dot
dot
เว็บภาพยนตร์ประวัติศาสตร์ ยินดีต้อนรับผู้สนใจทุกท่าน
dot
dot
สมาชิก Webboard/Blog
ชื่อผู้ใช้ :
รหัสผ่าน :
เข้าสู่ระบบอัตโนมัติ :
bullet ลืมรหัสผ่าน
dot
bulletข้อตกลงการเป็นสมาชิก
bulletเว็บบอร์ด-คุยกันหลังฉาก
bulletเว็บบอร์ด-Games ย้อนยุค
bulletเว็บบอร์ด-ชุดจำลองประวัติศาสตร์
bulletเว็บบอร์ด-หนังสือประวัติศาสตร์
bulletเว็บบอร์ด-เพลงประวัติศาสตร์
bulletคำถาม/คำตอบ ล่าสุด
bulletแนวทางการร่วมเขียนบทความ
dot
สงครามโลกครั้งที่ 2
dot
bulletสมรภูมิยุโรป (สัมพันธมิตรVSเยอรมัน-อิตาลี)
bulletสมรภูมิแปซิฟิก-เอเชีย (สัมพันธมิตรVSญี่ปุ่น)
dot
ภาพยนตร์ประวัติศาสตร์อื่นๆ
dot
bulletสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง
bulletประวัติศาสตร์ไทย
bulletประวัติศาสตร์อเมริกันยุคเริ่มแรก
bulletสงครามเวียดนามและอินโดจีน
bulletตะวันตกโบราณ (กรีก โรมัน ฯลฯ)
bulletประวัติศาสตร์ร่วมสมัย
bulletเอเชียโบราณ
bulletประวัติศาสตร์อื่นๆ (ยังไม่แยกหมวดหมู่)
bulletคลิปความรู้จาก YouTube
dot
บทความโดย วิวันดา
dot
bulletฮิตเล่อร์...และเหล่าขุนพลแห่งอาณาจักรไรค์ซที่สาม
bulletลอดลายรั้ว.....วินด์เซอร์
bulletเลิศเลอวงศา...โรมานอฟ
bulletเชลย
bulletซูคอฟ...ยอดขุนพลผู้ดับฝันของฮิตเล่อร์
dot
บทความโดย สัมพันธ์
dot
bulletคนไทยในกองทัพพระราชอาณาจักรลาว
bulletประวัติศาสตร์สงคราม กรีก
bulletกรณีพิพาทอินโดจีนและสงครามมหาเอเชียบูรพา
bulletอยุธยายศล่มแล้ว ลอยสวรรค์ ลงฤา
bulletฮานนิบาล
bulletพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบรมวงศานุวงศ์
bulletไทยกับมหาสงคราม
bulletสงครามเวียดนาม
bulletห้วยโก๋น ๒๕๑๘
bulletการทัพในมลายา
bulletประวัติศาสตร์อื่น ๆ
dot
เรื่องอื่นๆ
dot
bulletบทความเสริมความรู้ทั่วไป
bulletเกร็ดเล็กเกร็ดน้อย
bulletผู้จัดทำ
bulletผังเว็บไซต์ (Site Map)
bulletแนวทางการร่วมเขียนบทความ
bulletถาม-ตอบ (FAQs) (โปรดอ่านก่อนตั้งกระทู้หรือสมัครสมาชิก)
bulletร้านค้าออนไลน์
bulletแบ่งปัน Album
dot
ลิงค์ต่างๆ
dot
bulletHistory on Film
bulletกองบิน 21 กองพลบิน 2
bulletIELTS British Council
bulletIELTS IDP
bulletMUIC




โหราศาสตร์ยุคไอที



เลิศเลอวงศา...โรมานอฟ ตอนสิบหก

 ในช่วงที่ยังทรงพระเยาว์...พระเจ้าอัลฟองโซที่สิบสามทรงทีลักษณะเหมือนว่าเป็นเด็กขี้โรค แต่โชคดีที่ทรงเปลี่ยนมาเป็นนักกีฬาที่แข็งแรงได้ เพียงแต่ทรงมีพฤติการณ์ที่เข้าข่ายดื้อชะมัด

ถ้าไม่เที่ยวเอาก้อนโคลนไปปาใส่พวกเด็กๆที่เดินผ่านไปบนท้องถนน ก็ชอบชวนใครต่อใครเล่นเลียนแบบกีฬาสู้กระทิง โดยสมมติตัวเองเป็น Toreros Master
ในขณะที่ไปเยี่ยมชมคอกกระทิง  พอพระพี่เลี้ยงเผลอ ทรงกระโดดลงไปในสนามฝึก...ที่หวิดถูกกระทิงขวิดไส้ทะลักไปอย่างเฉียดฉิว
ทุกครั้งที่มีโอกาส...ทรงโปรดที่จะแอบไปยังคอกม้าหลวง และขอลองหัดขี่ม้าที่กำลังพยศกับคนเลี้ยงม้า..ซึ่งได้ทำให้พระองค์มีความช่ำชองในเรื่องการบังคับม้ามาตั้งแต่อายุเพียงสิบกว่าขวบ
 
เรื่องซนๆของพระองค์นั้นได้ทรงทราบไปถึงพระมารดา...แน่นอนว่า พระราชินีต้องขอให้ทรงหยุดในเรื่องที่เสี่ยงๆและไม่ดีเหล่านั้น...
พระองค์มักย้อนถามว่า.."ทำไมล่ะแม่?"  ซึ่งทรงเล่าเสริมว่า..
"ฉันนี่มันสุดยอดแห่งคำถามเลยนะ...อะไรก็ตาม..จะต้องถามกลับไปว่า...ทำไม...แปลกใจจริงๆที่เสด็จแม่ทรงมีพระทัยเย็นอย่างไม่น่าเชื่อ เพราะทรงตอบหมดในทุก
ทำไมของฉัน...อย่าง ท่านทรงว่า...ลูกไม่ควรไปเล่นกับเด็กในถนน...ฉันก็ว่า..ทำไม...ทรงตอบว่า..เพราะพระเจ้าแผ่นดินของสเปนควรจะประทับในพระราชวัง...
ฉันก็มีทำไมกลับไปอีก  ..ท่านก็ว่า..เพราะประชาชนเฝ้าดูพระองค์อยู่น่ะซิ...แน่นอน ไม่มีวันจบเพราะ ฉันก็จะมี ทำไม และ ทำไม...มานึกดูนะ  ถ้าฉันเป็นพระมารดา
ละก้อ คงจะประสาทเสีย เผลอๆคงตะคอกกลับไปว่า...เพราะมันเป็นคำสั่งน่ะซิ....แต่เสด็จแม่ไม่เคยทรงเสียอารมณ์กับฉันเลย.."
 
