* * *
ปากเซ มกราคม ๒๕๑๔
สถานการณ์เดิม . . .
แนวรบด้านเหนือ ทชล.๒
ฝ่ายเวียดมินห์พยามยามที่จะรุกเข้าสู่ซำทอง ล่องแจ้ง ซึ่งเป็นฐานที่มั่นใหญ่ของกองกำลังฝ่ายขวาของนายพลวังเปา แต่ใน พ.ศ.๒๕๑๓ นี้ ยังไม่สำเร็จ
๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๑๓ ฝ่ายเวียดมินห์เข้าตี BI 15 ที่บ้านนา
๒๐ มิถุนายน ๒๕๑๓ ฝ่ายเวียดมินห์เข้าตี BI 14 ที่ภูล่องมาด
๑ ธันวาคม ๒๕๑๓ ฝ่ายเวียดมินห์ขอล้างตาที่ภูล่องมาด
แนวรบด้านใต้ ทชล.๔
ถึงแม้ว่าแนวรบด้านใต้ (ทชล.๔) ดูไม่รุนแรง และเหมือนจะไม่เป็นแนวรบหลัก แต่ก็มีสถานการณ์ที่น่าสนใจ และเป็นบทเรียนได้ เชิญครับ . . . ปากเซ Pakse
สถานการณ์ต่อไป . . .
ระหว่างที่กองกำลังเวียดมินห์เข้าตี (หยั่งกำลัง) ฝ่ายเป็นกลางที่ ซำทอง บ้านนา และภูล่องมาด ในภาคเหนือของพระราชอาณาจักรลาว นั้น ทางด้านภาคใต้ กองกำลังเวียดมินห์ก็พยายามอย่างยิ่งที่จะเข้ายึดเมืองปากเซให้ได้
ดังที่ได้ว่าไปแล้วว่า ในชั้นต้นกองทัพพระราชอาณาจักรลาวรับอาสาสมัครทหารเสือพรานเพียง ๖ กองพัน และได้ส่งเข้าปฏิบัติการในพื้นที่ภาคใต้ (ทชล.๔) แขวงจำปาศักดิ์ พื้นที่เมืองปากเซ จำนวน ๒ กองพัน และบนราบสูงโบโลเวน จำนวน ๒ กองพัน นั้น . . . เชิญที่ปากเซครับ . . .
ปากเซ Pakse
ทางภาตใต้ของพระราชอาณาจักรลาว มีกองทัพแห่งชาติลาว ทชล. อยู่ ๒ ภาค คือ
ภาค ๓ (ทชล.๓) สุวรรณเขต มี GM 12 ที่ท่าแขก GM 15 ที่ผาลาน GM 16, GM 18 ที่หนองสงลาว และ GM 21 ที่เซโน เป็นกำลังหลัก
รับผิดชอบ ๒ แขวง ได้แก่แขวงคำม่วน และแขวงสุวรรณเขต
ภาค ๔ (ทชล.๔) ปากเซ ไม่มี GM เป็นกำลังหลัก
รับผิดชอบ ๖ แขวง ได้แก่แขวงวาปีคำทอง แขวงสาลวัน แขวงเซโดน แขวงจัมปาศักดิ์ แขวงอัตตะปือ และแขวงสีทันดอน
ส่วนกำลังฝ่ายเป็นกลาง ก็มี ๒ ภาค เช่นกัน คือ
ภาค ๓ ดงลำดวน เมืองสุวรรณเขต มีกำลัง ๑ กองพันทหารราบ
ภาค ๔ สุวรรณคีรี เมืองปากเซ มีกำลัง ๑ กองพันทหารราบ
ได้คุยกันเรื่องสถานการณ์ทางภาคใต้ของพระราชอาณาจักรลาวมาหลายครั้งแบบผ่านๆ คราวนี้ลองดูให้มากหน่อยนะครับ . . .
