรูสเวลต์แล้ว เพราะท่านได้ถึงแก่อสัญกรรมไปเมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา ผูัที่มารับตำแหน่งต่อ คือ Harry Truman
        เท่านั้นไม่พอ..ก่อนที่จะมีเปิดการประชุมนั้น...ที่อังกฤษได้การเลือกตั้งใหม่ตามวาระ
        ปรากฏว่า..เชอร์ชิลล์หลุดจากตำแหน่งนายกไป เนื่องจากประชาชนได้หันไปเลือกพรรคกรรมกร ซึ่งนายกฯคนใหม่ คือ Clement Attlee (ที่จะมาประชุมแทน)
        ตอนนั้น..สงครามฝั่งยุโรปได้จบไปแล้ว...
        แต่..อเมริกาและอังกฤษยังไม่จบกับญี่ปุ่น..เมื่อคราวประชุมที่ยัลต้า..สตาลินได้ให้สัญญาเอาไว้
        และเขาก็พร้อมที่จะดำเนินการ อันเป็นญัตติในการประชุมคราวนี้ด้วย..

        หากแต่....ท่าทีของอเมริกาและอังกฤษเปลี่ยนไป..เหมือนกับไม่อยากให้โซเวียตเข้ามาร่วมรบด้วย (เพราะกลัวว่าโซเวียตจะขยายอาณาเขตมาทางเอเซีย)
        ประธานาธิบดีทรูแมนได้บอกกับสตาลินว่า..ไม่อยากเสียชีวิตทหารไปอีกนับล้านแล้ว เพราะตอนนี้อเมริกามีอาวุธแบบใหม่ที่สามารถใช้ในการสยบญี่ปุ่นได้แบบไม่ต้องลงแรงมากนัก
        (Atomic Bomb)
        ตอนนั้น..สตาลินยังไร้เดียงสาเสียเหลือเกิน..ไม่รู้ว่าเขาหมายถึงอาวุธอะไร และเกรงใจเขา...ไม่ถามอีกต่างหาก...(จนมาถึงเดือน สิงหาคม 1945 หลังจากที่ระเบิดสองลูกไปหย่อนลงที่
        ฮิโรชิมาและนางาซากิแล้วนั่นแหละ.......)

        ในการไปประชุมที่พอตสดัม..สตาลินยังพกความหวังไปอย่างเต็มเปี่ยมในการที่จะขอความช่วยเหลือทางด้านเกษตรและอุตสาหกรรมเพราะในสภาพหลังสงครามมานั้น โซเวียตเองก็ย่ำแย่..รายได้ที่พอจะเอาไปเป็นหลักประกันได้..ก็คือค่าปฏิกรรมสงครามจากเยอรมัน
        แต่ดูเหมือนไม่มีใครให้ความสนใจและให้ความสำคัญกับโซเวียตอย่างเมื่อครั้งการประชุมที่ยัลต้า เพราะ...
        สงครามได้จบไปแล้ว...อเมริกาทำระเบิดปรมาณูสำเร็จแล้ว..
        ไม่ต้องมาง้อโซเวียตให้ช่วยทำสงครามอีกต่อไป...

        หากแต่..สตาลินไม่รู้ถึงเหตุผลที่แท้จริง..พลอยคิดไปว่า..เป็นเพราะอเมริกาและอังกฤษเปลี่ยนผู้นำ..นโยบายและท่าทีจึงเปลี่ยนไปด้วย..


        พอแค่นี้ก่อนนะคะ..เพราะถ้าไม่หยุด..เราก็กำลังจะคุยถึงเรื่องสงครามเย็นกันไปแล้ว...
        เอาเรื่อง"สงครามร้อน"ให้จบไปก่อนดีกว่า..เน๊อะ??


 
      

        ปัจจุบันมีหลักฐานมากมายที่ชี้ว่าโซเวียตได้ส่งสปายเข้าร่วมในโครงการระเบิดปรมาณูของทั้งอเมริกาและอังกฤษครับ ตามหลักฐานแล้วบอกได้ว่าโซเวียตและสตาลินรู้ถึงโครงการแมนฮัตตันของอเมริกาก่อนที่ทางรัฐบาลจะแจ้ง FBI ซะอีก ดังนั้นที่มอลต้านั้นเป็นละครหน้าฉากของสตาลินมากกว่า ต่อมาในปี 1949 โซเวียตก็สร้างระเบิดปรมาณูสำเร็จ รวดเร็วจนอเมริกาและอังกฤษตกใจ

        http://www.smithsonianmag.com/history-archaeology/Spies-Who-Spilled-Atomic-Bomb-Secrets.html

        http://www.nytimes.com/2007/11/12/us/12koval.html?pagewanted=all

        จากข้อความของคุณ     : HotChoc (ที่นับถือของดิฉันค่ะ) ที่กรุณาเข้ามาร่วม
       

            
            
            

            
       มีผู้ข้องใจว่า...

        แต่..รูสเวลต์ (และท่านแม่ทัพไอเซ่นฮาวร์) ไม่ได้สนใจในเรื่องเบอร์ลินเท่าไหร่นัก ไม่อยากมาแข่งขันด้วย เป้าหมายคือการเบนทัพไปทาง Dresden

        +++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

        แต่ว่าทำไมตอนแบ่งเยอรมันเป็นตะวันออก กับ ตะวันตก

        dresden ถึงไปอยู่ฝั่งตะวันออกล่ะครับ?

        

        ตอบคำถามที่ ถามว่าอเมริกาไปทำไมที่ Dresden...?

        ไปโชว์ออฟค่ะ...เพราะปล่อยให้โซเวียตเป็นพระเอกทางภาคพื้นดินมานานแล้ว..อังกฤษและอเมริกาสองคู่หูคู่ฮาจึงจับมือกันหาที่เหมาะๆแสดงพลังแสนยานุภาพทางอากาศให้ใครต่อใครเป็นที่ประจักษ์
        (และเป็นการข่มขวัญโซเวียตกลายๆ)  
        หลังจากที่จบจากการประชุมที่ยัลต้าไปได้แค่สองวัน....

        ในวันที่ 13 กุมภาพันธ์  ฝูงบิน Avro Lancaster กว่าเจ็ดร้อยลำ ของอังกฤษได้เปิดฉากถล่มเมือง Dresden
        (ในความจริง..อเมริกาจะเปิดฉากบินไปถล่มก่อน..ทัศนวิสัยไม่ดีเลยชะงัก แต่ RAF บอกว่า...มา..ตรูไปเอง...)
        ด้วยระเบิดเคมีแบบนาปาล์มแบบไม่ให้เหลือซาก ประชาชนล้มตายแบบทรมานไปเป็นแสนๆ
        เพราะระเบิดเคมีนี้มันได้สร้างพลังความร้อนราวกับไฟนรกไปทั่วทุกตารางนิ้วของ
        เดรสเดน
        เท่านั้นไม่พอ..พอฝูงบินอังกฤษบินกลับไป.. แต่ไม่ได้กลับไปไหน...หากแต่ส่งไม้ให้ฝูงบินของอเมริกากว่าห้าร้อยลำ..กลับเข้าไปบอมบ์ต่อ..

        Dresden เป็นเมืองที่สวยงามเป็นศูนย์แห่งศิลปและสถาปัตยกรรม ที่มีขนาดใหญ่อันดับเจ็ดของเยอรมัน เป็นเมืองที่มีสภาพสมบูรณ์เพราะไม่เคยผ่านศึกให้ชอกช้ำ  
        จึงเป็นเมืองที่มีประชาชนจากทุกสารพัดทิศหลั่งไหลเข้ามาหนีภัยสงครามเป็นจำนวนมาก อีกทั้งเป็นที่พักผ่อนรักษาพยาบาลผู้บาดเจ็บจากสงคราม

        แล้วทำไมฝ่ายสัมพันธมิตรถึงได้เลือกมาบอมบ์ในเมืองที่ไม่รู้อิโหน่อิเหน่อย่างนี้ด้วยเล่า???