ในที่สุด...ทางออกสำหรับยุวกษัตริย์ที่มีพลังมากมายเช่นนี้...คือ เพิ่มตารางเรียนในหลายสาขา..เพียงพระชนมายุแค่สิบชันษา...แต่ทรงมีเหล่าคณาจารย์นับร้อย
เริ่มจาก หัวหน้าคณะ คือ ท่านบิชอป  เสนาบดีผู้ใหญ่ กับ  ศาสตราจารย์จากมหาวิทยาลัยกรุงมาดริด 
ท่านบิชอป...รับหน้าที่กล่อมเกลาจิตใจ และ ทบทวนในเรื่องของศาสนา
ท่านเสนาบดี รับหน้าที่การทหารและวินัย
ท่านศาสตราจารย์  รับหมดในทุกอย่างที่เหลือต้องเรียน
 
ดังนั้น..ก่อนถึงปี 1902 (ที่ทรงขึ้นครองราชย์)  พระยุวกษัตริย์ทรงพระปรีชาถึงสี่ภาษา สเปน อังกฤษ เยอรมัน และ ฝรั่งเศส ทั้งพูด อ่าน และ เขียนได้ดีเท่ากันหมด
และเป็นที่น่าภูมิใจ เพราะพระองค์สามารถท่องรัฐธรรมนูญแห่งสเปน (ฉบับเต็ม)ได้อย่างขึ้นใจ
 
พอปี 1902  มาถึง.. ทรงมีพระชนมายุ สิบหกชันษา เป็นปีที่สำคัญยิ่งในชีวิตของพระองค์ เพราะเป็นปีสำหรับพิธีราชาภิเศก เพื่อเป็นพระเจ้าแผ่นดินอย่างสมบูรณ์ ไม่ใช่เฉพาะในนามอย่างแต่ก่อน
ในความทรงจำของพระองค์ ทรงเล่าว่า...
ท่านเสนาบดีมาถามฉันว่า... "ตอนนี้พระองค์เป็นพระเจ้าแผ่นดินแล้ว จะทรงทำอะไรเป็นอย่างแรกพะยะค่ะ?"
ฉันตอบไปว่า   "อย่างแรกเลยนะ...ฉันจะเอาบุหรี่ใส่ในซองให้เต็มเลย..สิบสองตัว.."
(เพราะพระองค์ได้ทรงสัญญาไว้กับพระมารดาว่าจะสูบบุหรี่วันละสิบสองตัวเท่านั้น...) 
 
 
 
เมฆหมอกแห่งความไม่สงบสุขได้ก่อตัวขึ้นมา ในปี 1903  ที่พระองค์และพระมารดากำลังเดินออกจากโบสถ์  เสียงปืนได้ดังขึ้น  ซึ่งสมเด็จพระราชินีทรงคุ้นกับเสียงนี้เป็นอย่างดี   เพราะมันเคยเกิดขึ้นสองครั้ง..ในช่วงที่พระสวามีได้ครองราชย์อยู่  นั่นคือ การลอบสังหาร   
พระองค์ทรงผวาเข้าไปหาพระโอรส...แต่..กลับเห็นว่าพระเจ้าอัลฟองโซ ยังยืนพระสรวลร่าอยู่...เพราะทรงมองเห็นเป็นเรื่องขันอย่างบริสุทธิ์พระทัยว่า..ใครกันจะมาเอาชีวิตของเด็กที่มีอายุเพียงสิบเจ็ดปี?
 
ปีต่อมา...ได้มีการพบกับวัตถุระเบิดร้ายแรงซ่อนอยู่ในพระราชวัง...ทรงตรัสว่า..."มีคนต้องการจะเอาชีวิตฉันจริงๆด้วย" 
 
ปี 1905  ทรงเสด็จไปที่ประเทศฝรั่งเศส เพื่อพบปะเยี่ยมเยียนประธานาธิบดี Loubet ซึ่งทรงได้รับการต้องรับอย่างกึกก้องจากประชาชนที่มีความนิยม
ในพระองค์อย่างเสมอมา...เรียกว่า ทำเอาพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่เจ็ดถึงกับหวั่นไหวต่อการเสียคะแนนนิยมในการ(คิดอยากจะ)ครองใจชาวปารีเซียง
 
วันที่ 31 พฤษภาคม 1905 เวลาห้าทุ่มครึ่ง..หลังจากที่เสด็จกลับจากโรงละคร  ในรถม้าที่มีท่านปธน. ลูเบต์ นั่งมาด้วยนั้น..กำลังจะเข้าสู่ถนน เดอ รีโวลี่ 
ที่ตัดกับถนน โรอาน มีชายคนหนึ่งยืนอยู่หน้าฝูงชนที่มารอรับเสด็จ ยกมือขึ้นเหมือนโยนอะไรสักอย่าง.....
จากนั้นรู้สึกเหมือนกับว่ามีวัตถุอะไรสักอย่างสะดุดเข้าที่ล้อ..
และมีเสียงกึกก้องตูมขึ้นมา  ตามด้วยเสียงวี๊ดว้ายอึงคนึงของผู้คน...
 
พระเจ้าอัลฟองโซ ยังคงประทับนิ่งอยู่กับที่นั่ง ทรงหันมาดูท่านประธานาธิบดี ที่นั่งตัวสั่นงันงกอยู่ข้างๆ  เลยเอื้อมพระหัตถ์ไปแตะที่เข่าเบาๆ  แล้วตรัสว่า
"ของแสดงความเสียใจด้วยนะท่าน...ไอ้พวกนั้นมันน่าจะให้ความเคารพต่อผู้หลักผู้ใหญ่อย่างท่านสักหน่อย..บ้าจริง ท่านเป็นอย่างไรบ้าง..ไหนยืนขึ้นซิ
ขอดูหน่อยว่าบาดเจ็บอะไรหรือเปล่า?"
ท่านปธน...ยังคงเงียบงันไปด้วยความตระหนกอีกพักใหญ่...ก่อนที่จะรวบรวมสติได้ และ ตอบว่า
"ฝ่าพระบาทเป็นอย่างไรบ้าง..พะยะค่ะ"
กษัตริย์วัย 19 กลับทรงพระสรวลร่า..."ไม่ต้องห่วงฉันหรอก..เรื่องเสี่ยงตายเนี่ย...มันมาคู่กันกับตำแหน่งของฉันเลยเชียว.."
 