ภูมิประเทศสำคัญ ในภาคใต้ที่เป็นที่กล่าวถึงเสมอ คือ ที่ราบสูงโบโลเวน
.jpg)
ที่ราบสูงโบโลเวน - Plateau des Bolovens ที่ราบสูงทางฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง ลาดจากทางตะวันตกขึ้นไปทางตะวันออก ทางตะวันออกชันมากขึ้นลงไม่ได้ เป็นชัยภูมิสำคัญ สามารถควบคุมพื้นที่ทางตะวันตกได้ถึงแม่น้ำโขง และทางใต้ก็จะรุกเข้าสู่กัมพูชาได้
บนที่ราบสูงโบโลเวนเป็นพื้นที่ราบ เป็นคลื่นเป็นลอนน้อยๆ พื้นดินอุดมสมบูรณ์
เวลากลางวันอากาศเย็น และอากาศหนาวในเวลากลางคืน
ที่ราบสูงโบโลเวนคาบเกี่ยวสามแขวงคือ ตอนเหนือเป็นแขวงสาลวัน ทางตะวันออกเป็นแขวงอัตตะปือ และทางตะวันตกเป็นแขวงเซโดน

ด้านเส้นทางคมนาคม มีถนนสาย ๒๓ จากเมืองปากเซ ผ่านเมืองปากซอง วกขึ้นเหนือเลาะชายที่ราบสูงไปบรรจบถนนสาย ๑๖ ที่บ้านท่าเต็ง (Thateng) ผ่านบ้านโพน (Phone) ต่อไปเมืองอัตตะปือ

มกราคม ๒๕๑๔ กองทัพพระราชอาณาจักรลาวได้ส่งกองพันอาสาสมัครทหารเสือพราน BP 41 และ BP 42 ให้ ทชล.๔
บ้านห้วยทราย เมืองปากเซ ๘ มกราคม ๒๕๑๔
BP 41 และ BP 42 ได้รับภารกิจให้รักษาบ้านห้วยทราย ทางตะวันออกเฉียงเหนือของเมืองปากเซ
บ้านห้วยทรายเป็นชัยภูมิสำคัญ เพราะตั้งขวางเส้นทางเข้าสู่ตอนกลางของที่ราบสูงโบโลเวนบริเวณเมืองปากซอง
พื้นที่ตั้งรับของ BP 41 และ BP 42 (BC 601 และ BC 602) เป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาดกว้างประมาณ ๓๐๐ - ๔๐๐ ยาวประมาณ ๔๐๐ - ๕๐๐ เมตร สามารถวางกำลังตั้งรับแบบรอบตัวได้ดี
การจัดการตั้งรับของ BP 41 และ BP 42 (BC 601 และ BC 602)
- วางสนามทุ่นระเบิดห่างแนวที่มั่นออกไปประมาณ ๒๐๐ เมตร เริ่มบาง แล้วหนาขึ้นๆ
- ระยะ ๑๐๐ เมตรเข้ามา เริ่มวางลวดหนาม และขวาก จากบาง แล้วหนาขึ้นๆ เช่นกัน
- เมื่อใกล้แนวต้านทาน ประมาณ ๕๐ เมตร ลวดหนาม และขวาก ยิ่งหนาแน่นขึ้น
- ขั้นสุดท้ายขุดคูกว้างประมาณ ๓ เมตร ลึกประมาณ ๒ เมตร ทั้งสองข้างชันดิ่ง ท้องคูปักขวาก ความมุ่งหมายคูนี้ เพื่อดักรถถัง และป้องกันหน่วยทหารเดินเท้า
เดือนหงายในฤดูหนาว
๘ มกราคม ๒๕๑๔ ตรงกับวันศุกร์ ขึ้น ๑๒ ค่ำ เดือนยี่ ปีจอ เดือนหงายในฤดูหนาว ท้องฟ้าน่าจะกระจ่างไม่มีเมฆ ฝ่ายเวียดมินห์ใช้กำลังประมาณ ๑ กรม (๓ กองพัน) เข้าตีที่ตั้งของ BP 41 และ BP 42 (BC 601 และ BC 602) ด้วยการใช้แซปเปอร์พยายามตัดลวดหนาม โดยไม่มีอาวุธหนักยิงสนับสนุนก่อน แต่ทหารเสือพรานของ BP 41 และ BP 42 (BC 601 และ BC 602) ตรวจการณ์เห็นก่อนที่จะเข้ามาถึงที่มั่นได้ จึงได้ต้อนรับทหารเวียดมินห์อย่างทันท่วงทีและสาหัส
จากการสำรวจความเสียหายในเช้าวันรุ่งขึ้น . . .