        คำตอบจากหนังสือชีวะประวัติของแม่ทัพอากาศอังกฤษ Arthur Harris ผู้สั่งการโจมตี  ว่าไว้ว่า..
        "เพราะแนวหน้านั้นมีทหารเยอรมันได้ตั้งรับอยู่เป็นจำนวนมาก  การใช้กำลังทางอากาศจึงจำเป็น การตั้งศูนย์การบินโจมตีนั้น จึงเลือกอยู่ในรัศมีที่เครื่องบินสามารถ
        บินไปกลับได้อย่างสะดวก..ดังนั้น จากศูนย์บินของเรา เป้าหมายที่เหมาะคือ Dresden หรือ Chemnitz ทั้งสองที่นั้นยังไม่เคยโดนบอมบ์มาก่อน..
        การรบทางภาคพื้นดิน..โซเวียตได้เดินทัพเข้ามาถึงกลางใจใน Saxony แล้ว  เราได้รับคำสั่งให้เตรียมตัว เตรียมฝูงไปถล่มเดรสเดนเป็นที่แรก
        เพราะว่า เดรสเดน เป็นจุดศูนย์กลางที่รวมทัพของนาซีในการต่อต้านศึกทางฝั่งตะวันออก..รวมไปถึงเป็นที่ตั้งของโรงงานอุตสาหกรรมที่ผลิตอาวุธ ซึ่งนั้นเป็นสิ่งสำคัญที่สุด
        และถ้าเดรสเดนต้องพังพินาศไป..นั่นหมายถึงเป็นถล่มขวัญและกำลังใจของผู้ที่สนับสนุนลัทธินาซี..และเป็นการตัดกำลังของข้าศึกแบบไม่ต้องผุดต้องเกิดกัน"

        ไม่ต้องผุดต้องเกิดนั้นก็จริงของท่านแม่ทัพ..เพราะ ประชาชนที่ไม่มีทางสู้จำนวนหลายแสนต้องมอดไหม้ไปพร้อมกับการโชว์ออฟของระเบิด high-explosive
        ที่หลังจากถล่มกันเสร็จ...เดรสเดนแทบเหลือแต่ซาก...
        แล้วสองคู่หูคู่ฮามหามิตรที่แสนดีมีน้ำใจ....ส่งมอบเมือง Dresden ให้สตาลินเอาไปดูแลต่อ...

   ดูภาพเคลื่อนไหวได้ที่นี่ค่ะ...http://youtu.be/9J6uI8do-CA



        หลักฐานในเรื่องสปายต่างๆนั้นออกมาเป็นระลอก หลังจากที่ระบบคอมมิวนิสต์ในโซเวียตได้สลายไป..
        หากแต่ถ้าจะดูกันจริงๆแล้ว...เรื่องของระเบิดปรมาณูนั้นไม่ใช่เรื่องใหม่ เพราะหลังจากสงครามโลกครั้งที่หนึ่งจบไป...นักวิทยาศาสตร์ระดับชั้่นมันสมองที่มีทั้งยิว ทั้งสลาฟได้รวมตัวกันในเยอรมันทำการวิจัยในเรื่องนี้แบบเป็นทีม เพราะ แร่ยูเรเนียมนั้น มีประสิทธิภาพมากมาย ที่ได้ค้นพบมาตั้งแต่ศตวรรษที่สิบแปด

        พอนาซีขึ้นมาครองเมือง เหล่านักวิทยาศาสตร์นี้ก็ต้องแยกตัวกัน..สมองไหลไปยัง
        ประเทศที่ให้่ความปลอดภัย อย่าง อย่างไอน์สไตน์  ไปอเมริกา และได้เคยเขียนจดหมายไปหาปธน. รูสเวลต์ ตั้งแต่เดือนสิงหาคม 1939  ถึงเรื่องการเคลื่อนไหวในการทำระเบิดปรมาณูของเยอรมัน รวมไปถึงให้การแนะนำแหล่งหาแร่ยูเรเนียมที่มีคุณภาพ
        (เรื่องนี้ ดิฉันเคยเขียนไว้แล้วใน "ฮิตเล่อร์" )
        แต่คนอื่นๆนั้นก็ทราบถึงสูตร E = mc² ด้วยเช่นกัน...
        หากแต่คนที่จะสร้างระเบิดปรมาณูได้นั้น ต้องมีครบทุกอย่าง...เงิน..อำนาจ..และ วัตถุดิบในมือ
        แร่ยูเรเนียม และ พลูโตเนียม นั้นหากันไม่ใช่ได้ง่ายๆ  มีเพียงไม่กี่ประเทศเท่านั้น..
        (แคนาดามีมากสุด)
        นี่คือสาเหตุที่อเมริกาต้องจับมือกับอังกฤษสมรู้ร่วมคิดในกัน The Manhattan Project
        (แต่ไม่แพร่งพรายให่โซเวียตรู้เลย..)

        โซเวียตก็ได้แต่ส่งสปายไปสืบตรงโน้นตรงนี้..เพราะสปายส่วนใหญ่ทำงานให้ด้วยด้วยความเป็นจิตอาสา  อาจจะมีพิมพ์เขียวอยู่ในมือ...แต่ไม่มีวัตถุดิบ..มีผู้เชี่ยวชาญ
        แต่ไม่มีเวลาเพราะมัวแต่ไปพันตูเรื่องสงครามกับเยอรมัน..
        แต่สตาลินได้รับทราบในเรื่องของการเร่งสร้างระเบิดปรมาณูของอเมริกา
        ดังนั้น..เมื่อปธน. ทรูแมนได้แย้มๆให้ฟังว่ามีอาวุธร้ายแรงที่จะกำจัดญี่ปุ่น..
        สตาลินจึงได้แต่ยิ้มๆ.....ไม่แสดงอาการแปลกใจแต่อย่างใด..ส่วนในใจได้คิดไว้แล้วว่า...ไม่ว่าอเมริกาจะ"จัดการ"กับญี่ปุ่นอย่างไร..โซเวียตก็จะไม่พึ่งบารมีให้มาเป็นบุญคุณ เพราะ"แค้นนี้" จะจัดการ"ชำระ"เอง...มันจึงจะสาแก่ใจ..
        เมื่อสองเมืองใหญ่ๆของญี่ปุ่นได้ถูกถล่มด้วยระเบิดนิวเคลียร์ไปให้เห็นๆ...
        แต่สตาลินทำเป็นไม่เห็น..ธุระไม่ใช่...เรื่องของเอ็ง...
        ว่าแล้ว..เขาประกาศสงครามกับญี่ปุ่น..ในวันที่ 9 สิงหาคม (วันเดียวกันที่นางาซากิโดนถล่นไป)  โดยส่งกองทัพใหญ่ โดยแม่ทัพวาสิเลฟสกี้..ไปเปิดฉากบุกที่แมนจูกัว
        แบบไล่ให้ตกทะเล กลับบ้านไปแทบไม่ทัน...

        เยอรมัน...มีของดีอยู่ในมือแท้ๆ..แต่..ฮิตเล่อร์มองข้ามในจุดนี้ไป...แถมไปเอาตำราของพวกนักวิทนาศาสตร์ยิวมาเผาทิ้งไปอีกมากมาย..จึงได้เหลือแต่นักวิทยาศาสตร์ที่มีกึ๋นแค่เพียงผลิตห้องรมแก๊สเอาไว้ฆ่ายิว

        พอจบสงครามไปได้...สตาลินได้เห็นอานุภาพของ"ของดี" ที่ว่า..จึงได้รีบไประดมสมองจัดการสร้างระเบิดปรมาณูขึ้นมาทันที..ดังที่ทราบแล้วว่า..มี"พิมพ์เขียว" อยู่ในมือแล้ว..ที่เหลือคือ ไปเสาะหาวัตถุดิบที่หาไปหามา...อยู่ไม่ใกล้ไม่ไกล Kazakhstan และที่ Ukraine  นี่เอง...ทุกอย่างเลยเรียบร้อยโรงเรียนสตาลิน..
        เพียงแค่สี่ปีเท่านั้น..โซเวียตก็ได้เข็น Joe 1 ออกมาทดลองในท้องทุ่งที่คาซัคสถาน ( 29 สิงหาคม 1949 ) ให้สหรัฐอ้าปากค้าง..
        จากนั้น...สงครามแห่งการบลั๊ฟระหว่างสองมหาอำนาจนั้น..ได้เกิดขึ้นเรื่อยๆ  
        บลั๊ฟกันทีไร..ก็เล่นเอาชาวโลกขวัญผวากันไปตามๆกัน...อย่าง..ที่ ครุสเชฟ ได้บันทึกไว้ว่า..