ปีหนึ่งผ่านไป...ถึงคราวที่จะต้องอภิเษก ที่ทั้งประเทศต่างพากันทายให้วุ่นไปหมดว่า ..ใครกันจะมาเป็นพระชายา...??
เพราะไม่มีสัญญาณใดๆที่จะพอเดาได้  นอกจากทางฝ่ายเสนาบดีที่ต่างฝ่ายต่างมีเจ้าหญิงในดวงใจกันอยู่แล้วที่หมายจะให้มาเป็นพระราชินีองค์ใหม่
เช่น เจ้าหญิง X น่าจะเหมาะกับเรื่องของการพัฒนาในประเทศและการค้า..
เจ้าหญิง Y คงจะเหมาะกว่าสำหรับการต่างประเทศ 
เจ้าหญิง Z ต่างหากที่เหมาะสุด เพราะอยู่ในพระนิกายเดียวกัน
 
"ไม่มีใครมาถามฉันเลย...ว่าฉันคิดอย่างไร...?"  ทรงบ่น
จนล่วงไปอีกหกเดือน ที่ต้องทรงตื่นจากบรรทมทุกเช้าและต้องถามคำถามเดิมๆกับเสนาบดีว่า..
"หนังสือพิมพ์เขาจับฉันแต่งงานกับเจ้าหญิงองค์ไหนล่ะ...เช้านี้น่ะ?"
"ก็ทรงตัดสินพระทัยเสียทีซิ พะยะค่ะ " ก็เป็นคำตอบเดิมๆอีกเช่นเคย
"นั่นซิ..ฉันคงต้องตัดสินใจเสียที..ไม่งั้นพวกท่านคงจะเข้ามาจัดการให้ อาทิตย์หน้า..ฉันจะทำงานปล่อยเรือยอชท์ลำใหม่  แล้วพวกท่านจะได้เห็นชื่อของเจ้าสาวของฉัน
อย่าเพิ่งบอกใครนะ...เก็บไว้เป็นความลับก่อน" 
 
และเป็นความลับฉบับสแปนิชจริงๆด้วย...เพราะในวันนั้นผู้คนกว่ายี่สิบล้านคนในประเทศ ต่างชะเง้อชะแหง่ง และหันไปซุบซิบกันอย่างเริงร่าว่า..
"นี่เธอ อย่าไปบอกใครนะ...ชื่อของเรือลำใหม่ของพระองค์นี้แหละ คือชื่อของเจ้าหญิงผู้โชคดีที่จะมาเป็นพระราชินีของเรา..."
เมื่อเรือยอชท์ลำงามได้ถูกปล่อยลงน้ำ  ข้างเรือเขียนไว้ว่า..."Queen X"
เล่นเอาผู้คนต่างพากันขำ..ที่โดนพระองค์หลอกเอาจนได้...
 
แต่เบื้องหลังเบื้องลึกแล้ว...พระองค์ได้ตัดสินใจมาก่อนหน้านี้นานแล้ว...ว่า..ได้ทรงเลือกที่จะอภิเษกกับ เจ้าหญิง Victoria-Eugénie of Battenberg
เป็นพระธิดาของ พระเจ้าเฮนรี่ แห่ง แบตเตนเบอร์ค และเป็นหลานยายของสมเด็จพระนางวิคตอเรีย  ซึ่งทรงได้มีการพบปะกันเมื่อปีก่อน และได้ทรงบันทึกไว้ว่า
"จากนั้นมา..ภาษาอังกฤษก็กลายมาเป็นภาษารักของเรา" 
เจ้าหญิงที่หมายปองนั้น พระชนมายุได้สิบแปด มีรูปร่างหน้าตาที่สะสวย รวมไปถึงลักษณะที่กระฉับกระเฉงคล่องแคล่ว ขี่และบังคับม้าได้ดีกว่าใครๆในรุ่นเดียวกัน
 
 
 
 
 
 
ภาพ ประธานาธิบดี Émile Loubet    
 
 
 
 
ซึ่งบทหวานๆของยุวกษัตริย์นั้นก็มีเล่าบ้าง คือ ในเดือนมกราคม 1906 
ทันทีที่ทรงทราบว่า..เจ้าหญิงที่หมายปองจะเสด็จไปยัง Villa Mouriscot ที่ Biarritz กับพระมารดาเพื่อเยี่ยมเยียน Princess Frederica of Hanover  
ที่พระองค์รีบมีพระบัญชาออกไปยังรัฐบาลทันทีว่า อยากจะเสด็จไปที่พระราชวัง Miramar ใน San Sebastian
ที่อยู่ชายแดนของสเปนและอยู่ตรงกันข้ามกับ Biarritz ของฝรั่งเศส 
และทรงเชื่อว่า...คงไม่มีใครรู้หรือสงสัยในการที่ตัดสินพระทัยไปพักผ่อนแบบกระทันหันเช่นนั้น
ที่ไหนได้เล่า..ไม่ถึง 48 ชั่วโมง...หนังสือพิมพ์ทั้งในปารีส.. ลอนดอน.. นิวยอร์ค..  มาดริด.. โรม.. เบอร์ลิน... เวียนนา ต่างประโคมข่าวกันเอิกเกริก 
และทางแก้ตัวแทบไม่มีเลย...นอกจาก...ประกาศพิธีหมั้นออกไปให้เป็นเรื่องเป็นราว
 
เจ้าหญิงว่าที่พระคู่หมั้นได้เสด็จถึงกรุงมาดริดในวันที่ 15 พฤษภาคม 1906 และพิธีอภิเษกจะมีขึ้นในวันที่ 31 พฤษภาคม 
มีคนสงสัยถึงกับทูลถามว่า..
"พระองค์ทรงลืมไปแล้วหรือว่า...วันที่ 31 พฤษภาคมนั้น มันเป็นวันเดียวกันกับปีที่แล้วที่พระองค์ถูกหมายปองชีวิตที่ฝรั่งเศสนะพะยะค่ะ"
"จำได้ซิ...แต่มันเป็นวันที่ฉันโชคดีไม่ใช่หรือ เพราะฉันรอดมาได้อย่างไม่มีรอยขีดข่วนเลยแม้แต่นิด" 
ผู้ที่เตือน..ต่างก็พากันส่ายศรีษะ...เพราะพวกเขาเชื่อในเรื่องโชคลาง และ ไม่เชื่อว่าใครเลยจะรอดแล้วรอดอีกจากการถูกปองทำร้าย..มันก็ต้องโดนเข้าสักวัน..
 