ฝ่ายเวียดมินห์
เสียชีวิตจำนวนมาก พบศพตามแนวรั้วลวดหนาม จำนวน ๑๓๑ ศพ (คาดว่าได้นำศพกลับไปได้จำนวนหนึ่ง)
ถูกจับเป็นเชลย ๓ นาย (คาดว่าบาดเจ็บไม่สามารถหนีได้)
สูญเสียอาวุธยุทโธปกรณ์ จำนวนหนึ่ง
ฝ่าย BP 41 และ BP 42 (BC 601 และ BC 602)
เสียชีวิต ๑ นาย บาดเจ็บ ๑๖ นาย
BP 41 และ BP 42 ได้รับเอกสารชมเชยจากผู้บังคับบัญชาชั้นสูง
บทเรียน การที่ฝ่ายเวียดมินห์ต้องสูญเสียมากขนาดนี้ น่าจะเป็นเพราะ
๑. ภูมิประเทศด้านนี้เป็นที่โล่ง ไม่มีป่าเป็นเครื่องกำบังและซ่อนพราง
๒. วันที่กำหนดเข้าตี เป็นคืนขึ้น ๑๒ ค่ำ ในฤดูหนาว ซึ่งท้องฟ้ามักจะโปร่งไม่มีเมฆ เกื้อกูลแก่ฝ่ายตั้งรับในการตรวจการณ์
ด้วยเหตุ ๒ ประการนี้ ไม่เกื้อกูลการปฏิบัติแก่แซปเปอร์ ทำให้ทำงานเจาะแนวเครื่องกีดขวาง (ตัดลวดหนาม) ไม่สำเร็จ
๓. ด้านฝ่ายตั้งรับ เมื่อตรวจการณ์พบสิ่งผิดปรกติแล้ว คงจะรายงานผ้บังคับบัญชา และสั่งการให้ทุกส่วนเตรียมรับสถานการณ์ และหน่วยจะต้องวางแผนการยิงอาวุธประจำหน่วย (เครื่องยิงลูดระเบิด และปืนกล) เอาไว้แล้ว
๔. วินัยในการยิงของทหารเสือพรานที่ไม่เปิดฉากการยิงก่อนเวลาอันควร และคำสั่งยิงนัดแรกที่ถูกจังหวะในช่วงที่แซปเปอร์กำลังอยู่ในดงลวดหนาม
มีนาคม ๒๕๑๔ BP 41 และ BP 42 (BC 601 และ BC 602) ได้รับคำสั่งให้รุกต่อไปถึงบ้านห้วยข่อย กม.๒๓ (Lak 23) ถนนหมายเลข ๒๓ (ปากเซ - ปากซอง)

หมายเหตุ - หน่วยที่สร้างวีรกรรม ณ บ้านห้วยทราย เหนือเมืองปากเซ แขวงอัตตะปือ ครั้งนี้ ตามหลักฐานของท่านที่ดำเนินการในเรื่องนี่ และเอกสารชมเชยจากผู้บังคับบัญชาชั้นสูงเรียกนามหน่วยว่า กองพันเสือพราน บีพี ที่ ๔๑ และ ๔๒ แต่หลักฐานของผู้ที่ร่วมปฏิบัติการในหน่วยนี้ (ในเวลาต่อมา) เรียกนามหน่วยว่า กองพัน ๖๐๑ และ ๖๐๒ แต่เป็นวีรกรรมเดียวกัน และไม่พบหลักฐานว่ามีการเปลี่ยนนามหน่วย แต่อย่างใด
เพื่อเป็นเกียรติประวัติ และยกย่องวีรกรรมของ BP 41 และ BP 42 (BC 601 และ BC 602) ทั้งสองกองพัน ผมจึงลงนามหน่วยไว้ทั้งสองอย่าง ท่านที่ทราบข้อเท็จจริงในเรื่องนี้ หากจะกรุณาชี้แจงให้ความกระจ่าง ก็จะเป็นพระคุณยิ่ง
.jpg)
Pakxe - Pakxong
ครับ . . . นับว่าเป็นวีรกรรมของกองพันอาสาสมัครทหารเสือพราน BP 41 และ BP 42 (BC 601 และ BC 602) ที่น่าประทับใจทีเดียว
. . . กลับไปทางด้านเหนือต่อ นะครับ ว่าฝ่ายเวียดมินห์ซึ่งพยายามที่จะรุกเข้าสู่ซำทอง ล่องแจ้ง มาตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๑๓ แต่ยังไม่สำเร็จนั้น หากจะพิจารณากำลังที่ใช้จะเห็นว่า ยังไม่เป็นการรุกใหญ่ อาจจะเป็นการเข้าตีเพื่อหยั่งกำลังฝ่ายเป็นกลางก็เป็นได้
พ.ศ.๒๕๑๔ นี้ จะเป็นประการใด เชิญติดตามต่อไป . . . เชิญครับ . . . ทุ่งไหหิน ต้นปี ๒๕๑๔
สถานการณ์ต่อไป . . . ทุ่งไหหิน ต้นปี ๒๕๑๔
สถานการณ์ต่อไป . . . ทุ่งไหหิน ต้นปี ๒๕๑๔
สถานการณ์ต่อไป . . . ทุ่งไหหิน ต้นปี ๒๕๑๔