        " I remember President Kennedy once stated... that the United States had the nuclear missile capacity to wipe out the Soviet Union two times over, while the Soviet Union had enough atomic weapons to wipe out the Unites States only once... When journalists asked me to comment... I said jokingly, "Yes, I know what Kennedy claims, and he's quite right. But I'm not complaining... We're satisfied to be able to finish off the United States first time round. Once is quite enough. What good does it do to annihilate a country twice? We're not a bloodthirsty people."



        Nikita Khrushchev - quoting himself in Khrushchev Remembers: The last Testament, 1974, pg. 530

        เป็นไงคะ....มีการแดรกดันกลับเล็กๆด้วยแน่ะ...


        แม่ทัพซูคอฟได้นำทัพจากฐานที่ตั้งส่วนแม่น้ำวิสตูล่า เข้าสู่โปแลนด์จากตอนใต้ ในวันที่ 17 มกราคม 1945
        ท่านได้บันทึกไว้ว่า..
        "ชาวโปล์ได้เข้ามาเล่าให้ฟังว่า..ความร้ายกาจของนาซีทั้งตอนที่เข้ามายึดครองและตอนก่อนที่จะล่าทัพออกไปนั้น..ได้ระเบิดทำลายทุกอย่างที่ขวางหน้า..
        ทหารโปล์ที่หน้าตาเต็มไปด้วยรอยแผล เล่าไปพร้อมกับน้ำตาที่ไหลพรากเป็นสาย เขาพร้อมกับการที่สละชีวิตที่เหลือเพื่อความแก้แค้นให้กับประเทศชาติ..
        ขนาดเราที่เป็นทหารโซเวียตยังรู้สึกถึงความชอกช้ำและสูญเสียของพวกเขา..และอยากให้พวกเขาบรรลุถึงจุดประสงค์ในเร็ววัน"

        จากนั้นแม่ทัพซูคอฟจึงเคลื่อนทัพสู่ Poznan ที่อยู่ห่างไปแค่ร้อยยี่สิบไมล์ทางตะวันตก ตามแผนเดิม..คือ..จะต้องถึงโปซ์นันภายในต้นเดือนกุมภาพันธ์ แต่
        เนื่องจากทางสะดวก..กองทัพโซเวียตจึงเคลื่อนพลได้เร็วกว่าเดิมเป็นอาทิตย์

        วันที่ 26 มกราคม แม่ทัพซูคอฟได้เสนอแผนมุ่งทัพสู่แม่น้ำ Oder ไปยังสตาลิน ว่า..
        "ควรที่จะข้ามไปได้ภายในไม่กี่วันข้างหน้า จากนั้นก็จะเคลื่อนทัพสู่ชายนอกของเบอร์ลินทางทิศเหนือและทิศใต้ เพื่อที่จะกระจายออกเป็นการล้อมกรอบเมืองหลวงของเยอรมัน..."

        สตาลินให้การอนุมัติมาในวันที่ 27 มกราคม..ซึ่งแม่ทัพซูคอฟได้นำไปประกาศกับทหารว่า..
        "ถ้าหากว่าเราได้เข้าคุมทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำโอเดอร์ได้อย่างหมดจดแล้วละก้อ...เท่ากับว่า..การบุกเข้าเบอร์ลินนั้นจะง่ายมาก"
        ดังนั้น..เป็นไปตามคาด..กองทัพเบโลรุสเชี่ยนที่หนึ่งของแม่ทัพซูคอฟได้ข้ามแม่น้ำโอเดอร์ได้ และไปตั้งฐานทัพที่มั่นที่เขต Kustrin ในต้นเดือนกุมภาพันธ์ตามแผน
        ทางฝั่งนี้...กองทัพนาซีก็ยังมีการต่อต้านเต็มกำลัง...แต่ไม่อาจทานกำลังการบุกของโซเวียตได้  จนแม่ทัพซูคอฟได้ประกาศกร้าวว่า..
        "วันที่จะเหยียบเบอร์ลินของพวกเรา จะต้องเป็นวันที่ 15 หรือ 16 นี้..ขอให้ทุกท่านรับไปปฏิบัติ.."
        ในวันที่ 10 กุมภาพันธ์ แม่ทัพซูคอฟได้มอบผังการล้อมกรุงเบอร์ลินให้สตาลินรับไปตรวจสอบ  ซึ่งสตาลินได้เก็บไปเอาอ่านอยู่หลายวัน..กว่าจะส่งกลับมา..การปฏิบัติการก็ได้เลื่อนไปเป็นวันที่
        19-20
        แต่...พอตกเย็นของวันที่ 18... กองทัพเตรียมพร้อม..ต้องชะงักกึก...เพราะสตาลินได้มีคำสั่งมาให้พักกอง..ยังไม่ต้องเคลื่อนไปไหนทั้งสิ้น
        เพราะ...กองทัพของแม่ทัพโคเนฟได้สร้างผลงานการเดินทัพฝ่าด่านนาซีเข้ามาอย่างสวยหรูไม่แพ้ผลงานของแม่ทัพซูคอฟ..
        อีกทั้ง..กองทัพที่สองของแม่ทัพโรโคซอฟสกี้ มีการติดขัดเล็กน้อย..เนื่องจากกองทัพเบโลรุสเชี่ยนที่สาม ก็มีปัญหาทางด้านฝั่งตะวันออกของปรัสเซีย
        จึงทำให้กองทัพที่สองต้องแบ่งกำลังออกไปช่วย จึงล้าหลังอยู่ไกลพอสมควร..เป็นเหตุให้เกิดช่วงว่างของแนวทัพขนาน

        สตาลินคาดเดาว่า...กองทัพของแม่ทัพซูคอฟที่จะเข้าสู่เบอร์ลินอาจจะต้องปะทะกับกองทัพนาซีที่มีอยู่หนาแน่นที่ Pomerania (เหนือของปรัสเซียตะวันออก)
        ดังนั้น..ทางกองบัญชาการจึงอยากให้แม่ทัพซูคอฟทางด้านเหนือหันเป้าหมายจากเบอร์ลินไปโจมตีข้าศึกที่ปอมเมเรเนียก่อน..
        ซึ่งเรื่องนี้..มีพยานคือ แม่ทัพชิวคอฟที่ได้ยินการสนทนาระหว่างสตาลินกับแม่ทัพซูคอฟในเรื่องนี้ และได้บันทึกไว้ว่า..
        "จนกระทั่งทุกวันนี้..เราเองยังไม่เข้าใจเลยว่า..ทำไมแม่ทัพซูคอฟที่รู้การศึกในทุกขั้นตอนนั้น..อีกทั้งมีกำลังอย่างเต็มที่ในการที่จะบุกเบอร์ลินได้อย่างสบายๆถึงไม่โต้แย้ง
        กับท่านผู้นำให้เด็ดขาดลงไป...แม่ทัพก็รู้ดีว่าทหารส่วนใหญ่คิดอย่างไร และต้องการอะไร ท่านไปยอมรับนโยบายปอมเมเรเนียได้ยังไง"