ในขณะเดียวกัน..งานด้านพระภูษาของเจ้าหญิงพระคู่หมั้น...ได้เร่งมือตัดเย็บกันอย่างเต็มที่ทั้ง 56 วัน 56 คืน..ในลายของดอกลิลลี่ ที่เป็นสัญญลักษณ์ของพระราชวงค์บูร์บง
และดอกกุหลาบอังกฤษ  และเหล่าช่างกว่าสี่สิบชีวิต...ต้องทำงานกันอย่างเต็มที่ สุดยอดปราณีต เพราะเป็นพระบัญชาจากพระเจ้าอัลฟองโซ ที่ทรงมีพระประสงค์ให้ชาวโลกได้เห็นฝีมือของ
งานสุดยอดฝีมือของสเปนที่ไม่มีใครเทียบ
 
ในวันพระราชพิธีนั้น...พระเจ้าอัลฟองโซได้เสด็จไปยัง พระราชวัง El Prado เพื่อไปเสวยพระกระยาหารเช้ากับว่าที่พระชายา เมื่อเวลา แปดโมงครึ่ง
สิบโมงเช้า...ทั้งคู่เข้าสู่พระราชพิธีที่พระวิหาร San Geronimo El Real  หลังจากเสร็จสิ้นพิธีผ่านไป พระเจ้าแผ่นดินและพระราชินีได้ประทับบน
รถม้าพระที่นั่ง เพื่อให้ประชาชนที่รออยู่ทั้งสองฟากถนนได้แสดงความยินดี  
นำขบวนเสด็จ...นำโดย รถเทียมม้าสี่ตัว...(ไม่มีใครนั่ง)
 
รถพระที่นั่ง..จะมีรถม้าของมหาดเล็กรายล้อมอยู่ทั้งสี่มุม...ความหนาแน่นของปวงชนทีมารอชมพระบารมีนั้น...ได้สร้างความล่าช้าให้กับขบวนไปถึง 25 นาที กว่าจะ
หลุดออกไปได้ถนนเส้นทางที่กำหนดของขบวน โดยตามปรกติ..ใช้เวลาแค่สามนาที...
เมื่อมาถึงถนนสายเมนได้...เพราะเจ้าอัลฟองโซทรงชี้ชวนให้พระราชินีได้หันไปยิ้มทักทายกับประชาชนที่กำลังโบกธง และ ช่อดอกไม้..
พระราชินีก็ทรงทำตาม...โดยเหลียวไปตามทิศทางที่ทรงชี้..ในการนั้น..จึงต้องขยับองค์ไปให้ชิดกับพระสวามี  
จังหวะเดียวกันกับที่มาตรงกับอาคารหมายเลขที่ 88 พอดี
โดยที่ไม่มีใครได้เห็นว่า..บนชั้นสี่ของอาคารนั้น มีชายคนหนึ่ง (นามว่า Mateo Morrales) ในมือของเขามีช่อดอกไม้ช่อโตผิดสังเกต 
สายตาของเขาจับจ้องไปที่รถม้าพระที่นั่งอย่างแน่วแน่...เมื่อได้จังหวะ...เขาโยนช่อดอกไม้ในมือใส่เป้าหมายทันที...
ช่อดอกไม้พิฆาตนั้น พลาดไปจากหลังคารถพระที่นั่งเพียงไม่กี่นิ้ว...ตกลงไปที่พื้น..และ เกิดระเบิดตูม..!!!!
 
ความโกลาหลได้บังเกิดอีกแล้ว...เสียงกระจกแตก เสียงร้องด้วยความเจ็บปวด...เสียงอื้ออึงมาจากรอบข้าง..
"ฉันได้กลิ่นสารเคมีอย่างรุนแรง...จากนั้นมันก็มีหมอกควันหนาทึบที่ทำให้ฉันไม่เห็นอะไรเลยนานถึงสองนาทีได้มัง..พอควันจางไป เห็นเลือดกระจายอยู่ใน
ชุดวิวาห์ของเจ้าสาวของฉัน...แต่เจ้าหญิงไม่ได้รับบาดเจ็บอะไรเลย..แต่เหล่ามหาดเล็กหลายคนกระเด็นกระดอนกันไปคนละทาง บาดเจ็บไปทั้งม้าทั้งคน..
มีผู้เสียชีวิตถึง 28 คน บาดเจ็บอีกกว่า 40  ทุกคนที่อยู่ห่างออกไปต่างพากันตะโกนบอกต่อๆกันว่า พระเจ้าแผ่นดินและพระราชินีสิ้นพระชนม์แล้ว...
ฝ่ายตำรวจได้ทำงานอย่างเข้มแข็ง..เพราะเขาสามารถตั้งแถวอย่าหนาแน่นเพื่อกันผู้คนไม่ให้มีการเหยียบกันตาย...ฉันรีบเข้าประคองเจ้าสาว..และรีบพาเธอไปประทับใน
รถม้าที่นำขบวน  และถ้าไม่ใช่วินาทีนั้น ที่ฉันเรียกให้เธอกระเถิบมาทางฉันแล้วละก้อ...เธอคงสิ้นพระชนม์ไปแล้ว เพราะระเบิดมันตกไปทางขวาที่เธอนั่งพอดี"
 
 
ภาพ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น...
 
 
 
 
 
ภาพ นาย Mateo Morrale 
 
 
ภาพ  ลักษณะของระเบิดที่ใช้...
 
 
ณ.จุดเกิดเหตุ...ได้ทำอนุสรณ์สถานเอาไว้...
 
 
 
 
 
 
 
เรื่องที่แกรนด์ ดุ๊ค อเล็กซานเดอร์ได้ทรงบันทึกเกี่ยวกับการพบปะเจอะเจอกับคิง อัลฟองโซ แห่งสเปนนั้น ดิฉันถือว่าเป็นงานชิ้นโบว์แดงของท่านทีเดียว
เพราะสภาพของการเมืองสเปนในยามก่อนสงครามโลกครั้งที่หนึ่งนั้นวุ่นวายพอๆกับรัสเซียในเรื่องของพวกหัวรุนแรงที่พยายามทุกวิถีทางในการที่จะเปลี่ยนแปลงการปกครองให้มีความเสมอภาค
และการที่ท่านได้ถ่ายทอดความรู้สึกของพระเจ้าอัลฟองโซจากการสนทนานั้น ทำให้เราได้เห็นว่า...ในฐานะของกษัตริย์แห่งสเปนนั้น พระองค์ไม่ได้ทรงสุขสำราญแต่ประการใด มิหนำซ้ำยังต้องเสี่ยงเป็นเสี่ยงตายในทุกขณะจิต 
โชคช่วยที่เกิดสงครามโลกขึ้น สเปนในฐานะที่ตั้งตัวเป็นกลาง ทำให้พระองค์ทรงได้สมญาว่า ทรงเป็นกษัตริย์ที่เปี่ยมไปด้วยพระเมตตา..จาการที่ต้องเข้าโอบอุ้มให้ความช่วยเหลือประชาชนในทุกประเทศที่ได้รับทุกข์ยาก
 