        ไม่ใช่แม่ทัพชิวคอฟคนเดียวที่คิดอย่างนี้..แม้แต่ Time magazine  ตีพิมพ์วันที่ 19 กุมภาพันธ์ 1945 ได้มีคอลัมน์ " In Zhukov's Good Time"
        ว่า...
        "อาทิตย์ที่แล้ว...แม่ทัพซูคอฟพร้อมต่อการเข้าสู่เบอร์ลินอันเป็นหลักชัย.. หลังจากที่ประสบความสำเร็จจากมอสควา และ สตาลินกราด  แต่...ต้องมาชะงักงัน ไม่ใช่เพราะ
        เกรงภยันตรายจากกองทัพเยอรมัน หากแต่..เป็นการพักประเมินสถานะการณ์ให้รอบคอบ เพราะเป็นที่ทราบกันดีว่ากลการศึกที่เปลี่ยนจากเมืองมาเป็นค่ายสู้รบนั้น เป็นกลยุทธที่เยอรมันอาจนำมาใช้
        เพราะมันเป็นกลยุทธเดียวกับที่แม่ทัพซูคอฟได้เคยใช้กับเยอรมันในสงครามสตาลินกราด"
        นับว่า..ไทม์ได้อ่านความคิดของแม่ทัพซูคอฟได้ใกล้เคียงที่สุด...เพราะหลังจากสงครามเสร็จสิ้น..(ในเดือนเมษายน 1946)  ที่ท่านได้ทำการบรรยายในเรื่องสงครามฝั่ง Vistula-Oder
        ถึงคำถามที่ว่าน่าจะยึดเบอร์ลินได้ตั้งแต่ปลายเดือนกุมภาพันธ์นั้นว่า..
        " จริงอยู่..ที่ในยามนั้น เบอร์ลินไม่มีการต่อต้านที่แน่นหนา เพราะทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำโอเดอร์นั้น..มีเพียงระดับกองร้อย  หน่วยรถถังอีกแค่หยิบมือ  เราสามารถส่งกองพลรถถังลุยเข้าไปได้เลย
        และนั่นก็คืองานได้บรรลุผล  แต่...ในฐานะที่เป็นแม่ทัพ เราต้องรอบคอบ..อย่างไปคิดอะไรง่ายๆ อย่าไปเชื่อภาพลวงตา..เราหรือไม่ว่าแม่ทัพคนไหนก็อยากจะรีบเข้่าไปในเบอร์ลินด้วยกันทั้งนั้น
        แต่ถ้าเข้าไปแล้ว..เกิดมีการปิดประตูตีแมวขึ้นมาจริงๆ..เราจะทำอย่างไร เพราะกำลังของข้าศึกทางเหนือยังมีอยู่อีกจำนวนหนึ่งที่อาจฝ่าข้ามแม่น้ำเข้ามาปิดทางออกได้...การคุมทัพนั้นต้องคิดหลายตลบและต้องแน่ใจว่าประตูแห่งการเสี่ยงได้ปิดตายไปแล้ว..."

            
            

        ในช่วงที่สามยักษ์ใหญ่ได้ไปพบปะหารือกันที่ยัลต้านั่น...กองทัพของโซเวียต
        ได้ออกมาตลุยกรุยทางสู่ตะวันตกแบบดาหน้ามาแล้ว.....

        กองทัพของนาซีไม่ได้หมดพิษไปเสียทีเดียวในช่วงของปลายปี 1944
        เพราะตอนนั้นกองทัพสัมพันธมิตรได้ยกพลขึ้นฝั่ง..
        อิตาลีก็ได้ถูกสยบไปราบคาบ หมดพิษสงไปแล้ว..
        ฮิตเล่อร์กำลังโดนบีบมาทั้งสองทาง..ไม่มีทางเลือกอื่น..นอกจากสั่งสู้กันให้ตายกันไปข้างหนึ่ง..ไม่ยอมให้กองทัพสพม.เข้ามาได้ง่ายๆ
        โดยการตั้งรับอย่างเต็มที่ที่ฝั่ง Ardenne (เบลเยี่ยม ตะวันตกตรงแนวที่โป่งออกมาในแผนที่) หรือที่เรียกกันว่า The Battle of the Bulge
        อันเป็นการรบทางภาคพื้นดินที่จัดว่าหนักหนาสาหัสทีเดียวสำหรับฝ่ายกองทัพของอเมริกาที่เคลื่อนทัพเข้ามาหมายจะข้ามแม่น้ำไรห์นแบบสบายๆ
        แต่ต้องมาเจอกับกองทัพเยอรมันที่ได้รับคำสั่งมาว่า...ต้องสู้จนถึงทหารคนสุดท้าย..
        นั่นหมายถึงสงครามระหว่างสามชาติที่รวมกำลังพลได้ทั้งหมดกว่าหนึ่งล้าน
        ฝ่ายเยอรมัน หกแสน, อเมริกา แปดแสน, อังกฤษ ห้าหมื่นห้า..
        พื้นที่ของการต่อสู้เป็นไปในแนวยาวถึง 80 ไมล์ จากตอนใต้ของเบลเยี่ยม
        จรดแนวป่าอาร์เดนน์

        ที่ฮิตเล่อร์ยอมทุ่มกำลังมากมายขนาดนั้น เพราะคิดว่ากำลังถือไพ่เหนือกองทัพของสพม.อยู่มาก เนื่องจากความชำนาญกว่าในพื้นที่...ใช้สภาพอากาศที่เป็นลบต่ำกว่าศูนย์หลายองศาให้เป็นประโยชน์..และการเข้าตีแบบจู่โจมในช่วงของฤดูเทศกาล  ทางชนะเห็นอยู่ใสๆ..
        และเมื่อสพม.จะต้องขอยอมแพ้...ฮิตเล่อร์ก็จะใช้เป็นเรื่องต่อรองในการทำสัญญาสงบศึก...แล้วหันไปรบกับโซเวียตต่อ...

        คืนก่อนการเปิดฉากสงคราม ฮิตเล่อร์ได้ส่งแนวหน้าออกไป ทั้งทางภาพพื้นดินและทางพลร่ม ทหารเยอรมันพวกนี้พูดภาษาอังกฤษได้เป๊ะ และ แต่งกายด้วยเครื่องแบบของจีไอ..เข้าไปทำการเปลี่ยนป้ายชื่อถนนหนทาง และตัดสายโทรศัพท์
        วันที่ 16 ธันวาคม 1944 ที่กองทัพเยอรมันได้เป่านกหวีด เข้าโจมตีกองทัพอเมริกันภายใต้สภาพอากาศที่มีหมอกลงทึบ ด้วยกำลังพลถึง 38 กองพล

        ซึ่ง..กองทัพอเมริกันมาเจอกับการต้อนรับอย่างไม่คาดฝัน...ต้องถอยร่นไปจนถึงแม่น้ำมึส (Meuse) ต้องไปผนึกรวมกำลังกันต่อสู้กับฝ่ายนาซีที่เมือง Bastogne และถูกปิดล้อม
        ทางนาซีรีบได้สั่งการให้ แม่ทัพน้อย พลโท Anthony C. McAuliffe
        วางอาวุธและยอมแพ้แต่โดยดี...
        แต่ท่านได้ตอบไปสั้นๆว่า "Nuts" (ซึ่งแปลได้หลากหลายอารมณ์ แบบว่า
        บ้า..ตลก..พิลึก...แต่ในกรณีนี้..เชื่อว่าท่านคงจะหมายถึง  เมิงจะบ้าไปปล่าวว??")
        และในวันเดียวกันนั้น แม่ทัพ George Patton  และเหล่าอากาศโยธิน
        ได้มาช้วย..กู้สถานะการณ์ศึกได้อย่างเฉียดฉิว...

        ในการรบครั้งนี้..ธรรมชาติคืออุปสรรคอย่างที่ฮิตเล่อร์ได้คาดการณ์ไว้ไม่ผิด
        เพราะเครื่องยนตร์จะต้องสตาร์ทให้ติดอยู่ตลอดเวลาเพื่อไม่ให้น้ำมันกลายเป็นน้ำแข็ง  
        อาวุธปืนมีน้ำแข็งจับ (ทหารต้องปัสสวะรดเพื่อทำการละลาย)
        เผอิญ...ฤดูหนาวปีนั้น (ต้นปี 1945) นั้น...หนาวที่สุดกว่าทุกๆปีที่ผ่านมา..ซ้ำทหารสพม. ไม่ได้สวมชุดพรางสีขาว (เพราะไม่มีประสบการณ์)
        จึงเสียเปรียบในการสู้รบครั้งนี้อย่างมาก

        ในวันที่ 17 ธันวาคม ครึ่งทางระหว่างเมือง Malmedy และ Ligneuville กองพันทหารอเมริกันมีการสู้รบกับเหล่า SS  ทหารอเมริกันได้ถูกจับไปเป็นเชลยถึง 150 คน ซึ่งได้ถูกต้อนไปยืนกลางแจ้ง
        เหล่า SS ได้สาดกระสุนใส่ ตายไปแปดสิบ ที่เหลือวิ่งหนีเข้าป่ากันจ้าละหวั่น
        ข่าวนี้ได้กระจายไปในหมู่ทหารสพม. ซึ่งต่อมาได้มีการประกาศว่า..ไม่ว่าเจอ SS ที่ไหน ยิงทิ้งที่นั่น..
        (เรื่องนี้อเมริกันเป็นเดือดเป็นแค้นมาก เพราะการยิงเชลยนั้น..ทหารทางฝั่งตะวันตกถือว่าเลวร้ายป่าเถื่อนอย่างที่สุด...แต่สตาลินคงขำในใจ..เพราะว่าแค่แปดสิบศพเอง...จิ๊บจิ๊บ)

        ในวันที่ 23 ธันวาคม กองทัพอเมริกันสั่งลุย..เริ่มจากทางใต้ของ โป่ง Bulge
        วันที่ 1 มกราคม กองทัพนาซี ส่งสองกองทัพใหญ่เข้าทางฝรั่งเศสตอนเหนือ
        และเตรียมก๊อกสองไว้รอที่ฝั่งฮอลแลนด์อีก
        กองทัพอากาศของเกอริงได้ทำหน้าที่อย่างเต็มกำลัง สอยเครื่องบินของฝ่ายสพม.ร่วงไปกว่าสี่ร้อยลำ  ซึ่งมีมาทดแทนได้อย่างเร็วทันใจ
        ส่วนทางลุฟท์วัฟฟ์ที่ร่วงไปเกือบสามร้อยลำนั้น...มันหมายถึงหายนะของกองทัพอากาศเพราะสต๊อคมีอยู่จำกัด
        ทหารตายไปราวใบไม้ร่วง นับจำนวนหลายแสน
        ฮิตเล่อร์เห็นแล้วว่า..ไปไม่ไหวแน่ เพราะกองทัพโซเวียตก็เข้ามาใกล้ทุกที..
        จึงเรียกทัพกลับออกจาก Bulge ในวันที่ 7 มกราคม และเรียกกองทัพจากแนวตะวันตกกลับ..เพื่อมาป้องกันบ้านเมือง

        จากนั้นสามยักษ์ใหญ่มาประชุมที่ยัลต้าในวันที่ 4-11 กุมภาพันธ์ หมายถึงจากที่อเมริกันยังไม่หายช๊อค จากการที่ทหารถูกยิงทิ้งในสภาพของเชลย
        และมองเห็นความป่าเถื่อนของ SS แบบรู้แจ้งเห็นจริง..
        ดังนั้น สตาลินเลยเล่านิยายให้ฟังว่า..ที่เบอร์ลินนั้นไม่น่าห่วงอะไร แต่ที่เมือง Dresden นั้นเป็นรังใหญ่ของเหล่า SS และเป็นพื้นที่มีโรงงานผลิตอาวุธจำนวนมาก
        เรื่องนี้..นายพลไอเซ่นฮาวร์เชื่อสนิทใจ  (แต่ เชอร์ชิลล์และนายพลมอนต์คอมเมอรี่ รู้ดีว่า สตาลินกำลังทำการล่อหลอกอเมริกาให้เบนความสนใจไปทางอื่น) แต่ไม่อยู่ในฐานะที่จะพูดอะไรได้..

        กองทัพอากาศของอเมริกาจึงได้จัดการบอมบ์ Dresden ในสองวันหลังจากที่รูสเวลต์กลับมาจากการประชุมที่ยัลต้า..

        สตาลินหัวเราะเอิ้กอ้าก...เพราะเพียงแค่นั้นเอง..ภาพพระเอกวีรบุรุษที่ขึ้นฝั่งมาจากนอร์มังดีนั้น..ได้กลายเป็นไอ้ผู้ร้ายใจอำมหิตไปในสายตาของประชาชนชาวยุโรปทันที..
        แล้วจะมาหาว่าพวกโซเวียตใจร้าย ป่าเถื่อน...เห็นม๊ะล่ะ...???

            
         
         




        ช่วงที่จะเข้าเบอร์ลินเนี่ย...ต้องอ่านหนังสือหลายเล่มพอสมควร เพราะเรื่องรบก็หนึ่ง...
        แต่เรื่องที่น่าสนใจคือนโยบายของสตาลินที่หลากหลายในการที่จะปูนบำเน็จให้กับฝ่ายการเมือง
        ในสภาแดง  เนื่องจากเหล่าวงใน..ล้วนแต่มีแม่ทัพคนโปรดของตัวเอง..จึงมีการล๊อบบี้เพื่อที่จะขอให้พวกของตัวได้สร้างชื่อเสียงให้ประขักษ์ต่อโลกบ้าง..

        การเข้าสู่เบอร์ลินนี้...ได้กลายเป็นเกมส์การแข่งขันระหว่างแม่ทัพว่า..ใครจะไปถึงก่อนกัน
        ทั้งนี้ทั้งนั้นต้องขึ้นอยู๋กับประธานกรรมการ คือสตาลิน...

        


        ขอย้อนกลับๆไปนิดหนึ่ง...หลังจากการปะทะที่ The Battle of the Bulge ในเดือนมกราคมมา..พันธมิตรทั้งสามฝ่ายได้รู้ตัวแล้วว่า..เยอรมันต้องสู้จนขาดใจอย่างแน่นอน เพราะกองทัพที่มีกำลังหนุนอยู่ในเขตรอบนอกของเบอร์ลินนั้น..มีการเตรียมตัวแบบรอพร้อมรับมือ..
        ทางฝั่งตะวันออกนั้นได้มัการสร้างปราการและคูเพลาะซ้อนกันถึงสิบชั้นเพียงในระยะไม่กี่สิบไมล์

        ทัพที่เคลื่อนมาเป็นแนวหน้าของโซเวียตนั้นมารวมกับสายของทัพแดงโปแลนด์, เชคโกสโลวาเกีย, บัลเกเรีย และ โรเมเนีย ที่ชายฝั่งของโปแลนด์..
        ในระหว่างการสู้รบ..กองทัพโซเวียตลูกผสมได้พบกับสุสานที่ใหญ่ที่สุดในโลก  นั่นคือ ค่ายนรกที่เอ๊าซวิทซ์ (Auschwitz) ทุกอย่างที่เกี่ยวกับการกำจัดยิว และ การทารุณกรรมต่างๆที่เคยเป็นความลับอันดำมืดนั้นได้ถูกเปิดเผยออกมา
        จากการเข้าบุกค้นของทหารโซเวียต กระสอบที่บรรจุเส้นผมของเหล่าหญิงผู้โชคร้ายนั้นสามารถชั่งได้ถึง เจ็ดพันกิโลกรัม  ฝุ่นเถ้าของศพที่ถูกเผาไปกองเป็นหย่อมๆทั่วไปหมด....รองเท้าและของเล่นเด็กๆที่สุมกองเป็นภูเขาเลากา

        ช่วงของการเข้าสู่ค่ายนรกนี้..ได้ถูกนำมาเผยแพร่ในมอสควา เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 1945  ว่า..เฉพาะที่ค่ายนรก Auschwitz นั้น ได้สังหารยิวกว่าสามล้านคน
        ในความเป็นตัวตนของแม่ทัพซูคอฟ...จากปากคำของธิดาของท่าน..ได้บอกไว้ว่า..แม่ทัพไม่ใช่คนที่รังเกียจยิว..มิหนำซ้ำ..ท่านได้ชื่นชมและยกย่องทหารของท่านที่เป็นยิวที่ได้เสียสละชีพเพื่อชาติอย่างนายพล Lev Dovator ที่เข้าปะทะกับกองทัพรถถังนาซี ในช่วงที่บุกเข้ามาในปี 1941

        ส่วนแม่ทัพซูคอฟ..ท่านได้พูดถึงสงครามครั้งนี้ว่า
        "ในช่วงของการสู้รบมานั้น เราได้นำทัพเข้าปะทะหลายครั้งหลายครา ในพื้นที่ต่างๆกัน การรบที่แตกต่างกันไปตามพื้นที่และสถานะการณ์  แต่สงครามเบอร์ลินนี้..จัดว่าพิเศษสุด เพราะเป็นการรบที่ออกแบบลำบาก  กองทัพหน้าของเราจะต้องฝ่าด่านที่ตั้งรับอย่างแข็งแรง และหลายชั้นด้วยกัน นับจากลุ่มแม่น้ำโอเดอร์เข้ามา จนถึงเบอร์ลินที่มีการต้านรับอย่างแข็งแรงและแข็งขัน
        การที่จะเข้ามาได้..หมายถึงการที่จะต้องทำลายล้างสิ่งกีดขวางทั้งหมด..ไม่ว่า คนหรือวัตถุ เพราะนั่นคือวิธีเดียวที่จะเข้าสู่เมืองหลวงได้"