ก่อนที่ท่านผู้อ่านจะอ่านข้อความต่อไป จากบทความที่แกรนด์ ดุ๊คได้ทรงเขียนเอาไว้ ดิฉันขอเสริมเรื่องการเมืองในสเปนจากบทความบาง
ส่วนในเรื่องสงครามกลางเมืองของวิกิพีเดียเพื่อจะได้เห็นภาพชัดเจนยิ่งขึ้น
"สภาพแวดล้อมทางประวัติศาสตร์พบว่ามีหลายเหตุผลที่ได้นำไปสู่สงครามครั้งนี้ และส่วนใหญ่เป็นปัญหาเรื้อรังที่เพิ่มพูนขึ้นในแต่ละปี
ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 19 เป็นศตวรรษแห่งความโกลาหลของสเปน และประสบกับสงครามกลางเมืองและการปฏิวัติหลายครั้ง 
ซึ่งเกิดขึ้นจากแนวคิดของพวกปฏิรูปและพวกอนุรักษนิยมที่ต้องการจะตัดอีกฝ่ายออกจากอำนาจ พวกเสรีนิยมซึ่งเฟื่องฟูขึ้นจากรัฐธรรมนูญแห่งปี 1812
ได้พยายามล้มล้างระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ในสเปน และสร้างขึ้นเป็นรัฐเสรีนิยมแทน
 
ส่วนพวกอนุรักษนิยมต้องการที่จะป้องกันการล้มล้างระบอบกษัตริย์และค้ำจุนราชวงศ์ พวกคาลิสท์ (อังกฤษ: Carlists) ซึ่งเป็นผู้สนับสนุนเคาท์คาร์ลอสและผู้สืบทอดตระกูลของเขา ได้ผนึกกำลังกันเพื่อฟื้นฟูธรรมเนียมดั้งเดิมของเปน (ระบอบสมบูรณาฐาสิทธิราชย์และคาทอลิก) และต่อต้านลัทธิเสรีนิยมและสาธารณรัฐนิยมของรัฐบาลสเปนในขณะนั้น บางครั้ง พวกคาลิสท์ได้ร่วมมือกับพวกชาตินิยม ในความพยายามที่จะฟื้นฟูเสรีภาพทางประวัติศาสตร์และถือสิทธิ์ในการปกครองดินแดนของตนที่ได้รับมาจากฟวยโร (สเปน: Fuero) แห่งแคว้นแบ็คส์และแคว้นคาตาโลเนีย
หลังจากครึ่งศตรวรรษหลังเป็นต้นมา พวกเสรีนิยมได้ถูกกลืนกินโดยพวกสังคมนิยมฝ่ายซ้าย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ลัทธิอนาธิปไตย ซึ่งมีอำนาจและจำนวนคนในสเปนมากกว่าประเทศอื่นใดในทวีปยุโรป ซึ่งคาดว่าจะมาจากภายในสหภาพโซเวียต
สเปนได้พบกับระบอบการปกครองหลายรูปแบบมาตั้งแต่สมัยระหว่างสงครามนโปเลียนในช่วงต้นของคริสต์ศตวรรษที่ 19 และการปะทุของสงครามกลางเมือง ในช่วงเวลาส่วนใหญ่ของคริสต์ศตรวรรษที่ 19 สเปนอยู่ภายใต้การปกครองระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ แต่ก็ถูกโจมตีจากหลายทิศทาง สาธารณรัฐสเปนที่หนึ่งจึงเกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1873 แต่มีอายุสั้นมาก
 
ลัทธิราชาธิปไตยได้กลับคืนมาอีกครั้ง ภายใต้การปกครองของพระเจ้าอัลฟอนโซที่ 13 ซึ่งกินเวลาตั้งแต่ ค.ศ. 1887 ถึงปี ค.ศ. 1931 แต่หลังจากปี ค.ศ. 1923 เป็นต้นมา สเปนก็อยู่ภายใต้ระบอบเผด็จการของมิกูเอล พรีโม ดี ริเวอร์รา ภายหลังจากที่เขาถูกล้มล้างในปี ค.ศ. 1930 ราชวงศ์สเปนก็ไม่อาจรักษาอำนาจของตนไว้ได้ และสาธารณรัฐสเปนที่สองก็ถือกำเนิดขึ้นมาในปี 1931 รัฐบาลของสาธารณรัฐสเปนมาจากพวกหัวซ้ายและพวกสายกลาง และกฎหมายปฏิรูปหลายฉบับก็ถูกผ่านออกมา อย่างเช่น กฎหมายว่าด้วยการแบ่งปันที่ดินแห่งปี 1932 ซึ่งเป็นการแจกจ่ายดินแดนให้กับชาวนาที่ยากจน ชาวสเปนกว่าล้านคนมีชีวิตอยู่ในสภาพถูกปกครองจากเจ้าของที่ดินในลักษณะของกึ่งศักดินา การปฏิรูปหลายอย่างและการห้ามศาสนาเข้ามามีส่วนทางการเมือง รวมทั้งการตัดกำลังทางทหารและการปฏิรูป ทำให้เกิดการต่อต้านอย่างหนัก
 
นายพล  Miguel Primo de Rivera  
 
รัฐธรรมนูญแห่งปี 1931
 
เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม ค.ศ. 1931 สเปนได้มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ โดยมีเนื้อหาส่วนใหญ่กล่าวถึงเสรีภาพและการแสดงความคิดเห็นของประชาชน แต่ว่ามีการกีดกันพวกคาทอลิกอย่างรุนแรง ซึ่งเป็นกลุ่มที่คัดค้านต่อการก่อตั้งรัฐประชาธิปไตยเป็นส่วนใหญ่ รัฐธรรมนูญดังกล่าวยังจัดให้ประชาชนมีสิทธิ์เลือกตั้ง และการแบ่งแยกศาสนาออกจากการเมืองอย่างสมบูรณ์ แต่ในความเป็นจริงแล้ว กลับมอบอำนาจให้แก่รัฐบาลในการแทรกแซงกิจการของศาสนาได้ รวมไปถึงการห้ามมีการสอนศาสนาในโรงเรียนเอกชน การริบทรัพย์สินบางประการของคริสตจักร และการสั่งยุติลัทธิเยซูอิด โดยสรุปก็คือ รัฐบาลสเปนที่มาจากการปฏิวัติแห่งปี 1931 เป็นรัฐบาลที่ต่อต้านศาสนาอย่างจริงจัง
ไม่เพียงแต่จะมีการสนับสนุนการก่อตั้งลัทธิใหม่ขึ้นมาเท่านั้น แต่การทำให้เกิดการแบ่งแยกระหว่างการเมืองกับศาสนาทำให้มีการต่อต้านรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ขึ้นมา เมื่อวันที่ 3 มิถุนายน ค.ศ. 1933 สมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 11 ได้ติเตียนการกีดกันเสรีภาพของรัฐบาลสเปน และการยึดทรัพย์สินของคริสตจักรและโรงเรียนสอนศาสนาต่าง ๆ ผ่านทางจดหมายที่ท่านส่งมา
ตั้งแต่พวกหัวซ้ายจัดได้พิจารณาแล้วเห็นว่าทิศทางของการต่อต้านศาสนาตามรัฐธรรมนูญนั้นกลายเป็นเรื่องที่ไม่อาจยอมรับได้อีกต่อไป จึงมีผู้ให้ความเห็นออกมาว่า "สาธารณรัฐในฐานะของรัฐภายใต้รัฐธรรมนูญนั้นถึงคราวล่มสลายมาตั้งแต่เริ่มแรก" พวกเขายังบอกอีกด้วยว่าการเผชิญหน้ากันในฐานะคู่ปฏิปักษ์กันจะนำไปสู่สาเหตุที่นำไปสู่การล้มสลายของระบอบประชาธิปไตยและการปะทุของสงครามกลางเมือง"
 