        สิ่งที่ท่านแม่ทัพพูดนั้น คือเรื่องจริงที่เกิดขึ้น เพราะกองทัพเยอรมันได้จัดแต่งชานเมืองโดยรอบเป็นพื้นที่สงคราม หรือ Dead Zone โดยการทำลายทุกอย่าง เช่น ทางรถไฟ, โทรศัพท์ ไฟฟ้า สถานีวิทยุ,
        เรือกสวนไร่นา, โรงงาน, สะพาน และ เขื่อน
        แม่ทัพนาซี จอมพล Keitel และ รัฐมนตรี  Martin Bormann ได้สั่งให้ชาวเยอรมันและทหารสู้กับข้าศึกจนคนสุดท้ายจะล้มลง..โดยจะมีหน่วย SS ไปคอยคุมการรบอีกชั้นหนึ่ง
        ใครที่ไม่สู้..โทษคือ ถูกแขวนคอประจานกลางสี่แยก

        การต้านรับของนาซีทางฝั่งปรัสเซียตะวันออกเป็นไปอย่างแข็งขัน ทั้งๆที่ได้ถูกล้อมจนต่อกับแผ่นดินของเยอรมันไม่ติดแล้ว..แต่ก็ได้สู้รบอย่างสามารถไปจนได้จนถึงเดือนเมษายน
        กว่าที่แม่ทัพซูคอฟจะสยบด่าน Konigsberg ไปได้...
        การเข้าสู่เบอร์ลินของกองทัพโซเวียตและฝ่ายแนวร่วมที่ได้วางแผนได้แต่เริ่มแรกเมื่อเดือนพฤศจิกายน 1944 นั้น..มีอยู่ว่า..
        นายพลไอเซ่นฮาวร์ จะนำทัพผ่านเข้ามาจนถึงแนวแม่น้ำไรห์นในเดือนมีนาคมและ...ภายในต้นเดือนเมษายน..ก็จะเข้าสู่กรุงเบอร์ลิน
        ทางฮิตเล่อร์ได้รวบรวมเกณฑ์ผู้คนเข้ามาเพิ่มแบบไม่เลือกเพศเลือกวัย  แม้กระทั่งเด็กวัยทีน ที่เขาตั้งขึ้นมาโก้ๆว่า Hitler Youth สำหรับที่จะเป็นปราการด่านสุดท้ายให้กับเบอร์ลิน


        Lev Dovator                   


        สตาลินได้สั่งให้แม่ทัพซูคอฟชลอทัพเอาไว้..พร้อมเรียกตัวเข้าสู่มอสควา ในวันที่ 29 มีนาคม เพื่อหารือเกี่ยวกับแผนงานของกองทัพเบโลรัสเชียนที่หนึ่ง ซึ่งแม่ทัพได้ไปถึงและเข้าพบในเย็นวันนั้นเลย..
        ในขณะที่สตาลินกำลังมีประชุมอยู่กับเหล่าเสนาธิการของ Stavka (หรือ กองบัญชาการสูงสุด) ที่กำลังแสดงความเห็นกันอย่างเมามันส์
        สตาลินได้โบกมือขึ้นให้หยุด และพูดขึ้นว่า...
        "แนวหน้าของเยอรมันทางฝั่งตะวันตกได้ล่มสลายไปแล้ว (ให้แก่กองทัพของสัมพันธมิตร)  ฮิตเล่อร์มันเปลี่ยนใจ ไม่ต่อต้านทางฝั่งโน้น แต่หันมาทุ่มกำลังต่อต้านเอาทางฝั่งตะวันออกแบบเต็มอัตรา...เอาแผนที่นี่ไปดูซะ...นี่คือข้อมูลการเคลื่อนย้ายถ่ายเทกำลังของเยอรมัน..."
        สตาลินหยิบเอาไปป์ขึ้นมาจุด..พร้อมกับสำทับว่า..
        "งานนี้จะเป็นการนองเลือดอีกอย่างแน่นอน..."
        แล้วก็หันมาถามแม่ทัพซูคอฟถึงความเห็นในแผนที่ที่ส่งมาให้ดูตรงหน้า  
        ซึ่งเหล่าเสธ.ในกองบก. สูงสุดได้เคยประเมินไว้ในทีแรกว่า เยอรมันไม่น่าจะมีกำลังพลต่ำกว่า เก้าสิบกองพล กองพลรถถังอีกอย่างน้อยสิบสี่
        แต่เมื่อพอมาดูอีกทีถึงรายงานของแม่ทัพซูคอฟ ที่นำติดตัวมาด้วยนั้น ปรากฏว่า..ทหารนาซีมีกำลังพลถึงล้านนาย อาวุธหนักอีกประมาณหมื่นกระบอก..รถถังติดอาวุธอีกพันห้า...
        เครื่องบินสามพันห้า  อีกทั้งยังมีหน่วยคุ้มกรุงเป็นแนวหลังอีกอย่างน้อยสองแสน..

        สตาลินจึงต้องถามความเห็นว่า.."เมื่อไหร่เราจะเริ่มดี?
        แม่ทัพซูคอฟตอบว่า..
        "แนวหน้าของกองทัพกระผมสามารถเริ่มการบุกในไม่เกินสองอาทิตย์นี้..เมื่อถึงตอนนั้น กองทัพยูเครเนี่ยนหนึ่ง..ก็ควรจะพร้อมมาสมทบ ส่วนกองทัพเบโลรัสเชี่ยนที่สองอาจจช้าหน่อยเพราะรับมืออยู่ที่ Danzig-Gdynia อาจล่าไปจนถึงกลางเดือนเมษายน..จะมาไม่ทันสมทบกับเราสองทัพหน้าได้.."
        "ถ้าอย่างนั้น..เราก็ไม่ต้องรอโรโคซอฟสกี้.. บุกได้เลย...เพราะแค่เขาช้าไปนิดช้าไปหน่อย ก็ไม่ได้มีอะไรเสียหาย.."

        ผู้อำนวยการกองบก. ได้เข้ามายื่นจดหมายให้สตาลินอ่าน...มันเป็นจดหมายจาก"ผู้หวังดี" จากยุโรป (ก็จากสปายของโซเวียตนั่นแหละ)
        ได้บอกว่า.."ขอให้สงสัยเอาไว้ก่อนว่า..ทำไมเยอรมันจึงปล่อยฝั่งตะวันตกให้ทหารของอเมริกาและอังกฤษเดินเข้ามาอย่างสบายๆ...น่าจะมีการตกลงลับอะไรกันไว้กับเชอร์ชิลล์และรูสเวลต์...เมื่อตรวจสอบข่าวแล้ว..เป็นจริงตามนั้น...หากแต่..ทางกองทัพสัมพันธมิตรได้ปฏิเสธข้อเสนอนี้ไป..."
        สตาลินได้แสดงความเห็นว่า..
        "รูสเวลต์ไม่มีวันยอมละเมิดสัญญากับเราที่ยัลต้าแน่นอน...ส่วนเชอร์ชิลล์นั้น...หัวเด็ดตีนขาดก็ไม่ยอมรับข้อเสนออะไรจากฮิตเล่อร์"

        ในสามสหายสงครามนี้...สตาลินเหมือนกับประทับใจในตัวของปธน. รูสเวลต์มากกว่าเชอร์ชิลล์  เพราะการที่ชอบต่อปากต่อคำและหาโอกาสเสียดสีให้เจ็บๆแล้วละก้อ...เป็นงานถนัดของท่านเชอร์ชิลล์ อันเป็นที่ทราบกัน
        แถมแอบเรียกสตาลินว่า "ไอ้โจรห้าร้อย" ออกบ่อยๆ...

            
         
 

        สองวันต่อมา..แม่ทัพโคเนฟ แห่ง ทัพยูเครเนี่ยนที่หนึ่ง ได้รายงานมาว่าพร้อมต่อการเข้ามาสมทบ สตาลินพูดขึ้นมาหน้าตาเฉยว่า..
        "หากว่าการต้านรับนั้นแข็งขันมากจนทำให้ซูคอฟต้องล่าช้าไปกว่ากำหนด กองทัพของโคเนฟก็นำทัพลุยเข้าเบอร์ลินจากทางใต้ไปได้เลย.."
        เล่นเอาแม่ทัพซูคอฟถึงกับควันออกหูเมื่อข่าวนี้ไปถึง...(เพราะสตาลินได้เคยลั่นเป็นวาจาเอาไว้ว่า..ให้เรื่องนี้เป็นสิทธิกองทัพเบโลรุสเชี่ยนที่หนึ่ง)

        ในเย็นวันที่ หนึ่ง เมษายน...แม่ทัพซูคอฟยังอยู่ที่มอสควา...แต่หาได้รอช้าไม่...ได้สั่งการให้รองแม่ทัพ Malinin เคลื่อนทัพบุกเลย....
        เพราะระยะทางที่จะเข้าสู่เบอร์ลินนั้นอีก กว่าสามพันกิโลเมตร...ส่วนตัวเองจะบินกลับไปในเช้าวันรุ่งขึ้น..
        กองทัพของแม่ทัพซูคอฟ..ยิ่งเข้าลึก ก็ยิ่งยากขึ้นทุกทีเพราะการตั้งรับนั้น..แน่นหนาอย่างไม่น่าเชื่อ...ในช่วงของพื้นที่ เก้าร้อยตารางกิโลเมตรนั้น มีแนวปราการด่านกั้นชั้นแล้วชั้นเล่า..
        ทหารนาซียอมสู้ตายถวายหัว..ไหนจะคูเพลาะที่ขุดกั้นตลอดแนวแบบซ้อนเส้นอย่างถี่...รวมไปถึงการใช้กลยุทธจากภูมิประเทศที่เป็นทั้งป่า ภูเขา ลำน้ำ มาแบบครบหมด

        สิ่งที่คาดไม่ถึงคือ..ระยะทางก่อนถึงเบอร์ลินเพียงเจ็ดสิบกิโลเมตรนั้น..คือด่านที่ตีฝ่าไปยากอย่างไม่น่าเชื่อ มันคือที่เนิน Seelow Heights ที่หทารนาซีได้กางแนวต้านรับอย่างแน่นหนายาวถึงสิบสองกิโลเมตร
        เพราะภูมิประเทศเป็นเนิน เป็นลาด...อีกทั้งแม่ทัพซูคอฟคิดไม่ถึงว่า..มันจะเป็นปราการที่แสนโหด

        ฮิตเล่อร์ได้มีคำสั่งประกาศเมื่อวันที่ 14 เมษายนว่า..
        "เราได้เห็นความสามารถของแนวหน้าของเราที่ได้สู้รบอย่างแข็งขันแล้ว..ทัพหนุนของเราจะไม่ยอมให้แนวกั้นนั้นจะหลุดรอดมีช่องโหว่ให้ข้าศึกผ่านมาได้
        กองหนุนของเราทั้งเด็กและผู้ใหญ่ได้ผ่านการฝึกให้ใช้ปืนบาซูก้าจนชำนาญ...ทุกคนจงเตรียมพร้อมที่จะออกไปป้องกันประเทศในบัดเดี๋ยวนี้.."
        ส่วนนายฮิมเมอร์ ผู้อำนวยการกองทัพ SS ป้องกันกรุงเบอร์ลิน รีบแจกตำแหน่งนายพลให้กับเหล่า SS แบบไม่อั้น และเรียกทหารเข้ามาเพิ่มอีกเก้ากองพล
        มีหลัหฐานว่า นายฮิมเล่อร์ได้พยายามติดต่อกับท่านเค้านท์ Folke Bernadotte แห่งสวีเดน (ที่วางตัวเป็นกลาง) บ่อยครั้งในเดือนเมษายน
        เพื่อที่จะขอสงบศึกโดยสันติกับอเมริกาและอังกฤษ แต่..จะไม่ยอมสยบกับโซเวียตอย่่างเด็ดขาด..
        (แม่ทัพ Alfred Jodl ได้ให้ปากคำและคำให้การต่อศาล เมื่อหลังสงครามว่า..ในยามที่เราต้องสู้รบกับทหารโซเวียตทางฝั่งตะวันออกนั้น
        เราต้องใช้กองหนุนทั้งหมดที่มี แม้กระทั่งนักศึกษา นักเรียน ออกถูกเกณฑ์ไปต่อสู้กับกองทัพแดง..)

        Count  Folke Bernadotte   


        แผนเดิมของแม่ทัพซูคอฟที่ว่าจะลุยให้ราบไม่ว่าหน้าอินทร์หน้าพรหมโดยการใช้อาวุธปินใหญ่ รถถังเคลื่อนเข้าขยี้ในทีแรก ตามด้วยการถล่มจากเครื่องบินแบบโต้งๆนั้น..ไม่ได้เสียแล้ว
        เพราะการตั้งรับแบบมาทุกทางแบบนี้..แม่ทัพจึงต้องปรับแผนใหม่ถ้าต้องการที่จะเผด็จศึกแบบทันใจ โดยการใช้สารพัดเทคนิคเข้ามาเสริม
        โดยการสั่งย้ายอาวุธ รถถังจากฝั่งตะวันตก (ที่ฮิตเล่อร์ไม่ได้ป้องกันแล้ว..) อ้อมมาทางโปแลนด์ทางเส้นทางรถไฟ...ที่ดูจากไกลๆแล้วจะไม่เห้นว่าเป็นอาวุธ หรือรถถัง เพราะจะปกคลุมมาด้วยฟ่อนฟาง
        และท่อนซุง..ทันทีที่มาถึง เหล่าอาวุธและรถถังก็จะเปิดขึ้นมาพร้อมเคลื่อนย้ายไปยังฐานลับที่ตั้ง..

        เพราะแม่ทัพซูคอฟ..ต้องการกระสุนปืนใหญ่ ปืนเล็ก ทั้งหมดด้วยกัน 7,147,000 นัด รวมทั้งอาหาร เสบียง น้ำมัน ที่ขนมานับเป็นร้อยๆขบวนรถไฟเพื่อที่จะฝ่าด่านหน้านี้ไปจนถึงเบอร์ลิน..
        ท่านว่า...
        "ตอนนี้..รบได้อย่างสบายใจแล้ว...เพราะทุกอย่างพร้อม.."
        ในคืนวันที่ 15 เมษายน...ก่อนที่จะเริ่มการถล่มเพียงไม่กี่ชั่วโมง..แม่ทัพซูคอฟไปตรวจทัพที่แปด ที่ควบคุมดูแลโดยแม่ทัพชิวคอฟ  
        (Vasily Chiukov ที่นักเขียนสาระสงครามอเมริกัน นาย Edgar Snow ได้บรรยายถึงเหตุการณ์ตรงนี้ไว้ว่า..เป็นชายร่างใหญ่ มือใหญ่  หน้าตาใหญ่..ฟันเลี่ยมทอง...และ จิตใจดี...
        แม่ทัพซูคอฟบ่นว่า...นาฬิกามันช่างเดินช้าจริง..วันนี้..และแม่ทัพได้ใช้เวลารอนั้น นั่งในคูเพลาะ จิบน้ำชาที่ทหารหญิงชงให้อย่างเงียบๆ...ทหารหญิงคนนั้น มีชื่อแปลกไม่เหมือนหญิงรัสเชี่ยนคนอื่นๆ เธอมีนามว่า
        Margot)