 
(ในความเห็นส่วนตัวของดิฉัน..ที่เห็นว่าฟางเส้นสุดท้ายที่ประชาชนพากันเอาใจออกห่างจากสถาบันสูงสุด  นั่นคือการที่สเปนพ่ายแพ้
อย่างไม่เป็นรูปจากสงครามในโมรอกโก ทั้งๆที่ไปรบกับกองทัพของชนบ้านป่า  ชนส่วนน้อยแต่แตกกระจัดกระจายออกไปหลายเผ่า ในปี 1921
หรือ The Third Rif War  อันสร้างความอัปยศอดสูให้กับสเปนที่ถือว่าเป็นประเทศที่ยิ่งใหญ่ประเทศหนึ่ง....ที่ประชาชนทุกผู้ต่างก็หันไปโยนความผิดให้กับผู้นำของประเทศ..............วิวันดา)
 
 
 
หลังจากการที่ถูกลอบทำร้ายด้วยระเบิดในพิธีอภิเษกในครั้งนั้น เหตุการณ์ร้ายๆได้ซาไป จะมีแต่พวกประปรายเช่นการแซะรางรถไฟขบวนเสด็จในปี 1907
ปี 1908 เป็นปีที่มีการก่อหวอดขึ้นอย่างรุนแรงถึงขึ้นนองเลือดที่เมืองบาเซโลน่า  เมื่อทันทีที่ทรงทราบ พระองค์เตรียมตัวเสด็จไปในยังที่เกิดเหตุทันที
เหล่ามหาอำมาตย์ต่างวิตกทุกข์ร้อนแทบไม่สมประดี พากันทัดทานว่า
ขอให้เสด็จไปแค่เมือง Catalonia  และประทับอยู่แค่ตรงนั้น เพื่อความปลอดภัยของพระองค์
เหมือนเอากับน้ำมันไปราดกองไฟ...พระเจ้าอัลฟองโซทรงหมดความอดทน
ทรงตรัสไปอย่างกริ้วสุดๆว่า..
"ฟังนะ...ท่านทั้งหลาย ฉันเป็นพระเจ้าแผ่นดินแห่งสเปน และถ้าฉันไม่สามารถจะไปในทุกตารางนิ้วในขัณฑสีมาของฉันได้แล้วละก้อ...ให้ฉันออกประกาศสละราชบัลลังก์ไปเลยจะดีกว่าไหม?"
 
ปี 1909 นาย Canaleyeas นายกรัฐมนตรีขุนนางคู่พระทัยได้ถูกลอบสังหารไปโดย....
ปี 1911 ขณะที่เสด็จแปรพระราชฐานที่ Malanga ได้มีการวางระเบิดในละแวกเส้นทางเสด็จ จะด้วยบังเอิญหรืออะไรก็ตามแต่...
 
ปี 1913 (อันนี้ของจริง...) ที่ทรงประจันพระพักตร์กับลูกปืนในระยะเผาขน
จากปากกระบอกปืนของนาย Rafael Sandez Allegro ที่ทรงเล่าเองจากพระโอษฐ์ด้วยพระสุรเสียงที่ราบเรียบ ว่า...
"ในฐานะอย่างฉันน่ะ เรื่องที่จะถูกห้อมล้อมด้วยฝูงชนในกรุงมาดริดนั้นมันเป็นเรื่องธรรมดา บางคนก็อยากจะถวายฏีกา บางคนก็อยากจะร้องเรียนเรื่องการไม่ได้รับความเป็นธรรมจากเจ้าพนักงาน...แล้วฉันเองถือเรื่องการเข้าหาประชาชนนั้นเป็นวัตรปฏิบัติอย่างเสมอมา
ในกรณีของนายอัลเลโกรนั้น..เขามาอย่างเนียนๆจนไม่มีใครสงสัย เขาก้าวออกมาข้างหน้าในขณะที่ฉันกำลังขี่ม้าผ่านตรงที่เขายืนอยู่..ในมือเขาถือกระดาษอยู่ชิ้นหนึ่ง ดูเหมือนว่าจะเข้ามาถวายฏีกา  ฉันเลยกำลงจะดึงม้าให้หยุด แต่เขาได้ดึงปืนพกออกมาจากใต้กระดาษนั้น ยิงใส่ฉันทันที...ไอ้หมอนี่มันคงเป็นมือปืนชั้นหางแถว หรือ อาจเข้าขั้นชั้นเลวเลยทีเดียว สองนัดแรก...พลาดฉันไปอย่างไกลห่าง ที่มันทำให้ฉันไม่มีทางเลืแกใดๆในสถานะการณ์คับขันอย่างนั้น นอกจาก..ดึงม้าให้ถอยออกมาในท่าเตรียมพร้อม...และพุ่งเข้าชนมันจนล้มกลิ้ง ในช่วงเวลาไม่ถึงสามสิบวินาทีนั้น มันได้ลั่นกระสุนนัดที่สาม ที่พุ่งถากไปที่คอของม้าพันธุ์ Alarum ตัวงามของฉันเข้าน่ะซิ โชคดีที่ไม่ได้เป็นอะไรมาก ต้องไปรักษาบาดแผลกันนิดหน่อย มาคิดดูนะ..ฉันว่า..โดนลูกปืนดีกว่าโดนระเบิด เพราะอย่างหลังนี้ มันส่งผลไปกระทบถึงคนอื่นๆที่ไม่รู้อิโหน่อิเหน่ให้มาบาดเจ็บล้มตายไปด้วย"
 
ดูซิ...ทรงตรัสออกมาด้วยท่าทีที่แสนธรรมด๊า ธรรมดาว่า...อยากจะจบพระชนม์ด้วยลูกปืนมากกว่าระเบิด..ราวกับเลือกเมนูอาหารว่าอยากจะเสวยอะไรดี...ชีส กับ แชมเปญชนิดดราย(เฝื่อน)มาก  ดราย(เฝื่อน)น้อย...ปานนั้น
พระองค์มิได้เล่าในแนวตลกขบขันแต่ประการใด และ ถึงอย่างนั้น ฉันคงหัวเราะไม่ออกเช่นกัน เพราะทั้งเรื่องระเบิด หรือ ลูกปืนนั้น ทางเราฝ่ายรัสเซียได้ผ่านมาหมด เช่นสมเด็จลุงของฉัน ซาร์ อล็กซานเดอร์ที่สอง และ พระญาติ แกรนด์ ดุ๊ค เซอเก เล็กซานโดรวิช ก็ได้ถูกลอบสังหารอย่างโหดเหี้ยมไปเช่นกัน
และที่น่ายกย่องในความที่ทรงมีพระทัยเป็นนักเลงอย่างยิ่ง ก็เมื่อทรงปฏิเสธที่จะลงพระนามในคำตัดสินประหารชีวิตนายอัลเลโกร  อาจเป็นเพราะเหตุผลที่ทรงตรัสไว้ว่า "เอาปืนมายิงซะจะดีกว่า" นั่นกระมัง !!!
 
สงครามโลก(ครั้งที่หนึ่ง)ได้เกิดระเบิดขึ้นในเวลาต่อมา...กลุ่มพวกหัวรุนแรงที่ชอบสร้างสถานะการณ์ร้ายๆอย่างนายอัลเลโกรเก็บตัวกันเงียบเชียบ  ทรงตรัสว่า..
"สเปนพยายามรักษาตัวให้มั่นคงต่อสถานะภาพของความเป็นกลาง ในขณะที่โลกกำลังแบ่งกันเป็นฝักเป็นฝ่าย ทะเลาะเบาะแว้งกันอย่างยุ่งเหยิง
ในกรุงมาดริดยังมีหลักฐานยืนยันได้ว่า เราได้ทำประโยชน์ให้กับทุกฝ่ายด้วยความเป็นธรรม"
และได้ทรงเล่าถึงงาน"การกุศล"ที่ทรงๆได้มาเป็นภาระโอบอุ้มแบบย่อๆนับตั้งแต่ 1914-1918
 
เรื่องการเล่าแบบย่ๆอของพระองค์นั้น มันยังไม่อิ่มเต็มสำหรับฉัน เพราะเท่าที่พอจำได้..ฉันรู้ว่าพระเจ้าแผ่นดินแห่งสเปนได้ทรงเป็นสุภาพบุรุษนักบุญที่ใครต่อใครพากันกล่าวขวัญถึงในช่วงขณะที่โลกกำลังลุกเป็นไฟ อีกทั้งทรงทำให้สเปนที่ทรงพลังได้กลายเป็นประเทศเดียวที่วางตนเป็นกลางที่ทุกประเทศที่ต่างกำลังทะเลาะรบพุ่งอยู่นั้น...พากันให้ความไว้วางใจ
อีกทั้งต่างวิ่งมาขอความช่วยเหลือจากสเปนให้เข้าช่วยเจรจากันในทุกรูปแบบ...
คำว่าในทุกรูปแบบนี้แหละ ที่ฉันอยากได้ฟังจากพระองค์เอง ว่า...มีอะไรบ้าง และ เพราะด้วยเหตุผลกลใด?
เพราะจากที่ผ่านๆมา...คนที่ออกหน้ารับชอบไปเต็มๆนั้น คือ เหล่าทูตของสเปนที่ประจำอยู่ในประเทศต่างๆ
ดังที่ทรงตรัสว่า..."ทูตของเราที่เบอร์ลิน ต้องเข้าไปช่วยดูแลในสถานทูตอีกเจ็ดประเทศที่ทิ้งร้างไป ทูตที่เวียนนาต้องดูแลอีกหกประเทศเช่นกัน แต่พอสงครามเลิกทุกคนต่างก็สรรเสริญในความดีความชอบที่เราทำกันมานะ"
แต่..ฮีโร่ที่อยู่เบื้องหลังของความช่วยเหลือทั้งหมดนั้น คือ พระเจ้าอัลฟองโซพระองค์นี้ต่างหาก...
"แล้วเหล่าทหารนับพัน นับหมื่นที่ทรงยื่นพระหัตถ์เข้าไปช่วยเล่า แล้วก็เรื่องของเหล่าสตรีฝรั่งเศสที่ทรงช่วยชีวิตพวกเขาจากพวกเยอรมันเล่าพะยะค่ะ?"
 
ทรงตรัสตอบแบบเรื่อยๆในพระสุรเสียงว่า..
"ก็ไม่ใช่ฉันคนเดียวหรอกนะ..ท่านมากีส์ แห่ง ทอร์เรส์ ก็เข้ามาร่วมมือกับฉันอย่างแข็งขัน ซึ่งเขาควรจะได้รับการสดุดีจากชาวโลกด้วย คือว่า..
หลังจากการสู้รบปะทะกันเป็นครั้งแรกที่ Marne (ฝรั่งเศส) จู่ๆมีจดหมายมาถึงฉันฉบับหนึ่ง จ่าหน้าซองแบบง่ายว่า ถึง พระเจ้าแผ่นดินแห่งสเปน
ไม่มีอะไรอย่างอื่นเลย ในจดหมาย มีใจความว่า  ขอให้ทรงช่วยหาลูกชายที่สูญหายไปในสองวันแรกของการสู้รบ เธอบอกว่า ลูกของเธอเป็นเด็กดี
ที่เธออยากให้เขากลับมาอย่างปลอดภัย...นี่คือข้อความจากหญิงชาวบ้านไร่ที่เขียนด้วยภาษาง่ายๆ แต่มันจับใจฉันมากนะ...ฉันเลยขอให้ทูตของเราที่เบอร์ลินช่วยตามหาและให้ความช่วยเหลืออย่างเต็มที่ และถ้าเจอตัว ขอให้เขาดำเนินการไปได้เลย ไม่ต้องรอให้ถึงมือองค์การกาชาดเยอรมัน
สองอาทิตย์ต่อมา...เราได้พบเด็กคนนั้นในค่ายกักกัน..ซึ่งเรื่องนี้ได้กลายไปเป็นข่าวใหญ่ ในเดือนตุลาคม 1914  มีจดหมายถึงฉันวันละกว่าสี่พันฉบับ
จากชาวฝรั่งเศส อังกฤษ เยอรมัน ออสเตรียน เติร์ก ออสเตรเลียน เบลเจี้ยน โปลส์ แคแนเดี้ยน และ รัสเซี่ยน  ทุกฉบับต่างร้องข ให้ช่วยหาพ่อ หาสามี หาลูก"
 