        แม่ทัพซูคอฟมองดูนาฬิกาอีกที..มันเป็นเวลาตีสามตรงเผง..และนั่นคือเวลาที่ปืนใหญ่ ปืนครก จรวด และฝูงบิน ออกทำการอย่างพร้อมเพรียง
        แสงไฟจากดวงไฟส่องอากาศยานกว่าร้อยสี่สิบดวงได้ส่องออกไปสู่ข้าศึก เพื่อเป็นการทำให้มืดมนต่อการมองเส้นทางและที่มาของการโจมตี
        พอรุ่งสาง..กองทัพโซเวียตได้คืบผ่านด่านหน้าไปได้..และเริ่มที่จะลุยต่อไปยังด่านที่สอง นั่นหมายถึงการต่อสู้เริ่มเข้มข้นขึ้น เพราะมันใกล้สู่ฐานสำคัญของนาซี Seelow Heights
        กรุงเบอร์ลิน..อยู่ทางด้านหลังเนินเขานั่นเอง...เห็นอยู่แล้วลิบๆ...
        จนบ่ายโมงของวันนั้น..แม่ทัพซูคอฟจึงแน่ใจว่า..กองทัพเยอรมันได้ใช้เนินเขานั้นเป็นที่ตั้งของฐานปืนใหญ่ขนาดใหญ่....เขาไม่รอช้า..สั่งปล่อยกองทัพรถถังสองกองทัพเข้าลุย
        ฐานข้าศึกทันที..และต้องทำให้สำเร็จด้วย
        แม่ทัพได้โทรหาสตาลิน รายงานว่า ข้าศึกได้สู้รบอย่างแน่นหนาและสามารถกว่าที่คาดคิดไว้พอสมควร
        สตาลินตอบกลับมาว่า...ส่งฝูงบินมือบอมบ์ไปประกบกองทัพรถถังทัพของเรา..จะรอฟังรายงานทุกระยะ...
        ในตอนเย็น..แม่ทัพซูคอฟได้ติดต่อกลับไปว่า...ก็ยังต้องใช้เวลาเพราะมันไม่ง่ายอย่างที่คิด  คาดว่า..พรุ่งนี้เย็นน่าจะเรียบร้อย
        คราวนี้่สตาลินหมดความอดทน..เริ่มส่งเสียงเขียวมาว่า..
        "ก็มัวแต่งุ่มง่ามอะไรกันอยู่..ไอ้กองทัพรถถังที่หนึ่งกับที่แปดเนี่ย..นายแน่ใจนะว่าพรุ่งนี้เย็นจะเรียบร้อย..?"
        แม่ทัพซูคอฟก็เริ่มหงุดหงิดเหมือนกัน ตัวเองก็ถูกกดดันจะแย่อยู่แล้ว..เพราะต้องรีบเหมือนกัน ไม่งั้นจะกลายเป็นแม่ทัพโคเนฟสู่เบอร์ลินก่อน...
        แต่ก็พยายามรักษาน้ำเสียง..ว่า
        "ให้มันออกมารบกับเราในทุ่งกว้างอย่างนี้..จะดีกว่าให้มันไปรวมตัวกันในเมือง เพราะรบที่นี่เราจัดการให้เสร็จได้แบบเหี้ยนเตียน...พอเข้าเมืองก็จะเข้าสบายไม่ต้องกังวลเรื่องรบในเมืองอีก"

        เป็นไปตามคาด...แม่ทัพซูคอฟสามารถเคลื่อนพลสู่เบอร์ลินได้ในวันที่ 20 เมษายน...อันเป็นการเริ่มต้นแห่งบทอวสานของกรุงเบอร์ลินภายใต้การนำของนาซี...

    ดูภาพเคลื่อนไหวที่นี่ค่ะ....http://www.youtube.com/watch?v=36XisaKZgkk
            


        วันที่ 21 เมษายน เป็นวันเคลื่อนขบวน..ฮิตเล่อร์ได้ตะโกนสั่งให้ทหารทุกคนสู้ตาย....ถ้าใครปล่อยให้ทหารโซเวียตเหยียบเข้ามาได้ หมายถึง...ตาย..

        ความจริงแม่ทัพไอเซ่นฮาวร์ก็เคลื่อนขบวนเช่นกัน..แต่มาหยุดอยู่แค่ชายฝั่งของแม่น้ำ Elbe ปล่อยให้กองทัพโซเวียตแสดงฝีมืออย่างตามสบาย..
        เพราะแม่ทัพเชื่อว่า..ทหารฝั่งโน้นกระเหี้ยนกระหือรือเพราะความจำที่ฝังใจในการที่ถูกทหารนาซีเข้ามาเชือดถึงในบ้าน  ไหนจะญาติพี่น้องที่ถูกพรากเอามาเป็นเชลยอีก
        ทหารโซเวียตทุกคนต่างพกพามาแต่ความเจ็บช้ำ และต้องการที่จะเห็น"ตัวการ" และบ้านเมืองของมันต้องย่อยยับไปด้วยน้ำมือ ดังที่ว่า ตาต่อตา ฟันต่อฟัน

        แต่..แม่ทัพ Vasily Shatilov ผู้ที่เป็นหัวหน้าหน่วยทหารที่สามารถนำธงโซเวียตไปปักบนทำเนียบ Reichstag ได้บันทึกไว้ว่า..
        "สำหรับชาวเบอร์ลิน..แน่นอนว่า มันเป็นที่เต็มไปด้วยสายตาความจงชังเหมือนกับว่าพวกเราคือยักษ์มาร..คืออมนุษย์ ในตอนแรกๆ...
        แต่ต่อมา..สายตานั้นเปลี่ยนไปเป็นความแปลกใจเข้ามาแทนที่ เพราะเราไม่ได้เป็นอย่างที่ฝ่ายนาซีได้ทำการโปรประกันดาเอาไว้.. เราไม่ได้เข้าไปฆ่าหรือเข้าไปปล้นทำลายล้างประชาชน
        เราไม่ได้เข้าไปแก้แค้น อย่างที่ควรจะทำ แต่เรากลับไปตั้งโรงครัวทำอาหารแจกแก่ชาวเมืองที่กำลังอดอยากเสียด้วยซ้ำ"
        (เรื่องนี้จริง..เพราะ กองทัพโซเวียตได้ไปตั้งหน่วยโรงครัวทำซุป ทำขนมปังแจก  แบบเอิกเกริก เพราะตอนนั้น ประชาชนชาวเบอร์ลินกำลังขาดแคลนอย่างแสนสาหัส)

            
         

            
            


 

 

 

 

เพื่อนๆที่ตั้งคำถามทิ้งไว้ในกระทู้เก่าๆ...ดิฉันจะนำมาตอบทีเดียวหลังจากเรื่องนี้ได้จบสมบูรณ์ไปแล้วนะคะ  เพราะ ขณะที่เล่าต่อๆมานี้..พวกคุณๆอาจจะได้คำตอบกันไปบ้างแล้ว..เพราะเนื้อเรืองจะคาบเกี่ยวกันไปหมดค่ะ..

 




บทความจากสมาชิก




1

ความคิดเห็นที่ 1 (102147)
avatar
หมาป่าดำ

 ตามอ่านอย่างใจจดใจจ่อครับ

ได้ความรู้เกี่ยวกับสมรภูมิตะวันออกมากเลย เพราะไม่ค่อยมีใครเขียนถึงในภาคภาษาไทย ยิ่งช่วงกรุงเบอร์ลินแตกด้วยมีน้อยเช่นกัน 

ผู้แสดงความคิดเห็น หมาป่าดำ (mistiest-at-hotmail-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2012-09-10 19:08:04


ความคิดเห็นที่ 2 (102149)
avatar
Demetorius

 ขอบคุณที่ให้ความรู้ครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น Demetorius (maceus-at-hotmail-dot-co-dot-th) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2012-09-17 10:28:32


ความคิดเห็นที่ 3 (102188)
avatar
บรรณา

 เยี่ยม ทั้งที่ทราบเรื่องอยู่แล้ว แต่ก็ตามอ่านจนจบ เขียนได้สนุก และมีสาระมากๆ ขอคารวะ

ผู้แสดงความคิดเห็น บรรณา วันที่ตอบ 2015-10-09 10:04:08



1


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.
| WW II Europe | WW II Asia | WW I | Vietnam War | ประวัติศาสตร์ไทย | บทความจากสมาชิก | คุยกันหลังฉาก | บทความทั้งหมด |

สนใจร่วมเขียนบทความในเว็บไซต์ เชิญอ่าน แนวทางการร่วมเขียนบทความ ภาพยนตร์ประวัติศาสตร์

Custom Search



eXTReMe Tracker