งานการกุศลของพระองค์นั้นไม่ได้จบแค่รายบุคคลอย่างหญิงชาวไร่แค่นั้น แต่ได้ขยายไปในเครือข่ายองค์กรที่ขอให้ทรงช่วยเอื้อมพระหัตถ์ไปในกิจการของประเทศด้วย เช่น กาชาดออสเตรียขอให้ทรงช่วยประสานกับกาชาดฝ่ายรัสเซีย...กาชาดของอังกฤษขอมาว่าทหารของตัวที่นอนบาดเจ็บอยู่ใน Soloniki  ขอพระเมตตาให้ช่วยส่งส้มจากสเปนไปให้ลองลิ้มรสด้วย
(ส้มจากสเปน หรือส้มพันธุ์ Clementine นั้น อร่อยมากค่ะ หวานจัดเหมือนส้มสายน้ำผึ้งบ้านเรา แต่ลูกเล็กกว่ามาก ปอกง่าย ไม่มีเมล็ดหรือมีบ้างแต่ก็น้อยมาก...ดิฉันอยู่ฝรั่งเศสมาสามเดือน ก็ได้ส้มจากสเปนที่มีขาย
ตามตลาดดาษดื่นนี่ละค่ะ มาช่วยให้หายเบื่ออากาศหนาวๆไปได้หน่อย....วิวันดา)
 
เท่านั้นไม่พอ พระองค์ยังทรงช่วยในเรื่องของผู้หญิงชาวฝรั่งเศสที่ถูกข้อหาทำการจารกรรมและถูกจับได้ที่เบลเยี่ยม โดยต้องเจรจากับไกเซอร์ที่ใครๆต่างรู้กันดีว่าหินขนาดไหน
แล้วยังเรื่องเจรจากับประธานาธิบดีฝรั่งเศสในเรื่องขอลดหย่อนผ่อนโทษให้กับสปายของเยอรมันที่ถูกจับได้อีก...
แล้วเรื่องสปายออสเตรียนที่ถูกจับได้ในลอนดอน ที่ต้องทรงเจรจากับพระเจ้าแผ่นดินแห่งอังกฤษพระองค์เดียวเท่านั้น...!!!
 
 
 
 
 
 
 



ฮิตเล่อร์...และเหล่าขุนพลแห่งอาณาจักร์ที่ไรค์ซที่สาม โดย "วิวันดา"

ฮิตเล่อร์...และเหล่าขุนพลแห่งอาณาจักร์ที่ไรค์ซที่สาม ตอนยี่สิบสาม (สมบูรณ์)
ฮิตเล่อร์...และเหล่าขุนพลแห่งอาณาจักร์ที่ไรค์ซที่สาม ตอนยี่สิบสอง
ฮิตเล่อร์...และเหล่าขุนพลแห่งอาณาจักร์ที่ไรค์ซที่สาม ตอนยี่สิบเอ็ด
ฮิตเล่อร์...และเหล่าขุนพลแห่งอาณาจักร์ที่ไรค์ซที่สาม ตอนยี่สิบ
ฮิตเล่อร์...และเหล่าขุนพลแห่งอาณาจักร์ที่ไรค์ซที่สาม ตอนสิบเก้า
ฮิตเล่อร์...และเหล่าขุนพลแห่งอาณาจักร์ที่ไรค์ซที่สาม ตอนสิบแปด
ฮิตเล่อร์...และเหล่าขุนพลแห่งอาณาจักร์ที่ไรค์ซที่สาม ตอนสิบเจ็ด
ฮิตเล่อร์...และเหล่าขุนพลแห่งอาณาจักร์ที่ไรค์ซที่สาม ตอนสิบหก
ฮิตเล่อร์...และเหล่าขุนพลแห่งอาณาจักร์ที่ไรค์ซที่สาม ตอนสิบห้า
ฮิตเล่อร์...และเหล่าขุนพลแห่งอาณาจักร์ที่ไรค์ซที่สาม ตอนสิบสี่
ฮิตเล่อร์...และเหล่าขุนพลแห่งอาณาจักร์ที่ไรค์ซที่สาม ตอนสิบสาม
ฮิตเล่อร์...และเหล่าขุนพลแห่งอาณาจักร์ที่ไรค์ซที่สาม ตอนสิบสอง
ฮิตเล่อร์...และเหล่าขุนพลแห่งอาณาจักร์ที่ไรค์ซที่สาม ตอนสิบเอ็ด
ฮิตเล่อร์...และเหล่าขุนพลแห่งอาณาจักร์ที่ไรค์ซที่สาม ตอนเก้า และตอนสิบ
ฮิตเล่อร์...และเหล่าขุนพลแห่งอาณาจักร์ที่ไรค์ซที่สาม ตอนแปด
ฮิตเล่อร์...และเหล่าขุนพลแห่งอาณาจักร์ที่ไรค์ซที่สาม ตอนเจ็ด
ฮิตเล่อร์...และเหล่าขุนพลแห่งอาณาจักร์ที่ไรค์ซที่สาม ตอนหก
ฮิตเล่อร์...และเหล่าขุนพลแห่งอาณาจักร์ที่ไรค์ซที่สาม ตอนห้า
ฮิตเล่อร์...และเหล่าขุนพลแห่งอาณาจักร์ที่ไรค์ซที่สาม ตอนสี่
ฮิต เล่อร์...และเหล่าขุนพลแห่งอาณาจักร์ที่ไรค์ซที่สาม ตอนสาม
ฮิตเล่อร์...และเหล่าขุนพลแห่งอาณาจักร์ที่ไรค์ซที่สาม ตอนสอง
ฮิตเล่อร์...และเหล่าขุนพลแห่งอาณาจักร์ที่ไรค์ซที่สาม



1

ความคิดเห็นที่ 1 (102169)
avatar
นู่

 ตอนที่สิบเจ็ดยังไม่มาใช่มั้ยค่ะ พอดีติด อ่านทุกคืนก่อนนอน แต่พยามหาตอนที่สิบเจ็ดแต่ไม่เจอ รู้สึกจะเจอตอนที่สิบแปดแทน เลยแอบสับสนอ่ะค่ะ

ผู้แสดงความคิดเห็น นู่ วันที่ตอบ 2015-02-09 09:06:59 IP : 190.44.100.230



1


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.
| WW II Europe | WW II Asia | WW I | Vietnam War | ประวัติศาสตร์ไทย | บทความจากสมาชิก | คุยกันหลังฉาก | บทความทั้งหมด |

สนใจร่วมเขียนบทความในเว็บไซต์ เชิญอ่าน แนวทางการร่วมเขียนบทความ ภาพยนตร์ประวัติศาสตร์

Custom Search



eXTReMe Tracker